บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ศิลป และ ศีลธรรม ART AND MORALITY เขียนโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี แปลโดย อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ มีคนไม่น้อยสงสัยเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของศิลปะ และไม่ค่อยจะทราบกันเสียด้วยว่าศิลปมีอิทธิพลทาง สังคมและทางศีลธรรมเหนือความเป็นอยู่ของประชาชน ว่าโดยหลักการ ศิลปมีความมุ่งหมายในทางเกื้อกูลศีลธรรมและยกระดับทางจิตใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ของมวลมนุษย์ทุกชาติ แต่ละชาติย่อมมีการแสดงออกทางศิลปแตกต่างกันอยู่มาก การแสดงออกบางอย่างก็ พอจะเข้าใจได้ บางอย่างที่ก้าวหน้าไปมากจนยากที่จะเข้าใจก็มี แต่จุดหมายปลายทางของศิลปินทุก ๆ คน ก็ คือต้องการสร้างงานศิลปที่เกื้อกูลพุทธิปัญญาและจิตใจของมนุษยชาติ งานศิลปเหล่านั้น จึงอาจเป็นกุศล เป็น อัพยากฤต และ กลายเป็น อกุศลไปก็มี คาว่า อกุศล หมายถึง ไร้ศีล ธรรม หรือทุศีล ตรงข้ามกับกุศล คือ ประกอบด้วยศีลธรรม แต่จะต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าบางครั้งบางคราวศิลปินก็ต้องใช้เรื่องที่เป็นอกุศล หรือเป็นเรื่อง ทุศีล เพื่อแก้ไขมิให้เราลงไปสู่ทางชั่วช้าตกต่า ศิลปินหาทางนาเอา “ปีศาจ” หรือสิ่งชั่วร้าย มาเป็นเครื่องแสดง ให้เราเห็นทางที่ถูกที่ชอบทีเ่ ราจะต้องดาเนินตาม ตัวอย่าง ถ้าเราดูจิตรกรรม ชื่อ “Au Salou De La Rue Des Moulins” ของลอแทร็ก1 เป็นภาพแสดง ถึงพวกผู้หญิงคนชั่ว เราอาจคิดเห็นกันว่าลอแทร็กเขียนภาพอกุศล ไร้ศีลธรรม ตรงข้ามในการเขียนภาพผู้หญิง ที่อับโชคเหล่านั้นขึ้นก็เนื่องจากลอแทร็กเองเป็นคนร่างกายพิการ จึงมองเห็นความทุกข์ยากของผู้อื่นได้ดีกว่า คนธรรมดาเขามุ่งหมายจะชี้ให้เราเห็นข้อบกพร่องที่น่าละอายเป็นอย่างยิ่งของสังคมปัจจุบันด้วยภาพเขียนของ เขา จึงเกิดเป็นปฏิกิริยาให้เราเกิดสงสารสังเวชต่อสตรีผู้ไร้ความสุขเหล่านั้น แล้วสานึกถึงว่าเป็นหน้ าที่ของเรา ที่จะต้องช่วยกันแก้ไขหาทางขจัดสมุฏฐานแห่งความทุกข์เช่นนี้เสีย อนึ่ง ในปัจจุบันนี้ เมื่อเราอ่านหนังสือนวนิยายเรื่อง เดคาเมรอน จะเห็นเป็นเรื่องขัดต่อหลักศีลธรรม ปัจจุบันอยู่มาก แต่เมื่อครั้ง บ็อกกาจจิโอ เขียนนวนิยายอันปราศจากศีลธรรมเหล่านั้นขึ้น บ็ อกกาจจิโอเป็นคน มีศีลธรรม และงานประพันธ์ของเขามีส่วนช่วยแก้ไขสถานะของสังคมอยู่ด้วย เมื่อปี พ.ศ. 1891 นครฟลอเรนช์ ซึ่งมีพลเมืองประมาณแสนคนได้ประสบ “ไข้ดา” ทาลายชีวิตประชาชนเสียราว 70,000 คน ผู้ที่มีชีวิตรอดอยู่ก็ เสียขวัญ บทประพันธ์ของบ็อกกาจจิโอจึงเท่ากับนาเอาชีวิตมาคืนให้ประชาชนพลเมืองผู้มีใจหดหู่อยู่แล้ว ให้ กลับมีความแช่มชื่นเบิกบาน เพราะฉะนั้น เรื่องที่เป็นทุศีลของบ็อกกาจจิโอ จึงเป็นเรื่องที่มีความมุ่งหมาย ก่อให้เกิดศีลธรรม เกี่ยวกับศิลปทางกามวิสัยของอินเดีย ก็มีเรื่องจะพูดได้เช่นเดียวกัน ตามเทวสถานของอิน เดีย เราจะ สังเกตเห็นรูปแกะสลักเป็นภาพเมถุนกอดรัดกัน ตลอดจนแสดงเมถุนสังวาส นั่น เป็นสิ่งไร้ศีลธรรมหรือ ? เปล่า


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.
บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47 by art centre - Issuu