บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ทางเลือก ทางเลี้ยวหรือทางแยกของศิลปะ ? โดย พัทยา สายหู ศิลปินผู้มีกิจกรรมหลักของชีวิต คือ ศิลปะ ไม่มีปัญหาว่าศิลปะคืออะไร ชาวบ้านผู้มีกิจกรรมหลักอย่าง อื่นในชีวิตที่ไม่ใช่ศิลปะ ก็ไม่มีปัญหากับศิลปะเช่นกัน เพราะไม่เคยมีความคิดติดใจเลย แต่ชาวบ้านที่ไม่ใช่ ศิลปิน ไม่มีกิจกรรมหลักที่เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะ แล้วอยากจะสนใจและเสพงานศิลปะของศิลปิน มี ปัญหาความเข้าใจเรื่องศิลปะเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยปัจจุบัน และเป็นปัญหาพิเศษสาหรับคนใน กลุ่มนี้ที่พอจะรู้บ้าง และสนใจมากเรื่องงานศิลปะเชิงเปรียบเทียบกับของคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรม ที่มีเกณฑ์มาตรฐานและการสร้างสรรค์งานศิลปะกันคนละขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เพราะสังเกตว่าศิลปินสมัยนี้ของโลกที่ไร้พรมแดนด้วยกระแสโลกาภิวัฒน์ สามารถเลือกสร้างสรรค์งานของตน ได้จากต่าง ๆ ขนบและจารีตของศิลปะที่หลากหลายและสามารถเสนอธรรมเนียมและประเพณีใหม่ของตนเอง ได้ถ้าต้องการและสามารถหาผู้ยอมรับได้ ศิลปินในโลกปัจจุบันจึงมี “ทางเลือก” ของศิลปะได้มากมายกว่าศิลปินในอดีตที่โลกยังมีพรมแดนกีดกั้น การติดต่อสมาคมกันเพราะความจากัดของการสื่อสารคมนาคมศิลปินในสังคมเกษตรกรรมแบบสมัยเก่าก่อนที่ จะเกิดมีสังคมอุตสาหกรรมแบบสมัยใหม่ (จนถึงแบบ “หลังสมัยใหม่ post - modern” ที่เริ่มมีแล้วในสังคมที่ เป็นอุตสาหกรรมนาทางมาก่อน) ไม่มีทางเลือกว่าจะสร้างงานศิลปะแบบประเพณีหรือศิลปะแบบสมัยใหม่ อย่างเก่งก็มีทางเลือกแต่เพียงจะสร้างงานศิลปะแบบชาวบ้านหรือศิลปะแบบราชสานัก ศิลปะแนวทางโลกที่ยั่ว กิเลสตัณหาของโลกียชนหรือศิลปะแนวทางธรรมเผยแพร่คาสอนของศาสนา ฯลฯ แต่อาจสังเกตได้ว่า ศิลปะ แบบราชสานักหรือศิลปะแนวทางธรรมของศาสนานั้น มักมีต้นแบบที่มาจากงานหรือแนวคิดของสังคม วัฒนธรรมอื่นอันเป็นที่ยกย่องนับถือว่าเจริญอารยะกว่าที่สังคมและศิลปินของตนมีอยู่เดิมเสมอ ศิลปะไทยที่ปัจจุบันยังต้องจาแนกให้ชัดเจนอีกว่าเป็นศิลปะไทยแบบประเพณี แบบประยุกต์แบบ สมัยใหม่ หรือร่วมสมัย แบบสากล ฯลฯ ก็เท่ากัน ได้สร้างสรรค์ตามทางเลือกที่เปิดกว้างเป็นหลายทางกว่า สมัยก่อนจนทาให้ “ศิลปะไทย” มีความหมายให้ถกเถียงอภิปรายกันได้ต่าง ๆ