เจ้าฟ้าเจ้าชาย

Page 1


เจ้าฟ้า เจ้าชาย ในพระพุทธเจ้าหลวง


ภาพจากปก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั  ทรงฉายร่วมกับพระราชโอรส ที่ศึกษาวิชาการอยู่ในยุโรปทั้งหมดใน เวลานั้ น  ระหว่ า งการเสด็ จ ประพาส ยุโรปครั้งแรกของพระองค์


เจ้าฟ้า เจ้าชาย ในพระพุทธเจ้าหลวง

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย

ราคา ๒๓๐ บาท


เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง • ศันสนีย ์ วีระศิลป์ชยั   พิมพ์ครั้งแรก : มกราคม ๒๕๕๙ ราคา ๒๓๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙. ๓๐๔ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั , พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖-๒๔๕๓. ๒. ราชวงศ์จกั รี. I. ชื่อเรื่อง. 929.7 ISBN 978 - 974 - 02 - 1462 - 5

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน | พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ศิลปกรรม, ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รตั น์ • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง

ค�ำน�ำ การศึกษาของพระราชโอรส พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(๖)

๒๕

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

๕๗

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

๙๑

จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๑๑๙

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระก�ำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

๑๔๙

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

๑๘๗

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ๒๒๓ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

๒๖๑

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (5)


คำ�นำ�

เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง

เจ้านายในหนังสือเล่มนีท้ กุ พระองค์ เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  ทีท่ รงมีสว่ นส�ำคัญในการแก้ไขสถาน การณ์คับขันของบ้านเมือง อันเนื่องมาแต่การคุกคามของนักล่าอาณา นิคมตะวันตก ซึ่งมุ่งหมายจะเข้าครอบครองและหาผลประโยชน์จาก ทรัพยากรของราชอาณาจักรต่างๆ ในเอเชียการเข้ามาของนักล่าอาณา นิคมในครั้งนั้น ท�ำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต้องสูญเสียเอกราชตก เป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคมหลายประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ท้ังพระบรม ราโชบาย พระราชวิเทโศบาย และพระราชกุศโลบายทุกประการเพื่อน�ำ พาประเทศให้รอดพ้นจากภัยคุกคามครั้งนั้น พระบรมราโชบายส�ำคัญ คือการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศ โดยการ ส่งพระราชโอรสไปทรงศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ด้านต่างๆ ในประเทศ ภาคพื้นยุโรป เพื่อจะได้น�ำวิทยาการนั้นกลับมาพัฒนาปรับปรุงบ้าน เมืองตามแนวทางของอารยประเทศต่อไป พระราชโอรสทุ ก พระองค์ ที่ เ สด็ จ ไปทรงศึ ก ษาวิ ท ยาการยั ง ประเทศต่างๆ นั้นล้วนแล้วแต่ทรงได้รับการปลูกฝังให้ทรงตระหนักถึง พระภาระหน้าที่ที่ทรงต้องมีต่อประเทศชาติบ้านเมือง เรื่องราวเกี่ยวกับ พระประวัติของเจ้านายแต่ละพระองค์นั้น แม้จะแตกต่างกันในราย ละเอียดของวัตรปฏิบัติพระองค์ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความมุ่งมั่นและ จุ ด มุ ่ ง หมาย ซึ่ ง เริ่ ม จากความมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง พระทั ย ในการที่ จ ะศึ ก ษาหา ความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงวางไว้เป็น แนวทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้วจะได้ น�ำความรู้นั้นกลับมาท�ำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง  (6) เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


ในส่ ว นของการปฏิ บั ติ พ ระองค์ เ พื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตามพระบรม ราโชบายและพระราชประสงค์นั้น พระราชโอรสทุกพระองค์จะต้องทรง อยู่ในกรอบที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงวางไว้ในรูปของพระบรม ราโชวาท ซึ่งครอบคลุมพระจริยวัตรการปฏิบัติพระองค์ในทุกๆ ด้าน นับแต่การวางพระองค์ให้เหมาะสมกับพระเกียรติยศ การตั้งพระทัย ศึกษาหาความรูอ้ ย่างจริงจังและใช้ประโยชน์ได้เมือ่ ทรงส�ำเร็จการศึกษา การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามที่ทรงก�ำหนด มิให้สุรุ่ยสุร่ายหรือฟุ่มเฟือย นอกจากพระบรมราโชวาทแล้ว การปฏิบัติพระองค์ยังถูกก�ำหนดด้วย จารีตประเพณีกฎมณเฑียรบาลและพระบรมราชโองการ โดยมีพระ อภิบาลคอยดูแลกวดขันอย่างใกล้ชิดพร้อมที่จะกราบบังคมทูลให้ทรง ทราบ หากมีสิ่งที่ผิดไปจากพระราชประสงค์ ในภาวะเช่นนี้น่าจะเกิด ความอึดอัดขัดข้องพระทัยบ้างไม่มากก็น้อย ดังปรากฏในพระปรารภ ของพระราชโอรสพระองค์หนึ่งถึงสถานภาพของพระองค์ว่า “...การ เกิดเป็นเจ้า เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง...” พระด�ำรัสนี้สะท้อนถึง ความยากล�ำบากในการครองพระองค์ให้พ้นจากสิ่งเย้ายวนต่างๆ ซึ่ง มีอยู่รอบพระองค์ และมีผู้ปฏิบัติให้เห็นอันได้แก่บุตรของข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ คหบดี ซึ่งมีก�ำลังทรัพย์พอที่จะส่งบุตรหลานของตนออก ไปศึกษายังต่างประเทศบุคคลกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งมักปฏิบัติตัวอย่างสบาย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่เคร่งเครียดและเคร่งครัด เพราะบางคนมิได้มีจุดมุ่ง หมายอย่างจริงจังจึงหลงระเริงเพลิดเพลินไปกับสิ่งเย้ายวนรอบตัว  ครั้นทรงส�ำเร็จการศึกษาเสด็จกลับมาทรงงาน ตามความรู้ที่ ได้ทรงร�่ำเรียนมา ก็ต้องทรงพบปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจาก ข้าราชการรุ่นเก่าที่ยังไม่เข้าใจวิทยาการสมัยใหม่และไม่พยายามรู้ถึง สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ยังคงยึดมั่นว่าสิ่งที่เคยปฏิบัติมานั้น ดีงามและถูกต้อง ไม่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง จึงต้องทรงพยายามที่ จะท�ำความเข้าใจกับบุคคลเหล่านั้นให้เห็นถึงประโยชน์ของวิทยาการ สมัยใหม่ที่ประเทศชาติจะได้รับ ในขณะเดียวกันก็ต้องทรงด�ำเนินการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดจนสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อให้เป็นไปตาม พระบรมราโชบายในอันที่จะปกป้องและพัฒนาประเทศชาติ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (7)


แม้ ก ารปกป้ อ งและท� ำ นุ บ� ำ รุ ง บ้ า นเมื อ งในสมั ย นั้ น จะมิ ไ ด้ ใ ช้ ชีวิตและเลือดเนื้อเป็นเดิมพัน แต่ความยากล�ำบากก็มิได้ยิ่งหย่อนกว่า กัน เพราะต้องใช้พระคุณสมบัติทั้งหมดของพระองค์ ซึ่งทั้งทรงมีอยู่ แล้วหรือทรงสร้างขึ้นมา คือ พระสติปัญญา พระวิริยะอุตสาหะ ความ อดทนอดกลั้น ความเมตตา และความรู้ที่ได้ทรงร�่ำเรียนมา ซึ่งหากมี ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานหรือการตัดสินพระทัยแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจหมายถึงภัยอันจะเกิดกับประเทศชาติและประชาชนในชาติได้ กล่าวได้ว่าพระประวัติของเจ้านายแต่ละพระองค์จะท�ำให้ผู้อ่าน ได้เข้าใจและรู้ซึ้งถึงความยากล�ำบากในพระชนมชีพ ซึ่งมิได้มีแต่ความ สุขส�ำราญดังที่คนภายนอกมองเห็นและเข้าใจ เพราะทุกพระกรณียกิจ ทีท่ รงปฏิบตั นิ นั้ เป็นไปเพือ่ ปกป้องประเทศให้คงความเป็นเอกราชรุง่ เรือง และมั่นคง ซึ่งเป็นผลสืบมาจนทุกวันนี้ผู้ที่เสวยผลแห่งความทุกข์ยาก ของพระองค์ก็คือประชาชนคนไทยทุกคนทุกหมู่ทุกเหล่า ในส่วนความ ยากล�ำบากของพระองค์นนั้ ผูเ้ ขียนไม่อาจหาค�ำพูดใดๆ มาเพือ่ ให้ผอู้ า่ น ได้เห็นภาพอย่างกระจ่างชัด นอกจากจะน�ำวาทะซึ่งปรากฏในพระบรม ราโชวาทในพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ที่ โ ปรดพระ ราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ ราชกุมาร เพราะจะสามารถอธิบายภาพแห่งความยากล�ำบากนั้นได้ อย่างแจ่มชัด คือ “...อย่าถือว่าเกิดมามีบญ ุ  ต้องถือว่าตัวเกิดมามีกรรม ส�ำหรับจะเทียมแอกไถท�ำการหนัก...” ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย

๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘

(8) เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


เจ้าฟ้า เจ้าชาย

ในพระพุทธเจ้าหลวง



การศึกษาของพระราชโอรส


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  มีเหตุการณ์ ส�ำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับความอยู่รอดของบ้านเมือง นั่นคือ การคุกคาม ของจักรวรรดินิยมตะวันตก เหตุการณ์แม้จะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้เพิ่มความรุนแรงถึงขีดสุดใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงด�ำเนิน การทุกวิถีทางที่จะให้บ้านเมืองรอดพ้นจากภัยคุกคามนั้น วิธีหนึ่งคือ การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองตามแบบอารยประเทศ เพือ่ ป้องกัน มิให้จักรวรรดินิยมใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหาร ประเทศของสยาม การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญตามแบบอารยประเทศ จ�ำเป็นต้อง อาศั ย ประเทศต้ น แบบ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงด�ำเนินพระบรมราโชบายนี้อย่างรอบคอบ คือ ต้องให้ได้ทั้งผลดี ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน และปลอดภัยจากนักล่าอาณานิคม วิธี หนึง่ คือ การคัดเลือกว่าจ้างชาวต่างประเทศทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถและ ความเหมาะสม มาเป็นผู้วางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ของบ้าน เมือง โดยมีพระราชอนุชาทีท่ รงมีความถนัดในแต่ละด้านเป็นผูร้ บั สนอง พระบรมราโชบายควบคุมดูแล ในเวลาเดียวกันก็ทรงส่งพระราชโอรส ทุกพระองค์ไปทรงศึกษาวิทยาการสมัยใหม่จากประเทศต้นแบบ โดย ทรงทั้งคัดเลือกประเทศที่มีความเด่นในวิทยาการนั้นๆ และคัดเลือก พระราชโอรสที่จะทรงส่งไปศึกษาตามความถนัดและความเหมาะสม เพือ่ ทีเ่ มือ่ ทรงส�ำเร็จการศึกษาแล้วจะได้นำ� วิทยาการนัน้ ๆ มาด�ำเนินการ พัฒนาประเทศต่อจากชาวต่างชาติที่ทรงว่าจ้างมาอย่างได้ผลสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาของพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมราโชบายที่ส�ำคัญเพื่อ รักษาเอกราชของชาติ พระราชโอรสทุกพระองค์ต่างก็ทรงเข้าพระทัย เป็นอย่างดี และต่างพระองค์ก็ทรงปฏิบัติตามพระบรมราโชบายนี้อย่าง เต็มพระสติก�ำลัง นับแต่การขยันหมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ และเมือ่ ทรงส�ำเร็จการศึกษาแล้วก็ทรงมีพระวิรยิ ะอุตสาหะในการปฏิบตั ิ พระภาระทีท่ รงได้รบั มอบหมายตามความรูค้ วามสามารถ จนการบริหาร 4 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


บ้านเมืองในช่วงเวลานั้นประสบความส�ำเร็จอย่างงดงาม สยามเจริญ รุ่งเรืองมั่นคงจนสามารถที่จะรักษาเอกราชไว้ได้ ท่ามกลางภัยคุกคาม จากมหาอ�ำนาจตะวันตก ทั้งนี้จึงถือได้ว่า การศึกษาของพระราชโอรส เป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึ่งในพระชนมชีพของพระราชโอรสทุกพระองค์ จึงน่าที่จะได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาของชาวสยาม และการศึกษา ของพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพื้น ฐานการอ่านประวัตขิ องพระราชโอรสทีท่ รงท�ำคุณประโยชน์แก่บา้ นเมือง สืบเนื่องจากภาระหน้าที่ของชนชั้นปกครองนั้นแตกต่างจากชาว บ้านสามัญชน ซึ่งมีภาระเพียงการด�ำเนินชีวิตของตนและครอบครัวให้ อยูด่ กี นิ ดีมคี วามสุข จึงจ�ำเป็นเพียงมีความรูเ้ ฉพาะตัว เฉพาะอาชีพ และ เฉพาะตระกูล แต่ภาระหน้าทีข่ องชนชัน้ ปกครองนัน้ มากมายและยิง่ ใหญ่ เพราะต้องรับผิดชอบปกป้องคุ้มครองบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย และมั่นคงจากภัยคุกคามด้านต่างๆ ในยามสงบยังต้องท�ำนุบ�ำรุงบ้าน เมืองและปวงประชาให้อยู่เย็นเป็นสุข ชนชั้นปกครองจึงต้องมีความรู้ ที่จ�ำเป็นหลายด้านเพื่อท�ำหน้าที่น้ี ซึ่งมีทั้งด้านการทหารการปกครอง และอื่นๆ โดยเฉพาะพระราชโอรสซึ่งถือเป็นพระภาระหน้าที่สืบต่อจาก บรรพบุรษุ ในการทีจ่ ะปกปักรักษาท�ำนุบำ� รุงบ้านเมือง จึงยิง่ มีความจ�ำเป็น อย่างยิ่งในการที่จะต้องทรงมีความรู้ด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการ บริหารบ้านเมือง การศึกษาของเจ้านายทั้งชายหญิงจะเหมือนกันในเบื้องต้น คือ ก่ อ นอื่ น ต้ อ งเรี ย นวิ ช าด้ า นหนั ง สื อ  ให้ อ ่ า นออกเขี ย นได้  เพื่ อ จะได้ ศึกษาหาความรู้ด้านอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป เช่น ด้านวรรณกรรม ศาสนา พงศาวดารประวัติศาสตร์ราชสกุลวงศ์ ต่อจากนั้นราชนารีก็จะแยก ไปเรียนวิชาส�ำหรับกุลสตรี เช่น การเย็บปักถักร้อย ประกอบอาหาร และการบ้านการเรือนอื่นๆ ในส่วนพระราชโอรสจะทรงแยกไปทรง ศึกษาวิทยาการอันเกี่ยวกับการยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และการปกครอง ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่จะต้องฝึกฝนอบรมให้มีทั้งก�ำลังกาย ก�ำลัง ใจและก�ำลังสติปัญญาอย่างพร้อมสมบูรณ์ การศึกษาของพระราชโอรส มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และความจ�ำเป็นตลอดจนยุคสมัย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 5


ของบ้านเมือง ในสมัย รัต นโกสิน ทร์ เ ริ่ม ตั้ง แต่ ป ลายรัช กาลพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสยามเริ่มเปิดประเทศติดต่อคบค้าสมาคม กับชาวตะวันตก พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรง มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในอนาคต ในอันที่จะต้อง เกี่ยวข้องกับชาติทางตะวันตก และเข้าสู่ความเป็นสยามยุคใหม่ ดัง ปรากฏในพระราชปรารภที่ว่า “...การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียที แก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว...” ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การหลั่งไหลเข้ามาของชาวตะวันตกเพิ่มขึ้น พระองค์ ท รงเริ่ ม เห็ น พิ ษ ภั ย อั น จะเกิ ด ขึ้ น จากชาวตะวั น ตก จึ ง ทรง พยายามหาวิธีที่จะป้องกันภัยนั้น โดยยึดหลักการใช้สันติวิธีและสติ ปัญญา เริม่ ต้นจากการศึกษาภาษาอังกฤษ เพือ่ จะได้ทรงเรียนรูท้ ศั นคติ และวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ แ ท้ จ ริ ง ของชาวตะวั น ตก โดยการที่ ท รงคบค้ า สมาคมเปิดโอกาสให้ชาวตะวันตกเข้าเฝ้าสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทรงพบว่าชาวตะวันตกมีความเจริญในวิทยาการสมัย ใหม่และมีทัศนคติบางอย่างที่แตกต่างจากชาวตะวันออกอย่างตรงข้าม โดยเฉพาะเรือ่ งเกีย่ วกับคุณภาพชีวติ และทรัพยากรธรรมชาติ ชาวตะวัน ตกมีคติความเชื่อว่า คุณภาพชีวิตของมนุษย์ทุกคนในโลกจะต้องเท่า เทียมกัน มีความสุขมีเครื่องอ�ำนวยความสุขไม่น้อยกว่ากันมากนัก ใน ส่วนทรัพยากรธรรมชาตินั้นชาวตะวันตกถือว่าเป็นของสาธารณะ เป็น สิทธิ์ของมนุษยชาติท่ีจะน�ำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ในขณะที่คติความ เชือ่ ของชาวตะวันออกเกีย่ วกับคุณภาพชีวติ ของมนุษย์นนั้  มีวา่  สุขทุกข์ ล�ำบากสบายขึ้นอยู่กับบุญกรรมของแต่ละคนที่ได้กระท�ำมาแต่ชาติปาง ก่อน ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ชาวตะวันออกจะถือสิทธิ์ ยึดครองเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติภายในอาณาเขตของตน มีการ หวงแหนต่อสู้แย่งชิงกัน จากคติความเชื่อที่ตรงข้ามกันนี้ทำ� ให้พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงภยันตรายที่จะเกิดขึ้นกับ 6 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


ประเทศทางตะวันออก รวมทั้งราชอาณาจักรสยาม ทรงแก้ปัญหานี้ ด้วยพระสติปัญญาอย่างรอบคอบโดยทรงยอมโอนอ่อนท�ำความเข้าใจ กับทัศนคติและวิถีชีวิตของชาวตะวันตก ทรงรับฟังและแลกเปลี่ยน ความรู้ความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งกันและกัน นับ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ทรงคบค้า สมาคมกับชาวตะวันตกอย่างเป็นมิตรไมตรีและเสมอภาคกัน ครั้ น ถึ ง รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ประเทศทางตะวันตกได้เข้ายึดครองราชอาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เขมร พม่า ญวน ด้วยข้ออ้างว่าจะเข้ามาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาติเหล่านั้น พระองค์ทรงสานต่อพระราชวิเทโศบายในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่ยอมโอนอ่อนคบค้าสมาคมกับชาว ตะวันตก และทรงรับวิทยาการสมัยใหม่ ซึง่ จะเป็นประโยชน์กบั ประเทศ ชาติมาใช้ในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ให้เจริญทัดเทียมนานาอารย ประเทศ เพื่อมิให้เป็นข้ออ้างในการที่นักล่าอาณานิคมจะเข้าแทรกแซง การบริหารประเทศ ซึ่งก็หมายถึงการคุกคามเพื่อเข้าครอบครองบ้าน เมืองของเรานั่นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงวางทั้งแนว พระบรมราโชบายและพระราชวิเทโศบายในการปรับปรุงพัฒนาประเทศ ทุกๆ ด้าน และน�ำประเทศเข้าสูก่ ารติดต่อคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก เต็มตัวอย่างเสมอภาคกัน การพัฒนาประเทศให้เจริญตามแบบอารย ประเทศในระยะแรกจ�ำเป็นต้องพึง่ พาชาวตะวันตก ซึง่ เป็นเจ้าของวิทยา การสมัยใหม่ โดยทรงเริม่ จากการว่าจ้างชาวตะวันตกประเทศต่างๆ ทีม่ ี ความเชี่ยวชาญช�ำนาญในความเจริญแต่ละด้านเข้ามาเป็นผู้วางพื้นฐาน พัฒนาบ้านเมืองในกิจการแขนงต่างๆ และเวลาเดียวกันก็ทรงวางเป็น พระบรมราโชบายในการทีจ่ ะต้องฝึกฝนอบรมพระราชโอรสทุกพระองค์ ให้มคี วามรู้ด้านหนังสือ ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นพืน้ ฐาน เพือ่ จะได้ส่งไปศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป และ กลับมารับใช้ประเทศตามแนวทางที่ทรงศึกษามา การศึกษาของพระราชโอรสทุกพระองค์ได้รับการวางพื้นฐาน ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 7


ครูและนักเรียนโรงเรียนสวนนอก

ขัน้ ต้นจากครูคนแรกคือ พระราชมารดาของพระราชกุมารแต่ละพระองค์ ซึ่งต่างพระองค์ต่างมีวัตถุประสงค์ตรงกันคือให้เป็นไปตามพระบรม ราโชบายและความพอพระทัยในสมเด็จพระบรมราชสวามี แต่พระราช กุมารส่วนหนึ่งมีพระราชมารดาที่ทรงมีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระ ยุคลบาท ทรงทราบถึงปัญหาบ้านเมืองและพระบรมราโชบายในการ บริหารบ้านเมือง ตลอดจนแนวทางแก้ไข จึงทรงใช้แนวทางนั้นอบรม สั่งสอนพระราชโอรสให้สอดคล้องกับพระบรมราโชบายและพระราช ประสงค์อย่างเคร่งครัด ดังเช่นพระมเหสี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระ ศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จ พระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี 8 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


พระมเหสีทงั้  ๒ พระองค์ทรงเข้าพระทัยถึงปัญหาบ้านเมือง และ ตระหนักถึงพระราชประสงค์ของพระบรมราชสวามีเป็นอย่างดี ประกอบ กับพระราชโอรสของทั้ง ๒ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสชั้นสมเด็จ เจ้าฟ้า ซึ่งในอนาคตจะต้องทรงมีบทบาทรับใช้ใกล้ชิดสนองพระเดช พระคุณในการบริหารบ้านเมือง จึงทรงถือเป็นพระราชภาระส�ำคัญใน การอบรมฝึกฝนและปลูกฝังพระราชโอรสทุกพระองค์ให้ทรงเจริญวัย ด้วยพระคุณสมบัติตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมราชชนก อย่างครบถ้วน ทัง้ การเอาพระทัยใส่ให้มพี ระวิรยิ ะอุตสาหะในการศึกษา พระจริยวัตรการปฏิบัติพระองค์ที่เหมาะสม ความส�ำนึกในการรับผิด ชอบบ้านเมืองในการที่จะทรงแบ่งเบาพระราชภาระในการบริหารและ ท�ำนุบ�ำรุงรักษาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง สิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้ พระคุณสมบัตดิ งั กล่าวได้รบั ผลส�ำเร็จสมบูรณ์คอื  การศึกษา โดยเฉพาะ การศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ ซึง่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวทรงหวังไว้วา่ จะเป็นส่วนส�ำคัญในการน�ำประเทศไปสูค่ วามเป็นอารยะ และพ้นจากภัยคุกคามของนักล่าอาณานิคมตะวันตก ด้วยเหตุดังกล่าว พระราชมารดาทัง้  ๒ พระองค์ จึงต้องทรงเข้มงวดกวดขันพระราชโอรส ในด้านการศึกษาอย่างจริงจัง มีหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับเรื่องนี้ในลาย พระราชหัตถเลขาของทั้ง ๒ พระองค์ ดังจะได้น�ำมาประกอบให้ทราบ ถึงพระราชด�ำริและแนวทางเกี่ยวกับการศึกษาในพระราชโอรสของทั้ง ๒ พระองค์ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระราช ชนนีของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพตั รสุขมุ พันธ์ ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินติ เป็นพระมเหสีพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู ่ หั ว  ที่ ท รงมี พ ระคุ ณ สมบั ติ โ ดดเด่ น เฉพาะพระองค์  คื อ  ทรงสน พระทัยในการศึกษาวิชาด้านหนังสือถึงขั้นเชี่ยวชาญ ท�ำให้ทรงเป็นผู้มี ความรูค้ วามคิดอ่านกว้างขวางฉลาดหลักแหลม ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ของโลก เป็นที่ประจักษ์พระเนตรพระกรรณ ได้รับความไว้วางพระราช หฤทั ย แต่ ง ตั้ ง เป็ น ราชเลขานุ ก ารในพระองค์   ท� ำ หน้ า ที่ คั ด พระราช กระแสรับสั่งราชการเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ด้วยเหตุนี้จึงทรงมี ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 9


โอกาสรับรู้และเข้าพระทัยทั้งพระบรมราโชบายและพระราชวิเทโศบาย ตลอดจนพระราชประสงค์และความพอพระราชหฤทัยในพระบรมราช สวามีอย่างลึกซึ้ง ทรงใช้ความรู้นี้วางแนวทางการศึกษาของพระราช โอรส โดยเฉพาะทรงมีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ความหวังทั้ง มวลจึงทรงทุ่มเทลงทีพ่ ระราชโอรสพระองค์น ี้ ดังจะเห็นได้จากข้อความ ที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงพระราชโอรสขณะทรงศึกษา อยู่ในยุโรป ล้วนเป็นข้อความที่บ่งบอกถึงความห่วงใยเอาพระทัยใส่ทั้ง เรื่องการศึกษาและวัตรปฏิบัติพระองค์ เพื่อให้สอดคล้องกับพระบรม ราโชบายและความพอพระราชหฤทัยของพระบรมราชชนก ซึ่งจะได้ยก พระราชหัตถเลขาบางฉบับมาเป็นหลักฐานถึงการทรงอบรมสั่งสอน พระราชโอรสของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ เกี่ยวกับการศึกษาทรงน�ำ แนวทางพระราชด�ำริในพระบรมราชสวามีในการที่จะให้พระราชโอรส ชั้ น เจ้ า ฟ้ า ทุ ก พระองค์ เ รี ย นวิ ช าทหาร โดยทรงน� ำ เหตุ ผ ลและความ จ�ำเป็นตามแนวพระราชด�ำริมาถ่ายทอดสู่พระราชโอรสความว่า “...ที่ เป็นทหารนั้นดีมากกว่าพลเรือนเพราะอาจจะเรียนได้ทั้งสองอย่าง แล ได้วินิจฉัยไว้ว่า บรรดาลูกที่เป็นเจ้าฟ้าควรจะต้องเป็นทหาร เพราะเหตุ ว่าที่จะประมาทว่าเมืองไทยในภายน่าจะไม่มีเวลาเป็นคอนสติตูชแนล ไม่ได้ ถ้าหากว่าจะเลิกเจ้านายรับราชการในน่าที่พลเรือนเมื่อใด เจ้าฟ้า แลจะหลุดไปก่อน ไม่มีอะไรท�ำ ถ้าหากว่าเป็นทหารอยู่ คงจะได้เป็น ทหารอย่างเจ้านายฝรั่ง...” และทรงกล่าวถึงการศึกษาฝ่ายพลเรือนและ ความหวังในพระบรมราชชนกที่ทรงมีต่อพระราชโอรสพระองค์นี้ว่า “... แม่ได้อุตส่าห์จดจ�ำมาเล่าให้ฟัง เพื่อจะให้ลูกรู้ตัวว่าทูลหม่อมท่านมี พระราชประสงค์อย่างใดในตัวลูก การศึกษาเล่าเรียนในทางราชการ แลในส่วนวิชาการไม่เป็นการง่าย ไม่เป็นของที่จะพึงหยิบเอาได้ในวัน ในพรุ่ง เมื่อได้รู้ตัวเสียแต่ต้นมือฉะนี้แล้ว จะได้ค่อยเล่าเรียนไปใน เวลาว่างการเรียนทหารแลศึกษาไปตามก�ำลังปัญญาที่จะเป็นไปได้ ขอ ให้ลูกตริตรองในการเล่าเรียน และประพฤติตัวให้ต้องตามความหวัง พระราชหฤทัยของทูลหม่อมทุกอย่างทุกประการ...” และขณะเมื่อพระ ราชโอรสทรงเข้าศึกษาวิชาทหารบกในประเทศเยอรมนีก็ทรงเอาพระทัย 10 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


ใส่อบรมตักเตือนกวดขันเรื่องการศึกษาและวัตรปฏิบัติพระองค์อย่าง เข้มงวดทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษามักทรงเน้นให้พระราชโอรส ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษา ดังปรากฏเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในลาย พระราชหัตถเลขาหลายฉบับ เช่น “...ขอให้พอ่ ตัง้ ใจอุตสาหะเล่าเรียนให้ สมพระราชประสงค์ อย่าให้ต้องเป็นอันสูญเปล่าแห่งพระราชทรัพย์ กลับมาจะได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ...” และ “...ในที่สุดนี้ ขอเตือนซ�้ำๆ มาอีกว่าอย่าเห็นแก่การเล่นสนุก ซึ่งส�ำหรับแต่จะท�ำให้ เปลืองเวลาการเล่าเรียน ทุกวันนี้แม่หายใจเข้าทีหนึ่งก็ลูก หายใจออก ทีหนึ่งก็ลูก ขอให้ลูกตั้งหน้าเล่าเรียนเพื่อจะได้ย่นเวลากลับมาหาแม่ โดยเร็ว...” ทรงเสียดายเวลาทุกนาทีที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ “... เป็นที่น่าเสียดายเวลาที่ต้องเปลืองไปเปล่าเป็นที่สุด เมื่อไม่ได้เรียนฝรั่ง ดังนี้แล้ว ควรที่พ่อจะดูหนังสือข้างไทยไปบ้าง เพราะหนังสือไทยพ่อ ก็ยังไม่แม่นย�ำนัก...” นอกจากเรือ่ งการศึกษาแล้ว สมเด็จพระปิตจุ ฉาเจ้าฯ ยังทรงเอา พระทัยใส่อบรมปลูกฝังด้านความประพฤติและการปฏิบัติพระองค์ เช่น พระส�ำนึกถึงพระเกียรติยศว่า “...ให้รู้สึกแต่ใจของตัวว่า ตัวเกิด มาในชาติตระกูลอันสูง จ�ำเป็นที่จะต้องรักษาตัว ให้สมกับที่ตัวเป็นผู้ สูงชาติ...” ทรงสอนเรื่องการปฏิบัติและการวางพระองค์ให้เหมาะควร ว่า “...พ่อจงอุส่าห์ฝากตัว กลัวเกรงเสด็จอาว์ และแสดงกิรยิ าอ่อนน้อม (มิใช่ถงึ ไหว้กราบ) ต่อพวกข้าราชการทีเ่ ขาเป็นผู้ใหญ่ ทีส่ ดุ จนมองสิเอร์ ยัคมิน ซึ่งเป็นผู้ก�ำกับไป เมื่อเขาจะว่ากล่าวตักเตือนประการใด ก็ต้อง เชื่อฟังเขาตามสมควร อย่าท�ำให้เป็นที่รังเกียจเกลียดชังแก่เขาทั้งหลาย เหล่านั้นได้ เผื่อว่าจะมีทุกข์ขุกไข้ หรือขัดข้องอย่างไร เขาจะได้ช่วย แนะน�ำแก้ไขให้โดยความกรุณา...” เนื้อความในพระราชหัตถเลขาทุกฉบับที่ทรงมีถึงพระราชโอรส นัน้ เปีย่ มแปล้ไปด้วยความรักความปรารถนาดี มีทงั้ หลักการและเหตุผล ที่น่าเชื่อถือ จึงสามารถที่จะโน้มน้าวจิตใจพระราชโอรสพระองค์เดียว ให้ทรงโอนอ่อนเชือ่ ฟังและปฏิบตั ติ ามพระโอวาทอย่างเคร่งครัดสม�ำ่ เสมอ เมือ่ ทรงส�ำเร็จการศึกษากลับมารับราชการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 11


พระบรมราชชนกและแผ่นดินเกิด ทรงปฏิบัติพระภารกิจอันเป็นคุณ ประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงนานัปการ ทรงได้รบั ความเชือ่ ถือในพระปรีชาสามารถจากคนทั่วไป จนทรงได้รับยกย่องเป็นเสาหลัก ของแผ่นดินในปลายระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชมารดาอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงมีโอกาสใกล้ชิดเบื้องพระ ยุคลบาท ทรงทราบถึงปัญหาบ้านเมืองและพระบรมราโชบายตลอดจน พระราชวิเทโศบายในการแก้ปัญหาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นอย่างดี พระราชมารดาพระองค์นนั้ คือ สมเด็จพระศรี พัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นพระราช มารดาของพระราชโอรสชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าถึง ๕ พระองค์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ เป็นพระอัครมเหสีที่พระบรมราช สวามี ท รงโปรดปราน เพราะพระคุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษเฉพาะพระองค์ นอกจากพระรูปโฉมทีง่ ดงาม พระกิรยิ ามารยาทเรียบร้อยอ่อนโยน พระ สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีพระปฏิภาณไหวพริบยอดเยี่ยมในการเอา พระทัยพระบรมราชสวามีจนทรงเป็นที่สนิทเสน่หา ยังเป็นพระราชนารี ที่ทรงสนพระทัยในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ดังที่สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระเชษฐาของพระองค์ ทรงกล่าวถึงพระคุณสมบัติด้านนี้ของพระขนิษฐาไว้ว่า “...ทรงศึกษา เล่าเรียนได้น้อยนัก แต่หากว่าทรงมีพระวิริยะ พระปัญญามากตั้งแต่ ประสูติมาเดิมแล้ว และพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงเมตตา กรุณาใช้สอยติดตามเสด็จมาแต่ยังทรงพระเยาว์ได้ทรงเห็นทรงฟังพระ กระแสรับสัง่  และการงานในพระราชส�ำนักมาก อีกทัง้ ได้ทรงพระอุตสาห หมั่นฟัง หมั่นถาม หมั่นเล่าเรียน หมั่นเขียน หมั่นตริตรองตามวิสัย บัณฑิตยชาติ จึงได้ทรงทราบสรรพวิชาอันควรจะทราบได้ ถ้าแม้จะ ไม่ดีกว่าก็เสมอเหมือนผู้ท่ีมีความรู้และศึกษาเล่าเรียนอย่างดีแล้ว...” และหมอสมิ ท  แพทย์ ช าวอั ง กฤษประจ� ำ พระราชส� ำ นั ก สมเด็ จ พระ บรมราชินีนาถได้เล่าเกี่ยวกับพระคุณสมบัติของพระองค์ไว้ว่า “...ทรง มีปฏิภาณหลักแหลม ทัง้ ทีไ่ ม่เคยทรงได้รบั การศึกษาตามแบบสมัยใหม่ แต่ทรงสะสมความรู้จากประสบการณ์ รวมทั้งจากความฉลาด สุขุม 12 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 13


และช่างสังเกตของพระองค์เอง...” ด้วยพระคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมด ท�ำให้ทรงทราบและเข้า พระทัยในพระราชประสงค์ของพระบรมราชสวามีเป็นอย่างดี ทรงรับ มาปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเกีย่ วกับการศึกษาของพระราชโอรส ทรงตระหนักถึงคุณค่าจึงให้ความสนพระทัยเป็นอันดับแรกๆ ทรงปฏิบตั ิ พระองค์เป็นครูคนแรกของพระราชโอรส เมื่อทุกพระองค์ยังทรงพระ เยาว์ ทรงอบรม สั่งสอน และปลูกฝังให้ทุกพระองค์มีพระจริยวัตร การปฏิบัติพระองค์ที่สง่างามสมชาติตระกูล และทรงวางพื้นฐานความรู้ รอบพระองค์ โดยเฉพาะเรือ่ งเกีย่ วกับความเป็นมาของพระบรมราชวงศ์ ตลอดจนการปกครองบ้านเมืองของบูรพมหากษัตริย ์ พระราชกรณียกิจ ที่ทรงท�ำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมั่นคง เพื่อปลูกฝังให้พระราชโอรส ทุกพระองค์มีความภาคภูมิพระทัยในบรรพบุรุษ และให้ทรงตระหนัก ถึงพระภาระหน้าที่ในการที่จะต้องทรงสืบสานการบริหารบ้านเมืองต่อ จากบูรพมหากษัตริย์ ส่วนส�ำคัญที่จะท�ำให้ทรงประสบความส�ำเร็จ ตามพระราชประสงค์ก็คือการศึกษานั่นเอง ดังนั้นเมื่อพระราชโอรส ทุกพระองค์ทรงถึงวัยที่จะได้รับการศึกษาขั้นต้น จึงทรงเข้มงวดกวด ขันทั้งบรรดาพระราชกุมาร พระอาจารย์ ตลอดจนเวลาในการเล่าเรียน ของพระราชโอรส ดังปรากฏเกี่ยวกับเรื่องนี้ในพระราชหัตถเลขาที่ทรง มีถึงเจ้าพระยาสุเรนทราธิบดี ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธ สุรยิ ศักดิซ์ งึ่ มีหน้าทีด่ แู ลการศึกษาของพระราชโอรส ทรงก�ำชับให้เข้มงวด กวดขันในเรื่องการศึกษาของพระราชโอรส โดยทรงพระอนุญาตให้ ‘กดขี่ฝึกสอน’ ความว่า “...จึงต้องบอกกล่าวให้ทราบไว้ แลขออย่าให้ เกรงใจในการทีจ่ ะกดขีฝ่ กึ สอนประการใด จงท�ำตามความคิดเห็นสมควร ทุกอย่าง เพื่อจะให้เป็นผลกับการเรียนให้เจริญตามควรแก่เวลาแล อายุของเด็กนั้น...” ทรงเข้มงวดไม่ยอมให้เสียเวลาการศึกษา เพราะ ทุกครั้งที่พระราชโอรสโดยเสด็จพระราชด� ำเนินแปรพระราชฐานไป ประทับที่ที่ไม่มีครูถวายการสอน จะทรงกังวลพระทัย เสียดายเวลาที่ เสียไป และทรงขอให้พระยาวิสุทธฯ ส่งครูไปถวายการสอนด้วย “... เพราะฉะนั้นฉันอยากให้เธอจัดครูขึ้นมาสอนที่นี่ได้จะเป็นการดีกว่า 14 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


ปล่อยให้อยู่นิ่งกันเปล่าๆ ฉนี้ เวลาเช้าก็ไม่ได้ไปไหนกัน กว่าจะบันทม ตื่นได้เฝ้าแหนอะไรกันก็บ่าย ตอนเช้าเด็กๆ ก็ไปเล่นเหลวๆ แหลกๆ อยู ่ ข ้ า งน่ า  ตามประสาเด็ ก ไม่ เ ป็ น เรื่ อ งอยู ่ ทุ ก วั น  ฉั น เห็ น ว่ า เปลื อ ง เวลาเปล่า ความรู้อะไรที่จะได้รับในเวลานี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากเหลว เพิ่มขึ้น...” ทรงก�ำชับไปถึงครูผู้สอน “...แลขอให้เธอก�ำชับครูให้มาก ให้เร่งเขี้ยวเข็ญสอนลูกให้อ่านให้จ�ำหนังสือให้มากขึ้นอีกลูกยังได้รับ ความรู้น้อยกว่าอายุมากนัก เหลวไหลเต็มทีจะโทรมป่น...” พระองค์มไิ ด้ทรงออกแต่คำ� สัง่ ตามพระราชอ�ำนาจเท่านัน้  เพราะ ทรงตระหนักพระทัยดีว่า การที่จะพึ่งพาผู้อื่นให้ได้ผลส�ำเร็จนั้นขึ้น อยู่กับจิตใจและความพอใจของผู้สนองพระราชประสงค์ยิ่งกว่าสิ่งอื่น บางครั้งทรงต้องใช้วิธีการละมุนละม่อมโน้มน้าวจิตใจผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ ทุ่มเททั้งก�ำลังกายและก�ำลังใจ เพื่อให้พระราชภาระที่ทรงมอบหมาย ส�ำเร็จลุล่วงดังพระราชประสงค์ โดยเฉพาะเรื่องพระราชโอรสเสด็จไป ทรงศึกษายังประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ห่างไกลพระเนตรพระกรรณ จึงมีพระราชหัตถเลขาฝากย�้ำไปว่า “...ขอฝากลูกทั้ง ๒ จงมาก ขอให้ ช่วยเมตตา ช่วยว่าตักเตือนในสิ่งที่ผิดอย่าให้เป็นไปได้ และแนะน�ำ ในสิง่ ทีช่ อบทีค่ วร ขออย่าให้เป็นการเผินๆ แลอย่าเป็นอย่างทางราชการ ขอให้ว่ากล่าวประหนึ่งว่า ลูกหลานอย่าได้มีความเกรงใจเลย...” นอกจากจะทรงเข้มงวดกวดขันเรื่องการศึกษาแล้ว ยังทรงเอา พระทัยใส่ สังเกตพระอุปนิสยั  พระจริยวัตร และความถนัดของพระราช โอรสทุกพระองค์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแนวทางการศึกษาและ การอบรม ดังเช่นที่ทรงกล่าวถึงพระนิสัยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ ภูวนาถ “...ลูกคนเล็กนั้นเป็นนิสัยของเขาเช่นนั้นเอง ซึ่งฉันได้บอกถึง เธอแล้วว่า ลูกคนนีเ้ ป็นคนพุง่ ปรูดปราด ความพินจิ พิจารณาน้อย จะท�ำ อันใดสุดแต่เอาเร็วเข้าว่าเป็นแล้วกัน...” พระราชโอรสทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อทรงทยอยส�ำเร็จการศึกษา เสด็จกลับประเทศไทยทุกพระองค์ ได้ ทรงท�ำประโยชน์แก่บ้านเมืองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะพระราชโอรส พระองค์โต คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และเสด็จเถลิงถวัลย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 15


ราชสมบัตเิ ป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั  พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๖ แห่งราชจักรีวงศ์ และพระราชโอรสพระองค์ท้ายสุดคือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น การอภิบาลพระราชโอรสให้มีพระคุณสมบัติเป็นที่พอพระราช หฤทัยในสมเด็จพระบรมราชชนกสมัยโบราณ น่าจะมีเพียงให้ทรงมีวตั ร ปฏิบัติที่งดงาม มีความจงรักภักดี รู้กาละเทศะ และปฏิบัติพระองค์ให้ ต้องกับพระราชประสงค์ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของพระราชมารดาและ พระมารดา แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเรียนหนังสือเก่งเป็นสิ่งที่จะท�ำให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงโปรด ปรานยิ่งกว่าพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นนอกจากพระมเหสี ๒ พระองค์ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น พระราชมารดา พระมารดาทุกพระองค์ต่างตื่นตัว และซาบซึ้งถึงผลดีของการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาต่อยังประเทศ ต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งเมื่อพระองค์ใดทรงส�ำเร็จการศึกษากลับมาจะ เพิ่มคุณค่าของเจ้านายพระองค์นั้นให้โดดเด่นเป็นพิเศษกว่าเจ้านาย พระองค์อื่น อันจะเป็นช่องทางในการท�ำราชการให้ได้ต�ำแหน่งใหญ่โต ง่ายกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้ หรือได้รับการศึกษาเพียงภายในประเทศ อัน จะเป็นผลสืบเนื่องไปถึงการเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิตของ พระราชมารดา พระมารดา และครอบครัวต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้ พระราชมารดา พระมารดาของพระราชโอรสทุกพระองค์ ต่างเข้มงวด กวดขันในเรื่องการศึกษาของพระราชโอรสเป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้ก็เป็นไป ตามพื้นฐานและอัธยาศัยของแต่ละพระราชมารดา พระมารดา และ ในรัชสมัยนี้การฝึกฝนอบรมสั่งสอนพระราชโอรสธิดามิได้เป็นหน้าที่ เฉพาะแต่ของพระราชมารดา พระมารดาเท่านั้น พระราชบิดาก็ทรงให้ ความสนพระทัยในการฝึกฝนอบรมสั่งสอนพระราชโอรสทุกพระองค์ เพื่อให้ได้รับผลส�ำเร็จตามพระบรมราโชบายที่ทรงวางไว้ วิธีการของ สมเด็ จ พระบรมราชชนกที่ ท รงปฏิ บั ติ ต ่ อ พระราชโอรสพระราชธิ ด า ทุกพระองค์คอื  ทรงให้ความใกล้ชดิ สนิทสนม ทัง้ นีเ้ พือ่ จะได้ทรงสังเกต พระอัธยาศัยและความถนัดของพระราชโอรสแต่ละพระองค์ได้อย่าง 16 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


ชัดเจนถูกต้อง อันจะน�ำไปสู่การวางแผนการศึกษาของพระราชโอรส ทุกพระองค์ให้สอดคล้องกับความถนัด พระอุปนิสัย หรือความจ�ำเป็น เล่ากันถึงความใกล้ชดิ  และการเอาพระราชหฤทัยใส่ของพระบรมราชชนก ทีท่ รงมีตอ่ พระราชกุมารกุมารีทงั้ หลายว่า ระหว่างการก่อสร้างพระราชวัง สวนดุสิตนั้น มักจะเสด็จไปทรงตรวจงานการก่อสร้างบ้าง พักผ่อน พระอิรยิ าบถบ้าง ในการเสด็จแทบทุกครัง้ พระราชโอรสธิดาทัง้ รุน่ ใหญ่รนุ่ เล็กมักตามเสด็จด้วย พระราชโอรสธิดารุ่นเล็กพากันสนุกสนานกับการ เล่น และสิ่งที่พระราชกุมารกุมารีทั้งหลายทรงรู้สึกว่าน่าเล่นมากอย่าง หนึ่งคือ การเล่นในกองฟาง จะทรงมุดเข้ามุดออกจนกองฟางกระจุย กระจาย ระหว่างที่ทรงเล่นก็จะทรงท่องหนังสือดังๆ พระบรมราชชนก ซึ่งประทับอยู่ไม่ไกลนัก ทรงปล่อยให้เล่นเหมือนไม่สนพระราชหฤทัย แต่หากพระองค์ใดทรงท่องอะไรผิด ก็จะได้ยินพระสุรเสียงแก้ไขให้ ถูกทุกครั้ง และจากการที่ทรงสังเกตทั้งพระอุปนิสัยและความถนัดของ พระราชโอรสแต่ละพระองค์ ท�ำให้ทรงสามารถที่จะเลือกวิชาเรียนให้ พระราชโอรสได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังปรากฏข้อสังเกตของ พระองค์ในพระราชหัตถเลขาถึงพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๖ ความตอนหนึ่งว่า “...ชายบริพัตรและชายเล็กนั้น เป็นคนคิดไม่นิ่ง ชายเล็กกล้ากว่าบริพัตร แต่มีพุ่งได้บ้าง ชายบริพัตร หย่อนข้างกล้า แต่ระวังมาก...กระบวนเข้าสมาคมโต้เถียงเล่นฤๅจริง เล็กคล่องกว่า แต่ชายบริพตั รละเอียดลออกว่า ทัง้ ในความคิดแลฝีมอื ท�ำ การทางที่จะเสียของลูกชายเล็กมีอย่างเดียวแต่เรื่องจองหอง...ชาย บุรฉัตรอยู่ข้างจะเป็นคนขี้อวด...แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นด้วยประสงค์จะแสดง ความเท็จเป็นด้วยตื่นๆ เมาๆ ตัวหน่อยๆ หนึ่ง ถ้ากวดให้มีความรู้ได้ มาก จนความที่เชื่อตัวของตัวไม่ยิ่งไปกว่าความรู้แล้วก็คงจะใช้ได้ดี ชายอาภากรนั้นอัธยาศัยเป็นคนซื่อมาแต่เดิม เป็นผู้ที่สมควรแก่วิชา ที่เรียนอยู่แล้ว...ชายดิลกนั้นเป็นคนขยันในการเล่าเรียน มีไอเดียเป็น ลาวๆ อยู่บ้าง ถ้าไม่มีความรู้อาจจะฟุ้งซ่านได้เล็กน้อย แต่เป็นคนไม่สู้ กล้า...ชายเพ็ญนั้นผิดกับที่ได้เคยสังเกตมาแต่เมื่อเล็กๆ เข้าใจว่าไม่โง่ แต่จะเอาเป็นเฉียบแหลมนั้นไม่ได้อยู่เอง แต่อัธยาศัยเป็นคนขี้กระดาก ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 17


แลไม่กล้า...” พระราชโอรสทุกพระองค์ทรงอยู่ในความสังเกตของ พระบรมราชชนกอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านสติปัญญา อุปนิสัย และความ ถนัด เมื่ อ แรกก็ ท รงพระราชด� ำ ริ จ ะให้ พ ระราชโอรสทุ ก พระองค์ ทรงเลือกศึกษาตามความถนัด โดยมีหลักส�ำคัญคือ ศึกษาวิชาใดเมื่อ ส�ำเร็จกลับมาแล้ว จะต้องสามารถรับใช้ราชการแผ่นดินในแขนงวิชานัน้ ได้ จนเมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงเริ่ม เปลี่ยนแปลงพระราชด�ำริเกี่ยวกับการศึกษาของพระราชโอรส เพราะ การเสด็จประพาสยุโรปหลายประเทศในครั้งนั้นท�ำให้ทรงตระหนักถึง ภาวะการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก โดยเฉพาะเรื่องระบบการ ปกครอง ซึ่งชาวยุโรปก�ำลังตื่นตัวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ว่าเป็นวิธีการปกครองของผู้มีอารยธรรมสูง และพยายามที่จะเผยแพร่ การปกครองระบอบนีไ้ ปทัว่ ทุกภูมภิ าคของโลก ซึง่ ก็นา่ จะเผยแพร่มาถึง ไทยในไม่ช้า ทรงพระราชด�ำริว่าหากการปกครองของประเทศเปลี่ยน ไป ผู้ที่จะได้รับผลกระทบกระเทือนมากที่สุดก็น่าจะเป็นบรรดาเจ้านาย ทั้งหลาย ยิ่งเป็นเจ้านายชั้นสูงซึ่งก็คือเหล่าพระราชโอรสก็ยิ่งจะต้องได้ รับผลกระทบมากเป็นทวีคูณ จึงมีพระราชด�ำริป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้น กับพระราชโอรส เริ่มจากทรงวางแนวทางการศึกษาของพระราชโอรส ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคต แต่เดิมทีท่ รงยึดหลัก ความถนัด ความเหมาะสมกับพระอุปนิสัยของพระราชโอรสนั้น ทรงเปลี่ยนแปลง พระราชด�ำริใหม่ โดยโปรดให้พระราชโอรสโดยเฉพาะชั้นเจ้าฟ้าทุก พระองค์ ทรงเรียนวิชาทหาร เว้นแต่พระองค์ที่สุขภาพไม่อ�ำนวย ทั้งนี้ โดยทรงมีเหตุผลสนับสนุนพระราชด�ำรินี้หลายประการ ประการแรก ก็นา่ จะเป็นการทีท่ �ำให้พระเจ้าลูกยาเธอ ซึง่ โดยธรรมชาติของบุคคลทีอ่ ยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่มีผู้คนห้อมล้อมรับใช้พะเน้าพะนอเอาใจหรือไม่กล้า ขัดใจ ก็จะเป็นผู้มีอุปนิสัยเอาแต่ใจตนเอง ไม่มีระเบียบวินัย ไม่ใคร่ เข้มแข็งอดทน การเรียนทหารจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ ดังพระราชด�ำริ ที่ว่า “...แต่ความประพฤติกายอย่างดิสสิปลินข้างฝ่ายทหารดีกว่าฝ่าย พลเรือนเป็นอันมาก ต้องหัดอยู่ในบังคับคนขึ้นไปจนถึงผู้บังคับคน 18 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


พระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 19


ต้องดริลเป็นเครื่องบ�ำรุงก�ำลังกาย แต่ข้างฝ่ายพลเรือนมีแต่ซักซ้อม ฝีปากแลพนันขันต่อ อยูล่ �ำลองสบายมาก ฝ่ายการทหารมีระเบียบเรียบ ร้อยดีกว่า...” นอกจากความมีระเบียบวินัยร่างกายแข็งแรงแล้ว น่าจะ มี พ ระราชด� ำ ริ ถึ ง ความอดทนอดกลั้ น ที่ ใ นพระชนมชี พ ของเจ้ า นาย ชั้นนี้มีอยู่น้อยมาก ซึ่งทรงคาดการณ์ไว้ว่า “...ชั้นเจ้าฟ้าไม่ดีจริงเต็มที คงจะไม่รับท�ำการพลเรือน เว้นไว้แต่จะเป็นต�ำแหน่งใหญ่...” ทรงสรุป เหตุผลข้อนี้ไว้ว่า “...เพราะเหตุผลทั้งปวงเปลี่ยนแปลงกันมาก จึงเห็น ว่าการทีเ่ รียนในทางทหาร ซึง่ เป็นประเพณีของเจ้าฝรัง่ ไว้ในชัน้ ต้นก็ด.ี ..” ประโยชน์ที่มีพระราชด�ำริว่าบ้านเมืองจะได้รับควบคู่ไปกับเจ้านายก็คือ การที่เมืองสยามยังไม่เคยมีสถาบันการศึกษาวิชาทหารสมัยใหม่ หาก พระราชโอรสได้ ท รงศึ ก ษาวิ ช าแขนงนี้ ส� ำ เร็ จ กลั บ มาก็ จ ะทรงเป็ น ผู้วางพื้นฐานการศึกษาวิชาทหารสมัยใหม่ในสยาม และยังเป็นตัวอย่าง ให้ชายชาวสยามนิยมการเป็นทหารมากขึ้น ดังที่ทรงกล่าวเกี่ยวกับการ เรียนวิชาทหารของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธไว้ว่า “...คือลูกโต ซึ่ง ไปเป็นทหารในชั้นต้นนั้นเห็นเป็นการมีคุณอยู่ ด้วยเหตุว่าการทหาร ในกรุงเทพฯ นีจ้ ะเรียกว่าไม่มเี ลยก็วา่ ได้ หาทีเ่ รียนรูใ้ นบางกอกไม่ได้ ผู้ ซึ่งมีบรรดาศักดิ์มากแลจะเป็นใหญ่สืบไปภายน่า ถ้ามีความรู้ในทหาร จะได้คิดจัดการทหารพอมีทางพูดจาให้เข้าใจกันได้ แลจะเป็นตัวอย่าง ที่ให้คนที่เป็นทหารมีใจไม่เบื่อหน่ายย่อท้อ ด้วยเห็นว่าเป็นหน้าที่ของ คนเลวๆ จะเป็น...” แต่แม้จะเรียนวิชาทหารแล้วก็ไม่โปรดให้ทอดทิง้ วิชาฝ่ายพลเรือน มี พ ระราชด� ำ ริ ใ ห้ เ ป็ น รองวิ ช าทหาร เพราะวิ ช าพลเรื อ นนั้ น สามารถ จะหาทีเ่ รียนได้งา่ ย และเป็นวิชาทีข่ นึ้ อยูก่ บั ความสนพระทัย ความถนัด และความสามารถของแต่ละพระองค์ อันจะเป็นวิชาส�ำหรับท�ำหน้าที่ต่อ ไป ดังที่ทรงพระราชทานพระราชด�ำริไว้ว่า “...เมื่อได้เรียนพอสมควร แล้ว ต้องกลับมาเรียนฝ่ายพลเรือน ซึ่งจะเป็นภาคพื้นส�ำหรับน่าที่ต่อ ไป...แม้ว่าจะต้องไปเป็นทหารเสียช้านาน การศึกษาฝ่ายพลเรือนน้อย ไป แต่อย่างไรก็ดเี ราเชือ่ ว่าคงจะไม่เป็นเหตุให้ถงึ แก่ทำ� การฝ่ายพลเรือน ไม่ได้ด้วยความสามารถของตัวเด็ก...” ประการส�ำคัญที่ทรงค�ำนึงถึง 20 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


เป็นอย่างมากคือความปลอดภัยของพระราชโอรส โดยเฉพาะชั้นเจ้าฟ้า หากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น พระราชโอรสที่ทรงศึกษา วิชาพลเรือนเพียงอย่างเดียวจะทรงประสบปัญหาดังที่ทรงวิเคราะห์ไว้ ว่า “...ท�ำการพลเรือนเสียเกียรติยศทีต่ ้องถูกกระทบกระเทือนต่างๆ ซึง่ ทีเ่ มืองเราก็มบี ้าง แต่เวลานีน้ ้อย แต่ถ้าเป็นปาลีเมนต์ขนึ้ เมือ่ ไรแล้ว เจ้า นายเป็นเข้าในหน้าทีร่ าชการพลเรือนไม่ได้ เพราะทนแอตแตกไม่ไหว...” อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิชาพลเรือนก็มคี วามส�ำคัญไม่นอ้ ย โดยเฉพาะ กับพระเจ้าลูกยาเธอชัน้ พระองค์เจ้า ซึง่ มิได้ทรงบังคับให้เรียนวิชาทหาร ทุกพระองค์ ทรงให้เลือกศึกษาวิชาด้านพลเรือนตามความถนัดของ แต่ละพระองค์ เพราะทรงพระราชด�ำริว่า “...แต่หน้าที่แลช่องที่จะได้ ใช้การทหารน้อยกว่าการพลเรือน...” ประกอบกับพระราชโอรสชัน้ นีน้ า่ ที่ จะทรงมีช่องทางในการท�ำราชการพลเรือนตามพระญาติฝ่ายพระมารดา ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่สังกัดกระทรวงทบวงกรมต่างๆ และประการส�ำคัญพระราชโอรสชั้นนี้น่าที่จะทรงรอบรู้ชีวิตเข้าใจความ คิดและความเป็นอยู่ของสามัญชนพอสมควร ซึ่งจะท�ำให้ทรงมีความ อดทนอดกลั้นมากกว่าพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้า ดังที่ทรงพระราชด�ำริว่า “...ส่วนพระองค์เจ้านั้นจะเป็นทหารฤๅพลเรือนก็ไม่สู้กีดขวางอันใด นัก...เห็นจะจ�ำต้องรับการพลเรือน...” เมื่อทรงวางแนวทางการศึกษาของพระราชโอรสแล้ว ขั้นต่อไป คือ ขั้นตอนการศึกษาเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานหรือแนวทางในการปฏิบัติ ของพระราชโอรสทุกพระองค์ ขั้นแรกนับแต่เสด็จจากสยาม โปรดให้ หาที่ประทับซึ่งจะต้องเป็นบ้านผู้ดีมีสกุล เพื่อให้พระราชกุมารได้ทรง คุน้ เคยกับชีวติ ความเป็นอยู ่ ขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนอุปนิสยั ใจคอของคนในประเทศนั้น ประการส�ำคัญจะได้ทรงคุ้นเคยกับภาษา ที่จะต้องทรงใช้สนทนาอยู่ทุกวัน ในระหว่างนี้ก็ต้องทรงศึกษาวิชาขั้น ต้นในโรงเรียนสามัญ ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี ขั้นที่ ๒ โปรดให้เข้า เรียนในโรงเรียนสามัญชั้นกลาง คือ พับลิคสกูลที่ดี เช่น แฮโร ในช่วง เวลานี้นอกจากการศึกษาวิชาความรู้แล้ว พระราชกุมารจะต้องทรงเข้า สมาคมกับเพื่อนนักเรียน เพื่อให้ทรงคุ้นเคยกับสังคมของชาวยุโรป ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 21


บรรยากาศการเรียนการสอนภายในห้องเรียนหลวงสมัยรัชกาลที่ ๕

ใช้เวลาประมาณ ๔ ปี และขั้นที่ ๓ อันเป็นขั้นสุดท้ายคือ การเข้าเรียน ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันชั้นสูงที่ทรงเลือก ในช่วงนี้นอกจากจะทรง ศึกษาวิชาการแล้ว ยังจะต้องทรงศึกษาหาความรู้รอบพระองค์อย่าง กว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม การปกครอง เศรษฐกิจ ชีวิตความ เป็นอยู ่ ขนบประเพณีวฒ ั นธรรม ซึง่ ผูด้ แู ลจะต้องจัดการเชิญเสด็จทอด พระเนตรสถานทีท่ ใี่ ห้ความรูแ้ ละประโยชน์ตามพระราชประสงค์ เพือ่ จะ ได้ น�ำ ความรู ้ ที่ไ ด้ รับ ในด้ า นต่ า งๆ ทั้ง โดยรวมและโดยเฉพาะวิช าที่ พระราชโอรสแต่ละพระองค์ทรงเลือกศึกษา เช่น พระองค์ใดทีท่ รงศึกษา 22 เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง


วิชาวิศวกรรม ก็โปรดให้เสด็จไปทอดพระเนตรสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับวิชาการ ด้านนี้ พระองค์ใดที่ทรงศึกษาวิชาการทหาร ก็โปรดให้เสด็จไปทอด พระเนตรหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับทหาร เป็นต้น ก�ำลังพระทัยส�ำคัญที่ท�ำให้พระราชโอรสทุกพระองค์มีพระวิริยะ อุ ต สาหะในการศึ ก ษาเล่ า เรี ย นและการประพฤติ ป ฏิ บั ติ พ ระองค์ งดงามสมเป็นขัตติยราชกุมาร น่าจะเกิดจากความเอาพระราชหฤทัยใส่ ของสมเด็จพระบรมราชชนก เพราะผลการเรียนและการประพฤติปฏิบตั ิ พระองค์ของพระราชโอรสทุกพระองค์ ต้องถึงพระเนตรพระกรรณ หาก พระราชโอรสพระองค์ใดทรงมีผลการเรียนอยู่ในระดับที่ดีมาก จะทรง ได้รับค�ำชมเชยจากสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งเป็นสิ่งที่พระราชโอรส ทุกพระองค์ทรงปรารถนาที่จะได้รับ อีกทั้งอนาคตของพระราชโอรส แต่ละพระองค์ กับพระราชมารดา พระมารดา ตลอดจนวงศาคณา ญาติก็ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพระราชโอรสทั้งสิ้น ด้วยเหตุ ดังกล่าวทุกพระองค์จึงมีพระวิริยะอุตสาหะในการศึกษาจนเต็มพระ สติปัญญาความสามารถ ซึ่งผลการศึกษาส่วนใหญ่ก็เป็นที่พอพระราช หฤทัย นอกจากผลประโยชน์ส่วนพระองค์ดังกล่าวแล้ว ส่วนส�ำคัญคือ ส่วนทีป่ ระเทศชาติได้รบั  เพราะทุกพระองค์เมือ่ ทรงส�ำเร็จการศึกษากลับ มาก็ได้น�ำความรู้ที่ได้รับมาใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เป็นการวาง พื้นฐานระบบการพัฒนาและการบริหารประเทศตามแบบอารยประเทศ อันเป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึง่ ทีท่ �ำให้ประเทศชาติรอดพ้นภัยพิบตั จิ ากการ คุกคามของนักล่าอาณานิคมตะวันตก และมั่นคงตราบจนเท่าทุกวันนี้

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 23


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.