สุขภาวะองค์รวม

Page 1

สุขภาวะองค์รวม

นายทวีศกั ดิ์ ส ุวรรณชาตรี สาขาการผังเมือง คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชยั


world health organuzation ตามร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 ให้ให้ความหมายของคาว่า สุขภาพคืออะไร ว่า “สุขภาพ” คือภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกาลัง ไม่เป็นโรค ไม่ พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพทางจิตใจ คือ มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ไม่ติดขัด มีเมตตา มีสติ มีสมาธิ สุขภาพทางสังคม คือ มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม สุขภาพทางจิตวิญญาณ คือ ความสุขที่เกิดขึ้นเมื่อทาความดีหรือจิตใจได้สัมผัสสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่ง โดยทั้ง 4 ด้าน นี้ จะต้องเกิดขึ้นจากการจัดการทางสุขภาพในระดับต่างๆทั้งสุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคล




สุขภาวะทางกาย ประกอบไปด้วยร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ ปลอดภัย

สามารถเริ่มได้อย่างไร การมีสุขภาพที่ดีสามารถ เริ่มได้จากการปรับเปลี่ยนชีวิตประจาวันของเราให้ดีขึ้น เช่น ออกกาลังกาย ทานอาหารที่ดีตลบ 5 หมู่

สุขภาพที่ดี มีผลทาให้สุขภาวะดีตามไปด้วย เนื่องจากร่างกายที่แข็งแรงจะปราศจากโรคภัยต่างๆ

สุขภาวะทางกาย หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคืออวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดี มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายสามารถ ทางานได้ตามปกติและมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็น อย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทางาน


5หมู่ อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วมี ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ ไม่ทาให้เกิด โทษ เช่น ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม เนื้อสัตว์ ฯลฯ (ยกเว้นยารักษาโรค) อาหารชนิดต่าง ๆ ที่เรา รับประทานเข้าไปในร่างกายล้วนแต่เป็นปัจจัย หนึ่งที่จาเป็นอย่างมากต่อชีวิต เมื่อร่างกายย่อย แล้วก็จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยทาให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้าง กล้ามเนื้อ สมอง กระดูก และผิวหนัง ช่วยให้ พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายในการทา กิจกรรมต่าง ๆ ช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ที่สึกหรอ ของร่างกาย ทาให้การทางานของอวัยวะภายใน ร่างกายเป็นปกติ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แก่ร่างกายในการต้านทานโรคต่าง ๆ ทาให้เรา ไม่เจ็บไม่ป่วยได้ง่าย ๆ เป็นต้น

5หมู่ หมายถึง อาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละ วันรวม 5 ชนิด โดยสารอาหารที่เหมือนกันจะถูก จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน และร่างกายของคนเรา ก็ต้องการสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หรือ 5 ชนิด ในแต่ละวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่ สามารถจะให้สารอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่


ประโยชน์ของการออกกาลังกาย ช่วยให้อารมณ์ดี

นอนหลับง่ายขึ้น

ช่วยเพิ่มพลังงาน

สมรรถภาพทางเพศ

ต้านทานโรคภัย

มีสังคมที่กว้างขึ้น

ควบคุมน้าหนัก

อายุที่ยืนยาวขึ้น


สุขภาวะทางจิตวิญาณ หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มี ความรู้ทั่วรู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่ง ความดีความชั่วความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนาไปสู่ ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่


ความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนา ในชีวิตประจาวันนั้นเราเหมือนกับจะรู้ว่าสิ่งใด เป็นกุศล สิ่งใดดี และ สิ่งใดเป็นอกุศล สิ่งใดไม่ดี เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นอกุศล ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้นเป็นกุศล แต่ มันก็ยังใช่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เพราะเหตุว่า ผมยังไม่รู้ความหมายของคาว่า ดี กับ ชั่ว นั้นคือ อะไร กุศล กับ อกุศล นั้นคืออะไร เพราะเหตุว่า ในชีวิตประจาวันของเรานั้นเมื่อมีสิ่งซึ่งถูกใจของ เรา เราย่อมตัดสินว่าสิ่งนั้นคือ ดี และถ้ามีสิ่งซึ่ง ไม่ถูกใจของเรา เราย่อมตัดสินว่าสิ่งนั้นคือ ไม่ดี ซึ่งดีสาหรับเราแล้วอาจจะไม่ดีสาหรับคนอื่นๆ ดังนั้นผมจึงไม่รู้ว่าจะให้คานิยามความหมายของ คาว่าดี กับ ชั่ว นั้นว่าอย่างไร ความดีแท้นั้นคือ อะไร และเราจะใช้สิ่งใดตัดสินว่านี่คือคือ ความเห็นถูก นั่นคือความเห็นผิด สมมุติว่าคน หนึ่งยืนอยู่ฝั่งหนึ่งของเหรียญ เนื่องจากว่า เหรียญมี 2 ด้าน คนที่ยืนอยู่ด้านหนึ่งเห็นเป็นหัว คนที่ยืนอยู่อีกด้านหนึ่งเห็นเป็นก้อย ดังนั้น เนื่องจากคนเรามีจุดยืนที่ต่างกันก็เป็นธรรมดาที่ คนเราจะมีความเห็นไม่เหมือนกัน แล้วเราจะ ตัดสินอย่างไรครับว่าอะไรคือความเห็นถูกต้อง อะไรคือความเห็นไม่ถูกต้อง


สุขภาวะทางจิต หมายถึง สภาวะทางจิตใจของบุคคลอัน เป็นภาวะทางจิตที่ดี มีความสุข มีความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งมี ความเกี่ยวเนื่องกับการที่บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถจัดการ กับความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี ความสอดคล้องกับความต้องการและการสาเร็จตามเป้าหมาย มี มุมมองสภาพแวดล้อม สถานการณ์ และประสบการณ์ในแง่ดี


การพักผ่อนกับสุขภาพจิตที่ดี การกาหนดความต้องการพักผ่อนและการนอน หลับจะต้องคานึงถึงองค์ประกอบทางอารมณ์ สภาพร่างกาย บุคลิกภาพ อาชีพ และกิจกรรม ในแต่ละวัน ผู้ที่เปลี่ยนเวลาทางานบ่อย เช่น พยาบาล ตารวจยามรักษาความปลอดภัย ลูกจ้างในโรงงานที่ทางานเป็นกะ จะรู้สึกเหนื่อย ล้าและต้องการนอนหลับมากกว่าคนทั่วไปที่มี เวลานอนเป็นประจา การผ่าตัดการเจ็บป่วย การตั้งครรภ์ และหลังคลอด แต่ละคนจะ ต้องการนอนหลับมากขึ้นแม่ที่เลี้ยงบุตรในวัย ทารก วัยหัดเดินและวัยก่อนเข้าเรียนอาจต้อง นอนพักกลางวันเพื่อชดเชยที่นอนหลับในเวลา กลางคืนไม่เพียงพอ

วัยหนุ่มสาวมักจะมีกิจกรรมทั้งวัน นับตั้งแต่ กิจกรรมในที่ทางาน งานสังคมความรับผิดชอบ ในครอบครัว กิจกรรมเหล่านี้ต้องทาให้เสร็จสิ้น ใน 1 วันจนดูเหมือนจะไม่มีเวลาพักผ่อนแต่ บุคคลในวัยนี้ก็ยังคงมีสุขภาพกายและจิตที่ดีจน ทาให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่าตนมีความอดทน เหนือกฎธรรมชาติที่สามารถอดหลับอดนอนได้ เป็นเวลานานๆแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าบุคคลที่ อดทนทางานโดยปราศจากการพักผ่อนเหล่านี้ไม่ อาจทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะมี ข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องจากงานได้เสมอ จน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองได้


สุขภาวะทางสังคม หมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและ จิตใจที่สุขสมบูรณ์สภาพความเป็นอยู่หรือการดาเนินชี วิตอยู่ใน สังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทาให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถ ปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างดีและมีความสุข


การปรับตัวเพื่อเข้าสูส่ งั คม การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้ แก่ตนเองที่สาคัญ มี 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่ภายในจิตใจ ได้แก่การ เสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง และส่วนที่ ปรากฏภายนอก ได้แก่ ทักษะการเข้าสังคม การเสริมสร้างความมั่นใจเริ่มจากการทีค่ ุณ รู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง รู้ว่าตัวเองมีจุดดี จุด ด้อยตรงไหน ยอมรับความสามารถของ ตนเองว่าบางอย่างตัวเองทาได้ดี บางอย่างก็มี ข้อจากัดทาได้ไม่ดี การคิดสิ่งต่าง ๆ โดยยึด หลักของเหตุผลและความเหมาะสมตาม กาลเทศะก็จะทาให้เกิดความ มั่นใจมากขึน้ ได้ เพราะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้การยอมรับ นอกจากนี้ควรฝึกฝนทาสิ่งต่างๆด้วยตัวของ คุณเอง การพึ่งตัวเองบ่อย ๆ ก็ทาให้คุณทาสิ่ง ต่าง ๆ ด้วยความมั่นใจมากขึ้น คนที่ทาสิ่งต่าง ๆ ย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ้างเป็นธรรมดา คาตาหนิติเตียนที่คุณได้รับอาจจะทาให้เสีย ความมั่นใจไปบ้าง คุณต้องไม่ท้อถอย แต่ต้อง พยายาม ป้องกันแก้ไขไม่ให้ความผิดพลาด เหล่านั้นเกิดซ้าอีก จะช่วยสร้างความมั่นใจ เพิ่มขึ้น การเสริมสร้างความมั่นใจต้องอาศัย เวลา ต้องการมีความมั่นใจเรื่องใดก็ต้องทา เรื่องนั้นบ่อย ๆ ความมั่นใจก็จะเกิดขึ้นได้

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทางสังคมนั้น จะเกิดขึ้น เมื่อคุณได้มีโอกาสเข้าสังคม บ่อย ๆ เช่น ไปงานพบปะ สังสรรค์เลี้ยงรุ่น เป็นต้น ดังนั้นคุณจึงควรเปิดโอกาสให้ ตัวเองได้ไปงานกับเพื่อนหรือคนรู้จักใกล้ชิด แล้วเรียนรู้ โดยการสังเกตดูว่าในงานนั้นคนทั่วไปเขาแต่งตัวกัน อย่างไร เริ่มต้นทาความรู้จักหรือทักทายกันอย่างไร มารยาทสังคมที่จาเป็นมีอะไรบ้าง ท่าทีการวางตัวทา อย่างไร นอกจากนี้ควรสังเกตเรื่องที่พูดเนื้อหาที่พูด เรื่องใดเป็นเรื่องที่คนสนใจ สาหรับคนที่เริ่มเข้าสังคม ทักษะแรกที่คุณสามารถทาได้คือ การฟังด้วยความตั้งใจ และจากประสบการณ์ที่ได้รับ คุณก็สามารถเลือกทาใน สิ่งที่จะเหมาะสมกับตัวคุณได้ต่อไป การพัฒนาบุคลิกภาพทั้งการเสริมสร้างความมั่ นใจ และการพัฒนาทักษะ การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ทาได้ไม่ ยาก เพียงแต่ต้องอาศัยความสนใจและความตั้งใจที่ จะฝึกฝนอย่างจริงจัง


“สุขภาวะที่ดี เริ่มต้นที่ตวั เรา” รายวิชา วัฒนวิถีแห่งการดารงชีวิต

นายทวีศกั ดิ์ ส ุวรรณชาตรี สาขาการผังเมือง คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชยั


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.