บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 52

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 52 คิดกันคนละอย่าง* เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แปลโดย เขียน ยิ้มศิริ (จาก Extremities หน้า 13) ปฏิกิริยาของศิลปินและประชาชนที่มีแก่ศิลปสมัยใหม่นั้น แบ่งออกได้เป็นสองฝุายตรงกันข้ามคือ ฝุาย หนึ่งได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มีความเสียใจที่งานจิตรกรรมและประติมากรรมตามแบบประเพณีที่สร้างขึ้น เพื่อ บรรยายเรื่องต่าง ๆ ในงานวรรณคดีนั้น ไม่มีใครทากันอีก อีกฝุายหนึ่ งได้แก่ศิลปิน และนักวิจารณ์ศิลป ซึ่ง ส่งเสริมงานศิลปแบบใหม่ ๆ แปลก ๆ ที่ไม่ค่อยจะมีใครเข้าใจ ได้เคยกล่าวหลายครั้งแล้วว่า ศิลปนั้นเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติของศิลปินที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ เรา คราวใดที่วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปมาก ศิลปก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะกล่าวว่า ของเก่าหรือของใหม่ดีกว่ากัน ไม่มีใครมีอานาจหยุดยั้งความจริงหรือความเสื่อมของอารยธรรมได้ อาจเป็นการ ไร้เหตุผลที่จะมาถกเถียงกันว่าขี่ช้างดีกว่าหรือขี่รถยนต์ดีกว่า ปัจจุบันนี้เราใช้รถยนต์เป็นพาหนะถ้าหากว่าใคร เกิดหาญขี่ช้างไปตามถนนเจริญกรุง ก็คงถูกจับหรือไม่ก็ถูกส่งไปอยู่โรงพยาบาลโรคจิตเป็นแน่ หากว่าสิ่งที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นถูก เราก็ควรเข้าใจได้ว่า ศิลปปัจจุบันนั้นไม่อาจมีลักษณะอย่างเช่นศิลป โบราณได้

ภาพที่ 1 ขลุ่ยทิพย์ โดย เขียน ยิ้มศิริ, สาริด 55 x 38 ซม. 2492 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 2492 ภาพที่ 2 อาหารค่า โดย ชลูด นิ่มเสมอ แม่พิมพ์ไม้ 60 x 49 ซม., 2492

ฝุายตรงข้ามกับฝุายแรก ซึ่งได้แก่ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลป ก็มีความคิดเห็นก้าวไปไกลมากพากันยก ย่องการแสดงออกซึ่งความรู้สึกที่ไม่อาจเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งมีค่าและโดยเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ สามารถ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.