IMAGINE MAGAZINE ISSUE 02

Page 1

03


“We can always find creative ways to do things.” -Leigh Steinberg


Help

หมี please!

comic by yuree kensaku

กินไปเรื่อย: เจาะวิถีอร่อยริมทาง

TCDC

38

ทศพร ว่องไวกลยุทธ์

28

the Future Journalist

พีรกานต์ ศานติวรพงษ์

The champion creator

transformagination

มาริโอ้ เมาเร่อมาริโอ้ เมาเร่อ

mario world

Tara Donovan

from paper cup to genius

lego...let‘s go...‘play well‘

light following robot

Albert Einstein

imaginative talk

น้ำชา ชีรณัฐ ยูสานนท์

ชลิดา มหาสวัสดิ์

หากคุณยังไม่รู้สึกคุ้น ผมก็ขอแนะนำตัวอีกครั้ง – ผมชื่อ โดราเอมอนครับ แมวจอมยุ่ง, แมวไม่มีหู ฯลฯ สัดส่วน 129 ซ.ม. ที่เด็ก และผู้ใหญ่เคยเด็ก ทั้งหลายคงคลับคล้ายคลับคลา ไปจนถึงสนิทชิดเชื้อ กับเรื่องราวย้อนอดีตเพื่อสร้างอนาคตใหม่ของผม กับ โนบิตะ เพื่อนคู่หูของผมกันมาตลอดเวลากว่า 30 ปีมาแล้วจากจินตนาการ (Imagine) ของสองนักวาด การ์ตูนชาวญี่ปุ่นคือ ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ และโมโตโอะ อะบิโกะ ที่จับมือกันร่างลวดลายสร้างผมขึ้นมา ภายใต้นามปากการ่วมว่า ฟูจิโอะ ฟูจิโกะ และด้ ว ยจิ น ตนาการอั น บรรเจิ ด ของคุ ณ พ่ อ ทั้งสองคนของผมนี่แหละ ที่ก่อให้เกิดเรื่องราวสนุก สนาน มหัศจรรย์พันลึกของผมและเพื่อนๆ ตามติด มากกว่า 1,000 ตอน ทั้งในรูปแบบหนังสือการ์ตูน, อะนิเมชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย จนมีภาพผมไป ปรากฏอยู่ตามโต๊ะ, กล่องใส่ของและโปสเตอร์ฝาผนัง ห้องของเด็กๆ มามากต่อมาก อย่างไรก็ดี ความภาคภูมิใจกับความสำเร็จที่ ผมได้รับมา คงไม่อาจเทียบเท่าได้กับความภูมิใจ ที่ สุ ด ที่ ได้ รั บ รู้ ว่ า เบื้ อ งหลั ง ความสนุ ก สนาน ของเรื่ อ งโดราเอมอนได้ ป ลุ ก จิ น ตนาการของ

MUSIC,SHE,OR TEA?

tales from creative university

ฮาจิเมะ

มาชิเตะ

ผูช้ มโดยเฉพาะเด็กๆ กระทัง่ เกิดเป็นกำลังใจทีบ่ นั ดาล ใจให้แต่ละคนลุกขึ้นมาทำความฝันจากจินตนาการ ของตัวเองให้กลายเป็นความจริง ก่อเกิดเป็นผลงาน สร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมต่างๆ นานามาในรุ่นแล้ว รุ่นเล่า เพราะผมเชื่ออย่างที่คุณอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”และคุณ เพชร โอสถานุเคราะห์ ได้นำมากล่าวเอาไว้ในหน้า นี้ของฉบับเปิดตัวนั่นละครับ ว่าตราบเท่าที่เรารู้จัก วาดฝั น จิ น ตนาการและมุ่ ง มั่ น รั ง สรรค์ มั น ขึ้ น มา อย่างไม่ลดละความพยายาม ทุกสิ่งยอมมีความเป็น ไปได้และกลายเป็นจริงได้เสมอ รวมทั้งจินตนาการ ยังส่งผลให้เราได้มาพบกันในครั้งนี้ยังไงละครับ โนบิตะเรียกผมแล้ว ผมคงต้องกลับไปซะที แต่กอ่ น จากกั น ผมขอมอบของวิ เ ศษที่ เ ป็ น แนวคิ ด ให้ เ ป็ น ของขวัญแก่คุณทุกคนว่า จินตนาการของคนมีไม่รู้จบ ยังไงก็ขอให้รู้จักใช้ และทำให้เป็นจริงกันนะครับ ผมจะเอาใจช่วยครับ ซาโยนาระ โดราเอมอน (ที่วันนี้มาเวอร์ชั่นใหม่)

06

09

12

15

18

20

Editor Petch Osathanugrah เพชร โอสถานุเคราะห์ Creative Chuthamars Puprapussorn จุฑามาศ ภูประภัสสร Editor Staffs DDTeam Art Director Panu Puntoomsinchai ภาณุ พันธุมสินชัย Graphic Designer Dow Pao-in ดาว เปาอินทร์ Photo Editor Punyanute Puprapussorn ปุณยนุช ภูประภัสสร Contributor Yuree Kensaku ยุรี เกนสาคู

Dr.Akkharaphong Eksiri ดร. อัครพงษ์ เอกศิริ

T. 0 2350 3500 Ext. 1723

Advertising Nuanrat Koolsriraksakul นวลรัตน์ คุณศรีรักษ์สกุล

22

Published by

42

Bangkok University Rama 4 Road, Klong Toey, Bangkok 10110 Thailand www.bu.ac.th ผลิตโดย Rhapsody Queen Ltd. Part. พิมพ์ที่ Pickanase Printing Center Reproduction in whole or part without written permission is strictly prohibited. ห้ามเผยแพร่หรือพิมพ์ซ้ำข้อเขียนหรือภาพ ทุกชิ้นในนิตยสารนี้ โดยมิได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษร

www.imaginebangkok.com

46

49

CO NT EN TS


1. Creative ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปัจจัยสำคัญสำหรับ มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ต้องมีจุดเริ่มต้นจากการทำให้เด็กๆ เข้าใจ ว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ ถูกหรือผิด 100% ” แสตมป์ -อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ศิลปินนักร้อง

คำศัพท์สั้นๆ ง่ายๆ หากกิน ความหมาย ที่ยังผลมาซึ่งนานา นวัตกรรมที่อยู่รอบๆ ตัว โดยมี “จินตนาการ” เป็นตัวจุดประกาย ในจุดเริ่มต้นก่อนที่ “การกระทำ” รับไม้ผลัดต่อไปรังสรรค์ ให้ เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม แน่นอนว่า ค่าความหมายของ คำๆ นี้ย่อมมีความลึกซึ้งแตกต่างกันไปในแต่ละคน รวมถึงคำว่า

“สิ่งที่คุณจะได้จาก Creative University คือ ได้ใช้ชีวิตการเรียนทีส่ นุก และ มีความสุข เพราะมหาวิทยาลัยจะเปิด โอกาสและส่งเสริมให้คุณคิดและค้นพบตัวเองอย่าง เต็มที่ เพื่อวันนึง คุณจะได้ออกไปทำสิ่งที่คุณรัก อย่างมีความสุข โดยสามารถคิดนอกกรอบและแตกต่าง ซึ่งถึงตอนนั้นก็เป็น ทีของคุณแล้ว ที่จะหาทางนำ ไอเดียของคุณไป Apply ใช้ในงานของคุณให้เหมาะสม เมื่อนั้น โอกาสที่จะประสพความสำเร็จย่อมตามมา ในที่สุด” - อ.เพชร โอสถานุเคราะห์ ประธานบริหาร และ Chief Creative Officer มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

“Creative University”

เรื่องเล่าจากมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ตัวจริง

“สำหรับผม Creative University น่าจะเป็นที่ๆ มีรูปแบบอาคารเรียน ที่ออกแบบด้วยความคิดของผู้เรียน และ ตามใจผู้เรียน” - ชยพล ประไพพรเลิศ นักเรียน ม.6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้แสดง ความคิดเห็น ไว้เช่นนั้น ในขณะที่ แสตมป์-อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข นักร้องนักแต่งเพลงที่กำลังมาแรงมี ความคิดเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมีจุดเริ่มต้นจาก “การทำให้เด็กๆ เข้าใจว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ ถูกหรือผิด 100%” นี่คือส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้าเช่นนั้น ความคิดสร้างสรรค์ ที่อยู่ในนิยามที่ว่า “Creative University” ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพล่ะ

อ.เพชร โอสถานุเคราะห์ Chief Creative Office Bangkok University

06

2. ก่อนหน้าที่ผมจะลองเข้าไปหาคำตอบที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผมได้ลองเข้าไปทำการบ้านเล็กน้อย ผ่านโลกออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.bu.ac.th และนี่คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผมได้มา ทศพร ว่องไวกลยุทธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คว้ารางวัลนักข่าว แห่งอนาคตดีเลิศ ที่ยังผลให้ได้ไปฝึกงานที่ BBC World News ประเทศอังกฤษ / ทีมเชียร์ลีดเดอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คว้าตำแหน่งรองแชมป์โลกประเภท Coed Premier และรองแชมป์โลกประเภท Cheerdance Hip Hop จากรายการ The ICU World Cheerleading Championships 2009 ที่ สหรัฐอเมริกา / งาน HP’s Engage. Excite. Experience ได้บันทึกชื่อ

07


พีรกานต์ ศานติวรพงษ์ นักศึกษาปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกฯ วิทยาลัยนานาชาติ ในฐานะแชมเปี้ยน จากการประกวดออกแบบสร้างสิ่งมีชีวิต (Spore Creature Creator) ทั้งในระดับประเทศ และในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก / นอกจากนั้นยังมีทุน BU Creative ทุนการศึกษาสายพันธ์ ใหม่ 50 ทุน ที่สนับสนุนเด็กสร้างสรรค์ และคิดต่าง โดยเปิด โอกาสให้สร้างสรรค์ไม่จำกัดแขนงไม่อน้ั ไอเดีย ในทุกคณะทีใ่ ฝ่ฝนั โดยนักเรียนมัธยมสามารถโชว์ความ เก๋าพิสจู น์ความสามารถ ด้วยการยื่น Portfolio โชว์ความคิดกัน เข้ามา ก็รับทุนไปได้ไม่ยาก / ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลจนเพียงพอ ผมจึงออฟไลน์ และกลับสู่โลกความจริง... 3.

ตอนนี้ ผมได้มาถึงมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ที่แม้เป็นยามเช้า หากก็คราคร่ำด้วยนักศึกษาทั้งชายหญิง บ้างจับกลุ่ม กันอ่านหนังสือกันอยู่ตามโต๊ะ บ้างนั่งติวล่วงหน้ากันอยู่ใน BU Cafe บ้างก็รอเวลาเพื่อเข้าไปใน Bangkok University Gallery หอศิลป์ระดับอินเตอร์ ทั้งหมด ต่างก็ดูกระตือร้นสำหรับสารพันข้ อมูลความรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน แม้คำตอบจะเริ่มเกริ่นมาให้เห็น แต่แน่นอนว่าคงยังไม่ใช่ทั้งหมด การจะได้มาซึง่ บทสรุป คงมิอาจวัดได้ จากเพียงทีต่ าเห็นหรือจินตนาการ หากต้องก้าวเข้าไปค้นหาคำตอบ ด้วยตัวเอง เมื่อคิดได้ดังนั้นผมก็กระชับ กระเป๋าสะพายมั่น และเดินผ่านประตู เข้าไป...สู่สถาบันแห่งความคิด สร้างสรรค์แห่งนี้ “เราเชื่อว่าความครีเอทีฟมีอยู่ ในตัวคนเราทุกคน แล้วถ้าที่นี่ สามารถสนับสนุนส่งเสริมให้เขา เป็นคนที่มีความครีเอทีฟ (Creative Individual) โดยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสมและมีหลักสูตรที่ครีเอทีฟ แล้วในที่สุดก็จะก้าวเข้าไปสู่ Creative Economy คือเศรษฐกิจสร้างสรรค์” -อ.เพชร โอสถานุเคราะห์

ถ้าว่าง...คุณจะใช้เวลากับอะไร? ก. เพลง ข. เธอ ค. น้ำชา เราเลือกข้อ ง. ถูกทุกข้อ

ได้คำตอบแล้วเราขออนุญาตชวนคุณไปถึงเนื้อถึงตัว(แอบหวังให้ถึงใจ) ที่มาของการเลือกคำตอบนั้น ซึ่งก็คือ น้ำชา - ชีรณัฐ ยูสานนท์ สาวผมยาวตัวยาว เจ้าของเสียงร้องใน ‘ดาวอยู่บนฟ้า ปลาอยู่ในน้ำ เธออยู่ในฝัน’ เพลงช้าชื่อน่าขบคิด และ ‘รักแท้ยังไง’ เพลงเร็วที่ฟังดูทะเล้นแต่ก็อาจทะลวงต่อมใจได้ ซุกซนคล้ายบุคลิกของน้องเขาในมิวสิควีดีโอนั่นแหละ ส่วนนอกจอ นอกจากเป็น “นักร้อง” แล้ว “นักเรียน” เธอก็เป็น 09


น้ำชาคิดไว้ว่า ควรจะใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด เพราะว่าคนเราเกิดมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหนก็ตาม มีเวลาแค่สองหมื่นวัน โดยเฉลี่ยแล้วนะ ก็เลยคิดว่าเราควร ใช้ชีวิตให้คุ้มค่ากับการเกิดมา “ตอนนี้น้ำชาเรียนอยู่ปี 2 BU Inter (Bangkok University International College วิทยาลัยนานาชาติ ของ ม. กรุงเทพค่ะ เรียนกราฟิกแอนด์มัลติมีเดีย ดีไซน์ ชอบอาร์ตน่ะค่ะ แล้วก็คิดว่า สมัยนี้ถ้าเป็นอาร์ต ที่เอาไปทำในคอมฯ ให้มีลูกเล่น มีการเคลื่อนไหว ก็ คิดว่าน่าจะเป็นอะไรที่สนุกและน่าจะได้ใช้ในอนาคต แน่นอน” ส่วนที่มาของอาการงานเข้า ทั้งซิงเกิ้ล มิวสิค วิดีโอของตัวเองที่ทยอยออกมา ทั้งบทบาทแขก รับเชิญของพี่ใหญ่นามนิติพงษ์ ห่อนาค ในคอนเสิร์ต อารมณ์ดี้ ตอน ทุ่งหญ้า สายลม นมวัว และก่อน หน้านั้น น้ำชา ยังเป็นนักร้องหน้าใหม่หนึ่งเดียวใน อัลบั้ม ‘Deep Blue Project’ ของนักเขียนเพลง

หญิงมือหนึ่งนาม สีฟ้า ไม่ใช่เพียงเพราะความสดใส น้ำเสียง หรือโอกาส แต่คงเพราะสิ่งที่เธอทำและสั่งสม มาด้วยนั่นคือ เดโม่เทป ซึ่งกลายเป็นความภูมิใจและ ของขวัญที่คุณแม่นำไปมอบให้เพื่อนๆ ก็ส่งผลเป็น ของขวัญที่ทำให้น้ำชาได้มีโอกาสเข้ามารับการคัด เลือกและทดสอบจนผ่านเป็นนักร้องอีกหนึ่งคนใน สังกัดจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ทว่าเฉกเช่นเดียวกับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ต้องแบ่ง เวลาให้เรื่องเรียน เรื่องงาน เรื่องครอบครัว และอื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อถามว่าเรื่องไหนจัดการยากสุด คำตอบของน้ำชามาพร้อมวิถีที่เห็นภาพชัดเจน “คงเป็นการงานน่ะ เพราะว่า การทำงานต้อง คิดถึงคนอื่นอยู่เสมอ ต้องดูแลลุคส์ ต้องพูดให้ถูก

ต้องวางตัวให้ดี เหมือนมีกรอบ คือ ทำให้ไม่มีกรอบได้ แต่อย่างไรก็ต้องอยู่ในกรอบที่ถูกต้องอยู่ดี เราจะเป็น เหมือนที่เราดำรงชีวิตอยู่ทุกวันก็ไม่ใช่ เพราะว่ามีหลายคนมองเราอยู่ ไม่ใช่แค่เพื่อนเราหรือพ่อแม่เรา” ส่วนความหวังในตอนนี้และต่อไปของผู้หญิงที่ชื่อน้ำชา แต่ชอบดื่มน้ำส้มคั้นและเปรียบตัวเองเป็น น้ำเปล่าเพราะรู้สึกว่า “น้ำเปล่าน่าค้นหา เหมือนไม่มีรสชาติ แต่มีน่ะ” ก็คือ “น้ำชาคิดไว้ว่า ควรจะใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด เพราะว่าคนเราเกิดมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหน ก็ตาม มีเวลาแค่สองหมื่นวัน โดยเฉลี่ยแล้วนะ ก็เลยคิดว่าเราควรใช้ชีวิต ให้คุ้มค่ากับการเกิดมา ถ้าเรา คิดถึงคนอื่นมากไป เราก็จะลืมตัวเราเอง ถ้าเราคิดถึงตัวเองมากไป เราก็จะเป็นคนเห็นแก่ตัว เพราะฉะนั้น เราต้องวางตัวให้ดี อยู่ตรงกลาง แล้วก็ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ทำความดี แต่ก็ต้องมีเสี่ยงบ้าง เล่นอะไรบ้าๆ บ้าง ให้คุ้มกับชีวิตที่เกิดมา” นั่นสินะ ไม่ว่าคำตอบของแต่ละคำถาม แต่ละช่วงเวลาในชีวิต จะเป็นอย่างไร ถูก ไม่ถูก หรือไม่มีคำตอบ ก็อาจจะไม่เป็นไร ถ้ายังมีชีวิตให้ใช้ และใช้ได้คุ้ม

น้ำชากับ...ผลงานแรกในวงการบันเทิง เล่นละครช่อง 7 ค่ะ เรื่อง ‘ใต้ร่มไม้เลื้อยเรือนศิลา’ ตั้งแต่อายุ 11 -12 เลย เล่นเป็นเด็กพิการ ไม่มีไดอาล็อก อะไรทั้งสิ้น อยู่ในรถเข็นตลอด (หัวเราะ) คือ นอกจาก ชอบร้องเพลงแล้ว น้ำชาชอบเรื่องแอ็กติ้งด้วย ก็ไป แคสต์ หลังจากเรื่องนั้นก็มี ‘รักแท้แซ่บหลาย’ และ “แสงดาวแห่งหัวใจ” น้ ำ ช า กั บ . . . เ พ ล ง ป ร ะ ก อ บ ซี รี ย ส์ เ ก า ห ลี เ รื่ อ ง “ปิ๊งรักสลับขั้ว” เพลง ‘ฉันจะทำยังไงดี’ ค่ะ สนุกดี ร้องยากมาก ไม่มี จังหวะให้หายใจเลยทั้งเพลง ร้องเหมือนแร็ปเลย น้ำชากับ...พระเอกในฝัน ถ้าหากได้แสดงเป็นนางเอกซีรีย์ เรื่ อ งนั้ น (ซึ่ ง ต้ อ งปลอมตั ว เป็ น ชายและอยู่ ใ กล้ ชิ ด พระเอกตลอด) ณัฐรัฐ มอริส เลอกรองค่ะ เคยเห็นเขาเดินผ่านไป ผ่านมาที่ ม. กรุงเทพน่ะ ก็คิดว่าหล่อดีนะ แล้วพอเห็น เขาในปกหนังสืออะไรสักอย่าง โห! ใช่เลย เป็นแฟนคลับ เลยค่ะ (ยิ้ม)

น้ำชากับ....การดูแลรักแท้ ...ยังไง ไม่มวี ธิ ดี แู ล นอกจากเป็นตัวของตัวเองมากทีส่ ดุ ถ้าเขา รับเราได้ เขาก็อยู่กับเรา ถ้าเขารับเราไม่ได้ ก็ บ๊ายบาย แต่เราก็ต้องมีการเข้าหาเขาบ้าง ไม่ใช่ให้เขา เข้าหาเราอย่างเดียว น้ำชากับ...การใช้ชีวิตที่เมืองนอก ตอนเรียนมัธยมอยู่มาแตร์ฯ แล้วก็ย้ายไปออสเตรเลีย สี่ปีค่ะ แรกๆ คิดถึงบ้าน ร้องไห้ทุกวันเลย แต่จริงๆ เราตัดสินใจไปเองอยู่แล้ว เพราะช่วงนั้นมีความรู้สึกว่า เราอยากเจออะไรที่ใหม่ๆ น่ะค่ะ ก็เลยอยากไปลองเริ่ม ต้นที่อื่นดูว่าจะเป็นอย่างไร จะชอบมากกว่าหรือเปล่า ซึ่งพอไปก็ทำให้ได้เจออะไรใหม่ๆ ได้ใช้ชีวิตแบบที่ไม่ เคยใช้ จะทำอะไรก็ตอ้ งทำด้วยตัวเองหมดแทบทุกอย่าง การออกความคิดเห็น เขาก็ไม่มีกรอบให้เรา เราต้อง เป็นตัวของตัวเอง แล้วเขาจะยอมรับ น้ำชากับ....สิ่งที่อยากบอกใครๆ อยากจะบอกว่า ให้ใช้ชีวิตให้คุ้มค่ากับการเกิดมาค่ะ ขอบคุณค่ะ (ยิ้ม) 11


Super Imagine Interview

A TALK WITH EINSTEIN หลายคนคงรู้จัก Albert Einstein

ไม่วา่ จะหมายถึงชายชรา หนวดครึม้ ผมหยักศกฟู หรือกับตำแหน่ง นักฟิสิกส์สายเลือดยิวชาวเยอรมัน หรือในฐานะผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธ ภาพ ที่เป็นต้นธารของสมการ E=MC2 อันลือลั่น หรือ ผู้ที่นิตยสาร “Time” เคยยกให้เป็น “บุคคลแห่งศตวรรษ” ข้อมูลทัง้ หมดนัน้ ถูกทุกข้อ ทว่าเป็นข้อเท็จจริงเพียงเสีย้ วเดียวของ ผลงานตลอดชีวติ ทัง้ 76 ปีของเขา ทีเ่ ป็นอัจฉริยะยากจะหาใครเทียบ กระทัง่ Thomas Stoltz Harveyแห่งโรงพยาบาลปรินซ์ตนั ได้ผา่ เอา สมองของไอน์สไตน์มาเก็บรักษาไว้ เพื่อรอการศึกษาหาสาเหตุของ ความอัจฉริยะของไอน์สไตน์ในอนาคต เพราะยังมีเรือ่ งราวอีกมากของ ไอน์สไตน์ ทีค่ นรุน่ หลังสามารถนำไปศึกษาต่อได้อย่างไม่จบสิน้ อนาคตทีท่ กุ คนรอคอยได้มาถึงแล้ว Imagine ขอเชิญพบกับ ก า ร พู ด คุ ย แ บ บ เ อ็ ก ซ์ คู ซี ฟ กั บ “ ส ม อ ง ข อ ง ไ อ น์ ส ไ ต น์ ” ตัง้ จินตนาการกันให้มน่ั แล้วมาร่วมเดินทางสูบ่ ทสนทนาแบบ Imagine สุดๆ กัน + สวัสดีครับ คุณสมองไอน์สไตน์ รู้สึกเป็นเกียรติมากที่ Imagine ได้ พูดคุยกับคุณ เรียกผมว่าปูอ่ ลั เบิรต์ ก็แล้วกัน สวัสดีหลานๆ ผูอ้ า่ น Imagine เช่นกัน ก่ อ นอื่ น ต้ อ งขอบอกก่ อ นเลยว่ า ผมชอบชื่ อ หนั ง สื อ ของพวกคุ ณ มากๆ เลย เพราะก็อย่างที่รู้นั่นแหละ ว่าในความคิดของผม... จินตนาการน่ะสำคัญกว่าความรู้ + คุณคิดว่าตัวเองเป็นคนทีย่ ดึ มัน่ ตรรกะทางวิทยาศาสตร์จนสุดโต่งเลยไหม ถ้าคุณได้อ่านงานผม คำถามนี้ก็ตอบได้ไม่ยากเลย เพราะมันชัดเจน ว่03 าสมการต่างๆ ของผมมันมีจดุ เริม่ และแนวคิดในนัน้ ทีเ่ ป็นปรัชญาซึง่

13


e=mc

2

+ แล้วคุณเป็นคนมากรักหรือเปล่า ได้ยนิ ว่าลือไปทัว่ ว่าผมเจ้าชูใ้ ช่ไหม แต่ความจริงก็คือไม่ ผมแต่งงาน แค่ 2 ครั้งเท่านั้น แถมตอนผมได้ รางวัลโนเบล ผมก็มอบเงินรางวัล ทัง้ หมดให้กบั Mileva Maric ภรรยา คนแรกและแม่ของลูกทั้งสามคน ของผม + ทำไมเราถึงไม่ได้บันทึกชื่อของ ไอน์สไตน์ในฐานะประธานาธิบดี ของอิสราเอลอย่างที่ควรจะเป็น ทางรัฐบาลอิสราเอลเขาเชิญผม ให้ รั บ ตำแหน่ ง ประธานาธิ บ ดี คนที่สอง ซึ่งผมก็รู้สึกตื้นตันใจกับ ข้อเสนอนี้ แต่ผมก็ไม่สามารถรับ ข้อเสนอได้ เพราะตลอดชีวิตผม ได้ สั ม ผั ส เกี่ ย วพั น แต่ กั บ เรื่ อ งที่ 14

Imagination is more important than knowledge.

มี แ ต่ สั น ติ ภ าพไม่ มี ส งคราม โลกนี้จะน่าอยู่มาก

+ คำถามสุดท้ายครับ เพราะเหตุใด จินตนาการถึงสำคัญกว่าความรูล้ ะ่ ง่ายมาก ทฤษฎีกับสมการต่างๆ ที่ ผ มคิ ด ค้ น ทั้ ง หลายก็ จ ะเกิ ด ไม่ ได้เลย ถ้าผมไม่ได้มจี นิ ตนาการมา นำทางไปสู่ ส มการเหล่ า นั้ น เป็นวัตถุ ดังนั้นผมจึงไม่เคยใฝ่ฝัน ตัวอย่างง่ายๆ ก็ตอนทีค่ ณุ พ่อผมให้ และมีประสบการณ์บริหารจัดการ เข็มทิศมาเป็นของขวัญตอนผม ผู้คน และภารกิจต่างๆ อย่างเป็น 5 ขวบไง มันทำให้ผมจินตนาการ ทางการเลย ผมจึงไม่เหมาะสม ต่อไปได้วา่ ต้องมีอะไรอยู่ในอากาศ แน่ ๆ ถึ ง ได้ ผ ลั ก ดั น ให้ เ ข็ ม ชี้ ไ ป + คุณมีความคิดเห็นอย่างไร ที่ ทิศเหนือเสมอ ดังนั้นจินตนาการ แนวคิดเรือ่ งสันติภาพของคุณยังไม่ จึงสำคัญกว่าความรู้ชัวร์ๆ เห็นผลเท่าทีค่ วรแม้กระทัง่ ทุกวันนี้ ผมยังคงหวังว่า สันติภาพจะเกิดขึน้ + ข อ บ คุ ณ ส ำ ห รั บ ก า ร ได้ในที่สุด และผมไม่ใช่คนๆ เดียว พูดคุยครั้งนี้ ที่คาดหวังแบบนั้น John Lennon สบายมากเป็ น เรื่ อ งที่ ดี ที่ ไ ด้ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะเขาได้เคย ตอบคำถามของคุณ จำไว้นะว่าสิ่ง ร้องเอาไว้ในเพลง ‘Imagine’ ว่า ที่สำคัญน่ะคืออย่าหยุดตั้งคำถาม “Imagine there’s no countries. เพราะความอยากรู้ อ ยากเห็ น It isn’t hard to do. Nothing to kill เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของจิ น ตนาการ or die for. And no religion too. และการสร้ า งสรรค์ แ ล้ ว พบกั น Imagine all the people living life ใหม่นะหลานๆ Imagine ทุกคน in peace” ซึ่งถ้าโลกเรา ไม่ต้อง มีประเทศ ไม่ต้องมีรัฐบาล ก็จะ

อุปกรณ์ในการประกอบ

หุ่นยนต์เดินตามแสง

เป็นด้านโรแมนติกของผม แล้ว ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปได้ที่เราจะ อธิบายทุกอย่างด้วยวิทยาศาสตร์ แต่มันคงดู ไร้ความหมายเหมือน กั น ถ้ า ให้ ผ มอธิ บ ายซิ ม โฟนี่ข อง Beethoven ว่าคือการแปรผันของ เครื่องเสียง ใช่ไหม? นอกจากนั้น ผมก็เรียนไวโอลินมาตั้งแต่เล็กๆ แล้ว และรักมันมากๆ เลยล่ะ

หลักการทำงาน

หุ่นยนต์เดินตามแสงนี้ ตัวหุ่นยนต์สามารถที่จะ ตรวจจับแสง แล้วเดินไปตามแสงได้เองโดยอัตโนมัติ ลั ก ษณะของหุ่ น ยนต์ ข องเราใช้ ม อเตอร์ ใ นการ ขับ เคลื่อนจำนวน 2 ตัว เดินหน้าอย่างเดียว และแยก อิสระ ซ้าย-ขวา ใช้เซ็นเซอร์แสงจำนวน 2 ตัว ในการ ควบคุมมอเตอร์แต่ละข้างอิสระจากกัน เมื่ อ ทราบการต่ อ วงจรแล้ ว ก็ ท ำการวาง

หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี คัดเตอร์ คีมสำหรับตัดและจับ

อุปกรณ์สำหรับใช้สร้างหุ่นยนต์ ตัวต้านทาน 1/4W 5% R1 1 kΩ (น้ำตาล ดำ แดง ทอง) R2 10 Ω (น้ำตาล ดำ ดำ ทอง) R3 1 kΩ (น้ำตาล ดำ แดง ทอง) R4 10 Ω (น้ำตาล ดำ ดำ ทอง) ตัวต้านทานปรับค่าได้ (เกือกม้า) VR1 50 kΩ VR2 50 kΩ ทรานซิสเตอร์ Q1 BC547 Q2 9013 Q3 BC547 Q4 9013 LED LED1 สีน้ำเงิน ขนาด 5 มิลลิเมตร (หรือสีอื่นๆ) LED2 สีน้ำเงิน ขนาด 5 มิลลิเมตร (หรือสีอื่นๆ) LDR LDR1 ตัวต้านทานปรับค่าตามความเข้มแสง LDR2 ตัวต้านทานปรับค่าตามความเข้มแสง มอเตอร์กระแสตรง M1 มอเตอร์กระแสตรง M2 มอเตอร์กระแสตรง อื่นๆ บอร์ดอเนกประสงค์สำหรับใช้เชื่อมต่อและยึดวางอุปกรณ์ แบตเตอรี่ขนาด 9V (ก้อนสี่เหลี่ยม) ขั้วต่อแบตเตอรี่ 9V สายไฟ


สัญลักษณ์การทำงาน รับแสงได้

ไม่ได้รับแสง

1

มอเตอร์ทำงาน

2

มอเตอร์ ไม่ทำงาน

3

4

LDR

LDR

LDR

LDR

LDR

LDR

LDR

M2

M1

M2

M1

M2

M1

M2

LDR STOP

วงจรของหุ่นยนต์ อุปกรณ์ลงบนบอร์ดอเนกประสงค์ และบัดกรี เชื่อมจุดต่างๆ เข้าด้วยกันตามวงจร ระมัดระวัง การลัดวงจร เมื่อประกอบวงจรเสร็จเรียบร้อย แล้ว ก็ทำการทดลองต่อไฟขนาด 9V เข้า แล้ว ทดสอบการทำงาน ได้เลยครับ

การวางอุปกรณ์ลงบนบอร์ดเอนกประสงค์

ตัวได้รับแสงพร้อมๆ กัน ทั้งซ้ายและขวา การทำงานจะเป็นดังนี้ เมื่อ LDR1 ได้รับแส งที่เพียงพอในระดับหนึ่งจะทำให้ความต้านทานต่ำลงจนมีแรงดันไหลไปไบอัสให้กับ Q1 และ Q2 ทำงาน ส่งผลให้มอเตอร์ M1 และ LED1 ทำงาน จึงทำให้มอเตอร์ด้านขวาหมุน หลักการทำงานของวงจร และอีกด้านหนึ่ง LDR2 เมื่อได้รับแสงที่เพียง การทำงานจะใช้ LDR ในการตรวจจับแสง พอก็จะทำให้แรงดันไหลไปไบอัสให้กับ Q3 และ ที่เข้ามา โดยจะวัดความเข้มของแสง ถ้ามีความ Q4 ทำให้แรงดันไหล่ผา่ น มอเตอร์M2 และLED2 เข้มของแสงมาก จะทำให้ค่าความต้านทานต่ำลง ทำให้มอเตอร์ด้านซ้ายหมุน และ LED2 ทำงาน แต่ ใ นทางกลั บ กั บ ถ้ า มี ค วามเข้ ม ของแสงน้ อ ย จะทำให้ความต้านทานสูงขึ้น หลักการทำงานของ 2 เดินเลี้ยวไปทางขวา LDR แบบนี้เองที่นำมาใช้ในการควบคุมมอเตอร์ หุ่นยนต์จะเดินทางเลี้ยวขวาเมื่อ LDR2 ได้รับ ขับเคลื่อนทั้ง 2 โดยที่ LDR1 จะควบคุมมอเตอร์ด้าน แสงมากกว่า LDR1 การทำงานจะเป็นดังนี้ ขวา และ LDR2 จะควบคุมมอเตอร์ด้านซ้าย เมื่อ LDR2 ได้รับแสงจึงเกิดแรงดันไปไบอัส ดังนั้นการทำงานจะแยกเป็น 4 แบบ ได้ดังนี้ Q3 และ Q4 ทำให้ M2 และ LED2 1. เดินไปข้างหน้าตรงๆ 2. เดินเลี้ยวไปทางขวา ทำงาน จึงทำให้มอเตอร์ด้านซ้ายหมุน 3. เดินเลี้ยวไปทางซ้าย 4. หยุดเดิน เมื่อมอเตอร์ด้านซ้ายหมุน จึงทำให้หุ่นยนต์เดิน เลี้ยวขวา ในขณะเดียวกัน LDR1 ไม่ได้ เดิ น ไปข้ า งหน้ า ตรงๆ รับแสงหรือได้รับแสง น้อยไม่เพียงพอที่จะทำ 1 หุ่นยนต์จะเดินทางไปด้านหน้า เมื่อ LDR ทั้ง 2 ให้เกิดแรงดันไปไบอัสได้ จึงส่งผลให้

มอเตอร์ M1 และ LED1 ไม่ทำงาน 3 เดินเลี้ยวไปทางซ้าย

M1

จะปรับความไวของ LDR1 และ VR2 จะปรับ ความไวของ LDR2 จึงสามารถปรับให้มี ความไวในการรับแสงได้ตามต้องการ เพราะตัว VR1 และ VR2 จะเป็นตัวควบคุมการไหลของ แรงดันที่ผ่าน LDR มาอีกที ถ้าทำการปรับ VR ให้ มีค่ามากขึ้นจะทำให้มีความไวในการรับแสงมากขึ้น ควรจะปรับทิศทาง LDR ทั้ง 2 ตัวให้หันออกข้างๆ เหมือนกับดวงตา อาจจะ ทำให้ขา LDR ยาวแล้วดัดขาให้ยื่นออกมา รับแสงเพื่อการควบคุมที่ดีขึ้น

หุ่นยนต์จะเดินทางเลี้ยวซ้ายเมื่อ LDR1 ได้รับแสง มากกว่า LDR2 การทำงานจะเป็นดังนี้ เมื่อ LDR1 ได้รับแสงจึงเกิดแรงดันไปไบอัส Q1 และ Q2 ทำให้ M1 และ LED1 ทำงาน จึงทำให้มอเตอร์ด้านขวาหมุน เมื่อมอเตอร์ด้านขวาหมุน จึงทำให้หุ่นยนต์เดิน เลี้ยวซ้าย ในขณะเดียวกัน LDR2 ไม่ได้รับแสงห รือได้รับแสงน้อยไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดแรงดันไป ไบอัสได้ จึงส่งผลให้ มอเตอร์M2 และLED2 ไม่ทำงาน การทดลองใช้งาน ทำการต่อไฟเข้ากับวงจร แล้วนำไปรับแสง จะสังเกตว่า มอเตอร์จะมีการหมุดเกิดขึ้ 4 หยุดเดิน หุ่นยนต์จะหยุดเดินเมื่อทั้ง LDR1 และ LDR2 น เ มื่ อ น ำ ไ ป ใ น ที่ มื ด จ ะ ท ำ ใ ห้ ม อ เ ต อ ร์ ห ยุ ด ไม่ได้รับแสงเลยหรือรับแสงได้น้อย จนไม่มีแรงดัน ทำงาน เราอาจจะนำไฟฉายมาส่องนำทางเพื่อ เพียงพอที่จะไปไบอัสให้ทรานซิสเตอร์ทั้ง Q1 ให้หุ่นยนต์เดินตามเราได้ ถึง Q4 ทำงานได้ จึงไม่เกิดการทำงานของ มอเตอร์ ส่งผลให้หุ่นยนต์ ไม่เคลื่อนที่

การปรับแต่งการทำงาน

จะเห็นว่าในวงจรมี VR1 และ VR2 ซึ่งเป็น รีซิสเตอร์สามารถปรับค่าได้ แบบเกือกม้า ใช้หมุนเพื่อปรับความต้านทาน มีไว้สำหรับปรับ ความไวในการรับแสงของ LDR โดย VR1

Adviser : Dr.Akkharaphong EKSIRI, akkharaphong@bu.ac.th Story : Chatree Sirimanorom, Thanarat ditsreeporn

17


IN THE NAME OF LEGO

เราไม่รหู้ รอกว่าตอน Ole Kirk Christiansen ตัง้ ชือ่ โรงงานผลิตของเล่นแห่งหนึง่ ว่า LEGO (เลโก้) เมือ่ ปี 2477 นั้น เขาหวังใจให้ชื่อนี้ติดหูหรืออยู่ยั้งยืนนาน แค่ไหน แต่รวู้ า่ ทุกวันนี้ ปีน้ี ชือ่ เลโก้ ยังคงอยูเ่ หมือน เราก็ยังเห็นโครงร่างหรือแรงบันดาลใจในแบบเลโก้ ที่ “แฟ้บ” อยู่ในฐานะ ผงซักฟอก “ลิควิด” อยู่ในฐานะ ปะปนเวียนวนอยู่ในนั้น ทั้งในรองเท้าผ้าใบ เสื้อผ้า น้ำยาลบคำผิด “เลโก้” ก็อยู่ในฐานะ ตัวต่อ นาฬิกา กระเป๋า เข็มขัด โทรศัพท์มือถือ กระทั่งบน ตัวต่อทีต่ อ่ ได้ตอ่ ดีตอ่ มีจนิ ตนาการและมีจริง แคตวอล์ก เรื่อยไปถึงในเกมคอมพิวเตอร์ ปกอัลบั้ม ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ LEGO ที่มีราก (YMCK) มิวสิควีดีโอ (Fell in Love with a Girl / The ศัพท์มาจากภาษาเดนิชว่า “Leg Godt” หรือ “Play White Stripes) ฯลฯ Well” นั้นก็คือ ไม่ว่าตัวต่อยี่ห้อนี้จะทำขึ้นในปีไหน แต่ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ทันใจ ไม่ถูกใจ เลโก้ก็ รุน่ ใด ก็สามารถต่อสนิทปิดล็อกได้กบั ตัวต่อรุน่ ดัง้ เดิม พร้อมให้เราทำเอง ต่อเอง ได้ดั่งใจ เพราะถึงแม้ว่า และทุกๆ รุ่น เรียกว่า เล่นได้เล่นดี ล็อกได้ หลุดได้ ตัวเลโก้ชดุ หลังๆ มักขายเป็นแพ็กเกจพร้อมแพทเทิรน์ (เมื่อถอด) แต่ไม่หยุดความสนุก และคู่มือ แต่ด้วยมาตรฐานความเข้าล็อกกันของทุก LEGO All Around ชิ้น ทุกรุ่น เราจึงสามารถดัดแปลง แกะออก ต่อเข้า ปัจจุบนั มีแพทเทิรน์ เลโก้ออกมาเป็นชุดๆ ดึงดูด กับชิ้นส่วนต่างๆ ข้ามรุ่น ข้ามเรื่อง ให้เป็นเรื่องเล่า เงินออกจากกระเป๋าพ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กๆ และนัก เรือ่ งราว ตำนาน หรือมหากาพย์ของเราเองก็ได้ หรือ สะสมมากมายทั่วโลก ในฐานะตัวต่อที่ดึงดูดคนเล่น ถ้าอยากประชันไอเดียทางธุรกิจบนโลกแห่งความ ให้เข้าไปสู่โลกแห่งจินตนาการและต่อเติมสร้างสรรค์ เป็นจริงสุดๆ บริษัทที่เป็นหนึ่งในตำนานทางธุรกิจ ความฝันกระทั่งความจริง ที่เห็นได้จริงมากขึ้นทุกวัน ของเล่นที่โดดเด่นไม่ใช่เล่นอย่างเลโก้ ก็จัดโครงการ ท่ามกลางกระแสโหมรุกของสตรีทแฟชัน่ ปะทะ Serious Play (www.seriousplay.com) ไว้เป็นที่ แรงกระหน่ำอย่างมีชั้นเชิงของแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ ปรึกษาให้ โดยวิธีและวิถีที่โดดเด้งมากๆ

LEGO Together

ตัวต่อ เรือ่ งราว วิวฒ ั นาการ และลักษณะเฉพาะ ของเลโก้ จึงไม่เพียงถ่ายทอดความหมายในภาษา เดนิชว่า “Play Well” เล่นได้เล่นดี แต่ยังสะท้อน ความหมายของ LEGO ในภาษาละตินว่า “I study” หรือ “I read” ด้วย คล้ายๆ จะยืนยันว่า เราไม่เพียง มีจินตนาการและรู้จักเล่นกับความฝัน แต่เรายังรู้จัก เรียนรูแ้ ละอยูก่ บั ความจริงได้สร้างสรรค์ ตามใจต้องการ ได้เรื่อยๆ ถ้าเราพร้อมจะทำ เลือกจะทำ กล้าจะทำ และทำสักที เพราะตัวต่อแม้จะเข้าล็อกเข้ารูปแค่ไหน ก็ต่อตัวเองไม่ได้

ถ้าขาดคนต่อ :D


ศิลปะจากถ้วยกระดาษ คำถามหนึ่งซึ่งได้รับการถามตอบกัน มานานกว่ า นานก็ คื อ นิ ย ามความหมายของ “ศิลปะ” ที่นับวัน นิยามของคำว่า “ศิลปะ” ก็ ยิ่ ง กว้ า งขวางหลากหลายออกไปเรื่ อ ยๆ รวมถึงรูปแบบการนำเสนอ และสารพันไอเดีย ที่ถูกถ่ายทอดออกมาสู่ผู้เสพงาน

ไม่เว้นแม้แต่เศษวัสดุอย่าง ม้วนเทป,ถ้วยโฟม, จานกระดาษและผ้าอนามัย ที่เราๆ เคยตีค่าเป็นเพียง เศษขยะและมองข้ามไปเสมอ ทว่าเมื่อมีคนที่สามารถมองเห็นและมองขาดถึงคุณค่าทางศิลปะที่แฝง เร้นอยู่ในขยะ เหล่านีค้ อื ศิลปินหญิงชาวนิวยอร์กทีช่ อื่ Tara Donovan หลังจากที่สั่งสมชิ้นงานและชื่อเสียงมานาน กระทั่งเมื่อใดที่เอ่ยชื่อนี้ นิยามแรกที่ผุดขึ้นในหมู่

คนรักศิลปะคือ “เจ้าแห่งการมองเห็น” ที่ไม่เพียงแค่ “มอง” หาก “มองเห็น” ในสิ่งนั้นอย่างแท้จริง งาน ประติมากรรมของเธอมักถูกสร้างขึ้นจากความสาม ารถในการมอง,จินตนาการ และสร้างสรรค์รูปแบบ, รูปทรง และองค์ประกอบจากวัสดุทว่ั ๆ ไป ทีอ่ ย่างเราๆ มักมองข้ามอย่างที่ว่าไปแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น งาน ประติมากรรมของเธอยังสื่อถึงแนวคิดที่เกี่ยวเนื่อง กับธรรมชาติ ตัวอย่างทีด่ มี ากอันหนึง่ คืองานแสดงชุด “Untitled” ในปี 2003 ที่รังสรรค์ขึ้นจากถ้วยโฟม และกาว ไม่นา่ แปลกใจทีเ่ มือ่ ปี 2551 ทีผ่ า่ นมา โดโนแวน จะได้รบั โทรศัพท์จากมูลนิธิ John D. & Catherine T MacArthur เพื่อแจ้งว่าเธอจะได้รับเงินสนับสนุนเป็น มูลค่า 5 แสนดอลล่าร์ โดยโดโนแวนเป็น 1 ใน 25

คนที่ได้รับเลือกจากมูลนิธิ ที่ครอบคลุมกลุ่มอัจฉริยะ จากวงการฟิสิกส์, ดาราศาสตร์, นักสีไวโอลิน, นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และบุคคลที่เป็นตัวแทน ของความมุง่ มัน่ พยายามในสาขาอืน่ ๆ ซึง่ ถูกเลือกจาก ความคิดสร้างสรรค์, ความแปลกใหม่ และศักยภาพ ที่จะสร้างสรรค์งานสำคัญในอนาคต ซึ่งหากลองพินิจงานแสดงชุด “Untitled” จาก รูปที่เราคัดสรรมาให้ชมกันนี้ก็เป็นบทพิสูจน์ ได้ดีถึง

ความคิดสร้างสรรค์, ความแปลกใหม่ และศักยภาพ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่คงไม่เกิดขึ้นได้เลย หากขาดซึ่งการมองเห็นคุณค่าในสิ่งรอบตัว สร้างไอเดียในหัว และพัฒนาคุณค่าจากไอเดียนั้นให้ ออกมาเป็นรูปธรรมได้ด้วยความตั้งใจ พยายามและ อดทน...จนสำเร็จออกมาเป็นชิ้นงานที่ปราศจากชื่อ (Untitled) หากสร้างชื่อให้ผู้รังสรรค์ได้จนขจรไกล 21


“การทำงานตรงนี้ แม้ว่าจะดึงเวลา ส่วนตัววัยรุ่นของเราไปเยอะ ต้องไป ทำงานก่อนคนอื่นๆ ค่อนข้างที่จะไม่ เหมื อ นคนอื่ น แต่ โ อ้ คิ ด ว่ า มั น เป็ น โอกาสที่ไม่ได้หาได้ง่ายๆ แล้วโอ้ก็มี จุดมุ่งหมายคือ อยากทำความฝันของ ที่บ้านฝันของคุณพ่อให้เป็นจริง คือ อยากจะซื้อโรงงาน อยากจะซื้อบ้าน อย่างที่เราฝันกันไว้ พอมีโอกาสที่ดี เราก็เลยฉวยไว้ก่อน เราต้องตัดสินใจ เร็วๆ เพราะถ้าตัดสินใจช้า ก็จะไม่มี ใครรอเรา”

“โอ้อยากจะบอกว่า ถ้าเราอยากจะทำ อะไร ก็ขอให้ทำเลยครับ ถ้าคุณมี ความสุข คุณอยากจะเป็นอย่างนั้น จริงๆ แล้วมันไม่เดือดร้อนใครแล้วก็ ไม่ได้สร้างปัญหาให้ใคร ก็ทำเถอะครับ แล้วก็ทุ่มให้สุดตัวไปเลย จะได้ไม่มา เสียใจทีหลัง เพราะโอกาสมันไม่ได้มา บ่อยๆ เหมือนที่โอ้ได้มาอยู่จุดนี้ ที่เริ่ม จากได้โอกาสที่ดี ได้มาเล่นหนังเรื่อง ‘รักแห่งสยาม’” “งานในวงการให้ ป ระสบการณ์ ที่ ยิ่ ง ใหญ่มากครับ เป็นประสบการณ์ที่โอ้ คิดว่าเด็กอายุ 20 คงหาไม่ได้ง่ายๆ แล้วก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากกว่า เพือ่ นๆ ในวัยเดียวกัน แล้วก็ทำให้ความ คิดของเราดูโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าด้วย ซึ่ ง มั น ทำให้ เ รารู้ จั ก คนในวงกว้ า ง มากขึ้นและทำให้เราได้โตขึ้น”

เมื่อเราพูดถึง Mario...

ใข นโล มาอรง ก ิโอ้

ภาพ 2 ภาพที่จะผุดขึ้นมาในจินตนาการของแทบทุกคนก็คือ มาริโอ้ ตัวละครหนวดดกแห่งเกม Mario World หรือ มาริโอ้ เมาเร่อ มาริโอ้ ที่เรากำลังพูดถึงในครั้งนี้คือ โอ้ หรือ มาริโอ้ คนหลัง ทว่าในบางมุมก็ไม่แตกต่างจากการ ผจญภัยของมาริโอ้ในวิดโี อเกมนัก ทีต่ อ้ งอาศัยมุง่ มัน่ พยายาม และความรักในภารกิจในความรับผิดชอบนัน้ ซึ่งการผจญภัยของมาริโอ้ในโลกแห่งความฝันในจินตนาการที่ค่อยๆ ผ่านทีละด่าน ทีละฉาก จนกลาย เป็นจริงนั้น เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น 23



“ยิ่งเราทำงานไป เราก็ย่อมมีอายุ มากขึ้น แล้วก็หน้าแก่ลง เป็นปกติ สังขาร แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่จะพัฒนา ขึ้นตามไปด้วยคือ คุณภาพของ ตัวเรา แล้วก็ผลงานของเราว่ามี การพัฒนาขึ้นแค่ไหน ในทุกครั้ง กับทุกงาน เราก็ตอ้ งการทีจ่ ะพิสจู น์ ตั ว เราเองว่ า เราทำได้ ดี ขึ้ นมาก แค่ไหน”

“การที่เรามาจนถึงจุดนี้ โอ้ไม่เคย ลื ม ว่ า ตอนนี้ เ ราเป็ น คนของ ประชาชน เรายืนอยูต่ รงนีก้ เ็ หมือน เราต้ อ งเป็ น แบบอย่ า งให้ เ ด็ ก ๆ น้องๆ หลายๆ คนทีม่ องเรา เห็น เราอยู่ในทีวี เพราะฉะนั้นโอ้ต้อง ท ำ ตั ว เ อ ง ใ ห้ ดี ต ล อ ด โ ด ย ไ ม่ เสแสร้ง ถ้าโอ้เป็นคนดี น้องๆ ก็อาจเป็นคนดีด้วย เรารับเงินมา เยอะ แต่ว่าเราก็มีหน้าที่ๆ ยิ่งใหญ่ เหมือนกัน ที่เราทำอยู่ ก็เลยภูมิใจ เหมือนกันที่ได้มาอยู่ตรงนี้”

“ถ้าโอ้เป็นมาริโอ้ในเกม Mario World โอ้ขอเลือกเล่นโดยมีตัว ช่วยเป็นเห็ดดีกว่าครับ เพราะว่า เห็ดนี่ทำให้เราโตขึ้น พอกินเห็ด แล้วมันโตขึ้นทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ โตไปด้วย ทั้งสมอง ทั้งร่างกาย แล้วก็จิตใจด้วย”

5 แฟชั่นสไตล์ มาริโอ้ เมาเร่อ 1. ผมยาวปิดหน้าปิดตา ถือว่าผิดกฎ 2. สวมหมวกกลับหลังได้ Cool! Cool! Man! 3. ผูกหูกระต่ายสีสดขึ้น 4. ใส่กางเกง 5 ส่วนได้เท่โคตร 5. รองเท้าอะไรก็ได้ ขอให้ ลงท้ายว่า “หล่อ” (จังวุ้ย)

ชุดเท่ๆ ของหนุ่มฮิต มาริโอ้ เมาเร่อ ในสไตล์ Minimal ที่นำมา Mix & Match กันได้อย่างลงตัว จากการออกแบบของ ปั่น-พชร พัชรินทร์ตนะกุล ที่ค้นพบตัวเองตั้งแต่เด็กว่า งานแฟชั่นดีไซเนอร์เป็นงานที่ เขาสามารถนำจินตนาการและ นิสัยส่วนตัวที่ชอบเลือกของ เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมมาใช้ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหลังจากที่ไป จับงานประจำที่เครือสหพัฒน์ ตอนนี้ดีไซเนอร์หนุ่มไฟแรงของเรา ก็มีโครงการไปเรียนต่อด้าน Fashion Marketing เรียกว่า รักจริงแบบจริงจังจริงๆ ยังไง เราชาว Imagine ขอเอาใจช่วย และรอชมแฟชั่นในแบรนด์ ของหนุ่มตี๋อย่างใจจดใจจ่อ


Transformagination from Nature to the Imaginative World of Creation fashion by Chalida Mahasawas



03


The Designer A Desire to Create the World โลก ณ ขณะนี้ การออกแบบกลายเป็นส่วนสำคัญที่มีอยู่ในทุกพื้นที่ สิ่งเล็กน้อย นับตั้งแต่แก้วน้ำเรื่อยไปจนถึงชิ้นงานยิ่งใหญ่อย่างอาคารระฟ้า และหากมองไปสู่สิ่งรอบๆ ตัว การออกแบบที่แฝงอยู่ใกล้ตัวเราที่สุดนั้นคงไม่พ้นเครื่องแต่งกาย เมื่อเสื้อผ้าบ่งบอกถึงรสนิยม ของคนสวมใส่ และไม่ใช่ทุกคนที่จะออกแบบได้ตามที่ใจต้องการ เราจึงจำเป็นต้องมี ผู้คิดค้นสร้างสรรค์งานอย่างพวกเขา - ดีไซเนอร์

Photo // Jaturong Hirankarn Make up & Hair Stylist // Thitikul Sukanantakul Assistant Stylist // Vuttinun Poomadun Stylist // Nuttapol Imjaroen

03

แพรว - ชลิดา มหาสวัสดิ์ บัณฑิตจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบแฟชัน่ และสิง่ ทอ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นที่รู้จัก กันดีในแวดวงดีไซเนอร์ เพราะเธอ คือผู้คว้ารางวัล Young Designer จาก Elle Fashion Week 2008 Autumn / Winter เป็นเด็กไทยคน แรกและคนเดียวในเวทีนั้น “แพรวเลือกเรียนแฟชัน่ ดีไซน์ เพราะคิดมาตั้งแต่ ม.ปลายแล้วว่า เราอยากเป็นดีไซเนอร์ พอมาเรียน ที่ ม.กรุงเทพ เขาก็สอนเราทุกอย่าง ตั้งแต่การดรอว์อิ้ง ปรับพื้นฐานไป ทีละสเต็ป สอนวิธีคิดตั้งแต่ว่าจะ เอาอะไรมาเป็ น แรงบั น ดาลใจ การหาวัตถุดิบที่มันจะมาปรับใช้

กับคอนเซ็ปต์ และมีเทคนิคอีก มากมาย ซึ่งสุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับ คนเรียนด้วยว่า แต่ละคนจะมีไอเดีย ยังไง แล้วเอามาทดลองยังไง แล้ว แต่ว่าใครที่จะสามารถเอาไปใช้ใน ชีวติ จริง ไม่ใช่วา่ เรียนแฟชัน่ ดีไซน์ แล้วจะต้องเป็นดีไซเนอร์ทุกคน” หลังจากผ่านสนามทดลอง กับการประกวดใน 2 เวที และได้ รับความสำเร็จทัง้ 2 ครัง้ คือ ชนะ การประกวด Siam Center Design Forward: INSPY U Fashion Contest 2007 และเวที ELLE Fashion Week 2008 เส้นทางสูก่ าร เป็ น ดี ไ ซเนอร์ ข องเธอก็ เ ข้ ม ข้ น และชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ณ ปัจจุบัน แพรวกำลังก้าวเข้าสูอ่ าชีพดีไซเนอร์

อย่างเต็มตัว “ก็ อ ยากจะฝากถึ ง น้ อ งๆ ด้วยว่า สุดท้ายแล้วสิ่งสำคัญที่สุด ในการออกแบบเสื้อผ้าคือ มันต้อง สามารถเมคมันนี่กลับมาให้โปร ดักชั่นของเราได้ เพราะถ้ามีคน สนใจยอมรับในโปรดักต์ของเรา และยอมจ่ายเงินซื้อไป นั่นหมาย ถึงงานของเรามีคณุ ค่าและสามารถ สร้างมูลค่าได้ด้วย” เชิญพลิกกลับไปพิสจู น์ผลงาน ข อ ง แ พ ร ว ไ ด้ กั บ แ ฟ ชั่ น เ ซ็ ต ‘Transformagination’ ที่ได้รบั แรงบันดาลใจมาจากแมลง กระทั่ ง กลายมาเป็ น ชุ ด สวยเท่ อั น เปี่ ย มจิ น ตนาการทั่ ว หลาย เหล่านั้น... 35



THE

Champion Creator จ้าวแห่งสายพันธ์ุใหม่ ในโลกไซเบอร์

พีรกานต์ ศานติวรพงษ์ นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกฯ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือแชมเปี้ยนจากการ ประกวดออกแบบสร้างสิ่งมีชีวิต (Spore Creature Creator) หรือ ที่เรียกว่าตัวสปอร์ทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ในงาน HP’s Engage. Excite. Experience ซึ่งจัดโดย Electronic Arts Inc. และ Hewlett-Packard เมื่อปี 2551 ขณะที่เขาอายุ 19 ปี ...ก่อนหน้านั้นเขาไม่เคยออกแบบสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสปอร์ มาก่อน ...จริงๆแล้วเขาไม่เคยออกแบบอะไรมาก่อน และไม่เคย ประกวดเวทีไหนเลย ...นี่คือเวทีที่หนึ่ง แบบที่หนึ่ง และเขาได้ที่หนึ่ง ...เป็นเกมเมอร์หนึ่งเดียวจากไทยที่คว้ารางวัลสุดครีเอทนี้ ...Own Blood คือชือ่ คาแรคเตอร์ของตัว Spore ทีพ่ รี กานต์ ออกแบบมีโครงร่างหลักเป็นมังกร ซึง่ เขาบอกว่าเป็นสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ขา นึกถึงและเลือกใช้เสมอเวลาเห็นในเกม อาจเพราะเขาเกิดราศีนี้ พอดีด้วย เท้ามาจากแร็ปเตอร์หรือไดโนเสาร์สายพันธุ์หนึ่งและ ปีกมาจากอินทรีย์

เจ้ามังกรมีปีกอินทรีย์เท้าไดโนเสาร์ที่เขาใช้เวลาสร้างเพียง 4 -5 ชัว่ โมงตัวนีแ้ หละทีพ่ าเขาขึน้ รับรางวัล (คอมพิวเตอร์ HPและตัว๋ เครื่องบินไปกลับฮ่องกง) ในฐานะแชมป์ออกแบบสปอร์ ไทยก่อน บินไปรับรางวัลไกลถึงฮ่องกง ชนะตัวแทนอีก 9 ประเทศ (ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี) ในแถบเอเชียแปซิฟิก คว้าเงินรางวัล 5,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเขาบอกว่าจะนำไปเป็นทุนการศึกษาที่พีรกานต์ หรือ พีท ศึกษาอยู่ ในด้านที่ไม่ห่างไกลจากกิจกรรมยามว่างที่เขาชอบทำ และอาชีพที่เขาอยากทำเท่าไหร่นัก “ผมเรียนคอมพิวเตอร์กราฟิกฯ ตอนนี้ (ปี1) ก็เรียนออกแบบ เว็บไซต์ครับ ทำโลโก้ ออกแบบพื้นฐาน ปีหน้าก็คงได้เรียน 3 D


Submit Your

แล้ว ก็เรียนรู้อะไรมากขึ้นเรื่อยๆ จบแล้วผมก็อยากทำอยู่สองอย่างคือ ทำอะนิเมชั่น กับสร้างเกม ออกแบบตัวละครในเกม” ซึง่ ผลงานนอกห้องเรียนทีเ่ ขาทำจนคว้ารางวัลไปแล้วก็คอื การออกแบบตัวละครในเกม Spore (www.spore.com) ซึ่งเป็นเกมสร้างและพัฒนาสิ่งมีชีวิตเริ่มตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวจนพัฒนา ผ่านวิวัฒนาการ สร้างเผ่าพันธุ์ สร้างอารยธรรม ก่อนออกต่อสู้ ยึดครองโลก และสำรวจจักรวาล โดยแบ่งเป็น 5 วิวัฒนาการ เกม จะมอบอุปกรณ์สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไว้มากมาย รวมไปถึงได้เห็น สปอร์ที่สร้างขึ้นโดยผู้เล่นรายอื่น ด้วย สปอร์เป็นอีกหนึ่งเกมที่ช่วย สร้างจินตนาการและกระตุ้น ต่อมสร้างสรรค์ของผู้เล่นได้ในแบบที่ต้องการ ส่วนการสร้างสรรค์ชวี ติ ของคนเล่นเกมหรือเกมเมอร์ทแ่ี น่นอน ต้องรับผิดชอบหน้าทีอ่ น่ื ในชีวติ อ ย่างการเรียนหรือกิจกรรมอย่างอืน่ ด้วยนั้น พีรกานต์มองว่า “ต้องแบ่งเวลาให้ดีครับ เล่นเกมได้ แต่ต้องแบ่งเวลาดีๆ ผมยังพยายามอยู่เลย (หัวเราะ) ช่วงที่ผ่านมาเรียนหนัก งานที่คณะเยอะ ก็ไม่ค่อยได้เล่นเท่าไหร่” แต่ถ้าว่างปุ๊บ กิจกรรมที่พีททำเพื่อผ่อนคลายมาตั้งแต่ชั้น ป. 5 ก็ไม่ได้รับการทอดทิ้ง ส่วนสาเหตุก็ง่ายๆ นอกจากท้าทายแล้วก็ตอบสนองความสงสัยใคร่รู้ “เหมือนเราเล่นไปแล้วก็อยากรู้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร ก็ยิ่งทำให้อยากรู้ขึ้นเรื่อยๆ” ในขณะเดียวกันก็อาจตอบคำถามนอกเกมคอมพิวเตอร์ และทำให้เดินเกมชีวิตได้อย่างต้อง การ หรืออาจจะสนุกขึ้นในแบบของตัวเองได้ด้วย

Imagine Magazine เปิดพืน้ ทีโ่ ชว์ความสร้างสรรค์ ให้สิ่งที่คุณทำ สิ่งที่คุณฝัน แล้วส่งต่อให้โลก ได้เห็น ไม่ว่า จะวาดรูป จะทำหนังสั้น จะเขียน การ์ตูน จะแต่งเรื่องสั้น อย่ามัวแต่ “จะ” ลงมือทำ แล้วส่งมาที่นี่ imaginebangkok@ gmail.com หรือน้องคนไหนมีคำถามเกี่ยวกับ เรือ่ งการศึกษาอาชีพในอนาคต คณะทีอ่ ยากจะเข้า ส่งคำถามมา Imagine Team จะสรรหาคำตอบ จากประสบการณ์ ข องรุ่ น พี่ ห ลากหลายคณะ เพื่อคลายความสงสัย ส่งมาที่อีเมล์เดียวกันนั้น

... แล้วรอพบกับ ความฝันแห่งจินตนาการที่คุณทำ และคำตอบที่คุณคอยได้ใน Imagine Magazine ที่นี่แห่งเดียว! ...

www.imaginebangkok.com


ว่าที่นักข่าวดาวรุ่ง โลกกว้ า งคื อ บทเรี ย นบทใหญ่ ที่ ร อคอยให้ ได้ออกไปค้นหา เพื่อค้นพบ และศึกษาเรียนรู้ คือบางทรรศนะ จากบางคนที่ชวนให้ได้ขบคิดมานัก ต่อนัก จริงเท็จอย่างไรคงไม่มีใครตอบได้ดีไปกว่า การที่ออกไปค้นหาคำตอบในโลกกว้างด้วยตัวเอง ทศพร ว่องไวกลยุทธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คืออีกคนหนึ่งซึ่งกำลังจะได้ออก ไปค้นหาคำตอบของอนาคตของเธอ หลังจากทีท่ ศพร หรือ กิ๊บ คว้ารางวัล นักข่าวแห่งอนาคตดีเลิศจาก โครงการ True Vision-BBC World News Future Journalist Award 2008-2009 ที่ยังผลให้กิ๊บ ได้ไปฝึกงานที่ BBC World News ณ ประเทศอังกฤษ ในเดือนมิถุนายน 2552 นี้ แน่นอนว่ากว่าที่จะก้าวมาถึงจุดนี้ หนทางไม่ได้ ง่ายดาย และต้องใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างสูง อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของเธอ?

รักอ่าน รักเขียน

เรียนเด่น เล่นดี

“เคยมีรุ่นพี่มาบอกว่า การที่คุณเรียนเก่งอย่างเดียว มันไม่ใช่ว่าคุณจะได้งานเสมอไปนะ เรื่องกิจกรรมก็ เป็นปัจจัยสำคัญที่เขาพิจารณา แล้วมันจะเป็นส่วนที่ ทำให้คุณพัฒนาตัวเองได้ อย่างกิ๊บเองก็เคยเป็นทูต นิเทศศาสตร์ ตอนปี 2 ตอนปี 3 เป็นพิธีกรตอนรับน้อง แล้วก็ทำกิจกรรมภาค เป็นพิธกี รบ้าง ทำกิจกรรมบ้าง”

ตั้งใจให้สูง คิดให้มาก

“มหา’ลัยจะสอนให้เราคิดมากขึน้ ต้องเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง มากขึน้ เมือ่ เทียบกับมัธยม ซึง่ ส่งผลให้ความรับผิดชอบ เราก็ต้องเยอะขึ้นด้วย เพราะมันจะไม่ใช่ทำงานส่ง ก็ผ่าน แต่เราต้องมีข้อมูลเยอะพอสมควร รวมถึงวิชา ที่เรียนในมหา’ลัยมันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านสังคม เพราะฉะนั้นข้อมูลมันกว้างรอบด้านมากๆ”

ปรับปรุง! ฝึกซ้อม! พัฒนา!

“สาเหตุที่เลือกเรียนวารสารฯ อย่างแรกคือกิ๊บเป็นคน “กิ๊ บ สมั ค รโครงการนี้ ตั้ ง แต่ ต อนกิ๊ บ อยู่ ปี ส ามแล้ ว ทีช่ อบอ่าน ชอบเขียน เลยคิดว่ามันน่าจะเหมาะกับเรา แต่ไม่ได้ เราก็วางแผนว่า เราขาดอะไร ก็ปรับปรุง แล้วพอได้เข้ามาเรียนเราก็ชอบมันจริงๆ” ตรงนัน้ อย่างภาษาอังกฤษ กิ๊บก็ไปฝึกงานที่หนังสือ

พิมพ์ภาษาอังกฤษ แล้วด้วยเราไปฝึกงานมาแล้ว ก็จะ ทำให้เราพัฒนาเรื่องประเด็น เรื่องการทำข่าว แล้วอาจารย์จะสอนว่า มันไม่ใช่ว่า คุณเห็นอย่างไร ก็ฟนั ธงด้านเดียว แล้วก็สนับสนุนแต่ดา้ นนัน้ แต่ควร ชี้แจงก่อนว่า ไอ้ตรงนี้มันมีข้อดีข้อเสียยังไง แล้วคุณ เอามาประเมิน วิเคราะห์ รวมทั้งยกตัวอย่าง ซึ่งทำให้ เห็นภาพชัดเจนขึ้น”

ตั้งเป้าให้ชัด แล้วซัดเลย!

เป็นนักข่าวที่ดี

กิ๊บเชื่อในเรื่องเป้าหมายค่ะ ถ้าเกิดว่าคุณมีเป้าหมาย นี่คุณก็ต้องเซ็ตเป้าหมายของคุณไว้ จากนั้นคุณต้อง มาวิเคราะห์ว่า จะทำยังไงคุณถึงจะทำตามเป้าหมาย ของคุณได้ ถ้าเป้าหมายคือโครงการนี้ อย่างแรกเลย คุณควรเริ่มที่จะติดตามข่าวสารได้แล้ว แล้วถ้ามี โอกาสได้ฝึกงาน แล้วคุณได้เจอคนที่เขาทำงานข่าว มานาน เข้าไปคุยกับเขาเยอะๆ แล้วคุณจะได้มุมมอง อย่างทีค่ ณุ เองก็คดิ ไม่ถงึ แล้วนอกจากอ่านข่าวหนังสือ พิมพ์แล้ว คุณยังต้องอ่านหนังสือต่างๆ เพราะถ้าคุณ รู้อย่างเดียว แต่วิเคราะห์ ไม่เป็น มันก็เท่านั้นค่ะ”

“กิ๊บว่านักข่าวที่ดีต้องมีความเป็นกลาง คือคุณต้อง ปล่อยวางได้ ถ้าคุณไปโกรธไปแค้นกับสิ่งที่มันเกิด ขึ้นมากเท่าไหร่ มันก็จะทำให้คณ ุ เสียความเป็นกลาง มากเท่านัน้ อย่างทีส่ องคือ คุณต้องมีความรูเ้ ยอะมากๆ เพราะมันจะทำให้คุณไม่ถูกแหล่งข่าวหลอก และคุณ จะสามารถเอาข้อมูลไปวิเคราะห์เหตุการณ์ตา่ งๆ ได้”

ันกข่าวที่ดี ี ต้องม ลาง ก น ็ ป เ ม า ว ค ู้ ร ม า ว ค ี ม และ มากๆ เยอะ


ปอมปอมเชียร์ กระหึ่มโลก! ณ Disney World Resort...

ท่ามกลางเสียงเชียร์อันกระหึ่มของผู้คนจำนวนมาก ทุกความสนใจต่างพุ่งตรงไปยังใจกลางพื้นที่กว้าง ที่ประดับฉากหลังเป็นป้ายวงกลมที่ระบุข้อความว่า “World Cheerleading Championships” ในเสี้ยวนาที หนุ่มสาวในชุดเชียร์ลีดเดอร์อันสะดุดตาด้วยสีแดง ขาว และน้ำเงิน ก็กรูออกมาตรงกลาง ทันใดนัน้ การแสดงก็เริม่ ต้นขึน้ ซึง่ กระตุน้ ให้ผชู้ มตะโกนตอบรับกับพวกเขาว่า “Sa...Was...Dee...Thailand!” คำๆ นี้ดังกึกก้องไปทั่วในครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่การแสดงในประเภท Coed Premier ที่โชว์การต่อตัว เชียร์ลีดเดอร์ชายหญิง ซึ่งเป็นระดับที่ยากที่สุด ในขณะที่ถัดมาเพียงไม่นาน พวกเขาก็เปลี่ยนมาสวมชุดที่เป็นการผสมผสานระหว่างชุดมวยไทย กับ ฮิปฮอป สำหรับการแข่งประเภท Cheerdance Hip Hop ที่เป็นการประสานกันของสองวัฒนธรรมได้อย่าง กลมกลืน เช่นเดียวกับการแข่งขันประเภท Coed Partner Stunt ที่เหลือเพียง เชียร์ลีดเดอร์ชายร่างใหญ่ และเชียร์ลีดเดอร์หญิงร่างเล็ก ที่มาแสดงทีมเวิร์ค ในการต่อตัวอันน่าตื่นใจตลอด 1 นาทีนั้น การแสดงทัง้ หมดได้รบั เสียงปรบมือโห่รอ้ งอย่าง ยิง่ ใหญ่ ก่อนที่ในทีส่ ดุ พวกเขาจะได้กลายเป็นทีมเชียร์ ลีดเดอร์ระดับเหรียญเงินจากสองประเภทแรกในการ แข่งขันบนเวทีระดับโลก ที่ได้รับการยกย่องในฐานะ การแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกของโลกสำหรับกีฬา ประเภทนี้ พวกเขา – เชียร์ลีดเดอร์สายเลือดไทยจากรั้ว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของทีมนี้? ศราวุธ สำเนียงดี หรือ เต้ย ผู้ฝึกสอน และคนออกแบบท่าเต้น ที่พาทีมคว้ารางวัลชนะเลิศ งานซีคอนสแควร์เชียร์ลีดเดอร์แห่งประเทศไทยมา ตลอด 9 สมัย จะมาเล่าให้ฟัง

One...Two...Three...

1 “สำหรับการคิดออกแบบท่าเชียร์ลีดเดอร์นั้น สิ่งสำคัญก็คือ เรื่องของคอนเซ็ปต์ที่ทำให้การแสดง น่าดึงดูดใจ และการทำให้คนดูมีส่วนร่วมในการเชียร์ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับคนที่เป็นคนออกแบบ ท่ า เต้ น หรื อ การต่ อ ตั ว ของเชี ย ร์ ลี ด เดอร์ ที่ ต้ อ งคิ ด แล้วก็สร้างสรรค์ผลงานออกมา” 2 “เกณฑ์การเลือกคน เรามีเกณฑ์การพิจารณา แบ่งเป็น การเต้น การต่อตัว การตีลังกา แล้วก็การ สัมภาษณ์ การเต้นนี่เราก็จะดูลีลาท่าทาง ในการเต้น ความแข็งแรงคล่องตัว แล้วก็เรื่องความมั่นใจตัวเอง ส่วนเรื่องการต่อตัว กับการตีลังกา ก็จะดูเรื่องของ ความแข็งแรง พลัง จังหวะ ส่วนเรื่องการสัมภาษณ์ ก็จะดูทัศนคติว่าสามารถเข้ามาอยู่ร่วมกับทีมได้ไหม เป็นเด็กที่มีจุดมุ่งหมาย มีความตั้งใจจริงหรือเปล่า” 3 “นักกีฬาเชียร์ลีดเดอร์ท่ดี ีจะต้องมีใจรักก่อนเลย แล้วก็มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ผมรู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่ๆ ทีเ่ ข้ามานี่ เด็กรุน่ นีจ้ ะให้ความสนใจกับเรือ่ งอินเตอร์เน็ต เรื่องแชต ซึ่งมันทำให้ความตั้งใจ หรือความมุ่งมั่น อย่างเด็กสมัยก่อนนี่น้อยลงไป ทั้งที่ผมคิดว่าเด็ก รุ่นใหม่มีความสามารถเยอะขึ้น แต่ความตั้งใจกลับ ลดน้อยลง “การที่เข้ามาตรงนี้ คุณจึงต้องตั้งใจสูง และยิ่ง ตั้งใจสูง คุณก็ยิ่งเก่งเร็วมากยิ่งขึ้นครับ”

Let’s Go Bangkok University!

“พวกเขาคือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญสำหรับวงการ เชียร์ลีดเดอร์” คือ ความคิดเห็นหนึ่งของผู้ที่ได้เห็น ผลงานความสำเร็ จ ของที ม มหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพ บนเวทีระดับโลกครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ใช่ครั้ง สุดท้าย เพราะพวกเขารับรูด้ วี า่ แม้การก้าวสูค่ วามสำเร็จ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทว่ากลับยากยิ่งกว่าในการรักษา ความสำเร็จ และพัฒนาตัวเองไปสู่ระดับการยอมรับ ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ “ยิ่งเรามีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น เราก็ต้องทำให้ดี เพิ่มมากขึ้น เพราะแน่นอนว่าย่อมมีความคาดหวัง ที่สูงจากคนดูอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำให้ มาตรฐานของเราสูงมากขึ้นไปอีก” ศราวุธสรุปถึงจุด ยืนของทีมเชียร์ลีดเดอร์ที่เขาและทุกคนในทีมต่างก็ ทุ่มเทความคิด ความสามารถทั้งหมดลงไป กระทั่ง พิสูจน์ความสำเร็จจากความมุมานะมาหลากหลาย ครั้ง รวมถึงการแข่งขันคราวต่อๆ ไปจากนี้ โดยมีสักขีพยานเป็นผู้ชมที่ติดตามและจับตา มองจากทั่วโลก 45


เชื่อหรือไม่...

คนกรุงเทพฯ กินอาหารหาบเร่แผงลอย ในมูลค่าหมุนเวียนกว่า 150 ล้านบาทต่อวัน หรือ 54,750 ล้านบาทต่อปี

กิน ไปไป เรื่อเรืย่อย

อรเจ่อาะวิถี ริมท ย าง

Quick Bites: Design for Better Eating

เป็นคำถามเชิงเปิดเผยข้อมูลพร้อมเปิดตัวงาน และได้กำไรตลอด พิสจู น์ได้จากสารพัดใบไม้ทจ่ี บี ห่อ นิทรรศการ กินไปเรื่อย: เจาะวิถีอร่อยริมทาง มัด หิ้วได้หลายดีไซน์ อุปกรณ์ไล่แมลงวัน ยันป้าย Quick Bites: Design for Better Eating เชิญชวนการันตีที่เรียกลูกค้าได้ไม่แพ้รสชาติ (Street ด้วยตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจ Innovators) เมือ่ เปิดประตูหอ้ งนิทรรศการ 2 ศูนย์สร้างสรรค์ ไม่วา่ จะเป็นแนวทางสูแ้ ล้วรวย ทีม่ ตี วั อย่างหลาย งานออกแบบ หรือ TCDC ชมไปเรือ่ ยก็ตน่ื ใจหนักขึน้ ตำนานอย่างทีร่ ๆู้ กัน และที่ไม่รแู้ ต่ถา้ ดูให้ดๆี ตามถนน ไปอีก ทั้งที่จริงๆ อาหารรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งไทย เรื่อยไปถึงเทศ ก็มีให้ประจักษ์และกระตุ้นใจ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในบรรยากาศแบบไทยๆ ให้ใครต่อใครที่อิ่มแล้วมีแรงฮึดสู้ต่อ นิทรรศการนี้ มี ทั่วประเทศ แต่นิทรรศการนี้ นำสิ่งที่คุ้นเคยมาสะกิด ตัวอย่างและกลยุทธ์ของกิจการข้างทางหลายเจ้ามา ต่อมพิศวงให้เห็นกันจะจะ จนอาจรู้สึกว่าเรามองข้าม สำแดงให้ดู ทัง้ ชายสีบ่ ะหมีเ่ กีย๊ ว แดงแหนมเนือง หรือ ความสร้างสรรค์ ความมหัศจรรย์ และเอกลักษณ์ แม้แต่สหกรณ์ดับบ้าวัลล่า แห่งมุมไบ อินเดีย (Sideเฉพาะของวิถีและวิวัฒนาการของการขายอาหาร walk Millionaires) ข้างทางไปได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่องของเมืองกินสะดวก ของกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่อื่นๆ ในประเทศไทย ทีม่ อี ะไรให้กนิ กันแบบครบครัน 24 ชัว่ โมง สะดวกดาย แต่หลากหลาย โยงใยสายสัมพันธ์ในครอบครัวอย่าง ลึกซึ้ง เนิ่นนาน ผ่านภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวไม่ ยาวแต่ได้ใจความ (The City as Buffet) ไม่ว่าจะเป็นความเจ้าคิดเจ้าประดิษฐ์ของพ่อค้า แม่คา้ ทีไ่ ม่ยอ่ ท้อต่อความปัจจุบนั ทันด่วนและวิกฤตใดๆ เพราะพวกเขาพลิกให้เป็นโอกาสได้เสมอแถมยังทันสมัย


ส ม า ต น ิ ก ิต ว ี ช บ ั ด ะ ร ยก ร า ก ศ ร ร นิท ้ อ ม ู ล ค ร บ ร ส ตีแผ่ข ธุรกิจบาทวิถี สดจาก หรือไม่วา่ จะเป็นวิวฒ ั นาการของวิถอี ร่อยริมทาง แบบทั่วโลก งานนี้เขาก็ขุดค้นเจาะลึกและนำมาร้อย เรียงให้เห็นทั้งที่มาที่ไปและที่เกี่ยวพันกับวิถีริมทาง ในไทย อาทิกระติกเก็บสุญญากาศกับกระติกเก็บ ข้าวเหนียว ปิ่นโตจีน/เบนโตะญี่ปุ่นกับปิ่นโตไทย และอื่นๆ อีกมากมายที่เน้นย้ำว่าคุณประโยชน์ของ การประดิ ษ ฐ์ แ บบมี ดี ไ ซน์ แ ละได้ ป ระโยชน์ ยั ง วิวัฒนาการได้แบบไม่รู้จบ (Global Takeaway Icons And Us)ฯลฯ และแน่นอน การใช้ชวี ติ อยูใ่ นเมืองทีม่ อี ะไรล่อตา ล่อใจให้กนิ ไม่รจู้ บอยูเ่ รือ่ ยๆ ก็ใช่วา่ จะให้ประโยชน์แค่ ความอิม่ ท้อง ถ้าเรารูจ้ กั พินจิ พิเคราะห์และสร้างสรรค์

ั่ง

แบบไม่รู้จบจากสิ่งรอบๆ ตัว เรียกว่าท้องย่อยแล้ว สมองก็ไม่ลมื ย่อยและแยกแยะแกะผลึกให้กอ่ เกิดสิง่ ของ แนวทาง หรือแนวคิดใหม่ๆ ได้ อย่างที่นิทรรศการ กินไปเรือ่ ย: เจาะวิถอี ร่อยริมทาง เขาสะท้อนให้เห็นอยู่ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ สิบโมงครึ่งถึง สามทุ่ม ตั้งแต่ 1 เมษา - 7 มิถุนาที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ ใครพลาดไปเสียดายแย่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและอัพเดทนิทรรศการ ครั้งต่อๆ ไปได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 02 664 8448 หรือ www.tcdc.or.th





ที่ ไม่ ร้อน!

Yuree Kensaku วาดเส้น ให้โลกเป็น

ยุรี เกนสาคู ศิลปินสาวลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น จากรั้วศิลปกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ ที่ก้าวสู่ความเป็นศิลปินระดับอินเตอร์ และเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงเพนท์ติ้ง มี ผลงานออก มาอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปีและสะท้อนแง่คิดของเธอในหลากหลายแง่มุม แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่เธอจะถ่ายทอดความนึกคิดของเธอผ่านลายเส้นการ์ตูน ท่าม กลางสถานการณ์ที่ภาวะโลกร้อนจนทำให้ใครหลายคนนอนนิ่งดูดายไม่ได้... 57


ลายเส้น ที่เคยปรากฏบน แพคเกจ S&P

<

<

< กลุ่มภาพวาด SELF PORTRAIT ของยุรี

“การ์ตูนที่ยุรีวาดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พอดียุรี ไม่เคยเขียนการ์ตูน พอจะเขียนก็เลยอยากให้มันมี ความหมายอะไรหน่อย แล้วรู้สึกว่าสิ่งพิมพ์มันเป็น สื่อหนึ่งที่มีกระบวนการผลิตเยอะ มันก็เชื่อมโยงกับ สิง่ แวดล้อม เลยใส่เรือ่ งเกีย่ วกับภาวะรอบๆตัวคือไม่ได้ ต้องการให้คนอ่านแล้วรูส้ กึ สะท้อนอะไร เราแค่รสู้ กึ ว่า เราอยากเป็นส่วนหนึ่งที่พูดถึงมันเท่านั้นเอง แต่ถ้า ทำได้ก็ดี คือเราพูดมันก็ไม่ได้มีผลมากหรอก คนที่ทำ ก็คือคนที่รู้สึกด้วยตัวเอง เลยคิดว่าไม่ว่าจะรณรงค์

ยังไงก็อาจจะมีส่วนให้คนคิดได้นิดนึงน่ะ หลักๆ แล้ว ขึ้นอยู่กับตัวเขามากกว่า ก็เลยไม่ได้คิดว่าจะต้องพูด แบบหนักๆ หรือตรงๆ “คิดเยอะเหมือนกันเพราะไม่เคยทำการ์ตนู ก็เลย อยากลองทำ ยากเหมือนกัน เพราะปกติทำเพนท์อาจ จะจบในชิน้ เดียว แต่การ์ตนู มันต้องมีพลิกซ้ายพลิกขวา เป็นมุมมองต่อเนื่องกันให้ภาพต่อกัน ดูต้องรู้เรื่อง ทั้งหมด ก็เหนื่อยนิดนึง จะขึ้นยังไง จะจบยังไง จะน่าเบื่อมั้ย จะยาวไปรึเปล่า เวลาทำงานยุรีจะไม่ อยากให้มนั เยิน่ เย้อ คิดเยอะค่ะเป็นเดือนเลย หาข้อมูล วาดอะไรยังไง หารูป อ่านหนังสือเกี่ยวกับโลกร้อน ดูดีวีดี ดูรูปหมีขาวในอินเทอร์เน็ต ดูแอคติ้ง ว่าจะ วาดยังไง ลองเสิรช์ ดูวา่ มีใครทำการ์ตนู โลกร้อนจะเป็น ยังไง ยาก...ต้องหาข้อมูล ถ้าเป็นวาดรูปข้อมูลมันจะ มาจากชีวิตเรา มันอาจจะไม่ได้ยากในกระบวนการ คิดมาก ก็เหนื่อยค่ะเรื่องนี้ แต่คิดว่าถ้าทำไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นธรรมชาติมากขึ้น” อีกหนึง่ เสียงเล็กๆ จากศิลปินไทยทีเ่ ข้าใจปัญหา โลกร้อน ถ้าชอบและสนุกกับการ์ตูนเรื่องนี้ของเธอ ขอได้โปรดติดตามผลงานของเธอต่อไป

สิ่งที่ ควรรู้ เกี่ยวกับ ยุรี เกนสาคู ลายเส้นน่ารักๆ ของยุรีเคยอยู่บน แพ็คเกจสินค้าของ S&P มาแล้ว สายเลือดญี่ปุ่นที่มีอยู่ ในตัวยุรีครึ่งหนึ่งนั้น ได้รับมาจากคุณพ่อ ผลงานครั้งแรก และครั้งสำคัญที่เปิดตัว ยุรีต่อวงการศิลปะคือ “ที่รักหักเหลี่ยมโหด” ในโครงการ Brand New ครั้งที่ 1 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพ

ยุรีเริ่มแสดงงานเดี่ยว ครั้งแรกเมื่อปี 2003 จัด แสดงงานมาแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง และกำลังจะมีครั้งที่ 8 ณ 100 ต้นสนแกลอรี่ ในเร็ววันนี้

นิทรรศการ Bubble Tea ณ ประเทศไต้หวัน เป็นการรวมงานเดี่ยวของยุรี ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา และ เป็นงานแรกที่ยุรีขาย ผลงานได้สูงสุด ถึง 35 ชิ้น 59


Calendar 16May ‘til 14Jun

BU Door of a Beating Heart ก๊อก ก๊อก ก๊อก 23 พฤษภาคม– 20 มิถุนายน 2552 นี้ ขอเชิญร่วมเคาะ “ประตูแห่งหัวใจที่กำลังเต้น” กับงาน นิทรรศการงานจิตรกรรมในชื่อเดียวกัน ของ ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ ที่คัดเลือกจากผลงานระหว่างปี ค.ศ. 2007 - 2009 โดยมี แนวคิดหลักเป็นการแสวงหาคุณค่าอุดมคติ เกี่ยวกับความรัก การโหยหาความรักและคติต่างๆ ของความเป็นเพศหญิงผ่าน การใช้ ภาพเปลื อ ยของร่ า งกายและรู ป ทรงอั น สมบู ร ณ์ อิ่ ม เอิบของผู้หญิง ที่อาจมองได้ว่าเป็นทั้งร่างกายมนุษย์และเป็น ประติมากรรม นิทรรศการจิตรกรรม “ประตูแห่งหัวใจที่กำลังเต้น” จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2552 เวลา 18.00 น. ณ อาคาร 7 หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท สนใจข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทรศัพท์:0-2350-3626 โทรสาร: 0-2350-3679 อีเมล์:buggallery@bu.ac.th, bugallery@gmail.com คนรักงานศิลปะที่มีแนวคิดลึกซึ้งไม่ควรพลาด!

03 60

โครงการเปิดโลกวรรณกรรม เช่นเดียวกับทีก่ รุงเทพยังไม่สน้ิ คนดี หนังสือดีๆ ก็ยอ่ มยังมีมา ให้คนรักการอ่านทัง้ หลายได้ดม่ื ด่ำไปกับโลกแห่งตัวอักษรใน โครงการเปิดโลกวรรณกรรม ที่ หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์: 0-2902-0299 ต่อ 2700 BU Science-Tech Open House สำหรับวัยรุ่นหนุ่มสาวยุคไอทีคงไม่มีใครไม่รู้จัก Blog แต่แค่ รู้จักและพอใช้งานเป็นอาจไม่พอซะแล้วในยุคนี้ 8 สิงหาคมนี้ คนที่อยากรู้จัก Blog หรืออยากทำ Blog ที่เท่ โดนใจแบบไม่เหมือนใครด้วยตัวเอง อย่าพลาดงาน BU Science-Tech Open House หัวข้อ “การสร้าง Blog ขั้นเทพ” เวลา 9.00 - 16.00 น. ที่ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยนำ้ไท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์: 0-2350-3626, 0-2350-3500 ต่อ 1690 โทรสาร: 0-2350-3679 ถ้าไม่อยากเอ๊าต์ จดไว้ในตารางชีวิตซะ

7May ‘til 30Jun

5-15 June

BKK

นิทรรศการแสดงภาพพิมพ์และวาดเส้นนานาชาติ ครั้งที่ 2 The 2nd Bangkok Triennale International Print and Drawing Exhibition ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน เวลา 10.00 - 21.00 น. (ปิดวันจันทร์) ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน กรุงเทพฯ สำหรับคองานภาพพิมพ์และภาพวาด ก็ไปร่วมชืน่ ชมกันได้ กับกิจกรรมเสริมของ นิทรรศการแสดงภาพพิมพ์และวาดเส้นนานาชาติ ครั้งที่ 2 โดยมี น้ำส้ม สุภานันท์ และ ดารณี โสรส เป็นคนให้ความรู้ สนใจไปกันได้ทกุ วันเสาร์ และ อาทิตย์ตง้ั แต่ กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนมิถนุ ายนเลย โทรไปไปสอบถามข้อมูล เพิม่ เติมได้ท่ี 0-2214-6630-8 แฟกซ์ 0-2214-6639 หรือคลิก www.bacc.or.th นิทรรศการภาพถ่าย “เห็น II” 7 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2552 อังคาร-เสาร์ 10.30 - 19.00 น. อาทิตย์ 10.30 - 17.30 น. (ปิดวันจันทร์) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล (ถนนบรมราชชนนี) ครั้งที่ 2 กันแล้ว สำหรับกับนิทรรศการภาพถ่ายโดย 11 ศิลปินชื่อเสียงระดับ แถวหน้า ที่ถ่ายทอดผลงานผ่านมุมมองความคิด “การมองเห็น” จากหลังเลนส์ของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น กนก สุริยสัตย์, ดาว วาสิกศิริ, ถาวร โกอุดมวิทย์, นภดล โชตะสิริ, นิติกร กรัยวิเชียร, อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง, อลงกรณ์ ศรีประเสริฐ, อานนท์ ฮุนตระกูล, **Ralph Tooten, Steven Pettifor และ ศิลปินกิตติมศักดิ์ผู้ล่วงลับ สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ที่คนรักงานศิลปะแขนง นี้ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล โทร. 0-2422-2092, 084-772-2887 แฟกซ์ 0-2422-2091 วันดับฝัน...End your dream : new play by 8x8 Theatre 5-6-7-8 และ 12-13-14-15 มิถนุ ายน 2552 ที่ Democrazy Theatre Studio ถึงฝนจะตก แดดจะออก สลับกันไปจนชีวติ แปลกๆ ไปบ้าง แต่กม็ วี ธิ งี า่ ยๆ ทีจ่ ะทำ ให้คณ ุ ภาพชีวติ ของเราๆ รืน่ รมย์ขน้ึ ได้ กับละครเวทีคณ ุ ภาพของความรักและความ ฝัน 1 เรือ่ ง 3 version กับการตีความทีแ่ ตกต่าง ของนักแสดงทีก่ ารันตีคณ ุ ภาพโดย ทีมแปดคูณแปด 6 คน ชายสาม หญิงสาม สลับกันแสดงเป็นตัวเอกรอบละคู่ ภายใต้ การกำกับของ นิกร แซ่ตง้ั พบกับ “วันดับฝัน” ได้ในวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ ที่ 5-6-7-8 และ 12-13-14-15 มิถนุ ายน 2552 นี้ จองบัตร โทร 081-441-5718, 089-762-5521 รายละเอียดเพิม่ เติม www.siamdemocrazy.com และ www.theatre8x8.com

03 61


GamEfrom AlbertEinstein เกมลับสมองของไอน์สไตน์ ไหนๆ Imagine ฉบับคำรบที่สองนี้ก็มีการพูดคุยกับสมองของ Albert Einstein นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งยงเจ้าของ รางวัลโนเบลและทฤษฎีสัมพัทธภาพกันไปแล้ว เราก็เลยได้ไอเดียว่า นอกจากหลากหลายทฤษฎีฟิสิกส์แล้ว ว่ากันว่า ไอน์สไตน์ ยังได้ตั้งโจทย์ปัญหาหนึ่งขึ้น ซึ่งท้าทายจินตนาการเป็นที่ยิ่ง หลายคนอาจจะเคย ผ่านตากันบ้างแล้ว แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะปัญหาจริงๆ ที่ต้องขบให้แตกในลำดับถัดจากนี้คือ ปัญหาที่ว่า

กันว่ามีคนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นในโลกที่จะตอบได้ถูกต้อง โจทย์มหาหินนีม้ รี ายละเอียดคร่าวๆ ว่า มีบา้ นอยู่ 5 หลัง ในแต่ละหลังมีสตี า่ งกัน แต่ละบ้านมีคนอยู่ 1 คน ต่างกัน 5 ชนชาติ ทุกคนจะดืม่ น้ำทีแ่ ตกต่างกัน สูบบุหรีย่ ห่ี อ้ แตกต่างกัน และเลีย้ งสัตว์ตา่ งชนิดกัน ดังนี้ 1. คนที่เป็นชาวอังกฤษอยู่บ้านสีแดง 10. คนที่สูบบุหรี่ยี่ห้อ Marlboro 2. คนที่เป็นชาวสวีเดนเลี้ยงหมา อยู่ติดกับคนเลี้ยงแมว 3. คนที่เป็นชาวเดนมาร์กดื่มชา 11. คนที่เลี้ยงหนูแฮมเตอร์อยู่ติดกับคน 4. บ้านสีเขียวอยู่ทางซ้ายของบ้านสีขาว สูบบุหรี่ยี่ห้อ Dunhill 5. เจ้าของบ้านสีเขียวดื่มกาแฟ 12. คนที่สูบบุหรี่ยี่ห้อ Kent ดื่มเบียร์ 6. คนที่สูบบุหรี่ยี่ห้อ Camel เป็นคนเลี้ยงนก 13. คนที่เป็นชาวเยอรมัน สูบบุหรี่ยี่ห้อ Vogue 7. เจ้าของบ้านสีเหลืองสูบบุหรี่ยี่ห้อ Dunhill 14. คนที่เป็นชาวนอร์เวย์อยู่ติดกับบ้านสีฟ้า 8. คนที่อยู่บ้านหลังกลางดื่มนม 15. คนที่สูบบุหรี่ยี่ห้อ Marlboro 9. คนที่เป็นชาวนอร์เวย์อยู่บ้านหลังแรก เป็นเพื่อนกับคนดื่มน้ำส้ม

คำถามก็คือ....... ใครเป็นคนเลี้ยงปลา?

มาลองทดสอบกันว่า สุดท้ายแล้วเราจะได้อยู่ในกลุ่มคนเก่งใน 2 เปอร์เซ็นต์นั้นหรือเปล่า ว่าแล้วก็ลองกรอกข้อมูลลงในตารางตัวช่วยด้านล่างนี้ แล้วส่งคำตอบมาที่ imaginebangkok@gmail.com

คนแรกที่ตอบได้ถูกต้องครบถ้วนรับไปเลยเงินรางวัล 3,000 บาท!

ชนชาติ

สี

สัตว์เลี้ยง เครื่องดื่ม

บุหรี่

1

1

อังกฤษ

ชนชาติ

2

สวีเดน

สี

3

เดนมาร์ก

สัตว์เลี้ยง

4

เยอรมันนี

เครื่องดื่ม

5

นอร์เวย์

บุหรี่

2

3

4

5


03


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.