Life Between Buildings พิมพ์ครั้งที่2

Page 1

Life Between Buildings Jan Gehl


Livet Mellem Husene, Copenhagen 1971 / Life Between Buildings, Washington DC 2011 Copyright arrange with:

Jan Gehl

GEHL Architects-Urban Quality Consultants, Gammel Kongevej 1, DK 1610 Copenhagen V, Denmark

www.gehlarchitects.dk


ค�ำน�ำผู้แต่ง ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้ต้อนรับ “Life between Buildings” ในฉบับ ภาษาไทยเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ฉบับแรกถูกตีพิมพ์ย้อนหลังไปในช่วงปี 1970 ด้วยเจตนารมณ์ที่ ต้องการชีใ้ ห้เห็นถึงข้อบกพร่องของงานผังเมืองยุคใหม่ทปี่ รากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม อย่างแพร่หลายในงานผังเมืองที่เป็นสากลในยุคนั้นเป็นการส่งเสียงให้ผู้เกี่ยวข้อง หันมาสนใจผูค้ นพลเมืองทีต่ อ้ งใช้ชวี ติ อยูท่ า่ มกลางตึกรามและอาคารเหล่านัน้ อีกทัง้ ยังเป็นการกระตุน้ ให้เกิดความเข้าใจถึงคุณลักษณะทีม่ คี วามละเอียดอ่อนว่า ตลอด ประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานของมนุษยชาตินั้นมักจะเกี่ยวพันกับการใช้พื้นที่ สาธารณะให้เป็นประโยชน์ในการพบปะและสังคมกันมาโดยตลอด รวมถึงเป็นการ ชี้ให้ชัดไปที่ชีวิตผู้คนที่ด�ำรงอยู่ท่ามกลางตึกรามอาคารว่าเป็นมิติหนึ่งของงาน สถาปัตยกรรมที่ผู้ออกแบบจะต้องใส่ใจอย่างระมัดระวัง 40 ปีผ่านไป แม้งานสถาปัตยกรรมตามกระแสนิยมหลาย ๆ กระแส และคตินิยม หลาย ๆ เรื่องจะตกยุคไปแล้วแต่ข้อค�ำนึงที่ยังคงเป็นสาระส�ำคัญอยู่ตลอดมาก็คือ ความเอาใจใส่ทจี่ ะท�ำให้ทงั้ เมืองและย่านพักอาศัยมีชวี ติ ชีวาและเกิดความน่าอยู่ ซึง่ เห็นได้จากอัตราความต้องการจะใช้พื้นที่สาธารณะดี ๆ ที่เพิ่มขึ้นมากมายทั่วโลก ณ เวลานี้ ตลอดจนการให้ความส�ำคัญเรื่องคุณภาพของเมืองและพื้นที่สาธารณะ ในเมื อ งที่ มี ม ากขึ้ น ด้ ว ยอย่ า งมากแม้ รู ป แบบของชี วิ ต ผู ้ ค นที่ ต ้ อ งอยู ่ ท ่ า มกลาง สิง่ ก่อสร้างจะปรับเปลีย่ นไปพร้อม ๆ กับการเปลีย่ นแปลงของสภาพสังคม แต่หลัก การส�ำคัญรวมถึงเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพทีจ่ ำ� เป็นต้องยึดถือทุกครัง้ เมือ่ จะต้อง สร้างสรรค์งานคุณภาพเพือ่ มนุษย์ในพืน้ ทีส่ าธารณะนัน้ ได้รบั การพิสจู น์แล้วว่ายังคง อยู่ไม่เสื่อมคลาย ช่วงหลายปีทผี่ า่ นมานีห้ นังสือเล่มนีไ้ ด้รบั การแก้ไข ปรับปรุงเนือ้ หาให้ทนั ยุคทันสมัย อยูเ่ สมอ ดังนัน้ ฉบับภาษาไทยเล่มนีจ้ งึ มีเนือ้ ความส่วนน้อยทีค่ ล้ายคลึงกับหลาย ๆ เล่มที่ตีพิมพ์ไปก่อนหน้านี้ แต่ไม่ว่าจะมีข้อมูลใหม่ ๆ และภาพประกอบเพิ่มเติม อย่างไร ใจความทีเ่ ป็นสาระพืน้ ฐานอันเป็นเจตนารมณ์ทสี่ ำ� คัญยิง่ ทีต่ อ้ งการน�ำเสนอ นัน้ มิได้เปลีย่ นไปแต่อย่างใด นัน่ ก็คอื ทุกชีวติ อันมีคา่ ทีด่ ำ� เนินไปท่ามกลางสิง่ ก่อสร้าง ทั้งหลายทั้งปวงจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีเสมอ ในภาวะปัจจุบันที่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกก�ำลังอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่ ความเจริญมัง่ คัง่ และความทันสมัย ผมหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า หลักการในการวางแผน และผังเชิงมนุษยนิยมที่ผมน�ำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้จะมีบทบาทในการเป็นแรง บันดาลใจให้กระบวนการเปลีย่ นแปลงทีส่ ำ� คัญยิง่ ในประเทศไทยนีส้ ำ� เร็จเป็นอย่างดี

ญาน เกห์ล เขียนที่เมืองโคเปนเฮเกน มกราคม 2556


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ 1 + 1 ต้องมากกว่า 3 ส�ำนักพิมพ์เห็นด้วยกับแรงกระเพือ่ มของทฤษฎีขา้ งต้น จึงตัดสินใจพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ในเวลาไม่นาน หนึง่ คือหนังสืออ่านประกอบเกีย่ วกับเมืองและผังเมืองทีเ่ ป็นภาษาไทย ยังคงมีอยู่น้อย สองคือผู้เขียนเป็นปรมาจารย์ของวงการการศึกษาผังเมืองที่ได้รับ การยอมรับทัว่ โลก สามคือมีการแปลมาแล้วมากกว่า 22 ภาษา ทัง้ สามข้อนีก้ เ็ พียง พอที่จะตัดสินใจจัดพิมพ์ หนังสือวิชาการเฉพาะเช่นนี้ อาจจะไม่ค่อยดึงดูดกลุ่ม ผู้อ่านที่เป็นสถาปนิก ถ้าหากตัดสินใจด้วยวิธีคิดเชิงธุรกิจ ก็คงไม่มีโอกาสได้เห็น หนังสือฉบับภาษาไทยนี้ ทางส�ำนักพิมพ์ ลายเส้นโดยเฉพาะคุณนิธิ สถาปิตานนท์ จึงพยายามผลักดันและสนับสนุนให้ผมู้ คี วามพร้อม พยายามรวมความรู้ รวบความ คิด จัดพิมพ์เป็นออกมาเป็นรูปเป็นร่าง เช่นเดียวกับหนังสือเล่มนี้ ขอแนะน�ำให้พยายามลองอ่านอย่างช้าๆ และพยายามอ่านให้จบทัง้ เล่ม เมือ่ อ่านจนจบ เชื่อว่าเราจะพบตัวร่วมเดียวกันสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งง่ายๆ แต่เข้าใจยากที่เรียกว่า “ความรู้สึก” หลายคนเข้าใจมนุษย์ รู้จักเมือง แต่อาจจะหยาบกว่าที่ผู้เขียนสัมผัส ให้ลองเปิดใจรับความละเอียดลออ ความแตกฉานในระบบการมองและความคิด ของผู้เขียน สถาปนิกเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการก�ำหนดชีวิตของมนุษย์ ชีวิตของเมือง ผ่านการออกแบบ ความรู้สึกที่มีต่อทุกเรื่องเป็นสิ่งส�ำคัญ ความรู้สึกเหล่านั้นหาก มาจากความเข้าใจอันถูกต้องก็จะยังผลทวีคูณ สิ่งที่ ญาน เกห์ล ให้ไว้เป็นเพียง ระบบความคิดต้นทางที่เขียนเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ความหวังต่อไปอยู่ที่สถาปนิกและ นักวางแผนเมือง เริ่มสร้างเมืองที่น่าอยู่ในอีก 40 ปีข้างหน้า จากพื้นฐานที่ถูกต้อง และจริงใจ – ทุกอย่างเริ่มต้นจากหน่วยที่เล็กที่สุด ขอขอบคุณปรมาจารย์ ญาน เกห์ล ผู้เขียนที่ให้ลิขสิทธิ์การแปลกับส�ำนักพิมพ์ไทย ขอบคุณ ดร. ดาวิษี บุญธรรม ทีแ่ นะน�ำหนังสือเล่มนีใ้ ห้รจู้ กั รวมทัง้ เชือ่ มโยงให้รจู้ กั กับผู้เขียน ท�ำให้ได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์ในเวลาอันรวดเร็ว ธรรมชาติของการแปล หนังสือเชิงวิชาการเฉพาะทาง โดยเฉพาะด้านสถาปัตยกรรมจะหาผู้แปลได้ค่อน ข้างหายาก ด้วยผู้แปลที่มาจากสายวิชาชีพนั้น ก็อาจจะไม่สันทัดในการเรียบเรียง ค�ำภาษาไทยให้สละสลวยหรือแม่นย�ำตามแบบแผน หากเป็นผูแ้ ปลนอกสายวิชาชีพ ก็ต้องมีอุตสาหะ หาแทนค�ำเฉพาะต่างๆ มาใช้ให้ผู้อ่านในสายวิชาชีพนี้ เข้าใจได้ ง่าย สือ่ ความหมายได้ตรงความ จึงต้องขอบคุณอย่างมากในความตัง้ ใจอย่างมุง่ มัน่ ของทั้งกับผู้แปล คุณภคนันท์ เสนาขันธ์ รุ่งแสง และผู้ตรวจทาน ดร. ดาวิษี บุญธรรม ในการท�ำงานร่วมกับทีมงานของลายเส้น ท้ายสุด ขอขอบคุณในไมตรีจติ ของผูใ้ ห้การสนับสนุนการพิมพ์ ทัง้ สถาบันการศึกษาและส�ำนักงานสถาปนิก ทีเ่ ห็น ความส�ำคัญของหนังสือประเภทวิชาการ ช่วยกันท�ำให้หนังสือฉบับภาษาไทยนี้ เป็น ภาษาที่ยี่สิบสามของโลก ปรากฏตัวขึ้นอย่างสวยงามสมบูรณ์ร่วมกัน - ทุกอย่าง สมบูรณ์จากหน่วยที่เล็กที่สุด สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ


ค�ำส�ำคัญจากบรรณาธิการ เมืองมีชีวิต การใช้พื้นที่สาธารณะฉบับภาษาไทยเล่มนี้ แปลมาจากต้นฉบับภาษา อังกฤษ Life Between Buildings : Using public Space แต่งโดย ญาน เกห์ล สถาปนิกและนักผังเมืองชาวเดนมาร์กผู้คร�่ำหวอดอยู่ในวงการกว่าสี่สิบปี ผลงาน ชิน้ นีเ้ ป็นหนึง่ ในต�ำราพืน้ ฐานในการเรียนการสอน วิชาการออกแบบชุมชนเมืองและ การวางผังเมือง แม้จะเป็นหนังสือที่เขาเขียนมาตั้งแต่ปี 1970 แต่เนื้อความนั้นยัง คงทันสมัย เกห์ลไม่ได้น�ำเสนอทฤษฎีที่สลับซับซ้อน หรือเข้าใจยาก แต่กล่าวถึง ความเป็นจริง และความเข้าใจทีถ่ กู ต้องในเรือ่ งของการออกแบบเชิงมนุษยนิยม หรือ การออกแบบเพื่อให้มนุษย์นั้นใช้งาน และอยู่ในพื้นที่สาธารณะได้อย่างสุขกาย สบายใจ เป็นการเน้นย�้ำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองได้หวนกลับมาคิดถึงคุณภาพ ชีวติ ของผูค้ นทีต่ อ้ งพักพิงหรือสัญจรบนทางเท้าอยูท่ า่ มกลางตึกรามบ้านเรือนอีกครัง้ สิ่งส�ำคัญอีกประการเกี่ยวกับผู้เขียนคือ เกห์ลไม่ใช่นักทฤษฎี แต่เป็นนักปฏิบัติ ประสบการณ์ในการออกแบบและการเป็นที่ปรึกษาให้กับส�ำนักผังเมืองในหลาย ประเทศทั่วโลก รวมทั้งตัวอย่างต่าง ๆ ที่เขากล่าวถึงในหนังสือนี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติ ให้เกิดผลได้จริง กล่าวได้วา่ เขาเป็นผูร้ เิ ริม่ และอยูเ่ บือ้ งหลังการพลิกโฉมเมืองใหญ่ ๆ หลาย ๆ เมืองให้มกี ารปรับปรุงพืน้ ทีส่ าธารณะของเมืองให้ตอบรับกับมนุษย์อกี ครัง้ เหล่านีเ้ ป็นประจักษ์พยานว่าการเพิม่ จ�ำนวนพืน้ ทีส่ าธารณะและสร้างคุณภาพทีด่ ใี ห้ กับผังเมืองนั้นท�ำได้จริง และการคิดถึงคุณค่าที่พื้นที่สาธารณะที่มีต่อสังคมก่อนที่ จะคิดถึงความคุม้ ทุนทางเศรษกิจนัน้ ก็เป็นจริงได้เช่นกัน ตัวอย่างงานทีบ่ ริษทั Gehl Architect เป็นที่ปรึกษามีให้เห็นอยู่หลายโครงการ เช่น การเปลี่ยนพื้นที่ในบริเวณ Time Square และ Broadway ของมหานครนิวยอร์กให้เป็นถนนคนเดิน จากถนน ที่จอแจแออัดไปด้วยรถยนต์ มีทั้งมลพิษทางอากาศและเสียงดังรบกวน กลายมา เป็นลานคนเมืองที่ดึงดูดให้ผู้คนมานั่ง มายืน มาเดิน มาคุย มาพบปะกัน กลาย เป็นย่านที่ที่มีความหมายต่อคนในสังคมเมืองนี้ขึ้นอีกมากมายหลายเท่า ผูเ้ ขียนน�ำเสนอเนือ้ หาของหนังสือเล่มนีด้ ว้ ยการน�ำเสนอตัวอย่างและการเฝ้าสังเกต ความเป็นไปของพฤติกรรมมนุษย์ตามท้องถนนและหมูอ่ าคาร ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นการ ยกตัวอย่างจากเมืองในต่างประเทศ ตัวอย่างเหล่านัน้ แสดงถึงการเน้นคุณภาพของ พืน้ ทีส่ าธารณะในเมืองซึง่ ตอบรับกับบริบททางสภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ของเมืองนั้น ๆ โดยเมืองอื่น ๆ ไม่สามารถลอกเลียนแบบและน�ำมาใช้ในบริบท ทีแ่ ตกต่างได้โดยตรง ดังนัน้ การแปลหนังสือเล่มนีจ้ งึ เน้นความส�ำคัญไปทีก่ ารถ่ายทอด แนวความคิดของผู้เขียน ซึ่งคณะผู้แปลพิจารณาว่าเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่า อย่างยิง่ สมควรทีจ่ ะน�ำมาเผยแพร่เป็นภาษาไทยองค์ความรูน้ จี้ ะมีคณ ุ ค่ามากยิง่ ขึน้ หากสามารถกระตุน้ จิตส�ำนึกของสถาปนิก นักผังเมืองและผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับเมือง รวมถึงประชาชนทัว่ ไป ในการน�ำแนวคิดเชิงบวกนีม้ าปรับใช้อย่างเหมาะสมในบริบท เมืองของไทย เพื่อคุณภาพเมืองที่ดีขึ้นในอนาคต



01 เมืองมีชวี ติ : การใช้พนื้ ทีส่ าธารณะ

กิจกรรมกลางแจ้งสามประเภท ชีวิตท่ามกลางตึกรามบ้านเรือน กิจกรรมกลางแจ้งกับคุณภาพของพื้นที่นอกอาคาร กิจกรรมกลางแจ้งกับสมัยนิยมทางสถาปัตยกรรม ชีวิตท่ามกลางตึกรามบ้านเรือน ในสถานการณ์สังคมปัจจุบัน


กิจกรรมกลางแจ้งสามประเภท ภาพเหตุการณ์บนถนนสายหนึ่ง วันธรรมดา ๆ บนถนนสายธรรมดาสายหนึ่ง...ผู้คนเดินขวักไขว่ไปมาอยู่บน ทางเท้า เด็ก ๆ เล่นกันแถว ๆ หน้าประตู ผู้คนนั่งแกร่วตามม้านั่งและขั้น บันได บุรษุ ไปรษณียแ์ วะเวียนส่งจดหมายตามบ้าน คนสองคนทีเ่ ดินสวนกัน กล่าวทักทายกัน ช่างยนต์สองคนช่วยกันซ่อมรถ กลุ่มคนสนทนากันอย่าง ออกรส การคละเคล้าของกิจกรรมกลางแจ้งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะปัจจัย อื่น ๆ หลายปัจจัย สภาพแวดล้อมทางกายภาพ คือ หนึ่งในหลายปัจจัยที่มี อิทธิพลหลายด้านต่อลักษณะของกิจกรรมกลางแจ้งเหล่านั้นซึ่งเป็นสาระ ส�ำคัญของหนังสือเล่มนี้ กิจกรรมกลางแจ้งสามประเภท กล่าวโดยง่ายได้ว่า กิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่สาธารณะแบ่งได้เป็นสาม ประเภท คือ กิจกรรมจ�ำเป็น กิจกรรมทางเลือกและกิจกรรมเชิงสังคม ซึ่ง แต่ละประเภทจะต้องการพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีลักษณะ แตกต่างกันไป กิจกรรมจ�ำเป็น - ภายใต้ทุกสภาวะ กิจกรรมจ�ำเป็นครอบคลุมกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่จัดได้ว่าเป็นภาคบังคับให้ ต้องท�ำ ยกตัวอย่างเช่น ไปโรงเรียนหรือไปท�ำงาน ไปจับจ่ายซื้อของ รอรถ ประจ�ำทางหรือรอคน ท�ำธุระปะปัง ส่งจดหมายหรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ กิจกรรมที่ต้องท�ำไม่ว่าจะมีความจ�ำเป็นมากหรือน้อยก็ตาม กล่าวโดยทัว่ ไปได้วา่ กิจกรรมทีเ่ ป็นกิจวัตรประจ�ำวันและกิจกรรมทีเ่ ราท�ำเป็น งานอดิเรกล้วนรวมอยู่ในกลุ่มกิจกรรมจ�ำเป็นนี้และมักจะเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการเดิน ด้วยความทีก่ จิ กรรมในกลุม่ นีเ้ ป็นสิง่ จ�ำเป็นจึงไม่คอ่ ยได้รบั อิทธิพลจากกรอบ ทางกายภาพมากนัก เป็นกิจกรรมที่เกิดตลอดทั้งปีในทุก ๆ บรรยากาศและ ค่อนข้างเป็นอิสระจากลักษณะของสภาพแวดล้อมภายนอก ผู้กระท�ำไม่มี สิทธิ์เลือก

14


กิจกรรมกลางแจ้ง สามประเภท

บน: กิจกรรมจ�ำเป็น

กลาง: กิจกรรมทางเลือก

ล่าง: กิจกรรมเชิงสังคม

15


กิจกรรมทางเลือก - ภายใต้สภาวะภายนอกที่พึงพอใจเท่านั้น กิจกรรมทางเลือก คือ กิจกรรมที่ค่อนข้างจะต้องมีความพอใจเข้ามามีส่วน เป็นกิจกรรมที่ผู้ท�ำมีความประสงค์จะท�ำ ผู้ท�ำเลือกท�ำเพราะมีเวลาว่างพอ และสถานที่ก็เชื้อเชิญ กิจกรรมในหมวดนี้ครอบคลุมตั้งแต่เดินเล่นสูดอากาศบริสุทธิ์ ยืนมองดูนั่น ดูนี่ไปเรื่อย ๆ มีความสุขกับชีวิตหรือแม้กระทั่งนั่งเล่นและนอนอาบแดด กิจกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเป็นที่ถูกอก ถูกใจ อากาศก็เชื้อเชิญและสถานที่ก็ชวนเชิญเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ข้อนี้ เชื่อมโยงกับผังทางกายภาพของสถานที่อย่างมีนัยส�ำคัญ เนื่องจากกิจกรรม นันทนาการทั้งหลายที่อยู่ในกลุ่มกิจกรรมทางเลือกนี้จะยิ่งให้ความพอใจถ้า ได้ท�ำในพื้นที่กลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพ ภายนอกอย่างยิ่ง

กิจกรรมกลางแจ้งกับคุณภาพของพื้นที่ภายนอกอาคาร เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่กลางแจ้งด้อยคุณภาพ กิจกรรมที่เกิดขึ้นก็มักจะมีเพียง กิจกรรมจ�ำเป็นเท่านั้น แต่หากพื้นที่กลางแจ้งเป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพดี แน่นอนที่กิจกรรมจ�ำเป็นก็จะ ยังเกิดขึน้ ตามปกติเพียงแต่มแี นวโน้มว่าจะด�ำเนินไปได้นานกว่าเพราะสภาพ ทางกายภาพที่ดีกว่านั่นเอง และหากมีกิจกรรมทางเลือกเกิดขึ้น ก็จะยิ่งเห็น ความหลากหลายของกิจกรรมมากขึน้ เพราะสถานทีแ่ ละสภาพการณ์โดยรวม เป็นตัวดึงดูดผู้คนให้มาหยุด มานั่ง มากิน มาเล่นหรือมาท�ำอะไรต่ออะไร อื่น ๆ ได้อีกมากมาย ยามใดที่ท้องถนนหรือพื้นที่เมืองไม่มีคุณภาพดีพอ โอกาสที่จะเกิดกิจกรรม ต่าง ๆ ก็ย่อมน้อยตามไปด้วย ผู้คนจะรีบตรงกลับบ้านมากกว่า แต่ในทางตรงข้าม หากสภาพแวดล้อมมีคุณภาพดีก็จะมีความเป็นไปได้มาก ที่ลักษณะของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจะมีความแตกต่างไปได้อย่างไร้ขีดจ�ำกัด

กิจกรรมเชิงสังคม กิจกรรมเชิงสังคมครอบคลุมกิจกรรมทุกอย่างในพื้นที่สาธารณะที่ต้องมี บุคคลอื่นปรากฏร่วมอยู่ด้วย เช่น เด็ก ๆ ที่ก�ำลังเล่นร่วมกัน ผู้คนทักทาย

16


คุณภาพของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ กิจกรรม

ด้อย

ดี

ตารางแสดงความ สัมพันธ์ระหว่างคุณภาพ ของพื้นที่กลางแจ้งกับ อัตราการเกิดของ กิจกรรมกลางแจ้ง

กิจกรรมจ�ำเป็น

เมื่อพื้นที่กลางแจ้งมี คุณภาพที่ดี กิจกรรม ทางเลือกจะเกิดได้ถี่ขึ้น และเมื่ออัตราการเกิด ของกิจกรรมทางเลือก เพิ่มขึ้น จ�ำนวนของ กิจกรรมเชิงสังคมก็เพิ่ม ขึ้นด้วยตามล�ำดับ

กิจกรรมทางเลือก

กิจกรรม“ลูกโซ่” (กิจกรรมเชิงสังคม)

และสนทนาปราศรัยต่อกัน กิจกรรมทุกประเภททีเ่ ป็นการกระท�ำร่วมกันของ ผู้คนในชุมชนและท้ายสุด กิจกรรมที่เป็นแบบปฏิสัมพันธ์ฝ่ายเดียวและเป็น ที่แพร่หลายที่สุด นั่นก็คือ การได้เพียงมองเห็นผู้คนอื่น ๆ หรือการได้ยิน เสียงคนอื่น ๆ คุยกัน กิจกรรมเชิงสังคมเหล่านีจ้ ะเกิดขึน้ ตามสถานทีต่ า่ ง ๆ เกิดในทีพ่ กั อาศัย เกิด ณ พื้นที่นอกอาคารที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว เกิดในสวน เกิดบนระเบียง เกิด ในอาคารสาธารณะ เกิดในที่ท�ำงาน เป็นต้น แต่ในบริบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ กิจกรรมที่เกิดในพื้นที่สาธารณะที่เข้าถึงได้เท่านั้น กิจกรรมเหล่านี้อาจเรียกได้อีกอย่างว่า กิจกรรม “ลูกโซ่” เพราะทุก ๆ กิจกรรมจะต้องพัฒนาขึ้นจากกิจกรรมอื่นที่เชื่อมกันอย่างน้อยสองประเภท กิจกรรม ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ก็เนือ่ งมาจากเหตุทมี่ ผี คู้ นมาอยูใ่ นทีเ่ ดียวกัน พบปะกัน เดินสวนกันหรือแม้แต่เพียงแค่มองเห็นกัน กิจกรรมเชิงสังคมจะเกิดขึน้ ด้วยตัวของมันเองเสมือนเป็นผลพวงจากการทีม่ ี ผู้คนเคลื่อนที่วนไปเวียนมาอยู่ในพื้นที่เดียวกันนั่นเอง ซึ่งหมายความว่า เมื่อ ใดก็ตามที่กิจกรรมจ�ำเป็นและกิจกรรมทางเลือกด�ำเนินอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่มีสภาพดี กิจกรรมเชิงสังคมก็จะได้รับโอกาสนั้นไปด้วยในทางอ้อม

17



02 สิง่ จ�ำเป็นเบือ้ งต้นในการวางผัง

กระบวนการและโครงการ การรับรู้ การสื่อสารและมิติ ชีวิตท่ามกลางตึกรามบ้านเรือน - กระบวนการ


กระบวนการและโครงการ กระบวนการและโครงการ ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสภาพแวดล้ อ มทางกายภาพและกิ จ กรรมในพื้ น ที่ สาธารณะกลางแจ้ง คือ สาระส�ำคัญของหนังสือเล่มนี้ กิจกรรมเชิงสังคมใน พื้นที่ภายนอกอาคารล้วนเป็นสิ่งจ�ำเป็นและมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทก่อนหน้านี้ถึงเรื่องของโอกาสที่จะได้พบปะผู้อื่น เพื่อได้สร้างและสานต่อสัมพันธ์ เพื่อพูดคุยเล่นกับเพื่อนบ้านข้ามรั้ว ได้ยก ตัวอย่างของความเกีย่ วพันกันโดยตรงระหว่างขอบเขตของกิจกรรมภายนอก อาคารกับความถีข่ องการมีปฏิสมั พันธ์ในหมูเ่ พือ่ นบ้าน ยิง่ ผูอ้ ยูอ่ าศัยออกมา อยู่ภายนอกมากเท่าใด โอกาสที่พวกเขาต่างจะได้พบกันก็มีมากขึ้นและ โอกาสที่จะทักทายและแลกเปลี่ยนสนทนากันก็จะพัฒนาตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อสรุปพื้นฐานใด ๆ ที่จะบอกได้ตรง ๆ จากตัวอย่าง ดังกล่าวว่าปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในหมู่เพื่อนบ้านที่พัฒนา ก้าวหน้าไปอย่างอัตโนมัตินั้นขึ้นอยู่กับรูปลักษณะของอาคารอย่างเดียว เท่านั้น การจะพัฒนาปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ต้องการมากกว่าสถาปัตยกรรม แต่ กระนัน้ ต้องมีการออกแบบทีเ่ อือ้ ต่อปฏิสมั พันธ์ดงั กล่าวจึงจะเป็นการส่งเสริม การพัฒนานั้นได้

สิ่งจ�ำเป็นเบื้องต้นส�ำหรับกิจกรรมชุมชน หากต้องการให้เกิดพัฒนาการของการติดต่อกันในหมูเ่ พือ่ นบ้านและเกิดเป็น กิจกรรมชุมชนที่หลากหลายมากกว่ากิจกรรมระดับผิวเผินจะต้องมีสิ่งที่ชาว ชุมชนยึดถือร่วมกันอย่างมีความหมายซึ่งมักจะมาจากการมีพื้นเพเดียวกัน มีความสนใจร่วมกันหรือมีปัญหาที่ใกล้เคียงกัน สิ่งนี้เกี่ยวพันอย่างยิ่งกับเงื่อนไขที่จ�ำเป็นส�ำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ที่มีความ หมายขึ้นและลึกซึ้งขึ้น ในกรณีเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ ที่เรียบง่ายกว่าและมักจะค่อนไปในเรื่อง ธุระและความจ�ำเป็น กรอบทางกายภาพจะมีบทบาทโดยตรงและส�ำคัญกว่า อย่างไม่ต้องสงสัย

70


ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและโครงการ เราจ�ำเป็นที่จะต้องพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเชิงสังคมในพื้นที่ สาธารณะกับกระบวนการทางสังคมในหลาย ๆ ระดับ ในทุกสถานการณ์ โดยต้องค�ำนึงถึงสิง่ จ�ำเป็นเบือ้ งต้นทีป่ รากฏอยูแ่ ล้วในแต่ละพืน้ ที่ รวมถึงความ สนใจและความต้องการทีห่ ลากหลายของผูอ้ ยูอ่ าศัยหรือผูใ้ ช้งานในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะสังเกตได้ว่ากรอบทางกายภาพสามารถมีอิทธิพลไม่ มากก็น้อยต่อสถานการณ์ทางสังคมของผู้อยู่อาศัย เราสามารถออกแบบตัวกรอบทางกายภาพจนกระทั่งกลายเป็นการขัดขวาง การเกิ ด ของปฏิ สั ม พั น ธ์ ใ นรู ป แบบที่ ต ้ อ งการหรื อ แม้ ก ระทั่ ง จนท� ำ ให้ ปฏิสมั พันธ์รปู แบบทีต่ อ้ งการนัน้ ไม่สามารถเกิดขึน้ ได้เลย พูดกันตามตรงแล้ว งานสถาปัตยกรรมสามารถทีจ่ ะเป็นตัวขัดขวางรูปแบบของกิจกรรมทีต่ อ้ งการได้ ในทางกลับกัน เราสามารถออกแบบกรอบทางกายภาพเพือ่ เพิม่ โอกาสความ เป็นไปได้ เพือ่ ทีก่ ระบวนการและโครงการอาคารจะได้สง่ เสริมซึง่ กันและกันได้

เมื่อทางเข้า เฉลียง ระเบียง สนามหน้าบ้าน และสวนหันหน้าออกสู่ ถนน ผู้คนจะสามารถ ติดตามชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ได้และจะพบปะกัน ในกิจวัตรประจำ�วัน ได้บ่อยครั้งขึ้น สิ่งนี้ เป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการ สร้างเครือข่ายทางสังคม (ซีเบลีอุส-พาร์คเคน (Sibelius-parken) กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สถาปนิก ฟีเลสไทก์เนสทูน (Fællestegnestuen)

71


การแบ่งโครงการ ที่พักอาศัยให้เป็น หน่วยย่อย ๆ เกิด เป็นที่นิยมแพร่หลาย ในย่านพักอาศัยใหม่ ๆ ในสแกนดิเนเวีย โดยจะพบกลุ่มบ้าน ขนาดเล็กประมาณ 15-30 ครัวเรือนซี่ง เป็นขนาดที่มี ประสิทธิภาพในการ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่าย ทางสังคม 72

บน: สคาเด เดนมาร์ก ปี 1985 (สถาปนิก: ซี เอฟ มูลเลอร์ สตูดิโอ (C. F. Møller Tegnestue)) ล่าง: ซอยในชุมชน ที่ถูกใช้เป็นพื้นที่ จัดกิจกรรม


ในบริบทนี้เองที่การท�ำงานกับพื้นที่สาธารณะและชีวิตผู้คนท่ามกลางอาคาร เหล่านัน้ ต้องปรากฏขึน้ เป็นรูปธรรม ความเป็นไปได้เหล่านีอ้ าจถูกขัดขวางไม่ ให้เกิดขึ้นหรืออาจได้รับการอ�ำนวยให้เกิดขึ้นโดยสะดวกก็ได้ ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงข้อมูลที่ละเอียดขึ้นของความพยายามที่จะท�ำให้เกิด ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการกับโครงการอาคาร มีการน�ำเสนอทั้งหลัก การและค�ำจ�ำกัดความมากมาย

โครงสร้างทางสังคม เราจะพบได้ชดั เจนว่าทัง้ ในสถานทีท่ ำ� งาน สมาคม โรงเรียนและมหาวิทยาลัย นั้นมีความจ�ำเป็นที่จะต้องสร้างทั้งหน่วยย่อย ๆ และกลุ่มใหญ่ ๆ ขึ้นมาเพื่อ ให้กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยนั้นท�ำงานได้ ยกตัวอย่างเช่นในมหาวิทยาลัย จะพบว่ามีการจัดระบบตามล�ำดับชัน้ ประกอบ ไปด้วย คณะ สถาบัน ภาคและท้ายสุด กลุ่มศึกษา (study groups) ซึ่งเป็น หน่วยที่เล็กที่สุด โครงสร้างนี้บ่งบอกให้เห็นถึงล�ำดับของอ�ำนาจการตัดสินใจ และเอือ้ ให้แต่ละบุคคลมีขอ้ มูลอ้างอิงทางสังคมและทางวิชาชีพอย่างเป็นล�ำดับ

โครงสร้างทางสังคม – ในบริบทของย่านพักอาศัย โครงการพักอาศัยแบบร่วมมือ (cooperative housing) ทิงการ์เด้น [49] สร้างขึ้นในปี 1978 ประกอบด้วยบ้านเช่าทั้งหมด 80 หลัง นับเป็นตัวอย่าง ของกลุม่ อาคาร (building complex) ซึง่ ผูว้ างผังมีความระมัดระวังอย่างมาก ทั้ ง ในเรื่ อ งโครงสร้ า งทางกายภาพและทางสั ง คม จุ ด ประสงค์เ พื่อให้ทั้ง กระบวนการและโครงการสามารถด�ำเนินควบคู่ไปด้วยกันได้ การวางผังเป็นการร่วมทุนของผูอ้ ยูอ่ าศัยในอนาคตกับสถาปนิกซึง่ แสดงทัศนะ ในเรื่องโครงสร้างทางสังคมที่พึงประสงค์ไว้อย่างชัดเจน มีการแบ่งกลุม่ อาคารออกเป็น 6 กลุม่ แต่ละกลุม่ มีอาคารเคหะประมาณ 15 ยูนิต แต่ละกลุ่มจะมีอาคารส่วนกลางที่เป็นของกลุ่ม 1 หลัง ยิ่งไปกว่านั้นยัง มีศนู ย์กลางชุมชนใหญ่สำ� หรับทัง้ คอมเพลกซ์มาใช้รว่ มกัน การแบ่งตามล�ำดับ ชัน้ เป็น บ้าน กลุม่ บ้าน กลุม่ อาคารเคหะ เมืองนัน่ ได้รบั แรงจูงใจมาจากความ ต้องการจะท�ำให้ชุมชนและกระบวนการประชาธิปไตยในแต่ละกลุ่มบ้าน ตลอดจนโครงการหมู่บ้านจัดสรรทั้งโครงการเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียว

73



03 รวมตัวหรือกระจาย : การวางผังเมืองและการวางผังบริเวณ

รวมตัวหรือกระจาย ประสานหรือจ�ำแนก เชื้อเชิญหรือขับไล่ เปิดรับหรือปิดล้อม


รวมตัวหรือกระจาย

รวมตัวหรือกระจาย หากสามารถรวมตัวกิจกรรมและผู้คนเข้าด้วยกันได้ จะมีความเป็นไปได้ที่ เหตุการณ์หนึง่ จะกระตุน้ ให้เกิดอีกเหตุการณ์หนึง่ ผูเ้ ข้าร่วมอยูใ่ นเหตุการณ์ นัน้ มีโอกาสทีจ่ ะได้ประสบและมีสว่ นร่วมในเหตุการณ์อนื่ ๆ ต่อไป จึงเป็นการ เริ่มต้นกระบวนการเสริมแรงในตัวเอง (self-reinforcing process) เนือ้ หาในตอนนีแ้ ละอีกสามตอนต่อไปจะเน้นความสนใจไปทีก่ ารตัดสินใจใน การวางผังหลายประการ ซึ่งจะมีผลต่อการรวมตัวหรือกระจายตัวของผู้คน กับเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นการศึกษาเรื่องที่จ�ำเป็นต้องได้รับการพิจารณาเพื่อ ที่จะเป็นพื้นฐานส�ำหรับการวางผังในแต่ละสถานการณ์ ไม่ว่าเป้าหมายจะ เป็นการรวมตัวหรือกระจายก็ตาม ทั้งสองเป้าหมายนี้มีความเกี่ยวพันเท่า ๆ กันตามแต่สภาพการณ์ การทีต่ อ้ งเน้นย�ำ้ อย่างมากจากนีถ้ งึ ปัญหาของการรวมตัวไม่ได้หมายความว่า จะต้องพยายามรวมในทุกสภาพการณ์ ในทางตรงกันข้าม ในหลาย ๆ กรณี มีข้อถกเถียงดี ๆ ที่ไม่ให้ท�ำการรวม ยกตัวอย่างเช่น เพื่อให้แน่ใจว่ามีการ กระจายกิจกรรมเมืองไปตามส่วนต่าง ๆ ของเมืองให้ทวั่ ถึงหรือเพือ่ สร้างพืน้ ที่ ที่สงบเงียบขึ้นมาเสริมพื้นที่ที่มีชีวิตชีวา การมุ่งเน้นไปที่อาคารสูง ประโยชน์ ใช้สอยและผูค้ นมากจนเกินจ�ำเป็นอย่างทีพ่ บบ่อยในเมืองใหญ่ ๆ หลายเมือง นั้นเป็นตัวอย่างให้เห็นชัดเจนในหลายกรณีว่าเป็นการใส่ใจที่เกิดผลเสีย มากกว่าใส่ใจน้อยลง ก็น่าจะเป็นการพอเพียง แต่กระนั้นยังคงเน้นความส�ำคัญอยู่ที่ปัญหาของการรวมตัว ส่วนหนึ่งเป็น เพราะมักจะเป็นเรื่องยากที่จะรวมมากกว่ากระจายเหตุการณ์ต่าง ๆ ออกไป และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะความนิยมของการพัฒนาในสังคมและหลักของ การวางผังนัน้ ได้วางรากฐานแนวโน้มทัว่ ไปทีม่ อี ทิ ธิพลทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารกระจาย ผู้คนและเหตุการณ์ทั้งในบริเวณพื้นที่เมืองใหม่และเมืองเก่า

104


การรวมผู้คนเข้ากับเหตุการณ์ เป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ทีต่ อ้ งตระหนักว่าสิง่ ทีต่ อ้ งน�ำมาประกอบรวมเข้าด้วย กัน คือ ผูค้ นและเหตุการณ์ ไม่ใช่ตวั อาคารทัง้ หลาย แนวคิดอย่างเรือ่ งสัดส่วน ของพืน้ ทีป่ ลูกสร้างอาคารต่อขนาดทีด่ นิ กับความหนาแน่นของอาคารไม่ได้ให้ ข้อสรุปแต่อย่างใดว่ากิจกรรมของมนุษย์นั้นได้รับความใส่ใจเพียงพอหรือไม่ รวมตัวหรือกระจาย หากสามารถรวมเอา ผู้คนและเหตุการณ์ ไว้ด้วยกันได้อย่างสม เหตุผล ผลลัพธ์ที่ได้คือ สภาพกิจกรรมในชุมชน และความเป็นส่วนตัว จะพัฒนาขึ้น ด้านหนึ่ง ของอาคารพักอาศัย คือถนน อีกด้านหนึ่ง ก็มพี นื้ ทีส่ ำ� หรับป่าจริง ๆ (ซิดลุง ฮาเลน กรุงเบิรน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)

105


การออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับมิติของสัดส่วนมนุษย์เป็นเรือ่ งที่มีความ ส�ำคัญมาก เป็นต้นว่าจะเดินจากจุดทีก่ ำ� หนดไปได้ถงึ ไกลสุดเท่าใดและจะได้ เห็นหรือได้รับประสบการณ์ได้มากน้อยเพียงใด โครงการที่มีความหนาแน่น ของอาคารต�ำ่ แต่มจี ำ� นวนบ้านมากมายอยูร่ ายรอบเส้นทางทีส่ ลับซับซ้อน ไม่ ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่ากิจกรรมจะรวมตัวอย่างเด่นชัดหรือแม้ว่าที่ แห่งนั้นจะมีความหนาแน่นของอาคารมากก็ตาม ในทางกลับกันถนนในหมูบ่ า้ นทีม่ บี า้ นเรียงรายต่อกันเป็นแถวสองแถวหันหน้า ออกสูถ่ นน แสดงให้เห็นว่ามีการรวมตัวของกิจกรรมอย่างชัดเจนและต่อเนือ่ ง ทีต่ งั้ ของอาคารและทิศของทางเข้าอาคารทีส่ อดคล้องกับเส้นทางคนเดิน และ บริเวณพื้นที่ส�ำหรับชีวิตกลางแจ้งคือปัจจัยที่ก�ำหนดความสัมพันธ์นี้ ความจริงทีว่ า่ รัศมีปกติของคนเดินเท้าส่วนใหญ่จะจ�ำกัดอยูท่ ี่ 400-500 เมตร (1,300-1,600 ฟุต) ต่อการเดินทางระยะสั้น ๆ และความเป็นไปได้ในการ มองเห็นผู้คนอื่น ๆ และเหตุการณ์ความเป็นไปนั้นจ�ำกัดอยู่ที่ระยะห่าง ระหว่าง 20 และ 100 เมตร (65 และ 330 ฟุต) ขึ้นอยู่กับว่ามองอะไร ซึ่ง ในสถานที่ในทุก ๆ วันนั้นต้องใช้สมาธิในการมองไม่น้อย ถ้าหากจะมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถมองเห็นผู้คนและเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยมองออกมาจากในบ้านหรือในการเดินระยะสั้น ๆ สักกว่าครึ่งกิโลเมตร (1,600 ฟุต) และเดินไปถึงที่หน่วยงานบริการที่มีความส�ำคัญที่สุดสักแห่ง ทัง้ กิจกรรมและลักษณะการใช้งานของพืน้ ทีจ่ ำ� เป็นต้องประกอบรวมกันอย่าง ระมัดระวัง เพียงความต้องการมีพื้นที่เพิ่มเล็กน้อย พื้นที่ดูไม่น่าสนใจหรือ ระยะทางเดินที่ไกลขึ้นนิดหน่อยก็สามารถพลิกผันประสบการณ์อันมีคุณค่า ให้ไร้ค่าได้ จึงเป็นเรื่องจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจกับความยาวทุก ๆ ฟุตของส่วนด้าน หน้าอาคารหรือของเส้นทางคนเดิน

ขนาดสเกลใหญ่ กลางและเล็ก เราต้องศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวพันกับการรวมตัวหรือกระจายทั้งผู้คนและ กิจกรรมในบริบทการวางผังอย่างกว้าง การตัดสินใจที่เกิดขึ้นทั้งในผังสเกล ใหญ่ คือ ในการวางผังเมืองและผังภาค ในผังสเกลระดับกลาง คือ ผังบริเวณ และทีผ่ งั สเกลเล็กนัน้ ล้วนเชือ่ มโยงกันอย่างแยกไม่ออก หากไม่ได้มกี ารเตรียม การล่วงหน้าส�ำหรับการใช้พนื้ ทีส่ าธารณะให้เกิดประโยชน์และใช้งานได้เป็น อย่างดีตั้งแต่ขั้นตอนตัดสินใจในขั้นแรก ๆ ของการวางผังแล้วนั้น พื้นฐาน

106


ส�ำหรับการท�ำงานในสเกลที่เล็กที่สุดก็มักไม่ปรากฏ ความสัมพันธ์นี้มีความ ส�ำคัญเพราะว่าในกรณีของผังสเกลเล็กซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวที่สุด คือ ที่ที่แต่ละคนจะมาพบปะกันและสามารถประเมินผลการตัดสินใจในการ วางผังทุกระดับ การแข่งขันทีจ่ ะสร้างเมืองและโครงการอาคารทีม่ คี ณ ุ ภาพสูง นั้นจะชนะกันที่สเกลที่เล็กที่สุด แต่การเตรียมการเพื่อให้ได้มาซึ่งงานที่ ประสบผลส�ำเร็จในผังระดับนี้ได้จะต้องกระท�ำในทุกระดับของการวางผัง

รวมตัวหรือกระจาย – ในผังสเกลใหญ่ ที่ระดับสเกลใหญ่ - ในการวางผังเมือง มีการกระจายผู้คนและเหตุการณ์ อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อที่พักอาศัย สถานที่ให้บริการสาธารณะต่าง ๆ พื้นที่ อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมถูกจัดวางให้แยกจากกันโดยต่างก็อยูบ่ นทีด่ นิ ผืนใหญ่ในระบบโครงสร้างของเมืองทีม่ กี ารใช้ประโยชน์แบบแยกส่วนซึง่ ต้อง พึ่งพาการใช้รถยนต์เป็นพาหนะหลักในการเคลื่อนที่ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของ เมือง การกระจายทั้งเหตุการณ์และผู้คนเป็นปรากฏการณ์ธรรมดา ๆ ที่พบ ได้ในพื้นที่ชานเมืองแทบจะทั่วโลกและในเมืองที่เติบโตอย่างไร้ทิศทางอย่าง เมืองลอส แองเจลิส ซึง่ บรรลุมาถึงรูปแบบทีอ่ มิ่ ตัวและสร้างปัญหาอย่างทีส่ ดุ ตรงกันข้าม คือ โครงสร้างเมืองที่รวมทั้งเหตุการณ์และผู้คนไว้อย่างคงเส้น คงวาในแบบแผนทีช่ ดั เจน ซึง่ พืน้ ทีส่ าธารณะคือองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ใน ผังเมืองและพืน้ ทีใ่ ช้สอยอืน่ ๆ ของเมืองจะวางตัวอย่างมีประสิทธิภาพโดยตัง้ ขนาบและหันหน้าออกสูถ่ นน เรามักพบเมืองลักษณะดังกล่าวนีใ้ นเมืองเก่า ๆ แทบจะทุกเมืองและในหลายปีที่ผ่านมาได้กลายมาเป็นหลักของแนวคิดใน โครงการใหม่ ๆ ในเมืองต่าง ๆ ในยุโรป เมืองสคาร์พแนค (Skarpnack) [46] ซึง่ เป็นเมืองใหม่โครงการล่าสุดทางตอนใต้ของกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศ สวีเดน (ดูหน้า 111) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งในหลาย ๆ เมืองที่มีพัฒนาการใน ลักษณะดังกล่าว ถนนและจัตรุ สั กลายเป็นองค์ประกอบหลักทีร่ ายล้อมไปด้วย พืน้ ทีใ่ ช้สอยอืน่ ๆ

รวมตัวหรือกระจาย - ในสเกลขนาดกลาง ที่สเกลระดับกลาง - ในการวางผังบริเวณ คนและกิจกรรมจะกระจายตัวเมื่อ อาคารตึกรามทั้งหลายถูกวางให้ห่างออกจากกันมาก ๆ และบริเวณทางเข้า และตัวอาคารพักอาศัยหันไปคนละทิศทาง เราจะพบรูปแบบนี้ได้ในพื้นที่ที่ เป็นบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมและอาคารอพาร์ตเมนต์เดี่ยว ๆ ที่สร้างตามแบบ หน้าทีน่ ยิ ม ซึง่ ทัง้ ในสองกรณีนจี้ ะมีทางเท้าและมีทางเดินเชือ่ มต่อจ�ำนวนมาก และมีพื้นที่เปิดโล่งที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติซึ่งส่งผลให้จ�ำนวนกิจกรรมกลาง แจ้งน้อยลง

107


เครดิตภาพประกอบ รูป: Aerodan (น. 105 ล่าง, 128 บน, 129) Jan van Beusekom (น. 168 กลาง) Esben Fogh (น. 163 ขวา) Foto C (น. 74 บน) Lars Gemzøe (น. 15 ล่าง, 27 บน, 36, 52, 91 ล่าง, 148 บน, 168 ล่าง, 181 ขวา, 205 ล่าง, 219 กลางและล่าง) Sarah Gunn (น. 153 ล่าง) Lars Gøtze (น. 63 ล่าง) Jesper Ismael (น. 86) Other photographers: (น. 32 ล่าง, 52 ล่าง, 108 บนซ้าย, 110 บน, 111 บน, 139, 150 ล่าง, 161, 170, 207 บน, 228 ล่าง) Jan Gehl: ภาพอื่น ๆ ทั้งหมด แบบและแผนภูมิ : D. Appleyard and M. Lintell (น. 46), Le Corbusier (น. 57), Christoffer Millard (น. 55), Oscar Newman (น. 77, 78), Project for Public Spaces (น. 47), Inger Skjervold Rosenfeldt (น. 214)


ประวัติผู้แต่ง Jan Gehl

ญาน เกห์ล เป็นสถาปนิกและนักผังเมืองชาวเดนมาร์ก และเป็นศาสตราจารย์ทางสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง ที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมแห่ง Royal Danish Academy of Fine Arts เมืองโคเปนเฮเกน และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง GEHL Architects – บริษัทที่ปรึกษาทางด้านคุณภาพของเมือง เขายังได้รับเชิญไปสอนในมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ อาทิเช่นที่ Edinburgh, Oslo, Toronto, Calgary, Melbourne, Perth, Berkeley, San Jose และ Guadalajara ญานยังเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการปรับปรุงเมืองทั้งในยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และ ตะวันออกไกล นอกจาก นี้เขายังมีงานเขียนที่ตีพิมพ์อย่างแพร่หลายเช่น New City Spaces, Copenhagen, 2000 และ Public Spaces Public life, Copenhagen, 1996 รางวัลเกียรติยศที่เขาได้รับก็เช่น Sir Patrick Abercrombie Prize จากUIA ส�ำหรับความ ทุ่มเทให้กับวงการผังเมือง และยังได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก Heriot-Watt University in Edinburgh นอกจาก นี้เขายังได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมสถาปนิกและผังเมืองในหลายประเทศ เช่น DAA (เดนมาร์ก), RIBA (อังกฤษ), AIA (สหรัฐอเมริกา), RAIC (แคนาดา), PIA (ออสเตรเลีย), และล่าสุด RIA (สกอตแลนด์) ภาพ: Ashley Bristow



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.