นาคยุดครุฑ

Page 1


นาคยุดครุฑ :

“ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


ภาพจากปก

ซากปรักหักพังพระอุโบสถวัดพระแก้ว ที่เวียงจัน หลังจากที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้  ยกทัพไปปราบในศึกเจ้าอนุวงศ์ (ภาพจาก A Pictorial Journey on the Old Mekong Cambodia, Laos and Yunnan. Louis Delaporte and Francis Garnier, White Lotus, 1998)


นาคยุดครุฑ :

“ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย ก�ำพล  จ�ำปาพันธ์

ราคา ๒๐๐ บาท


นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัตศิ าสตร์นพ ิ นธ์ไทย • ก�ำพล จ�ำปาพันธ์ พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ราคา ๒๐๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ก�ำพล จ�ำปาพันธ์. นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัตศิ าสตร์นพ ิ นธ์ไทย.  กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘.  ๒๖๔ หน้า.- -(ประวัตศิ าสตร์). ๑. ไทย- -ประวัติศาสตร์. I. ชื่อเรื่อง. 959.3 ISBN 978 - 974 - 20 - 1453 - 3

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ศิลปกรรม-ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รตั น์ • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


ส า ร บั ญ นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย

คำ�นำ�ผู้เขียน

(๖)

“พะเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าทอละนี” : พุทธกษัตริย์และความขัดแย้งยุคสถาปนาอาณาจักร

“พะเจ้าไซเซดถาทิราด” เวียงจัน-อยุธยา กับความสัมพันธ์ลาว-ไทย ในมิติเชิงประวัติศาสตร์

๒๓

รัฐและความเป็นไทยในประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาว

๗๑

ก่อนจะเป็นรัฐประชาชาติ : การศึกษา ว่าด้วยการปกครองระบอบอาณานิคมฝรั่งเศสในลาว

๑๑๗

ความหมายและความเป็นมาของ “ลาวเทิง” ในประวัติศาสตร์ ไท-ลาว จากยุคอาณานิคมถึงรัฐประชาชาติ สปป.ลาว

๑๘๑

ความเปลี่ยนแปลงของการเขียนประวัติศาสตร์ ชาติลาวยุคหลังจินตนาการใหม่

๒๑๕

บรรณานุกรม

๒๓๖ ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

(5)


คํ  า นํ า ผู้ เ ขี ย น

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย

“นาค” เป็นสัตว์ในต�ำนานความเชือ่ ของคนในสังคมลุม่ แม่นำ�้   โขง ขณะที่ “ครุฑ” เป็นสัญลักษณ์อ�ำนาจชั้นสูงของสยามประเทศ  ที่มีพัฒนาการมาจากชุมชนโบราณริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา “นาค”  เป็นตัวแทนศรัทธาความยึดมั่นในพุทธศาสนา แม้จะอ่อนด้อยใน  เชิงชนชั้นวรรณะ ผิดกับ “ครุฑ” คือผู้รับใช้เทพผู้ทรงฤทธิ์ในสาม  โลก “ครุฑ” จึงมีสถานภาพที่ดูเผินๆ เหมือนจะเหนือกว่า “นาค”  แต่อ�ำนาจอัตลักษณ์ของ “ครุฑ” ที่มาจากการรับใช้ชนชั้นสูงก็  ด้อยเกียรติภูมิศักดิ์ศรีอย่างมาก เมื่อเทียบกับ “นาค” ในทางกลับ  กัน “นาคยุดครุฑ” ซึ่งผิดแผกไปจากขนบปกติของต�ำนานความ  เชื่อที่มีแต่ “ครุฑยุดนาค” เป็นค�ำที่อธิบายความสัมพันธ์ในเชิง  สัญลักษณ์ระหว่างลาวกับไทยในมิติทางประวัติศาสตร์ และสังคม  วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี  การเป็ น นั ก ต่ อ สู ้   นั ก แสวงหา นั ก ผจญภั ย ที่ ไ ม่ ย อมแพ้  ต่อโชคชะตาและระบบทีเ่ ป็นอยู ่ นับเป็นจิตวิญญาณเบือ้ งหลังบุคลิก  ลักษณะของคนลาว “นาค” ที่อาจหาญต่อสู้กับศัตรูคู่อาฆาตที่มี  มาตั้งแต่ชาติปางก่อน จนสามารถ “ยุด” (ครุฑ) ได้ในบางครั้งบาง  คราว จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เราได้เรียนได้รับรู้กันมา ไม่  ว่าจะเป็นเรื่องของเจ้าอนุวงศ์ เรื่องของกบฏไพร่ต่างๆ ในอีสาน  และล้านช้าง การ “ยุด” ของ “นาค” ต่อ “ครุฑ” จึงมีนัยความ (6)

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


หมายเท่ากับเป็นความพยายามทีจ่ ะปรับเปลีย่ นความสัมพันธ์ จาก  สถานะที่ด้อยกว่ามาเป็นเท่าเทียมกัน ผมคิดว่าสิ่งนี้คือสาระส�ำคัญ  ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างลาวกับไทย จึงน�ำมาใช้เป็น  ชื่อผลงานรวมเล่มที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างลาวกับไทยในมิติ  เชิงประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมเล่มนี้   ผลงานเขียนทีร่ วมเล่มภายใต้ชอื่  “นาคยุดครุฑ : “ลาว” การ  เมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย” นี้ประกอบด้วยบทความจ�ำนวน  ๖ ชิ้น ที่เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกๆ ในช่วงระหว่าง พ.ศ.  ๒๕๕๒-๒๕๕๕ ดังปรากฏตามประวัติตีพิมพ์ท้ายเล่ม มีการ  ปรับชือ่ เรือ่ งและเนือ้ หาไปจากการตีพมิ พ์ในรูปบทความอยูบ่ างแห่ง  แต่โดยคอนเซ็ปต์พื้นฐานในงานยังคงเดิม การปรับปรุงดังกล่าวก็  เพื่อเน้นให้เห็นเด่นชัดขึ้นเท่านั้น บทความแต่ละชิ้นมีลักษณะจบใน  ตัว ท่านผู้อ่านจึงสามารถเลือกอ่านแต่ละเรื่องได้ตามความสนใจ  แต่หากท่านปรารถนาจะเห็นพัฒนาการบางอย่าง ตามล�ำดับการ  แบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของลาว การอ่านเรียงล�ำดับจากเรื่อง  แรกไปจนเรื่องสุดท้าย น่าจะช่วยท่านได้บ้าง    หากจะถามว่ามีมูลเหตุใดกันที่ท�ำให้คิดรวบรวมงานเขียน  เหล่านี้มาตีพิมพ์เผยแพร่ นอกจากความปรารถนาที่สุดแสนจะ  ธรรมดาของคนใจรักในงานขีดเขียน ที่ก็จะต้องปรารถนามีผลงาน  รวมเล่มสักชิ้น ก็เห็นจะได้แก่ ปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลง  บางอย่าง อันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ  สปป.ลาว ซึ่งเป็นประเด็นส�ำคัญในงานเหล่านี้ที่ต้องการชี้ให้เห็น  นั่นหมายถึงความเชื่อมั่นที่ว่างานเขียนเหล่านี้ยังตอบสนองความ  อยากรูข้ องคนไทยทีม่ ตี อ่ ลาว งานเหล่านีถ้ กู เขียนขึน้ ส่วนหนึง่ ก็ดว้ ย  เจตนามุง่ หวังตอบโจทย์ตอ่ กลุม่ ผูซ้ งึ่ ต้องการเข้าใจสังคมวัฒนธรรม  ลาวในมิติทางประวัติศาสตร์  ปรากฏการณ์ความเปลีย่ นแปลงทีส่ ง่ ผลต่อวิถคี วามสัมพันธ์  ระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาวในปัจจุบัน มีทั้งปรากฏการณ์ที่  เกิดขึน้ สืบเนือ่ งเป็นผลจากความเปลีย่ นแปลงทีม่ มี าก่อนหน้า อย่าง  ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

(7)


เช่น การสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำโขง ท�ำพิธีเปิดและใช้งานมาตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา, เหตุการณ์ความรุนแรงที่ด่านวังเต่า  หรือช่องเม็กทางฝั่งไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่สืบเนื่องมาจากการต่อสู้  ทางการเมืองระหว่างฝ่ายกษัตริยน์ ยิ มกับรัฐบาล สปป.ลาว, กระแส  การหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่เข้าไปในลาวตลอดหลายปีผ่านมา  จนถึงวิถีความเปลี่ยนแปลงที่ก�ำลังก้าวย่างเข้ามาอย่างเช่น การ  เข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๘   เมือ่  พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐบาล สปป.ลาว ได้สร้างพระบรมราชา  นุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ ตั้งตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น�้ำโขง นครหลวง  เวียงจัน ด้วยรูปลักษณ์ทรงหันพระพักตร์ที่งามสง่ายิ้มแย้ม ยื่น  พระหัตถ์ที่แลดูเหมือนจะจับมือทักทายมายังฝั่งไทย พร้อมกับการ  เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ก็มีเรื่องเล่ากึ่งสัจนิยมมหัศจรรย์ว่าเจ้า  อนุวงศ์ทรงให้อภัยพวกสยามที่เคยกระท�ำย�่ำยีพระองค์ ซึ่งสะท้อน  ความพยายามในการแสวงหาความร่วมมือกับไทย ลบเลือนประวัต ิ ศาสตร์บาดแผลที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาติลาว  ได้เปลี่ยนทัศนคติมุมมองที่มีต่อไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ไทย  กลับยังชอบหมิ่นแคลนลาว  ปีหนึง่ ๆ เขือ่ นในลาวปัน่ กระแสไฟฟ้าส่งมายังไทยเป็นอันมาก  จนกล่าวได้ว่าลาวเป็น “แบตเตอรี่” ให้กับไทย วาทกรรมใหม่ที่เพิ่ง  เกิด และค่อยๆ แทนที่วาทกรรมในอดีตอย่าง “บ้านพี่เมืองน้อง”  ทั้งที่ลาวมิได้มองเช่นนั้น ความเท่าเทียมกันในเกียรติภูมิศักดิ์ศรี  ความเป็นชาติของคนแต่ละประเทศมีไม่เท่ากัน เมื่อใดก็ตามที่ลัทธิ  ชาตินิยมสร้างกระแสคลั่งชาติมาท�ำให้เกิดรอยร้าวระหว่างชาติ ก็  เป็นเรื่องยากที่จะมองเพื่อนบ้านด้วยสายตาที่มีความเท่าเทียม  กัน โลกเราเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ใช่โลกของการแย่งชิงทรัพยากรผ่าน  สงครามกวาดต้อนเหมือนอย่างในอดีต หากเป็นโลกของความร่วม  มือต่อสู้กับภัยทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ  ปัจจุบนั การติดตัง้ เสาส่งสัญญาณระยะไกลของสถานีโทรทัศน์  ไทยในจังหวัดชายแดน เช่น หนองคาย มุกดาหาร นครพนม อุบล  (8)

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


ราชธานี ซึ่งมีขอบเขตแพร่สัญญาณไปไกลถึง ๕๐ กม. และระยะ  ๕๐ กม. จากแนวชายแดนไทยทางด้านลาว จะตกในเขตแขวง  ส�ำคัญของลาว เช่น จ�ำปาสัก สะหวันนะเขด เวียงจัน เป็นต้น  โทรทัศน์น�ำความเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมลาว ท�ำลายเส้นพรมแดน  ระหว่างชาติ วัยรุ่นลาวรับกระแสป๊อปคัลเจอร์ไปจากไทย รับชม  ละครหลั ง ข่ า ว มี เ รื่ อ งเม้ า ท์ ม อยกอสซิ ป ดาราเหมื อ นอย่ า งไทย  แรงงานลาวในไทยก็มีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก พวกเขาเป็นแม่บ้าน คน  งานก่อสร้าง รับจ้างทั่วไป ขณะเดียวกันงานบุญประเพณีที่พระ  ธาตุพนมก็ยังคงเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของคนทั้งสองฟากฝั่ง  แม่น�้ำโขง ผู้คนเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นประชาคมข้ามชาติไปก่อน  อาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ทั้งหมดนี้เพื่อจะบอกว่าความสัมพันธ์ไทย-ลาวในทางปฏิบัติ  ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เคยเป็นมาในอดีต และในท่ามกลาง  ความเปลีย่ นแปลงดังกล่าว “ประวัตศิ าสตร์” ซึง่ เป็นศาสตร์วชิ าการ  ที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อมุมมองของคนที่ก�ำลังด�ำเนินความสัมพันธ์  กันอย่างเข้มข้นนี้ ควรจะเป็นไปในทิศทางไหน  ประเด็นนี้ผู้เขียนขอยอมรับตรงๆ ว่าไม่ทราบเหมือนกันว่า  “ประวัติศาสตร์” ในแบบที่เราต่างฝันถึงกันนั้นมันมีหน้าตาเป็น  อย่างไร อย่างน้อยทีส่ ดุ การกลับไปวิพากษ์ประวัตศิ าสตร์แบบเดิมๆ  ที่เคยเป็นมา น่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้พอมองเห็นเค้าโครงการ  ได้บ้างว่า ประวัติศาสตร์แบบดังกล่าวนั้นมีลักษณะอย่างไร การ  สร้างประวัติศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีเป็นเรื่องที่ดีงามที ่ ใครๆ ก็คงเห็นชอบ ทว่าก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเริ่มต้นจากการบิดเบือน  ประวัตศิ าสตร์ ในแง่นกี้ ารหันกลับไปตรวจสอบข้อมูลหลักฐานต่างๆ  รวมถึงงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลครอบง�ำวิธีคิดของ  เรานั้นเป็นเรื่องจ�ำเป็นเร่งด่วน    แน่ น อนดั ง ที่ เ ราทราบกั น ดี ว ่ า  ปั ญ หาภายในของทั้ ง  ๒  ประเทศเอง นับเป็นสาเหตุปัจจัยที่มีผลก�ำหนดสภาพความสัมพันธ์  ระหว่างประเทศไม่น้อย ยังไม่นับอิทธิพลของแนวคิดเชื้อชาตินิยม  ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

(9)


(Racism) ที่มีอยู่ในหมู่ชนชั้นน�ำของทั้ง ๒ ประเทศ ศัตรูภายนอก  มักถูกใช้เป็นยาชูก�ำลังให้กับความชอบธรรมของชนชั้นน�ำอนุรักษ  นิยม ไม่ว่าในประเทศไหน โดยเฉพาะประเทศที่มี “ประวัติศาสตร์  บาดแผล” กับเพื่อนบ้าน ทั้งในแง่ถูกกระท�ำและเป็นผู้กระท�ำ ศัตรู  ในอดีตก็กลับกลายมาเป็นศัตรูในปัจจุบันได้ ขณะเดียวกันความ  ขัดแย้งในปัจจุบนั ก็มผี ลท�ำให้เกิดสายตาทีม่ องกันเป็นศัตรูยอ้ นหลัง  ไปในอดีตด้วย อย่างเช่นที่เราได้เห็นจากกรณีปราสาทพระวิหาร  ระหว่างไทยกับกัมพูชากันมาแล้ว เป็นต้น  หลัง พ.ศ. ๒๕๒๙ เมือ่ ลาวหันมาใช้นโยบายกลไกเศรษฐกิจ  ใหม่ หรือที่เรียกว่า “นโยบายจินตนาการใหม่” เปิดประเทศรับการ  ลงทุนจากต่างชาติ เพื่อฟื้นฟูประเทศจากความบอบช�้ำในสงคราม  ต่อต้านจักรวรรดินิยม และการปฏิวัติสังคมนิยม กอปรกับในเวลา  ต่อจากนัน้ ไม่นานรัฐบาลไทยชุดทีม่ พ ี ลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน เป็น  นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน  ตามแนวชายแดนที่รู้จักกันในนาม “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการ  ค้า” ก็ได้ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ  ลาวกระทัง่ มีการเสด็จเยือน สปป.ลาว โดยสมเด็จพระเทพรัตนราช  สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมือ่  พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึง่ นับเป็นครัง้ แรก  ในรอบร้อยปีที่มีชนชั้นน�ำไทยเดินทางเข้าไปในลาว เพื่อยังความ  สัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับลาว  ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทย ภายหลังการรัฐ  ประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์  กับเพือ่ นบ้านด้วย แม้ลาวจะไม่ใช่คขู่ ดั แย้งทีส่ บื เนือ่ งตามมาเหมือน  อย่างกัมพูชา ก็ยากที่จะประเมินว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง นอกจากที่เรา  คาดเดากันได้ไม่ยาก ว่าการเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างเอเชียตะวัน  ออกเฉียงใต้ทางด้านตะวันตกอย่างพม่า ไปยังทางด้านตะวันออก  อย่างลาว กัมพูชา เวียดนาม ก็เสียโอกาสทีจ่ ะได้มรี ถไฟความเร็วสูง  แต่อย่าลืมว่าลาวนั้นมีเขื่อนที่ปั่นกระแสไฟฟ้าส่งตรงมายังไทยอยู่  ในอนาคตใครจะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากลาวประท้วงงดจ่ายกระแส  (10)

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


ไฟฟ้าให้กับไทย ก็ธรรมดาโลกยุคใหม่เป็นโลกที่เชื่อมต่อและพึ่งพา  อาศัยกัน การรู้จักตระหนักและเห็นเรื่องดังกล่าวนี้ละเอียดอ่อน  การด�ำเนินนโยบายต่างๆ ทั้งต่อภายในและภายนอก นับเป็นสิ่ง  จ�ำเป็นส�ำหรับทุกรัฐบาลในระยะหลังมานี้ ซึ่งรัฐบาลที่จะเอื้อตรงนี้  หลีกไม่พน้ ทีต่ อ้ งเป็นรัฐบาลซึง่ มาจากกระบวนการทางประชาธิปไตย เพือ่ นพีน่ อ้ งลาวอีกฝัง่ โขงของผูเ้ ขียน มักปลอบใจผูเ้ ขียนและ  เพื่ อ นคนไทยอยู ่ เ สมอ ในแง่ ที่ ว ่ า เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั น  อั น ที่ จ ริ ง  สังคมลาวเพิ่งผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งภายในถึงขั้นท�ำสงคราม  รบราฆ่าฟันกันอยูน่ านถึง ๓๐ ปี ทีเ่ รียกกันว่า “สงคราม ๓๐ ปี”  ทุกอย่างมีจังหวะเวลาคลี่คลายของมัน การเร่งปฏิกิริยาด้วยความ  รุนแรง ยิ่งจะท�ำให้ยากจะหาจุดสิ้นสุดลงได้โดยง่าย เผลอๆ อาจไม่  จบแบบแฮปปีเ้ อนดิง้ ก็ได้ ใครจะรู ้ ดังนัน้  สิง่ ทีเ่ ราควรท�ำในระหว่างนี้  ก็คือการรู้จักความอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง และเรียนรู้  ที่จะอยู่ร่วมกับคนที่มีความเชื่อแตกต่างกันกับเราให้ได้มากที่สุด  ฟังดูด ี ใครๆ ก็พดู กันส�ำหรับวลีเท่ๆ แบบนี ้ แต่ในทางปฏิบตั กิ น็ บั ว่า  เป็นเรื่องยาก ในแง่นี้เชื่อว่าการเรียนรู้ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของกลุ่ม  ชาติพันธุ์ ย่อมเป็นหนทางที่จะสามารถบ่มเพาะความเห็นอกเห็นใจ  และเข้าใจในชะตากรรมของคนอื่น บางเรื่องเราก็ไม่จ�ำเป็นจะต้อง  เรียนรู้หรือเปรียบเทียบจากประวัติศาสตร์ของชาติใหญ่ๆ อย่างจีน  อย่างอินเดีย หรืออย่างยุโรป หากแต่เรื่องของประเทศเพื่อนบ้าน  ที่อยู่ใกล้ชิดติดกับเรา และมีความผูกพันกับเรามาเป็นเวลานาน  ก็น่าจะช่วยให้เห็นแบบอย่างบทเรียนบางประการ โดยเฉพาะอย่าง  ยิ่งประเด็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางสังคมวัฒนธรรมจากยุคจารีต  สู่สมัยใหม่ แต่ละสังคมมีพัฒนาการและจังหวะเวลาแตกต่างกัน  และไม่ใช่จะเปลี่ยนผ่านได้อย่างราบรื่น วิกฤติการณ์ความขัดแย้ง  ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนั้นเองที่เราจะได้เห็นเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ  ของสังคมวัฒนธรรมเผยออกมา  อย่างเช่นในประวัตศิ าสตร์ลาว เมือ่ เข้าสูช่ ว่ งเปลีย่ นผ่านจาก  ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

(11)


สังคมบ้านเมืองแคว้นเล็กสู่ราชอาณาจักรที่มีขนาดใหญ่โตกว้าง  ขวาง ชะตากรรมบั้นปลายของพระเจ้าฟ้างุ่ม วีรบุรุษผู้สถาปนา  อาณาจักรนับว่าน่าสนใจว่าเกิดอะไรขึ้น แรงต้านที่กระท�ำต่อพระ  เจ้าฟ้างุ่มมาจากไหน เมื่อราชอาณาจักรลาวย้ายศูนย์กลางจาก  หลวงพระบางมายั ง เวี ย งจั น  รั ช กาลสมเด็ จ พระเจ้ า ไชยเชษฐา  ธิราชนับว่าเริ่มศักราชใหม่ของลาวที่สัมพันธ์กับบ้านเมืองทางฝั่ง  ตะวันตกของแม่น�้ำโขง และเวียงจันก็เผชิญความผันแปรร่วมกับ  ล้านนาและอยุธยาทีถ่ กู คุกคามจากพม่าราชวงศ์ตองอู หลังจากนัน้   เราจะพบว่าล้านช้างที่เคยสัมพันธ์กับทางด้านจีนและเวียดนาม ก็  หันมาเกี่ยวข้องกับอุษาคเนย์ทางตอนล่างของแม่น�้ำโขง เข้าสู่ยุค  อาณานิคมคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๙-๒๐ ก่อนจะเป็นเอกราชใน ค.ศ.  ๑๙๔๕ และเปลีย่ นผ่านอีกครัง้ ใน ค.ศ. ๑๙๗๕ สถาปนาระบอบ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.)  แต่ไม่ใช่ว่าลาวจะถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่มาจาก  ภายนอกเท่านั้น การเข้าสู่ยุค สปป.ลาว ก็กระทบต่อทั้งอินโดจีน  โดยเฉพาะสังคมไทยในยุคแอนตี้คอมมิวนิสต์ ชัยชนะของขบวน  การฝ่ายซ้ายในลาว ส่งผลท�ำให้เกิดความกลัวในหมู่ชนชั้นน�ำไทย  และความกลัวนี้มีผลอย่างไรต่อเหตุการณ์ส�ำคัญในประวัติศาสตร์  ไทย อย่าง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ การเข่นฆ่านักศึกษาประชาชน  เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกระบวนการรั ฐ ประหารในครั้ ง นั้ น ได้ อ ย่ า งไร  กระทั่งเหตุการณ์เมื่อไม่นานมานี้ที่มีการใช้ค�ำว่า “สปป.” มาสร้าง  ประเด็นโจมตีบางกลุ่มในไทยว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า” ซึ่งสะท้อนว่า  ความเข้าใจต่อสังคมวัฒนธรรมและระบอบการเมืองการปกครอง  ปัจจุบนั ของลาว ยังคงคลาดเคลือ่ นไปจากสภาพความเป็นจริงของ  ลาว และสะท้อนการมองสังคมลาวโดยไม่มีมิติความเคลื่อนไหว  เปลีย่ นแปลง ในปัจจุบนั กล่าวได้วา่ สังคมลาวได้ววิ ฒ ั น์ผนั เปลีย่ นไป  จนแตกต่างอย่างสิน้ เชิงจากสมัยสงครามเย็น นีค่ อื กรอบคิดพืน้ ฐาน  ส�ำคัญของบทความที่น�ำมารวมเล่มในที่นี้นั่นแหละครับ  ทั้งนี้โดยวิธีมองผ่านประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อ  (12)

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


อธิบายสังคมวัฒนธรรมลาวในช่วงระยะเปลีย่ นผ่านตัง้ แต่สมัยจารีต  จนถึงหลัง ค.ศ. ๑๙๘๖ ถึงแม้จะน�ำเสนอภาพความเปลีย่ นแปลง  ของสังคมวัฒนธรรมลาวจากสมัยจารีตสูส่ มัยใหม่ แต่กอ็ ย่าได้เข้าใจ  ไปว่ากระบวนการดังกล่าวเสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปแล้ว หากแต่ความ  เปลีย่ นแปลงดังกล่าวก็ยงั ด�ำเนินอยูอ่ ย่างเข้มข้น เช่นเดียวกับสังคม  อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เผชิญปัญหาการปะทะต่อรอง  กันระหว่างพลังที่มาจากจารีตภายในสังคมกับเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ  ที่ ม าจากนานาชาติ ห รื อ โลกสากล แม่ น�้ ำ โขงแม้ ก ว้ า งใหญ่ อุ ด ม  สมบูรณ์หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนหลายล้านคนได้ แต่ชนชั้นน�ำและ  ปัญญาชนก็ยังคงเห็นความส�ำคัญกับการเปิดสังคมสู่โลกภายนอก  เพียงแต่เปิดอย่างไรให้ไม่กระทบสถาบันทางสังคมวัฒนธรรมต่างๆ  ทีด่ ำ� เนินมาจากในอดีต ความท้าทาย น่าสนใจอยูต่ รงนี ้ ไม่ใช่แต่กบั   ลาว หากยังรวมถึงสังคมประเทศที่ความมืดปกคลุมในท่ามกลาง  รอยต่อของยุคสมัย  อนึง่  ค�ำว่า “ล้านช้าง” (ล้านส้าง, ล้านซ้าง, หล่านซ้าง เขียน  แบบลาว) มีที่มาจากชื่ออาณาจักรเก่าแก่แห่งหนึ่งในลุ่มแม่น�้ำโขง  เป็นค�ำคู่กับค�ำว่า “ล้านนา” ท�ำนองจะหมายให้ทราบถึงความอุดม  สมบูรณ์ ขณะที่ฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำโขง ถือเป็นบ้านเมืองมี  ช้างมาก บ้านเมืองฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำโขงตอนกลางก็เชื่อถือกัน  ว่าเป็นบ้านเมืองที่มีที่นาเยอะอะไรท�ำนองนี้ ด้วยช้างกับนาใช้เป็น  สัญลักษณ์ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางการค้าและเกษตรกรรมของ  บ้านเมือง ไม่ได้หมายถึงเป็นเมืองที่มีช้างนับล้านเชือก หรือมีที่นา  นับล้าน อะไรอย่างนั้นเพราะคงไม่มีใครนับได้  หลักฐานสมัยจารีตมักระบุค�ำเรียกทั้งสองแว่นแคว้นนี้ว่า  “ลาว” ยิง่ กับไทยสยามทีภ่ าคกลางด้วยแล้ว ยิง่ มองทัง้ สองมีความ  เป็นลาวคล้ายคลึงกัน มีค�ำน�ำหน้านามเพื่อแยกความต่างทางภูมิ  ศาสตร์ เช่น “ลาวล้านนา” กับ “ลาวล้านช้าง” ภายหลังเมือ่ สยาม  ประสบความส�ำเร็จในการรวมศูนย์อ�ำนาจ น�ำเอาบ้านเมืองในแถบ  ลุ่มแม่น�้ำชี แม่น�้ำมูล ลุ่มน�้ำจักราช เทือกเขาดงรัก จรดถึงดงพญา  ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

(13)


ไฟเขาใหญ่ ก็มีค�ำว่า “ลาวอิสาณ” หรือ “ลาวอีสาน” (ส�ำนวน  ปากในปัจจุบัน) ขึ้นมาแยกความแตกต่างระหว่างทั้งสาม  ความหมายของค� ำ ว่ า  “ลาว” มี ผู ้ อ ธิ บ ายไว้ ม าก ในที่ น ี้ ผู้เขียนก็เพียงแต่ยืนยันตามที่มีการอธิบายไว้ก่อนหน้าตามข้อเสนอ  ที่ให้มองความหมายในแง่ที่ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ “ลาว” มี  ความหมายว่า “ผู้เป็นนาย” หรือ “เจ้านาย” อันแสดงให้เห็นร่อง  รอยสถานะผู้มีอ�ำนาจปกครองในอดีต ตรงข้ามกับค�ำว่า “ข่า” ที่  หมายถึง ไพร่, บ่าว, ทาส เมื่อสังคมลุ่มแม่น�้ำโขงมีกลุ่มสถาปนา  ตนเป็น “นาย” ประวัติศาสตร์สังคมการเมืองและวัฒนธรรมใน  แถบนี้จึงยากจะหลีกพ้นการมีประเด็นเรื่องของกลุ่มผู้ตั้งตนเป็น  “นาย” กับกลุ่มผู้ถูกกดขี่เป็น “ไพร่”  เราจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ล้านช้างที่กลุ่มผู้ถูกเอารัด  เอาเปรียบได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในรูป “กบฏข่า”  หรือ “กบฏไพร่” อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่จบลงด้วยความพ่ายแพ้  ทว่าทุกครั้งที่กบฏสิ้นสุดลง สังคมก็มักมีการปรับเปลี่ยนไม่เหมือน  เดิมอีกต่อไป กระทั่งส่งผลให้ได้รับสิทธิความเท่าเทียมกันในฐานะ  ประชาชนพลเมืองของ “ลาว” ดุจเดียวกันส�ำหรับทุกกลุ่ม เดิมค�ำ  ว่า “ลาว” นั้นสงวนไว้เฉพาะกลุ่มที่อยู่ริมฝั่งแม่น�้ำ ตามหัวเมือง  ไม่รวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กระจายอยู่ตามภูเขาและพื้นที่ห่าง  ไกลจากส่วนกลาง สังคมลาวเป็นสังคมแห่งการต่อสู้และกบฏ ดัง  ที่นักวิชาการด้าน “ลาวศึกษา” หลายท่านได้เสนอเอาไว้ เป็นจริง  ดังนั้น ก็ด้วยสาเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้นนี้แหละ และก็ด้วยเหตุ  ที่การปฏิวัติ ๑๙๗๕ มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลง  สถานภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียน  จึงปลงใจนิยามรู ปแบบรัฐและความเป็ น ชาติ ข องลาว หลังการ  ปฏิวัติ ๑๙๗๕ ว่าเป็นหลักหมายส�ำคัญของการสถาปนา “รัฐ  ประชาชาติ” (Nation-State) ในลาว   บทความบางชิ้นในเล่มนี้จะพบการเขียนสะกดแบบแปลกๆ  เช่น “พะเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าทอละนี” (พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้า  (14)

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


ธรณี), “พะเจ้าไซเซดถาทิราด” (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช), “หลวง  พะบาง” (หลวงพระบาง), “เวียงจัน” (เวียงจันทน์), “จ�ำปาสัก”  (จ�ำปาศักดิ์), “ปะหวัดสาดลาว” (ประวัติศาสตร์ลาว) ฯลฯ ขอให้  ท่านผูอ้ า่ นเข้าใจเถิดว่า นัน่ ก็เพือ่ เคารพต่อรูปแบบการเขียนของลาว  ที่เน้นความเรียบง่าย ถอดบาลี-สันสกฤต ไทยเคยมีความพยายาม  ที่จะปฏิรูปภาษาเขียนให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้เหมือนกัน ใน  สมั ย รั ฐ บาลจอมพล ป. พิ บู ล สงคราม แต่ อั ก ขรวิ ธี แ บบรั ฐ นิ ย ม  ไม่ประสบผลส�ำเร็จ เพราะความล้มเหลวบางด้านของการปฏิวัติ  ๒๔๗๕ หรือจะเพราะการต่อต้านของคนในสมัยจอมพล ป. พิบลู   สงคราม อย่างไหนมากกว่า ไม่ใช่ประเด็นในที่นี้  ความคาดหวังสูงสุดของงานชิ้นนี้ก็เพื่อหวังน�ำท่านให้ได้  รู้จักและเข้าใจเพื่อนบ้านอย่างลาวมากกว่าภาพผิวเผินที่ปรากฏ  หรื อ รั บ รู ้ รั บ ฟั ง กั น มา น� ำ ไปสู ่ ก ารปรั บ เปลี่ ย นท่ า ที แ ละข้ า มพ้ น  มายาคติทางชาติพันธุ์ต่างๆ การเข้าใจผู้อื่นย่อมเป็นทางให้เกิด  ความเข้าใจลดละอัตตาของตัวเราลง จรรโลงวิถีการอยู่ร่วมกัน  อย่างสันติ และเปลี่ยนผ่านได้โดยไม่สร้างบาดแผลหรือรอยร้าวลึก  ในประวัติศาสตร์ที่จะท�ำให้คนรุ่นหลังอยู่ร่วมกันได้ยากล�ำบากขึ้น  มาเหมือนดังเช่นในอดีต  ขอแสดงความขอบคุณอย่างสูงต่อส�ำนักพิมพ์มติชน ที่เล็ง  เห็นคุณค่าของงานชิ้นนี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ, คุณเย็น-ปานบัว  บุนปาน, พีเ่ อก-อพิสทิ ธิ ์ ธีระจารุวรรณ, พีก่ ฤช เหลือลมัย, พีห่ นุย่ -  ศรัณย์ ทองปาน, พี่เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว   ขอขอบพระคุณอย่างสูงต่อครูอาจารย์ที่สอนสั่งและเคารพ  นับถือมาโดยตลอด อาทิ รศ. ฉลอง สุนทราวาณิชย์, ผศ. สุวิมล  รุง่ เจริญ, รศ. ดร. สุธาชัย ยิม้ ประเสริฐ, รศ. ดร. สุเนตร ชุตนิ ธรานนท์,  รศ. ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, อาจารย์บาหยัน อิ่มส�ำราญ,  อาจารย์ ดร. จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์, ผศ. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์,  อาจารย์ ดร. ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, อาจารย์ ดร. ดินาร์ บุญธรรม,  อาจารย์ ดร. ภาวรรณ เรืองศิลป์, ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ  สายชล  ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

(15)


สัตยานุรักษ์, ศ. ดร. อรรถจักร สัตยานุรักษ์, ผศ. ดร. เกรียงศักดิ์  เชษฐพัฒนวนิช, ผศ. ดร. วศิน ปัญญาวุธตระกูล, อาจารย์ ดร. สุเทพ  ไชยขันธ์ เป็นต้น  รวมทั้งเพื่อนอาจารย์และนักวิชาการรุ่นเดียวกัน  อาทิ อาจารย์ปยิ ชาติ สึงตี, อาจารย์ประยุทธ สายต่อเนือ่ ง, อาจารย์  นวชนก วิเทศวิทยานุศาสตร์, อาจารย์ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ,  อาจารย์ พิ พั ฒ น์   กระแจะจั น ทร์ ,  อาจารย์ ป ฐม ตาคะนานั น ท์ ,  อาจารย์ธิกานต์ ศรีนารา, อาจารย์สมุด จ�ำปาอุทุม, อาจารย์สุธิดา  ตันเลิศ, อาจารย์ธรี ะวัฒน์ แสนค�ำ เป็นต้น และบุคคลทีม่ ไิ ด้เอ่ยนาม  แต่มีส่วนส�ำคัญในการสนับสนุนการท�ำงานชิ้นนี้ขึ้นมาจนส�ำเร็จ  ลุล่วงด้วยดี มิได้กล่าวถึงได้หมดครบถ้วน เพราะความจ�ำกัดของ  พื้นที่ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ส�ำหรับข้อบกพร่องต่างๆ ที่ปรากฏในเล่มนี้ มีสาเหตุมาจาก  ความอ่อนด้อยของผู้เขียนมากกว่าอื่นใด ด้วยว่าโลกใบนี้ยังคงเต็ม  ไปด้วยสิ่งซึ่งยังอธิบายไม่ได้ ไม่ว่าภาษาและความรู้ของเราจะก้าว  หน้าไปเพียงใด ก็มักมีสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจอยู่เสมอ หากมีสิ่งใดใน  เล่มนี้ที่เป็นความบกพร่องผิดพลาดจนเกินให้อภัย ก็ขอให้ถือเป็น  ความบกพร่องผิดพลาดของผู้เขียนที่ไม่สามารถน�ำพาความรู้แจ้ง  มาให้กับท่านได้  สุดท้ายก็ด้วยความคาดหวังที่ว่า “ครุฑ” จะคลายกงเล็บ  ลง เข้าใจและเห็นใจในวิถีชะตากรรมของ “นาค” ไม่มอง “นาค”  เป็นเหยื่ออันโอชะ และ “นาค” เองจะยอมหยุดอยู่เพียงความเท่า  เทียมเสมอหน้ากับ “ครุฑ” และเหล่าเทพทั้งหลาย ไม่เป็น “ครุฑ”  หรือ “เทพ” ใหม่ขึ้นมาแทนที่ เพราะนั่นจะไม่ส่งผลให้เกิดการปรับ  เปลี่ยนระบบความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนและเที่ยงแท้แต่อย่างใด มิใช่  เฉพาะแต่ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อคนภายนอก ยังรวมถึงภายในสังคม  เดียวกันนั้นเองด้วย      ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

ณ พระนครกรุงเก่า สยามประเทศ

(16)

นาคยุดครุฑ : “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.