พื้นฐาน: การออกแบบสถาปัตยกรรม (Basics: Architectural Design)

Page 20

ที่ดินลาดเอียง

เมื่อใดก็ตามที่เกิดความแตกต่างระหว่างชั้นความสูงของที่ดินที่มาก กว่ า หนึ่ ง ชั้ น   เราควรลองพิ จ ารณาดู ว่ า ลั ก ษณะของโครงสร้ า ง ภายในอาคารจะมีรูปแบบอย่างไร เพื่อทำ�ให้อาคารนั้นตอบสนองต่อ สภาพภูมิประเทศ  และความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายในกับสภาพ แวดล้อมนั้นควรจะเกิดขึ้นในลักษณะใด อาคารหลังหนึ่งบนพื้นที่ลาดเอียง  สามารถฝังตัวเข้าไปในเนินเขา ลอยอยู่เหนือที่ลาดชัน วางตัวเป็นขั้น  ๆ ให้เข้ากับพื้นที่ หรือปรับ เปลี่ยนลักษณะความลาดชันของพื้นที่เดิม  >  รูปที ่ 11  รูปแบบที่แตก ต่างกันเหล่านี้ส่งผลให้เกิดเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่าง ภายในและภายนอกที่แตกต่างกัน  บทบาทพิเศษที่เกิดขึ้นของสภาพ ภูมิประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนที่ดินที่มีความซับซ้อน มักบันดาล ให้เกิดแนวความคิดการออกแบบที่น่าสนใจ  >  รูปที ่ 12  หากระหว่าง ที่ดินกับภูมิทัศน์โดยรอบนั้นมีมุมมองได้โดยกว้าง  เราควรคำ�นึงถึง ทั้งมุมมองที่อาคารจะถูกมองเห็นเมื่อมันถูกสร้างเสร็จและความเชื่อม ต่อที่อาจเกิดขึ้นได้และกลายเป็นสิ่งน่าสนใจให้กับผืนดินโดยรวม > อ่านต่อในบท การออกแบบกับบริบท, การวางผังเมืองและบริบททางสถาปัตยกรรม

รูปที่ 10 ความต่างของความสูงภายในกลุ่มอาคาร

รูปที่ 11 ลักษณะการวางอาคารบนพื้นที่ชันแบบต่าง ๆ 32


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.