Issue2

Page 1

จดหมายข่าวเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เครือข่ายองค์กรสร้างสุขภาครัฐ www.happy-worklife.com Issue 2/2013

MOU คำมั่น

สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร ้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ

HA PP Y

M OU

สานปันสุข สานปันสขุ สานปันสุข สานปันสุข สานปนั สุข

ลงนาม


สารผู้จัดการ

การพัฒนา นักสร้างสุของค์กร” สู่การขับเคลื่อน เครือข่ายองค์กรสุขภาวะ” การดำเนินงานของแผนงานงานสร้างสุของค์กรภาครัฐ เป็น การหาแนวทางในการสร้างสุขอย่างสมดุลให้บุคคลากรในองค์กรให้ คนทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นแนวทาง การทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ทำหน้าที่นำองค์ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ขององค์กรต่างๆ ในภาครัฐมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ และเชื่อมให้เกิดเวที การแลกเปลี่ยนเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบข้าราชการอยู่รอด และเติบโต อย่างยั่งยืนอย่างที่ทุกฝ่ายปรารถนาต่อไป การดำเนินงานดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ของทุกองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเพิ่มคุณภาพชีวิต การทำงานบุคลากรภาครัฐและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่าง สร้างสรรค์ขององค์กรภาครัฐทั้งระบบ และเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างราบรื่นจึงได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของ ภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานร่วมกันต่อไป

ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน ผู้จัดการแผนงาน

เจ้าของ แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิต การทำงานองค์กรภาครัฐ (ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างและ เชื่อมโยงพลังเครือข่าย)

02 02

ที่ปรึกษา ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน ดร. อเนกพล เกื้อมา ดร. กิตติพจน์ เพิ่มพูน ผศ. ดร. เชาวน์ดิศ อัศวกุล

หัวหน้ากองบรรณาธิการ วิชยา โกมินทร์ กองบรรณาธิการ นันทิยา คาเคยะ บวร ทรัพย์สิงห์ ชุติมา พัฒนพงศ์ ปรีชา อุทัศน์

ศิลปกรรม อุษา โคตรศรีเพชร วิชยา โกมินทร์

ที่อยู่ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทรศัพท์ 02-2187372 โทรสาร 02-2552353 อีเมล์ hworklife.network@gmail.com


.ก. อกกล่าว

สารบัญ สารผู้จัดการ บ.ก.บอกกล่าว จุดสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงาน... แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิดสุขภาวะองค์กร : นโยบายสู่การปฏิบัติ สุขสร้างที่ “คน” เลข 4 รหัสลับ สร้างสุข เครือข่าย (Networking) บุคลากร และ ความคิดสร้างสรรค์ “หัวใจที่สำคัญในการสร้างผลงาน” ความเป็นกันเอง : เกื้อหนุนความสุข “นักสร้างสุของค์กร” กลไกสานความสุข สมดุลชีวิต สมดุลงาน สู่ความสุขที่สมดุล “บุคลากร”คือ หัวใจหลัก

02 03 05 06 08 10 ๅ2 14 16 18 20 22

08 สุขสร้างที่ “คน” อข่าย 12 เครื(Networking) คลากร และ 14 บุความคิ ดสร้างสรรค์

ABC

Corner

MOU คำมั่น

สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ

HA PP Y

สุขประจำฉบับ

M U --- ก้าวอีกขั้น...กรมชลประทาน --- ความรักอาจออกแบบไม่ได้ แต่...ความสุขออกแบบได้ --- สุขเล็กๆ ที่ไม่ธรรมดาของคนญี่ปุ่น --- ตัวโน๊ตความสุข : Nanglen Band O

สานปันสขุ สานปั นสุข สานปัน สุข สานปันสุข สา นปัน สุข

ลงนาม

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน สานปันสุขที่รักทุกท่าน Newsletter เล่มเล็กๆ ที่อยู่ในมือของท่านในวันนี้ เป็น “สาร” ฉบับที่สอง หลังจากที่พวกเราได้ออก ฉบับปฐมฤกษ์ไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สาร “สานปันสุข” ฉบับนี้ เป็นสาร “ฉบับพิเศษ” ที่ทาง บก. จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกความงดงาม และทรงพลังของ “คำมั่น” ของท่านผู้นำองค์กร สร้างสุขภาครัฐ สสส. และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันดำเนินกิจกรรม “บันทึกความเข้าใจ” (MOU-Memorandum Of Understanding) ในวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร สำหรับพวกเราแล้ว MOU การทำงานสร้าง สุของค์กรภาครัฐในวันนั้น ไม่เพียงเป็นการแสดง ข้อตกลงและแนวการปฏิบัติร่วมกันในการทำงาน สร้ างสุ ข ในองค์ ก รภาครั ฐ ของพวกเรา แต่ ย ั ง มี นัยสำคัญของ “ข้อผูกพันทางใจ” ที่พวกเราทั้งหมด ได้ทำสัญญากันไว้ว่าจะเป็นแรงใจและแรงกายในการ ร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างสุขให้ถาวรสืบไปนะคะ

สวัสดีค่ะ

AABBCC

กสร้างสุของค์กร” 18 “นักลไกสานความสุ ข

www.happy-worklife.com Issue 2/2013

ABC

“หัวใจที่สำคัญในการ สร้างผลงาน”

จดหมายข่าวเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เครือข่ายองค์กรสร้างสุขภาครัฐ

03


ภาพ : บวร ทรัพย์สิงห์

HaPPy

04


เรียบเรียง : วิชยา โกมินทร์ ภาพ : WWW.manager.co.th

“การทำงานเรื่ององค์กรแห่ง ความสุข ต้องทำหน้าที่ หาจุดสมดุล ของการใช้ชีวิตและการทำงานของ แต่ละองค์กร”

การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันมีผล ต่อการการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ทำให้เกิดปัญหา ท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสุข ของคน โดยเฉพาะเรื่อง Work life balance หรือ ความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน การที่ข้าราชการในปัจจุบันจะสามารถบริหารชีวิต บริหารครอบครัว บริหารองค์กร บริหารตนเองอย่างไร ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ และถือว่าเป็นโจทย์ ที่ท้าทาย แต่ก็ถือว่าเป็นความท้าทายที่น่าสนใจมาก หากสามารถแปลงวิกฤตเป็นโอกาส ประเทศไทย จะสามารถดำรงอยู่อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศ อื่นๆ ในเรื่องการพัฒนาบุคคล พัฒนาทรัพยากร พัฒนาประเทศ พัฒนาสังคมให้อยู่กับโลกใบนี้ได้ต่อไป ในอนาคต Happy 8 เป็นการจัดสมดุลชีวิต โดยการนำ หลัก Work life balance มาจัดใหม่ให้มีรายละเอียด มากขึ้นกว่าที่เคยบอกว่าชีวิตกับงาน เพราะในความจริง คงยากที่จะบอกว่าชีวิตกับงาน ที่สมดุลเป็นอย่างไร เพราะ ถ้าหากทั้งสองส่วนสมดุลได้น่าจะดีที่สุด แต่ใน ความเป็นจริงมีคำถามเสมอว่า

นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร

“งานเทา่ ไร ชีวิตเทา่ ไร” การใช้ Happy8 จะช่วยให้คนเข้าใจได้มากขึ้น ว่า Work life balance ของเราควรจะเป็นอย่างไร เรา แยกให้เห็นมากขึ้นว่าการให้ความสำคัญในแต่ละช่วง เวลาแต่ละวัย ควรจะเป็นอย่างไร อาชีพข้าราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความภาคภูมิใจ มีคุณค่า อยากให้ความรู้สึกภาคภูมิ ใจนี้ได้ถ่ายทอด ได้ไปสู่คนในรุ่นต่อไป ให้พวกเขาเห็น คุณค่าของการเป็นข้าราชการที่ดี ในขณะที่รูปแบบ การใช้ชีวิตในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง อาจจะไม่ตอบสนอง ต่อความต้องการของคนรุ่นการทำงานเรื่ององค์กร แห่ ง ความสุ ข จึ ง ต้ อ งทำหน้ า ที ่ ห าจุ ด สมดุ ล ของการ ใช้ชีวิตและการทำงานของแต่ละองค์กรให้พบ และ เราจะสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เหมาะสมกับคน รุ่นต่อไป เพื่อทำให้ประเทศนี้ ก้าวหน้าต่อไป และ สร้างสังคมน่าอยู่มากขึ้น

05


เรียบเรียง : ชุติมา พัฒนพงศ์ ภาพ : ทีมยุทธศาสตร์ที่ 2 (สื่อสารองค์กรฯ)

โลกใบนี้ สิ่งที่จะไปได้ไกล คือ “มนุษย์” หาคนที่เหมาะกับงาน แล้วงานจะออกมาดี เราต้องออกแบบคนมาใส่ในงาน เรา ต้องเน้นการสร้าง “คน” หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญของพิธีลงนามความ ร่วมมือระหว่าง สสส. กับ17 ส่วนราชการเพื่อร่วมเดินหน้า องค์กรแห่งความสุข เพิ่มคุณภาพชีวิตข้าราชการไทย ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 9.0012.00 น. ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค คือ เวที เสวนา “แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดองค์กรสุขภาวะ : นโยบายสู่การปฎิบัติ” นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร(สสส.) กล่าวว่าการ สร้างคนต้องเน้นองค์ประกอบสามคำคือ “คน การใช้ ชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น” โดยหมายถึง การ สร้างคนนั้นเราต้องเน้นที่ตัวคนเป็นหลัก ให้เขาสามารถ มีการจัดการตนเอง บริหารจัดการชีวิตตนได้ดี และ สุดท้ายเมื่อจัดการชีวิตตนเองได้ดีแล้ว ต้องสามารถ ใช้ชีวิตของตนกับผู้อื่นรอบข้าง ทั้งในที่ทำงานและทั่วไป ได้ คนจะเก่งฉลาดเพียงไรต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ และสังคมได้

06

แนวคิดสุขภาวะองค์กร เป็นแนวคิดในการ บริหารจัดการคนให้มีความสุข ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่ความสุขจะดำเนินและเกิดขึ้นควบคู่กับงานที่ปฏิบัติ หากแต่เมื่อสามารถสร้างคนให้มีความสุขกับงานได้ นั่นหมายรวมว่าประสิทธิภาพจะเกิดแก่ทั้งบุคลากร องค์กรและสังคม นายวิจารย์ สิมาฉายา รองปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวแนะว่าหาก ต้องการนำไปสู่การสร้างปฏิบัติได้จริง ต้องเริ่มเปลี่ยน จากจุดเล็กๆ โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณก่อนก็ได้ การ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ที่หน่วยงาน บุคลากรมีปัญหาเรื่องสถานที่รับประทานอาหาร มีโต๊ะ ไม่เพียงพอ เราก็เริ่มจัดหาอุปกรณ์เท่าที่มี จัดสถานที่ เพื่อแก้ปัญหานั้น มันสะท้อนให้เห็น “การใส่ใจ” และ พยายามที่จะแก้ปัญหา ซึ่งตรงจุดนี้สำคัญ


แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับผู้อำนวยการศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ที่อธิบายว่า หลายเรื่องที่บุคลากรเสนอว่าเหมาะสม เราต้องเอา สิ่งที่เขาเสนอมาทำให้ได้จริง ไม่ใช่ฟังและแขวนไว้ ในวันนี้เราต้องส่งเสริมให้เกิดทีมงาน เพราะเราต้องการ องค์กรที่มีส่วนร่วมจากคน “องค์กรที่สร้างสรรค์ได้ ต้องมีคนเป็นกำลังสำคัญ” เพราะฉะนั้นหากต้องการ ให้เกิดการปฏิบัติได้จริงก็ต้องผลักดันให้คนในองค์กร ลุกขึ้นมาปฏิบัตินั่นเอง ด้านนายอนุสันต์ เทียนทอง รองผู้อำนวยการ ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาของกิจกรรม องค์กรสร้างสุขของหน่วยงาน นั่นคือ “ตลาดนัดพระจันทร์ ยิ้ม” เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้บุคลากรนำสินค้าของ ตนเองมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน กิจกรรมนี้ทำให้องค์กร ได้เห็นศักยภาพของคน เราพบว่า “การสร้างพื้นที่ให้ บุคลากร ได้แสดงความสามารถของตน ได้ทำใน สิ่งที่เขามีความสุข ความสุขในองค์กรก็เกิดขึ้น ตามมาได้ไม่ยากนัก”

ในขณะที่องค์กรจากแดนใต้ อย่างมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ หนึ่งเดียวในองค์กรวิชาการที่ร่วมพิธี การลงนามในครั้งนี้ นายพิชิต เรืองแสงวัฒนา รอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สะท้อนถึง แนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติขององค์กรว่า สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือ การดึงความคิดจากข้างล่าง สู ่ ข ้ า งบนเราต้ อ งทลายกำแพงความเป็ น หน่ ว ย ย่อย เป็นกอง เราต้องสร้างให้ทุกคนเป็นเนื้อเดียว กันให้ได้ก่อน สร้างว่า “เรา คือ สงขลานครินทร์” ซึ่งเมื่อใจวางที่เดียวกันแล้ว การเคลื่อนงานจะดำเนิน เดินไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้ นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สสส.) ได้ทิ้งท้าย ข้อเสนอในเวทีเสวนาไว้ได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ ต่อการขับเคลื่อนงานในครั้งนี้ และน่าจะเป็นบทสรุป ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้คือ “ การสร้างองค์กรที่มีความสุข คนข้างในเป็นคนสร้าง เป็นคนเปลี่ยน เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องสร้างคน ที่จะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ”

07


เรียบเรียง : บวร ทรัพย์สิงห์ ภาพ : www.toyota.co.th

สุขสร้างที่ “คน”

“นโยบายต้องมาจากสิ่งที่เขาต้องการ สิ่งที่เราทำได้ คือต้องรับฟังปัญหา แล้วก็แก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญ ของปัญหา” ดร.วิจารย์ สิมาฉายา รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

08


กุญแจสู่ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรแห่ง

ความสุขของ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา รองปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเน้นย้ำว่า

“การสร้างความสมดุลระหวา่ งชีวิต ส่วนตัว หรือชีวิตที่บ้าน กับชีวิตที่ ทำงาน จำเป็นตอ้ งใหค้ วามสำคัญกับ “คน” และการสร้าง “ทีมงาน” ที่เข้มแข็ง สร้าง “กระบวนการมี สว่ นรว่ ม” ให้เกิดขึ้นในองคก์ ร ให้ บุคลากรได้รู้จักกัน สนิทสนมกัน และมีการประสานความรว่ มมือกัน”

ไม่ยาก..แต่ก็ใช่ว่า จะง่ายดายนัก สำหรับการ พัฒนาองค์กรสู่ความคาดหวังดังกล่าว “ผู้บริหาร” คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำงานในทัศนะของ ท่านรองปลัดกระทรวงฯ คือ ผู้บริหารจำเป็นต้อง รับทราบปัญหาของบุคลากร ซึ่งปัญหาของบุคลากร แต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้บริหารและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาว่าอะไรสำคัญ ที่สุดที่สามารถดำเนินการได้ บางครั้งปัญหาและความ ต้องการของบุคลากรไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งใช้ ง บประมาณ และสามารถดำเนินการได้ทันที ทั้งนี้ นโยบายต่างๆ ที ่ จ ะสร้ า งความสมดุ ล ระหว่ า งชี ว ิ ต ที ่ บ ้ า นกั บ ชี ว ิ ต ที่ทำงานต้องเป็นสิ่งที่บุคลากรต้องการ สิ่งสำคัญที่สุด คือผู้บริหารและทีมงานต้องรับฟังความต้องการของ บุคลากร และพยายามปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้กับบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเราคาดหวังว่าในการเข้าร่วมโครงการ กับแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กร ภาครัฐ ทางสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะเรียนรู้รูปแบบ ประสบการณ์ที่จะ ทำให้ข้าราชการ และบุคลากรมีความสุขในชีวิต และ มีความสุขในที่ทำงาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ และ ขยายผลภายในหน่วยงาน

09


เรียบเรียง : นันทิยา คาเคยะ ภาพ : ทีมยุทธศาสตร์ที่ 2 (สื่อสารองค์กรฯ)

เลข 4 รหัสลับสร้างสุข “คุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ด้าน หนึ่งคือ การมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการ ทำงานของบุคลากร สองคือ การมีสภาพร่างกายและจิตใจ ที่ดีงาม สามคือการมีเศรษฐกิจ สวัสดิการ ค่าตอบแทนที่ เหมาะสม และสี่คือ การมีสังคมสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และประชาชนที่เป็นผู้รับบริการ” นายฐานิส ศรียะพันธ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 10


คนดีศรีองค์กร

นายฐานิส ศรียะพันธ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชน เผยเคล็ดลับ4 องค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต สู่กลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มหลัก

“การสร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตในองค์กรเป็นเรื่องเกี่ยวข้อง กับบุคคล 4 กลุ่ม ที่จำเป็นต้องใช้ความสมดุลในการทำงาน ที่ดี หนึ่ง ผู้บังคับบัญชา สอง เพื่อนร่วมงาน สาม ผู้ใต้บังคับบัญชา และสี่ ประชาชน” ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานต้องให้ความสำคัญกับ “บุคลากร” ให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี มีความคิดในเชิงบวก มีขวัญกำลังใจในการทำงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการที่เหมาะสม และมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ การเข้าร่วมโครงการกับแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ทางกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนคาดหวังที่จะได้รับองค์ความรู้ที่จะทำให้รู้ความ ต้องการ และแนวทางในการพัฒนาองค์กร และพัฒนาบุคลากรให้มองเห็นเส้นทางความ ก้าวหน้าหรือเส้นทางในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพของบุคลากรซึ่งมี หลากหลายสาขาวิชาชีพภายในองค์กรให้มีค่านิยมร่วม มีส่วนร่วมในการคิด มีส่วนร่วม ในการทำงาน และมีการสื่อสารภายในองค์กรมากขึ้น 11


“You get the best out of others when you give the best of yourself” Harvey firestone

เครือข่าย (Networking) : เชื่อมโยงคนต่างความคิด ต่างการทำงาน ต่างองค์กร เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การทำงานเพื่อช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รับรู้ปัญหาและประสบการณ์ร่วมกัน และเป็นแรงสนับสนุนให้เกิดกำลังใจ ทำให้งานดำเนินไปได้ด้วยความก้าวหน้าและรวดเร็ว Paul Starkey (1998) “Networking for development” 12


“You are what you share” Charles Leadbeater www.goodread.com

13


เรียบเรียง : นันทิยา คาเคยะ ภาพ : ทีมยุทธศาสตร์ที่ 2 (สื่อสารองค์กรฯ)

บุคลากร และ ความคิดสร้างสรรค์ “หัวใจที่สำคัญในการสร้างผลงาน”

“เราเป็นหน่วยงานที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีและงานวิจัยพัฒนา จึงพยายามสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนให้คนในองค์กรได้ทำงาน ที่ท้าทาย แต่เราก็ไม่ละเลยเรื่องการดูแลผลตอบแทนที่ต้องเหมาะสม ทำยังไงให้รู้สึกว่าเราได้ส่งเสริมให้บุคลากรทำในสิ่งใหม่ๆ ซึ่งมีความคืบหน้าอยู่เสมอ” ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

14


ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)กล่าวถึง คุณภาพชีวิตการทำงานมีองค์กร ประกอบที่เกี่ยวข้องในเรื่องของหน้าที่การงาน เรื่อง ส่วนตัวหรือครอบครัว และเรื่องของสังคมภายในที่ ทำงานและภายนอกที่ทำงาน กล่าวคือ หน่วยงาน สร้างบรรยากาศในการทำงานให้บุคลากรทำงานที่ รับผิดชอบอย่างมีความสุข รู้สึกกระตือรือร้น สร้าง ผลงานใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของสังคม ตลอดจน มีผลตอบแทนที่เหมาะสม มีฐานะ มีความ ก้าวหน้าในชีวิต ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และ ความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นหัวใจที่สำคัญ ในการสร้างผลงานต่างๆ นอกจากนี้ หน่วยงานจึงมี โครงการพัฒนาคุณภาพการทำงานหลายโครงการ เช่น การสร้างบรรยากาศในการทำงาน มีระบบพี่เลี้ยง ช่วยในการปรับตัว การส่งเสริมทัศนคติในเชิงบวก มีกิจกรรมนันทนาการ ระบบสวัสดิการ และค่าตอบแทน ที่เหมาะสม มีการวัดประสิทธิผลการทำงาน มีกลไก การติดตามงานมีระบบการทำงานที่เอื้อเวลา มีระบบ ตัวชี้วัดในการทำงาน จะอยู่ที่ไหนก็ได้ ขอให้มีส่วนร่วม

การเข้าร่วมโครงการกับแผนงานสร้างเสริม คุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ถือเป็นโอกาส ของหน่วยงานที่จะเหมือนมีกระจกส่องวัดผลตัวเอง และคาดหวังว่าจะได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้าน ต่างๆ เข้ามาแนะนำ หรือเป็นรูปแบบให้หน่วยงาน ได้เรียนรู้ นอกจากนี้ คาดหวังที่จะสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จาก หน่วยงานอื่นๆ เพื่อนำมาปรับปรุงให้สามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น OK.ÁÑé¤РOK.¤‹Ð

15


กง ขจฃ ฉค ฅช ฆซ ฌญฎ ฏฐ ฑ ฒ ณ ด ตป ถผ ทฝ พ ธ นภ บม ย ร ล ว ศ ษก สข หฅฬ คอ ฅฮ งฌ จญ ฉฎ ฏช ฐซ เรียบเรียง : บวร ทรัพย์สิงห์ ภาพ : ทีมยุทธศาสตร์ที่ 2 (สื่อสารองค์กรฯ)

ความเป็นกันเอง : เกื้อหนุนความสุข

“เราอยู่กันแบบพี่น้อง ใครๆ ก็สามารถคุยกับเลขาธิการ หรือ ผอ. ได้ เรารู้จักเขา เรารู้จักครอบครัวเขา เขาก็รู้จักเรา เราพยายามแก้ปัญหาทางกาย จิตใจ และครอบครัว”

นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน

16


ก‘’ง ขจฃ ฉค ฅช ฆซ ฌญฎ ฏฐ ฑ ฒ ณ ด ตป ถผ ทฝ พ ธ นภ บม ย ร ล ว ศ ษก สข หฅฬ คอ ฅฮ งฌ จญ ฉฎ ฏช ฐซ ราชบัณฑิตยสถานมีนโยบายให้บุคลากรทราบ เรื่องความก้าวหน้า ดูแลบุคลากรทำงานวิชาการ และงานบริหาร เน้นการทำงานเป็นทีม มีความยุติธรรม

บุคลากรได้รับทราบเส้นทางความก้าวหน้า ของตนเอง โดยดูแลบุคลากรทั้งในด้านงานวิชาการ และงานด้านบริหาร เน้นการทำงานเป็นทีม ผู้บริหาร จะเน้นเรื่องความยุติธรรม ดูแลบุคลากรทั้งทางด้าน สุขภาพร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ คุณลักษณะประการหนึ่งของบุคลากร ราชบัณฑิตยสถานคือมีความอดทนอดกลั้น มีกิริยา มารยาท สุภาพ เรียบร้อย เพราะต้องติดต่อกับผู้ใหญ่ และให้บริการประชาชน ดังนั้น การสื่อสารภายใน องค์กรถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก บุคลากรอยู่ ร่วมกันแบบพี่น้อง บุคลากรทุกระดับพูดคุยกับเลขาธิการ หรือผู้อำนวยการได้ คุณภาพชีวิตของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ มีองค์ประกอบ คือ สถานที่ทำงานต้องมีความสะอาด เรียบร้อย มีอุปกรณ์ในการทำงานครบถ้วน ผู้บริหาร ต้องมีความยุติธรรม มีคุณธรรม พิจารณาความดี ความชอบด้วยผลงาน และความรู้ความสามารถ พัฒนา ความรู้ความสามารถของบุคลากร ดูแลความเป็นอยู่ ของบุคลากรในองค์กร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ของบุคลากรในองค์กร ให้มีความรักความผูกพันกับ องค์กร พร้อมปกป้องชื่อเสียงของหน่วยงาน

การเข้าร่วมโครงการกับแผนงานสร้างเสริม คุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ถือเป็นความ ภาคภูมิใจของผู้บริหาร และบุคลากรในหน่วยงาน ที่ได้ ไปร่วมงาน พูดคุยกับหน่วยงานอื่นๆ แล้วนำบทเรียน ของหน่ ว ยงานต่ า งๆ มาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นหน่ ว ยงาน ของเรา

17


เรียบเรียง : บวร ทรัพย์สิงห์ ภาพ : ทีมยุทธศาสตร์ที่ 2 (สื่อสารองค์กรฯ)

“นักสร้างสุของค์กร” กลไกสานความสุข

“คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี คือ การให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยน การรวมพลังในทางสร้างสรรค์ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนให้คนทำงาน และองค์กรมีความสุข” นางญาณี เลิศไกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ

18


การสร้างความสุขในองค์กรของสำนักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ นางญาณี เลิศไกร ผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ(สท.) เปิดเผยว่า

“การสรา้ งนักสร้างสุของค์กรให้เกิด ขึ้นหลายๆ คน ช่วยกระจาย ความสุขให้ทั้งองค์กรมีความสุข มากขึ้น”

เราสนับสนุนความก้าวหน้าในการดูว่าทิศทาง ของบุคลากรจะไปทางไหน สนับสนุนกิจกรรมที่จะ สนับสนุนให้บุคลากรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน ดังนั้น ถ้ามีกิจกรรมอะไรที่นอกเหนือจากแผนที่มีอยู่ ก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ คิดคนเดียวคือ คิดใน กรอบ แต่ถ้ารวมพลังช่วยกันคิด ก็อาจจะได้ทิศทาง ที่หลากหลายมากขึ้น โครงการของแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิต การทำงานองค์กรภาครัฐ จะมีส่วนสนับสนุนให้หน่วยงาน ได้ขยายกิจกรรมมากยิ่งขึ้น มองภาพองค์กรที่มีความสุข ชัดเจนขึ้น นอกจากที่ถือเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

“นักสร้างสุของค์กร” จะเป็นเหมือนตัวแทน ผู้บริหารที่คิดว่าในองค์กรขาดอะไร และอะไรที่ส่งผล ให้บุคลากรมีความสุข ทั้งนี้ สิ่งที่บุคลากรส่วนใหญ่ กำลังกังวลใจคือเรื่องการพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียม พร้อมเข้าสู่การเปิดประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะ ระบบราชการแบบใหม่ องค์ความรู้ด้านต่างๆ และทักษะ ด้านภาษา ในเรื่องนี้หน่วยงานจำเป็นต้องพัฒนา ความรู้ ให้บุคลากรได้เรียนรู้ในสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ มีความเชื่อมั่นในตนเองและทำงานอย่ า งมี ค วามสุ ข I’m Workplace

Corner

AABBCC

ABC

ABC

Happiness Creator.

19


เรียบเรียง : นันทิยา คาเคยะ ภาพ : www.banuang.co.th

สมดุลชีวิต สมดุลงาน สู่ความสุขที่สมดุล

“คนสร้างความสุขได้ด้วยตนเอง และสร้างความสุขให้คนอื่นๆ ได้ ถือเป็นความสำเร็จในชีวิต เป็นความสำเร็จ ที่ตนเองก็พอใจ ภาคภูมิใจ และคนอื่นมองเห็นว่าเป็นความสำเร็จ” นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต

20


สว่ นหนึ่งที่กรมสุขภาพจิตใหค้ วามสำคัญก็คือ สุขภาพ เพราะวา่ เราเป็นหนว่ ยงานด้านสุขภาพ และสุขภาพจิต เพราะฉะนั้นถ้าคนมาทำงานใช้ ชีวิตอยา่ งสมดุลระหวา่ งงานกับชีวิตตนเองทั้งเรื่องสว่ นตัว ครอบครัว ชุมชน และสังคมแลว้ สามารถจะดำรง ความมีสุขภาพดีทั้งรา่ งกาย อารมณ์ จิตใจ และ ความสัมพันธก์ ับคนอื่น ในสังคมไดอ้ ยา่ งมีความสุข

นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์อธิบดีกรมสุขภาพ จิตอธิบายว่า กรมสุขภาพจิตให้ความสำคัญที่สุดใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทำงานโดยจัดสมดุล ระหว่ า งชี ว ิ ต กั บ งานตามทฤษฏี ค วามต้ อ งการของ มนุษย์ซึ่งมีเป็นขั้นๆ การทำงานก็เป็นการทำงานเพื่อ ให้ได้รับค่าตอบแทนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่า มีปัจจัยที่ครบถ้วนแล้วก็มีความมั่นคงพอสมควร ชี ว ิ ต ที ่ ท ำงานแล้ ว เกิ ด ความสมดุ ล ระหว่ า ง การทำงานกับชีวิตส่วนตัวนั้นมีความสำคัญ เช่นเมื่อ ทำงานแล้วก็ต้องมีเวลาที่จะดูแลครอบครัว มีเวลาที่ จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชุมชนและสังคมที่อยู่รอบๆ ครอบครัว และที่สำคัญ ต้องไม่มีหนี้สิน คุ ณ ภาพชี ว ิ ต การทำงานสำหรั บ ข้ า ราชการ และบุคลากรภาครัฐมีสามองค์ประกอบหลัก หนึ่งคือ ชีวิตที่ไม่มีปัญหา สองคือการใช้ชีวิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกับคนในสังคมส่วนใหญ่หรือทั่วไปมีกัน และ สุดท้ายเป็นชีวิตที่เจ้าของชีวิตมีความพึงพอใจ

21


เรียบเรียง : นันทิยา คาเคยะ ภาพ : ทีมงานยุทธศาสตร์ที่ 2 (สื่อสารองค์กรฯ)

“บุคลากร”คือ หัวใจหลัก “ความสุขในองค์กรมีมิติของคุณภาพชีวิตเกี่ยวข้องใน เศรษฐกิจ ครอบครัว การทำงาน การมีส่วนร่วมทางสังคม สุขภาพ และด้านการพัฒนาตนเอง เราให้ความสำคัญ กับบุคลากรเพราะบุคลากรถือเป็นต้นกำเนิด ของการทำงานปราบปรามการทำงานทุจริต ดังนั้นคุณภาพชีวิตของบุคลากรจะต้องมีระดับที่สูงกว่า บุคลากรหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้าง บุคลากรให้​้เป็นมืออาชีพและมีศักยภาพ” นายนิวัติไชย เกษมมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกลาง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) 22


“ในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ บุคลากรภาครัฐของหนว่ ยงานต่างๆ ปัญหาที่สำคัญ ก็คือเงินงบประมาณในการอุดหนุนและ การดำเนินการ” เสียงบอกกล่าว ย้ำถึงอุปสรรคของการพัฒนา คุณภาพชีวิตบุคลากรในภาครัฐ จาก นายนิวัติไชย เกษมมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกลาง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) นายนิวัติไชย เกษมมงคลกล่าวเพิ่มเติมถึง แนวทางการดำเนินงานของ ปปช. ว่า คุณภาพชีวิต ของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐในสังคมไทยนั้น เป็นไปในลักษณะคล้ายวัฒนธรรมแบบครอบครัวและ เครือญาติ ที่มีพ่อ แม่ พี่น้อง ซึ่งข้าราชการและบุคลากร ในภาครัฐก็มีลักษณะแบบเดียวกัน คือมีผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องอยู่ในที่ทำงาน เดียวกัน โดยหวังว่าในการแก้ไขปัญหา ควรเริ่มที่ภาครัฐ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การใช้ ง บประมาณทางด้ า น สวัสดิการ ให้แต่ละหน่วยงานสม่ำเสมอ และเท่าเทียม กัน นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ควรปรับแก้ไข ให้สามารถที่จะนำเงินงบประมาณเข้ามาสนับสนุน งานสวัสดิการได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

เพราะฉะนั้นการเข้าร่วมโครงการกับแผนงาน สร้ า งเสริ ม คุ ณ ภาพชี ว ิ ต การทำงานองค์ ก รภาครั ฐ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุ จ ริ ต แห่ ง ชาติ ถ ื อ เป็ น โอกาสที ่ จ ะได้ แ ลกเปลี ่ ย น ประสบการณ์ ความคิดเห็นกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของข้าราชการ หรือบุคลากรในภาครัฐให้เป็นไปได้ด้วยดี

ปปช.ทัศนาจร

23


MOU HAPPY

HAPPY

HAP PY

Y HAPP


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.