ERAWAN: รายงานประจำปี 2552

Page 1

รายงานประจำปี 2552

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บ ริ ษั ท ดิ เ อ ร า วั ณ ก รุ๊ ป จ ำ กั ด ( ม ห า ช น )

ชั้น 6 อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2257 4588 โทรสาร : 66 (0) 2257 4577 ทะเบียนเลขที่ 0107537001943 www.TheErawan.com

รายงานประจำปี 2552

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


4

1 2

3

6

5 7

8

9

10 11 12

1. ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม 2. ตลาดโบราณบางพลี จ.สมุทรปราการ 3. ตลาดร้อยปีสามชุก จ.สุพรรณบุรี

4. ตลาดเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี 5. ตลาดน้ำตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 6. ตลาดเก่าอ่างศิลา จ.ชลบุรี

Designed by Plan Grafik Tel. : 0 2237 0080 # 300

12 Destinations of Traditional Thai Market

7. กาดกองต้า จ.ลำปาง 8. ตลาดนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร 9. เยาวราช กรุงเทพมหานคร

10. ตลาดเก่าตะกั่วป่า จ.พังงา 11. ตลาดคลองสวน 100 ปี จ.สมุทรปราการ 12. ตลาดบ้านใหม่ จ.ฉะเชิงเทรา


01

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ดิ เอราวัณ ขอถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตผ่าน “ตลาด” ศูนย์กลางชุมชน 12 แห่ง ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบต่อไป

7. กาดกองต้า จ.ลำปาง 8. ตลาดนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร 9. เยาวราช กรุงเทพมหานคร

10. ตลาดเก่าตะกั่วป่า จ.พังงา 11. ตลาดคลองสวน 100 ปี จ.สมุทรปราการ 12. ตลาดบ้านใหม่ จ.ฉะเชิงเทรา บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


02

ส า ร บั ญ

ภาพรวมปี 2552

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมองค์กร กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป ธุรกิจโรงแรมในเครือ สารจากประธานกรรมการ สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบต่อผู้ถือหุ้น รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

004 005 008 010 011 012 014 025 026

เกี่ยวกับบริษัท

ประวัติบริษัท ธุรกิจที่ดำเนินงานในปัจจุบัน โรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนา โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ การถือครองหุ้นของคณะกรรมการและผู้บริหาร

028 030 034 035 043

ภาพรวมของธุรกิจ

ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจพื้นที่ให้เช่า ปัจจัยความเสี่ยง

045 047 048

หลักบรรษัทภิบาลที่ดี

นโยบายบรรษัทภิบาล ค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหาร ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย การควบคุมภายใน รายการที่เกี่ยวโยงกัน

051 060 061 068 070

ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทั่วไป

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การเปิดเผยข้อมูลของผู้สอบบัญชี งบการเงิน ข้อมูลทั่วไป

073 074 075 142

รายงานประจำปี 2552


03

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ภ า พ ร ว ม ปี 2 5 5 2

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


004 04

วิสัยทัศน์

เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจการพัฒนา และลงทุนในโรงแรมและรีสอร์ทในประเทศไทย

พันธกิจ

พัฒนาและสร้างเครือข่ายโรงแรมและรีสอร์ทที่สามารถตอบสนองความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างประโยชน์ที่เหมาะสม ให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพ การท่องเที่ยวของประเทศ

ค่านิยมองค์กร

• บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ไม่ยึดติดกับตัวบุคคล • บุคลากรที่มีทักษะและความชำนาญ มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง • ฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันสมัยสำหรับการบริหารและตัดสินใจ • วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง สนับสนุนการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน • เป็นสมาชิกที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนร่วมสนับสนุนชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น

รายงานประจำปี 2552


005 05

ก ล ยุ ท ธ์ ใ น ก า ร ด ำ เ นิ น ธุ ร กิ จ “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

3 กลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจ 1. ทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน : พัฒนาทรัพย์สินให้ตรงกับความต้องการอย่างต่อเนื่อง และบริหารจัดการอย่างมี

ประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด 2. ทรัพย์สินที่จะพัฒนาในอนาคต : มุ่งพัฒนาและลงทุนในธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทตรงตามความต้องการ ของลูกค้า และมีศักยภาพในการแข่งขัน คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงของรายได้อย่างเป็นระบบ และได้รับ ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง 3. สร้างปัจจัยสนับสนุนความมั่นคงและเจริญเติบโตที่ยั่งยืน โดยการสร้างและพัฒนาระบบบริหารงานด้านต่างๆ

ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพมุ่งเน้นที่ทักษะในการทำงาน สร้างฐานข้อมูลความรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจและ

วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง

ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม

74%

100%

100%

100%

100%

100%

100%

ธุ ร กิ จ อ า ค า ร ส ำ นั ก ง า น แ ล ะ ร้ า น ค้ า

100%

100%

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


06

12 Destinations of Thai Hospitality

4

1 2

3

5

รายงานประจำปี 2552

6 7

8

9 10

11 12

กรุงเทพฯ 1. แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ 2. คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ 3. เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ 4. ไอบิส กรุงเทพ นานา 5. ไอบิส กรุงเทพ สาทร

พัทยา 6. ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา 7. ไอบิส พัทยา


07

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

สมุย 8. เรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา 9. ไอบิส สมุย บ่อผุด

ภูเก็ต 10. ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต 11. ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง 12. ไอบิส ภูเก็ต กะตะ

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


008 08

ข้ อ มู ล ท า ง ก า ร เ งิ น โ ด ย ส รุ ป

(หน่วย : พันบาท)

รายการ สรุปผลการดำเนินงาน รายได้จากการดำเนินกิจการ รายได้รวม กำไรขั้นต้น กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

2550

2551

2552

3,194,350 3,391,397 1,833,994 1,010,823 401,921

3,375,977 3,412,960 1,921,298 974,030 78,328

3,149,033 3,191,623 1,658,132 740,401 -229,411

สรุปฐานะการเงิน สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) ทุนเรือนหุ้นเรียกชำระแล้ว จำนวนหุ้นเรียกชำระแล้ว (พันหุ้น) มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ หุ้นละ (บาท) กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (บาท) เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น (ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) (บาท)

10,255,349 6,504,816 3,750,534 3,649,392 2,214,575 2,214,575 1 0.2 0.06 1.65

12,630,098 8,871,685 3,758,413 3,657,970 2,244,779 2,244,779 1 0.04 0.01 1.63

13,288,817 9,749,858 3,538,959 3,406,397 2,244,779 2,244,779 1 -0.1 1.52

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด (เท่า) อัตรากำไรขั้นต้นต่อรายได้รวม อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า)

0.22 0.1 0.34 57.41% 11.85% 4.24% 12.47% 1.73 1.37 3.42

0.41 0.23 0.33 56.91% 2.30% 0.68% 2.14% 2.36 2.06 3.12

0.52 0.27 0.38 52.66% n/a n/a n/a 2.76 2.42 2.38

รายงานประจำปี 2552


009 09

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ล้านบาท

กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา

กำไรสุทธิ

รายได้

3,149

3,376

2,858

3,500

3,194

3,331

4,000

3,000

2,500

402 2550

740

974

410 2549

78

258

500

2551

1,000

1,011

897

1,153

1,500

2550

2,000

2552

2551

2550

2549

2548

2552

2549

2548

2552

2551

2548

(229)

0

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


010

ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม ใ น เ ค รื อ

เรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา ไอบิส สมุย บ่อผุด

แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

ไอบิส กรุงเทพ นานา

คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ

ไอบิส กรุงเทพ สาทร

เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

ไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์*

ไอบิส กระบี่* ไอบิส ศรีราชา*

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต

ไอบิส ภูเก็ต กะตะ

ไอบิส พัทยา

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา

ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง

ไอบิส หัวหิน*

* โรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนา รายงานประจำปี 2552


011

ส า ร จ า ก ป ร ะ ธ า น ก ร ร ม ก า ร “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองในประเทศและการแพร่ระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ุใหม่

ส่งผลให้ปี 2552 ที่ผ่านมาเป็นปีที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุด สำหรับ ดิ เอราวัณ ซึ่งได้มีการปรับตัว และเตรียมการรองรับสถานการณ์ตั้งแต่ปลายปี 2551 ทำให้สามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้มาได้ด้วยดี แม้จะ

มีผลประกอบการที่ขาดทุน ทั้งนี้เป็นผลจากการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายบริหารและคณะกรรมการ

พร้อมทั้งการได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น คู่ค้า บริษัทผู้บริหารโรงแรมต่างๆ สถาบัน

การเงิน ตลอดจนพนักงาน รวมไปถึงความเข้าใจของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนถึงผลกระทบของสถานการณ์ ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติอย่างต่อเนื่อง เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและสร้างพื้นฐานเพื่อความเจริญเติบโตที่ ยั่งยืนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง การสร้างกลไกการกำกับดูแลให้การดำเนินงานในทุกๆ ด้านเป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล

ที่ดี เรายึดมั่นที่ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีการเปิดเผยที่เพียงพอและตรงไปตรงมาและมีความสม่ำเสมอทั้งในเวลา

ที่มีผลการดำเนินงานดีและไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ส่งผลให้ในปี 2552 ดิ เอราวัณ ได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทที่มีคะแนน ระดับดีเยี่ยม “Excellence” จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2009) ที่ประเมินโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors IOD) และเป็น 1 ใน 3 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดไม่เกิน 10,000 ล้านบาท กลุ่มที่ 1 ที่ได้

รับเกียรติเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริษัทจดทะเบียนดีเด่นด้านนักลงทุนสัมพันธ์ “IR Excellence” จากตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย และได้รับผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีดีเยี่ยม “Excellence” เราขอขอบคุณทุกๆ ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนให้เราได้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ เราจะมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจและพัฒนา องค์กร เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตลอดจนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตลอดไป คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550 นายประกิต ประทีประเสน Excellent CG Report 2009 ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


012

ส า ร จ า ก ป ร ะ ธ า น เ จ้ า ห น้ า ที่ บ ริ ห า ร แ ล ะ ก ร ร ม ก า ร ผู้ จั ด ก า ร ใ ห ญ่

ปี 2552 เป็นปีที่ทดสอบความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมของประเทศไทย จากปัจจัยลบ ต่างๆ ทั้งภาวะการตกต่ำของเศรษฐกิจโลก และปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศที่ต่อเนื่องจากปลายปี 2551 ประกอบกับการระบาดของโรคไข้หวัดสายพันธ์ใุ หม่ ซึง่ ล้วนส่งผลลบอย่างรุนแรงโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว

และโรงแรม สำหรับ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (ดิ เอราวัณ) ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายงาน เราเปิดโรงแรมใหม่ถึง 8 โรงแรมในช่วง 18 เดือนนับตั้งแต่กลางปี 2551 จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รายได้ของโรงแรมที่เปิดดำเนินการก่อนปี 2551 ลดลง

ถึงร้อยละ 20 ในขณะที่รายได้จากโรงแรมที่เปิดใหม่ไม่สามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้เกิดผลขาดทุน สุทธิในปีที่ผ่านมาถึง 229 ล้านบาท อย่างไรก็ดีเรายังคงมีกำไรก่อนหักค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ย และภาษีเกือบ 800

ล้านบาท บริษัทจึงมิได้มีปัญหาด้านการเงินแต่อย่างใด (อ่านรายละเอียดผลการดำเนินงานด้านการเงินในส่วนรายงาน จากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ) แม้จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย เรายังคง

ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเป็นอย่างดีจากสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาโรงแรมตามแผนยุทธศาสตร์การขยายงาน โดยใน ปีที่ผ่านมาเราสามารถดำเนินการก่อสร้างและเปิดโรงแรมไอบิส กรุงเทพ นานา 200 ห้องในไตรมาสที่ 1 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา 367 ห้อง และโรงแรมไอบิส ภูเก็ต กะตะ 258 ห้องในไตรมาสที่ 4 ทำให้ปจั จุบนั ดิ เอราวัณ มีโรงแรมทีเ่ ปิด ดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 12 โรงแรม มีห้องพักให้บริการรวม 3,089 ห้อง ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย สามารถรองรับกลุ่มลูกค้าประเภทต่างๆ ตั้งแต่ระดับราคาสูงถึงระดับราคาประหยัด นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นเจ้าของ กิจการโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักมากที่สุดในประเทศไทย การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การขยายงานระยะยาวขั้นที่ 1 นั้น นอกจากจะได้สร้างรายได้และการเจริญ เติบโตให้แก่ ดิ เอราวัณ และยังสามารถกระจายความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากตลาดใดตลาดหนึ่งหรือกลุ่มลูกค้าประเภทใด ประเภทหนึ่งได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าแม้จะประสบปัญหาต่างๆ มากมายในช่วงปีที่ผ่านมา โรงแรมใหม่ที่เป็นไปตาม แผนการขยายงานขั้นที่ 1 แม้จะอยู่ในช่วงแรกของการเปิดดำเนินการ สามารถสร้างรายได้ให้ ดิ เอราวัณ ประมาณ

ร้อยละ 24 ของรายได้รวม ทำให้ปีที่ผ่านมา ดิ เอราวัณ มีรายได้รวมลดลงจากปี 2551 เพียงประมาณร้อยละ 7 ในด้าน การบริหารจัดการงานก่อสร้างโรงแรมให้ได้มาตรฐานและควบคุมงบประมาณนั้น เราสามารถบริหารงานก่อสร้างและเปิด ดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ และยังสามารถประหยัดงบประมาณการลงทุนรวมกว่า 400 ล้านบาท หรือคิดเป็น ประมาณร้อยละ 6 ของงบประมาณการลงทุนรวมของโครงการ ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน

อยูใ่ นระดับใกล้เคียงจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ ถึงแม้ว่ารายได้จากโรงแรมดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมาจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ก็ตาม เราสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาได้ จากการเตรียมแผนรองรับความเสี่ยงอยู่เสมอ

ประกอบกับความสามารถในการดำเนินการปรับตัวตามแผนที่เตรียมไว้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์นับตั้งแต่ปลายปี 2551 ในทุกๆ ด้าน ไม่วา่ จะเป็นการปรับแผนการลงทุนในโครงการใหม่ การปรับลดภาระค่าใช้จา่ ยทัง้ ด้านบุคลากรและค่าใช้จา่ ย ในการดำเนินงานต่างๆ ตลอดจนการปรับแผนการชำระคืนเงินกู้ นอกจากนี้แล้วเรายังได้มีการปรับปรุงและพัฒนาทรัพย์สิน

เดิมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน การดำเนินการพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น

การพัฒนาระบบงานด้านต่างๆ การพัฒนาบุคลากร การสร้างฐานข้อมูลในการตัดสินใจ และการหล่อหลอมวัฒนธรรมทีด่ ี ขององค์กร ซึ่งทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว เรายึดมั่นในหลักการบริหารงาน

ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี เรามุ่งมั่นที่สร้างสำนึกความเข้าใจและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติจริงกับพนักงานในทุกระดับ

รายงานประจำปี 2552


013

สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

โดยเฉพาะในเรื่องความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Corporate Social Responsibility “CSR”) เพื่อให้การทำงานของ

ดิ เอราวัณ กับผู้มีส่วนได้เสียทุกๆ ด้านเป็นไปตามแนวที่เราได้กำหนดและเปิดเผยไว้ (อ่านรายละเอียดในส่วนความ

รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย) เรายังได้จัดทำการสำรวจต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อนำผล

การสำรวจมาปรับปรุงการทำงานและเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณาผลตอบแทนประจำปีของพนักงานทุกระดับ เรามีความมั่นใจในศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในระยะยาว การฟื้นตัวอย่างชัดเจน ของจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 4 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยหลังจาก เกิดปัญหาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคง เป็นภูมิภาคที่องค์กรสากลด้านการท่องเที่ยวต่างๆ คาดว่าจะมีแนวโน้มการเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยวที่สูงกว่าภูมิภาค อื่นของโลก เราเชื่อมั่นว่าโรงแรมทั้ง 12 โรงแรมของ ดิ เอราวัณ จะสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า ประเภทต่างๆ ได้อย่างดี ซึ่งนอกจากจะสร้างประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างมาตรฐาน

ของอุตสาหกรรมโรงแรมไทยได้เป็นอย่างดี นายกษมา บุณยคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


014

ร า ย ง า น จ า ก ร อ ง ก ร ร ม ก า ร ผู้ จั ด ก า ร ส า ย บ ริ ห า ร เ งิ น แ ล ะ เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ

( ก ) ร า ย ง า น ผ ล ก า ร ด ำ เ นิ น ง า น ใ น ปี 2 5 5 2

ปี 2552 นับเป็นอีกปีหนึ่งที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความผันผวนของเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกซึ่งต่อเนื่องมาจากปี 2551 อย่างไรก็ดีเราได้เล็งเห็นถึง ปัจจัยเหล่านี้และได้เตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยได้มีการนำแผนบริหารความเสี่ยง

ต่างๆ มาปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นมาตรการประหยัดรายจ่ายในแต่ละธุรกิจของเรา ซึ่งมีความยืดหยุ่นและสามารถรับมือได้กับ สถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันไปในหลายรูปแบบ รวมไปถึงการบริหารจัดการทางการเงินที่เหมาะสมให้มีความพร้อม กับทุกสถานการณ์ โดยให้ความสำคัญกับการจัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่ายลงทุนรวมไปถึงการขยายกำหนดระยะ เวลาการชำระคืนเงินต้นระยะยาวโดยไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้และได้รับการยกเว้นการดำรงอัตราส่วนทางการเงิน ทำให้ในปี 2552 เรามีเพียงภาระในการชำระดอกเบี้ยจ่ายโดยไม่มีภาระในการจ่ายชำระคืนเงินต้น ส่งผลให้สามารถ

ลดภาระการชำระคืนเงินต้นในช่วงปี 2552 - 2553 เป็นจำนวนประมาณ 1 พันล้านบาท ซึ่งแผนบริหารความเสี่ยงเหล่านี้

ได้ดำเนินการตั้งแต่ก่อนสิ้นปี 2551 ส่งผลให้เราสามารถให้ความสำคัญกับการดำเนินงานทางด้านธุรกิจได้อย่างเต็มที่

ในปี 2552 ซึ่งเป็นปีแห่งความท้าทายสำหรับทุกประเภทธุรกิจในประเทศ ในส่วนของอุปสงค์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการทรุดตัว

ในเดือนธันวาคม 2551 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวได้เริ่มกลับเข้ามาในเดือนมกราคมมากขึ้นถึงแม้ว่าจะยังไม่กลับเข้าสู่ระดับ ปกติก็ตาม โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี อัตราการเข้าพักเฉลี่ยและรายได้ต่อห้องพักได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็น สัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวและสอดคล้องกับรูปแบบของการฟื้นตัวจากเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตที่อุตสาหกรรมเคยประสบมา ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาภายใน 4 - 6 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าความวุ่นวายทางการเมืองในเดือนเมษายน 2552 รวมถึง การแพร่ระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ H1N1 ในเดือนพฤษภาคม จะส่งผลให้การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชะงักไปในไตรมาสที่ 2 ของปี แต่จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากความวุ่นวายทางการเมืองได้คลี่คลายลง และความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ได้ลดน้อยลง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่อง จนถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่สนามบินสุวรรณภูมิมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วนับแต่

เดือนกันยายนเป็นต้นมาจนถึงสิ้นปี ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยโดยรวมยังคงอยู่ในระดับ

14 ล้านคนต่อปีถึงแม้จะมีสถานการณ์ความวุ่นวายต่างๆ และความถดถอยของสภาวะเศรษฐกิจโลกดังที่กล่าวไปในข้างต้น ในด้านการดำเนินธุรกิจ เราให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางธุรกิจในการสร้างการเติบโตของรายได้ควบคูไ่ ปกับมาตรการ ควบคุมค่าใช้จ่ายซึ่งยังคงดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงของเราโดยการขยายการลงทุนไปสู่

โรงแรมระดับต่างๆ และแหล่งท่องเที่ยวนอกเหนือจากกรุงเทพฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ได้ส่งผลดีอย่างเห็นได้ชัดภายใต้ สภาวการณ์ที่ผันผวนดังที่กล่าวมา โดยจะเห็นได้ว่า กลุ่มโรงแรมระดับกลาง (Midscale) และโรงแรมชั้นประหยัด (Economy) ได้รับผลกระทบที่น้อยกว่ากลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาว (Luxury) และเรามีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดจากกลุ่มโรงแรมชั้นประหยัด ในด้านการพัฒนาโรงแรมใหม่ เราได้เปิดดำเนินการโรงแรมใหม่ 3 โรงแรมในปีนี้ซึ่งเป็นไปตามแผนการขยายงาน ระยะยาวขั้นที่ 1 (Phase I Expansion) โดยในเดือนมีนาคม 2552 ได้เปิดโรงแรมไอบิส กรุงเทพ นานา ซึ่งเป็นไอบิสแห่งที่ 5 และเป็นไอบิสแห่งที่ 2 ของเราในกรุงเทพฯ รวมถึงเปิดดำเนินการโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา ซึ่งเป็นโรงแรมระดับกลาง รายงานประจำปี 2552


015

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

แห่งที่ 2 ของเรา ในเดือนตุลาคม 2552 และโรงแรมไอบิส ภูเก็ต กะตะ ซึ่งเป็นโรงแรมไอบิสแห่งที่ 6 และเป็นไอบิส

แห่งที่ 2 ของเรา ที่ภูเก็ต ในเดือนธันวาคม 2552 โดยโรงแรมใหม่ทั้ง 3 แห่งนี้มีจำนวนห้องรวม 825 ห้อง ทำให้ ณ สิ้นปี 2552 เรามีโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 12 แห่ง รวมจำนวนห้องพัก 3,089 ห้อง ซึ่งสามารถรองรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับ 5 ดาวถึงระดับกลาง และระดับชั้นประหยัดครอบคลุมตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ของประเทศ สำหรับ โรงแรมที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างมี 1 โรงแรม คือ โรงแรมไอบิสแห่งที่ 7 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นโรงแรมไอบิส แห่งที่ 3 ของเราในกรุงเทพฯ โดยมีแผนจะเปิดดำเนินการในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ซึ่งจะเป็นโรงแรมไอบิสที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในกลุ่มโรงแรมไอบิสของเรา ด้วยจำนวนห้องพัก 267 ห้อง การปรับตัวลดลงของสภาวะตลาดโดยรวมในปี 2552 ส่งผลให้รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรมของเราลดลง ร้อยละ 8 ถึงแม้ว่ารายได้จากโรงแรมที่เปิดในปี 2551 จำนวน 5 แห่งจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 295 และมีรายได้เพิ่มขึ้น จากโรงแรมที่เปิดใหม่ 3 แห่งในปี 2552 จำนวน 120 ล้านบาทก็ตาม สำหรับธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบที่มี

นัยสำคัญจากเหตุการณ์ดังกล่าว และยังคงมีการเติบโตของรายได้และกำไรในปี 2552 โดยรวมเรายังสามารถทำกำไรก่อน ดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ได้ต่อเนื่องเป็นจำนวน 790 ล้านบาทในปีนี้ ซึ่งถึงแม้จะยังสูงกว่า

ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าเสื่อมราคาทางบัญชี ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิ

ในปีนี้ จำนวน 229 ล้านบาท ล้านบาท รายได้จากกิจการโรงแรม รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รวมรายได้จากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีเงินได้และค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย กำไรจากการดำเนินงาน รายได้อื่น ดอกเบี้ยจ่าย กำไร (ขาดทุน) ก่อนหักภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไร (ขาดทุน) สุทธิก่อนรายการพิเศษ รายการพิเศษ-สุทธิ* กำไร (ขาดทุน) สุทธิ กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น

2551 2,986 389 3,376 (2,299) 1,077 (505) 572 28 (274) 327 (93) (61) 173 (94) 78 0.04

2552 2,748 401 3,149 (2,359) 790 (628) 162 43 (307) (102) (46) (32) (180) (50) (229) (0.10)

เปลี่ยนแปลง -8% +3% -7% +3% -27% +24% -72% +50% +12% -131% -51% -48% -204% -47% -393% -391%

หมายเหตุ : * รายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานนี้

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

016

รายได้ สัดส่วนรายได้ประเภทต่างๆ ของเราได้เปลี่ยนไปในปี 2552 ซึ่งเป็นไปตามแผนกลยุทธ์การกระจายรายได้ที่เรา

วางไว้ โดยรายได้จากโรงแรมระดับประหยัดเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุดในปีที่ผ่านมา รายได้แบ่งตามประเภทของ ทรัพย์สินได้แสดงไว้ตามตารางและแผนภาพด้านล่างนี้

รายได้แบ่งตามประเภทของทรัพย์สิน

2550

ล้านบาท

จากโรงแรม 5 ดาวในกรุงเทพฯ จากรีสอร์ท 5 ดาวในต่างจังหวัด จากโรงแรมระดับกลาง จากโรงแรมชั้นประหยัด รายได้จากโรงแรม ค่าเช่าและบริการจากพื้นที่สำนักงาน ค่าเช่าและบริการจากพื้นที่ร้านค้า จากอื่นๆ (ยอดขายศูนย์อาหาร, ที่จอดรถ ฯลฯ) รายได้ค่าเช่าและค่าบริการจากอาคารให้เช่า รายได้อื่นๆ กำไรจากการขายเงินลงทุน รวมรายได้

2,528 189 31 - 2,748 178 164 104 446 25 172 3,391

สัดส่วน

74.6% 5.6% 0.9% 0.0% 81.0% 5.2% 4.8% 3.1% 13.2% 0.7% 5.1% 100.0%

2551

ล้านบาท

2,482 187 261 58 2,987 159 141 89 389 28 9 3,413

2552

สัดส่วน

ล้านบาท

-6%

3,192

72.7% 5.5% 7.6% 1.7% 87.5% 4.7% 4.1% 2.6% 11.4% 0.8% 0.3% 100.0%

1,997 182 272 297 2,748 172 144 84 401 43 0 3,192

หมายเหตุ : ไม่รวมรายการจากอาคารอัมรินทร์ พลาซ่า หลังจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เป็นต้นไป ล้านบาท

3,500 อื่นๆ ร้านค้า สำนักงาน โรงแรม Economy (6) โรงแรม Midscale (2) รีสอร์ท Luxury (2) โรงแรม Luxury กรุงเทพฯ (2)

3,220

+6%

3,405

3,000 2,500 2,000 1,500 1,000

หมายเหตุ : ไม่รวมรายการจาก อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า หลังจาก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เป็นต้นไป

รายงานประจำปี 2552

500 0

2550

2551

2552

สัดส่วน

62.6% 5.7% 8.5% 9.3% 86.1% 5.4% 4.5% 2.6% 12.6% 1.3% 0.0% 100.0%


017

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

“Suc c e ss wit h Int e g ri r i ty”

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2552 ของทรัพย์สินทั้งหมด รวมทั้งโรงแรมที่เปิดใหม่ทั้ง 3 แห่ง มีดังนี้ : • โรงแรมระดับ 5 ดาว โรงแรมระดับ 5 ดาว 2 แห่งของเราในกรุงเทพฯ ซึ่งได้แก่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ (“GHEB”) และโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ (“JWM”) มีผลการดำเนินงานลดลงในปี 2552 นี้ โดยอัตราการเข้าพักลดลงร้อยละ 9 และอัตราค่าห้องพักเฉลี่ย (“ARR”) ลดลงร้อยละ 14 ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (“RevPar”) และรายได้ค่าห้องพักรวมของ 2 โรงแรมนี้ ลดลงร้อยละ 25 จากปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาวะ ตลาดที่ยากลำบากในปี 2552 รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPar) ของ GHEB ยังคงสามารถครองอันดับ 1 และของ JWM อยู่ที่อันดับ 4 ของกลุ่มโรงแรม 5 ดาวในย่านธุรกิจใจกลางเมือง สำหรับในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวต่างจังหวัด ภูเก็ตยังคงมีความแข็งแกร่งกว่าสมุย ซึ่งรีสอร์ทระดับหรู 5 ดาวของเรา ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน สำหรับโรงแรมเรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา (“RKS”) มีอัตราการเข้าพักลดลงร้อยละ 11 และอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 17 ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก และรายได้ค่าห้องพักลดลงร้อยละ 31

ในขณะที่ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต (“SSP”) ซึ่งเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2551 มีอัตรา

การเข้าพักเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากปีที่ผ่านมา และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปีนี้ ซึ่งเป็นปีแรกของ

การดำเนินการเต็มปี ซึ่งเป็นผลมาจากการทำแผนการตลาดอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา

ค่าห้องพักเฉลี่ย (ARR บาทต่อคืน) รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPar บาทต่อคืน) หมายเหตุ : ค่าห้องพักเฉลี่ยของ ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต แสดงเป็น Spending/Room

บาท/ห้อง/คืน 40,000 36,000 32,000 28,000 24,000 20,000 16,000 12,000 8,000 69% 6,334 4,000 4,394 0 2551

4%

อัตราการเข้าพัก

12% 42,345 24,558 59% 5,589 3,305

75% 5,304 3,955

2552

2551

แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ

66% 4,470 2,943

2552

เจดับบลิว แมริออท

66% 6,192 4,099

2551

55% 5,163 2,835

2552

เรเนซองส์ เกาะสมุย

1,524

2551

2,834

2552

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต

รายได้รวมทั้งหมดของโรงแรมในกลุ่ม 5 ดาวทั้ง 4 แห่ง ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 18 มาเป็น 2,203 ล้านบาทในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงร้อยละ 24 ของรายได้ค่าห้องพัก ในขณะที่รายได้จากค่าอาหารและเครื่องดื่ม

(“F&B”) ลดลงเพียงร้อยละ 9 เนื่องจากรายได้ F&B ของ GHEB และ JWM มีฐานลูกค้าหลักที่เป็นกลุ่มลูกค้าในประเทศ จึงไม่ได้แปรผันตามอัตราการเข้าพักของโรงแรมทั้งหมด โดยรายได้แยกตามประเภทของโรงแรมทั้ง 4 แห่งในปี 2552 แสดงตามกราฟดังนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


018

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ล้านบาท

จากการดำเนินงานอื่นๆ จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม จากการขายห้องพัก

1,400

1,338

1,200

106

1,000 800

80 621 570

600 400

หมายเหตุ : ไม่รวมผลกระทบจาก การตัดรายการระหว่างกันทางบัญชี

1,109

200 0

611

458

2551

2552

แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ

1,167 110

913 73

419

366 638

474

2551

2552

เจดับบลิว แมริออท

169 38 117

2551

118 29 81

17

2552

เรเนซองส์ เกาะสมุย

2551

63 16 33

2552

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต

• โรงแรมระดับกลาง เรามีโรงแรมระดับกลางจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรมคอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ (“CYB”) ซึ่งเปิดดำเนินการเป็นปีที่สอง และโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา (“HIP”) ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดดำเนินการในไตรมาสที่ 4

ปี 2552 นี้ สภาวะอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักของ CYB ปรับตัวลดลงร้อยละ 20 ในปี 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ส่วน HIP ซึ่งอยู่ในช่วงแรกของการดำเนินงานมีระดับการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60

ในช่วง 3 เดือนแรกของการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2552 หรือตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการเป็นดังนี้ : บาท/ห้อง/คืน 3,500 3,000 ค่าห้องพักเฉลี่ย (ARR บาทต่อคืน) รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPar บาทต่อคืน)

2,500

70%

2,000

2,394

1,500 1,000

หมายเหตุ : ไม่รวมผลกระทบจาก การตัดรายการระหว่างกันทางบัญชี

500 0

1,686

2551

65% 2,067

1,342

2552

คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท

รายงานประจำปี 2552

อัตราการเข้าพัก

61% 1,968

1,203

ต.ค. - ธ.ค. 2552

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา


019

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

กลุ่มโรงแรมระดับกลางของเรามีรายได้รวม 274 ล้านบาทในปี 2552 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปี 2551 ถึงแม้ว่า

รายได้ของ CYB จะลดลงร้อยละ 18 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นจากรายได้ของ HIP ซึ่งเปิดดำเนินการเพียง 3 เดือน

ในปี 2552 โดยรายได้แยกตามประเภทของโรงแรมระดับกลางในปี 2552 แสดงตามแผนภาพด้านล่างนี้ ล้านบาท

400 350 จากการดำเนินงานอื่นๆ จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม จากการขายห้องพัก

300 250 200

261 12 54

150 100 หมายเหตุ : ไม่รวมผลกระทบจาก การตัดรายการระหว่างกันทางบัญชี

50 0

195

2551

215 10 50

155

2552

คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท

57 15 41

2552

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา

• โรงแรมชั้นประหยัด โรงแรมชั้นประหยัดทั้งหมดของเราเปิดดำเนินการภายใต้แบรนด์ “ไอบิส” ซึ่ง ณ สิ้นปี 2552 เรามีโรงแรมชั้นประหยัดจำนวน 6 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูงที่สุดในปี 2552 โดยโรงแรมไอบิส 4 แห่งแรก ได้แก่ ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง (“IPK”) ไอบิส พัทยา (“IPT”) ไอบิส กรุงเทพ สาทร (“IST”) และ ไอบิส สมุย บ่อผุด (“ISM”) ซึ่งเปิดดำเนินการในปี 2551 มีการเติบโตของอัตราการเข้าพัก และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักอย่างมากเมื่อเทียบกับปี

ที่ผ่านมา ในขณะที่ ไอบิส กรุงเทพ นานา (“INN”) ซึ่งเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคมปีนี้ เป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพัก และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักสูงที่สุดในกลุ่มโรงแรมชั้นประหยัดของเราในปี 2552 นอกจากนี้ ไอบิส ภูเก็ต กะตะ (“IKT”)

ซึ่งเพิ่งเปิดดำเนินการเป็นเดือนแรกในเดือนธันวาคม 2552 ก็สามารถทำระดับอัตราการเข้าพักได้ถึงร้อยละ 58 ผลการ ดำเนินงานสำหรับปี 2552 ของกลุ่มโรงแรมชั้นประหยัดเป็นดังนี้

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


020

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ค่าห้องพักเฉลี่ย (ARR บาทต่อคืน) รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPar บาทต่อคืน)

หมายเหตุ : ไม่รวมผลกระทบจาก การตัดรายการระหว่างกันทางบัญชี

บาท/ห้อง/คืน 2,500 2,250 2,000 1,750 1,500 30% 1,250 1,000 750 1,168 500 250 355 0

อัตราการเข้าพัก

12%

64% 1,136 726

28% 885 248

39% 64% 790 502

24%

60%

1,062

948

418

565

1,286

155

1,147

77%

58%

1,024

1,203

788

694

272

พ.ค.-ธ.ค. 2552 2551

ก.ค.-ธ.ค. 2552 2551

ก.ย.-ธ.ค. 2552 2551

พ.ค.-ธ.ค. 2552 2551

มี.ค.-ธ.ค. ธ.ค. 2552 2552

ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง

ไอบิส พัทยา

ไอบิส กรุงเทพ สาทร

ไอบิส สมุย บ่อผุด

ไอบิส ไอบิส กรุงเทพ ภูเก็ต นานา กะตะ

กลุ่มโรงแรมระดับประหยัดของเรามีรายได้รวม 297 ล้านบาท ในปี 2552 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 411 จากปี 2551 ซึ่ง รายได้ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าห้องพัก โดยรายได้แยกตามประเภทของโรงแรมระดับประหยัดในปี 2552 แสดงตาม แผนภาพด้านล่างนี้

จากการดำเนินงานอื่นๆ จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม จากการขายห้องพัก

หมายเหตุ : ไม่รวมผลกระทบจาก การตัดรายการระหว่างกันทางบัญชี

รายงานประจำปี 2552

ล้านบาท 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0

83 2 13 58 1 10 27 1 4

56 2 6

56 2 10

36 2 8

68

22

47

14 2 12

10 1 9

44 5 1 4

26

48 7 1 6

พ.ค.-ธ.ค. 2552 2551

ก.ค.-ธ.ค. 2552 2551

ก.ย.-ธ.ค. 2552 2551

พ.ค.-ธ.ค. 2552 2551

มี.ค.-ธ.ค. ธ.ค. 2552 2552

ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง

ไอบิส พัทยา

ไอบิส กรุงเทพ สาทร

ไอบิส สมุย บ่อผุด

ไอบิส ไอบิส กรุงเทพ ภูเก็ต นานา กะตะ


021

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

• ธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ ธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ 2 แห่ง คือ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ (“PC”) ซึ่งเป็นอาคาร สำนักงานพร้อมร้านค้าย่อยในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ และอาคารเอราวัณ แบงค็อก (“EB”) ซึ่งเป็นร้านค้าระดับหรู

ติดกับโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณของเรานั้น ยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีในปี 2552 โดยธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ทั้ง

2 แห่งนี้ มีการเติบโตของรายได้และอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ตามตารางด้านล่างนี ้ เพลินจิต เซ็นเตอร์ เอราวัณ แบงค็อก

อัตราการเช่าพื้นที่ รายได้เฉลี่ย (บาท/ตร.ม./เดือน)

2551

2552 % เปลี่ยนแปลง

2551

2552

% เปลี่ยนแปลง

96.1% 452

93.5% 496

89.8% 1,206

92.7% 1,223

+2.9% +1%

-2.6% +10%

รายได้รวมจากธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ (รวมทั้งร้านค้าต่างๆ ในอาเขตของโรงแรม GHEB) เท่ากับ 401 ล้านบาท

ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รายได้ของอาคาร PC เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 มาเป็น 289 ล้านบาท ในปี 2552 และรายได้ของอาคาร EB ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 มาเป็น 98 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่วนใหญ่เนื่องมาจาก อัตราค่าเช่าที่สูงขึ้นจากผู้เช่าเดิมที่มีการต่ออายุสัญญาในระหว่างปีและผู้เช่าใหม่ โดยรายได้จากอาคาร PC และ EB

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แสดงในแผนภาพด้านล่างนี้

อื่นๆ ร้านค้า สำนักงาน

ล้านบาท 325 300 275 250 225 200 175 150 125 100 75 50 25 0

277 71 48

159

2551

289 69 48

172

2552

เพลินจิต เซ็นเตอร์

95 13

98 11

83

86

2551

2552

เอราวัณ แบงค็อก

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

022

ผลกำไรจากการดำเนินงาน รายได้รวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และรายการตัดบัญชี (“EBITDA”) ซึ่งไม่รวมรายได้อื่นและรายการ ไม่ปกติ เท่ากับ 790 ล้านบาทในปี 2552 ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมา และส่งผลถึงระดับอัตรากำไรระดับ EBITDA ที่ลดลง

จากร้อยละ 32 ในปี 2551 มาเป็นร้อยละ 25 ในปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้จากโรงแรมที่เปิด ดำเนินการก่อนปี 2551 เนื่องจากโรงแรมที่เปิดดำเนินการในปี 2551 และธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ล้วนแต่แสดงการเติบโต

เพิ่มขึ้นของ EBITDA และอัตรากำไรระดับ EBITDA ในปี 2552 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายในปี 2552 เท่ากับ 628 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 123 ล้านบาท หรือร้อยละ 24 จากปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเปิดโรงแรมใหม่จำนวน 3 แห่งในปี 2552 และสืบเนื่องจากการที่โรงแรมจำนวน 5 แห่งที่เปิดดำเนินการในปี 2551 ได้เปิดดำเนินการเต็มปีในปี 2552 นี้

ส่ งผลให้ในปี 2552 นี้ เรามีกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 162 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 72 จากปีที่ผ่านมา แผนภาพด้านล่างนี้แสดงถึงผลกำไรในแต่ละทรัพย์สิน ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากการตัดรายการระหว่างกันทางบัญชี และการบริหารปันส่วนของสำนักงานใหญ่

กำไรก่อนดอกเบี้ยภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) กำไรจากการดำเนินงาน

หมายเหตุ : ไม่รวมผลที่เกิดจากการจัดทำ งบรวมและค่าใช้จ่ายจากส่วนกลาง (head office)

ล้านบาท 500 450 472 400 350 436 300 250 318 301 200 358 150 299 170 100 161 187 169 50 83 60 63 96 104 61 49 49 0 32 20 36 39 17 10 2551 2552 2551 2552 2551 2552 2551 2552 2552 2551 2552 2551 2552 แกรนด์ ไฮแอท เจดับบลิว เอราวัณ แมริออท

รายงานประจำปี 2552

เรเนซองส์ เกาะสมุย

คอร์ทยาร์ด ไอบิส โดย แมริออท 6 แห่ง

เพลินจิต เซ็นเตอร์

เอราวัณ แบงค็อก


023

รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ต้นทุนทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของเรายังอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมาที่ประมาณร้อยละ 4 ต่อปี โดยต้นทุนทางการเงิน สำหรับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 มาเป็น 307 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ต้นทุนทางการเงินในงบกำไรขาดทุน สำหรับโรงแรมที่เปิดใหม่ 3 โรงแรมในปี 2552 และการรับรู้ต้นทุนทางการเงินเต็มปีสำหรับโรงแรมที่เปิดดำเนินงานในปี 2551 โดยโรงแรมทั้ง 5 แห่งที่เปิดดำเนินงานในปี 2551 มีต้นทุนทางการเงินเท่ากับ 91 ล้านบาท ในปี 2552 เปรียบเทียบ กับ 36 ล้านบาท ในปี 2551 ในขณะที่โรงแรมใหม่ 3 โรงแรมมีต้นทุนทางการเงินเท่ากับ 19 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุน ทางการเงิ นของโรงแรมเดิมลดลงจากปีที่แล้ว

รายการพิเศษ ในปี 2552 เรามีรายการพิเศษเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนจำนวน 50 ล้านบาท ซึ่งมาจากค่าใช้จ่าย

ก่อนการเปิดดำเนินการของโรงแรมไอบิส กรุงเทพ นานา โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา และโรงแรมไอบิส ภูเก็ต กะตะ

ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน “ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร” ในงบกำไรขาดทุน สำหรับปี 2551 มีรายการพิเศษ

ที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนจำนวน 94 ล้านบาท ซึ่งมาจากค่าใช้จ่ายก่อนการเปิดดำเนินการของโรงแรมที่เปิด ในปี 2551 จำนวน 103 ล้านบาท ซึ่งบันทึกเป็น “ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร” และมีกำไรจากการขายเงินลงทุน

ในบริษัทย่อยเพิ่มเติม จำนวน 9 ล้านบาท ซึ่งบันทึกเป็น “รายได้อื่น” ในไตรมาส 1/2551

( ข ) ร า ย ง า น ส ถ า น ะ ท า ง ก า ร เ งิ น

รายจ่ายเงินทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 เรามีทรัพย์สินรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากสิ้นปี 2551 มาเป็น 13,289 ล้านบาท

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ถาวร เนื่องจากเรามีรายจ่ายเงินทุนจำนวน 1,373 ล้านบาท ระหว่างปี 2552 ส่วนใหญ่เพื่อโครงการโรงแรมใหม่ 3 โรงแรมที่เปิดดำเนินการในปีนี้ และโครงการโรงแรมไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์

ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างอีก 1 โรงแรม แหล่งเงินทุนของโครงการลงทุนเหล่านี้มาจากเงินกู้โครงการและกระแสเงินสด

จากการดำเนินงาน มีผลให้ ณ สิ้นปี 2552 นี้ เราได้เสร็จสิ้นการพัฒนาโรงแรมแล้วจำนวน 10 แห่งจากจำนวนทั้งหมด

14 แห่ง ที่ได้กำหนดไว้ในแผนการลงทุนระยะยาวขั้นที่ 1 เพื่อให้เราเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำของธุรกิจโรงแรมและ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย สำหรับแผนการพัฒนาโรงแรมไอบิสอีกจำนวน 3 แห่ง ที่หัวหิน กระบี่

และศรีราชา ซึ่งเรามีกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินและได้รับการอนุมัติการสนับสนุนทางการเงินแล้วนั้น ยังอยู่ในระหว่าง

การพิจารณาความเป็นไปได้ หากมีการพัฒนาต่อคาดว่าจะใช้เงินลงทุนเพิ่มประมาณ 880 ล้านบาท ในการพัฒนา

จนเสร็จสิ้นทั้ง 3 โครงการ

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานจากรองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ

024

แผนภาพด้านล่างนี้แสดงรายจ่ายเงินทุนในระหว่างปี 2552

20%

1%

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา กลุ่มไอบิส #1 - #6 กลุ่มไอบิส #7

47%

5%

โรงแรมที่เปิดก่อนปี 2551 อาคารสำนักงานและร้านค้า

27%

หนี้สินรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จาก 8,872 ล้านบาท ณ สิ้นงวดเดือนธันวาคม 2551 มาเป็น 9,750 ล้านบาท ณ สิ้นงวด เดือนธันวาคม 2552 ซึ่งส่วนที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการเบิกเงินกู้โครงการเพิ่มเติมดังกล่าว ดังที่กล่าวข้างต้นว่าบริษัท ไม่มีภาระต้องจ่ายคืนเงินต้นของเงินกู้ระยะยาวในปี 2552 จึงทำให้เงินกู้จากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นระหว่างปีมาเป็น

8,570 ล้านบาท ณ สิ้นงวดเดือนธันวาคม 2552 ในขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2552 ลดลงจากผลขาดทุนในปี 2552

ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 เท่า ณ สิ้นปี 2552 ซึ่งถึงแม้จะอยู่ในระดับสูงแต่เรามีความเชื่อมั่น ว่าการบริหารสภาพคล่องยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้เนื่องจากเงินกู้โครงการต่างๆ มีระยะผ่อนผันการชำระคืนเงินต้น

เกินกว่า 2 ปี และระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นได้พิจารณาให้มีความเหมาะสมกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

ที่คาดว่าจะได้รับจากแต่ละโรงแรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยอดเงินกู้ระยะยาว

ที่จะครบกำหนดในอีก 3 ปีข้างหน้า (2553 - 2555) นี้ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 25 ของยอดหนี้คงค้าง ในขณะที่ อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับที่สูงถึง 2.4 เท่า และเรายังมีวงเงินกู้ระยะสั้นที่ยังไม่ได้ใช้อีก จำนวน 1,732 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2552 จากวงเงินทั้งหมด 1,939 ล้านบาท นางกมลวรรณ วิปุลากร รองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ รายงานประจำปี 2552


025

ร า ย ง า น จ า ก ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ต ร ว จ ส อ บ ต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบ–ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน–3–คน–มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศของ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยoมี ว าระการดำรงตำแหน่ ง คราวละo3oปี o ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามขอบเขตอำนาจหน้ า ที่ ความรับผิดชอบของตนและที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ในรอบปี 2552 มีการประชุม 4 ครั้ง เพื่อพิจารณา เรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. พิ จ ารณาสอบทานงบการเงิ น รายไตรมาสและงบการเงิ น ประจำปี– 2552–โดยประสานและแลกเปลี ่ ย น

ความคิดเห็นกับผู้สอบบัญชี–รองกรรมการผู้จัดการ–สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ–และผู้ตรวจสอบภายใน

เพื่อให้มั่นใจได้ว่างบการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง เพียงพอเชื่อถือได้ และเป็นไป ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และเป็นไปตามประกาศ ก.ล.ต. และ ตลท. 2. สอบทาน–และประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน–เพื่อให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี

เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการดูแลทรัพย์สิน การป้องกันความผิดพลาด ความเสียหาย โดยพิจารณาจาก รายงานของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี ตลอดจนสอบถามจากฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ไม่พบประเด็นปัญหาหรือข้อบกพร่อง ที่เป็นสาระสำคัญ จึงมีความเห็นว่าการควบคุมภายในของบริษัทมีความเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 3. พิจารณาสอบทานการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน–หรือรายการที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของการทำรายการว่าเป็นรายการทางการค้าปกติทั่วไป–การพิจารณาอนุมัติรายการเป็นไปโดย รอบคอบตามเกณฑ์ที่บริษัทและภาครัฐกำหนด มีความสมเหตุสมผลและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 4. พิจารณาให้คำปรึกษาและอนุมัติแผนตรวจสอบภายในประจำปี รับทราบและเสนอผลการตรวจสอบภายในต่อ คณะกรรมการบริษัท พิจารณางบประมาณประจำปี ตลอดจนกำกับดูแล สอบทานและประเมินผลงานของหัวหน้าสายงาน ตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบoพิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชีประจำปีo2553oและความเหมาะสมของค่าสอบบัญชี เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่งตั้ง นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 4068 และ/หรือ นางสาวบุญศรี โชติไพบูลย์พันธุ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3756 และ/หรือ นางสาววรรณาพร จงพีรเดชานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 4098 แห่งบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


026

ร า ย ง า น ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ต่ อ ร า ย ง า น ท า ง ก า ร เ งิ น

คณะกรรมการบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย ซึ่งจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยได้มีการพิจารณาเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสม และถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรรมการที่เป็นอิสระ 3 คน เพื่อทำหน้าที่ สอบทานรายงานทางการเงินของบริษัท สอบทานความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน และติดตามการบริหารความเสี่ยง ที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่ามีการบันทึกข้อมูลทางบัญชีถูกต้องเพียงพอ ทันเวลา ซึ่งความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งได้แสดงไว้ในรายงานประจำปีนี้แล้ว คณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัท โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถ สร้างความมั่นใจอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

นายประกิต ประทีปะเสน นายกษมา บุณยคุปต์ ประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ รายงานประจำปี 2552


027

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

เ กี่ ย ว กั บ บ ริ ษั ท

แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


028

ป ร ะ วั ติ บ ริ ษั ท

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2525 ดำเนินการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจโรงแรมมาตลอด 28 ปี

2534 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

2528

เปิดดำเนินการ อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า

2531

จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

2539 อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์

2534

เปิดดำเนินการ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

รายงานประจำปี 2552

2537

แปรสภาพเป็น บริษัทมหาชน

2540 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

2539

เปิดดำเนินการ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์

2540

เปิดดำเนินการ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ


029

ประวัติบริษัท

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

2551 ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต

2547

เปิดดำเนินการ อาคารเอราวัณ แบงค็อก

2548

เปิดดำเนินการ โรงแรมเรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา

2551 - 2552 โรงแรมไอบิส 6 แห่ง

2550

ขายกิจการอาคาร อัมรินทร์ พลาซ่า เปิดดำเนินการ โรงแรมคอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ

2551

เปิดดำเนินการ ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต

2552 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา

2551

เปิดดำเนินการ โรงแรมไอบิส 4 แห่ง ได้แก่ โรงแรมไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง, โรงแรมไอบิส พัทยา, โรงแรมไอบิส กรุงเทพ สาทร และ โรงแรมไอบิส สมุย บ่อผุด

2552

เปิดดำเนินการ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เปิดดำเนินการ โรงแรมไอบิส 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรมไอบิส กรุงเทพ นานา, โรงแรมไอบิส ภูเก็ต กะตะ

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


030

ธุ ร กิ จ ที่ ด ำ เ นิ น ง า น ใ น ปั จ จุ บั น

บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ยประกอบธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ การลงทุ น พั ฒ นาและดำเนิ นธุ ร กิ จ โรงแรมที่ ส อดคล้ อ งกั บ ทำเล สถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมาย เป็นธุรกิจหลัก ปัจจุบันรวม 12 โรงแรม โดยมีธุรกิจอื่น ได้แก่ ธุรกิจพื้นที่ให้เช่า อาคาร สำนักงาน และร้านค้า รายละเอียดตามประเภทของธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินงานแล้ว มีดังนี้

ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม แ ล ะ รี ส อ ร์ ท แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ (Grand Hyatt Erawan Bangkok) มาตรฐานโรงแรม : Luxury Hotel จำนวนห้องพัก : 380 ห้อง สถานที่ตั้ง : ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ สิทธิการเช่าที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 32 ปี www.bangkok.grand.hyatt.com

เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ (JW Marriott Hotel Bangkok) มาตรฐานโรงแรม : Luxury Hotel จำนวนห้องพัก : 441 ห้อง สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท ซอย 2 กรุงเทพฯ สิทธิการเช่าที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 35 ปี www.marriott.com/bkkdt

เรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา (Renaissance Koh Samui Resort and Spa) มาตรฐานโรงแรม : Luxury Hotel จำนวนห้องพัก : Deluxe 45 ห้อง และ Pool Villa 33 ห้อง สถานที่ตั้ง : หาดละไม เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี www.marriott.com/usmbr

รายงานประจำปี 2552


031

ธุรกิจที่ดำเนินงานในปัจจุบัน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ (Courtyard by Marriott Bangkok) มาตรฐานโรงแรม : Midscale Hotel จำนวนห้องพัก : 316 ห้อง สถานที่ตั้ง : ซอยมหาดเล็กหลวง ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ สิทธิการเช่าคงเหลือระยะเวลา : 28 ปี www.courtyard.com/bkkcy

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต (Six Senses Destination Spa Phuket) มาตรฐานโรงแรม : Luxury Destination Spa จำนวนห้องพัก : Pool Villa 61 ห้อง สถานที่ตั้ง : เกาะนาคาใหญ่ ภูเก็ต www.sixsensesdestinationspas.com

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา (Holiday Inn Pattaya) มาตรฐานโรงแรม : Midscale Hotel จำนวนห้องพัก : 367 ห้อง สถานที่ตั้ง : ถนนพัทยาสาย 1 ชลบุรี www.holidayinn.com/pattaya

ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง (Ibis Phuket Patong) มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 258 ห้อง สถานที่ตั้ง : หาดป่าตอง ภูเก็ต www.ibishotel.com

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


ธุรกิจที่ดำเนินงานในปัจจุบัน

ไอบิส พัทยา (Ibis Pattaya) มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 259 ห้อง สถานที่ตั้ง : ถนนพัทยาสาย 2 ชลบุรี www.ibishotel.com

ไอบิส กรุงเทพ สาทร (Ibis Bangkok Sathorn) มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 213 ห้อง สถานที่ตั้ง : ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ สิทธิการเช่าที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 28 ปี www.ibishotel.com

ไอบิส สมุย บ่อผุด (Ibis Samui Bophut) มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 258 ห้อง สถานที่ตั้ง : หาดบ่อผุด เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี www.ibishotel.com

ไอบิส กรุงเทพ นานา (Ibis Bangkok Nana) มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 200 ห้อง สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท ซอย 4 กรุงเทพฯ สิทธิการเช่าที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 29 ปี www.ibishotel.com

รายงานประจำปี 2552

032


033

ธุรกิจที่ดำเนินงานในปัจจุบัน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ไอบิส ภูเก็ต กะตะ (Ibis Phuket Kata) มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 258 ห้อง สถานที่ตั้ง : หาดกะตะ ภูเก็ต www.ibishotel.com

ธุ ร กิ จ พื้ น ที่ ใ ห้ เ ช่ า อ า ค า ร ส ำ นั ก ง า น แ ล ะ ร้ า น ค้ า อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ (Pleonchit Center) อาคารสำนักงาน : พื้นที่เช่า 39,490 ตร.ม. สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท ซอย 2 สิทธิการเช่าที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 15 ปี

อาคารเอราวัณ แบงค็อก (Erawan Bangkok) ร้านค้า : พื้นที่เช่า 6,880 ตร.ม. สถานที่ตั้ง : ถนนเพลินจิต/ถนนราชดำริ สิทธิการเช่าคงเหลือระยะเวลา : 32 ปี www.erawanbangkok.com

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


034

โ ร ง แ ร ม ที่ อ ยู่ ร ะ ห ว่ า ง ก า ร พั ฒ น า

ไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์ มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 267 ห้อง สถานที่ตั้ง : ถนนเจริญนคร ซอย 17 ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ลูกค้าเป้าหมาย : นักท่องเที่ยว สิทธิการเช่าที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 25 ปี

ไอบิส หัวหิน มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 200 ห้อง สถานที่ตั้ง : ทางขึ้นเขาตะเกียบ ลูกค้าเป้าหมาย : นักท่องเที่ยว

ไอบิส กระบี่ มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 200 ห้อง สถานที่ตั้ง : อ่าวนาง ลูกค้าเป้าหมาย : นักท่องเที่ยว

ไอบิส ศรีราชา มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนห้องพัก : 200 ห้อง สถานที่ตั้ง : ใจกลางย่านธุรกิจของศรีราชา ลูกค้าเป้าหมาย : นักธุรกิจ

รายงานประจำปี 2552


035

โ ค ร ง ส ร้ า ง ก า ร ถื อ หุ้ น แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

โ ค ร ง ส ร้ า ง ก า ร ถื อ หุ้ น โครงสร้างการถือหุ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 บริษัทมีทุนที่เรียกชำระแล้ว 2,244,779,001 บาท เป็นหุ้นสามัญ

ทั้งหมด มูลค่าหุ้นละ 1 บาท โดยมีผู้ถือหุ้น 10 รายแรกตามทะเบียนหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ได้แก่ ชื่อผู้ถือหุ้น 1. นายสุขกาญจน์ วัธนเวคิน 2. บริษัท ซิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด 3. บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด 4. นางวรรณสมร วรรณเมธี 5. SKANDINAVISKA ENSKILDA BANKEN A/S 6. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ 7. บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 8. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 9. PAN-ASIA SUGAR FUND LIMITED 10. นายสุพล วัธนเวคิน รวมผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก

จำนวนหุ้น (หุ้น) 379,185,716 243,481,318 131,353,314 120,683,649 105,423,400 101,257,910 96,605,538 78,315,700 73,000,000 58,698,916 1,388,005,461

% หุ้น 16.89% 10.85% 5.85% 5.37% 4.70% 4.51% 4.30% 3.49% 3.25% 2.61% 61.82%

ผูล้ งทุนสามารถดูขอ้ มูลปัจจุบนั ได้จากเว็บไซต์ของบริษทั ได้ท่ี www.TheErawan.com ก่อนการประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญ ประจำปี อย่างไรก็ตาม โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทมีลักษณะดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้ถือหุ้น กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มวัธนเวคิน รวมผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่มผู้ถือหุ้นนิติบุคคลต่างประเทศ กลุ่มภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนในประเทศ กลุ่มบริษัทประกันภัย กลุ่มผู้บริหารของบริษัท อื่นๆ รวม

จำนวนหุ้น (หุ้น) 871,077,021 698,966,657 1,570,043,678 271,747,020 45,585,598 1,409,400 20,922,417 335,070,888 2,244,779,001

% หุ้น 38.80% 31.14% 69.94% 12.11% 2.03% 0.06% 0.93% 14.93% 100.00%

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

036

รายนามกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายบริหาร หรือการดำเนินงานของบริษัทอย่างมี

นัยสำคัญ ประกอบด้วย

ชื่อกรรมการ 1. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ 2. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ 3. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย 4. นายสุพล วัธนเวคิน 5. นางพนิดา เทพกาญจนา

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มวัธนเวคิน กลุ่มวัธนเวคิน

ก า ร จั ด ก า ร

ผูถ้ อื หุน้ แต่งตัง้ คณะกรรมการบริษทั และคณะกรรมการบริษทั แต่งตัง้ คณะกรรมการชุดย่อยขึน้ อีก 4 คณะ เพือ่ ช่วย

ในการกำกับดูแลและจัดการในด้านต่างๆ ประกอบไปด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการการเงินและบริหาร

ความเสี่ยง คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการมีสมาชิก 12 คน โดยมีตำแหน่งและวุฒิการศึกษาสูงสุดตามรายละเอียดดังนี้ ชื่อ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา 1. นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ กรรมการอิสระ มหาวิทยาลัยเวยน์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ • ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ประธานคณะกรรมการ มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต ตรวจสอบ สหรัฐอเมริกา 3. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ • สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต กรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยแคนซัส สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ สหรัฐอเมริกา 4. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ • ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี กรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานประจำปี 2552


037

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ชื่อ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา 7. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ • เภสัชศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. นายสุพล วัธนเวคิน กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (นักบริหาร) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงิน) เซนต์หลุยส์ ยูนิเวอร์ซิตี้ มิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา 10. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • เนติบัณฑิตไทย สำนักงานอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภาไทย 11. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12. นายกษมา บุณยคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) บริหารและกรรมการ มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต ผู้จัดการใหญ่ สหรัฐอเมริกา เลขานุการบริษัท : นางสาวกนกวรรณ ทองศิวะรักษ์ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ประกอบด้วยนายวิฑรู ย์ ว่องกุศลกิจ นางพนิดา เทพกาญจนา นายกษมา บุณยคุปต์ นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย สองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน

นโยบายจ่ายเงินปันผล บริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ประมาณร้อยละ 35 ของกำไรสุทธิ ของงบการเงินรวมหลังหักเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทที่กฎหมายและบริษัทได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสด และภาระการลงทุนของบริษัทและบริษัทในเครือ รวมถึงข้อจำกัดทางกฎหมายและความจำเป็นอื่น

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

038

อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัท มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ 1. จัดการบริษทั ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต ระมัดระวัง และรักษาผลประโยชน์ 2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ 3. พิจารณาแผนธุรกิจ พัฒนาขีดความสามารถ และประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท 4. พิจารณางบประมาณ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดให้แก่กิจการ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น 5. กำหนดนโยบายพัฒนา และแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง 6. กำกับดูแล และพัฒนาการบริหารความเสี่ยง 7. กำกับดูแล และพัฒนาการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล 8. กำกับดูแล ควบคุมให้มีระบบควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในที่ดี 9. ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย ให้สามารถใช้สิทธิในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน และรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้องครบถ้วน โปร่งใส เปิดเผย และสามารถตรวจสอบได้ 10. แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ และติดตามการดำเนินงาน 11. ประเมินผลการดำเนินงานผู้บริหารระดับสูง และพิจารณานโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริษัท มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง กรรมการจะต้องออกจาก ตำแหน่ง จำนวนหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด ทั้งนี้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกใหม่ได้ คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย 1. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ประธานกรรมการ 2. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการ 3. นายเดช บุลสุข กรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กำกับดูแลสอบทานรายงานทางการเงินรายไตรมาส/รายปี ที่ผ่านการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีทกี่ ำหนด ตลอดจนพิจารณากลัน่ กรองการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับรายงาน ทางการเงิน ร่วมกับคณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง และผู้สอบบัญชีก่อนนำเสนอต่อบุคคลภายนอก 2. พิจารณาความเป็นอิสระ คัดเลือก เสนอให้แต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี และประชุมร่วมกับผู้สอบ บัญชี ปีละ 4 ครั้ง โดยไม่มีฝ่ายจัดการ 3. พิจารณาปัญหาและอุปสรรคที่มีนัยสำคัญที่ผู้สอบบัญชีประสบระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ และให้ข้อยุติเมื่อมี

ความเห็นที่แตกต่างระหว่างผู้สอบบัญชีและฝ่ายจัดการ 4. กำกับดูแลและสอบทานให้มีระบบควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล รายงานประจำปี 2552


039

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

5. กำกับดูแลให้มีระบบงานเชิงป้องกันที่เป็นประโยชน์ให้กับหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน การปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น 6. พิจารณาแผนงานตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแลความเป็นอิสระของสายงานตรวจสอบภายใน เห็นชอบการแต่งตัง้ โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าสายงานตรวจสอบภายใน 7. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบรายงานทางการเงินให้ทัดเทียมกับมาตรฐานบัญชีสากล 8. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัท 9. กำหนดมาตรการป้องกันการทุจริต และสอบทานสรุปผลตรวจสอบการทุจริต 10. สอบทานความถูกต้องและประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน ให้ข้อ เสนอแนะปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ 11. สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflffllflict of Interest) ให้มีความ ถูกต้อง สมเหตุสมผล และเป็นไปตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 12. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ เปิดเผย ไว้ในรายงานประจำปี 13. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และในการปฏิบัติตามขอบเขต อำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเรียก สั่งการให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงาน หรือพนักงานทีเ่ กีย่ วข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารตามทีเ่ ห็นว่าเกีย่ วข้องจำเป็น วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตรวจสอบ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี คณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 1. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ 2. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ 3. นายสุพล วัธนเวคิน กรรมการ 4. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 5. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ 6. นายกษมา บุณยคุปต์ กรรมการ คณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กำกับดูแลผลการดำเนินงานทางด้านการเงินของกลุ่มบริษัท 2. กำกับดูแล กลั่นกรอง อนุมัติ และติดตามโครงการลงทุนต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติ 3. กำกับดูแลและประเมินแผนบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ 4. กำกับดูแล ติดตามการบริหารความเสี่ยง ปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

040

วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วย 1. นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ 2. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ 3. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. พิจารณาโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของกรรมการ และกรรมการใน คณะกรรมการชุดย่อย 2. พิจารณาและสรรหาผูท้ รงคุณวุฒเิ ข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยทีค่ ณะกรรมการแต่งตัง้ ขึน้ 3. กำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัท และค่าตอบแทนคณะกรรมการชุดย่อย 4. นำเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อคณะกรรมการบริษัท และพิจารณาปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 5. ประเมินผลงานและติดตามการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบตั ิ ในการกำกับดูแลกิจการที่ดี 6. สนับสนุนการเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจ ข้อบังคับ และแผนกลยุทธ์ของบริษัท วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน ประกอบด้วย 1. นายสุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการ 2. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 3. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน พิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี และกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทน ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในการกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง 2. พิจารณาแผนพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ในกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลง) 3. พิจารณานโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ และพิจารณานโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างผลตอบแทน

พนักงาน ได้แก่ นโยบาย และงบประมาณการปรับผลตอบแทนประจำปี การจ่ายเงินรางวัล (โบนัส) ประจำปี 4. พิจารณาการจัดสรร การให้สิทธิซื้อหุ้นแก่พนักงาน (ESOP) ในส่วนได้รับการจัดสรรเกินกว่าร้อยละ 5 ของโครงการ รายงานประจำปี 2552


041

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการอิสระ มีจำนวนร้อยละ 50 ของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1. นายประกิต ประทีปะเสน กรรมการอิสระ 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ 3. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ 4. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ 5. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ ผู้บริหาร ประกอบด้วย 1. นายกษมา บุณยคุปต์ 2. นางกมลวรรณ วิปุลากร 3. นายเพชร ไกรนุกูล 4. นางวริศรา เจือจารุศักดิ์ 5. นายอภิชาญ มาไพศาลสิน 6. นายสุชัย วุฒิวรชัยรุ่ง 7. นายสุรพล เจียมสุวรรณ 8. นายวิบูลย์ ชัยศุจยากร 9. นางสาวภคินี พราหมณ์เทศ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ รองกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจโรงแรม รองกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาและบริหารโครงการ 2 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาและบริหารโครงการ 1 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักทรัพยากรบุคคล ผู้อำนวยการ สำนักบริหารธุรกิจอาคารสำนักงานและร้านค้า ผู้อำนวยการ ฝ่ายการเงินและกฎหมาย ผู้อำนวยการ ฝ่ายบัญชี

อำนาจหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1. ร่วมกับคณะกรรมการในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร 2. วางแผนธุรกิจและกำหนดกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนการจัดทำแผนบริหาร ความเสี่ยง 3. จัดทำงบประมาณประจำปีและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ 4. บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การสรรหา การกำหนดเงินเดือน ค่าจ้าง ผลตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ กำหนดวิธีประเมินผลและจัดสรรผลประโยชน์พิเศษ การแต่งตั้ง ถอดถอน โอนย้าย ตลอดจนการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่างๆ ตามความเหมาะสม 5. จัดโครงสร้างบริหารงาน กำหนดบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนกำหนดอำนาจอนุมัติ 6. สร้างและหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน 7. พัฒนาระบบงานด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 8. พัฒนาทักษะความรู้ความชำนาญ รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูล ที่ใช้ในการบริหารงานและตัดสินใจ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

042

หน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท มีหน้าที่ความรับผิดชอบไม่น้อยกว่าที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 กำหนด และ/หรือ กฎหมายหรือข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย 1. สนับสนุนให้คณะกรรมการปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความรับผิดชอบและความระมัดระวัง เยีย่ งวิญญูชนผูป้ ระกอบธุรกิจ จะพึงกระทำภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกัน (Fiduciary Duties) ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่กรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบ และข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. กำกับดูแลในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการตรวจสอบภายใน ระบบการควบคุมภายใน การปฏิบตั ติ ามหลักบรรษัทภิบาล ที่ดี และการเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมแผนบริหารความเสี่ยง 3. ประสานงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ การดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการชุดย่อย การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ การลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ การแต่งตั้งกรรมการใหม่ เป็นต้น 4. กำหนดและแจ้งสถานทีจ่ ดั เก็บเอกสารสำคัญของบริษทั ตลอดจนเปิดเผยสารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องตามหน้าทีค่ วาม

รับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. 5. ติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ (Good Practices) 6. จัดทำรายงานประจำปีให้เพียงพอต่อการเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 7. พิจารณาจดหมายเชิญประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (AGM - Annual General Meeting of Shareholders) และการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM - The Extraordinary General Meeting of Shareholders) ความเพียงพอของ เอกสารข้อมูล เอกสารประกอบการประชุม การให้ข้อมูลต่อที่ประชุม และบันทึกรายงานการประชุม 8. เปิดเผยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 18 กรรมการนั้นให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 18.1 ให้ประธานในที่ประชุมเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งรายชื่อและประวัติความเป็นมาของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ตามที่ คณะกรรมการได้เสนอเพื่อขออนุมัติ 18.2 ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือ 18.3 การเลือกตั้งกรรมการอาจดำเนินการโดยการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็น กรรมการก็ได้ ตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะเห็นสมควร ผู้ถือหุ้นแต่ละคนต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม ข้อ 18.2 เลือกตั้งกรรมการแต่ละคน และไม่อาจแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ 18.4 บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการ ที่จะพึงมี ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการ ที่จะพึงมี ประธานกรรมการในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงชี้ขาด ข้อ 48 มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ให้ประกอบด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้ 48.1 ในกรณีปกติ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม (ด้วยตนเองหรือโดยการมอบฉันทะ) และ ออกเสียงลงคะแนน รายงานประจำปี 2552


043

ก า ร ถื อ ค ร อ ง หุ้ น ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ผู้ บ ริ ห า ร “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ชื่อ-นามสกุล

ตำแหน่ง

1. นายประกิต ประทีปะเสน 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 3. รศ.มานพ พงศทัต 4. นายเดช บุลสุข 5. นายบรรยง พงษ์พานิช 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร 7. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ 8. นายสุพล วัธนเวคิน 9. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ 10. นางพนิดา เทพกาญจนา 11. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย 12. นายกษมา บุณยคุปต์ 13. นางกมลวรรณ วิปุลากร 14. นายเพชร ไกรนุกูล 15. นางวริศรา เจือจารุศักดิ์ 16. นายอภิชาญ มาไพศาลสิน 17. นายสุชัย วุฒิวรชัยรุ่ง 18. นายสุรพล เจียมสุวรรณ 19. นายวิบูลย์ ชัยศุจยากร 20. นางสาวภคินี พราหมณ์เทศ

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ รองกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ

หุ้นสามัญ (หุ้น) 31 ธ.ค. 2552

31 ธ.ค. 2551

เพิ่ม (ลด)

150,058 - 319,729 660,000 3,001,500 - 11,457,870 58,698,916 5,493,550 3,693,416 - 11,510,211 - 839,082 - 1,000,000 1,825,716 - 1,088,697 -

150,058 - 319,729 1,162,916 3,001,500 - 11,457,870 58,698,916 5,493,550 1,278,916 - 11,510,211 - 839,082 - - 1,825,716 - 1,088,697 -

(502,916) 2,414,500 1,000,000 -

หมายเหตุ : ข้อมูลจากรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหาร ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


044

ภ า พ ร ว ม ข อ ง ธุ ร กิ จ

รายงานประจำปี 2552

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา


045

ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

แ น ว โ น้ ม ภ า ว ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว

ในปี 2552 เป็นปีที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์ปิดสนามบินในช่วงปลายปี 2551 เหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และ การระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ H1N1 ในไตรมาสที่ 2 โดยองค์การอนามัยโลกได้เพิ่มระดับเตือนภัยของการระบาดถึง ระดับ 5 ส่งผลกระทบให้อัตราการเข้าพักในโรงแรมเฉลี่ยสะสมทั้งประเทศในครึ่งแรกของปี 2552 เท่ากับร้อยละ 48 เป็นอัตรา

การเข้าพักที่ต่ำกว่าในครึ่งแรกของปี 2546 ซึ่งเกิดวิกฤตโรค SARS และส่งผลกระทบให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

ที่เดินทางเข้าประเทศไทยในครึ่งแรกของปี 2552 มีจำนวนเท่ากับ 6.6 ล้านคน ลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า แต่ครึ่งหลังของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวและอัตราการเข้าพักในโรงแรมเฉลี่ยทั้งประเทศ ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น จนไตรมาสสุดท้ายจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยใกล้เคียงกับจำนวน ในช่วงเดียวกันของปี 2550 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะเกิดวิกฤตต่างๆ ทำให้สิ้นปีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามา ในประเทศไทยเท่ากับ 14.1 ล้านคน ลดลงจากปี 2551 เพียงร้อยละ 3 และจากสถิติของการท่าอากาศยานแห่งประเทศ ไทยของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ในไตรมาสสุดท้ายเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึงร้อยละ 31 ในส่วนของนักท่องเที่ยว ชาวไทย มีการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น จากการกระตุ้นของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการกระตุ้น ของภาครัฐในโครงการต่างๆ เช่น การจัดงานไทยเที่ยวไทย, โครงการเที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก, โครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน และให้หน่วยงานราชการจัดประชุมสัมมนาภายในประเทศ ทำให้ตลอดปี 2552 การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์วา่ นักท่องเทีย่ วชาวไทยมีการท่องเทีย่ วภายในประเทศจำนวน 87 ล้านครัง้ ตามเป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้ อุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วไทยในปี 2553 คาดว่าจะมีแนวโน้มทีด่ ขี น้ึ โดยมีปจั จัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ คาดการณ์วา่ จะขยายตัวเพิม่ ขึน้ ดัชนีความเชือ่ มัน่ ผูบ้ ริโภคทีป่ รับตัวสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง อีกทัง้ แรงส่งของจำนวนนักท่องเทีย่ ว ชาวต่างชาติและนักท่องเทีย่ วชาวไทยทีเ่ พิม่ ขึน้ มากในช่วงปลายปีกอ่ น และนโยบายการสนับสนุนการท่องเทีย่ วของภาครัฐ และภาคเอกชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามา ในประเทศไทย ในปี 2553 ระหว่าง 15.0 - 15.5 ล้านคน และคาดว่าจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย 6 แสนล้านบาท โดย

อัตราการเปลี่ยนแปลง จำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน) ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

H1N1

Politics

Tsunami

18.0 16.0 14.0 12.0 10.0 8.0 6.0 4.0 2.0 0.0

SARS

สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

Coup

นักท่องเที่ยว (ล้านคน)

25% 20% 15% 10% 5% 0% -5% -10%

2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552E 2553F

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


ธุรกิจโรงแรม

046

ททท. ยังคงสานต่อจุดแข็งของโครงการเมืองคุ้มค่าน่าเที่ยว (Amazing Thailand Amazing Value) รวมทั้งจะส่งเสริมการขาย ในรูปแบบโรดโชว์ สู่ตลาดเกิดใหม่และพัฒนาตลาดตามกลุ่มความสนใจ ส่วนปัจจัยอื่นที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม

การท่องเที่ยว เช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียทำให้แนวโน้มของนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยเฉพาะ

นักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวอินเดีย มีแนวโน้มเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น และการรวมตัวของพันธมิตร

สายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการเดินทางภายในภูมิภาคต่ำลง อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะส่ง

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปี 2553 ได้แก่ เสถียรภาพของรัฐบาล ความเสี่ยงของการระบาดของโรคไข้หวัด สายพันธุใ์ หม่ H1N1 ในระดับที่รุนแรงขึ้น และแนวโน้มของค่าน้ำมันที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้น ส่วนทางด้านนักท่องเที่ยวชาวไทย ททท. มีแผนกิจกรรมการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดย ททท. ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 90 ล้านครั้ง คาดว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียน 4.3 แสนล้านบาท โดยแนวทางการดำเนินด้านตลาดในประเทศจะใช้กิจกรรมส่งเสริม

การขายเพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยวชาวไทย เช่น งานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย, งานมหัศจรรย์ 2 ฝั่งทะเลใต้, งาน Amazing I-San Fair, โครงการ One Night One Price เป็นต้น ทางด้านอุปทานของโรงแรมในปี 2553 คาดว่าเพิ่มขึ้นไม่มากจากปีก่อน เนื่องจากโครงการการก่อสร้างโรงแรม หลายโครงการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดต้องเลื่อนการก่อสร้างและวันเปิดให้บริการออกไป เนื่องจากผลกระทบของ วิกฤตเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะพร้อมเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้โรงแรมที่เปิดดำเนินการ แล้วได้รับประโยชน์จากความล่าช้าของอุปทานใหม่ ปี 2553 นีค้ าดว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วจะปรับตัวดีขน้ึ จากการสนับสนุนของปัจจัยต่างๆ อีกทัง้ ประเทศ ไทยยังได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่นๆ ทั้งในด้านชื่อเสียงที่ดีของประเทศ ความเป็นมิตรของคนไทย ความหลากหลายของ แหล่งท่องเที่ยว และความคุ้มค่ากับราคา จากความได้เปรียบต่างๆ นี้ เชื่อว่าต่อไปในอนาคตถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์

ที่ทำให้ชะลอตัวลงบ้าง แต่ในระยะยาวแล้วอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยสามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

จำนวนการท่องเที่ยว ภายในประเทศ (ครั้ง) ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

H1N1

Politics

Coup

100.0 90.0 80.0 70.0 60.0 50.0 40.0 30.0 20.0 10.0 0.0

SARS

สถิตินักท่องเที่ยวชาวไทย

Tsunami

ครั้ง

2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552E 2553F

รายงานประจำปี 2552


047

ธุ ร กิ จ พื้ น ที่ ใ ห้ เ ช่ า “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

แ น ว โ น้ ม ภ า ว ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม แ ล ะ ส ภ า พ ก า ร แ ข่ ง ขั น ธุ ร กิ จ

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 สภาวะทางการเมืองภายในและเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้การเช่าพื้นที่สำนักงานอยู่ใน

ภาวะที่อ่อนไหว จากรายงานการตลาดของ CB Richard Ellis (Thailand) Co., Ltd. พบว่าผู้เช่าพื้นที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่จะขอลดอัตรา ค่าเช่าเพื่อต่ออายุสัญญาเช่าเดิมมากกว่าที่จะย้ายไปสถานที่ใหม่ และในช่วงเวลาเดียวกันยังพบว่าการเช่าพื้นที่สำนักงานในอาคาร ทั้งเกรด A และเกรด B ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์ของการเช่าพื้นที่สำนักงานยังไม่แสดงให้เห็นถึง

แนวโน้มที่เป็นสาระสำคัญเท่าใดนัก อุปสงค์ยังคงไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ไปในทิศทางที่คาดหวังแม้ว่าอุปทานในตลาดยังคงอยู่ ในวงจำกัด สำหรับในไตรมาสที่ 4 สภาพทั่วไปของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งโครงการต่างๆ ที่ภาครัฐได้ดำเนินการ กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เริ่มส่งผลดีทางด้านจิตวิทยาในระดับหนึ่ง อาคารสำนักงาน ภาพรวมของตลาดพื้นที่ให้เช่าอาคารสำนักงานในเขตกรุงเทพฯ ช่วงสุดท้ายของปี 2552 อยู่ที่ 7.98 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้น เล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 7.66 ล้านตารางเมตร ในช่วงเดียวกันของปีก่อน (ข้อมูลจาก CB Richard Ellis (Thailand) Co., Ltd.) ทั้งหมดนี้ 3.90 ล้านตารางเมตร อยู่ในทำเลย่านใจกลางเมือง (CBD) ซึ่งได้มีการเช่าไปแล้ว 3.39 ล้านตารางเมตร หรือประมาณร้อยละ 86.7 ส่วนที่เหลือ 0.52 ล้านตารางเมตร หรือประมาณร้อยละ 13.3 ยังคงเป็นพื้นที่ว่าง อัตราค่าเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานครึ่งหลังของปี 2552 ปรับลดลงจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน ในไตรมาสที่ 4 อัตราเฉลี่ย ค่าเช่าพืน้ ทีอ่ าคารเกรด A ลดลงจาก 744 บาทต่อตารางเมตร เหลือ 685 บาทต่อตารางเมตร เท่ากับร้อยละ 7.9 เมือ่ เปรียบเทียบปีตอ่ ปี ส่วนอัตราค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรของอาคารเกรด B (อาคารสำนักงานของบริษัทจัดอยู่ในกลุ่มเกรด B) ที่อยู่กลางใจเมืองลดลงถึง ร้อยละ 14 อยู่ที่ 503 บาทต่อตารางเมตร จาก 585 บาทต่อตารางเมตร ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราค่าเช่าต่อตารางเมตรลดลงเมื่อเทียบ กับปีกอ่ นคืออุปสงค์ทไ่ี ม่ขยายตัว ผูเ้ ช่าเดิมลดขนาดพืน้ ทีเ่ พือ่ ประหยัดค่าใช้จา่ ย ซึง่ เป็นเหตุผลหลักทีท่ ำให้เจ้าของพืน้ ทีป่ รับอัตราค่าเช่าลง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ และสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายพื้นที่ เป็นเหตุให้การเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานเกรด A และเกรด B ไม่เติบโตเท่าที่ควร แม้อุปทานยังคงมีจำกัดจากการชะลอตัวของการลงทุนปลูกสร้างอาคารสำนักงานใหม่ๆ ในตลาด ในช่วงปลายไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 อุปทานยังคงมีเหลืออยู่ประมาณ 1.19 ล้านตารางเมตร และในปี 2553 จะมีพื้นที่ เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 79,464 ตารางเมตร ในจำนวนทั้งหมดนี้อยู่กลางใจเมือง ในช่วงปลายไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 เศรษฐกิจโลก

มีแนวโน้มดีขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าอุปสงค์จะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งคาดหวังได้ว่าการขยายกิจการหรือการลงทุน

ที่ถูกชะลอไว้ก็จะกลับมาอีกครั้งอันจะเป็นผลดีต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้เช่าพื้นที่สำนักงานที่อยู่ย่าน ใจกลางเมือง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทยยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในสายตาของนักลงทุนจาก

ต่างประเทศที่จะเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ศูนย์การค้า สำหรับอุปทานของพื้นที่ศูนย์การค้าเมื่อสิ้นปี 2552 อยู่ที่ 5.38 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 0.34 ล้าน ตารางเมตร หรือประมาณร้อยละ 6.7 ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้ มีเพียงร้อยละ 36.1 อยู่ใจกลางเมือง ส่วนที่เหลืออยู่บริเวณรอบใจกลาง เมืองและรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศูนย์การค้า Community Mall ขนาดเล็กที่จำหน่ายสินค้าและบริการเฉพาะแก่ ตลาดกลุ่มเป้าหมายท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเช่าพื้นที่ของศูนย์การค้าเกรด A ชั้น Ground อัตราเริ่มต้นที่ 1,200 บาท

ไปถึง 3,200 บาท และ 700 ถึง 2,600 บาท ในชั้นสูงๆ ขึ้นไป สำหรับศูนย์การค้าเกรด B ชั้น Ground อัตราค่าเช่าพื้นที่โดยเฉลี่ย

อยู่ระหว่าง 1,000 - 2,500 บาท และ 400 - 2,100 บาท ในชั้นสูงๆ ขึ้นไป ครึ่งปีแรกตลาดค้าปลีกโดยรวมอยู่ในสภาวะชะลอตัว

อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงให้ความสำคัญในการจับจ่าย

ด้วยความระมัดระวัง แต่ในช่วงปลายปี 2552 สภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ตลาดค้าปลีกเริ่มมีแนวโน้มปรับตัว

ดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในการตัดสินใจลงทุนหรือขยายกิจการ และความต้องการเช่าพื้นที่ ในศูนย์การค้าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2553 เป็นต้นไป บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


048

ปั จ จั ย ค ว า ม เ สี่ ย ง

คณะกรรมการ แต่งตั้งคณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ในการกำกับดูแล และประเมินแผน ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่กำกับดูแลสายงานสูงสุด เป็นเจ้าของความเสี่ยง และมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาแนวทางแก้ไข ประเภทความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงตลอด จนมาตรการรองรับผลกระทบพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ความเสี่ยงด้านการบริหาร การจัดการกรณีต้องพึ่งพาผู้บริหารจากภายนอก สำหรับกิจการโรงแรม บริษัทไม่มีนโยบายในการบริหารกิจการโรงแรมด้วยตนเอง แต่มีนโยบายในการกระจายความเสี่ยงโดยการคัดเลือก Brand และบริษัทผู้บริหารที่แตกต่างกัน โดยจะว่าจ้างบริษัทผู้บริหารโรงแรมระดับนานาชาติ (International hotel operator) อาทิเช่น Hyatt International, Marriott International, Accor Hospitality, Six Senses Resort and Spas และ IHG Intercontinental Hotels Group ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียง ประสบการณ์ มีระบบงานและความชำนาญในตลาดแต่ละ ประเภท อย่างไรก็ตาม สัญญาจ้างบริหารเป็นสัญญาระยะยาวจึงอาจมีความเสี่ยงที่ชื่อเสียงของ Brand หรือความสามารถ ในการแข่งขันในระดับสากลลดลง และอาจส่งผลต่อผลการดำเนินงานโรงแรมของบริษัทได้ บริษัทจึงได้กำหนดเงื่อนไขใน สัญญาจ้างบริหารทีส่ ามารถยกเลิกสัญญาจ้างบริหารหากได้รบั ผลกระทบทีม่ นี ยั สำคัญอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้บริษทั สามารถ

จัดหาผู้บริหารใหม่ในเครือข่ายอื่นที่มีชื่อเสียงมาบริหารแทนได้ 2. ความเสี่ยงจากอุปสงค์ที่ลดลงและอุปทานในธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของความเสี่ยงทางด้านการลดลงหรือเพิ่มขึ้นที่ไม่สัมพันธ์กันของอุปสงค์และอุปทานในตลาด เป็นเหตุให้มี สภาพการแข่งขันสูงเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางตลาด ซึ่งส่งผลกระทบกับรายได้และกำไรจากการดำเนินธุรกิจโรงแรม บริษัท ได้วา่ จ้างผูบ้ ริหารโรงแรมระดับนานาชาติ เพือ่ บริหารงานโรงแรมของบริษทั ซึง่ แต่ละแห่งมีจดุ แข็งในกลุม่ ตลาดทีต่ ามแต่ละ โรงแรมที่บริหารอยู่ และยังมีฐานลูกค้าของตนเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งได้ผ่านสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็น ความเสี่ยงต่อรายได้และกำไรของการดำเนินกิจการมาแล้วทั่วโลก จึงมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันต่อคู่แข่งในธุรกิจหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ทางบริษัทมีการเตรียมการรองรับความเสี่ยงด้วยการปรับปรุงและเพิ่มจุดแข็งของโรงแรมอย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ รองรับอยู่เสมอ บวกกับกลยุทธ์ในการกระจายการลงทุนไปในโรงแรม

ระดับต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่ยังมีระดับการแข่งขันที่ไม่รุนแรง ทำให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงนี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบกับทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่จะมีผลกระทบกับทรัพย์สินและการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมและอาคารสำนักงาน

รวมทั้งร้านค้า เช่น การก่อการร้าย ความไม่สงบทางการเมือง ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม หรือภัยธรรมชาติต่างๆ นั้น

เป็นเรื่องยากที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น นอกเหนือจากการออกมาตรการที่รัดกุมต่างๆ เพื่อป้องกันความปลอดภัยตาม มาตรฐานสากลแล้ว บริษัทยังได้จัดทำประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยงทุกประเภท (All risks) คุ้มครองการขาดรายได้จาก การหยุดดำเนินธุรกิจ (Business Interruption) และคุ้มครองภัยจากการก่อการร้าย (Terrorism) เพื่อลดความเสี่ยงหากเกิด เหตุการณ์โดยตรงกับทรัพย์สินและการดำเนินงานของบริษัท

รายงานประจำปี 2552


049

ปัจจัยความเสี่ยง

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

4. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบทำให้รายได้ของธุรกิจโรงแรมลดลงอย่างไม่ปกติ

ปัจจัยภายนอกที่จะมีผลกระทบทำให้รายได้ของธุรกิจโรงแรมลดลงอย่างไม่ปกติ ตัวอย่างเช่น ความไม่สงบ ทางการเมือง การเกิดโรคติดต่อ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่บริษัทไม่สามารถควบคุม และ/หรือ ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ เหตุการณ์ เหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศลดลงอย่างมาก และมีผลกระทบโดยตรงต่อ

รายได้และกำไรของธุรกิจโรงแรม อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบ ในระยะสั้นประมาณ 3 - 9 เดือน นโยบายในการจัดการรองรับความเสี่ยงของบริษัทคือการมีระบบที่มีความคล่องตัว

มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาด และปรับลดหรือเลื่อนค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ 5. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดในอนาคต ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีเงินกู้ยืมที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ประมาณร้อยละ 97 ของเงินกู้ยืมระยะยาวทั้งหมด อัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทส่วนใหญ่อิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว (MLR) ลบด้วยร้อยละ 1.5 - 2.0 ต่อปี และบางส่วน อิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 6 เดือนบวกด้วยร้อยละ 2 ต่อปี การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของบริษัท บริษัทมีนโยบายที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยจัดเงินกู้ ส่วนหนึง่ เป็นอัตราดอกเบีย้ คงที่ แต่ทผ่ี า่ นมาค่าใช้จา่ ยในการป้องกันความเสีย่ งอยูใ่ นระดับทีจ่ ะทำให้ตน้ ทุนการกูย้ มื โดยรวม ของบริษัทสูงขึ้นค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงติดตามสภาพตลาดอย่างต่อเนื่อง และจะจัดให้มีการป้องกัน ความเสี่ยงในส่วนนี้เมื่อค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม 6. ความเสี่ยงด้านบุคลากร บริษัทได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากการที่บริษัทได้ ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผู้บริหารให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องช่วงปีที่ผ่านๆ มา การเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ความ สามารถในทุกระดับในส่วนงานที่มีการขยายตัว การพัฒนาความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการสูญเสียผู้บริหารระดับสูงหรือบุคลากรที่สำคัญถือเป็นอีกความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท บริษัทจึงได้มี

การจัดทำแผนสืบทอดและพัฒนาตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีคณะกรรมการ พัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้กำกับดูแล สำหรับการพัฒนาตำแหน่งบริหารอื่นเป็นหน้าที่ของ

ผู้บริหารตามสายบังคับบัญชาที่จะกำกับดูแลการพัฒนาบุคลากรให้สามารถขึ้นมาทดแทน โดยมีการพิจารณาลงไป 3 ระดับจากระดับรองกรรมการผู้จัดการถึงผู้ที่จะขึ้นมาระดับผู้อำนวยการฝ่าย นอกจากนี้ การเป็นบริษัทที่บริหารงานโดย

ผู้บริหารมืออาชีพ ดำเนินการภายใต้ระบบงานที่มีประสิทธิภาพไม่ยึดติดกับความสามารถหรือการตัดสินใจของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง มีการกระจายความรับผิดชอบและการตัดสินใจที่ชัดเจนภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ จึงเป็น โครงสร้างการบริหารงานที่ช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบหากมีการสูญเสียบุคลากรที่สำคัญ นอกจากนี้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรทีเ่ อือ้ ในการทำงานให้มบี รรยากาศทีด่ ี เน้นการทำงานแบบเป็นทีม การทำงาน ด้วยคุณธรรมจริยธรรม จะช่วยให้บริษัทเป็นองค์กรที่เป็นที่สนใจแก่ผู้มีความรู้ความสามารถมืออาชีพและมีคุณธรรม สุดท้ายนโยบายการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้ตามความรู้ความสามารถ การให้ผลตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ตามผลงานที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ขององค์กร และการให้สิทธิซื้อหุ้นในระยะยาวแก่คณะผู้บริหารก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้ บุคลากรมีความมุ่งมั่นและรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและทำงานให้บริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกที่สำคัญเพื่อรักษา บุคลากรที่มีคุณภาพให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในเรื่องบุคลากรได้อีกทางหนึ่ง บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


050

ห ลั ก บ ร ร ษั ท ภิ บ า ล ที่ ดี

รายงานประจำปี 2552

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต


051

น โ ย บ า ย บ ร ร ษั ท ภิ บ า ล “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัทบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ดำเนิน ธุรกิจด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม การเปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใสตรงไปตรงมา

มีระบบกลไกการตรวจสอบที่ดี การดำเนินงานคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกๆ ด้านอย่าง เหมาะสม โครงสร้างคณะกรรมการและกลไกการกำกับดูแลและมีความรับผิดชอบการบริหารงานในเรื่องต่างๆ อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานที่ดีของ OECD (Organization for Economic Cooperating and Development) บริษัทยังได้ศึกษาและนำแนวปฏิบัติที่ดีในต่างประเทศนำมาปฏิบัติใช้ อาทิเช่น การจัดตั้งคณะกรรมการ

ชุดย่อย 4 ชุด เพื่อช่วยกำกับดูแลการบริหารจัดการในแต่ละเรื่องให้ละเอียดมากขึ้น การกำหนดโครงสร้างกรรมการซึ่งมี กรรมการอิสระมากถึงร้อยละ 50 และในการกำกับดูแลเรื่องบรรษัทภิบาลนั้น บริษัทได้ตั้งคณะกรรมการสรรหาและ บรรษัทภิบาล (Nominating and Corporate Governance Committee หรือ NCG) เพื่อทบทวนนโยบายและปรับปรุง

แนวปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีมาตรฐานที่ดีทันสมัยและมีการนำไปปฏิบัติงานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในการดำเนินการตามนโยบายนั้นได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ดำเนินการเสริมสร้างธรรมาภิบาลแก่ พนักงานทุกระดับ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้กำหนดให้มีคู่มือจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) สำหรับพนักงานทุกระดับเพื่อ กำหนดเป็นแนวปฏิบัติงานภายใต้นโยบายธรรมาภิบาลที่ชัดเจน โดยได้มีการประชุมเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับ พนักงานผ่านการประชุมรวมพนักงาน (Town Hall Meeting) ปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้บริษัทยังได้กำหนดการทำงานด้วย

คุณธรรมและจริยธรรม (With Integrity) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท บริษัทได้มุ่งเน้นให้พนักงานมี ความเข้าใจการดำเนินธุรกิจทีค่ ำนึงถึงผลประโยชน์ตอ่ ผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม (Corporate Social Responsibility) ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน และสังคมสิ่งแวดล้อม บริษัทมีการจัดทำสำรวจความคิดเห็นกับผู้มี ส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการนำผลการสำรวจมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการประเมินผลการทำงานประจำปีของพนักงานทุกระดับอีกด้วย

สำหรับบรรษัทภิบาลของบริษัทแบ่งเป็น 9 เรื่อง ดังต่อไปนี้

1 . จ ริ ย ธ ร ร ม ธุ ร กิ จ

บริษัทประกาศนโยบายการดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี โดยรวบรวมนโยบายข้อพึงปฏิบัติและจริยธรรม ที่ดี เหมาะสมสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์องค์กร และสามารถปฏิบัติได้ มาจัดทำเป็นคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ในปี 2548 และปรับปรุงขึ้นใหม่ในปี 2551 ซึ่งถือเป็นการพัฒนาอีกก้าวหนึ่งของบริษัท ตามคำขวัญที่ว่า “ความสำเร็จต้องมาพร้อม ด้วยคุณธรรม” (Success with Integrity) แจกให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บริษัทก้าวไปสู่ความสำเร็จด้วยสำนึกของความถูกต้องและดีงาม ส่งเสริมให้ทุกคนในบริษัทมีวัฒนธรรมองค์กร

และจริยธรรมในการทำงานและทัศนคติที่ดี รายละเอียดตามคู่มือจริยธรรมธุรกิจเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท

www.TheErawan.com ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะหล่อหลอมให้ผู้บริหารและพนักงาน มีความเชื่อมั่นในหน้าที่ความ รับผิดชอบของตนที่พึงมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


นโยบายบรรษัทภิบาล

052

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

2 . คุ ณ ส ม บั ติ โ ค ร ง ส ร้ า ง ห น้ า ที่ ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ฝ่ า ย จั ด ก า ร

บริษัทกำหนดคุณสมบัติของกรรมการ สอดคล้อง และเข้มกว่าข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี มีขอบเขตอำนาจหน้าทีช่ ดั เจน มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันของกรรมการ

ที่ไม่เป็นผู้บริหาร โดยมีกรรมการอิสระ 1 ใน 2 ของกรรมการทั้งคณะ ประกอบด้วยประธานกรรมการที่เป็นกรรมการ อิสระ และเป็นคนละคนกับประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ โดยมีบทบาท อำนาจ และหน้าทีแ่ บ่งแยก ออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อส่งเสริมให้เกิดดุลยภาพระหว่างการบริหารและการกำกับดูแลกิจการมีกรรมการอิสระ 5 คน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 5 คน และกรรมการที่เป็นผู้บริหาร (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่) รวม เป็น 12 คน คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้น 4 คณะ เพื่อให้มีการแบ่งแยกตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบ อย่างชัดเจนเหมาะสม และมีนโยบายในการพิจารณาสับเปลี่ยนกรรมการ (Rotation) เพื่อดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ ชุดย่อย ตามเวลา และโอกาสที่เหมาะสม โดยประธานคณะกรรมการชุดย่อย มีหน้าที่ในการนำเสนอนโยบายที่ผ่านความ เห็นชอบจากคณะของตนต่อคณะกรรมการ และทุกคณะจะแต่งตั้งเลขานุการ ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดตาม และ ประสานงานระหว่างกรรมการกับฝ่ายจัดการเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายที่วางไว้ และมีการบันทึกรายงาน การประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร คณะกรรมการชุดย่อยประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระทัง้ คณะไม่นอ้ ยกว่า 3 คน ทีม่ คี วามรูท้ างด้านบัญชี การเงิน และลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทอย่างเพียงพอเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบการสอบทานรายงานทางการเงิน สอบทาน ความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน และติดตามการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง พิจารณาความเป็นอิสระ ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง/โยกย้าย/เลิกจ้างหัวหน้าสายงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ สอบทานการปฏิบตั ติ ามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง พิจารณาคัดเลือก แต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี พิจารณาสอบทาน และเปิดเผยข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน (Connected Transaction) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วน โปร่งใส คณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 6 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบ กำกับดูแล และบริหารจัดการนโยบาย แผนงาน และโครงการลงทุนต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ตลอดจน กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน ประธานกรรมการเป็น กรรมการอิสระ และสมาชิกอีก 2 คน ไม่ได้เป็นผู้บริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาโครงสร้างคณะกรรมการ กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง พิจารณาและสรรหาบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ ตลอดจนประเมิน ผลงานของคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อยที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้น และกำกับดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) และจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน ประกอบด้วยกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร ไม่น้อยกว่า 3 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบในการนำเสนอนโยบายเพื่อพัฒนา ประเมินความรู้ความสามารถ และกำหนด

รายงานประจำปี 2552


053

นโยบายบรรษัทภิบาล

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

ค่าตอบแทนของผูด้ ำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งผูบ้ ริหาร ระดับสูง ตลอดจนพิจารณานโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล คณะกรรมการแต่งตัง้ เลขานุการบริษทั เพือ่ ทำหน้าทีต่ ามทีพ่ ระราชบัญญัตหิ ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 กำหนด และ/หรือ กฎหมายหรือข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตาม และประสานงานระหว่างคณะ

กรรมการกับฝ่ายจัดการ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกบริษัท

3 . คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ก ร ร ม ก า ร

หลักการ คณะกรรมการควรมีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งด้านการเงิน เศรษฐกิจ การจัดการ บริหารธุรกิจ การตลาด การบริการ การท่องเที่ยว และกฎหมาย อย่างเพียงพอที่จะให้ทิศทาง นโยบายที่เหมาะสมกับการพัฒนาธุรกิจ โรงแรมและรีสอร์ท มีทักษะเฉพาะตัว มีความสามารถในการมองภาพรวม และมีความเป็นอิสระเพียงพอที่จะทำหน้าที่ ตรวจสอบถ่วงดุลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ โดยมีบทบาทที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อร่วมกำหนดกลยุทธ์ให้บริษัท สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และสนับสนุนให้มีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี คุณสมบัติทั่วไป 1. เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายเป็นมืออาชีพ และมีจริยธรรม 2. เข้าใจบทบาทหน้าที่ และทำหน้าที่ของตน (Practices) อย่างเต็มที่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าสูงสุด

ให้กิจการและผู้ถือหุ้นในระยะยาว 3. มีเวลาเพียงพอในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ควรมีการประเมินตนเอง และแจ้งต่อคณะกรรมการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถ

ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วาระในการดำรงตำแหน่ง และการเกษียณอายุของกรรมการ 1. ให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจเสนอชื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาเลือกตั้งใหม่หลัง

จากหมดวาระ โดยให้พิจารณาการดำรงอยู่จากการประเมินผลการทำงานของกรรมการเป็นรายปี และกำหนด

ให้วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยเป็นคราวละ 3 ปี เท่ากัน 2. กรรมการเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 75 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี และให้

นับหลังจากวันที่ที่กรรมการผู้นั้นมีอายุครบ 75 ปีบริบูรณ์ คุณสมบัติเฉพาะ ประธานกรรมการ มีหน้าทีน่ อกเหนือจากทีก่ ล่าวในหลักการข้างต้นและกรรมการอืน่ คือ (1) การทำหน้าทีป่ ระธาน

ในที่ประชุมคณะกรรมการ (2) การลงคะแนนเสียงชี้ขาด ในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการมีการลงคะแนนเสียง และ คะแนนเสียง 2 ข้างเท่ากัน (3) การเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ (4) การทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น คุณสมบัติของประธานกรรมการที่แตกต่างจากกรรมการดังนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


นโยบายบรรษัทภิบาล

054

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

• ต้องเป็นกรรมการที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาร (Non Executive Director - NED) • ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ ผู้สอบบัญชี ผู้ให้

บริการทางวิชาชีพอืน่ หรือเป็นผูม้ อี ำนาจควบคุมของบริษทั หรือบริษทั ในเครือ บริษทั ร่วม บริษทั ตรวจสอบบัญชี

หรือเป็นบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยต้องไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในลักษณะดังกล่าว กรรมการที่เป็นผู้บริหาร • กรรมการที่ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไม่ควรดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น

มากกว่า 3 บริษัท กรรมการอิสระ • มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่

บริษัทย่อย บริษัทร่วม นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง (บุคคลตามที่

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด) • ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ ผู้มีอำนาจควบคุม

ของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งใน

ปัจจุบัน และช่วง 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง • ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และ

บุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอ

ชื่อเป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย • ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทภายใน 2 ปีก่อนหน้า ได้แก่ • ความสัมพันธ์ในลักษณะการให้บริการทางวิชาชีพ ได้แก่ ผู้สอบบัญชี (ทุกกรณี) ผู้ให้บริการทางวิชาชีพอื่น

เช่น ทีป่ รึกษากฎหมาย ทีป่ รึกษาทางการเงิน ผูป้ ระเมินราคาทรัพย์สนิ ทีม่ มี ลู ค่ารายการต่อปีเกิน 2 ล้านบาท • ความสัมพันธ์ทางการค้า ทางธุรกิจ ได้แก่ รายการที่เป็นธุรกรรมปกติ รายการเช่า ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์

รายการเกีย่ วกับสินทรัพย์ บริการ และรายการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงินทีม่ มี ลู ค่าการทำรายการ

ตั้งแต่ 20 ล้านบาท หรือตั้งแต่ร้อยละ 3 ของ NTA ของบริษัท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า โดยให้รวม

มูลค่ารายการย้อนหลังไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนวันที่มีการทำรายการครั้งล่าสุด • ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระได้ • ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อย่างน้อย 1 หลักสูตร

ได้แก่ หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) หรือ Directors Accreditation Program (DAP) หรือ Audit

Committee Program (ACP)

รายงานประจำปี 2552


055

นโยบายบรรษัทภิบาล

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

กรรมการตรวจสอบ • ต้องเป็นกรรมการอิสระที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการหรือผู้ถือหุ้น • ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่

บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง • มีหน้าที่ไม่น้อยกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด ธุรกรรมที่มีผลต่อความเป็นอิสระ • มีอำนาจอนุมัติรายการต่างๆ หรือลงนามผูกพันบริษัทจริง ยกเว้น การลงนามตามมติของคณะกรรมการ หรือ

เป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น • เข้าร่วมประชุม หรือร่วมลงคะแนนในเรื่องที่มีส่วนได้เสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลักษณะต้องห้าม กรรมการและผูบ้ ริหารของบริษทั ต้องไม่มคี ณ ุ สมบัตทิ ข่ี ดั หรือแย้งกับข้อกำหนดของบริษทั และประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ในเว็บไซต์ของบริษัท

4 . บ ท บ า ท ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ฝ่ า ย จั ด ก า ร คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และข้อพึงปฏิบัติของผู้บริหาร ครอบคลุมถึงภารกิจและหน้าที่

ที่สำคัญ และเปิดโอกาสให้ฝ่ายจัดการมีอิสระในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การบริหารตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของ บริษทั และเสนอขออนุมัติแผนจากคณะกรรมการ คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมระหว่างกรรมการอิสระด้วยกันเอง และยังมีโอกาสได้พบปะกับผู้บริหารระดับรอง ลงมาจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามลำพัง ภายใต้การรับรู้ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

5 . ก า ร ป ร ะ ชุ ม ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร บริษัทกำหนดจำนวนครั้งที่จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย โดยการนัดหมายและแจ้ง ให้กรรมการและผูท้ ม่ี สี ว่ นเกีย่ วข้องทราบล่วงหน้าตลอดทัง้ ปี โดยกำหนดวาระให้กรรมการได้ประชุมกันเองโดยไม่มปี ระธาน เจ้าหน้าที่บริหาร เลขานุการบริษัท หรือผู้บริหารอยู่ในห้องประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในปี 2552 บริษัทจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ 6 ครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ 4 ครั้ง คณะกรรมการการเงิน และบริหารความเสี่ยง 6 ครั้ง คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล 3 ครั้ง คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและ กำหนดค่าตอบแทน 2 ครั้ง ทุกครั้งมีการจดบันทึกรายงานการประชุมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเก็บไว้ ณ สำนักงาน เลขานุการ และบน Data Server ซึง่ ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องภายในสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รายละเอียดการเข้าประชุมของ กรรมการ ปี 2552 ดังตารางต่อไปนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

รายชื่อกรรมการ

ตำแหน่ง

วาระการดำรงตำแหน่ง - 1/1 3/3 4/4 4/4 - - - - - - - -

100%

94.44%

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

2/2 5/6 6/6 6/6 6/6 5/6 3/4 6/6 6/6 6/6 5/6 6/6 6/6

คณะกรรมการ

94.44%

- - - - - 4/6 - 6/6 6/6 6/6 6/6 - 6/6

คณะกรรมการ การเงินและ บริหารความเสี่ยง

100%

2/2 1/1 - - - - - - - 3/3 3/3 - -

คณะกรรมการ สรรหาและ บรรษัทภิบาล

100%

2/2 2/2 2/2 -

คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และกำหนด ค่าตอบแทน

จำนวนครั้งที่เข้าประชุมของกรรมการ/จำนวนครั้งที่จัดให้มีการประชุม

หมายเหตุ : นายเลื่อน กฤษณกรี กรรมการอิสระลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 และคณะกรรมการมีมติให้แต่งตั้ง นายประกิต ประทีปะเสน เป็นประธานกรรมการ แทนเมื่อวันที่ 29 เมษายน และมีมติแต่งตั้ง นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร เป็นกรรมการอิสระแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552

1. นายเลื่อน กฤษณกรี ประธานกรรมการ เม.ย. 2551 - 2552 2. นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ เม.ย. 2552 - 2555 3. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ เม.ย. 2552 - 2555 4. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ เม.ย. 2552 - 2555 5. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ เม.ย. 2552 - 2555 6. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ เม.ย. 2550 - 2553 7. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ เม.ย. 2552 - 2554 8. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ เม.ย. 2551 - 2554 9. นายสุพล วัธนเวคิน กรรมการ เม.ย. 2550 - 2553 10. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ เม.ย. 2550 - 2553 11. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ เม.ย. 2551 - 2554 12. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย กรรมการ เม.ย. 2550 - 2553 13. นายกษมา บุณยคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่ เม.ย. 2551 - 2554 บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สัดส่วนการเข้าประชุมเฉลี่ยต่อคณะ

ต า ร า ง แ ส ด ง ก า ร เ ข้ า ป ร ะ ชุ ม ข อ ง ก ร ร ม ก า ร ป ร ะ จ ำ ปี 2 5 5 2

นโยบายบรรษัทภิบาล

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

056


057

นโยบายบรรษัทภิบาล

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

6 . ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล ง า น ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร บริษทั จัดให้มกี ารประเมินผลงานคณะกรรมการทุกปี โดยกรรมการทุกคน รวม 12 คน เป็นผูป้ ระเมินผลการทำงาน ของตนเองและคณะกรรมการทั้งคณะ โดยอิสระและส่งตรงให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหา และบรรษัทภิบาล เพื่อทำ

การประเมินผล และนำผลการประเมินที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนากรรมการ และกระบวนการทำงาน ตามแนวทางของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย การประเมินผลดังกล่าว กรรมการมากกว่าร้อยละ 94 เห็นด้วยกับโครงสร้างและองค์ประกอบของกรรมการว่ามี

ความเหมาะสม มีกรรมการอิสระที่เพียงพอทำให้มีการถ่วงดุลอำนาจแบบสมดุล ร้อยละ 90 เห็นว่ากรรมการเข้าใจบทบาท หน้าที่ของตนมีความอิสระในการตัดสินใจโดยไม่ถูกครอบงำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ร้อยละ 91 เห็นว่าจำนวนครั้งของ การประชุมมีความเหมาะสม และเอกสารที่ได้รับล่วงหน้าเพียงพอต่อการตัดสินใจ ร้อยละ 93 เห็นว่ากรรมการได้ศึกษา ข้อมูลก่อนการประชุม และสามารถเข้าร่วมประชุมได้อย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 95 เห็นว่ากรรมการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ฝ่ายจัดการ และสามารถหารือกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้อย่างตรงไปตรง และร้อยละ 90 เห็นว่าตนเองได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และมีความเข้าใจในธุรกิจอย่างเพียงพอ สรุปได้ตามแผนภาพดังต่อไปนี้ Avg. (%) 100

94

90

91

93

95

90

80 60 40 20 0

โครงสร้าง/ บทบาท การประชุม การทำหน้าที่ ความสัมพันธ์ คุณสมบัติ หน้าที่ คณะกรรมการ ของกรรมการ กับฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ ความรับผิดชอบ

การพัฒนา ตนเองและ การพัฒนา ผู้บริหาร

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


นโยบายบรรษัทภิบาล

058

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

7 . ก า ร ส ร ร ห า ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ผู้ บ ริ ห า ร ร ะ ดั บ สู ง

คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล มีหน้าทีใ่ นการกำหนดนโยบาย และกระบวนการ

สรรหากรรมการที่ชัดเจน ประกอบด้วยกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ถูกเสนอชื่อ เพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามคุณสมบัติของกรรมการ และถูกต้องตามกระบวนการคัดเลือก เพื่อติดต่อทาบทามให้เข้าดำรงตำแหน่ง และ เสนอขอแต่งตัง้ จากคณะกรรมการ และ/หรือพิจารณารับรองคุณสมบัตขิ องกรรมการทีพ่ น้ จากตำแหน่งตามวาระให้กลับเข้า ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึง่ จากทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ โดยจะนำข้อสรุปจากการประเมินผลงานของกรรมการในขณะทีด่ ำรงตำแหน่ง เป็นรายบุคคลมาประกอบการพิจารณา ในปี 2552 กรรมการร่วมกันเสนอชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ แทนตำแหน่ง

ที่ว่างเนื่องจากการลาออก รวมรายชื่อที่ถูกเสนอให้คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล พิจารณาคัดสรรเบื้องต้น 6 คน การพิจารณาเป็นไปโดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้หนึ่งผู้ใด และได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 โดยมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์เสนอให้แต่งตั้งคุณเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ

(11 เสียง จากกรรมการทั้งสิ้น 11 คน) และฝ่ายจัดการโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

จัดปฐมนิเทศกรรมการโดยการเตรียมจัดบรรยายสรุป (Briefing) ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้กรรมการเข้าใจธุรกิจและ การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ และจัดให้ผู้บริหารระดับสูงพบกรรมการใหม่ เพื่อให้ทราบข้อมูล แนวทางในการดำเนิน ธุรกิจ และแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน มีหน้าที่สรรหาและ

จัดทำแผนสืบทอดงาน หรือแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ เพื่อให้การทำหน้าที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทหยุดชะงัก

8 . ค่ า ต อ บ แ ท น ข อ ง ก ร ร ม ก า ร ผู้ บ ริ ห า ร แ ล ะ พ นั ก ง า น

คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการชุดย่อย ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนของ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ดังนี้ คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ โดยมี การพิจารณา ทบทวนความสมเหตุสมผลของการจ่ายค่าตอบแทน ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ สถานะ ทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท เปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจ และระดับรายได้ที่ใกล้เคียงกันทุกปี โดย กำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็น 2 ลักษณะคือ ค่าเบี้ยประชุม และโบนัส อย่างไรก็ตาม กรรมการที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น และเสนอขออนุมัติจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญเป็นประจำทุกปี

รายงานประจำปี 2552


059

นโยบายบรรษัทภิบาล

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำหนดค่าตอบแทน ทำหน้าที่ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านความ

พึงพอใจของลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เพือ่ ประกอบในการพิจารณา

กำหนดโครงสร้างค่าตอบแทน และค่าตอบแทนประจำปี และร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำหนดนโยบายในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารและพนักงานตามสายงาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนประจำปีของผู้บริหารตามนโยบาย ที่กำหนด โดยผ่านกระบวนการการประเมินผล 2 ส่วนคือ (1) การประเมินผลงานตามยุทธศาสตร์ (BSC - Balance Score Card) เป็นการพิจารณาตามความสำคัญของยุทธศาสตร์ของสายงานต่อยุทธศาสตร์ขององค์กร ผ่านกระบวนการถ่ายทอด เชื่อมโยงของยุทธศาสตร์จากระดับองค์กรลงสู่ระดับต่างๆ 3 ระดับ ได้แก่ ยุทธศาสตร์องค์กร ยุทธศาสตร์สายงาน และ ยุทธศาสตร์ฝ่ายงาน และ (2) การประเมินผลงานเชิงทักษะและเชิงพฤติกรรม (CSB - Competency Skill Behavior)

ที่สนับสนุนวัฒนธรรมองค์กร การประเมินเป็นรายบุคคล โดยผู้บังคับบัญชาโดยตรง ซึ่งจะมีหัวข้อการประเมินบางส่วน ตามนโยบายของบริษัท และบางส่วนแตกต่างกันตามที่ผู้บังคับบัญชาระดับสายงานเป็นผู้กำหนด และเพื่อให้การประเมิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลประกอบจากผู้ร่วมงานในระดับต่างๆ การประเมินจึงทำในลักษณะ 360 องศา โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินผู้บังคับบัญชา และให้มีการประเมินตนเองทุก ระดับ ผลการประเมินทั้ง 2 ส่วนนำมาเป็นเครื่องมือในการกระจายผลตอบแทนรวมขององค์กรสู่ระดับสายงาน ฝ่ายและ ส่วนงาน อนึ่ง ในปี 2552 บริษัทจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง เป็นจำนวนเงินรวม 36,478,285.04 บาท ประกอบด้วย 1. ค่าตอบแทนกรรมการ เป็นเงิน 4,347,500.00 บาท รายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนรายบุคคลแสดงไว้ตาม ตารางแสดงค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย 2. ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทย่อย เป็นเงิน 2,085,000.00 บาท 3. ค่าจ้างของผู้บริหาร 9 คน ที่จ่ายจากบริษัทและบริษัทย่อย เป็นเงิน 29,122,937.04 บาท 4. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของผู้บริหาร 9 คน เป็นเงิน 922,848.00 บาท

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

75,000

112,500

4,347,500

130,000 320,000 315,000 320,000 320,000 442,500 160,000 502,500 450,000 453,750 453,750 240,000 240,000

ค่าตอบแทนที่เป็น ตัวเงินรวม

หมายเหตุ : นายเลื่อน กฤษณกรี ลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 และคณะกรรมการ มีมติให้แต่งตั้งนายประกิต ประทีปะเสน เป็นประธานกรรมการแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน และมีมติแต่งตั้ง นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร เป็นกรรมการอิสระแทนตำแหน่งที่ว่าง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552

- - - - - 22,500 - 22,500 30,000 - - - -

คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และกำหนด ค่าตอบแทน

30,000 15,000 - - - - - - - 33,750 33,750 - -

คณะกรรมการ

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

1. นายเลื่อน กฤษณกรี ประธานกรรมการ 100,000 - - 2. นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ 280,000 25,000 - 3. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ 240,000 75,000 - 4. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ 240,000 80,000 - 5. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ 240,000 80,000 - 6. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ 240,000 - 180,000 7. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ 160,000 - - 8. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 240,000 - 240,000 9. นายสุพล วัธนเวคิน กรรมการ 240,000 - 180,000 10. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 240,000 - 180,000 11. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ 240,000 - 180,000 12. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย กรรมการ 240,000 - - - ไม่รับ 13. นายกษมา บุณยคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่ 240,000 - ค่าตอบแทนใน บริหารและกรรมการ ฐานะผู้บริหาร ผู้จัดการใหญ่ รวม 2,940,000 260,000 960,000

ตำแหน่ง คณะกรรมการ สรรหาและ บรรษัทภิบาล

รายชื่อกรรมการ คณะกรรมการ การเงินและ บริหารความเสี่ยง

ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

ต า ร า ง ค่ า ต อ บ แ ท น ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ชุ ด ย่ อ ย ปี 2 5 5 2

060

ค่ า ต อ บ แ ท น ข อ ง ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ผู้ บ ริ ห า ร


061

ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ต่ อ ผู้ มี ส่ ว น ไ ด้ เ สี ย “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

9 . ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ต่ อ ผู้ มี ส่ ว น ไ ด้ เ สี ย (Corporate Social Responsibility - CSR ) คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจไว้หลายประการ CSR หรือความรับผิดชอบของบริษัทต่อผู้มี ส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และเจ้าหนี้ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของบริษัท เพื่อให้บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่

ถูกต้องตรงกัน จึงได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ดังต่อไปนี ้ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อผู้ถือหุ้น (Duties and Responsibilities of the Board to Shareholders) คณะกรรมการคำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นโดยไม่จำกัดเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ได้แก่ การซื้อ ขายหรือโอนหุ้น การมีส่วนแบ่งในกำไร การได้รับข่าวสารข้อมูลของบริษัทอย่างเพียงพอ การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิ ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล การกำหนดหรือการแก้ไขข้อบังคับ และหนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิ่มทุน และการ อนุมัติรายการพิเศษ ทั้งนี้ คณะกรรมการได้กำกับดูแลให้มีการให้ข้อมูล วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม ตลอดจน เอกสารข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจในที่ประชุมแก่ผู้ถือหุ้น และแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบกฎเกณฑ์ที่ใช้ใน การประชุม รวมถึงขั้นตอนการออกเสียงลงมติที่ไม่ยุ่งยาก สถานที่ในการจัดประชุมสะดวก และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนักใน การเดินทางมาร่วมประชุม คณะกรรมการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจน เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นสามารถส่ง เอกสารเพื่อเสนอวาระการประชุมได้ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ คณะกรรมการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้หนังสือ มอบฉันทะแบบ ข ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียง โดยมีชื่อและข้อมูลของกรรมการอิสระ ทั้ง 6 คนของบริษัท เพื่อเป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น และกำหนดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลไว้ทางเว็บไซต์

ของบริษัทเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันประชุม และจัดส่งเอกสารให้ทันเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้มี เวลาศึกษาข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้าอย่างเพียงพอ ระหว่างการประชุม บริษัทให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนการนำเสนอ ไม่มีการรวม เพิ่ม หรือสลับวาระแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระแต่งตั้งกรรมการ บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเลือกกรรมการภายใต้ข้อมูลที่เพียงพอ เป็น รายบุคคล และเก็บบัตรลงคะแนนไว้เป็นหลักฐานครบทุกคะแนนเสียงทั้ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง ในการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง ประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการชุดย่อย กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมครบ

ทุกคนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็น และสามารถซักถามต่อที่ประชุมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2550 - 2552) กรรมการทุกท่านเข้าร่วมประชุมครบทั้งคณะ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาได้ซักถาม

อย่างเพียงพอ เหมาะสม แต่ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาในการประชุมนานเกินไป มีการบันทึกประเด็นคำถามคำตอบ มติของ

ที่ประชุม และคะแนนเสียงที่ได้รับแต่ละวาระเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรายงานการประชุม และเผยแพร่รายงานการประชุม ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทภายใน 14 วันนับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

062

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

นอกเหนือจากความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นแล้ว คณะกรรมการยังได้กำหนด นโยบายความรับผิดชอบระดับบริษทั ทีม่ ตี อ่ ผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่าย (Corporate Social Responsibility) ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก็ร่วมถึงความรับผิดชอบของบริษัทที่มีต่อผู้ถือหุ้นด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้ ความรับผิดชอบของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น (Responsibilities to Shareholders) 1. บริหารจัดการบริษทั ให้เป็นสถาบันทีม่ คี ณ ุ ภาพ ยึดมัน่ ในความถูกต้อง สร้างความเข้มแข็ง และความเจริญเติบโต

ที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว 2. ปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความสามารถ และความระมัดระวังเยีย่ งวิญญูชน ผูป้ ระกอบธุรกิจพึงกระทำภายใต้สถานการณ์ อย่างเดียวกัน 3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย และเพื่อผลประโยชน์ของ

ผู้เกี่ยวข้องโดยรวม 4. จัดการดูแลไม่ให้ทรัพย์สินของบริษัทต้องสูญค่าหรือสูญเสียไปโดยไม่เกิดประโยชน์ 5. รายงานสถานะและผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ครบถ้วนตามความเป็นจริง 6. ไม่เปิดเผยสารสนเทศที่เป็นความลับของบริษัทต่อผู้อื่นโดยมิชอบ 7. ไม่ดำเนินการใดๆ ในลักษณะซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมิได้แจ้งให้บริษัททราบ 8. เคารพสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร

รวมทั้งผู้ถือหุ้นต่างชาติ ให้ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ความรับผิดชอบของบริษัทต่อผู้ลงทุนสัมพันธ์ (Responsibilities to Investor Relations) บริษัทแต่งตั้งหน่วยงานดูแลผู้ลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญของบริษัทไว้ อย่างครบถ้วนและเพียงพอทีผ่ ลู้ งทุนรายย่อย/สถาบัน ผูถ้ อื หุน้ นักวิเคราะห์ และภาครัฐ ทีเ่ กีย่ วข้องสามารถติดต่อได้โดยตรง ณ สำนักงานทีท่ ำการของบริษทั หรือค้นหารายละเอียด และข่าวสารได้ทางเว็บไซต์ของบริษทั หรือสอบถามข้อมูลเพิม่ เติม ผ่าน IR@TheErawan.com บริษัททำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อข้อมูลที่ได้รับ (IR Survey) เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2549 และ ในปี 2552 บริษัทได้ทำการสำรวจจากนักวิเคราะห์ที่เข้าร่วมประชุมกับบริษัทไม่น้อยกว่า 2 ครั้งในรอบปี โดยแจก แบบสอบถามในที่ประชุมนักลงทุนสัมพันธ์ ครั้งที่ 4/2552 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ซึ่งเป็นการประชุมนักวิเคราะห์ ประจำไตรมาสและเป็นครั้งสุดท้ายของปี ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยร้อยละ 54 ของ

ผูต้ อบแบบสอบถามได้ตดิ ตามข้อมูลของบริษทั มาไม่นอ้ ยกว่า 3 ปี และร้อยละ 99 ของผูต้ อบแบบสอบถาม มีความพึงพอใจ ต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ บริษัทได้รับเกียรติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็น 1 ใน 3 บริษัทในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดไม่เกิน 10,000 ล้านบาท กลุ่มที่ 1 ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริษัทจดทะเบียนดีเด่น ด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (IR Excellence Awards) ในโครงการ SET Awards ประจำปี 2552

รายงานประจำปี 2552


063

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

ความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสีย (Responsibility of the Right to Access Information of Stakeholders) บริษัทให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย กำหนดแนวทางและข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริหารและ พนักงาน เมื่อต้องติดต่อสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถติดต่อ กับคณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล เพื่อให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ ต่อการบริหารจัดการ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทโดยตรงที่สำนักงานที่ทำการของบริษัท เลขที่ 2 อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ หรือติดต่อที่สำนักบรรษัทภิบาล GCG@TheErawan.com ข้อมูลที่ได้รับ

ถือเป็นความลับส่งตรงให้กับคณะกรรมการ ความรับผิดชอบของบริษัทต่อพนักงาน (Responsibilities to Employees) 1. กำหนดโครงสร้างผลตอบแทนทีเ่ หมาะสมสอดคล้องกับอัตราตลาด ตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ

ต่อหน้าที่การงาน และพฤติกรรม ผ่านกระบวนการประเมินยุทธศาสตร์ 3 ระดับ ได้แก่ ยุทธศาสตร์องค์กร

ยุทธศาสตร์สายงาน และยุทธศาสตร์ฝ่ายงาน และการประเมินผลงานเชิงทักษะและเชิงพฤติกรรม (CSB -

Competency Skill Behavior) ในลักษณะ 360 องศา โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับ

บัญชาประเมินผู้บังคับบัญชา และการประเมินตนเองทุกระดับ 2. ปรับปรุงและจัดหาสวัสดิการที่ดี และประโยชน์อื่นที่เหมาะสม เช่น การประกันอุบัติเหตุสำหรับพนักงานและ

ผู้บริหารที่เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ การทำประกันสุขภาพ การให้วงเงินค่ารักษาพยาบาลคนไข้นอก

การตรวจสุขภาพประจำปี การจัดให้มีเครื่องดื่มบริการพนักงาน เป็นต้น 3. สร้างความเข้าใจในเป้าหมาย บทบาทและความรับผิดชอบ ให้โอกาสเจริญก้าวหน้าตามเหตุผล สร้างการยอมรับ และรับรู้ในผลงานที่ทำ 4. การให้รางวัลและการลงโทษต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง และกระทำด้วยความสุจริต 5. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มคี วามปลอดภัยต่อชีวติ สุขภาพอนามัย ทรัพย์สนิ และเอือ้ ประโยชน์ ในการทำงาน 6. มีระบบการทำงานที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ ให้โอกาสได้ใช้ความรู้ความสามารถ และสนับสนุนให้มีการเรียนรู้

เพื่อพัฒนาความสามารถให้โอกาส และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน 7. เผยแพร่ข้อพึงปฏิบัติทางจริยธรรมแก่พนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างทั่วถึง 8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและสวัสดิภาพของพนักงาน 9. หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้อง ซึ่งมีผลกระทบต่อความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพและ

ให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคล ความรับผิดชอบของบริษัทต่อลูกค้า (Responsibilities to Customers) 1. กำหนดนโยบายการตั้งราคาที่ยุติธรรมและเหมาะสม 2. การพิจารณาเงื่อนไขทางการค้า การเจรจาทางธุรกิจ ไม่มีรายการใดเป็นพิเศษ โดยยึดหลักเสมือนกับการทำ

รายการกับบุคคลภายนอก (Arm’s Length Basis) ทุกรายการ 3. จัดหาและปรับปรุงระบบการให้บริการที่เหมาะสม และเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้า 4. จัดทำสัญญาที่เป็นธรรมกับลูกค้า (ไม่ทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ หรือมีข้อเสียเปรียบในทางการค้า) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

064

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

5. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมา ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และ

ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง 6. รักษาสารสนเทศที่เป็นความลับของลูกค้าเสมือนหนึ่งสารสนเทศของบริษัท และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของ

ตนเองและพวกพ้อง 7. ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตกับลูกค้า ความรับผิดชอบของบริษัทต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ (Responsibilities to Suppliers and Creditors) 1. เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม โดยกำหนดวิธีการจัดซื้อ ว่าจ้างทำของ และบริการที่

เหมาะสม เน้นความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วิธีตกลงราคา วิธีสอบราคา วิธีประมูลงาน วิธีพิเศษ

และวิธจี ดั ซือ้ จากส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ และมีการออกแบบสอบถามความเห็นต่อการเข้าร่วมประมูลงาน

เพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ ว่าจ้างทำของและบริการอยู่เสมอ 2. ไม่เจาะจงผลิตภัณฑ์ หรือพยายามเลือกสรรคุณลักษณะที่ไม่โน้มเอียงไปทางผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง

อย่างจงใจนอกจากจะมีเหตุผลสนับสนุนความจำเป็นอย่างเพียงพอ กรณีทม่ี กี ารเปลีย่ นแปลงผลิตภัณฑ์ หรือคุณลักษณะ

เฉพาะของตัวผลิตภัณฑ์ จะต้องบอกกล่าวให้ผู้ค้าทราบ และหากจำเป็นต้องให้เสนอราคาใหม่ ผู้เสนอราคา

รายเดิมจะต้องได้รับโอกาสในการเสนอราคาอย่างเท่าเทียมกัน 3. ต้องเลือกสรรผู้เสนอราคาที่ดี และสนใจต่อการเสนอราคาอย่างแท้จริง ไม่เชิญผู้เสนอราคาเพียงเพื่อให้ครบ

จำนวนตามระเบียบ และผู้เสนอราคาทุกรายต้องได้รับรายละเอียด ข้อมูล และเงื่อนไขอย่างเดียวกันเป็น

ลายลักษณ์อักษร กรณีมีการบอกกล่าวด้วยวาจาจะต้องมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง 4. ผู้บริหารหรือพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ ว่าจ้างทำของ และบริการ ต้องเปิดเผยข้อมูล และ/หรือ

ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของตนเอง คู่สมรส ญาติสนิท หรือมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับผู้เสนอราคา

รายใดรายหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง และให้แสดงความรับผิดชอบโดยการ

ไม่อยู่ร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินชี้ขาด 5. ไม่เรียก ไม่รับของขวัญ ของกำนัล การรับเลี้ยง ยกเว้นในโอกาสอันควรตามธรรมเนียมปฏิบัติ และละเว้น

การให้ความชอบพอเป็นพิเศษจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นคิดว่าน่าจะเกิดความไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะการทำให้ผู้ค้า

รายอื่นเกิดความเข้าใจผิด และไม่ต้องการร่วมเสนอราคา และอาจนำไปบอกกล่าวจนทำให้บริษัทเสียภาพพจน์ 6. จัดทำสัญญาที่เป็นธรรม และปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ กรณีที่คาดว่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้

ต้องรีบเจรจากับคู่ค้า/เจ้าหนี้โดยเร็ว เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย 7. ละเว้นการกระทำใดๆ ที่ช่วยให้คู่ค้าไม่ต้องเสียภาษีที่พึงจะเสียให้กับรัฐ 8. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมา ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และ

ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (Responsibilities to Social and Environment) บริษัทกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และมีแผนจัดทำโครงการ “ดิ เอราวัณ

เพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อม” โดยคณะกรรมการอนุมตั ใิ ห้จดั สรรเงินงบประมาณร้อยละ 0.5 ของกำไรสุทธิของทุกปีโดยประมาณ

รายงานประจำปี 2552


065

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

เพื่อตอบแทนสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ประมาณร้อยละ 50 ของงบประมาณที่ได้รับ ใช้เพื่อ ประโยชน์แก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงกับทรัพย์สินของบริษัท และประมาณร้อยละ 50 ของงบประมาณ

ที่ได้รับ ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมทั่วไปอย่างต่อเนื่อง บริษัทสนับสนุนให้มีการทำกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อสังคม (Corporate Social Activities) เพื่อเปิดโอกาสให้

ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ริเริ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนจากชุมชนใกล้ตัว ตลอดจนร่วม กับภาครัฐและภาคเอกชน และถือเป็นภารกิจหลักที่ทำอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2552 บริษัทจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ • โครงการเติมฝันปันรัก จัดกิจกรรมสัญจรทุก 3 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันสิ่งของ ช่วยสนับสนุน

กองทุนอาหารกลางวันจากบริษัทและพนักงาน มอบให้กับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมคลองเตย โดยพระอุปถัมภ์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และมีนโยบายขยายไปตาม

มูลนิธิอื่นๆ • โครงการ Welcome Guide to Thailand จัดกิจกรรมทุก 3 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

ภายในประเทศ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชาวต่างชาติ โดยการเพิ่มพูนทักษะภาษา และสร้างทัศนคติที่ดีแก่

ผู้ประกอบอาชีพขับรถรับจ้าง (แท็กซี่ สามล้อ) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ภายในประเทศ • โครงการบริจาคโลหิต ร่วมกับโรงแรมเจดับบลิว แมริออท จัดหาสถานที่ และประสานงานกับศูนย์รับบริจาค

โลหิตโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อรับบริจาคโลหิตทุก 3 เดือน

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

066

คณะกรรมการแห่งปี-ดีเด่น 2549/2550

• โครงการขยะแลกไข่ จัดกิจกรรมทุก 2 เดือน โดยการเชิญชวนพนักงานและบุคคลทั่วไปนำของเหลือใช้

เลิกใช้ หยุดใช้แล้ว นำมาแลกไข่ เพื่อชักชวนให้มีการคัดแยกขยะ และนำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกวิธีช่วยลด

สภาวะโลกร้อน • โครงการโลกสีเขียว (Let’s Green) จัดพิมพ์สื่อประชาสัมพันธ์ร่วมรณรงค์ให้ผู้เช่าพื้นที่ของอาคารเพลินจิต

เซ็นเตอร์ ลดการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ • โครงการรอบบ้านน่ามอง มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด เน้นการมีสว่ นร่วมของ พนักงาน พนักงานบริษัทในเครือ และกลุ่มคู่ค้า จัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณรอบอาคารสำนักงาน จากหน้า

อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ โดยรอบถนนดวงพิทักษ์ และสุขุมวิทซอย 4 • โครงการรอบบ้านน่ามองสัญจร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนในพื้นที่ที่ธุรกิจตั้งอยู่ร่วมกันรักษา

ความสะอาด • มอบถังขยะ 30 ถัง เพื่อหาดขาว อ่าวปอสวย จังหวัดภูเก็ต (Keep Ao Por Beach Clean) • มอบถังขยะ 50 ถัง ในโครงการหน้าบ้านน่ามอง (Big Cleaning Day) เทศบาลป่าตอง

รายงานประจำปี 2552


067

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

Excellent CG Report 2009

• โครงการดิ เอราวัณ รักษ์ช้าง จัดกิจกรรมปีละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก

เพื่อร่วมรณรงค์อนุรักษ์และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของช้างไทย จัดกิจกรรมนำเงินรายได้มอบให้กับมูลนิธิช้างต่างๆ

เช่น สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ ศูนย์อนุรกั ษ์ชา้ งไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทยในโครงการให้ความช่วยเหลือช้างเร่ร่อน

มูลนิธิเพื่อนช้าง เป็นต้น • โครงการสนับสนุนการศึกษาของเด็กไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการศึกษา โดยการบริจาคอุปกรณ์

การเรียน และการปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อความสะอาดและถูกสุขอนามัย • โครงการอืน่ ๆ ได้แก่ โครงการเผยแพร่ศลิ ปวัฒนธรรมไทยผ่านภาพปฏิทินประจำปี นอกจากนี้ บริษัทร่วมสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมอื่นๆ ได้แก่ โครงการสร้างโป๊ะลอย เทียบท่าเรือบ้านเกาะนาคา จังหวัดภูเก็ต เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจร และขนถ่ายสินค้าของชาวบ้าน เกษตรกร และชาวประมงในชุมชน และโครงการในอนาคตอีก 2 โครงการ คือ โครงการปรับปรุงบาทวิถีใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร โดยร่วมกับการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย และสำนักงานเขตปทุมวัน และโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางถนนนานา-เพลินจิต บริษัทได้คำนึงถึงความปลอดภัยของทรัพย์สิน และปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมโดยรวม จึงได้ กำหนดแผนบริหารจัดการอาคารที่เป็นทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งเป็นอาคารสาธารณะ ทั้งในส่วนของอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และโรงแรม ได้แก่ การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้ได้มาตรฐาน การเปลี่ยนระบบทำน้ำร้อนจากการต้มที่ใช้ พลังงานจากน้ำมันเตา หรือพลังงานไฟฟ้ามาใช้ Hot Water Heat Pump สำหรับธุรกิจโรงแรมที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทุกโรงแรม เพื่อลดการใช้พลังงานในภาวะวิกฤตน้ำมันแพง ลดภาวะโลกร้อน รักษา

สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยอาคารตามมาตรฐานอาคารสาธารณะ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย/ อัคคีภยั ระบบวิศวกรรมอาคาร ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิม่ เติมจากเว็บไซต์ www.TheErawan.com บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


068

ก า ร ค ว บ คุ ม ภ า ย ใ น

ในปี 2552 คณะกรรมการมีการประชุม 6 ครั้ง โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้งเพื่อให้ ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบควบคุมภายใน ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้ชี้แจงและ รายงานสรุปผลการตรวจสอบภายในสำหรับปี 2552 ให้คณะกรรมการทราบเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ตามที่ได้แสดง ไว้ในรายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบต่อผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริษัทมีความเห็นต่อระบบการควบคุมภายใน

เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจสอบ สรุปสาระสำคัญไดัดังนี้

1 . ร ะ บ บ ค ว บ คุ ม ภ า ย ใ น แ ล ะ ก า ร ต ร ว จ ส อ บ ภ า ย ใ น คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลระบบการควบคุมภายในที่ดี ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้าน บัญชี การเงิน การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดกลไกในการตรวจสอบที่ถ่วงดุลกันอย่าง มีประสิทธิภาพ มีสายงานตรวจสอบภายในทำหน้าทีต่ รวจสอบการปฏิบตั งิ านของทุกสายงานตามแผนตรวจสอบทีพ่ จิ ารณา ความเสี่ยงเป็นสำคัญ รวมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางระบบการควบคุมภายในที่ดี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการพิจารณาแผนงานตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแลความเป็นอิสระของ สายงานตรวจสอบภายใน เห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าสายงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนดูแลให้

สายงานตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และให้ รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่าไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการควบคุมภายใน และงาน ตรวจสอบภายในของบริษัทเป็นไปโดยรัดกุม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้น

2 . ก า ร ป ก ป้ อ ง ก า ร ใ ช้ ข้ อ มู ล ภ า ย ใ น บริษัทให้ความสำคัญในการใช้ข้อมูลภายใน และเพื่อเป็นการปกป้องกรณีที่กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายใน เพือ่ หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผูอ้ น่ื ในทางมิชอบ (Abusive self-dealing) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้อมูลภายในทีย่ งั ไม่เปิดเผย ต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อแผนยุทธศาสตร์องค์กร การดำเนินธุรกิจ การเจรจาต่อรองทางการค้า และราคา หุ้น ซึ่งเป็นการเอาเปรียบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม จึงกำหนดหลักบรรษัทภิบาลสำหรับผู้บริหาร (Executive Ethic Standard) ไว้เป็นข้อปฏิบัติ 10 ข้อ และกำหนดบทลงโทษสถานหนักในกรณีที่มีการฝ่าฝืน หรือกระทำการ ใดๆ ในลักษณะที่จงใจไม่ปฏิบัติ ไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจในหัวข้อ หลักบรรษัทภิบาลสำหรับผู้บริหารระดับสูง อนึ่ง บริษัทกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลภายในของบริษัทให้กับพนักงานระดับต่างๆ ตามความเหมาะสมกับ หน้าที่ความรับผิดชอบ และได้กำหนดบทลงโทษไว้ในข้อบังคับการทำงานในหมวดวินัยและโทษทางวินัย ยกตัวอย่างเช่น วินยั เกีย่ วกับความลับและผลประโยชน์ของบริษทั ข้อ 3.2 ทีว่ า่ “ไม่แสวงหาผลประโยชน์อนั มิควรได้จากบริษทั หรือบุคคลอืน่ ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัท ห้ามประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือรับทำงานให้ผู้อื่นในธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับบริษัท แม้ว่างานนั้นๆ จะทำนอกเวลาของบริษัทก็ตาม” การให้ความเป็นธรรมในการพิจารณาโทษทางวินัย และการลงโทษ บริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยให้ดำเนินการสอบสวน และให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่ถูกกล่าวโทษ

รายงานประจำปี 2552


069

การควบคุมภายใน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

3 . ค ว า ม เ กี่ ย ว โ ย ง ห รื อ ค ว า ม ขั ด แ ย้ ง ท า ง ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ บริษัทกำหนดวิธีปฏิบัติการทำรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต้องผ่านการ

สอบทานจากคณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการตามเกณฑ์ที่กำหนด และให้มีการเปิดเผยรายการและมูลค่า ของรายการที่อาจมีความขัดแย้งในปีที่ผ่านมา โดยอธิบายความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการที่เกิดขึ้นไว้ใน รายงานประจำปีอย่างชัดเจน ทัง้ นี้ บริษทั กำหนดให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับรายการดังกล่าวเปิดเผยข้อมูล และ/หรือลักษณะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของตนเอง คู่สมรส ญาติสนิท หรือมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับผู้เสนอราคา รายใดรายหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง ส่งให้สำนักบรรษัทภิบาล และให้งดออกเสียง และ/หรือไม่อยู่ร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินชี้ขาด การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในปีที่ผ่านมา แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และตารางแสดงการทำ รายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยทุกรายการเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และเป็นการดำเนินธุรกิจปรกติ การพิจารณาทำรายการ เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ผ่านการสอบทานจากคณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือคณะกรรมการ ว่าเป็น เสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก (Arm’s Length Basis) ตามข้อกำหนดของบริษัท และระเบียบของสำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และไม่ขัดกับมาตรฐานการบัญชีเรื่องการเปิดเผยข้อมูล

ที่เกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ในปี 2552 บริษทั มีการทำรายการอืน่ ทีก่ อ่ ให้เกิดรายได้กบั กลุม่ บริษทั ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกันในลักษณะความสัมพันธ์ ซึ่งถือเป็นการดำเนินธุรกิจปรกติ นอกเหนือจากรายการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้ กลุ่มบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม 2,610,376.45 บาท ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด 797,523.99 บาท กลุ่มบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม 629,915.25 บาท ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด 332,307.22 บาท

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

ปี 2551

ปี 2552

ความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบ

สัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานและ บริการ กับ บมจ. โรงแรมเอราวัณ อายุสัญญาเช่า 1 ปี มูลค่า รายการประกอบด้วย 2,578,087.93 • รายได้ค่าเช่าและบริการ 159,484.08 • ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด

3. บริษัท โรงแรมชายทะเล จำกัด (ไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน) ประเภทธุรกิจ ประกอบกิจการโรงแรม ลักษณะความสัมพันธ์ • คุณพนิดา เทพกาญจนา กรรมการบริษัท เป็นญาติสนิทกับ คุณวรรณสมร วรรณเมธี และคุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บริษัท โรงแรมชายทะเล จำกัด • กลุ่มวัธนเวคิน ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 31.14

979,839.60 -

2,826,315.31 433,800.97

1,632,376.88 -

ราคาที่ตกลงกันเป็นราคา ตลาดเมื่อเทียบกับพื้นที่ ให้เช่าบริเวณใกล้เคียง และไม่ต่ำกว่าผู้เช่าหรือ ผู้รับบริการรายอื่นตาม เกณฑ์มาตรฐานธุรกิจ โรงแรม

บ ริษัทประกันวินาศภัย ที่เสนอเงื่อนไขดีที่สุด การคัดเลือกคำนึงถึง ศักยภาพ และเป็นไปตาม ระเบียบของบริษัท

เ ป็นผู้เช่ารายใหญ่ ราคาที่ตกลงกันไม่ต่ำกว่า อัตราเฉลี่ยที่ตกลงกับผู้เช่า 29,462,885.94 38,880,207.20 รายอื่น ตามเกณฑ์ 745,417.25 596,469.30 มาตรฐานธุรกิจ 8,122,908.83 9,036,948.83

สัญญาประกันภัยอาคารและธุรกิจ โรงแรม กับบริษัทและบริษัทย่อย อายุกรมธรรม์ 1 ปี มูลค่ารายการ ประกอบด้วย • ค่าเบี้ยประกันภัย • ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า

สัญญาเช่าพื้นที่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ อายุสัญญาเช่า 1 - 3 ปี มูลค่ารายการประกอบด้วย • รายได้ค่าเช่าและบริการ • ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด • เจ้าหนี้เงินมัดจำการเช่า

ลักษณะรายการ

มูลค่าของรายการ (บาท)

1. กลุ่มบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ประเภทธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย กากน้ำตาล ลักษณะความสัมพันธ์ • คุณวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ คุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ และคุณกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย กรรมการบริษัท เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และกรรมการ กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล • กลุ่มว่องกุศลกิจ ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 38.80 2. บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ประเภทธุรกิจ ประกันวินาศภัย ลักษณะความสัมพันธ์ • คุณวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการบริษัท เป็นประธานกรรมการ บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

บุคคล/นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และลักษณะความสัมพันธ์

รายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีลักษณะความสัมพันธ์ ดังนี้

070

ร า ย ก า ร ที่ เ กี่ ย ว โ ย ง กั น


สัญญาเช่าพื้นที่อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ อายุสัญญาเช่า 3 ปี มูลค่ารายการประกอบด้วย • รายได้ค่าเช่าและบริการ • ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด • เจ้าหนี้เงินมัดจำการเช่า

5. บมจ. หลักทรัพย์ บัวหลวง ประเภทธุรกิจ เงินทุน และหลักทรัพย์ ลักษณะความสัมพันธ์ • นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ เป็นประธาน กรรมการของบริษัท หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

672,390.71 5,527.62 196,311.80

ปี 2551

476,726.35 12,718.84 467,174.40

2,099,000.86 17,528.21 497,174.40

700,797.60 5,970.60 196,311.80

ปี 2552

มูลค่าของรายการ (บาท)

ราคาที่ตกลงกันเป็นราคา ตลาดเมื่อเทียบกับพื้นที่เช่า บริเวณใกล้เคียง และ ไม่ต่ำกว่าผู้เช่ารายอื่นตาม เกณฑ์มาตรฐานของธุรกิจ

ราคาที่ตกลงกันเป็นราคา ตลาดเมื่อเทียบกับพื้นที่เช่า บริเวณใกล้เคียง และ ไม่ต่ำกว่าผู้เช่ารายอื่นตาม เกณฑ์มาตรฐานของธุรกิจ

ความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบ

ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ในกรณีที่บริษัทเข้าทำสัญญาใดๆ ก็ตาม หรือมีการทำรายการระหว่างกันกับบริษัท บริษัทร่วม บริษัทที่เกี่ยวข้อง และหรือบุคคลภายนอก บริษัทจะ พิจารณาถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในการเข้าทำสัญญานั้นๆ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นหลัก มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน ในกรณีที่บริษัทเข้าทำสัญญาใดๆ ก็ตาม หรือมีการทำรายการระหว่างกันกับบริษัทย่อย บริษัทที่เกี่ยวข้อง บุคคลภายนอก และ/หรือบุคคลที่อาจมีความ ขั ด แย้ ง เพื ่ อ ประโยชน์ ข องบริ ษ ั ท คณะกรรมการกำหนดให้ ต ้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ต ามหลั ก เกณฑ์ ข องประกาศคณะกรรมการตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย

เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน และให้มีราคาและเงื่อนไข เสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก โดยกรรมการหรือพนักงานที่มีส่วนได้เสียในรายการนั้นจะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต -ไม่มี-

สัญญาเช่าพื้นที่อาคารเอราวัณ แบงค็อก อายุสัญญาเช่า 3 ปี มูลค่ารายการประกอบด้วย • รายได้ค่าเช่าและบริการ • ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด • เจ้าหนี้เงินมัดจำการเช่า

ลักษณะรายการ

4. กลุ่ม บมจ. ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเภทธุรกิจ บริการด้านบริหาร คอมพิวเตอร์ บัญชี และให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในบริษัทอื่น หนังสือ และอุปกรณ์การศึกษา เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และอะไหล่ ลักษณะความสัมพันธ์ • นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ เป็นกรรมการ อิสระของบริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

บุคคล/นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และลักษณะความสัมพันธ์

071 รายการที่เกี่ยวโยงกัน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


072

ข้ อ มู ล ท า ง ก า ร เ งิ น แ ล ะ ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

รายงานประจำปี 2552

ไอบิส สมุย


073

ร า ย ง า น ข อ ง ผู้ ส อ บ บั ญ ชี รั บ อ นุ ญ า ต “Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

เสนอ คณะกรรมการบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 งบกำไรขาดทุนรวมและ งบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

เฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท

ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ

ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็น

ผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

และของเฉพาะบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นซึ่งได้แสดงความเห็น อย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและ ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่

การตรวจสอบรวมถึงการใช้วธิ กี ารทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทัง้ ทีเ่ ป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะ กิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวม

และกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไป

บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 23 กุมภาพันธ์ 2553

(บุญศรี โชติไพบูลย์พันธ์ุ) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3756 บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


074

ก า ร เ ปิ ด เ ผ ย ข้ อ มู ล ข อ ง ผู้ ส อ บ บั ญ ชี

ค่ า ต อ บ แ ท น แ ก่ ผู้ ส อ บ บั ญ ชี รอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 1) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด • ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชีของบริษัท • ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชีของบริษัทย่อย 2) ค่าบริการอื่น

2,145,000.00 บาท 1,455,000.00 บาท -ไม่มี-

ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต รายงานประจำปี 2552


075

ง บ ดุ ล บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

สิ น ท รั พ ย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 6 277,488,552 416,081,404 201,834,559 314,664,590 ลูกหนี้การค้า 5, 7 148,495,188 102,418,677 79,573,655 52,506,178 สินค้าคงเหลือ 8 78,247,461 47,986,509 33,792,403 13,164,149 เงินทดรองจ่ายค่าก่อสร้าง 34,617,512 62,236,992 14,772,675 57,988,895 ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน 198,001,782 216,159,467 78,120,621 92,849,446 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 5, 9 88,915,926 63,913,173 20,391,741 16,056,619 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 825,766,421 908,796,222 428,485,654 547,229,877 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย 10 - - 2,299,159,881 2,299,838,057 เงินลงทุนในบริษัทร่วม 11 338,271 338,271 338,271 338,271 เงินลงทุนในกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 12 3,305,168 3,014,928 2,525,360 2,311,602 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อย 5 - - 745,745,622 516,790,794 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 13 10,406,634,932 9,625,568,502 6,459,617,393 5,739,417,019 สิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร 14 1,712,926,169 1,782,157,846 857,138,383 899,986,969 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 15 74,139,901 73,964,547 50,285,579 43,439,895 เงินมัดจำการเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 231,340,229 204,878,591 228,221,973 203,512,872 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 16 34,365,743 31,379,076 30,413,472 26,816,414 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 12,463,050,413 11,721,301,761 10,673,445,934 9,732,451,893 รวมสินทรัพย์ 13,288,816,834 12,630,097,983 11,101,931,588 10,279,681,770

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


076

ง บ ดุ ล ( ต่ อ ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

ห นี้ สิ น แ ล ะ ส่ ว น ข อ ง ผู้ ถื อ หุ้ น

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 17 207,200,000 1,030,050,000 152,200,000 897,550,000 เจ้าหนี้การค้า 5, 18 230,684,342 134,915,345 75,101,006 58,354,680 เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง 100,481,328 145,001,459 59,303,424 120,343,958 หนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงินที่ถึงกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี 17 25,701 27,942,746 25,701 27,942,746 เจ้าหนี้เช่าซื้อที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 17 528,658 515,574 528,658 515,574 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี 17 697,250,000 514,000,000 371,000,000 245,000,000 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 19 366,065,534 373,990,030 151,988,590 138,068,224 รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,602,235,563 2,226,415,154 810,147,379 1,487,775,182 หนี้สินไม่หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน 17 - 25,701 - 25,701 เจ้าหนี้เช่าซื้อ 17 567,618 1,096,276 567,618 1,096,276 เงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทย่อย 5, 17 - - 55,131,790 24,744,952 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 17 7,665,467,051 6,161,417,051 5,370,900,000 3,848,100,000 เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่าที่ดิน 360,000,000 360,000,000 360,000,000 360,000,000 เงินมัดจำรับจากผู้เช่า 103,452,269 101,781,042 102,033,939 100,189,494 รายได้รอการตัดบัญชี 20 18,135,126 20,949,454 18,135,126 20,949,454 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 8,147,622,064 6,645,269,524 5,906,768,473 4,355,105,877 รวมหนี้สิน 9,749,857,627 8,871,684,678 6,716,915,852 5,842,881,059

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552


077

ง บ ดุ ล ( ต่ อ ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น 21 ทุนจดทะเบียน 2,244,779,001 2,281,143,099 2,244,779,001 2,281,143,099 ทุนที่ออกและชำระแล้ว 2,244,779,001 2,244,779,001 2,244,779,001 2,244,779,001 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 23 358,142,539 358,142,539 358,142,539 358,142,539 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน (191,098) (476,618) (108,143) (321,901) กำไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสำรองตามกฎหมาย 23 78,840,000 79,300,000 66,890,000 66,890,000 ยังไม่ได้จัดสรร 724,826,403 976,224,811 1,715,312,339 1,767,311,072 รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท 3,406,396,845 3,657,969,733 4,385,015,736 4,436,800,711 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 132,562,362 100,443,572 - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 3,538,959,207 3,758,413,305 4,385,015,736 4,436,800,711 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 13,288,816,834 12,630,097,983 11,101,931,588 10,279,681,770

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


078

ง บ กํ า ไ ร ข า ด ทุ น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

รายได้ รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม 2,748,087,145 2,986,499,727 1,254,911,502 1,216,352,143 รายได้จากค่าเช่าห้องในอาคาร และค่าบริการที่เกี่ยวข้อง 5 400,945,926 389,477,331 388,885,008 375,239,837 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3,864,462 4,211,339 2,065,965 2,576,834 เงินปันผลรับ 5 383,911 2,440,767 287,308 172,437,798 ดอกเบี้ยรับ 5 357,904 745,762 28,295,440 17,058,927 รายได้อื่น 5, 26 37,983,704 29,585,400 33,168,730 26,590,201 รวมรายได้ 3,191,623,052 3,412,960,326 1,707,613,953 1,810,255,740 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนจากการประกอบกิจการโรงแรม 1,336,282,137 1,298,268,182 562,043,929 512,035,843 ต้นทุนจากการให้เช่าห้องในอาคาร และค่าบริการที่เกี่ยวข้อง 154,618,598 156,410,689 159,974,511 161,903,594 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 627,780,673 504,623,725 353,932,033 278,985,321 ค่าใช้จ่ายในการขาย 27 206,708,919 198,294,584 94,107,251 90,914,980 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 28 670,783,982 701,421,779 338,392,235 278,108,232 ค่าตอบแทนผู้บริหาร 29 40,238,236 47,551,389 38,333,236 45,496,389 ขาดทุนจากการลดลงของมูลค่า เงินลงทุนในบริษัทย่อย 10 - - 804,524 656,500,000 รวมค่าใช้จ่าย 3,036,412,545 2,906,570,348 1,547,587,719 2,023,944,359

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552


079

ง บ กํ า ไ ร ข า ด ทุ น ( ต่ อ ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 155,210,507 506,389,978 160,026,234 (213,688,619) ต้นทุนทางการเงิน 5, 30 (306,846,197) (273,872,602) (189,577,331) (155,243,468) กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ (151,635,690) 232,517,376 (29,551,097) (368,932,087) ภาษีเงินได้ 31 (45,656,292) (92,937,349) - กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี (197,291,982) 139,580,027 (29,551,097) (368,932,087) ส่วนของกำไร (ขาดทุน) ที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท (229,410,772) 78,328,428 (29,551,097) (368,932,087) ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 32,118,790 61,251,599 - กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี (197,291,982) 139,580,027 (29,551,097) (368,932,087) กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น 32 ขั้นพื้นฐาน (0.10) 0.04 (0.01) (0.17) ปรับลด (0.10) 0.04 (0.01) (0.17)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

หมายเหตุ

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และวันที่ 1 มกราคม 2552 2,244,779,001 358,142,539 ผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุน - - กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี - - เงินปันผล 33 - - โอนทุนสำรองตามกฎหมาย ของบริษัทย่อย เป็นกำไรสะสม ยังไม่ได้จัดสรร - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 2,244,779,001 358,142,539

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 2,214,574,625 323,542,015 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุน - - กำไรสำหรับปี - - เงินปันผล 33 - - เพิ่มหุ้นสามัญ 21 30,204,376 34,600,524

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

ง บ แ ส ด ง ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ส่ ว น ข อ ง ผู้ ถื อ หุ้ น

ยังไม่ได้จัดสรร

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท ส่วนของ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

79,300,000 - - - (460,000) 78,840,000

285,520 - - - (191,098)

- - - -

(1,263,299) 78,328,428 (133,292,005) 64,804,900

(27) 61,251,599 (61,950,117) -

(1,263,326) 139,580,027 (195,242,122) 64,804,900

-

285,520 (229,410,772) (22,447,636)

-

- 32,118,790 -

-

285,520 (197,291,982) (22,447,636)

724,826,403 3,406,396,845 132,562,362 3,538,959,207

460,000

- (229,410,772) (22,447,636)

976,224,811 3,657,969,733 100,443,572 3,758,413,305

- 78,328,428 (133,292,005) -

79,300,000 1,031,188,388 3,649,391,709 101,142,117 3,750,533,826

ทุนสำรอง ตามกฎหมาย

กำไรสะสม

(476,618)

(1,263,299) - - -

786,681

ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน

งบการเงินรวม

(หน่วย : บาท)

080


หมายเหตุ

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน ทุนสำรอง ตามกฎหมาย

ยังไม่ได้จัดสรร

กำไรสะสม

งบการเงินเฉพาะกิจการ รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท

(หน่วย : บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และวันที่ 1 มกราคม 2552 2,244,779,001 358,142,539 (321,901) 66,890,000 1,767,311,072 4,436,800,711 ผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน - - 213,758 - - 213,758 ขาดทุนสำหรับปี - - - - (29,551,097) (29,551,097) เงินปันผล 33 - - - - (22,447,636) (22,447,636) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 2,244,779,001 358,142,539 (108,143) 66,890,000 1,715,312,339 4,385,015,736

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 2,214,574,625 323,542,015 625,068 66,890,000 2,269,535,164 4,875,166,872 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน - - (946,969) - - (946,969) ขาดทุนสำหรับปี - - - - (368,932,087) (368,932,087) เงินปันผล 33 - - - - (133,292,005) (133,292,005) เพิ่มหุ้นสามัญ 21 30,204,376 34,600,524 - - - 64,804,900

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

ง บ แ ส ด ง ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ส่ ว น ข อ ง ผู้ ถื อ หุ้ น ( ต่ อ )

081

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


082

ง บ ก ร ะ แ ส เ งิ น ส ด บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี (197,291,982) 139,580,027 (29,551,097) (368,932,087) รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 627,780,673 504,623,725 353,932,033 278,985,321 หนี้สงสัยจะสูญ (กลับรายการ) 851,763 (3,314,273) 1,314,166 (3,565,227) ขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าเงินลงทุน ในบริษัทย่อย - - 804,524 656,500,000 ค่าเผื่อผลขาดทุนจากภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เรียกคืนไม่ได้ 1,496,186 2,368,450 1,256,544 1,826,811 โอนเงินมัดจำและรายได้รอการตัดบัญชีเป็นรายได้ (3,140,513) (3,806,779) (3,140,513) (3,806,779) โอนเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าเป็นรายได้ (680,661) (683,546) (680,661) (683,546) เงินปันผลรับ (383,911) (2,440,767) (287,308) (172,437,798) ดอกเบี้ยรับ (357,904) (745,762) (28,295,440) (17,058,927) ขาดทุน (กำไร) จากการจำหน่ายอาคารและอุปกรณ์, สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและสิทธิการเช่า (14,870,147) 114,873 (12,815,570) 183,987 ต้นทุนทางการเงิน 306,846,197 273,872,602 189,577,331 155,243,468 ภาษีเงินได้ 45,656,292 92,937,349 - 765,905,993 1,002,505,899 472,114,009 526,255,223

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552


083

ง บ ก ร ะ แ ส เ งิ น ส ด ( ต่ อ ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ และหนี้สินดำเนินงาน ลูกหนี้การค้า (48,520,383) 65,461,396 (29,973,752) 12,832,519 สินค้าคงเหลือ (20,197,890) (5,831,940) (10,565,192) (32,795) เงินทดรองจ่ายค่าก่อสร้าง 27,619,480 61,282,915 43,216,220 44,657,533 ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน 18,157,685 (54,873,443) 14,728,825 (34,498,889) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (27,932,924) 11,657,945 (8,328,428) 19,268,172 เงินมัดจำการเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (26,461,638) 3,390,859 (24,709,101) (2,078,886) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 9,921,545 498,571 9,396,549 19,913,932 เจ้าหนี้การค้า 95,768,997 (39,718,289) 16,746,326 (10,065,675) หนี้สินหมุนเวียนอื่น 9,964,022 3,229,785 16,017,955 23,960,201 เงินมัดจำรับจากผู้เช่า 3,589,521 4,849,162 3,762,739 5,227,571 807,814,408 1,052,452,860 502,406,150 605,438,906 จ่ายภาษีเงินได้ (75,722,398) (109,509,884) (14,250,151) (12,928,328) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 732,092,010 942,942,976 488,155,999 592,510,578 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อยลดลง (เพิ่มขึ้น) - - (228,981,950) 97,443,136 เงินลงทุนในกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น (4,720) - - เงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น - - - (428,999,970) เงินสดจ่ายสุทธิจากการรับโอนกิจการ 4 - - - (1,437,817,467) เงินสดรับ (จ่าย) จากการคืนทุนบริษัทย่อย - - (126,348) 1,479,662,826 ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (1,348,767,100) (2,763,403,233) (1,066,443,492) (2,034,795,901) ซื้อสิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร (3,879,077) (20,370,246) - (29,843,151) ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (20,310,177) (40,536,072) (19,326,732) (25,860,332) เงินสดรับจากการจำหน่ายอาคาร และอุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 27,789,366 3,502,673 24,711,907 1,981,295 รับเงินปันผล 383,911 2,440,767 287,308 172,437,798 รับดอกเบี้ย 357,904 745,762 28,322,562 15,406,994 เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (1,344,429,893) (2,817,620,349) (1,261,556,745) (2,190,384,772)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


084

ง บ ก ร ะ แ ส เ งิ น ส ด ( ต่ อ ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น (ลดลง) จ่ายชำระหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน จ่ายชำระเจ้าหนี้เช่าซื้อ เงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ชำระคืนหุ้นกู้ เงินสดรับจากการเพิ่มทุน 21 จ่ายต้นทุนทางการเงิน จ่ายเงินปันผล จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

(822,850,000) 609,600,000 (745,350,000) 522,100,000 (27,942,746) (7,892,747) (27,942,746) (7,892,747) (515,574) (1,330,915) (515,574) (1,330,915) - - 30,386,838 24,744,952 1,687,300,000 4,114,959,464 1,648,800,000 3,571,150,000 - (1,823,750,000) - (1,640,000,000) - (300,000,000) - (300,000,000) - 64,804,900 - 64,804,900 (339,799,013) (337,769,217) (222,360,167) (191,669,212) (22,447,636) (133,292,005) (22,447,636) (133,292,005) - (61,950,117) - 473,745,031 2,123,379,363 660,570,715 1,908,614,973

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ (138,592,852) 248,701,990 (112,830,031) 310,740,779 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 6 416,081,404 167,379,414 314,664,590 3,923,811 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี 6 277,488,552 416,081,404 201,834,559 314,664,590 รายการที่ไม่ใช่เงินสด โอนเงินมัดจำรับจากผู้เช่าหักกลบกับยอดลูกหนี้ 1,592,109 5,391,390 1,592,109 5,069,148 ซื้อยานพาหนะตามสัญญาเช่าซื้อ - 1,021,500 - 1,021,500 ซื้ออาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และสิทธิการเช่าโดยยังมิได้ชำระเงิน 93,925,423 135,515,382 55,423,761 112,470,989

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552


085

ห ม า ยหเมหาตุยปเรหะตุกปอรบะงกบอกบางรบเกงิาน ร เ งิ น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่สำหรั ละปีบสแต่ ิ้นสุลดะปี วันสทีิ้น่ 31 และ2552 2551และ 2551 สุดธัวันทีวาคม ่ 31 ธั2552 นวาคม

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553

1 . ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีที่อยู่จดทะเบียนตั้งอยู่

เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร บริษัทมีสำนักงานสาขา 9 แห่งที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2537

บริษัทดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการลงทุนในบริษัทต่างๆ ให้เช่าอาคารและดำเนินกิจการโรงแรม รายละเอียดของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ ชื่อกิจการ

ลักษณะธุรกิจ

บริษัทย่อยทางตรง บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) โรงแรม บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด โรงแรม บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด โรงแรม บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด โรงแรม บริษัท เอราวัณ สมุย จำกัด โรงแรม บริษัท เอราวัณ นาคา จำกัด เจ้าของที่ดิน บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำกัด เลิกกิจการ บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) โรงแรม บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด โรงแรม บริษัทร่วม บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ให้บริการ

ประเทศ ที่กิจการจัดตั้ง

บริษัทถือหุ้นร้อยละ 2552

2551

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

72.59 95.77 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 -

72.59 95.77 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

ไทย ไทย

1.05 4.22

1.05 4.22

ไทย

48.00

48.00

2 . เ ก ณ ฑ์ ก า ร จั ด ทํ า ง บ ก า ร เ งิ น งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทย และจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงิน

ฉบับภาษาอังกฤษได้จัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงินที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

086

งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงการตีความและแนวปฏิบัติ ทางการบัญชีที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) และจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศฉบับที่ 12/2552 การจัดเลขระบุฉบับมาตรฐาน

การบัญชีของไทยใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ กลุ่มบริษัทได้ใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ปรับปรุงใหม่ตลอดจนแนวปฏิบัติทางการ

บัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหว่างปี 2551 และ 2552 ต่อไปนี้ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลา

บัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและ

การดำเนินงานที่ยกเลิก (ฉบับ 54 เดิม)

แม่บทการบัญชี เพื่อจัดทำและนำเสนองบการเงิน (ปรับปรุง 2550) (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2552)

แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2552)

แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน

การใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุงตลอดจนแนวปฏิบัติทางการบัญชี

เหล่านี้ ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีหลายฉบับ ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใน ปัจจุบัน และไม่ได้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ได้ออกและปรับปรุงใหม่เหล่านี้

ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 38 งบการเงินนี้แสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็น

หลักพันบาท ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้น

ที่กล่าวไว้ในนโยบายการบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้บริหารต้องใช้

การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการ

ทางบัญชีจะบันทึกในงวดบัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวนและในงวดอนาคตที่ได้รับผลกระทบ

รายงานประจำปี 2552


087

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณความไม่แน่นอนและข้อสมมติฐานที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการบัญชี มีผลกระทบ สำคัญต่อการรับรู้จำนวนเงินในงบการเงินซึ่งประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินต่อไปนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 36 ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 17 การจัดประเภทของสัญญาเช่า

3 . น โ ย บ า ย ก า ร บั ญ ชี ที่ สํ า คั ญ (ก) เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วน

ได้เสียของกลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม ในระหว่างปี 2551 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัทย่อยจากทางอ้อมเป็นทางตรงและการถือหุ้น ในบริษัทย่อยเพิ่มเติมตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 10 บริษัทย่อย บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มบริษัทมีอำนาจควบคุม ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จาก กิจกรรมของบริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่

การควบคุมสิ้นสุดลง นโยบายการบัญชีของบริษัทย่อยเป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญโดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ ถูกสันนิษฐานว่ามีอยู่เมื่อกลุ่มบริษัทมีอํานาจในการออกเสียงในกิจการอื่นตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 งบการเงินรวม ของกลุ่มบริษัทได้รวมส่วนแบ่งรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเคลื่อนไหวของส่วนของเจ้าของของบริษัทร่วมภายหลังจาก

การปรับปรุงนโยบายการบัญชีให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจนถึง

วันที่การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญสิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุนที่กลุ่มบริษัทได้รับปันส่วนจากบริษัทร่วมมีจำนวนเกินกว่า

เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนจะถูกทอนลงจนเป็นศูนย์และหยุดรับรู้ผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพัน ตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วม

การตัดรายการในงบการเงินรวม

ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายไดหรือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผล มาจากรายการระหว่างกิจการในกลุ่ม ถูกตัดรายการในการจัดทำงบการเงินรวม กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจาก รายการกับบริษัทร่วมถูกตัดรายการกับเงินลงทุนเท่าที่กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียในกิจการที่ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม่เกิด ขึ้นจริงถูกตัดรายการในลักษณะเดียวกับกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่เมื่อไม่มีหลักฐานการด้อยค่าเกิดขึ้น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

088

(ข) รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในรายงาน แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าจะบันทึกในงบกำไรขาดทุน (ค) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วยยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผื่อเรียก และเงิน ลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง (ง) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นแสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำระหนี้

ในอนาคตของลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัดจำหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ (จ) สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุน (วิธีถัวเฉลี่ย) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า

มูลค่าสุทธิทจ่ี ะได้รบั เป็นการประมาณราคาทีจ่ ะขายได้จากการดำเนินธุรกิจปกติหกั ด้วยค่าใช้จา่ ยทีจ่ ำเป็นในการขาย

(ฉ) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ในงบการเงินรวมบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย

เงินลงทุนในตราสารทุน ตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดนอกเหนือจากที่ถือไว้เพื่อค้าหรือตั้งใจถือไว้จนครบ กำหนด จัดประเภทเป็นเงินลงทุนเผื่อขาย ภายหลังการรับรู้มูลค่าในครั้งแรกเงินลงทุนเผื่อขายแสดงในมูลค่ายุติธรรม และ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่ผลขาดทุนจากการด้อยค่า บันทึกโดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนผลขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้ ในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าใน

งบกำไรขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนประเภทที่มีดอกเบี้ยจะต้องบันทึกดอกเบี้ยในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ช) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดินแสดงด้วยราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า

รายงานประจำปี 2552


089

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

สินทรัพย์ที่เช่า การเช่าซึ่งกลุ่มบริษัทได้รับส่วนใหญ่ของความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้นๆ

ให้จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิน อุปกรณ์และยานพาหนะที่ได้มาโดยทำสัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็นสินทรัพย์

ด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า หักด้วย

ค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเช่าที่ชำระจะแยกเป็นส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน และส่วนที่จะหัก จากหนี้ตามสัญญา เพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สำหรับยอดคงเหลือของหนี้สิน ค่าใช้จ่ายทางการเงิน จะบันทึกโดยตรงในงบกำไรขาดทุน ค่าเสื่อมราคา ค่าเสือ่ มราคาบันทึกเป็นค่าใช้จา่ ยในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธเี ส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณ

ของสินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี ้

อาคารและส่วนปรับปรุง เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์ ยานพาหนะ

5 - 40 ปี 5 - 10 ปี 5 ปี

กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

เครื่องใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรม ได้แก่ ลินิน เครื่องเคลือบ เครื่องแก้วและเครื่องเงิน และเครื่องใช้บางชนิด ที่ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรม ซึ่งบันทึกเป็นมูลค่าของทรัพย์สินด้วยมูลค่าที่ซื้อมาในจำนวนเท่าที่จำเป็นสำหรับ

การดำเนินงานโดยปกติ ได้ถือเป็นมูลค่าหลักของเครื่องใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรม การซื้อเพิ่มเติมในภายหลังจะบันทึก เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีรายการซื้อเกิดขึ้น (ซ) สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าแสดงด้วยราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า

ค่าตัดจำหน่าย สิทธิการเช่าตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอายุของสัญญาเช่า

(ฌ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจำกัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และขาดทุนจากการด้อยค่า ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแสดงได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์

5 - 10 ปี

(ญ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้จะทำการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

090

ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้ เกิดเงินสด สูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น และมี

ความชัดเจนว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึ่งเคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน โดยไม่ต้องปรับกับยอดสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนที่บันทึกในงบกำไรขาดทุนเป็นผลต่างระหว่างราคาทุน

ที่ซื้อกับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์ หักขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้ว

ในงบกำไรขาดทุน การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เผื่อขาย คำนวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่า ยุติธรรม มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึงราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ หรือ มูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการ กระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคำนึงภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่า ที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิด กระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น ให้พิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด ที่สินทรัพย์นั้นมีความเกี่ยวข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้น

ในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่เป็น ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน

ณ ทุกวันทีท่ อ่ี อกรายงานว่ามีขอ้ บ่งชีเ้ รือ่ งการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมีการเปลีย่ นแปลง

ประมาณการที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่ายเสมือนหนึ่งไม่เคยมี

การบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน (ฎ) เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างและเจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน (ฏ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ในงบดุลก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือ

ที่ก่อตัวขึ้นอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์จากอดีต และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้อง

รายงานประจำปี 2552


091

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ถูกจ่ายไปเพื่อชำระภาระหนี้สินดังกล่าว และสามารถประมาณจำนวนภาระหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผลกระทบดังกล่าว มีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินพิจารณาจากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลด ในตลาดปัจจุบันก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำนวนที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและ

ความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน (ฐ) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า รายได้จากกิจการโรงแรม รายได้ในกิจการโรงแรมจากค่าห้อง ค่าอาหารและเครื่องดื่ม และรายได้ค่าบริการอื่น บันทึกเป็นรายได้เมื่อแขก เข้าพักในห้อง มีการขายอาหารและเครื่องดื่มและเมื่อมีการให้บริการแล้ว รายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ รายได้จากค่าเช่าห้องและค่าบริการที่เกี่ยวข้องในอาคารสำนักงานและพื้นที่ในศูนย์การค้าจะรับรู้เป็นรายได้ ตามเกณฑ์คงค้าง ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัท มีสิทธิได้รับเงินปันผล (ฑ) รายได้รอการตัดบัญชี บริษัทรับรู้รายได้ค่าเช่ารอตัดบัญชีเป็นรายได้โดยวิธีเส้นตรงตามอายุสัญญาเช่า (ฒ) ค่าใช้จ่าย สัญญาเช่าดำเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานบั นทึ ก ในงบกำไรขาดทุ น โดยวิ ธ ี ท ี ่ เป็ น ระบบตลอดอายุ ส ั ญ ญาเช่า ประโยชน์ที่ได้รับตามสัญญาเช่าจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญา รายจ่ายทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น ยกเว้น ในกรณีที่มีการบันทึกเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ อันเป็นผลมาจากการใช้เวลายาวนานในการจัดหา ก่อสร้าง หรือ การผลิตสินทรัพย์ดังกล่าวก่อนที่จะนำมาใช้เองหรือเพื่อขาย ดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่างวดตามสัญญาเช่าการเงิน บันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ณ) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จากกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระ โดยคำนวณจากกำไรประจำปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้หรือที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

092

4 . ก า ร รั บ โ อ น กิ จ ก า ร ทั้ ง ห ม ด ข อ ง บ ริ ษั ท ย่ อ ย ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ได้มมี ติอนุมตั ใิ ห้มกี ารรับโอนกิจการทัง้ หมดของบริษทั เอราวัณ เพลินจิต จำกัด โดยการรับ โอนกิจการดังกล่าวเป็นการรับโอนสินทรัพย์ รวมทัง้ ลูกจ้างและภาระหนีส้ นิ ทัง้ หมดทีม่ อี ยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษทั ได้ ดำเนินการรับโอนกิจการแล้วในระหว่างปี 2551 โดยได้จ่ายชำระเงินเรียบร้อยแล้ว และสืบเนื่องจากมติการโอนกิจการดังกล่าว บริษัทจึงได้ดำเนินการทำหนังสือแจ้งต่อกรมสรรพากรเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการโอนกิจการ ซึ่งบริษัทได้รับหนังสือ แจ้งการได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ในระหว่างไตรมาสแรกของปี 2551 บริษัทย่อยได้ ดำเนินการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่บริษัท โดยทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดใช้มูลค่าสุทธิตามบัญชี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (หน่วย : พันบาท)

จำนวนเงิ จำนวนเงินน

เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อย อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สิทธิการเช่าที่ดิน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทใหญ่ เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่าที่ดิน หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ราคาโอน - มูลค่าสุทธิตามบัญชี

42,053 58,277 13,131 30,264 222,001 399,867 2,321,556 11,306 569,841 189,799 (56,237) (4,766) (1,580,000) (83,251) (186,791) (360,000) (107,179) 1,479,871

ราคาโอน หัก เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงินของบริษัทย่อย เงินสดจ่ายสุทธิจากการรับโอนกิจการ

1,479,871 (42,053) 1,437,818

รายงานประจำปี 2552


093

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

5 . ร า ย ก า ร ที่ เ กิ ด ขึ้ น แ ล ะ ย อ ด ค ง เ ห ลื อ กั บ บุ ค ค ล ห รื อ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้แก่บุคคลหรือกิจการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท โดยการเป็นผู้ถือหุ้น หรือมีผู้ถือหุ้นร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการที่มีขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคา ตลาดหรือในราคาที่ตกลงกันตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ ความสัมพันธ์ที่กลุ่มบริษัทมีกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในบริษัท หรือเป็นกิจการ ที่บริษัทควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกับกลุ่มบริษัท มีดังนี้ ชื่อกิจการ

ประเทศที่จัดตั้ง/ สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 72.59 บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 95.77 บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 บริษัท เอราวัณ สมุย จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 บริษัท เอราวัณ นาคา จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 48.00 และมีกรรมการร่วมกัน บริษัท ราชประสงค์ สแควร์ จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทถือหุ้นโดยตรง ร้อยละ 23.29 บริษัท โรงแรมชายทะเล จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการ เป็นญาติสนิทกับกรรมการบริษัท บริษัท พาเนล พลัส จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน บริษัท เพโทรกรีน จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน บริษัท ภูเขียว ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

นโยบายการกำหนดราคาสำหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้ รายการ

นโยบายการกำหนดราคา

บริษัทย่อย ดอกเบี้ยรับ อัตราร้อยละ 4.15 - 5.05 ต่อปี (2551 : อัตราร้อยละ 4.91 - 5.63 ต่อปี) เงินปันผลรับ ตามที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ รายได้สาธารณูปโภค ราคาตามสัญญา ค่าเช่าและค่าบริการจ่าย 17 ล้านบาทต่อปี ดอกเบี้ยจ่าย อัตราร้อยละ 4.15 - 5.05 ต่อปี (2551 : อัตราร้อยละ 4.91 - 5.63 ต่อปี)

บริษัทร่วม ค่าบริหาร

094

ราคาทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ ตารางเมตรละ 540 - 610 บาทต่อเดือน (2551 : ตารางเมตรละ 350 - 560 บาทต่อเดือน) ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของอาคาร รายได้สาธารณูปโภค ราคาตามสัญญา รายได้ค่าบริการอื่น ราคายุติธรรมตามเงื่อนไขที่ดีที่สุด ค่าเช่าที่ดิน 11 ล้านบาทต่อปี ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย ราคายุติธรรมตามเงื่อนไขที่ดีที่สุด

รายการที่สำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 สรุปได้ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

บริษัทย่อย ดอกเบี้ยรับ - - 28,173 เงินปันผลรับ - - - รายได้สาธารณูปโภค - - 1,995 ค่าเช่าและค่าบริการจ่าย - - 16,472 ดอกเบี้ยจ่าย 30 - - 1,502

รายงานประจำปี 2552

2551 16,890 170,608 2,155 16,617 1,729


095

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 41,295 30,526 38,469 รายได้สาธารณูปโภค 3,271 2,724 3,271 รายได้ค่าบริการอื่น 3,240 3,414 2,715 ค่าเช่าที่ดิน 10,920 10,920 - ค่าบริหาร 1,600 1,009 1,600 ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย 1,632 980 982

2551 27,948 2,724 3,233 1,009 603

ยอดคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

ลู ก ห นี้ ก า ร ค้ า - กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

บริษัทย่อย บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) - - 105 บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด - - 672 บริษัท เอราวัณ สมุย จำกัด - - 273

100 768 122

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด 907 534 867 บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 325 - 325 บริษัท เพโทรกรีน จำกัด 280 7 280 บริษัท พาเนล พลัส จำกัด 191 55 191 บริษัท ภูเขียว ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำกัด 16 149 16 บริษัท โรงแรมชายทะเล จำกัด 434 160 - บริษัทอื่นๆ 31 24 31 รวม 2,184 929 2,760

534 7 55 149 24 1,759

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


096

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2552

2551

ลู ก ห นี้ อื่ น - กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น บริษัทย่อย

บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด

-

-

-

143 (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2552

2551

ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ล่ ว ง ห น้ า - กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด 5,460 5,460 -

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)

2552

2551

เ งิ น ใ ห้ กู้ ยื ม แ ก่ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท เอราวัณ สมุย จำกัด 4.15 5.63 บริษัท เอราวัณ นาคา จำกัด 4.15 5.63 บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด 4.15 5.63 บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด 4.15 5.63 บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำกัด 4.15 5.63

รายงานประจำปี 2552

งบการเงิน เฉพาะกิจการ

งบการเงินรวม

2552

- - - - - -

2551

2552

2551

- 73,500 69,524 - 16,909 16,730 - 484,973 294,038 - 26,968 9,888 - 143,396 126,611 - 745,746 516,791


097

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

เ งิ น ใ ห้ กู้ ยื ม แ ก่ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - เพิ่มขึ้น - ลดลง - ณ วันที่ 31 ธันวาคม -

2552

2551

- - - -

- 88,489 (88,489) -

14,059 (14,059) -

เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - - เพิ่มขึ้น - - ลดลง - - ณ วันที่ 31 ธันวาคม - -

516,791 269,662 (40,707) 745,746

399,506 1,022,646 (905,361) 516,791 (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

เ จ้ า ห นี้ ก า ร ค้ า - กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น บริษัทย่อย บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) - - 200

2551

223

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

098

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)

2552

2551

งบการเงินเฉพาะ กิจการ

งบการเงินรวม

2552

2551

2552

2551

55,132

24,745

เ งิ น กู้ ยื ม แ ก่ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด

4.15

5.63

-

-

รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

เ งิ น กู้ ยื ม จ า ก กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - - - เพิ่มขึ้น - - - 198,010 ลดลง - - - (198,010) ณ วันที่ 31 ธันวาคม - - - เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - - 24,745 เพิ่มขึ้น - - 72,102 86,455 ลดลง - - (41,715) (61,710) ณ วันที่ 31 ธันวาคม - - 55,132 24,745

รายงานประจำปี 2552


099

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

6 . เ งิ น ส ด แ ล ะ ร า ย ก า ร เ ที ย บ เ ท่ า เ งิ น ส ด (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

2552

2551

เงินฝากธนาคารและเงินสด เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง รวม

277,489 - 277,489

122,396 293,685 416,081

201,835 - 201,835

50,077 264,588 314,665

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกลุม่ บริษทั และบริษทั ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท

7 . ลู ก ห นี้ ก า ร ค้ า (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 กิจการอื่นๆ หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ หนี้สงสัยจะสูญ (กลับรายการ) สำหรับปี

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

2552

2551

2,184 148,969 151,153 (2,658) 148,495

929 103,296 104,225 (1,806) 102,419

2,760 78,944 81,704 (2,130) 79,574

1,759 51,563 53,322 (816) 52,506

852

(3,314)

1,314

(3,565)

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

100

การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้ามีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ค้างชำระ : น้อยกว่า 3 เดือน กิจการอื่นๆ ค้างชำระ : น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ รวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2552

2,184

929

2,760

1,759

147,152 1,345 246 226 148,969 (2,658) 146,311 148,495

99,010 3,238 154 894 103,296 (1,806) 101,490 102,419

77,833 639 246 226 78,944 (2,130) 76,814 79,574

48,022 2,796 70 675 51,563 (816) 50,747 52,506

ลูกหนี้การค้าของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท

รายงานประจำปี 2552

2551


101

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

8 . สิ น ค้ า ค ง เ ห ลื อ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุสิ้นเปลืองใช้ในการดำเนินงาน อสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 13 อื่นๆ รวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

35,071 12,044 23,254 7,878 78,247

25,779 10,776 - 11,432 47,987

2552 9,215 237 23,254 1,086 33,792

2551 9,276 518 3,370 13,164

9 . สิ น ท รั พ ย์ ห มุ น เ วี ย น อื่ น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 5 เงินทดรองจ่ายอื่น ลูกหนี้อื่น 5 ภาษีซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ อื่นๆ รวม

2552 30,827 30,891 3,055 9,914 14,229 88,916

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551 21,336 25,980 1,380 11,943 3,274 63,913

2552 7,190 4,669 128 7,333 1,072 20,392

2551 6,786 329 452 8,259 231 16,057

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

72.59

95.77

99.99

99.99 99.99 99.99 99.99

99.99

95.77

99.99

99.99 99.99 99.99 99.99

-

550.00 330.00 7.50 1.00

450.00

71.00

119.50

582,001 376,858 300 1,000

451,291

68,000

819,710

582,001 376,858 300 1,000

451,291

68,000

819,710

- - - -

-

-

-

68,000

582,001 582,001 376,858 376,858 300 300 1,000 1,000

451,291 451,291

68,000

819,710 819,710

- (656,500) - 678 - (656,500) 2,299,160 2,299,838

- - - -

-

-

-

-

-

-

170,608

- - 170,608

- - - -

-

-

-

2551

เงินปันผลรับ

(หน่วย : พันบาท)

2551 2552

ราคาทุน - สุทธิ

2551 2552

การด้อยค่า

2551 2552

วิธีราคาทุน

- 2,011.69 - 657,178 2,299,160 2,956,338

550.00 330.00 7.50 1.00

450.00

71.00

119.50

2551 2552

ทุนชำระแล้ว (ล้านบาท)

2551 2552

72.59

2552

สัดส่วน ความเป็นเจ้าของ (ร้อยละ)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปี มีดังนี้

บริษัทย่อย บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด บริษัท เอราวัณ สมุย จำกัด บริษัท เอราวัณ นาคา จำกัด บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำกัด บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำกัด รวม

10 . เ งิ น ล ง ทุ น ใ น บ ริ ษั ท ย่ อ ย

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

102


103

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ในระหว่างไตรมาสแรกของปี 2551 บริษัทได้รับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำกัด และบริษัทย่อย ดังกล่าวได้ดำเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทย่อย ได้มีมติอนุมัติให้คืนทุนให้กับผู้ถือหุ้นล่วงหน้าโดยไม่ต้องรอให้เสร็จสิ้นการชำระบัญชีในอัตราหุ้นละ 7.36 บาท รวมเป็นเงิน 1,480.3 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยได้ดำเนินการคืนทุนแล้ว และบริษัทได้ตั้งผลขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าเงินลงทุน

ในบริษัทย่อยดังกล่าวเป็นจำนวน 656.5 ล้านบาท ในงบกำไรขาดทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 บริษัท

มีการคืนเงินทุนบางส่วนที่ได้รับคืนทุนล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอให้เสร็จสิ้นการชำระบัญชีให้แก่บริษัทย่อยเป็นจำนวนหุ้นละ 0.0032 บาท รวมเป็นเงิน 0.6 ล้านบาท ในวันที่ 11 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยดังกล่าวได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี บริษัทได้รับเงินคืนทุนส่วนที่เหลือและรับรู้ผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน

0.8 ล้านบาท บริษัทได้รับโอนเงินลงทุนในบริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด มูลค่า 222.0 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินลงทุนในหุ้นสามัญ จำนวน 189,994 หุ้น นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด

มีมติอนุมัติให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวจากเดิม 190.0 ล้านบาท เป็น 550.0 ล้านบาท โดยการออกหุ้น สามัญเพิ่มทุนจำนวน 0.4 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท บริษัทได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวทั้งจำนวน การเข้าทำ รายการดังกล่าวเป็นผลให้บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 99.99 เป็นการถือหุ้นทางตรง

ร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด มีมติอนุมัติให้มี การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวจากเดิม 3.0 ล้านบาท เป็น 71.0 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 0.7 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท บริษัทได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวทั้งจำนวน เป็นผลให้บริษัทมีการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 99.99 เป็นถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 4.22 และถือหุ้นทางตรงร้อยละ 95.77 ของทุน จดทะเบียน เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) ได้มีมติอนุมัติ ให้จ่ายเงินปันผลจากกำไรของปี 2550 ของบริษัทย่อยให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 2.95 บาท จำนวน 79,666,667 หุ้น รวมเป็นเงินปันผลที่ต้องจ่ายจำนวน 235.0 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวในวันที่ 11 เมษายน 2551 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยงมีมติอนุมัติให้บริษัทลงทุน

ในหุ้นสามัญของบริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำกัด จำนวน 99,997 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นผลให้บริษัทมีสัดส่วน

การถือหุ้นทางตรงร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

2552

-

-

2551 2552

338

-

-

2551

เงินปันผลรับ 2551 2552

ราคาทุน - สุทธิ 2551 2552

การด้อยค่า 2551 2552

วิธีราคาทุน

2551 2552

ทุนชำระแล้ว (ล้านบาท)

บริษัทร่วม บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 48.00 48.00 1.00 1.00 338 338 - - 338

2552

สัดส่วน ความเป็นเจ้าของ (ร้อยละ)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่วย : พันบาท)

ในระหว่างปี บริษัทได้พิจารณาส่วนได้เสียของเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นแล้ว พบว่าจำนวนเงินไม่มีสาระสำคัญ จึงไม่ได้บันทึกยอดดังกล่าว ไว้ในงบการเงินรวม

338

2551

เงินปันผลรับ

(หน่วย : พันบาท)

2551 2552

วิธีส่วนได้เสีย - สุทธิ

2551 2552

การด้อยค่า

2551 2552

วิธีส่วนได้เสีย

2551 2552

วิธีราคาทุน

2551 2552

ทุนชำระแล้ว (ล้านบาท)

2551 2552

สัดส่วน ความเป็นเจ้าของ (ร้อยละ)

งบการเงินรวม

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปี มีดังนี้

บริษัทร่วม บริษทั ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 48.00 48.00 1.00 1.00 338 338 338 338 - - 338

11 . เ งิ น ล ง ทุ น ใ น บ ริ ษั ท ร่ ว ม

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

104


105

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วมซึ่งกลุ่มบริษัทไม่ได้บันทึกเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย

โดยไม่ได้ปรับปรุงให้แสดงข้อมูลตามสัดส่วนที่ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัท (หน่วย : พันบาท)

สัดส่วนความ เป็นเจ้าของ (ร้อยละ)

สินทรัพย์ รวม

หนี้สิน รวม

ขาดทุน สุทธิ

รายได้ รวม

ปี 2552 บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 48.00 2,998 1,953 3,206 (41) ปี 2551 บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 48.00 1,127 123 2,007 (12)

1 2 . เ งิ น ล ง ทุ น ใ น กิ จ ก า ร อื่ น ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น (หน่วย : พันบาท)

สัดส่วนเงินลงทุน (ร้อยละ)

2552

2551

งบการเงินรวม 2552

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ราชประสงค์ สแควร์ จำกัด 23.29 23.29 206 กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 2 0.17 0.17 3,290 หัก ค่าเผื่อการปรับมูลค่า (191) รวม 3,305

2551 206 3,285 (476) 3,015 (หน่วย : พันบาท)

สัดส่วนเงินลงทุน (ร้อยละ)

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ราชประสงค์ สแควร์ จำกัด 23.29 23.29 206 กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 2 0.13 0.13 2,427 หัก ค่าเผื่อการปรับมูลค่า (108) รวม 2,525

2551 206 2,427 (321) 2,312

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

งบการเงินรวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 1,289,549 5,385,202 1,291,201 67,778 เพิ่มขึ้น 362,451 49,009 270,226 11,022 ปรับปรุง - - 63 - โอน - 2,131,500 99,137 7,118 จำหน่าย - (1,744) (20,702) (1,363) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 1,652,000 7,563,967 1,639,925 84,555 เพิ่มขึ้น 6,434 93,423 364,107 4,670 ปรับปรุง - (105) (384) 24 โอน - 1,736,755 31,471 306 โอนออกไปเป็น อสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 8 (10,063) - - - จำหน่าย - (1,747) (25,714) (55,691) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 1,648,371 9,392,293 2,009,405 33,864

หมายเหตุ

13 . ที่ ดิ น อ า ค า ร แ ล ะ อุ ป ก ร ณ์

1,428,990 1,920,071 (1) (2,252,004) - 1,097,056 837,342 - (1,773,615) (13,191) - 147,592

163,578 48,397 - 3,519 - - 215,494

สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง

103,232 50,766 - 9,580 -

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ

(23,254) (83,152) 13,447,019

12,201,081 1,354,373 (465) (1,564)

9,565,952 2,663,545 62 (4,669) (23,809)

รวม

(หน่วย : พันบาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

106


ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี ปรับปรุง จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

หมายเหตุ

ที่ดิน

1,673,112 247,626 (1,000) 1,919,738 316,590 (2) (1,457) 2,234,869

- - -

- - - - -

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

988,410 192,827 (8) (24,830) 1,156,399

862,750 143,876 (18,216)

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์

45,771 13,063 3 (44,338) 14,499

31,668 15,079 (976)

ยานพาหนะ

งบการเงินรวม เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ

- - - - -

- - - - - - - -

- - -

สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง

2,953,919 522,480 (7) (70,625) 3,405,767

2,567,530 406,581 (20,192)

รวม

(หน่วย : พันบาท)

107 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวม

2552 ตัดรายการระหว่างกัน

522,480 13,024 535,504

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท 1,648,371 7,157,424 852,956 19,365 215,494 147,592 10,041,202 ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน - - 50 - - - 50 รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 1,648,371 7,157,424 853,006 19,365 215,494 147,592 10,041,252 ตัดรายการระหว่างกัน 365,383 10,406,635 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี 2551 406,581 ตัดรายการระหว่างกัน 13,024 419,605

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท 1,652,000 5,644,229 651,446 20,428 163,578 1,097,056 9,228,737 ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน - - 69 18,356 - - 18,425 รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 1,652,000 5,644,229 651,515 38,784 163,578 1,097,056 9,247,162 ตัดรายการระหว่างกัน 378,407 9,625,569

หมายเหตุ

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินรวม

(หน่วย : พันบาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

108


เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวม

31,407

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้วแต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 823.9 ล้านบาท (2551 : 681.5 ล้านบาท)

รับรู้ในปี 2552 30 - - - - - 31,407 อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ ในปี 2552 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี)

ต้นทุนทางการเงิน ที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่ง ของสินทรัพย์ รับรู้ในปี 2551 30 - - - - - 60,418 60,418 อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ ในปี 2551 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี)

หมายเหตุ

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินรวม

(หน่วย : พันบาท)

109 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 986,245 61,503 25,584 10,519 - 541,891 1,625,742 เพิ่มขึ้น 261,381 32,087 206,476 4,309 24,916 1,534,155 2,063,324 โอน - 1,043,287 13,742 - 2,964 (1,063,431) (3,438) จำหน่าย - (1,519) (7,920) (1,363) - - (10,802) เพิ่มขึ้นจากการรับโอน กิจการ - 2,907,053 405,633 53,124 44,486 18,897 3,429,193 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 1,247,626 4,042,411 643,515 66,589 72,366 1,031,512 7,104,019 เพิ่มขึ้น - 8,585 291,990 4,328 38,709 711,692 1,055,304 ปรับปรุง - (105) 60 24 - - (21) โอน - 1,634,039 30,480 - 573 (1,666,301) (1,209) โอนออกไปเป็น อสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 8 (10,063) - - - - (13,191) (23,254) จำหน่าย - (1,747) (12,167) (55,692) - - (69,606) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 1,237,563 5,683,183 953,878 15,249 111,648 63,712 8,065,233

หมายเหตุ

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่วย : พันบาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

110


เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวม

ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 - 13,340 16,535 6,398 - - 36,273 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 151,380 65,101 12,847 - - 229,328 จำหน่าย - (843) (6,818) (975) - - (8,636) เพิ่มขึ้นจากการรับโอน กิจการ - 801,606 281,792 24,239 - - 1,107,637 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 - 965,483 356,610 42,509 - - 1,364,602 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 189,223 100,008 9,495 - - 298,726 ปรับปรุง - (2) (4) 3 - - (3) จำหน่าย - (1,458) (11,913) (44,338) - - (57,709) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 - 1,153,246 444,701 7,669 - - 1,605,616

หมายเหตุ

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่วย : พันบาท)

111 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2552

รวม

4,529,937 - 4,529,937

1,237,563 -

1,237,563

509,177

509,127 50 7,580

7,580 - 111,648

111,648 - 63,712

63,712 -

6,459,617

6,459,567 50

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง

ยานพาหนะ

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท 1,247,626 3,076,928 286,836 5,724 72,366 1,031,512 5,720,992 ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน - - 69 18,356 - - 18,425 รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 1,247,626 3,076,928 286,905 24,080 72,366 1,031,512 5,739,417

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์

หมายเหตุ

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่วย : พันบาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

112


เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

เครื่องใช้ ในการดำเนิน กิจการ สินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวม

-

30

-

-

-

-

31,366

31,366

ราคาทรัพย์สินของบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 398.2 ล้านบาท (2551 : 290.5 ล้านบาท)

รับรู้ในปี 2552 อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ ในปี 2552 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี)

ต้นทุนทางการเงิน ที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่ง ของสินทรัพย์ รับรู้ในปี 2551 30 - - - - - 33,516 33,516 อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ ในปี 2551 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี)

หมายเหตุ

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่วย : พันบาท)

113 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

114

14 . สิ ท ธิ ก า ร เ ช่ า ที่ ดิ น แ ล ะ อ า ค า ร (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม สิทธิการเช่า ที่ดิน

สิทธิการเช่า อาคาร

รวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 990,288 1,217,608 2,207,896 เพิ่มขึ้น 29,843 - 29,843 จำหน่าย - (9,015) (9,015) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 1,020,131 1,208,593 2,228,724 เพิ่มขึ้น 1,650 2,241 3,891 ปรับปรุง - (6) (6) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 1,021,781 1,210,828 2,232,609 ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 251,610 118,210 369,820 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 23,997 47,307 71,304 ปรับปรุง - (1) (1) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 275,607 165,516 441,123 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 26,226 47,342 73,568 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 301,833 212,858 514,691 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 744,524 1,043,077 1,787,601 ตัดรายการระหว่างกัน (5,443) 1,782,158 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 719,948 997,970 ตัดรายการระหว่างกัน

รายงานประจำปี 2552

1,717,918 (4,992) 1,712,926


115

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ สิทธิการเช่า ที่ดิน

สิทธิการเช่า อาคาร

รวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 78,000 278,481 356,481 เพิ่มขึ้น 29,843 - 29,843 เพิ่มขึ้นจากการรับโอนกิจการ 737,802 - 737,802 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 845,645 278,481 1,124,126 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 845,645 278,481 1,124,126 ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 - 15,511 15,511 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 20,245 20,422 40,667 เพิ่มขึ้นจากการรับโอนกิจการ 167,961 - 167,961 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 188,206 35,933 224,139 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 22,483 20,366 42,849 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 210,689 56,299 266,988 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 657,439 242,548 899,987 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 634,956 222,182 857,138

กลุ่มบริษัทและบริษัทได้นำสิทธิการเช่าที่ดินที่มีอยู่ส่วนใหญ่ซึ่งมีมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 703.4 ล้านบาท และ 635.0 ล้านบาท ตามลำดับ (2551 : 717.2 ล้านบาท และ 657.4 ล้านบาท ตามลำดับ) ไปจดจำนอง ไว้กับธนาคารเพื่อค้ำประกันเงินกู้ยืม

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

116

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี หัก ค่าตัดจำหน่ายที่ถือเป็นต้นทุน ตัดรายการระหว่างกัน ค่าตัดจำหน่ายที่รวมอยู่ใน งบกำไรขาดทุนสำหรับปี

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

73,568 (459) (450) 72,659

71,304 (459) (450) 70,395

2552 42,849 - - 42,849

2551 40,667 40,667

15 . สิ น ท รั พ ย์ ไ ม่ มี ตั ว ต น คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

2552

ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย เพิ่มขึ้นจากการรับโอนกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

123,566 18,622 1,564 (563) - 143,189

83,030 35,867 4,669 - - 123,566

ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 49,601 34,977 36,590 15,794 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 19,618 14,624 12,357 8,990 จำหน่าย (170) - - เพิ่มขึ้นจากการรับโอนกิจการ - - - 11,806 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 69,049 49,601 48,947 36,590

80,030 17,994 1,209 - - 99,233

2551 30,832 22,648 3,438 23,112 80,030

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 74,140 73,965 50,286 43,440

รายงานประจำปี 2552


117

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

16 . สิ น ท รั พ ย์ ไ ม่ ห มุ น เ วี ย น อื่ น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อื่นๆ รวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

31,482 2,884 34,366

27,963 3,416 31,379

2552 30,413 - 30,413

2551 26,816 26,816

17. ห นี้ สิ น ที่ มี ภ า ร ะ ด อ ก เ บี้ ย (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน 207,200 1,030,050 152,200 897,550 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่มีหลักประกัน 697,250 514,000 371,000 245,000 หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 26 27,943 26 27,943 เจ้าหนี้เช่าซื้อส่วนที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี 529 516 529 516 905,005 1,572,509 523,755 1,171,009

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

118

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน 7,665,467 6,161,417 5,370,900 3,848,100 เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกันส่วนที่ไม่มีหลักประกัน 5 - - 55,132 24,745 หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน - 26 - 26 เจ้าหนี้เช่าซื้อ 568 1,096 568 1,096 7,666,035 6,162,539 5,426,600 3,873,967 รวม 8,571,040 7,735,048 5,950,355 5,044,976

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยซึ่งไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินและเจ้าหนี้เช่าซื้อแสดงตามระยะเวลาครบกำหนด การจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

2552

ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ครบกำหนดหลังจากห้าปี รวม

904,450 4,881,150 2,784,317 8,569,917

1,544,050 3,963,317 2,198,100 7,705,467

523,200 3,362,532 2,063,500 5,949,232

2551 1,142,550 2,378,245 1,494,600 5,015,395

ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืม กลุ่มบริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เช่น อัตราส่วนการถือหุ้น ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท การค้ำประกันหนี้สินหรือเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินแก่บุคคลหรือ นิตบิ คุ คลใดๆ การจ่ายเงินปันผล และการรวมหรือควบบริษทั เข้ากับบริษทั อืน่ และการดำรงอัตราส่วนทางการเงินบางประการ ให้เป็นไปตามสัญญา เป็นต้น

รายงานประจำปี 2552


119

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยส่วนที่มีหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดของหลักประกันซึ่งเป็นสินทรัพย์ ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

2552

2551

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - มูลค่าสุทธิทางบัญชี สิทธิการเช่าที่ดิน - มูลค่าสุทธิทางบัญชี รวม

8,731,712 703,445 9,435,157

7,609,948 717,222 8,327,170

5,772,469 634,956 6,407,425

4,765,199 657,439 5,422,638

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทและบริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 1,049.6 ล้านบาท และ 788.1 ล้านบาท ตามลำดับ (2551 : 2,086.9 ล้านบาท และ 2,086.9 ล้านบาท ตามลำดับ) หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม/งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

เงินต้น ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ครบกำหนดชำระหลังจากหนึ่งปี แต่ไม่เกินห้าปี รวม

ดอกเบี้ย

2551 ยอดชำระ

เงินต้น ดอกเบี้ย

ยอดชำระ

27

(1)

26

29,323

(1,380)

27,943

- 27

- (1)

- 26

27 29,350

(1) (1,381)

26 27,969

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งหมดของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท ในการพิจารณาประเภทของสัญญาเช่าว่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือสัญญาเช่าทางการเงิน ฝ่ายบริหารได้ใช้ ดุ ล ยพิ นิ จ ในการประเมินเงื่อนไขและรายละเอียดของสัญญาเพื่อพิจารณาว่าบริษัทได้โอนหรือรับโอนความเสี่ยงและ ผลประโยชน์ในสินทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวแล้วหรือไม่

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

120

1 8 . เ จ้ า ห นี้ ก า ร ค้ า (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 - - 200 กิจการอื่นๆ 230,684 134,915 74,901 รวม 230,684 134,915 75,101 เจ้าหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท

2551 223 58,132 58,355

1 9 . ห นี้ สิ น ห มุ น เ วี ย น อื่ น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

ค่าธรรมเนียมในการบริหารและการใช้สิทธิ ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าธรรมเนียม อื่นค้างจ่าย - ธุรกิจโรงแรม 29,152 23,870 10,835 เงินประกันผลงาน 70,082 106,823 23,057 เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า 19,420 16,900 6,755 ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย 7,000 5,006 - ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 104,107 110,095 60,474 ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 27,678 43,340 - เงินมัดจำรับ - ธุรกิจโรงแรม 54,017 28,225 22,204 อื่นๆ 54,610 39,731 28,664 รวม 366,066 373,990 151,989

รายงานประจำปี 2552

2551

7,104 54,841 6,579 41,340 6,604 21,600 138,068


121

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

2 0 . ร า ย ไ ด้ ร อ ก า ร ตั ด บั ญ ชี (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2552

2551

สิทธิการเช่าอาคาร, การบริการและอุปกรณ์ - กิจการอื่นๆ หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสม มูลค่าสุทธิทางบัญชี

56,720 (38,585) 18,135

56,720 (35,771) 20,949

56,720 (38,585) 18,135

56,720 (35,771) 20,949

ค่าตัดจำหน่ายรับรู้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับปี

2,814

2,814

2,814

2,814

2 1 . ทุ น เ รื อ น หุ้ น

2552 มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น (บาท) จำนวนหุ้น จำนวนเงิน (พันหุ้น) (พันบาท)

2551 จำนวนหุ้น (พันหุ้น)

จำนวนเงิน (พันบาท)

ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ 1 2,281,143 2,281,143 2,281,143 2,281,143 ลดทุนจดทะเบียน 1 (36,364) (36,364) - ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ 1 2,244,779 2,244,779 2,281,143 2,281,143 ทุนที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ 1 2,244,779 2,244,779 2,214,575 2,214,575 เพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิโครงการเสนอขายหุ้น สามัญต่อกรรมการบริษัท และพนักงาน 1 - - 30,204 30,204 ของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ 1 2,244,779 2,244,779 2,244,779 2,244,779

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

122

ในระหว่างปี 2551 บริษัทได้รับชำระเงินเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นตามโครงการเสนอขายหุ้นสามัญต่อกรรมการบริษัท และพนักงานของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย จำนวนรวม 64.8 ล้านบาท ตามรายละเอียดดังนี้ วันที่

1 กุมภาพันธ์ 2551 3 มีนาคม 2551 3 มีนาคม 2551 3 มีนาคม 2551 2 มิถุนายน 2551 2 มิถุนายน 2551 1 กรกฎาคม 2551 1 กรกฎาคม 2551 1 สิงหาคม 2551 1 สิงหาคม 2551 1 กันยายน 2551 1 กันยายน 2551 1 กันยายน 2551 1 ตุลาคม 2551 1 ตุลาคม 2551 1 ตุลาคม 2551 1 ตุลาคม 2551 รวม

จำนวนหุ้นสามัญ ทีเ่ กิดจากการใช้สทิ ธิ (หุ้น) 400,000 319,729 638,783 5,615,675 1,203,756 3,437,089 600,000 569,729 200,000 200,000 64,973 1,214,973 839,458 2,877,569 3,389,136 4,795,948 3,837,558 30,204,376

ราคาใช้สิทธิ (บาท/หุ้น) 2.15 2.09 2.12 2.15 2.15 2.18 2.09 2.18 2.09 2.18 2.09 2.12 2.18 2.09 2.12 2.15 2.18

จำนวนเงิน (พันบาท) 860 668 1,354 12,074 2,588 7,493 1,254 1,242 418 436 136 2,575 1,830 6,014 7,186 10,311 8,366 64,805

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551 บริษัทได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเปลี่ยนแปลงทุนที่ออกและชำระแล้วเป็น 2,244.8 ล้านบาท และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับหุ้นสามัญข้างต้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551

ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ลดทุนจดทะเบียน ของบริษัท จาก 2,281.1 ล้านบาท เป็น 2,244.8 ล้านบาท โดยการยกเลิกหุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังมิได้นำออกจำหน่าย จำนวน 36,364,098 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท บริษัทได้จดทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552

รายงานประจำปี 2552


123

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

2 2 . โ ค ร ง ก า ร เ ส น อ ข า ย หุ้ น ส า มั ญ ต่ อ ก ร ร ม ก า ร บ ริ ษั ท แ ล ะ พ นั ก ง า น ข อ ง บ ริ ษั ท แ ล ะ / ห รื อ บ ริ ษั ท ย่ อ ย

( E S O P ) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 ของบริษัทมีมติอนุมัติโครงการเสนอขายหุ้น สามัญของบริษัทจำนวน 66,652,400 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 4.59 ของหุ้นที่จำหน่าย แล้วทั้งหมดโดยเป็นโครงการต่อเนื่องไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กรรมการและพนักงานที่ได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญตามโครงการนี้สามารถใช้สิทธิในแต่ละ ครั้งได้ 1 ใน 4 ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่แต่ละคนมีสิทธิจะซื้อ

เมื่อพ้นวันกำหนดการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย และยังไม่ได้มีการใช้สิทธิ ให้ถือว่าสิทธิดังกล่าวหมดสภาพลง และไม่ สามารถนำมาใช้สิทธิได้อีกต่อไปไม่ว่ากรณีใดๆ ตามมติของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ของบริษัท ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติให้ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน

จำนวนไม่เกิน 18.26 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการปรับสิทธิตามโครงการ ESOP อันเนื่องจากการเพิ่มทุนและการออกใบสำคัญ แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท โดยมีราคาการใช้สิทธิใหม่และจำนวนหุ้นหลังการปรับสิทธิดังต่อไปนี้

ครั้งที่

ระยะเวลาใช้สิทธิซื้อหุ้นใหม่

1 2 3 4

29 กันยายน 2549 - 30 ธันวาคม 2551 29 กันยายน 2549 - 30 ธันวาคม 2551 1 มิถุนายน 2550 - 30 ธันวาคม 2551 1 มิถุนายน 2551 - 30 ธันวาคม 2551

จำนวนหุ้นหลัง การปรับสิทธิ (หุ้น) 11,277,627 18,242,747 21,310,743 21,310,743

ราคาใช้สิทธิ เดิม (บาทต่อหุ้น)

ราคาใช้สิทธิ ใหม่ (บาทต่อหุ้น)

2.67 2.71 2.75 2.79

2.09 2.12 2.15 2.18

ในปี 2551 มีกรรมการและพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยใช้สิทธิหุ้นสามัญจำนวน 30,204,376 หุ้น ในระหว่างปี 2551 สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทมีการเคลื่อนไหวดังนี้ จำนวนหุ้น

จำนวนสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ ณ วันต้นปี หัก ใช้สิทธิระหว่างปี หัก จำนวนสิทธิที่ยกเลิกเนื่องจากกรรมการลาออกในระหว่างปี หัก จำนวนที่หมดอายุในระหว่างปี จำนวนสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ ณ วันปลายปี

43,326,525 (30,204,376) (319,729) (12,802,420) -

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

124

2 3 . ส่ ว น เ กิ น ทุ น แ ล ะ สํ า ร อ ง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นสูงกว่า มูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ บริษัทต้องนำค่าหุ้นส่วนเกินนี้ตั้งเป็นทุนสำรอง (“ส่วนเกินมูลค่าหุ้น”) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้

จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

สำรองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตาม กฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำรองดังกล่าว

มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

2 4 . ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ต า ม ลั ก ษ ณ ะ รายการค่าใช้จ่ายแบ่งตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังต่อไปนี้ (หน่วย : พันบาท)

เงินเดือนค่าแรงและผลประโยชน์อน่ื ข องพนักงาน ต้นทุนขายอาหารและเครื่องดื่ม ค่าเช่าจ่าย

งบการเงินรวม 2552 896,878 409,899 46,385

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551 710,839 417,215 45,677

2552 498,222 188,501 30,400

2551 324,796 188,637 29,035

2 5 . ข้ อ มู ล ท า ง ก า ร เ งิ น จํ า แ น ก ต า ม ส่ ว น ง า น กลุ่มบริษัทได้นำเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานธุรกิจและส่วนงานภูมิศาสตร์ รูปแบบหลักในการรายงาน คือส่วนงานธุรกิจพิจารณาจากระบบการบริหาร การจัดการและโครงสร้างการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัท เป็นเกณฑ์ในการกำหนดส่วนงาน

ผลได้ (เสีย) สินทรัพย์และหนี้สินตามส่วนงาน รวมรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนงาน หรือที่สามารถปันส่วน

ให้กับส่วนงานได้อย่างสมเหตุสมผล รายการที่ไม่สามารถปันส่วนได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยดอกเบี้ยหรือเงินปันผลทั้งส่วน

ของสินทรัพย์และรายได้ เงินให้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ย เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยจ่าย และสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายของกิจการโดยรวม

รายงานประจำปี 2552


125

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้ ส่วนงาน 1 ธุรกิจให้เช่าอาคาร ส่วนงาน 2 ธุรกิจโรงแรม

ส่วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจเฉพาะในประเทศเท่านั้น ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่ากลุ่มบริษัทมีส่วนงานทางภูมิศาสตร์

เพียงส่วนงานเดียว

ข้อมูลเกีย่ วกับผลได้ (เสีย) ตามส่วนงานธุรกิจในงบการเงินรวมสำหรับปีสน้ิ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดงั นี้ (หน่วย : ล้านบาท)

ธุรกิจให้เช่าอาคาร

2552

2551

ธุรกิจโรงแรม

2552

2551

ตัดรายการระหว่างกัน

2552

2551

รวม

2552

2551

รายได้จากภายนอก 401 389 2,748 2,987 - - 3,149 3,376 20 20 - - (20) (20) - รายได้ระหว่างส่วนงาน รายได้ทั้งสิ้น 421 409 2,748 2,987 (20) (20) 3,149 3,376 กำไรจาก การดำเนินงาน ตามส่วนงาน 153 146 80 443 (13) (13) 220 576 รายได้และค่าใช้จ่าย ที่ไม่ได้ปันส่วน รายได้อื่น 43 37 ค่าเสื่อมราคาและ ค่าตัดจำหน่าย (10) (12) (2) (2) ค่าใช้จา่ ยในการขาย ค่าใช้จ่าย ในการบริหาร (95) (93) ต้นทุนทางการเงิน (307) (274) ภาษีเงินได้ (46) (93) กำไรสุทธิส่วนที่เป็น ของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย (32) (61) กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี (229) 78 บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


126

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

การจำแนกส่วนงานทางธุรกิจในงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท)

ธุรกิจให้เช่าอาคาร

2552

ธุรกิจโรงแรม

2551 2552

สินทรัพย์ ที่ไม่ได้ปันส่วน

2551 2552

ตัดรายการ ระหว่างกัน

2551 2552

รวม

2551 2552

2551

สินค้าคงเหลือ - - 55 48 23 - - - 78 48 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 725 791 9,196 8,342 158 152 328 341 10,407 9,626 สิทธิการเช่าที่ดิน และอาคาร 356 386 1,444 1,491 - - (87) (95) 1,713 1,782 สินทรัพย์อื่น 1,091 1,174 รวมสินทรัพย์ 13,289 12,630 (หน่วย : ล้านบาท)

ธุรกิจให้เช่าอาคาร

2552

ธุรกิจโรงแรม

2551 2552

หนี้สิน ที่ไม่ได้ปันส่วน

2551 2552

ตัดรายการ ระหว่างกัน

2551 2552

2551 2552

เงินกู้ยืมที่มีดอกเบี้ย 480 480 8,561 6,929 330 838 (801) (541) เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่า ที่ดิน 180 180 180 180 - - - - หนี้สินอื่น รวมหนี้สิน

รายงานประจำปี 2552

รวม

2551

8,570

7,706

360 820 9,750

360 806 8,872


127

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

2 6 . ร า ย ไ ด้ อื่ น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

กำไรจากการจำหน่ายอาคารและอุปกรณ์ กำไรจากการขายเงินลงทุน รายได้จากการรับชำระค่าหุ้นเพิ่มเติม รายได้ค่าภาษีโรงเรือน อื่นๆ รวม

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

14,870 526 - 6,719 15,869 37,984

- 685 8,645 6,383 13,872 29,585

2552 12,816 506 - 6,531 13,316 33,169

2551 588 8,645 6,263 11,094 26,590

2 7 . ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ใ น ก า ร ข า ย (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร รวม

150,608 56,101 206,709

151,533 46,762 198,295

2552 74,053 20,054 94,107

2551 77,983 12,932 90,915

2 8 . ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ใ น ก า ร บ ริ ห า ร (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

2551

2552

2551

243,331 159,375 44,705 223,373 670,784

186,682 187,472 51,880 275,388 701,422

145,553 89,596 16,154 87,089 338,392

89,138 100,053 12,602 76,315 278,108

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ค่าธรรมเนียมในการบริหารและค่าธรรมเนียมอื่น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา อื่นๆ รวม

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

128

2 9 . ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ ต อ บ แ ท น พ นั ก ง า น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

ผู้บริหาร เงินเดือนค่าแรงและผลประโยชน์อื่น 39,145 46,508 37,240 44,453 เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1,093 1,043 1,093 1,043 รวม 40,238 47,551 38,333 45,496

พนักงานอื่น เงินเดือนค่าแรงและผลประโยชน์อื่น 838,810 646,909 453,151 272,431 เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 17,830 16,379 6,738 6,869 856,640 663,288 459,889 279,300 รวม 896,878 710,839 498,222 324,796 กลุ่มบริษัทและบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทและบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจ

ของพนักงานในการเป็นสมาชิกของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือน

ทุกเดือน และกลุ่มบริษัทและบริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและจัดการกองทุน โดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต

รายงานประจำปี 2552


129

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

3 0 . ต้ น ทุ น ท า ง ก า ร เ งิ น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2552

2551

ดอกเบี้ยจ่าย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 - - 1,502 1,729 สถาบันการเงิน 337,750 334,291 219,401 187,030 ต้นทุนการทำรายการ 503 - 40 338,253 334,291 220,943 188,759 ส่วนที่บันทึกเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 13 (31,407) (60,418) (31,366) (33,516) สุทธิ 306,846 273,873 189,577 155,243

3 1 . ภ า ษี เ งิ น ไ ด้ จำนวนภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนรวมมากกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่คำนวณโดยการใช้อัตราภาษีเงินได้คูณกับ

ยอดกำไรสุทธิตามบัญชีสำหรับปีเนื่องจากความแตกต่างระหว่างการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีกับรายได้และ ค่าใช้จ่ายทางภาษีบางรายการ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2552

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน สำหรับปีปัจจุบัน 45,656

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551 92,937

2552

2551 -

-

3 2 . กํ า ไ ร ( ข า ด ทุ น ) ต่ อ หุ้ น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไร (ขาดทุน) ต่อหุน้ ขัน้ พืน้ ฐานสำหรับปีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 คำนวณจากกำไร (ขาดทุน) สำหรับปี ทีเ่ ป็นส่วนของผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั และจำนวนหุน้ สามัญทีอ่ อกจำหน่ายแล้วระหว่างปีโดยถัวเฉลีย่ ถ่วงน้ำหนัก แสดงการคำนวณ ดังนี้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


130

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(หน่วย : พันบาท/พันหุ้น)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2552

กำไร (ขาดทุน) ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน)

(229,411)

78,328

(29,551)

(368,932)

2,244,779 -

2,214,575 13,734

2,244,779 -

2,214,575 13,734

2,244,779

2,228,309

2,244,779

2,228,309

(0.10)

0.04

(0.01)

(0.17)

จำนวนหุ้นสามัญที่ออก ณ วันที่ 1 มกราคม ผลกระทบจากหุ้นที่ออกจำหน่ายในระหว่างปี จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ขั้นพื้นฐาน)

กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (ขั้นพื้นฐาน) (บาท)

2551

2552

2551

กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นปรับลด กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นปรับลดสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 คำนวณจากกำไร (ขาดทุน) สำหรับ ปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและจำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วระหว่างปีโดยถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักหลังจาก ที่ได้ปรับปรุงผลกระทบของหุ้นปรับลด แสดงการคำนวณดังนี้ (หน่วย : พันบาท/พันหุ้น)

กำไร (ขาดทุน) ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัท (ปรับลด) จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ขั้นพื้นฐาน) ผลกระทบจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ ที่ออกให้กรรมการและพนักงาน ของบริษัทและบริษัทย่อย จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ปรับลด) กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (ปรับลด) (บาท)

รายงานประจำปี 2552

งบการเงินรวม 2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2552

2551

(229,411)

78,328

(29,551)

(368,932)

2,244,779

2,228,309

2,244,779

2,228,309

-

8,233

-

8,233

2,244,779

2,236,542

2,244,779

2,236,542

(0.10)

0.04

(0.01)

(0.17)


131

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

3 3 . เ งิ น ปั น ผ ล ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไร เป็นเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.01 บาท เป็นจำนวนทั้งสิ้น 22.4 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2552

ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไร เป็นเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.06 บาท เป็นจำนวนทั้งสิ้น 133.3 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551

3 4 . เ ค รื่ อ ง มื อ ท า ง ก า ร เ งิ น นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุม่ บริษทั มีความเสีย่ งจากการดำเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลีย่ นแปลงอัตราดอกเบีย้ และอัตราแลกเปลีย่ นเงินตรา ต่างประเทศ และจากการไม่ปฏิบตั ติ ามข้อกำหนดตามสัญญาของคูส่ ญ ั ญา กลุม่ บริษทั ไม่มกี ารถือหรือออกเครือ่ งมือทางการ ที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกำไรหรือการค้า

การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนที่สำคัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีระบบในการควบคุมให้มีความสมดุล ของระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนที่เกิดจากความเสี่ยงและต้นทุนของการจัดการความเสี่ยง ฝ่ายบริหารได้มีการควบคุมกระบวนการการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมดุล ระหว่างความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ย ในตลาด ซึง่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกลุม่ บริษทั เนือ่ งจากดอกเบีย้ ของเงินกูย้ มื ส่วนใหญ่มอี ตั รา ดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืม (ดูหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 17) กลุ่มบริษัทได้ลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยทำให้แน่ใจว่าดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตรา ใกล้เคียงกับอัตราตลาดในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้และเงินให้กู้ยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำหนด ชำระหรือกำหนดอัตราใหม่มีดังนี้

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

132

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ภายใน 1 ปี

หลังจาก 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

หลังจาก 5 ปี

รวม

ปี 2552 เงินให้กู้ยืมแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 4.15 - 745,746 - 745,746 ปี 2551 เงินให้กู้ยืมแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 5.63 - 516,791 - 516,791

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของหนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำหนดชำระ หรือกำหนดอัตราใหม่มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินรวม ภายใน 1 ปี

หลังจาก 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

หลังจาก 5 ปี

รวม

ปี 2552 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 5, MLR-1.50, MLR-2.00, อัตรา เงินฝากประจำ ประเภท 6 เดือน + 2.00 904,450 4,881,150 2,784,317 8,569,917 ปี 2551 เงินกูย้ มื จากสถาบันการเงิน 5, MLR-1.50, MLR-1.75, MLR-2.00, อัตรา เงินฝากประจำ ประเภท 6 เดือน + 2.00 1,544,050 3,963,317 2,198,100 7,705,467 รายงานประจำปี 2552


133

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ภายใน 1 ปี

หลังจาก 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

หลังจาก 5 ปี

รวม

ปี 2552 เงินกู้ยืมจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 4.15 - 55,132 - 55,132 เงินกูย้ มื จากสถาบันการเงิน 5, MLR-1.50, MLR-2.00, อัตรา เงินฝากประเภท 6 เดือน + 2.00 523,200 3,307,400 2,063,500 5,894,100 รวม 523,200 3,362,532 2,063,500 5,949,232

ปี 2551 เงินกู้ยืมจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 5.63 - 24,745 - 24,745 เงินกูย้ มื จากสถาบันการเงิน 5, MLR-1.50, MLR-2.00, อัตรา เงินฝากประเภท 6 เดือน + 2.00 1,142,550 2,353,500 1,494,600 4,990,650 รวม 1,142,550 2,378,245 1,494,600 5,015,395

ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจหลักเป็นเงินบาท บริษัทไม่มีความเสี่ยงที่เป็นสาระสำคัญจากเงินตราต่างประเทศ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือ ความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้แก่กลุ่มบริษัท ตามเงื่อนไขที่ตกลง ไว้เมื่อครบกำหนด ฝ่ายบริหารได้กำหนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ำเสมอ โดยการ

วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่งๆ ณ วันที่รายงาน ไม่พบว่ามีความเสี่ยงจาก

สินเชื่อที่เป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงสูงสุดทางด้านสินเชื่อแสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละรายการ ในงบดุล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่าจะเกิดผลเสียหายที่มีสาระ สำคัญจากการเก็บหนี้ไม่ได้ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

134

ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง กลุ่มบริษัท มีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดให้เพียงพอต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และเพื่อทำให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง การกำหนดมูลค่ายุติธรรม สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดในระยะเวลาอันสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาวที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตรา ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด แสดงมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบดุล บริษัทและบริษัทย่อย ไม่มีการพิจารณามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่มากกว่า 1 ปี ซึ่งมีจำนวนไม่เป็น สาระสำคัญเมื่อเทียบกับจำนวนเงินกู้ทั้งหมด มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู ้ และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วิธีการ กำหนดมูลค่ายุติธรรมขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกำหนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือ กำหนดขึ้นโดยใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม การบริหารจัดการส่วนทุน นโยบายของคณะกรรมการคือการดำรงฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งเพื่อให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ และเพื่อ พัฒนาธุรกิจในอนาคต คณะกรรมการเฝ้าติดตามผลตอบแทนจากเงินลงทุน โดยพิจารณาจากผลของกิจกรรมการดำเนินงาน หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดโดยไม่รวมส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย และพิจารณาระดับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ ผู้ถือหุ้นสามัญ

3 5 . ภ า ร ะ ผู ก พั น ที่ มี กั บ บุ ค ค ล ห รื อ กิ จ ก า ร ที่ ไ ม่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น (หน่วย : ล้านบาท)

งบการเงินรวม

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ภายในหนึ่งปี 36.0 26.5 28.2 17.2 หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี 3.4 18.3 3.2 12.3 หลังจากห้าปี - 2.5 - รวม 39.4 47.3 31.4 29.5

รายงานประจำปี 2552


135

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

(หน่วย : ล้านบาท)

งบการเงินรวม

2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552

2551

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าระยะยาว ภายในหนึ่งปี 43.2 37.0 26.9 27.1 หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี 195.6 172.6 109.6 109.5 หลังจากห้าปี 2,224.2 2,240.7 1,906.5 1,933.9 รวม 2,463.0 2,450.3 2,043.0 2,070.5

ภาระผูกพันอื่นๆ ค้ำประกันวงเงินกู้และวงเงินสินเชื่อ 750.0 750.0 750.0 750.0 หนังสือค้ำประกันจากธนาคาร 31.0 30.8 22.4 20.2 รวม 781.0 780.8 772.4 770.2

ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุนจำนวนประมาณ 400.9 ล้านบาท

(31 ธันวาคม 2551 : 838.2 ล้านบาท และ 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา) ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้าง การออกแบบ

และตกแต่งภายใน ปรับปรุงห้องพัก และซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจการของโรงแรม สัญญาระยะยาว บริษัทและบริษัทย่อยมีสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวและสัญญาบริการต่างๆ กับบุคคลภายนอก บริษัทในประเทศ บริษัทในต่างประเทศ และหน่วยราชการ ดังต่อไปนี้ สัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาว บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าอาคารกับหน่วยราชการแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดเวลาเช่า 30 ปี

นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2530 โดยบริษัทย่อยต้องจ่ายค่าเช่ารายเดือนตามอัตราค่าเช่าในแต่ละปีตามที่ระบุในสัญญา อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ลงนามในสัญญารับทำการปรับปรุงอาคารและเช่าที่ดิน

ที่ปรับปรุงแล้ว ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะชำระค่าตอบแทนเป็นจำนวน 70.0 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อย ได้ชำระเงินดังกล่าวทั้งจำนวนแล้ว นอกจากนี้ บริษัทย่อยผูกพันที่จะชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนในอัตราค่าเช่าแต่ละปีตามที่ ระบุในสัญญามีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

136

บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินแปลงหนึ่งกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง มีกำหนด ระยะเวลาเช่า 30 ปี สิ้นสุดในปี 2564 โดยเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว บริษัทย่อยมีสิทธิต่ออายุสัญญาเช่าอีก 20 ปี บริษัทย่อยต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินในอัตราปีละ 10.9 ล้านบาท และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปี และเมื่อ

ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้ว อาคารและส่วนปรับปรุงบนที่ดินเช่า รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง เครื่องมือเครื่องใช้

ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินกิจการโรงแรมจะตกเป็นของผู้ให้เช่า บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารโรงแรมและอาคารสำนักงานภายใต้สัญญาเช่า 2 ฉบับจากผู้ให้เช่า ตามสัญญานี้ บรรดาสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่า รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่งและเครื่องมือเครื่องใช้

ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินการตามโครงการจะตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีเมื่ออายุของสัญญาเช่าสิ้นสุดลง บริษัทย่อยผูกพัน

ที่จะชำระค่าเช่าที่ดินในอัตราปีละ 24.3 ล้านบาท (สำหรับปี 2548 - 2557) และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปี

ซึ่งสัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดในปี 2568 ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาเช่า บริษัทย่อยจะต้องรับภาระจ่าย

ค่าตอบแทนการเช่า และเงินประกันการจ่ายค่าเช่า ดังนี้ 1. ค่าตอบแทนการเช่าจำนวน 360.0 ล้านบาท จะชำระภายในปีที่ 30 ของการเช่า ซึ่งได้บันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งใน

“เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่าที่ดิน” ในงบดุลรวม 2. เงินประกันการจ่ายค่าเช่าจำนวน 180.0 ล้านบาท บริษัทย่อยได้จ่ายเงินประกันดังกล่าวเต็มจำนวนแล้ว ซึ่งจะ

ได้รับคืนในปีที่ 30 ของการเช่าและได้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของ “เงินมัดจำการเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์”

ในงบดุลรวม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2545 บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นที่ตั้งของอาคารโรงแรมเพื่อต่ออายุ สัญญาเช่า ซึ่งตามสัญญาเดิมได้ระบุให้ผู้เช่าสามารถขอต่ออายุสัญญาเช่าได้อีกเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุแล้ว บริษัทย่อย ตกลงเช่าที่ดินโดยมีกำหนดระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันที่ 24 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 23 มกราคม 2588 โดยบริษัทย่อย

ต้องจ่ายค่าตอบแทนการเช่าจำนวน 216.1 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยได้ชำระเงินดังกล่าวทั้งจำนวนแล้ว

นอกจากค่าตอบแทนการเช่าดังกล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระค่าเช่าที่ดินดังนี้

ค่าเช่าสำหรับปี 2568 ถึงปี 2577 ในอัตราปีละ 44.7 ล้านบาท หรือในอัตราที่คำนวณจากอัตราเฉลี่ยของดัชนีราคา

ผู้บริโภคทั่วไปของประเทศไทยแล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า ค่าเช่าสำหรับปี 2578 ถึงปี 2588 ในอัตราปีละ 89.4 ล้านบาท หรือในอัตราทีค่ ำนวณจากอัตราเฉลีย่ ของดัชนีราคา

ผูบ้ ริโภคทั่วไปของประเทศไทยแล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทย่อยได้โอนภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวให้แก่บริษัทตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 4

รายงานประจำปี 2552


137

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับบุคคลภายนอก มีกำหนดระยะ เวลาเช่า 22 ปี 10 เดือน สิ้นสุดในปี 2568 ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทย่อยตกลงชำระค่าตอบแทนการเช่าโดยแบ่งจ่าย

เป็น 3 งวด รวมเป็นเงิน 32.8 ล้านบาท บริษัทย่อยได้จ่ายชำระค่าตอบแทนการเช่างวดแรกและงวดที่สองเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวน 23.2 ล้านบาท ยอดคงเหลือจำนวน 9.6 ล้านบาท มีกำหนดชำระในปี 2568 นอกจากนี้ บริษัทย่อยต้องจ่าย

ค่าเช่าที่ดินในระยะเวลา 3 ปีแรก ในอัตราปีละ 0.8 ล้านบาท และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปีต่อไป และเมื่อ ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้ว สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่ารวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีส่วนสำคัญ

ในการดำเนินการจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทย่อยได้โอนภาระผูกพันตามสัญญา

ดังกล่าวให้แก่บริษัทตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับมูลนิธิแห่งหนึ่งเพื่อทำการปรับปรุงพัฒนาที่ดินและ

ดำเนินการก่อสร้างอาคาร ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 100,000 บาท สัญญากำหนดให้วันเริ่มต้นการเช่าและการจ่ายค่าเช่าคือในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป และให้มี การปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปี ซึ่งสัญญาเช่ามีกำหนดระยะ 30 ปี สิ้นสุดในปี 2577 และเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุแล้ว จะขอต่อสัญญาเช่าได้อีก โดยบริษัทย่อยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน

2 ปีก่อนครบกำหนดสัญญาเช่า และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้ว อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดบนที่ดินดังกล่าว จะตกเป็นของผู้ให้เช่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 บริษัทได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับบุคคลภายนอกมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดในปี 2581 ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทตกลงชำระค่าตอบแทนการเช่าเป็นจำนวน 25.0 ล้านบาท บริษัทได้จ่ายชำระ

ค่าตอบแทนการเช่าดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ บริษัทต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินในระยะเวลา 3 ปีแรก ในอัตราปีละ 1.2 ล้านบาท และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุก 3 ปี และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งที่ไม่ สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งหมดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 บริษัทได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับบุคคลภายนอกมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดในปี 2582 ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทตกลงชำระค่าตอบแทนการเช่าเป็นจำนวน 53.0 ล้านบาท บริษัทได้จ่ายชำระ

ค่าตอบแทนการเช่าดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ บริษัทต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินในระยะเวลา 3 ปีแรก ในอัตราปีละ 0.4 ล้านบาท และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุก 3 ปี และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งที่ไม่ สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งหมดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

138

สัญญาบริหารโรงแรม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2531 บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) ได้ทำสัญญากับบริษัทหลายแห่งในกลุ่ม

ของบริษัท ไฮแอท อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยบริษัทคู่สัญญาดังกล่าวจะให้บริการต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับ งานก่อสร้างและบริหารโรงแรมของบริษัทย่อยแห่งนั้น ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะจ่ายค่าธรรมเนียม

การจัดการ ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิและค่าใช้จ่ายปันส่วนด้านการตลาดและส่งเสริมการขายแก่บริษัทคู่สัญญาตามอัตรา

ที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาการจัดการจะมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการโรงแรม และมีสิทธิต่ออายุสัญญา

ได้อีกอย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำกัด ได้ทำสัญญาการจัดการกับบริษัทหลายแห่งในกลุ่ม

ของ Marriott Worldwide Corporation (“Marriott”) เพื่อว่าจ้างให้ “Marriott” เป็นผู้บริหารงานกิจการโรงแรมของบริษัทย่อย ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะเวลาและ

ตามวิธีการคำนวณที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2575 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทย่อยได้โอนภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวให้แก่บริษัทตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 บริษัท เอราวัณ ราชดำริ จำกัด และบริษัท เอราวัณ สมุย จำกัด ได้ทำบันทึก ข้อตกลงกับกลุ่มของบริษัทในเครือ Marriott (“Marriott”) เพื่อว่าจ้างให้ “Marriott” เป็นผู้บริหารงานกิจการโรงแรมของ บริษัทย่อยให้เป็นโรงแรมตามมาตรฐานของ Courtyard by Marriott และ Renaissance Hotel ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะเวลาและตามวิธีการคำนวณที่ระบุ ไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมมีระยะเวลา 30 ปี นับตัง้ แต่เริม่ เปิดดำเนินกิจการโรงแรม และมีสทิ ธิตอ่ อายุสญ ั ญานี้ ได้อีกอย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุในสัญญา ในเดือนธันวาคม 2548 บริษัทได้ทำสัญญากับ Intercontinental Hotels Group เพื่อบริหารโรงแรมภายใต้แบรนด์

Holiday Inn ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่พัทยา โดยบริษัทผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะ เวลาและตามวิธีการคำนวณที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมมีระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินกิจการ

โรงแรม และมีสิทธิต่ออายุสัญญานี้ได้อีก 5 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุในสัญญา ในเดือนมิถุนายน 2549 บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำกัด ได้ทำสัญญากับกลุ่มของบริษัทในเครือ Six Senses โดยบริษัท

คู่สัญญาดังกล่าวจะให้บริการด้านการบริหารรีสอร์ทของบริษัทย่อย ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะจ่าย

ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาจะมีอายุ 30 ปี นับตั้งแต่วันที่รีสอร์ทเริ่มเปิดดำเนินการ และ

มีสิทธิต่ออายุสัญญาได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุไว้ในสัญญา

รายงานประจำปี 2552


139

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ในเดือนมิถุนายน 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2551 บริษัทและบริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำกัด ได้ทำสัญญาเพื่อว่าจ้าง ให้ Accor Group เป็นผู้บริหารงานกิจการโรงแรมของบริษัทและบริษัทย่อยจำนวน 10 แห่ง ภายใต้แบรนด์ ibis ซึ่งมี ที่ตั้งในประเทศไทย โดยบริษัทและบริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะเวลาและตามวิธีการคำนวณที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมมีระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่เริ่มเปิด ดำเนินกิจการโรงแรม และมีสทิ ธิตอ่ อายุสญ ั ญานีไ้ ด้อกี 5 ปี ทัง้ นีต้ อ้ งขึน้ อยูก่ บั เงือ่ นไขบางประการทีร่ ะบุในสัญญา ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมระยะเวลาสัญญาจาก 15 ปี เป็น 20 ปี

3 6 . ห นี้ สิ น ที่ อ า จ เ กิ ด ขึ้ น

คดีฟ้องร้อง

ก) ในปี 2551 บริษัทได้ถูกบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเคยเป็นลูกค้าในอาคารให้เช่าฟ้องร้องเรียกคืนเงินประกันการเช่า

ที่บริษัทนำไปหักกับค่าไฟฟ้าค้างชำระเป็นจำนวนเงินประมาณ 1.3 ล้านบาท ขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการสืบพยาน

ซึ่งผลของคดียังไม่เป็นที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทคาดว่าบริษัทจะไม่ได้รับผลเสียหายจากคดี

ฟ้องร้องดังกล่าว ข) ในปี 2552 บริษัทได้รับหมายเรียกของศาลตามคำร้องของจำเลยที่ร้องขอต่อศาลให้บริษัทเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดี

ที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายหนึ่งฟ้องร้องเจ้าของทรัพย์สินเดิมที่ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า

ดังกล่าวให้บริษัทต่อศาลแพ่งในข้อหาผิดสัญญาเช่า และเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินประมาณ 79.4 ล้านบาท ขณะนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งผลของคดียังไม่เป็นที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษากฎหมาย

ของบริษัทคาดว่าบริษัทจะไม่ได้รับผลเสียหายจากคดีฟ้องร้องดังกล่าว

3 7 . เ ห ตุ ก า ร ณ์ ภ า ย ห ลั ง ร อ บ ร ะ ย ะ เ ว ล า ที่ ร า ย ง า น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ งดจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2552

3 8 . ม า ต ร ฐ า น ก า ร บั ญ ชี ที่ ยั ง ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจาก ยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่นี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี

ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

มาตรฐานการบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552)

เรื่อง

ปีที่มีผลบังคับใช้

การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (ฉบับ 47 เดิม) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

2554

140

2554

ขณะนี้ผู้บริหารกำลังพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวต่อ งบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ

3 9 . ก า ร จั ด ป ร ะ เ ภ ท ร า ย ก า ร ใ ห ม่ รายการในงบการเงินของปี 2551 บางรายการได้จัดประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับรายการในงบการเงินของปี 2552 ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

2551 งบการเงินรวม ก่อนจัด ประเภท ใหม่

จัด ประเภท ใหม่

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจัด ประเภท ใหม่

ก่อนจัด ประเภท ใหม่

จัด ประเภท ใหม่

งบดุล ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน - 216,159 216,159 - 92,849 เงินทดรองจ่ายค่าก่อสร้าง - 62,237 62,237 - 57,989 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 342,309 (278,396) 63,913 166,895 (150,838) เงินลงทุนในบริษัทร่วม 544 (206) 338 544 (206) เงินลงทุนในกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 2,809 206 3,015 2,105 206 เงินมัดจำการเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - 204,879 204,879 - 203,513 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 236,258 (204,879) 31,379 230,330 (203,513) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง 279,917 (279,917) - 178,475 (178,475) เจ้าหนี้การค้า - บริษัทย่อย - - - 223 (223) เจ้าหนี้การค้า - 134,916 134,916 - 58,354 เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง - 145,001 145,001 - 120,344 - รายงานประจำปี 2552

หลังจัด ประเภท ใหม่ 92,849 57,989 16,057 338 2,311 203,513 26,817 58,354 120,344


141

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

(หน่วย : พันบาท)

2551 งบการเงินรวม ก่อนจัด ประเภท ใหม่

จัด ประเภท ใหม่

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจัด ประเภท ใหม่

ก่อนจัด ประเภท ใหม่

จัด ประเภท ใหม่

หลังจัด ประเภท ใหม่

งบกำไรขาดทุน กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน - 4,211 4,211 - 2,577 2,577 เงินปันผลรับ - 2,441 2,441 - 172,438 172,438 ดอกเบี้ยรับ - 746 746 - 17,059 17,059 รายได้อื่น 36,983 (7,398) 29,585 218,664 (192,074) 26,590 ต้นทุนขายและต้นทุนทางตรงในการให้เช่า และบริการ 1,454,679 (1,454,679) - 673,939 (673,939) ต้นทุนจากการประกอบกิจการโรงแรม - 1,298,268 1,298,268 - 512,036 512,036 ต้นทุนจากการให้เช่าห้องในอาคาร และค่าบริการที่เกี่ยวข้อง - 156,411 156,411 - 161,903 161,903 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 748,858 (47,436) 701,422 323,420 (45,312) 278,108 ค่าใช้จ่ายอี่น 115 (115) - 184 (184) ค่าตอบแทนผู้บริหาร - 47,551 47,551 - 45,496 45,496 - -

การจัดประเภทรายการใหม่นี้เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทรายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 30 มกราคม 2552 และเพื่อความเหมาะสมกับธุรกิจของ กลุ่มบริษัท

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

142

ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

บ ริ ษั ท ดิ เ อ ร า วั ณ ก รุ๊ ป จ ำ กั ด ( ม ห า ช น ) “ E R A W A N ” ทะเบียนเลขที่ 0107537001943 สำนักงานใหญ่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ชั้น 6 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2257 4588 โทรสาร : 66 (0) 2257 4577 สำนักงานสาขาที่ 1 อาคารเอราวัณ แบงค็อก เลขที่ 494 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 66 (0) 2250 7777 โทรสาร : 66 (0) 2250 7788 สำนักงานสาขาที่ 2 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ เลขที่ 4 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2656 7700 โทรสาร : 66 (0) 2656 9831 สำนักงานสาขาที่ 3 โรงแรมไอบิส ป่าตอง ภูเก็ต เลขที่ 10 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำบลป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต 83150 โทรศัพท์ : 66 (0) 7630 3888 โทรสาร : 66 (0) 7630 3889 สำนักงานสาขาที่ 4 โรงแรมไอบิส พัทยา เลขที่ 463/79 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ : 66 (0) 3841 8188 โทรสาร : 66 (0) 3841 8189 สำนักงานสาขาที่ 5 โรงแรมไอบิส สมุย เลขที่ 197 ถนนรอบเกาะ ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84320 โทรศัพท์ : 66 (0) 7791 4888 โทรสาร : 66 (0) 7791 4889 รายงานประจำปี 2552

สำนักงานสาขาที่ 6 โรงแรมไอบิส สาทร เลขที่ 29/9 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 66 (0) 2610 5188 โทรสาร : 66 (0) 2610 5189 สำนักงานสาขาที่ 7 โรงแรมไอบิส นานา เลขที่ 41 ซอยสุขุมวิท 4 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2667 5888 โทรสาร : 66 (0) 2667 5889 สำนักงานสาขาที่ 8 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เลขที่ 463/68 ถนนพัทยาสาย 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ : 66 (0) 3872 5555 โทรสาร : 66 (0) 3872 5556 สำนักงานสาขาที่ 9 โรงแรมไอบิส กะตะ เลขที่ 88/8 ถนนกะตะ ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83100 โทรศัพท์ : 66 (0) 7636 3488 โทรสาร : 66 (0) 7636 3489 โฮมเพจ www.TheErawan.com


143

ข้หมายเหตุ อมูลทั่วไปประกอบงบการเงิน

“Suc c e ss wit h Int e g r i ty”

ประเภทธุรกิจ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุนพัฒนาและดำเนินธุรกิจ โรงแรมที่เหมาะสมกับทำเลและสถานที่ตั้งและกลุ่ม เป้าหมายเป็นธุรกิจหลัก โดยมีธุรกิจอื่นได้แก่ ธุรกิจให้ เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน และร้านค้า ทุนของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ

2,244,779,001 บาท 2,244,779,001 หุ้น 1 บาท

ทุนชำระแล้ว หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ

2,244,779,001 บาท 2,244,779,001 หุ้น 1 บาท

บุ ค ค ล อ้ า ง อิ ง อื่ น ๆ

1. นายทะเบียนหุ้นสามัญ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2359 1200-02 โทรสาร : 66 (0) 2359 1259 2. ผู้สอบบัญชี • นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4068 • นางสาวบุญศรี โชติไพบูลย์พันธ์ุ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3756 • นางสาววรรณาพร จงพีรเดชานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4098 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ชั้น 48 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 66 (0) 2677 2000 โทรสาร : 66 (0) 2677 2222

ส ำ นั ก ง า น ใ ห ญ่ • บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ชั้น 6 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2257 4588 โทรสาร : 66 (0) 2257 4577 www.TheErawan.com

ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม

• แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ เลขที่ 494 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 66 (0) 2254 1234 โทรสาร : 66 (0) 2254 6267 www.bangkok.grand.hyatt.com • เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ เลขที่ 4 ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2656 7700 โทรสาร : 66 (0) 2656 7711 www.marriott.com/bkkdt • เรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา เลขที่ 208/1 หมู่ที่ 4 ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84310 โทรศัพท์ : 66 (0) 7742 9300 โทรสาร : 66 (0) 7742 9333 www.marriott.com/usmbr • ซิกเซ้นท์ เดสทิเนชั่น สปา ภูเก็ต เลขที่ 32 หมู่ที่ 5 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 โทรศัพท์ : 66 (0) 7637 1400 โทรสาร : 66 (0) 7637 1401 www.sixsenses.com บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุประกอบงบการเงิ ข้อมูลทั่วไปน

• คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ เลขที่ 155/1 ซอยมหาดเล็กหลวง 1 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 66 (0) 2690 1888 โทรสาร : 66 (0) 2690 1899 www.courtyard.com/bkkcy

• ไอบิส สาทร เลขที่ 29/9 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 66 (0) 2610 5188 โทรสาร : 66 (0) 2610 5189 www.ibishotel.com

• ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เลขที่ 463/68 ถนนพัทยาสาย 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ : 66 (0) 3872 5555 โทรสาร : 66 (0) 3872 5556 www.holidayinn.com/pattaya

• ไอบิส นานา เลขที่ 4 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2667 5888 โทรสาร : 66 (0) 2667 5889 www.ibishotel.com

• ไอบิส ป่าตอง เลขที่ 10 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำบลป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต 83150 โทรศัพท์ : 66 (0) 7630 3888 โทรสาร : 66 (0) 7630 3889 www.ibishotel.com

• ไอบิส กะตะ เลขที่ 88/8 ถนนกะตะ ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83100 โทรศัพท์ : 66 (0) 7636 3488 โทรสาร : 66 (0) 7636 3489 www.ibishotel.com

• ไอบิส พัทยา เลขที่ 463/79 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ : 66 (0) 3841 8188 โทรสาร : 66 (0) 3841 8189 www.ibishotel.com • ไอบิส สมุย เลขที่ 197 ถนนรอบเกาะ ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84320 โทรศัพท์ : 66 (0) 7791 4888 โทรสาร : 66 (0) 7791 4889 www.ibishotel.com

รายงานประจำปี 2552

ธุ ร กิ จ พื้ น ที่ ใ ห้ เ ช่ า • อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2656 8600-4 โทรสาร : 66 (0) 2656 9899 • อาคารเอราวัณ แบงค็อก เลขที่ 494 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 66 (0) 2250 7777 โทรสาร : 66 (0) 2250 7788 www.erawanbangkok.com

144


4

1 2

3

6

5 7

8

9

10 11 12

1. ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม 2. ตลาดโบราณบางพลี จ.สมุทรปราการ 3. ตลาดร้อยปีสามชุก จ.สุพรรณบุรี

4. ตลาดเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี 5. ตลาดน้ำตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 6. ตลาดเก่าอ่างศิลา จ.ชลบุรี

Designed by Plan Grafik Tel. : 0 2237 0080 # 300

12 Destinations of Traditional Thai Market

7. กาดกองต้า จ.ลำปาง 8. ตลาดนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร 9. เยาวราช กรุงเทพมหานคร

10. ตลาดเก่าตะกั่วป่า จ.พังงา 11. ตลาดคลองสวน 100 ปี จ.สมุทรปราการ 12. ตลาดบ้านใหม่ จ.ฉะเชิงเทรา


รายงานประจำปี 2552

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บ ริ ษั ท ดิ เ อ ร า วั ณ ก รุ๊ ป จ ำ กั ด ( ม ห า ช น )

ชั้น 6 อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2257 4588 โทรสาร : 66 (0) 2257 4577 ทะเบียนเลขที่ 0107537001943 www.TheErawan.com

รายงานประจำปี 2552

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.