บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ศิลปสุโขทัย บรรดาอารยธรรมที่สาคัญทุกอย่าง ย่อมมียุครุ่งเรืองหรือยุคทอง ซึ่งยุคดังกล่าวนี้ก็ขึ้นอยู่กับความ เจริญอย่างสูงทางด้านวัตถุ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ความเจริญทางจิตใจ สมการซึ่งประเทศไทยเราเกี่ยวข้อง อยู่กับยุคทองของสมัยสุโขทัยนั้นก็คือเอกราชและศาสนาประจาชาตินั่นเอง ไม่เคยปรากฏเลยว่าชนชาติที่เป็น ไทแก่ตัวเองในอดีต จะมีชาติใดสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยเชื้อชาติอย่างเป็นปึกแผ่น โดยปราศจากความนับถือ ร่วมกัน สาหรับชนชาวไทยนั้น ความนับถือดังกล่าวนี้ ทั้งที่มีมาแล้วในอดีตและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็คือความ นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน การที่ชาวไทยเลือกนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานเป็นศาสนาประจา ชาติ ก็เพราะเห็นกันว่าคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสอดคล้องต้องกันเป็นอย่างดีกับความต้องการทางจิตใจของ ตน อันที่จริงเมื่อครั้งชนชาวไทยตกอยู่ภายใต้อานาจปกครองของชนชาติเขมร ชาวไทยก็ได้มีโอกาสรู้จัก พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาฮินดูมาก่อนแล้ว แต่ชนชาวไทยไม่นิยมปรัชญาในศาสนาทั้งสองนั้น เมื่อเราเข้าใจว่า ชาวไทยเคารพนั บถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานเพราะมีความดื่มด่าในรสพระ สัทธรรมคาสั่งสอนอันแผ่ไพศาลไปในโลกอยู่ในดวงจิตของตนแล้ว เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่า การเนรมิตศิลปอัน ยิ่งใหญ่ของคนไทย ก็คือการสร้างพระรูปขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราตรวจดินแดนในพื้นที่ตั้งแต่แคว้น คันธาระเรื่อยมาจนถึงอินเดีย พม่า อินโดจีน อินโดนีเซีย จีน และญี่ปุน เราจะเห็นได้ว่าในระยะเวลาสองพันปีที่ ผ่านพ้นมานี้ ได้มีผู้สร้างพระพุทธรูปกันขึ้นนับด้วยจานวนล้านๆ องค์ โดยหล่อขึ้นด้วยทองสาริดก็มี จาหลักด้วย ศิลาก็มี ทาด้วยปูนปั้นหรือบุด้วยโลหะก็มี แต่เมื่อศึกษาถึงการสร้างพระพุทธรูปอันมีหลายแบบอย่างและต่าง ยุคต่างสมัยกันอย่างมากมายเช่นนี้แล้ว ก็ไม่เป็นการยากที่จะสังเกตเห็นได้ว่า มีพระพุทธรูปน้อยองค์ที่แสดงให้ เห็ น ถึ ง ความหมายของพระพุ ท ธลั ก ษณะส่ ว นพระองค์ ข องพระบรมศาสดา ซึ่ ง ตามความเป็ น จริ ง แล้ ว พระพุทธรูปจานวนมากมายดังกล่าวนั้น มักจะถ่ายแบบหรือเลียนแบบจากพระพุทธรูปที่มีฝีมือช่างชั้นสูงเสีย เป็นส่วนมาก การสร้างสรรค์หรือเนรมิตพระพุทธรูปนั้น จะบังเกิดขึ้นได้ก็แต่ในสภาพการณ์พิเศษเท่านั้น ดังเช่นที่ทา กันอยู่ในสมัยสุโขทัย คุณสมบัติประการสาคัญของประติมากรรมที่แสดงออกมาเป็นพระพุทธรูปนั้น คือความสัมพันธ์อัน วิจิตรที่มีอยู่ระหว่างรูปทรงทางด้านกายวิภาค ซึ่งช่างได้ตัดทอนส่วนละเอียดออกเสียบ้างให้เหลืออยู่แต่สาระ ส่วนใหญ่ ผสมเข้าด้วยกันกับฝีมือปั้นอันเต็มไปด้วยความรู้สึกและคุณสมบัติทางจิต ซึ่งเร้าความสะเทือนใจทาง สุนทรียะของเราให้บังเกิดขึ้น ธรรมดาพุทธศาสนิกชน เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปแม้ที่ไม่มีคุณค่าทางศิลปเป็น พิเศษ ก็อาจเกิดอารมณ์รู้ สึกขึ้น ได้ เนื่ องจากตนเองมีศรัทธาอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบ ประสาทของตนอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ได้เห็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ความสะเทือนใจย่อมเกิดขึ้นได้ ด้วยความ