รอเท้าที่ทางพักbook

Page 1

internet art project | media arts and design


เมื่อป้ายนี้มันใช้งานไม่ได้ สาระประโยชน์มันหายไปไหนกัน พวกเราผู้รอรักบนทางเท้า จะขอใช้พ้นื ที่น้ใี ห้มากกว่าการ รอรถเอง “ยินดีต้อนรับ สู่ความไร้สาระ บนทางเท้า”

2


3


4


โครงงานเรื่อง รอเท้าที่ทางพัก เป็นโครงงานที่เข้าไปเล่นและตั้งคำ�ถามให้กับตัวพื้นที่ที่มีอยู่แล้วนั่นคือ ป้ายรอรถของเชียงใหม่ ที่เป็นโครงการที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองประชาชนในด้านความสะดวกสบายในการรอรถหรือ ถูกสร้างมาเพื่อสร้างพื้นที่ โฆษณา ของภาคเอกชน? ก่อนหน้านี้ตัวเมืองเชียงใหม่ไม่มีป้ายรอรถ การสัญจรของผู้คนท่ี่ใช้ขนส่งสาธารณะอย่างรถสี่ล้อแดง คนส่วนใหญ่สามารถโบกได้ทุกที่ ทุกเวลา ต่างจากวิธีคิดแบบป้ายรอรถที่ถูกสร้างขึ้นในปัจจุบัน ที่ตัวป้ายรอรถมันถูกสร้างบน พื้นที่ของรัฐและมีป้ายโฆษณาที่เป็นของเอกชนทั้งคู่ทำ�งานร่วมกันในการเข้าไปเปลี่ยนความหมายใหม่ให้กับพื้นที่ทางเท้า แต่ วิถีชีวิตการโบกรถของคนเชียงใหมที่ไม่ได้สอดรับกับประโยชน์ใช้สอยของป้ายรอรถ ดั่งที่ผู้สร้างคาดหวังเอาไว้ทำ�ให้ป้ายที่ไม่มี ใครสนใจ ป้ายที่ไม่เอื้อต่อการนั่งรอรถ เพราะตั้งบนทางขาวแดง ทางกลับรถที่เป็นจุดอันตราย แสงแดดสาดส่องอยู่ตลอดเวลา จนในท้ายที่สุดตัวพื้นที่ก็หมดความหมายไป กลับกลายเป็นแค่สิ่งก่อสร้างที่ดูเหมือนจะสร้างประโยชน์ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ การใช้งานจริงของพื้นที่ได้ โครงงาน “รอเท้าที่ทางพัก” ได้ไปสร้างความหมายใหม่ให้ป้ายผ่านผ่านบริบทต่างๆทำ�ให้ตัวพื้นที่หรือตัวป้ายถูกพูดถึงและ เป็นประเด็นให้สะท้อนความเป็นอยู่ของตัวปัจเจกกับตัวพื้นที่ที่พบเห็นทุกวันและเมินเฉยกับมันให้ผุดรากเหง้าของมันขึ้นมา ไม่ว่าจะสะท้อนด้วยความตลกโปกฮา บ้าบิ่น หรือจริงจัง นั่นหมายความว่าตัวปัจเจกสนใจบริบทที่เกิดขึ้นของมันแล้ว

5


แนวคิดที่เกี่ยวข้อง

6


7


แนวคิดว่าด้วยเรื่อง ความไร้สาระของความร่วมสมัย Project CMBUSSTOP ได้นำ�เสนอการปะทะกันกันระหว่างความจริงกับความเสมือน ตลอดจนความเป็นเรากับ ความเป็นรัฐและ เอกชนที่เราไปล้อเลียน ไปถากถางพื้นที่ที่ไม่มีคนใช้ ไม่มีใครสนใจให้เป็นประเด็น ความไร้สาระของพื้นที่นั้นๆ การสร้างสรรค์ กลวิธี การแสดงออก หลายวิธีที่ท้าทายและเกิดการตีความกับพื้นที่โดยใส่ความฮา ความบ้า ความไร้สาระ ความไม่เป็นเหตุเป็นผล ลงไป โดยทั้งนี้ โครงการของ “รอเท้าที่ทางพัก” เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ตอกย้ำ�กับความคิดเรื่องของความไร้สาระของสังคมร่วมสมัยที่มัน ปรากฏอยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องมือสาวไปถึงความล้มเหลวและความไร้สาระของการบริหารการจัดการที่ ร่วมมือกันระหว่างสิ่งที่ดูเหมือนเป็นประโยชน์สาธารณะและสิ่งที่แฝงมากับคุณประโยชน์นั้น ที่มันทำ�งานร่วมกันผ่านการดำ�เนินการ ของรัฐและเอกชนที่มอบให้กับประชาชนให้ได้เห็นคุณค่า คุณงามความดีที่สร้างให้กับพื้นที่สาธารณะ เราจึงหยิบยกสิ่งที่มองเห็นได้ ง่ายและมีอยู่ทั่วเชียงใหม่อย่าง ป้ายรอรถมาวิพากษ์วิจารณ์ มันออกมา ด้วยควาสนุกสนาน ไร้สาระ ไม่มีเหตุผลต่างๆ กับป้ายรอรถ ที่มีประโยชน์แต่ไม่สามารถตอบโจทย์วัฒนธรรมการโบกรถของคนเชียงใหม่ได้

ความไร้สาระมันอยู่ตรงไหน ด้วยเหตุผลที่ มนุษย์เราในสังคมร่วมสมัยที่ซับซ้อน เราไม่สามารถ จับหาสาระประโยชน์ที่แท้จริงของมันได้อย่างชัดเจน หนึ่งเดียวได้ มันมีบริบท หรือคำ�อธิบายมากกว่าหนึ่ง และอาจจะลบล้างความหมายกันไม่เรื่อย จนความเป็นสาระเดิมมัน กลับเป็นความไร้สาระ และถูกแทนที่ไปเรื่อยๆ ที่มันอยู่ในพื้นที่ต่างๆเสมอ ภาคเอกชนและภาครัฐกลับพยายามให้เหตุผล และช่วงชิงคำ�อธิบายผ่านมุมมอง ของพวกเขาเพียงด้านเดียว โดยไม่ได้คำ�นึงถึงว่า ในสังคมปัจจุบันเราไม่ได้มีการคิดหรือให้คำ�อธิบาย ความหมายที่เป็นเส้นตรงเส้น เดียวเสมอไป ดั่งเช่นป้ายรอรถเชียงใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น ที่ดูเหมือนจะมีประโยชน์ด้วยมุมองของผู้สร้างก็ตาม แต่มันก็ไม่ได้มีคำ�อธิบาย เพียงชุดเดียว แต่ยังมีเรื่องของ การเข้ามาทำ�งาน ร่วมมือการเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง แทนที่ประโยชน์ใช้สอยที่ถูกคิดไว้ มันกลับ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จริงดั่งที่คิด มิหนำ�ซ้ำ�กลับถูกตั้งทำ�ถามว่าถึงสิ่งที่มันเป็นว่าตกลงจะทำ�เพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆ หรือเป็นการ สร้างพื้นที่โฆษณาใหม่ที่ดูเหมือนจะรับใช้ประชาชนได้

8


แล้วเราจะทำ�ยังไงกับความไร้สาระของมันได้ สุดท้าย สาระประโยชน์ของมัน กลับกลายเป็นสิ่งไร้สาระ ว่างเปล่า ผ่ามาแล้วก็ผ่านไป ที่เหลืออยู่เป็นเพียง ความทรงจำ�สาธารณะที่ สำ�คัญอีกประการหนึ่งของสังคมไทย เป็นความทรงจำ�สาธารณะถึงชีวิตหนึ่งที่มีอุดมการณ์ เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ ด้วยการลุกขึ้น ต่อสู้ ส่งเสียงเรียกร้อง ต่อความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ไม่ยุติธรรม ความไม่ชอบธรรม ที่ประชาชนได้รับ ดูเหมือนว่าพันธกิจนี้ยงคง เป็นงานที่ไม่เสร็จ มันถูกทำ�ออกมาผ่านกระบวนบางอย่างที่ไม่ใช่ความรุนแรง ไม่ใช่กิจกรรมที่เรียกร้องอย่างเป็นทางการ แต่มันคือ กิจกรรมส่ ว นหนึ่งของการใช้ชีวิต เพื่อการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ในเมื่อการช่วยเหลือ หรือประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐมันไม่ได้ผล ความคิดเชิงวิจารณ์เพื่อผลประโยชน์สาธารณะและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม ชอบธรรม จะเกิดขึ้นไม่ ได้เลยถ้าตัวปัจเจกชนหรือตัวเองเอง ไม่แสดงตัวตนออกมา อาจจะอยู่ในรูปแบบการเรียกร้อง การต่อต้าน การถากถาง การเข้าไป ใช้พื้นที่แบบไร้สาระประโยชน์ ตัวปัจเจกจึงร่วมกั น ผลิต “แนวคิดเชิงวิพากษ์สังคม” ผ่านมุมมองของคนบางกลุ่ม แต่รับใช้ “ผล ประโยชน์สาธารณะอย่างไม่มีเงื่อนไข” เพื่อสร้างพลังการต่อรองต่อต้านประท้วงทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อความไม่เสมอภาค ความไม่ชอบธรรมต่างๆของสังคมไทย เน้นการแก้ปัญหาสังคมไทยในระดับ “แนวคิดเชิงวิพากษ์” ที่ตรงไปตรงมา มีเหตุมีผล วิจารณ์ เท่าที่จำ�เป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะในแต่ละจังหวะเวลา อย่างไม่มีเงื่อนไข แน่ที่สุด ชีวิตนั้นว่างเปล่า ไร้สาระ ชั่วคราว แต่ความไร้สาระมันก็มีสาระบางประการท่ามกลางความว่างเปล่า เป็นสาระแห่งชีวิตที่ ถูกใช้อย่างทุ่มเท จริงจัง เพื่อตอบสนองคุณค่าเชิงความจริง ความดี ความงาม อย่างปราศจากเงื่อนไข ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของ อารยธรรมมนุษย์ เพื่อต่อสู้กับความไม่รู้ ความไม่เสมอภาค ความไม่ชอบธรรมในสังคม เป็น ความทรงจำ�สาธารณะ สร้างคุณค่าใน ด้านแนวคิดเชิงวิพากษ์รวมไปถึงการตั้งคำ�ถามใหม่ๆ กับ “ผลประโยชน์สาธารณะ” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมันเป็นสงครมที่ยังไม่ยุติ

9


แนวคิด politic of parody แนวคิดการล้อเล่น ถากถาง มันเกิดจากความพยายามที่เราอยากจะส่งเสียงออกมา แต่ความหมายหรื อ สิ ่ ง ที ่ ต ้ อ งการพูดออกมา นั้น มันไม่สามารถพูดออกมาตรงๆได้ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ทำ�ให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ และอำ�นาจะเหนือกว่าบางอย่างที่มัน บังคับและควบคุมเราอยู่ การล้อเล่น ถากถางจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะสื่อสารออกไปเพื่อให้มันทำ�หน้าที่ วิพากษ์วิจารณ์ ด้วยการล้อ เล่น การทำ�ให้มันเป็นเรื่องตลก ดูไร้สาระ โดยที่เราไม่สามารถพูดเรื่องนั้นได้อย่างตรงไปตรงมา ผ่าน ภาษาพูด ภาพ สัญลักษณณ์ กิจกรรม เพื่อช่วงชิง ต่อรองอำ�นาจการอธิบายจากวาทกรรมที่ถูกผู้ที่อำ�นาจเหนือกว่ า กำ�หนดคำ�อธิบายเอาไว้ มั น มี เ นื ้ อการในตัว ของมันเอง ที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าสารที่ส่งออกมาเอง ซึ่งการล้อเล่น ถากถางนั้น มันเล่นอยู่บนพื้นฐานของการสื่อสารในสองระดับ คือ ความหมายตรง denotation และความหมายแฝง connatation ซึ่งมันส่งสารออกมาเป็นแบบdoble meaning อยู่เสมอ บางครั้ง การล้อเล่นบางอย่างเมื่อส่งสารออกมาสิ่งที่เราจะ รับรู้ในครั้งแรกนั้นจะเป็นความหมายตรง ตีความตามที่เห็น แต่การกระทำ�หรือการแสดงออกที่แฝงมาด้วยนั้น มันยังมีความหมาย แฝงซ้อนอยู่ ซึ่งต้องอาศัยการคิดถอดรหัสจากสิ่งที่เห็นในระดับความหมายตรงออกมา ซึ่งต้องอาศัยรหัสบริบททาง สังคม วัฒนธรรม ระหว่างตัวผู้ส่งสารและรับสารที่ตรงกัน เพื่อให้เข้าใจความหมายไปในทิศทางเดียวกัน การสื่อสารด้วยความหมายแฝงที่เป็นนัยยะ นั้นทำ�ให้เราเข้าได้มากกว่าการพูดออกมาตรงๆเสียด้วยซ้ำ� ซึ่งมันทำ�ให้เกิดการ หยุดคิด ในความหมายที่มันไม่สามารถพูดตรงๆออก มาได้ แต่มันมีความชัดเจนกว่า การถากถางล้อเล่น นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่ทำ�ให้เกิดการกระตุกคิด หยุดพินิจพิจารณาสิ่งที่ผิดเพี้ยนที่แสดงออกมา มันทำ�งานอยู่ กับ การเผยแสดงจากสิ่งที่ถูกบางอย่างกดทับเอาไว้ เช่นผลงานกราฟิตี้ของ basky ถึงแม้ว่าจะเป็นภาพล้อเลียนพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยน ไปจากเดิม แต่มันกลับนำ�เสนอสิ่งที่ถูกปิดบัง กดทับไว้ออกมาด้วยดังนั้น การถากถาง ล้อเล่น มันจึงทำ�หน้าที่สองด้า นนั ้ น ก็ คือ presence และ absence ในสิ่งที่นำ�เสนอ เหมือนเป็นการสะกิดโดนจุดที่ทำ�ให้เผยแสดงความจริงหรือเนื้อหาบางอย่าง ที่ทำ�ให้ ถูกลืม ปิดหูปิดตาไม่พูดถึงมัน กลับมาเผยแสดงเตือนสติเราอีกครั้ง เพื่อเกิดเป็นแรงกระเพื้อมบางอย่าง ที่อาจจะนำ�ไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แต่ต้องทำ�ความเข้าใจว่า ตัวการล้อเล่นถากถางนั้น มันไม่ได้ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยตัวมันเอง แต่มันเกิดจาก สำ�นึกบางอย่างของผู้คนผนวกกับกระบวนการการขับเคลื่อนบางอย่างที่จะทำ�ให้นำ�ไปสู่การร่วมกันแก้ไข หาทางออกโดยผู้คนที่รับรู้ ถึงสิ่งที่การล้อเล่นมันแสดงออกมา ถึงแม้มันจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง แก้ไขโดยทันที แต่มันทำ�หน้าที่ให้ได้รู้ ได้กลับมาคิด ถึงสิ่งที่เราพูด ออกมาตรงๆไม่ได้ 10


แนวคิด tactical media การละเมิดข้อจำ�กัดต่างๆ ของสังคมที่เกิดจาก อำ�นาจของคนบางกลุ่มที่ส่งผลต่อประชาชนโดยรวมต่อวิถีชีวิตของพวกเขา ทำ�ให้เกิด ความรู้สึกถึงผลประโยชน์บางอย่างที่มันไม่สมเหตุสมผลกันคนกลุ่มใหญ่เชื่อว่า ผลประโยชน์ที่ได้นั้นมันเป็นสิ่งที่อาจจะไม่ได้ดีแต่ก็ ไม่แย่ด้วยเช่นกัน จนรู้สึกละเลย ปล่อยผ่านไป เมินเฉย จนเกิดเป็นการใช้วิถีที่จะสื่อสารแสดงออกต่ออำ�นาจบางอย่างที่เมินเฉยมอง ข้ามไปที่เป็นเป้าหมายของ tactical media ที่มีหน้าที่ดึงสำ�นึกในการวิจารณ์สังคม ด้วยกลเม็ดวิธีการสื่อสารต่างๆ เพื่อก่อกวน แทรกแซง คำ�อธิบายต่างๆ ซึ่งมันเป็นข้อจำ�กัดต่อวิถีชีวิตและท้าทายต่ออำ�นาจที่มาจากคนเพียงบางกลุ่มในการจัดการกับประชาชน ส่วนใหญ่ ซึ่งสื่อเชิงกลเม็ดไม่ได้มีเครื่องมือในการนำ�เสนอที่ตายตัว ตั้งแต่เริ่มต้น แต่มันเป็นการหยิบจับเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วในวิถีชีวติ ของเรามาใช้ให้เกิดเป็นความหมายใหม่ สื่อสารออกไปเพื่อสะท้อนเสียงของเราต่อสิ่งเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ที่ไม่ีมีโอกาสได้รับผล ประโยชน์อย่างที่ควรเผชิญอยู่ เช่น นักสร้างสถานการณ์ situationist ที่ต้องการตั้งคำ�ถามต่อบันทัดฐานทางสังคม หรืออำ�นาจต่างๆ โดยใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นอาวุธในการแสดงออก เช่น social media การจักกิจกรรม หรือแม้กระทั้ง ร่างกายของพวกเขาเอง ในการ แสดงออกทางในนัยยะ ทัศนคติในด้านของพวกเขาที่มีความหลากหลาย เกินกว่า คำ�อธิบายที่สั ง คมมอบให้กับพวกเขาในแบบ ที่ลดทอน ลดรูปหรือเพียงคำ�อธิบายเชิงเดี่ยวที่มีอยู่ในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งมันแสดงออกได้ว่าพวกเขาไม่ได้มีอำ�นาจอะไรมากมายที่จะ ช่วงชิงพื้นที่ในการอธิบาย แต่เลือกใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วบวกกับการเลือกใช้กลเม็ดที่ปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ และเงื่อนไข ข้อจำ�กัดต่างๆ มันจึงถูกเรียกได้ว่า เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอ เพื่อต่อสู้ เรียกร้องต่อผู้มีอำ�นาจเหนือกว่า เพื่อหันมามองปัญหาที่พวกเขา พบเจอ มันถูกทำ�ความเข้าใจในฐานะสื่อ “การต่อต้าน” และถูกขยายความที่กว้างขึ้น เมื่อทุกสิ่งเป็นสื่อ มันส่งสาร และพูดออกมา ได้อะไรก็ตามที่ส่งสารสื่อความหมายไปยังเป้าหมายได้ มันจะถูกหยิบจับเอามาใช้เป็นกระบอกเสียงของเรา การเลือกใช้สื่อ ไม่ว่าจะ เป็น กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะ สวมใส่เสื้อผ้า ป้ายไวนิล ปลูกต้นไม้ ชูกระดาษ อ่านหนังสือ หรือกินแซนวิช สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเนื้อหา เชิงกายภาพที่คงอยู่ของมัน แต่อยู่ที่เนื้อหาของสิ่งเหล่านี้ จะพูด จะสื่อสารและมีเงื่อนไขอะไรต่อสังคมคือสิ่งสำ�คัญมากกว่า ไม่ผลิต ซำ�้เพียงความสำ�เร็จเดิม เพื่อมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพราะในเวลานี้ มันอาจจะสื่อสาร และใช้ได้ผลในบริบทในเวลานี้ แต่ใน อนาคต บริบทและเงื่อนไขทางสังคมมันปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องลื่นไหลไปกับสังคมด้วย

11


่ เหตุผลและทีมาขอโครงงาน

12


13


อะไรที่ทำ�ป้ายรอรถ ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน สิ่งที่ทำ�ให้ป้ายรอรถในเชียงใหม่ไม่สามารถ ใช้งานได้อย่างที่มันควรจะเป็นนั้น มองในมุมมองเชิงของวั ฒ นธรรมวิ ถ ี ช ี วิตของคน เชียงใหม่นั้น การโบกรถ การสัญจรของคนเชียงใหม่นั้น โบกรถที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ ไ ด้ รถโดยสารสี่ล้อแดงหรือตุ๊กตุ๊กก็พร้อมจะ จอดให้ทันที อีกทั้ง รถโดยสารสี่ล้อสายต่างอำ�เภอ ก็มีจุดรอประจำ�ของพวกเขาเช่นที่กาดหลวง ที่ถนนกาดคำ�เที่ยง ผู้โดยสารจะนั่ง รอตรงคิวรถประจำ�อยู่แล้ว หากวิเคราะห์ดู มันอาจจะมีความผิดพลาดตั้งแต่การเลือกใช้ป้ายรอรถที ่ ม ี ว ิ ธ ี ค ิ ด การออกแบบในแบบ วัฒนธรรมของคนกรุงเทพ ที่ใช้ไม่ได้ผลฝนพื้นที่เชียงใหม่ เพราะ ระบบขนส่งของกรุงเทพกับเชียงใหม่ที่ความแตกต่างกัน พฤติกรรม การใช้รอรถก็ต่างกัน กรุงเทพมีรถประจำ�ทางหรื อ รถเมย์ที่จอดตามป้ายและลงตามป้าย ดังนั้นผู้โดยสารต้องรอตามป้ายที่สายรถ ประจำ�ทางระบุ มาเป็นเวลา แต่เชียงใหม่ไม่มีวัฒนธรรมการขนส่งระบบจอดและลงตามป้าย รวมถึงไม่ได้มีระบบขนส่งอย่างรถเมย์ รองรับอีกด้านหนึ่ง การออกแบบทางกายภาพของป้ายรอรถ กับพื้นที่ที่มันอยู่มันไม่สามารถทำ � งานสอดประสานกันเพื่อให้ได้ผล รับการนั่งรอป้ายที่ดีสำ�หรับผู้ใช้งานได้ อย่างที่เราได้สำ�รวจและสังเกต การวางป้ายรอรถ จะถูกกำ�หนดจุดวางในจุดที่มีการสัญจร พุดพล่าน เพื่อให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้สังเกตเห็นโฆษณาได้อย่างชัดเจน แต่ลืมไปว่าพื้นที่ตรงนั้น ถึงมันจะสื่อสารโฆษณาได้อย่างมี ประสิทธิภาพแต่ประโยชน์การใช้สอยมันกลับไม่รองรับผู้ใช้จริงๆ เช่น การติดตั้งป้ายตรงทางฟุตบาตเส้นขาวแดง แน่นอนว่าฟังก์ชั่นข องป้ายคือ หยุดรอรถ แต่รถกลับหยุดเพื่อจดรับคนที่รอไม่ได้ การติดตั้งป้ายไว้บริเวณที่การจราจรติดขัดอย่างบริเวณสามแยกตลาด ต้นพยอมถนนแคบการจราจรติดขัดบรรยากาศการนั ่ ง รอและการหยุดรถรับส่งนั้นไม่เอื้อเฟื้อกับประโยชน์ใช้สอยของป้ายแต่กลับ ทำ�งานเป็นสื่อโฆษณาที่มีประสิทธิภาพมกอีกจุดหนึ่งเพราะเมื่อติดไฟแดง คนส่วนใหญ่หันไปดูโฆษณาที่ป้ายเป็นส่วนใหญ่ หรือแม้ กระทั้งการติดตั้งป้ายรอรดบทพื้นที่ทางเท้าที่แคบอยู่แล้ว จนทำ�ให้คนที่ต้องเดินบนทางเท้า เดินได้ไม่สะดวกหรือถึงขั้นต้องเดินอ้อม ป้ายลงไปที่ถนนเป็นต้น

14


จุดประสงค์/เป้าหมาย ของโครงการ - เพื่อวิพากษ์ตัวพื้นที่ร่วมสมัยโดยวิธี Tactical media เพื่อสร้างสรรค์บริบทของพื้นที่โดยการสร้างความหมายใหม่ - ถากถางความหายและคำ�อธิบายเดิมของพื้นที่ที่ไร้ประโยชน์ให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และใช้พื้นที่นั้นโดยตัวปัจเจก เป็นผู้วิพากษ์มัน - เพื่อบ่งบอกความไร้สาระของความร่วมสมัย บ่งบอกชีวิตที่อึดอัดที่ไม่สามารถพูดออกมาอย่างตรงไปตรงมากับความ ไร้สาระที่ เกิดขึ้นในด้านที่ตัวพื้นที่ที่สร้างขึ้นโดยไม่ก่อประโยชน์ใดๆกับตัวชุมชนเลย - ใช้สื่อsocial network เป็นตัวกลางในการ สร้างความหมายของกิจกรรมที่ไม่มีประโยชน์ ส่งต่อจากพื้นที่เล็กๆออก สู่สังคม เพื่อขยายประเด็นให้เป็น ข้อคิดเห็น ข้อวิพากษ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม - เพื่อตอกยำ�้ ยอกย้อน ความเป็นทุนนิยม ที่ได้ครอบงำ�พื้นที่(ป้ายรอรถ) ที่มีการวางป้ายโฆษณาของเอกชนโดยการ ใช้พื้นที่รัฐเป็นพื้นที่นำ�เสนอ ทั้งนี้ทำ�ให้เห็นว่ารัฐและเอกชนทำ�งานร่วมกันเสมอในระบบทุนนิยม - ให้เล็งเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากกิ จ กรรมที่ได้ใช้พื้นที่ตรงป้ายรอรถสร้างกั บ ป้ายไม่ว่าจะเป็น การล้างรถ แปรงฟัน กินข้าว หรือแม้แต่นอนที่ป้ายรอรถ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราสามารถไปทำ�อะไรได้มากกว่าการนั่งรอ หรือยืนรอรถประจำ�ทาง ในเชิงการทำ�งานแบบเหตุผลล้นเกินเพื่อวิพากษ์ความมีเหตุมีผลงานตัวป้ายเองด้วย - ตอกยำ�้ ให้ชาวบ้านฉุดคิดในกิจกรรมที่ทำ� เล็งเห็นว่าป้ายรอรถเมื่อถูกแทนโดยการใส่ความหมายใหม่ให้มัน ผู้คนที่ ผ่านไปผ่านมาจะมีปฎิสัมพันะ์กับมันอย่างไร - เพจ“รอเท้าที่ทางพัก”ที่สร้างขึ้น ได้สื่อถึงขั้นตอนและกระบวนการสร้างความหมายให้ป้าย โดยการปล่อยเคมเปญ ถ่ายรูปคู่ป้ายโดยสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ให้เล็งเห็นวิถีของป้ า ยที่มันไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยแต่ใช้กิจกรรม ของผู้เข้าร่วมเป็นตัวขับเคลื่อน

15


กระบวนการทำ�งาน

16


สื่อต่างๆที่เลือกใช้ เพื่อการส่งสาร ออกไปของโครงการ - เหตุผลที่เราเลือกใช้Facebook เป็นsocial network ที่เชื่อมโยงแนวคิด กิจกรรม ข้อมูลที่สื่อสารง่ายและสะดวก ที่สุดในsocialไม่ว่ า จะเป็ น การ แชร์ การตั ้ ง สเตตั ส การสร้ า งกิ จ กรรม (event) ใช้วิ ธ ี ก ารสร้ า งกิ จ กรรม การปล่อยเคมเปญ การปล่อยภาพกิจกรรม และวิดิโอก็ง่ายต่อการเชื่อมโยง เข้ากับwebsite อื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็น ตัวกลางเป็นตัวกลางให้ผู้สร้างสรรค์กิจกรรมและผู้ชมที่เข้ามาร่วมpage โดยการลดlike และร่วมกันสร้างความทรง จำ�โดยการ comment การแชร์ การบอกต่อ เพื่อขยายประเด็นให้เป็น ความทรงจำ�สาธารณะ - ทั้งนี้มีการใช้ QR cord เป็น สัญลักษณ์ในการเล่นกับพื้นที่ Map ป้ายรอรถ เพื่อง่ายต่อการสแกนเข้าไปดูกิจกรรมของ สมชิกที่ไปสร้างสรรค์ป้าย ทั้งในรูปแบบของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่สำ�คัญมีข้อมูล information ที่เกี่ยวกับ เส้นทางการเดินรถในเชียงใหม่และการจัดตั้งป้ายรอรถขึ้นเพื่อเป็นโครงการของภาครัฐ - รวมไปถึงการสร้างกิจกรรม ทั้งแปรงฟัน ล้างรถ กินข้าว นอนที่ป้าย กางเต๊นท์ เย็บปักถักร้อย ออกกำ�ลังกาย ฯลฯ ทุกกิจกรรมที่ ทำ�กับป้ายเป็นเพียงเล็กน้อยที่สื่อถึงการใช้พื้นที่ให้มีประโยชน์จากที่ไม่มีใครสนใจถูกสนใจจากผู้คนที่ ผ่านไปผ่านมา

17


Project “รอเท้าที่ทางพัก”กับ วิธีการ Tactical madia เราได้เลือกใช้ tactical madia ที่วิจารณ์และให้ความหมายของพื้นที่ร่วมสมัยการทำ�งานร่วมกับบริบทของพื้นที่ จึงทำ�ให้ตัวงาน เล่นกับ Placeในการใส่ความหมายลงไปให้ตัวสถานที่มีการพูดถึง มีการถากถางดังนั้น Process งานจึงสำ�คัญในการทำ�โครงการ ในครั้งนี้

กระบวนการวางแผนการดำ�เนินการ ในการล้อเล่น กับตัวป้ายรอรถจึงเกิดขึ้น โดยเริ่มจาก

1. ตั้งข้อสงสัยในตัวพื้นที่ที่มันเกิดขึ้น คือ ป้ายรอรถเชียงใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย และการสร้างบนพื้นที่ขาวแดง การสร้างทางแสง เข้าตลอดเวลา จึงเกิดการตั้งคำ�ถามและนำ�ไปวิพากษ์ของกลุ่มขึ้น ในเรื่องของการให่้ความสำ�คัญกับตัวพื้นที่ Location Place space ที่เกิดขึ้น มันไร้ซึ่งความสนใจและการเข้าไปใช้พื้นที่ตรงนั้น เพราะเนื่องจาก ความไม่สะดวกสบายในการโบกรถ หรือ ตอนกลางวันมันร้อน แสงเข้าตลอดเวลา ตอนกลางคืน มันเปลี่ยวเหงา จึงไม่มีใครเข้าไปใช้รอรถอย่างที่ชื่อมันบอก ทางสมาชิก จึงได้เข้าไปสำ�รวจพื้นที่ ทั้งหมดที่มีป้ายรอรถ

ถนนห้วยแก้ว (หน้าหมาวิทยาลัยเชียงใหม่) สำ�รวจป้ายรอรถทั้งหมด 21 จุด แต่ละจุดห่างกันประมาณ 500 เมตร เพราะติดกับเส้นทางการเดินรถของนักท่องเที่ยว นั่นคือ ทางฝั่งตะวันออกคือ ท่าแพ ตะวันตกไปทางดอยสุเทพ จึงทำ�ให้การสัญจรในถนนเส้นนี้มี การใช้รถที่หนาแน่นตลอดทั้งวัน

ถนนสุเทพ (เส้นหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) สำ�รวจป้ายมีทั้งหมด 7 จุด ระยะห่างจากป้ายหนึ่งไปป้ายหนึ่งประมาณ 1 เมตร ตัวป้ายรอรถจะอยู่ในสถานที่สำ�คัญ อาทิเช่น กาดพยอม หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน้าคณะเภสัชศาสตร์ และหน้าโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ สิ่งที่สังเกตได้จากป้ายอย่างหนึ่งคือ ป้ายรอรถแต่ละป้าย ตั้งอยู่บนทางขาวแดง บางป้ายอยู่ติดกับตรงสัญญาณจราจร และทุก ป้ายไม่มีผู้คนไปนั่งรอรถ ถ้ามีก็น้อยมาก เพราะเป็นเส้นทางที่แสงเข้า ทำ�ให้ตัวป้ายรอรถมีความโดดเด่นแค่ตัวโฆษณาบนป้าย เท่านั้น

18


3. และคิดว่าจะนำ�ป้ายรอรถที่ไร้ซึ่งการใช้งาน ไปใช้ในการล้อเล่นอย่างไร สิ่งที่เราร่วมกันคิดคือ การสร้างสรรค์กิจกรรมบนป้าย รอรถจากที่คนไม่มอง ไม่สนใจ ไม่ใช้งาน เราก็ใช้มันในการถากถาง และ ล้อเลียนชีวิตที่เป็น homeless โดยการไปทำ� กิจกรรมร่วมกับป้าย ที่ไม่ซ้ำ�กันโดยวางแผนการเข้าไปถากถางป้าย คือ สิ่งที่ป้ายเป็นอยู่ ที่ดูเหมือนจะมีประโยชน์แต่ร้างคน ใช้งานจริง เราจึงร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมกับตัวป้าย ในรูปแบบที่แตกต่าง

19


กิจกรรมอันไร้สาระของโครงการ รอเท้าที่ทางพัก เพื่อถามหาสาระที่แท้จริง - ป้ายแรกที่ทำ�กิจกรรม เวลา 7.00 น. (ล้างรถ + แปรงฟันหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ป้ายนี้เป็นการสร้างกิจกรรม ล้างรถและล้างหน้าแปรงฟัน ซึ่งก็ได้รับความสนใจและฉงนสงสัยของผู้คนที่ผ่านไปมาในช่วงเช้า ชาวบ้านที่มาออกกำ�ลังกายในช่วงเช้าทีสวนสุขภาพเล็งเห็งกิจกรรมที่เราทำ�และสงสัยไปตามๆกัน - ป้ายสอง ( รวมกันกินข้าวที่ป้ายรอรถหน้า มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ) ป้ายนี้ได้รับความสนใจจากลุงที่คิวรถแดงตีนดอยที่มาคอยสังเกตุและไตร่ถามพฤติกรรมการทำ�งานของกลุ่มนั่นคือ การกินข้าว ด้วยกันหน้ามหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ นักท่องเที่ยวเองก็เดินไปมาเพื่อสำ�รวจกิจกรรมที่เราทำ�กัน ยิ้มบ้าง ทำ�หน้า สงสัยบ้าง ชาวบ้านที่ขับรถผ่านไปมาบ้าง เพราะเส้นทางตรงนั้นเป็นจุด ยูเทรินรถมีการจราจรที่ติดขัด พอสมควร - ป้ายสาม ( นอนกันที่ป้ายรอรถ ตรงตีนดอยสุเทพ) ป้ายตรงนี้เห็นชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ขาว แดง และอยู่ตรงจุดที่สำ�คัญ เพราะมีทั้ง สวนสัตว์เชียงใหม่ สถานีตำ�รวจภูพิงค์ ศูนย์นมสดพาสเจอร์ไลน์ และคิวรถแดงตีนดอยสุเทพ ทำ�ให้เป็นจุดที่สามารถสร้างกิจกรรมได้หลากหลายและดึงดูดผู้คนที่ ผ่านไปผ่านมาได้ง่าย หลังจากนั้นก็ได้ปล่อยทั้ง ภาพนิ่ง และวิดีโอ พอกิจกรรมทั้งสามได้เสร็จสิ้น ก็นำ�ไป update ในpage รอเท้าที่ทางพัก ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบวิด๊โอสั้นๆ

20


21


22


23


24


25


การทิ้งร่องรอย และเรื่องราวของโครงการไว้บนทางเท้า ผ่านระบบ กำ�หนดตำ�แหน่ง แห่งที่ ในโลกอินเตอร์เน็ต

26


27


28


ผลงานปลายทางของโครงงาน ขั้นตอนการ installation งาน - การinstallation งานจะอยู่ที่ป้ายรอรถเลย - วัดขนาดของป้าย - เลือกวัตถุดิบที่จะติดป้ายรอรถใช้ผ้าด้ายดิบ - ปริ้น QR CORD เป็นสติ๊กเกอร์ใส - นำ�สิ่งของ วัสดุ ที่ใช้ในกิจกรรมมาวางจัดพรอพกัน - การเพ้นแผนที่ลงไปบนผ้าได้ดิบเพื่อที่จะติด QR CORD ลงไป การมีปฎิสัมพันธ์กับป้ายนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ในป้าย ยังมีการใช้QR CORDในการใส่ข้อมูลและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลต่างๆ - QR CORD เพจในFacebook - QR CORD รูปภาพกิจกรรมที่สมาชิกไปทำ�และผู้ที่สนใจในกิจกรรม รอเท้าที่ทางพัก - QR CORD วิดีโอกิจกรรมในแต่ละครั้งที่ไปทำ� ทั้งสมาชิกเอง และผู้ที่สนใจ - QR CORD ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการเดินรถในจังหวัดเชียงใหม่ และข้อมูลที่น่าสนใจ

ผลงานปลายทางของโครงงาน ในตอนขั้นตอนท้ายที่สุดของการสร้างสรรค์บทสรุปผ่ า นทางผลงานศิลปะเชิงวิพากษ์สังคมแห่งความไร้ สาระ ถูกย่ อให้อยู่ในรูปของข้ อ มู ล ในโลก อินเตอร์เน็ตในการอ้างอิง ตำ�แหน่งแห่งที่ การมีตัวตน และ การทิ้งร่องรอยของการกระทำ�ของพวกเรา ไว้บนสำ�นึกของพื้นที่ ที่ใช้map เป็นภาพแทนออกมา และมี การใช้ เทคนิค QR codeในการเชื่อมต่อตัวงานที่ติดตั้งจริงไปยังเว็บไซต์ในโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อดูเรื่องราว ต่างๆที่ถูกปักหมุดบนแผนที่

29


C: 0 M : 80 Y : 20 K: 0

การใช้สื่อ social media (Facebook) เป็นตัวกลาง ในการทำ�กิจกรรม ให้บุคคลทั่วไปรับรู้ ถึงการ ทำ�กิจกรรมของเราโดยใช้ ชื่อเพจว่า รอเท้าที่ทางพัก การอัพเดทลงเพจจะมีท้งั ภาพนิ่งและภาพ เคลื่อนไหว ตัวfont ที่มีสีสัน และมุขที่เสี่ยวๆ มีการกำ�หนดMood & Tone ของตัวเว็บไซต์ ตัวเพจ ตัวงาน ตัวvideo

logo : รอเท้าที่ทางพัก หรือ CM busstop

ถูกนำ�ไปใช้เป็นสัญลักษณ์โครงการของเรา บนสื่อต่างๆ เพื่อสร้างเรื่องราว ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันของโครงการรอเท้าที่ทางพัก จุดประสงค์ที่เราทำ�โลโก้ขึ้นมาเพื่อต้องการให้เกิดการจดเจ้ากับ คนหมู่มาก และเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำ�ให้คนสืบสาวไปถึงรายละเอียดต่างๆของโครงการเมื่อเห็น สัญลักษณ์ของเรา

30

C: 0 M:0 Y: 0 K: 0

C : 60 M:0 Y: 0 K: 0


31


32


busstop.mediaartsdesign.org กิจกรรม รอเท้าที่ทางพัก นอกจากจะอยู่ในสื่อ social media อย่าง facebook หรือ youtube เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่ใช้สื่อ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการส่งต่อ การกระจ่ายข่าวสารกิจกรรม ของเราให้เกิดการรับรู้เป็นวงกว้างแล้ว ยังมี เว็บไซต์ เพื่อที่จะเป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่งเพื่อให้คน ที่สนใจในกิจกรรมของเราร่วมสนุก ด้วยการอัพโหลดรูปภาพกิจกกรมที่ถ่ายรูปร่วมกับป้ายรอรถใน กิจกรรมรอเท้าที่ทางพัก

33


ประเมินผล

34


การประเมินผลงานร่วมกันของสมาชิกในโครงการ

สลิล อาวุธ 550310259 กระบวนการคิดงาน เนื่องจากประเด็นที่ทางกลุ่มสนใจอิงกับพื้นที่ใกล้ตัว จึงเป็นเรื่องที่หลายคนรับรู้อยู่แล้ว จึงต้องหาการแสดงออกที่แตกต่าง และน่า สนใจกว่าที่ผู้อื่นเคยนำ�เสนอไว้ แต่ทางกลุ่มอาจยังศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องไม่มากพอ จึงทำ�ให้มุมมองของงานที่แสดงออก มีเพียงมุม มองของสมาชิกในกลุ่มเท่านั้น คือมีความรู้สึกต่อต้านแฝงอยู่ และไม่เห็นควร ในการสร้างป้ายรอรถ เพราะผลประโยชน์ของป้ายรอ รถนั้นตกอยู่กับคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ไม่ใช่สังคมส่วนรวม แต่ถ้าหากทางกลุ่มได้ศึกษาตัวป้ายรอรถเพิ่มเติม อาจทำ�ให้พบมุมมอง ที่แตกต่าง และอาจเห็นผลประโยชน์ที่มากกว่าที่เดิมที่ซ่อนอยู่ภายใต้ฉากป้ายรถเมล์ก็เป็นได้

35


ขั้นตอนและวิธีการทำ�งาน การทำ�งานภายในกลุ่มมีการแบ่งงานเป็นสัดส่วนชัดเจน เช่น ในการทำ�เว็บมีการแบ่งเป็น ผู้ออกแบบ ผู้เขียนเนื้อหา ผู้ทำ�หน้าเว็บ และผู้ปรับแต่งเทคนิคพิเศษ อย่างชัดเจน ทำ�ให้สะดวกง่าย และมีการรับผิดชอบในส่วนของตัวเอง การทำ�กิจกรรม มีการประชุม วางแผนอย่างเป็นระบบทุกครั้ง เพื่อตกลงเวลาสถานที่อุปกรณ์ อย่างชัดเจน ทำ�ให้เวลาทำ�กิจกรรมนั้น เป็นไปอย่างไม่สะดุด และทุกคนเข้าใจร่วมกัน ช่วยเหลือกันได้

ข้อดี ข้อเสีย ของลักษณะการทำ�งาน เพราะเป็นงานที่มีแนวคิดเป็นหลัก แต่ไม่จำ�กัดกิจกรรม จึงทำ�ให้เป็นงานที่สนุก และดึงให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ ทั้งการนอน การ กินอาหาร การเต้นรำ� เพียงแค่ทำ�กิจกรรมนั้นๆในพื้นที่ใหม่ๆก็เปลี่ยนความหมายของกิจกรรม อีกทั้งสามารถเปลี่ยนความหมายของ ตัวพื้นที่ได้อย่างไม่จำ�กัด จึงทำ�ให้ผู้ชมสามารถสนุกได้กับรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย และทำ�ให้เข้าถึงได้ง่าย แต่การแสดงออกของงานยังไม่มีพลังมากเพียงพอ เพื่อให้คนภายนอกรู้สึกถึงความจริงจังของสิ่งที่ต้องการจะสื่อ อาจเห็นเพียงแค่ ความสนุกสนานของกิจกรรมเท่านั้น เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องการให้ผู้ชม และผู้ที่พบเห็นต้องรู้สึกอยากมีส่วนร่วม แต่การจัด กิจกรรมที่ได้จัดไป มีความเป็นเอกเทศ แบ่งแยกตนเองจากพื้นที่ภายนอก สังเกตได้จากการที่มีผู้คนเดินอ้อม เดินเลี่ยง และปฏิเสธ การเข้ามามีส่วนร่วม โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ยาก ที่จะให้ทุกคนรู้สึกเป็นกันเองผ่านการเปิดใจฝ่ายเดียว ซึ่งกิจกรรมที่ทำ� ยังไม่ เพียงพอที่จะให้โอกาสคนอื่น ได้เปิดใจและเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

สิ่งที่อยากปรับปรุง อยากให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม เพื่อให้โครงการเป็นที่รับรู้ในสังคม และให้คนในสังคมร่วมเปลี่ยน ความหมายของพื้นที่ร่วมกัน การใช้งานตัวเว็บไซต์ ยังไม่เกิดประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับเพจทางเฟสบุ๊ค เนื่องจากเป็นสิ่งที่คน เข้าถึงง่าย และเป็นที่นิยม เฟสบุ๊คและตัวเว็บไซต์ ควรจะเชื่อมต่อกัน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ยังพัฒนาตัวเว็บไซต์ได้ ไม่ดีพอ

36


นันท์ณิชา ศรีวุฒิ 550310240 กระบวนการคิดงาน โครงการนี้ คิดมาจากสิ่งที่มันอยู่รอบตัว สิ่งที่เราพบเห็นและ เห็นมันว่าเป็นปัญหาจริงๆ ดังนั้น ทำ�ให้เรามีความเข้าใจและเข้าถึง ปัญหาและนำ�ไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ โดยการใช้แนวคิดต่างๆที่ได้เรียนมา สังเคราะห์ วิเคราะห์ออกมาเป็นผลงานที่เรา เข้าใจและ เห็นความบกพร่องของสังคมที่เราได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อมและนำ�ไปสู่ปัญหาหรือเรื่องราวอื่นๆของสังคมรอบ ตัวของเราไปอีก จึงทำ�ให้วิธีคิดงานของเราเริ่มจากจุดใกล้ตัวไปสู่จุดใหญ่ของสังคมได้

ขั้นตอนและวิธีการทำ�งาน การทำ�งานของเรา เราร่วมกันคิด วิเคราะห์ หาหนทางการเชื่อมโยงเนื้อหาและประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ากับโครงงานของเราที่จะ ออกมาเป็นกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการทำ�งาน เราแบ่งกันทำ�งานตามความถนัดของแต่ละคน เช่น สลิลมีความถนัดในการทำ�เว็บก็ให้สลิลรับผิดชอบเรื่องของระบบเว็บไซต์ เรวดีกับนันท์ณิชา มีความถนัดการออกแบบ ประสาร งาน และการวางแผนต่างๆ

ข้อดี ข้อเสีย ของลักษณะการทำ�งาน ข้อดีคือ เรามีความรู้สึกสนใจและเอาใจใส่จริงจังกับการทำ�โครงการนี้ ไม่ใช้แค่การทำ�หน้าที่หรือการทำ�งานส่งในชั้นเรียน ทำ�ให้เรา ใส่ใจและพยายามทำ�ให้โครงการออกมาเพื่อวิพากษ์สังคมจากสำ�นึกจริงๆ ข้อเสียคือ เราไม่สามารถควบตุมปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นระหว่างเราทำ�กิจกรรม เช่ผู้คนที่ไม่เข้าใจโครงการ การร่วมสนุกของกิจกรรม ของเรายังเป็นคนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มเพื่อนของเรากันเอง อาจจะต้องใช้เวลาและการทำ�กิจกรรมของพวกเราอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่อยากปรับปรุง การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการพัฒนากิจกรรมให้สามารถ และการควบคุมความต้องการ ทิศทางของงานที่จะสามารถสร้างความ เป็นไปได้ใหม่ๆ อีกอย่างคือ ต้องการให้สื่ออื่นๆให้ความสามารถสำ�คัญและขยายผลไปสู่การสร้างแรงกระเพื่อมบางอย่างให้สังคมได้ เข้าใจถึงปัญหา

37


เรวดี งามลุน 550310254 กระบวนการคิดงาน ที่มาของงานและตัวงานมันสามารถไปด้วยกันได้ เพราะกระบวนการคิดงาน รอเท้าที่ทางพัก มันเริ่มจากจุดสนใจในตัวสถานที่นั่นคือ ป้ายรอรถเชียงใหม่ ที่มันสร้างไว้ให้ผู้คนใช้งานแต่มันไม่ถูกใช้งาน ดังนั้นการวิพากษ์โดยนำ�ทฤษฎีที่เรียนมาเกี่ยวกับ tactical media กระบวนการเคลื่อนไหวที่เป็นกระบวนการ new social movement โดยวิธีการpalody เข้าไปถากถางพื้นที่ตรงนั้นให้มีการ วิพากษ์ พื้นที่ร่วมสมัยเกิดขึ้น ดังนั้นขั้นตอนการทำ�งานตั้งแต่เริ่มคิดงาน เริ่มทำ�งาน หาข้อมูล ทำ�เว็บไซต์ และร้อยเรียงแนวคิดมาใช้ กับโปรเจคจึงเป็นเรื่องสนุก ตื่นเต้น กับกิจกรรมที่ทำ� และตัวเพจที่สร้าง ทำ�ให้feedback กลับมาจากตัวชาวบ้าน และคนที่สนใจเพจ ได้รับข้อมูลใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆจากโปรเจคอยู่ตลอดเวลา

ขั้นตอนและวิธีการทำ�งาน ขั้นตอนและวิธีการทำ�งาน มีทั้งในรุปแบบสร้างสรรค์เองกับตัวปัจเจกนั่นคือตัวสมาชิกในกลุ่ม กับขั้นตอนในโลกinternet ที่มี กระบวนการเชื่อมต่อเพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนได้ดีแต่โดยส่วนตัวชอบวิธีการออกไปลงมือด้วยตัวเอง สร้างสรรค์กิจกรรม ต่างๆที่ป้ายรอรถ มากกว่าเพราะมันได้สร้างกิจกรรม สร้างความทรงจำ� ณ ป้ายตรงนั้นออกมาเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวให้เรา นึกถึง วิธีการทำ�งานในกลุ่มมีความกระตือรือล้นที่จะทำ�ให้ตัวงานออกมาเป็นที่จดจำ�ว่าครั้งหนึ่งเราเคยไปไร้สาระ ณ ป้ายรอรถ เมื่อ จะสร้างกิจกรรมบางอย่างก็สร้างให้ถึงที่สุด สนุกกับมัน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมล้างรถ แปรงฟัน กินข้าวกัน นอนที่ป้ายรอรถ หรือ กิจกรรมที่พี่ๆเพื่อนๆมาร่วมกับเราและได้รับความสนใจ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในกระบวนการทำ�งานที่คาดไม่ถึง ทั้งในระหว่างทำ�งานที่ได้ มีปฎิสัมพันธ์กับชาวบ้านมีการสอบถามว่าทำ�อะไร ทำ�ทำ�ไม หรือแม้แต่การช่วยคนแก่ข้ามถนน ทุกอย่างถือเป็นการทำ�งานที่ได้จาก โปรเจคนี้ค่ะ

ข้อดี ข้อเสีย ของลักษณะการทำ�งาน ข้อดี คือ ตัวสมาชิกได้ทำ�งานทั้งในรูปแบบ งานมือแบบmanual และ เทคนิค การทำ�เว็บไซต์ ที่ท้าทายและสนุกสนาน เราได้ทำ�งาน กันทุกคน เราตื่นเช้าออกไปสำ�รวจป้าย ตอนกลางคืนไปถ่ายรูป คิดกิจกรรมที่จะไปทำ�ที่ป้ายในรุปแบบที่ไม่ซ้ำ�กัน ขนของ จัดพรีอพ วางธีม และเป็นแอดมินเพจ รอเท้าที่ทางพัก ด้วยความสนุกสนานและสร้างสรรค์วิธีการนำ�เสนอแบบไร้สาระที่มีแนวคิดการวิพากา์ ลงไป แต่ละที่ที่ไปถ่ายเราเก็บภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมา ไม่ได้นำ�เสนอโดยโพสลงในเพจเลย แต่เรามีการ manipulate ภาพเชิญ ชวนชน คิดฟร้อนเสี่ยวๆ ตั้งชื่อเพจเสี่ยวๆ ตัดต่อวิดีโอเสมือนหนังสั้นในอแต่ละตอน ต้องคัดfootage ที่เหมาะสมในการนำ�มาตัดต่อ ขั้นตอนพวกนี้สนุก เราได้เรียนรู้วิธีการทำ�งานเรื่อยๆไม่จบสิ้น ข้อเสียตัวเคมเปญที่ปล่อยแล้วอยากให้คนมาร่วมด้วย มันใช้เวลาสั้น ในการดึงคนเข้ามาร่วมโครงการ ตัวเพจต้องการสื่ออะไร? มันยัง ไม่ชัดเจนพอในระยะเวลาที่สั้น และถ้าเราจะวิพากษ์วิจารณ์ ถากถางตัวพื้นที่ เราจะทำ�ยังไงให้คนเข้าใจสิ่งที่เราจะนำ�เสนอ และอีก ประเด็นคือ แต่ละป้ายที่เราไปทำ�กิจกรรม มันน้อยมากเพราะเวลาที่ไม่ลงตัวทั้งการเรียน และสภาพอากาศที่ทั้งร้อนทั้งหนาว และ ช่วงระยะเวลาที่จะไปทำ�กิจกรรมต้องคิดให้ดีก่อนไปในแต่ละป้าย แต่กิจกรรมที่ทำ�ออกมาจึงซ้ำ�ๆกันเมื่อโพสลงเพจ

38


สิ่งที่อยากปรับปรุง สิ่งที่อยากปรับปรุงคือ รูปแบบการโปรโมทอาจจะไม่ใช่แค่ทางเพจใน facebbok หรือแค่ทางQR code เท่านั้น มันยังมีอีกหลาก หลายวิธี ที่นำ�เสนอให้ได้น่าสนใจเช่น การตัดต่อในรูปแบบmedia 3d หรือรูปแบบของเว็บไซต์ที่มีความน่าสนใจมากกว่านี้

ความเป็นไปได้ในอนาคต ของการทำ�โปรเจคนี้ โปรเจคนี้จะไม่จบแค่การpresent งาน แต่กระบวนการทำ�งานของเพจจะมีการอัพเดทไปเรื่อยๆ จนเป็นประเด็น ที่สนใจในสังคม ใน ตัวพื้นที่เองที่มีการใส่ใจเรื่องของป้ายรอรถในเชียงใหม่ มากขึ้น หรือถูกวิพากษ์ในหลายวิธีการ อนาคตหวังว่าตัวข้อมูลที่สื่อสารออก ไปให้คนดูจะรับรู้ในหลากหลายช่องทาง และเกิดเป็นความทรงจำ�สาธารณะ ได้กับโปรเจค รอเท้าที่ทางพัก cmbusstop

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.