RHYTHM MAGAZINE Issue 7

Page 1

live as your life

Volume 1

Issue 7

May 2012

MAGAZINE

FREE COPY

RHY THM

มงฟอร์ตวิทยาลัย วงดุริยางค์ 3 แผ่นดิน ASK EXPERT

จิณณวัตร มั่นทรัพย์ คนเขียนเพลง บรรเลงสร้างคน

NEW WAVE

คมกริช สุนทรนนท์ ท�ำเลยครับ ถ้าเรารักที่จะท�ำมัน

www.Rhythm-Magazine.com




EDITOR’S RHYTHM ขอต้อนรับนักเรียนทุกคน เข้าสู่การเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ครับ ผมจ�ำได้ว่าวันแรกของ

การเปิดเทอมจะเป็นวันที่ตื่นเต้นมาก เพราะจะได้เจอเพื่อนใหม่ นักเรียนใหม่ ครูใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ อะไร ๆ ก็ใหม่ไปหมด ทุกคนจะใส่ชุดนักเรียน ถุงเท้า รองเท้า กระเป๋าไฮโซ เสื้อผ้าหน้าผมยกกันมาเป็น ขบวนเลย แล้วพวกเราเราชาวเด็กแบนด์ก็จะซุมกันอยู่ห้องดนตรี เม้าท์มอยกันเหมือนไม่ได้เจอกันมา เป็นสิบปี ว่าไปโน่นเลย ? นึกย้อนกลับไปอีกทีก็ .. โอ้โห ! ไม่อยากคิดว่าตอนนี้อายุเท่าไหร่ ? เปลี่ยนเรื่อง ละกันนะครับ .. ถือว่าเปิดเทอมประเดิมต้นปีการศึกษาเลยเนี้ย ผมขอน�ำเสนอ วงดุริยางค์ที่เป็นต�ำนาน เป็นทีก่ ล่าวขานและเป็นทีร่ จู้ กั อย่างกว้างขวางมากทีส่ ดุ ประเทศ มาให้พวกเราได้เข้าถึงกันอย่างใกล้ชดิ เลย ทีเดียว คือวงดุรยิ างค์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ประวัตคิ วามเป็นมาและผลงานทีส่ ร้างไว้ไม่ใช่เรือ่ งธรรมดา อย่างแน่นอนทีโ่ รงเรียนไหนจะสามารถมีเหมือนได้ พลิกอ่านดูแล้วเชือ่ ว่านอกจากตาไม่กระพริบแล้ว ต้อง ค้างเติ่งอย่างแน่นอน นอกจากนี้เราจะได้กลับมาสัมผัสกับเยาวชนคนไทยที่ไปใช้ชีวิตร่วมกับวง DCI อีก คนหนึ่งเช่นกันหลังจากฉบับแรกที่น�ำเสนอไป แล้วเล่มต่อไปก็จะยังได้เจอกับเนื้อหาเช่นนี้อีกเช่นกันครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับปีการศึกษาใหม่ที่มาถึง พอโรงเรียนเปิดเทอม ฤดูการของการซ้อม ดนตรีก็กลับเข้ามาอีกครั้ง นักเรียนโยธวาทิตทุกคน !! อย่ามัวแต่ซ้อมดนตรีจนไม่ไปเข้าแถวหน้าเสาธง นะครับ แล้วก็อย่าลืมขึ้นเรียนเมื่อถึงเวลานะครับ บรรณาธิการอ�ำนวยการ วสวัตติ์ วะดี editor-rhythm@hotmail.com

4 RHYTHM





ContentS Editor’s Rhythm.......................... 4 Calendar.................................10 Event News.............................12 มงฟอร์ตวิทยาลัย. ......................14 วงดุริยางค์ 3 แผ่นดิน

บนเส้นทางแห่งความส�ำเร็จ..............18 วงดุริยางค์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

DID YOU KNOW........................22 ท�ำอย่างไร? ถึงจะได้คะแนน

Music Technology.....................24 ACOUSTIC DESIGN

Ask Expert...............................26

14

จิณณวัตร มั่นทรัพย์ คนเขียนเพลง บรรเลงสร้างคน

24 RHYTHM TEAM

30

New Wave..............................28 คมกริช สุนทรนนท์

Art & Acting............................30 จุดเริ่มต้นคัลเลอร์การ์ด

Sectional.................................32 Leading instructors 8 RHYTHM

ที่ปรึกษา บรรณาธิการอ�ำนวยการ บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ Graphic Design ที่ปรึกษากฎหมาย

ภราดามีศกั ดิ์ ว่องประชานุกลู ดร.ชัยพฤกษ์ เมฆรา อ.สุรพล ธัญญวิบูลย์ อ.นิพัต กาญจนะหุต อ.กิตติ เครือมณี ณรงค์ คองประเสริฐ วสวัตติ์ วะดี ธวัชชัย ใจมุข จตุรภัทร อัสดรชัยกุล เกษม ด้วงสน ประมาณ จรูญวาณิชย์ ชนัญ บุญพุทธารักษา

บริษัท ริธมิคส์ จ�ำกัด

เลขที่ 106/126 หมู่ 7 หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทร.053-334556 โทรสาร.053-334557 E-mail: rhythmmagazine@hotmail.com www.Rhythm-Magazine.com



CALENDAR Sounds of Poland

การแสดงคอนเสิร์ตครั้งที่ 9 ฤดูกาลที่ 7 ของ วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (TPO) ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย ในการดูแลของ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล น�ำเสนอ คอนเสิร์ต “Sounds of Poland” โดยมี Gudni Emilsson หัวหน้าวาทยกรประจ�ำวง จะมาควบคุม วงในผลงานเพลงที่จัดแสดงเป็นครั้งแรกของโลก ใน บทเพลง Violin Concerto No. 2 ของ Karl Fiorini นักประพันธ์ผู้มากฝีมือจากประเทศมอลตา โดยได้ Marta Magdalena Lelek นักไวโอลินที่โดดเด่น และน่าสนใจที่สุดคนหนึ่งของโปแลนด์ สื่อต่างๆ มัก วิจารณ์การเล่นไวโอลินของเธอว่า “สุ้มเสียงไพเราะ งดงาม,มีความเป็นดนตรี เต็มไปด้วยพลัง, มีเทคนิค เยี่ยม และ สง่างาม” คอนเสิร์ตครั้งนี้ จัดขึ้นเพียง 2 รอบ คือ วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2555 เวลา 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2555 เวลา 16.00 น. ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา บัตรราคา 500, 300 และ 100 บาท (นักเรียนนักศึกษา) สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมหรือส�ำรองที่นั่งกรุณาโทร. 0 2800 2525 – 34 ต่อ 153-154 หรือ www.music.mahidol. ac.th, www.thailandphil.com

Jubilee Concert

The 7th Season of TPO continues with grand flourish, in a concert celebrating 80 years of diplomatic relations between Switzerland and Thailand, as Swiss principal guest conductor Claude Villaret and cellist Pi-Chin Chien join together to for the world premiere of Swiss composer Fabian Müller’s “Sirimadi” for Cello and Orchestra. The program also features Brahms’ Symphony No. 1. Program: Thai Traditional Music, Fabian Müller: “Sirimadi” for Cello and Orchestra (World Premiere), Johannes Brahms: Symphony No.1 in C minor op.68 Concerts: 1 June 2012 / 7.00 p.m. / MACM, 2 June 2012 / 4.00 p.m. / MACM Conductor: Claude Villaret Soloist: Pi-Chin Chien, Cello 10 RHYTHM

MAY 2012

คอนเสิรต์ “ชมวัง…ฟังเพลง” มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ (BSO) ร่วมกับ บี.กริม และ นูนี่ โปรดักชั่นส์ จัดการ แสดงละครร้องโอเปร่า “Dido & Aeneas” (ไดโด & เอเนียส) ประพันธ์เพลงโดย เฮนรี่ เพอร์ แซล อ�ำนวยเพลงโดย ชาเลฟ แอดแอล บรรเลง โดย BSO แสดงน�ำโดยศรัณย์ สืบสันติวงศ์, โมนิค คล่องตรวจโรค, อายาโนะ คิมูระ และนักร้องนัก แสดงมากความสามารถอีกกว่า 20 ชีวติ ก�ำกับการ แสดงโดย ภัทรสุดา อนุมานราชธน ก�ำหนดแสดง ในวันศุกร์ที่ 18, วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2555 เวลา 20.00 น. ณ หอประชุม เล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บัตรราคา 1000/ 800/ 600 และ 200 บาท (นักเรียน นักศึกษา) ซือ้ บัตรได้ท:ี่ ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร.02 262 34567 หรือ www.thaiticketmajor.com

American folk musician American folk musician, David LaMotte, will be giving a benefit concert at 7:00 pm on May 12 at Saisuree Chutikul Music Hall, Payap University, Mae Khao Campus. Admission is free. An offering will be taken to benefit the New Life Center Foundation. Snacks and handicrafts will also be sold during intermission, with proceeds to go to NLCF. A veteran of 10 CDs and more than 2,000 concerts on four continents, David LaMotte is an award-winning songwriter, children’s book author, peace activist and public speaker. In 2004, David co-founded PEG Partners, Inc., a non-profit that he now directs, which supports school and library projects in Guatamala. David suspended his eighteen-year music career at its peak in 2008 to accept a Rotary World Peace Fellowship to pursue a masters degree in Peace and Conflict Resolution at the University of Queensland in Brisbane, Australia. He now serves on the Nobel Peace Prize Nomination Committee for the AFSC (American Friends Service Committee) and as Program Associate for Peace at the North Carolina Council of Churches. His music has been honored with numerous awards and grants and has been featured on dozens of artist compilations. David is now based in Chapel Hill, North Carolina, USA with his wife, Deanna and two-year-old son, Mason. To learn more about David, go to www.davidlamotte.com For more info about the concert, contact Kit at kitripley@gmail.com or call 087-059-0780. The concert is sponsored by the New Life Center Foundation and Payap University

YAMAHA MARCHFEST'12th ครัง้ แรกในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง ขอเชิญร่วมงาน YAMAHA MARCHFEST'12th by SIAMYTH DRUM & BUGLE CORPS Live in CHIANGMAI วันที่ 25 - 27 พฤษภาคม 2555 ณ สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งงานนี้เป็น งานฟรีที่ชาวภาคเหนือไม่ควรพลาด เพราะทางวง SIAMYTH DRUM & BUGLE CORPS ขนกันมา เกือบ 150 ชีวิต เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการและแสดง โชว์เต็มรูปแบบให้วงดุริยางค์ของจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงได้รับชมกันแบบอิ่ม พิเศษสุด ส�ำหรับผูเ้ ข้าร่วม Work Shop จะได้บรรเลงบทเพลงพิเศษ ร่วมกับนักดนตรีวง Siamyth สอบถามเพิ่มเติม คุณดาว 088-1380507 คุณแจ๊ค 088-1380509


แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่

World Music Contest 2009, Kerkrade, Netherlands.

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

ฝ่ายวิชาการ (ศิลป์-ดนตรี)

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม (053) 245572-5 ต่อ 421, 404, 406

Fax. (053) 245571 www.montfort.ac.th

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ด�ำเนินงานด้านการศึกษาในสายสามัญโดยเฉพาะ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์, แผนการเรียนศิลป์-ฝรัง่ เศสและภาษาจีน นอกจากนัน้ ยังมีกจิ กรรมทีส่ ร้างชือ่ เสียงให้กบั โรงเรียนเป็นอย่างยิง่ คือ กิจกรรมวง โยธวาทิต โดยโรงเรียนได้สง่ เสริมกิจกรรมด้านดนตรีสากล ให้กบั นักเรียนอย่างต่อ เนื่องในลักษณะนอกเวลาเรียน และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระศิลปะ แผนการเรียนศิลป์- ดนตรี เริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2553 เพื่อรองรับความ ต้องการของนักเรียน ที่ต้องการเรียนวิชาดนตรีเป็นวิชาหลัก และสามารถน�ำไป สอบเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งผลงานด้านวงโยธวาฑิตและด้าน ดนตรีเป็นทีป่ ระจักษ์ตอ่ สาธารณชนอย่างชัดเจนเสมอมาตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี


EVENT NEWS ชนะเลิศการแข่งขันร้องประสานเสียง MU Choir หรือคณะนักร้องประสานเสียงมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันในรายการ The International Competition of Children’s and Youth Choirs and Vocal Choir Ensembles (ICCYC-2012) ที่เป็นส่วนหนึ่งเทศกาลดนตรี XII Moscow International Children’s and Youth Choral Festival “Moscow Sounds” (MICYCF 2012) เทศกาลดนตรีคอรัสระดับ นานาชาติที่ยิ่งใหญ่ของประเทศรัสเซีย ที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ใน ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2555 ที่ Rachmaninov hall ของ วิทยาลัยดนตรีมอสโคว์ ( Moscow conservatory ) มีผู้เข้า ร่วมจากประเทศต่างๆ ได้แก่ โปแลนด์ บัลกาเรีย ยูเครน รัสเซีย ฯลฯ

คอนเสิรต์ การกุศล BUU Symphonic Band เสร็จสิน้ ไปเรียบร้อยโรงเรียนบูรพาแล้วเมือ่ วันที่ 23 เมษายน 2555 กับงาน “คอนเสิร์ตการกุศล BUU Symphonic Band” ครั้งแรก จากผลงานของการจัดงานของ มหาวิทยาลัยบูรพา ณ โรงละครแห่งชาติ ซึ่งตลอดช่วงเวลาตั้งแต่ 13.30-16.30 น. ใครทีน่ งั่ อยูใ่ กล้ๆ กับท่านรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นางสุกมุ ล คุณปลื้ม คงจะได้เห็นความปลื้มอกปลื้มใจของ ท่านรัฐมนตรี หญิงแห่งกระทรวงวัฒนธรรมไทย ที่ได้พบว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ ของไทยในยุคทีท่ า่ นเป็นรัฐมนตรีวฒ ั นธรรม เอาใจใส่กบั งานด้าน วัฒนธรรมของไทยอย่างจริงจัง และสามารถสร้างบรรยากาศ อันน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง

ผลการประกวด Brass Theater ครั้งที่ 2

รางวัลทีค่ ดั สรรผลงานทางดนตรีของผูพ้ กิ าร ยงสิ ท ธิ์ ยงกมล นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท ของวิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์ มหิดล ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา ได้รับรางวัล VSA International Young Soloists Award 2012 ซึ่งเป็น รางวัลที่คัดสรรผลงานทางดนตรีของผู้พิการที่ไม่จ�ำกัดแนว ทั้ง คลาสสิก ร๊อค ป๊อบ คันทรี่ ฯลฯ ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม ที่ มีอายุตั้งแต่ 14-25 ปีจากทั่วโลก แล้วคัดกรองจนเหลือนักดนตรี ระดับหัวกะทิ เพียง 4 คน ในครั้งนี้ ยงสิทธิ์ จะได้เงินรางวัล มูลค่า 5,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 150,000 บาท) พร้อมได้ รับเชิญไปแสดงที่ Millennium Stage ใน John F. Kennedy Center กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศอเมริกา ซึง่ เป็นสถานทีด่ งั ไม่แพ้ คาร์เนกี้ฮอล์ ในวันที่ 17 มิถุนายน 2555 นี้

ผลการประกวดวง Brass Theater ครั้งที่ 2 วันที่ 22 เมษายน 2555 ณ สวนสยาม รุ่น Junior Division โรงเรียนสฤษดิเดช จันทบุรี 80.0 ชนะเลิศ โรงเรียนสวนรัฐวิทยา 70.16 รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) ปราจีนบุรี 67. 3 รองชนะเลิศ อันดับ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง แพร่ 47.16 ชมเชย โรงเรียน มารดาอุปถัมภ์ แพร่ 45.16 ชมเชย รุ่น Senior Division โรงเรียน บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) 76.5 ชนะเลิศ โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม 62.0 รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนพิริยาลัย แพร่ 59.0 รองชนะเลิศ อันดับ 2 โรงเรียนเจริญราษฏ์ แพร่ 45.8 ชมเชย 12 RHYTHM


Marcato Saxophone Pro Shop

ส�ำหรับผู้ที่รักแซกโซโฟน เรามีแซกโซโฟนให้ท่านเลือกมากมาย ตั้งแต่ระดับนักเรียนถึงระดับมืออาชีพ พร้อมทั้งอุปกรณ์และการรับประกัน

เชิญทดลอง

Yanagisawa Saxophone A-992 นวัตกรรมตัวเครื่องบรอนซ์ พร้อมการตอบสนองที่ชัดเจน ด้วยช่วงกว้างของไดนามิค ที่ให้เสียงอันอบอุ่นและไพเราะ

Marcato Music Co.,Ltd. บริษัท มาร์คาโต้ มิวสิค จ�ำกัด 3 ซอยรามค�ำแหง 12 หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร. 02-7173976-77, 086-7990077 แฟกซ์ 02-7173975 www.marcato.co.th Email: info@marcato.co.th

ตัวแทนจ�ำหน่าย Yamaha, kenneth, Yanagisawa, Hoffner String, Meyer Mouthpiece, Jody Jazz Mouthpiece, Otto Link Mouthpiece, Claude Lakey Mouthpiece, Best Brass, Sibelius Software, Bam Case


มงฟอร์ตวิทยาลัย วงดุริยางค์ 3 แผ่นดิน

80 ปี บนเส้นทางการศึกษา

เมื่อธรรมทูตทั้งสองซึ่งได้แก่ คุณ พ่อยอร์ช มิราแบล และ คุณพ่อนิโคลาส บุ ญ เกิ ด กฤษบ� ำ รุ ง ได้ รั บ มอบหมาย งานจาก พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส (ประมุ ข มิ ส ซั ง สยามในเวลานั้ น ) ให้ เดิ น ทางขึ้ น มาประกาศพระศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ในดินแดน ล้ า นนา คุ ณ พ่ อ ทั้ ง สองท่ า นได้ ส�ำ รวจ พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และได้เล็งเห็น ว่าเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การจัดตั้ง ศูนย์เผยแพร่ศาสนา ในเขตภาคเหนือ ซึง่ ท่านได้ระบุไว้ในตอนท้ายของรายงานว่า

“ผูไ้ ด้รบั มอบหมายงานแพร่ธรรม รู ้ สึ ก ชื่ น ชอบการเดิ น ทางไปส� ำ รวจ ข้อมูล และมีความเห็นว่าไม่ควรล่าช้า อีกต่อไปในการทดลองประกาศพระว รสารทางเขตภาคเหนือ” พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส คุณ พ่อมิราแบล คุณพ่อนิโคลาส รายงานฉบั บ นี้ ไ ด้ ส ่ ง มอบให้ กั บ พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ซึ่งเป็น ช่ ว งเวลาเดี ย วกั น กั บ ที่ พ ระสั ง ฆราช จะเดิ น ทางไปประชุ ม ใหญ่ ข องคณะที่

ประเทศฝรั่งเศส จึงเป็นโอกาสอันดีที่ จะได้น�ำรายงานดังกล่าวมอบให้ พระ สังฆราชเกย์ บริอังต์ ได้รับทราบ นับ ว่าเป็นพระพรของพระเจ้า หลังจากที่ พระสังฆราชเกย์ บริอังต์ ได้อ่านรายงาน ของธรรมทู ต ทั้ ง สอง ท่ า นรู ้ สึ ก ชื่ น ชม ยินดีในความมุ่งมั่นที่ธรรมทูตทั้งสองจะ ประกาศเผยแพร่พระวรสารในเขตภาค เหนือของประเทศสยาม นอกจากนั้น ท่านยังได้ให้ค�ำรับรองในพันธะสัญญา ว่าจะให้การสนับสนุนด้านการเงินในการ เผยแพร่พระศาสนาในครั้งนี้อย่างเต็มที่

Cover Story เรื่อง: วสวัตติ์ วะดี

14 RHYTHM


ผู ้ ไ ด้ รั บ มอบหมาย งาน แพร่ ธ รรมรู ้ สึ ก ชื่ น ชอบการเดินทางไปส�ำรวจ ข้ อ มู ล และมี ค วามเห็ น ว่ า ไม่ควรล่าช้าอีกต่อไปในการ ทดลองประกาศพระวรสาร ทางเขตภาคเหนือ พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส

เมื่อพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เดินทางกลับมาจากประเทศฝรั่งเศส สิ่ง ที่ แรกที่ ท ่ า นเร่ ง ด�ำ เนิ น การคื อ จั ด ซื้ อ ที่ดินจ�ำนวน 2 แปลงและสร้างวัดขึ้น มาหลังหนึ่ง โดยสร้างจากเงินที่ท่านได้กู้ ยืมมาเป็นจ�ำนวนเงิน 12,500 บาท วัด หลังนั้นชื่อว่า “วัดพระหฤทัย” ซึ่งให้ เป็นสถานที่ใช้ส�ำหรับเป็นศูนย์รวมทาง จิตใจ พิธีกรรมทางศาสนา และเผยแพร่ พระศาสนา จากนั้นคุณพ่อยิ่งตระหนัก ถึงความจ�ำเป็นและความส�ำคัญของการ ศึกษา กรอปกับในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2474 ก่อนพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส

คุณพ่อมิราแบล

และคุณพ่อยอร์ช มิราแบล จะเดินทาง ขึ้นมาจังหวัดเชียงใหม่ ท่านทั้งสองได้ เดินทางไปเยี่ยม ซิสเตอร์เบอร์นาร์ด มัง แซล ซึ่งขณะนั้นซิสเตอร์ด�ำรงต�ำแหน่ง อธิการิณโี รงเรียนมาแตร์เดอี ทีก่ รุงเทพฯ คุณพ่อทัง้ สองจึงได้ชกั ชวนให้คณะอุรส์ ลุ ิ นมาเปิดโรงเรียนส�ำหรับนักเรียนหญิง ซึง่ ซิลเตอร์เบอร์นาร์ด ก็สนใจและเห็นด้วย กับการเปิดโรงเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ จึ ง เดิ น ทางขึ้ น มาส�ำ รวจสถานที่ หลั ง จากนั้นซิลเตอร์ได้เขียนจดหมายไป ปรึ ก ษา ซิ ส เตอร์ แซงต์ จั ง มาร์แตง มหาอธิการิณี

คุณพ่อนิโคลาส

เจ้าคณะกรุงโรม แม้ในช่วงเวลานั้นทาง คณะจะประสบปัญหาด้านการเงินก็ตาม แต่ทางกรุงโรมก็สนับสนุนและอนุมัติให้ สร้างโรงเรียนได้ ซึ่งความต้องการของ เหล่าธรรมทูตมิได้มองเฉพาะการก่อตั้ง โรงเรียนหญิงเท่านัน้ แต่ทา่ นยังได้ชกั ชวน ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล มาร่วมก่อตัง้ โรงเรียนชายด้วยคือ โรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัย นั่นเอง ทั้งนี้เพราะต้องการให้ เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษา อันทันสมัย ในขณะเดียวกันจะ ได้ ด� ำ เนิ น งานประกาศ พระวรสารควบคู่กัน

RHYTHM 15


montfort

COLLEGE

อาคารเรียนชั่วคราว

ไปด้วย และด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการศึกษา จึง ตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของเด็กและเยาวชนที่นับถือ ศาสนาคริสต์ ธรรมทูตทั้งสองเล็งเห็นว่า การศึกษาจะสามารถ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านโดยเฉพาะบุตรหลานของ สัตบุรุษให้ดีขึ้น ดังนั้น คุณพ่อยอร์ช มิราแบล และ คุณพ่อนิโค ลาส จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนของวัดขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งโรงเรียน แห่งนี้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนพระหฤทัย” โรงเรียนทั้ง 3 แห่งเปิด ให้มีการเรียนการสอนพร้อมกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2475 โดยใช้อาคารเรียนเดียวกัน ซึ่งอยู่ข้างวัดพระหฤทัย เป็นอาคาร เรียนชัว่ คราว เนือ่ งจากอาคารเรียนของอีก 2 โรงเรียนนัน้ ยังอยู่ ในขณะก�ำลังก่อสร้าง นักเรียนเริ่มแรกที่เรียนร่วมกันมีจ�ำนวน 322 คน แบ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย 96 คน 16 RHYTHM

โรงเรียนพระหฤทัยจ�ำนวน 145 คน และโรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัย 81 คน คณะภราดาเซนต์คาเบรียลได้มาก่อตั้งโรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนองความของท่าน มุขนายก แปรอส ซึ่งเป็นผู้จัดหาที่ดินให้พร้อมทั้งให้ยืมเงินเพื่อใช้ในการ ก่อสร้าง โดยไม่คิดดอกเบี้ย โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เปิด ท�ำการสอนเป็นทางการ เมือ่ วันที่ 16 มีนาคม 2475 (ค.ศ. 1932) โดยมี คุณพ่อเรอเนเมอนีเอร์ เป็นผู้จัดการ ท่านภราดาซีเมออน เป็นอธิการคนแรก ภราดาเอมโบรซิโอเป็นรองอธิการ และมี ภราดาหลุยส์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคารเรียน บนเนื้อที่ ที่ซื้อจากหลวงอนุสารสุนทร ซึ่งอยู่ห่างจากโบสถ์พระหฤทัย ไป ทางทิศใต้ราว 200 เมตร


Kerkrade Netherlands 1985

World Music Contest, Kerkrade, Netherlands 2009 RHYTHM 17


บนเส้นทางแห่งความส� ำเร็จ

วงดุริยางค์โรงเรียน Montfort College & Regina Coeli Band 1st Place Division II, 2010

วงดุรยิ างค์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ก่อตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ.2475 ซึง่ เป็นปีแรกของการก่อตัง้ โรงเรียน โดย Bro.Simeon Rico อธิการคนแรกของโรงเรียนฯ วงดุริยางค์ได้รับการสนับสนุนจากภราดา มาทุก ยุคทุกสมัยอย่างต่อเนื่อง จนถึงสมัยที่ Bro.Antonio Maria เป็นผู้ควบคุมวง ท่านได้พัฒนาวงดุริยางค์ ของโรงเรียนให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศในนาม “วงดุริยางค์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย” ผลงาน พ.ศ.2526 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 2 พ.ศ.2527 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 3 พ.ศ.2528 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 4

ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภท Display และ Marching จากการประกวดวงดุรยิ างค์โลก ณ เมือง Kerkrade ประเทศ เนเธอร์แลนด์

พ.ศ.2530 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2532 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 8 18 RHYTHM

ซิสเตอร์เพ็ญศรี ห่อเร ผู้บริหารโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย


นมงฟอร์ตวิทยาลัย Montfort College & Regina Coeli Band 1st Place Division I, 2011 ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

พ.ศ.2533 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการ ประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสติ นักศึกษา แห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 9 พ.ศ.2534 ได้รับเชิญไปร่วมแสดงในงาน Pacific Nation Exhibition (PNE) ณ เมือง Vancouver ประเทศแคนาดา และเมือง Tenei ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ.2535 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการ ประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสติ นักศึกษา แห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 11

ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท Marching & Display และรางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 7 ประเภท Concert จากการประกวดดนตรี นานาชาติ ในเทศการดนตรีเยาวชนนานาชาติ ณ เมือง Zurich ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์

พ.ศ.2536 ได้รับเชิญแสดงเผยแพร่วัฒนธรรม ณ กรุง Moscow ประเทศรัสเซีย พ.ศ.2537 ได้รับเชิญแสดงเผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ.2538 ร่วมบรรเลงในพิธีเปิด-ปิด การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ สนาม กีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี พ.ศ.2540 แสดงคอนเสิร์ตการกุศล Montfort Charity Concert หน้าพระที่นั่ง

RHYTHM 19


Classical Undiscovered, 2011 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรง เรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม

แสดงฟรีคอนเสิร์ตและประชาสัมพันธ์โครงการ Amazing Thailand 1998-1999 เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ณ วัดไทยในลอสแองเจลิส เมือง Hollywood ประเทศ สหรัฐอเมริกา

บรรเลงน�ำขบวนพาเหรดและประชาสัมพันธ์โครงการ Amazing Thailand 1998-1999 ในงาน Magic Music day ณ เมือง Disneyland เมือง Anaheim รัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา

แสดงฟรีคอนเสิร์ต Montfort : The Symphonic Version และโครงการประชาสัมพันธ์โครงการ Amazing Thailand 1998-1999 รวมทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ณ Japan America Theaters เมือง little Tokyo ประเทศ สหรัฐอเมริกา

แสดงฟรีคอนเสิรต์ กลางแจ้ง และประชาสัมพันธ์โครงการ Amazing Thailand 1998-1999 ร่ ว มทั้ ง เผยแพร่ วัฒนธรรมไทย ในงาน Festival Bandfest ณ สนามกีฬา Rose Bowl รัฐ Calfornia ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2541 ได้รับคัดเลือกจากองค์กร Pasadena Tournament of Roses บรรเลงน�ำขบวนรถบุปผาชาติ งานมหกรรม ไม้ดอกไม้ประดับ Roses Parade ครั้งที่ 109 และ ประชาสัมพันธ์โครงการ Amazing Thailand 1998-1999 พ.ศ.2542 รองชนะเลิศ การประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ครัง้ ที่ 1 Asian Symphonic Band Competition Bangkok, Thailand 1999 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร 20 RHYTHM

montfort

COLLEGE


พ.ศ.2543 รองชนะเลิศการประกวดวงดุริยางค์ เครื่องเป่านานาชาติ ครั้งที่ 2 Asian Symphonic Band Competition Bangkok, Thailand 2000 ณ หอประชุมมหิศรธนาคารไทยพาณิชย์ส�ำนักงานใหญ่ และ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2544 ชนะเลิศ การประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ครั้งที่ 3 Asian Symphonic Band Competition Bangkok, Thailand 1999 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ได้รับรางวัลเหรียญเงินการประกวดวง Big Band (jazz) นักเรียน แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2545 ได้รบั เชิญแสดงคอนเสิรต์ ร่วมกับวง Catholic High School, Ximmin Secondary School และ The Chinese High Boarding School ณ Conference Hall ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ.2547 รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันเครื่องเป่าลมทองเหลือง ( Brass Band) ระดับไม่เกินชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวแทนส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาเชียงใหม่ เขต1 พ.ศ.2549 เหรียญเงิน การประกวด วงโยธวาทิต Yamaha All Thailand Marching Band ครัง้ ที่ 9 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550 เหรียญเงิน การประกวด วงโยธวาทิต Yamaha All Thailand Marching Band ครั้งที่ 10 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2552 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราช กุมาร จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 28 พร้อมด้วย รางวัลนั่งบรรเลงยอดเยี่ยม และค ฑากรยอดเยี่ยม

เข้าร่วมการแข่งขันดนตรีโลก World Music Contest 2009 (WMC 2009) ณ เมือง Kerkrade ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยร่วมแข่ง 2 ประเภท ดังนี้ o Show Contest World and 1st Division Section Corps Style Class Division : World Division ระดับคะแนน 1,213.00 (86.64 %) o Marching Contest World and 1st Division Division : Division World ระดับคะแนน 85.68 %

พ.ศ. 2553 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราช กุมาร จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 29 พร้อมด้วย รางวัลนั่งบรรเลงยอดเยี่ยม และ ดนตรีสนามยอดเยี่ยม พ.ศ. 2554 ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการ ประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย ครั้ง ที่ 30 พร้อมด้วย รางวัลนั่งบรรเลงยอดเยี่ยม และรางวัลดนตรีไทย ยอดเยี่ยม RHYTHM 21


เรื่อง: จตุรภัทร อัสดรชัยกุล

DID YOU KNOW

ท�ถึงจะได้ ำอย่ า งไร? คะแนน

การประกวดก็เพิ่งจะจบไปหมาดๆ ผลแพ้ชนะถูกก�ำหนดโดยตัวเลขไม่ถึง 5 ตัว นะคะ แทบจะทุกวงต้องล�ำบากตรากตร�ำในการฝึกซ้อม เพือ่ แลกกับตัวเลขไม่กตี่ วั เอง วันนี้เราจะมาเคลียร์กันให้เข้าใจง่ายๆ ว่าต้องท�ำอย่างไรถึงจะได้คะแนน

เนื่องด้วยเราไม่ได้มีพื้นที่ให้บรรยายมากมายหลายหัวข้อ (ซึ่งจริงๆแล้วมีเยอะ มาก) วันนี้เลยขออนุญาตหยิบยกหัวข้อส�ำคัญๆมาพูดถึงนะคะ (อ้างอิงจากระบบการ ตัดสินของ Drum Corps ในต่างประเทศ) เผื่อจะเป็นประโยชน์ ซึ่งเอาจริงๆแล้วบ้าน เราก็คงไม่ต่างจากเค้าเท่าไหร่นัก เริ่มกันเลย Music Ensemble ว่ากันง่าย ๆ ก็คือดนตรีโดยรวมๆจะดูจากความเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน ประสิทธิภาพของเทคนิคที่ใช้ท�ำการแสดง ความแม่นย�ำของจังหวะ คุณภาพเสียง น�ำ้ เสียงและเนือ้ เสียง แถมยังรวมไปถึงความเป็นดนตรีทลี่ งรายละเอียด ลงไปอีกเช่น การตีความหรือเล่นประโยคของเพลงไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ การ แสดงออกของผูเ้ ล่นเข้าใจตรงกันเหมือนกันหรือเปล่า ความสมดุลย์ ความสัมพันธ์ของ ผู้เล่นในกลุ่มเครื่องเดียวกันและทั้งหมด Visual Effect – คือผลกระทบ (หรือที่เรียกๆกันว่าเอฟเฟคต์) ที่เกิดขึ้นจาก การสร้างสรรค์ว่าสอดคล้อง เกี่ยวข้องกับเพลงหรือการแสดงหรือไม่ เนื้อหาสาระ ใจความ การตีความของผู้ออกแบบว่าสอดคล้องสัมพันธ์กับเพลงว่าเป็นอย่างไร การ สือ่ สารต่างๆทีจ่ ะน�ำเสนอสูผ่ ชู้ ม ความสวยงาม สุนทรียศาสตร์ของท่าทางว่าสอดคล้อง กับความสามารถของผู้แสดงหรือไม่ ยากไปหรือไม่ ง่ายไปหรือเปล่า มีจุด Climax ตรงไหน ถูกน�ำเสนอได้น่าสนใจหรือไม่. Percussion - โดยรวมๆของกลองจะคิดคะแนนจาก ความชัดเจนของการตี ออกส�ำเนียง การเชื่อมประกบ การต่อกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การควบคุม รักษาจังหวะ คุณภาพของเสียง ความแม่นย�ำของคุณภาพของเสียง การแสดงออก การน�ำ เสนอบทเพลง ควบคุมความดัง-เบา ความสมดุลย์ ความมีสว่ นร่วมกับดนตรีโดยรวม

22 RHYTHM

Color Guard - ในส่วนของคัลเลอร์การ์ด หรือนักแสดงประกอบในบ้านเราไม่ค่อยนิยมมี คะแนนส่วนนี้แบบเป็นจริงเป็นจังสักเท่าไหร่ แต่ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าเมืองนอกเค้าให้คะแนน ส่วนนี้กันจากอะไรบ้าง เริ่มด้วย คุณภาพของ การออกแบบท่าทาง การแสดงออกต่างๆ เช่น ช่วงเวลา จังหวะที่ท�ำการแสดง น�้ำหนักของช่วง เวลาที่ท�ำการแสดง การไหลลื่น ความต่อเนื่อง ความหลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ พื้นที่ การผสมผสาน ความสอดคล้องกับดนตรี ความพร้อมเพรียง ความแม่นย�ำเที่ยงตรง ชัดเจน ของท่าทาง ความสัมพันธ์หรือความช�ำนาญของ ร่างกายและอุปกรณ์ บทบาทหน้าที่ในการแสดง นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการให้คะแนน จริงๆ แล้วมีอีกหลายหัวข้อหลายส่วนที่ละเอียดกว่านี้ (ซึ่งไม่สามารถน�ำเสนอได้ในกระดาษไม่กี่หน้า) ซึ่ง คนทีเ่ ป็นกรรมการต้องเข้าใจตรงกันอีกว่าในแต่ละ ส่วนจริงๆนั้นหมายถึงอะไร เห็นหรือไม่ว่ากว่าจะ ได้แต่ละคะแนนไม่ใช่แค่นั่งดูแล้วก็เขียนๆ ตาม ความพอใจนะคะ ต้องวิเคราะห์ พิจารณาถึงเกณฑ์ หรือหลักการต่างๆ เชือ่ เถอะค่ะว่ากรรมการแต่ละ ท่านที่ให้คะแนน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เพียงพอในการวิเคราะห์ประเมินผล รวมไปถึง ตัดสินผลแพ้ชนะได้ เชือ่ ในผลการตัดสินกรรมการ เถอะค่ะ … เคารพกัน ให้เกียรติกัน ฟังกัน ช่วย กันพัฒนานะคะ วงการดนตรีบา้ นเราจะได้เจริญ ก้าวหน้าต่อไป


RHYTHM 23


สนุกกับเทคโนโลยี ดนตรีง่ายนิดเดียว

Music Technology ACOUSTIC DESIGN ACOUSTIC DESIGN

โดยทั่วไปแล้ววงที่มีขนาดใหญ่ เวลาบรรเลงในห้อง ซ้อมดนตรีจะมีเสียงที่ดังมาก ซึ่งถ้าเป็นห้องธรรมดาที่ไม่ได้ ออกแบบมาเพื่อซ้อมดนตรีแล้วด้วยนั้น จะยิ่งมีปัญหาเสียง สะท้อนในห้องตามมาอีกหนึ่งเรื่อง จึงท�ำให้เวลาปรับเพลง หรือการอัดเสียงนัน้ ไม่ได้เสียงตามทีผ่ คู้ วบคุมเพลงต้องการ จึงท�ำให้ในปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นห้องซ้อมดนตรี หรือห้อง อัดเสียง จ�ำเป็นต้องมี Acoustic Designer เป็นที่ปรึกษา เพิ่มขึ้นอีก 1 คน เพื่อออกแบบห้องซ้อมดนตรีให้มีปัญหา เรื่องเสียงสะท้อนน้อยที่สุด และเสียงที่ได้มีคุณภาพตามที่ ผู้ควบคุมเพลงต้องการด้วย ปัญหาของการท�ำห้องซ้อมดนตรีที่มักจะเป็นเรื่องใหญ่ จะมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 2 แบบคือ 1. เสียงที่อยู่ในห้อง (ไม่สามารถฟังได้ชัดเจน, ย่าน เบสในห้องบวม เป็นต้น) 2. เสียงที่รั่วออกไปข้างนอก

มาเริม่ กันทีป่ ญ ั หาข้อที่ 1 กันเลยดีกว่าครับ ยิง่ เห็นผมวงเล็บขยาย ความด้วยแล้ว ผูอ้ า่ นคงจะยิง่ เกาหัวไปกันใหญ่เลยใช่ไหมครับ ตามมา ดูให้เห็นกันแบบชัดๆ เลยดีกว่าผมขอพูดคร่าวๆเกี่ยวกับการเดินทาง ของเสียง ว่าจริงๆแล้วเสียงก็มีการเดินทางเป็นเส้นตรงจากเครื่องที่ มันออกมา มีการสะท้อน มีการสิ้นสุด โดยแต่ละย่านเสียงจะมีความ ยาวของคลืน่ เสียง (wave length) ไม่เท่ากันซึง่ ถ้าย่านเสียงยิง่ ต�่ำ ก็จะ ยิง่ ใช้ระยะทางในการเดินทางไกลกว่าย่านเสียงสูง ดังนัน้ สมมติวา่ ย่าน เสียงหนึ่งมีระยะทางในการเดินทาง 20 เมตร ต้องเดินทางอยู่ในห้อง ที่มีความยาว 5 เมตร เมื่อเสียงเดินทางไปสุดทาง 5 เมตรก็จะมีการ สะท้อนกลับไปกลับมา จนครบระยะทางการเดินทางของมัน ซึง่ ปัญหา ดังกล่าวนั้นมักจะเกิดขึ้นกับย่านเสียงต�่ำๆ จึงท�ำให้ห้องๆนั้นมีภาวะที่ หลายๆคนมักจะเรียกว่า “เบสบวม” ซึง่ ก็คอื ปัญหาข้อที่ 1 นัน่ เองครับ ส่วนใหญ่ปญ ั หานีม้ กั จะเกิดกับห้องขนาดเล็กเพดานเตีย้ โดยเฉพาะ มี ด้านกว้างยาวสูงเท่ากัน (ห้องทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส) เพราะว่าเป็นเหตุที่

ท�ำให้มุมสะท้อนของเสียงมีเยอะขึ้นมาก เพราะทุกๆ ด้าน ขนานกันเท่ากันหมด ฉะนั้นการท�ำห้องซ้อมดนตรี ก่อน อื่นควรจะหลีกเลี่ยงทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสให้ได้ก่อน อาจจะท�ำ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็ยังดีกว่า โดยเฉพาะห้องซ้อมวง String Combo ที่มีกลองชุด แอมป์เบส แอมป์กีต้าร์ ซึ่งมักจะส่ง ย่านความถีท่ คี่ อ่ นข้างดัง และต�่ำออกมา โดยเฉพาะกลองชุด เพราะเป็นเครื่อง ดนตรี acoustic ที่ ไ ม ่ ส า ม า ร ถ ควบคุมความดัง ด้วยปุม่ Volume ได้ เ หมื อ นอย่ า ง เ ค รื่ อ ง ด น ต รี ไฟฟ้า

ส่วนปัญหาข้อที่ 2 ก็คือ ปัญหาเรื่องเสียงที่ดังรั่วออกไปข้างนอก นั้น ตรงนี้ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหลายอย่างมากๆ ครับ ตั้งแต่วัสดุ ที่ใช้ในการก่อก�ำแพง วิธีการก่ออิฐ บางคนอาจมีการเอา Rock Wool หรือ Glass wool (ใยแก้ว,ใยหิน) มายัดเข้าไปอีกชัน้ ในผนังด้วย อีกทัง้ ยังขึ้นอยู่กับว่าห้องนั้นตั้งอยู่ในสถานที่แบบไหนด้วย ถ้าเป็นห้องที่ก่อ ขึน้ มาใหม่แยกตัวออกเป็นอิสระกับทุกอย่างก็จะดีทสี่ ดุ การท�ำประตูก็ เกี่ยวเช่นกัน โดยส่วนมากจะใช้ประตูสองชั้นที่มีการ Seal ให้สนิทกับ ก�ำแพง เพื่อเวลาเปิดปิด เสียงจะได้ไม่รั่วไหลออก ไปด้านนอก รบกวนผูอ้ นื่ ซึ่ ง ปั ญ หาข้ อ ที่ 2 นี้ เ องที่ ผ มได้ แ บ่ ง เป็ น ฉบับต่อไป เพราะมีราย

ละเอียดค่อนข้างมากเลยทีเดียว และผู้อ่านสามารถน�ำไป ท�ำห้องซ้อมอย่างง่ายได้เองอีกด้วย หวังว่าคงจะมีทา่ นผูอ้ า่ น ไม่มากก็น้อยที่คงจะได้ประโยชน์จากเรื่องราวที่ผมได้เขียน ในฉบับต่อไปผมจะเริ่มลงลึกในเรื่องของการใช้วัสดุ และการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น การลบมุมสะท้อน การ ท�ำ Bass trap และอีกมากมายทีท่ กุ คนไม่ควรพลาด ส�ำหรับ ฉบับนี้ขอลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ

เสียงที่รั่วออกไปข้างนอก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกันเช่นเคยใน Column Music Technology นะครับ ผมนั่งคิด นอนคิดอยู่นานพอสมควร เลยทีเดียวว่าเล่มนี้จะเขียนอะไรเกี่ยวกับ Music Technology หา ในเว็ปก็แล้ว อ่านในหนังสือก็แล้ว ก็ยังไม่รู้จะเขียนอะไรดี วันนั้นเลย รู้สึกเซ็งๆขึ้นมาเล็กน้อย แต่อยู่ดีๆก็มีโทรศัพท์จากเพื่อนผมคนหนึ่ง โทรมาหาแล้วชวนผมไปซ้อมดนตรี ผมเลยถามกลับไปว่า “แล้ววันนีจ้ ะ ไปซ้อมกันที่ไหน” เพื่อนผมก็ตอบว่า “ก็ห้องซ้อมที่เดิมไง ที่นี่ดีที่สุด แล้ว ที่อื่นไม่ได้เรื่อง” เมื่อเสียงนั้นผ่านหูผมไปแค่แว๊ปเดียวเท่านั้น ผมจึงหยุดฉุกคิดขึ้นได้ว่า ขนาดเรายังเลือกห้องซ้อมดนตรีเลย และมี อีกหลายคน อีกหลายวงมากทีม่ ปี ญ ั หาเกีย่ วกับการท�ำห้องซ้อมดนตรี ผมจึงได้ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบห้องซ้อมดนตรีแบบ ง่ายๆ ไปจนถึงห้องซ้อมดนตรีแบบระดับเทพเลย ฉะนั้นในฉบับนี้ผม จึงไม่อาจจะเขียนเรือ่ งการออกแบบห้องซ้อมได้ทงั้ หมดเลยทีซะทีเดียว แต่จะขอแบ่งเป็น 2 ตอนละกันครับ ยังไงถ้าสนใจข้อมูลเรือ่ งนีต้ ดิ ตาม กันได้ในฉบับหน้าครับ

เสียงที่อยู่ในห้อง (ไม่สามารถฟังได้ชัดเจน

เรื่อง : ปิยทัศน์ เหมสถาปัตย์

24 RHYTHM


Amethyst

Mallet Instruments

ผลิตและจัดจ�ำหน่าย Marimba Vibraphone Xylophone โครงสนาม รับซ่อมเครื่อง Percussion ทุกประเภท Amethyst Mallet Instrument 54/3 หมู่ 4 ต.คลองจุกกระเฌอ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000 โทร. 089-8923420 www.amethystmallets.com


เรื่อง: วสวัตติ์ วะดี ภาพ: จิณณวัตร มั่นทรัพย์

ASK EXPERT

จิณณวัตร มั่นทรัพย์ คนเขียนเพลง บรรเลงสร้างคน การเริ่มต้นชีวิตนักดนตรี ผมเริ่มศึกษาดนตรีกับ อ.ประยุทธ ชาญอักษร ในวงโยธ วาทิตโรงรียนหอวังในต�ำแหน่ง Euphonium หลังจากนั้นได้ เข้ า ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ที่ ภ าควิ ช าดนตรี คณะครุ ศ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเครือ่ งดนตรีเอก Tuba โดยได้ศกึ ษา กับ อ.สุรพล ธัญญวิบลู ย์ และ อ.มานิตย์ บูชาชนก ตามล�ำดับ และ ในขณะนัน้ ก็มคี วามสนใจในการประพันธ์เพลงจึงมีโอกาสได้เรียน กับ อ.อภิสิทธิ์ วงศ์โชติ อีกด้วย ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท เอกการประพันธ์เพลง กับ ศ.ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้มีโอกาสได้เป็นสมาชิกวง Tenrikyo Aimachi ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่นในต�ำแหน่ง Tuba ช่วงระหว่างปี 2547-2550 แต่ ถ้าจะกล่าวถึงบุคคลซึง่ เป็นแรงบันดาลใจในการเป็นนักดนตรีจริงๆ แล้ว คนคนนั้นก็คือคุณพ่อของผมเอง ท่านท�ำงานรัฐวิสาหกิจแต่ ท่านก็เป็นนักร้องและนักดนตรีสมัครเล่นอีกด้วย ชอบร้องเพลง ลู ก กรุ ง อย่ า งเป็ น ชี วิ ต จิ ต ใจ ทุ ก เช้ า ตั้ ง แต่ อ นุ บ าลจนเรี ย น มหาวิทยาลัย ขณะที่พ่อขับรถส่งผมไปเรียน ท่านก็จะเปิดเพลง ส�ำเนียงลูกกรุงให้ฟงั อยูท่ กุ เช้าร�ำ่ ไป แล้วร้องให้ฟงั เกือบตลอดทาง ก็เลยท�ำให้ผมมีความผูกพันธ์กับดนตรีมาตั้งแต่เด็ก

ปัจจุบันท�ำอะไรอยู่ ปั จ จุ บั น เป็ น อาจารย์ ป ระจ� ำ ภาควิ ช าดนตรี คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอนเกี่ยวกับวิชา ทฤษฎีทั้งหมด นอกจากนี้เป็นอาจารย์พิเศษที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นผู้ฝึกสอนเครื่องเป่าวงดนตรี เยาวชนสยามมิตร ดรัม แอนด์ บิวเกอร์ คอร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน และกลับไปช่วยสอนน้องๆที่หอวังในฐานะ ศิษย์เก่าทุกครัง้ ทีม่ โี อกาส อีกทัง้ เป็นผูเ้ รียบเรียงเสียงประสานให้กบั วง KU Wind Symphony วง Karusart Orchestra และวง Karusart Symphonic Band นอกจากงานสอนทีม่ หาวิทยาลัยแล้วยังมีงาน เรียบเรียงเสียงประสานเพลงให้กับวงโยธวาทิตทั้งไทยและต่าง ประเทศอีกด้วย อาทิ มาเลเซีย จีน ฮ่องกง และ ญี่ปุ่น

26 RHYTHM

การเขียนเพลงเป็นศาสตร์ของ การถ่ายทอดความรู้สึก แค่ปล่อย ให้ดนตรีไหลผ่านในจิตใจ ความงาม ในดนตรีก็จะบังเกิด


Tenrikyo Aimachi

มุมมองทางการประพันธ์ และการเรียบเรียงเสียงประสาน ผมเริม่ สนใจงานด้านนีม้ าตัง้ แต่เด็ก สมัยทีเ่ ป็นเป็นนักเรียนใน วงโยธวาทิตเวลาซ้อมก็ชอบแอบไปดูโน้ตเครือ่ งดนตรีอนื่ ๆ ว่าเค้าเล่น อะไรบ้าง เรียกได้ว่าอยู่ไม่เป็นสุข ว่างๆก็เขียนเพลงให้พี่ๆ น้องๆ ใน วงเป่ากันเล่นๆ ผิดถูกมัว่ กันไปตามประสา สิง่ หนึง่ ทีผ่ มชอบการเขียน เพลงและการเรียบเรียงฯ ก็คือมันเป็นศาสตร์ที่ถ่ายทอดความรู้สึก จากเจ้าของผลงานสูผ่ ฟู้ งั ได้อย่างมีชนั้ เชิง ไม่ตอ้ งการค�ำพูดอะไร แค่ ปล่อยดนตรีไหลผ่านจิตใจคุณไปเรือ่ ยๆ ความงามในดนตรีจะบังเกิด เอง อันที่จริงการที่จะเข้าใจศาสตร์แขนงนี้ต้องผ่านการฝึกฝนและ เข้าใจทฤษฎีอย่างยิง่ ยวด ก่อนทีจ่ ะน�ำอารมณ์และความรูส้ กึ มาผสม กับทฤษฎีทไี่ ด้รำ�่ เรียนมา หลายคนเคยถามว่าเวลาเขียนเพลงเนีย่ จะ แน่ใจได้อย่างไรว่าคนฟังจะเข้าใจความหมายของเพลงทีเ่ ขียนเหมือน กับเรา ผมก็ตอบไปว่า เข้าใจหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น แต่ถ้าฟังแล้วมี ความสุขแล้วกลับบ้านไปนอนหลับได้ผมก็พอใจแล้ว ในบางมุมมอง เพลงก็เหมือนกับภาพวาด ขึ้นอยู่กับว่าจะมองภาพแล้วตีความว่า เป็นอย่างไรซึ่งมันก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน นี่ล่ะศิลปะ ในช่วงนีผ้ มรับท�ำงานเรียบเรียงฯวงโยธวาทิตมากขึน้ ซึง่ ก็เป็น ไปตามการเติบโตของวงโยธวาทิตในบ้านเรา แต่กอ่ นนัน้ ถ้าใครจ�ำได้ สมัยผมยังเป็นเด็กๆเวลาที่วงอยากได้เพลงไหนก็นั่งรถเมล์ไปร้าน โคลัมเบียมิวสิค แถวพหลโยธิน เพราะที่นั่นมีทุกอย่างที่เราต้องการ มีเพลงจากอเมริกาเข้ามาขายอยูเ่ ป็นเนืองๆ จนทุกวันนีว้ วิ ฒ ั นาการ ก้าวไกลมากขึ้น คนไทยเรียนรู้หลายอย่างได้มากขึ้น เราจึงเริ่มท�ำ เพลงส�ำหรับวงโยธวาทิตกันเองไม่ต้องซื้อเพลงจากฝรั่งอีกแล้ว ผมในฐานะคนเรียบเรียงฯ มองว่าเรามีนักเรียบเรียงฯหน้าใหม่ๆ หลายคนและผลงานก็ถอื ว่าเป็นทีย่ อมรับได้ในวงการเลยทีเดียว ซึง่ ก็เป็นผลดีต่อพวกเราเอง

ความสนุกในการเรียบเรียงฯเพลงส�ำหรับวงโยธวาทิตนั้นคือ การที่ได้ท�ำงานร่วมกับหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนเขียนกลองหรือ คนเขียนภาพแปรขบวน เราเป็นทีมเดียวกันต้องคุยและปรึกษา แลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลาเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ที่สุด ซึ่ง มันต่างจากการที่เราประพันธ์เพลงของเราขึ้นมาเองคนเดียว อยาก เขียนอะไรก็เขียน ถามว่าการแก้งานบ่อยๆเบื่อหรือเปล่า ค�ำตอบ คือก็ในเมื่อคนที่จ้างเราเขายังไม่พอใจ เรามีหน้าที่ใช้ศักยภาพที่มี อยู่ท�ำให้งานเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย งานจะได้ลุล่วงไปได้ด้วยดี หลักการท�ำงานที่ผมใช้มาตลอดก็คือการลด “อัตตา” ความเป็นตัว เราให้นอ้ ยลงพูดง่ายๆอีกอย่างก็ลด EGO ลงนัน่ ล่ะครับแล้วทุกอย่าง จะผ่านไปได้ด้วยดี

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับดนตรี ดนตรีช่วยขับกล่อมจิตใจพวกเราให้พ้นจากทุกข์ และ ที่ส�ำคัญเราคนดนตรีด้วยกันเองไม่ควรดูหมิ่นดนตรีแขนงอื่นๆที่ต่างจากเรา ไม่ว่าใครจะเป็น นักดนตรีแตรวงตามงานบวช หรือจะเป็นวาทยากรที่กวัดแกว่งบาตองอยู่หน้าวงออร์เคสตรา พื้นฐานของเราก็มาจากโน้ต 12 ตัวเหมือนกัน RHYTHM 27


เรือง: วสวัตติ์ วะดี ภาพ: คมกริช สุนทรนนท์

NEW WAVE

Komkrit Sunthornon

คมกริช สุนทรนนท์

ถ้าเราอยากท�ำอะไร ท�ำเลยครับ ถ้าเรารักที่จะท�ำมัน การเริ่มต้นและเส้นทางด้านดนตรี ผมเริ่มเล่นดนตรีที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โดยเริ่มเล่นตั้งแต่ประถมเลยครับ จากนั้นก็มา ร่วมวงทีโ่ รงเรียนวัดสุทธิวรารามจนจบมัธยมศึกษา ปีที่ 6 แล้วจึงศึกษาต่อมหาลัยเกษตรศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์ ภาควิชา ศิลปะนิเทศ สาขาดนตรี ตะวันตก สมัยเด็กๆได้ฝึกซ้อมกับวงโยธวาทิตที่ โรงเรียน ผมโชคดีมากที่ได้เริ่มเรียนกับ พี่เกษม (อ.เกษม ทิพยเมธากุล) ตอนอยู่ที่วงเราซ้อมโหด มาก พี่เษมโหดมากครับ แต่ว่าเราก็ได้ความรู้จาก พี่เขาเยอะแยะมากมาย ตอนอยู่ชั้น ม.1 จะให้ฝึก ซ้อมแถวก่อน 1 ปี เพือ่ ฝึกระเบียบ จากนัน้ รุน่ พีจ่ ะ ให้เราเลือกเครื่อง ตอนนั้นผมก็ได้เลือกเล่นเครื่อง Percussion ครับ สมัยเด็กๆ ผมไม่เคยคาดหวัง อะไรกับการเล่นดนตรีเลยครับ คือเอาเป็นว่าเรา สนุกอยูก่ บั มัน วันไหนไม่ได้จบั ไม้ผมจะรูส้ กึ แปลกๆ พอผมเบือ่ ซ้อม Snare ผมก็ไปตี Marimba ซ้อมกับ เพื่อนบ้าง ตีแข่งกันบ้างใครตีเร็วกว่ากัน คือเวลาที่ ผมได้ตีกลองผมมีความสุขมาก 28 RHYTHM

กว่าจะได้ ไป DCI เส้ น ทางการไป DCI ของผม ล�ำบากมาก เริ่มต้นจากการท�ำ visa เข้า ประเทศ ผมก็ขอวีส่าไม่ผ่านครับ ต้องไป ขอถึง 5 ครั้ง รวมระยะเวลา 2 ปีคับ เข้า ปีที่ 3 ถึงผ่านครับ ถ้าไม่ผา่ นคงอดไปเล่น DCI แน่ๆ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ส�ำคัญมาก ครับ เพราะเป็นด่านแรกที่เราต้องท�ำให้ ผ่านก่อนเลย ต้องขอขอบคุณพี่จุมพล มากๆ ที่คอยช่วยเหลือแทบจะทุกเรื่อง ตอนนัน้ เรียกได้วา่ ภาษาอังกฤษผมแทบ จะไม่รู้เรื่องเลย ทุกครั้งที่จะติดต่อกับวง ทาง DCI ก็ต้องมีพี่จุมให้การช่วยเหลือ ตลอด จนถึงขั้นบินไป Audition เป็น เพื่อนครับ !!! การเตรียมตัวก่อนไปผมก็ ซ้อมทุกวันโดยผมส่ง VDO ไป Audition ที่วง The Cadets แต่พลาดตรงที่ว่า เราซ้อมแต่ของเรา โดยที่เราไม่ได้ศึกษา

วิธีการตี วิธีคิดของเขาเลย โน้ตของเขา เรายังไม่เคยโหลดมาตีเลย ?? ผมจ�ำ ได้ว่า ผมได้โน้ตของเขาตอนบินไปถึงที่ อเมริกาแล้ว โดยพีจ่ มุ โทรไปถามเกีย่ วกับ การ Audition ก็เลยรูว้ า่ ต้องสัง่ โน้ตแบบ ฝึกหัด ผมจ�ำได้วา่ ได้ซอ้ มโน้ตของวงก่อน ไป Audition ประมาณ 2 วัน และแล้ว ผมก็ไม่ผ่านการ Audition ผมเลยบินไป Audition ต่อที่วง Madison Scouts คราวนี้มีเวลาเตรียมตัวเกือบ 2 อาทิตย์ ตอนนั้นเครียดมาก แต่ก็ได้ก�ำลังใจจาก ครอบครัว พี่เษม พี่จุม และเพื่อนๆอีก หลายคน พอผ่านการ Audition หลัง จากนัน้ ความเครียดก็หายไป เปลีย่ นเป็น ความมัน ความสนุก ผมได้เรียนรู้อะไรๆ เยอะแยะมากมายจนเกินทีจ่ ะบอกกล่าว และถ่ายทอดได้


Madison Scouts

ผมอยากให้น้องๆเยาวชนทุกคน “กล้าคิด” ที่จะ เริ่มต้นก่อน การจะไปเล่น DCI ไม่ใช่เพียงแค่ความฝัน เดี๋ยวนี้ ใครก็ ไปเล่นได้ครับ อย่ารอให้เวลามันผ่านไป ถ้าเราคิดว่าปีนี้ไม่พร้อม ก็ปีหน้าละกัน ?? พอปีหน้า มาถึง มันก็จะมีเรื่องที่ไม่พร้อมมากมายอีกนั้นแหละ ครับ !! อยากท�ำอะไร ท�ำเลยครับ ถ้าเรารักที่จะท�ำมัน RHYTHM 29


เรื่อง: ธวัชชัย ใจมุข

Art& Acting

The Retirement Ceremony of Chairman ว่าด้วยเรื่องของศิลปะและการแสดงที่ เกี่ยวข้องและเป็นเนื้อหาตรงที่สุด ณ ขณะนี้ คงไม่พน้ กลุม่ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการแสดงให้คนดู เข้าใจได้มากทีส่ ุดก็คอื กลุม่ นักแสดงประกอบ หรือทีเ่ รารูจ้ กั กันในนามของ “ColorGuard” ซึ่ ง เป็ น กลุ ่ ม ที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ มากในยุ ค ปัจจุบัน Color Guard ในปั จ จุ บั น นี้ ไ ด้ ถู ก พั ฒ นาไปอย่ า งกว้ า งขวางมากขึ้ น เห็ น ได้ จากการแข่งขันระดับโลกที่มีการแยกแข่งขัน เฉพาะด้านหรือที่คนวงการรู้จักกัน ในนาม ของ “Winter Guard International (WGI)” ซึ่งมีการแข่งขันเป็นประจ�ำทุกปี และก�ำลัง แพร่หลาย โดยในเมืองไทยเองได้เริ่มมีการ แข่งขัน Winter Guard ให้เห็นกันบ้างแล้ว โดยชื่อก็บ่งบอกได้ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว ว่า เป็นกลุ่มหนึ่งที่ท�ำให้วงที่ก�ำลังแปรขบวน

30 RHYTHM

อยู่ในสนามนั้นดูมีสีสัน สวยงาม น่าตื่นตา ตื่นใจมากขึ้น ซึ่งยังมีอีกหลายวงในเมืองไทย ที่ยังไม่ค่อยให้ความส�ำคัญกับกลุ่ม Color Guard สักเท่าไหร่ ความเป็นมาตัง้ แต่เริม่ ต้น ของ Color Guard นั้น มีก�ำเนิดมาพร้อมๆ กับการก�ำเนิดวงโยธวาทิตเลยก็ว่าได้ เพราะ ในสมั ย นั้ นกลุ ่มวงโยธวาทิต ซึ่งมี ก� ำ เนิ ดมา จากวงของทหาร นอกเหนือจากการเดินเป่า สวนสนาม บรรเลงน�ำหน้าขบวนทหารแล้ว ยั ง มี อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เราทุ ก คนคงพบเห็ น กั น นัน่ ก็คอื ขบวนตามหลังด้วยทหารทีถ่ อื ธงชาติ ถือกระบี่ ถือปืน เพื่อท�ำให้ริ้วขบวนดูยิ่งใหญ่ สวยงาม ขบวนที่ เ ดิ น ตามหลั ง วงดุ ริ ย างค์ ทหารในสมัยนั้นก็คือต้นก�ำเนิดของ Color Guard ในยุคปัจจุบันนั่นเอง โดยอุปกรณ์ที่ Color Guard ในปัจจุบันใช้ในการแสดงที่ เราได้เห็นกันประกอบไปด้วย ธงหลากหลาย สีสัน , Sabers(กระบี่) และ Rifle(ปืน) ซึ่ง

ก็ คื อ อุ ป กรณ์ ที่ ถู ก ประยุ ก ต์ พั ฒ นามาจาก ขบวนธง ขบวนอุปกรณ์ต่างๆ ที่เดินต่อท้าย วงดุริยางค์ทหารในสมัยก่อนนั่นเอง อุปกรณ์ ดังกล่าวได้ถูกยึดให้เป็นเอกลักษณ์ของนัก แสดงกลุ่มนี้ไปโดยปริยาย เพราะต้องการให้ ชนรุ่นหลังได้รู้ถึงต้นก�ำเนิดของกลุ่มอุปกรณ์ Color Guard ว่ามาจากไหน และด้วยการ พัฒนาของ Color Guard ในปัจจุบันที่ไม่ได้ ถืออุปกรณ์เพือ่ ความสวยงามเพียงอย่างเดียว เท่านั้น แต่ยังต้องเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย ออกแบบท่าทางให้เข้ากับบทเพลง จึงท�ำให้นักแสดง Color Guard ในปัจจุบัน มีการน�ำพื้นฐานการเต้น บัลเล่ต์ แจ๊สแดนซ์ หรือพืน้ ฐานการแสดงมาใช้กบั Color Guard มากขึ้น ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า กลุ่มนัก แสดงกลุ่มนี้มีความส�ำคัญเป็นอย่างมากและ เป็นกลุ่มที่สามารถแสดงโชว์ให้คนดูเข้าใจได้ มากที่สุด

จุดเริ่มต้นคัล


St.Patrick's Military Parade

เกี่ยวกับผู้เขียน ธวัชชัย ใจมุข Creative Show

วงดุ ริ ย างค์ โ รงเรี ย นมงฟอร์ ต วิทยาลัยและเรยีนาเชลีวิทยาลัย ปี 2552 ถึงปัจจุบัน ออกแบบ การแสดงให้วงดุริยางค์โรงเรียน พระหฤทั ย เชี ย งใหม่ ชุ ด การแสดง “Miss saigon” นั ก แ ส ด ง ป ร ะ ก อ บ (Actor) ของวง Bangkok Society Drumline (BKK) ปี 2554 และ บ ร ร ณ า ธิ ก า ร บริ ห ารนิ ต ยสาร Rhythm Magazine

Kingwood based Civil Air Patrol (CAP)

ลเลอร์การ์ด

RHYTHM 31


Provide practical tips

การดูแลรักษาเครื่อง:

A Horn Player’s Study Guide

โดย เสริมศักดิ์ แก้วกัน

โดย ชนากร แป้นเหมือน

Flute

ควรมีวธิ ปี ฏิบตั แิ ละดูแล บ�ำรุงรักษาตามขัน้ ตอนดังนี้ 1. การถอดประกอบตัว เครื่อง ต้องท�ำความสะอาด ข้ อ ต่ อ และใช้ ขี้ ผึ้ ง (Slide Grease) ทาบางๆทุกครั้ง ที่ประกอบตัวเครื่องควรหลีกเลี่ยงการใช้มือบีบกดลงไป บนเครือ่ งแต่พยายามถือแต่ละส่วนอย่างมัน่ คงแล้วค่อยๆ หมุนอย่างช้าๆในขณะที่ถอดหรือประกอบ

2 . ก า ร ท� ำ ค ว า ม สะอาดควรใช้ ก ้ า นท� ำ ความสะอาด (Cleaning Rod) ใน 3 ส่วนต่อไปนี้ คือส่วนหัว ใช้ผ้าพันก้าน ท� ำ ความสะอาดเช็ ด ท่ อ ภายในอย่างระมัดระวังไม่ให้กระทบจุดปรับ ส่วนล�ำตัวให้สะบัด น�้ำออกจากล�ำตัวทางตอนบน โดยจับในส่วนที่ไม่มีกลไกนิ้วเสียง พยายามหลีกเลี่ยงไม่ได้เกิดแรงกดที่กลไกนิ้วเสียง จากนั้นใช้ผ้าซับ น�้ำด้านในให้แห้ง และส่วนท้าย (Foot Joint) ควรท�ำความสะอาด อย่างสม�่ำเสมอ โดยพึงระวังไม่ให้เกิดแรงกดมากเกินไปบนกลไก ของนิ้วเสียงเช่นเดียวกัน 3. ท�ำความสะอาดหลัง เลิกใช้งาน โดยใช้กระดาษ ซับนวม ซับนวมทีช่ นื้ ออกให้ แห้ง ถ้าไม่มกี ระดาษซับนวม อาจใช้กระดาษซับหน้ามัน แทนชั่วคราวก่อนได้ เกี่ยวกับผู้เขียน เสริมศักดิ์ แก้วกัน ผู้เล่นและปฏิบัติเครื่องดนตรี Woodwind มา นานกว่า 20 ปี เป็นผู้ควบคุมวง ผู้อ�ำนวยเพลงและเป็นผู้ฝึกสอนให้กับ วงดุริยางค์ชั้นน�ำในประเทศไทยพร้อมรางวัลมากมายทั้งระดับประเทศ และนานาชาติ ปัจจุบนั เป็นอาจารย์ประจ�ำแผนการเรียนศิลป์ดนตรี และ เป็นผู้ฝึกสอนวงโยธวาทิตโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

32 RHYTHM

with the leading Instructors

BRASS

WOODWIND

SECTIONALS

ระดับที่ 3 ควรฝึกซ้อมอย่างน้อย 1 ชั่วโมงในแต่ละวันควบคู่ไปกับ การซ้อม Ensemble ควรแบ่ง การฝึกออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. พั ฒ นาคุ ณ ภาพเสี ย ง, บั น ไดเสี ย ง และแบบฝึ ก หั ด เทคนิคต่างๆ 2. Etudes หรือ ตามที่หนังสือแบบฝึกหัดแนะน�ำ 3. Solo และ Ensemble music แบบฝึกหัดบางบทที่ใช้ในระดับที่ 1 กับ 2 ยังสามารถใช้เพื่อพัฒนา คุณภาพเสียงและเทคนิคของผู้เล่นได้ แต่ควรระลึกเสมอว่าจะต้องฝึกเพื่อ ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เล่นแบบฝึกหัดให้หมด การฝึกหัดทางด้าน เทคนิคที่เราฝึกทุกวันเช่น Long tones, Slurs, Arpeggios, Scales, ฯลฯ จะไม่มปี ระโยชน์อะไรมากไปกว่าล�ำดับในการฝึกซ้อมของโน้ตแทนทีเ่ ราจะ ใส่ใจกับดนตรีจริงๆ ทีอ่ นั ตรายมากกว่านัน้ คือถ้าเรายังฝึกซ้อมสิง่ ทีผ่ ดิ ทีเ่ ดิม ตลอดเวลาโดยไม่ได้แก้ไข ดังนัน้ การฝึกซ้อมจะต้องท�ำให้ดที สี่ ดุ เพราะถ้ายัง เล่นผิดในขณะที่ซ้อม การเล่นจริงๆ ก็จะผิด เพื่อให้มีความก้าวหน้าขึ้น ผู้เล่นไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเพิ่มเวลาในการฝึก ซ้อม แต่ควรจะค�ำนึงถึงผลของการเล่นมากกว่าเวลาทีใ่ ช้ฝกึ ซ้อม เอาใจใส่ใน โน้ตแต่ละตัวทีเ่ ล่นด้วยความละเอียดและความเชือ่ มัน่ ควรถามตัวเองเสมอ ว่า "เสียงที่ได้เป็นเสียงที่เราต้องการหรือไม่?" ในระดับที่ 3 นี้ ผู้เล่นควรจะ 1) พัฒนาความกว้างของช่วงเสียงให้ได้อย่างน้อย 2 1/2 ออคเตฟ, และ รู้ระบบนิ้วกดแบบโครมาติกของช่วงเสียง 2) รู้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์และอาร์เปจิโอได้ถึง 4 ชาร์ปและ 4 แฟลต 3) เริม่ ฝึก Lip trills, Double และ Triple tonguing, Stopped horn, Transposition, และฝึกอ่านกุญแจฟา 4) พัฒนาความดังเบาต่อไปให้มากกว่า pp และ ff และให้คณ ุ ภาพเสียง ที่เต็ม อบอุ่น และผ่อนคลาย หนังสือที่ควรอ่าน • Horner-Meek -- Exercises and Etudes • Kopprasch -- 50 Etudes, opus 6 • Pottag-Andraud 335 Selected Melodious and Progressive Technical Studies, Book II (the "Red Book") ประกอบ ไปด้วย แบบฝึกหัดวอร์มอัพ, เทคนิค, Etudes โดย Gallay, Gugel, Hoss และอืน่ ๆ มีเพลงโซโลโดยนักแต่งแพลงหลายท่าน รวมทัง้ ฮอร์นคอนแชร์โต ของโมสาร์ท 4 บท หนังสือเล่มนี้สามารถใช้ได้ถึงระดับที่ 6

เกี่ยวกับผู้เขียน ชนากร แป้นเหมือน อตีตนักเล่นฮอร์นวง Bangkok Symphony Orchestra และวง Siam Philharmonic ปริญญาตรีสาขาดนตรีสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับสอง ปริญญาโทการ จัดการภาครัฐและเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิดา้ ) ปัจจุบันเป็นผู้บริหาร บริษัท มาร์คาโต้ มิวสิค จ�ำกัด


โดย เผ่าพันธุ์ อ�ำนาจธรรม

ในฉบับที่แล้ว เราได้พูด คุยถึงเรื่องที่มาและชื่อของ กลุ ่ ม เครื่ อ ง Percussion ในวงโยธวาฑิ ต ฉบั บ นี้ ถึ ง คิวของ Front Ensemble ครับผม Front Ensemble หรือกลุ่มเครื่องขอบสนาม มีชื่อ หลักๆ 3 ชื่อคือ Front Ensemble, Frontline และ Pit ที่มาของค�ำว่า Pit นั้นมาจากดนตรีประเภทคลาสสิค, มิวสิคคอลและบรอดเวย์ นั้น จะมีการแสดงหลักอยู่กลาง เวที ซึ่งวงออเครสตราหรือวงอองซอมเบิลนั้นจะอยู่ในหลุมข้าง หน้าเวที “หลุม”นั้นเราเรียกว่ “PIT” และดนตรีในรูปแบบมาร์ช ชิ่ง,ดิสเพลย์ จะมีการแสดงแปรขบวนต่างๆอยู่กลางสนาม เครื่อง ดนตรีขอบสนามด้านหน้าซึ่งท�ำหน้าที่คล้ายกับประเภทของดนตรี ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เราจึงได้น�ำชื่อ PIT มาเรียกกลุ่มเครื่องเหล่า นี้เนื่องจากต�ำแหน่งและการท�ำหน้าที่นั่นเอง ส่วนค�ำว่า Front Ensemble ก็คือ กลุ่มเครื่องดนตรีที่แสดงอยู่ด้านหน้าตามชื่อของ มันนั่นเอง เช่นเดียวกับค�ำว่า Frontline ค�ำว่า Front กับ line ต้อง ติดกัน (เหมือนกับค�ำว่า Drumline) กลุ่มเครื่องดนตรี PIT นั้นหมายถึง Concert Percussion เป็น ส่วนใหญ่ เช่น Glockenspiel, Xylophone, Timpani, Marimba และเครือ่ ง Auxilary เป็นต้น ในปัจจุบนั ได้มกี ารน�ำเครือ่ งไฟฟ้าเข้า มาร่วมด้วย เช่น Synthesizer เป็นต้น ส่วนค�ำว่า Pit Percussion นั้นก็สามารถเรียกได้เหมือนกัน แต่ไม่นิยมในระดับสากล (เท่าที่เห็นก็จะมีแต่บ้านเราที่เรียกกัน เยอะ) แต่ส่วนตัวผม ถ้าไม่เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Front Ensemble” ก็จะเรียกชื่อเหมือนชื่อเล่นว่า “Pit” เพราะว่าสั้นดี เกี่ยวกับผู้เขียน จบการศึกษาจาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันก�ำลังศึกษาต่อที่ Mozarteum University ประเทศ Austria เป็น Artist Yamaha Thailand ผู้ประพันธ์เพลงให้กับ วงชั้นน�ำของประเทศไทย และกรรมการการประกวดในเมืองไทย อีกหลายรายการ

GUARD

PERCUSSION

รูท้ มี่ าของชือ่ และ เรียกให้ถกู !! (2)

องค์ประกอบของ อุปกรณ์ (1) โดย ประพันธ์ศักดิ์ ปานเสียง

สวั ส ดี ค รั บ พี่ น ้ อ งชาว Color Guard ทุกท่าน ใน ฉบับนี้ เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ ชิ้นส�ำคัญอีกอย่างนึงของเรา นั้นคือ Rifle หรือปืนประกอบ การแสดงนัน้ เอง หลายท่านคง สงสัยว่า ท�ำไมในการแสดงโชว์ส่วนใหญ่ ต้องมี Rifle เป็นส่วนประกอบ ของโชว์ ทั้งๆที่บางที เราสามารถเล่นธงอย่างเดียวก็ได้ ผมจะขอเล่า ประวัติคร่าวๆ นะครับ การเล่น Rifle นั้น เกิดขึ้นมาจากเดินแถวแปลขบวนในการเคลื่อน ย้ายกองก�ำลังทหารในสงคราม เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพและความ มีระเบียบวินัย ซึ่งสมัยก่อน แค่ถือ Rifle เดินตามรูปขบวนเฉยๆ ไม่มี การควงหรือโยน หลังจากนั้นได้ถูกพัฒนา ให้เป็นการแสดงโชว์ เพื่อ แสดงถึงความพร้อมเพียงและระเบียบวินัย ของทหาร โดยมีชื่อเรียก ว่า Fancy Drill ต่อมาได้มีการน�ำ Fancy Drill มารวมกับการแสดงโชว์ ร่วมกับวง Military Band หรือวงดุริยางค์ของทหาร ท�ำให้เกิดความ สวยงามสนุกสนานและท�ำให้วงมีสีสันมากขึ้น ท�ำให้เวลาต่อมา การ แสดงโชว์ของวง Military Band ต้องมีการควงและโยนปืน ของกลุ่ม Fancy Drill อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมา เป็น Color Guard ปัจจุบัน ท�ำไมต้องเป็น Rifle? ตามความคิดและทัศนคติของผมนั้น Rifle เป็นอุปกรณ์ ทีส่ ามารถโชว์ ทักษะความสามารถของ Color Guard ได้ดี โดยที่ Rifle นั้นจะให้รูปแบบในการแสดงที่เร็วและคล่องแคล้ว มากกว่าธง สามารถมุดหรือแทรกตัวอยู่ในภาพแปลขบวน โดยไม่ท�ำให้ ภาพเสีย มีรอบโยนที่ปั่นและสูงกว่าธง ท�ำให้โชว์มีความตื่นเต้น และมี ความหลากหลายไม่น่าเบื่อ และสามารถน�ำมารวมกับการเต้นได้อย่าง ลงตัว ท�ำใหวงของเรา แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น ถ้าเราซ้อมมาไม่ดีพอ ก็จะไม่ สามารถเล่นได้ดี มีการตกหรือหล่นขออุปกรณ์เยอะ บางทีเกิดอุบตั เิ ห็น หัวแตกคิว้ แตก ก็มี เพราะฉะนัน้ เวลาซ้อม น้องๆ ควรอยู่ภายในความดูแลของผู้สอนและท�ำการอบอุ่นร่างกายก่อนเล่น อุปกรณ์ทุกครั้งเพื่อลดการบาดเจ็บนะครับ ขนาดและชนิดของ Rifle อย่างที่ทุกคนรู้ว่า Rifle ส่วนใหญ่ ท�ำมาจากไม้ ซึ่งในทางราชการ จะถือว่าเป็นวัสดุสิ้นเปลือง เพราะว่าหัก บ่อยมาก จนเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีบริษัทขายอุปกรณ์ Color Guard ของ ประเทศ America ได้ท�ำการคิดค้น Rifle ที่ท�ำมาจากพลาสติกขึ้นมา ท�ำให้ลดการแตกหัก ได้ดียิ่งขึ้น ติดตามตัวอย่างของอุปกรณ์ทั้งสองได้ ในฉบับหน้านะครับ สวัสดีครับ

เกี่ยวกับผู้เขียน ประพันธ์ศักดิ์ ปานเสียง ผู้ฝึกสอนและออกแบบการแสดงการ ใช้อุปกรณ์ Color Guard ให้กับวงดุริยางค์ชั้นน�ำของเมืองไทยทั้งใน ระดับประเทศและระดับนานาชาติอาทิเช่น รายการการแข่งขันดนตรี โลก และวงดรัมคอร์ปภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ RHYTHM 33


live as you r life

RHY THM E

Volume 1

HM

2012

MAGA

ZINE

December 2011 MAGAZINE

Issue 5

March 2012

MAGAZINE

RHY THM r life live as you

Volume 1

Issue 6

April 2012

FREE COPY

Volume 1

FREE COPY

Issue 2

Volume 1 Issue 4 February

MAGAZINE

January 2012

RHY THM

FREE COPY

Volume 1

Issue 3

live as you r life

RHY THM live as your life

RHY T

RHY THM

FREE COPY

November 2011 MAGAZIN

live as your life

C Y FREE COP

Issue 1

FREE COPY

Volume 1

live as your life

MAGAZINE

THAILAND INT WIND ENSEM ERNATIONAL

BLE COMPETI $TE=ER$I6I*6Z T*' TION 2011 _'EYgO*GC 9WgCWCTDTI;T;$I ET VD10 =

NO

NTRI ORCH I*OO_'L7E T IV;6 ESTRA WIND I*9Wg 9 %O*aG$

B &sey

Hawkes

AS A SK EXP P PE

E T ER _CYgO_L _LWLWD**MSMIS b+_7 b++_7 ;_= _==; _LWD* … OE E' SL-Sg; …_@O www.R w

AL IAL IA RCIA ERC ERC MER MM COM TAWIT CO TTAW ATT AT A ND ND AN BAN EGE BA LEG OLL COL

OT-OT OO**'';OTT*' '% O*'; I*6Z6ZEVDT*'

Th ee ra

w w.R w..R R hythm hyth thm mMag Magaa zine.n z et

CPO

ett .net inee.n M agazine th t h m Magazi yyth www.R hhythmM

ww w.R

hyt hm Ma

gaz ine

.ne t

_IVh*;'E_$KC

@Yh;9Wg=ERIS7VJTL7 $TEES$KTMEYOEYhO9VE h 9WgEO *¼

PHRANAKORN DRUM & BUGLE CORPS

6ESC'OE =CMTIV9DTGSD I*`E$%O*=ER_9J ASK EXPERT

<9_@G*`M *+V;7;T$TE

DIRECTOR

;Wg'YO_@G*%O*@ O _@G*9Wg_ET$lTGS*_G ;

ASK EXPER CZ9T$E a'7EES$ T

`7$7 T*`GRLE T*LEEKT ' <;*T;6;7EW`GR6Wc .6

www.Rhyth mMagazine .net

T ASK EXPER

;V@S9: $T +;RMZ7 7EW ';7 ;`<<%O*';6;

Bangkok Soc iety Drumline (BK K)

al Cups st 2012 The 31 Roy nte Marching Band Co

6ESCcG; I*`E$%O*_CY

th

O*c9D

www.R hythm

-Maga zine.c om

cussion Freedom Per Ensemble

+_+ T@ERDT

6ESCcG; `M *< T;LC_6f www.R hythm

-Maga zine.c om

www.Rhythm-Magazine.com  สมัครสมาชิกนิตยสาร ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Rhythm Magazine จํานวน 12 ฉบับ (12 เดือน) เริ่มตั้งแตเดือน....................................... โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจํานวนเงิน 450 บาท

ขอมูลผูสมัครสมาชิก ชื่อ........................................................นามสกุล............................................ เพศ

ชาย

หญิง

อายุ............ป อีเมล........................................................... โทรศัพทบาน.............................................................................................. โทรศัพทที่ทํางาน.............................................โทรสาร........................................โทรศัพทมือถือ..........................................................

ที่อยูในการจัดสง บริษัท/หนวยงาน.....................................................หมูบา น.........................................เลขที่................................ซอย............................ ถนน............................ตําบล/แขวง...........................อําเภอ/เขต...................................จังหวัด.............................รหัสไปรษณีย. .................

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง บริษทั /หนวยงาน..................................................หมูบ า น.......................................... เลขที.่ ...............................ซอย.............................ถนน............................................... ตําบล/แขวง.................................................อําเภอ/เขต............................................ จังหวัด.........................................................รหัสไปรษณีย. ........................................

วิธีการชําระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จํานวน 12 ฉบับ) เช็คสั่งจายนาม บริษัท ริธมิคส จํากัด โอนเงินเขาบัญชี ออมทรัพย ชื่อ บริษัท ริธมิคส จํากัด ธนาคารกรุงเทพ สาขาสันปาขอย เลขที่บัญชี 253-4-41407-9

สงใบสมัครสมาชิกพรอมสําเนาการโอนเงินมาที่ ฝายสมาชิก บริษัท ริธมิคส จํากัด เลขที่ 106/126 หมู 7 หมูบานชัยพฤกษ ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม 50000 โทร.053-334556 โทรสาร.053-334557 E-mail:rhythmmagazine@hotmail.com สอบถามขอมูลเพิ่มเติม โทร.088-1380507

RHY THM MAGAZINE




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.