Kbs newsletter no3 v4

Page 1

ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ต.ค. - ธ.ค. 56

¡è͹ĴÙà»Ô´ËÕº »Õ 56/5 7


เติมชีวิต เติมสุข

บทบรรณาธิการ

กลับมาพบพี่น้องชาวไร่อ้อยทุกท่านแล้ว ส�ำหรับจุลสารอ้อยหวานฉบับนี้ เป็นปีที่ 10 ฉบับที่ 3 แล้ว และใกล้จะถึงฤดูเปิดหีบอ้อยปีการผลิต 56/57 พร้อมกับเริ่มปลูกอ้อยปลายฝน 57/58 แล้วนั้น ไม่ทราบว่าชาวไร่อ้อยทุกท่านได้เริ่มเตรียมความพร้อมส�ำหรับฤดูกาลหีบนี้แล้วหรือยัง เรามาดูกันดีกว่าว่าจะ ต้องเตรียมความพร้อมอะไรกันบ้างก่อนเปิดหีบปี 56/57

1. จะต้องตรวจเช็คสภาพรถบรรทุก/ รถตัดอ้อย/ รถคีบ ทุกครั้งก่อนใช้งาน 2. เตรียมความพร้อมด้านแรงงานตัดอ้อย 3. สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ชาวไร่อ้อยทุกท่านที่จะตัดอ้อยส่งโรงงานน�้ำตาลครบุรี จะต้องมีคิวส่งอ้อย หากชาวไร่ ท่านใดที่ยังไม่มีคิวในการตัดอ้อย สามารถติดต่อได้ที่เขตส่งเสริมใกล้บ้านของท่าน หรือนักเกษตรที่ดูแล ท่านโดยตรง

ในช่วงปลายปีนี้ มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิก ท�ำให้มีข่าวอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะใน ภาคตะวันออก เขตปราจีนบุรี และภาคอีสานล่างบางส่วน เขตบุรีรัมย์, ศรีสะเกษ ซึ่งนับเป็นโชคดี ของพี่น้อง ชาวไร่ของโรงงานน�้ำตาลครบุรี ที่ได้รับผลดีจากปริมาณฝนดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะท�ำให้อ้อยได้ผลผลิตที่สูงด้วย และสุดท้ายนี้ โรงงานน�้ำตาลครบุรี ขอขอบคุณชาวไร่อ้อยทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด และหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดบกพร่อง เราขอน้อมรับไว้ ณ ที่นี้ เพื่อปรับปรุงในครั้งต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะ ได้รับการสนับสนุนจากชาวไร่อ้อยทุกท่านตลอดไป ท่านอยู่ได้ เราอยู่ได้

KBS Green World Green Product


แนะนำ�ผู้บริหารใหม่ นายสถาพร สิงห์ธวัช

ตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการพัฒนาวัตถุดิบ การบริหารงานภายใต้แนวคิดในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างความ ยั่งยืนในการปลูกอ้อยให้กับเกษตรกร

นายอานนท์ แสนทวีสุข

ตำ�แหน่ง ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมวัตถุดิบ ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง ดูแลรับผิดชอบการจ่ายส่งเสริมชาวไร่ มีเป้าหมาย พลิกโฉมการจ่ายส่งเสริมภายใต้ แนวคิด “เข้าถึงชาวไร่ เข้าใจความ

ต้องการ”

สนใจติดต่อเขตส่งเสริมใกล้บ้านท่าน ในวันทำ�การ จันทร์ - เสาร์ เวลา 08:00 -17:00น. จุลสารอ้อยหวาน 3


การปลูกอ้อยปลายฝน ฤดูกาลปลูก การปลูกอ้อยของประเทศไทยนั้นมากกว่า 90% อาศัยน�้ำฝนตามธรรมชาติ การปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงานจะมี 3 ช่วง คือหลังฝน (ข้ามแล้ง) ก่อนฝน (น�้ำราด) และต้นฝน ดังแผนภูมิ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ปลายฝน น�้ำราด ต้นฝน การปลูกอ้อยปลายฝน จะด�ำเนินการหลังฝนหมด คือ ตัง้ แต่ปลายเดือนตุลาคม ถึงปลายเดือนพฤศจิกายนหรือจนกว่าดิน จะหมดความชืน้ คือความชื้นไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอก การปลูกอ้อยน�้ำราด จะด�ำเนินการก่อนฝน คือ หลังจากการปลูกอ้อยปลายฝน หรือการรื้อตอแล้วปลูกใหม่ ความชื้นในดินเหลือน้อยไม่ เพียงพอที่อ้อยจะงอกจะต้องให้น�้ำ โดยใช้น�้ำเพียงพอให้อ้อยงอกเพียงครั้งเดียว ปริมาณน�้ำที่ให้ขึ้นกับความชื้นของดิน ขณะนั้น จะด�ำเนินการปลูกต้นเดือนธันวาคม ถึงต้นเดือนมีนาคมอากาศยังไม่ร้อนจัด ส�ำหรับระยะเวลาจากกลาง เดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนเมษายน ปกติอากาศจะร้อนจัดมาก ดินแห้งมาก การปลูกในช่วงนี้ถ้าให้น�้ำแล้วกลบบาง เกินไป ตาอ้อยจะสุกไม่งอก หรือถ้าเกิดฝนตกหนักดินอัดแน่น อ้อยอาจจะเน่าไม่งอกฉะนั้นการปลูกอ้อยราวมีนาคม ถึง เมษายน เป็นจุดเสี่ยงจะต้องติดตามสภาพดินฟ้าอากาศอย่างใกล้ชิด การปลูกอ้อยต้นฝน จะด�ำเนินการเมือ่ เริม่ เข้าฤดูฝน ซึง่ จะอยูใ่ นช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงกลางเดือนมิถนุ ายน ถ้าปลูกหลังจากนีไ้ ปแล้ว ผลผลิตและคุณภาพอ้อยจะลดลงตามล�ำดับ

การปลูกอ้อยปลายฝน

การปลูกในช่วงปลายฤดูฝน

ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งอาจเรียกอ้อยตุลาหรืออ้อยปลายฝน

ข้อดีของการปลูกอ้อยปลายฝน • อ้อยมีความหวานสูง ครบอายุเมื่อเก็บเกี่ยว • ลดปัญหาด้านวัชพืช เนื่องจากความชื้นหน้าดินต�่ำ • ไม่มีปัญหาการขาดแคลนพันธุ์อ้อยที่มีอายุเหมาะสม • ความงอกของอ้อยสูง เพราะดินมีความชื้นพอเหมาะ

4

จุลสารอ้อยหวาน


ขั้นตอนการปลูกอ้อยปลายฝน 1. การไถเตรียมดิน

2. ไถระเบิดดินดาน

3. ควรเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงในดิน เช่น กากหม้อกรอง หรือมูลสัตว์

4. กรณีใช้เครื่องปลูก ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-16-8 หรือ 16-8-8 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

5. ฉีดพ่นสารเคมีคุมวัชพืชให้ทั่วพื้นที่ปลูกอ้อย

จุลสารอ้อยหวาน

5


การดูแลรักษาอ้อย

การปลูกอ้อยปลายฝนดีอย่างไรต่างจากการปลูกอ้อยต้นฝนอย่างไร อ้อยมีระยะการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ 1. ระยะงอก เริม่ ปลูก 1.5 เดือน (3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุแ์ ละความชืน้ ในดินปุย๋ รองพืน้ ช่วยให้รากแข็งแรง 2. ระยะแตกหน่อ อ้อยอายุ 1.5-3 เดือน ต้องการน�้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอ และหน่อเติบโต 3. ระยะย่างปล้อง อ้อยอายุ 4-5 เดือน ระยะที่ก�ำหนดขนาดและน�้ำหนักของล�ำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อย เจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น�้ำและปุ๋ย 4. ระยะสุกแก่ เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน ถึงเก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน�้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย การให้น�้ำ (ส�ำหรับในแหล่งปลูกที่มีน�้ำชลประทานหรือแหล่งน�้ำตามธรรมชาติ) • ควรให้น�้ำตามร่องทันทีหลังปลูก โดยไม่ต้องระบายออก กรณีที่ไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงได้ ควรให้น�้ำแบบพ่นฝอย • ต้องไม่ให้อ้อยขาดน�้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน เป็นระยะการสะสมน�้ำตาล • งดให้น�้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน ถ้าฝนตกหนักต้องระบายน�้ำออกทันที • ให้น�้ำทันทีหลังตัดแต่งตออ้อย



เตรียมพบกับรูปแบบ การจ่ายเงินส่งเสริมแบบใหม่

ตุลานี้

พบกันแน่นอ

เงินส่งตรง รวดเร็ว ทันใจ ท่านสามารถรับเงินส่งเสริมจากโรงงานได้รวดเร็ว ทันใจ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมารับเช็คที่โรงงาน

เพียงท่านมีบัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ฝ่ายบัญชีและการเงิน เบอร์โทร 044-448338, 044-448017 ต่อ 162, 164, 080-736-2974 หรือติดต่อเขตส่งเสริมใกล้บ้านท่าน


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.