Cnt0011093 1

Page 28

กรอบความยั่งยืนทางการคลัง กระทรวงการคลังได้กาหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อเป็นแนวทางในการดาเนิน นโยบายทางการคลังที่สอดคล้องกับสถานะเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ โดยมีเป้าหมาย เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว ซึ่งกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ประกอบด้วยตัวชี้วัดและเป้าหมาย (60-15-0-25) ดังนี้  ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60  ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15  การจัดทางบประมาณสมดุล  สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต่ากว่าร้อยละ 25 สานักงานเศรษฐกิจการคลังได้จัดทาการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลาง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินและรักษาความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีผลการวิเคราะห์ระหว่าง ปีงบประมาณ 2556 – 2560 ซึ่งสรุปได้ดังนี้  สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ในปีงบประมาณ 2556 อยู่ที่ร้อยละ 46.8 และ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.3 ในปีงบประมาณ 2560  ระดับภาระหนี้ต่องบประมาณอยู่ในระดับร้อยละ 7.4 ในปีงบประมาณ 2556 และ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.8 ในปีงบประมาณ 2560  รัฐบาลมีนโยบายลดการขาดดุลงบประมาณ โดยกาหนดให้ปีงบประมาณ 2556 ถึง 2559 ขาดดุลงบประมาณ 300,000 250,000 150,000 และ 75,000 ล้านบาท ตามลาดับ และจัดทางบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2560 เพื่อรักษาวินัยการคลัง และขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ  สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายต่ากว่าร้อยละ 25 อย่างไรก็ดี หากนับ รวมรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกับรัฐวิสาหกิจจะทาให้อัตราส่วนรายจ่ายลงทุนต่อ งบประมาณเพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2556 เมื่อนับรวมการลงทุนของรัฐบาล (450,374 ล้านบาท) กับรัฐวิสาหกิจ (418,113 ล้านบาท) จะทาให้มีงบลงทุนรวมถึง 868,487 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.2 ของงบประมาณรายจ่าย

- 28 -


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.