Cnt0014599 1

Page 1

ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2558

THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2015 : JULY

เดือนกรกฎาคม

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง http://www.fpo.go.th


THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2015 : JULY FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน

กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”

ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ

ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store /

Play Store

2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)



THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2015 : JULY FISCAL POLICY OFFICE

สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 (ณ เดือนกรกฎาคม 2558) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 2. ภาคการคลัง : รายงานสถานการณ์ด้านการคลังในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558)

หน้า 3 6 9 10 28 39

3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) : เทรนด์เศรษฐกิจของคนยุคใหม่ 3.2 เมื่อผู้น�ำโลกเปลี่ยนมือ 3.3 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว-เครื่องยนต์ส�ำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 3.4 เศรษฐกิจไทยติดหล่มต้องแก้ที่โครงสร้าง 3.5 ตีแผ่ความจริงประมงผิดกฎหมายของไทย : เพื่อปลดล็อกใบเหลือง IUU 3.6 ขึ้น VAT ญี่ปุ่น กระทบส่งออกไทยอย่างไร 3.7 ท�ำความรู้จักกับ Digital Economy

45 52 61 67 73 78 84

4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558

93

5. Thailand’s Key Economic Indicators

98

คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th


บทสรุปผู้บริหาร

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 (ณ เดือนกรกฎาคม 2558) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 “เศรษฐกิจไทยปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยมีแรงส่งในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีและนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาล” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2558 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.5-3.5) ขยายตัวเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นหน้า ทีข่ ยายตัวร้อยละ 0.9 โดยมีสาเหตุหลักจาก การท่องเทีย่ วทีข่ ยายตัวได้ดตี อ่ เนือ่ งโดยเฉพาะจากนักท่องเทีย่ วจีนและมาเลเซีย ซึง่ จะส่งผลให้ภาคบริการทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กับการท่องเที่ยว อาทิ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาขนส่งและคมนาคม ขยายตัวได้ดีตามมา นอกจากนี้นโยบาย เร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลและการใช้จ่ายนอกงบประมาณเพิ่มเติมที่ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานของภาครัฐ โครงการบริหารจัดการน�้ำ และโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน คาดว่าจะท�ำให้การใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น และอาจกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้านการบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มฟืน้ ตัวจากปีกอ่ นหน้า โดยได้รบั อานิสงส์จากราคาน�ำ้ มันทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ และภาวะการเงินทีผ่ อ่ นคลายเพิม่ ขึน้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกันจากแรงสนับสนุนของโครงการลงทุนภาครัฐ อย่างไร ก็ตาม เศรษฐกิจโลกทีฟ ่ น้ื ตัวช้า ตลอดจนปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคส่งออกของไทย ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้า และบริการปรับลดลงต�่ำกว่าที่คาดการณ์ครั้งก่อน ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2558 มีทิศทางปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.1 ถึง -0.1) จากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก โดยเฉพาะจากราคาน�้ำมันที่อยู่ในระดับต�่ำ ประกอบกับแรงกดดันด้านอุปสงค์ลดลง ตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทีฟ ่ น้ื ตัวช้า ขณะทีเ่ สถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุลเพิม่ ขึน้ จากปีที่แล้ว เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้าที่หดตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับการลดลง ของราคาสินค้าส่งออกและสินค้าน�ำเข้า และคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 20.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของ GDP (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.9-7.0 ของ GDP) เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว ตามการเกินดุล บริการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

3


1. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2558 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2558 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5-3.5) ขยายตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 โดยมีสาเหตุหลักจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจาก นักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซีย ซึ่งจะส่งผลให้ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และ สาขาขนส่งและคมนาคม ขยายตัวได้ดตี ามมา นอกจากนีน้ โยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลและการใช้จา่ ยนอกงบประมาณ เพิ่มเติมที่ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โครงการบริหารจัดการน�้ำ และโครงการพัฒนาระบบ ขนส่งทางถนน คาดว่าจะท�ำให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น และอาจกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าและบริการ คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 0.0 ถึง 2.0) ตามการขยายตัวของจ�ำนวนนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า ตลอดจนปัญหาเชิง โครงสร้างของภาคส่งออกของไทย อาทิ ค่าจ้างที่ปรับสูงขึ้น ข้อจ�ำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิต และการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการปรับลดลงต�ำ่ กว่าทีค่ าดการณ์ครัง้ ก่อน ส�ำหรับการใช้จา่ ย ภาครัฐจะเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยคาดว่าการบริโภค ภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.8 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.3-3.3) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 19.6 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 17.6-21.6) อันเป็นผลมาจากนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลทีเ่ ริม่ ด�ำเนินการตัง้ แต่ตน้ ปีงบประมาณ 2558 ประกอบกับแผนการใช้จา่ ยนอกงบประมาณเพิม่ เติมทีจ่ ะมีสว่ นสนับสนุนการกระตุน้ เศรษฐกิจอย่างต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเฉพาะในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐยังถือเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ส�ำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9-1.9) โดยได้รับอานิสงส์จากราคาน�้ำมันที่อยู่ในระดับต�่ำและภาวะการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะช่วยลดภาระการช�ำระหนี้ของภาคครัวเรือนลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกัน มาอยู่ที่ ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4-2.4) จากแรงสนับสนุนของโครงการลงทุนภาครัฐ ประกอบกับการเร่งอนุมัติการ ส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มีเม็ดเงินบางส่วนเริ่มลงทุนจริงในปีนี้ ส�ำหรับปริมาณการ น�ำเข้าสินค้าและบริการ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.2 - 2.2) สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ที่ปรับตัวดีขึ้น 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในปี 2558 มีทิศทางปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.1 ถึง -0.1) จากปัจจัยด้านอุปทาน เป็นหลัก โดยเฉพาะจากราคาน�ำ้ มันทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ ประกอบกับแรงกดดันด้านอุปสงค์ลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทีฟ่ น้ื ตัวช้า ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.70.9 ของก�ำลังแรงงานรวม) ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9-7.0 ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ตามการเกินดุลบริการทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ ประกอบกับดุลการค้าจะเกินดุลเพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว มาอยูท่ ี่ 26.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ที่ 18.0-35.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้าที่หดตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งสอดคล้อง กับการลดลงของราคาสินค้าส่งออกและสินค้าน�ำเข้า โดยคาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในปี 2558 จะหดตัวร้อยละ -5.5 (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ -7.5 ถึง -3.5) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ -4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -6.0 ถึง -2.0)

4


ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2558 (ณ เดือนกรกฎาคม 2558) 2557 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 3.6 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 96.6 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) -1.0 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) -1.9 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 32.49 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละ) 2.00 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 3.20 8) จ�ำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน) 24.8 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 0.9 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 0.6 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.7 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -2.0 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -4.9 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 0.0 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) -5.4 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 24.6 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) -0.3 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) -8.5 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 13.1 - ร้อยละของ GDP 3.2 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 1.9 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 1.6 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.8

2558 f (ณ กรกฎาคม 2558) เฉลี่ย ช่วง

3.6 60.0 -1.6 -6.7

3.1-4.1 50.0-70.0 -2.6 ถึง -0.6 -7.7 ถึง -5.7

33.95 32.95-34.95 1.50 1.25-1.75 3.42 3.22-3.62 29.9 28.9-30.9 3.0

2.5-3.5

1.4 2.8

0.9-1.9 2.3-3.3

1.4 19.6 1.0 1.2 26.5 -4.0 -5.5 20.5 5.1 -0.6 0.8 0.8

0.4-2.4 17.6-21.6 0.0-2.0 0.2-2.2 18.0-35.0 -6.0 ถึง -2.0 -7.5 ถึง -3.5 12.0-29.0 2.9-7.0 -1.1 ถึง -0.1 0.3-1.3 0.7-0.9

f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

5


Executive Summary Thailand’s Economic Projection for 2015 (As of July 2015) Thailand’s Economic Outlook Projections for 2015 Thai economy is forecasted to grow by 3.0 percent in 2015 supported by strong tourism growth and expansionary fiscal policies Thailand’s economic projection as of July 2015 is stating that the Thai economy in 2015 is projected to grow at an annualized rate of 3.0 percent (or within a range of 2.5-3.5 percent) in 2015, higher than 0.9 percent in previous year. Foreign tourism mainly from China and Malaysia is expected to be the main supporting factor this year through higher export of services. Expansion of tourism would also pave the way for other service-based sectors such as hotel, restaurant, and transportation to grow this year. Moreover, public expenditure and investment are anticipated to support growth as well with accelerated government budget disbursement and off-budget expenditure on new investment programs (e.g. water resource management project, transportation development project, and infrastructure investment development project on transportation). Great public investment would also contribute towards “crowding-in” private investment. Private consumption is recovering gradually from the previous year due to lower energy price and lower level of interest rate. However, the exports of goods are anticipated to face challenges amid fragile global economic recovery and structural problems in Thailand’s export sector. These would lead to lower exports of goods and services, comparing to the previous April 2015 projection. Thailand’s economic stability remains resilient. For internal stability, a headline inflation in 2015 is anticipated to be -0.6 percent (or within a range of (-1.1) to 0.1 percent), mainly the result of falling in global fuel and commodity prices, as well as weak domestic demand due to slow economic recovery. For external stability, trade surplus is expected to be higher than those of the previous year, as imports of goods declined relatively more than exports of goods. Current account is expected to record surplus of USD 20.6 billion or 5.1 percent of GDP (or within a range of 2.9-7.0 percent of GDP), as a result of trade surplus in services sector.

6


1. Thai Economy in 2015 1.1. Economic Growth The Thai economy in 2015 is forecasted to grow at an annualized rate of 3.0 percent (or within a range of 2.5-3.5 percent), higher than the previous year of 0.9 percent. The export of services, especially the tourism mainly from China and Malaysia, would contribute to the Thai GDP growth in 2015. The expansion of tourism would also pave the way for other service-based sectors such as hotel, restaurant, and transportation to grow this year. Moreover, public expenditure and investment are anticipated to resume growth opportunity, supported by the acceleration of budget disbursement and new investment programs (e.g. water resource management project, transportation development project, and infrastructure investment development project on transportation). These efforts would also support private expenditure to pick up with brighter prospects. The exports of goods and services are anticipated to grow gradually at 1.0 percent (or within a range of 0.0-2.0 percent) following an increase in the number of tourists, while the fragile global economic recovery, the structural problems in Thailand’s export sector, and the Generalised Scheme of Preferences (GSP) cut by European union would affect the exports of goods and services to grow at lower rate than those of the previous April 2015 projection. This year, fiscal policy is expected to support economic recovery. Public consumption is expected to grow at 2.8 percent (or within a range of 2.33.3 percent). Public investment is expected to accelerate and grow strongly at 19.6 percent (or within a range of 17.6-21.6 percent) following the acceleration of budget disbursement since the beginning of this fiscal year 2015 and off-budget expenditure which would accommodate economic growth. However, the disbursement for the major infrastructure projects by the government and state enterprises should be closely monitored for timely implementation as planned. Private consumption shows the continuous trend of recovery from the previous year and is expected to expand by 1.4 percent (or within a range of 0.9-1.9 percent), supported by a falling in global oil prices and low interest rate environment which would benefit the debt-burdened households. Private investment is expected to grow gradually at 1.4 percent (or within a range of 0.4-2.4 percent) supported by “crowding-in” effect from infrastructure investment program of the government and the acceleration of the Board of investment of Thailand (BOI) project approval since the second half of last year, as this would be expected that some approval projects will start their investment within this year. The import of goods and services are expected to be at a rate of 1.2 percent (or within a range of 0.2-2.2 percent), also in line with the recovering condition. 1.2 Economic Stability Thailand’s economic stability remains resilient. For internal stability, a headline inflation in 2015 is projected to decline to -0.6 percent (or within a range of (-1.1) to (-0.1) percent), mainly from falling in global fuel and commodity prices, as well as weak domestic demand reflecting slow economic recovery. Unemployment is anticipated to remain at a low rate of 0.8 percent of the total labor force (or within a range of 0.7-0.9 percent). For external stability, current account is expected to record surplus of USD 20.5 billion or 5.1 percent of GDP (or within a range of 2.9-7.0 percent of GDP), which is higher than those of the previous year. The exports of goods are expected to be dropped by -4.0 percent (or within a range of (-6.0) to (-2.0) percent), while the imports of goods are estimated to fall sharply by -5.5 percent (or within a range of (-7.5) to (-3.5) percent). Consequently, trade surplus is expected to increase slightly to USD 26.5 billion (or within a range of USD 18.0-35.0 billion).

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

7


Major Assumptions and Economic Projections of 2015 (As of July 2015) 2015 f (As of July 15) 2014 Average Range Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners (percent y-o-y) 3.6 3.6 3.1-4.1 2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 96.6 60.0 50.0-70.0 3) Export prices in U.S. dollar (percent y-o-y) -1.0 -1.6 (-2.6) to (-0.6) 4) Import prices in U.S. dollar (percent y-o-y) -1.9 -6.7 (-7.7) to (-5.7) Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollar) 32.49 33.95 32.95-34.95 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (percent) 2.00 1.50 1.25-1.75 7) Fiscal-Year Public Expenditure (Trillion Baht) 3.20 3.42 3.22-3.62 8) Number of international tourists 24.8 29.9 28.9-30.9 Projections 1) Economic Growth Rate (percent y-o-y) 0.9 3.0 2.5-3.5 2) Real Consumption Growth (percent y-o-y) - Real Private Consumption0 0.6 1.4 0.9-1.9 - Real Public Consumption 1.7 2.8 2.3-3.3 3) Real Investment Growth (percent y-o-y) - Real Private Investment -2.0 1.4 0.4-2.4 - Real Public Investment -4.9 19.6 17.6-21.6 4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 0.0 1.0 0.0-2.0 5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) -5.4 1.2 0.2-2.2 6) Trade Balance (billion U.S. dollar) 24.6 26.5 18.0-35.0 - Export Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) -0.3 -4.0 (-6.0) to (-2.0) - Import Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) -8.5 -5.5 (-7.5) to (-3.5) 7) Current Account (billion U.S. dollar) 13.1 20.5 12.0-29.0 - Percentage of GDP 3.2 5.1 2.9-7.0 8) Headline Inflation (percent y-o-y) 1.9 -0.6 (-1.1) to (-0.1) Core Inflation (percent y-o-y) 1.6 0.8 0.3-1.3 9) Unemployment Rate (percentage of total labor force) 0.8 0.8 0.7-0.9 f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand, Tel. 0 2273 9020

8


ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 (ณ เดือนกรกฎาคม 2558) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2558 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5-3.5) โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐานที่ส�ำคัญ ดังนี้ เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวค่อนข้างต่อเนื่อง ตามการลดลงของผลผลิต ส�ำคัญ อาทิ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุโทรทัศน์ และเครื่องประดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรกรรมที่ส่งสัญญาณหดตัวต่อเนื่อง เช่นกันที่ร้อยละ 6.3 ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลส�ำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ปาล์มน�้ำมัน และยางพารา เนื่องจาก ปัญหาภัยแล้งที่ทิ้งช่วงยาวนาน ท�ำให้เกษตรกรไม่สามารถท�ำการเพาะปลูกได้ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาภาคบริการพบว่า ยังสามารถขยายตัวได้ดี ตามจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วต่างชาติทขี่ ยายตัวได้ระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 30.7 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับ ด้านการใช้จ่ายพบว่า เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนส่งสัญญาณชะลอตัวเช่นเดียวกัน สะท้อนจากรายได้จากการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากการน�ำเข้าสินค้าที่หดตัวร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น สอดคล้องกับปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์นงั่ ทีห่ ดตัวเช่นกันทีร่ อ้ ยละ 20.1 ในขณะทีม่ ลู ค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านมูลค่าการน�ำเข้าสินค้าหดตัวที่ร้อยละ 8.6 ตามการลดลงของการน�ำเข้าสินค้าทุนและ เชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกที่ต�่ำกว่าเมื่อเทียบกับการหดตัวของการน�ำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้าตามระบบ กรมศุลกากรในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 เกินดุลที่ระดับ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍

การเปลีย่ นแปลงสมมติฐานทีใ่ ช้ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 ทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัว ของ 15 ประเทศคู่ค้าหลัก ในปี 2558 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนให้เติบโตใกล้เคียงกับ การเติบโตในปีกอ่ น ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากเศรษฐกิจคูค่ า้ หลักทีเ่ ติบโตชะลอตัวลงโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี คาดว่าจะ ได้รับอานิสงส์อยู่บ้างจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (2) สมมติฐานราคาสินค้าส่งออกในปี 2558 คาดว่า จะหดตัวที่ร้อยละ 1.6 ปรับลดลงจากการประมาณครั้งก่อน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในตลาดโลกในหมวดที่ไม่ใช่พลังงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต�่ำกว่าที่คาด ขณะที่ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2558 คาดว่าจะหดตัว ร้อยละ 6.7 ปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนเช่นกัน (3) สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยในปี 2558 อยูท่ ี่ 33.95 ต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากการประมาณการครัง้ ก่อน เนือ่ งจากสัญญาณทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ปรับ ตัวดีขนึ้ และภาคการจ้างงานมีความแข็งแกร่ง ท�ำให้คาดว่าจะมีเงินทุนเคลือ่ นย้ายไหลออกจากไทยและภูมภิ าคกลับเข้าสูส่ หรัฐฯ (4) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2558 ให้อยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อน ตามมติของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และ (5) รายจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2558 คาดว่าจะอยูท่ ี่ 2.402 ล้านล้านบาท โดยคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ ร้อยละ 93.3 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2.575 ล้านล้านบาท ด้านรายจ่ายนอก งบประมาณจากเงินกู้ คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท และด้านรายจ่ายท้องถิ่นและรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ คาดว่า จะเบิกจ่ายได้ที่ 5.05 และ 2.41 แสนล้านบาท ตามล�ำดับ ท�ำให้คาดว่ารายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ ปี 2558 จะมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3.42 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 7.0 จากปีงบประมาณ 2557 โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและ ผลการประมาณการ ดังนี้ ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

9


สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2558 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 15 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค. คาดว่า ในปี 2558 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศจะขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ที่ร้อยละ 3.6 จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจจีนซึ่งมีสัญญาณการ ชะลอตัวต่อเนือ่ งจากการลงทุนและการส่งออกทีซ่ บเซา รวมถึงความผันผวนในภาคการเงิน ซึง่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ที่เชื่อมโยงกับจีนในระดับสูง ได้แก่ เศรษฐกิจอาเซียน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ให้ชะลอตัวลง ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักต่อภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ในปีนี้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจยูโรโซนและญีป่ นุ่ ทีค่ าดว่าจะปรับตัวดีขนึ้ จากอานิสงส์ของการด�ำเนินมาตรการผ่อนคลาย ทางการเงินเพิ่มเติมในปี 2558 ตลอดจนปัจจัยฐานที่ต�่ำในปีก่อน” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศ (ร้อยละ) Q4 ประเทศคู่ค้าหลักเรียง ตามสัดส่วนการส่งออก ปี 2557

2556

2557

15 ประเทศคู่ค้า (76.4%) 1. จีน (11.0%) 2. สหรัฐฯ (10.5%) 3. ญี่ปุ่น (9.6%) 4. ยูโรโซน (7.2%) 5. มาเลเซีย (5.6%) 6. ฮ่องกง (5.5%) 7. สิงคโปร์ (4.6%) 8. อินโดนีเซีย (4.2%) 9. ออสเตรเลีย (4.1%) 10. เวียดนาม (3.5%) 11. ฟิลิปปินส์ (2.6%) 12. อินเดีย (2.5%) 13. เกาหลีใต้ (2.0%) 14. ไต้หวัน (1.8%) 15. สหราชอาณาจักร (1.8%)

3.7 7.7 2.2 1.6 -0.4 4.7 3.1 4.4 5.6 2.1 5.4 7.1 6.4 2.9 2.2 1.7

3.6 7.4 2.4 -0.1 0.9 6.0 2.3 2.9 5.0 2.7 6.0 6.1 7.1 3.3 3.8 2.8

2557

Q1

2558

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

Q2

YTD

ทั้งปี 2558f

4.0 7.4 1.9 2.4 1.1 6.3 2.7 4.6 5.1 3.1 5.1 5.6 6.7 3.9 3.4 2.7

3.6 7.5 2.6 -0.4 0.8 6.5 2.0 2.3 5.0 2.7 5.3 6.7 6.7 3.4 3.9 2.9

3.5 7.3 2.7 -1.4 0.8 5.6 2.9 2.8 4.9 2.9 6.1 5.5 8.4 3.3 4.3 2.8

3.4 7.3 2.4 -0.9 0.9 5.7 2.4 2.1 5.0 2.2 7.0 6.6 6.6 2.7 3.5 3.0

3.4 7.0 2.9 -0.9 1.0 5.6 2.1 2.6 4.7 2.4 6.1 5.2 7.5 2.5 3.4 2.9

- 7.0 2.3* - - - - 1.7* 4.7 - 6.4 - - 2.2 - 2.6*

3.3 7.0 2.6 -0.9 1.0 5.6 2.1 2.2 4.7 2.4 6.3 5.2 7.5 2.3 3.4 2.7

3.6 6.9 2.7 0.9 1.3 4.8 2.4 2.5 5.5 2.4 6.0 5.9 7.3 2.7 3.1 2.5

ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค. หมายเหตุ : *ตัวเลขเบื้องต้น

1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.0 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมปี 2557) ➥➥ เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจาก ไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี ยังคงเป็นระดับเดียวกันกับเป้าหมายการขยายตัว ทางเศรษฐกิจซึ่งก�ำหนดโดยทางการจีนที่ร้อยละ 7.0 โดยเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงต่อเนื่องเป็นผลจากการค้าระหว่างประเทศและ

10


การลงทุนที่ชะลอลง ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น สะท้อนจากการส่งออกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.6 ชะลอลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนบ่งชี้โดยยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากร้อยละ 11.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส�ำหรับด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับต�่ำที่สุด ในรอบ 6 ปี ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราต�่ำ

ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะในภาคการค้าระหว่างประเทศ บ่งชี้จากมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ที่กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการลงทุน ในสินทรัพย์ถาวรทีช่ ะลอลงต่อเนือ่ ง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 11.4 ในทางกลับกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเร่ง ขึ้นที่ร้อยละ 6.3 และการบริโภคภายในประเทศยังสามารถขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นได้ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 สะท้อนจากยอด ค้าปลีกทีข่ ยายตัวร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีกอ่ น ส่วนหนึง่ เป็นผลจากนโยบายส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศของทางการ จีน เช่น การลดภาษีน�ำเข้าสินค้าประเภทเครื่องใช้ส่วนบุคคล ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในไตรมาสที่ 2 นี้ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ➥➥ ในปี 2558 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 6.9 หรือในช่วงคาดการณ์ร้อยละ 6.7-7.1 ขยายตัว ชะลอลงจากปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.4 เนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังคงมีสัญญาณชะลอลงต่อเนื่อง แม้ทางการจีนจะได้เริ่ม ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราส่วนการด�ำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตั้งแต่ไตรมาส ที่ 4 ปี 2557 เป็นต้นมา โดยเศรษฐกิจจีนในปี 2558 ยังมีปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญจากภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีปัญหาอุปทานส่วนเกิน ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ยงั คงหดตัวต่อเนือ่ ง แม้ในอัตราทีเ่ ริม่ ชะลอลง พร้อมทัง้ ส่งผลกระทบกระจายไปในภาคการผลิตอืน่ ที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจ�ำนวนมาก อีกทั้งปัญหาหนี้ในระดับสูงทั้งของรัฐบาลท้องถิ่นและภาคเอกชน ปัญหาก�ำลังการผลิตส่วนเกิน และความเสี่ยงจากภาคการเงิน โดยเฉพาะความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 150 ภายใน เวลา 1 ปี ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาก เป็นสัญญาณว่าฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์อาจแตก ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 นายกรัฐมนตรีจีน หลี่ เค่อเฉียง ได้ประกาศเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนปี 2558 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.0 ซึ่งลด ลงจากปีกอ่ น และยังได้ประกาศเป้าหมายเครือ่ งชีท้ างเศรษฐกิจทีส่ ำ� คัญอืน่ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อทีป่ ระมาณร้อยละ 3.0 อัตราการ ว่างงานไม่เกินร้อยละ 4.5 มูลค่าการส่งออกขยายตัวประมาณร้อยละ 6.0 และการขยายตัวของปริมาณเงิน (M2) ไม่เกินร้อยละ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

11


12 ส�ำหรับนโยบายการคลัง ทางการจีนวางแผนที่จะด�ำเนินนโยบายแบบขาดดุลต่อไป โดยในปี 2558 จะเพิ่มการใช้จ่ายของ ภาครัฐเป็น 17.15 ล้านล้านหยวน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.6 จากปีกอ่ น และจะท�ำให้การขาดดุลการคลังมีมลู ค่าอยูท่ ี่ 1.62 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป้าหมายทั้งหมดที่ทางการจีนได้ประกาศไว้นี้ นับเป็นการตอกย�ำ้ การชะลอลงอย่างต่อเนือ่ งของเศรษฐกิจจีนทีส่ ง่ ผลให้ทางการจีนต้องกลับมากระตุน้ เศรษฐกิจอย่างจริงจังอีกครัง้ 1.2 เศรษฐกิจสหรัฐฯ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.5 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2557) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เร่งขึ้นจากปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบ กับปัจจัยฐานที่ต�่ำเนื่องจากภาวะอากาศหนาวเย็นผิดปกติในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.6 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ภาคการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ ร้อยละ 5.5 ของก�ำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดวิกฤติ ส�ำหรับเสถียรภาพด้านราคาพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี โดยเป็นผลจากราคา น�้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต�่ำ ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : BEA รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ปีกอ่ น หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.6 เมือ่ เทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยการบริโภคและการลงทุนภาค เอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามล�ำดับ สอดคล้องกับภาคการจ้าง งานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรในช่วงเดียวกันที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2558 678,000 ต�ำแหน่ง ท�ำให้อัตราการว่างงาน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของก�ำลังแรงงานรวม คิดเป็นระดับต�่ำที่สุดในรอบ 7 ปี ขณะที่ด้านเสถียรภาพด้านราคาพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.04 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ซึ่งต�่ำกว่าระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายในระยะกลางที่ร้อยละ 2.0 ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ นางเจเนต เยลเยน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงส่งสัญญาณว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกภายใน ปี 2558 จากระดับปัจจุบนั ทีร่ อ้ ยละ 0 – 0.25 ต่อปี โดยจะพิจารณาช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมจากภาคการจ้างงานทีม่ สี ญ ั ญาณปรับตัว ดีขึ้นต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อในระยะกลาง และสถานการณ์เศรษฐกิจร่วมด้วย

12


➥➥ ในปี 2558 คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5-2.9

เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยคาดว่าในปี 2558 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัว ของภาคการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาน�้ำมันที่ ยังคงอยู่ในระดับต�่ำจะเอื้อให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยได้อย่างต่อเนื่องโดยมิต้องกังวลต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายในปี 2558 นี้ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอาจเป็นแรงกดดันให้ประเทศอืน่ ๆ ต้องด�ำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวหรือใช้มาตรการ การควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลออกอย่างรวดเร็วได้ 1.3 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.6 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวม ในปี 2557) ➥➥ เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเมื่อขจัดผล ทางฤดูกาลแล้วกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากปัจจัยบวกด้านการส่งออกเป็นหลัก ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของก�ำลังแรงงานรวม ส่วนเสถียรภาพด้านราคายังอยู่ในแดนบวก จากอัตราเงินเฟ้อ เฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 2.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันปีกอ่ น ทัง้ นี้ ธนาคารกลางญีป่ นุ่ ยังคงอัตราดอกเบีย้ นโยบายในระดับต�ำ่ ทีช่ ว่ งร้อยละ 0.00-0.10 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 3 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศอย่าง

ต่อเนื่อง สะท้อนจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ ได้แก่ มูลค่าการส่งออกไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงมากซึ่งท�ำให้สินค้าส่งออกญี่ปุ่นได้เปรียบในด้านราคา สอดคล้องกับ กิจกรรมภาคการผลิตที่ขยายตัวอยู่ในระดับดีต่อเนื่อง บ่งชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามล�ำดับ สะท้อนจากยอดค้าปลีกในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ที่กลับมาขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังเป็นปัจจัยเอื้อ ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากอัตราการว่างงานไตรมาสที่ 2 ปี 2558 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.3 ของก�ำลังแรงงานรวม ส่วนอัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 0.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันปีกอ่ น โดยธนาคารกลางญีป่ นุ่ ได้ปรับลดเงินเฟ้อเป้าหมาย ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 2.0

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

13


➥➥ ในปี 2558 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.9 หรือที่ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.7-1.1

เร่งขึ้นจากปี 2557 จากปัจจัยฐานต�่ำและมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม (Quantitative and Qualitative Easing : QQE) ที่มีผลให้เงินเยนอ่อนค่าลง สร้างความได้เปรียบด้านราคาต่อการส่งออกสินค้าและบริการของญี่ปุ่น กอปรกับราคา น�้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับต�่ำเป็นปัจจัยบวกต่อดุลการค้า อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจ จีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าส�ำคัญอันดับหนึ่งที่ขยายตัวชะลอลง ตลอดจนหนี้สาธารณะญี่ปุ่นที่ยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 1 พันล้านเยน (เกินกว่า 2 เท่าของ GDP) ซึง่ เป็นประเด็นทีท่ า้ ทายต่อเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ในระยะปานกลาง ทีท่ างการญีป่ นุ่ จะต้องสร้างความสมดุล ภาคการคลังและส่งเสริมอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มั่นคงและยั่งยืน 1.4 เศรษฐกิจยูโรโซน 19 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 7.2 ของ มูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2557) ➥➥ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 เศรษฐกิจยูโรโซน (19 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย โดยเศรษฐกิจ หลัก ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี มีแนวโน้มฟื้นตัว ภายหลังการด�ำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคาร กลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ที่เริ่มด�ำเนินการในเดือนมีนาคม 2558 ซึ่งท�ำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและ ผูบ้ ริโภคปรับตัวดีขนึ้ ทัง้ นี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐเป็นแรงขับเคลือ่ นหลักของเศรษฐกิจ โดยขยายตัวร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนตามล�ำดับ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการ ขยายตัวในระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 0.4 ส่วนการส่งออกสุทธิหดตัวร้อยละ -5.2 จากการน�ำเข้าทีข่ ยายตัวสูงกว่าการส่งออก ด้านเสถียรภาพ เศรษฐกิจพบว่า ในเดือนมีนาคม 2558 อัตราการว่างงานปรับลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 11.2 ของก�ำลังแรงงาน รวม ขณะที่ราคาน�้ำมันที่ลดต�่ำลงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อน ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน

ที่มา : Eurostat

➥➥ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ตลาดการเงินจะมีความ

ผันผวนสูงจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ของกรีซที่การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ยืดเยื้อ จนน�ำไปสู่การผิดนัด ช�ำระหนี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จ�ำนวน 1.6 พันล้านยูโรในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 โดยด้านอุปทาน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เฉลี่ยที่ 53.9 จุด เร่งขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2558 บ่งชี้การฟื้นตัวของ ภาคการผลิต โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม เฉลีย่ อยูท่ รี่ ะดับ 52.2 จุด เพิม่ สูงขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้า จากค�ำสัง่ ซือ้ จากต่างประเทศ ที่เพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินยูโร ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เฉลี่ยที่ระดับ 54.1 จุด โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ดัชนีฯ อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี บ่งชี้ความแข็งแกร่งของภาคบริการยูโรโซน ขณะที่ด้านอุปสงค์

14


ยอดค้าปลีก ไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงต้นไตรมาส แต่แผ่วลง เล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2558 จากการชะลอตัวในยอดขายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ปรับลดลงในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558 ท�ำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ -5.3 จุด ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ เดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 11.1 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ท�ำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 ➥➥ ในปี 2558 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 หรือที่ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.1-1.5 เร่งขึน้ จากปี 2557 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 0.9 โดยส่วนหนึง่ เป็นผลจากปัจจัยฐานต�ำ่ ในปีกอ่ นหน้า ประกอบกับมาตรการทางการเงิน แบบผ่ อ นคลายและมาตรการเสริ ม สภาพคล่ อ งของธนาคารกลางยุ โ รปได้ เ ริ่ ม ส่ ง ผลท� ำ ให้ ต ้ น ทุ น ในตลาดการเงิ น ลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป อีกทั้งการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจากการท�ำมาตรการ ดังกล่าวท�ำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกของยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คู่ค้าส�ำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ก็จะส่งผลให้อุปสงค์ภายนอกปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน 1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมปี 2557) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) ในไตรมาส ที่ 1 ปี 2558 ส่วนใหญ่ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ยกเว้นสิงคโปร์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยประเทศที่ ขยายตัวได้ในอัตราชะลอลง (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ชะลอตัวถึงหดตัว ตามตลาดส่งออกสินค้าหลักส่วนใหญ่ ซึง่ ได้แก่ จีน ญีป่ นุ่ และกลุม่ ประเทศในยุโรป ทีย่ งั คงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ให้ชะลอลงตามไปด้วย ขณะทีส่ งิ คโปร์ยงั ได้รบั ปัจจัยบวกจากการส่งออกบริการและการบริโภคและลงทุนภาคเอกชนในประเทศ ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ยังคงขยายตัวเร่งขึ้น แม้ว่าจะเริ่มได้รับผลกระทบจาก ภาคการส่งออกสินค้าที่ชะลอตัวก็ตาม ทัง้ นี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจของกลุม่ ประเทศในอาเซียนโดยรวมยังคงอยูใ่ นเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่ ยังคงทรงตัว โดยราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนขณะที่ราคาพลังงานโดยรวมปรับตัวลดลง ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รายไตรมาส (%) ประเทศ (ตามสัดส่วนการส่งออก) ปี 56 - Real GDP (%yoy) - Real GDP (%qoq sa) สิงคโปร์ - Real GDP (%yoy) (4.6%) - Real GDP (%qoq sa) อินโดนีเซีย - Real GDP (%yoy) (4.2%) - Real GDP (%qoq sa) เวียดนาม - Real GDP (%yoy) (3.5%) - Real GDP (%qoq sa) ฟิลิปปินส์ - Real GDP (%yoy) (2.6%) - Real GDP (%qoq sa) มาเลเซีย (5.6%)

4.7 - 4.4 - 5.6 - 5.4 - 7.1 -

ปี 57 Q1

Q2

Q3

Q4

6.3 1.4 4.6 0.5 5.1 1.0 5.1 -0.5 5.6 1.7

6.5 1.6 2.3 -0.1 5.0 1.2 5.3 1.9 6.7 2.0

5.6 0.8 2.8 0.6 4.9 1.2 6.1 2.3 5.5 0.4

5.7 1.8 2.1 1.2 5.0 1.4 7.0 2.9 6.6 2.5

ปี 57 6.0 - 2.9 - 5.0 - 6.0 - 6.1 -

ปี 58 Q1

Q2

YTD

5.6 1.2 2.6 0.8 4.7 0.8 6.1 -0.9 5.2 0.3

- - 1.7* - 4.7 1.2 6.4 2.1 - -

5.6 1.2 2.2 4.7 2.0 6.3 1.2 5.2 0.3

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค. หมายเหตุ : *ตัวเลขเบื้องต้น

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

15


➥➥ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 โดยส่วนใหญ่มีสัญญาณ

ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากภาคการส่งออกที่ยังคงชะลอตัวถึงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน (ภาพที่ 5) จากเศรษฐกิจ ของตลาดส่งออกหลักทีย่ งั มีสญ ั ญาณชะลอตัว โดยคาดว่าสิงคโปร์และมาเลเซียจะได้รบั ผลกระทบค่อนข้างมาก เนือ่ งจากมีอตั รา การเปิดประเทศในระดับสูงและมีภาคการส่งออกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่เวียดนามมีแนวโน้มขยายตัว ได้ดีจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง บ่งชี้จากเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ที่ขยายตัว เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส�ำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการผลิตส่วนใหญ่มีทิศทางชะลอตัว โดยดัชนี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ขยายตัวในอัตราชะลอลงถึงหดตัว ยกเว้นเวียดนามที่ยังขยายตัว เป็นบวกต่อเนื่อง (ภาพที่ 6) ส�ำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อของทุกประเทศใน กลุ่มอาเซียนดังกล่าวปรับตัวลดลง จากราคาน�้ำมันในตลาดโลกทรงตัวอยู่ในระดับต�่ำต่อเนื่อง ซึ่งท�ำให้ต้นทุนค่าคมนาคมขนส่ง และค่าครองชีพลดลง ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในปี 2558 คาดว่า เศรษฐกิจอาเซียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2557 เนื่องจากการส่งออก

ที่หดตัวเป็นหลัก ยกเว้นอินโดนีเซียและเวียดนามที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยประเทศที่คาดว่าเศรษฐกิจ จะชะลอตัว ได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 และคาดว่า จะยังคงหดตัวต่อเนื่องทั้งปี เนื่องจากอุปสงค์จากตลาดส่งออกหลักโดยเฉพาะจีนที่คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่คาดว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน จากภาคการเมืองที่มีเสถียรภาพและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในการด�ำเนินการใช้จ่ายและลงทุน นอกจากนี้ คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีผลมาจากอุปสงค์ภายในที่ยังคงขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลกท�ำให้ภาคการส่งออกเวียดนามขยายตัวต่อเนื่อง 1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในเอเชีย ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.7 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2557) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอินเดีย) ออสเตรเลีย และ สหราชอาณาจักร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 สามารถจ�ำแนกได้เป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว ได้แก่ อินเดียและออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจชะลอลง ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร โดยกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 นั้น เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนที่เร่งขึ้น ด้านเศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัว ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเช่นกัน จากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ขยายตัว

16


เร่งขึ้น ส�ำหรับกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจชะลอลงในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ได้แก่เศรษฐกิจฮ่องกงที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า จากการส่งออกที่ชะลอตัว ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศที่แผ่วลง อย่างต่อเนือ่ ง ด้านเศรษฐกิจเกาหลีใต้และไต้หวันขยายตัวร้อยละ 2.2 และ 3.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันปีกอ่ น ตามล�ำดับ ชะลอ ลงเล็กน้อยจากภาคการส่งออกที่ซบเซา ขณะที่เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมี การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ขณะที่ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้การน�ำเข้า ขยายตัวสูงกว่าการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า โดยรวมอัตรา เงินเฟ้อทรงตัวในระดับต�ำ่ ถึงหดตัวโดยเฉพาะอินเดียซึง่ อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 หดตัวถึงร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน จากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับต�่ำ ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออก ปี 2557)

ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย (5.5%) (4.1%) (2.5%)

เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร ไต้หวัน (2.0%) (1.8%) (1.8%)

อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (%yoy)

2.1

2.4

7.5

2.2

2.9

3.4

การบริโภคภาคเอกชน

2.3

1.5

4.4

0.8

2.1

1.4

การบริโภคภาครัฐ

0.3

0.3

-0.8

0.5

0.5

-0.3

การลงทุนรวม

1.6

-0.8

1.2

0.8

0.9

0.1

การส่งออกสุทธิ

-0.7

1.0

0.2

-1.1

-0.4

2.6

การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง

-1.5

0.4

2.5

0.9

-0.2

-0.4

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

17


➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในเอเชีย ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 2 ปี 2558

มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจอินเดียขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง ขณะทีอ่ อสเตรเลีย เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการบริโภคในประเทศ สะท้อนจากยอดค้าปลีกในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวชะลอลง จากไตรมาสก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทางด้านกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจชะลอลงในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกและมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนในระดับสูง ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน ยังคงมีแนวโน้มชะลอลงอย่างต่อเนือ่ ง สะท้อนจากการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ทีห่ ดตัวร้อยละ 2.0, 7.2 และ 9.8 ตามล�ำดับ นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ยังคงขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีการบริโภคภายในประเทศเป็นแรง ขับเคลื่อนหลัก

➥➥ ในปี 2558 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ อืน ่ ๆ ในเอเชีย ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร

จะขยายตัวได้ในอัตราต�ำ่ กว่าปี 2557 โดยกลุม่ ประเทศทีพ่ งึ่ พาการส่งออกเป็นหลัก จะยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากเศรษฐกิจ โลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด จนท�ำให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกไม่เพิ่มขึ้นมากเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มประเทศซึ่งมีจีนเป็นตลาดส่งออก หลัก ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน จะยังคงได้รับผลกระทบในทางลบจากการชะลอลงของอุปสงค์จากจีน ในขณะที่เศรษฐกิจ ของประเทศทีพ่ งึ่ พาการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลักจะยังคงสามารถขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ ง โดยเฉพาะในกรณีของอินเดีย ซึง่ นโยบายการ พลิกฟื้นเศรษฐกิจของนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรี ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจอินเดียฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปี 2557 และน่าจะยังเป็น แรงส่งให้เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวได้ในอัตราสูงต่อเนื่องในปี 2558 และในกรณีของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรน่าจะยังคงสามารถ ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ

2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก ราคาน�้ำมันดิบดูไบในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 56.78 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.0 ถือเป็นช่วงขาลงต่อเนื่องจากกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งการลดลงของราคามาจาก 3 สาเหตุหลักด้วยกัน ประกอบด้วย การขยายตัวของอุปทานน�้ำมันดิบอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องโดยเฉพาะในภูมิภาค อเมริกาเหนือ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงท�ำให้ความต้องการใช้น�้ำมันปรับตัวลดลง และการตรึงก�ำลังเพดานการผลิต ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน�้ำมัน (OPEC) ทั้งในช่วงปลายปี 2557 และกลางปี 2558 ราคาน�้ำมันดิบดูไบในเดือนกรกฎาคม ปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 56.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.1 โดยราคาในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน หลังจากที่ปัจจัยด้านการเพิ่มขึ้นของอุปทานน�้ำมันในตลาดโลกยังคงมีน�้ำหนักในการก�ำหนดราคามากกว่าปัจจัยด้าน อุปสงค์ที่มีแนวโน้มอ่อนก�ำลังอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมของราคาในปี 2558 สศค. คาดว่าราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ น่าจะยังอยูท่ ี่ 60.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 50.0-70.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เท่ากับประมาณการเดิมจากครั้งที่แล้ว เนื่องจากทิศทาง ราคาน�้ำมันที่ผ่านมาตั้งแต่ช่วงต้นปียังอยู่ในกรอบที่คาดการณ์ ประกอบกับยังไม่มีปัจจัยกระทบใหม่เข้ามาส่งผลให้ เปลี่ยนแปลงทิศทางไปจากเดิม ทั้งนี้คาดว่าทิศทางราคาน�้ำมันดิบดูไบในช่วงที่เหลือของปีจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น อย่างช้าๆ

18


ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2558

ที่มา : Reuters

➥➥ ทิศทางขาลงของราคาน�้ำมันดิบโลกรอบล่าสุดเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2557 ปรับลดลงถึง

ร้อยละ 50 จากราคาสูงสุดที่ 111.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ณ วันที่ 23 มิถนุ ายน 2557) ภายในเวลาเพียง 6 เดือน โดยมีสาเหตุ หลักมาจากการขยายตัวของการผลิตน�้ำมันดิบในชั้นหินหรือ Shale oil ในภูมิภาคอเมริกาเหนืออันประกอบด้วย สหรัฐฯ และ แคนาดา เนื่องจากราคาในช่วงประมาณ 100.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับราคาที่มีการซื้อขายโดยเฉลี่ยในช่วง 3 ปี ก่อนหน้าเป็นระดับทีก่ อ่ ให้เกิดก�ำไรในการขยายการลงทุนทัง้ การขุดเจาะและการผลิต นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการขุดเจาะเพิม่ ขึน้ มากกว่า 2 เท่าในช่วงตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจเป็นต้นมา ท�ำให้อุปทานล้นเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันทางฝั่ง อุปสงค์นั้น การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลกไม่สามารถรองรับการขยายตัวทางฝั่งอุปทานได้ โดยเฉพาะผู้ใช้น�้ำมัน รายใหญ่ อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีนที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจภายในของตนเอง นอกจากนี้ ปัญหาความไม่สงบ ทางการเมืองในภูมภิ าคส�ำคัญ ได้แก่ ภูมภิ าคยุโรป กรณียเู ครนและรัสเซีย และภูมภิ าคตะวันออกกลาง ได้แก่ ความไม่สงบภายใน ประเทศอิรกั ลิเบีย รวมถึงกรณีการคว�ำ่ บาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน ได้คลีค่ ลายลงและลดแรงกดดันทีม่ ตี อ่ ราคาน�ำ้ มันดิบโลกลง ประกอบกับ มติกลุม่ OPEC ทีจ่ ะตรึงก�ำลังการผลิตไว้ที่ 30.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยไม่ปรับลดตัง้ แต่ชว่ งปลายเดือนพฤศจิกายน 2557 และยังคงมติดังกล่าวในการประชุมเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2558 ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มโอเปคยังคงผลิตน�้ำมันมากกว่าที่กลุ่ม ก�ำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แรงกดดันต่อราคาน�้ำดิบในตลาดโลกลดลง หากพิจารณาทิศทางราคาน�้ำมันดิบตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 พบว่าในเดือนมกราคมราคาน�้ำดับดูไบลดลงสู่ จุดต�่ำสุดของขาลงรอบนี้ที่ราคา 42.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ วันที่ 14 มกราคม 2558 และในช่วงถัดมาราคาน�้ำมันดิบดูไบ มีแนวโน้มทีจ่ ะรักษาระดับอยูเ่ หนือระดับ 50.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ไม่ลดลงไปจากระดับดังกล่าว โดยราคาเฉลีย่ ในช่วง 3 เดือน ถัดมาอยูท่ ี่ 56.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงครึง่ หลังของเดือนเมษายนทีร่ าคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ เพิม่ ขึน้ มาอยู่ที่ระดับ 61.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวมีปัจจัยกดดันที่ส�ำคัญ คือ อุปทานที่ถูกผลิต ออกมาอย่างต่อเนื่องทั้งจากผู้ผลิตในอเมริกาเหนือและกลุ่มโอเปค รวมถึงอุปทานที่คั่งค้างอยู่จ�ำนวนมาก ขณะที่แรงสนับสนุน ด้านการบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัว เป็นเหตุให้ราคาน�้ำมันดิบยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต�่ำและชะลอการฟื้นตัวในช่วงเดือน พฤษภาคม 2558 รวมทั้งมีแนวโน้มกลับสู่ขาลงในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 สศค. คาดว่าราคาน�้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี 2558 จะอยู่ที่ระดับ 60.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ 50.0-70.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) หดตัวลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 37.9 โดยรายละเอียดการคาดการณ์ด้านปัจจัย พื้นฐาน ได้แก่ อุปสงค์และอุปทานในกลุ่มประเทศต่างๆ ในปี 2558 มีดังต่อไปนี้

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

19


(1) อุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น U.S Energy Information Administration (EIA) คาดการณ์ ณ เดือนกรกฎาคม 2558 ว่าในปี 2558 ความต้องการน�้ำมันดิบทั่วโลกจะอยู่ที่ 93.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2557 ที่อยู่ที่ระดับ 92.05 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากความต้องการของประเทศนอกกลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ ประเทศในกลุ่ม OECD EIA คาดว่าในปี 2558 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 46.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2557 ที่อยู่ที่ระดับ 45.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ ประเทศนอกกลุ่ม OECD EIA คาดว่าในปี 2558 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 47.52 ล้านบาร์เรล ต่อวัน เทียบกับปี 2557 ที่อยู่ที่ 46.38 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

• •

2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ณ เดือนกรกฎาคม 2558 EIA คาดว่าในปี 2558 ปริมาณน�้ำมันดิบที่ผลิตทั่วโลกจะ อยู่ที่ 95.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2557 ที่อยู่ที่ 93.09 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.36 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตรา ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกกลุม่ OPEC เป็นส�ำคัญ ในกลุ่ม OPEC EIA คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2558 จะอยู่ที่ 37.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2557 ที่อยู่ที่ระดับ 36.43 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 0.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สว่ นในกลุม่ Non-OPEC EIA คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2558 อยูท่ รี่ ะดับ 58.36 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2557 ที่อยู่ที่ 56.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือเป็นส�ำคัญ

• •

3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2558 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะหดตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 1.6 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวอยูใ่ นระดับต�ำ่ ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้า คาดว่าจะหดตัวทีร่ อ้ ยละ 6.7 จากการลดลงของราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นส�ำคัญ ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ) อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.

20


3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 หดตัวร้อยละ 1.8 จากการลดลงของราคาสินค้าเกษตร และราคาน�้ำมันส�ำเร็จรูปเป็นส�ำคัญ โดยหดตัวร้อยละ 5.0 และ 11.5 ตามล�ำดับ ขณะที่ราคาสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมมีการหดตัวเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2558 ราคาสินค้าส่งออกจะหดตัว เร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.6 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีการชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลักของไทย อาทิ จีน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องท�ำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีแนวโน้มหดตัวในปี 2558 นอกจากนี้ การลดลงของราคา น�้ำมันดิบโลกอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้ราคาน�้ำมันส�ำเร็จรูปซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยลดลงเช่นเดียวกัน จึงเป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ท�ำให้คาดว่าราคาสินค้าส่งออกในปี 2558 จะมีการหดตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 หดตัวร้อยละ 10.3 จากการลดลงของราคาน�้ำมันดิบ เป็นส�ำคัญ และยังส่งผลท�ำให้ราคาสินค้าเชื้อเพลิงอื่นๆ หดตัวตามไปด้วย อาทิ ก๊าซปิโตรเลียม และถ่านหิน ขณะที่ราคาสินค้า น�ำเข้าหมวดอื่นๆ ก็มีการหดตัวเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ ในปี 2558 คาดว่าราคาสินค้าน�ำเข้าจะหดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.7 ตามแนวโน้มการลดลงของราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าราคา น�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2558 จะหดตัวสูงถึงร้อยละ 37.9 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยปีก่อนหน้า ประกอบกับคาดว่าราคาสินค้า วัตถุดิบซึ่งเป็นสินค้าหมวดใหญ่ของสินค้าน�ำเข้าจะหดตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง

4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และดัชนีค่าเงินบาท “ในปี 2558 คาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงจากปีกอ่ น โดยเฉลีย่ ที่ 33.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการอ่อนค่า ในระดับที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” (ภาพที่ 11) ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีค่าเงินบาท เฉลี่ยในปี 2558

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

21


4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่ต้นปี 2558 ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า โดยเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 33.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2557 ซึ่งเป็นไปในทิศทาง เดียวกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินสกุลภูมิภาค ตามเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 15.94 เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยปี 2557 อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate : NEER) ที่ค�ำนวณโดย สศค. ในช่วงเดียวกันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 105.15 จุด หรือแข็งค่าขึ้นถึง ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2557 สอดคล้องกับดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 ที่เกินดุลสะสม 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมาจากดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเกินดุลสะสมสูงถึง 12.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐและดัชนีค่าเงินบาทโดยการค�ำนวณของ สศค. รายวัน

ที่มา : ธปท. รวบรวมโดย สศค.

4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2558 คาดว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง เฉลี่ยที่ระดับ 33.95 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 32.95-34.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลัก คือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปี 2558 เนื่องจากสัญญาณทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ปรับตัวดีขึ้นและ ภาคการจ้างงานมีความแข็งแกร่ง ท�ำให้คาดว่าจะมีเงินทุนเคลือ่ นย้ายไหลออกจากไทยและภูมภิ าคกลับเข้าสูส่ หรัฐฯ อย่างไรก็ดี แรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับต�่ำจากราคาน�้ำมันซึ่งคาดว่าจะอยู่ในระดับต�่ำต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ธนาคาร กลางสหรัฐฯ ไม่มีความจ�ำเป็นต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายของไทยคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากความ ไม่แน่นอนของมาตรการทางการเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท�ำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ขณะทีธ่ นาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญีป่ นุ่ ด�ำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิม่ เติมเป็นผลให้เงินยูโรและเงิน เยนอ่อนค่า ปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้ค่าเงินบาทตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่นๆ ผันผวน ทั้งนี้ คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าน้อยกว่า ค่าเงินสกุลของประเทศคู่ค้าโดยรวม ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทในปี 2558 จะแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.23 จากเงินยูโรและ เงินเยนที่อ่อนค่าลงมาก

22


5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “ในเดือนเมษายน 2558 คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม โดยมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2558 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี” ➥➥ ในปี 2558 กระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ก�ำหนดเป้าหมายนโยบาย

การเงิน โดยก�ำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 ต่อปี จากเดิมที่ก�ำหนดเป้าหมาย อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ร้อยละ 0.5–3.0 ต่อปี ➥➥ ในเดือนเมษายน 2558 กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2558 เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้แก่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ในอัตราที่ต�่ำกว่าคาด และช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต�่ำ จากทั้งราคาน�้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต�่ำต่อเนื่องและอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ภาพที่ 13 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในปี 2558 สศค. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เนื่องจาก

คาดว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลายยังคงมีความจ�ำเป็นต่อการฟืน้ ตัวทางเศรษฐกิจทีฟ่ น้ื ตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับ เศรษฐกิจโลกทีฟ่ นื้ ตัวอย่างไม่ทวั่ ถึง และนโยบายทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักทีม่ คี วามแตกต่างกันจะยังคงเป็นปัจจัย เสี่ยงส�ำคัญที่อาจกระทบต่อระบบการเงินและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต�่ำ จากราคาพลังงานทีย่ งั ทรงตัวในระดับต�ำ่ จึงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบีย้ นโยบายอยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.50 ต่อปี เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและจ�ำกัดผลจากความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

23


ภาพที่ 14 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี

ที่มา : ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2558 “ปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายภาคสาธารณะซึ่งประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 3,423.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน” 6.1 รายจ่ายของรัฐบาล ส�ำหรับปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายรัฐบาล คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้ทั้งสิ้น 2,678.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายจ่ายงบประมาณรวม คาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 2,632.6 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ทัง้ นี้ รายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2558 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 2,402.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น อัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 93.3 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,575.0 ล้านล้านบาทจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้ตั้งเป้าหมาย การเบิกจ่ายไว้ที่ร้อยละ 96.0 โดยรายจ่ายงบประมาณแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 2,097.0 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 97.5 ของกรอบ วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ 2,125.5 ล้านล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุนคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 305.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 72.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน 449.5 ล้านล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 230.1 พันล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่าย รายจ่ายนอกงบประมาณจากการกู้เงิน ได้แก่ (1) เงินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (TKK) คาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้ 13.7 พันล้านบาท (2) โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการน�้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน (มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2) คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 11.3 พันล้านบาท (3) โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 16.8 พันล้านบาท และ (4) เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : DPL) คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 4.0 พันล้านบาท

24


ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 3 ไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-มิถุนายน 2558) รัฐบาล สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,031.3. พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายจ่าย ประจ�ำปีงบประมาณ 2558 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,853.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายทีร่ อ้ ยละ 72.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,575.0 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ สามารถเบิกจ่ายได้ 1,658.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ที่ร้อยละ 76.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,155.3 พันล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 195.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 46.5 ของวงเงิน งบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 419.6 พันล้านบาท รายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้ 177.8 พันล้านบาท ลดลง ร้อยละ -0.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับการเบิกจ่ายรายจ่ายนอกงบประมาณจากการกูเ้ งิน ได้แก่ (1) เงินโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (TKK) เบิกจ่ายได้ 9.6 พันล้านบาท และ (2) เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน (Development Policy Loan : DPL) เบิกจ่ายได้ 1.1 พันล้านบาท

ตารางที่ 4 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณปีงบประมาณ 2558 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2558 และสมมติฐานการ เบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2558 (หน่วย : ล้านบาท)

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณรวม (1.1.1+1.1.2+1.1.3) 1.1.1 รายจ่ายประจ�ำ 1.1.2 รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1.1.3 รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณจากเงินกู้ 1.2.1 ไทยเข้มแข็ง 1.2.2 โครงการบริหารจัดการน�้ำ ระยะเร่งด่วน 1.2.3 โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน 1.2.4 โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ 1.2.5 โครงการลงทุน DPL

3 ไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2558

ปีงบประมาณ 2558 คาดการณ์ ณ ก.ค. 2558

2,041,941

2,678,298

2,031,288 1,658,407 195,111 1,853,518 72.0 177,770 10,653 9,554 - - - 1,099

2,632,557 2,096,982 305,459 2,402,441 93.3 230,116 45,741 13,680 5,640 5,625 16,796 4,000

ที่มา : ส�ำนักนโยบายการคลัง (สนค.) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

25


6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณ รวม 504.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติ ก�ำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ต้องการให้มี การกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยให้ความส�ำคัญกับการเพิม่ ศักยภาพและการกระจายอ�ำนาจให้แก่ อปท. เพิ่มขึ้นโดยมีเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังของท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและจัดบริการสาธารณะ ให้แก่ประชาชนในด้านคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วง 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 สามารถเบิกจ่ายได้ 267.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตารางที่ 5 ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงครึ่งปีแรกปีงบประมาณ 2558 และสมมติฐาน การเบิกจ่ายรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2558 (หน่วย : ล้านบาท)

8 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายท้องถิ่น

ปีงบประมาณ 2558 คาดการณ์ ณ ก.ค. 2558

267,591

504,582

ที่มา : ส�ำนักนโยบายการคลัง (สนค.) ค�ำนวณโดยส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (สศม.) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 241.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากมาตรการการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามนโยบายของรัฐบาล โดยการให้กระทรวงหรือเจ้าสังกัดเร่งรัดการก�ำกับดูแลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยจะ ต้องเบิกจ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95.0 ของกรอบวงเงินอนุมัติเบิกจ่ายลงทุน โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้าง พื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ภาคประชาชนและภาคสาธารณะ เป็นส�ำคัญ

ตารางที่ 6 ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วงครึ่งปีแรกปีงบประมาณ 2558 และสมมติฐานการเบิกจ่าย รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2558 (หน่วย : ล้านบาท)

3 ไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

ปีงบประมาณ 2558 คาดการณ์ ณ ก.ค. 2558

159,554

ที่มา : ส�ำนักนโยบายการคลัง ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ค�ำนวณโดยส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

26

241,007


6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ ส�ำหรับสมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2558 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าใน ปีงบประมาณ 2558 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 3,423.9 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาลรวมจ�ำนวน 2,678.3 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ�ำนวน 504.6 พันล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจจ�ำนวน 241.0 พันล้านบาท

ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2558

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณรวม (1.1.1+1.1.2+1.1.3) 1.1.1 รายจ่ายประจ�ำ 1.1.2 รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1.1.1)+(1.1.2) อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1.1.3 รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณจากเงินกู้ 1.2.1 ไทยเข้มแข็ง 1.2.2 โครงการบริหารจัดการน�้ำ ระยะเร่งด่วน 1.2.3 โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน 1.2.4 โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ 1.2.5 โครงการลงทุน DPL 2. รายจ่ายท้องถิ่น 3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ รายจ่ายภาคสาธารณะรวม

(หน่วย : ล้านบาท)

ครึ่งปีแรก ปีงบประมาณ 2558

ปีงบประมาณ 2558 คาดการณ์ ณ ก.ค. 2558

2,041,941

2,678,298

2,031,288 1,658,407 195,111 1,853,518 72.0 177,770 10,653 9,554 - - - 1,099 267,591 159,554 2,469,086

2,632,557 2,096,982 305,459 2,402,441 93.3 230,116 45,741 13,680 5,640 5,625 16,796 4,000 504,582 241,007 3,423,887

ที่มา : ส�ำนักนโยบายการคลัง ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ค�ำนวณโดยส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

27


ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในขณะที่ในปี 2558 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 2.5-3.5)” ➥➥ จากข้อมูลของส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า เศรษฐกิจไทยใน

ไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.8 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านการใช้จ่าย • การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.5 และการบริโภคภาครัฐขยายตัวร้อยละ 4.6 • การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 3.4 ขณะที่การลงทุนภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.7 • การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยปริมาณการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 4.0 ขณะที่ ได้รับแรงสนับสนุนจากปริมาณการส่งออกบริการที่ขยายตัวร้อยละ 25.1 • การน�ำเข้าสินค้าและบริการ หดตัวร้อยละ 0.3 โดยการน�ำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ 0.3 และปริมาณการน�ำเข้า บริการหดตัวร้อยละ 0.2

ด้านการผลิต • ภาคเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 5.9 จากปัญหาภัยแล้งที่ทิ้งช่วงยาวนาน และปริมาณน�้ำในอ่างเก็บน�้ำ ที่อยู่ ในระดับต�่ำ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตพืชส�ำคัญ โดยสาขาเกษตร ล่าสัตว์ และป่าไม้ หดตัวร้อยละ 6.3 ขณะที่สาขาประมงหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ 1.6 • ภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.7 โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของผลผลิตในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ยานยนต์และสิง่ ทอ และอุตสาหกรรมเสือ้ ผ้าส�ำเร็จรูป ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากการส่งออกทีล่ ดลง • สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 18.7 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีแรงสนับสนุนจาก จ�ำนวนนักท่องเทีย่ วจากต่างประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ ในไตรมาส 2 โดยมีจำ� นวน 7.0 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัว ที่ร้อยละ 37.6 • สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า • สาขาก่อสร้าง ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 17.3 ผลจากนโยบายโครงการลงทุนภาครัฐเป็นส�ำคัญ • สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 2.5 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า จากกิจกรรมบริการ ด้านการให้เช่าทีอ่ ยูอ่ าศัยทีข่ ยายตัวสูงขึน้ ขณะทีก่ จิ กรรมตัวแทนและนายหน้าซือ้ ขายอสังหาริมทรัพย์ลดลง ➥➥ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2558 สศค. คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งจากปีกอ ่ นมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.0 (โดย

มีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5-3.5) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 โดยมีสาเหตุหลักจากการส่งออกภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซีย นอกจากนี้ การใช้จ่าย ภาครัฐจะเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ จากนโยบายการเร่งรัด การเบิกจ่ายของรัฐบาล และการใช้จ่ายนอกงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวได้ดี อีกทั้งอาจกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนให้เพิ่มขึ้นด้วย

28


ส�ำหรับการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟืน้ ตัวจากปีกอ่ นหน้า โดยได้รบั อานิสงส์จากราคาน�ำ้ มัน ทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ และภาวะการเงินทีผ่ อ่ นคลายเพิม่ ขึน้ ตามการปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบาย ซึง่ จะช่วยลดภาระการช�ำระหนีข้ อง ภาคครัวเรือนลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้จะยังคงมีข้อจ�ำกัดในการขยายตัวจากความไม่แน่นอนของการ ฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทีค่ าดว่าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มหดตัว ภาพที่ 15 การอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนหน้า หลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนยังคงหดตัวตามปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่ง ที่หดตัวร้อยละ 27.3 ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ขยายตัวได้ดี ทั้งการบริโภคในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ แอลกอฮอล์ การบริโภคในหมวดโรงแรมและบริการทางด้านอาหาร การบริโภคในหมวดการขนส่ง และการบริโภคในหมวด น�้ำประปา ไฟฟ้า แก๊ส และพลังงานอื่น อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 64.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 68.4 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต�่ำอย่าง ต่อเนื่อง และผลผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนในชนบท และ ส่งผลต่อเนื่องไปยังความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนบางส่วน แต่ในภาพรวมการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ยังสามารถขยายตัวได้ดี ➥➥ ในปี 2558 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่

ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9-1.9) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้นอกภาคเกษตร ทีม่ แี นวโน้มปรับตัวดีขนึ้ ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะภาคการท่องเทีย่ ว อีกทัง้ จะได้รบั อานิสงส์จากราคา น�ำ้ มันทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ และภาวะการเงินทีผ่ อ่ นคลายเพิม่ ขึน้ ตามการปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบาย ซึง่ จะช่วยลดภาระการช�ำระหนี้ ของภาคครัวเรือนลง อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับต�่ำตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังคงเป็นข้อจ�ำกัดต่อการ ฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

29


ภาพที่ 16 อัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.3 และเมือ่ ขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมือ่ เทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในช่วงครึ่งปี 2558 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงาน ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน รายจ่ายค่าซือ้ สินค้าและบริการ และการโอนเพือ่ สวัสดิการสังคมทีไ่ ม่เป็นตัวเงินส�ำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดทีข่ ยายตัว ร้อยละ 2.0 6.3 14.6 และ 1.4 ตามล�ำดับ ทั้งนี้ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลโดยรวมใน ณ ราคาประจ�ำปีมีมูลค่า 592.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งประกอบด้วย ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว ร้อยละ 4.9 ค่าเสือ่ มราคาทรัพย์สนิ ขยายตัวร้อยละ 5.0 รายจ่ายค่าซือ้ สินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 12.8 การโอนเพือ่ สวัสดิการ สังคมทีไ่ ม่เป็นตัวเงินส�ำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวร้อยละ 2.5 และหักรายได้จากการขายสินค้าและบริการให้ ครัวเรือนและผู้ประกอบการขยายตัวร้อยละ 43.0 ตามล�ำดับ ภาพที่ 17 อัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

30


➥➥ ในปี 2558 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ

ปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3-3.3) จากมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลที่ได้เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ช่วง ต้นปีงบประมาณ 2558 และมาตรการสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรอบวงเงินงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2558 มีวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,575.0 พันล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็นงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2,159.2 พันล้านบาท (หลังหักเปลี่ยนแปลง) คิดเป็นร้อยละ 83.9 ของวงเงินงบประมาณรวม และ เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นหน้าร้อยละ 3.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) รายจ่ายประจ�ำสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1844.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 85.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำหลังโอนเปลีย่ นแปลง (2,157.9 พันล้านบาท) 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร (สัดส่วนประมาณร้อยละ 79.7 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (สัดส่วนประมาณร้อยละ 20.4 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ทัง้ นี้ การขยายตัวของการลงทุนในหมวดการก่อสร้างของไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากอาคารส�ำนักงานทีข่ ยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และอาคารโรงงานที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และจ�ำนวนโรงงานที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม จากส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ภาพที่ 18 อัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ส�ำหรับในปี 2558 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง คาดว่าจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4-2.4) เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 2.0 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 1. แนวโน้มราคาน�้ำมัน ที่ลดลงและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต�่ำจะช่วยให้ต้นทุนการด�ำเนินธุรกิจอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการลงทุนภาคเอกชน และ 2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้านการคมนาคมขนส่ง จะช่วย สนับสนุนให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตามไปด้วย (Crowding-in effect) ประมาณการเศรษฐกิจไทย

31


1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 37.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าหดตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปี 2558 การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน โดยการชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 มาจากการเบิกจ่าย งบลงทุนของรัฐบาลที่ชะลอลงจาก ไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 25.6 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 44.2 โดยเป็นผลมาจากการก่อสร้างรัฐบาลทีช่ ะลอตัว ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 35.6 เนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลที่ชะลอลง ประกอบกับการก่อสร้างรัฐวิสาหกิจหดตัว ร้อยละ 4.0 เนื่องจากไม่มีโครงการใหม่ ซึ่งมีเพียงแต่โครงการต่อเนื่อง คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน�้ำเงิน ช่วงหัวล�ำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เป็นต้น และ 2) การลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 21.9 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.8 โดยเป็น ผลมาจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 ซึ่งไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีการน�ำเข้าเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 1 ล�ำ ในขณะที่การลงทุนของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 12.9 ภาพที่ 19 อัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ในปี 2558 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ

ปีกอ่ น (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 17.6-21.6) อันเป็นผลมาจากมาตรการการเร่งรัดการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนทีเ่ ริม่ ด�ำเนินการ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2558 ประกอบกับโครงการลงทุนภาครัฐที่มีความชัดเจนมากขึ้น อาทิ โครงการบริหารจัดการน�้ำและ ระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน นอกจากนี้เม็ดเงินจากงบกลางที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี งบไทยเข้มแข็ง และการลงทุน ของรัฐวิสาหกิจที่คาดว่าเบิกจ่ายได้เพิ่มขึ้น จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 217.8 พันล้านบาท ลดลง ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง (417.1 พันล้านบาท)

32


1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.0 เมือ่ เทียบกับ

ช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เช่นกัน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหัก ผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวที่ร้อยละ 1.0 หากพิจารณาในด้านมิติสินค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ปริมาณการส่งออก สินค้าหดตัวร้อยละ 4.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ 2.5 อันเป็นผลจากการหดตัวของปริมาณการ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทีห่ ดตัวร้อยละ 3.5 ตามการหดตัวของเครือ่ งใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ เป็นส�ำคัญ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรทีห่ ดตัวเช่นกันทีร่ อ้ ยละ 5.3 ตามการหดตัวของข้าว ยางพารา และอาหารเป็นส�ำคัญ ในขณะทีก่ ารส่งออกสินค้าเกษตรกรรม และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.3 และ 0.6 ตามล�ำดับ และเมื่อพิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น ยูโรโซน และอาเซียน (5) ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.8 8.4 และ 11.8 ตามล�ำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน และ CLMV ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.6 1.2 และ 5.5 ตามล�ำดับ ส�ำหรับปริมาณการส่งออกบริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ยังคง ขยายตัวในระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 25.1 ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวเช่นกันทีร่ อ้ ยละ 14.6 ตามจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วทีเ่ พิม่ ขึน้ ภาพที่ 20 อัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ในปี 2558 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 0.0 ถึง 2.0) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ตามการขยายตัวของจ�ำนวนนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจ โลกที่ฟื้นตัวช้า ตลอดจนปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคส่งออกของไทย อาทิ ค่าจ้างที่ปรับสูงขึ้น ข้อจ�ำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิต และการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการปรับลดลงต�่ำกว่า ที่คาดการณ์ครั้งก่อน 1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 หดตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลัง หักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวทีร่ อ้ ยละ 2.2 โดยในด้านมิตสิ นิ ค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้า หดตัวทีร่ อ้ ยละ 0.3 ตามการหดตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ ทีร่ อ้ ยละ 2.9 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 9.9 รวมถึงปริมาณการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 10.8 ในขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุน สินค้าเชื้อเพลิง และยานยนต์ ยังคงขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.1 6.8 และ 6.3 ตามล�ำดับ และส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 หดตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประมาณการเศรษฐกิจไทย

33


ภาพที่ 21 อัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ในปี 2558 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 0.2-2.2) ขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 5.4 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอีกด้วย

2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ1 ในช่วงครึง่ แรกของปี 2558 อยูท ่ ี่ 105.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า รวมถึงราคาสินค้าเกษตร และราคาน�ำ้ มันทีต่ กต�ำ่ ทัว่ โลก ทัง้ นีเ้ มือ่ พิจารณามูลค่าการส่งออกตามระบบกรมศุลกากรพบว่า มีเพียง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานพาหนะเท่านั้น ที่ยังสามารถขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 และ 0.1 ตามล�ำดับ ขณะที่สินค้า หมวดส�ำคัญอื่นๆ มีการหดตัวอย่างชัดเจน อาทิ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าเชื้อเพลิง ซึ่งมี การหดตัวร้อยละ 7.7 3.4 2.4 และ 24.2 ตามล�ำดับ ส่วนการส่งออกรายประเทศพบว่า ตลาดหลักทีช่ ว่ ยพยุงการส่งออกของไทยไว้ในช่วงครึง่ ปีแรกคือ กลุม่ ประเทศ อินโดจีนหรือ CLMV2 (โดยเฉพาะเวียดนาม) ทวีปออสเตรเลีย และสหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกหลัก คือ ยานยนต์ คอมพิวเตอร์ และน�้ำมันส�ำเร็จรูป ขณะที่การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักอื่นๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป มาเลเซีย ล้วนเป็นการหดตัว ทัง้ สิน้ ทัง้ นีส้ าเหตุเกิดจากสภาพเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา น�ำโดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ประกอบกับนโยบายของจีนทีเ่ น้น การใช้จ่ายภายในประเทศ ท�ำให้การน�ำเข้าของจีนลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อเนื่องให้การค้าโดยรวมของโลกลดลง ทั้งนี้ประเทศที่ พึ่งพาการส่งออกล้วนได้รับผลกระทบรวมถึงประเทศไทย

มูลค่าการส่งออกตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย) CLMV หมายถึงประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม

1 2

34


ภาพที่ 22 อัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ในปี 2558 สศค. คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ร้อยละ -6.0 ถึง -2.0) หดตัวต่อเนื่องจากปี 2557 อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาต่อเนื่อง โดย คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาด ส่งออกหลักของไทย นอกจากนีห้ ากพิจารณาในมุมมองของสินค้าส่งออกพบว่า สินค้าเกษตรกรรมได้รบั แรงกดดันจากราคาสินค้า เกษตรของโลกทีย่ งั คงตัวอยูใ่ นระดับต�ำ ่ ส่วนสินค้าเชือ้ เพลิงก็ได้รบั ผลกระทบโดยตรงจากการลดลงของราคาน�ำ้ มันในตลาดโลก ส่งผลต่อการหดตัวของมูลค่าการส่งออกน�ำ้ มันส�ำเร็จรูป ซึง่ ไทยเป็นผูส้ ง่ ออกรายใหญ่ในภูมภิ าคอาเซียน ขณะทีก่ ารส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมส�ำคัญของไทยยังคงมีแนวโน้มที่ไม่สดใส อาทิ สินค้าเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงเนื่องจาก ราคาปรับตัวลดลงตามราคาน�้ำมันดิบ แม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้ายานยนต์คาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ดีอีกครั้งใน ช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากที่มีการหดตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 จากการปรับเปลี่ยนรุ่นของการผลิตรถยนต์ ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้ สศค. คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 2558 จะหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่สาม 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ3 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 อยู่ที่ 90.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 8.7 ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการน�ำเข้าตามระบบกรมศุลกากรพบว่า การหดตัวของมูลค่าการน�ำเข้า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 มาจากสินค้าหลักเกือบทุกประเภท ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบที่มี การหดตัวร้อยละ 34.6 1.0 และ 0.6 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ดสี นิ ค้าอุปโภคบริโภคยังสามารถขยายตัวได้ทรี่ อ้ ยละ 5.3 จากการน�ำเข้า สินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย ผัก ผลไม้ และสินค้าผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรมเป็นหลัก

มูลค่าการน�ำเข้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

3

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

35


ภาพที่ 23 อัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ในปี 2558 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวที่ร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ร้อยละ -7.5 ถึง -3.5) หดตัวต่อเนื่องจากปี 2557 โดยมีสาเหตุหลักจากการหดตัวของมูลค่าการน�ำเข้าสินค้า เชือ้ เพลิงตามแนวโน้มราคาน�ำ้ มันดิบเฉลีย่ ทัง้ ปีทคี่ าดว่าจะอยูใ่ นระดับต�ำ่ กว่าปีกอ่ นหน้าอย่างมาก ขณะทีก่ ารน�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ คาดว่าจะหดตัวเช่นกันตามแนวโน้มการลดลงของการส่งออกสินค้า ซึง่ ส่งผลต่อเนือ่ งถึงการลดค�ำสัง่ ซือ้ สินค้าวัตถุดบิ เพือ่ การผลิต จากต่างประเทศ ส�ำหรับสินค้าทุนนัน้ ยังคงได้รบั แรงกดดันด้านการลงทุนภาคเอกชนทีค่ าดว่าจะขยายตัวในระดับต�ำ ่ อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐอาจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนท�ำให้การน�ำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นได้ และส�ำหรับการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับต�่ำตามการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ 2.3 ดุลการค้า4 ➥➥ ดุลการค้าของปี 2558 คาดว่าจะเกินดุล 26.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ

18.0-35.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิม่ ขึน้ จากปี 2557 ทีเ่ กินดุล 24.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเนือ่ งมาจากมูลค่าการน�ำเข้า ที่คาดว่าจะหดตัวสูงกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้าน�ำเข้า

ดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

4

36


ภาพที่ 24 ดุลการค้า

ที่มา : สศค. ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2558 เกินดุลทั้งสิ้น 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลง

จากไตรมาสก่อนที่เกินดุล 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงินเกินดุล 7.8 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ เกินดุลใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนทีเ่ กินดุล 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนือ่ งจากมูลค่าการน�ำเข้าทีห่ ดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาส ที่ 8 อันเป็นผลจากทั้งปัจจัยด้านราคาที่ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับต�่ำ และปัจจัยด้านปริมาณจากอุปสงค์ ภายในประเทศทีช่ ะลอตัว ขณะทีด่ ลุ บริการ รายได้ และเงินโอนกลับมาขาดดุล 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นผลมาจากปัจจัย ด้านฤดูกาลซึ่งเป็นช่วงส่งกลับก�ำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างประเทศในไทย ขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 25 ดุลบัญชีเดินสะพัด

ที่มา : ธปท. รวบรวมและคาดการณ์โดย สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

37


➥➥ ในปี 2558 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 5.1

ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 12.0 ถึง 29.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 2.9 ถึง 7.0 ของ GDP) โดยเป็นการเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 13.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้าที่คาดว่าจะหดตัวตามราคาน�้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่จะยังคงอยู่ในระดับ ต�ำ่ ต่อเนือ่ ง ขณะทีด่ ลุ บริการ รายได้ และเงินโอน คาดว่าจะขาดดุลจากทีเ่ กินดุลในปีกอ่ น แม้วา่ รายได้จากการท่องเทีย่ วคาดว่าจะ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ดีขึ้น ตลอดจนการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะมีเงินโอนไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น ตามการส่งกลับก�ำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างประเทศ ในไทยเพิ่มขึ้น 3.2 อัตราเงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.9 โดยเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ

อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ตน้ ปี อันมีสาเหตุจากการลดลงของราคาน�ำ้ มันขายปลีกในประเทศตามราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกเป็นส�ำคัญ ในขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ มีการเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย โดยราคาสินค้าที่มีการปรับเพิม่ ขึ้นสูงสุด มาจากหมวดอาหารส�ำเร็จรูป ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามมาด้วยสินค้าหมวดยาสูบและแอลกอฮอล์ที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 อันเป็นผลจากการปรับเพิ่มภาษี ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ภาพที่ 26 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป

ที่มา : สศค. * หมายเหตุ f หมายถึงประมาณการ

➥➥ ส�ำหรับปี 2558 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะอยู่ที่ร้อยละ -0.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.1 ถึง

-0.1) เป็นการปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการลดลงของราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่ส่งผลไปยังการลดลง ของราคาน�ำ้ มันขายปลีกในประเทศ ซึง่ เป็นสินค้าส�ำคัญในตะกร้าเงินเฟ้อ โดยมีสดั ส่วนในปีฐานสูงถึงร้อยละ 15.6 นอกจากนีก้ าร ลดลงของราคาน�ำ้ มันดิบยังลดแรงกดดันด้านราคาในสินค้าหมวดอืน่ ๆ อีกด้วย เนือ่ งจากราคาน�ำ้ มันเป็นต้นทุนส�ำคัญของสินค้า และบริการหลากหลายประเภท อาทิ ราคาก๊าซธรรมชาติ NGV และ LPG ค่าโดยสาร และค่าไฟฟ้า เป็นต้น ประกอบกับคาดว่า อุปสงค์ในประเทศในปี 2558 จะยังคงขยายตัวในระดับทีไ่ ม่สงู นัก จึงเป็นอีกปัจจัยทีส่ ง่ ผลให้คาดว่าราคาสินค้าหมวดอืน่ ๆ นอกจาก เชือ้ เพลิงจะปรับตัวเพิม่ ขึน้ ไม่มากนัก และส่งผลให้คาดว่าดัชนีราคาสินค้าผูบ้ ริโภคในปี 2558 จะมีการหดตัวเป็นปีแรกในรอบ 5 ปี

38


ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วง 10 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) บทสรุปผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) ต่อเนื่อง โดยจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 250.0 พันล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ด�ำเนินงานตามโครงการแผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง (TKK) ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : DPL) รวมถึงการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อ การพัฒนาระบบบริหารจัดการน�้ำฯ และโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วนที่เริ่มเบิกจ่ายเป็นเดือนแรก ❍❍ ในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ต.ค. 57-ก.ค. 58) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรร อปท. ได้จ�ำนวน 1,771.8 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการ 75.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -4.1 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ นร้อยละ 5.5 ต่อปี ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาล สามารถเบิกจ่ายได้ 2,253.2 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 154.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.3 ต่อปี โดยรายจ่ายปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2,062.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 80.1 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2.575 ล้านล้านบาท) ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 มีจ�ำนวน 5,684.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.4 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 2.52 พันล้านบาท โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 4,070.2 พันล้านบาท หนีร้ ฐั วิสาหกิจทีไ่ ม่เป็นสถาบันการเงิน 1,046.3 พันล้านบาท หนีร้ ฐั วิสาหกิจทีเ่ ป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�ำ้ ประกัน) 562.0 พันล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6.0 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้างยังอยู่ในระดับที่มี เสถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนีส้ าธารณะคงค้างเป็นหนีใ้ นประเทศถึงร้อยละ 94.01 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง (2) หนีส้ าธารณะ คงค้างเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 98.03 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังอยู่ภายใต้ กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 ของ GDP ❍❍ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ต.ค. 57-ก.ค. 58) รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ทั้งสิ้น 128.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 81.5 ของแผนที่ ก�ำหนดไว้ หรือคิดเป็นร้อยละ 39.1 ของแผนงบลงทุนทั้งปี ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

39


ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) 1. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรร อปท. ได้ 1,771.8 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการ 75.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -4.1 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บภาษี ได้ตำ�่ กว่าประมาณการจ�ำนวน 151.8 และ 6.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ -10.0 และ -6.6 ตามล�ำดับ ทัง้ นี้ ผลการจัดเก็บรายได้ตาม หน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้ กรมสรรพากร กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวมทัง้ สิน้ 1,361.5 พันล้านบาท และต�ำ่ กว่าประมาณการ 151.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ -10.0 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.1 โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมายที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีเงินได้ นิติบุคคล จัดเก็บได้ 374.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.8 ต่อปี และต�่ำกว่าเป้าหมาย 61.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ -14.1 โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากฐานก�ำไรสุทธิจากผลประกอบการปี 2557 ของภาคธุรกิจ (ภ.ง.ด. 50) ภาษีจากค่าบริการและ การจ�ำหน่ายก�ำไร (ภ.ง.ด. 54) และการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน (ภ.ง.ด. 53) จัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการ เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา (2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 591.6 พันล้านบาท หดตัว ร้อยละ -0.1 ต่อปี และต�ำ่ กว่าเป้าหมาย 51.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ -7.9 โดยมีผลจากการจัดเก็บภาษีมลู ค่าเพิม่ จากการน�ำเข้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาน�้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงตามราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนการบริโภคและการลงทุนภายใน ประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดี และ (3) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จัดเก็บได้ 79.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.9 ต่อปี ต�่ำกว่า เป้าหมาย 34.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ -30.2 จากผลประกอบการของบริษทั ขุดเจาะน�ำ้ มันทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากราคาน�ำ้ มันดิบ และก๊าซธรรมชาติ (เหลว) ที่ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้รวมได้ทั้งสิ้น 367.1 พันล้านบาท และสูงกว่าประมาณการ 14.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 13.2 ต่อปี โดยเป็นผลจากภาษีน�้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 49.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 89.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 99.6 ต่อปี เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราภาษีน�้ำมัน ดีเซลและราคาขายปลีกน�ำ้ มันทีล่ ดลง ส่งผลให้ปริมาณการใช้นำ�้ มันเพิม่ สูงขึน้ นอกจากนีย้ งั มีภาษีทจี่ ดั เก็บได้ตำ�่ กว่าประมาณการ ที่ส�ำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 20.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ -23.5 และต�่ำกว่าช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้าร้อยละ -15.8 โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการซื้อรถยนต์ที่ยังไม่ฟื้นตัว กรมศุลกากร กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวมได้ทั้งสิ้น 95.2 พันล้านบาท และต�่ำกว่าประมาณการ 6.7 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ -6.6 และต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -2.2 ต่อปี โดยเป็นผลจากการจัดเก็บอากรขาเข้าต�่ำกว่าเป้าหมายจ�ำนวน 7.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ -7.1 เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้าที่ยังหดตัว ประกอบกับมีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ได้ส่งผลกระทบต่ออากรขาเข้าในช่วง 7 เดือน แรกของปีงบประมาณ 2558 ส�ำหรับสินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ยานบกและส่วนประกอบ เครื่องใช้ ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ เครื่องจักรและเครื่องใช้กล ของท�ำเหล็กหรือเหล็กกล้า และพลาสติก

40


รัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้รวมได้ทั้งสิ้น 118.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.5 แต่ต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -8.2 ต่อปี จากการน�ำส่งรายได้ของบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) ที่จัดเก็บ ได้สูงกว่าประมาณการ เป็นส�ำคัญ หน่วยงานอื่น หน่วยงานอื่นจัดเก็บรายได้รวมได้ทั้งสิ้น 148.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 28.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 23.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ นร้อยละ 35.4 ต่อปี โดยเป็นผลจากกองทุนหมุนเวียนน�ำส่งเงินสภาพคล่องส่วนเกินคืนเป็น รายได้แผ่นดินจ�ำนวน 16.9 พันล้านบาท และส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) น�ำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล งวดที่ 2 เป็น รายได้แผ่นดินจ�ำนวน 7.9 พันล้านบาท ส�ำหรับกรมธนารักษ์จดั เก็บรายได้รวม 5.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี เนือ่ งจาก การจัดเก็บรายได้เหรียญกษาปณ์และรายได้อื่นสูงกว่าเป้าหมาย เป็นส�ำคัญ ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558)

(หน่วย : ล้านบาท)

1. กรมสรรพากร 2. กรมสรรพสามิต 3. กรมศุลกากร รวมรายได้ 3 กรมจัดเก็บ 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) หัก รวมรายได้สุทธิ (Net) หักเงินจัดสรรจาก VAT ให้ อปท. ตาม พรบ. ก�ำหนดแผนฯ รวมรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรร อปท.

ปีงบประมาณ 2558 10 เดือนแรก ร้อยละ 1,361,526 0.1 367,117 13.2 95,252 -2.2 1,823,895 2.4 118,073 -8.2 148,548 35.4 2,090,516 3.5 262,041 -7.5 1,828,475 5.3

ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ จ�ำนวน ร้อยละ 1,513,352 -10.0 352,443 4.2 102,000 -6.6 1,967,795 -7.3 106,848 10.5 120,438 23.3 2,195,081 -4.8 285,011 -8.1 1,910,070 -4.3

56,720

-2.4

62,740

-9.6

1,771,755

5.5

1,847,330

-4.1

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

2. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 เท่ากับ 2,253.2 พันล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 154.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.3 ต่อปี โดยมีรายจ่ายปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2,062.2 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8.0 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 80.1 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2.575 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ รายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 2,062.2 พันล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,844.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.7 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 85.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำหลังโอนเปลี่ยนแปลง (2,157.9 พันล้านบาท) และ (2) รายจ่ายลงทุน 217.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ –4.7 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 52.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง (417.1 พันล้านบาท) โดยรายจ่ายที่ส�ำคัญใน ช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 ได้แก่ (1) รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น 221.1 พันล้านบาท (2) รายจ่ายช�ำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 150.9 พันล้านบาท และ (3) รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 143.6 พันล้านบาท เป็นส�ำคัญ ส�ำหรับรายจ่ายงบเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้ 191.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ต่อปี ประมาณการเศรษฐกิจไทย

41


ตารางที่ 2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558)

(หน่วย : ล้านบาท)

ประเภทรายจ่าย 1.1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1.1 รายจ่ายประจ�ำ 1.2 รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 3. รายจ่ายรวม (1+2)

ปีงบประมาณ

วงเงิน

2558 (10 เดือนแรก)

อัตราการเบิกจ่าย

ร้อยละ

2,575,000 2,157,892 417,108 351,685 2,926,685

2,062,249 1,844,466 217,783 190,965 2,253,214

80.1 85.5 52.2 54.3 77.0

8.0 9.7 -4.7 0.7 7.3

ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

นอกจากนี้รัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ ได้แก่ (1) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (ตุลาคม 2552) จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 343.7 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 98.5 ของวงเงิน 348.9 พันล้านบาท (2) การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ตั้งแต่ เริ่มโครงการ (เดือนเมษายน 2554) จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 มีจ�ำนวน 33.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84.2 ของวงเงิน 39.3 พันล้านบาท (3) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (กุมภาพันธ์ 2555) จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 มีการเบิกจ่าย รวมทั้งสิ้น 23.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.7 ของกรอบวงเงิน 350.0 พันล้านบาท และโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบ บริหารจัดการทรัพยากรน�้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 0.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ วงเงิน 78.3 พันล้านบาท ตารางที่ 3 ผลการเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ

โครงการ

10 ตั้งแต่เริ่ม วงเงิน เดือน โครงการจนถึง ร้อยละ ของวงเงิน ที่ได้รับอนุมัติ 2553 2554 2555 2556 2557 แรกปี สิ้นเดือน ที่ได้รับอนุมัติ งปม. 58 ก.ค. 58

1. โครงการภายใต้แผน 348,940 234,369 61,391 24,420 7,509 4,597 1,570 ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2. เงินกูเ้ พือ่ ฟืน้ ฟูเศรษฐกิจ - 286 7,382 14,998 6,646 118 และพัฒนาโครงสร้าง 39,285 พื้นฐาน (DPL) 3. เงินกูภ้ ายใต้ พรก. บริหาร ี350,000 - - 1,762 13,740 6,793 163 จัดการน�้ำฯ 4. โครงการเงินกู้เพื่อการ พั ฒ นาระบบบริ ห าร - - - - - 432 จัดการทรัพยากรน�ำ้ และ 78,295 ระบขนส่งทางถนน ระยะ เร่งด่วน ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

42

(หน่วย : ล้านบาท)

336,306

96.4

32,809

83.5

23,394

6.7

432

0.6


กล่าวโดยสรุปในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 2,269.9 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น (1) งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2558 จ�ำนวน 2,062.2 พันล้านบาท (2) รายจ่าย จากงบประมาณปีก่อนจ�ำนวน 191.0 พันล้านบาท (3) โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจ�ำนวน 11.4 พันล้านบาท (4) เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จ�ำนวน 3.8 พันล้านบาท (5) โครงการภายใต้ พรก.บริหาร จัดการน�้ำฯ จ�ำนวน 1.1 พันล้านบาท และ (6) โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำและระบบขนส่ง ทางถนนระยะเร่งด่วน จ�ำนวน 0.4 พันล้านบาท 3. ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) ฐานะการคลังในช่วงครึ่งแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) รัฐบาลมีรายได้น�ำส่งคลังทั้งสิ้น จ�ำนวน 1,776.8 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,253.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณ ขาดดุลจ�ำนวน 476.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 18.6 พันล้านบาท ท�ำให้ดุลเงินสดก่อน กู้ขาดดุลจ�ำนวน 495.1 พันล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุล ด้วยการกูเ้ งินจ�ำนวน 201.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ดลุ เงินสด (หลังการกูเ้ งินเพือ่ ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลจ�ำนวน 293.7 พันล้านบาท และส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 มีจ�ำนวน 202.0 พันล้านบาท

ตารางที่ 4 ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) 1. รายได้ 2. รายจ่าย 3. ดุลเงินงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 8. เงินคงคลังปลายงวด

10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 1,776,784 2,253,214 (476,430) (18,630) (495,060) 201,362 (293,698) 202,049

(หน่วย : ล้านบาท)

เปรียบเทียบ จ�ำนวน ร้อยละ 93,817 5.6 154,198 7.3 (60,381) 14.5 47,845 (72.0) (12,536) 2.6 (22,802) (10.2) (35,338) 13.7 (144,643) (41.7)

ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

4. หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 มีจ�ำนวน 5,684.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.36 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะลดลงสุทธิจ�ำนวน 2.52 พันล้านบาท โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 4,070.2 พันล้านบาท หนีร้ ฐั วิสาหกิจทีไ่ ม่เป็นสถาบันการเงิน 1,046.3 พันล้านบาท หนีร้ ฐั วิสาหกิจทีเ่ ป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�ำ้ ประกัน) 562.0 พันล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6.0 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้างยังอยู่ในระดับ ที่ มีเ สถี ย รภาพ สะท้อ นได้จาก (1) หนี้ส าธารณะคงค้ า งเป็ น หนี้ ใ นประเทศถึ ง ร้ อยละ 94.01 ของหนี้ สาธารณะคงค้า ง (2) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 98.03 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 ของ GDP

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

43


ตารางที่ 5 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 หนี้สาธารณะคงค้าง

(หน่วย : ล้านบาท)

ณ เดือน มิ.ย. 58

1.หนี้ของรัฐบาล 2.หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3.หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4.หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม

4,070,193.59 1,046,279.66 561,979.27 6,038.24 5,684,490.76

% of GDP 30.33 7.80 4.19 0.04 42.36

ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

5. ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) ในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กรกฎาคม 2558) รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุน ได้ทั้งสิ้น 128.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.8 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 81.5 ของแผนที่ก�ำหนดไว้ หรือคิดเป็นร้อยละ 39.1 ของแผนงบลงทุนทัง้ ปี โดยรัฐวิสาหกิจทีด่ ำ� เนินงานตามปีงบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ 50.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.0 ของแผนที่ก�ำหนดไว้ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.4 ของแผนงบลงทุนทั้งปี ขณะที่รัฐที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทินสามารถเบิกจ่ายได้ 78.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.8 ของแผนที่ก�ำหนดไว้ หรือคิดเป็นร้อยละ 37.7 ของแผนงบลงทุนทั้งปี ตารางที่ 6 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินการตามปีงบประมาณและรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินการ ตามปีปฏิทิน (หน่วย : ล้านบาท)

การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (1) รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) การประปาส่วนภูมิภาค การเคหะแห่งชาติ (2) รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทิน บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) (3) รวม = (1) + (2)

งบลงทุน เบิกจ่ายสะสม % ผลเบิกจ่ายสะสม/ % ผลเบิกจ่ายสะสม/ แผนสะสม งบลงทุนทั้งปี อนุมัติ (ต.ค.57-ก.ค..58) 121,505 50,819 23,320 11,413 9,436 11,413 4,953 207,152 77,280 39,529 20,228 22,348 16,459 15,675 11,000 328,657

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

44

50,334 13,004 8,991 7,702 5,304 7,702 3,975 78,113 24,014 23,957 9,861 7,527 5,030 2,306 3,830 128,448

67.0 37.5 100.2 96.9 91.2 96.9 101.5 94.8 78.6 143.2 85.1 96.4 128.6 46.4 75.0 81.5

41.4 25.6 38.6 67.5 56.2 67.5 80.3 37.7 31.1 60.6 48.8 33.7 30.6 14.7 34.8 39.1


Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) : เทรนด์เศรษฐกิจของคนยุคใหม่? 1

บทสรุปผู้บริหาร

เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) เกิดจากการแบ่งปันสิง่ ของกันในกลุม่ เล็กๆ จนเริม่ เข้าสู่ การเป็นรูปแบบธุรกิจมากขึ้น พัฒนาเป็นการแบ่งปันสินค้าและบริการ เช่น แท็กซี่ Uber และเว็บไซต์ Airbnb เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่ของส่วนตัวหรือทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ❍❍ เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ก�ำลังเข้ามามีบทบาทใน สังคมไทยเพิ่มมากขึ้น โดยได้แรงบันดาลใจจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ท�ำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไป อย่างไร้ขีดจ�ำกัดและการเพิ่มขึ้นประชากรทั่วโลกซึ่งสวนทางกับปริมาณทรัพยากร ❍❍ หัวใจส�ำคัญของระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน คือ ความไว้วางใจ ความเชื่อใจ และความปลอดภัย ทีเ่ ป็นส่วนส�ำคัญทีช่ ว่ ยให้เศรษฐกิจรูปแบบนีข้ บั เคลือ่ นและเติบโตต่อไปได้ ซึง่ สิง่ เหล่านีข้ นึ้ อยูก่ บั ผูป้ ระกอบการ ว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้มากเพียงใด ❍❍ จากความนิยมของระบบเศรษฐกิจแบ่งปันทีม ่ แี นวโน้มสูงขึน้ เรือ่ ยๆ ย่อมส่งผลให้เกิดหลายปัญหา ตามมาในแนวโน้มทีเ่ พิม่ ขึน้ เช่นกัน อาทิ ความเสีย่ งจากมิจฉาชีพ การเก็บภาษีทยี่ งั ไม่ครอบคลุม รวมไปถึงผลกระทบ ทางอ้อมแก่ยอดขายที่ลดลงของบางธุรกิจในรูปแบบเดิม ❍❍

บทน�ำ เอกลักษณ์ของคนไทยอย่างหนึ่งคือ การให้ การแบ่งปัน เช่น การให้ยืมของ หรือการแลกเปลี่ยนของใช้กัน นอกจาก จะเป็นการแสดงความมีน�้ำใจแล้ว ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องไปหาซื้อใหม่ โดยในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความ ก้าวหน้า ท�ำให้โลกเชื่อมต่อกันมากขึ้น และเราสามารถเช่าสิ่งของหรือซื้อสินค้าจากโลกออนไลน์ได้ ส�ำหรับค�ำว่า “Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบ่งปัน” ถ้าแปลแบบตรงตัวอาจหมายถึงการแบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนของกันใช้แบบยื่นหมูยื่นแมว แต่ในปัจจุบันโลกเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ค�ำว่า “Sharing Economy” จึงมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยี ดังนัน้ ในสังคมไทยเราอาจจะยังไม่คอ่ ยคุน้ เคยมากนัก แต่สำ� หรับโลกตะวันตกรูปแบบเศรษฐกิจแบบนีเ้ ป็นเรือ่ งทีไ่ ด้รบั ความนิยม เป็นอย่างมาก โดยรูปแบบทัว่ ไปทีเ่ ห็นในระบบนีม้ ี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ลักษณะของการให้เช่าของใช้หรือทรัพย์สินของตัวเอง เช่น Uber (ธุรกิจบริการทางรถยนต์เพือ่ เช่าและแบ่งปันกันใช้) Airbnb (ธุรกิจบริการทีพ่ กั ทีผ่ เู้ ข้าพักสามารถจองทีพ่ กั จากเจ้าของทีพ่ กั ) 2) ลักษณะของการขายหรือน�ำสิ่งของส่วนตัวมาแลก (เปลี่ยนมือ) เช่น เว็บไซต์ Kaidee.com และ Ebay และ 3) ลักษณะของ การรวมกลุ่มของคนที่มีไอเดียเหมือนกัน หรือมีความสนใจเหมือนกัน และต้องการมาท�ำงานร่วมกันเพื่อระดมเงินทุนในการท�ำ ตามวัตถุประสงค์บางอย่างเช่น Start-up ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องที่ใหม่ในสังคมไทย Sharing Economy เริ่มปรากฏในฝั่งประเทศแถบตะวันตกของโลกในช่วงปี ค.ศ. 2000 หรือปี พ.ศ. 2543 เศรษฐกิจ แบ่งปันเป็นโครงสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ทไี่ ด้แรงบันดาลใจจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเพิม่ ขึน้ ของประชากรทัว่ โลก ที่สวนทางกับการลดลงของทรัพยากร จากที่เราแลกเปลี่ยนสิ่งของกันแบบธรรมดาทั่วไป ก็ได้น�ำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเป็น ผู้เขียน นายจักรี พิศาลพฤกษ์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และ นางสาวสุวิมาลย์ ขันธหัตถ์ นิสิตฝึกงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

45


สื่อในการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันมากขึ้น และอีกหนึ่งแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ (Tragedy of the Commons) โดยการ์เร็ตต์ ฮาร์ดนิ (Garrett Hardin) ซึง่ หมายถึงสภาวะล�ำบากเนือ่ งจากหลายคนกระท�ำการทีเ่ ห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตนโดยไม่พิจารณาถึงประโยชน์ส่วนรวม ท�ำให้ทรัพยากรใช้ร่วมกันที่มีจ�ำกัดหมดไป ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกอ้างถึงบ่อยครั้งในการ สนับสนุนความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อหลายๆ ปัญหา ประเด็นร้อน ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังมีการถกเถียงถึงเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับค�ำนิยามที่ชัดเจนของ Sharing Economy อยู่บ้าง โดยค�ำนิยาม ที่ให้ไว้ค่อนข้างชัดเจนคือ วิธีการจัดการกับทรัพยากรให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยการสร้างเครือข่ายชุมชนขึ้นมา และเปลี่ยน บทบาทหน้าทีข่ องผูบ้ ริโภคให้กลายเป็นผูจ้ ดั หา โดยค�ำนึงถึงศักยภาพทีส่ ามารถพัฒนาได้เพือ่ การกระตุน้ ธุรกิจให้ได้มากทีส่ ดุ และ ดูเหมือนว่าระบบเศรษฐกิจรูปแบบนีจ้ ะเริม่ เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึน้ จากการทีป่ ระเทศไทยเข้าสูร่ ะบบดิจทิ ลั สังเกตได้ จากระบบทีวีดิจิทัล หรือปริมาณร้านค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ท�ำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างไร้ขีดจ�ำกัด จนอาจ กล่าวได้ว่า Sharing Economy ก�ำลังมีบทบาทส�ำคัญในบริบทของเศรษฐกิจไทยและเป็นเรื่องที่ประเทศไทยควรให้ความสนใจ เกี่ยวกับระบบ Sharing Economy รวมทั้งข้อดีข้อเสียที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

เทคโนโลยีกับ Sharing Economy Sharing Economy เป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ก�ำลังเข้ามามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งระบบนี้ แท้จริงแล้วมีจดุ เริม่ ต้นจากการแบ่งปันข้อมูลหรือสิง่ ของกันในกลุม่ เล็กๆ จนเริม่ เข้าสูก่ ารเป็นรูปแบบธุรกิจมากขึน้ โดยพัฒนาเป็น การแบ่งปันสินค้าหรือของส่วนตัว เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่ของส่วนตัวหรือทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดโดยการซื้อขาย แลกเปลี่ยนมือ หรือการให้เช่า จากข้อจ�ำกัดในการเข้าถึงตลาดเพื่อการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ถูกจ�ำกัด ด้วยพืน้ ที่ เช่น การเปิดท้ายขายของ ซึง่ จะเป็นการเสนออุปทานเพือ่ ตอบสนองอุปสงค์ของคนในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงเท่านัน้ แต่ในปัจจุบนั การที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายจากการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยี อาทิ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงระบบ GPS ทีท่ ำ� ให้เราสามารถเข้าถึงแผนทีแ่ ละระบุตำ� แหน่งพิกดั จากดาวเทียมได้ สามารถหาต�ำแหน่งห้องพัก หรือรถยนต์เพื่อเช่าในเขตพื้นที่ที่เราอยู่หรือต้องการได้ ท�ำให้เป็นไปตามระบบกลไกตลาดที่แท้จริงมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่เราต้อง ตัง้ ค�ำถามว่า ท�ำไมเราจะต้องเสียค่าใช้จา่ ยกับสิง่ ทีไ่ ม่จำ� เป็นในราคาทีส่ งู กว่า ในเมือ่ เราสามารถใช้เทคโนโลยีเพือ่ ลดต้นทุนหรือจ่าย ในราคาทีต่ ำ�่ กว่าอีกทัง้ ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเสียเวลาเดินหาสิง่ ของในตลาด หรือต้นทุนของผูป้ ระกอบการ ในการเก็บสินค้าในสต็อกเพือ่ รอขายอีกด้วย ทัง้ นี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์นโี้ ดยเฉพาะระบบ Sharing Economy จะช่วยตอบโจทย์ ให้คนแปลกหน้านับล้านได้เข้าถึงสิ่งของ ทั้งการซื้อขาย และการเช่าสินค้าและบริการที่ตรงตามอุปสงค์และอุปทานจริงๆ โลกยุคใหม่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป จนบางทีเราก็ตามไม่ทัน จากการรายงานของ World Economic Forum, The Global Information Technology Report 2015 รายงานว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทุกระดับของรายได้ ไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่มีความ สะดวกสบายในการพกพาและง่ายต่อการติดต่อ เช่นเดียวกับในประเทศไทยทีม่ สี ดั ส่วนการใช้อนิ เทอร์เน็ตรวมถึงเครือข่ายสังคม ออนไลน์ (Social Network) เพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อใช้ในการแบ่งปันข้อมูล รวมไปถึงการติดต่อธุรกิจ จากดัชนีความพร้อมของเครือข่าย อินเทอร์เน็ตปี 2558 ไทยถูกจัดอันดับอยู่ในล�ำดับที่ 67 จากทั้งหมด 143 ประเทศ ซึ่งคงที่จากปี 2557 และเป็นอันดับที่ดีขึ้นจาก ปี 2556 ที่อยู่ในล�ำดับที่ 74 จากทั้งหมด 144 ประเทศ จะเห็นได้ว่าแนวโน้มความพร้อมของเทคโนโลยีในประเทศไทยมีทิศทาง ที่ดีขึ้น และทุกฝ่ายควรให้ความส�ำคัญในการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในอนาคตและ ความก้าวหน้าของนวัตกรรมใหม่ๆ ดังภาพที่ 1 จะเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีจ�ำนวนเพิ่มในทุกๆ ปีในทุกระดับของ รายได้ของประชากร

46


ภาพที่ 1 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชากร ณ ระดับรายได้ต่างๆ

ที่มา : World Economic Forum, The Global Information Technology Report 2015

ภาพที่ 2 จ�ำนวนร้อยละของประชากร ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ในเดือนที่แล้ว

ภาพที่ 3 จ�ำนวนร้อยละของประชากร ที่ซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเดือนที่แล้ว

ที่มา : Digital, Social and Mobile in 2015 report

เทคโนโลยีมีบทบาทส�ำคัญที่ท�ำให้การแบ่งปันเป็นไปได้ง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็วขึ้น รวมถึงท�ำให้การติดต่อสื่อสารเข้าถึง องค์กรต่างๆ หรือบุคคลได้อย่างง่ายดาย อีกทัง้ การตรวจสอบข้อมูลเกีย่ วกับความปลอดภัยและการช�ำระเงินทีส่ ะดวก โดยไม่ตอ้ ง เสียค่าใช้จ่ายในการท�ำธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งค่าเดินทาง ซึ่งสะท้อนถึงทฤษฎีต้นทุนธุรกรรม (Transaction Cost) หรือ ต้นทุนการผลิตบริการรวมไปถึงต้นทุนต่างๆ ในการแลกเปลีย่ นสินค้าว่า ทางออกของการมีตน้ ทุนต�ำ่ สุดโดยไม่กระทบราคาสินค้า และบริการคือ การให้เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจรูปแบบวิถีชีวิตในยุคใหม่ ดังแนวคิดที่ว่า ท�ำไม เราต้องจ่ายเงินซื้อบางสิ่งในเมื่อสามารถเช่าจากคนแปลกหน้าบนโลกออนไลน์ยังจะง่ายกว่า (Why pay through the nose for something when you can rent it more cheaply from a stranger online?) จึงไม่แปลกที่เทคโนโลยีต่างๆ จะเข้ามาเป็น หัวใจส�ำคัญของระบบเศรษฐกิจแบ่งปันดังภาพที่ 2 และ 3 ทีแ่ สดงให้เห็นอัตราส่วนของประชากรในประเทศต่างๆ ทีใ่ ช้อนิ เทอร์เน็ต ในการซื้อขายสินค้า โดยไทยมีอัตราส่วนของประชากร ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ จ�ำ นวนร้อยละ 18 และมีประชากรร้อยละ 11 ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือว่าค่อนข้างต�่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แสดงถึงโอกาสและความสามารถ ในการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy ในประเทศไทยที่มีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของการเติบโต ของเศรษฐกิจในรูปแบบ Sharing Economy ของโลกดังแสดงในภาพที่ 4

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

47


ภาพที่ 4 การเพิ่มขึ้นของขนาดการค้าในระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy

ที่มา : Massolution

ความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ และความปลอดภัยใน Sharing Economy ความไว้วางใจ ความเชือ่ ใจ และความซือ่ สัตย์ เป็นอีกหัวใจหลักต่อระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน เนือ่ งจาก Sharing Economy เป็นระบบเศรษฐกิจทีท่ กุ คนสามารถทราบถึงข้อมูลของสินค้าและบริการทีต่ อ้ งการซือ้ หรือเช่าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยเฉพาะ ลักษณะของ Sharing Economy รูปแบบแรก ซึ่งจะเป็นการใช้บริการสินค้าจากคนแปลกหน้า เรื่องความน่าเชื่อถือ และ ความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมากและควรระมัดระวังก่อนที่เราจะท�ำธุรกรรมทางการเงิน ธุรกิจแบบ Sharing Economy ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการในการสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะในระบบนี้เราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าเราจะโดนหลอกหรือโดนโกง หรือไม่ ผูป้ ระกอบการต้องมีความซือ่ สัตย์กบั ผูบ้ ริโภค เช่น Uber มีระบบตรวจสอบประวัตขิ องผูข้ บั ท�ำให้เรารูส้ กึ ได้รบั ความปลอดภัย จากการใช้บริการ เช่นเดียวกับ Airbnb ที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน ก่อนมีการเปิดให้เช่าห้อง การสร้างความไว้วางใจและความน่าเชือ่ ถือ ถือเป็นหัวใจส�ำคัญของธุรกิจประเภทนี้ โดยผูป้ ระกอบการจะต้องมีมาตรการ การรักษาความปลอดภัยในการให้บริการ รวมไปถึงมีเครื่องมือในการตรวจสอบประวัติของพนักงานและผู้รับบริการ รวมทั้ง ควรมีการน�ำประสบการณ์การใช้งานจริงของลูกค้ามาปรับใช้ในการให้บริการ โดยมีการประเมินความพึงพอใจของผูร้ บั บริการ และ น�ำความคิดเห็นและข้อติชมมาช่วยปรับปรุงและพัฒนาการบริการของตนให้ดยี งิ่ ขึน้ การสอบถามและการประเมินความพึงพอใจ ของลูกค้า ยังเป็นส่วนช่วยในการกระตุ้นการตัดสินใจในการใช้บริการต่อลูกค้าท่านอื่นอีกด้วย เช่น ผู้เช่าพักจะมีการตัดสินใจใช้ บริการห้องพัก โดยค�ำนึงถึงการจัดอันดับและการแบ่งปันความคิดเห็นของผูท้ เี่ คยใช้บริการมาก่อน จากการรายงานผลการส�ำรวจ ของ Price Waterhouse Coopers (PWC) พบว่า ร้อยละ 69 ของผู้ถูกส�ำรวจจะเชื่อถือและให้ความไว้วางใจแก่บริษัทที่ให้บริการ ธุรกิจแบบ Sharing Economy ก็ต่อเมื่อมีบุคคลที่ตนเชื่อถือแนะน�ำมาเท่านั้น Sharing Economy จึงเป็นระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ทเี่ ข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึน้ เรือ่ ยๆ โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย โดยการเข้ามาของระบบนี้ในเอเชียเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเอเชียมีจ� ำนวนประชากรที่หนาแน่นเป็น อันดับ 1 ของโลก จากข้อมูลของส�ำนักงานหลักฐานอ้างอิงเกีย่ วกับประชากร (Population Reference Bureau) พบว่าในปี 2557 เอเชียมีจ�ำนวนประชากร 4,351 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประชากรประมาณร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้ม ประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้ทรัพยากรต่างๆ อาจมีไม่เพียงพอต่อประชากรเหมือนในอดีต การเพิ่มปริมาณผลผลิตอาจ ท�ำได้ยากมากขึ้น จากปริมาณวัตถุดิบที่มีความหายากมากขึ้น ต้นทุนจึงสูงขึ้นตาม ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร ที่มีเหลืออยู่จึงเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น โดยชาวเอเชียเริ่มมีความเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าหรือแชร์ไอเดียต่างๆ มากขึ้น ดังแสดง ในภาพที่ 5 ทวีปเอเชียแปซิฟกิ มีสดั ส่วนผูบ้ ริโภคออนไลน์ทมี่ คี วามเต็มใจเข้าร่วมในสังคมของการแบ่งปัน (Sharing Communities) โดยมีความเต็มใจจะแลกเปลี่ยนของใช้หรือทรัพย์สินของตัวเองอยู่ที่ร้อยละ 78 และมีความเต็มใจที่จะใช้บริการของใช้หรือ ทรัพย์สินจากคนอื่นร้อยละ 81 ซึ่งมากที่สุด เมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ และจากการส�ำรวจของ CWT Travel Management Institute Research รายงานว่าผูบ้ ริโภคมีมมุ มองหรือความกังวลด้านความปลอดภัยมากทีส่ ดุ ทัง้ ในด้านสินค้าและบริการคิดเป็นร้อยละ 29 และร้อยละ 27 ตามล�ำดับจากผูบ้ ริโภคจ�ำนวน 1,080 คน ส่วนในด้านผูป้ ระกอบการมีมมุ มองหรือความกังวลเกีย่ วกับผลกระทบ ด้านลบทีจ่ ะเกิดขึน้ เกีย่ วกับความปลอดภัยมากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 43 จากผูป้ ระกอบการจ�ำนวน 127 คน ซึง่ จะเห็นว่าธุรกิจแบบ Sharing Economy ทัง้ ผูบ้ ริโภคและผูป้ ระกอบการต่างให้ความส�ำคัญเกีย่ วกับความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และนัน่ ก็เป็นปัจจัย ส�ำคัญที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องสร้างความเชื่อมั่นและมีความซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน

48


ภาพที่ 5 จ�ำนวนร้อยละของประชากรที่ใช้ระบบ Sharing Economy ในการซื้อขายสินค้า

ที่มา : http://www.statista.com

ภาพที่ 6 มุมมองของผู้บริโภค ที่มีต่อผู้ประกอบการธุรกิจ Sharing Economy

ภาพที่ 7 มุมมองของผู้ประกอบการ ที่มีต่อธุรกิจ Sharing Economy

ที่มา : CWT Travel Management Institute Research (2015)

จากการส�ำรวจของ CWT Travel Management Institute Research เกีย่ วกับมุมมองและความกังวลใจต่อระบบ Sharing Economy ในธุรกิจการขนส่งและธุรกิจพักแรมของผูร้ บั บริการและผูใ้ ห้บริการ ดังภาพที่ 6 และ 7 พบว่า ผูร้ บั บริการมีความกังวลใจ ในด้านความปลอดภัยมากที่สุด ในขณะที่ผู้ให้บริการธุรกิจพักแรมมองว่าธุรกิจแบบ Sharing Economy ส่งผลกระทบทางบวก ต่อธุรกิจของตน ในแง่ของความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากที่สุด ขณะที่มองว่าธุรกิจ Sharing Economy ส่งผลกระทบด้านลบ ของธุรกิจตนในแง่ของความปลอดภัยของข้อมูลมากที่สุด

ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 1) ความเสี่ยงเกี่ยวกับมิจฉาชีพ นอกเหนือจากความเชื่อใจและความปลอดภัย ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อีกหนึ่งหัวใจส�ำคัญที่เป็นแรงบันดาลใจแก่ ระบบเศรษฐกิจรูปแบบนี้ให้เติบโตอย่างไร้ขีดจ�ำกัด นั่นคือ เทคโนโลยี ซึ่งแน่นอนว่าจากการที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างง่ายดาย จึงอาจมีความเสี่ยงในเรื่องของมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาได้ เช่น การหลอกโอนเงินโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้รับของหรือ บริการตามสัญญา รวมไปถึงปัญหาต่างๆ ที่ตามมา เช่น มิจฉาชีพใช้ช่องทางจากความไว้เนื้อเชื่อใจแฝงตัวเข้ามาขโมยทรัพย์สิน ในทีพ่ กั ซึง่ เป็นเรือ่ งปกติทพี่ บได้บอ่ ยและมักจะมีปญ ั หาในรูปแบบนี้ ซึง่ ในหลายกรณีทยี่ งั ไม่มกี ฎหมายมารองรับต่อความเสียหาย ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ประมาณการเศรษฐกิจไทย

49


2) การเก็บภาษีที่ยังไม่ครอบคลุม อีกหนึง่ ปัญหาใหญ่ของระบบเศรษฐกิจรูปแบบนี้ คือ เรือ่ งของการเก็บภาษีทยี่ งั ไม่ครอบคลุม กล่าวคือในบางพืน้ ทีอ่ าจจะ ยังไม่มกี ารจัดเก็บภาษี หรือบางธุรกิจทีภ่ าครัฐยังไม่มมี าตรการรองรับเกีย่ วกับเรือ่ งนี้ ท�ำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ในประเทศไทย Uber ยังไม่มมี าตรการในการจัดเก็บภาษี ท�ำให้สมาคมแท็กซีต่ า่ งเรียกร้องมาตรการทีจ่ ะมาควบคุม Uber เพราะท�ำให้ผขู้ บั แท็กซี่ ที่ต้องเสียภาษีจะได้รับรายได้ต่อวันน้อยลง จากการที่ผู้บริโภคหันไปใช้บริการ Uber แทน เนื่องจากมีต้นทุนถูกกว่าจึงสามารถ ให้บริการในราคาที่ต�่ำกว่าได้ เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในประเทศไทย ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน อาทิ เบลเยียมและฝรั่งเศส ซึ่งผลกระทบจากปัญหานี้อาจจะท�ำให้ผู้ขับแท็กซี่ถูกบังคับให้ออกจากตลาดจากการเผชิญต้นทุน ทีส่ งู กว่า และอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจการท่องเทีย่ วได้ เช่นเดียวกับธุรกิจ Airbnb ทีม่ บี างพืน้ ทีท่ รี่ ฐั บาลยังไม่จดั เก็บภาษีทอ้ งถิน่ ของธุรกิจนี้ ดังเช่นผู้เข้าพักที่จองที่พัก Airbnb ที่อยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีซึ่งถูกรวมเป็น ส่วนหนึ่งของการจองที่พัก เรียกว่า ภาษีนักท่องเที่ยวอัมสเตอร์ดัม ซึ่งจะเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 5 จากราคาที่พักรวม ค่าท�ำความสะอาด ซึง่ ในแต่ละพืน้ ทีอ่ าจมีการจัดเก็บภาษีมลู ค่าเพิม่ ด้วยตามอัตราในประเทศทีผ่ เู้ ข้าพักอาศัยอยูต่ ามทีไ่ ด้จองไว้ 3) ยอดขายของบางธุรกิจในรูปแบบดั้งเดิมลดลง อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การแลกเปลี่ยนสินค้าในเว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ส�ำหรับระบบ Sharing Economy โดยตรง แต่เป็นการขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ถือว่าเป็น ตลาดขนาดใหญ่ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) และอินสตาแกรม (Instagram) เป็นต้น ซึ่งตรวจสอบได้ยาก อีกทั้งการที่กฎหมาย ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างทั่วถึง อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในบางธุรกิจที่การแลกเปลี่ยนสินค้า หรือการท�ำธุรกรรม ทางการเงินในอินเทอร์เน็ตทีอ่ าจมีความสะดวกสบายมากกว่าท�ำให้ยอดขายของบางธุรกิจในรูปแบบเก่าๆ ลดลง ซึง่ ความสะดวก สบายนี้เป็นส่วนช่วยท�ำให้การบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าแปลกใจ อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างรายได้จากทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ มาหมุนเวียนเปลีย่ นมือในระบบมากขึน้ สะท้อนถึงการลดลงของการใช้ทรัพยากรทีไ่ ม่จำ� เป็น รวมทัง้ เป็นการประหยัดต้นทุนและ ค่าเสียโอกาสต่างๆ ไปได้อีกทาง โดยรวมระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy เป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากภาพที่ 8 และ 9 แสดงถึงปริมาณเงินทุนในธุรกิจ Uber และ Airbnb จะเห็นได้ว่าทั้งสองธุรกิจมีอัตราเงินทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงมูลค่าของธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี จึงนับว่าผู้ประกอบการยุคใหม่ควรให้ความสนใจในกลยุทธ์ ทีจ่ ะพัฒนาธุรกิจตนเอง และมีการปรับตัวเพือ่ ให้อยูร่ อดในภาวะเศรษฐกิจต่างๆ โดย Uber และ Airbnb เริม่ ก่อตัง้ ธุรกิจประมาณ 6 ปี แต่ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างมาก โดย Uber มียอดมูลค่ารวม 18.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557) เทียบกับปีเริ่มก่อตั้ง (พ.ศ. 2551) ที่มีมูลค่าเพียง 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 1,037.5 และ Airbnb มียอดมูลค่ารวม 10.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ เดือนเมษายน พ.ศ.2557) เทียบกับปีเริ่มก่อตั้ง (พ.ศ. 2550) ที่มี มูลค่าเพียง 0.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 1,150.0 ภาพที่ 8 มูลค่าของธุรกิจเทียบกับปีเริ่มก่อตั้ง

ที่มา : venturebeat.com

50


ภาพที่ 9 ปริมาณเงินทุนของธุรกิจ Uber

ภาพที่ 10 ปริมาณเงินทุนของธุรกิจ Airbnb

ที่มา : venturebeat.com รวบรวมโดย สศค.

ข้อเสนอแนะ ระบบการใช้บริการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือให้การเช่าผ่านระบบออนไลน์มีความส�ำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วทั้งโลก รวมถึง ประเทศไทยทีร่ ะบบตลาดในโลกออนไลน์มกี ารขยายตัวขึน้ เช่นกัน เช่น ระบบการขนส่งทางบกทีไ่ ม่ได้มเี พียงรถแท็กซีท่ จี่ ดทะเบียน กับกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังมีธุรกิจ Uber, Grab Taxi รวมทั้ง Easy Taxi ที่ท�ำให้เกิดการแข่งขันอย่างมาก ในวงการแท็กซี่ไทย การปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนี้จึงต้องมีการกระตุ้นทั้งภาคผู้บริโภค และภาคผู้ผลิต โดยภาครัฐควรให้ ความสนใจถึงปัญหา พฤติกรรมของตลาดในระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไป รวมถึงมีการวางมาตรการ กฎระเบียบที่จะจัดระบบเกี่ยวกับการท�ำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ กฎหมายที่จะใช้เอาผิด หรือบังคับ เช่น การเก็บภาษีเงินได้หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งภาครัฐควรมีการปรับนโยบาย และกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์ ครอบคลุม และทันท่วงที เพื่อที่รัฐจะได้สามารถตรวจสอบและด�ำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับกฎหมายที่จะมารับมือกับแนวคิดวิถีชีวิตแบบใหม่นี้ ดูเป็นเรื่องที่ยากต่อการควบคุม เพราะระบบ เศรษฐกิจแบบ Sharing Economy มีการปรับเปลีย่ นรูปแบบเพือ่ ตอบสนองความต้องการในตลาดอยูต่ ลอดเวลา การทีก่ ฎหมาย จะเข้ามาควบคุมให้ทั่วถึงจึงจ�ำเป็นต้องคิดให้รอบคอบ รัดกุม และตรวจสอบให้ได้มากที่สุด จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม นั้นยากที่จะตรวจสอบ และเอาผิดทางกฎหมาย กับผูก้ ระท�ำผิด เช่นเดียวกับ Airbnb ธุรกิจจากการเปิดห้องพักให้นกั ท่องเทีย่ วเช่า แต่หากนักท่องเทีย่ วทีเ่ ข้าพักได้ทำ� ให้ทรัพย์สนิ ของผูใ้ ห้เช่าเสียหาย จึงเกิดค�ำถามทีว่ า่ กฎหมายจะคุม้ ครองผูเ้ สียหายหรือเอาผิดได้อย่างไร เพราะเป็นการท�ำธุรกรรมข้ามประเทศ แต่สิ่งที่ท�ำได้คือการป้องกันปัญหาที่จะเกิดในภายหลัง ผู้ประกอบการก็พยายามที่จะหาทางป้องกันเหตุที่จะเกิดกับผู้บริโภค โดยมีมาตรการออกมาเพื่อที่จะดูแลควบคุมด้านความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงการซื้อประกันความเสียหายต่างๆ เช่น Airbnb เป็นเว็บไซต์ที่บริการเกี่ยวกับที่พักตามสถานที่ต่างๆ ได้สนับสนุนให้เจ้าของที่พักมีเครื่องดักจับควันและความร้อนติดตั้งในที่พัก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย เช่นเดียวกับกรณีของ Uber ที่เคยมีประเด็นเกี่ยวกับการที่ผู้ขับไม่มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะ ท�ำให้ เกิดความกังวลด้านความปลอดภัยต่อผูใ้ ช้บริการ และการตรวจสอบประวัตผิ ขู้ บั ขีท่ ที่ ำ� ได้ยาก จึงได้มมี าตรการให้ผขู้ บั กรอกข้อมูล ประวัตสิ ว่ นตัวให้ละเอียดมากขึน้ เพือ่ เป็นการสร้างความเชือ่ มัน่ ด้านความปลอดภัยให้กบั ผูบ้ ริโภค และการใช้กฎหมายตรวจสอบได้ กล่าวคือการตรวจสอบบัญชีผู้ใช้ (User ID) เพื่อหาผู้กระท�ำผิดได้ในบางกรณี นอกจากนี้แนวโน้มของการเข้ามาของเทคโนโลยี ในโลกดิจิทัลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับการกระท�ำผิดจากระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ทั้งนี้ ผู้บริโภครวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาช่วยกันตรวจสอบผู้กระท�ำผิด

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

51


บทวิเคราะห์ เรื่อง เมื่อผู้น�ำโลกเปลี่ยนมือ

1

บทสรุปผู้บริหาร

ปัจจุบันกลุ่มผู้น�ำเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนมือจากกลุ่มยุโรปและญี่ปุ่นไปแล้ว โดยกลุ่มประเทศ ที่มารับไม้ต่อคือ จีนและอินเดีย ขณะที่สหรัฐฯ ยังสามารถคงสถานะผู้น�ำเศรษฐกิจโลกไว้ได้ ❍❍ สาเหตุ ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ ยุ โ รปและญี่ ปุ ่ น จ� ำ เป็ น ต้ อ งปล่ อ ยมื อ จากบั ง เหี ย นเศรษฐกิ จ โลก คื อ เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยยุโรปเผชิญกับวิกฤติหนี้สาธารณะ และญี่ปุ่น ประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซามากว่า 2 ทศวรรษ ขณะที่สหรัฐฯ ยังคุมบังเหียนผู้น�ำเศรษฐกิจโลกไว้ได้หลังจาก หลุดพ้นจากวิกฤติการเงินโลกมาได้เพียงประเทศเดียว ❍❍ จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้น�ำรุ่นใหม่ ภายหลังจากที่เปิดประเทศในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ท�ำให้ภาคการ ส่งออกขยายตัวรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาภาคการลงทุนในประเทศถึงระดับท้องถิ่น อีกทั้งจีนยังใช้ประโยชน์ จากจ�ำนวนประชากรที่มากซึ่งท�ำให้ค่าจ้างแรงงานมีราคาถูก และส่งผลให้เศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาขยายตัว อย่างร้อนแรง อย่างไรก็ตามภาวะฟองสบู่แตกในตลาดหลักทรัพย์จีนอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัวร้อนแรง อย่างช่วงที่ผ่านมา ❍❍ อินเดียเป็นประเทศผู้นำ � โลกรุน่ ใหม่อกี ประเทศทีย่ งั ไม่ได้รับความสนใจมากนัก แต่การพัฒนา ศักยภาพแรงงานที่ไม่หยุดยั้งและแผนปฏิรูปเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ท�ำให้ต้องจับตามองเศรษฐกิจอินเดียอย่าง ใกล้ชิด ❍❍ ส� ำ หรั บ ไทย ผู ้ น� ำ เศรษฐกิ จ โลกที่ เ ปลี่ ย นมื อ ไป จะส่ ง ผลกระทบต่ อ เศรษฐกิ จ ไทยที่ พึ่ ง พา การส่งออกเป็นกลไกขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ ไทยจึงจ�ำเป็นต้องปรับตัวตามการเปลีย่ นแปลงครัง้ นี้ เพือ่ ลดผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจผู้น�ำเก่า และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากกลุ่มผู้น�ำรุ่นปัจจุบัน ❍❍

1. ไม้ผลัดเปลี่ยนมือ หลายทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกหลัก คือ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Group of 3 (G3) โดยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษก่อน (2524-2547) มากกว่าครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นผล มาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุม่ G3 ท�ำให้ทกุ ประเทศทัว่ โลกจ�ำเป็นต้องจับตามองพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เพราะย่อมส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามในทศวรรษนี้ โลกไม่อาจมองข้ามพัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียได้อกี แล้ว เนือ่ งจากภายหลัง วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกในช่วงปี 2551-2552 สองประเทศนี้มีส่วนส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกมากขึ้น และ มากกว่ายุโรปและญี่ปุ่นแล้ว ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกมาอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 1) ท�ำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า นอกจากสหรัฐฯ ทีย่ งั คงสถานะมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนือ่ งแล้ว ผูน้ ำ� เศรษฐกิจโลกขณะนีไ้ ด้สง่ ไม้ผลัดจากกลุม่ เก่า ไปแล้ว โดยมีจีนและอินเดียเป็นผู้รับไม้ต่อ บทความนี้จะวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกที่กลุ่มผู้น�ำเปลี่ยนแปลงไป โดยจะพิจารณาสาเหตุ และแนวโน้มของเศรษฐกิจของกลุม่ ประเทศผูน้ ำ� เก่าและผูน้ ำ� ปัจจุบนั รายประเทศ เพือ่ ให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจโลกในอนาคต และน�ำเสนอแนวคิดของการปรับตัวของไทยต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

ผู้เขียน นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ และนางสาวณัฐสรัญกร กิจธรธรรม นักศึกษาฝึกงาน ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

52


ภาพที่ 1 ที่มาการขยายตัวเศรษฐกิจโลกโดยสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย

ที่มา : กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ค�ำนวณโดย สศค. ขอบคุณ The Economist ส�ำหรับแนวคิด2

2. หรือไม้ผลัดนี้หนักเกินมือ ในส่วนนีจ้ ะอธิบายสาเหตุทสี่ ำ� คัญของเศรษฐกิจของกลุม่ ผูน้ ำ� โลกเก่าอย่างยุโรปและญีป่ นุ่ ทีเ่ ศรษฐกิจขณะนีไ้ ม่แข็งแกร่งพอ ที่จะรับภาระขับเคลื่อนไม้ผลัดเศรษฐกิจโลกต่อไปได้ และจ�ำเป็นต้องส่งไม้ผลัดให้แก่ผู้น�ำโลกกลุ่มใหม่ต่อไป 2.1 ยุโรป : หนี้สินล้นพ้นตัว ตั้งแต่สหภาพยุโรปยกระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นตลาดร่วม (Common Market) และมีการใช้ เงินตราร่วม (Common Currency) สกุลยูโร กลุ่มยูโรโซนนับว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาได้อย่างรวดเร็วที่สุดและแน่นแฟ้น มากที่สุด รวมถึงมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ กลุ่มยุโรปนี้จึงเป็นเสมือนต้นแบบของการพัฒนาด้าน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่นานาประเทศต่างใฝ่ฝันถึง แต่ด้วยปัญหาประเด็นการขาดดุลการคลังที่สั่งสมมานาน เนื่องจากมีการใช้จ่ายภาครัฐในปริมาณมากส�ำหรับ นโยบายรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ท�ำให้หนีส้ าธารณะของประเทศสมาชิกเพิม่ สูงขึน้ ต่อเนือ่ ง และเมือ่ ยูโรโซนได้รบั ผลกระทบ จากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกในปี 2551-2552 ภาครัฐจึงมีรายได้ลดลง อีกทั้งเศรษฐกิจที่หดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส (ไตรมาสที่ 4 ปี 2551-ไตรมาสที่ 4 ปี 2552) ท�ำให้ระดับหนี้สาธารณะเข้าขั้นวิกฤติ (ภาพที่ 2) ตลาดโลกขาดความเชื่อมั่น ต่อศักยภาพการช�ำระหนีข้ องภาครัฐ และต้นทุนการกูย้ มื ของยูโรโซนเพิม่ ขึน้ ซึง่ ท�ำให้สถานการณ์หนีส้ าธารณะยุโรปเลวร้ายลงอีก โดยในช่วงปี 2555-2556 ยูโรโซนเข้าสูภ่ าวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคติดต่อกันเกือบ 2 ปี จนกระทัง่ สเปน กรีซ โปรตุเกส ไซปรัส และไอร์แลนด์ ต้องขอความช่วยเหลือจาก Troika อันประกอบด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) และคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission : EC) และ จากกลไกในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน (European Stability Mechanism : ESM) เพือ่ ต่อลมหายใจของเศรษฐกิจในกลุม่ นี้ แม้ว่าในปัจจุบัน เศรษฐกิจยูโรโซนจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัวในระดับต�่ำ ขณะเดียวกันปัญหาหนี้สาธารณะก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ต้นเหตุ จึงท�ำให้ยังมีปัญหาการใช้คืนหนี้สินของบางประเทศตามมา โดยตลอด อาทิ กรณีกรีซทีส่ ามารถช�ำระหนีไ้ ด้ตามก�ำหนดแต่กไ็ ม่ตอ้ งการรัดเข็มขัดการคลังเพือ่ ทีจ่ ะได้เงินช่วยเหลือในงวดต่อไป ท�ำให้นักลงทุนยังคงกังวลต่อสถานการณ์หนี้สินของยูโรโซนมาโดยตลอด วิกฤติหนีส้ าธารณะนีเ้ องทีบ่ นั่ ทอนศักยภาพผูน้ ำ� เศรษฐกิจโลกของยุโรปโดยล�ำดับ และยังอาจต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ กว่าที่ยุโรปจะฟื้นเรี่ยวแรงกลับมารับภาระขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้อีกครั้ง

http://www.economist.com/news/economic-and-financial-indicators/21654018-world-gdp?fsrc=scn/fb/te/pe/ed/worldgdp

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

53


ภาพที่ 2 ปริมาณการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะของประเทศในยุโรปในปี 2552

ที่มา : Wikipedia หมายเหตุ : SGP limits แสดงระดับขาดดุลงบประมาณที่ไม่เกินร้อยละ 3 และระดับหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 60, Unhealthy แสดงระดับขาดดุลงบประมาณ ทีไ่ ม่เกินร้อยละ 3 และระดับหนีส้ าธารณะช่วงร้อยละ 60-120 หรือระดับขาดดุลงบประมาณทีช่ ว่ งร้อยละ 3-6 และระดับหนีส้ าธารณะไม่เกินร้อยละ 60, Critical แสดงระดับขาดดุลงบประมาณทีต่ ำ�่ กว่าร้อยละ 3 และระดับหนีส้ าธารณะมากกว่าร้อยละ 120 หรือระดับขาดดุลงบประมาณทีม่ ากกว่าร้อยละ 3 และระดับหนีส้ าธารณะช่วงร้อยละ 60-120 หรือระดับขาดดุลงบประมาณทีม่ ากกว่าร้อยละ 6 และระดับหนีส้ าธารณะไม่เกินร้อยละ 60, Unsustainable แสดงระดับขาดดุลงบประมาณที่มากกว่าร้อยละ 3 และระดับหนี้สาธารณะมากกว่าร้อยละ 120

2.2 ญี่ปุ่น : อยู่อย่างทรงๆ และซบเซา3 ย้อนกลับไปในช่วงก่อนปี 2530 รัฐบาลญีป่ นุ่ มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และมีแผนพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารพาณิชย์ผ่อนปรนเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ อีกทั้งเงินเยนที่อยู่ในระดับอ่อนค่าเอื้อต่อภาคการส่งออก ท�ำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเฟื่องฟู และเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ก้าวขึ้นมาทัดเทียมกับผู้น�ำเศรษฐกิจโลกในซีกตะวันตก เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ทีร่ งุ่ เรืองอย่างมากท�ำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ญปี่ นุ่ เข้าสูภ่ าวะฟองสบูแ่ ละเสีย่ งต่อภาวะฟองสบูแ่ ตก เพื่อหยุดยั้งความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารกลางญี่ปุ่นจึงตัดสินใจชะลอความร้อนแรงของภาคส่วนนี้ ด้วยการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปี 2537 แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้ามกับที่คาดหวังไว้ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นกลับท�ำให้ราคา อสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงอย่างมาก (ภาพที่ 3) และพาญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด ภาพที่ 3 ราคาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2530 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่น

ที่มา : สถาบันอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000127423

3

54


ทางการญีป่ นุ่ ทิง้ ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าจะปรับเปลีย่ นนโยบายกลับมากระตุน้ เศรษฐกิจอีกครัง้ ซึง่ ก็สายเกินไป เพราะภาคเอกชนได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายไปแล้ว เนื่องจากความมั่งคั่งที่ลดลงจากตลาดหุ้นและราคาอสังหาริมทรัพย์ ทีต่ กต�ำ่ ประกอบกับรายได้จากการส่งออกทีล่ ดลงเนือ่ งจากค่าเงินเยนในช่วงเวลานัน้ ทีแ่ ข็งค่า และการเป็นสังคมผูส้ งู อายุ ส่งผลให้ ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซามามากกว่า 2 ทศวรรษ หรือที่เรียกว่า “2 ทศวรรษที่สาบสูญ” (The Lost Decades) โดยไม่ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะถูกปรับลดลงมาอยู่ใกล้ระดับร้อยละ 0 มีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง หรือเร่งใช้จ่าย ภาครัฐจนหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลกที่ร้อยละ 246.4 ของ GDP (ณ สิ้นปี 2557) ก็ไม่อาจท�ำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะซบเซา ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเดือนเมษายน 2557 ที่หวังลดการขาดดุลการคลังและ ลดระดับหนีส้ าธารณะ กลับท�ำให้การบริโภคภาคเอกชนชะงักงัน จนท�ำให้เศรษฐกิจญีป่ นุ่ อยูใ่ นภาวะถดถอยทางเทคนิคถึง 2 ไตรมาส ส่งผลให้ทางการญี่ปุ่นต้องพิจารณาเลื่อนการปรับอัตราภาษีระยะที่ 2 ออกไป แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างล่าช้า ดังนั้นภาวะเงินฝืด เศรษฐกิจซบเซา และปัญหาหนี้สาธารณะที่ก�ำลังรุมเร้าญี่ปุ่นในขณะนี้ ท�ำให้บทบาทของญี่ปุ่น ที่มีต่อเศรษฐกิจโลกลดลงโดยล�ำดับ ญี่ปุ่นจึงจ�ำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก่อนที่จะสามารถกลับมาถือบังเหียนเศรษฐกิจโลก ได้อีกครั้ง

3. สหรัฐฯ : ผู้น�ำมือทอง สหรัฐฯ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้น�ำเศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าในช่วงหลัง เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกลดลง แต่ขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่คิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของ GDP โลก (หากไม่นับสหภาพยุโรป) ก็ท�ำให้ทั่วโลกไม่สามารถละสายตาจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศอื่นๆ ได้ อีกทั้งเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ยังถูกใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนมากที่สุดในโลก คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 80 ของธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราทีเดียว สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ยังด�ำรงต�ำแหน่งผู้น�ำเศรษฐกิจโลกได้คือ เศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัวได้ก่อนประเทศยักษ์ใหญ่ อืน่ ๆ ภายหลังเผชิญวิกฤติซบั ไพรม์ (Subprime) ซึง่ ได้พฒ ั นาเป็นวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกในช่วงปี 2551-2552 โดยแม้วา่ วิกฤติดังกล่าวจะมีจุดเริ่มต้นมาจากฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ภาคการเงินย�่ำแย่ตาม โดยดัชนี อุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average : DJIA) ดิ่งลงอย่างมากจนต�่ำกว่าระดับ 10,000 จุดจากที่เคยอยู่ที่ ประมาณ 12,000 จุดในช่วงก่อนวิกฤติ (ภาพที่ 4) และสถานการณ์ได้ลกุ ลามเข้าสูภ่ าคเศรษฐกิจจริง ท�ำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ ภาวะถดถอยทางเทคนิคถึง 1 ปี (ไตรมาสที่ 3 ปี 2551-ไตรมาสที่ 2 ปี 2552) ก็ตาม แต่ด้วยความพยายามของธนาคารกลาง สหรัฐฯ (Federal Reserve : Fed) ต่อการแก้วกิ ฤติดงั กล่าว ทัง้ การลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายลงสูร่ ะดับต�่ำเป็นประวัตกิ ารณ์ทชี่ ว่ ง ร้อยละ 0-0.25 ต่อปี และมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย (Quantitative Easing : QE) รวมทั้งหมด 4 ระยะ ท�ำให้เศรษฐกิจ สหรัฐฯ เริม่ ฟืน้ ตัวอย่างชัดเจนในช่วงต้นปี 2557 ซึง่ ท�ำให้ Fed ประกาศยุตมิ าตรการ QE ในทีส่ ดุ รวมถึงให้สญ ั ญาณว่าจะปรับขึน้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วๆ นี้ ขณะที่เศรษฐกิจโลกโดยรวมยังคงไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ท�ำให้เชื่อว่าสหรัฐฯ จะยังคงเป็นผู้น�ำมือทองน�ำพาไม้ผลัด เศรษฐกิจโลกต่อไปได้อีกในทศวรรษข้างหน้านี้

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

55


ภาพที่ 4 ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ในช่วงปี 2550-ปัจจุบัน

ที่มา : CEIC

4. ผู้รับไม้ผลัด เมื่อยุคทองของชาติตะวันตกเริ่มหมดลง ผู้น�ำเศรษฐกิจโลกรุ่นใหม่ที่จะมารับไม้ผลัดต่อจากผู้น�ำรุ่นเก่าอย่างยุโรปและ ญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนองศามาสู่ซีกโลกตะวันออกซึ่งคือ จีนและอินเดีย ในส่วนนี้จึงจะพิจารณาว่าเหตุใด 2 ประเทศนี้ จึงสามารถก้าวขึ้นมาครองต�ำแหน่งผู้น�ำโลกในยุคนี้ได้ จุดร่วมที่ส�ำคัญที่เป็นจุดเด่นของ 2 ประเทศนี้ คือ จ�ำนวนประชากรที่รวมกันแล้วมากถึง 1 ใน 3 ของจ�ำนวนประชากรโลก ซึ่งทั้ง 2 ประเทศก็ได้ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรนี้อย่างเต็มศักยภาพ กล่าวคือ จ�ำนวนประชากรจีนที่มากท�ำให้ ค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำของจีนอยู่ในระดับต�่ำเพียง 2,541 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งถูกกว่าค่าแรงขั้นต�่ำไทยที่คิดเป็นประมาณ 3,220 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่อินเดียก็พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตนให้เป็นแรงงานมีทักษะ (Skilled Labor) และ ท�ำให้ภาคบริการกลายเป็นกลไกหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดียในปัจจุบัน นอกจากนี้รัฐบาลทั้งสองประเทศยังพยายามอย่างยิ่งมาอย่างยาวนานที่จะวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมี รายละเอียดดังนี้ 4.1 จีน : เข้าสู่ยุคทอง นอกจากข้อได้เปรียบด้านค่าแรงขั้นต�่ำที่กล่าวถึงในข้างต้น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ณ สิ้นปี 2544 เป็นต้นมา ยังเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญที่ท�ำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนือ่ งจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทีม่ มี ากขึน้ อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เป็นต้น ท�ำให้ภาคการส่งออกกลายมาเป็น กลไกหลักในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ โดยมูลค่าการส่งออกจีนหลังเปิดประเทศถึงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก (ปี 25442551) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.1 ต่อปี (ภาพที่ 5)

http://www.treasury.gov.au/PublicationsAndMedia/Publications/2011/Chinese-Macroeconomic-Management-Through-the-Crisis-and-Beyond/ working-paper-2011-01/Chinas-stimulus-package

4

56


ภาพที่ 5 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและมูลค่าส่งออกสินค้าของจีน ตั้งแต่ปี 2532-2557

ที่มา : CEIC ค�ำนวณโดย สศค.

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกปี 2551-2552 รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้นการลงทุนในประเทศวงเงิน 4 ล้านล้านหยวน (586 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติที่ท�ำ ให้ ภาคการส่งออกหดตัว อีกทั้งมีแผนพัฒนาเมือง 14 เมืองในส่วนภูมิภาคและ 3 มณฑลบริเวณชายฝั่ง ส่งผลให้เศรษฐกิจจีน ยังขยายตัวต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤติ นอกจากการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว จีนยังมีแผนปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในระยะกลางและระยะยาว กล่าวคือ มาตรการ “Two 100s” ระยะเวลา 6 ปี (2558-2564) เป็นการสร้างความแข็งแกร่ง ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการ “Made in China 2025” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ การผลิตสินค้าคุณภาพสูง (High-end Product) ซึ่งคาดว่าจะประสบความส�ำเร็จในอีก 10 ปีข้างหน้า หากมาตรการเหล่านี้ ประสบความส�ำเร็จ เศรษฐกิจจีนจะสามารถขยายตัวไปได้พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งจะท�ำให้จีนขึ้นมา อยู่แนวหน้าของผู้น�ำเศรษฐกิจโลกในทศวรรษนี้ อย่างไรก็ตามการเร่งพัฒนาเมืองชายฝั่งท�ำให้ความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมาตรการ สนับสนุนการลงทุนกลับท�ำให้การลงทุนในประเทศขยายตัวร้อนแรงเกินไป จนท�ำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์จนี จนกระทัง่ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จนี ดิง่ ลงอย่างรวดเร็ว ซึง่ อาจส่งผลกระทบ สู่ภาคเศรษฐกิจจริงผ่านช่องทางความมั่งคั่ง (Wealth Effect) ตลอดจนผลกระทบทางจิตวิทยาท�ำให้ความเชื่อมั่นในการบริโภค ของภาคครัวเรือนชะลอลง ซึ่งจะเป็นปัญหาส�ำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงต่อไป นอกจากนี้จีนยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างประชากรที่ก�ำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีก 1 ทศวรรษข้างหน้า (ภาพที่ 6) เนื่องจากนโยบายลูกคนเดียว หรือ One-Child Policy ท�ำให้แรงงานจีนในอนาคตมีจ�ำนวนลดลง และต้องรับภาระการพึ่งพา (Dependency) ของประชากรจีนวัยชรามากขึ้น ในช่วงปลายปี 2556 รัฐบาลจีนจึงได้ผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวโดยอนุญาต ให้ครอบครัวหนึ่งมีบุตรได้ 2 คน (Two-Child Policy) เพื่อบรรเทาปัญหานี้ ภาพที่ 6 โครงสร้างอายุของประชากรจีนปี 2557

ที่มา : http://www.indexmundi.com/china/age_structure.html

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

57


ดังนั้น จีนยังคงอยู่ในยุคทองที่เศรษฐกิจขยายตัวในระดับค่อนข้างสูง แต่มีความจ�ำเป็นต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน ในตลาดหลักทรัพย์ ซึง่ อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสัน้ และแก้ปญ ั หาเชิงโครงสร้างประชากรเพือ่ รองรับ การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อรักษาต�ำแหน่งผู้น�ำเศรษฐกิจโลกคนใหม่ต่อไป 4.2 อินเดีย : คลื่นลูกใหม่ ปัจจุบนั อินเดียมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกมากขึน้ โดยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขนึ้ จากอันดับที่ 13 เมือ่ 10 ปีกอ่ น มาอยู่ อันดับที่ 7 ของโลกในปัจจุบัน ด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 14.5 ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2548-2557) นอกจากนีอ้ งค์การเพือ่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) คาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจอินเดียจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร้อยละ 11 ของ GDP โลก จากร้อยละ 6 ในปัจจุบัน สวนทางกับสหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น (ภาพที่ 7)

ภาพที่ 7 โครงสร้างเศรษฐกิจโลก ปี 2554 และปี 2573

ที่มา : OECD

การพัฒนาศักยภาพประชากรคือกุญแจส�ำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย โดยรัฐบาลเห็นความส�ำคัญของ ประชากรอินเดียทีม่ มี ากถึง 1.27 พันล้านคน (อันดับที่ 2 ของโลก รองจากจีน) และมีอตั ราการเพิม่ ของประชากรเฉลีย่ ร้อยละ 1.31 ต่อปีในช่วงปี 2548-2557 สูงกว่าจีนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.51 ซึ่งคาดว่าจะท�ำให้ประชากรอินเดียเพิ่มขึ้นและมีจ�ำนวนมากที่สุดในโลก ในไม่ช้า อีกทั้งอินเดียยังเป็นสังคมวัยแรงงานอายุเฉลี่ยเพียง 27 ปี 5 รัฐบาลอินเดียจึงเน้นการพัฒนาคุณภาพประชากรผ่าน นโยบายสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้เงินอุดหนุนสถาบันการศึกษาในชนบทและการจ�ำหน่ายหนังสือเรียนใน ราคาถูก เป็นต้น รวมถึงได้รว่ มมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) มากว่า 60 ปีเพื่อให้ประชากรเข้าถึงระบบการศึกษามากขึ้นและเท่าเทียม และเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา รัฐบาล อินเดียยังได้ออกแผน “Skill India” เพือ่ พัฒนาทักษะแรงงานด้วยการเปิดอบรมการเขียนประวัตยิ อ่ (Resume) ส�ำหรับสมัครงาน และร่วมพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมถึงการรับสมัครงานกับผู้ประกอบการ SMEs6 นอกจากนี้ประชากรอินเดีย ยังได้เปรียบด้านการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และท�ำให้ปัจจุบันภาคบริการด้านวิชาการ การเงิน และอสังหาริมทรัพย์กลายเป็นกลจักรหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดียรองจากภาคอุตสาหกรรม

http://www.worldometers.info/world-population/india-population/ http://www.skillindia.in/aboutus.php

5 6

58


นอกจากนี้รัฐบาลปัจจุบันยังได้ออกแผน “Digital India” เพื่อปฏิรูปด้านเทคโนโลยี และแผน “Make in India” เพื่อปฏิรูปด้านการผลิตและการลงทุน โดยแผน Digital India จะช่วยลดต้นทุนการด�ำเนินธุรกิจ จากการเพิ่มการเข้าถึง สัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่สาธารณะ และจัดท�ำระบบ E-Commerce ระบบ E-Governance และระบบ E-Market ขณะที่ แผน Make in India จะเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม 25 ภาคส่วน อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ การก่อสร้าง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการแปรรูปอาหาร เป็นต้น เพื่อให้อินเดียเป็นฐานการผลิตของโลก7 นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาเมือง อุตสาหกรรม 24 เมือง ด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง โดยมีระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงในประเทศรองรับ อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงมีอปุ สรรคด้านการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานในพืน้ ทีห่ า่ งไกลและกันดาร ทีย่ งั ไม่สามารถ รองรับความต้องการของประชากรในประเทศได้ทั้งหมด และต้นทุนด้านขนส่งก็ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะท�ำให้ต้นทุนราคาสินค้า และบริการในประเทศสูงตามไปด้วย ดังนัน้ แผนการปฏิรปู เศรษฐกิจและการพัฒนาศักยภาพแรงงานทีท่ างการอินเดียด�ำเนินการอยู่ จะเป็นหัวใจส�ำคัญ ที่ส่งผลให้อินเดียกลายเป็นผู้น�ำเศรษฐกิจโลกที่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรง มีแนวโน้มเติบโตได้อีกไกล

5. ไทยเราจะท�ำอย่างไร ส�ำหรับไทยซึง่ เป็นประเทศเศรษฐกิจเปิด ด้วยสัดส่วนการเปิดประเทศถึงร้อยละ 147.0 ของ GDP โดยมีสดั ส่วนการส่งออก สินค้าและบริการคิดเป็นร้อยละ 77.1 ของ GDP การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและการเงินของโลกจึงมีบทบาทต่อการส่งออกและ การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ไทยได้ปรับตัวต่อด้วยการลดสัดส่วนการส่งออกไปยังกลุ่ม G3 เดิม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.4 ในช่วง 10 ปีก่อนมา อยู่ที่ร้อยละ 30.2 ของมูลค่าส่งออกไทยรวม และได้เพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 11.0 ท�ำให้จนี กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย อย่างไรก็ตามไทยยังคงมีสดั ส่วนการส่งออกไปยังอินเดียในระดับต�ำ่ เพียงร้อยละ 2.5 ในปัจจุบัน จึงยังมีช่องทางในการสนับสนุนการส่งออกด้วยการเพิ่มปริมาณส่งออกไปยังอินเดียให้เพิ่มขึ้นได้

ภาพที่ 8 โครงสร้างตลาดการส่งออกหลักของไทยปี 2541-2557

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.

http://www.makeinindia.com/

7

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

59


หากพิจารณาลงรายสินค้าพบว่า สินค้าส่งออกส�ำคัญของไทยไปยังอินเดียส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดบิ และสินค้าขัน้ กลาง (ตารางที่ 1) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (Thailand-India Free Trade Agreement : TIFTA) และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (ASEAN-India Free Trade Agreement : AIFTA) ท�ำให้ปริมาณ การส่งออกไทยในอินเดียมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามการสนับสนุนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายก็มีความจ�ำเป็นเพื่อรองรับอุปสงค์ อินเดียที่จะเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอินเดีย ส�ำหรับการลงทุนโดยตรงของไทยไปยังอินเดียพบว่ายังคงอยูใ่ นระดับต�ำ่ โดยในปี 2557 ไทยเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดีย ทัง้ สิน้ 1.5 พันล้านรูปี หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอินเดียเท่านัน้ ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นบริษทั ขนาดใหญ่ เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเม้นต์ ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ ไทยซัมมิท เดลต้าอิเล็กทรอนิกส์ และ พรานทะเล เป็นต้น 8 ดังนั้นการส่งเสริมให้ไทยเข้าไปลงทุนในอินเดียซึ่งอุปสงค์ในประเทศอยู่ระหว่างขยายตัวจะเป็นประโยชน์ ให้รายได้ของผู้ประกอบการไทยเพิ่มขึ้น

ตารางที่ 1 สินค้าส่งออกของไทยไปยังอินเดียที่ส�ำคัญ

หมวดสินค้า

มูลค่า ปี 2557 สัดส่วน ปี 2557 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) (ร้อยละ) 2556 2557

1. เคมีภัณฑ์ 2. เม็ดพลาสติก 3. อัญมณีและเครื่องประดับ 4. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 5. รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ สินค้าอื่นๆ รวม

607 582 352 311 311 3,452 5,615

10.8 10.4 6.3 5.5 5.5 61.5 100.0

-13.0 4.1 -2.3 -12.2 -7.7 -4.7 -5.3

20.7 21.2 -7.3 -7.1 12.9 7.6 8.4

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.

6. บทสรุป กระแสผู้น�ำโลกเก่าที่เริ่มส่งไม้ที่ชื่อว่า “เศรษฐกิจโลก” ไปยังผู้น�ำคนใหม่ เป็นกระแสที่ไทยจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญ เนือ่ งจากไทยนัน้ เป็นประเทศเศรษฐกิจทีพ่ งึ่ พาการส่งออกเป็นหลัก การเปลีย่ นมือของผูน้ ำ� เศรษฐกิจโลกจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นไทยจึงจ�ำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ จากที่เคยพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศผู้น�ำเดิม ให้กระจาย มาสู่ประเทศผู้น�ำหน้าใหม่ โดยเฉพาะอินเดียที่มีสัดส่วนการส่งออกไทยค่อนข้างน้อย เพื่อให้เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัว ไปได้ ในขณะที่เศรษฐกิจผู้น�ำเดิมชะลอตัวลง และเศรษฐกิจของผู้น�ำใหม่ก�ำลังเติบโตได้อย่างดีในขณะนี้

http://www.thaiembassy.org/chennai/th/news/4112/50093

8

60


บทวิเคราะห์ เรื่อง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว-เครื่องยนต์ส�ำคัญ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 1

บทสรุปผู้บริหาร

ภาคการท่องเทีย่ วเป็นหนึง่ ในภาคเศรษฐกิจทีม่ บี ทบาทส�ำคัญของประเทศไทย โดยในปี 2557 สร้างรายได้จากการเยีย่ มเยือนทัง้ คนไทยและต่างชาติ สูงถึงร้อยละ 10.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาปีปจั จุบนั และมีความเชือ่ มโยงต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายๆ ช่องทาง ทัง้ ทางด้านการใช้จา่ ย และการผลิต รวมถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจผ่านการจ้างแรงงานและดุลบัญชีเดินสะพัด ❍❍ สถานการณ์การท่องเที่ยวล่าสุด ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 นักท่องเที่ยวไทยมีการขยายตัว ร้อยละ 10.8 ต่อปี สร้างรายได้จากการเยีย่ มเยือนชาวไทยแล้ว 3.13 แสนล้านบาท ขณะทีน่ กั ท่องเทีย่ วต่างประเทศ ขยายตัวต่อเนื่องเช่นกันที่ร้อยละ 30.9 ต่อปี สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวต่างประเทศ 8.26 แสนล้านบาท ❍❍ แนวโน้มการเติบโตของการท่องเทีย ่ วโลกในอนาคตมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี 2563 จะมีนกั ท่องเทีย่ วระหว่างประเทศจ�ำนวน 1,600 ล้านคนทัว่ โลก โดยกลุม่ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นจุดหมายทีม่ ผี นู้ ยิ มเดินทางเข้ามาเพิม่ ขึน้ ท�ำให้อตุ สาหกรรมการท่องเทีย่ วไทยมีแนวโน้มการเพิม่ ขึน้ เช่นกัน ซึง่ สอดคล้องกับอัตราการเติบโตจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วต่างชาติของไทยเฉลีย่ สะสมต่อปี (Compound Annual Growth Rate : CAGR) ช่วงปี 2552-2557 ที่สูงถึงร้อยละ 9.8 ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ❍❍ ประเทศไทยมีจุดแข็ง จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่เหมาะสมส�ำหรับการพัฒนา การท่องเทีย่ ว เนือ่ งจากเป็นจุดศูนย์กลางของภูมภิ าคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะทีจ่ ดุ อ่อนทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ การขาดความเชือ่ มโยงระหว่างเส้นทางคมนาคมและระบบเชือ่ มโยงการเดินทางท่องเทีย่ วระหว่างเมืองท่องเทีย่ ว หลักและเมืองรอง และความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวเนื่องจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวโดยที่เน้น ปริมาณนักท่องเทีย่ ว อย่างไรก็ดี นักท่องเทีย่ วทีเ่ พิม่ ขึน้ มาจากกลุม่ ตลาดนักท่องเทีย่ วต่างชาติทแี่ ตกต่างกัน จึงท�ำให้ มีพฤติกรรม รูปแบบการท่องเทีย่ วทีแ่ ตกต่างกัน ท�ำให้สง่ ผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วทีแ่ ตกต่างกันไป ดังนัน้ ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องศึกษาผลกระทบหรือสิ่งที่ได้รับจากนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มมาประกอบการพิจารณาใน การวางแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว รวมถึงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มตลาดที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป ❍❍

1. ความส�ำคัญของภาคการท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทส�ำคัญของประเทศไทย สะท้อนได้จากในปี 2557 การเดินทาง ท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศสร้างรายได้จากการเยี่ยมเยือนทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 10.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาปีปัจจุบัน (Nominal Gross Domestic Product : NGDP) นอกจากนี้ ภาคการท่องเทีย่ วมีความเชือ่ มโยงต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายช่องทาง ทัง้ ทางด้านการใช้จา่ ย (Demand-side) และการผลิต (Supply side) ประกอบกับมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายใน (Internal stability) และภายนอก (External stability) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ (1) เศรษฐกิจด้านการใช้จ่าย ภาคการท่องเที่ยวมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายผ่านการส่งออกบริการ โดยการท่องเทีย่ วของชาวต่างชาติภายในประเทศจะมีสว่ นส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการส่งออกบริการทีส่ ำ� คัญ ซึง่ มีสดั ส่วนคิดเป็น ร้อยละ 63.9 ของการส่งออกบริการ ทั้งนี้ ในปี 2557 การส่งออกบริการของไทยหดตัวร้อยละ -2.5 จากปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้เขียน นางสาวคงขวัญ ศิลา เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท และ ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

61


จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ -6.7 จากปีก่อน นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวยังมีส่วนส�ำคัญในการเชื่อมโยงกับการบริโภค ภาคเอกชนผ่านการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว (2) เศรษฐกิจด้านการผลิต ภาคการท่องเที่ยวมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ด้านการผลิตผ่านภาคบริการโรงแรมและ ภัตตาคาร โดยในปี 2557 ภาคบริการโรงแรมและภัตตาคารหดตัวร้อยละ -2.9 จากปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับจ�ำนวนนักท่องเที่ยว ที่ลดลง (3) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ภาคการท่องเทีย่ วจะมีการเชือ่ มโยงกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายใน ประเทศผ่านการจ้างงาน โดยมีการจ้างแรงงานในภาคการท่องเทีย่ วและอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งประมาณ 9.2 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 26.2 ของก�ำลังแรงงานรวม เช่น การจ้างแรงงานในหมวดโรงแรมและภัตตาคาร 2.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.7 ของ ก�ำลังแรงงานรวม (4) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ทัง้ นี้ การทีภ่ าคการท่องเทีย่ วมีการเชือ่ มโยงกับเศรษฐกิจด้านการใช้จา่ ย ผ่านการส่งออกบริการ จะส่งผลกระทบโดยตรงกับดุลบริการ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของดุลบัญชีเดินสะพัดทีส่ ะท้อนธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ โดยในปี 2557 ประเทศไทยเกินดุลการค้าประมาณ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับลดลงถึงร้อยละ -43.2 จาก ปีกอ่ น โดยในส่วนของค่าการท่องเทีย่ วประเทศไทยเกินดุลถึง 31.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับลดลงถึงร้อยละ -11.0 จากปีกอ่ น

2. สถานการณ์นักท่องเที่ยวล่าสุด 2.1 การท่องเที่ยวในประเทศ ข้อมูลล่าสุดในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 นักท่องเที่ยวไทยมีจ�ำนวนการเยี่ยมเยือนทั้งสิ้น 94.97 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัว ร้อยละ 10.8 ต่อปี สร้างรายได้จากการเยี่ยมเยือนชาวไทยแล้ว 3.13 แสนล้านบาท ขยายตัว 16.9 ต่อปี เป็นผลจากการขยายตัว อย่างมากของรายได้ในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ 2.2 การท่องเที่ยวต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 พบว่า มีจำ� นวนนักท่องเทีย่ วต่างประเทศทีเ่ ดินทางเข้าประเทศไทยทัง้ สิน้ 17.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 30.9 ต่อปี สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวต่างประเทศ 8.26 แสนล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 31.9 ต่อปี โดยเป็นการเพิม่ ขึน้ ของรายได้ในเกือบทุกภูมภิ าค โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก ยกเว้นยุโรปทีร่ ายได้หดตัวตามการลดลง ของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซียที่ลดลง ตารางที่ 1 จ�ำนวนและการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศปี 2558 นักท่องเที่ยวต่างประเทศ รายได้จาก ค่าใช้จ่าย ปี (พ.ศ.) (ล้านคน) การท่องเที่ยวต่างประเทศ ต่อครั้งต่อหัว จ�ำนวน (คน) % YoY จ�ำนวน (ล้านบาท) % YoY 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 7 เดือนแรก ปี 2558

14,464,228 14,584,220 14,149,841 15,936,400 19,230,470 22,353,903 26,546,725 24,779,768

ร้อยละของรายได้ จากการท่องเที่ยว ต่างประเทศ/NGDP

+4.65 +0.83 -2.98 +12.63 +20.67 +16.24 +18.76 -6.66

547,781.81 574,520.52 510,255.05 529,794.09 776,217.20 983,928.36 1,207,145.82 1,147,653.49

+13.57 +4.88 -11.19 +16.18 +30.94 +26.76 +22.69 -4.93

38,871 39,393 36,060 37,197 40,364 44,016 45,472 46,314

6.0 5.9 5.3 4.9 6.9 8.0 9.4 8.7

17,504,204 +30.9

826,867.0

+31.9

47,250

10.4*

ที่มา : กรมการท่องเที่ยว หมายเหตุ : * ข้อมูลร้อยละของรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศต่อของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาปีปัจจุบัน (NGDP) ช่วงครึ่งปีแรกปี 2558

62


2.3 แนวโน้มสถานการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต ปัจจุบันแนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับสากลเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่ง สหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization : UNWTO) พยากรณ์วา่ ในปี 2563 ทัว่ โลกจะมีนกั ท่องเทีย่ วระหว่าง ประเทศจ�ำนวน 1,600 ล้านคน โดยภูมิภาคที่มีแนวโน้มเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมคือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีผู้นิยมเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จ�ำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2556 มีจ�ำนวน 1,087 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จ�ำนวน 52 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.02 โดยแบ่งเป็นนักท่องเที่ยวในภูมิภาคยุโรป จ�ำนวน 563.8 ล้านคน เอเชียและแปซิฟิก จ�ำนวน 248.7 ล้านคน อเมริกา จ�ำนวน 168.2 ล้านคน แอฟริกา จ�ำนวน 55.9 ล้านคน และตะวันออกกลาง จ�ำนวน 50.8 ล้านคน และจากข้อมูลสถิตขิ อง UNWTO พบว่า ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 233 ล้านคนในปี 2555 เป็น 248.7 ล้านคน ในปี 2556 หรือเพิม่ ขึน้ ประมาณร้อยละ 6.5 โดยภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มจี ำ� นวนนักท่องเทีย่ วระหว่างประเทศขยายตัวเพิม่ ขึน้ จาก 84.2 ล้านคนในปี 2555 เป็น 93.1 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.6 ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัว ของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่สูงที่สุดในโลก (UNWTO, 2014) ภาพที่ 1 International Tourist Arrivals by (Sub) region : (% Change)

ที่มา : World Tourism Organization (UNWTO, 2014)

ภาพที่ 2 อัตราการเติบโตจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.4 สถานการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เฉลี่ยสะสมต่อปี Compound Annual Growth Rate (CAGR) ไทยในอนาคต ช่วงปี 2552-2557 จ� ำ นวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้ทมี่ มี ากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้ปจั จุบนั อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก จ�ำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่ม สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยนับจากปี 2552-2557 มีอัตราการ เติบโตเฉลีย่ (CAGR) สูงถึงร้อยละ 9.8 ต่อปี และมีแนวโน้ม ต่อเนื่อง ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มตลาด นักท่องเที่ยวต่างชาติที่แตกต่างกัน จึงท�ำให้มีพฤติกรรม รู ป แบบการท่ อ งเที่ ย วที่ แ ตกต่ า งกั น ท� ำ ให้ ส ่ ง ผลต่ อ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วที่ แ ตกต่ า งกั น ไป ดั ง นั้ น ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องศึกษาผลกระทบหรือสิ่งที่ได้รับ จากนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มมาประกอบการพิจารณาในการวางแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวรวมถึงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของอุตสาหกรรมท่องเทีย่ วไทย เพือ่ ตอบสนองต่อกลุม่ ตลาดทีแ่ ตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้นต่อไป ประมาณการเศรษฐกิจไทย

63


3. การวิเคราะห์ SWOT Analysis อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย การวิเคราะห์ SWOT Analysis อุตสาหกรรมท่องเทีย่ วไทย สามารถสรุปเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ได้ดงั นี้ จุดแข็ง : Strength 1. รัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการท่องเที่ยว 2. ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความมี อัธยาศัยไมตรีของคนไทยเป็นจุดแข็งที่ส�ำคัญของประเทศ 3. การลงทุนภาคบริการของภาคเอกชนไทยอยู่ในระดับสูง มีความหลากหลายในสินค้าและบริการท่องเที่ยว 4. มีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกด้านการท่องเที่ยว 5. ประเทศไทยมีประสบการณ์ด้านการตลาดต่างประเทศ มากกว่าประเทศก�ำลังพัฒนาอื่น 6. ประเทศไทยเป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางของภู มิ ภ าคแถบเอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประตูสู่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น�้ำโขง 7. จุดดึงดูดใจที่เป็นเอกลักษณ์และนวัตกรรมด้านการบริการ ที่ใหม่ๆ เช่น มวยไทย สปา การให้บริการด้านสุขภาพ ความงาม เป็นต้น

โอกาส : Opportunity 1. แนวโน้ม การเติบโตของกลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ท�ำให้นักท่องเที่ยวมีจ�ำนวนมากขึ้น 2. กระแสความนิยมท่องเทีย่ วทางเลือก การขยายตัวของตลาด การท่องเที่ยวเฉพาะทาง และนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 3. การเปิดเส้นทางเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค เช่น GMS IMT-GT ACMECS และ BIMSTEC 2 เป็นต้น การขยายตัวของ สายการบิ น ต้ น ทุ น ต�่ ำ และนั ก ท่ อ งเที่ ย วนิ ย มเดิ น ทาง ท่องเที่ยวระยะใกล้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ท�ำให้ เข้าถึงกลุม่ นักท่องเทีย่ วได้ดยี งิ่ ขึน้ รวมทัง้ การจัดท�ำข้อตกลง ระหว่างประเทศและพันธกรณีต่างๆ ท�ำให้ไทยมีศักยภาพ ในการแข่งขัน 5. ความร่วมมือระหว่างประเทศในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุม โรค การแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน และการรับมือกับ ภัยพิบัติต่างๆ ท�ำให้เกิดความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว

จุดอ่อน : Weakness 1. ประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องของระบบโลจิสติกส์ 2. ความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว 3. กลไกของรั ฐ เพื่ อ จั ด การการท่ อ งเที่ ย วยั ง อ่ อ นแอ ขาด เอกภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. มี ภ าพลั ก ษณ์ ด ้ า นลบเรื่ อ งความปลอดภั ย การเอารั ด เอาเปรียบและหลอกลวงนักท่องเทีย่ ว สินค้าทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพ โสเภณี การค้ามนุษย์ และโรคเอดส์ 5. ขาดแคลนบุคลากรด้านการท่องเทีย่ วโดยเฉพาะมัคคุเทศก์ ที่มีความรู้ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ 6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนขาดความรู้ด้าน การจัดการภูมิทัศน์และการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว ในระดับท้องถิ่น 7. การท�ำธุรกรรมผ่าน E-commerce ยังไม่แพร่หลาย 8. แหล่งท่องเที่ยวไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ ขาดการพัฒนาและ สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 9. อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วไทยส่ ว นใหญ่ เ ป็ น อุ ต สาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อมขาดการรวมกลุ่ม อุปสรรค : Threat 1. การแข่งขันและแย่งชิงในตลาดการท่องเทีย่ วโลก มีแนวโน้ม สูงขึ้น 2. ภาวะเศรษฐกิจโลกมีความผันผวน ไม่แน่นอน เป็นสาเหตุ ให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจไม่เดินทางท่องเที่ยวหรือมีการใช้ จ่ายน้อยลง 3. การก่ อการร้ า ยระหว่ า งประเทศ ที่ ยัง คงมี ปั ญ หาอยู ่ ใน หลายภูมิภาคของโลก 4. ภัยธรรมชาติและการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของโลก รวมถึงภัยจากโรคระบาด 5. การแข่งขันเพื่อเป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติ 6. การแข่งขันระหว่างบุคลากรในอาเซียน

ที่มา : แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 Greater Mekong Sub region (GMS), Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT), Aeyawadee-Chaopraya-Mekong Economic Corporation (ACMECS), Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC)

2

64


นอกจากนีผ้ ลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเทีย่ วในปี 2558 ของ World Economic Forum พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 141 ประเทศ (ดีขึ้นจากอันดับที่ 43 ในปี 2556) และเป็นอันดับที่ 10 ในเอเชียแปซิฟิก และอันดับที่ 3 ในอาเซียน เป็นรองประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยด้านที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ (อันดับที่ 16) โครงสร้างพืน้ ฐานการขนส่งทางอากาศ (อันดับที่ 17) และการบริการทางการท่องเทีย่ ว (อันดับที่ 21) ส่วนด้านที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันต�่ำได้แก่ ความปลอดภัย (อันดับที่ 132) ปัญหาสิ่งแวดล้อม (อันดับที่ 116) ความสะอาดและสาธารณสุข (อันดับที่ 89) และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางบกและทางน�้ำ (อันดับที่ 71) ภาพที่ 2 คะแนนความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวของไทยในด้านต่างๆ เทียบกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ที่มา : World Economic Forum (2015)

4. การวิเคราะห์เชิงนโยบาย จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเทีย่ วมีบทบาทส�ำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ เช่น ด้านการใช้จา่ ย ผ่านการส่งออกบริการ และด้านการผลิตผ่านภาคบริการโรงแรมและภัตตาคาร เป็นต้น ประกอบกับประเทศไทยมีจุดแข็ง ได้แก่ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเหมาะสมส�ำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่มีจุดอ่อนที่ส�ำคัญ ได้แก่ การขาดความเชื่อมโยงระหว่างเส้นทางคมนาคมและระบบเชื่อมโยง การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างเมืองท่องเที่ยวหลักและเมืองรอง และความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวเนื่องจากการขยายตัว ของการท่องเที่ยวโดยที่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยว ส�ำหรับแนวโน้มการเติบโตของการท่องเที่ยวโลกในอนาคตมีแนวโน้มขยายตัว อย่างต่อเนือ่ ง แต่ตอ้ งเผชิญกับการแข่งขันทีร่ นุ แรงมากขึน้ จึงเห็นสมควรเสนอแนะแนวทางพัฒนาภาคการท่องเทีย่ วของไทย ดังนี้ 4.1 ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ และสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว การสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมและระบบเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวกับ ประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศให้มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้เอื้ออํานวยความสะดวกแก่คนทุกกลุ่ม 4.2 ควรมีการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมให้มี ความสมบูรณ์ดังเดิม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน การพัฒนาการท่องเที่ยวในลักษณะของกลุ่มการท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงระหว่างแหล่งท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวรอง และยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยวให้มี ประมาณการเศรษฐกิจไทย

65


มาตรฐานในระดับสากล และสอดคล้องกับกระแสการเปลีย่ นแปลงของโลก ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของชุมชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาท่องเที่ยวเพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวได้ 4.3 ควรมีการพัฒนาสินค้า บริการ และปัจจัยสนับสนุนการท่องเทีย่ ว โดยมุง่ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กิจกรรม นวัตกรรม และมูลค่าเพิม่ ด้านการท่องเทีย่ ว การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้นกั ท่องเทีย่ ว การเสริมสร้างความเข้มแข็งและ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างโอกาสและแรงจูงใจเพื่อพัฒนา การค้า การลงทุนด้านการท่องเที่ยว ให้สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ 4.4 ควรมีการสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นเผยแพร่ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว สร้าง สภาพแวดล้อมและพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวรับรู้และเข้าใจในภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สร้างกระแสการรับรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการท่องเที่ยว การด�ำเนินการ ตลาดเชิงรุกเพือ่ ประมูลสิทธิ์ ดึงงาน และจัดงานแสดงต่างๆ (Event) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเทีย่ วในประเทศไทย โดยมี เป้าหมายเพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ วเดินทางเข้ามาท่องเทีย่ วในประเทศไทยมากขึน้ มีการใช้จา่ ยมากขึน้ และสร้างกระแส การท่องเทีย่ ว ภายในประเทศมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4.5 ควรมีการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรปกครอง ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนากลไกในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อให้การด�ำเนินงานด้าน การท่องเที่ยวมีเอกภาพ มีการบูรณาการร่วมกัน ลดความซ�้ำซ้อนของภารกิจ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม การบริหารจัดการในทุกระดับ 4.6 ควรมีการออกมาตรการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและเกิดความแออัดอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมจ�ำนวนนักท่องเที่ยว การจัดระเบียบการเข้าชมของนักท่องเที่ยว และการออกกฎระเบียบต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว 4.7 ควรมีการส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยในการท่องเทีย่ วซึง่ เป็นปัจจัยทีน่ กั ท่องเทีย่ ว ทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความส�ำคัญในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวและเห็นว่าควรต้องได้รับการพัฒนา และจะเป็น ส่วนส�ำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวได้ในอนาคต 4.8 ควรมีการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของการท่องเทีย่ วในประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วใหม่ การพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางบก (ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานการให้บริการ) และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นด้านที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันต�่ำ โดยควรเน้นการพัฒนาให้เกิดการกระจายของการท่องเที่ยวไปยัง พืน้ ทีต่ า่ งๆ ให้ทวั่ ถึง รวมถึงมีการพัฒนาบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกับท่องเทีย่ วทีจ่ ำ� เป็น เช่น มัคคุเทศก์ และเจ้าหน้าทีส่ นามบิน เป็นต้น จากแนวทางดังกล่าวข้างต้น หากรัฐบาลให้การสนับสนุนผ่านมาตรการทางด้านการคลัง เช่น การใช้จา่ ยงบประมาณของ รัฐบาล โดยเฉพาะงบประมาณการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ตลอดจนการมีมาตรการ ทางภาษีที่สนับสนุนการท่องเที่ยวของประชาชนภายในประเทศ และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ จะมี ส่วนส�ำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งจะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างยั่งยืนต่อไป

66


บทวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐกิจไทยติดหล่มต้องแก้ที่โครงสร้าง

1

บทสรุปผู้บริหาร

การจะท�ำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องไปอีก 10-20 ปี ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องปลดล็อก ข้อจ�ำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้หมด โดยการปลดล็อกข้อจ�ำกัดดังกล่าว ประกอบด้วย 1. ขยายถังน�้ำ ระบบโลจิสติกส์ 2. ขยายถังน�้ำการค้าทางทะเล 3. ขยายถังน�้ำการค้าบนบก 4. ขยายถังน�้ำเพือ่ ลดความเหลื่อมล�้ำ อันเกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจ 5. ขยายถังน�้ำเพื่อลดความล้าหลังด้านอุตสาหกรรม 6. ขยายถังน�้ำให้ SMEs เป็น IDEs หรือ Innovation Driven Enterprise 7. ขยายถังน�้ำเพื่อกระจายหัวเมืองเศรษฐกิจ 8. ขยายถังน�้ำเพื่อ เพิ่มผลิตภาพการผลิต 9. ขยายถังน�้ำเพื่อเพิ่มช่องทางการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และ 10. ขยายถังน�้ำเพื่อ เพิ่มการลงทุนภาครัฐรายจังหวัด ❍❍ การขยายถังน�ำ ้ หรือปลดล็อกข้อจ�ำกัดเชิงโครงสร้างของประเทศไทยทัง้ 10 ข้อนี้ เป็นการเปลีย่ น Mode ไปขับเคลือ่ น GDP ด้านอุปทาน (Supply Side) บ้าง หลังจากถูกละเลยมานาน โดยเฉพาะช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากเศรษฐกิจไทยมุง่ เน้นการกระตุน้ เศรษฐกิจด้าน Demand มากเกินไป หากปลดล็อกได้ นอกจากเศรษฐกิจไทย จะบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ด้านข้างต้น คือ 1) การก้าวสู่ประเทศ High Income Country (รายได้ขั้นต�่ำคือ 12,736 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) หรืออย่างน้อยก็ขนึ้ ไปอยูแ่ ถวหน้าของ Upper Middle Income Country (ปี 2557 ไทยมีรายได้ที่ 5,560 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) 2) การมีอันดับขีดความสามารถสูงขึ้นจากเดิมที่อยู่ราวๆ 20 ปลายๆ ถึง 30 ต้นๆ และ 3) ความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจลดลง และลดลงแบบหน้ากระดานคือลดลงทุกภูมิภาคแล้ว ยังยกระดับ เศรษฐกิจไทยขึ้นไปขยายตัวต่อเนื่องบน Platform ใหม่ได้อีกหลายสิบปี ไม่ต้องเติบโตช้าๆ แบบ New Normal แบบที่เขาว่ากัน ❍❍

บทน�ำ หากเป้าหมายของเศรษฐกิจไทยคือ 1) การขึน้ สูป่ ระเทศพัฒนาแล้ว 2) การเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และ 3) การลด ความเหลื่อมล�้ำ การไปถึงจุดนั้นได้จ�ำเป็นต้องปลดล็อกเศรษฐกิจด้านอุปทานก่อน ไม่ใช่เอาแต่กระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ อย่างเดียว จริงอยู่ที่การกระตุ้นเศรษฐกิจมีความส�ำคัญ แต่ถ้ากระตุ้นอยู่เรื่อยๆ จะไม่มีงบประมาณมาแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ข้อจ�ำกัดด้านอุปทานคืออะไร? ให้นึกถึงทฤษฎีก็อกน�้ำกับถังน�้ำ การกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุปสงค์เปรียบเสมือนการเปิด ก็อกน�ำ้ ให้สดุ น�ำ้ (เม็ดเงิน) ก็จะไหลลงถังน�้ำ สักพักน�ำ้ ก็เต็ม เศรษฐกิจก็เติบโตขึน้ (เหมาะกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ) แต่ไม่นานน�้ำจะ ถูกใช้จนหมด เผลอๆ น�ำ้ ในแทงค์อาจไม่เหลือให้ปล่อยอีก (หมดเงินอัดฉีด) ดังนัน้ การจะท�ำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ งไปอีก 10-20 ปี จ�ำเป็นต้องขยายถังน�้ำ อะไรที่เป็นข้อจ�ำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจต้องขยายให้หมด ซึ่งประกอบด้วย 10 เรื่อง 1. ขยายถังน�ำ้ ระบบโลจิสติกส์ : ปัจจุบนั เราพึง่ พาการขนส่งทางถนนร้อยละ 88 ของการขนส่งทัง้ หมด พึง่ พาทางน�ำ้ ร้อยละ 11 ระบบรางร้อยละ 1 และที่เหลือไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นการขนส่งทางอากาศ จะเห็นว่าเราพึ่งพาการขนส่งทางน�้ำและระบบราง น้อยเกินไป ทั้งๆ ที่ต้นทุนทางน�้ำและรางต�่ำเพียง 0.65 และ 0.95 บาท/ตัน-กิโลเมตร ในขณะที่ต้นทุนทางถนนสูงถึง 2.12 บาท/ ตัน-กิโลเมตร ตัวชีว้ ดั ระดับโลกทีแ่ สดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของเราคือ อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันทีจ่ ดั โดยค่าย WEF หรือ World Economic Forum เราอ่อนทุกด้าน ถนน (อันดับที่ 50 ของโลก แพ้สิงคโปร์ 6 และมาเลเซีย 19) ราง (อันดับที่ 74 ของโลก แพ้มาเลเซีย 12 อินโดนีเซีย 41 และเวียดนาม 52) ท่าเรือ (อันดับที่ 54 ของโลก แพ้สิงคโปร์ 2 และมาเลเซีย 19) และสนามบิน (อันดับที่ 37 ของโลก แพ้สิงคโปร์ 1 และมาเลเซีย 19) ดังนั้น เราต้อง 1) เร่งเพิ่มระบบรางในทุกภูมิภาค 2) เพิ่มศักยภาพท่าเรือ ผู้เขียน : ส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เนื้อหาบางส่วนในบทวิเคราะห์เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ต้นสังกัดแต่อย่างใด ขอขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

67


ชายฝั่งทั้ง 2 ฝั่งทะเล 3) เชื่อมโยงระบบ logistics ทั้งหมดให้เป็น multi-transport model และ 4) ลดสัดส่วนการพึ่งพาถนน เพื่อการขนส่งลงปีละร้อยละ 5-10 ภาพที่ 1 อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยด้านคมนาคมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : World Economic Forum (WEF)

2. ขยายถังน�ำ้ การค้าทางทะเล : ปีทผี่ า่ นมาเราส่งออกสินค้า 14 ล้านล้านบาท เป็นการส่งออกผ่านทางเรือถึงร้อยละ 72 ทางอากาศยานร้อยละ 20 และผ่านทางรถบรรทุกและรถไฟอีกร้อยละ 8 โดยมีทา่ เรือส่งออกหลัก 3 แห่ง ได้แก่ แหลมฉบัง คลองเตย และมาบตาพุด ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความแออัดของท่าเรือ ท�ำให้เกิดความล่าช้าในการน�ำสินค้าลงเรือ จ�ำเป็นต้องขยายท่าเรือ โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังที่มีสัดส่วนร้อยละ 42 ของการส่งออกทั้งหมด อีกประการหนึ่งคือ ศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง ที่วัดจาก TEUs หรือ Twenty-feet Equivalent Units ปัจจุบันเราอยู่ที่ 6 ล้าน TEUs ใหญ่เป็นอันดับ 22 ของโลก ส่วนท่าเรือ คลองเตยอยู่ที่ 88 ของโลก โดยจีนมีท่าเรือขนาดมหึมาหลายท่า Top 10 เป็นของจีนถึง 6 ท่า ที่เหลือเป็นของสิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเนเธอร์แลนด์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม้เราจะโตเร็วแต่ยังช้ากว่าคู่แข่ง เช่น มาเลเซียและเวียดนาม อย่างมาก ดังนั้นเราต้อง 1) เร่งขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 2 และ 3 โดยเร็ว 2) สร้างท่าเรือน�้ำลึกหรือยกระดับท่าเรือเดิมขึ้นเป็น ท่าเรือน�้ำลึกฝั่งอันดามัน 3) ปัดฝุ่นยุทธศาสตร์ระบบพาณิชยนาวี ทั้งกองเรือ ท่าเรือ และอู่เรือ และ 4) เชื่อมต่อกับระบบขนส่ง หลังท่าเข้ามาในประเทศ เช่น รางและถนน ภาพที่ 2 ช่องทางการค้าระหว่างประเทศของไทย

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์

68


3. ขยายถังน�้ำการค้าบนบก : ในปัจจุบันเรามีมูลค่าการค้าชายแดนและข้ามแดนราวๆ 9.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ฝัง่ เมียนมาร์ราว 2.1 แสนล้านบาท ฝัง่ ลาวราว 1.5 แสนล้านบาท ฝัง่ กัมพูชาราว 1.1 แสนล้านบาท และฝัง่ มาเลเซียราว 5 แสนล้านบาท การส่งออกเกือบทุกด่านส่งออกทางถนน ยกเว้น 2 ด่านทีม่ ที างรถไฟ ได้แก่ ปาดังเบซาร์และหนองคาย แต่กน็ อ้ ยมากเมือ่ เทียบกับ ผ่านถนน ในปีนคี้ าดว่ามูลค่าการค้าชายแดนเราจะทะลุ 1 ล้านล้านบาท และหากทะลวงท่อการค้าให้ขยายใหญ่ขนึ้ มูลค่าก็จะยิง่ มากขึน้ อีกในอนาคต เพราะปัญหาทีเ่ หมือนกันทุกด่านคือความแออัดของการขนส่งหน้าด่าน ดังนัน้ เราต้อง 1) เร่งสร้างรถไฟทางคู่ หนองคาย-กทม.-มาบตาพุด เชื่อมจีนตอนใต้ ลาว และไทย เร่งสร้างรถไฟทางคู่กาญจนบุรี-กทม.-สระแก้ว เชื่อมเมียนมาร์ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม และเร่งสร้างรถไฟทางคู่ตาก-มุกดาหาร เชื่อมเมียนมาร์ ไทย ลาว และเวียดนาม จะเห็นว่าทั้ง 3 เส้นทาง ผ่านฐานการผลิต เขตเศรษฐกิจพิเศษ ด่านศุลการกรส�ำคัญ และท่าเรือ และ 2) ขยายด่านศุลกากร โดยเฉพาะช่องทางจราจร หน้าด่าน เพือ่ ลดความแออัดหน้าด่านและเพิม่ ปริมาณการส่งออก โดยเฉพาะจังหวัดทีเ่ ป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทีม่ สี ดั ส่วน การค้าชายแดนรวมกันมากกว่าร้อยละ 90 ของการค้าชายแดน 360 องศารอบประเทศเรา การขยายด่านจึงส่งผลบวกแบบ เกือบทวีคูณ 4. ขยายถังน�้ำเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำอันเกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจ : แม้คนจนของเราจะลดลงต่อเนื่อง แต่ความ เหลื่อมล�้ำของรายได้กลุ่มคนจนสุดร้อยละ 10 กับรวยสุดร้อยละ 10 ยังแตกต่างกัน 20 เท่า เรื้อรังมาเกือบ 30 ปี ถ้าเราแยก GDP ออกตามภูมิภาคเป็น 7 ส่วน จะพบว่า ภาคที่พึ่งพาเกษตรกรรมมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วน กทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคกลาง พึง่ พาอุตสาหกรรม ส่วนภาคตะวันตกพึง่ ไฟฟ้า แก๊ส ประปา และถ้าเอาแผนที่ ความเหลื่อมล�้ำมาทาบ จะพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีความเหลื่อมล�้ำสูงสุด แปลความง่ายๆ ได้ว่า การมี โครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งเกษตรกรรมขั้นปฐมท�ำให้รายได้ต�่ำ เพราะมีความเสี่ยงเรื่องฟ้าฝน อากาศ ร้อนหนาว น�้ำแล้ง น�้ำท่วม ดินเปรีย้ วดินเค็ม และศัตรูพชื การทีร่ ายได้ตำ�่ และไม่แน่นอนเป็นส่วนหนึง่ ทีท่ ำ� ให้เกิดความเหลือ่ มล�ำ้ ทัง้ ๆ ที่ เราส่งออกข้าวเป็นที่ 1 ของโลก ส่งออกยางพาราเป็นที่ 1 ของโลก ส่งออกมันส�ำปะหลังเป็นที่ 1 ของโลก ปลากระป๋องและแปรรูปเป็นที่ 1 ของโลก ผลไม้ กระป๋องเป็นที่ 6 ของโลก ดูแล้วเราไม่น่ามีความเหลื่อมล�้ำสูง ดังนั้นเราต้อง 1) เพิ่มการลงทุนภาครัฐในแต่ละพื้นที่การเกษตร ทีช่ ว่ ยเพิม่ ศักยภาพการผลิต ทีไ่ ม่ใช่การแจกเงินหรือให้สนิ เชือ่ แต่เพียงอย่างเดียว เราควรลงทุนเรือ่ งท่อส่งน�ำ้ และอ่างเก็บน�ำ้ ลงทุน ขนานใหญ่ไปเลยเพื่อยกระดับเกษตรกรรมไทย เช่น ในญี่ปุ่น ใต้คันนาของเกษตรกรมีระบบท่อส่งน�้ำ ช่วยให้น�้ำเข้าถึงสม�่ำเสมอ ทั้งปี ปีหนึ่งปลูกได้หลายรอบ 2) ยกระดับเกษตรกรรมขั้นปฐมขึ้นเป็นเกษตรกรรมแปรรูป แพคเก็จดีๆ ขายที่ราคาบวกแพคเก็จ 3) สนับสนุนเรื่อง Market Matching อย่างจริงจัง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน ประมาณการต้นทุนได้เอง 4) ควรมี หน่วยงานที่ท�ำหน้าที่คล้ายๆ BOI ดูเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่เกษตรกรที่มีการใช้นวัตกรรม R&D และ Zoning ที่เหมาะสม และ 5) ดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยในรูปแบบพี่เลี้ยงหรือเกษตรพันธสัญญา แต่รัฐต้องเข้าไปดูไม่ให้มีการเอาเปรียบ ภาพที่ 3 ความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจอันเกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ต่างกัน

ที่มา : สศช. ประมวลผลโดยส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

69


5. ขยายถังน�ำ้ เพือ่ ลดความล้าหลังด้านอุตสาหกรรม : สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมลดลงเรือ่ ยๆ จากราวๆ ร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 38 และปัจจุบันเหลือร้อยละ 28 ของ GDP แปลว่าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของเรายังเป็นแบบโบราณที่ไม่สร้าง มูลค่าเพิ่มเลย เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารแปรรูป เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง และของกินของใช้ ซึ่งทุกวันนี้ ประเทศเพื่อนบ้านก็ผลิตได้แล้ว แต่เขาได้เปรียบเพราะค่าแรง ค่าวัตถุดิบ และค่าเช่า ถูกกว่าเรา ต่อไปเราจะแข่งขันล�ำบาก เผลอๆ อนาคตเราต้องซื้อคอมพิวเตอร์จากกัมพูชา และบางบริษัทใหญ่ของโลกทิ้งไทยไปแล้ว เช่น ซัมซุง ไปผลิตชิ้นส่วนที่ High Tech กว่าในเวียดนาม ดังนั้น เราต้อง 1) ยกระดับการผลิตของเราขึ้นสู่ Business Cycle เส้นใหม่ที่สูงขึ้น เพื่อเป็น New Engine of Growth เช่น อาหารทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ยางรถยนต์ เหล็กทนแรงดึงสูง วัสดุก่อสร้างนาโน สินค้าไอทีชนั้ สูง Cloud Services และสิง่ พิมพ์ดจิ ทิ อล ชิน้ ส่วนอากาศยาน 2) เชิญชวน/ชักชวน/ดึงดูด การลงทุนจากต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาลงหลักปักฐาน การจัดตั้งส�ำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters : IHQ) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Center : ITC) เป็นสิ่งดีที่เราท�ำไปแล้ว และ 3) สนับสนุน ผูป้ ระกอบการไทยลงทุนในอุตสาหกรรมทีเ่ ป็น OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือรับจ้างผลิตขึน้ สู่ ODEM (Original Design and Equipment Manufacturer) หรือดีไซน์เองผลิตเอง หรือเป็น OBM (Original Brand Manufacturer) คือมี ตราสินค้า (Brand) เป็นของตัวเอง 6. ขยายถังน�ำ้ ให้ SMEs เป็น IDEs หรือ Innovation Driven Enterprises : ปัจจุบนั เรามีวสิ าหกิจประมาณ 2.8 ล้านราย ประมาณร้อยละ 98 เป็น SMEs ในจ�ำนวนนี้ร้อยละ 99.5 เป็น SE หรือวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการค้าส่งค้าปลีก กิจการบริการ และกิจการอุตสาหกรรมเล็กๆ มีการจ้างงานรวมกันประมาณ 10.5 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30 ของการจ้างงาน ทั้งประเทศ ซึ่งมีรายได้หลักจากการท�ำมาค้าขายภายในประเทศ มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสูง สายป่านสั้น เข้าถึงสินเชื่อยาก หากเศรษฐกิจแย่ยาวนาน กลุ่มนี้จะโดนผลกระทบหนักที่สุด ในทางกลับกันกิจการขนาดใหญ่หรือ LE ทั้งประเทศมีเพียง 7,600 รายเท่านั้น ส่วนใหญ่กระจุกอยู่ใน กทม.และปริมณฑล และภาคตะวันออก แต่ท�ำธุรกิจกว้างขวาง ซึง่ มีความมัน่ คงทางรายได้มากกว่า มีอำ� นาจการต่อรองหรือกดราคามากกว่า มีความรูเ้ รือ่ งการรับมือกับความเสีย่ ง เพราะเข้าถึง ข้อมูลได้ลึก รอบด้าน และรวดเร็วกว่า ดังนั้นเราต้อง 1) สนับสนุนให้ SMEs ยกเครื่องเป็น IDEs เน้นการน�ำนวัตกรรมใหม่ๆ R&D ใหม่ เสริมด้วย IT มาประยุกต์กบั การประกอบกิจการของตัวเอง เพือ่ สร้างรายได้เพิม่ และ 2) สร้างแรงจูงใจหรือแต้มต่อให้กจิ การ ที่ขึ้นเป็น IDEs ให้ได้ 7. ขยายถังน�้ำเพื่อกระจายหัวเมืองเศรษฐกิจ : ไม่ว่าจะเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดใหญ่ ท่าเรือส่งออก หรือท่าอากาศยานนานาชาติ ล้วนตั้งอยู่ในจังหวัดเศรษฐกิจดั้งเดิมทั้งสิ้น เช่น กทม. ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา และภูเก็ต เพียงแค่ 10 จังหวัดนี้ ก็มผี ลิตภัณฑ์มวลรวม รวมกันมากกว่า ร้อยละ 60 ของ GDP ประเทศแล้ว ซึง่ แสดงถึงความกระจุกตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเมืองหลัก ดังนัน้ เราต้อง 1) เร่งเดินหน้า SEZ หรือเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัดชายแดนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งหลายจังหวัดก�ำลังจะมีรถไฟทางคู่เชื่อม เพื่อนบ้าน และเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าด้วยกัน 2) พิจารณาตั้งเขตเศรษฐกิจเฉพาะทาง เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษผลิตภัณฑ์ ยางพารา ตัง้ อยูภ่ าคใต้ 1 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง เขตเศรษฐกิจพิเศษผลิตภัณฑ์มนั ส�ำปะหลัง ตัง้ อยูภ่ าคตะวันออก เฉียงเหนือ เขตเศรษฐกิจพิเศษอาหารทะเลแปรรูป ตั้งอยู่ในจังหวัดปริมณฑลติดทะเล 1 แห่ง ภาคใต้ 1 แห่ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ วัสดุกอ่ สร้างนาโน ตัง้ อยูภ่ าคกลางหรือภาคตะวันออก และเขตเศรษฐกิจพิเศษไอทีขนั้ สูง ตัง้ อยูภ่ าคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก หรือภาคกลาง เป็นต้น โดยไม่ให้ซ�้ำกับจังหวัดที่เป็นจังหวัดเศรษฐกิจใหญ่หรือจังหวัดที่เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอยู่แล้ว จะเป็นการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา กระจายความเจริญออกไป 8. ขยายถังน�ำ้ เพือ่ เพิม่ ผลิตภาพการผลิต : หนึง่ ในปัญหาระดับชาติทฉี่ ดุ รัง้ ไม่ให้เราเดินหน้าไปสู่ High Income Country ได้เร็ว นอกจากจะเป็นเรือ่ ง Logistics แล้ว ยังมีเรือ่ ง Productivity ด้วย ในการสัมมนาด้านขีดความสามารถทุกเวทีพดู ถึงเรือ่ งนีม้ าก การวัดผลิตภาพอย่างง่ายคือ เอาปริมาณผลผลิตตั้ง หารด้วยจ�ำนวนแรงงานหรือจ�ำนวนเครื่องจักร หรือวัดอย่างยากก็ต้อง ไปหาว่า Total Factor Productivity หรือ TFP เป็นเท่าไร การที่สัดส่วนนี้ลดลง เป็นไปได้ 2 กรณี คือ ตัวตั้งลดลงมากกว่าตัวหาร หรือตัวหารเพิม่ ขึน้ เร็วกว่าตัวตัง้ ซึง่ กรณีหลังเป็นไปได้หากแรงงานเราด้อยฝีมอื ลงมากจนต้องใช้คนมากขึน้ ในการผลิตของให้ได้ เท่าเดิม ยิ่งในอนาคตองค์การสหประชาชาติ (UN) ท�ำนายว่า เราเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ประชากรวัยท�ำงานจะลดลงเรื่อยๆ

70


ดังนั้น การที่ผลิตภาพการผลิตเราถดถอยลง หมายถึง สินค้าที่ผลิตได้ไม่มีมูลค่าเพิ่มเลยหรือแรงงานเราด้อยฝีมือ เราจึงต้อง 1) เพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม บริการ ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ต้องหาต�ำแหน่งจุดยืนใหม่ที่สูงขึ้นในเวทีโลก 2) ใส่นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่เข้าไป 3) เน้นการสร้างคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะสายอาชีวะ จากเดิมผลิตได้ปีละร้อยละ 30 ของผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ต้องเพิ่มเป็นร้อยละ 50 สายสามัญเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ให้ได้ และ 4) เปลี่ยนค่านิยม สังคมให้หันมายกย่องสายอาชีวะมากกว่าที่เป็นอยู่ 9. ขยายถังน�ำ้ เพือ่ เพิม่ ช่องทางการท่องเทีย่ วจากต่างประเทศ : ในยุคทีโ่ ครงสร้างเศรษฐกิจเคลือ่ นตัวเข้าสูภ่ าคบริการ มากขึ้น เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วนใน GDP ลดลงเรื่อยๆ เฉกเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งไม่ได้น่ากลัว อะไร แต่กลับท้าทายว่า สาขาบริการใดที่เราต้องสร้างขึ้นมาเป็นเสาหลักในการค�้ำจุนเศรษฐกิจไทยในอนาคต สปอตไลต์ไปจับ อยู่ที่สาขาค้าส่ง/ค้าปลีก สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาคมนาคม ขนส่ง และสื่อสาร ซึ่งมีมูลค่ารวมกันเกือบร้อยละ 20 ของ GDP ซึ่งทั้ง 3 สาขานี้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรง น่าจะเป็นเสาหลักได้ในอนาคตหากเรามีระบบโลจิสติกส์ที่ครอบคลุม ทั่วถึง การท่องเที่ยวน่าจะเฟื่องฟู ค้าส่ง/ค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร ย่อมดีตามไปด้วย ทั้งนี้ระบบโลจิสติกส์ คมนาคม ขนส่ง สื่อสาร รัฐก็เร่งลงทุนอยู่แล้ว โดยเฉพาะรถไฟ ถนน สนามบิน และท่าเรือ ที่น่าสนใจคือ 8 ท่าอากาศยานที่นักท่องเที่ยวบินมาลง ซึ่งกินสัดส่วนราวๆร้อยละ 82 ของการเดินทางเข้าประเทศทุกๆ ทางนั้น มีกี่แห่งที่แออัดคับคั่งบ้าง เท่าที่ทราบดอนเมืองน่าจะ รองรับได้อีกมาก สุวรรณภูมิก�ำลังขยายเฟส 2 และวางแผนเฟส 3 ในอนาคต อู่ตะเภามีแอร์เอเชียมาลงแล้ว ดังนั้นเราต้อง 1) ขยายศักยภาพท่าอากาศยานภูเก็ต หาดใหญ่ กระบี่ เกาะสมุย 4 สนามบินในภาคใต้ อูต่ ะเภาในภาคตะวันออก และเชียงใหม่ ในภาคเหนือ ให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น 2) ขยายด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกด่านตามแนวชายแดน ไม่ใช่เฉพาะที่เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ เพื่อลดความแออัดหน้าด่าน และเป็นการเพิ่มจ�ำนวนนักท่องเที่ยว และ 3) สร้างศูนย์จ�ำหน่ายสินค้าไทยจาก ทุกภูมภิ าคในด่านส�ำคัญๆ คล้ายๆ Duty Free ในท่าอากาศยาน ทัง้ หมดนีจ้ ะมีผลต่อการกระจายเม็ดเงินสูภ่ มู ภิ าคอย่างมีนยั ส�ำคัญ ภาพที่ 4 สัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่เดินเข้าประเทศผ่านสนามบินต่างๆ

ที่มา : สศช. ประมวลผลโดยส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์

10. ขยายถังน�ำ้ เพือ่ เพิม่ การลงทุนภาครัฐรายจังหวัด : ในปีงบประมาณ 2558 จังหวัดได้รบั การจัดสรรงบประมาณรวมกัน ราวๆ 17,782 ล้านบาท ไม่รวม กทม. แต่เม็ดเงินที่ลงไปในแต่ละจังหวัดจะมีมากกว่านี้ เพราะมีงบประมาณส่วนที่ให้จังหวัด ถือจ่ายเพิ่มเติมเข้ามา เช่น กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนในจังหวัด ก. สร้างเสร็จงวดงาน ก็โอนให้จังหวัดเป็นผู้จ่ายให้กับ ผูร้ บั เหมา การนับเม็ดเงินทีล่ งสูเ่ ศรษฐกิจจึงต้องนับรวมทัง้ ทีไ่ ด้รบั จัดสรรโดยตรงและจังหวัดเป็นผูถ้ อื จ่าย เพราะเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับจังหวัด ที่ผ่านมาเรามีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายของประเทศว่า ตัวรวมเท่าไร งบประจ�ำและงบลงทุน เท่าไร และปีงบประมาณมีเป้าหมายเป็นรายไตรมาสด้วย ที่ส�ำคัญ เรามักได้ยินบ่อยครั้งว่า เบิกจ่ายล่าช้า เงินลงไม่ถึงจังหวัด เงินลงไม่ถึงประชาชน เป็นต้น ที่ส�ำคัญที่สุดเราไม่ค่อยได้ยินการลงมือวางรากฐานในภาคเกษตรกรรมหรือ Agriculture ประมาณการเศรษฐกิจไทย

71


Infrastructure เลย เน้นไปท�ำด้านอื่นกันหมด ดังนั้นเราต้อง 1) มีเป้าเบิกจ่ายรายจังหวัดเป็นรายไตรมาส โดยเฉพาะงบลงทุน ของภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มั่นใจว่า เป้าในภาพรวมมีความเป็นไปได้ และเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจจริงๆ 2) ที่ผ่านมา จังหวัดที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่หรือพื้นที่ใหญ่จะได้งบประมาณมากกว่า เป็นไปได้ไหมที่จะจัดล�ำดับความส�ำคัญตาม ยุทธศาสตร์การสร้างเมืองเศรษฐกิจใหม่ๆ ขึ้นมา ควรได้รับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าโดยเปรียบเทียบ เช่น จังหวัดที่เป็นเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือจังหวัดทีจ่ ะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะทาง หรือจังหวัดทีต่ งั้ เป้าจะให้เป็น Brother City หรือ Sister City ในแต่ละภูมภิ าค ซึง่ จะเป็นการกระจายความเจริญออกไปยังภูมภิ าคต่างๆ บ้าง และ 3) หันมาเน้นการลงทุนใน Agriculture Infrastructure เช่น แต่ละจังหวัดที่เน้นภาคเกษตร ต้องมีอ่างเก็บน�้ำ ท่อส่งน�้ำ และฝายชะลอน�้ำ กระจายให้ทั่วถึง ชาวนาชาวไร่ จะได้มีน�้ำใช้สม�่ำเสมอ ไม่ใช่แล้งทีก็ขุดที ท่วมทีก็สูบที การขยายถังน�้ำหรือปลดล็อกข้อจ�ำกัดเชิงโครงสร้างของประเทศไทยทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นการเปลี่ยน Mode ไปขับเคลื่อน GDP ทางด้าน Supply บ้าง หลังจากที่ละเลยมานาน โดยเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราเสพติดการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้าน Demand มากเกินไป หากปลดล็อกได้ นอกจากเศรษฐกิจไทยจะบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ด้านข้างต้น คือ 1) การก้าวสู่ประเทศ High Income Country (รายได้ขั้นต�่ำคือ 12,736 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) หรืออย่างน้อยก็ขึ้นไปอยู่แถวหน้าของ Upper Middle Income Country (ปี 2557 ไทยมีรายได้ที่ 5,560 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) 2) การมีอนั ดับขีดความสามารถสูงขึน้ จากเดิมทีอ่ ยูร่ าวๆ 20 ปลายๆ ถึง 30 ต้นๆ และ 3) ความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจลดลง และลดลงแบบหน้ากระดานคือนอกจากจะลดลงทุกภูมิภาคแล้ว ยังยกระดับเศรษฐกิจไทยขึ้นไปขยายตัวต่อเนื่องบน Platform ใหม่ได้อีกหลายสิบปี ไม่ต้องเติบโตช้าๆ แบบ New Normal แบบที่เขาว่ากัน

72


บทวิเคราะห์ เรื่อง ตีแผ่ความจริงประมงผิดกฎหมายของไทย : เพื่อปลดล็อกใบเหลือง IUU 1

บทสรุปผู้บริหาร

หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบความส�ำเร็จในการพัฒนาประมง จนสามารถติดอันดับ 10 ของโลกที่มีผลผลิตสูง และยังติดอันดับต้นๆ ของผู้ส่งออกสินค้าประมง ท�ำให้รูปแบบ การท�ำการประมงในประเทศไทยเปลีย่ นแปลงไป จากเดิมทีเ่ คยท�ำประมงเพือ่ เลีย้ งชีพสูก่ ารท�ำประมงเชิงพาณิชย์ โดยมีตน้ ทุนในการท�ำประมงเพิม่ ขึน้ ตาม และเพือ่ ลดต้นทุนในการท�ำประมง ผูป้ ระกอบการจึงหันไปใช้แรงงานทาส หรือแรงงานผิดกฎหมายมากขึ้น ❍❍ ปลายปี 2556 ได้มีการเปิดเผยและรายงานถึงปัญหาแรงงานที่ผิดกฎหมายในการท�ำประมง ของไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากมูลนิธิยุติธรรมสิ่งแวดล้อม กลุ่มภาคประชาชน และกลุ่มสื่อมวลชน จนในที่สุด สหรัฐฯ ปรับลดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาด้านค้ามนุษย์มาอยู่กลุ่มที่ 3 (Tier 3) ซึ่งเป็นระดับ ต�่ำสุด ❍❍ จากปัญหาแรงงานที่ผิดกฎหมายในสาขาประมงของไทย จึงเป็นชนวนสู่การเข้าตรวจสอบ การท�ำประมงของไทย โดยคณะกรรมาธิการด้านการประมงและทะเล และท้ายทีส่ ดุ ในวันที่ 21 เมษายน 2558 สหภาพ ยุโรปได้ประกาศให้ “ใบเหลือง” ไทยเกี่ยวกับการท�ำประมงผิดกฎหมายตามกฎของ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ซึง่ คือ กฎระเบียบเพือ่ ต่อต้านการท�ำประมงทีผ่ ดิ กฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ❍❍ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ผลกระทบด้านผลผลิต 2. ผลกระทบด้านราคา 3. ผลกระทบด้านการจ้างงาน และ 4. ผลกระทบด้านการส่งออก ❍❍ ปัญหาใบเหลืองการประมง IUU ของไทย เป็นแค่เพียงการประกาศเตือนเท่านั้น ซึ่งคาดว่า จะสามารถแก้ไขได้ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสาขาประมงในระดับต�่ำ ❍❍

บทน�ำ ประเทศไทยจัดเป็นประเทศทีป่ ระสบความส�ำเร็จในการพัฒนาประมงจนสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกทีม่ ผี ลผลิตสูง และยังติดอันดับต้นๆ ของผู้ส่งออกสินค้าประมง ซึ่งข้อมูลจากฐานความรู้ทางทะเลของไทย พูดถึงการพัฒนาการท�ำประมง ของไทยว่าเริม่ พัฒนาตัง้ แต่กอ่ นปี 2503 จากการท�ำประมงแบบพืน้ บ้าน เครือ่ งมือประมงทีใ่ ช้ในยุคนัน้ ส่วนใหญ่จะเป็นเครือ่ งมือ ประมงพืน้ บ้าน และใช้เรือประมงขนาดเล็กไม่มเี ครือ่ งยนต์ ต่อมาการท�ำประมงมีการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้การท�ำประมงของ ไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการท�ำประมงจากเดิมที่เคยท�ำประมงเพื่อเลี้ยงชีพ สู่การท�ำประมงเชิงพาณิชย์มากขึ้น สะท้อนได้จากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาประมงที่เพิ่มขึ้นในระดับสูงจากปี 2536 ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาประมงมีมูลค่า 65,760 ล้านบาท มาอยู่ที่ประมาณ 107,678 ล้านบาท ในปี 2557 หรือคิดเป็นอัตรา การขยายตัวร้อยละ 63.7 เมื่อเทียบกับปี 2536 โดยมีต้นทุนในการท�ำประมงเพิ่มขึ้นตาม และเพื่อลดต้นทุนในการท�ำประมง ท�ำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้แรงงานทาส หรือแรงงานผิดกฎหมายมากขึ้น

ผู้เขียน นางสาวอรอุมา หนูช่วย เศรษฐกรโท และนางสาวจิตติมา ด�ำมี เศรษฐกรตรี ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจ มหภาค เนือ้ หาบางส่วนในบทวิเคราะห์เป็นความเห็นส่วนของผูเ้ ขียนไม่มสี ว่ นเกีย่ วข้องกับต้นสังกัดแต่อย่างใด ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปัน้ เปีย่ มรัษฎ์ ผูอ้ ำ� นวยการ ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

73


ภาพที่ 1 สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในสาขาประมงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติปี 2557

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของประมงเชิงพาณิชย์ในช่วงทีผ่ า่ นมา ส่งผลให้ในปัจจุบนั มีเรือประมงทีท่ ำ� การจับสัตว์นำ�้ ด้วย วิธกี ารทีเ่ ป็นอันตรายต่อสิง่ แวดล้อมมากเกินไป ท�ำให้จำ� นวนสัตว์นำ�้ ลดน้อยลง และท�ำให้ผปู้ ระกอบการเรือประมงส่วนใหญ่หนั ไป จับ “ปลาเป็ด2 ” (Trash Fish) มากขึ้น ซึ่งยิ่งเป็นการซ�้ำเติมทรัพยากรทางทะเลของไทยให้ลดจ�ำนวนลงอย่างรุนแรง นอกจากนี้ เรือประมงยังต้องออกทะเลไปไกลเป็นระยะเวลานานเพื่อหาก�ำไร ท�ำให้ลูกเรือประมงลดจ�ำนวนลง เนื่องจากสภาพการท�ำงาน ทีย่ ากล�ำบากบนเรือ รวมถึงต้นทุนทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ส่งผลให้ผปู้ ระกอบการเรือประมงหันไปพึง่ พาแรงงานจากขบวนการค้ามนุษย์เพิม่ ขึน้

1. แรงงานทาสและกระบวนการค้ามนุษย์ กับการท�ำประมงของไทย ปลายปี 2556 ได้มีการเปิดเผยและรายงานปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานที่ถูกบังคับ ในอุตสาหกรรมประมงของไทยจากมูลนิธยิ ตุ ธิ รรมสิง่ แวดล้อมและสือ่ มวลชนต่างๆ จนท�ำให้สหรัฐฯ ปรับลดอันดับปัญหาการค้า มนุษย์ของไทย จากกลุ่ม 2 ที่ต้องจับตามองมาอยู่ที่กลุ่ม 3 (เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557) ซึ่งเป็นระดับต�่ำสุดในรายงานประจ�ำปี เรือ่ งสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจ�ำปี 2557 (Trafficking in Persons Report 2014 หรือ TIP Report) ในรายงานระบุวา่ รัฐบาลไทย มิได้แสดงถึงความพยายามอันเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์ และยังคงระดับความน่าเชื่อถือของไทยในรายงาน ประจ�ำปีเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ในปี 2558 ที่ระดับ 3 เพื่อส่งสัญญาณเตือนให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาดังกล่าว

2. แรงงานค้ามนุษย์ “ชนวน” สู่ “ใบเหลือง” IUU IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) คือ กฎระเบียบเพือ่ ต่อต้านการท�ำประมงทีผ่ ดิ กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งระงับสินค้าที่ไม่เป็นธรรมจาก แหล่งผลิตที่ผิดกฎหมาย จากการตีแผ่เรื่องการใช้แรงงานทาส แรงงานเด็ก รวมถึงแรงงานผิดกฎหมายของอุตสาหกรรมไทย จนท�ำให้ประเทศไทยถูกลดระดับความน่าเชื่อถือลงสู่ระดับ 3 (Tier 3) พบว่า นอกเหนือจากการท�ำประมงที่มีการใช้แรงงาน ผิดกฎหมายแล้ว การท�ำประมงของไทยยังมีการใช้เครื่องมือประเภทอวนลากโดยเรือประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า การตีแผ่ดังกล่าวคือ จุดเริ่มต้น ของการเข้าตรวจสอบการท�ำประมงของไทย โดยจากการเข้าตรวจสอบของคณะกรรมาธิการ ยุโรปด้านประมงและทะเล สหภาพยุโรป (EU) ในช่วงเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีปัญหาการท�ำประมง ทีผ่ ดิ กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และท้ายทีส่ ดุ เมือ่ วันที่ 21 เมษายน 58 สหภาพยุโรปได้ประกาศให้ “ใบเหลือง” ไทย

ปลาเป็ด คือ ปลาที่ยังโตไม่ได้ขนาด รวมถึงลูกปลาเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ

2

74


เกี่ยวกับการท�ำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะถูกจัดให้เป็นประเทศที่ไม่ให้ ความร่วมมือ (Possibility of Identifying as Non-cooperating Country) ภายใต้กฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป ซึ่งการให้ “ใบเหลือง” ถือว่าเป็นเพียงการประกาศเตือนเท่านัน้ ยังไม่มกี ารระงับการน�ำเข้าจากไทย และทางสหภาพยุโรปให้เวลาไทย 6 เดือน (21 เมษายน-ตุลาคม 2558) นับจากวันที่ได้รับการแจ้งขึ้นบัญชีอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ไขปัญหาการท�ำประมง ที่กฎหมายในประเทศไทย

3. แนวทางแก้ปัญหาของไทย (6 เดือนไทยท�ำอะไรบ้าง) เพื่อปลดล็อก “ใบเหลือง” หลังจากทีป่ ระเทศไทยโดนลดระดับความน่าเชือ่ ถือสูร่ ะดับ 3 (Tier 3) และได้รบั “ใบเหลือง” จาก IUU โดยทางสหภาพยุโรป ให้เวลาประเทศไทย 6 เดือน (ตุลาคม 2557-ตุลาคม 2558) นับจากวันทีไ่ ด้รบั การแจ้งขึน้ บัญชีอย่างเป็นทางการ เพือ่ แก้ไขปัญหา การท�ำประมงของไทยนั้น การคาดหวังของสหภาพยุโรปคือ ประเทศไทยต้องแก้ปัญหาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะถูกเปลี่ยนสถานะจาก ใบเหลืองเป็นใบแดง ซึ่งทางรัฐบาลไทยก็ได้ด�ำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์และการท�ำประมงผิดกฎหมาย เพือ่ เร่งด�ำเนินการแก้ปญ ั หาให้การท�ำประมงสามารถด�ำเนินการได้อย่างยัง่ ยืนและ เป็นระบบ และยกระดับมาตรฐานการประมงของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทัง้ เพือ่ บรรเทาความเดือดร้อน ของผู้ประกอบการประมง อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ซึ่งได้ด�ำเนินการแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการท�ำประมง IUU ของไทย แบ่งออกเป็น 6 มาตรการส�ำคัญ ดังนี้ 1. การจดทะเบียนเรือประมง ออกใบอนุญาตท� ำประมง และจดแจ้งความประสงค์ใช้เครื่องมือประมง ซึ่งพบว่า มีเรือแจ้งความประสงค์ใช้เครื่องมือประมง 16,067 ล�ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2558) เป็นเรือขนาดต�่ำกว่า 30 ตันกรอส จ�ำนวน 11,758 ล�ำ และเรือที่ขนาดมากกว่า 30 ตันกรอส 4,309 ล�ำ โดยในจ�ำนวนนี้มีเรือที่ใช้เครื่องมือควบคุมที่ไม่สามารถออก อาชญาบัตรให้ได้จ�ำนวน 3,072 ล�ำ 2. การควบคุมและเฝ้าระวังการท�ำประมง โดยมีการตัง้ ศูนย์บญ ั ชาการ (Monitoring Control and Surveillance Center : MCS) ทีส่ ว่ นกลางและภูมภิ าค จ�ำนวน 18 ศูนย์ โดยเพิม่ ชัว่ โมงในการปฏิบตั งิ านควบคุมเฝ้าระวังการท�ำประมงให้เข้มงวดมากขึน้ และจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมง (Port in-Port out) จ�ำนวน 26 ศูนย์ เพื่อรับแจ้งและตรวจสอบเรือประมง ตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป ที่เข้าและออกจากท่าเรือ โดยมีโครงการน�ำร่องใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สงขลา ระนอง และภูเก็ต 3. การจัดท�ำระบบติดตามต�ำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System : VMS) โดยมีการออกระเบียบข้อบังคับให้ เรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป ติดตั้ง VMS ส่วนเรือประมงขนาด 30-60 ตันกรอส คาดว่าจะประกาศให้ติดตั้ง VMS ในภายหลังเมื่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประมงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ (กฎหมายฉบับนี้ ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 และจะมีผลเมื่อพ้นก�ำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) 4. การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับหรือ Traceability โดยกรมประมงได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ ย้อนกลับตลอดสายการผลิตจากเรือประมง แพปลา โรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับปรุงระบบ การตรวจสอบย้อนกลับ โดยการอบรมให้ความรูแ้ ก่เจ้าหน้าที่ ผูป้ ระกอบการประมง และผูค้ วบคุมเรือประมง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ กรมประมงได้มีการฝึกอบรมการด�ำเนินงานตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า หรือ Port State Measures และเน้นให้ความส�ำคัญกับ ด่านตรวจสัตว์น�้ำที่มีเรือประมงต่างชาติเข้าเทียบท่าขนถ่ายสัตว์น�้ำจ�ำนวน 7 แห่ง ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรสาคร สงขลา ระนอง และภูเก็ต นอกจากนี้กรมประมงยังได้ออก “ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นค�ำขอหนังสืออนุญาต น�ำเข้าสัตว์น�้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตและส่งออกไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2558” 5. การปรับปรุง พ.ร.บ. การประมงและกฎหมายล�ำดับรอง ได้มกี ารร่างกฎหมายล�ำดับรองรวม 70 ฉบับ พร้อมมีการทบทวน และปรับปรุงให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ และ 6. การจัดท�ำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยัง้ และขจัดการท�ำประมงทีผ่ ดิ กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (National Plan of Action - IUU : NPOA-IUU) โดยกรมประมงได้ปรับปรุงร่าง NPOA-IUU ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้อง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

75


4. ผลกระทบ “ใบเหลือง” จาก IUU ต่อเศรษฐกิจไทย จากการที่ประเทศไทยได้ใบเหลือง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งสามารถสรุปได้ 4 ด้าน ดังนี้ ภาพที่ 2 ผลกระทบจากการให้ใบเหลือง IUU ต่อเศรษฐกิจ

4.1 ผลกระทบด้านผลผลิต คาดว่าอุปทานสินค้าประมงจะลดลง แต่จะส่งผลกระทบไม่มากนัก เนือ่ งจากปัจจุบนั GDP ภาคประมงมีมูลค่าประมาณ 107,678 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวม อย่างไรก็ตาม อาจส่งผลไปถึงภาคอุตสาหกรรมบางประเภททีใ่ ช้ผลผลิตจากประมงเป็นวัตถุดบิ ในการผลิต โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ซึ่งการแปรรูปและการถนอมสัตว์น�้ำ และผลิตภัณฑ์ จากสัตว์น�้ำคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของด้านการผลิตในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ภาพที่ 3 สัดส่วนการผลิตสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

4.2 ผลกระทบด้านราคา สัดส่วนของราคาสินค้าประมงในตะกร้าเงินเฟ้อในปี 2554 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.6 โดยในช่วงครึง่ แรก ของปี 2558 ราคาสินค้าประมง (ปลาและสัตว์น�้ำ) มีการปรับตัวเพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ นร้อยละ 2.2 นับเป็นการปรับตัว ทีส่ งู กว่าสินค้าประเภทอืน่ ๆ ในหมวดอาหารสด ทัง้ นี้ คาดว่าปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากกรณีใบเหลืองจาก IUU จะส่งผลให้อปุ ทานสินค้า ประมงเข้าสู่ตลาดน้อยลง นอกจากนี้ผลผลิตการประมงที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จากปัญหา การเสือ่ มโทรมของทรัพยากรประมงในน่านน�ำ้ ไทยท�ำให้จบั สัตว์นำ�้ ได้นอ้ ยลง โดยในปี 2551 สามารถจับสัตว์นำ�้ ได้ 1,644,800 ตัน ลดลงร้อยละ 20 จากปริมาณสัตว์นำ�้ ทีจ่ บั ได้ในปี 2550 และลดลงมาเรือ่ ยๆ จนถึงปัจจุบนั ท�ำให้มแี นวโน้มสูงทีร่ าคาสินค้าประมง จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

76


4.3 ผลกระทบด้านการจ้างงาน ปัจจุบนั แรงงานในสาขาประมงมีประมาณ 3.8 แสนคน ซึง่ คาดว่าการระงับการเดินเรือ ประมงที่ผิดกฎหมาย จะส่งผลให้เกิดการชะลอการจ้างงานในสาขาประมงทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ผู้ท�ำประมงยังต้องเผชิญกับปัญหาการน�ำเข้าสัตว์น�้ำจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดีและราคาเปรียบเทียบที่ต�่ำกว่า ท�ำให้ ราคาสัตว์น�้ำจากการประมงภายในประเทศสู้ราคาไม่ได้ รวมทั้งปัจจัยการผลิตมีราคาสูงและขาดแคลน ท�ำให้รายรับที่ได้จาก การท�ำประมงลดลง และส่งผลต่อเนื่องให้แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนจะชะลอตัวลงในอนาคต 4.4 ผลกระทบด้านการส่งออก จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปลดลง อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 และในปี 2557 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอยู่ที่ 4,310.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 14.5 ซึ่งจากการที่สหภาพยุโรป (EU) ให้ใบเหลืองไทยท�ำให้คาดว่าอุปทานสินค้าประมงจะลดลง และอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 1.9 ของมูลค่าการส่งออก รวม อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปไปยังตลาดต่างประเทศพบว่า ตลาดส่งออกของไทย ไปประเทศในเขตยุโรป ได้แก่ อิตาลี และเยอรมนี คิดเป็นเพียงร้อยละ 3 ของมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ทั้งหมด ดังนั้นปัญหาดังกล่าวจึงอาจไม่ได้ส่งผลให้รายได้ส่งออกรวมของไทยให้ลดลงมาก ภาพที่ 4 สัดส่วนการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูปของไทย (จ�ำแนกตามประเทศ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ภาพที่ 5 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ทัง้ นี้ ปัญหาใบเหลืองการประมง IUU ของไทย เป็นแค่เพียงการประกาศเตือนเท่านัน้ ยังไม่มกี ารระงับการน�ำเข้าจากไทย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสาขาประมงในระดับต�่ำ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ถือเป็นโอกาส ที่ส�ำคัญของภาคประมงของไทยในการปฏิรูปเชิงระบบเพื่อสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นของภาคประมงไทยในการค�ำนึงถึง สิ่งแวดล้อมต่อสายตาชาวโลก เนื่องจากที่ผ่านมาหลายประเทศได้มีการจับตามองพฤติกรรมของไทยในด้านการท�ำประมง ที่รักษาทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมงในประเด็นด้านการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ หากไทยยังไม่มี การด�ำเนินการเพือ่ ให้ได้รบั ใบเขียวอีกครัง้ อาจส่งผลกระทบต่อความเชือ่ มัน่ ของประเทศทีน่ �ำเข้าสินค้าดังกล่าวจากไทย เนือ่ งจาก ในปัจจุบนั นอกจากผูบ้ ริโภคจะค�ำนึงถึงเรือ่ งคุณภาพ ความปลอดภัย และราคาแล้ว ประเด็นด้านสังคมและการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ยังถือเป็นปัจจัยส�ำคัญในการเลือกซื้อสินค้านั้นด้วย

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

77


บทวิเคราะห์ เรื่อง ขึ้น VAT ญี่ปุ่น กระทบส่งออกไทยอย่างไร

1

บทสรุปผู้บริหาร

การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 17 ปี จากร้อยละ 5.0 สู่ร้อยละ 8.0 เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2557 ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมในปี 2557 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -0.1 เนื่องจากการบริโภค ภาคเอกชนซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส ท�ำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเลื่อน แผนการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขั้นที่ 2 สู่ร้อยละ 10.0 ออกไปเป็นเดือนเมษายน 2560 ❍❍ เศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในระดับสูง โดยเฉพาะการส่งออกและ น�ำเข้ามีความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจระหว่างไทยและญีป่ นุ่ เนือ่ งจากไทยเป็นฐานการผลิตทีส่ ำ� คัญของอุตสาหกรรม หลายประเภทของญี่ปุ่น อีกทั้งไทยส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้าส�ำคัญอันดับ 3 ด้วยสัดส่วนถึงร้อยละ 9.6 ของ มูลค่าการส่งออกรวม (สัดส่วนในปี 2557) การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มญี่ปุ่น ย่อมส่งผลให้อุปสงค์ต่อการน�ำเข้า สินค้าไทยปรับตัวลดลง ❍❍ จากการคาดการณ์ในแบบจ�ำลองฯ พบว่า การขึน ้ อัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ ของญีป่ นุ่ ท�ำให้การส่งออก ไทยโดยรวมหดตัวประมาณช่วงร้อยละ -0.5 ถึง -1.6 โดยหมวดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ หมวดอาหาร ยานยนต์และส่วนประกอบ และหมวดบริการ อย่างไรก็ดี ผลการคาดการณ์ดังกล่าวยังมีข้อจ�ำกัดหลายประการที่ อาจส่งผลให้การพยากรณ์มีความคลาดเคลื่อน ❍❍

1. บทน�ำ การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี สู่ร้อยละ 8.0 ในวันที่ 1 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ในปี 2557 หดตัวเฉลีย่ ร้อยละ –0.1 โดยเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนซึง่ เป็นเครือ่ งยนต์สำ� คัญในการขับเคลือ่ น เศรษฐกิจ (ร้อยละ 59.0 ของ GDP) หดตัวติดต่อกันถึง 3 ไตรมาส ท�ำให้รฐั บาลญีป่ นุ่ ภายใต้การน�ำของนายชินโซ อาเบะ ประกาศ ยุบสภา และท�ำให้แผนการขึน้ อัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ ระยะที่ 2 จากร้อยละ 8.0 สูร่ อ้ ยละ 10.0 ถูกเลือ่ นออกไปเป็นเดือนเมษายน 2560 โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตอกย�้ำว่าการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงเดือนเมษายน ปี 2557 ที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยตรง การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จากเดิมที่ร้อยละ 5.0 เปลี่ยนแปลงไปสู่ร้อยละ 8.0 เป็นการปรับเพิ่มท่ามกลาง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้บ่งชี้ถึงความพร้อมของคนในประเทศในการรับภาระภาษีการบริโภคที่ก�ำลังจะเพิ่มขึ้น สะท้อน จากระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้โดดเด่นเฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมา (ภาพที่ 1) โดยการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) ในปัจจุบัน (2534-2556) เฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้น ประกอบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็น ปัจจัยฉุดรั้งการเติบโต ด้วยสัดส่วนผู้สูงอายุที่สูงถึงร้อยละ 26 ของประชากรรวม ท�ำให้ตลาดแรงงานในญี่ปุ่นตึงตัว ประกอบกับ ภาวะเงินฝืดที่แม้ต้นทุนการกู้ยืมจะอยู่ในระดับที่ต�่ำมาก แต่ความต้องการในการบริโภคและลงทุนของประชาชนญี่ปุ่นกลับ ไม่เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด สภาวะดังกล่าวบวกกับแผนปฏิรูปด้านภาษีที่ปรับใช้จริงในปี 2557 ที่ผ่านมา น�ำมาซึ่งประเด็นส�ำคัญ ทางเศรษฐกิจตามมาหลากหลายประการ ในบทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาของแผนปฏิรูปด้านภาษีของญี่ปุ่น เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นภายหลังการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลคาดการณ์จากการใช้แบบจ�ำลองโดยจะพยากรณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านช่องทางการส่งออกสินค้า

ผู้เขียน นางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ขอขอบคุณ ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์ อาจารย์ประจ�ำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

78


2. ท�ำไมต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เคยมีระดับการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 6.0 แต่ช่วงหลังวิกฤติฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น เมือ่ ปลายปี 2529 ส่งผลให้ระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.0 ผนวกกับปัจจัยหลายประการในช่วง ต่อมา อาทิ วิกฤติการเงินในเอเชียปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกปี 2551 เรื่อยมาจนถึงภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวและ สึนามิในปี 2554 มีส่วนผลักดันให้การขยายตัวโดยเฉลี่ยลดระดับลงมา ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามที่จะประคับประคองและ ฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยมาตรการการเงินและการคลัง ท�ำให้เกิดผลพวงที่ตามมาคือ ภาระทางการคลังอยู่ในระดับสูง โดยในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 226.1 ของ GDP อีกทั้งโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น นอกจากจะเป็นภาระทางการคลังในรูปของสวัสดิการ สังคมที่ต้องเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังเป็นข้อจ�ำกัดต่อภาคการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีปัญหาด้านเงินฝืดตามมาอีกด้วย ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2504-2557

ที่มา : World Bank Database รวบรวมโดยผู้เขียน

จากขนาดการเติบโตทางเศรษฐกิจทีล่ ดลง ปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ ตลอดจนข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณทางการคลัง น�ำมาสูแ่ นวคิดด้านปฏิรปู ระบบภาษีซงึ่ สามารถท�ำได้หลายรูปแบบ แต่ทางเลือกทีเ่ หมาะสมแก่ญปี่ นุ่ ในขณะนัน้ คือการขึน้ อัตราภาษี มูลค่าเพิม่ เนือ่ งจากอัตราภาษีดงั กล่าวยังอยูใ่ นระดับต�ำ่ เมือ่ เทียบกับประเทศในกลุม่ ทีพ่ ฒ ั นาแล้ว (ภาพที่ 2) อีกทัง้ ภาษีมลู ค่าเพิม่ จัดเก็บบนพื้นฐานการบริโภคของประชาชนซึ่งมีจ�ำนวนมากถึง 127 ล้านคน (ปี 2557) ท�ำให้ภาษีที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นถูกกระจายและ ถัวเฉลีย่ กันไป ท�ำให้ภาระภาษีตอ่ คนเพิม่ ขึน้ ไม่มากนัก อีกทัง้ อัตราภาษีอนื่ ๆ ของญีป่ นุ่ ยังอยูใ่ นระดับทีส่ งู มากจนอาจปรับขึน้ ได้ยาก ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นแนวทางเสริมสร้างเสถียรภาพทางการคลังให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ภาพที่ 2 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจ�ำแนกรายประเทศ

ที่มา : รวบรวมโดยผู้เขียน

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

79


ตารางที่ 1 สัดส่วนรายได้ภาษีของรัฐบาลญี่ปุ่น ปี 2556 จ�ำแนกตามประเภทภาษี

ประเภทภาษี

ร้อยละของรายได้จากภาษีรวม

ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีและอากรแสตมป์อื่นๆ

32.2 24.7 20.2 22.9

ที่มา : กระทรวงการคลังญี่ปุ่น

ทัง้ นี้ เมือ่ ดูในรายละเอียดภาคการคลังของญีป่ นุ่ พบว่า รายได้จากภาษีเป็นแหล่งรายได้ทสี่ ำ� คัญของรัฐบาลญีป่ นุ่ ส�ำหรับ การบริหารประเทศ โดยคิดเป็นร้อยละ 78.0 ของรายได้ภาครัฐทัง้ หมด และรายได้จากการจัดเก็บภาษีมลู ค่าเพิม่ มีสดั ส่วนมากถึง ร้อยละ 24.7 ของรายได้จากภาษีและอากรแสตมป์ทั้งหมด (ตารางที่ 1) อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนรายได้จาก การจัดเก็บภาษีตอ่ GDP ในระดับทีต่ ำ�่ กว่าประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วประเทศอืน่ ๆ (ภาพที่ 3) ดังนัน้ หากรัฐบาลญีป่ นุ่ สามารถมีรายได้ จากการจัดเก็บภาษีเพิม่ มากขึน้ ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิม่ ขึน้ เพือ่ ยกระดับศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นให้สูงขึ้นต่อไป ภาพที่ 3 สัดส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีของรัฐต่อ GDP ปี 2555 จ�ำแนกรายประเทศ

ที่มา : World Bank Database

ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นจึงจัดท�ำแผนการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดการขาดดุลทางการคลังและเป็น แนวทางเสริมสร้างความแข็งแกร่งภาคการคลัง

3. เกิดอะไรขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภายหลังการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 เศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณชะงักงันทันที โดย GDP ในปี 2557 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ –0.1 จากการบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นเครื่องยนต์ส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (ร้อยละ 59.0 ของ GDP) ที่หดตัวติดต่อกันถึง 3 ไตรมาส ท�ำให้รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การน�ำของนายชินโซ อาเบะ ประกาศยุบสภา และเลื่อน แผนการขึน้ อัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ ระยะที่ 2 ออกไปเป็นเดือนเมษายน 2560 ซึง่ เป็นเครือ่ งตอกย�้ำว่าการปรับขึน้ อัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ ที่ผ่านมานั้นส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยตรง

80


ส่วนเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ปี 2558 ยังคงมีทศิ ทางการฟืน้ ตัวทีไ่ ม่ชดั เจน โดยในช่วงครึง่ แรกของปี 2558 ยังคงหดตัวเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลทางปัจจัยด้านฐานในช่วงปีก่อน ภาพที่ 4 ส่วนประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2557 และไตรมาสที่ 2 ปี 2558

ที่มา : CEIC database รวบรวมโดยผู้เขียน

4. คาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นและไทยจากแบบจ�ำลอง GTAP เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์หลักที่มีผลต่อทิศทางของเศรษฐกิจโลก รองจากสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป กอปรกับแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจโลกและวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจบางประเทศในช่วงทีผ่ า่ นมา ล้วนส่งผลกระทบ ทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ ผ่านความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจในช่องทางต่างๆ ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม ซึง่ มิใช่ปรากฏการณ์ใหม่ แต่เราสามารถเห็นได้จากประสบการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา อาทิ วิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลลุกลามเป็น วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลกและปัญหาหนีส้ าธารณะในยูโรโซน และวิกฤติตม้ ย�ำกุง้ ในไทยทีส่ ง่ ผลลามไปยังประเทศในภูมภิ าค เอเชีย ด้วยกลไกการส่งผ่านทางเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระดับสูง ดังแสดงในแผนภาพที่ 4 โดยการส่งออก และน�ำเข้ามีความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ส�ำคัญของอุตสาหกรรม หลายประเภทของญี่ปุ่น ภาพที่ 5 ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น ปี 2557

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ และกรมการท่องเที่ยว ค�ำนวณโดยผู้เขียน หมายเหตุ : * ค�ำนวณจากยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย ** เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ส�ำคัญต่อภาคการส่งออกของประเทศคู่ค้าส�ำคัญอื่นๆ ของไทย ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกของไทยทางอ้อมได้ ค�ำนวณโดยผู้เขียน

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

81


ทั้งนี้ การปรับตัวด้านการใช้จ่ายภายในประเทศของญี่ปุ่นที่เป็นผลมาจากการปรับขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจส่งผลต่อ เศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการค้าระหว่างประเทศ ผูเ้ ขียนจึงใช้แบบจ�ำลองวิเคราะห์การค้าโลก (Global Trade Analysis Projection : GTAP) เป็นเครื่องมือเพื่อศึกษาในการคาดการณ์ผลกระทบและวิเคราะห์กลไกการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่าน การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทย โดยแบบจ�ำลอง GTAP มีต้นก�ำเนิดมาจากการพัฒนาร่วมกันของ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ออสเตรเลีย ซึ่งมีการพัฒนาต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบัน โดยในบทความนี้ จะน�ำแบบจ�ำลอง GTAP ที่มีข้อมูลการค้าครอบคลุม 146 ประเทศ 57 สาขาการผลิตและ 5 ปัจจัยการผลิต โดยใช้ฐานข้อมูล ณ ปี 2551 และมีการปรับโครงสร้างฐานข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมกับ ประเด็นในการศึกษาดังแผนภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 6 การปรับโครงสร้างฐานข้อมูลในแบบจ�ำลอง GTAP ตามประเด็นการศึกษา

ที่มา : โดยผู้เขียน

เพื่อก�ำหนดการเปลี่ยนแปลงของการพยากรณ์ ผู้เขียนได้ท�ำการปรับอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราภาษีการบริโภค ภาคเอกชน (Tax on private consumption) ออกเป็นร้อยละ 10 20 30 40 50 และ 60 ตามล�ำดับ โดยมีผลการศึกษาจาก การพยากรณ์ผลการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มญี่ปุ่นในแบบจ�ำลอง GTAP ดังนี้ ผลต่อระบบเศรษฐกิจญีป่ นุ่ พบว่า การขึน้ ภาษีมลู ค่าเพิม่ ส่งผลให้จดั เก็บรายได้ภาครัฐมากขึน้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ ทั้งผลกระทบทางตรงต่อการบริโภคภาคเอกชนและการน�ำเข้า และส่งผลท�ำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลงขณะที่ภาคการผลิตปรับตัวไม่ทัน ท�ำให้มีอุปทานส่วนเกินในประเทศเป็นจ�ำนวนมาก โดยผลกระทบโดยรวมต่อระบบเศรษฐกิจของญีป่ นุ่ พบว่าเป็นผลลบ กล่าวคือมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทีแ่ ท้จริง (Real GDP) ลดลง ผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย ส�ำหรับผลการเชื่อมโยงผ่านช่องทางการค้าระหว่างประเทศ พบว่าความต้องการสินค้า และบริการของชาวญีป่ นุ่ ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงไป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการน�ำเข้าของไทยซึง่ มีญปี่ นุ่ เป็นคูค่ า้ ส�ำคัญ อย่างมีนยั ส�ำคัญ โดยอัตราภาษีการบริโภคญีป่ นุ่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ส่งผลให้อปุ สงค์การน�ำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของญีป่ นุ่ ลดลง และท�ำให้ตลาดโลกปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ โดยการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นได้รับผลกระทบในเชิงลบ ซึ่งสินค้าส่งออกไทย ไปยังญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวมากที่สุด ได้แก่ สินค้าหมวดอาหาร ยานยนต์และส่วนประกอบ ขณะเดียวกันการส่งออก บริการได้รับผลกระทบในระดับสูงด้วยเช่นกัน (ภาพที่ 7)

82


ภาพที่ 7 กลไกการส่งผ่านภายหลังการปรับตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อสินค้าส่งออกไทย รายหมวด

ที่มา : ผลการคาดการณ์จากแบบจ�ำลอง โดยผู้เขียน

จากผลคาดการณ์ในแบบจ�ำลองตามแผนภาพฯ จะพบว่า รายหมวดสินค้าส่งออกไทยที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อาทิ อาหาร การบริการ ยานยนต์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับสินค้าส่งออกส�ำคัญของไทยไปยังญี่ปุ่น

5. บทสรุป การปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในญี่ปุ่นส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมหดตัวลง จากการปรับตัวในแต่ละภาคส่วน โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลเชื่อมโยงผ่าน ตลาดการค้าระหว่างประเทศ ท�ำให้อุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกมีการปรับตัว ซึ่งไทยในฐานะผู้ส่งออกไปยังญี่ปุ่นในสัดส่วน ทีส่ งู ย่อมได้รบั ผลกระทบ โดยในแง่การค้าระหว่างไทยกับญีป่ นุ่ สินค้าส่งออกไทยหมวดทีไ่ ด้รบั ผลกระทบสูงสุด คือ หมวดอาหาร หมวดยานยนต์และส่วนประกอบ อีกทั้งการส่งออกบริการก็ได้รับผลกระทบอีกด้วย อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ในแบบจ�ำลองฯ เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีการบริโภคในประเทศ ญีป่ นุ่ เพียงปัจจัยเดียว ซึง่ เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ในปัจจุบนั ยังต้องเผชิญกับปัจจัยอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นข้อจ�ำกัดทางการเติบโต เช่น สังคมผูส้ งู อายุ (Aging Society) บ่งชีจ้ ากสัดส่วนประชากรญีป่ นุ่ ทีม่ อี ายุเกินกว่า 65 ปีทอี่ ยูใ่ นระดับสูงถึงร้อยละ 26 ของประชากรทัง้ หมด (ข้อมูล ณ ปี 2557) นับเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน นอกจากนี้พฤติกรรมเฉพาะของ ภาคธุรกิจญี่ปุ่นที่ไม่ตอบสนองต่ออัตราดอกเบี้ยที่ลดลง โดยบริษัทญี่ปุ่นมักจะให้ความส�ำคัญต่อการปรับโครงสร้างงบดุลด้วย การช�ำระคืนหนีส้ นิ มากกว่าทีจ่ ะลงทุนเพิม่ เติมแม้วา่ ต้นทุนการลงทุนจะอยูใ่ นระดับต�ำ่ ประกอบกับความไม่ชดั เจนของการใช้จา่ ย ภาครัฐจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่สูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราภาษีดังกล่าว ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้การคาดการณ์ มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ขณะเดียวกันปัจจัยภายนอก อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับต�่ำ อาจส่งผลให้โครงสร้างทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนแปลงจากฐานข้อมูลที่ใช้ในแบบจ�ำลองฯ ซึ่งข้อจ�ำกัดดังกล่าวท�ำให้แบบจ�ำลอง GTAP จ�ำเป็นต้องมีการปรับปรุง และพัฒนาแบบจ�ำลองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันเหตุการณ์และมีความครอบคลุมมากขึ้น เอกสารอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์. 2557. มูลค่าทางการค้าระหว่างไทยและญีป่ นุ่ . สืบค้นเมือ่ วันที่ 10 ตุลาคม 2557, จากhttp://www.ops3.moc.go.th/infor/MenuComTH/trade_sum/report.asp กรมการท่องเที่ยว. 2557. สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557, จาก http://www.tourism.go.th/home/details/11/222/22950 ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2557. ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557, จาก http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT. aspx?reportID=816&language=TH สาธิต รังคสิริ. (2553). หนึ่งปีของผม ที่...สศค. กรุงเทพฯ: สรรพากรสาสน์. National Tax Agency, Japan. (2004 last updated 2015 June 15). Japan National Tax Agency Report . Retrieved Oct 10, 2014, from http://www.nta.go.jp/ foreign_language/Report_pdf/2013e.pdf World Bank Database. (2010, last updated 2015 Dec). Tax revenue % of GDP by country. Retrieved Oct10, 2014, from http://data.worldbank.org/indicator/GC.TAX. TOTL.GD.ZS/countries World Bank Database. (2014, last updated 2015 Dec). World Bank Database GDP growth (%yoy). Retrieved Mar 20, 2015, from http://data.worldbank.org/indicator/ NY.GDP.MKTP.KD.ZG

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

83


บทวิเคราะห์ เรื่อง ท�ำความรู้จักกับ Digital Economy

1

บทสรุปผู้บริหาร

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้าน รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อน�ำพาให้ ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางและก้าวเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในปี พ.ศ. 2575 และก้าวหน้าไป อย่างมัน่ คงสอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ของรัฐบาลทีว่ า่ “ภายในปี 2015-2020 (พ.ศ. 2558-2563) ประเทศไทยต้องเป็น ประเทศที่มั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” ❍❍ ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในขั้นตอนการวางรากฐานเชิงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและ โครงสร้างทางกฎหมาย รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ในการก�ำกับดูแลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) แต่ ในทีส่ ดุ แล้วภาครัฐจะต้องเลือกรูปแบบในการด�ำเนินงานทีเ่ หมาะสมเพือ่ ให้เกิดการกระตุน้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ให้เกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรากฐานดังกล่าว เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ Digital Economy อย่างแท้จริง ❍❍ นโยบาย Digital Economy ควรมีเป้าหมายทีช ่ ดั เจน รอบคอบ และมีความเป็นเอกภาพระหว่าง ภาครัฐและเอกชนในการเตรียมความพร้อม เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ของสินค้าและบริการ (Product and Service) ดังนัน้ นโยบาย Digital Economy จึงมีความจ�ำเป็นและมีความส�ำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องคิดและวางโครงสร้างให้ตรงตาม เป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ในระยะยาว ❍❍

1. บทน�ำ Digital Economy เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ของคนไทยมากขึน้ นับตัง้ แต่อดีตรองนายกรัฐมนตรีดา้ นเศรษฐกิจ ม.ร.ว. ปรีดยิ าธร เทวกุล ได้นำ� เสนอแนวความคิดและนโยบายต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีนโยบายสนับสนุนให้เกิด Digital Economy ขึน้ เพือ่ เป็นการปรับเปลีย่ น รูปแบบภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการแบบดัง้ เดิมของไทย โดยวางแผนการด�ำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ ของประเทศ ทั้งนี้ ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือ ระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้ามามีส่วน ในการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เอกชนจะเป็นผู้ด�ำเนินการ ซึ่งเป็นระบบ ที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรเร่งผลักดันนโยบาย Digital Economy ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนือ่ งจากปัจจุบนั ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ยงั อยูบ่ นพืน้ ฐานการผลิตแบบเดิมทีย่ งั อาศัยแรงงานคน ขาดความตระหนักถึงการน�ำเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาปรับใช้ และพบว่าธุรกิจส่วนมากไม่สามารถแข่งขันบนโลกออนไลน์ได้ ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ยงั ขาดความรูค้ วามสามารถทางด้านการสือ่ สารผ่านโลกออนไลน์ ดังนัน้ จึงมีความจ�ำเป็น ทีจ่ ะต้องสร้างความตระหนักรูใ้ นการใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ให้กบั ทุกภาคส่วน ทัง้ ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากทีก่ ล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้วา่ Digital Economy เกิดขึน้ เพราะแรงผลักดันจากความก้าวหน้าของวิวฒ ั นาการทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้ประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพล และส่งผลกระทบต่อการบริหารงานยุคใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประเทศต่างๆ ในโลกมีการติดต่อและเชื่อมโยงกันอย่าง ใกล้ชิด ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้า การบริการ รวมทั้งความมั่นคงและด้านอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ มาพิจารณาควบคูก่ นั ไป ดังนัน้ การวางรากฐานเพือ่ รองรับเศรษฐกิจดิจทิ ลั ให้ขบั เคลือ่ นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเสริมสร้าง ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรูแ้ ละสังคมดิจทิ ลั ต้องมีแนวทางการด�ำเนินการให้ครอบคลุมในประเด็นส�ำคัญหลักๆ (ภาพที่ 1) ดังนี้

ผู้เขียน นางสาวณัฏฐธิดา จันภักดี ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร. กุลยา ตันติเตมิท และ ดร. พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

84


ภาพที่ 1 แนวคิดในการพัฒนา Digital Economy ของ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล

ที่มา : ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Hard Infrastructure) เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้สะดวก และไม่เกิดความเหลื่อมล�้ำ เช่น การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียรทั้งการเชื่อมต่อในประเทศและต่างประเทศ การบริหารจัดการคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพ การเพิ่มช่องทางการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (International Gateway) การพัฒนาศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Data Center) เพื่อรองรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Soft Infrastructure) ซึ่งได้แก่ ระบบการสนับสนุนรองรับและกฎหมายส�ำคัญต่างๆ เพื่อให้เกิดกลไกการก�ำกับดูแลการแข่งขันให้เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม 3. โครงสร้างพื้นฐานด้านการบริการ (Service Infrastructure) ที่ส�ำคัญได้แก่ แพลตฟอร์ม ส�ำหรับพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E - commerce Platform) ระบบการช�ำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E - Payment) และการให้บริการภาครัฐอิเล็กทรอนิกส์ (E - Government) ทีม่ กี ารเชือ่ มโยงฐานข้อมูลต่างๆ ซึง่ จะท�ำให้เกิดการท�ำธุรกรรมกับภาครัฐทีม่ คี วามสะดวกรวดเร็วและมีความ โปร่งใสยิ่งขึ้น 4. การส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion) โดยการลดอุปสรรคของการประกอบ ธุรกิจและการลงทุนในยุคดิจิทัลด้วยการพัฒนาให้เกิดนักธุรกิจใหม่โดยใช้ไอทีเป็นเครื่องมือ 5. การพัฒนาองค์ความรูแ้ ละสังคมดิจทิ ลั (Digital Knowledge and Society) โดยการสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึง เครือข่าย และข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ซึง่ แนวคิดทัง้ 5 ด้านนีต้ อ้ งมีระบบการบริหารจัดการให้ชดั เจนเพือ่ ไม่ให้การด�ำเนินการกระจัดกระจาย หรือต่างคนต่างท�ำ ด้วยการตัง้ คณะกรรมการขึน้ มาท�ำงานในแต่ละด้าน ซึง่ กรรมการจะมาจากทัง้ ส่วนภาครัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระ โดยทุกเรือ่ ง ต้องท�ำแบบเร่งด่วน นโยบายเศรษฐกิจดิจทิ ลั ของรัฐต้องครอบคลุมถึงการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร (ICT) มาปฏิรปู เศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเน้นการขับเคลื่อนด้วยภาคเอกชน และรัฐมีหน้าที่อ�ำนวยความสะดวกให้ ทัง้ การมีนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ หรือแนวปฏิบตั ทิ เี่ หมาะสม พร้อมกับรัฐจะต้องปฏิรปู กระบวนการท�ำงานและใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่ภาครัฐมี เพื่อให้การบริการของตนมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น การจะก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลนั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องปฏิรูประบบราชการให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดยเปลี่ยนการท�ำงานของระบบราชการให้ใช้เทคโนโลยี อย่างทีค่ วรในการลดขัน้ ตอนและกฎระเบียบทีเ่ ป็นอุปสรรคกับการด�ำเนินธุรกิจและการให้บริการประชาชน มีการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิด Digital Government อย่างเต็มรูปแบบ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

85


ประเด็นส�ำคัญทีต่ อ้ งให้ความส�ำคัญของนโยบาย Digital Economy คือ ประเทศไทยของเรามีความพร้อมเพียงใด ส�ำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล โดยประเมินได้จาก ประการแรก คือ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพราะหากโครงสร้างพื้นฐานส�ำหรับเทคโนโลยี สารสนเทศและการสือ่ สารของประเทศไม่มคี วามพร้อม รัฐบาลคงต้องเสียเวลาและงบประมาณจ�ำนวนมากในการวางโครงสร้าง พื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจากข้อมูลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่จัดท�ำโดยสถาบัน World Economic Forum ล่าสุดประจ�ำปี พ.ศ. 2557-2558 นั้น ประเทศไทยถือว่ามีโครงสร้างพื้นฐานส�ำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน โดยประเทศไทยมีสัดส่วนการจดทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่และการใช้บรอดแบนด์ ต่อประชากรเป็นล�ำดับที่ 3 ของอาเซียน และเมื่อพิจารณาในด้านปริมาณการรับและส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉลี่ยไทย ก็ได้เป็นล�ำดับที่ 3 ในอาเซียนอีกเช่นกัน จะเห็นได้ว่า โครงสร้างพื้นฐานส�ำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยส�ำคัญ รวมถึง ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างเมืองและชนบท เพือ่ ช่วยลดช่องว่างและแก้ปญ ั หาความเหลื่อมล�้ำ ในสังคมไทยไม่ให้ขยายตัวรุนแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ความซ�้ำซ้อนของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทัง้ ระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งให้ความส�ำคัญ ดังภาพทีเ่ ราคุน้ ตากัน ทัว่ ไปว่า บนเสาไฟฟ้าของไทยนัน้ มีสายระโยงระยางเป็นจ�ำนวนมาก ทัง้ ๆ ทีห่ ากมีการวางแผนทีด่ กี ส็ ามารถใช้ประโยชน์รว่ มกันได้ ความพร้อมประการที่ 2 ทีจ่ �ำเป็นต้องมีกค็ ือความพร้อมในปัจจัยเชิงสถาบัน อันได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการยุตธิ รรม และจรรยาบรรณของผูป้ ระกอบการไทย ซึง่ ปัจจัยเชิงสถาบันนีม้ อี ทิ ธิพลอย่างมากต่อความเชือ่ มัน่ ในเศรษฐกิจดิจทิ ลั เพราะหาก ผู้ประกอบการขาดจรรยาบรรณและกระบวนการยุติธรรมก็จะไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้ได้รับความเสียหายและคงไม่มีใคร กล้าที่จะค้าขายด้วย ความพร้อมประการที่ 3 ที่จ�ำเป็นต้องมีคือ ความพร้อมของบุคลากรไทยที่จะรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล ทักษะพื้นฐาน ที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลก็คือความรู้ด้าน IT ภาษาอังกฤษ และความคิดสร้างสรรค์ แต่จากผลการส�ำรวจ ความคิดเห็นของผู้ประกอบการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยกลับพบว่า แรงงานไทยขาดทักษะพื้นฐานที่จ�ำเป็นทั้ง 3 ด้าน ความพร้อมประการสุดท้ายคือ ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยที่จะลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อรักษา ขีดความสามารถในการแข่งขันภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้อย่างตลอดเวลาและรวดเร็ว ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถรักษาความโดดเด่นของตนเองไว้ได้ก็จะค่อยๆ เสียส่วนแบ่งทางการตลาด และในที่สุดก็จะต้อง ออกจากตลาดไป จากการส�ำรวจความพร้อมในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่รัฐบาลก�ำลังพยายามจะท�ำให้เป็นรูปธรรมนั้น จะเห็นว่า ความพร้อมเพียงประการเดียวทีป่ ระเทศไทยมีกค็ อื ความพร้อมในด้านโครงสร้างพืน้ ฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ในส่วน อื่นๆ นั้นยังมีปัญหาอีกหลายประการที่เราต้องปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ระบบยุติธรรมที่สามารถ แก้ไขข้อพิพาทได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว การปฏิรปู ระบบการศึกษาเพือ่ สร้างบุคลากรทีม่ ที กั ษะเหมาะสมกับเศรษฐกิจ ดิจิทัล ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยด้วยการวิจัยและพัฒนาที่เพิ่มขึ้น ไม่นับรวมการปฏิรูประบบ ราชการให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจดิจทิ ลั ทีจ่ ะต้องเป็นระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ซึง่ มีการน�ำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว

• • •

2. ค�ำนิยาม : แนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Economy) ภายใต้นโยบายของ รัฐบาล เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Economy) คือ เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ ICT เป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อน การปฏิรูปกระบวนการผลิต การด�ำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอืน่ ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวติ ของคนในสังคม และการจ้างงาน ที่เพิ่มมากขึ้น หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง Digital Economy คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเสริมสร้างเศรษฐกิจ หรือการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหลายในการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ภาคการผลิตจนถึงการขาย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีทั้งระบบ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวมีรูปแบบตั้งแต่เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีการขนส่ง และเทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น จากแนวคิดของรัฐบาลข้างต้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต้องมีรากฐานจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยอาศัยองค์ความรู้ ความคิด และเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 แนวทาง ดังนี้

86


ภาพที่ 2 รากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ที่มา : ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

1. การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นการพัฒนา Digital Content แบบบูรณาการ โดยมีการด�ำเนินการ 3 ส่วนหลัก คือ 1) บูรณาการเนื้อหาและรายละเอียดที่จ�ำเป็นในการเข้าสู่ระบบดิจิทัล ทั้งด้านการศึกษา วัฒนธรรม สาธารณสุข และพัฒนา ด้านทักษะทางอาชีพของบุคลากร 2) พัฒนา Digital Platform Technology ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับสากล และ 3) สร้างแพลตฟอร์มด้าน E-Commerce ด้านสาธารณสุข ด้านการแปลภาษาและด้าน Application Programming Interface (API) Market Place และ Open Service Platform 2. การพัฒนาบุคลากร โดยการเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และ ภาคอุตสาหกรรม ด�ำเนินการโดย 1) พัฒนาบุคลากรให้มที กั ษะใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพือ่ สร้างให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ และ 2) พัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้ได้รับการพัฒนาทักษะและการประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การบริหารจัดการ เน้นการบริหารจัดการเพือ่ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจและสังคมดิจทิ ลั อย่างยัง่ ยืน โดยสิง่ ทีต่ อ้ งเร่งด�ำเนินการ อย่างเร่งด่วน ได้แก่ 1) ด�ำเนินนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างบูรณาการ 2) จัดตั้งหน่วยงานส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบาย และ 3) สร้างโครงการต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างของการด� ำเนินธุรกิจ ทางด้านดิจิทัล ภาพที่ 3 หลักการในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ที่มา : ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

87


จากแนวคิ ด ข้ า งต้ น น� ำ มาซึ่ ง หลั ก การในการด� ำ เนิ น นโยบายเพื่ อ ไปสู ่ เ ป้ า หมายที่ รั ฐ บาลได้ ตั้ ง ไว้ โดยหลั ก การ ในการขับเคลื่อนและการด�ำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลมีดังนี้ 1. ภาคเอกชนจะต้องเป็นผู้น�ำการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยรัฐเป็นผู้อ�ำนวยความสะดวก (Facilitator) และ ส่งเสริมสนับสนุน (Promoter) โดยการสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาครัฐเอง โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยความโปร่งใสและลดการคอร์รัปชัน 2. จัดตัง้ คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจทิ ลั แห่งชาติเพือ่ ชีน้ ำ� ทิศทางของการพัฒนาให้แก่หน่วยงานทัง้ ภาคเอกชนและภาครัฐ ก�ำหนดนโยบายสนับสนุนและการสร้างแรงจูงใจ (Incentive) และนวัตกรรม (Innovation) ตลอดจนการจัดหาตลาดให้แก่เอกชน เพื่อร่วมกันสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งและพัฒนาคนไทยที่มีความสามารถด้านการแข่งขันกับต่างประเทศ 3. ก�ำหนดนโยบายดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม เพือ่ ก�ำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศบนพืน้ ฐานของการพัฒนาและ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ร่วมกันอย่างมีเอกภาพ โดยต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม ทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 4. รัฐต้องก�ำกับดูแลระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศให้มีธรรมาภิบาล มีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งต้องมีการคุ้มครอง ผู้บริโภคและข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดกัน 5. รัฐต้องปรับปรุงบทบาท อ�ำนาจหน้าที่ และแนวทางการลงทุนในองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรส่งเสริมเศรษฐกิจ ดิจิทัล การส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการก�ำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ เกิดกระบวนการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่เสริมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ การวางกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนา Digital Economy ของประเทศ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ร่วมกันอย่างมีเอกภาพด้วยความร่วมมือจากทัง้ หน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย โดยหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่สนับสนุน และขจัดกฎหมายและ ระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการด�ำเนินงาน เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจในการลงทุนให้แก่ภาคเอกชน โดยรัฐบาล ต้องเร่งด�ำเนินการเพื่อรองรับการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลให้เป็นรูปธรรมเร็วที่สุดเพื่อสร้างสรรค์สังคม ส่งเสริมคุณภาพ ชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน

3. วัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจดิจิทัล วัตถุประสงค์หลักของนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล คือ การน�ำเทคโนโลยีมาพัฒนาและสร้างความพร้อมเพื่อสร้างความ เจริญเติบโตของประเทศ โดยมุง่ เน้นไปที่ “การสร้างมูลค่าเพิม่ ” เป็นหลัก ซึง่ การขับเคลือ่ นเข้าสูค่ วามเป็นดิจทิ ลั มีความส�ำคัญต่อ การพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจการสือ่ สารของประเทศไทยในอนาคต เพือ่ เป็นพืน้ ฐานไปสูก่ ารต่อยอด กิจกรรมการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จากยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ของรัฐบาลปัจจุบัน รัฐบาลต้องศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียของการด�ำเนินนโยบายอย่างถี่ถ้วน โดยสามารถศึกษาการใช้นโยบาย ดังกล่าวจากต่างประเทศ ซึ่งต้องพิจารณาจากโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นหลัก เพื่อลดความผิดพลาดในการด�ำเนินการ และน�ำมา ปรับใช้ในการวางกลยุทธ์และวางแผนในการด�ำเนินการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ทั้งนี้ กรณีศึกษา ในประเทศที่ประสบผลส�ำเร็จจากการใช้ Digital Economy แสดงดังตารางที่ 1

88


ตารางที่ 1 Digital Economy ในประเทศส�ำคัญ ประเทศ สินค้าหลัก จุดเด่น บทบาทภาครัฐและเอกชน จีน Digital Content บ่มเพาะการตั้งบริษัทใหม่ และยังมีบริษัท มาตรการทางภาษี เงินอุดหนุนการท�ำวิจัย (E-Commerce) Internet รายใหญ่ อั น ดั บ 3 ของโลกคื อ สูงถึง 6 ล้านหยวน เป็นเวลา 3 ปี Alibaba ไต้หวัน Semiconductor มีแรงงานมีทักษะจ�ำนวนมาก

เกาหลีใต้ Digital Media อิสราเอล

อินเดีย

Intellectual Property

ตั้งบริษัทที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐและ เอกชน Industrial Technology Research Institute (ITRI) และตั้ง Hsinchu Science Park ส่วนแบ่งตลาดเกมออนไลน์สูงถึงร้อยละ 30 ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการทางภาษี ของโลก และเงินทุนสนับสนุน มี Spill-Over จากกิ จ กรรมการวิ จั ย ของ มีการร่วมมือระหว่างเอกชนและวิชาการ เช่น กองทัพ Silicon Wadi ทีส่ ง่ ออกสินค้า ICT ได้มากเป็น อันดับ 2 ของโลก

IT Service และ มีแรงงานด้าน IT จ�ำนวนมาก เช่น Indian ภาคเอกชนเป็นหลัก บังคาลอร์ กลายเป็น IT Solution Institute of Technology สามารถผลิตวิศวกร ศูนย์กลางด้าน IT Solution ของโลกทีม่ มี ลู ค่า ได้ปีละ 5 แสนคน ส่งออกกว่า 4 หมืน่ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี

ไอร์แลนด์ Digital Content เป็น Hub ของบริษัทเกม มีแรงงานมีทักษะ ริเริ่มโดยรัฐบาล (Games) จ�ำนวนมาก มูลค่าสาขา Digital ขยายตัว ร้อยละ 16 ต่อปี มาเลเซีย

ICT

ใช้มาตรการหลายอย่าง แต่ไม่ประสบความ ตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ Tax Break ส�ำเร็จเท่าที่ควร ดูได้จากมูลค่าการส่งออก 10 ปี ไม่มีการเซนเซอร์อินเทอร์เน็ต Software ซึ่งเท่ากับปากีสถานที่ไม่ได้รับ การสนับสนุนจากรัฐบาล

ที่มา : ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

จากตัวอย่างข้างต้น ท�ำให้สามารถมองเห็นขั้นตอนในการพัฒนา Digital Economy ใน 3 ขั้น ดังนี้ ขัน้ ที่ 1 Digital Commerce (การค้าบนระบบดิจทิ ลั ) : สิง่ ทีก่ ระตุน้ การพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็วและเห็นได้ชดั ทีส่ ดุ คือ การพัฒนาเชิงพาณิชย์ธุรกิจหรือการค้า ซึ่งในปัจจุบันการค้าขายบนโลกออนไลน์มีความหลากหลายและมีพัฒนาการที่มีความ ซับซ้อนมากขึน้ จากในช่วงแรกทีเ่ รามักพูดถึง E-Commerce หรือการขายของผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ จนในปัจจุบนั เราได้เห็นตลาด การค้าดิจติ อลซึง่ ได้แตกแขนงไปยังเรือ่ งของ Mobile-Commerce หรือการค้าผ่านอุปกรณ์มอื ถือ รวมทัง้ Social Commerce หรือ การค้าขายแลกเปลีย่ นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และแม้วา่ ตลาดการค้าออนไลน์ในประเทศไทยยังคงตามหลังหลายประเทศ ในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่ก็มีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแรง ดังนั้น Digital Commerce จึงควรถูกพัฒนา เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะในด้าน E-Transaction เพื่อเอื้ออ�ำนวยความสะดวกในเรื่องของการค้าขายระหว่างประเทศ และด้าน ธุรกรรมทางการเงินหรือ E-Finance ที่ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัย รวมทั้งการปรับปรุงข้อกฎหมายหรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่เกี่ยวข้องกับการท�ำธุรกรรมออนไลน์ ให้เป็นมาตรฐานและรัดกุมยิ่งกว่าเดิม

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

89


ขัน้ ที่ 2 Digital Transformation (การปรับตัวด้วยเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ) : สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ตามมาคือการคืบหน้าเข้าสูช่ ว่ งเวลาของ • Digital Transformation ซึง่ เน้นในเรือ่ งของการน�ำเอาเทคโนโลยีดจิ ติ อลต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจอันนอกเหนือ

จากการค้า มูลค่าทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างการ Transformation นีอ้ าจไม่เป็นไปในรูปแบบของตัวเลขทีเ่ กิดจากการค้าขาย แต่เป็นเรือ่ ง ของประสิทธิภาพในการท�ำธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันทีเ่ พิม่ ขึน้ กล่าวคือ มูลค่าทีส่ ามารถสร้างได้ในส่วนนีอ้ าจไม่ได้ เป็นเรื่องของยอดขายหรือเม็ดเงิน แต่เป็นเรื่องประสิทธิภาพการท�ำงาน การลดต้นทุน และการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ขัน้ ที่ 3 Digital Consumption (การบริโภคเนือ้ หาดิจทิ ลั ) : สิง่ ทีต่ ามมาคือการพัฒนาในขัน้ ตอนของ Digital Consumption หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดจากการบริโภคหรือเสพสือ่ ดิจติ อล ตัวอย่างกรณีทเี่ ห็นได้ชดั ทีส่ ดุ คือมูลค่าทางการตลาดทีเ่ กิดจาก การขายสติกเกอร์บนแชตแอป (Chat App) เช่น LINE ซึง่ ในปัจจุบนั มีการเปิดให้นกั พัฒนาและศิลปินชาวไทยได้ผลิตผลงานและ วางขายแล้ว เป็นต้น ซึง่ ทัง้ ตัวแชตแอพและสติกเกอร์นนั้ นับเป็นผลผลิตทางเทคโนโลยีดจิ ติ อลและก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ มหาศาล จากขั้นตอนในการพัฒนา Digital Economy ที่ประสบความส�ำเร็จในต่างประเทศ รัฐบาลสามารถน�ำข้อดีข้อเสียและ ข้อจ�ำกัดต่างๆ มาวิเคราะห์และปรับใช้เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการพัฒนา Digital Economy ในประเทศไทย โดยต้องศึกษา ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยเป็นส�ำคัญ ซึ่งจากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าประชาชนในประเทศไทย มีการใช้งานโซเชียลมีเดียสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อความบันเทิงและน�ำไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจและการศึกษา ค่อนข้างน้อย ทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพมากกว่าหลายๆ ประเทศในอาเซียน ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจสามารถ พัฒนาไปได้เร็วนั้น ต้องมีการวางโครงสร้างการท�ำงานแบบครบวงจรโดยสามารถเชื่อมโยงระบบการท�ำงานได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้น การพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสื่อสารและการน�ำไปใช้ประโยชน์จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง

ตารางที่ 2 อันดับการใช้เทคโนโลยีของไทย

ประเทศ ไทย ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ มาเลเซีย

The world Competitiveness Scoreboard 2014 – IMD (60 ประเทศ) Rank

Score

Rank

Score

Rank

Score

Rank

Score

29 17 7 16 12

64.976 79.559 85.429 79.814 82.088

67 18 17 9 30

4.01 5.40 5.41 5.54 4.83

49 9 11 14 36

4.86 8.21 8.05 7.89 5.93

102 2 11 8 52

0.4531 0.9103 0.8418 0.8695 6.115

ที่มา : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

90

Networked Readiness Digital Economy e-Government Index 2014 – WEF Ranking (2010) – EIU Readiness 2014 – UN (140 ประเทศ) (70 ประเทศ) (193 ประเทศ)


ตารางที่ 3 อันดับการพัฒนา ICT ของประเทศไทย (พ.ศ. 2546-2557) Networked Readiness Index- e-Readiness/Digital Economy E-Government ReadinessWEF Rankings-EIU UN ปี ค.ศ. ปี พ.ศ. จ�ำนวนประเทศ อันดับ คะแนน จ�ำนวนประเทศ อันดับ คะแนน จ�ำนวนประเทศ อันดับ คะแนน 2003 102 2004 104 2005 115 2006 2007 122 2008 127 2009 134 2010 133 2011 138 2012 142 2013 144 2014 140

38 3.72 60 42 4.22 173 56 0.446 36 0.27 64 43 4.69 191 50 0.5096 34 0.35 65 44 4.56 179 46 0.5518 34 68 47 4.63 37 4.21 69 49 4.91 40 4.25 70 47 5.22 192 64 0.5031 47 4.14 70 49 5.00 47 4.00 70 49 4.86 183 76 0.4653 59 3.90 77 3.80 190 92 0.5093 74 3.90 67 4.01 193 102 0.4631

2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557

ที่มา : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยพิจารณาจาก การสรุปอันดับการพัฒนา ICT ของประเทศไทยเชิงเปรียบเทียบ (Digital Economy Ranking (2010) – EIU) จาก 70 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 49 ถือว่าจัดอยู่ในอันดับที่ไม่ค่อยดีนัก และเมื่อพิจารณาเกณฑ์ตัวชี้วัดของปี ค.ศ. 2010 พบว่า ประเทศไทยยังค่อนข้างมีปญ ั หาด้านการเชือ่ มต่อเครือข่ายและโครงสร้างพืน้ ฐานทางเทคโนโลยี (Connectivity and Technology Infrastructure) โดยมีคะแนน 3.20 ซึ่งเป็นคะแนนต�่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านความ ครอบคลุมของโครงข่ายทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงกลุ่มคน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุที่ยังไม่สามารถเข้าถึงโครงข่ายและ บริการอินเทอร์เน็ตได้ ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดอื่นที่แสดงจุดอ่อนของประเทศไทย ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มี 4.50 คะแนน และการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของภาคธุรกิจและผู้บริโภคที่มี 4.15 คะแนน ในส่วนของเกณฑ์ชี้วัดที่ดีที่สุด ของประเทศไทยคือสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment) ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 6.83 และจากข้อมูลจะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ยังคงให้ความส�ำคัญกับ “สังคม” (Social) เป็นอย่างมาก

4. ประโยชน์ของ Digital Economy 1. การลดต�่ำลงของต้นทุนในการประกอบการทั้งในด้านการผลิตและด้านการขาย ทั้งนี้ เนื่องจากในอดีตไม่มีการติดต่อ สื่อสารผ่านเทคโนโลยีหรือระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การไม่มีอีเมล ไม่มีโทรศัพท์มือถือ หรือไม่มี Conference Call ท�ำให้ค่าใช้จ่าย ในการด�ำเนินการ (Transaction Cost) สูงมาก 2. การอ�ำนวยให้เกิดการต่อยอดในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การได้รับข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ จากแหล่งอื่นๆ ทั่วโลกเพื่อน�ำมาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ 3. การขยายตัวอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นของ E-Commerce ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ต้นทุนในการด�ำเนินการลดต�่ำลง เช่น การขายของทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีร้านค้า ความสะดวกของผู้ซื้อที่ไม่ต้องเดินทางไปหาซื้อหาด้วยตนเอง และเกษตรกร สามารถทราบความเหมาะสมของพื้นที่ท�ำการเกษตรของพืชแต่ละชนิดได้จากต�ำแหน่ง GPS

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

91


4. การขยายการจ้างงานและสร้างการจ้างงานในลักษณะใหม่ ๆ อันเป็นผลจากการเกิดสินค้า การตลาดและรูปแบบ การค้าขายใหม่ เช่น นักกลยุทธ์การตลาดทาง Social Media ที่ปรึกษา E-Commerce และนักโฆษณาสินค้าทาง Social Media 5. การอ�ำนวยให้เกิดการลงทุนธุรกิจข้ามพรมแดนมากยิ่งขึ้น เช่น การจองโรงแรมและทริปท่องเที่ยว การลงทุนซื้อหุ้น ต่างประเทศ และการค้าขายเงินตราต่างประเทศ 6. การสนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนซึ่งช่วยส่งเสริมคุณภาพของมนุษย์และแรงงาน เช่น การเรียนการสอนผ่าน อินเทอร์เน็ตหรือ E-Learning จากผลดีหลายประการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นโยบายการเปลี่ยนเศรษฐกิจของไทยให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีประโยชน์ อย่างมากต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยจะมีส่วนท�ำให้สามารถยกระดับจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งมีบทบาทเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตไปสู่ประเทศรายได้สูงที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองได้

5. ข้อเสนอแนะในการด�ำเนินนโยบายเพื่อก้าวสู่ Digital Economy การสร้างความรู้ความเข้าใจและความต้องการที่ตรงกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชนถือเป็น สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ซึง่ เป็นก้าวแรกทีจ่ ะสามารถขับเคลือ่ นนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของรัฐบาลทีต่ อ้ งการ ปฏิรปู เศรษฐกิจของประเทศโดยใช้นโยบาย Digital Economy ดังนัน้ การก�ำหนดวิสยั ทัศน์ นโยบาย พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนการ ด�ำเนินงาน ควรจะก�ำหนดเป็นกรอบที่ชัดเจน โดยก�ำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และนโยบาย ทางด้าน Digital Economy ของประเทศ ทัง้ นี้ เป้าหมายความส�ำเร็จของนโยบาย Digital Economy ควรพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ภายใต้การก�ำกับดูแลของรัฐทีเ่ ป็นมาตรฐานสากล โดยควรพิจารณาปัจจัยพืน้ ฐานซึง่ มีความส�ำคัญยิง่ คือ การวางระบบโครงสร้าง พื้นฐานและรูปแบบการด�ำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยต้องเชื่อมโยงเป้าหมายของประเทศกับเป้าหมายระดับองค์กรได้ อย่างมีกระบวนการ และที่ต้องให้ความส�ำคัญเป็นอันดับต่อมาคือ การพัฒนาทักษะและความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานระดับต่างๆ ในทุกองค์กรให้ทราบถึงกระบวนการขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยต้องค� ำนึงถึงผลประโยชน์ของ ประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ คุณภาพด้านการให้บริการที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยส�ำคัญและเป็นดัชนีวัดผล การด�ำเนินงานตามนโยบาย Digital Economy ด้วย นอกจากนี้เพื่อให้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นรูปธรรม สิ่งที่ควรค�ำนึง ถึงมากที่สุดคือ กฎหมายที่จะมารองรับกับการด�ำเนินนโยบายให้มีความรัดกุมและทันสมัยรวมถึงการวางโครงสร้างต่างๆ เพื่อ ความเสมอภาคของประชาชน โดยหน่วยงานภาครัฐต้องปรับโครงสร้างองค์กรและขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้น เพราะความส�ำเร็จของ Digital Economy เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อน�ำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders) ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ทั้งนี้ การวางรากฐานการศึกษาควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับประชาชนถือเป็นปัจจัยสู่ความส�ำเร็จที่ ส�ำคัญของนโยบาย Digital Economy เพราะเป็นการสร้างอุปสงค์และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามมา อย่างไรก็ดี ในช่วงเริม่ ต้นของการพัฒนา Digital Economy ควรสร้างแรงจูงใจให้แก่ภาคเอกชนโดยการออกนโยบายส่งเสริมด้านอุปทาน เช่น การลดภาษีหรือการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต�่ำแก่ผู้ประกอบการที่ท�ำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Economy เป็นต้น

92


ภาคการเงิน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากทรงตัวในระดับต�่ำ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับ ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงในเดือนเมษายน 2558 โดยหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติมอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี ในวันที่ 29 เมษายน 2558 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปีเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.34 ต่อปี ก่อนที่จะปรับขึ้น เล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ในเดือนพฤษภาคม 2558 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาด ใหญ่ 5 แห่ง ปรับลดลงจากร้อยละ 6.81 ต่อปี เป็นร้อยละ 6.68 ต่อปี (ภาพที่ 1) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่องส่งผลให้อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง1 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือนมิถุนายน 2558 ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ 7.78 ต่อปี ❍❍ ในปี 2558 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ ปัจจุบันตามความต้องการสินเชื่อและการระดมเงินฝากที่ยังมีไม่มากนัก และคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน จะคงอัตราดอกเบีย้ นโยบายไว้ในระดับต�ำ่ ต่อไปจนถึงสิน้ ปี 2558 เพือ่ ส่งเสริมการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจ ยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต�่ำ เพื่อส่งผ่านต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อไป ❍❍

ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชือ่ และเงินรับฝากในสถาบันการเงินทีร่ บั ฝากเงิน2 (Depository Institutions) ณ สิน้ เดือน มิถนุ ายน 2558 ขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนหนึง่ จากปัจจัยฐานต�่ำในปีกอ่ น (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) ทัง้ นี้ สถาบันการเงินทีร่ บั ฝากเงินมียอดคงค้างของสินเชือ่ จ�ำนวน 15.67 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลของฤดูกาล) และเมือ่ วิเคราะห์ตามผูใ้ ห้สนิ เชือ่ พบว่าสินเชือ่ ขยายตัว เร่งขึ้นทั้งในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ด้านเงินฝากมียอดคงค้างจ�ำนวน 16.71 ล้านล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลของฤดูกาล) โดยเร่งขึ้น เล็กน้อยในธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ชะลอลงในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ❍❍

ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย หักอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน

1 2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

93


ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 ขยายตัวเร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) โดยธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้างสินเชือ่ ภาคเอกชนจ�ำนวน 10.43 ล้านล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และเมือ่ ขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ด้านเงินฝากขยายตัว ในช่วงต้นไตรมาสก่อนที่จะหดตัวในช่วง 2 เดือนหลัง โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มียอดคงค้างจ�ำนวน 11.78 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า ❍❍

ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

เมื่อพิจารณาตามประเภทสินเชื่อ พบว่ายอดคงค้างสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2558 ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 6) โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 35.1 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 64.9 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย ที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍

94


ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ยอดคงค้างสินเชื่อธุรกิจในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้า โดยสินเชื่อภาคเกษตร ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิตมีการขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่สินเชื่อภาค บริการยังคงชะลอตัว (ภาพที่ 8) โดยยอดคงค้างสินเชื่อภาคเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 1.2 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ ร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับยอดคงค้างสินเชื่อภาคการผลิต ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นมาที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 34.4 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍

ภาพที่ 7 สินเชือ่ แยกตามภาคส่วนธุรกิจ

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจ

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

95


ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคในธนาคารพาณิชย์ชะลอลงจาก ไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 10) โดยสินเชื่อเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของ สินเชือ่ รวม หรือร้อยละ 23.9 ของสินเชือ่ อุปโภคบริโภค หดตัวร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น หดตัวต่อเนือ่ งเป็นไตรมาสที่ 5 แต่หดตัวในอัตราทีช่ ะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -4.0 ขณะทีย่ อดคงค้างสินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ซึง่ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 49.6 ของสินเชือ่ อุปโภคบริโภค ขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ทีร่ อ้ ยละ 11.7 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับ ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.0 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลง ที่ร้อยละ 7.8 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 (ภาพที่ 11) ❍❍

ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารพาณิชย์แยกประเภท

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ส�ำหรับหนีภ้ าคครัวเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มียอดคงค้างอยูท่ ี่ 10.57 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 79.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ที่อยู่ที่ร้อยละ 79.4 (ตัวเลขปรับปรุง) (ภาพที่ 12) โดย สินเชื่อเกือบทุกประเภทขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์และจักรยานยนต์ที่หดตัวเป็นไตรมาสแรก ที่ร้อยละ -2.8 หลังจากขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง หลังจากโครงการรถคันแรกสิ้นสุดลงในปี 2555 (ภาพที่ 13) ด้านคุณภาพสินเชื่อพบว่า อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของหนี้ภาคครัวเรือนรวมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้อัตราส่วน NPL ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและบัตรเครดิต อยู่ระดับใกล้เคียงกับอัตราส่วน NPL ของหนี้ครัวเรือนรวม ที่ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.1 ตามล�ำดับ ขณะที่อัตราส่วน NPL ของสินเชื่อรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่อยู่ในระดับต�่ำที่ ร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตาม สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การก�ำกับ (Non-Bank) มีอัตราส่วน NPL ค่อนข้างสูง ที่ร้อยละ 4.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2556 (ภาพที่ 14) ❍❍

96


ภาพที่ 12 ระดับหนี้ภาคครัวเรือนและอัตราส่วนต่อ GDP

ที่มา : ธปท. และ สศช. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 13 อัตราการเติบโตของหนี้ภาคครัวเรือน แต่ละประเภท

ที่มา : ธปท. และ สศช. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 14 อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของหนี้ภาคครัวเรือนแต่ละประเภท

ที่มา : ธปท. และ สศช. / ประมวลผลโดย สศค.

กล่าวโดยสรุป ณ สิน้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2558 สินเชือ่ และเงินฝากขยายตัวในอัตราทีเ่ ร่งขึน้ เล็กน้อย โดยสินเชือ่ ธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลง อย่างไรก็ตามการเร่งขึ้นของสินเชื่อ มีปัจจัยหลักจากฐานที่ต�่ำในปีก่อนหน้า สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนที่ยังค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ การบริโภคยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยสนับสนุนให้ เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคกลับมาขยายตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้สินเชื่อกลับมา ขยายตัวได้ดขี นึ้ ในการนีห้ ากวิเคราะห์ถงึ ความมัน่ คงของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL) และสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPL) ยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 2.4 และ ร้อยละ 1.2 ของสินเชื่อรวม ตามล�ำดับ ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 16.7 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

97


Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)

98


ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE

เสนอแนะอย่างมีหลักการ

ศ ค

ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ

คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ พงศ์นคร โภชากรณ์ : p_pochakorn@hotmail.com

ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ

ภาคการคลัง ดร.นรพัชร์ อัศววัลลภ : norabajra@mof.go.th คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com ดร.กุสุมา คงฤทธิ์ : kusumakongrith@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ณัฏฐธิดา จันภักดี : fongnutdee@hotmail.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ พนันดร อรุณีนิรมาน : panandorn.a@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน กระแสร์ รังสิพล : krasae.a@gmail.com เศรษฐกิจต่างประเทศ อรกันยา เตชะไพบูลย์ : aurakunya.t@gmail.com พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com

ภาคการเงิน พิมพัชรา กุศลวิทิตกุล : pkusolvititkul@gmail.com อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม ดร.ปฐมดนัย พลจันทร์ : pathomdanai@gmail.com จิตติมา ด�ำมี : jittima.da@gmail.com ภาคเกษตรกรรม จักรี พิศาลพฤกษ์ : jakree.fpo@gmail.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ดร.กุสุมา คงฤทธิ์ : kusumakongrith@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ อรอุมา หนูช่วย : onuma.fpo@gmail.com เศรษฐกิจรายภูมิภาค ดร.กุลกัลยา พระยาราช : kulkunya@mof.go.th กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com นิธิทรรศน์ คณะมะ : b49440605@gmail.com คัทลียา วัฒนธรรมรักษ์ : vcathaleeya@gmail.com


สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.