PolyJ06-2

Page 22

วารสารโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

17

ปีที่ 6 กรกฎาคม - ธันวาคม 2552

จดจ่อเพิ่มขึ้น แต่การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของการออกกำลังกายทำให้ความสามารถในการจดจ่อเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะการฝึกแบบออกกำลังกายช่วยสร้างความตื่นตัวและสร้างความสนุกไม่น่าเบื่อเป็นวิธีที่ตรงใจกับ นิสิตซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่น ทำให้นิสิตเกิดความสนใจตื่นตัวที่จะฝึกและสังเกตหรือจดจ่อกับร่างกายตนเองในขณะ ฝึก นอกจากนี้การฝึกแบบออกกำลังกายยังมีการฝึกท่าประกอบกับจังหวะการหายใจเข้าออกซึ่งยิ่งช่วยสร้างการ จดจ่อให้ดีขึ้นอีกด้วย 2.2 การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของตำราโยคะดั้งเดิมไม่ทำให้ความสามารถในการผ่อน คลายและจัดการความเครียดเพิ่มขึ้น แต่การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของการออกกำลังกายทำให้ความ สามารถในการผ่อนคลายและจัดการความเครียดเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะว่าการฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของ การออกกำลังกายเมื่อมีการเคลื่อนไหวและใช้แรงมากจะทำให้รู้สึกเหนื่อยมากแต่พอฝึกเสร็จแล้วกลับมาพักใน ท่าศพในช่วงสุดท้ายสักครู่หนึ่งอาจรู้สึกถึงความแตกต่างของการผ่อนคลายที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนกว่าการฝึกแบบ ตำราโยคะดั้งเดิมซึ่งฝึกแบบผ่อนคลายใช้แรงน้อยอยู่แล้วในช่วงท้ายที่พักในท่าศพจึงไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง ชัดเจนมากเท่ากับการฝึกแบบออกกำลังกาย 2.3 การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของตำราโยคะดั้งเดิมทำให้ความสามารถในการรู้ตัว และควบคุมอารมณ์เพิ่มขึ้น ส่วนการฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของการออกกำลังกายไม่ทำให้ความสามารถใน การรู้ตัวและควบคุมอารมณ์เพิ่มขึ้นแต่ใกล้ที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมาก (Sig.=.056) อภิปรายได้ว่าการ ฝึกอาสนะทั้ง 2 วิธีมีแนวโน้มที่จะทำให้ความสามารถในการรู้ตัวและควบคุมอารมณ์เพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะ ว่าการฝึกโยคะอาสนะทั้ง 2 วิธี เป็นการฝึกที่เน้นให้มีการสังเกตร่างกายตนเองอยู่ตลอดเวลาว่ามีความรู้สึก เช่นไรหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรกับร่างกายตนเองบ้างในแต่ละขณะ เป็นการจัดท่าทางในอิริยาบถต่างๆ ด้วยความรู้ตัวซึ่งเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน 3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงความพร้อมทางด้านร่างกาย เพื่อการฝึกสมาธิของทั้ง 3 กลุ่ม มีประเด็นให้อภิปรายดังนี้ 3.1 การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของตำราโยคะดั้งเดิมทำให้เกิดความทนทานของกล้าม เนื้อแตกต่างจากการฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของการออกกำลังกาย ใช้คำอธิบายเช่นเดียวกับการอภิปรายใน หัวข้อ 1.1 ส่วนคู่ของการฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของตำราโยคะดั้งเดิมกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฝึกอาสนะ และ การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของการออกกำลังกายกับกลุ่มควบคุม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มทดลองมีความ ทนทานของกล้ามเนื้อไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อาจเป็นไปได้ว่า ระยะเวลาในการฝึกอาสนะ 8 สัปดาห์ยัง ไม่มากพอที่จะทำให้เห็นถึงความแตกต่างด้านความทนทานของกล้ามเนื้อที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฝกึ อาสนะ และ/หรือกลุม่ ควบคุมบางคนอาจใช้เวลาว่างในช่วงอืน่ สำหรับการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายอยูแ่ ล้ว 3.2 การเปลี่ยนแปลงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลังของทั้ง 3 คู่ไม่แตกต่างกัน การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของตำราโยคะดั้งเดิมมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลังไม่แตกต่างจาก การฝึกโยคะอาสนะด้วยแนวคิดของการออกกำลังกาย อาจเป็นเพราะตามที่ได้อธิบายไว้ในหัวข้อ 1.2 คือท่าที่ใช้ ฝึกอาสนะของทั้งสองกลุ่มนั้นประกอบด้วยท่าที่เน้นบริหารกล้ามเนื้อขาและหลังมากกว่าครึ่งหนึ่งของท่าอาสนะ ประเภทเสริมสร้างทั้งหมด ส่วนทั้ง 2 กลุ่มที่ฝึกอาสนะมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลังไม่แตกต่างจาก กลุ่มควบคุม อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มควบคุมบางคนอาจใช้เวลาว่างอื่นในการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเป็น ประจำอยู่แล้ว 3.3 การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทรงตัวของทั้ง 3 คู่ไม่แตกต่างกัน อาจเป็นไปได้ว่าท่า อาสนะที่ใช้ในการฝึกมีท่าที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวจำนวนน้อยคือมีเพียงท่าเก้าอี้ท่าเดียวเท่านั้นที่เป็นท่าในกลุ่ม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.