Study

Page 1

เอกสารสรุปองค์ความรู้จากโครงการการจัดการองค์ความรู้ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้​้าฝน คูเจริญไพศาล

แนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) การวิจัยในชั้นเรียน ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่ง ใหม่ เพื่อน้ามาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน เป็นการทดลองใช้แนวความคิดไปปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะท้าให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เพื่อปรับปรุงหลักสูตร การสอน และการเรียนรู้ (Kemmis and McTaggart. 1982) เป็นการเสาะแสวงหาค้าตอบของปัญหาและแก้ปัญหาที่เกิดจากชีวิตประจ้าวันในชั้นเรียน และน้าผลการค้นพบไปปฏิบัติโดยทันที ซึ่งการวิจัยนี้ ครูนักวิจัยอาจจะศึกษาโดยล้าพัง หรือร่วมมือ กับครูคนอื่น นิสิต หรือนกวิจัยในมหาวิทยาลัยก็ได้ (McKey. 1992, Twine and Martinek. 1992) กล่าวโดยสรุป ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน มีดังนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) - เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน ผู้วิจัย คือ ครู ครูเป็นผู้สะท้อนความรู้หรือข้อค้นพบออกมา ประเภทของการวิจัยในชั้นเรียน 1. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อรู้/เข้าใจ 1.1 การวิจัยเชิงส้ารวจในชั้นเรียน (Classroom survey) 1.2 การวิเคราะห์พฤติกรรมในชั้นเรียน (Behavior analysis) 1.3 การศึกษารายกลุ่ม/บุคคล (Group individual study) 1.4 การศึกษาเชิงความสัมพันธ์ (Correlational study) 2. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหา/พัฒนา 2.1 การวิจัยเชิงทดลอง ใช้รูปแบบการสอน สื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม ชุดฝึก ชุดกิจกรรม สื่อ สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ 2.2 การทดลองเฉพาะราย/กลุ่ม (Case/Group experimental research)

{PAGE }


เอกสารสรุปองค์ความรู้จากโครงการการจัดการองค์ความรู้ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้​้าฝน คูเจริญไพศาล

ขั้นตอนการท้าวิจัยในชั้นเรียน 1. การส้ารวจและวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ครูผู้สอนจะเริ่มด้วยวิธีง่ายๆ คือ สอนไปสังเกตไป เพื่อหาที่มาของปัญหาการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน และสภาพการณ์ในการการปฏิบัติการของครู เช่น สภาพการจัดการเรียนการสอน การใช้ สื่อประกอบการเรียนการสอน วิธีการสอนที่ใช้ พฤติกรรมของนักเรียนที่เป็นปัญหา การจัดกิจกรรม เสริมหลักสูตร จากนั้นจึงล้าดับความส้าคัญ เลือกเลือกปัญหาที่จะศึกษา 2. ศึกษาหาวิธีการในการแก้ปัญหา การศึกษาหาวิธีการในการแก้ปัญหาได้จาก การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง แนวคิดทฤษฎีการ เรียนรู้ หลักสูตร ต้ารา คู่มือ และผลงานวิจัย (ใครศึกษาไว้บ้าง ใช้วิธีใดในการแก้ปัญหา และผลการ แก้ปัญหาเป็นอย่างไร) เพื่อให้ได้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหา 3. พัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหา นวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหา ได้แก่ สื่อสิ่งประดิษฐ์ สื่อการเรียนรู้ วิธีการหรือเทคนิคการ สอน 4. น้านวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหาไปใช้ เป็นการด้าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย เช่น แบบสังเกต พฤติกรรม แบบประเมินการปฏิบัติงาน แบบทดสอบ/แบบวัด/เครื่องมือวัดผล 5. ตรวจสอบและสรุปผล ท้าการวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนสรุปผลการด้าเนินงาน 6. การรายงานผลการเรียนรู้/การวิจัย รายงานผลการเรียนรู้/การวิจัย ประกอบด้วย บทน้า (ความเป็นมาและความส้าคัญของปัญหา ค้าถามวิจัย กรอบความคิดของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ ข้อตกลงเบื้องต้นของ การวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย วิธีการด้าเนินการวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อมูล) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก 7. การน้าผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้/การเผยแพร่ผลการวิจัย

{PAGE }


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.