Icj

Page 1

คดีปราสาทพระวิหาร ไปฟังค�ำพิพากษาศาลโลก คดีปราสาทพระวิหาร จุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์* เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนส�ำนักงาน อัยการสูงสุดร่วมคณะด�ำเนินคดีปราสาทพระวิหารไปฟังค�ำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ศาลโลก” ณ กรุงเฮก ประเทศ เนเธอร์แลนด์ จึงจะขอเล่าเบือ้ งหลังการเดินทางไปฟังค�ำพิพากษาในครัง้ นีใ้ ห้ทา่ นผูอ้ า่ นวารสาร อัยการได้รับทราบ ศาลโลกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ตามกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นหน่วยงาน ด้านยุตธิ รรมหลักของสหประชาชาติ มีอำ� นาจ หน้าที่ ๒ ประการ คือ หนึ่ง ระงับข้อพิพาท ระหว่างรัฐ (Contentious cases) เฉพาะรัฐ เท่านัน้ ทีส่ ามารถเป็นคูก่ รณีฟอ้ งคดีตอ่ ศาลโลก ได้ และ สอง การให้ค�ำปรึกษาทางกฎหมาย อาคาร Peace Palace ที่ตั้งศาลโลก กรุงเฮก (Advisory opinions) เฉพาะหน่วยงานและ * อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เลขานุการผู้ตรวจการอัยการ


218 วารสารอัยการ

องค์การระหว่างประเทศเท่านั้น ที่สามารถ ขอค� ำ ปรึ ก ษาทางกฎหมายต่ อ ศาลโลกได้ ค�ำพิพากษาของศาลโลกถือเป็นทีส่ ดุ ไม่สามารถ อุทธรณ์ได้ การบังคับคดีคู่กรณีต้องร้องขอ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยอาจออกเป็นข้อมติหรือมาตรการแซงชั่น บังคับคดีอื่นๆ คดีปราสาทพระวิหารในปีนสี้ บื เนือ่ งจาก กัมพูชายื่นค�ำร้องขอ (Application หรือ Request) ให้ตคี วามค�ำพิพากษาคดีปราสาทพระ วิหารคดีแรกเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๑๙๖๒ (พ.ศ. ๒๕๐๕) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการใน สารบบศาลว่า Request for Interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case Concerning the Temple of Preah Vihear (CAMBODIA v. THAILAND) โดย กัมพูชายื่นค�ำร้องตามข้อ ๖๐ ของธรรมนูญ ศาล (Statute of the International Court of Justice) ที่บัญญัติว่า กรณีมีข้อพิพาทใน ความหมายและขอบเขตของค�ำพิพากษาคูก่ รณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถยื่นค�ำร้องขอให้ศาล ตีความค�ำพิพากษานั้นได้

แผนที่ระวางดงรัก มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ (แผนที่ ผนวก ๑)

ประเด็นหลักของกัมพูชาขอให้ตีความ ค�ำพิพากษาปี ค.ศ. ๑๙๖๒ ในส่วนข้อบทปฏิบตั ิ การ (Operative Part) วรรค ๒ ที่ก�ำหนดว่า “ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนก�ำลัง ทหารหรือต�ำรวจ ผูเ้ ฝ้ารักษาหรือผูด้ แู ล ซึง่ ไทย ส่งไปประจ�ำอยู่ในปราสาทหรือในบริเวณใกล้ เคียง (vicinity) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนกัมพูชา ออก” โดยกัมพูชากล่าวอ้างว่า vicinity ของ ปราสาทพระวิหารทีไ่ ทยจะต้องถอนก�ำลัง เป็น ไปตามเส้นบนแผนที่ ผนวก ๑ (มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐) ที่ฝรั่งเศสจัดท�ำเมื่อปี ๑๙๐๘ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ซึ่ ง จะกิ น พื้ น ที่ พิ พ าททั้ ง เขาพระวิหารและภูมะเขือเป็นพื้นที่ประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร

แผนที่ ผนวก ๑ ส่วนขยาย (มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐) แสดงที่ตั้งปราสาทพระวิหาร

ข้อโต้แย้งหลักของฝ่ายไทยคือ กัมพูชา ไม่สามารถยืน่ ค�ำร้องตีความในคดีนไี้ ด้ เนือ่ งจาก ไม่มขี อ้ พิพาทระหว่างคูก่ รณีในความหมายและ ขอบเขตของค�ำพิพากษาจึงไม่เข้าเงื่อนไขข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลที่ศาลโลกจะมีอ�ำนาจ ตี ค วามค� ำ พิ พ ากษา หรื อ หากศาลเห็ นว่ า มี อ�ำนาจตีความ ขอบเขตของบริเวณใกล้เคียง ปราสาทพระวิ ห ารก็ เ ป็ น ไปตามเส้ น ที่ ม ติ


คดีปราสาทพระวิหาร 219

คณะรัฐมนตรีสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมือ่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ก�ำหนดไว้ ซึง่ ไทยได้ถอนก�ำลังปฏิบัติตามค�ำพิพากษาครบ ถ้วนแล้ว

คณะผู้แทนฝ่ายไทยในการแถลงการณ์ด้วยวาจา ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖

คณะฝ่ า ยไทยในการเดิ น ทางไปฟั ง ค� ำ พิ พ ากษาประกอบด้ ว ย ท่ า นสุ ร พงษ์ โตวิ จั ก ษณ์ ชั ย กุ ล รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงการต่ า งประเทศ เป็นหัวหน้าคณะ รองหัวหน้าคณะ คือ พลเอก ยุ ท ธศั ก ดิ์ ศศิ ป ระภา รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การ กระทรวงกลาโหม ทู ต วี ร ชั ย พลาศรั ย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก เป็นตัวแทนหรือ Agent ฝ่ า ยไทย นอกนั้ น ก็ เ ป็ น เจ้ า หน้ า ที่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กองทัพไทย กองทัพบก ส�ำนักงานอัยการสูงสุด และส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะ ฝ่ายไทยเริม่ เดินทางถึงกรุงเฮก เพือ่ เตรียมการ รับฟังค�ำพิพากษาตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยคณะทั้งหมด รวมทั้งสื่อมวลชน เข้าพักทีโ่ รงแรม Bel Air ทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลจากอาคาร Peace Palace ที่ตั้งของศาลโลก

คณะผู้แทนฝ่ายไทยในการฟังค�ำพิพากษา ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ก่อนการ รั บ ฟั ง ค� ำ พิ พ ากษาในเช้ า วั น จั น ทร์ ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ได้มีการประชุมคณะด�ำเนินคดี กับคณะทนายความชาวต่างประเทศ และ ผู้เชี่ยวชาญแผนที่ของสถาบัน International Boundaries Research Unit (IBRU) มหาวิทยาลัยเดอแรม สหราชอาณาจักร เพื่อ ซั ก ซ้ อ มความเข้ า ใจและเตรี ย มการตั้ ง รั บ ตามแนวทางต่างๆ ทีศ่ าลโลกอาจพิพากษา โดย คณะทนายความและคณะด�ำเนินคดีฝ่ายไทย ได้คาดการณ์ลว่ งหน้าว่าศาลโลกอาจพิพากษา ได้เป็น ๔ แนวทางคือ แนวทางที่ ๑ ศาลตัดสิน ว่า ศาลไม่มอี ำ� นาจพิจารณาคดีนี้ เนือ่ งจากไม่มี ข้ อ พิ พ าทในคดี ที่ ต ้ อ งตี ค วามค� ำ พิ พ ากษา ตาม ข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาล แนวทางที่ ๒


220 วารสารอัยการ

ศาลตัดสินว่า ขอบเขต “บริ เ วณใกล้ เ คี ย ง (vicinity)” ปราสาทพระวิหาร เป็นไปตามเส้น เขตแดนบนแผนที่ ผนวก ๑ (มาตราส่ ว น ๑:๒๐๐,๐๐๐) แนวทางที่ ๓ ศาลตัดสินว่า ขอบเขต “บริเวณใกล้เคียง” เป็นไปตามเส้น มติคณะรัฐมนตรี ปี ๒๕๐๕ หรือใกล้เคียง และ แนวทางที่ ๔ ศาลยืนยันและให้ความกระจ่าง เกีย่ วกับ น�ำ้ หนักและขอบเขตของเส้นเขตแดน บนแผนที่ ผนวก ๑ ในฐานะเหตุ ผ ลของ ค�ำพิพากษาปี ๒๕๐๕ และให้คู่กรณีไปเจรจา ตามนั้น โดยแนวทางที่ ๔ นี้ ศาลจะไม่ชี้ชัดว่า บริ เวณใกล้ เ คี ย งเป็ น ไปตามเส้ น บนแผนที่ ผนวก ๑ (ตามแนวทางที่ ๒)

คณะด�ำเนินคดีฝ่ายไทย

คณะทนายความชาวต่ า งประเทศ ของไทย ประกอบด้วย ศาสตราจารย์อแลง เปลเล่ (Alain Pellet) อาจารย์มหาวิทยาลัย ปารีสตะวันตก (University of Paris Oeust) ชาวฝรั่งเศส ศาสตราจารย์เจมส์ ครอฟอร์ด (James Crawford) อาจารย์มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ชาวออสเตรเลีย ศาสตราจารย์ โดนัลด์ แมคเคร (Donald McRae) อาจารย์ มหาวิ ท ยาลั ย ออตตาวา ชาวนิ ว ซี แ ลนด์

นางสาวอลินา มิรอง (Alina Miron) นักศึกษา ปริ ญ ญาเอก มหาวิ ท ยาลั ย ปารี ส ตะวั น ตก ชาวโรมาเนีย เป็นผูช้ ว่ ยของศาสตราจารย์เปลเล่ ดร.โธมัส แกรนท์ (Thomas Grant) อาจารย์ ผู้ช่วยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ชาวอเมริกัน เป็ น ผู ้ ช ่ ว ยของศาสตราจารย์ ค รอฟอร์ ด นอกจากนั้นมีผู้เชี่ยวชาญแผนที่ของสถาบัน IBRU คือ นายมาร์ติน แพรท (Martin Pratt) และ นายอลาสแตร์ แมคโดนัล (Alastair MacDonald) และคณะด� ำ เนิ น คดี ไ ด้ เชิ ญ ศาสตราจารย์อัคเคอร์มาน (Ackermann) วัย ๘๔ ปี พยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยในคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งได้มาเดินส�ำรวจพื้นที่ บริ เวณเขาพระวิ ห ารในขณะพิ จ ารณาคดี ครั้งแรกมาร่วมรับฟังค�ำพิพากษาครั้งนี้ด้วย หัวหน้าคณะและตัวแทนฝ่ายกัมพูชา คือ ท่านฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงการต่ า งประเทศ คณะทนายความฝ่ายกัมพูชาประกอบด้วย ศาสตราจารย์จอง-มาร์ก ซอเรล (Jean-Marc Sorel) อาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย ปารี ส I ชาวฝรั่ ง เศส เซอร์ แ ฟรงกลิ น เบอร์ แ มน (Sir Franklin Berman) เนติบัณฑิตอังกฤษ และนายร๊อดแมน บันดี้ (Rodman Bundy) ทนายความชาวอเมริกัน นอกจากนั้นก็มีคณะ ผู้ช่วยอีกจ�ำนวนหนึ่ง พูดถึงทนายความที่มี ประสบการณ์ ว ่ า ความในศาลโลกทั่ ว โลก มีประมาณ ๓๐-๔๐ คน จะว่าความเจอะเจอ กันในแต่ละทีมเปลีย่ นกันไปเปลีย่ นกันมา เช่น ขณะที่ศาสตราจารย์เปลเล่ ศาสตราจารย์ ครอฟอร์ด และศาสตราจารย์แมคเคร รวมทีม


คดีปราสาทพระวิหาร 221

ว่าความให้ฝ่ายไทย อาจารย์ทั้งสามท่านก็ แยกย้ายไปว่าความเป็นฝ่ายตรงข้ามกันในคดี ที่ออสเตรเลียฟ้องญี่ปุ่นกรณีละเมิดอนุสัญญา จับปลาวาฬในมหาสมุทรแอนตาร์กติก โดย นิวซีแลนด์ร้องสอดเข้ามาในคดี (Whaling in the Antarctic (Australia v. Japan: New Zealand intervening) ฝ่ายศาสตราจารย์ ครอฟอร์ดเป็นทนายให้ออสเตรเลีย ศาสตราจารย์ เปลเล่ว่าความให้ญี่ปุ่น และศาสตราจารย์ แมคเครเป็นทนายให้นวิ ซีแลนด์ บรรดาอาจารย์ และทนายความเหล่านี้เท่าที่ผู้เขียนมีโอกาส ท�ำงานคลุกคลีดว้ ยเป็นเวลากว่าสองปีนบั ตัง้ แต่ เริม่ กระบวนพิจารณาชัน้ ค�ำสัง่ มาตรการชัว่ คราว ท่านจะมีความเป็นมืออาชีพ ท�ำงานตามกติกา และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพสูง ระหว่างท�ำงาน รวมทีมว่าความให้ไทยจะไม่มกี ารพูดคุยตุกติก หรือซูเอี๋ยเรื่องคดีออสเตรเลียกับญี่ปุ่นเลย ศาสตราจารย์ครอฟอร์ดหลังจากเสร็จสิน้ ภารกิจว่าความให้ไทย อาจจะมีขา่ วดีได้รบั การ เลือกให้เป็นผูพ้ พิ ากษาศาลโลก โดยท่านได้รบั การเสนอชื่อให้เป็นผู้พิพากษาศาลโลกแทน ผู ้ พิ พ ากษาจ� ำ นวนหนึ่ ง ที่ จ ะครบวาระในปี ๒๕๕๘ นอกจากคดี Australia v. Japan: New Zealand intervening ทีท่ นายความของไทย เป็นฝ่ายตรงข้ามกันแล้ว ก่อนหน้านี้ก็มีคดี ระหว่ า งมาเลเซี ย กั บ สิ ง คโปร์ ในคดี พิ พ าท อธิปไตยเหนือกลุ่มเกาะเล็กๆแนวหิน Pedra Branca/Pulau Batu Puteh (Case concerning Sovereignty over Pedra Branca/Pulau Batu Puteh, Middle Rocks and South Ledge (Malaysia/Singapore))

ซึ่งทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ยื่นค�ำร้องเมื่อปี ๒๕๔๖ ขอให้ศาลโลกตัดสินชีข้ าดว่ากลุม่ เกาะ Pedra Branca/Pulau Batu Puteh ซึ่งไม่มี คนอยู ่ อ าศั ย เป็ น เพี ย งที่ ตั้ ง ของประภาคาร อยู ่ ท างตะวั น ออกของช่ อ งแคบสิ ง คโปร์ ห่างจากฝั่งรัฐยะโฮร์ของมาเลเซีย ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร และห่างจากสิงคโปร์ ประมาณ ๔๖ กิโลเมตร เป็นดินแดนของรัฐใด ศาสตราจารย์ เปลเล่ และนายร๊อดแมน บันดี้ (ทนายกัมพูชา) เป็นทนายความให้สิงคโปร์ ศาสตราจารย์ ครอฟอร์ดเป็นทนายความให้มาเลเซีย คดีนั้น ศาลตัดสินให้เกาะใหญ่ Pedra Branca/Pulau Batu Puteh เป็นของสิงคโปร์ กลุ่มกองหิน Middle Rocks เป็นของมาเลเซีย เมือ่ กลางปีผเู้ ขียนได้มโี อกาสเดินทางกับ คณะศึกษาดูงานหลักสูตรรองอัยการจังหวัด สคช. รุน่ ที่ ๗ ไปดูงานทีส่ ำ� นักงานอัยการสูงสุด มาเลเซีย ได้พบกับอัยการมาเลเซียท่านหนึ่งที่ ท�ำคดี Pedra Branca/Pulau Batu Puteh จึงสอบถามถึงความรูส้ กึ ของประชาชนมาเลเซีย ทีม่ ตี อ่ ผลของคดี อัยการมาเลเซียตอบว่าก็รสู้ กึ เสียดายที่เกาะใหญ่ Pedra Branca/Pulau Batu Puteh ศาลโลกตัดสินให้เป็นของสิงคโปร์ อันมีผลท�ำให้อาณาเขตทางทะเลของมาเลเซีย ลดน้อยลง แต่ความรู้สึกบาดหมางชิงชังในหมู่ ประชาชนของทัง้ สองประเทศในเรือ่ งนีไ้ ม่มแี ต่ อย่างใด นอกจากนั้นข้อพิพาทในอาเซียนที่ขึ้น ศาลโลกยังมีอีกคดี คือ คดีเกาะ Ligitan และ Sipadan (Case concerning Sovereignty over Pulau Ligitan and Pulau Sipadan


222 วารสารอัยการ

(Indonesia/Malaysia)) ระหว่างอินโดนีเซีย กับมาเลเซีย เกาะ Ligitan และ Sipadan ซึ่งเป็นสวรรค์ของนักด�ำน�้ำอยู่ชายแดนทาง ตะวันออกของรัฐซาบาร์ คดีนั้นศาสตราจารย์ เปลเล่ และนายร๊อดแมน บันดี้ เป็นทนายความ ให้อินโดนีเซีย ศาสตราจารย์ครอฟอร์ด และ ศาสตราจารย์ Jean-Pierre Cot (ผู้พิพากษา สมทบฝ่ายไทย) เป็นทนายความให้มาเลเซีย ศาลพิพากษาให้เกาะ Ligitan และ Sipadan เป็นของมาเลเซีย

องค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกปัจจุบัน

ส� ำ หรั บ คณะผู ้ พิ พ ากษาศาลโลกมี ทั้งหมด ๑๕ คน จะได้รับการเลือกตั้งร่วมกัน จากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติและคณะมนตรี ความมัน่ คง แบ่งโควต้าตามภูมภิ าค คือ เอเชีย ๓ คน อาฟริกา ๓ คน ละตินอเมริกาและ แคริบเบียน ๒ คน ยุโรปตะวันออก ๒ คน ยุโรป ตะวันตกและภูมภิ าคอืน่ ๕ คน อยูใ่ นต�ำแหน่ง วาระละ ๙ ปี ปัจจุบันผู้พิพากษาเป็นชาวจีน ญี่ปุ่น อินเดีย โซมาเลีย ยูกันด้า โมรอคโค บราซิล เม็กซิโก รัสเซีย สโลวาเกีย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี นิวซีแลนด์ และ สหรั ฐ อเมริ ก า นอกจากนั้ น ธรรมนู ญ ศาล

ข้อ ๓๑ บัญญัตวิ า่ กรณีทคี่ กู่ รณีไม่มผี พู้ พิ ากษา ทีเ่ ป็นคนสัญชาติของตนอยูใ่ นคณะผูพ้ พิ ากษา คู่กรณีมีสิทธิ์แต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบ (Judge ad hoc) ฝ่ายตนเป็นองค์คณะได้ ซึ่งในคดี ปราสาทพระวิ ห ารนี้ ฝ ่ า ยกั ม พู ช าได้ แ ต่ ง ตั้ ง ท่ า น Gilbert Guillaume อดี ต ประธาน ศาลโลกระหว่างปี ๒๕๔๓-๒๕๔๖ ชาวฝรัง่ เศส เป็ น ผู ้ พิ พ ากษาสมทบฝ่ า ยตน และไทยได้ แต่ ง ตั้ ง ท่ า น Jean-Pierre Cot อดี ต ศาสตราจารย์ ก ฎหมายระหว่ า งประเทศ มหาวิทยาลัยปารีส I ชาวฝรัง่ เศสเป็นผูพ้ พิ ากษา สมทบ ประธานศาลโลกคนปัจจุบัน คือ ท่าน ปีเตอร์ ทอมก้า (Peter Tomka) ชาวสโลวาเกีย ซึ่ ง เพิ่ ง มารั บ ต� ำ แหน่ ง ประธานศาลโลกเมื่ อ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยก่อนหน้านั้น ในช่วงอ่านค�ำสัง่ มาตรการชัว่ คราวทีใ่ ห้ไทยและ กัมพูชาถอนทหารออกจากเขตปลอดทหาร ชั่วคราว เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ท่านมี ต�ำแหน่งเป็นรองประธานศาล ส�ำหรับประธาน ศาลโลกขณะนั้นคือ ท่านโอวาดะ (Hisashi Owada) ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อครบวาระเทอม ๙ ปีแรกเมือ่ ต้นปี ๒๕๕๕ ท่านก็ได้รบั เลือกเทอม ที่ ๒ กลับมาโดยเป็นผู้พิพากษาองค์คณะคน หนึ่ง ส�ำหรับท่านโอวาดะผู้เขียนก็ได้มีโอกาส สัมผัสพูดคุยระหว่างงานเลีย้ งรับรองของศาลโลก ท่านแม้จะอายุมากถึง ๘๑ ปี แต่ก็ยังมีความ กระฉับกระเฉงเฉียบคมและดูใจดีเข้าถึงง่าย ผิดกับกิตติศัพท์ของท่านในแวดวงนักการทูต ญี่ปุ่นเท่าที่ผู้เขียนได้รับฟังมาว่าท่านเป็นคน เข้มงวดวางตน อาจจะเนื่องจากท่านเคยมี


คดีปราสาทพระวิหาร 223

ต� ำ แหน่ ง ราชการสู ง สุ ด เป็ น ปลั ด กระทรวง การต่างประเทศญี่ปุ่น และที่ส�ำคัญท่านเป็น บิดาของเจ้าหญิงมาซาโกะ ชายาของมกุฎราช กุมารนารุฮิโตะ คือมีสถานะเป็นพระสัสสุระ หรือพ่อตาของมกุฎราชกุมาร ถือเป็นนักการ ทูตและข้าราชการที่มีบารมีและทรงอิทธิพล คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น

ท่านโอวาดะ ขณะเป็นประธานศาลโลกอ่านค�ำสั่ง มาตรการชั่วคราว

ท่านโอวาดะ ทูตวีรชัย พลาศรัย และผู้เขียน ขณะร่วมงานเลี้ยงรับรองของศาลโลก

ห้องประชุมเตรียมคดีฝ่ายไทยในศาลโลก

ประธานศาลท่านทอมก้า ได้อ่านค�ำ พิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารร่วมชั่วโมง โดยอ่านช่วงแรกเป็นภาษาฝรั่งเศส ช่วงหลัง เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาราชการในการด�ำเนิน กระบวนพิจารณาในศาลโลกใช้ทั้งสองภาษา เป็นประเพณีวา่ ศาลต้องใช้ทง้ั สองภาษาในการ ด�ำเนินกระบวนพิจารณาแต่ละนัดเพื่อให้เกิด ความสมดุ ล กั บ คณะผู ้ พิ พ ากษาที่ มี ทั้ ง ผู ้ ที่ เชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส สาระส�ำคัญของค�ำพิพากษาปรากฏอยู่ ในย่อหน้าที่ ๙๘, ๙๙ และ ๑๐๘ ซึ่งศาล พิพากษาตีความว่า ค�ำพิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๒ ได้วินิจฉัยว่ากัมพูชามี อธิปไตยเหนือดินแดนทัง้ หมดของยอดเขาหรือ ชะง่อนผาพระวิหาร (promontory) ซึ่งไทย มีพันธกรณีต้องถอนก�ำลังออกจากยอดเขา พระวิหาร โดยขอบเขตของยอดเขาพระวิหาร ที่อยู่ทางด้านใต้ของเส้นบนแผนที่ ผนวก ๑ จ� ำ กั ด ด้ ว ยลั ก ษณะทางธรรมชาติ ยอดเขา ด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก เฉียงใต้ ลาดลงสูท่ รี่ าบกัมพูชาลักษณะหน้าผา สูงชัน ส่วนทางทิศตะวันตก และทิศตะวันตก


224 วารสารอัยการ

เฉียงเหนือ ลาดลงสูห่ บุ เขาระหว่างเขาพระวิหาร และเขาภู ม ะเขื อ ส� ำ หรั บ ทางทิ ศ เหนื อ นั้ น ขอบเขตของยอดเขาคือเส้นบนแผนที่ ผนวก ๑ จากจุดทีเ่ ส้นจรดกับหน้าผาทางทิศตะวันออก เฉี ย งเหนื อ ของปราสาท ถึ ง จุ ด ที่ เ ส้ น จรด เชิงเขาภูมะเขือทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยศาลเห็นว่าภูมะเขืออยูน่ อกพืน้ ทีพ่ พิ าท และ ค�ำพิพากษาปี ค.ศ. ๑๙๖๒ มิได้พิจารณา ประเด็นว่าภูมะเขือตั้งอยู่ในดินแดนไทยหรือ กัมพูชา ทั้งนี้ศาลได้รับทราบข้อต่อสู้ของไทย เกีย่ วกับความยากในการถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ ผนวก ๑ ลงบนภูมปิ ระเทศจริง แต่คำ� พิพากษา ปี ค.ศ. ๑๙๖๒ ไม่ได้พจิ ารณาประเด็นดังกล่าว ศาลในคดีนจี้ งึ ไม่สามารถพิจารณาเรือ่ งดังกล่าว ได้ แต่อย่างไรก็ดี คู่กรณีมีพันธกรณีท่ีจะต้อง ปฏิ บั ติ ต ามค� ำ พิ พ ากษาของศาลโดยสุ จ ริ ต (good faith) และไม่สามารถกระท�ำได้โดย ฝ่ายเดียว (unilateral solution)

เมื่ อ ศาลอ่ า นค� ำ พิ พ ากษาจบแล้ ว เจ้าหน้าที่ศาลได้ถ่ายส�ำเนาแจกค�ำพิพากษา หน้าห้องพิจารณาทันที และเพียงไม่กนี่ าทีกน็ ำ� ลงเว็บไซต์ของศาล คูค่ วามไม่ตอ้ งยืน่ ค�ำร้องขอ ถ่ายส�ำเนาค�ำพิพากษาแต่อย่างใด หลังจากนัน้

คณะด�ำเนินคดีและคณะทนายความได้กลับมา โรงแรมและประชุมรายงานผลค�ำพิพากษาต่อ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่ท�ำเนียบรัฐบาลผ่าน ทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

ภารกิจอย่างเป็นทางการในการเดินทาง ไปฟังค�ำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารของ คณะด�ำเนินคดีกจ็ บเพียงเท่านี้ สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำต่อ ไปคือ การเจรจากับฝ่ายกัมพูชาในการก�ำหนด ขอบเขตยอดเขาพระวิหาร โดยเฉพาะเส้นบน แผนที่ ผนวก ๑ ทีอ่ ยูท่ างทิศเหนือของยอดเขา พระวิหารโดยสุจริตและเห็นพ้องต้องกันทัง้ สอง ฝ่ายตามค�ำพิพากษาของศาล ซึง่ คงต้องใช้เวลาและจิตวิญญาณของ อาเซียน (ASEAN Spirit) ในการเจรจาให้ได้ ข้อยุติเพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติต่อไป


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.