บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 28 (คัดลอกจาก จากสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1) เก่ากับใหม่ เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แปลโดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ผู้ที่เคยไปต่างประเทศ คงจะเคยสังเกตเห็นว่าในประเทศเหล่านั้นเขาจัดให้มีการแสดงศิลปกรรมมาก รายและเป็นคราวไป ถ้าเป็นเมืองใหญ่และเมืองศูนย์กลางของประเทศ ผู้ไปเที่ยวจะสังเกตได้ว่ามีการแสดง อย่างนี้พร้อม ๆ กันมากแห่งในเมืองเดียวกัน ทุกวันนี้ การแสดงศิลปะก็เหมือนการแสดง (คอนเสิร์ต) ดนตรี การแสดงปาฐกถาและการแสดงอื่นๆ คือ เป็นสิ่งที่จาเป็นแก่มหาชน เพื่อให้ได้รับความบันเทิงใจ สาหรับอบรมอินทรีย์และขัดเกลาจิตใจให้เกิดความรู้สึก ดีงามทางสุนทรียภาพประณีตยิ่งขึ้น เพราะด้วยการแสดงเหล่านี้ ที่ศิลปินสามารถแสดงบุคลิกลักษณะของตน ให้ปรากฏออกมาได้อย่างเสรี เพราะไม่มีข้อผูกมัดเป็นพันธกรณีในการที่จะรับใช้แก่งานอย่างอื่นนอกจากแสดง ความนึกเห็นและความรู้สึกของตนเท่านั้น เมื่อมาคานึงถึงเรื่องนี้ในประเทศของเรายังไม่มีการจัดแสดงศิลปะแห่งชาติขึ้น ทางราชการกรมศิลปากร และศิลปินไทยหมู่หนึ่ง จึงคิดเห็นว่าจาเป็นจะจัดให้มีการแสดงอย่างนี้ขึ้นเป็นงานประจาปี และครั้งนี้เป็นครั้ง แรก (พ.ศ. 2492) เพื่อเป็นเครื่องช่วยการสารวจวิจารณ์ถึงความก้าวหน้า และความเคลื่อนไหวแห่งศิลปินของ เรา และทั้งเป็นเครื่องกระตุ้นให้มหาชนชาวไทย มีความสนใจศิลปะแบบปัจจุบันด้วย ศิลปะแบบปัจจุบันในประเทศไทย ก็เป็นทานองเหมือนสิ่งที่แปลกทีใ่ หม่ ซึ่งจะต้องวินิจฉัยจากแง่หนึ่ง เป็นพิเศษ เพราะศิลปะอย่างนี้ไม่ได้เจริญคลี่คลายมาจากแบบอย่างของเก่าในลักษณะเป็นวิวัฒนาการเหมือน ดังที่เป็นอยู่ในที่ต่างๆ ในโลกนี้หลายแห่ง ศิลปะแบบเก่าของเรากล่าวแต่ที่เป็นเนื้อหาสาระก็เป็นศิลปะที่ กาหนดนิยมกันเป็นประเพณีมาเพื่อรับใช้ทางพระศาสนา หรือเพิ่มพูนความงามให้แก่ปราสาทราชมณเฑียรและ สิ่งอันเป็นเครื่องราชูปโภค มาในสมัยปัจจุบันของเราศิลปะก็มาเป็นส่วนหนึ่งแห่งความเป็นอยู่ของมหาชน อัน เป็นบุญลาภอย่างใหญ่แก่บุคคลซึ่งมีความสนใจที่จะอบรมจิตใจของตนให้ประณีตรู้ค่าอันดีของสิ่งงาม ศิลปิน สมัยปัจจุบันสร้างภาพรูปคน ทิวทัศน์ อนุสาวรีย์ รูปคนทั้งตัว สิ่งสาหรับตกแต่งบ้านเรือนและอื่นๆ อีกอเนก ประการ เป็นชนิดของงานทางศิลปะ ซึ่งศิลปินโบราณาจารย์ไม่ได้ทา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาจะเอาศิลปะซึ่ง เป็นสาแดงออกมาในสมัยปัจจุบัน ไปเทียบกันได้กับศิลปะสืบต่อเป็นประเพณีกันมาแต่ก่อน ความจริง อดีตก็เป็นวิถีทางแห่งความรุ่งเรืองของเราทุกคน สาหรับให้เรารู้ ให้เราศึกษาและเป็นสิ่ง บันดาลใจแก่เราในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ แท้ที่จริงว่าในแดนแห่งศิลปะ ความบันดาลใจเช่นนี้ย่อมช่วยเราให้รักษา