บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ศิลปกรรมแห่งชาติ 5 ทศวรรษ โดย สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (สิงหาคม พ.ศ. 2542) มรดกของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คือผลิตผลของศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยทั้งหมด รูปธรรมของ มรดกที่ชัดเจนที่เป็นสถาบันทางศิลปะ คือ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และที่เป็ นกิจ กรรมทางศิล ปะร่ ว มสมัยที่ส าคัญและยังดาเนินอยู่ทุกปีคือ การจัดการแสดงศิล ปกรรมแห่งชาติ ผลิตผลทั้ง 2 ประการช่วยสร้างสรรค์วงการศิลปะให้เจริญเติบโตขึ้นเป็นรากฐานอันมั่นคงเชื่อมต่อผลิตผลอื่น ๆ ใน วงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยยุคต่อ ๆ มา เป็นบ่อเกิดสถาบันการศึกษาศิลปะ หอศิลป์และการจัดประกวด ศิลปกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างมากมายในปัจจุบัน
ภาพที่ 1 วิถีแห่งความฝัน มีเซียม ยิบอินซอย, สีน้ามันบนผ้าใบ 112 x 9 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492 ภาพที่ 2 เสร็จสรง แสวง สงฆ์มั่งมี, ปูนปลาสเตอร์, 150 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 ภาพที่ 3 ขลุ่ยทิพย์ เขียน ยิ้มศิริ, สาริด, 55 x 38 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นการแสดงและการจัดประกวดผลงานศิลปกรรมที่มีประวัติศาสตร์ความ ต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดถึง 5 ทศวรรษ กล่าวคือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้มีบทบาทผลักดันให้เกิดการ แสดงดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแสดงศิลปกรรมลักษณะนี้ใน สังคมไทย1 เป็นการแสดงที่พยายามพิสูจน์ความถูกควรและความดีงามของศิลปะสมัยใหม่ให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็สามารถทาสาเร็จได้ในระดับหนึ่งเพียงทศวรรษแรกขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่