archmsu2023thesis_Chanissara_01

Page 1

สถาบันนิติเวชวิทยาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชนิสรา ศรีหารัตน์

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปีการศึกษา 2566

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปีการศึกษา 2566

สถาบันนิติเวชวิทยาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนิสรา ศรีหารัตน์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

INSTITUTE FOR FORENSIC MEDICINE OF NORTH-EASTERN REGION

CHANISSARA SRIHARAT

A THESIS IS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE BACHELOR DEGREE IN ARCHITECTURE

MAJOR ARCHITECTURE

FACULTY OF ARCHITECTURE, URBAN DESIGN AND CREATIVE ARTS

MAHASARAKHAM UNIVERSITY 2023

ABSTRACT

Nowadays, there are many criminal cases involving unnatural deaths that require forensic methods to help find the truth. However, existing forensic departments are not sufficient to support autopsy and examine evidence for cases occurring throughout the northeastern region. The Northeastern Institute of Forensic Medicine was proposed for performing complete autopsies and investigations for unnatural deaths. Moreover, the institute can provide information and services for people in the northeastern region and forensic advice for relatives of the deceased. The place can be considered as a learning center for students in related fields.

This thesis collecteddata from field visits and interviews with case studies within the country. Information from public health agencies and industrial product standards were used to determine access pattern of the project. Building function was planned by activity category Access to different type of area controlled according to priority of building users. Furnitures were arranged in the appropriate position. Moreover, the highlights of the building in the case study were analyzed to find a way to propose a new image of the Forensic Science Institute building that was different from the former design.

The architectural details of the Northeastern Institute of Forensic Medicine building are as follows:

1. The nature of the project is an office building and laboratory building regarding forensic medicine and science. The main components are divided into two parts: the autopsy section and the scientific laboratory section, with the total floor area of 5,619 square meters.

2. The project site is a 10,303.60 square meters private sector land located on Mitraphap Road, Nai Mueang Subdistrict, Mueang Khon Kaen District. Khon Kaen Province where close to Ratchaphruek Hospital, Bangkok Hospital Khon Kaen and Evidence Center 4 It is convenient for public access and corpses transportation in order to reduce the delivery time that affects the integrity of the evidence.

3. The project concept is “the death is the truth of life” The design aims to change the perspective of most building users who have a bias towards death as depressing to become a positive for attitude towards helping unnatural deceased to receive justice in the form of "truth" proving. It will be considered that the unnatural death has returned to normal.

4. The Institute of Forensic Medicine building is a two floors operation building. The first floor has a separate area for the coroner. The people who come for each area of services are separated by open green areas. The second floor is a full laboratory space. There is a witness room for distributing witnesses to various departments. A large multi-purpose area in front of the building is provided for staffs in the Forensic Science Institute to organize joint activities. The system rooms are used to divide staff parking area from the public There are many factors to consider for designing buildings for forensic medical work. Some factors are quite specific and sensitive, such as data access security, which requires specific areas and strict security systems to limit access. The needs of sterile cleanliness make the autopsy room design similar to an operating room. Control of chemicals in the air affects building material selection, building structure and planning. The use of light and color can not only heal users according to psychological principles but also create awareness and a good perspective among building users towards the activities being carried out.

วิทยานิพนธ์สถาบันนิติเวชวิทยาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำเร็จลุล่วงด้วยดีเนื่องจากได้รับความ อนุเคราะห์จากอาจารย์ยรรยง ทุมแสง พันตำรวจโทหญิง สายธาร สุขเกษม และ อาจารย์สกลกิจ ที่ได้เสียสละเวลาใน การให้ความรู้ คำปรึกษา และให้กำลังใจทุกครั้งที่เล่ารายละเอียดถึงความก้าวหน้าของการออกแบบให้ฟัง ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมฤต หมวดทอง ที่เสียสละเวลาในการให้คำปรึกษา

มอบคำแนะนำที่เป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจอันมีค่า

ขอขอบคุณครอบครัวที่สนับสนุนในเรื่องการเดินทางไปศึกษากรณีศึกษาและงบประมาณในการทำ วิทยานิพนธ์

ขอขอบคุณเพื่อนร่วมทำวิทยานิพนธ์ทุกคนที่สร้างแรงผลักดันในการทำงานให้เสมอ ท้ายที่สุดขอบคุณตัวข้าพเจ้าที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สร้างแรงผลักดัน และสร้างกำลังใจให้ตัวเองอย่างดีเสมอ มาข้าพเจ้าหวังว่าวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่มีความสนใจและเป็น จุดเริ่มต้นที่ดีในการเชื่อมโยงนิติเวชศาสตร์เข้ากับงานสถาปัตยกรรม

กิตติกรรมประกาศ
ง สารบัญ บทคัดย่อ ก ABSTRACT ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ................................................................................................................................................................... ง สารบัญรูปภาพ ฉ สารบัญตาราง ฌ สารบัญแผนผัง ญ บทที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์โครงการ 2 1.3 วัตถุประสงค์การศึกษา 2 1.4 ขอบเขตโครงการ 2 1.5 ขอบเขตการศึกษา 2 1.6 ระเบียบวิธีและขั้นตอนการศึกษา 3 1.7 ข้อจำกัดในการศึกษา 3 1.8 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 1.9 ระยะเวลาการทำงาน 4 บทที่ 2 วรรณกรรมและกรณีศึกษา 5 2.1 การทบทวนวรรณกรรม 5 2.2 กรณีศึกษาอาคารตัวอย่าง 10 บทที่ 3 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการ 18 3.1 ความเป็นไปได้ด้านนโยบายและแผน 18 3.2 ความเป็นไปได้ด้านผู้ใช้สอยโครงการและความต้องการพื้นที่ใช้สอย 18 3.3 ความเป็นไปได้ด้านแนวคิดและจินตภาพโครงการ ......................................................................................18 3.4 ความเป็นไปได้ด้านกฎหมาย 19 3.5 ความเป็นไปได้ด้านทำเลที่ตั้งโครงการ 20 บทที่ 4 รายละเอียดโครงการ 22 4.1 การวิเคราะห์ผู้ใช้สอยโครงการและสภาพแวดล้อมที่ต้องการ 22 4.2 การวิเคราห์ขนาดและจำนวนพื้นที่ใช้สอย 23 4.3 การวิเคระห์ความสัมพันธ์และการจัดกลุ่มพื้นที่ใช้สอยโครงการ 26 4.4 การวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยีอาคาร 26 บทที่ 5 การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ 27 5.1 เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ 27
จ 5.2 การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ 34 บทที่ 6 แนวคิดและผลงานการออกแบบ 35 6.1 แนวความคิดและประเด็นในการออกแบบ .................................................................................................35 6.2 การนำเสนอผลงานการออกแบบครั้งที่ 1...................................................................................................37 6.3 การนำเสนอผลงานการออกแบบร่างครั้งที่ 2 38 6.4 ผลการออกแบบขั้นสมบูรณ์ 43 บทที่ 7 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 51 7.1 สรุปผลการศึกษา 51 7.2 ข้อเสนอแนะ 52 เอกสารอ้างอิง 54 ประวัติผู้เขียนวิทยานิพนธ์ 56

สารบัญรูปภาพ

รูปภาพ 1 สถิติคดีความที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ปี 2564 1

รูปภาพ 2 แผนภาพการดำเนินงานของหน่วยงานสถาบันนิติเวช 2

รูปภาพ 3 แผนภาพแสดงขั้นตอนการส่งศพจนถึงการส่งต่อให้หน่วยงานนิติเวช

5 รูปภาพ 4 แผนภาพการจัดการการระบายอากาศในห้องชันสูตร 6 รูปภาพ 5 ตู้แช่ศพแบบลิ้นชักแยก 9 รูปภาพ 6 แผงควบคุมระบบการทำความเย็น 9 รูปภาพ 7 ที่ดูดอากาศจากภายในตู้ออก 9 รูปภาพ 8 การวางตัวของอาคารสถาบันนิติเวชกับอาคารอื่นๆ ................................................................................. 10 รูปภาพ 9 การแบ่งZoningในสถาบันนิติเวช 11 รูปภาพ 10 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 1 11
11 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 2 11 รูปภาพ 12 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 3 ..................................................................................................... 12 รูปภาพ 13 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 4 12 รูปภาพ 14 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 12 รูปภาพ 15 ภาพถ่ายดาวเทียมแผนกนิติเวช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 13 รูปภาพ 16 แผนผังอาคารแผนกนิติเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 13 รูปภาพ 17 เตียงชันสูตร 14 รูปภาพ 18 ลักษณะการเก็บอุปกรณ์ในห้องชันสูตร 14 รูปภาพ 19 ตู้เก็บศพ 14 รูปภาพ 20 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคาร Netherlands Forensic Institute 15 รูปภาพ 21 ภาพแสดงผังบริเวณและผังพื้นชั้นที่ 1 อาคารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ (NFI) 15 รูปภาพ 22 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคาร Legal Medicine Institute of Granada 15 รูปภาพ 23 ภาพแสดงผังบริเวณและผังพื้น สถาบันการแพทย์ทางกฎหมายแห่งกรานาดา 16 รูปภาพ 24 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคาร Philadelphia Forensic Science Center 16 รูปภาพ 25 ภาพแสดงผังพื้นชั้นที่ 1 ศูนย์วิทยาศาสตร์นิติวิทยาศาสตร์ฟิลาเดลเฟีย .................................................. 17 รูปภาพ 26 ลานอเนกประสงค์ให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ 18 รูปภาพ 27 กราฟแสดงสถิติการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิติ ร่างกายและเพศ พ.ศ. 2564 20 รูปภาพ 28 แผนที่ประเทศไทย 20 รูปภาพ 29 5 อันดับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ 2564 20 รูปภาพ 30 แผนที่จังหวัดขอนแก่น 21 รูปภาพ 31 แผนที่จังหวัดขอนแก่น 21 รูปภาพ 32 เขตอำเภอเมืองขอนแก่น 27 รูปภาพ 33 จุดที่ตั้งของที่ดินสำหรับเลือกที่ตั้งโครงการ 27 รูปภาพ 34 เส้นทางถนนมิตรภาพและประเภทที่ดินย่านถนนมิตรภาพหน้าบ้าน 28 รูปภาพ 35 เส้นทางถนนมิตรภาพและประเภทที่ดินย่านถนนมิตรภาพหน้าบ้านและถนนมะลิวัลย์ 29 รูปภาพ 36 เส้นทางถนนมิตรภาพและประเภทที่ดินย่านถนนศรีจันทร์ 30
รูปภาพ
ช รูปภาพ 37 พื้นที่ที่เหลือที่สามารถเลือกได้ 31 รูปภาพ 38 ที่ตั้งโครงการที่สามารถเลือกได้ 32 รูปภาพ 39 ตัวเลือกที่ตั้งโครงการตัวเลือกที่ 1 32
40 ตัวเลือกที่ตั้งโครงการตัวเลือกทที่ 2 ...................................................................................................... 33 รูปภาพ 41 รูปแปลงที่ดินที่ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งโครงการ 34 รูปภาพ 42 ภาพที่ตั้งโครงการฝั่งทิศตะวันออก 34 รูปภาพ 43 หมู่บ้านไทยสมุทรและโรงพยาบาลราชพฤกษ์ 34 รูปภาพ 44 เส้นแสดงความต่อเนื่องของช่วงชีวิต..................................................................................................... 35 รูปภาพ 45 เส้นแสดงความต่อเนื่องของช่วงชีวิตที่ผิดปกติ 35 รูปภาพ 46 เส้นแสดงความต่อเนื่องของช่วงชีวิต 35 รูปภาพ 47 Electrocardiograph (EKG) 36 รูปภาพ 48 รูปสามมิติของฟาสาดในโครงการ 36 รูปภาพ 49 Script การเขียนฟาสาดของอาคาร 36 รูปภาพ 50 ผังพื้นชั้นที่ 1 37 รูปภาพ 51 ผังพื้นชั้นที่ 2 37 รูปภาพ 52 ผังพื้นชั้นที่ 3 37 รูปภาพ 53 การปรับทิศทางการวางอาคาร 38 รูปภาพ 54 การวางZoningและMassอาคาร..................... 38 รูปภาพ 55 การจัดวางCirculation ระหว่างญาติและศพ 38 รูปภาพ 56 ย้ายฝ่ายอำนวยการลงมาชั้น 2 39 รูปภาพ 57 การแบ่งMassอาคารออกเป็นก้อนย่อยๆ 39 รูปภาพ 58 การแบ่งการเข้าถึงด้วยระดับพื้น 39 รูปภาพ 59 พื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นตามบริเวณต่างๆของโครงการ 40 รูปภาพ 60 ผังพื้นชั้น 1 ......................................................................................................................................... 41 รูปภาพ 61 ผังพื้นชั้น 2 41 รูปภาพ 62 รูปตัดและตำแหน่งของโครงสร้างอาคารที่ใช้ในโครงการ 42 รูปภาพ 63 รูปด้าน 42 รูปภาพ 64 การเปิดคอร์ดสร้างพื้นที่สีเขียวและรับแสงธรรมชาติ 43 รูปภาพ 65 ผลการออกแบบผังพื้นชั้น 1 ขั้นสมบูรณ์ 43 รูปภาพ 66 ผลการออกแบบผังพื้นชั้น 2 ขั้นสมบูรณ์ 44 รูปภาพ 67 รูปตัด1 และ 2 44 รูปภาพ 68 รูปด้านหน้าโครงการ 45 รูปภาพ 69 รูปด้านข้างโครงการ ซอยเทพผาสุก 45 รูปภาพ 70 รูปด้านข้างโครงการ (ฝั่งตึกไทยสมุทร) 45 รูปภาพ 71 รูปด้านหลังโครงการ 45 รูปภาพ 72 ทัศนียภาพเมื่อมองจากภายนอกโครงการ 45 รูปภาพ 73 ทัศนียภาพทางเข้าหลักของโครงการ .................................................................................................... 46 รูปภาพ 74 ทัศนียภาพลานอเนกประสงค์ 46 รูปภาพ 75 พื้นที่ห้องประชาสัมพันธ์และโถงพักคอยสำหรับประชาชน 46
รูปภาพ
ซ รูปภาพ 76 พื้นที่ทางเดินสำหรับเจ้าหน้าที่ 47 รูปภาพ 77 คอร์ดกลางสำหรับพักผ่อนของเจ้าหน้าที่ 47 รูปภาพ 78 โถงทางเดินสำหรับเจ้าหน้าที่ 47 รูปภาพ 79 พื้นที่รับประทานอาหาร....................................................................................................................... 48 รูปภาพ 80 ทางเดินเชื่อมไปห้องLABแผนกต่างๆ 48 รูปภาพ 81 โถงเชื่อมห้องตรวจรับวัตถุพยานและLAB 48 รูปภาพ 82 ห้องปฏิบัติการ 49 รูปภาพ 83 ห้องสังเกตการณ์ ................................................................................................................................. 49 รูปภาพ 84 ห้องชันสูตร 50 รูปภาพ 85 ห้องสำหรับประกอบพิธีและระบุตัวศพ 50
ฌ สารบัญตาราง ตาราง 1 แสดงผู้ใช้งานประเภทต่างๆและความต้องการของพื้นที่ 18 ตาราง 2 แสดงแผนกและกิจกรรมของผู้ใช้งานผู้ใช้งานประเภทต่างๆ 22 ตาราง 3 สรุปพื้นที่ใช้สอยในโครงการทั้งหมด 26 ตาราง 4 การให้คะแนนการเลือกย่านที่จะเป็นที่ตั้งโครงการ 31 ตาราง 5 การให้คะแนนการเลือกที่ดินที่จะเป็นที่ตั้งโครงการ 33
ญ สารบัญแผนผัง แผนผัง 1 โครงสร้างองค์กรของสถาบันนิติเวชวิทยา......................................................................................... ............23 แผนผัง 2 แสดงการจัดกลุ่มพื้นที่ใช้งานและเข้าถึงพื้นที่ของผู้ใช้งานแต่ละประเภท 26 แผนผัง 3 โซนการวางอาคาร 38 แผนผัง 4 การจัดการCirculation ญาติ-ศพ..................................................................................................................38 แผนผัง 5 ทางสัญจรโดยรวมที่ถูกแก้ไข 40 แผนผัง 6 Function Diagram 42

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ปัจจุบันได้มีคดีความเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ร่างกายและเพศ และต้องใช้วิธีการทางนิติเวช

วิทยาในการตรวจสอบพิสูจน์หลักฐานจากร่างผู้เสียชีวิต จากเหยื่อ หรือหลักฐานพยานที่มีอยู่ เพื่อนำมาดำเนินคดีตาม กฎหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบงานนิติเวชในประเทศไทย มีเพียงสองแห่ง ได้แก่ สถาบันนิติเวชวิทยา สังกัดสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทั้งสองหน่วยงานมีหน้าที่คล้ายกันมีความแตกต่าง กันเพียงแค่แบ่งเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับรองรับการตรวจชันสูตรร่างผู้เสียชีวิตและไม่ เพียงพอต่อการตรวจสอบหลักฐานจากคดีที่เกิดทั่วประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมีการเปิดแผนกนิติเวชประจำโรงพยาบาล ต่างๆ (ทิดจันทึก, 2565) โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันเฉียงเหนือที่มีสถิติการรับแจ้งคดีอาญา คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ เป็นจำนวนมากทที่สุดรองลงมาจากภาคกลางจำนวน 3,075 รายจากยอดรวมทั้งประเทศจำนวน 13,738 รายอ้างอิงจากสถิติการรับแจ้งความคดีอาญา คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ ปี พ.ศ.2564 โดยสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ จากสถิติชี้ให้เห็นว่า ภาคกลางคิดเป็นร้อยละ 31.70 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดเป็นร้อยละ 22.38

สถิติคดีความที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศปี 2564

ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ ภาคใต้

รูปภาพ 1 สถิติคดีความที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ปี 2564 ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เมื่อมีคดีที่มีการตายผิดธรรมชาติเกิดขึ้น จึงต้องใช้วิธีการทางนิติเวชวิทยาเข้ามาช่วยในการชันสูตรพลิกศพ ตรวจหา หลักฐาน เพื่อค้นหาความจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 “เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือเหตุอันสมควร สงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติหรือตายระหว่างควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่การตายโดย ประหารชีวิตตามกฎหมาย

การตายโดยผิดธรรมชาตินั้นคือ

(1) ฆ่าตัวตาย

(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย

(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย

(4) ตายโดยอุบัติเหตุ

(5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ” (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2478)

1
บทที่ 1 บทนำ
14% 38% 27% 21%

รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2

ตาย

โรงพยาบาล

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จบ เต็ม สถาบันนิติเวช (ภาคกลาง)

ตาย โรงพยาบาล

สถาบันนิติเวช (ภาคกลาง)

รูปภาพ 2 แผนภาพการดำเนินงานของหน่วยงานสถาบันนิติเวช

ที่มา : จากการสัมภาษณ์

เนื่องจากแผนกนิติเวชที่มีอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการรองรับการ ชันสูตรพลิกศพและตรวจหาหลักฐานคดีที่เกิดขึ้นได้และมีวิทยาการที่ไม่ครอบคลุมทั่วถึงการตรวจพิสูจน์หลักฐาน และสถาบัน นิติเวชที่มีอยู่ในปัจจุบันมีขอบเขตพื้นที่จำกัดในการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมที่ตั้งที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงของ ประชาชนที่ต้องการให้มีการชันสูตรพลิกศพแบบครบวงจร ประกอบกับสถาบันนิติเวชวิทยามีเป้าประสงค์ที่จะทำให้ระบบ นิติเวชเข้าถึงประชาชนในทุกภูมิภาคอย่างยั่งยืนและครอบคลุมทุกสาขาวิทยาการ จึงมีแผนยุทธศาสตร์ที่จะจัดตั้งกลุ่มงาน นิติเวชประจำภาคให้ได้ 4 ภาค มีห้องปฏิบัติการครอบคลุมครบทุกสาขาวิทยาการอย่างน้อย 4 ภาค และกลุ่มงานนิติเวชประจำ ภาคมีและใช้มาตรฐานคุณภาพเทียบเท่ากับส่วนกลาง ดังนั้นโครงการสถาบันนิติเวชวิทยาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึง เกิดขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานที่จะทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพที่มีการตายผิดธรรมชาติแบบครบวงจร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกใน การเข้าถึงและให้บริการที่ครอบคลุมแก่ประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.2 วัตถุประสงค์โครงการ

1.2.1 เป็นสถานที่ชันสูตรของสถาบันนิติเวชวิทยาในระดับภาค

1.2.2 เป็นสถานที่ให้คำปรึกษาทางนิติเวชแก่ญาติผู้ตาย

1.2.3

1.3

1.3.1

1.3.2

เป็นแหล่งค้นคว้าแก่นิสิตนักศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วัตถุประสงค์การศึกษา

เพื่อเริ่มสร้างโอกาสความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันนิติเวชวิทยาในระดับภาค

เพื่อแสวงหาแนวทางในการนำเสนออัตลักษณ์ของหน่วยงานสถาบันนิติเวชวิทยา

1.3.3 เพื่อศึกษาโครงสร้างองค์กร ศึกษาหลักการวางผังและสัดส่วนของแต่ละแผนกในสถาบันนิติเวช

1.4 ขอบเขตโครงการ

1.4.1 อาคารสถาบันนิติเวชวิทยาแบบครบวงจรประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มุ่งเน้นด้านการชันสูตรพลิกศพและ ตรวจสอบวัตถุพยานจากคดีที่มีการตายแบบผิดธรรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมื่อมีผู้ร้องขอ 1.5 ขอบเขตการศึกษา

1.5.1 การแบ่งแยกพื้นที่การใช้งานและการวางผังพื้นของสถาบันนิติเวชวิทยา

1.5.2 การศึกษาวิธีการจัดการดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนทางนิติเวช

2
การดำเนินงานของหน่วยงานสถาบันนิติเวชวิทยา

1.6 ระเบียบวิธีและขั้นตอนการศึกษา

1.6.1 ยื่นข้อเสนอโครงการ เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาว่าโครงการนั้นมีความเป็นไปได้และสามารถดำเนินการค้นคว้าต่อได้ หรือไม่

1.6.2 เข้าดูกรณีศึกษา

เพื่อศึกษาข้อมูลและหลักการออกแบบจากอาคารตัวอย่าง เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้ มาสนับสนุนความ เป็นไปได้ของโครงการและนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิงขนาดพื้นที่ใช้สอยของโครงการ 1.6.3 การศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมและทบทวนความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า นำมาเป็นความรู้ที่ใช้ในการทำความ เข้าใจเกี่ยวกับโครงการและใช้ในการออกแบบ

1.6.4 การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษามาแปลงเป็นข้อมูลความรู้ที่ใช้ได้จริง

1.6.5 การสังเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาสรุปเป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย

1.6.6 ขั้นตอนการออกแบบ

1.6.7 การสรุปข้อมูลและประมวลผล

1.7 ข้อจำกัดในการศึกษา

1.7.1 เนื่องจากโครงการสถาบันนิติเวชวิทยาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโครงการเสนอแนะ จึงจำเป็นต้องมีนโยบาย ของหน่วยงานเจ้าของโครงการมารองรับ

1.8 นิยามศัพท์เฉพาะ

1.8.1 การตายที่ผิดธรรมชาติ คือ การตายที่ไม่ได้ตายด้วยการมีสาเหตุมาจากสภาวะชราภาพ

1.8.2 การชันสูตรพลิกศพ(Autopsy) คือ เป็นกระบวนการค้นหาความจริงในกรณีที่มีการตายเกิดขึ้นว่าผู้ตายเป็นใคร เกิดขึ้น จากสาเหตุใด (สีมา, 2565)

3

สงขอเสนอโครงการ

บทท 1 บทนา

ความเปนมาและความสาคญของปญหา

วตถประสงค

บทท 2 วรรณกรรมและกรณศกษา

ทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎทเกยวของ ดกรณศกษา

บทท 3 วเคราะหความเปนไปได

ความเปนไปไดดานนโยบายและแผน ความเปนไปไดดานผใชสอย

ความเปนไปไดดานกฎหมาย

ความเปนไปไดดานงบประมาณและ การลงทน

ความเปนไปไดดานทาเลทตงโครงการ

บทท 4 รายละเอยดโครงการ

วเคราะหผใชสอยโครงการ

วเคราะหขนาดและจานวนพนทใชสอย

วเคราะหความสมพนธและการจดกลม

การใชสอยพนทโครงการ

วเคราะหความตองการดานเทคโนโลย

อาคาร

บทท 5 วเคราะหทตงโครงการ

เกณฑและการเลอกทตงโครงการ

วเคราะหทตงโครงการ

บทท 6 แนวคดและผลงานการออกแบบ

แนวคดและประเดนในการออกแบบ

นาเสนอการออกแบบรางครงท 1

นาเสนอการออกแบบรางครงท 2

การออกแบบขนสมบรณ

บทท 7 สรปผลการศกษาและขอเสนอแนะ

สรปผลการศกษา

ขอเสนอแนะ

4 1.9 ระยะเวลาการทำงาน
/สปดาหท 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19
เนอหาการทางาน

วรรณกรรมและกรณีศึกษา

2.1 การทบทวนวรรณกรรม

2.1.1 การนำความรู้นิติเวชมาใช้ในการพิจารณาคดี

การตาย คือการหยุดทำงานของสมอง ระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 “เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือเหตุอันสมควรสงสัยว่าบุคคลใด ตายโดยผิดธรรมชาติหรือตายระหว่างควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่การตายโดยประหารชีวิต ตามกฎหมายการตายโดยผิดธรรมชาตินั้นคือ

(1) ฆ่าตัวตาย

(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย

(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย

(4) ตายโดยอุบัติเหตุ

(5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ” (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2478)

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 “ในกรณีที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงาน สอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒธิบัตรหรือได้รับหนังสือนุมัติจากแพทยสภาทำการ ชันสูตรพลิกศพโดยเร็ว ถ้าแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำโรงพยาบาล ของรัฐปฎิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์โรงพยาบาลของรัฐไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าทที่ได้ให้แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำ โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ให้

พนักงานสอบสวนและแพทย์ดังกล่าวทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพทันที และให้แพทย์ดังกล่าวทำ รายงานแนบท้ายบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพด้วยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเรื่อง ถ้ามีความจำเป็น ให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายเวลาทุก ครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ รายงานดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนชันสูตพลิกศพ และในกรณีที่ความตาย มิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรไปยังพนักงานอัยการเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตร

พลิกศพโดยเร็วและให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไปตามมาตรา 156 ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้มี

หน้าที่ไปทำการชันสูตรพลิกศพทราบและก่อนการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งสามี ภริยา ผู้บุพการี

ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนเท่าที่จะทำได้

ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ให้พนักงานอัยการและ พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับ พนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่งและให้นำบทบัญญัติในวรรคสองมาใช้บังคับ... เมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงงานอัยการทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาล ทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้าย ให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงาน อัยการ...” (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2478)

รูปภาพ 3 แผนภาพแสดงขั้นตอนการส่งศพจนถึงการส่งต่อให้หน่วยงานนิติเวช

5
บทที่ 2
ตาย แจ้งตำรวจ
ใกล้ที่สุด ค้นประวัติการรักษา ญาติติดใจสาเหตุการตาย ตายผิดธรรมชาติ ส่งหน่วยงานนิติเวช ออกรายงานสาเหตุ การตาย
ที่มา : การสัมภาษณ์
ส่งศพไปจาก โรงพยาบาลที่

ยกตัวอย่าง กรณีการตายของนาย A : เมื่อนาย A ตาย ญาติจะต้องแจ้งตำรวจและนำศพส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

ทางโรงพยาบาลจะทำการชันสูตรเบื้องต้นและรายงานผล แต่หากญาติติดใจในสาเหตุการตาย หรือพบว่ามีการตาย

ที่ผิดธรรมชาติเกิดขึ้น ศพของนาย A จะถูกส่งไปชันสูตรที่หน่วยงานนิติเวชตามกฎหมาย

2.1.2 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนิติเวช

- เจ้าหน้าที่มูลนิธิ ทำหน้าที่รับ-ส่งร่างผู้เสียชีวิต

- พนักงานสอบสวน ทำหน้าที่สืบสวนการตาย ณ ที่เกิดเหตุและเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะส่งศพไปชันสูตรที่ใด

- แพทย์ชันสูตร ทำหน้าที่ตรวจหาสาเหตุการตายจากร่อยรอยบาดแผลตามร่างกายและทำการรายงานผลการชันสูตร

- ผู้ช่วยแพทย์ชันสูตร ทำหน้าที่ช่วยแพทย์ชันสูตรในการผ่าชันสูตรและเก็บรายละเอียดจากศพ

- ช่างภาพทางการแพทย์ ทำหน้าที่ถ่ายภาพร่องรอยบาดแผลที่เกิดขึ้นกับศพ

- นักเทคนิกการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่ประจี่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการพิสูจน์หลักฐานที่ได้มาจากศพ

หรือหลักฐานที่ทางตำรวจนำส่ง

2.1.3 ส่วนประกอบสำคัญในสถาบันนิติเวช

- ห้องปฏิบัติการ

- ห้องชันสูตร

- ห้องเก็บศพ

2.1.4 หลักการออกแบบห้องปฏิบัติการ

วัสดุที่ใช้เป็นพื้นผิวของพื้นทางเดิน ผนัง และเพดาน ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานภายใน ห้องปฏิบัติการมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

2.1.4.1 มีลักษณะพื้นผิวเรียบเป็นเนื้อเดียวกันไม่มีรูพรุนและปราศจากรอยต่อ ไม่ควรใช้วัสดุที่มี ลักษณะเป็นแผ่นขนาด เล็ก เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเกิดการสะสมของคราบสกปรกและสารเคมีระหว่างแนวรอยต่อ (ศูนย์บริหารความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม, 2565)

2.1.4.2 มีความสามารถในการกันไฟ หรือทนไฟไม่ติดไฟ หรือเสื่อมสภาพเมื่อเกิดไฟไหม้วัสดุเหล่านี้ ได้แก่ คอนกรีต เสริมเหล็ก เหล็ก หรือ วัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐประเภทต่าง ๆ หากเป็นวัสดุประเภทอื่น ๆ ที่สามารถติดไฟ ได้ควรมีการ กำหนดรายละเอียดการใช้งานวัสดุแต่ละประเภทให้เป็นไปตามข้อกำหนดในการใช้วัสดุพื้น ผนัง และฝ้า เพดาน ตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย (ศูนย์บริหารความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม, 2565)

2.1.1.3 มีความคงทนในการใช้งาน ทนการขูดขีด ทนทานต่อสารเคมีน้ำและความชื้น หรือสามารถ ซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อ เกิดความเสียหายบนพื้นผิววัสดุอันเกิดจากการใช้งานนอกจากนี้ยังต้องดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย (ศูนย์บริหาร

ความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม, 2565)

2.1.5 หลักการออกแบบห้องชันสูตร

ห้องชันสูตร (Autopsy room) เป็นห้องที่ใช้ในการดำเนินการตรวจวินิจฉัยร่างกายผู้เสียชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่าการ

ชันสูตรพลิกศพ นับเป็นห้องที่มีการถูกกำหนดให้เป็นห้องสะอาด ห้องชันสูตรเป็นห้องทที่มีความปนเปื้อนสูง

2.1.5.1 การจัดการระบบระบายอากาศ

แผ่นกรอง คอยล์เย็น คอยล์ร้อน

ท่อส่งอากาศออก

รูปภาพ 4 แผนภาพการจัดการการระบายอากาศในห้องชันสูตร

ที่มา : (Wang, et al., 2022)

6
Outside Air Air Handing Unit
ห้องชันสูตร

2.1.5.2 พื้น (Floor)

1)พื้นบริเวณที่ใช้งานทั่วไป จะเน้นความทนทานต่อการใช้งานยาวนาน ผิวพื้นไม่ลื่น ดูแลรักษาง่าย

2)พื้นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับสิ่งสกปรก จะต้องใช้วัสดุสําหรับปูพื้น ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ต่อน้ำและสารเคมี ทํา ความสะอาดง่าย มีรอยต่อน้อย ไม่เป็นแหล่งฝังตัวของสิ่งสกปรก มีผิวเรียบไม่ลื่นทั้งในเวลาแห้งและเปียก 3) พื้นบริเวณที่ต้องรักษาความสะอาด จะต้องใช้วัสดุสําหรับปูพื้น ที่มีความทนทานต่อ สารเคมี ทําความสะอาดง่าย ไม่มีรอยต่อหรือมีรอยต่อน้อย ไม่เป็นแหล่งฝังตัวของสิ่งสกปรก มีผิวเรียบไม่ลื่น (ในบริเวณที่วางเครื่องมือขนาดใหญ่ พื้น จะต้องรองรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนได้ดี) (ศูนย์บริหารความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม, 2565)

2.1.5.3 ผนัง (Wall)

1) ผนังบริเวณที่ใช้งานทั่วไป จะเน้นความทนทานต่อการใช้งานยาวนาน ดูแลรักษาได้ง่าย

2) ผนังบริเวณที่เกี่ยวข้องกับสิ่งสกปรก จะต้องใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถทําความสะอาดด้วยน้ำและ สารเคมีได้ดี

3) ผนังบริเวณที่ต้องรักษาความสะอาด จะต้องใช้วัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี สามารถเช็ดทําความ สะอาดได้ผิววัสดุเรียบไม่มีรอยต่อหรือมีรอยต่อน้อย เพื่อไม่ให้เป็นที่ฝังตัวของสิ่งสกปรก รวมทั้งผิวผนังต้องไม่ทําให้เกิด การสะท้อนแสง หรือมีสีที่สะท้อนจนส่งผลกระทบต่อการวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจ

2.1.5.4 เพดาน (Ceiling)

1) เพดานบริเวณที่ใช้งานทั่วไป จะเน้นความทนทานต่อการใช้งานยาวนาน ดูแลรักษาได้ง่าย

2) เพดานบริเวณที่เกี่ยวข้องกับสิ่งสกปรก จะต้องใช้ชนิดที่ทนความชื้นได้ดี

3) เพดานบริเวณที่ต้องรักษาความสะอาด จะต้องมีผิวเรียบ ไม่มีรอยต่อ และไม่มีรูพรุน

4) ระดับความสูงเพดาน สูงไม่น้อยกว่า 3.00 ม. ส่วนที่มีขนาดเล็ก เช่น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ เป็นต้น สูงไม่น้อยกว่า

2.50 ม.

2.1.5.5 ประตู(Door)

1) รูปแบบประตูที่เหมาะสมควรเป็นประตูบานสวิงคู่ หรือประตูบานครึ่ง (มีบานใหญ่และบานเล็ก) และประตูบาน เลื่อน จะสามารถเปิดปิดได้ง่ายและสามารถเปิดปิดโดยไม่จําเป็นต้องใช้มือสัมผัสอุปกรณ์ มือจับ เวลาเปิดไม่กีดขวางการ สัญจรหรือการขนย้ายอุปกรณ์และเครื่องมอื รวมทั้งควรมชี่องมองเพื่อความสะดวก ในการตรวจดูความเรียบร้อย

2) ห้องปฏิบัติการที่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย ควรมีทางออกอย่างน้อย 2 ทาง เพื่อความ ปลอดภัย

3) ความกว้างสุทธิของช่องประตูดังนี้

-ทางเข้าหลักควรกว้างไม่น้อยกว่า 1.80 ม.

-ประตูห้องปฏิบัติการ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.10 -1.20 ม. หรือมากกว่าเพื่อ เตรียมสําหรับการขนย้ายเครื่องมือ และอุปกรณ์ขนาดใหญ่ได้สะดวก

2.1.6 พื้นที่ส่วนชันสูตร

มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ห้องปฏิบัติการกายวิภาค ควรมีพื้นที่ในการทำงานอย่างน้อย 500 ตารางเมตร และต้องคำนึงถึง การบริหารบุคคล การจัดการด้านคุณภาพ การจัดการระบบสารสนเทศ ภาพรวมของห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยากายวิภาค ประกอบด้วย

1. พื้นที่ห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็นสัดส่วน ได้แก่

- พื้นที่สำหรับลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ (Registration room)

- พื้นที่ตัดเนื้อ (Gross examination)

- พื้นที่เก็บชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา

- งานจุลพยาธิวิทยา (Histopathology) ซึ่งประกอบด้วย เครื่อง Tissue processer และ Tissue embedding, Sectioning, Staining, Slide mounting, Slide drying

- งานฮีสโตเคมี (Histochemistry)

- งานอิมมูโนฮีสโตเคมี (Immunohistochemical laboratory)

- งานเซลล์วิทยา พื้นที่เตรียมสิ่งส่งตรวจ ที่ย้อมสี

- งาน Frozen section

- ห้องอ่านสไลด์

- พื้นที่เก็บสไลด์พาราฟินบล็อก น้ำยาและสารเคมีทั้งที่เก็บในคลังและกำลังใช้

- พื้นที่เก็บเอกสาร

7

- คลังวัสดุสำนักงาน: กระดาษ ปากกา ตลับชิ้นเนื้อ ฯลฯ

- ห้องพักแพทย์และเจ้าหน้าที่

- ห้องรับประทานหรือเตรียมอาหาร

- ห้องน้ำ

- พื้นที่เก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด

- พื้นที่เก็บขยะ ขยะติดเชื้อ และสารเคมีที่รอกำจัด

2.1.7 ห้องลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ

1) ความพอเพียงของพื้นที่: ควรจัดพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับวางครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เคาน์เตอร์รับสิ่งส่งตรวจ, เก้าอี้, ตู้เก็บเอกสาร, คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์ลงทะเบียนชิ้นเนื้อ

2) การออกแบบทางเดิน: ควรออกแบบทางเดิน ให้กว้างขวางพอสำหรับเจ้าหน้าที่เดินผ่านได้และเพียงพอสำหรับการ ขนส่ง เอกสาร หรือรถทำความสะอาด เช่น รถเข็น ผ่านได้สะดวก ทางเดินควรกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

3) วัสดุปูพื้น: วัสดุที่ใช้ปูพื้น ควรเลือกใช้วัสดุที่ทำความสะอาดง่าย และไม่ลื่น

4) ระบบระบายอากาศ: การติดตั้งระบบระบายอากาศ ไอระเหยของฟอร์มาลินมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ดังนั้นการ ดูดไอ ของฟอร์มาลินให้ได้ผลดี ควรดูดจากแนวระนาบที่มีการปฏิบัติงาน มากกว่าการดูดในแนวตั้ง

2.1.8 การจัดสรรพื้นที่และการออกแบบ/เขียนแบบแปลนของห้องตัดชิ้นเนื้อ 1) ห้องเปลี่ยนชุดก่อนเข้ำปฏิบัติงาน มีข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติ ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเปลี่ยนชุด และเก็บของใน ล็อคเกอร์เท่านั้น ห้ามวางของส่วนตัวในห้องตัดเนื้อ (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข, 2558)

2) ห้องเก็บวัสดุสิ้นเปลืองของห้องศัลยพยาธิวิทยา ใช้เก็บของที่ใช้แล้วทิ้ง วัสดุสิ้นเปลือง เช่น ตลับบรรจุชิ้นเนื้อ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข, 2558)

3) วัสดุปูพื้น - ขนาดของวัสดุ: ควรเป็นวัสดุผืนใหญ่ปูตลอดความยาวของห้อง เพราะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าปู กระเบื้องยางแผ่นเล็ก หากมีน้ำหรือสารเคมีหก หรือต้องล้างพื้นห้อง ซึ่งกระเบื้องยางแผ่นเล็กมีโอกาสลอก เพราะมีน้ำซึม เข้าไปใต้แผ่น แต่หากใช้กระเบื้องหินปูพื้น ควรเลือกกระเบื้องชนิดไม่มันลื่น เพื่อป้องกัน อุบัติเหตุลื่นล้ม โดยเฉพาะเมื่อใช้เก้าอี้ที่มีล้อเลื่อน - ชนิดวัสดุ: เป็นวัสดุทนการกัดกร่อนจากสารเคมี (เช่น xylene) และป้องกันการลื่นได้ดีวัสดุที่แนะนำ คือ พื้นยาง (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข, 2558)

4) ระบบระบายอากาศ: การติดตั้งระบบระบายอากาศ ไอระเหยของฟอร์มาลินมีน้ำาหนักมากกว่าอากาศ ดังนั้นการ ดูดไอของฟอร์มาลินให้ได้ผลดี ควรดูดจากแนวระนาบที่มีการปฏิบัติงาน (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุข, 2558)

5) ครุภัณฑ์ในห้อง -โต๊ะตัดเนื้อ (Grossing station) ประเภทของโต๊ะตัดเนื้อ แบ่งตามการใช้งานได้ 2 ประเภทหลัก คือ

• ขนาด: ขนาดโต๊ะตัดเนื้อที่แนะนำคือความกว้าง 80 ซม. ยาว 150 -200 ซม. และ หากติดตั้งโต๊ะ ติด

กับผนัง ควรคำนึงถึงพื้นที่ผนังสำหรับเดินสายไฟ ท่อระบายอากาศ และท่อน้ำด้วย (กองแบบแผน

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข, 2558)

-โต๊ะเขียนgross

• ขนาดแนะนำให้มีความกว้าง 60 ซม. และความสูง 75 ซม. (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพกระทรวงสาธารณสุข, 2558)

-เขียงตัดเนื้อและถาดรองเขียง

-อ่างล้างมือ

• โต๊ะตัดกระดูก ควรมีฝาพลาสติกครอบบริเวณที่ทำงาน เพื่อป้องกันการกระเด็นของเศษกระดูกและ เศษเนื้อ และฝาครอบนี้ควรออกแบบให้เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย

-เครื่องพิมพ์ตลับชิ้นเนื้อ (Cassette writer) ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบ Pathology Information System (ถ้า

มีควรเตรียมงบประมาณค่าบำรุงรักษา แยกกับค่าหมึก)

-จุดถ่ายรูป อุปกรณ์ถ่ายภาพ (photo station)

- Emergency eyewash

ควรติดตั้งไว้ตรงบริเวณที่เข้าถึงได้โดยสะดวก

8

-ระบบระบายอากาศของห้อง: การติดตั้งระบบระบายอากาศ ไอระเหยของฟอร์มาลินมีน้ำหนักมากกว่า อากาศ ดังนั้นการดูดไอของฟอร์มาลินให้ได้ผลดี ควรดูดจากแนวระนาบที่มีการปฏิบัติงาน -ระบบจัดการขยะ ต้องแยกเป็นขยะติดเชื้อและขยะทั่วไป ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจ และเศษชิ้นเนื้อที่เหลือ จากการตรวจห้ามทิ้งทันที ให้เก็บไว้จนกระทั่ง ออกผลกำรวินิจฉัยไปแล้วอย่ำงน้อย 14 วัน เพื่อตรวจสอบ ผลกำรวินิจฉัยอีกครั้ง หรือกรณี ต้องการลงเนื้อเพิ่ม (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวง สาธารณสุข, 2558)

-ตู้เย็น สำหรับแช่สิ่งส่งตรวจเท่านั้น ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มมาแช่ปะปน

- เครื่อง Cryostat (ในกรณีติดตั้ง frozen section station ไว้ในห้องศัลยพยาธิวิทยาด้วย)

• การทำงาน: เปิดเครื่องก่อนใช้งานจริง 1-2 ชม. เพื่อให้อุณหภูมิขั้นต่ำใน chamber อยู่ที่ -25C (แท่นตัดอุณหภูมิ -40C)

• มีที่เก็บน้ำยาและอุปกรณ์

2.1.9 การจัดสรรพื้นที่และการออกแบบ/เขียนแบบแปลนของห้องเก็บชิ้นเนื้อ

1) ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัดและจำนวนเก็บไม่มาก สามารถสร้างตู้ติดกับผนังห้องตัดเนื้อได้โดยวางเนื้อเป็นชั้นๆ และทำฝาตู้ เป็นกระจกเลื่อน ต้องติดเครื่องดูดกลิ่นตลอดเวลา โดยระบายอากาศผ่านท่อออกนอกตัวอาคาร (Continuous ventilation)

โดยใช้เครื่องดูดอากาศ 2 เครื่องสลับกันตลอดเวลาทำงานเครื่องละ 3-6 ชม. เพื่อป้องกันกลิ่นวนกลับ เข้าห้องตัดเนื้อ หรือหาก ตู้อยู่ใกล้หน้าต่างอาคารจะใช้วิธีเปิดหน้าต่างระบายอากาศร่วมด้วย (กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวง สาธารณสุข, 2558)

2.1.10 หลักการออกแบบตู้เก็บศพ

1) ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 0-4 องศาเซลเซียสตลอดเวลา

2) ติดตั้งแผงควบคุมไว้ในระยะใกล้

9
รูปภาพ 5 ตู้แช่ศพแบบลิ้นชักแยก ที่มา : ผู้จัดทำ รูปภาพ 6 แผงควบคุมระบบการทำความเย็น ที่มา : ผู้จัดทำ รูปภาพ 7 ที่ดูดอากาศจากภายในตู้ออก ที่มา : ผู้จัดทำ

2.2 กรณีศึกษาอาคารตัวอย่าง

2.2.1 วัตถุประสงค์การศึกษาอาคารตัวอย่าง

2.2.1.1 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของเจ้าของโครงการ

2.2.1.2 เพื่อศึกษาเกณฑ์และแนวคิดในการเลือกที่ตั้งโครงการ

2.2.1.3 เพื่อศึกษาแนวคิดในการออกแบบและการจัดการพี้นที่

2.2.1.4 เพื่อศึกษาขนาดพื้นที่โครงการ

2.2.2 การพิจารณาเลือกอาคารตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา

กรณีศึกษา/ลักษณะสำคัญ การเลือกที่ตั้ง โครงการ

แนวคิดการ ออกแบบ

การจัดการพื้นที่ ภายในโครงการ

ขนาดพื้นที่

1.สถาบันนิติเวชวิทยา / /

2.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ /

3.แผนกนิติเวช คณะ แพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น /

4.Netherlands Forensic Institute

/ /

5.Legal Medicine Institute of Granada / / /

6. Franklin County Forensic Science Center

2.2.3 การวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา

/ /

เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

วัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ :

1.ชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการตายที่ผิดธรรมชาติ ศพที่เสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน

2.ตรวจพิสูจน์หลักฐานโดยใช้วิธีทางนิติเวชศาสตร์และการแพทย์

3.ตรวจหาหลักฐานจากบุคคลที่มีชีวิต ศพ/เศษส่วนจากศพ

4.ให้คำแนะนำทางนิติเวชแก่นักศึกษา สำนักงานราชการ หรือเมื่อมีผู้ร้องขอ

ลักษณะการเลือกที่ตั้งโครงการ

10
รูปภาพ 8 การวางตัวของอาคารสถาบันนิติเวชกับอาคารอื่นๆ ที่มา : (Google Maps, 2023) เจ้าของโครงการ
: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำแหน่งที่ตั้ง : 492, 1 ถ. อังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานและโรงพยาบาล
ตั้งอยู่ใกล้กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักกงานตำรวจแห่งชาติ
ตำรวจ
สานักงานพิสูจน์หลักฐานตารวจ โรงพยาบาลตารวจ สานักงานตารวจแห่งชาติ สถาบันนิติเวชวิทยา

แนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้สอย

1.เป็นอาคารที่ได้รับมอบจากทางราชการ จึงไม่มีดีไซน์ที่โดดเด่นและตอบสนองการใช้งานได้ไม่ค่อยดี

2.มีลักษณะเป็นอาคารสำนักงาน 4 ชั้น รูปภาพ 9 การแบ่งZoningในสถาบันนิติเวช ที่มา : ผู้จัดทำ

ชั้นที่ 4

ชั้นที่ 1 Private Private Semi-Private Public Private

ชั้นที่ 3

ชั้นที่ 2

พิสูจน์หลักฐานทางชีวเคมีและเขม่าดินปืน

พิษวิทยา

พิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล

พยาธิวิททยา

บริการประชาชน

3. ชั้นที่1 ประกอบด้วยส่วนบริการประชาชนและส่วนห้องชันสูตร มีการแบ่งโซนออกเป็นหลายๆส่วนอย่างชัดเจน เพื่อคัด กรองผู้ที่เข้ามาใช้งานและเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รายละเอียดแต่ละห้องมีดังนี้

- ห้องประชาสัมพันธ์ 1 ห้อง

-ห้องโถงพักคอยของประชาชน 1 ห้อง

-ห้องรับรอง 1 ห้อง

-ห้องน้ำหญิง 1 ห้อง ห้องน้ำชาย 1 ห้อง

-ห้องสาธิตการชันสูตรศพ 1 ห้อง

-ห้องประกอบพิธีทางศาสนา 1 ห้อง

-ห้องทะเบียน 1 ห้อง

-ห้องเก็บตัวอย่าง 1 ห้อง

-ห้องประชุมเจ้าหน้าที่ 1 ห้อง

-ห้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า 1 ห้อง รูปภาพ 10 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 1

-ห้องชันสูตรศพ 1ห้องใหญ่ ที่มา : ผู้จัดทำ

-ห้องชันสูตรศพติดเชื้อ 1 ห้อง

-ที่เก็บศพ

4. ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย

-ห้องธุรการ 1 ห้อง

-ห้องรับ-ส่งวัตถุพยาน

-ห้องอาหาร 1 ห้อง

-ห้องสำนักงาน 1 ห้อง

-ห้องพักเจ้าหน้าที่ 1 ห้อง

-ห้องนักวิเคราะห์ 1 ห้อง

-ห้องเก็บสารมาตรฐาน 1 ห้อง รูปภาพ 11 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 2

-ห้องปฏิบัติการ 2 ห้อง ที่มา ผู้จัดทำ

-ห้องเก็บสารเคมี 1 ห้อง

-ห้องเครื่องมือ 3 ห้อง

-ห้องเก็บวัตถุพยาน 1 ห้อง

-ห้องเก็บเอกสาร 1 ห้อง

-ห้องน้ำชาย 1 ห้องและห้องน้ำหญิง 1 ห้อง

11

5.ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย

-ห้องธุรการ 1 ห้อง

-ห้องรับ-ส่งวัตถุพยาน

-ห้องอาหาร 1 ห้อง

-ห้องสำนักงาน 1 ห้อง

-ห้องพักเจ้าหน้าที่ 1 ห้อง

-ห้องนักวิเคราะห์ 1 ห้อง

-ห้องเก็บสารมาตรฐาน 1 ห้อง รูปภาพ 12 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 3

-ห้องปฏิบัติการ 2 ห้อง ที่มา ผู้จัดทำ

-ห้องเก็บสารเคมี 1 ห้อง

-ห้องเครื่องมือ 3 ห้อง

-ห้องเก็บวัตถุพยาน 1 ห้อง

-ห้องเก็บเอกสาร 1 ห้อง

-ห้องน้ำชาย 1 ห้องและห้องน้ำหญิง 1 ห้อง

6.ชั้นที่ 4 ประกอบด้วย

-ห้องประชุม 1 ห้อง

-ห้องตรวจรับวัตถุพยาน 1 ห้อง

-ห้องสำนักงาน 1 ห้อง

- LAB แห้ง 1ห้อง

-ห้องล้างอุปกรณ์ 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับ DNA 1 ห้อง รูปภาพ 13 ผังอาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น 4

-ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า 1 ห้อง ที่มา ผู้จัดทำ

-ห้องวิเคราะห์ 1 ห้อง

-ห้องพักเจ้าหน้าที่ 2 ห้อง

-ห้องเตรียมตัวอย่าง 1 ห้อง

-ห้องเก็บวัตถุพยาน 1 ห้อง

-ห้องเก็บสาร 1 ห้อง

2.2.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

รูปภาพ 14 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

เจ้าของโครงการ : กระทรวงยุติธรรม

ที่มา : (Google Maps, 2023)

ตำแหน่งที่ตั้ง : 120 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

12
ชั้น 8 อาคารรัฐประศาสนภักดี(อาคาร B) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่ง สองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
DSI

วัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ :

1.ให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์

2.ส่งเสริมการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ของภาคเอกชน

3.ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการพัฒนางานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ลักษณะการเลือกที่ตั้งโครงการ: ตั้งอยู่ใกล้กับหน่วยงานราชการ

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บริเวณชั้น 8 และ 9 ของอาคารรัฐประศาสนภักดี อยู่ตรงข้ามกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ แห่งราชอาณาจักรไทย (DSI) ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายงานสารบรรณ แผนกรับรายงานชันสูตร แผนกรับ-ส่งวัตถุ พยาน แผนกรับเรื่องราวร้องทุกข์ กลุ่มงานสำหรับยื่นขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ กลุ่มนิติเวชคลินิก ทำหน้าที่ ตรวจ สารพันธุกรรม ตรวจสารเสพติดและตรวจร่างกาย และกลุ่มงานนิติจิตเวช จากการวิเคราะห์การจัดวางผังอาคาร พบว่ามี

การจัดวางผังพื้นที่ค่อนข้างซับซ้อน มีโถงเชื่อมระหว่างกลุ่มงานต่างๆหลายโถง แต่ละกลุ่มงานเป็นห้องกระจกติดฟิล์มขุ่น เพื่อความเป็นส่วนตัว การชันสูตรศพถูกแยกออกจากส่วนอื่นของอาคาร โดยจะนำศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ

2.2.5 การวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคารแผนกนิติเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โรงพยาบาลศรี

นครินทร์

คณะแพทย์ศาสตร์

อาคารกายวิภาค

ศาสตร์

แผนกนิติเวช

รูปภาพ 15 ภาพถ่ายดาวเทียมแผนกนิติเวช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มา: (Google Maps, 2023)

เจ้าของโครงการ : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ตำแหน่งที่ตั้ง : 123 ถนนมิตรภาพ อำเภอเมืองขอนแก่น ขอนแก่น 40002

วัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ : 1.เป็นที่เดียวในภาคตะวันออกกเฉียงเหนือที่มีการดำเนินการชันสูตรพลิกศพ ลักษณะการเลือกที่ตั้งโครงการ:ตั้งอยู่ใกล้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ และ

อาคารกายวิภาคศาสตร์

แนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้สอย รูปภาพ 16 แผนผังอาคารแผนกนิติเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ที่มา : ผู้จัดทำ

13

มีการวางฟังก์ชันแบบเรียงลำดับความสำคัญการเข้าถึง แบ่งเป็น พื้นที่ที่ญาติสามารถเข้าถึงได้คือห้องประกอบ พิธีกรรมส่วนสำนักงานและห้องน้ำ ต่อมาเป็นพื้นที่ที่จำกัดการเข้าถึงเฉพาะแค่เจ้าหน้าที่คือห้องเก็บศพและห้องชันสูตร จาก การสำรวจและวิเคราะห์พบว่าพื้นที่สำหรับเคลื่อนย้ายศพเข้า-ออกยังมีปัญหาในเรื่องการใช้เส้นทางในการขนส่งศพและการ

เข้าถึงของญาติที่ผสมกัน ทำให้เส้นทางการสัญจรไม่มีความชัดเจนและอาจส่งผลถึงความน่าเชื่อในเรื่องห่วงโซ่วัตถุพยานและ การขนส่งหลักฐาน

รูปภาพ 17 เตียงชันสูตร ที่มา : ผู้จัดทำ

รูปภาพ 18 ลักษณะการเก็บอุปกรณ์ในห้องชันสูตร ที่มา : ผู้จัดทำ

รูปภาพ 19 ตู้เก็บศพ ที่มา : ผู้จัดทำ

14

รูปภาพ 20 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคาร Netherlands Forensic Institute

ที่มา : (Netherlands Forensic Institute, 2023)

เจ้าของโครงการ : กระทรวงยุติธรรมเนเธอร์แลนด์ ตำแหน่งที่ตั้ง : Ypen burg, The Hague, Netherlands

ลักษณะการเลือกที่ตั้งโครงการ:ตั้งอยู่ใกล้กับหน่วยงานราชการเนเธอร์แลนด์

แนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้สอย

อาคารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ (NFI) เป็นอาคารประกอบด้วยทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 อยู่ชั้นใต้ ดิน พื้นที่ภายในอาคารประกอบด้วยส่วนแรก คือ โถงทางเข้าหลักของอาคาร ซึ่งมีพื้นที่หอประชุม ห้องสมุด และศูนย์การ ประชุมซ้อนข้างทางเข้า บริเวณด้านซ้ายและด้านขวาของห้องโถงนี้มีลานสามแห่งที่เรียงรายไปด้วยสำนักงานเซลลูล่าร์ และ โซนด้านนอกสุดของอาคารประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ ซึ่งแยกออกจากกันด้วยผนังแบ่งตำแหน่งที่สามารถเคลื่อนย้ายได้

รูปภาพ 21 ภาพแสดงผังบริเวณและผังพื้นชั้นที่ 1 อาคารสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ (NFI)

ที่มา: (ArchDaily, Netherlands Forensic Institute / KAAN Architecten, 2013)

2.2.7 การวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคาร Legal Medicine Institute of Granada

รูปภาพ 22 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคาร Legal Medicine Institute of Granada

ที่มา : (Google Maps, 2023)

เจ้าของโครงการ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Granada

ตำแหน่งที่ตั้ง : Av. de la Innovación, 1, 18016 Granada, Spain

ขนาดพื้นที่ของโครงการ : 3,405 ตร.ม.

ลักษณะการเลือกที่ตั้งโครงการ : ตั้งอยู่ใกล้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ คณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาล

มหาวิทยาลัยเกรนาดา เมืองเกรนาดา, ประเทศสเปน

15 2.2.6 การวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคาร Netherlands Forensic Institute

แนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้สอย

อาคารสถาบันการแพทย์ทางกฎหมายแห่งกรานาดา มีการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบและ ประชาชนที่พักอาศัย เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบอาคารสถาปัตยกรรมให้มีความปลอดโปร่ง แสงธรรมชาติเข้าถึง เป็นสถาปัตยกรรมที่สดใส ใจดี และได้ใกล้ชิด มีบทสนทนาระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของสถาบันมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องตรง

กับแผนนโยบายการปฏิบัติงานของสถาบันการแพทย์ทางกฎหมาย

รูปภาพ 23 ภาพแสดงผังบริเวณและผังพื้น สถาบันการแพทย์ทางกฎหมายแห่งกรานาดา

ที่มา: (ArchDaily, Legal Medical Institute of Granada, 2013)

2.2.8 การวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคาร Philadelphia Forensic Science Center

รูปภาพ 24 ภาพถ่ายดาวเทียมอาคาร Philadelphia Forensic Science Center

เจ้าของโครงการ : เมืองฟิลาเดลเฟีย

ที่มา : (Google Maps, 2024)

ตำแหน่งที่ตั้ง : 700 ถนนป็อปลาร์, ฟิลาเดลเฟีย, เพนซิลเวเนีย 24566, สหรัฐ

ขนาดโครงการ : 58,700 ตารางฟุต

แนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้สอย

ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์แห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับโครงการในอนาคตที่ดำเนินการโดย สำนักงานโครงการศาลากลางแห่งฟิลาเดลเฟีย คุณลักษณะสีเขียวหลายประการของโครงการ ได้แก่ การทำแผนที่ที่แม่นยำและการแยกโหลดของพื้นที่ที่ต้องการ อากาศภายนอก 100% เพื่อลดภาระทางกล การอัพเกรดซองจดหมายที่ส่งผลให้อาคารมีฉนวนหุ้มฉนวนสูง ผลิตภัณฑ์ และการตกแต่งที่ "สะอาด" ส่งผลให้คุณภาพอากาศภายในอาคารดีขึ้นอย่างมาก แสงสว่างในเวลากลางวันที่ลึก ทำได้โดย การกำหนดค่าเพดาน และการเข้าถึงระบบเครื่องกลและโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่อยู่นอกพื้นที่ห้องปฏิบัติการ

16
โครงการ นี้ยังช่วยเพิ่มพื้นที่ที่ซึมผ่านของพื้นที่ได้อย่างมาก โดยมีหนองพืชที่ช่วยบำบัดน้ำที่ไหลบ่าทางชีวภาพและลดปริมาณน้ำที่

พฤติกรรมการรับรู้ของคนในองค์กรและผู้เข้ามาใช้บริการ

รูปภาพ 25 ภาพแสดงผังพื้นชั้นที่ 1 ศูนย์วิทยาศาสตร์นิติวิทยาศาสตร์ฟิลาเดลเฟีย

ที่มา: (The American Institute of Architects, 2024)

17
ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำในเมือง ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ มีผลต่อการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อสอดคล้องกับกิจกรรมและ

บทที่ 3

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการ

3.1 ความเป็นไปได้ด้านนโยบายและแผน

3.1.1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความอาญา พุทธศักราช 2477

3.1.1.1 มาตรา 148 เมื่อปรากฏแน่ชัด หรือมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่

ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย

3.1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

3.1.2.1 เป้าหมายที่ 3 การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม โดยมีบริการสาธารณะทั่วถึง เท่าเทียม

3.1.2.2 เป้าหมายที่ 5 การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้ บริบทโลกใหม่

3.1.3 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยมและประเด็นยุทธศาสร์สถาบันนิติเวชวิทยา

3.1.3.1 ขอบเขตการให้บริการได้เพียงแค่ในกรุงเทพและปริมณฑลไม่สามารถรับงานในส่วนภูมิภาคโดยตรงได้ทำให้มี ปัญหาความเชื่อมั่นด้านห่วงโซ่วัตถุพยาน

3.1.3.2 เป้าประสงค์ที่ 1

ระบบงานนิติเวชเข้าถึงประชาชนในทุกภูมิภาคและครอบคลุมทุกสาขาวิทยาการ

3.1.3.3 เป้าประสงค์ที่ 2 มีการพัฒนามาตรฐานคุณภาพกลางในการตรวจทางนิติเวชและมีการถ่ายทอดนำไปใช้เพื่อรักษา มาตรฐาน คุณภาพทุกภูมิภาค

3.1.3.4 เป้าประสงค์ที่ 3 ระบบงานนิติเวชมีความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติที่มีคนตายจำนวนมากในทุกภูมิภาค 3.2 ความเป็นไปได้ด้านผู้ใช้สอยโครงการและความต้องการพื้นที่ใช้สอย ผู้ใช้งาน ความต้องการพื้นที่ แพทย์ชันสูตร ประจำที่ห้องชันสูตร ผู้ช่วยแพทย์ ประจำที่ห้องชันสูตร

ช่างภาพทางการแพทย์ ประจำที่ห้องชันสูตร

นักเทคนิคการแพทย์ ประจำที่ห้องปฏิบัติการ

นักวิทยาศาสตร์ ประจำที่ห้องปฏิบัติการ

ประชาชน มาติดต่อราชการ

เจ้าหน้าที่มูลนิธิ มาส่งศพ

ตาราง 1 แสดงผู้ใช้งานประเภทต่างๆและความต้องการของพื้นที่ 3.3

ความเป็นไปได้ด้านแนวคิดและจินตภาพโครงการ

การให้สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันให้ผู้ที่มาใช้งานเข้าใจว่าการตายเป็นเรื่องปกติ ยิ่งเป็นการ ตายที่ผิดธรรมชาติแล้วสถาบันนิติเวชวิทยาจะเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนของการทำให้การตายี่ไม่ปกติกลับคือสู่ความเป็น ปกติ ผ่านการออกแบบพื้นที่ที่ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย พื้นที่ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ในโครงการออกมาใช้งานได้เหมือน พื้นที่ทั่วไป

18
รูปภาพ 26 ลานอเนกประสงค์ให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่มา ผู้จัดทำ

3.4 ความเป็นไปได้ด้านกฎหมาย กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2546) กฎกระทรวง ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2550) กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2563)

3.4.1 ประเภทอาคาร “อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารทีมีพืนทีรวมกันทุกชันหรือชันหนึงชันใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคารทีมีความสูงตังแต่ 15.00 เมตรขึนไป

3.4.2 ลักษณะของอาคาร

3.4.2.1 รั้วหรือกําแพงกันเขตทีอยู่มุมถนนสาธารณะทีมีความกว้างตังแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา ต้องปาดมุมรั้วหรือกําแพงกันเขตนั้น โดยให้ส่วนที่ปาดมุมมีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทํามุมกับแนวถนนสาธารณะเป็น มุมเท่า ๆ กัน

3.4.3พื้นที่ภายในอาคาร

3.4.3.1 ห้องที่ใช้เป็นสํานักงาน ระยะดิ่งไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

3.4.4 บันไดของอาคาร

3.4.4.1 บันไดของอาคารดังกล่าวที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นทีอาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้าง สุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ถ้าความกว้างสุทธิของบันไดน้อยกว่า 1.50 เมตร ต้องมีบันไดอย่างน้อยสองบันได และแต่ละ บันไดต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร

3.4.5 บันไดหนีไฟ

3.4.5.1 ประตูหนีไฟต้องทําด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และ ต้องทําเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น กับต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง และต้อง สามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้น

3.4.6 ที่ว่างภายนอกอาคาร

3.4.6.1 ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ และอาคารอื่นซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่ น้อยกว่า 10 ใน 100 ส่วน ของพื้นทีชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร

3.4.7 แนวอาคารและระยะต่างๆ

3.4.7.1 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจาก

กึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร

3.4.7.2 ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย

6 เมตร

3.4.7.3 ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะ อย่างน้อย 2

เมตร

3.4.8 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2677 เล่ม2-2558

3.4.8.1 งานสถาปัตยกรรม

• สภาพภายในและภายนอกที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย

• แยกส่วนที่เป็นพื้นที่ห้องปฏิบัติการ (Laboratory space) ออกจากพื้นที่อื่นๆ (non-laboratory space)

• ขนาดพื้นที่และความสูงของห้องปฏิบัติการและพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่อง มีความเหมาะสมและเพียงพอกับการใช้งาน จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ชนิดและปริมาณของเครื่องมือและอุปกรณ์

• วัสดุที่ใช้เป็นพื้นผิวของพื้น ผนัง เพดานอยู่ในสภาพที่ดี มีความเหมาะสมต่อการใช้งานและได้รับการดูแล

บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

• ช่องเปิดมีขนาดและจำนวนที่เหมาะสม โดยสามารถควบคุมการเข้าออกและเปิดออกได้ง่ายในกรณีฉุกเฉิน

• มีการแสดงข้อมูลที่ตั้งสถาปัตยกรรมที่สื่อสารถึงการเคลื่อนที่และลักษณะทางเดินได้แก่

19
ผังพื้น แสดงตำแหน่ง เส้นทางหนีไฟและตำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉิน

3.5.1 การเลือกที่ตั้งในระดับภาค

รูปภาพ 27

กราฟแสดงสถิติการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิติ ร่างกายและเพศ พ.ศ. 2564

ที่มา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีสถิติการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวชีวิต ร่างกายและเพศ มากที่สุด รองลงมาจากภาคกลาง จึงทำให้ที่ตั้งในระดับภาคของโครงการตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 3.5.2 การเลือกที่ตั้งในระดับจังหวัด

รูปภาพ 28 แผนที่ประเทศไทย ที่มา ผู้จัดทำ

รูปภาพ 29 5 อันดับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการรับแจ้งคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ 2564

ที่มา (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2565)

เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเส้นทางเชื่อมต่อกับหลายจังหวัด และจังหวัดขอนแก่นยังเป็นจังหวัดเดียวที่มีการชันสูตรพลิกศพ จึงทำให้ที่ตั้งในระดับจังหวัดของโครงการตั้งอยู่ในจังหวัด

ขอนแก่น

20
3.5 ความเป็นไปได้ด้านทำเลที่ตั้งโครงการ

3.5.2 การเลือกที่ตั้งในระดับเมือง

เกณฑ์การเลือกเมือง

• เป็นศูนย์กลางจังหวัดที่การคมนาคมเข้าถึงสะดวกทุกทาง

• อยู่บริเวณใกล้ที่ตั้งศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

รูปภาพ 30 แผนที่จังหวัดขอนแก่น ที่มา (Google Maps, 2023)

เนื่องจากอำเภอเมืองขอนแก่นเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดขอนแก่น มีเส้นทางมีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงตัว เมืองทุกทาง และเป็นที่ตั้งของกองพิสูจน์หลักฐาน 4 ดังนั้นอำเภอเมืองขอนแก่นจึงเป็นที่ตั้งในระดับเมือง

3.5.3 การเลือกที่ตั้งในระดับย่าน

เกณฑ์การเลือกย่าน

• อยู่ใกล้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กองพิสูจน์หลักฐาน

• ระยะทางการเดินทางจากกองพิสูจน์หลักฐานถึงสถาบันไม่เกิน 30 นาที เพื่อรักษาสภาพของหลักฐาน

รูปภาพ 31 แผนที่จังหวัดขอนแก่น

ที่มา (Google Maps, 2023)

21

บทที่ 4

รายละเอียดโครงการ

4.1

การวิเคราะห์ผู้ใช้สอยโครงการและสภาพแวดล้อมที่ต้องการ

4.1.1

การวิเคราะห์ลักษณะกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ต้องการของผู้ใช้สอยโครงการ ผู้ใช้งานหลัก กิจกรรม ผู้ใช้งานรอง กิจกรรม

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานนิติพยาธิ ผ่าศพ ตรวจชิ้นเนื้อ ฉีด

ยากันศพเน่า ส่งศพไม่มี

ญาติให้แก่มูลนิธิ

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพิษวิทยา

เจ้าหน้ากลุ่มงานตรวจเลือด

ชีวเคมีและเขม่าดินปืน

กลุ่มงานตรวจพิสูจน์

หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล

กลุ่มงานพิเศษ

ฝ่ายอำนวยการ

ตรวจสอบหาปริมาณ

สารพิษในชีววัตถุ ตรวจ

พิษจากวัตถุพยาน

ตรวจเลือดจากคนและ ศพ หาปริมาณสาร

ชีวเคมีและเขม่าดินปืน

จากศพ

ตรวจพิสูจน์บุคคลจาก

ศพ ทำภาพเชิงซ้อน

ตรวจอายุ พิสูจน์ความ

เป็นพ่อแม่ ลูก

รับแจ้งเหตุเกี่ยวกับ

ผู้เสียชีวิต รักษาสภาพ

ศพและที่เกิดเหตุ

ถ่ายภาพ เก็บศพ ส่งศพ

ไปตรวจ

บริหารบุคคล งานคดี

และวินัย งานซ่อมบำรุง

และการเงิน การบัญชี

ตรวจสอบ รายงาน

ประชาชน ติดต่อราชการ ติดต่อรับ ศพ

เจ้าหน้าที่มูลนิธิ รับ-ส่งศพ

เจ้าพนักงานอัยการและ ตำรวจ สังเกตการณ์การชันสูตร

ตาราง 2 แสดงแผนกและกิจกรรมของผู้ใช้งานผู้ใช้งานประเภทต่างๆ 4.1.2 การประมาณการจำนวนผู้ใช้งานโครงการ

ผู้ใช้งานหลัก

จากข้อมูลและการสัมภาษณ์ มีจำนวนผู้ใช้งานหลักคือเจ้าหน้าที่สถาบันนิติเวชกลุ่มงานละ 15-20 คน

และจากกรณีศึกษาสถาบันนิติเวชวิทยาประกอบด้วยแพทย์ 14 คน รับผิดชอบตรวจศพคนละ 5-10 เคส ดังนั้นในสถาบัน นิติเวชวิทยาระดับภาค (14คนx20ศพ)/60 =5 คน และกลุ่มงานอื่นๆประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เฉลี่ยกลุ่มงานละ 20 คน มีผู้ใช้งานวันละ 20x6 กลุ่มงาน= เจ้าหน้าที่ 120 คน/วัน ผู้ใช้งานรอง

• ญาติที่มาติดต่อรับศพ จากข้อมูลและการสัมภาษณ์ 1 ศพ: ญาติ 3 คน จากสถิติมีศพเข้ามาในโครงการเฉลี่ยวันละ 20 ศพ (จำนวนญาติ 60 คน)

• เจ้าหน้าที่สอบสวน ที่มาส่งหลักฐาน1คน/คดี เจ้าหน้าที่สอบสวน 20 คน/วัน

• เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่รับ-ส่งศพมาที่สถาบันฯ 1-2 คน/ศพ เจ้าหน้าที่มูลนิธิ 40คน/วัน

• นิสิตนักศึกษาจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากข้อมูลการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ

สูงสุด 100 คน

22

ผู้บังคับการสถาบันนิติเวช

รองผู้บังคับการสถาบันนิติเวช

กลุ่มงานนิติพยาธิ กลุ่มงาน

พิษวิทยา กลุ่มงานตรวจเลือด

ชีวเคมี และเขม่าดินปืน

4.2.1 องค์ประกอบโครงการ

4.2.1.1 แผนกนิติพยาธิ

- ห้องชันสูตร

- ห้อง CT Scan

- ห้องพักเจ้าหน้าที่

- ห้องสังเกตการณ์

- ห้องเก็บศพ

4.2.1.2 ห้องปฏิบัติการ

- ห้องเตรียมวัตถุพยาน - ห้องเก็บวัตถุพยาน

- ห้องปฏิบัติการ

- ห้องเครื่องมือ

- ห้องเก็บสาร

- ห้องพักเจ้าหน้าที่

- ห้องอาหาร

4.2.1.3 ฝ่ายประชาสัมพันธ์

-ห้องประชาสัมพันธ์

- ห้องทะเบียน

4.2.1.4 ห้องรับ-ส่งวัตถุพยาน

4.2.1.5 สำนักงาน

- ห้องทำงาน

- ห้องผู้บังคับการ

- ห้องรองผู้บังคับการ

4.2.1.6 ส่วนบริการประชาชน - โรงอาหาร

กลุ่มงานตรวจพิสูจน์ หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล

กลุ่มงานพิเศษ ฝ่ายอานวยการ

23 4.1.3 โครงสร้างบริหารองค์กร แผนผัง 1 โครงสร้างองค์กรของสถาบันนิติเวชวิทยา อ้างอิงจากผังโครงสร้างองค์กรสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำตรวจ
4.2 การวิเคราห์ขนาดและจำนวนพื้นที่ใช้สอย

4.2.1.7 ส่วนงานระบบ

- ระบบไฟฟ้า

- ระบบแก๊ส

- ระบบปรับอากาศ

- ระบบประปาและสุขาภิบาล

- ระบบบำบัดน้ำเสีย

- ระบบกำจัดขยะติดเชื้อ

4.2.2 รายละเอียดพื้นที่ใช้สอยโครงการ

กลุ่มงานนิติพยาธิ

- ห้องชันสูตรศพ 7 ห้อง 6.00x6.00x7=252.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บศพ 24 ช่อง 1ห้อง 12.00x8.00 =96.00 ตรม.

- ห้องสำนักงานนิติพยาธิ 6.00x6.00 = 36.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 18.00x6.00=108.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บของ 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

- ห้องแม่บ้าน 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

รวม 504.00 ตร.ม.

กลุ่มงานชีวเคมีและเขม่าดินปืน

- ห้องตรวจรับวัตถุพยาน 1 ห้อง 5.00 x 6.00 = 30.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บตัวอย่าง 1 ห้อง 5.00 x 6.00 = 30.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บสาร 1 ห้อง 3.00 x 6.00 = 18.00 ตร.ม.

- ห้องเครื่องมือ 1 ห้อง 6.00 x 6.00 = 36.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 6.00x12.00 = 72.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บของ 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

- ห้องแม่บ้าน 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

รวม 198.00 ตร.ม.

กลุ่มงานพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล

- ห้องตรวจรับวัตถุพยาน 1 ห้อง 5.00 x 6.00 = 30.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บตัวอย่าง 1 ห้อง 5.00 x 6.00 =30.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บสาร 1 ห้อง 3.00 x 6.00 = 18.00 ตร.ม.

- ห้องเครื่องมือ 1 ห้อง 6.00 x 6.00 = 36.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 6.00x12.00 = 72.00ตร.ม.

- ห้องเก็บของ 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

- ห้องแม่บ้าน 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

รวม 198.00 ตร.ม.

กลุ่มงานพิษวิทยา

- ห้องตรวจรับวัตถุพยาน 1 ห้อง 5.00 x 6.00 = 30.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บตัวอย่าง 1 ห้อง 5.00 x 6.00 =30.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บสาร 1 ห้อง 3.00 x 6.00 = 18.00 ตร.ม.

- ห้องเครื่องมือ 1 ห้อง 6.00 x 6.00 = 36.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 6.00x12.00 = 72.00ตร.ม.

- ห้องเก็บของ 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

- ห้องแม่บ้าน 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

รวม 198.00 ตร.ม.

24

กลุ่มงานพิเศษ

- ห้องทำงานนกลุ่มงานพิเศษ 1 ห้อง 6.00x6.00 = 36.00 ตร.ม.

- ห้องดูศพ 1 ห้อง 6.00x6.00 =36.00 ตร.ม.

- ห้องประกอบพิธีกรรม 1 ห้อง 6.00x6.00 =36.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 6.00x12.00 =72.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บของ 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

- ห้องแม่บ้าน 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

รวม 192.00 ตร.ม.

ฝ่ายอำนวยการ

- ห้องผู้บังคับการ 1 ห้อง 6.00x6.00 = 36.00 ตร.ม.

- ห้องรับผู้บังคับการ 1 ห้อง 6.00x6.00= 36.00 ตร.ม.

- ห้องสำนักงาน 1 ห้อง 12.00x12.00= 144.00 ตร.ม.

- ห้องธุรการ 1 ห้อง 3.00x2.00= 6.00 ตร.ม.

- ห้องประชาสัมพันธ์ 1 ห้อง 3.00x2.00= 6.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 6.00x12.00 = 72.00 ตร.ม.

- ห้องเก็บของ 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

- ห้องแม่บ้าน 3.00x2.00 =6.00 ตร.ม.

รวม 312.00 ตร.ม.

ส่วนบริการสาธารณะ

- โถงพักคอยญาติ จำนวน 60 คน = 60.00 ตร.ม.

- ห้องประชาสัมพันธ์ 6.00x7.00=42.00 ตร.ม.

- ห้องน้ำ 6.00x7.00 = 42.00 ตร.ม.

- พื้นที่รับประทานอาหาร 12.00x12.00=144.00 ตร.ม.

รวม 288.00 ตร.ม.

ส่วนงานระบบ

- ห้องเก็บขยะติดเชื้อ 5.00x6.00=30.00 ตร.ม.

- ห้อง Transformer 8.00x8.00=64.00 ตร.ม.

- ห้องGenerator 8.00x8.00=64.00ตร.ม.

- ห้อง MDB 6.00x6.00=36.00 ตร.ม.

- ห้อง SDB 6.00x6.00=36.00 ตร.ม.

- ห้องระบบปรับอากาศ VRV 8.00x8.00=64.00 ตร.ม.

- ที่ตั้งกล่องFilter กรองอากาศ 2.00x2.00x8=32.00 ตร.ม.

- ห้องระบบแก๊ส 8.00x8.00=64.00 ตร.ม.

- ห้องปั๊มน้ำ 6.00x6.00=36.00 ตร.ม.

- ห้องปั๊มน้ำดับเพลิง 6.00x6.00=36.00 ตร.ม.

- พื้นที่วางถังเก็บน้ำ 93.36 ตร.ม.

- ห้องงานระบบ Activated sludge 5.00x12.00=60.00 ตร.ม. รวม 615.36 ตร.ม.

ส่วนจอดรถ

- รถยนต์ 12.50x44 =550 ตร.ม.

- ที่จอดรถขนศพ 15.60x2=31.20 ตร.ม.

- ที่จอดรถเก็บขยะติดเชื้อ 39.00x2=78.00 ตร.ม.

- ที่จอดรถโรงพยาบาล 15.60x2=31.20 ตร.ม.

- ที่จอดรถService 15.60x2=31.20 ตร.ม.

รวม 721.60 ตร.ม.

25

4.3 การวิเคระห์ความสัมพันธ์และการจัดกลุ่มพื้นที่ใช้สอยโครงการ แผนผัง 2 แสดงการจัดกลุ่มพื้นที่ใช้งานและเข้าถึงพื้นที่ของผู้ใช้งานแต่ละประเภท

4.4

การวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยีอาคาร 4.4.1 ระบบรักษาความปลอดภัย VMS

ประยุกต์การใช้งานระหว่างระบบรักษาความปลอดภัยร่วมกับซอฟต์แวร์ Video Management Software เป็นระบบการ

เตือนที่มีความแม่นยำสูง

ช่วยให้สามารถยืนยันตัวตนด้วยภาพเป็นการเตือนภัยได้ในทันทีในพื้นที่หรือจากระยะไกลโดย การเชื่อมโยงกับกล้องวงจรปิด

4.4.2 ระบบป้องกันผู้บุกรุก

ช่วยเรื่องการควบคุมและจัดการการเข้าถึงป้องกันผู้บุกรุกเดินตามผู้ที่มีสิทธฺผ่านประตูที่มีระบบรักษาความปลอดภัยเข้าไป ทั้งที่ผู้บุกรุกไม่มีสิทธิในการผ่านประตูนั้น

26 ตารางสรุปพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด องค์ประกอบโครงการ พื้นที่(ตารางเมตร) ทางสัญจร พื้นที่ทั้งหมด(ตารางเมตร) กลุ่มงานนิติพยาธิ 504.00 30% 655.20 กลุ่มงานชีวเคมีและเขม่า ดินปืน 198.00 30% 257.40 กลุ่มงานพิสูจน์หลักฐาน เกี่ยวกับบุคคล 198.00 30% 257.40 กลุ่มงานพิษวิทยา 198.00 30% 257.40 กลุ่มงานพิเศษ 192.00 30% 249.60 ฝ่ายอำนวยการ 312.00 30% 405.60 ส่วนบริการสาธารณะ 288.00 35% 388.80 ส่วนงานระบบ 615.36 25% 769.20 ส่วนจอดรถ 721.60 50% 1082.40 รวม 4323.00 รวมที่ว่างภายนอกอาคาร 30% 5619.90 ตาราง 3 สรุปพื้นที่ใช้สอยในโครงการทั้งหมด

การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ

5.1 เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

5.1.1 เกณฑ์การเลือกจังหวัด

• เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมต่อกับหลายจังหวัด

• มีจำนวนคดีมาก

• จังหวัดที่มีศูนย์พิสูจน์หลักฐาน จังหวัดที่ได้ : จังหวัดขอนแก่น

5.1.2 เกณฑ์การเลือกเมือง

• เป็นศูนย์กลางจังหวัดที่การคมนาคมเข้าถึงสะดวกทุกทาง

• อยู่บริเวณใกล้ที่ตั้งศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

เมืองที่ได้ : อำเภอเมืองขอนแก่น

รูปภาพ 32 เขตอำเภอเมืองขอนแก่น

ที่มา: (Google Maps, 2023)

5.1.3 การเลือกที่ตั้งโครงการ

รูปภาพ 33 จุดที่ตั้งของที่ดินสำหรับเลือกที่ตั้งโครงการ ที่มา (Google Maps, 2023)

ในการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการจะเลือกโดยการแบ่งโซนออกเป็น3โซน

• โซน 1 อยู่ในระยะของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

• โซน 2 อยู่ในระยะของโรงพยาบาลราชพฤกษ์และโรงพยาบาลกรุงเทพ-ขอนแก่น

• โซน 3 อยู่ในระยะโรงพยาบาลขอนแก่น

27 บทที่ 5

รูปภาพ 34 เส้นทางถนนมิตรภาพและประเภทที่ดินย่านถนนมิตรภาพหน้าบ้าน

ดัดแปลงจาก: (Google Maps, 2023)

การวิเคราะห์ย่าน

• เชื่อมต่อด้วยถนนมิตรภาพ

• เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

• มีสถานที่ราชการ แต่ไม่มีพื้นที่เหลือ

• เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลศรีนครินทร์

• ติดกับที่ดินของสถานศึกษา

• มีที่ดินที่มีความเป็นไปได้ในการเป็นที่ตั้งโครงการ

• ใกล้กับกองพิสูจน์หลักฐาน

28 ZONE 1 : ย่านถนนมิตรภาพ

รูปภาพ 35 เส้นทางถนนมิตรภาพและประเภทที่ดินย่านถนนมิตรภาพหน้าบ้านและถนนมะลิวัลย์

ดัดแปลงจาก: (Google Maps, 2023)

การวิเคราะห์ย่าน

• เชื่อมต่อด้วยถนนมิตรภาพและถนนมะลิวัลย์

• เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

• มีสถานที่ราชการ แต่ไม่มีพื้นที่เหลือ

• เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลราชพฤกษ์

• เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลกรุงเทพ-ขอนแก่น

• ติดกับที่ดินของสถานศึกษา

• มีที่ดินที่มีความเป็นไปได้ในการเป็นที่ตั้งโครงการ

• ใกล้กับกองพิสูจน์หลักฐาน

29 ZONE 2 : ย่านถนนมิตรภาพ-มะลิวัลย์

รูปภาพ 36 เส้นทางถนนมิตรภาพและประเภทที่ดินย่านถนนศรีจันทร์

ดัดแปลงจาก: (Google Maps, 2023)

การวิเคราะห์ย่าน

• มีถนนสายหลักคือถนนศรีจันทร์

• เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น

• มีสถานที่ราชการ แต่ไม่มีพื้นที่เหลือ

• มีพื้นที่ที่เป็นบ่อบำบัด

• มีพื้นที่รองรับน้ำ

• จากการสำรวจ ไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับเป็นตัวเลือกที่ตั้งโครงการ

30 ZONE 3 : ย่านถนนศรีจันทร์

ย่านที่ได้ : ZONE 2 ถนนมิตรภาพ-มะลิวัลย์

ตาราง 4 การให้คะแนนการเลือกย่านที่จะเป็นที่ตั้งโครงการ

31
พื้นที่ที่เหลือที่สามารถเลือกได้
ตารางการให้คะแนนในการเลือกย่าน เกณฑ คาถวง นาหนก ZONE 1 ZONE 2 1) มการเชอมตอกบจงหวดขางเคยง 5 4 20 5 25 2)มความสะดวกในการเชอมตอกบโรงพยาบาล 4 3 12 4 16 3)เสนทางเชอมตอกบกองพสจนหลกฐาน 3 5 15 5 15 4)ไมเปนพนททแออดดวยชมชน 2 3 6 2 4 รวม 53 60
รูปภาพ 37
ดัดแปลงจาก: (Google Maps, 2023)
32 รูปภาพ 38 ที่ตั้งโครงการที่สามารถเลือกได้ ดัดแปลงจาก: (Google Maps, 2023) Site 1 รูปภาพ 39 ตัวเลือกที่ตั้งโครงการตัวเลือกที่ 1 ที่มา (กรมที่ดิน, 2023) โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น โรงพยาบาลราชพฤกษ์ SITE 1 SITE 2
33 SITE 2 รูปภาพ
2 ที่มา
ตารางการให้คะแนนในการเลือก SITE เกณฑ คาถวง นาหนก SITE 1 SITE 2 1) การคมนาคมเขาถงเชอมตอสะดวก 5 4 20 4 20 2) ใกลสถานทราชการทเกยวของ 4 4 16 3 12 3) มมมองการรบรของบคคลภายนอก ตอทตงโครงการ 3 3 9 3 9 4) สภาพทตงโครงการและบรบทโดยรอบ ทสงเสรมกน 2 4 8 3 6 รวม 53 47 SITE ที่ได้: SITE 1 ตาราง 5 การให้คะแนนการเลือกที่ดินที่จะเป็นที่ตั้งโครงการ
40 ตัวเลือกที่ตั้งโครงการตัวเลือกทที่
(กรมที่ดิน, 2023)

รูปภาพ 41 รูปแปลงที่ดินที่ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งโครงการ

ที่มา (กรมที่ดิน, 2023)

ระวางที่ 5541/6818-06 (1000)

ถนน มิตรภาพ

ตำบล ในเมือง

อำเภอ เมืองขอนแก่น

จังหวัด ขอนแก่น

ขนาดที่ดิน 6 ไร่ 1 งาน 75.9 ตารางวา

รูปภาพ 42 ภาพที่ตั้งโครงการฝั่งทิศตะวันออก

ที่มา (กรมที่ดิน, 2023)

จากการสำรวจ

มีการถมดินขึ้นมาหนึ่งระดับและปลูกต้นกล้วย ด้านซ้ายมือเมื่อหันหน้าเข้าหาที่ดิน เคยมีโรงกลึงตั้งอยู่ ปัจจุบันถูกรื้อถอน ไปแล้วกลายเป็นที่ดินเปล่า ในระยะ 100 เมตรมีบริษัทไทยสมุทรประกันชีวิตซึ่งไม่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม ในระยะ 300 เมตรเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลราชพฤกษ์สามารถขนส่งศพได้อย่างสะดวก สามารถใช้ซอยเทพผาสุกข้าง ซ้ายมือของที่ตั้งโครงการ เดินทางผ่านซอยสีมารัตน์ 8 เพื่อเดินทางไปที่ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 ได้

รูปภาพ 43 หมู่บ้านไทยสมุทรและโรงพยาบาลราชพฤกษ์

ที่มา (กรมที่ดิน, 2023)

34 5.2 การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.