ประคับประคอง: ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ

Page 1

ประคับประคอง: ประสบการณการดูแลผูปวยดวยหัวใจ

สนับสนุนโดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.)

ประคับประคอง ประสบการณก ารดูแลผูปว ยดว ยหัว ใจ


ประคับประคอง:

ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ


ประคับประคอง:

ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ บรรณาธิการ ศรินธร รัตน์เจริญขจร ผู้เขียน เกื้อจิตร แขรัมย์ พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ อุบล หาญฤทธิ์ พระปลัดอานนท์ กนฺตวีโร พัชร์ณภัค อังกลมเกลียว พระ ก.สามตฺถิโก มาลา บุตรศรี พระสังฆรักษ์รักษ์ สิริเมธี พิสูจน์อักษร เพ็รชลดา ซึ้งจิตสิริโรจน์ ภาพประกอบ เอกภพ สิทธิวรรณธนะ ออกแบบปกและรูปเล่ม วทัญญู พรอัมรา จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2559 จัดพิมพ์โดย โครงการขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญาผ่านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เครือข่ายพุทธิกา 45/4 ซ.อรุณอัมรินทร์ 39 ถ.อรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ 02-886-0863, 02-882-4387, 086-300-5458 โทรสาร 02-882-5043 เว็บไซต์ www.budnet.org สนับสนุนโดย สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ถ้อยคำ�นำ�เรื่อง ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนความตายนั้นเป็น เรือ่ งธรรมชาติ เมือ่ เจ็บป่วยทัง้ ร่างกายและจิตใจย่อมต้องการ การเยียวยา และเมื่อความตายใกล้เข้ามาชีวิตต้องการการ เตรียมพร้อม ทว่าทั้งความเจ็บป่วยและความตาย ทุกชีวิต ต้องการก�ำลังใจ และทุกชีวิตต้องใช้ใจประคับประคอง เพื่อ ส่งต่อให้ถึงปลายทาง ส�ำหรับบุคลากรสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นท�ำงานดูแลแบบ ประคับประคอง (palliative care) อาจไม่แน่ใจว่าจะต้องท�ำ อย่างไร จะพูดอะไรกับผูป้ ว่ ย หรือจะคุยอย่างไรกับญาติผปู้ ว่ ย จ�ำเป็นต้องศึกษาธรรมะก่อนหรือไม่ถ้าจะท�ำงานนี้ เรื่องราว ประสบการณ์ต่อไปนี้จะช่วยตอบค�ำถามได้บ้างไม่มากก็น้อย การสนับสนุนให้พระสงฆ์รว่ มมีบทบาทในการดูแลผูป้ ว่ ย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ท่านจะเป็นผู้น้อมน�ำหลักธรรมมาใช้ คลายปมของชีวติ และเตรียมรับมือกับความตายได้อย่างลึกซึง้ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยทั้ง 17 เรื่อง ถูกถ่ายทอดผ่าน พยาบาลและพระสงฆ์ทมี่ ใี จเป็นตัวตัง้ ในการท�ำงาน หลายเรือ่ ง สะท้อนฉากชีวิตของผู้คนที่แตกต่าง หลายเรื่องที่ดูเหมือน


ยุ่งยากแต่ก็มีทางออก และบางเรื่องท�ำให้ผู้ดูแลได้เรียนรู้แง่ มุมที่สะท้อนชีวิตตนเอง หวังใจอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะเปิดใจอ่านเรื่องราวเหล่านี้ด้วย หัวใจ บรรณาธิการ ฤดูฝน 2559


สารบัญ บนทางสายเปลี่ยว ธรรมะโอสถ กลัวไม่ได้บอกลา ธรรมะไม่ใช่สูตรส�ำเร็จ ธรรมสังเวช ต้นมะม่วง ค�ำขอสุดท้าย กลับบ้าน จากไปอย่างสงบ ลืมตา...วาระสุดท้าย ครอบครัวเดียวกัน ดูแลฉันท์มิตร พระภิกษุเยี่ยมโยม พบรักหน้าเมรุ เจ้ากรรมนายเวร ยื้อ รู้สึกผิด หรือ ส�ำนึกผิด

1 9 15 19 23 31 37 43 49 55 59 65 69 73 77 81 85



บนทางสายเปลี่ยว*

อุบล หาญฤทธิ์ โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่

ฉันพบพุธและพีอ่ ไุ รครัง้ แรกในวันทีอ่ ากาศร้อนอบอ้าว พุธ ชายหนุม่ รูปร่างผอมสูง ผิวคล�ำ้ ท่าทางอ่อนระโหยโรยแรง และ พี่อุไรพี่สาวของเขา ทั้งสองมาขอค�ำปรึกษาเรื่องการดูแลคนไข้ ด้วยท่าทีเกรงอกเกรงใจ เพราะเป็นเวลาใกล้เทีย่ ง ตอนนัน้ แม้วา่ ท้องของฉันจะร้องจ๊อกๆ ส่งสัญญาณว่าหิวแล้วแต่ก็ตัดสินใจ นั่งลง พร้อมทั้งยิ้มให้ด้วยความเต็มใจ ท่ามกลางแสงแดดที่ แผดจ้าอยู่ภายนอกฉันได้รับรู้เรื่องราวของครอบครัวนี้ พุธเคยท�ำงานเป็นไกด์ที่กรุงเทพ ลาออกจากงานเมื่อพบ ว่าป่วยและมาอาศัยอยู่กับพี่อุไรที่เชียงใหม่ ปกติรักษากับ 1


โรงพยาบาลเอกชนในตัวเมือง ช่วงนีห้ มอให้ยามาฉีดต่อทีอ่ นามัย ใกล้บา้ น พีอ่ ไุ รไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบตั ติ วั อย่างไรบ้าง และต้อง ดูแลอะไรเป็นพิเศษ เมื่อฉันถามถึงโรคประจ�ำตัว พุธเหลือบ มองหน้าพี่สาวด้วยท่าทางอึดอัดและเอ่ยกับฉันเบาๆ ว่า “ผม ติดเชื้อเอดส์ครับ กลัวว่าคนที่ดูแลเค้าจะติดเชื้อไปด้วย” ฉัน จึงทบทวนและสร้างความมัน่ ใจให้พธุ และพีอ่ ไุ รเรือ่ งการปฏิบตั ิ ตัวและการดูแล เราคุยกันเกือบชัว่ โมงท�ำให้รวู้ า่ พุธเคยมีภรรยา และมีลูกสาว 1 คน อายุประมาณ 17 ปี หลังเลิกรากัน ลูกสาวไปอยู่กับภรรยาที่โคราช ส่วนพุธยังใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพ เมื่อตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อ เอช ไอ วี จึงลาออก ใช้เงินกิน เที่ยวจนหมดและกลับมาขออยู่กับพี่อุไร หลังจากนั้นเรื่องของ พุธก็เลือนๆ ไป ต่อมาบ่ายวันหนึง่ ฉันก�ำลังเดินลงมาจากสถานีอนามัยเพือ่ ไปประชุมที่โรงพยาบาลตอนบ่ายสองโมง ฉันได้พบพี่อุไรอีก ครั้ง คราวนี้พี่อุไรมีท่าทางร้อนรน หลังทักทายกันพี่อุไรถาม พร้อมนำ�้ ตาคลอเบ้า “คุณอุบล จะไปไหนเหรอคะพีม่ เี รือ่ งอยาก จะขอความช่วยเหลือหน่อยค่ะ” ฉันมองเห็นแววแห่งความทุกข์ จับอยูใ่ นดวงตาคูน่ นั้ สีหน้าหม่นหมอง ฉันเหลือบดูนาฬิกา ยัง พอมีเวลา จึงตัดสินใจเดินกลับขึ้นไปบนสถานีอนามัย เพื่อ พูดคุย ฉันจับมือพี่อุไรพร้อมถามว่า “มีอะไรจะให้บลช่วยได้ บ้างคะ” ประโยคยังไม่ทันจบพี่อุไรก็น�้ำตาไหลพราก เอ่ยด้วย น�้ำเสียงเจือสะอื้น “คุณอุบลจ�ำน้องชายพี่ได้หรือเปล่าคะ ตอน 2


นีพ้ ธุ ไม่ยอมท�ำอะไรเลย ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง ไม่ยอมทานยา ไม่ยอมลุกจากที่นอน ถ่ายเลอะเทอะไปหมด พ่อที่ดูแลอยู่ก็ดู ไม่ไหว ไม่รู้จะท�ำยังไงดี นอนอยู่อย่างนี้ 3 วันแล้ว พี่กลัว พี่ หนักใจ พีไ่ ม่รจู้ ะท�ำยังไงดี ช่วยพีห่ น่อยเถอะค่ะ” เธอบีบมือฉัน ไว้แน่น พร้อมมองหน้าด้วยสายตาวิงวอน ฉันตัดสินใจไปประชุม ช้าหน่อย และบอกให้พี่อุไรขับรถน�ำทางไป ฉันยังจ�ำสภาพของพุธในวันนัน้ ได้ตดิ ตา ชายหนุม่ ผอมหนัง หุ้มกระดูก ตาลึกโหล นอนแบ็บอยู่บนที่นอน กลิ่นปัสสาวะ อุจจาระคละคลุง้ ฉันเดินเข้าไปนัง่ ข้างๆ จับมือพุธพร้อมเอ่ยทัก พุธส่ายหน้าช้าๆ และพูดเบาๆ “ผมไม่ไหวแล้วครับพี่” ฉันกับ พ่อของพุธจึงช่วยกันอาบน�้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า เครื่องนุ่ง ห่ม และเครือ่ งนอนใหม่ให้ แต่ค�ำพูดของพุธยังคงแหบพร่า “ผม ท้อ ผมสิน้ หวัง ไม่อยากจะต่อสู้ ไม่อยากจะท�ำอะไรอีกแล้ว ไม่ อยากเป็นภาระของใครๆ” เลยให้ก�ำลังใจไปว่า “อย่าเพิง่ สิน้ หวัง นะ อย่างน้อยทีส่ ดุ พ่อของพุธก็ยงั เป็นห่วงและดูแลพุธอยู่ ถ้าพุธ ไม่อยากให้พอ่ ล�ำบาก พุธก็ตอ้ งดูแลตัวเองด้วย ถ้าพุธแข็งแรงดี พ่อจะได้ไม่เหนื่อยมาก” พุธมองหน้าฉันแล้วน�้ำตาไหล หลังจากนั้นได้แยกไปคุยกับครอบครัวของพุธ คือพี่อุไร พ่อ และสามีของพี่อุไรซึ่งเป็นชาวอังกฤษ นอกจากคุยกันเรื่อง โรค การป้องกันตัวเองและการดูแลแล้ว ทุกคนได้ปรึกษาหารือ กันว่าหากพุธอาการไม่ดขี นึ้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และทานอะไร ไม่ได้จริงๆ จะพาไปโรงพยาบาล “ขอบคุณมากนะคะ ทีช่ ว่ ยให้ 3


ครอบครัวเราได้มานั่งคุยกัน เราละเลยการพูดคุย การรับฟัง อย่างใส่ใจซึ่งกันและกัน เราไม่เคยคุยกันอย่างนี้นานแล้ว ต่าง คนต่างเครียด ต่างคนต่างกลัว ต่างคนต่างคิด วันนี้พี่โล่งใจขึ้น ตัง้ เยอะ แล้วมาเยีย่ มเราอีกนะคะ” พีอ่ ไุ รขอบคุณแล้วขอบคุณ อีกเมื่อฉันเอ่ยลา ในที่สุด พี่อุไรตัดสินใจพาพุธไปโรงพยาบาล พุธพักอยู่หอ ผู้ป่วยสามัญ นอนเตียงหมายเลข 5 ซึ่งอยู่ในล็อคที่หนึ่งด้าน ในสุดของตึก มีพธุ นอนอยูเ่ พียงล�ำพัง “ท�ำไมถึงให้มานอนตรงนี้ คนเดียวล่ะครับ นอนตรงโน้นไม่ได้เหรอครับ ใกล้พยาบาลด้วย มีคนไข้คนอืน่ ๆ อยูด่ ว้ ยจะได้มเี พือ่ นคุย อยูต่ รงนีเ้ หงา จะเรียก หาใครก็ล�ำบาก มันมีฉาก มีเตียงกั้นไปหมด เจ้าหน้าที่ก็ ไม่ค่อยมีใครเดินมาทางนี้ เวลาผมเรียก เค้าไม่ค่อยได้ยินครับ ผมกลัว” นำ�้ เสียงบ่งบอกถึงความหวาดหวัน่ ว้าเหว่ แต่อย่างไร

4


พุธคงต้องนอนตรงนี้ เพราะพีอ่ ไุ รถามพยาบาลทีเ่ คาน์เตอร์แล้ว พบว่าด้านนี้จัดไว้ส�ำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ ฉันไปเยี่ยมพุธสม�่ำเสมอ จนครั้งหนึ่งขณะพี่อุไรไม่อยู่ พุธ พูดเบาๆ ขึ้นว่า “พี่หมอครับ ผมอยากพบลูก พี่หมอช่วยพูด กับพีส่ าวผมหน่อย ผมไม่กล้าคุยกับพีอ่ ไุ ร กลัวเขาไม่พอใจ ผม คิดว่า เวลาของผมอาจจะเหลือไม่มากแล้ว” ฉันรับปากและบีบ มือพุธเบาๆ เพื่อให้ก�ำลังใจ แต่เมื่อปรึกษาพี่อุไรก็พบว่า “พี่ไม่ ชอบหลานสาวคนนี้เลย เรียนก็ยังไม่จบ รีบมีแฟน” นี่เองคง เป็นสาเหตุให้พุธไม่กล้าพูดเรื่องนี้กับพี่สาวตนเอง ฉันคิดว่าถึง ตอนนี้การช่วยให้ปลดปล่อยความรู้สึกผิดบางอย่างที่เกาะกุม จิตใจ และความปรารถนาที่จะได้พบใครบางคนโดยเฉพาะคน ที่ตนรัก หรือคนที่ปรารถนาจะขออโหสิกรรม คงจะเป็นสิ่งที่ เราจ�ำเป็นต้องรีบท�ำอย่างเร่งด่วน เพื่อจะได้บรรเทาความทุกข์ ที่อยู่ในใจของเขาได้บ้าง จึงบอกพี่อุไรว่า “นึกว่าเห็นแก่พุธดี ไหมคะ เขาอาจจะอยากคุยอะไรกับลูกสาวก็ได้ เผือ่ ว่าจะท�ำให้ สบายใจขึ้น” ในที่สุดพี่อุไรก็ตัดสินใจโทรหาลูกสาวและอดีตภรรยาของ พุธ มิ้นลูกสาว และแจ่มอดีตภรรยาของพุธเดินทางมาถึงใน บ่ายของวันถัดมา พีอ่ ไุ รโทรบอกให้ฉนั รูแ้ ละนัดกันว่าจะไปเยีย่ ม พุธ เย็นนัน้ พุธดูออ่ นล้า แต่สายตาเปล่งประกายแห่งความยินดี ภาพวันนั้นทุกคนยืนอยู่ข้างๆ เตียง จับมือของพุธ “พุธ ตอนนี้ คนที่พุธอยากพบอยู่ที่นี่หมดแล้ว เราเป็นก�ำลังใจให้พุธ ไม่ได้ 5


เกลียดพุธนะ ถึงพี่จะเคยไม่พอใจ พูดไม่ดีกับน้อง แต่พี่ก็รัก น้อง เธอเป็นน้องของพี่นะ” พี่อุไรพูดพร้อมจับมือของพุธไป แนบแก้ม และถ้อยค�ำต่างๆ จากรอบเตียงก็พร่างพรู... “พ่อจ๋า มิ้นรักพ่อ พ่อไม่ต้องเป็นห่วงมิ้นนะ พ่อรักษาตัวให้หาย แล้ว เราจะไปอยู่ด้วยกันนะพ่อนะ” มิ้น น�้ำเสียงสั่นเครือ ก้มลงไป กอดพ่อ พร้อมกับซ่อนรอยน�้ำตาไว้ไม่ให้เห็น “แจ่ม ขอโทษ ถ้าสิ่งไหนที่แจ่มเคยท�ำไม่ดีกับพุธไว้” แจ่มเอ่ยด้วยอาการกลั้น สะอื้น แล้วพุธก็พึมพ�ำถึงความต้องการราวกับจะรู้ว่าเป็นวาระ สุดท้าย “พี่ครับ ผมอยากกลับบ้าน ให้ผมกลับไปอยู่ที่บ้านได้ ไหม อยู่ที่นี่เหงาเหลือเกิน น่ากลัว ไม่อบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้าน” พี่อุไรจึงเดินไปถามพยาบาลแต่พบว่าไม่สามารถกลับได้ทันที เพราะหมอไม่อยู่ ถ้าจะน�ำคนไข้กลับญาติต้องเซ็นเอกสารและ โรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบหากเกิดอะไรขึ้น พี่อุไรพยายาม ต่อรองขออยู่เฝ้าไข้ เพื่อบรรเทาความหวาดกลัวกังวลของน้อง ชาย แต่ก็ไม่ส�ำเร็จเช่นเดิมเพราะตึกสามัญญาติเฝ้าไม่ได้ และ ไม่นานเสียงเจ้าหน้าที่ก็ดังมาแต่ไกลว่าหมดเวลาเยี่ยมแล้ว มองออกไปเบือ้ งนอก พระอาทิตย์ก�ำลังจะหมดแสง ความ มืดโรยตัวเข้ามาอย่างช้าๆ ก่อนทีร่ งั สีแห่งแสงอาทิตย์ล�ำสุดท้าย ก�ำลังจะลาจาก เราเดินออกจากตึกอย่างเงียบๆ ด้วยความรูส้ กึ หมองหม่น หดหู่ ทิ้งพุธไว้ตามล�ำพัง แววตาสุดท้ายที่เขามอง มาช่างเศร้าสร้อย อ้างว้าง แกมตัดพ้อต่อว่า ท้องฟ้าภายนอก 6


มืดมิด แต่ความรู้สึกภายในจิตใจของเราดูเหมือนจะมืดมนยิ่ง กว่า คืนนัน้ ประมาณสามทุม่ ฉันได้รบั โทรศัพท์จากพีอ่ ไุ ร “ทาง โรงพยาบาลโทรมาบอกว่า พุธเสียแล้วเมื่อตอนสองทุ่ม” ตลอดเส้นทางที่น�ำพาพุธมาพบกับฉัน บนเส้นทางนั้นฉัน ได้รว่ มกับครอบครัวของพุธช่วยกัน “ประคับประคอง” แสงแห่ง ชีวติ หนึง่ ทีร่ บิ หรีใ่ ห้มคี วามสุขบ้างไม่มากก็นอ้ ย ในวาระสุดท้าย พุธได้พบเจอคนที่อยากเจอที่สุดก่อนที่แสงของชีวิตจะดับลง แม้วา่ ทีส่ ดุ ของเส้นทาง พุธจะต้องจากไปอย่างเปลีย่ วเหงาก็ตาม

* เผยแพร่ครั้งแรกในงานประชุมวิชาการ Palliative Care จัดโดย โรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๔-๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘

7


8


ธรรมะโอสถ

พัชร์ณภัค อังกลมเกลียว โรงพยาบาลสนม สุรินทร์

จากการท�ำงานดูแลผู้ป่วยมายาวนาน มีโอกาสได้เยี่ยมผู้ ป่วยที่บ้าน รวมทั้งประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายร่วม กับทีมจิตอาสา ซึ่งมีพระสงฆ์ร่วมทีมอยู่ด้วย ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ ว่าการน�ำหลักธรรมเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นเกิดผลดีเพียงใด ตัวอย่างเช่น เรื่องการสวดมนต์ เป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่เรา ชาวพุทธคุน้ เคยแต่มกั ละเลย ครัง้ หนึง่ ข้าพเจ้าต้องส่งต่อผูป้ ว่ ย กรณีฉุกเฉินเป็นหญิงสูงอายุ ไม่รู้สึกตัว ไม่มีชีพจร หลังการ ช่วยเหลือเบื้องต้น ผู้ป่วยอาการดีขึ้น วัดชีพจรได้ และต้องให้ ออกซิเจนไปตลอดทางบนรถฉุกเฉิน 9


ระหว่างทางข้าพเจ้าพูดคุยกับลูกสาวผูป้ ว่ ย และขออนุญาต สวดมนต์ให้ผู้ป่วยฟัง พร้อมบอกเธอว่าถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่รู้สึก ตัวแต่หผู ปู้ ว่ ยได้ยนิ เรา ซึง่ ก็ได้รบั อนุญาต ก่อนสวดมนต์ขา้ พเจ้า ได้บอกผู้ป่วย (ซึ่งขณะนั้นไม่รู้สึกตัว) ว่าข้าพเจ้าจะสวดมนต์ ให้ฟังนะ ให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งที่ดีๆ ที่เคยท�ำมา ข้าพเจ้าเริ่มสวด มนต์ตั้งแต่ นะโมตัสสะ บทอิติปิโส คาถาชินบัญชร ซึ่งเพื่อน พยาบาลรุน่ น้องทีไ่ ปด้วยกันก็ชว่ ยกันสวด แต่ขณะทีส่ วดมนต์ อยูน่ นั้ ลูกสาวผูป้ ว่ ยมีสหี น้าเศร้าโศกและร้องไห้ออกมา ข้าพเจ้า ต้องรีบอธิบายให้เธอฟังว่า การสวดมนต์ให้ผู้ป่วยนี้ไม่ใช่ว่า ผูป้ ว่ ยจะใกล้เสียชีวติ หากเป็นการช่วยให้ผปู้ ว่ ยสงบ ไม่ทรุ นทุราย ในบางรายจะมีอาการดีขนึ้ แต่หากผูป้ ว่ ยเสียชีวติ ผูป้ ว่ ยจะไปสู่ ภพภูมิที่ดี ลูกสาวผู้ป่วยได้ฟังก็หยุดร้องไห้ จากนั้นเรารวมถึง ลูกสาวผู้ป่วยด้วย ชวนกันสวดมนต์ต่อประมาณ 30 นาที ผูป้ ว่ ยเริม่ หายใจเอง แต่ยงั ไม่รสู้ กึ ตัว ความดันโลหิตอยูใ่ นเกณฑ์

10


ปกติ และในทีส่ ดุ เราส่งผูป้ ว่ ยถึงโรงพยาบาลสุรนิ ทร์โดยปลอดภัย การประกอบพิธีกรรมก็เช่นกัน ท�ำได้โดยเรียบง่ายแต่ให้ ผลที่มีประสิทธิภาพยิ่งต่อผู้ป่วย ดังกรณีผู้ป่วยชายรายหนึ่ง ประสบอุบัติเหตุนอนติดเตียง ไม่รู้สึกตัว ได้แต่นอนร้องคราง ตลอดเวลา ข้าพเจ้าไปเยี่ยมพร้อมกับทีมคือ ป้ากร (จิตอาสา) และหลวงเฮีย (พระอาจารย์ฐิติพันธ์ วัดป่าอตุโลบุญญลักษม์) และพบว่าผูป้ ว่ ยนอนบนผ้าห่มและหมอนทีค่ อ่ นข้างสกปรกมาก มีกลิ่นเหม็นปัสสาวะและอุจจาระ นอกจากนี้ยังพบแผลกดทับ ที่หลังเป็นแผลใหญ่ เริ่มตั้งแต่บั้นเอวจนถึงก้นกบ และก้นทั้ง สองข้าง มีหนอนไต่ ทีมจึงได้ช่วยกันท�ำความสะอาดร่างกาย ผูป้ ว่ ย โดยหลวงเฮียได้พดู คุยกับผูป้ ว่ ยตลอดเวลา ให้ปล่อยวาง ทั้งยังช่วยเช็ดหน้าตา ขัดขี้ไคลใบหูจนสะอาด หลังผู้ป่วยรู้สึก สบายตัวจึงหลับลงได้ ทีมจึงช่วยจัดเตรียมสถานทีเ่ พือ่ ประกอบ พิธีกรรม โดยให้ญาติจัดดอกไม้ธูปเทียนถวายพระ บูชาพระ รัตนตรัย อาราธนาศีล 5 สมาทานศีล หลวงเฮียสวดมนต์ให้ ศีล 5 แผ่เมตตา รับพร และท�ำพิธีให้ญาติและเจ้าหน้าที่ขอ อโหสิกรรมกับผูป้ ว่ ย ทัง้ ยังสอนให้ผปู้ ว่ ยภาวนาพุทโธด้วย เสร็จ สิ้นแล้วจึงนัดวันมาเยี่ยมผู้ป่วยอีกครั้ง แต่หลังจากทีมลาจาก มาได้สองชัว่ โมง ญาติกแ็ จ้งว่าผูป้ ว่ ยเสียชีวติ แล้วอย่างสงบ และ วันรุง่ ขึน้ เพื่อนบ้านของผู้ป่วยชายรายนี้ ได้ติดต่อทีมขอให้ไป เยี่ยมที่บ้าน และประกอบพิธีกรรมให้บ้าง ซึ่งทีมได้ไปเยี่ยม ตามความต้องการ 11


เช่นเดียวกันกับผูป้ ว่ ยหญิงมะเร็งเต้านม ทีเ่ พือ่ นบ้านสนใจ มาเข้าร่วมพิธดี ว้ ยเกือบทัง้ หมูบ่ า้ น ทัง้ นีส้ ามีผปู้ ว่ ยได้ถามว่าการ ท�ำพิธีเช่นนี้แสดงว่าผู้ป่วยใกล้ตายแล้วใช่หรือไม่ ข้าพเจ้าพูด คุยสร้างความเข้าใจว่าข้าพเจ้าไม่รู้ว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตตอนนี้ หรือตอนไหน แต่กิจกรรมที่ท�ำให้ก็เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกาส ท�ำบุญและรูจ้ กั ปล่อยวาง หากต้องเสียชีวติ จะได้ไปสูท่ ดี่ ๆี สามี ผู้ป่วยจึงเข้าใจ และสองวันต่อมาผู้ป่วยก็จากไป สิ่งส�ำคัญที่ข้าพเจ้าเรียนรู้ คือยังมีคนจ�ำนวนมากที่ไม่รู้ว่า มีพิธีกรรมที่สามารถท�ำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ หรือรู้แต่อาจ ไม่มั่นใจว่าท�ำอย่างไร ทั้งที่สามารถท�ำได้อย่างเรียบง่าย โดย หากผู้ป่วยนับถือศาสนาอื่น ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ เราสามารถ น�ำค�ำสอนและการปฏิบัติในศาสนานั้นๆ มาปรับใช้ได้ กรณี ชาวไทยเชือ้ สายจีนทีถ่ อื พุทธใกล้เคียงกัน อาจปรับเป็นการเปิด เทปเสียงของพระจีน หรือบทสวดเจ้าแม่กวนอิม ข้าพเจ้าอิม่ เอมใจทุกครัง้ ทีพ่ บว่าญาติผปู้ ว่ ยมักเข้ามาขอบคุณ ข้าพเจ้า ไม่ว่าผู้ป่วยจะดีขึ้น หรือตายจากไป พวกเขาค้นพบว่า ได้ท�ำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยแล้ว เหมือนกับที่เพื่อนคนหนึ่งที่ ข้าพเจ้าได้มโี อกาสไปเยีย่ มสามีของเธอ และแนะให้นมิ นต์พระ มารับสังฆทาน สวดมนต์ และขอขมาอโหสิกรรม เมื่อพบกัน ในงานศพสามีของเธอ เธอเข้ามาสวมกอดพร้อมเอ่ยขอบคุณที่ ข้าพเจ้าได้ชี้แนะแนวทางซึ่งเธอไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีแบบนี้ ท�ำให้เธอได้ท�ำสิง่ ทีด่ ๆี ให้สามี เธอบอกว่าเธอท�ำตามทีข่ า้ พเจ้า 12


บอกทุกอย่าง และยังบอกอีกว่าเธอไม่ร้องไห้ เพราะเธอรู้ว่า สามีเธอได้ไปที่ดีๆ แล้ว

13


14


กลัวไม่ได้บอกลา

พระปลัดอานนท์ กนฺตวีโร กลุ่มพระอาสาคิลานธรรม

โยมผู้ชายท่านหนึ่งป่วยเป็นมะเร็งล�ำไส้ระยะลุกลาม และ เป็นช่วงระยะสุดท้าย ผู้ป่วยและญาติปรารถนาที่จะพบพระ ท�ำบุญ ก่อนเข้าเยี่ยม ผู้ป่วยมีอาการปวดมากจึงได้รับยาแก้ปวด เมื่อผู้เยี่ยมไปถึงผู้ป่วยมีอาการหลับๆ ตื่นๆ ด้วยฤทธิ์ยา ข้าง เตียงมีภรรยาและลูกชายของผูป้ ว่ ยเฝ้าดูแลอยูข่ า้ งๆ ผูเ้ ยีย่ มได้ กล่าวทักทาย เมือ่ ผูป้ ว่ ยได้ยนิ ก็ลมื ตาเล็กน้อย พนมมือขึน้ ไหว้ แล้วหลับตาลง ผู้เยี่ยมใช้ฝ่ามือสัมผัสแตะเบาๆ ที่แขน เพื่อ แสดงให้ผู้ป่วยรับรู้ว่ามีพระอยู่ข้างๆ ด้วยความเงียบ สงบ ใน 15


ระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสังเกตว่า ผู้ป่วยไม่พร้อมที่จะสนทนา จึงได้กล่าวชวน ให้เริ่มกระบวนการในการท�ำบุญตามที่ผู้ป่วยและญาติได้แจ้ง ความปรารถนาไว้ตอนต้น เริ่มจากการกล่าวน�ำ...ค�ำบูชาพระ รัตนตรัย กราบพระ สมาทานศีล (ทุกขัน้ ตอนแม้ผปู้ ว่ ยจะหลับตา ดูเหมือนหลับ แต่ก็ยังขยับปากกล่าวตาม และมีเสียงออกมา เบาๆ) ผูเ้ ยีย่ มสวดมนต์ให้ฟงั และน�ำแผ่เมตตา ทุกขัน้ ตอนการ ท�ำบุญภรรยาและลูกชายจะท�ำด้วยพร้อมกัน จากนั้นก็บอก กล่าวขอตัวลากลับ ผูป้ ว่ ยลืมตายกมือไหว้ และหลับตาลง บ่อยครัง้ การเยีย่ มไข้ ผูป้ ว่ ยไม่สามารถสนทนาได้ พิธกี รรม หรือวิธกี ารท�ำบุญก็อาจจะเป็นสิง่ ทีท่ �ำได้ เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยได้มจี ติ ใจ อยู่ในสิ่งที่ดีงาม หลังจากนั้นได้สนทนาพูดคุยกับภรรยา และ ลูกชายต่อที่ห้องแยกอีกห้องหนึ่ง ภรรยาดูทุกข์ใจมากและ เล่าว่าได้อยู่กินกับผู้ป่วยมานาน มีลูกชายหนึ่งคน ผู้ป่วยเป็น คนดีมากดูแลภรรยามาตลอด เวลาภรรยาเจ็บป่วยหรือถึงเวลา ทีห่ มอนัดก็จะเป็นคนขับรถมาทีโ่ รงพยาบาลนีป้ ระจ�ำ เธอได้ถาม ผูเ้ ยีย่ มว่า ภรรยา: ผูป้ ว่ ยจะหายไหม เขาท�ำกรรมอะไรมา เมือ่ ไรเขา จะหมดกรรม เมื่อกี้เห็นพระอาจารย์นั่งสมาธิ เห็นอะไรบ้าง” (คงเป็นตอนที่สัมผัสที่แขนผู้ป่วยในตอนแรก) ผู้เยี่ยมนิ่งเงียบ ไม่ได้ตอบอะไร ภรรยาจึงพูดต่อ “ถ้าหายได้ก็ขอให้หาย แต่ถ้า ไม่หายก็ขออย่าให้เขาทรมาน เวลาเขาปวดเขาทรมานมาก” 16


เล่าไปน�้ำตาไหลไป ผู้เยี่ยม: โยมทุกข์ใจมากทุกครั้ง ที่เห็นเขาปวดทรมาน ภรรยา: ใช่ค่ะ ว่าจะไม่ร้องไห้แล้วเชียว แต่ตอนนี้ก็ยังดี เมื่อเขาได้รับยาก็จะหลับ และเธอก็เล่าว่า ตอนแรกที่สามีทราบว่าป่วยก็รักษาและ อาการดีขนึ้ แข็งแรงกลับบ้านได้ และมาพบหมอตามนัด ระหว่าง นั้นได้จัดการเรื่องต่างๆ สั่งเสียทุกเรื่อง ไม่มีสิ่งใดที่ติดค้าง ต่อ มาล่าสุดก่อนจะเข้าโรงพยาบาล สามีปวดท้องมาก ขับรถพา ตนเองมาโรงพยาบาลกับภรรยา และบอกภรรยาว่า “ไม่ไหว ครั้งนี้พี่คงไม่ไหวจริงๆ นะ” และก็รักษามาจนถึงวันนี้ ภรรยา: ตอนนี้ก็ท�ำใจแต่ไม่อยากให้เขาทรมาน ทุกวันนี้ คอยดูแลเขาตลอด ไม่กล้าไปไหน หมดเวลาเยีย่ มกลับบ้าน รุง่ เช้าต้องรีบมา กลัวเขาจะเป็นอะไร กลัวเขาอยากจะพูดอะไร กับเราก่อนที่จะจากไป อยาก ที่จะบอกลาเรา ผูเ้ ยีย่ ม: โยมอยากทีจ่ ะฟัง เขาบอกลาในวาระสุดท้าย ภรรยา: ใช่ค่ะ กลัวไม่ได้ อยู่ฟังเขาบอกลา ผูเ้ ยีย่ ม: จากทีโ่ ยมเล่ามา ว่าสามีได้จัดการทุกสิ่งอย่าง เมือ่ ทราบว่าป่วย และครัง้ ล่าสุด 17


ก็ได้บอกโยมขณะขับรถมาโรงพยาบาลว่า... “ครั้งนี้พี่ไม่ไหว แล้วนะ” พูดแบบนี้หลายครั้ง ภรรยา: ใช่ค่ะ เขาพูดหลายครั้งมาก ผู้เยี่ยม: ค�ำเล่านั้นเป็นค�ำที่ถือได้ว่าคือสิ่งที่เขาอยากจะ บอกโยม เป็นค�ำบอกลาโยมแล้วหรือยัง ภรรยานิง่ เงียบสักพักและพูดว่า “ใช่ๆ เขาได้บอกเราแล้ว” ผู้เยี่ยม: แม้ค�ำพูดนั้นไม่ใช่ค�ำสุดท้ายก่อนหมดลมหายใจ แต่เป็นสิ่งที่เขาอยากจะบอกเราและได้บอกแล้ว และหลังจาก บอกเราแล้ว ยังคงมีเวลาให้ได้อยู่ด้วยกันอีก ให้ได้ดูแลกัน เพิม่ อีก เป็นเสมือนก�ำไร...วาระสุดท้ายมาถึงเมือ่ ใดก็คงเมือ่ นัน้ โยมจะอยูห่ รือไม่อยู.่ ..เขาก็ได้บอกในสิง่ ทีเ่ ขาอยากบอกเราแล้ว (ผูเ้ ยีย่ มเกรงว่าเมือ่ ผูป้ ว่ ยจากไปในขณะทีภ่ รรยาไม่อยู่ ภรรยา จะรู้สึกผิด) ภรรยา: ใช่ๆ เขาได้บอกเราแล้วนี่ (พูดซ�้ำๆ เบาๆ บอก กับตัวเอง) หลังจากการสนทนาภรรยามีสีหน้าที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น จึงได้ขอลากลับ การดูแลจิตใจในยามผู้คนเจ็บป่วย มิใช่เพียงผู้ป่วยเท่านั้น ที่ต้องการการดูแล ญาติคนใกล้ชิดก็ต้องการและส�ำคัญไม่แพ้ กัน ความรูส้ กึ ทีก่ �ำลังจะสูญเสียบุคคลอันเป็นทีร่ กั ไป เป็นความ ทุกข์อันยิ่งใหญ่ของคนที่ก�ำลังมีชีวิตอยู่ 18


ธรรมะไม่ใช่สต ู รสำ�เร็จ เกื้อจิตร แขรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

วันนั้นฝนตกหนัก พี่เกื้อก�ำลังจะเข้านอน มีเสียงโทรศัพท์ มา เป็นเพื่อนพยาบาลด้วยกันแต่อยู่คนละจังหวัดโทรมาหาขอ ให้ช่วยไปดูพ่อให้หน่อย อาการหนักแล้ว พักรักษาอยู่ที่โรง พยาบาลบุรีรัมย์ อยากให้พี่เกื้อไปหาหน่อย อยากให้ไปช่วย สวดมนต์ ค�ำ่ มากแล้วเพือ่ นจึงให้ญาติขบั รถมารับถึงบ้าน พีเ่ กือ้ จึงออกไปดูแลผู้ป่วยรายนี้ เมื่อพบอากง พี่เกื้อก็พบด้วยว่าลูกสาวอากงคนหนึ่งที่ เฝ้าไข้อยู่เป็นเพื่อนพยาบาลที่เรียนมาด้วยกัน จึงได้รู้ว่าคนที่ โทรมาหาเป็นลูกสะใภ้ผปู้ ว่ ยทีร่ ถู้ งึ วิธกี ารท�ำงานดูแลผูป้ ว่ ยระยะ 19


ท้ายของพี่เกื้อ เมื่อพบหน้ากัน เพื่อนก็ทักทายว่า “เกื้อจิตรมา พอดี พี่สะใภ้เราเขาบอกว่าเธอสวดมนต์ ท�ำอะไรต่ออะไรให้ คนไข้ เธอมาสวดมนต์ให้เตีย่ เราหน่อยสิ” พูดจบเพือ่ นก็รนุ หลัง พี่เกื้อให้เข้าไปบอกว่าโน่นๆ เตี่ยเรานอนเตียงโน้น ตอนนัน้ เพิง่ ท�ำงาน palliative care ใหม่ๆ (ตอนนัน้ ยังไม่มี ค�ำนี้) ก็ไม่ฟังอะไร เพื่อนขอให้ท�ำก็ท�ำ ได้ถามแค่ว่าอากงแก รู้สึกตัวไหม เพื่อนว่าไม่รู้สึกตัวมา 2-3 วันแล้ว ไม่ลืมตา เลย กลัวว่าจะอยู่ไม่ถึงพรุ่งนี้ แต่ถ้าแกอยู่พรุ่งนี้ก็จะพาแกกลับบ้าน พี่เกื้อจึงเริ่มสวดมนต์ “อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา...” อากงหน้าบิดหน้าเบี้ยว เราก็ตกใจไหนว่าคนไข้ไม่รู้สึกตัว แต่ นี่บิดหน้าหนีเลยนะ หน้านิ่วคิ้วขมวด คิดในใจว่าแกคงปฏิเสธ ก็แปลกใจเพราะปกติไปสวดมนต์ให้ใครฟังก็ไม่เป็นแบบนี้ วันนี้จึงสวดไปจนจบโดยไม่มีค�ำแปล ระหว่างสวดมนต์นั้น พี่ก็ได้ยินลูกๆ คนอื่นเขาคุยกันว่า ท�ำไมเอาคนมาสวดมนต์ให้เตีย่ เตีย่ เขาไม่เคยไปวัด เราก็ตกใจ รู้เลยว่าเราผลีผลามเกินไป ท�ำให้เราเรียนรู้ว่าจะด่วนแค่ไหน ต้องคุยต้องพูดกันก่อน แต่ตอนนั้นไม่รู้ ไม่เคยเรียนไม่เคย อบรม palliative อะไรมาก่อน ท�ำงานไปเรียนรู้ไป คือควรรู้ ข้อมูลคนไข้ก่อน พูดคุยถามไถ่จากลูกหลาน หรือญาติที่เฝ้า นี่ล่ะ ที่เขาเรียก family meeting หลังจากนั้นเลยรู้ว่าอากงเขา ฟังแต่เพลงของรุง่ เพชร แหลมสิงห์ แกเปิดวิทยุฟงั ฟังแต่เพลง ท�ำนองนี้ 20


พีเ่ กือ้ รีบแก้เก้อบอกอากงว่า อากงอยากฟังเพลงรุ่งเพชรก็ไม่ บอก หนูจะร้องให้ฟัง “ย่างเข้า เดือนหก ฝนก็ตกพร�ำๆ กบมัน ก็รอ้ งงึมง�ำ ระงมไปทัว่ ท้องนา...” พี่ร้องได้แค่นี้แหละ จ�ำเนื้อไม่ได้ แต่ปรากฏว่าอากงแกลืมตา ลูก หลานก็ตื่นเต้นกันใหญ่ จากนั้นจึงได้นั่งลงฟังลูกๆ ของอากงเล่าความเป็นมา คืออากงเป็นคนจีนมาจากเมืองจีน แบบเสือ่ ผืนหมอนใบ ท�ำมาหากินจนประสบความส�ำเร็จ สามารถ ซื้อรถเบนซ์มาขับได้เป็นคันแรกของอ�ำเภอ และแม้ว่าแกจะไม่ ได้ไปวัดท�ำบุญใส่บาตรเลย แต่เป็นคนใจบุญ ใครเดินผ่านหน้า บ้านมีท่าทางอิดโรย อากงจะถามลื้อกินข้าวยัง และจะเรียก คนในบ้านให้หาข้าวปลาให้คนเหล่านั้นกิน ใครเดินตัวสั่นผ่าน มาแกก็หาเสื้อผ้าให้ใส่ ยกให้ฟรีไปเลย จะเห็นว่า ความภูมิใจ ของอากงคือการท�ำมาหากินสุจริตและได้ชว่ ยเหลือคนตกทุกข์ ได้ยาก ตอนหลังได้ถามว่า อากงอยากกลับบ้านไหม เราให้ลูก วางมือบนมืออากง ถ้าอยากกลับให้บีบมือลูกนะ ซึ่งแกก็บีบ เล่าถึงตรงนีล้ กู ๆ ของอากงต่างสงสัยว่า อากงยังมีหว่ งอะไร อีก เพราะท่าทางเหมือนจะจากไปแล้วเพราะไม่รสู้ กึ ตัวมา 3 วัน 21


แต่ก็ยังไม่ไป จึงช่วยกันคิด แล้วนึกได้ว่า เตี่ยยังมีเมียอีกคน เป็นหญิงชาวบ้าน มีลูกด้วยกัน 2 คนซึ่งยังเล็กอยู่ในวัยเรียน พี่เกื้อจึงถามว่า ลูกๆ กล้ารับปากเตี่ยไหมว่าจะช่วยดูแลน้อง จะช่วยส่งเสียให้เรียนหนังสือตามก�ำลังและโอกาสทีอ่ �ำนวย ลูก รับปาก วันรุ่งขึ้นจึงพาเตี่ยกลับบ้าน อากงกลับบ้านไปอยูบ่ า้ น และลูกของเมียอีกคนได้มาเยีย่ ม แล้วแกก็จากไปอย่างสงบ สิ่งส�ำคัญในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะท้ายด้านจิตใจ คือ การรับรูข้ อ้ มูลภูมหิ ลังของผูป้ ว่ ยก่อน ด้วยการสอบถามพูด คุยกับญาติ เพื่อที่จะช่วยเหลือได้ตรงจุดตรงใจ กรณีนี้ท�ำให้ รู้ว่า ธรรมะหรือการสวดมนต์ไม่ใช่สูตรส�ำเร็จที่สามารถน�ำมา ใช้ได้กบั ผูป้ ว่ ยทุกคน แต่การค้นหาความส�ำเร็จ ความภาคภูมใิ จ ความชอบหรือบางสิง่ ทีย่ งั ค้างคาใจ และช่วยปลดเปลือ้ งออกไป จะท�ำให้ผู้ป่วยได้ละวางและละสังขารไปในที่สุด

22


ธรรมสังเวช

ก.สามตฺถิโก วัดศาลาลอย พระอารามหลวง สุรินทร์

ปฐมบทการเยีย่ มผูป้ ว่ ย...วันนัน้ อาตมภาพ ยังจ�ำได้ดี ใน รถตู้ของโรงพยาบาลอ�ำเภอสนม อาทิตย์เริ่มอัสดงความสงบ เริม่ คืบคลานเข้ามา บรรยากาศในรถนัน้ มีการสนทนากันระหว่าง หลวงเฮียและหมอหลินพูดคุยถึงการมาเยีย่ มผูป้ ว่ ยท่านหนึง่ ใน โรงพยาบาลอ�ำเภอปราสาท เมื่อรถตู้เลี้ยวเข้ามาจอดในที่จอด รถของโรงพยาบาลอ�ำเภอปราสาท คณะจิตอาสาจัดเตรียมข้าว ของเพือ่ ไปเยีย่ มผูป้ ว่ ย เมือ่ ถึงห้องพักของผูป้ ว่ ย คณะพระและ ทีมแพทย์จิตอาสาก็เริ่มปฏิบัติงานด้วยการสอบถามพูดคุยให้ ก�ำลังใจ หลวงเฮียบอกผู้ป่วยให้หมั่นสวดมนต์ท�ำสมาธิแบบ 23


ง่ายๆ ใช้เวลาสั้นๆ คณะจิตอาสาน�ำชุดสังฆทานติดไปเพื่อให้ ผูป้ ว่ ยได้ถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ คณะสงฆ์ให้พรและร่วมกัน สวดมนต์บทโพชฌงคปริตรให้แก่ผู้ป่วย แล้วคณะจิตอาสาก็ ร�่ำลาผู้ป่วยกับญาติผู้ป่วยเพื่อที่จะเดินทางกลับ คณะได้พูดคุยกับทีมพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในตึกนั้น และ ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธา ของชาวจังหวัดสุรินทร์ วัดของท่านอยู่ในเขตอ�ำเภอปราสาท อาตมภาพขอเรียกท่านในทีน่ วี้ า่ “หลวงปูห่ าร” หลวงปูห่ ารท่าน เป็นเกจิสายพุทธคุณ เมตตามหานิยมแคล้วคลาด วัตถุมงคล ของท่านนั้นเป็นที่นิยม เคารพศรัทธา เป็นอย่างมาก คณะ พระสงฆ์จติ อาสาเมือ่ ทราบข่าวว่าท่านอาพาธ และมาพักรักษา ตัวอยู่ที่โรงพยาบาลอ�ำเภอปราสาท ณ ขณะนี้ จึงคิดกันว่าควร เข้าไปเยีย่ มสักการะท่าน คิดได้ดงั นัน้ คณะจิตอาสาจึงพากันไป เข้าเยีย่ มหลวงปูห่ าร ทีต่ กึ ผูป้ ว่ ยฉุกเฉิน เมือ่ ติดต่อขอเข้าเยีย่ ม พยาบาลผู้ดูแลก็เดินน�ำพาคณะจิตอาสาเข้าไป ที่ห้องผู้ป่วยมี ลูกศิษย์หนึ่งคนคอยเฝ้าดูแล ภาพที่อาตมภาพเห็นนั้นคือท่าน หลวงปูห่ ารนอนจ�ำวัดอย่างสงบ หน้าตาท่านอิดโรยเล็กน้อย มี การให้นำ�้ เกลือ ทางคณะจิตอาสาพากันกราบสักการะท่าน แล้ว พากันรีบออกมาเพื่อให้ท่านพักผ่อน ค�่ำนั้นหลังจากคณะจิต อาสาพากันเยีย่ มผูป้ ว่ ยและหลวงปูห่ ารแล้ว ก็พากันขึน้ รถตูข้ อง โรงพยาบาลอ�ำเภอสนมกลับที่พัก ขณะนั่งรถกลับอาตมภาพ นึกถึงภาพหลวงปูห่ าร แล้วก็นกึ สังเวชใจและนึกถึงค�ำสอนของ 24


พระพุทธองค์ “อนิจจา วตะ สังขารา…” ซึ่งแปลว่า “สังขาร ทัง้ หลายไม่เทีย่ งหนอ มีความเกิดขึน้ และดับไปเป็นธรรมดา เมือ่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบไปแห่งสังขารเหล่านั้นเป็นสุข” ขณะนัน้ เวลาพลบคำ�่ ท้องฟ้าเริม่ ไร้แสงแห่งอาทิตย์ เปรียบเสมือน ช่วงเวลาแห่งชีวติ ทีต่ อ้ งมืดดับไปเช่นกันทุกๆ คนทุกๆ ท่าน หลังเหตุการณ์นั้นผ่านไปประมาณครึ่งปี อาตมภาพก็ได้ รับข่าวว่าหลวงปู่หาร ท่านได้ละสังขารแล้วเป็นข่าวขึ้นหน้า หนังสือพิมพ์ เมื่อมาถึงวาระของตน...เมื่อประมาณเกือบ ๓ เดือนที่ แล้ว อาตมภาพมีอาการท้องเสียสลับท้องผูก โดยไม่ทราบ สาเหตุ มีความกังวลใจจึงเข้าไปตรวจทีโ่ รงพยาบาลสุรนิ ทร์ พบ นายแพทย์สอบถามอาการและตรวจเบือ้ งต้น ไม่พบสิง่ ผิดปกติ เลยท�ำการนัดให้มาสวนแป้งและเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจหาก้อน มะเร็งในล�ำไส้ เหตุการณ์นที้ �ำให้รสู้ กึ ว่า คนทีเ่ ข้าใกล้ความตาย นั้นรู้สึกอย่างไร คืนนั้นอาตมภาพได้นั่งพิจารณาในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น แล้วปลงสังเวชสังขารของตนเองว่า ความเกิด ความ แก่ ความเจ็บ ความตาย นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ พยายามตั้ง สติ แล้วท�ำใจไม่ให้คิดถึงว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องน่ากลัว หรือต้องโศก เศร้าอะไรเลย แล้วจ�ำวัด ค�่ำคืนนั้น อาตมภาพมีนิมิตเกิดขึ้นกับตนเองว่า ตนนั้นได้ ถึงซึ่งความตาย ดวงจิตรับรู้ แต่ไม่สัมผัสรับรู้ถึงซึ่งร่างกาย จิตนั้นก็เริ่มคิดห่วงถึงโยมแม่ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เห็นภาพ 25


พวกเขาลอยเด่นขึน้ มาในดวงจิต และมีความห่วงอาลัย แต่แล้ว เมื่อเห็นตามนิมิตว่าพวกเขาอยู่ดีมีสุขตามอัตภาพ จิตก็คลาย ความวิตกกังวลลง แล้วเริ่มรู้ตัวว่ายังมีชีวิตอยู่จึงลุกขึ้นมาแต่ง กลอนไว้ว่า เมื่อคืนนิมิต ว่าตาย คลายก�ำหนัด สิ่งผูกมัด พันธนาการ สังขารขันธ์ ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน ผุดขึ้นพลัน แย่แล้วฉัน ท�ำการกิจ มิเสร็จเลย อีกพ่อแม่ ที่แก่เฒ่า คงเศร้าจิต ห่วงญาติมิตร เพื่อนฝูง สหายเอ๋ย อยู่อย่างไร ฉันตายก่อน เสียเปล่าเลย คนที่เคย คุ้นเคย อยู่อย่างไร แล้วนิมิต ก็ผุดแจ้ง แทงตลอด พวกเขารอด ตามอัตน�ำ ธรรมเฉลย อยู่ตามกรรม ของตน อย่างเช่นเคย อย่าห่วงเลย เสียจริต เสียเวลา แล้วจิตก็รวม เข้าใจ ในธรรมะ ควรลดละ ตัวตน นั้นมีไม่ กรรมใคร ของใคร ก็ท�ำไป สุดท้ายต้อง วางใจ ไว้ที่ธรรม... 26


เหตุการณ์นั้นผ่านไป อาตมภาพได้เข้าพบแพทย์ตามวัน และเวลา ที่ได้นัดหมายจากทางโรงพยาบาล จิตใจนั้นสบาย ไม่มคี วามทุกข์รอ้ นอะไร มารุมเร้าใจ เพราะวางใจมาแต่ตน้ แล้ว นั่นเอง คิดว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เมื่อท�ำการตรวจ ตามกระบวนการและขัน้ ตอนของทางโรงพยาบาลเป็นทีเ่ รียบร้อย แล้ว ก็รอฟังผลการเอ็กซเรย์จากแพทย์ เวลาทีย่ าวนานแต่แสนสัน้ ในขณะทีร่ อพบแพทย์เป็นเวลา ทีร่ สู้ กึ ว่าแสนนาน แล้วเสียงพยาบาลก็ขานชือ่ เพือ่ ให้อาตมภาพ เข้าพบแพทย์ อาตมภาพเดินตามพยาบาลเข้าไปพบกับแพทย์ แพทย์หญิงท่านนัน้ นิมนต์ให้อาตมภาพนัง่ ลงและซักถามอาการ อาตมภาพเล่าอาการตามทีเ่ ป็นให้แพทย์ทราบ แล้วแพทย์หญิง ท่านนั้นก็ตรวจฟิล์มเอ็กซเรย์จากในคอมพิวเตอร์ด้วยอาการ จริงจัง “จิตใจของอาตมภาพตอนนั้นนิ่งสงบ และตั้งใจฟัง ค�ำวินิจฉัยโรคจากแพทย์หญิงด้วยจิตใจอันจดจ่อ…” แพทย์หญิง: พระคุณเจ้าจากการตรวจดูฟิล์มเอ็กซเรย์ไม่ พบก้อนมะเร็งนะคะ อาตมภาพ: แล้วอาตมาเป็นโรคอะไรล่ะ แพทย์หญิงดูแฟ้มประวัติคนไข้อยู่สักครู่แล้วตอบว่า แพทย์หญิง: ต้องรอดูอาการสัก 1 เดือนแล้วจะขอตรวจ ซำ�้ ใหม่อกี รอบค่ะ และเขียนใบนัดให้พยาบาลท�ำการออกใบนัด ใหม่ 27


อาตมภาพออกมาพร้อมจิตใจอันสงบ เพราะวางใจมาเป็น อย่างดี จะเป็นอะไรก็ตอ้ งเป็นรักษาไปตามอาการทีเ่ จ็บป่วยนัน้ ด�ำเนินชีวิตเป็นปกติต่อไป เย็นนั้นอาตมภาพกลับมาวัด ได้ ทบทวนเรือ่ งราวตลอดทัง้ วันทีผ่ า่ นมาและเห็นสัจธรรม ในหลาย เรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ “ถ้าเราวางใจให้ดแี ล้ว...ไม่จมอยูก่ บั ความทุกข์ ทีเ่ รียกว่าความทุกข์นนั้ ...ก็ท�ำอะไรเราไม่ได้ ความตายนี.้ ..ได้ ประสพกันทุกคนอย่างแน่นอน และไม่สามารถหลีกหนีเลย” “อสสฺสตํ วิปฺปริณามธมฺมํ. ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ. วัย หมดไปตามล�ำดับแห่งวัย ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา. หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย โอรํ วสฺสสตาปิ มิยฺยติ. ชีวิตไม่ถึงร้อยปีก็จะตายถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา. คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย สพฺเพ มจฺจุปรายนา. สรรพสัตว์ทงั้ หลายล้วนก้าวเดินไปสูค่ วามตาย” 28


สักวันหนึง่ ...ดวงอาทิตย์ของอาตมภาพก็ตอ้ งอัสดงเหมือน ทุกคน แต่ก่อนหน้านั้นอาตมภาพคงได้ท�ำประโยชน์อะไรไว้ให้ กับผู้อื่นได้บ้างไม่มากก็น้อย...เมื่อถึงเวลาคงไม่ทุกข์ร้อนใจ อันใดอีกต่อไป และจะเร่งท�ำความดีตามค�ำสัง่ สอนขององค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจะ เตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ ถึงพร้อมเถิด” (มหาปรินพิ พานสูตร) ที. ม. ๑๐/๑๔๓/๑๘๐ และควรท�ำประโยชน์ตนประโยชน์ทา่ นให้ถงึ พร้อม เพราะไม่มี อะไรเลยที่การันตีได้ว่า... เรา...จะตื่นมาพบกับดวงอาทิตย์... ของวันพรุ่งนี้ได้ทุกๆ วัน” 29


30


ต้นมะม่วง

เกื้อจิตร แขรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

คุณยายอายุ 84 ปี เคยสั่งลูกหลานไว้ว่าระยะท้ายของ ชีวิตไม่อยากนอนโรงพยาบาล ไม่อยากใส่ท่อ ไม่อยากนอน ไอซียู แกอยู่ต่างอ�ำเภอ แต่ตอนนั้นเมื่อแกป่วย ส่วนใหญ่ คนแก่กน็ วิ มอเนีย หรือติดเชือ้ ในกระแสเลือด เมือ่ ไปโรงพยาบาล ชุมชน สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่จะท�ำได้คือช่วยใส่ท่อ (ช่วยหายใจ) เพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายขึ้น แต่ในโรคที่รักษาไม่หาย ไม่มีอะไร ช่วยได้แล้ว ธาตุสี่ ดินน�้ำลมไฟไม่ท�ำงานแล้ว ยังไงมันก็ไม่ท�ำ เครื่องมือก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง เปรียบเหมือนถ้าเรารดน�้ำต้นไม้ ที่ตายแล้ว มันก็ไม่ช่วยอะไร คนก็เหมือนกันถ้าอวัยวะมัน 31


พังหมดแล้ว คุณจะใส่อะไรอีก คุณยายคนนี้ก็เช่นกัน มาอยู่ไอซียู 2 เดือน หมอที่ดูแล (เป็นญาติคุณยาย) สู้เต็มที่ เป็นหมอที่เก่งมาก เชี่ยวชาญ เฉพาะโรคติดเชื้อโดยตรง จึงรักษาด้วยยาอย่างเต็มก�ำลัง ใน เดือนแรกคุณยายยังรูส้ กึ ตัวดี แต่สองสัปดาห์ตอ่ มาคุณยายเริม่ ซึมลง และอีกสัปดาห์ถดั ไปเริม่ ซึมมากขึน้ และคุณยายไม่ตอบ สนองอะไรอีกเลยในสัปดาห์ตอ่ มา หมอจึงเรียกญาติมาแจ้งข่าว ว่ามีโอกาสรอด 1% ญาติได้ยนิ ก็รอ้ งห่มร้องไห้ ท�ำใจไม่ได้เลย ซักคน หมอจึงมาตามพีเ่ กือ้ บอกว่า “มีคนไข้ในไอซียู เป็นญาติ หมอเอง โอกาสรอด 1% แต่คนไข้ไม่เป็นไร อยากให้พี่เกื้อมา ช่วยดูญาติให้หน่อย เขารับไม่ได้เลย” ที่หน้าห้องไอซียูกลุ่มญาติกอดคอกันร้องไห้ แบบร้องไห้ หมู่ คนนั้นกอดคอคนนี้ร้อง พอมีญาติมาอีกก็เดินไปกอดญาติ อีกคนร้อง คือกลายเป็นกอดกันร้องหมู่ หลังจากแนะน�ำตัวแล้ว พี่เกื้อก็สอบถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง คุณยายเป็นอะไรมา ญาติ ช่วยกันเล่าให้ฟัง ญาติรู้ว่าคุณยายไม่อยากมาโรงพยาบาล แต่ ลูกๆ หลานๆ อยากให้คุณยายอยู่นานๆ จึงพามาโรงพยาบาล นี่รักษามาเรื่อยๆ ก็มีแต่ทรงกับทรุด และทรุดลงเรื่อยๆ หมอ บอกว่าโอกาสรอด 1% พี่เกื้อจึงถามว่าใครเป็นใครบ้าง พบว่า มีลูกๆ คุณยาย และมีหลานคุณยาย ซึ่งมีหน้าที่การงานดีเป็น หลานชายคนโต สังเกตว่าลุงป้าจะ “ฟัง” เขา คิดว่าคนทีต่ ดั สิน ใจน่าจะเป็นคนนี้ เขาอยู่กันประมาณ 5-6 คน เขาก็เล่าเรื่อง 32


ยายให้ฟังว่า ช่วงสบายดีแกไม่ได้ท�ำไรแล้วแก่แล้ว แต่ก็ไปวัด ไปวาไปท�ำบุญ และคุณยายเป็นคนใจดี หลานๆ ทุกคนรักและ ผูกพันกับคุณยายมาก ก็คุยไปเรื่อยๆ คุยไปคุยมาก็ถามว่า “ที่ บ้านมีต้นมะม่วงไหม” ญาติก็ว่ามี คุณหมออยากกินหรือวัน หลังจะเก็บมาฝาก พี่เกื้อบอกว่าเปล่า และก็เล่าว่า เราปลูกมะม่วงต้นหนึ่ง เวลามันออกช่อ แต่ละช่อจะมี ดอกเล็กๆ ยิบๆ เต็มไปหมด แต่ดอกเล็กๆ นั้น ไม่ได้ติดเป็น ลูกหมดในหนึ่งช่อ ท�ำไมล่ะ ญาติเขาตอบว่า มันร่วงไป เพราะ อาจจะมีฝน ลมแรง หรือมันแล้ง อาจมีแมลง มีเพลี้ย แต่ละ คนก็ช่วยกันตอบ ซึ่งก็ถูกหมด และมีบางส่วนที่มันติด อาจจะ มี 3 ลูก หรือ 5-6 ลูก ถามว่าที่ติดเป็นลูก มันโตมาทั้งหมด จนสุกจนงอมหรือไม่ ก็ไม่ เพราะอะไร ญาติก็ตอบอีก มันโดน สอย ถูกลมพัด แต่สมมติว่ามีช่อหนึ่งที่ติดลูกอยู่ลูกเดียว มัน จะเป็นลูกที่สมบูรณ์มาก และอยู่ในที่ที่เหมาะ เวลาลมแรงมัน ก็ไม่โดนเพราะมีกิ่งใหญ่บังอยู่ เวลาฝนมาก็ไม่คอ่ ยโดนฝนหนัก เพราะใบมันเยอะตรงช่วงนัน้ คือ อยูใ่ นทีท่ เี่ หมาะสมมาก จนมะม่วง ลูกนีอ้ ยูจ่ นแก่ จนสุก จนงอม พอ มันงอมแล้วมันร่วงไหม ค�ำตอบ คือร่วง แต่ท�ำไมร่วงทัง้ ทีไ่ ม่มฝี น ไม่มลี ม และไม่มคี นเห็น ทีส่ �ำคัญ 33


มีใครบอกได้ไหมว่ามะม่วงงอมอยู่กี่วันถึงจะร่วง ซึ่งไม่มี ขณะนั้นหลานชายคนโตของคุณยายก็ร้องไห้ และบอกว่า พวกผมตัดสินใจผิด เข้าใจแล้วว่าคุณยายก็เหมือนมะม่วงสุกที่ งอม แต่พวกผมบังคับหมอให้ท�ำตะกร้า ท�ำอะไรต่ออะไรเพื่อ รองรับมะม่วงสุกงอมนี้ ซึ่งจริงๆ มะม่วงได้หลุดจากต้นแล้วแต่ พวกผมมองไม่เห็น ถึงเวลาหลุดแล้วก็ต้องหลุด เขาย้อนถาม ว่าเขาท�ำผิดใช่ไหม แต่พเี่ กือ้ บอกว่า ไม่ผดิ ในเวลานัน้ คุณตัดสิน ใจถูกแล้ว ทุกคนรักคุณยาย ทุกคนไม่อยากให้คุณยายจากไป ท�ำให้ทุกคนพยายามอย่างที่สุดโดยที่ลืมนึกถึงความต้องการ ของคุณยาย ซึ่งคุณยายไม่ได้ต้องการแบบนี้ วิธีที่เราท�ำให้ คุณยายดีที่สุดก็จริงแต่มันทรมานส�ำหรับคุณยาย สิ่งที่พี่เกื้อแนะน�ำให้ญาติๆ ทุกคนท�ำต่อจากนั้น คือ การ เข้าไปหาคุณยาย จับคุณยายไว้ทุกคนให้เต็มสัมผัสมือ สูดลม หายใจเข้าลึกๆ และค่อยๆ ผ่อนออก จุดส�ำคัญคือวางใจไว้ทลี่ ม หายใจ ไม่ตอ้ งดูคณ ุ ยายว่าเป็นอย่างไร อยูก่ บั ลมหายใจเข้าออก สัก 3-5 ครั้ง แล้วกล่าวว่า “บุญใดที่ข้าพเจ้าเคยท�ำมาตั้งแต่ ร้อยชาติพนั ชาติหมืน่ ชาติแสนชาติ และปัจจุบนั ชาตินที้ ไี่ ด้เจริญ สติ สมาธิภาวนา ขอบุญนั้นจงแปรเปลี่ยนเป็นความสุขให้ กับคุณยาย (เอ่ยชื่อคุณยาย) ให้คุณยายได้เดินทางด้วยความ สงบสุข พบแสงสว่าง พบกับความสุขชั่วนิรันดรเทอญ” สาธุ ต่อด้วย “กายกรรม มโนกรรม วจีกรรม ที่เคยสบประมาท พลาดพลั้งทั้งต่อหน้าและลับหลัง ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งระลึก 34


ได้และไม่ได้ ก็ขอให้คุณยายอโหสิให้พวกเราด้วย และที่คุณ ยายได้เคยกล่าววจีกรรม กายกรรม หรือมโนกรรม ที่พวกเรา อาจไม่ชอบไม่ถูกใจ คุณยายอาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ พวกเราก็ อโหสิกรรม” และให้บอกรักคุณยาย อยากให้คุณยายอยู่ แต่รู้ ว่าคุณยายทรมาน ถ้าคุณยายจะจากไปก็ไปเถอะ พวกเรารอ ส่งคุณยายอยู่ หลังจากคุณยายจากไป คุณป้าคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกคุณยาย มาขอบคุณพีเ่ กือ้ และเล่าว่า แกไม่มคี วามรูใ้ ห้หมอรักษาไปเรือ่ ย ทั้งที่รู้ว่าคุณยายอยากกลับบ้าน ระยะหลังแกไม่ลืมตาเลยเป็น อาทิตย์ ใครมาเยี่ยมก็ไม่ลืมตา แรกๆ คุณยายยังกะพริบตา บ้าง แต่พอได้ท�ำตามทีพ่ เี่ กือ้ บอก คุณยายลืมตา และมองญาติๆ รอบเตียงทีละคนๆ เหมือนจะขอบคุณ และนั่นเป็นการลืมตา ครั้งสุดท้ายของคุณยาย ทุกชีวิตมีเวลาเป็นของตนเอง เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากก็ต้อง จาก ไม่อาจยื้อยุดไว้ได้ ขอเพียงได้ร�่ำลากันอย่างเข้าใจ ได้ อโหสิกรรมซึ่งกัน ชีวิตมนุษย์ที่สุกงอมแล้วย่อมมีวันใดวันหนึ่ง ที่ต้องจากลา การเปรียบเปรยชีวิตให้เห็นภาพ โดยยกเรื่อง มะม่วงจะเป็นส่วนให้ญาติที่ยังท�ำใจไม่ได้ เฝ้าถามซ�้ำว่าท�ำไม ต้องเป็นฉัน ท�ำไมฉันต้องเจอเรือ่ งแบบนี้ นีแ่ หละ มะม่วงสุกงอม ย่อมหล่นจากต้น เหมือนชีวิตคนเมื่อถึงเวลาย่อมต้องจากไป เช่นเดียวกัน 35


36


คำ�ขอสุดท้าย

พัชร์ณภัค อังกลมเกลียว โรงพยาบาลสนม สุรินทร์

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยระยะ สุดท้ายเมื่อปี 2554 ในตอนนั้นการดูแลผู้ป่วยแบบประคับ ประคองยังไม่แพร่หลายนัก ข้าพเจ้าจึงต้องค้นคว้าหาความรูเ้ อง ได้ลองผิดลองถูก เพือ่ ค้นหาแนวทางในการดูแลทัง้ ด้านร่างกาย จิตใจ และสนับสนุนเรื่องกิจกรรมทางศาสนา ตลอดจนเรียนรู้ จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ตอนสายๆ ของวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 หลังจากรับ เวรจากน้องเวรดึก และได้ทราบอาการของผูป้ ว่ ยชายห้องพิเศษ 3 ว่าป่วยเป็นมะเร็งล�ำไส้และภรรยาของผูป้ ว่ ยท�ำใจยอมรับไม่ 37


ได้ เนื่องจากสามีเธออายุเพียง 49 ปีเท่านั้น ข้าพเจ้าจึงขอ พูดคุยเป็นการส่วนตัว เกีย่ วกับปัญหาในการดูแลและการยอมรับ การสูญเสีย เธอได้บอกเล่าความรู้สึกทั้งน�้ำตา ข้าพเจ้าจึงกอด ปลอบเธอ ให้เธอยอมรับการสูญเสียทีก่ �ำลังจะเกิดขึน้ และเป็น ก�ำลังใจให้เธอ ถามเธอว่า ผูป้ ว่ ยรูไ้ หมว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร เธอตอบว่า “รู้” ข้าพเจ้าจึงขอเข้าไปเยี่ยมและพูดคุยกับผู้ป่วย ซึ่งเธออนุญาต หลังแนะน�ำตัวและบอกจุดประสงค์ว่า ขอเข้ามาคุยเรื่อง การเจ็บป่วยของผู้ป่วย ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีอาการ เหนื่อยเพลีย หายใจหอบ ต้องให้ออกซิเจน เพราะผู้ป่วยกลัว หายใจไม่ออกต้องมีออกซิเจนตลอดเวลา ผู้ป่วยเรียกร้องให้ มารดา ดูแลตนเองอย่างใกล้ชิด ข้าพเจ้าดึงความสนใจผู้ป่วย จากความกลัวที่จะหายใจไม่ได้ ขาดออกซิเจนไม่ได้ ข้าพเจ้า ถามผู้ป่วยว่า “พี่ป่วยเป็นโรคอะไรรู้ไหมคะ” แล้วหมอได้บอก อะไรอีกหรือไม่ ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่บอก” ข้าพเจ้าได้สอบถาม อาการต่างๆ กับผู้ป่วยอีกหลายอย่าง ที่ส�ำคัญได้ถามผู้ป่วยว่า กลัวความตายหรือไม่ ผู้ป่วยตอบว่า “กลัว” ข้าพเจ้าเลยถาม ต่อว่า ทุกคนที่เกิดมาต้องตายไหมคะ ผู้ป่วยบอกว่า “ตายทุก คน” ข้าพเจ้าจึงบอกผูป้ ว่ ยว่า “ในเมือ่ เราเกิดมาต้องตายทุกคน หากเวลาทีเ่ ราจะไปจากโลกนี้ แล้วเราไปแบบสวยงาม แบบสงบ จะดีกว่าไหม” ผูป้ ว่ ยบอกว่า “ดี” ข้าพเจ้าจึงแนะน�ำให้ผปู้ ว่ ย ท�ำ สมาธิ สวดมนต์ภาวนาพุทโธ แนะน�ำมารดาผูป้ ว่ ยให้สวดมนต์ 38


ให้ผู้ป่วยฟังบ่อยๆ ซึ่งผู้ป่วยก็ขอให้มารดาสวดมนต์ให้ฟัง ในตอนนี้ผู้ป่วยตั้งใจฟังที่ข้าพเจ้าพูด สบตาข้าพเจ้าเป็น ระยะ ข้าพเจ้าได้ถามผู้ป่วยว่า “อยากท�ำบุญไหมคะ” ผู้ป่วย ตอบว่า “อยาก แต่ให้ท�ำอย่างไร นอนป่วยอย่างนี้ ไปวัดไม่ได้” ข้าพเจ้าจึงแนะน�ำเกี่ยวกับการถวายสังฆทานที่เตียง โดยจะ นิมนต์พระมาให้ ก่อนจะจากมา ข้าพเจ้าได้ถามผู้ป่วยว่า “เบื่อ ทีจ่ ะฟังข้าพเจ้าพูดไหม” ผูป้ ว่ ยบอกว่า “ไม่เบือ่ ” รวมถึงถามว่า อยากให้ข้าพเจ้ามาพบอีกไหม ผู้ป่วยบอกว่า “อยากให้มาอีก” ข้าพเจ้าจึงรับปากกับผู้ป่วยว่าพรุ่งนี้ข้าพเจ้าจะมา หลังจากนั้น จึงได้นัดแนะมารดาและภรรยาผู้ป่วย เพื่อเตรียมสังฆทาน ดอกไม้ และธูปเทียน ฝากนัดญาติพี่น้องลูกหลานมาให้พร้อม กันทุกคน และนัดเวลาในการท�ำกิจกรรมทางศาสนาในวันรุง่ ขึน้ ตอนเช้าวันรุง่ ขึน้ ผูป้ ว่ ยมีอาการทรุดลง ทุรนทุราย ไม่รสู้ กึ 39


ตัว พยาบาลได้เข้ามาวัดสัญญาณชีพ เจาะน�้ำตาลในเลือด ให้ สารน�้ำทางหลอดเลือดด�ำ พ่นยาให้ ในตอนนั้นทุกคนต่างคิด ว่าผู้ป่วยก�ำลังจะเสียชีวิต ทั้งเพื่อนบ้านและญาติผู้ป่วยได้มา เยี่ยมเพื่อดูใจเป็นครั้งสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เข้าไปพูดกับผู้ป่วยให้ ท�ำใจให้สงบ พร้อมรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ให้รับฟังเสียง สวดมนต์ที่ข้าพเจ้าจะน�ำสวดให้ฟัง จากนั้นข้าพเจ้าน�ำญาติผู้ ป่วยสวดมนต์อิติปิโส และสวดคาถาชินบัญชรให้ผู้ป่วยฟัง ประมาณ 30 นาที เมื่อพระภิกษุที่นิมนต์ไว้มาถึง ข้าพเจ้าจึง น�ำทุกคนท�ำกิจกรรม ถวายสังฆทาน รับศีลรับพร และให้ญาติๆ ขอขมาลาโทษ หลังพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นและพระภิกษุ กลับไปแล้ว ปรากฏว่าผูป้ ว่ ยรูส้ กึ ตัวดีขนึ้ อาการหอบลดลง พูด คุยรู้เรื่องดี ร้องขออยากกลับบ้าน แต่ญาติผู้ป่วยไม่อยากให้ กลับ บอกเพียงสั้นๆ ว่าไม่พร้อม ในตอนนั้นผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลสนมมีโอกาสได้เยี่ยม ผูป้ ว่ ยรายนีพ้ อดี หลังเยีย่ มผูอ้ �ำนวยการบอกข้าพเจ้าว่า “ผูป้ ว่ ย ร้องขอกลับบ้าน และตัวท่านเองอยากให้ผู้ป่วยกลับบ้านตามที่ ตั้งใจ” เมื่อพบข้าพเจ้า ผู้ป่วยก็ร้องขออีกว่า “อยากกลับบ้าน อยากกลับไปดูบา้ น ขอไปบ้านนะขอไปสักสองสามวัน เดีย๋ วจะ มาใหม่” แต่ยังไงๆ ญาติก็ไม่อยากให้กลับ ข้าพเจ้าจึงตอบ ผู้ป่วยไปว่า “ขอคุยกับญาติก่อนแล้วจะให้ค�ำตอบ” ข้าพเจ้าได้ ออกมาคุยกับญาติที่ข้างนอกห้อง ญาติยังคงยืนยันว่าที่บ้าน ไม่พร้อมดูแลผูป้ ว่ ย ข้าพเจ้าจึงถามญาติวา่ “ขาดเหลืออะไรคะ” 40


ได้ค�ำตอบว่า ไม่มีออกซิเจนถ้าผู้ป่วยหอบจะท�ำอย่างไร ข้าพเจ้าค้นพบว่าการที่ญาติผู้ป่วยไม่พร้อมรับผู้ป่วยกลับ บ้านเพราะมีความกังวลใจในการดูแล ทั้งที่อยากท�ำตามความ ต้องการของผู้ป่วยเช่นกัน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงช่วยเตรียมความ พร้อมโดยให้ภรรยาผู้ป่วยบันทึกขอยืมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จ�ำเป็น ในการดูแลผูป้ ว่ ย ทัง้ เตียง ถังออกซิเจน และอุปกรณ์ในการให้ ออกซิเจน น�ำกลับไปเตรียมที่บ้านก่อนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แล้วจึงไปบอกผู้ป่วยว่า “ตกลงจะให้พี่กลับบ้านนะคะ” ผู้ป่วย ยกมือไหว้ขอบคุณทัง้ น�ำ้ ตา ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่า ผูป้ ว่ ยมีสหี น้า สดชื่น ท่าทางแข็งแรงขึ้นทันที เมื่อญาติได้จัดบ้านรอรับผู้ป่วยเรียบร้อย ข้าพเจ้าจึงจัดรถ โรงพยาบาลและตามไปส่งผู้ป่วยที่บ้านด้วยตัวเองเพื่อดูความ พร้อมในการรับผู้ป่วย และดูแล แนะน�ำเกี่ยวกับการเตรียม ออกซิเจน วิธีการใช้ออกซิเจนแก่ญาติ เมื่อส่งผู้ป่วยเรียบร้อย ข้าพเจ้าจึงขอตัวกลับ ผูป้ ว่ ยยิม้ ทัง้ นำ�้ ตา ยกมือไหว้พร้อมกล่าว ขอบคุณข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจากมาด้วยความรูส้ กึ ทีด่ ี ทีไ่ ด้ท�ำตามทีผ่ ปู้ ว่ ยร้องขอ เป็นครัง้ สุดท้าย สามารถจัดการสิง่ ทีค่ า้ งคาใจให้ผปู้ ว่ ยได้ ก่อน ทีผ่ ปู้ ว่ ยจะลาจากโลกนีไ้ ป และรุง่ เช้าของวันถัดมา ผูป้ ว่ ยก็จาก ไปโดยสงบที่บ้านของตนเอง

41


42


กลับบ้าน

เกื้อจิตร แขรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

ห้าโมงเย็น ขณะก�ำลังสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์คใู่ จเพือ่ ขีก่ ลับ บ้านหลังเลิกงาน พีเ่ กือ้ ได้ยนิ เสียงโฟนเรียกชือ่ ตนเองเพือ่ ตาม ตัว จึงจอดรถแล้วโทรถามท�ำให้ทราบว่า ญาติผู้ป่วยรายหนึ่ง ต้องการอโหสิกรรม เพราะผูป้ ว่ ยก�ำลังจะตาย แต่เขาท�ำไม่เป็น อยากให้พี่เกื้อไปช่วย เมื่อไปถึง เห็นญาติเขา 6-7 คน ยืนรอ ถือพวงมาลัยบ้าง ดอกไม้บ้าง พี่เกื้อจึงน�ำสวดมนต์ และกล่าวค�ำอโหสิกรรม แต่ เพียงแค่เริม่ ต้นสวดมนต์ผปู้ ว่ ยก็บดิ ตัว แสดงสีหน้าไม่สบายใจ จนคิดว่าเขาไม่รับการอโหสิ แต่ได้น�ำกล่าวไปจนจบ จึงชวน 43


ญาติมานั่งคุยกัน ว่า พ่อ (หมายถึงผู้ป่วย) เป็นอะไรมา ลูกๆ ผู้ป่วยก็ช่วยกันเล่าว่าพ่อมีเลือดออกในกระเพาะ วันนี้ให้เลือด ไปแล้วทัง้ หมด 10 ถุง แต่คา่ ความเข้มข้นของเลือดไม่ดขี นึ้ เลย คิดว่าแกใกล้จะจากไปแล้วจึงอยากขออโหสิกรรมตามประเพณี ถามต่อว่าเห็นอาการท่าทางพ่อไหมว่าเป็นอย่างไร แกบิดตัว บิดหน้า ลูกๆ จึงน�ำกระดาษบันทึกที่พ่อเขียนมาให้ดู “ทรมานเหลือเกิน ใครถอดท่อทีป่ ากออกได้ ให้สมบัตหิ มด เลย ถ้าตายอยากกลับบ้าน ถ้าตายให้เอาศพไว้วัดกลาง...เอา ศพไว้ 3 วัน” ผูป้ ว่ ยเขียนขณะใส่ทอ่ ช่วยหายใจท�ำให้พดู ไม่ได้ ลายมือตัว โตๆ เขียนด้วยดินสอ ที่อ่านได้ค่อนข้างยาก แต่ลูกทุกคนและ ญาติๆ อ่านได้ตรงกัน แต่วันนี้ร่างกายของพ่อไม่ตอบสนองต่อ การให้เลือดแล้ว เลยต้องตกลงกันว่าจะท�ำอย่างไร ภรรยาผูป้ ว่ ย บอกว่าท่าทางแกอยากกลับบ้านนะ พี่เกื้อจึงลองถามผู้ป่วยว่า อยากกลับบ้านไหม เขาพยักหน้า แต่เพื่อความมั่นใจจึงย�้ำอีก รอบว่า คุณพ่อ ถ้าคุณพ่ออยากกลับบ้านให้ตะแคงตัว จะได้ เปลี่ยนเสื้อผ้ากลับบ้าน ปรากฏว่าคนป่วยที่แทบไม่มีแรงขยับ ตัวตะแคงทันที พี่เกื้อจึงบอกว่า ไม่เป็นไร ขอปรึกษาลูกดูให้ รอก่อน และได้คุยกับลูกชายคนโต ดังบทสนทนานี้ พี่เกื้อ: เอายังไงดี พ่ออยากกลับบ้าน ลูกชายคนโต: กลับไม่ได้นะหมอ พ่อแกไม่รู้เรื่องหรอก พ่อจะรู้ได้ยังไง แกเป็นชาวไร่ชาวนา ให้กลับไม่ได้ๆ รู้ไหม 44


ผมเป็นใคร พี่เกื้อ: คุณท�ำงานอะไรคะ ลูกชายคนโต: อ๋อ ผมเป็นต�ำรวจ พี่เกื้อ: คุณเป็นต�ำรวจ ตอนนี้คุณอยู่บ้านคุณเองหรืออยู่ บ้านพ่อแม่ ลูกชายคนโต: อยู่บ้านผมเอง พี่เกื้อ: ช่วงเวลาที่คุณท�ำงานที่ผ่านมา คุณเคยไปอบรม ไหม ลูกชายคนโต: เคยครับ พี่เกื้อ: ไปนานๆ ไปประมาณกี่วัน ลูกชายคนโต: 7 วันก็มี พี่เกื้อ: ช่วงที่คุณจะไปอบรม 7 วันนั้น ก่อนที่คุณจะออก จากบ้านคุณท�ำอะไรบ้าง ลูกชายคนโต: ผมก็ปิดเตาแก๊ส ปิดน�้ำ ปิดไฟ ผมเก็บผ้า ทีผ่ มตากไว้ บางทีกป็ ดิ หน้าต่าง ผมก็ขบั รถออกจากบ้าน บางที ก็ขบั กลับมาว่าปิดประตูหรือยัง พยายามดูโน่นดูนี่ คิดว่าถ้าฝน ตกของจะไม่เสียหาย ก็ประมาณนี้ล่ะ คุณหมอถามท�ำไม พี่เกื้อ: ที่ถามเพราะว่าคุณไป 7 วัน คุณห่วงนู่นนี่นั่น ว่า ยังไม่เรียบร้อย คุณห่วงบ้านคุณ แล้วบ้านทีพ่ อ่ คุณอยูใ่ ครสร้าง ให้แก ลูกชายคนโต: แกสร้างเองครับหมอ กว่าแกจะเก็บเล็ก ผสมน้อยได้นะ 45


พีเ่ กือ้ : แล้วคุณคิดว่าเขาจะจากไปชัว่ นิรนั ดร เขาอยากเห็น บ้านเขาสักครั้งไหมที่เขาสร้างมากับมือ กว่าเขาจะสร้างบ้าน หลังนี้ได้เขาเก็บหอมรอมริบขนาดไหน เขาผูกพัน เขารักมัน และเขาจะจากมันไป เขาอยากเห็นซักครั้งหนึ่ง เหมือนที่คุณ จากไป 7 วันแต่คุณกลับมา แต่นี่เขาจากไปชั่วนิรันดร นี่ไม่ได้ ว่านะ แล้วแต่ พูดให้ฟังเฉยๆ ไม่ได้พูดให้ตัดสินใจ แล้วคนอื่น ว่าอย่างไร ลูกชายคนโต: เขาจะไม่ว่าเราอนาถาเหรอ พวกเรารับ ราชการอย่างนี้แล้วเอาพ่อกลับบ้าน พี่เกื้อ: ใครจะว่าอะไร ก็พ่อเราอยากกลับน่ะ อยู่ไปการ รักษาก็ไม่ได้ผล กลับไปก็มีความสุข ก็แล้วแต่นะ แต่ถ้าลูกพูด แตกกัน (ไม่เห็นด้วยทุกคน) หมอไม่ให้กลับ เพราะเดี๋ยวจะ เกิดการฟ้องร้องได้ว่าไม่รักษา ผลักไสไล่ส่ง อยู่ก็ดูแล แต่ดูแล ได้เท่านี้ เพราะจากเลือดที่ให้ไป สังเกตไหมว่ากี่ถุง แล้วเจาะ เลือดน่ะเม็ดเลือดไม่เพิ่มเลย แต่ถ้าจะเอาแกกลับต้องเซ็นชื่อ ด้วยกันทั้งหมด (จริงๆ โรงพยาบาลให้เซ็นยินยอม 2 คน ก็ สามารถกลับบ้านได้ แต่พี่เกื้อให้ลูกทุกคนเซ็นเพราะไม่อยาก มีเรื่อง) ลูกชายคนโต: ผมถามนิดนึง ถ้าผมเอาพ่อกลับบ้าน ผม เป็นกังวลอยู่ หนึง่ ผมจะพากลับยังไงเพราะรถผมเป็นรถปิคอัพ สอง ถ้าระหว่างทางกลับบ้าน อยู่ๆ พ่อเกิดลุกขึ้นมานั่งจะให้ ท�ำยังไง และสาม ถ้าแกหิวข้าว ผมจะท�ำยังไง 46


พี่เกื้อ: ไม่เป็นไร กลับตอนเย็นให้แดดร่มลมตกก่อน พา แกนอนไปข้างหลังได้ และถ้าแกลุกมาก็ไม่ต้องท�ำอะไรแสดง ว่าแกไม่ตาย (ความเป็นจริงผูป้ ว่ ยลุกไม่ไหวแล้ว) ส่วนเรือ่ งกิน ข้าวแกกินไม่ได้หรอกช่วงนี้ ข้าว น�ำ้ ออกซิเจน ไม่ได้มสี ว่ นช่วย ให้พ่อคุณดีขึ้นเลย แต่ความรัก ความอบอุ่น ความภาคภูมิใจ ในอดีตทีผ่ า่ นมา อันนัน้ แหละจะเป็นอาหารใจทีจ่ ะท�ำให้พอ่ คุณ มีความสุข ถ้าปากเขาแห้งก็หยดน�ำ้ ใช้หลอดหยด หรือเอาส�ำลี ชุบนำ�้ เช็ดได้ และอย่าเดินหนีแก เวลาพาแกขึน้ รถให้บอกว่าจะ พากลับบ้าน รถวิ่งถึงไหนแล้ว และถึงบ้านเราแล้วนะ ให้บอก ไปตามทางที่กลับ แล้วถ้ามีอะไรโทรหาพี่ได้ตลอด สรุปคือลูกๆ ตกลงพาพ่อกลับบ้าน พี่ได้ไปถามแกด้วยว่า ดีใจไหมที่ได้กลับบ้าน ถ้าดีใจให้ยิ้ม และแกยิ้มด้วย ก็เตรียม การเปลี่ยนเสื้อผ้า ถอดเครื่องมือทุกอย่างออกให้ เหลือเพียง ขวดน�้ำเกลือที่ญาติขอให้ติดไป และแนะน�ำวิธีดึงเข็มออกเมื่อ น�้ำเกลือหมด เตรียมส�ำลีไปให้พร้อมสรรพ สุดท้ายคนไข้ราย นี้กลับไปอยู่บ้านได้ 1 วันเต็มก็จากไป และลูกชายคนโตแกก็ มาขอบคุณ แกบอกว่าดีใจทีไ่ ด้พาพ่อกลับบ้าน ผมไม่รเู้ รือ่ ง ไม่ อย่างนัน้ ก็ยอื้ ให้อยูแ่ ต่ในโรงพยาบาล ทัง้ ทีพ่ อ่ ก็รอ้ งว่าอยากกลับ บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ยังคงมีสติ ส่วนใหญ่มักอยากกลับ บ้าน แต่ลกู หลานญาติพนี่ อ้ งเป็นกังวล ไม่รจู้ ะดูแลให้ดไี ด้อย่างไร จึงมักยื้อไว้ให้อยู่โรงพยาบาลและวางใจให้แพทย์พยาบาลดูแล 47


ไปจนนาทีสุดท้าย แต่ถ้าเรารู้วิธีดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้าย เรา เตรียมการเตรียมบ้านให้พร้อม เราจะสามารถพาคนที่เรารัก กลับมาตายในทีท่ เี่ ขารักและคุน้ เคยทีส่ ดุ ได้ เขาจะจากไปอย่าง หมดห่วง หมดกังวล

48


จากไปอย่างสงบ มาลา บุตรศรี โรงพยาบาลหางดง เชียงใหม่

การเข้าเวรบ่ายไปจนถึงดึกในหอผูป้ ว่ ยพิเศษของดิฉนั ท�ำให้ มีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลากหลายกรณี ดิฉันพบ ว่าผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายมักมีความวิตกกังวล สับสน และ เศร้าหมอง ต้องเผชิญกับความพลัดพรากในวาระสุดท้ายของ ชีวิต บางครั้งผู้ป่วยมีอาการทางกายราวกับจะเสียชีวิต แต่ เหมือนกับรอบางสิง่ บางอย่าง ยังไม่สามารถจากไป สิง่ ทีป่ ระทับ ใจคือ ดิฉันได้ช่วยให้ผู้ป่วยได้ปล่อยวางและปลดเปลื้องสิ่งที่ยัง ค้างคาใจจนสามารถจากไปได้อย่างสงบ ทุกวันนี้ดิฉันยังนึกถึง คุณตาคุณยายทุกท่าน และญาติๆ ของพวกเขาก็ยังคงเป็น 49


กัลยาณมิตรกับดิฉันและโรงพยาบาล ในขณะที่พวกเขาต่าง ขอบคุณดิฉนั ดิฉนั เองก็ขอบคุณพวกเขาเช่นกันทีเ่ ปิดโอกาสให้ ดิฉันได้ท�ำสิ่งดีๆ ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผู้ป่วยรายแรกเป็นคุณตา อายุยืนถึง 103 ปี คุณตาเป็น โรคชรานอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงมีแผล กดทับ นอกจากดวงตาที่ไม่สามารถสู้แสงได้ คุณตายังรับรู้ดี พูดคุยได้ แต่ลกู ชายคนเดียวไม่สามารถอยูเ่ ฝ้าต้องจ้างคนดูแล เมื่อดิฉันเข้าไปพูดคุยด้วยพบว่าคุณตาเหงามาก เพราะคอย เรียกชื่อคนดูแลตลอดเวลา ดิฉันจึงชวนคุณตาท�ำสมาธิและ ภาวนาพุธโธเป็นประจ�ำทุกวัน จนวันหนึ่งคุณตาเปิดเปลือกตา ขึ้นและพูดคุยกับดิฉัน ถามว่า “พุธโธนี่มันเป็นใคร ท�ำไมต้อง ท่องชื่อมัน” ดิฉันฟังแล้วยิ้ม นอกจากนี้คุณตายังเผยความใน ใจให้ฟังว่าตลอด 2 ปีที่เดินไม่ได้ ไม่เคยได้ไปวัดเลย ดิฉันจึง แจ้งญาติวา่ จะนิมนต์พระมาเทศน์และรับสังฆทาน ซึง่ ญาติตกใจ เพราะไม่เคยรู้ความต้องการของคุณตามาก่อน ญาติยินดีมาก ที่ได้ท�ำตามที่คุณตาต้องการ โดยขณะที่พระมาญาติได้จับมือ คุณตาขึ้นพนมไหว้ ใจคุณตาคงสงบลงเพราะหลังจากนั้นเพียง 3 วันคุณตาก็จากไป นอกจากนีย้ งั มีผปู้ ว่ ยอีกสองรายทีต่ ดิ ขัดคับข้องใจกับญาติ ทั้งที่อยู่ใกล้ตัวและไกลตัว กรณีแรกคุณยายร่างเล็กอายุ 91 ปีป่วยด้วยโรคชราและกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นคนจิตใจดีชอบ ท�ำบุญ ด้วยคุณยายเป็นโสดจึงมีเพียงหลานสาวมาคอยดูแล 50


แต่เมือ่ ดิฉนั อยูเ่ วรและแวะมาดูแลคุณยายเป็นประจ�ำ จึงสังเกต เห็นว่าหลานสาวคุณยายมักหายตัวไปช่วงค�่ำ และกลับมาด้วย ใบหน้าแดงก�่ำตาเยิ้มมีกลิ่นเหล้า ดิฉันสงสารคุณยายจับใจที่ ต้องป่วยทัง้ กายและใจ จนวันหนึง่ ดิฉนั ได้ยนิ เสียงคุณยายก�ำลัง ตัดพ้อ “เลีย้ งมาตัง้ แต่เล็กท�ำไมท�ำตัวอย่างนี”้ หลานสาวหน้างอ ไม่พอใจและจะเดินออกจากห้อง ดิฉันจึงใช้จังหวะนี้พูดคุย พยายามชีใ้ ห้เห็นถึงการท�ำหน้าทีต่ นเองให้ดที สี่ ดุ พูดถึงคุณงาม ความดีเวรกรรมทีท่ �ำร่วมกันมาจึงต้องท�ำให้มาพบเจอเกีย่ วข้อง ผูกพันเป็นญาติกันดูแลกัน และพยายามเล่าว่าการสวดมนต์ ภาวนาดีอย่างไร การอโหสิกรรมเป็นอย่างไร โดยไม่ได้คาดหวัง ว่าหลานสาวคุณยายจะเชื่อ แต่คิดว่าเป็นการชี้น�ำสิ่งดีๆ ให้ ต่อมาหลายสาวคุณยายหายตัวไป 1 วัน จนรุ่งขึ้นช่วงค�่ำ ดิฉนั เข้าเวรตามปกติ ก็ยงั ไม่พบหลานคุณยาย จึงชวนคุณยาย พูดคุยและน�ำสวดมนต์ก่อนนอน คุณยายยกมือขอบคุณ แต่ พอดิฉันหันกลับก็มาพบหลานสาวคุณยายยืนมองอยู่เหมือน ส�ำนึกผิด จึงเข้าไปจับมือและบอกว่าคุณยายชอบให้น�ำสวดมนต์ ตอนค�่ำ ไม่มีแรงสวดเอง พรุ่งนี้ดิฉันหยุดอยากให้เธอท�ำหน้าที่ นี้ และทราบภายหลังว่าเธอมาหยิบหนังสือสวดมนต์ไปจริง ดิฉนั จึงเอ่ยชมเธอดังๆ ในวันต่อมาว่าคุณยายนอนหลับได้ดมี าก ทัง้ ยายหลานต่างอมยิ้ม หลังจากนั้นสัมพันธภาพในครอบครัวคุณยายก็คลี่คลาย จนถึงวันทีค่ ณ ุ ยายต้องจากไป ดิฉนั มีโอกาสได้น�ำทางโดยเรียก 51


น้องๆ พยาบาล หลานสาวและญาติๆ คุณยายมารวมตัวกัน ดิฉนั พนมมือและกล่าว “ขอท่านพระภูมเิ จ้าทีส่ งิ่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ดี่ แู ล ปกป้องรักษาโรงพยาบาลหางดง บัดนี้คุณยายวันดี ชุมชาย ก�ำลังจะสิ้นลมหายใจ ขอพระภูมิเจ้าที่ได้โปรดเปิดทางน�ำดวง วิญญาณของคุณยายไปสู่สุคติด้วยเทอญ” ญาติๆ ทุกคนช่วย กระซิบข้างหูคุณยายให้นึกถึงสิ่งดีๆ ระลึกถึงคุณงามความดีที่ ได้ท�ำมาตลอดชีวิต แล้วคุณยายก็จากไปโดยอาการสงบ ส�ำหรับกรณีสดุ ท้ายเป็นคุณยายวัยเกษียณป่วยเป็นมะเร็ง ปอดระยะสุดท้าย จากการพูดคุยดูเหมือนไม่มปี ญ ั หาอะไร เพราะ คุณยายศึกษาธรรมะ ปล่อยวางชีวติ ได้ มีการร้องขอยาแก้ปวด บ้างเมือ่ ทนไม่ไหวจริงๆ คุณยายชอบให้ดฉิ นั สวดมนต์ให้ฟงั แต่ วันหนึง่ อยูๆ่ คุณยายก็ถามขึน้ มาว่า “มีนอ้ งชายไหม” ดิฉนั ตอบ ว่าไม่มี เป็นลูกคนสุดท้อง คุณยายได้แต่เปรยว่าดีนะ ไม่ต้อง ทะเลาะกับใคร ดิฉันสังเกตว่าคุณยายอยากเล่าแต่เพลียและ เหนื่อยมาก จึงสอบถามจากคนดูแลทราบว่าคุณยายมักดูรูป ผู้ชายคนหนึ่งและบอกว่าเป็นน้องชาย ดิฉันจึงสอบถามจาก ญาติเพิ่มจึงได้ทราบว่าเมื่อ 15 ปีก่อนคุณยายทะเลาะกับน้อง ชายรุนแรงและโกรธกัน จากนั้นน้องชายแยกไปท�ำธุรกิจอยู่ มหาชัย ไม่ได้พบกันอีกเลย เมื่อวาระสุดท้ายของคุณยายใกล้เข้ามา ดิฉันคุยกับหลาน ชายคุณยายว่าน่าจะให้นอ้ งชายคุณยายมาขออโหสิกรรม เพราะ สังเกตเห็นเหมือนคุณยายรออะไรบางอย่าง แต่หลานคุณยาย 52


แจ้งว่าโทรไปหลายครั้งแล้วเขา บอกว่าไม่วา่ ง ดิฉนั จึงตัดสินใจใช้ โทรศัพท์ติดต่อและอาสาคุยกับ น้องชายคุณยายว่า “ตอนนี้คุณ ยายอาการหนัก พูดไม่ได้แต่รบั รู้ โดยพยักหน้าและบีบมือ คุณโกรธ อะไรกันดิฉันไม่ทราบ แต่ดิฉัน อยากบอกคุณว่าคุณยายรอคุณมาเยีย่ ม เดีย๋ วดิฉนั จะให้คณ ุ คุย กับคุณยายนะคะ” ทางปลายสายตอบตกลง ดิฉนั เปิดเสียงล�ำโพงโทรศัพท์ไว้แล้ววางใกล้หคู ณ ุ ยาย ทาง ปลายสายร้องไห้กล่าวขอโทษและอโหสิกรรมให้คุณยายทุก อย่าง รวมถึงขออโหสิกรรมกับคุณยายเช่นกัน ประมาณ 5 นาทีทนี่ อ้ งชายคุณยายพูดคุยสัญญาณชีพคุณยายเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว หายใจแรงขึ้น ดิฉันจึงพูดกับคุณ ยายต่อว่า “คุณยายอโหสิกรรมให้น้องแล้วนะคะ ต่อไปจะได้ ไม่มีเวรกรรมต่อกัน หากคุณยายจะไปโลกหน้าอย่างสบายใจ คุณความดีทเี่ คยท�ำจะน�ำเราไปสูภ่ พภูมทิ ดี่ ี คนอยูข่ า้ งหลังก็ไม่ รูส้ กึ ติดค้างกัน” ดิฉนั เห็นเหมือนคุณยายพยักหน้าและ 3 นาที ถัดมาคุณยายก็จากไปอย่างสงบ

53


54


ลืมตา...วาระสุดท้าย พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ กลุ่มพระอาสาคิลานธรรม

เมื่อเดินทางไปถึงโรงพยาบาลได้พูดคุยกับญาติผู้ป่วย คือ สามี และเพื่อน โดยมีแม่ของสามี ลูกสาว ลูกชายที่เพิ่งกลับ จากออสเตรเลียเมื่อวาน และญาติอีก 2 คน อยู่ด้วย ได้รับ ข้อมูลว่า ผู้ป่วยอายุ 50 ปี เป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย มา พักอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2 เดือน อาการทรุดหนักมา 3 วันแล้ว หายใจแรง ไม่พูด ไม่มีความรู้สึก สัญญาณชีพอ่อน ที่ เห็นวันนี้ถอดสายออกหมดทุกอย่าง แต่ยังให้มอร์ฟีนอยู่ สามี สวดมนต์ให้ฟังทุกวัน ลูกสาวบอกว่า ใส่บาตรทุกวันพฤหัสบดี และได้เคยสั่งเสีย ร�่ำลา พร้อมทั้งให้ก�ำลังใจมาทุกอย่างแล้ว 55


ตอนนีเ้ หมือนกับว่ามีความกังวลจึงไม่ยอมละสังขาร คงเป็นห่วง ลูกทั้งสองคน จากนั้น เธอจึงจัดเก้าอี้ให้นั่ง ข้าพเจ้าเข้าไปนั่ง ขอน�้ำร้อน จิบเพราะมีอาการไอ แล้วจึงให้สามีบอกกับผู้ป่วยว่ามีพระมา เยี่ยม ให้ญาตินั่งล้อมเตียงไว้ นั่งก�ำหนดใจประมาณ 1 นาที แล้วค่อยๆ พูดว่า “เจริญพร เจริญพร โยม...โยมได้ยินเสียง อาตมาไหม นี้เป็นเสียงของพระนะ อาตมามาเยี่ยมโยมนะ พอดีรจู้ กั กับญาติของโยม ทราบว่า...โยมไม่สบายเลยขอโอกาส มาเยี่ยม หากโยมได้ยินเสียง ขอให้ท�ำความรู้สึกว่า ตอนนี้มี พระนุ่งห่มจีวรสีเหลืองมานั่งอยู่ข้างๆ นะ ท่านห่มผ้าเป็น ปริมณฑลสวยงามเรียบร้อย ให้ก�ำลังใจโยมอยู่ข้างๆ หลายๆ ครั้งโยมคงได้เคยท�ำบุญใส่บาตรกับพระ เมื่อครู่นี้ลูกๆ บอก ว่า...โยมท�ำบุญทุกวันพฤหัสบดี ขออนุโมทนากับโยมด้วย เวลา ที่เราได้ท�ำบุญแล้ว จิตใจสบาย ปลอดโปร่ง เมื่อจิตใจปลอด โปร่งแล้ว บุญก็เกิดขึ้น เมื่อบุญเกิด ความสุขก็เกิดขึ้น บุญที่ เราได้สร้าง ได้ท�ำ ไม่ได้ส่งผลให้เรามีความสุขคนเดียวนะ แต่ ยังส่งผลไปสู่คนที่อื่นๆ ด้วย คนอื่นคือใคร คนอื่นคือคนที่เรา รักนั่นแหละ เช่น สามี พ่อ แม่ ลูกๆ เขาย่อมได้รับความสุขที่ เกิดจากบุญทีเ่ ราได้สร้างด้วยนะ เวลาทีเ่ ขามีความสุข เขาย่อม เข้มแข็ง สามารถที่จะด�ำรงตนเองได้ในทุกที่ หลวงพ่อพุทธทาส บอกว่า ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือ ธรรมะ เวลาทีเ่ ราได้ท�ำหน้าทีค่ อื เราได้ปฏิบตั ธิ รรมไปด้วย ตัง้ แต่ 56


เด็กมา โยมได้ท�ำหน้าทีล่ กู ทีด่ ขี อง พ่อแม่ มีสามีกท็ �ำหน้าทีข่ องภรรยา ที่ดี เมื่อมีลูกก็ท�ำหน้าที่ของแม่ที่ ดี ลูกของโยมตั้งใจเรียนถึงเมือง นอก อันนี้ก็เนื่องมาจากการท�ำ หน้าทีข่ องโยมทีด่ ี จึงส่งผลให้ลกู ๆ ตั้งใจท�ำความดีนะ ขออนุโมทนา กับความดีของโยมด้วย ที่เกิดมา ครั้งหนึ่งได้ท�ำความดีสมกับที่มีชีวิตอยู่ ขอให้โยมจงภาคภูมิใจ ในความดีทโี่ ยมได้ท�ำ ตอนนีโ้ ยมไม่สบายอยู่ หากมีความกังวล ใจในเรื่องใดๆ หากเรื่องนั้นเป็นเรื่องของการงานต่างๆ ขอให้ มั่นใจว่า มีคนช่วยท�ำอย่างเต็มที่ไม่ต้องเป็นห่วง หากเป็นเรื่อง ลูกๆ ขอให้โยมจงมัน่ ใจในตัวลูกว่าเขาเป็นคนเก่ง ขยัน สามารถ เอาตัวรอดได้ในทุกๆ แห่ง ข้อนีเ้ กิดขึน้ จากโยมทีไ่ ด้ปลูกฝังเลีย้ ง ดูทั้งนั้นเลยนะ เขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต หากเป็น เรือ่ งอืน่ ๆ จะมีคนคอยช่วยเหลือดูแล ขอให้โยมจงมัน่ ใจนะ การ งานมีอยู่สองอย่าง อย่างแรก คือการงานทางโลก ตลอดเวลา ที่ผ่านมาโยมได้ท�ำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แล้ว ขอให้โยมจงมั่นใจ และภูมใิ จในสิง่ ทีต่ นเองได้ท�ำ ยังมีการงานอีกอย่างหนึง่ คือการ งานทางธรรม คือการขวนขวายในบุญกุศล คือการงานทางจิต ขอให้โยมรวบรวมสติไว้มาบ�ำเพ็ญการงานทางธรรมะ อาตมาขอชักชวนท�ำการงานทางธรรมกัน พระพุทธเจ้า 57


สอนให้เรามีสติ สัมปชัญญะ เป็นธรรมทีเ่ ป็นเหตุให้เกิดบุญ ให้ เรามีสติอยูก่ บั ตัวเอง นึกถึงความดีทตี่ วั เองได้ท�ำ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งของเรา บุญจะเกิดขึ้นได้ต้อง เกิดจากการที่เรามีศีลก่อน จึงจะสมบูรณ์ ศีลจะเป็นอาภรณ์ เป็นทีพ่ งึ่ ของเรา อยากชวนโยมมารับศีลกันนะ แต่กอ่ นทีจ่ ะรับ ศีล ในช่วงระยะเวลาทีผ่ า่ นมา เราอาจจะเคยผิดพลาดพลัง้ อะไร ไปบ้างในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอาจารย์ อาตมาขอชวนโยมขอขมาท่านเหล่านั้นก่อน เพื่อที่จะไม่มีสิ่ง ติดใจ ว่าตามอาตมานะ” กาเยน วาจาย ว เจตสา วา พุทเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ พุทโฺ ธ ปฏิคคฺ ณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กาลนฺตเร สวํ ริตุ ว พุทเธ ฯ เวลานัน้ ผูป้ ว่ ยลืมตาขึน้ มาทันที อาการหายใจเร็วก็หายใจ ช้าลง สักพักหนึ่งเขาค่อยๆ หลับตาลง และหายใจช้าลงๆ และ นิ่งไป จากนั้นจึงกล่าวขอขมาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครู อาจารย์ ก็จบลง ผู้ป่วยมีอาการสงบนิ่ง ไม่รวู้ า่ จากไปหรือยัง แต่ได้น�ำรับศีล 5 และเจริญพระพุทธ มนต์ ด้วยการชวนญาติร่วมสวดบทอิติปิโสและบทโพชฌงค์ และร่วมกันถวายดอกไม้ธูปเทียน กรวดน�้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอตัวมาพักอยูห่ อ้ งข้างๆ พยาบาลได้เข้าตรวจ และหมอก็มา พอดี หมอแจ้งว่า ผูป้ ว่ ยได้จากไปเรียบร้อยแล้ว จึงขอตัวกลับ 58


ครอบครัวเดียวกัน อุบล หาญฤทธิ์ โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่

ท่ามกลางขุนเขาที่สลับซับซ้อน ดวงอาทิตย์เริ่มคล้อยลงสู่ ขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันตก ควันไฟจากการประกอบอาหาร ลอยอ้อยอิ่งสู่ท้องฟ้า จากบ้านหลังโน้นบ้างหลังนี้บ้าง ตามวิถี ชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนปกากะญอ แห่งหมู่บ้านแม่ก๊ะเปียง ต�ำบลสะลวง อ�ำเภอแม่รมิ วันนีฉ้ นั ขึน้ มาเยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ยหลาย รายทีส่ ถานีอนามัย เพือ่ ติดตามเรือ่ งการใช้ยาและดูอาการ เมือ่ เสร็จภารกิจจึงแวะมาพักที่บ้านพ่อหลวงอินตา (ทางเหนือจะ เรียกผู้ใหญ่บ้านว่าพ่อหลวง ถ้าเป็นผู้หญิงเรียกแม่หลวง และ รวมเรียกภรรยาผู้ใหญ่บ้านว่าแม่หลวงด้วย-บรรณาธิการ) ซึ่ง 59


คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ขณะนั่งพักเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น แม่หลวงละมือจากการ เตรียมอาหารเบื้องหน้า ฉันนั่งฟังบทสนทนานั้นไปด้วย “แม่ หลวง นีห่ มีแ่ ป๊ะเน่อ ช่วยเฮาก�ำ เราไม่รวู้ า่ จะจัดการชีวติ อย่างไร ท�ำอะไรไม่ถูกแล้ว จะท�ำยังไงดี มันมืดไปหมด” น�้ำเสียงเจือ สะอื้น ที่บ่งบอกถึงความระทมทุกข์ ความอัดอั้นที่อยู่ในจิตใจ ส่งเสียงมาตามสาย แม่หลวงจึงตอบไปว่า “มีอะไร ค่อยๆ พูด ค่อยๆ จาก่อน” ปลายสายเล่าว่า “ตอนที่หมอมาตรวจวันนี้ หมอบอกว่า จะให้ สุชาติกลับบ้านแล้ว เปิ้นบอกว่าจะให้มาฉีดยาต่อที่อนามัยทุก วันแต่ตอนนี้สุชาติเองยังเดินเองไม่ได้ ขาทั้งสองข้างยังขยับไม่ ได้ ช่วยตัวเองยังไม่ค่อยได้เลย” สุชาติเป็นสามีของเอมอร เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เกือบเดือนแล้ว ฉันเองแวะไปเยี่ยมมาหลายครั้ง และคิดว่าคง เป็นผูป้ ว่ ยรายต่อไปทีจ่ ะต้องดูแลต่อในชุมชน ตอนสายของวัน นั้น เมื่อแพทย์มาตรวจและถามว่าไปฉีดยาต่อที่สถานีอนามัย ได้หรือไม่ หมี่แป๊ะหรือเอมอรจึงตอบไปว่าได้และต่อท้ายด้วย ประโยคทีว่ า่ แต่สถานีอนามัยอยูไ่ กล ดูเหมือนว่าแพทย์จะได้ยนิ แต่ค�ำว่าได้เท่านั้น จึงสั่งจ�ำหน่ายผู้ป่วยและให้ไปฉีดยาต่อที่ สถานีอนามัย แม่หลวงจึงถามต่อว่า “แล้ว หมี่แป๊ะจะท�ำยังไง ล่ะ” เธอตอบว่า “ยังไงคงต้องหารถไปรับกลับมาคืนนี้ เพราะ รับปากกับหมอไว้แล้ว ถ้าไม่เอาคนไข้กลับก็กลัวพยาบาลจะดุ 60


และไม่ดูแล เพราะเขาบอกให้กลับ ถ้าไม่กลับเขาจะหาว่าดื้อ” แม่หลวงได้ฟังก็เริ่มคล้อยตามความเห็นของหมี่แป๊ะ “เออ นั่น สินะ แต่เดี๋ยวนะ หมอบลอยู่นี่พอดี อู้กับหมอบลก่อนน่อ ว่า จะท�ำยังไงดี” แม่หลวงส่งโทรศัพท์ตอ่ มาให้ฉนั ทีน่ งั่ อยูใ่ กล้ๆ ฉัน จึงบอกไปว่า “ใจเย็นนะหมี่แป๊ะ ตอนนี้เย็นมากแล้ว กว่าจะหา รถได้ กว่าจะไปถึงมันจะมืดเกินไป เดี๋ยวหมอจะประสานกับ เจ้าหน้าที่ที่ตึกให้ ไม่ต้องกลัวนะ เขาไม่ว่าหรอก” “หมอจะพูด ให้จริงๆ เหรอ ตะบรึๆ (ขอบคุณๆ)” น�้ำเสียงเอมอรบ่งบอก ถึงความยินดีอย่างชัดเจน หลังวางสายแล้ว ฉันจึงโทรศัพท์ไปประสานกับพยาบาลที่ หอผู้ป่วยที่สุชาตินอนอยู่แจ้งว่าวันรุ่งขึ้นฉันจะเข้าไปประสาน การรับผู้ป่วยด้วยตนเอง รุง่ ขึน้ ฉันรีบเข้าไปทีโ่ รงพยาบาลแต่เช้า เมือ่ เดินไปทีศ่ าลา พักญาติก็มองเห็นเอมอรได้ไม่ยาก เพราะเธออยู่ในชุดประจ�ำ เผ่าปกากะญอ นัง่ อยูก่ บั พืน้ เข่าทัง้ สองข้างคูข้ นึ้ มา ซบหน้าอยู่ กับฝ่ามือ ฉันเดินเข้าไปทรุดตัวลงนั่งข้างๆ เธอ พร้อมทั้งโอบ ไหล่เธอไว้ เธอเผยรอยยิ้มจางๆ แล้วเราจึงเดินไปพร้อมกัน เมื่อไปติดต่อที่หอผู้ป่วยจึงได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่า แพทย์ วินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคของไขสันหลังและต้องฉีดยาต่ออีกสอง เดือน ซึ่งทางหอผู้ป่วยจะส่งผู้ป่วยไปนอนรักษาตัวต่อที่โรง พยาบาลแม่แตง หรือจะให้ผู้ป่วยมาฉีดยาต่อที่สถานีอนามัย ใกล้บ้านก็ได้ แต่เมื่อฉันดูอาการแล้วสุชาติเองยังไม่สามารถ 61


เดิน หรือแม้แต่ขยับขาทัง้ สองข้างได้ ถ้าจะให้เจ้าหน้าทีไ่ ปฉีดยา ให้ทบี่ า้ นหรือให้ญาติพามาฉีดยาทีส่ ถานีอนามัยคงจะล�ำบากทัง้ สองอย่าง เพราะการเคลือ่ นย้าย ขึน้ ลง ก็ล�ำบากเพราะหมูบ่ า้ น แม่กะ๊ เปียงถึงแม้จะห่างจากสถานีอนามัยประมาณยีส่ บิ กิโลเมตร แต่กเ็ ป็นหมูบ่ า้ นทีอ่ ยูบ่ นภูเขา หนทางคดเคีย้ ว และยังเป็นทาง ลูกรังบางส่วน นอกจากนี้ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็เป็น บ้านที่มีบันไดท�ำด้วยไม้ไผ่เป็นขั้นๆ การเคลื่อนย้าย ขึ้นลง ล�ำบาก แต่ถา้ จะให้เจ้าหน้าทีไ่ ปฉีดยาให้ทบี่ า้ นการเดินทางต้อง ใช้เวลาไปกลับครึ่งค่อนวัน ฉันโทรศัพท์ปรึกษากับหัวหน้าสถานีอนามัยต�ำบลสะลวง และตัดสินใจว่าจะให้มาพักที่บ้านพักของสถานีอนามัยไปก่อน จนกว่าจะฉีดยาครบ ซึ่งทางเอมอรและญาติๆ พอใจและดีใจ มาก เธอบอกว่า “ถ้าไปแม่แตงมันบ่ใช้เส้นทางของเฮาหมอ บ่ จ้างจะไปอย่างใด บ่จ้างจะอยู่อย่างใด แต่ถ้าเป็นสถานีอนามัย บ้านเฮานี่ดีก่า เฮายังคุ้นเคย ขึ้นๆ ลงๆ ได้ ใครไปใครมาก็มา ช่วยมาเปลี่ยนกันดูแลได้ ขอบคุณหมอนักๆ เน่อที่ช่วยเหลือ” ทั้งเอมอรและสุชาติต่างยกมือขึ้นไหว้ ฉันรีบจับมือเธอไว้ “ไม่ เป็นไรหรอก ก็เราคนบ้านเดียวกันนี่นา” ทั้งสองคนยิ้มรับค�ำ พูดของฉันด้วยสีหน้าเบิกบาน สองสามวันต่อมา เมื่อฉันไปปฏิบัติงานที่สถานีอนามัย ก็ พบว่าบ้านพักสถานีอนามัยบริเวณทีเ่ ราเคยใช้เป็นทีน่ งั่ รับประทาน อาหารกลางวันร่วมกัน ได้แปลงสภาพให้เป็นหอผู้ป่วย โดยน�ำ 62


เตียงเหล็กเตีย้ ๆ มาให้สชุ าตินอน มีเอมอรและญาติๆ ปูเสือ่ นัง่ ปักผ้าบ้าง พูดคุยกันบ้างอยู่ใกล้ๆ ถึงแม้เจ้าหน้าที่จะต้องย้าย ที่ทานอาหารกลางวันมาอยู่ด้านหน้าอาคารเยาวชน แต่ทุกคน ก็มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือให้ครอบครัวของสุชาติได้รับความ สะดวกสบายตามอัตภาพ การดูแลคนไข้แบบประคับประคอง ไม่ใช่การดูแลเฉพาะ คนไข้ที่ใกล้จะเสียชีวิตเท่านั้น แต่เป็นการประคับประคองชีวิต ที่เจ็บป่วยให้มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าที่จะท�ำได้ นี่ เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นให้ฉันได้เห็น ได้รับรู้ และฉัน เปรียบเสมือนคนกลางทีค่ อยเชือ่ มโยงระหว่างโรงพยาบาลและ สถานีอนามัยเพือ่ ร่วมหาทางออกให้กบั คนไข้บอ่ ยครัง้ อาจด้วย ความทีห่ า่ งจากบริบทของคนไข้ท�ำให้บางครัง้ เรามองไม่เห็นถึง ปัญหา ความต้องการ หรือความจ�ำเป็นตามพื้นฐานของคนไข้ ทีล่ ว้ นมีความแตกต่างกัน ความเข้าใจมิตทิ างสังคมและวัฒนธรรม 63


และความเข้าใจความเป็นมนุษย์ จะเป็นส่วนช่วยเติมเต็มในการ ให้บริการสุขภาพ และดูแลให้คนไข้มคี วามมัน่ ใจ สามารถดูแล สุขภาพตนเองต่อไปได้

64


ดูแลฉันท์มิตร

พัชร์ณภัค อังกลมเกลียว โรงพยาบาลสนม สุรินทร์

ตลอด 3 ปีกว่าในการดูแลผู้ป่วยหญิงวัย 48 ปีรายหนึ่ง ตัง้ แต่เธอมีอาการต้นขาบวมและปวด หกล้มกระดูกสะโพกร้าว ต้องได้รับการผ่าตัดแต่เนื่องจากขัดสนจึงไม่สามารถรับการ รักษาทีก่ รุงเทพได้ เธอรักษากับหมอชาวบ้านบ้างและถูกส่งต่อ ไปรักษาในโรงพยาบาลประจ�ำจังหวัดบ้าง และที่สุดหมอตรวจ วินิจฉัยพบว่าเธอป่วยเป็นมะเร็งกระดูก จะต้องตัดขา แต่เธอ ปฏิเสธ หลังจากรับการรักษามะเร็งด้วยการให้คีโมและฉายแสง นานเป็น 10 เดือน ซึ่งอาการทุเลาลง ไม่ปวดขา ไม่เหนื่อย 65


เดินเองได้โดยใช้ไม้เท้าช่วยพยุง แต่ต้นขาขวายังบวม ซึ่งตอน นั้นเธอยังเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างท�ำพรมเช็ดเท้า แต่ได้เลิกท�ำ ตามค�ำแนะน�ำของทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพราะฝุ่นจากผ้าจะ ท�ำให้เกิดอาการหอบได้ สองเดือนต่อมา ข้าพเจ้าพบเธอเข้ามาพักที่โรงพยาบาล สนม ด้วยอาการไอ หายใจหอบ และทุกครัง้ ทีไ่ อ จะปวดสะโพก ขวาและขาข้างขวามาก ไปโรงพยาบาลสุรินทร์แล้วแพทย์บอก ว่ามะเร็งกระจายเข้าสูป่ อด และเป็นระยะสุดท้าย นอนพักรักษา ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 1 คืน จึงขอกลับมารักษาที่โรงพยาบาล สนมเพราะใกล้บ้าน วันที่พบกันเธอดีใจที่ได้เห็นข้าพเจ้า เรา พูดคุยกันจนข้าพเจ้าทราบว่าผู้ป่วยยอมรับกับโรคที่เป็นได้ แต่ ห่วงลูก ผู้ป่วยมีลูก 2 คน คนโตเป็นผู้ชายก�ำลังศึกษาในชั้นปี ที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ และมีลูกสาวคนเล็กอายุ 8 ปี ข้าพเจ้าได้พูดคุยให้ก�ำลังใจผู้ป่วย ชี้ให้ผู้ป่วยได้เห็นสิ่งที่ดีใน ชีวิต เช่น มีสามีที่ดูแลดี มี ลูกตัง้ ใจเรียน และมีลกู สาวที่ น่ารัก ซึ่งผู้ป่วยบอกว่าห่วง ลูกมากแต่ก็ต้องยอมรับกับ โชคชะตาและความตายทีใ่ กล้ มาถึง ข้าพเจ้าแนะน�ำผู้ป่วย ภาวนาพุทโธและสวดมนต์ ผู้ป่วยบอกว่าท�ำได้บ้างไม่ได้ 66


บ้าง เพราะยังอดคิดไม่ได้และบางครั้งเมื่อปวดมากการภาวนา ก็ชว่ ยไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงแนะน�ำผูป้ ว่ ยให้บอกพยาบาลเมือ่ มีอาการ ปวดเพื่อที่จะได้รับยาแก้ปวด ตลอดเดือนเศษ ข้าพเจ้าสังเกตเห็นเพือ่ นพยาบาล รุน่ น้อง ผูช้ ว่ ยพยาบาลและคนงานในโรงพยาบาลผลัดเปลีย่ นหมุนเวียน กันมาดูแลผูป้ ว่ ยรายนี้ โดยมาให้การดูแลทางกายอย่างดี เพราะ ผูป้ ว่ ยปวดมากร้องขอมอร์ฟนี ทุก 4 ชัว่ โมง น้องพยาบาลหลาย คนมาพู ด คุ ย ด้ ว ย กั บ ทั้ ง ผู ้ ป ่ ว ย สามี และลู ก ของผู ้ ป ่ ว ย เจ้าหน้าที่หลายคนน�ำอาหาร ผลไม้ ขนมนมเนยตลอดจนของ เล่นหลากหลายมาให้กับลูกสาวผู้ป่วย สิ่งที่ประทับใจคือการ ดูแลของสามีผู้ป่วย ที่มีจิตใจดี ไม่เคยแสดงอาการเบื่อหน่าย ไม่เคยหงุดหงิดให้เห็น แม้ผปู้ ว่ ยจะอารมณ์เสียจากอาการปวด ด้วยความทรมานของโรค สามีผปู้ ว่ ยไม่เคยเรียกร้องอะไร ดูแล ผูป้ ว่ ยเช็ดเนือ้ ตัวอย่างสะอาด เปลีย่ นแพมเพอร์สให้ ท�ำเองทุก อย่าง แม้พยาบาลจะไปช่วย เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร ท�ำเองได้ นอกจากนีย้ งั อาสาช่วยงานทีต่ กึ ผูป้ ว่ ยในเท่าทีส่ ามารถช่วยเหลือ ได้ เช่น เมื่อผู้ป่วยจิตเวชหนีออกจากตึก ก็จะมาบอกพยาบาล และยังช่วยออกตามหา และยังช่วยดูแลผูป้ ว่ ยเตียงข้างเคียงที่ ไม่มีญาติเป็นอย่างดี ความรู้สึกระหว่างเจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยใน กับผู้ป่วยและญาติรายนี้เป็นเสมือนญาติ อยู่ด้วยกัน ดูแลกัน ทุกวัน เป็นความรู้สึกผูกพันกัน ข้าพเจ้าได้น�ำวิทยุมาเปิดให้ผปู้ ว่ ยฟังธรรมะทุกวัน และเมือ่ 67


ถึงช่วงท้ายผู้ป่วยนอนหลับอยู่บนเตียงตลอดทั้งวันทั้งคืนและ ตื่นเป็นระยะ ซึม รับประทานอาหารน้อยลง จนในที่สุดเสีย ชีวิต ทางโรงพยาบาลจัดรถเพื่อน�ำส่งศพ ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ทีช่ ว่ ยกันดูแลยังได้ไปร่วมงานศพและร่วมกันท�ำบุญให้ดว้ ย เรียก ได้ว่าส่งกันจนถึงปลายทาง

68


พระภิกษุเยี่ยมโยม พระสังฆรักษ์รักษ์ สิริเมธี วัดหวลการณ์ เชียงใหม่

วันนีม้ โี อกาสได้มาเยีย่ มโยมซึง่ มีศกั ดิเ์ ป็นอาของอาตมาเอง โยมป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีอาการน�้ำตาล ขึ้นสูงผิดปกติ จนถึงกับช็อคหมดสติไป ส่งเข้าห้องไอซียู ซึ่ง ทุกคนคาดว่าน่าจะไม่รอด คงไม่มีชีวิตกลับบ้านได้ อาตมาจึง ไปเยี่ยม ได้ไปพบสภาพแล้วคิดว่าคงจะรอดยาก ญาติพี่น้อง ทุกคนเห็นแล้วก็คิดว่าคงไม่รอด บอกทางบ้านเตรียมสถานที่ จัดงานศพได้เลย พออาตมาได้เข้าไปเยี่ยมก็เห็นว่าผู้ป่วยโดนสายยาง และ เครือ่ งมือแพทย์ผกู ระโยงระยางเต็มไปหมด มีหลายจอให้ดดู ว้ ย 69


อาตมาไปเรียกชือ่ ผูป้ ว่ ย แม่นวยๆๆ (อาตมาจะเรียกว่าแม่) คนป่วยขยับ ตัวเล็กน้อยพอรับรู้ได้บ้าง อาตมา จึงพูดไปเบาบอกว่า “หื้อแม่นวย ท�ำใจ๋ดีๆ ไว้เน้อ ชีวิตมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดาของชีวิต เน้อ เพราะจะอัน้ ขอหือ้ ตัง้ สติ ตัง้ จิตอธิษฐานไปตามเสียงสวด มนต์เน้อตุ๊จะสวดมนต์หื้อฟัง เพื่อเป๋นบุญกุศลเกื้อหนุนให้ป้น จากความตุ๊กทรมาน หากว่าจะดับจิตจากโลกนี้ไปก่อขอหื้อไป อย่างสงบสู่สุคติ ถ้ายังบ่าถึงเวลา ก็ขอหื้อผ่อนหนักเป๋นเบา ขอหือ้ เจ้ากรรมนายเวรตังหลายได้ฮบั ฮูแ้ ละอโหสิกรรมหื้อตวย เน้อ” (ให้แม่นวยท�ำใจดีๆ ไว้นะ ชีวิตมีเกิดขึน้ ตัง้ อยูด่ บั ไปเป็น ธรรมดาของชีวติ นะ เพราะฉะนัน้ ขอให้ตงั้ สติ ตัง้ จิตอธิษฐาน ไปตามเสียงสวดมนต์นะ พระจะสวดมนต์ให้ฟังเพื่อเป็นบุญ กุศลให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน หากว่าจะดับจิตจากโลกนีไ้ ป ก็ขอให้ไปอย่างสงบสู่สุคติ ถ้ายังไม่ถึงเวลา ก็ขอให้ผ่อนหนัก เป็นเบา ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทัง้ หลายได้รบั รูแ้ ละอโหสิกรรม ให้ดว้ ยนะ-แปลความโดยบรรณาธิการ) จากนัน้ ก็สวดมนต์ บท กรณียเมตตาสูตร บทชินบัญชร แล้วเอามือลูบหน้าผาก บอก ให้คนป่วยก�ำหนดสติไปตามนิว้ มือพร้อมอธิษฐานจิตไปด้วยสัก 3 นาที พร้อมกับแผ่เมตตาให้กับโยม เป็นเสร็จพิธี หลังจาก นัน้ อาตมาภาพก็พดู ให้ก�ำลังใจกับคนป่วยว่า “ทุกคนบนโลกใบ 70


นี้ต้องพบเจออาการป่วยเหมือนกันหมด เพียงแต่ไผจะเป๋นนัก เป๋นหน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบุพกรรมที่เกยท�ำมา สร้างวิบากกรรม มานัก ก่อต้องพบปะกับสิง่ ทีเ่ กยท�ำมา ดังนัน้ ในโอกาสนีเ้ ฮาไม่ ได้ไปสร้างวิบากกรรมกับไผ เมือ่ เฮาพอฮูส้ กึ ตัว๋ พ่องก็ให้บริกรรม ในใจ๋ไปเบาๆ ว่า พุทโธๆๆ อย่างนี้ไปเรื่อยๆเน้อ เปื่อให้เฮาได้ สร้างบารมีอย่างยิ่งยวด ด้วยการตั้งสติจะอี้เน้อ” (ทุกคนบน โลกใบนี้ต้องพบเจออาการป่วยเหมือนกันหมด เพียงแต่ใครจะ เป็นหนักหรือเป็นน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบุพกรรมที่เคยท�ำมา สร้าง วิบากกรรมมามาก ก็ต้องพบปะกับสิ่งที่เคยท�ำมา ดังนั้นใน โอกาสนีเ้ ราไม่ได้ไปสร้างวิบากกรรมกับใคร เมือ่ เราพอรูส้ กึ ตัว ขึ้นก็ให้บริกรรมในใจไปเบาๆ ว่า พุทโธ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ นะ เพื่อให้เราได้สร้างบารมีอย่างยิ่งยวด ด้วยการตั้งสติอย่างนี้นะแปลความโดยบรรณาธิการ) โยมเขาเหมือนจะรูส้ กึ ตัวมากขึน้ มีการพยักหน้ารับ หลังจากนั้นอาตมาไปเยี่ยมติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน ต่อ มาก็เว้นวันไปเยีย่ ม ท�ำให้โยมมีอาการทีด่ ขี นึ้ ตามล�ำดับ พยาบาล เริ่มถอดอุปกรณ์ออกทีละชิ้น จนกระทั่งได้ออกโรงพยาบาลใน ทีส่ ดุ ซึง่ ท�ำให้อาตมารูส้ กึ ว่าสิง่ ทีไ่ ด้รบั การอบรมมาในเรือ่ งของ การดูแลผูป้ ว่ ยระยะท้าย เป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์ อย่างน้อยก็ท�ำให้ เราได้มโี อกาสได้ชว่ ยเหลือบุคคลทีใ่ กล้ชดิ หรือคนในครอบครัว ของเราเอง 71


72


พบรักหน้าเมรุ

เกื้อจิตร แขรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

ไม่ว่าจะสูญเสียของรัก หรือพลัดพรากจากคนรัก ล้วนน�ำ มาซึง่ ความทุกข์ใจ และยิง่ ต้องพลัดพรากจากไปชัว่ นิรนั ดร์ ย่อม ทรมานใจแสนสาหัส หากเลือกได้เราคงอยากใช้เวลาทีเ่ หลืออยู่ อย่างสุขใจกับคนที่เรารักให้มากที่สุด นันทาป่วยเป็นมะเร็งปอดรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ อาการของโรคท�ำให้หายใจหอบ แต่รับมอร์ฟีนแล้วอาการไม่ดี ขึน้ สีหน้าไม่มคี วามสุข ขณะทีล่ กู สาวของนันทาซึง่ พักอยูก่ รุงเทพ เตรียมการจะมารับแม่ไปอยู่ด้วยกัน เพื่อให้การดูแลที่บ้านใน วาระสุดท้าย แต่นันทากลับยังหายใจหอบ และหอบมากขึ้น เพราะอะไรกัน 73


เรือ่ งราวมันเกิดขึน้ เมือ่ ห้าปี ก่อน คุณป้านันทาเล่าว่าเธอเป็น ม่าย สามีเสียชีวติ ไปแล้ว วันหนึง่ ได้ไปร่วมงานศพของคนรู้จักกัน ที่วัดแถวบ้าน ประเพณีหนึ่งใน งานศพของวัดบ้านนอกคือก่อน ท�ำพิธเี ผาจะมีการโยนทาน เป็น เหมือนการท�ำบุญให้กบั ผูเ้ สียชีวติ และบ่อยครั้งที่การโยนทานนั้น ไม่ใช่เงิน แต่เป็นหมายเลขสลาก ให้ผู้รับได้น�ำไปแลกรับของขวัญ ซึ่งมีทั้งพัดลม ผ้าไหม ข้าวสาร ฯลฯ และเหมือนพรหมลิขิต ที่ท�ำให้นันทาวิ่งไปรับหมายเลขเดียวกันกับสมบูรณ์ คุณลุง หนุม่ ใหญ่ทตี่ กพุม่ ม่ายเช่นเดียวกับเธอ คุณลุงรับทานหมายเลข นั้นได้ แต่คุณป้ารับไม่ได้ ระหว่างนั้นต่างสบตากัน คุณป้าจึง แก้เก้อด้วยการเอ่ยว่า ให้เธอไปแลกรับของให้ไหม คุณลุงคิด ในใจขณะนั้นว่าผู้หญิงคนนี้สวยและมีน�้ำใจ เมื่อคุณป้าไปรับ ของมาซึ่งบังเอิญว่าเป็นผ้าไหม คุณลุงจึงสบโอกาสมอบให้คุณ ป้าเสียเลย หลังจากนั้นคุณลุงสมบูรณ์กับคุณป้านันทาก็ตกลง แต่งงานกัน ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน คนรู้จักละแวกบ้านต่างรักคุณ ลุง เพราะแกเป็นคนขยัน ปลูกผักปลูกกล้วย ออกดอกออกผล ก็เที่ยวแจกจ่ายทุกคน ขณะที่เล่าเรื่องทั้งหมดนี้ นันทาไม่มี 74


อาการหอบเลย เธอเล่าอย่างมีความสุขสีหน้ายิ้มแย้ม และ ลงท้ายว่า “จะให้ชั้นทิ้งลุงแกไปได้อย่างไร” พี่เกื้อรับรู้เรื่องราว แต่การช่วยพูดกับลูกสาวคุณป้าก็ไม่ เป็นผล การแต่งงานใหม่และความรักครั้งใหม่ของแม่เป็นสิ่งที่ ลูกสาวไม่ยอมรับที่จะเข้าใจ คุณลุงเองก็ไม่สามารถย้ายไปอยู่ ดูแลกันได้ เพราะขัดเขินเกินไป จนในที่สุดเจ้านายของคุณป้า ผู้มีพระคุณมาเยี่ยมเยือน ได้เอ่ยปากขอร้องกับลูกสาว เพราะ แกรับรู้เรื่องราวความรักของป้ากับลุงมาตลอด สุดท้ายลูกสาว ยินยอม จากนัน้ อาการหอบของนันทาลดลงอย่างชัดเจน มอร์ฟนี อาจช่วยได้บ้างแต่ใจที่หมดกังวลต่างหากเป็นส่วนส�ำคัญ ไม่นานนัก นันทาก็จากไปในการเฝ้าดูไม่ห่างของสมบูรณ์ ชายผู้เป็นที่รัก ในความเห็นพี่เกื้อ อย่างน้อยการได้ลากัน ได้ ตายจากไปให้เห็น ยังดีกว่าต้องพลัดพรากกันทัง้ ทีย่ งั มีชวี ติ และ ต้องห่วงกังวลซึ่งกันและกัน ต�ำนานการพบรักหน้าเมรุก็จบลง อย่างสงบงาม

75


76


เจ้ากรรมนายเวร

พระปลัดอานนท์ กนฺตวีโร กลุ่มพระอาสาคิลานธรรม

หลังการเยี่ยมไข้ที่นัดไว้ครบแล้ว พยาบาลแจ้งว่า มีคนไข้ ผูห้ ญิงร้องขอการพูดคุยกับพระ เนือ่ งจากได้คยุ กับเพือ่ นทีเ่ ป็น คนไข้ด้วยกัน ทราบว่ามีพระมาคุยมาเยี่ยม คนไข้: หลวงพี่ หนูนี่ท�ำกรรมอะไรมา ชีวิตไม่เคยมีความ สุขเลย มีแต่ทุกข์มาตลอด ผู้เยี่ยม: ชีวิตโยมที่ว่าทุกข์ มันเป็นอย่างไร คนไข้: ทุกข์เรื่องเงินทอง ครอบครัว และก็สุขภาพที่ป่วย เพราะเป็นคนหลักในครอบครัว อาจจะเป็นเพราะมีเจ้ากรรม นายเวรตามมาทวง หลวงพี่พอที่จะท�ำให้เจ้ากรรมนายเวรให้ 77


อภัยได้ไหม หรือมีบทสวดอะไรที่จะท�ำให้ชีวิตหนูดีขึ้น ผูเ้ ยีย่ ม: โยมคิดว่าทีโ่ ยมเป็นแบบนี้ เพราะเจ้ากรรมนายเวร เจ้ากรรมนายเวรของโยมเป็นอย่างไร  คนไข้: หนูคิดว่าเจ้ากรรมนายเวรของหนู น่าจะเป็นผู้ชาย กลางคน เขาไม่ให้อภัยหนู แล้วคนไข้ก็เล่าว่า เมื่อ 4 ปีก่อน เดือดร้อนเรื่องเงิน มี ผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาช่วยโดยให้เงินไปใช้หนี้ โดยเสน่ห์หา มิใช่ เป็นการยืม วันหนึ่งผู้ชายคนนั้นป่วยหนักเป็นมะเร็ง จึงมาขอ เงินที่ให้ไปคืนมาเพื่อไปรักษา แต่คนไข้ก็ไม่มีเงินที่จะให้ล�ำพัง ตัวเองก็ล�ำบากแล้ว แต่ใจก็อยากจะช่วยเหลือชายคนนั้น ต่อ มาชายคนนั้นก็ตายไป ท�ำให้คนไข้รู้สึกผิดมาตลอดระยะเวลา 4 ปี คิดว่าท�ำไม่ดีกับชายคนนั้น และก็คิดว่าที่ไม่มีความสุข เงินไม่มี สุขภาพที่ป่วย ก็เพราะชายคนนั้น เพราะความผิดที่ ไม่ได้ช่วยชายคนนั้น ผู้เยี่ยม: ที่โยมเล่ามาจริงๆ แล้วก็อยากที่จะช่วย แต่ติดที่ โยมก็ไม่มี  คนไข้: ใช่คะ่ …อยากช่วยแต่มนั ไม่มี และก็รสู้ กึ ผิดมาตลอด เลย ผู้เยี่ยมจึงถามว่า: ถ้าอาตมาอยากท�ำบุญและไปท�ำบุญที่ วัดแห่งหนึ่ง และอาตมาก็มีความสุขที่ได้ท�ำบุญนั้น อาตมาได้ บุญไหม  คนไข้: ได้สิ 78


ผู้เยี่ยม: แล้ววันนึงอาตมาป่วยไม่มีเงิน จึงไปขอเงินที่ได้ ท�ำบุญไปแล้วนั้นคืนจากเจ้าอาวาสวัดนั้น เจ้าอาวาสไม่มีเงินที่ จะคืนเพราะน�ำไปสร้างโบสถ์แล้ว เราจะหาว่าเจ้าอาวาสเป็นคน ไม่ดี เพราะไม่ยอมคืนเงินได้ไหม… คนไข้มสี หี น้าแจ่มใสอย่างเห็นได้ชดั และมีรอยยิม้ บนใบหน้า คนไข้: หลวงพี่ยกเรื่องนี้ขึ้นมา ท�ำให้หนูเข้าใจแล้วค่ะ มัน ท�ำให้หนูโล่งเลย เข้าใจแล้วๆ หนูขอบคุณหลวงพี่มากเลย ผู้เยี่ยม: และครั้งนี้เราจะเป็นผู้ให้กัน เดี๋ยวเรามากรวดน�้ำ อุทิศส่วนบุญกุศลให้กับชายคนนั้น ระลึกถึงน�้ำใจที่งดงาม เอื้อเฟื้อ แห่งการช่วยเหลือในครั้งนั้นกัน ช่วงเวลาสัน้ ๆ…แห่งการช่วยปลดเปลือ้ งสิง่ ติดค้างทีอ่ ยูเ่ นิน่ นานมา 4 ปี 79


80


ยื้อ

เกื้อจิตร แขรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

ถ้าคุณอายุยนื ถึง 100 ปี แต่นอนอยูใ่ นห้องไอซียแู ละไม่รู้ สึกตัว คุณจะต้องการอะไรบ้าง และสิ่งที่คุณไม่ปรารถนาที่สุด คืออะไร เรื่องจริงของคุณยายร่างเล็ก ผิวขาว อายุ 99 ปี คุณยาย ล้มป่วยด้วยอาการของวัยชรา และด้วยวัยเช่นนี้ สังขารทีถ่ กู ใช้ มายาวนานนั้นจะเป็นอย่างไร ย้อนกลับไปเมือ่ สองปีกอ่ น ระหว่างท�ำงานตามหน้าทีป่ กติ พี่เกื้อถูกตามตัวไปที่ห้องประชุมด่วน “พี่ไม่รู้เรื่องเลยว่าเกิด อะไรขึ้น ไปถึงเขาตั้งโต๊ะ ตั้งกล้อง นั่งเรียงกันเป็นแถว ซึ่งเป็น 81


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งนั้น พี่เข้าไปพี่ก็เข้าไป นั่งปลายแถวของโต๊ะประชุมนั้น” หลังจากนั่งฟังอยู่พักใหญ่ซึ่ง ล้วนเป็นเรื่องหลักการ และภาษาวิชาการ การประชุมนี้คล้าย เป็น family meeting แต่เนื่องจากผู้ป่วยหญิงวัย 97 ปีรายนี้ มีญาติเป็นแพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญระดับอาจารย์ มีประสบการณ์การ ท�ำงานในต่างประเทศ การพูดคุยจึงมีความคิดเห็นที่แตกต่าง กันและแน่นอนย่อมมีความขัดแย้ง เมื่อทุกคนพูดจบ ผู้ใหญ่ ท่านหนึง่ จึงเรียกให้พเี่ กือ้ พูดบ้าง พีเ่ กือ้ คิดในใจตอนนัน้ ว่าจะให้ พูดอะไร ฉันไม่ใช่นักวิชาการ ฉันไม่รู้เรื่องตั้งแต่ต้น แต่พี่เกื้อ ก็ตัดสินใจพูดอย่างที่คิดว่า ตนไม่มีความรู้วิชาการมากนัก แต่ จะเล่าเรื่องของแม่ตนเองให้ฟัง “แม่อายุ 80 กว่า เจ็บออดๆ แอดๆ มากว่า 7 ปี ระหว่าง ที่ป่วยแกก็สั่งไว้ 2-3 อย่างคือ ถ้าแม่เป็นอะไรไปอย่าเอาเข้า ห้องไอซียู อย่าแหย่จมูก (หมายถึงการเจาะเพือ่ ช่วยการหายใจ) อยู่วันหนึ่งแม่ก็ล้มหมดสติไป พี่ก็เรียกรถฉุกเฉินมารับพาไป โรงพยาบาล แม่ฟื้นระหว่างทางและถามว่าจะพาไปไหน เมื่อรู้ ว่าไปโรงพยาบาลก็ยงั ยืนยันว่าแม่ไม่เข้าไอซียู แต่กต็ อ้ งพักรักษา ตัวที่โรงพยาบาล วันหนึ่งแม่ตัวร้อนมากแต่ขอให้พากลับบ้าน และอยูๆ่ ก็บอกว่าคิดถึงหลาน 2 คน สามขวบและห้าขวบ แม่ ขอให้พาหลานมาหา แต่เวลานั้นหลานทั้งสองไปโรงเรียนและ ยังไม่ถึงเวลาเลิกเรียน จึงบอกแม่ว่าหลานอยู่โรงเรียนยังมาไม่ ได้หรอก รอหลังเวลาเลิกเรียนก่อน แต่แม่ตอบกลับมาว่า ความ 82


ตายไม่รอเวลาโรงเรียนเลิก พีเ่ ลยให้ไปรับหลานมา แม่ได้กอด หลานทั้งสองอย่างต้องการ หลังจากนั้นแม่ขอเจอญาติคนนั้น คนนี้ บอกให้มาเยี่ยม แกอยากเห็นทุกคน ซึ่งแม่ได้พูดคุยกับ ทุกคนที่ทยอยกันมาเยี่ยม สุดท้ายเมื่อแม่บอกให้ญาติๆ กลับ แกก็บอกว่า พาแม่กลับบ้าน อย่าให้แม่ตายที่นี่ (โรงพยาบาล) บ้านที่แม่สร้างใช้เงินเป็นล้าน พาแม่กลับบ้านเถิด เมื่อพาแม่ กลับก็ได้นมิ นต์พระมาสวดมนต์ท�ำพิธตี ดั กรรม และได้บอกแม่ ว่าวันที่แม่ไปทอดกฐินแม่เหมือนนางฟ้า แม่ยกมือขึ้นเหมือน เป็นการลา และมือนั้นก็ตกลง...” หลังจากเล่าเรื่องแม่จบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นลูกของ ผู้ป่วยเอ่ยว่า “You make me calm down... คุณท�ำอะไรกับ แม่คุณบ้าง มาท�ำกับแม่ฉันบ้างสิ” สองปีก่อนคุณยายอาการดีขึ้น สามารถกลับไปอยู่บ้านได้ พี่เกื้อยังมีโอกาสไปเยี่ยม แต่สองปีต่อมา คุณยายกลับมาพักรักษาตัวในห้องไอซียูอีกครั้งเป็นเวลา กว่า 2 เดือนแล้ว ลูกคุณยาย ซึ่งเป็นแพทย์ยังคงต้องการ รักษาให้ดที สี่ ดุ และมักมาพร้อม กับวิธีการรักษาของตนเอง ซึ่งค่อนข้างท�ำให้แพทย์และ พยาบาลผูด้ แู ลอึดอัดใจ วิธกี าร ของพี่เกื้อคือดูแลทั้งสองฝ่าย 83


และช่วยท�ำให้ญาติสงบ “ท�ำใจใสๆ ก่อน สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ส่งพลังให้คณ ุ ยายก่อน” พูดแบบนีเ้ พือ่ ให้เขาได้ตงั้ สติ และเป็น ผลดีต่อผู้ป่วยด้วย สิง่ ส�ำคัญทีพ่ เี่ กือ้ ท�ำคือ “รับฟัง” ฟังสิง่ ทีล่ กู ของผูป้ ว่ ยต้องการ การรับฟังจะท�ำให้ญาติรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนยืนอยู่ข้างเขา ใน สถานการณ์เช่นนี้ นอกจากการดูแลผูป้ ว่ ยให้สขุ สบายแล้ว การ ประคับประคองความสัมพันธ์ของญาติและแพทย์ผดู้ แู ลก็ส�ำคัญ เช่นกัน พีเ่ กือ้ ดูแลจิตใจของคุณยายวัยชราอย่างเป็นมิตร เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจแพทย์และพยาบาลรุน่ น้องด้วยอารี อีกทัง้ ยัง คอยรับฟังและท�ำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกๆ ของ คุณยาย บทบาทคนกลางของพี่เกื้อส�ำหรับกรณีนี้นับว่าเป็น “เคสปราบเซียน” พี่เกื้อว่าไว้เช่นนั้น ในวันที่ผู้ป่วยนอนไม่รู้สึกตัวนั้น ใช่ว่าจะไม่รับรู้ความเป็น ไปรอบตัว เสียงพูดคุยระหว่างหมอกับญาติ หรือญาติดว้ ยกันเอง ผูป้ ว่ ยยังคงได้ยิน ถ้าคุณเป็นคนป่วยคนนั้น และมีเสียงดังรอบ ตัว เสียงของการถกเถียง เต็มไปด้วยอารมณ์ คุณยังรูส้ กึ สบาย อยู่หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากไปแต่ถูกเหนี่ยวรั้ง ไว้ คุณอยากกลับบ้านไหมหรือนอนอยูบ่ นเตียงกับเส้นสายและ เครือ่ งมือต่างๆ ไปเรือ่ ยๆ การเตรียมตัวพร้อมส�ำหรับความเจ็บ ป่วยและความตาย เราเริ่มท�ำได้ตั้งแต่วนั นีห้ ากเราไม่อยากถูก “ยื้อ” 84


รูส ้ กึ ผิด หรือ สำ�นึกผิด พระปลัดอานนท์ กนฺตวีโร กลุ่มพระอาสาคิลานธรรม

มีโอกาสเยี่ยมไข้น้องอายุ 14 ปี ติดเชื้อ HIV ร่างกาย ผอมมาก มีคุณยายดูแลอยู่ข้างๆ คุณยายดีใจมากที่มีพระมา เยี่ยม จนสังเกตได้ชัดแต่น้องผู้ป่วยยังดูเขินๆ เล็กน้อย เพราะ ไม่เคยได้คยุ และมีพระมาอยูใ่ กล้ชดิ แบบนี้ แต่ดว้ ยอัธยาศัยทีด่ ี ของน้อง จึงสนทนากับผู้เยี่ยมได้เป็นอย่างดี ในการระหว่าง สนทนา ผู้เยี่ยมได้ถามน้องว่า ผู้เยี่ยม: น้องคิดว่าพระมีหน้าที่อะไร น้องผู้ป่วย: มีหน้าที่เผยแผ่ค�ำสอนครับ ผู้เยี่ยม: สอนเรื่องอะไร 85


น้องผู้ป่วย: สอนให้คนเป็นคนดีครับ ผู้เยี่ยม: แล้วน้องคิดว่าน้องเป็นอย่างไร น้องผู้ป่วย: ผมเป็นคนไม่ดีครับ ผู้เยี่ยม: อะไรที่ท�ำให้คิดแบบนั้น น้องผู้ป่วยเริ่มเล่าว่า เมื่อก่อนเคยด่าว่าพ่อแม่ ไม่เชื่อฟัง สูบบุหรี ่ สูบกัญชา ดืม่ เหล้า เทีย่ วเตร็ดเตร่กลับบ้านมืดและยัง ชอบขโมยของตามร้านค้า ท�ำเพราะตามเพื่อน ผู้เยี่ยม: น้องรู้สึกผิด น้องผู้ป่วย: ครับ รู้สึกผิด และก็คิดถึงเรื่องนี้บ่อยๆ ทุก ครั้งที่คิดก็ไม่สบายใจ และคิดว่าผมเป็นคนไม่ดี ต้องตกนรก ผู้เยี่ยม: แล้วตอนนี้น้องเป็นอย่างไรบ้าง น้องผูป้ ว่ ย: ตอนนีผ้ มไม่ดอื้ กับแม่แล้วครับ เชือ่ ฟังท่าน และ ก็รู้ว่าท่านรักผมมาก ผู้เยี่ยม: แสดงว่าตอนนี้น้องก็ไม่ได้เป็นอย่าง เมื่อก่อน น้องผู้ป่วย: ใช่ครับ...ผมไม่เป็นแบบก่อนแล้ว ผูเ้ ยีย่ ม: ในหนึง่ ชีวติ ของคนเราจะมีใครบ้างไหมทีไ่ ม่เคยท�ำ ผิดเลย น้องผู้ป่วย: ไม่มีครับ คนเราก็ต้องท�ำผิดบ้าง ผู้เยี่ยม: งั้นความผิดก็เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน น้องผู้ป่วย: ใช่ครับ มีได้ทุกคน “ใช่ๆ พีก่ ย็ งั เคยท�ำผิดเลย” (เสียงจากพยาบาลทีอ่ ยูข่ า้ งๆ) ผู้เยี่ยม: เมื่อน้องเห็นว่าความผิดพลาด สิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่ง 86


ที่ทุกคนก็มีได้ เราพอที่จะอนุญาตให้ชีวิตเราผิดพลาดบ้างได้ ไหม และเราก็ยอมรับความผิดพลาดที่ไม่ดีเหล่านั้น และเราก็ จะไม่ท�ำสิ่งนั้นอีก น้องผู้ป่วย: ใช่ครับ ตอนนี้ผมไม่ได้ท�ำสิ่งนั้นอีก ผู้เยี่ยม : มีค�ำสองค�ำที่ชวนน้องดู ค�ำว่า “ส�ำนึกผิด” กับ ค�ำว่า “รู้สึกผิด” น้องคิดว่าเหมือนกันหรือต่างกัน น้องผู้ป่วย: ต่างกันครับ ผู้เยี่ยม: น้องคิดว่าต่างกันอย่างไร น้องผูป้ ว่ ย: ส�ำนึกผิด เรายอมรับและจะไม่ท�ำสิง่ นัน้ อีก แต่ ถ้ารู้สึกผิด เราก็รู้สึกไม่ดีกับสิ่งนั้น ผู้เยี่ยม: แล้วตอนนี้น้องส�ำนึกผิด หรือ รู้สึกผิด น้องผู้ป่วย: ส�ำนึกผิดครับ...สบายใจครับ เมื่อสังเกตเห็นน้องผู้ป่วยมีท่าทีที่สบายใจ ทั้งสีหน้าและ 87


แววตา จึงลองกล่าวถึงบุคคลในสมัยพุทธกาล คือ องคุลีมาล ซึ่งน้องรู้จักดี ทั้งยังกลับเล่าเรื่องราวของท่านให้ผู้เยี่ยมฟังเสีย เองด้วย สุดท้ายของการเยีย่ มไข้ในวันนีน้ อ้ งผูป้ ว่ ยและคุณยาย ปรารถนาที่จะท�ำบุญ จึงชวนน้อง คุณยาย พยาบาลกล่าวบูชา พระรัตนตรัย สมาทานศีล เพือ่ ให้นอ้ งได้มนั่ ใจในศีล คือ ความ ประพฤติที่ดีงามที่มีในปัจจุบัน (น้องบอกน้องมั่นใจในศีลของ ตน) และสุดท้ายชวนภาวนา ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องไม่เคยท�ำมาก่อน (น้องท�ำตาม ดูสบายและผ่อนคลายมาก) หลังจากนั้นจึงร�่ำลา การเยี่ยมน้องผู้ป่วยครั้งนี้ผู้เยี่ยมนึกถึงพุทธภาษิตที่ว่า ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา. ผู้ใดเคยท�ำความชั่วไว้แต่มาแก้ไขได้ด้วย ความดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน พระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆหมอก ฉะนั้น

88


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.