บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation art) โดย สมพร รอดบุญ ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation art) เริ่มแพร่หลายเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกาและยุโรปใน ทศวรรษ ของปี ค.ศ. 1980 เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะหลังลัทธิสมัยใหม่ (Post Modernism) ได้เข้ามามีบทบาทต่อ วงการศิลปะของโลก แอพโพรพริเอชั่นในงานศิลปะคืออะไรนั้นยังเป็นคาถามที่มีผู้สงสัยอยู่เป็นจานวนมาก เอกลักษณ์สาคัญของศิลปะแอพโพรพริเอชั่นคือ การหยิบยืม (borrow) รูปแบบงานศิลปะในอดีตหรือใน ประวัติศาสตร์หรือของศิลปินคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของคนในวงการ ศิลปะหรือผู้คนทั่วไป มาสร้างขึ้นใหม่ด้วยการผสมผสานกับงานของศิลปินผู้ยืมในบริบทใหม่มีความหมายใหม่ ซึ่งเป็นไปตามความคิด หรือความต้องการของศิลปินที่มีความหลากหลาย
Paul Wunderlich, Luncheon on the Glass after Manet, acrylic on canvas, 130 x 162 cm.1977
การขอยืมหรือการนางานของศิลปินคนอื่นมาใช้นั้น มิใช่เป็นการลอกเลียนหรือก็อปปี้ (Reproduction) ให้เหมือนงานต้นฉบับทุกประการ และการยืมงานต้นฉบับมาสร้างขึ้นใหม่ (recreate)
ในงานของศิลปินก็
มิได้มีเจตนาที่จะนางานที่ยืมมานั้นมาใช้ในแง่ลบ หรือเป็นการทาลายอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่เป็นเรื่อง ของการใช้สติปัญญาความคิดการใช้เหตุผลสัมพันธ์กับเรื่องราวสถานการณ์ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏ รอบๆตัว ศิล ปิน สังคม และโลกในการสร้างสรรค์ศิล ปะของเขา โดยทั่วไปแล้ วนั้นความหมายเดิมในงาน ต้นฉบับมิได้ถูกนามาใช้การยืมงานของศิลปินในอดีตหรือในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการยืมรูปแบบ การจัดวาง องค์ประกอบ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของงานต้นฉบับ มาใช้อย่างมีเหตุผลมีความหมายและสาระ