@Surat Magazine issue 73

Page 56

Herbs for Health Text / Photo : หนังสือสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 11

ตำ�ลึง

ยาเบาหวาน คลานตามรั้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt วงศ์ Cucurbitaceae ชื่ออื่นๆ : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเต๊าะ (แม่ฮ่องสอน) ผักตำ�นิน (อีสาน) ลักษณะ : ไม้เถาล้มลุก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ แยกเพศต่างต้น ออกที่ง่ามใบ สีขาว ผลสุกสีแดง การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ

ผักรวยวิตามินเอ บำ�รุงตา บำ�รุงผิวพรรณ ตำ�ลึงเป็นผักที่มีวิตามินสูงมาก สูงเป็นอันดับสี่จากการศึกษาของกรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ อันดับหนึ่งคือ ใบยอ 43,333 ยูนิต ใบแมงลัก 26,000 ยูนิต ใบโหระพา 20,712 ยูนิต ใบตำ�ลึง 18,608 ยูนิต ซึ่งมากกว่า มะรุมประมาณ 3 เท่า (มะรุมมีวติ ามินเอ 7,564 ยูนิต) ในสมัยก่อนชาวบ้าน ที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ จะเลือกรับประทานตำ�ลึงเป็นอาหาร ประจำ�และอย่าลืมรับประทานอาหารที่มีไขมันร่วมด้วยเพราะจะช่วยในการ ดูดซึมวิตามินเอได้ดีขึ้น สำ�หรับคนผิวแห้ง ไม่มีน้ำ�มีนวล ขอแนะนำ�ให้กินตำ�ลึงเป็นอาหาร ทุกวัน เพราะในตำ�ลึงนอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังมีวิตามินบี 3 ที่ช่วยบำ�รุงผิวหนัง ทำ�ให้ผิวสวยได้อีกด้วย

ตำ�ลึง...มรดกสุขภาพที่อาอึ้มอาม่าทิ้งไว้ในชาม ในสมัยทีผ่ เู้ ขียนเรียนอยูป่ ระถมปลาย ได้เข้ามาพักอยูก่ บั อาอึม้ “ร้านง่วนฮะ” ในตลาดนครนายก อาหารทีไ่ ม่เคยขาดในสำ�รับเย็น ทุกวัน ทุกวันจริงๆ คือบะช่อหมูสับตำ�ลึง แต่ทุกคนในบ้านก็กิน กันได้ไม่เคยเบือ่ เมือ่ โตขึน้ เป็นเภสัชกรทีส่ นใจสมุนไพรจึงได้ทราบ ถึงภูมิปัญญาอาอึ้มในการทำ�อาหารสุขภาพให้คนในครอบครัวได้ รับประทาน ตำ�ลึงเหมาะเป็นผักที่ควรรับประทานทุกวันจริงๆ เพราะ เป็นสมุนไพรที่มีรสเย็น แก้ร้อนใน ช่วยดับพิษร้อนอันเกิดจาก ความเครียดที่ต้องเผชิญมาทั้งวัน อีกทั้งตำ�ลึงยังมีสารช่วยย่อย แป้ง ทำ�ให้ไม่อดึ อัดท้องเมือ่ รับประทานอาหารเข้าไป ตำ�ลึงยังช่วย ในการขับถ่าย แก้ทอ้ งผูก มีคณ ุ ค่าทางอาหารสูง ช่วยบำ�รุงสุขภาพ ทีส่ �ำ คัญมีฤทธิต์ า้ นอนุมลู อิสระและต้านการอักเสบ จึงมีประโยชน์ ต่อการชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และเหมาะกับผู้หญิง ที่ให้นมบุตรเพราะช่วยเรียกน้ำ�นม และมีสารอาหาร แคลเซียม วิตามินที่เป็นประโยชน์กับทารก

56

ตำ�ลึง...อาหารเสริมแคลเซียม ตำ�ลึงนัน้ เป็นผักทีอ่ ดุ มด้วยวิตามิน แร่ธาตุ มากคุณค่าทางโภชนาการ เป็น ยาสมุนไพรที่ใกล้ชิดชาวบ้าน งานวิจัยล่าสุดจากการศึกษาของสถาบันวิจัย โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามโครงการพัฒนาตำ�รับอาหารไทยที่มี แคลเซียมสูงได้ศึกษาอาหารในเมืองไทย โดยเลือกกลุ่มพืชผักเป็นตัวนำ�ร่อง มาเปรียบเทียบกับนมที่ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นแหล่งอาหารดีที่สุดของ แคลเซียม ในอาสาสมัครคนไทย เพศหญิงอายุระหว่าง 20-45 ปี พบข้อมูล สำ�คัญว่า ความสามารถในการดูดซึมและนำ�ไปใช้ประโยชน์ของแคลเซียมจาก นม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 55.2 ขณะที่การดูดซึมแคลเซียมจากตำ�ลึงและถั่วพูมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 47.6 และ 39.1 ตามลำ�ดับ ส่วนผักบางชนิดแม้จะ มีแคลเซียมสูงแต่ก็มีสารไฟเตท และออกซาเลทมาก จนไปขัดขวางการดูด ซึมได้ เช่น ผักโขม เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่ไม่นิยมการดื่มนมหรือดื่มนมไม่ได้เพราะร่างกายไม่ย่อย ทำ�ให้ ท้องอืด ควรหันมาเลือกกินใบตำ�ลึงและถั่วพูมากๆ แม้การดูดซึมจะไม่มาก เท่าแต่ก็เป็นรองเล็กน้อยเท่านั้น และยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงทีเดียว การกิน ตำ�ลึงเป็นประจำ�จะช่วยให้รา่ งกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง โดยไม่ตอ้ งเสียเงิน ไปซื้ออาหารเสริมแพงๆ แต่อย่างใด


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.