บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ภาพวาดชายเปลือย (male nude) และ ประเด็น “รักร่วมเพศ” ในศิลปะ โดย วรเทพ อรรคบุตร I ในบรรดาข้อห้ามหรือข้อควรระวังที่มิพึงแตะต้องข้องแวะ เพื่อนามาเป็น “เนื้อเรื่อง” สาหรับสร้างศิลปะ น าเสนอต่ อ มวลชน โดยที่ไ ม่ส ร้ างข้ อครหาหรือ ก่ อกรณี พิ พาทว่า เป็น ศิ ล ปะอัน “เสื่ อ มทราม” หรื อ “ไร้ ศีลธรรม” ประการหนึ่งที่พึงหลีกเลี่ยงคือเรื่องของ “เพศและกามารมณ์” สาหรับเพศวิถีภาคบังคับที่สังคมยอมรับอย่างรักต่างเพศ (heterosexuality) ไม่ใคร่จะก่อความขัดแย้ง รุนแรงเท่าใดนัก เนื่องจากสอดคล้องกับครรลองของสังคมโดยทั่วไป แถมศิลปินอาจได้รับการยกย่องติดตามมา ด้วยว่าเป็นผู้ที่สามารถแปลงพรสวรรค์ – พลังสร้างสรรค์และความปรารถนาเบื้องลึกที่สุมแน่นอยู่ในใจให้ ยกระดับ (sublime) ไปสู่ภาวะที่เรียกว่าเป็นการปลดเปลื้องความต้องการทางเพศผ่านรูปทรงทางศิลปะอย่างมี ชั้นเชิง แถมยังน่าใคร่น่าชมอีกด้วย แต่สาหรับเพศวิถีที่ถูกตีตราว่า “ผิดแผก” “วิปริตผิดครรลองคลองธรรม” หรือประหนึ่งเป็น “บาปที่ สมควรปกปิด” อย่าง “รักร่วมเพศ” (homosexuality) กลับเป็นเรื่องราวอันพ้นวิสัยที่จะสามารถแสดงออกมา อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน หรือได้รับที่ทางสาหรับ “แสดงตัวตน” อย่างเปิดเผยต่อธารกานัล
รูปภาพ 1 อะคีลิสพันแผลให้เปโตรคลัส ราวห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล รูปภาพ 2 ชายจุมพิตเด็กชายที่วาดไว้ในเครือ่ งถ้วย ราวสี่ร้อยแปดสิบปีก่อนคริสตกาล
กระนั้นก็ดี ในผลงานทั้งประเภทวิจิตรศิลป์หรือหัตถศิลป์ของยุคสมัยต่างๆ เป็นประจักษ์พยานอย่างดีที่ ช่วยยืนยันถึงการมีอยู่ของ “ชนกลุ่มน้อย” / ชนชายขอบ (marginal minority) ซึ่งมีมานานและสามารถ สืบค้นย้อนหลังกลับไปได้ไกลถึงสมัยกรีก โดยปรากฏอยู่ทั้งในงานเขียนทางปรั ชญาที่มีชื่อเสียง เช่น เฟดรัส (Phaedrus) ของเพลโต รวมถึงตานานวีร บุรุษและเทพปกรณัม เช่น แกนิมีด ตลอดจนภาพวาดและงาน