เล่มที่ 7. ตอบปัญหาธรรมและกรรม จากพระอริยเจ้า

Page 1



ขออนุโมทนาคุณงามความดีบุญกุศลทั้งหมด ที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้ น้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ พระมหาโพธิสตั ว์ พระโพธิสตั ว์ ทุกพระองค์ที่เคยบังเกิดขึ้นในทุกกัปทุกกัลป์ ขอเมตตาบู ร พาจารย์ ทุ ก ท่ า นในทุ ก ภพชาติ โดยเฉพาะหลวงปู่ทวด หลวงปู่แสง สมเด็ จโตฯ ครูบาเจ้าศรีวิชัย หลวงพ่อปาน หลวงปู่ดู่ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ� ขอโปรดเมตตาอาราธนามหาบุญญาบารมี ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ พระมหาโพธิสตั ว์ พระโพธิสตั ว์ ทุกพระองค์ ทุกองค์ และบุญกุศลของข้าพเจ้าทัง้ หลาย ทีเ่ คยทำ�มาทุกภพชาติ รวมเป็นมหาบุญกุศลอันยิง่ ใหญ่ โดยประมาณมิได้ ขอพลานุภาพแห่งมหาบุญกุศลนีโ้ ปรดดลบันดาล ให้ขา้ พเจ้า คณะผูร้ ว่ มจัดทำ� ผูเ้ ป็นเจ้าภาพ ผูใ้ ห้หนังสือ ผู้รับหนังสือ ผู้ที่ได้อ่านและครอบครัวทุกท่าน


3

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

พบแต่ความสุขความเจริญ มีเงินทองทรัพย์สิน มากมายเหลือคณานับ ความจน ความไม่มี ไม่พอ และ อุปสรรคทัง้ หลาย โรคภัยไข้เจ็บทัง้ หลาย โรคเวรโรคกรรม ขอจงอย่ าได้ บังเกิดขึ้นกับท่านทั้งหลายตั้งแต่ บั ด นี้ จนกว่าจะสำ�เร็จมรรคผลสู่พระนิพพาน ขออุทิศมหาบุญกุศลอันยิ่งใหญ่โดยประมาณ มิได้นแี้ ด่พอ่ แม่ บรรพบุรษุ ครูบาอาจารย์ ผูม้ พี ระคุณ ในทุกภพชาติ พรหมเทพเทวดาทัง้ หลาย เทวดาประจำ�ตัว เจ้าที่เจ้าทาง สรรพสัตว์สรรพวิญญาณทั้งหลายและ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย โดยเฉพาะเจ้ า กรรมนายเวรที่ กำ � ลั ง มาทวง หนี้กรรมอยู่ในขณะนี้ทั้งหมด และที่กำ�ลังรอทวงหนี้ กรรมลำ�ดับถัดไปในชาตินี้ บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ สำ�นึกผิดในกรรมที่ได้เคยกระทำ�กับท่านทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ เจตนาหรือไม่เจตนา รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวใน ทุกกรรมนัน้ ขอเมตตาจากท่านทัง้ หลายมาร่วมสร้างบุญ มาโมทนาและรับมหาบุญกุศลนี้


เพื่อเป็นการชดใช้หนี้กรรม เศษเวรเศษกรรม ทัง้ หมด หากท่านยินดีพอใจและรับในมหาบุญกุศลนีแ้ ล้ว ขอโปรดเมตตาอดโทษ ยกโทษ ให้อภัย ให้อโหสิกรรม ต่ อ ข้ า พเจ้ า ทั้ ง หลายและถอนตั ว ออกจากอุ ป สรรค ทั้งหลาย เรื่องร้ายๆ ทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยฉับพลันทันทีเทอญ พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ โมทนาสาธุ โมทนาสาธุ โมทนาสาธุ ธ.ธรรมรักษ์ และผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง


ไ ข ปั ญ ห า ธ ร ร ม แ ล ะ ก ร ร ม

จากพระอริยเจ้า ปาฏิหาริย์วิชาศักดิ์สิทธิ์ ๗


เข้าãจเรืèองการป¯ิบัµิธรรม ก‹อนลงมือป¯ิบัµิ

การป¯ิºัติธรรมอย่างเข้าใจธรรมนั้นสำาคัญ ทีÊ่ ´Ø เพราะถือเป็นหัวใจหรือเปรียบได้กบั เข็มทิศ

แห่งการปฏิบัติ คือเราต้องรู้จุดประสงค์ที่ถูกต้อง ในการปฏิบตั วิ า่ ปฏิบตั เิ พือ่ สิง่ ใดกันแน่ ไม่เช่นนัน้ อาจจะเกิดความหลงผิดในการปฏิบัติธรรมได้


7

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ครูบาอาจารย์คน สำ�คัญในพระพุทธศาสนาได้เมตตากล่าวถึงเรื่อง ธรรมกถาปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องเอาไว้ว่า “...เปลือกของศาสนาคือทาน ศีล และ ศาสนพิธีต่างๆ ถ้าทำ�ถูกแล้วจะกลายเป็นกระพี้ คือทำ�จิตใจให้เบิกบาน ยิม้ แย้ม แจ่มใส จนเกิดปีติ อิ่มใจ ทาน ศีลนั้นจะเข้ามาภายในใจ หล่อเลี้ยง น้�ำ ใจให้แช่มชืน่ อยูเ่ ป็นนิตย์นไี่ ด้ชอื่ ว่าทำ�เปลือกให้ เป็นกระพี้ เมื่อพิจารณาไปถึงความอิ่ม และความ แช่มชืน่ เบิกบานของใจ ก็เห็นเป็นแต่วา่ สิง่ เหล่านี้ เกิดขึ้นจากปัจจัยคือความพอใจเป็นเหตุ เมื่อ ความพอใจหายไป สิ่งเหล่านั้นดับไปเป็นของ ไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เราจะยึดเอาไว้เป็นของ ตัวตนไม่ได้ เป็นอนัตตา


8

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ไม่มใี ครเป็นใหญ่ เป็นอิสระ แล้วก็ปล่อยวาง เห็นเป็นสภาพตามความเป็นจริง เมือ่ พิจารณาถูก อย่างนี้ได้ชื่อว่าทำ�กระพี้ให้เป็นแก่นสาร” คำ�สอนของหลวงปู่เทสก์พอจะสรุปได้ว่า การปฏิบตั ธิ รรมใดๆ นัน้ มีจดุ ประสงค์เพือ่ ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ สภาพที่ปล่อยวางไม่ยึดมั่น ถือมัน่ กับสิง่ ใด ก็คอื สภาวะของจิตทีบ่ ริสทุ ธิห์ มด กิเลสแล้ว นั่นก็คือความเป็นพระอรหันต์ อย่างไรก็ตามในวิถีแห่งโลกและชีวิตของ ปุถชุ น การจะปฏิบตั ใิ ห้เข้าถึงนิพพานตามคำ�สอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยผ่าน ทางคำ�สอนจากครูบาอาจารย์นั้นเป็นเรื่องที่ต้อง ทำ�ความเข้าใจกันไปโดยลำ�ดับ ทีละประเด็นให้ ครบองค์ ๓ คือ ทาน ศีล และภาวนาซึ่งเป็น องค์ประกอบทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกันและกัน เป็นบาทฐาน ซึง่ กันและกัน ต้องปฏิบตั ฝิ กึ ฝนไปทัง้ ๓ ประการ


ปัญหาธรรม Ç‹า´้Çยการ·íา·าน

คนไทยเรากัºการทำาทาน การช่วยเหลือคนอืน่

นั้นเป็นของคู่กัน แต่หลายคนสงสัยว่า ทำาทาน แบบไหนถึงจะดีและได้บุญ ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าความหมายของการ ทำาทานคือ การสละสิง่ ของทรัพย์สมบัตทิ งั้ หลายที่ ตนเองมีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนอื่น


10

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

โดยมีความมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้มี ความสุขและได้รับประโยชน์จากทานนั้น แต่การ ที่เราจะทำ�ทานให้เกิดผลบุญบารมีให้สูงสุดนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ถูกต้อง ๑. วัตถุทใี่ ห้ตอ้ งบริสทุ ธิ์ เป็นของทีไ่ ม่ได้มา โดยการเบียดเบียนคดโกงผู้ใดมา ๒. เจตนาทีใ่ ห้ตอ้ งมีความบริสทุ ธิ์ ดังคำ�ถาม ทีถ่ ามว่า แม้ไม่ได้ไปยกประเคนให้จะได้บญุ หรือไม่ พระท่านก็บอกว่าได้ตั้งแต่ตอนที่คิดจะให้แล้ว ดังนั้นเจตนาที่จะให้ทานจึงมีความสำ �คัญและ เป็นปัจจัยทีบ่ ง่ ชีว้ า่ บุญจะได้มากได้นอ้ ยย่อมขึน้ อยู่ กับเจตนานั่นเอง ๓. ผูร้ บั เป็นผูบ้ ริสทุ ธิ์ เป็นผูท้ สี่ มควรรับ ถ้า เป็นขอทานผู้พิการที่น่าสงสารแล้วเราพิจารณา แล้วว่าเขาสมควรรับทาน


11

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพราะเขาช่วยเหลือตนเองไม่ได้จริง เราก็ ได้บุญ แต่บุญนี้จะมากจะน้อยย่อมขึ้นอยู่กับศีล ของผู้ที่รับด้วย ถ้าผู้รับมีศีลมากก็ย่อมส่งผลให้ อานิสงส์แห่งทานเกิดขึ้นมากเช่นกัน การให้ทานเป็นการกระทำ�เพื่อจุดประสงค์ ในการละกิเลสความโลภออกจากใจ ซึง่ ความโลภ อยากได้อยากมีนั้นเป็นกิเลสพื้นฐานของมนุษย์ ต้องฝึกปฏิบตั ลิ ะความโลภ ความตระหนีด่ ว้ ยการ ให้ทานก่อน อีกทั้งการสร้างทานบารมีนั้นเป็น พื้นฐานส่งผลให้ชีวิตไม่ลำ�บาก เมื่อชีวิตและกายไม่ลำ �บากก็จะช่ ว ยตัด กังวลเรื่องการเฝ้าแสวงหาทรัพย์เพื่อเอาชีวิตรอด และสามารถมุ่งปฏิบัติธรรมในลำ �ดับที่สูงกว่า เพื่อการหลุดพ้นได้


12

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

การสร้างทานบารมีนนั้ แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ โดยท่านพระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโฺ ต ครูบาอาจารย์ คนสำ�คัญผู้หนึ่งท่านเมตตากล่าวสอนไว้ว่า “...ทานที่เป็นบารมีจะแบ่งเป็น ๓ ขั้น เช่นเดียวกับบารมีอนื่ ๆ คือ ทานบารมีระดับสามัญ คือการบริจาคทรัพย์สินเงินทองถึงจะมากมาย แค่ไหนก็จะอยูใ่ นระดับนี้ ต่อมาคือทานระดับรอง หรือจวนสูงสุด เรียกชือ่ เฉพาะว่า “ทานอุปบารมี” ได้แก่ ความเสียสละทำ�ความดี ถึงขั้นสามารถ บริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้ เพื่อรักษา ธรรม แน่ น อนว่ า การบริ จ าคอวั ย วะนั้ น เป็ น บุ ญ ธรรมสำ � คั ญ และเป็ น บุ ญ มาก ตามหลั ก พระพุ ท ธศาสนานอกจากเป็ น บารมี ขั้ น ทาน อุปบารมีแล้ว ยังโยงไปหาหลักสำ�คัญอีกอย่างหนึง่


13

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ทีเ่ รียกว่า ‘มหาบริจาค’ คือการบริจาคใหญ่ ซึง่ พระโพธิสตั ว์จะต้องปฏิบตั อิ กี ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคอวัยวะ และนัยน์ตา บริจาคตัวเองหรือบริจาคชีวิต และ บริจาคบุตรและภรรยา” การทำ�ทานจึงถือเป็น “นิพพานปัจจัย” ทีจ่ ะ ส่งเสริมบารมีให้เต็มบริบรู ณ์ ซึง่ การให้นนั้ ต้องให้ ด้วยเจตนาที่เต็มใจก่อน หากให้แล้วเกิดเสียดาย หวงแหน เลือกที่จะให้ก็ยังไม่ใช่การให้ทานที่ได้ ผลเต็มที่ หลวงพ่อสด จันทสโร ท่านได้เมตตาสอน ศิษย์ไว้เรือ่ ง “การให้ทาน” อันเป็นบาทฐานนำ�ไปสู่ การสร้างบารมีที่สูงขึ้นได้ว่า


14

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

“...ถ้าให้ทานให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ของ ชอบใจไม่ให้ เก็บเสียซ่อนเสีย ของไม่ดี ทีไ่ ม่เสมอใจ ให้เสีย ให้อย่างนีม้ นั เลือกได้ ให้ของไม่ดเี ป็นทานนี้ ถือเป็นทาสทาน จัดว่ายังเข้าไม่ถึงสหายทาน เป็นทาสทานแท้ๆ เพราะเลือกให้ หากว่ามีมะม่วงสักสามใบตั้งขึ้นก็จะให้ ใบเล็กเท่านั้นแหละ เอามะม่วงสามใบเท่าๆ กัน ก็จะให้ใบที่ไม่ชอบใจนั่นแหละเอามะม่วงสามใบ เสมอกัน ก็จะเลือกเอาอีกแหละลูกที่ไม่ชอบใจ จึงให้ ลูกที่ชอบไม่ให้หรือมันใกล้จะสุกแล้วไม่ให้ ให้ที่อ่อนไปอย่างนี้ อย่างนี้เป็นทาสทาน ไม่ใช่ สหายทาน ถ้าให้สหายทานจริงก็คอื ตัวบริโภค ใช้สอย อย่างไรให้อย่างนั้นเป็นสหายทาน


15

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ถ้าว่าสามีทาน ละก็เลือกหัวกระเด็นให้ เลือก ให้ของทีไ่ ม่ดกี ว่านัน้ ต่อไป ถ้าเลือกหัวกระเด็นให้ เช่นนี้ละก็เป็นสามีทาน ลักษณะโพธิสตั ว์เจ้าให้ทานนะ ให้สามีทาน ให้สหายทาน สามีทานทีเดียว ทาสทานไม่ให้นี้ เราสามัญสัตว์ ชอบให้แต่ของทีไ่ ม่ประณีต ไม่เป็น ทีข่ องทีช่ อบเนือ้ เจริญใจละก็ให้มนั ก็เป็นทาสทาน ไปเสมอที่ตนใช้สอยมันก็เป็นสามีทานไป แต่ว่าพวกเราที่บัดนี้เป็นสามีทานอยู่ก็มี เช่น เลีย้ งพระสงฆ์องค์เจ้า ตบแต่ง สูปพยัญชนะ เกินกว่าเรา บริโภคทุกวันๆ ที่เกินใช้สอยเช่นนี้ เป็นสามีทานประณีตบรรจงแล้วจึงให้ อย่างนี้ เรียกว่าเป็นสามีทาน


16

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

แต่ว่าบารมีหนึ่งๆ กว่าจะได้เป็นบารมีนะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ทานบารมีเต็มดวงนะ ดวงบุญที่ เกิดจากการบำ�เพ็ญทานได้ เป็นดวงบุญ ดวงบุญ ใหญ่โต เล็กเท่าไรไม่วา่ สร้างไปเถอะ ทำ�ไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญ มากลั่นเป็นบารมีนะ บุ ญ มี คื บ หนึ่ ง เต็ ม เปี่ ย มเท่ า ดวงจั น ทร์ ดวงอาทิ ต ย์ ที เ ดี ย วเอามากลั่ น เป็ น บารมี ไ ด้ นิ้วเดียว เท่านั้นเองกลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้ทุกบารมีไปจนกว่าบารมีนั้นจะ เต็มส่วน แล้วก็บารมีทจี่ ะเป็น อุปบารมี เอาบารมี คื บ หนึ่ ง เต็ ม ส่ ว นเอามากลั่ น เป็ น อุ ป บารมี ไ ด้ นิว้ เดียว แล้วเอาอุปบารมีนนั้ แหละ คืบหนึง่ กลม รอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถ์บารมีได้นิ้วเดียว


17

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ขั้นสมถะนี่กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กาย รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหม ละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌานเท่านั้นเลย ไปไม่ ไ ด้ พอถึ ง กายธรรม มั น ขึ้ น วิ ปั ส สนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เป็น อนิจจังทุกขังอนัตตาแท้ๆ เห็นจริงๆ จังๆ อย่างนัน้ ละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆ ไม่ได้เห็นด้วยตา กายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรม กายเห็น อย่างนี้แหละ เห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รูด้ ว้ ยญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนัน่ เป็น ตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัด อย่างนี้นี่แหละ


18

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียก วิปัสสนา เห็น เบญจขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่ กายมนุษย์เถิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดไป เรื่อยๆ เกิดริบๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำ�มัน มีตะเกียงจุดมันก็ลกุ โพลง เราเข้าใจว่าไฟดวงนัน้ เป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั่นแหละ แต่ ตาธรรมกายไม่เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดิน เรื่อยขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำ�ดูข้างบนก็รู้ร้อน วูบๆๆๆ ไป อ้อ ไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ ก็เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไปไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟอย่างนั้น แหละไม่ขาดสาย


19

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรือ่ ย เกิดแล้วก็ตาย ไปเกิดแล้วก็ ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งโลก เห็น ทีเดียวว่ามีแต่เกิดกับดับ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ‘ยังกิญจิ สมุทยธ มฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺม’ํ แปลว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความ ดับไปเสมอ’ สิง่ ทัง้ ปวงมีเกิดเสมอมีความดับเสมอ มีเกิด กับดับสองอย่างเท่านัน้ หมดทัง้ สากลโลกเห็นด้วย ตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้ นี้ทำ�เป็นวิปัสสนา เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้”


ปัญหาธรรม เรืèองการรักÉาÈÕล

“ศีล” แปลว่า “ความเป็นปกติ” ของสิง่ ต่างๆ อันเป็น สภาวธรรมทีม่ ที เี่ ป็นกับสิง่ นัน้ ๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ดวงอาทิตย์นั้นย่อมเป็นดวงไฟที่ร้อนและให้ แสงสว่างอยูฉ่ นั ใด ความร้อนและความสว่างถือว่า เป็นสภาวะปกติของดวงอาทิตย์ ถ้าดวงอาทิตย์ ยังร้อนยังให้แสงสว่างอยู่ฉันนั้น


21

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็กล่าวได้ว่าดวงอาทิตย์ ยังมีปกติ ยังรักษาปกติของตนไว้ได้ หากเมื่อใด ดวงอาทิตย์เกิดไม่ร้อนหรือไม่ให้แสงสว่างขึ้นมา เราก็เรียกว่าดวงอาทิตย์ผิดปกติหรือเสียปกติไป แสงสว่างและความร้อนทีเ่ ป็นปกติของดวงอาทิตย์ จึงเป็น “ศีล” ของมันเอง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอริยสงฆ์แม่ทัพ ธรรมใหญ่สายพระป่า ท่านกล่าวถึงความหมาย ของศีลว่า “ศีล เป็นรัว้ กัน้ ความเบียดเบียนและทำ�ลาย สมบัติร่างกายและจิตใจของกันและกัน คือพืช แห่ ง ความดี อั น ยอดเยี่ ย มที่ ค วรมี ป ระจำ � ชาติ มนุษย์ แม้วา่ โลกนีจ้ ะเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่า พระอาทิตย์ แต่ความรุ่มร้อนแผดเผาจะทวีคูณ ยิ่งกว่าพระอาทิตย์


22

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ถ้ า มั ว คิ ด ว่ า วั ต ถุ มี ค่ า มากกว่ า ศี ล ธรรม มนุษย์ทไี่ ม่มศี ลี เป็นรัว้ กัน้ เป็นเครือ่ งประดับตัวจะ ไม่มีที่ให้ซุกหัวนอนหลับสนิทได้โดยปลอดภัย...” การที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บัญญัติศีลแต่ละข้อขึ้นมา เพราะมนุษย์และ สรรพสัตว์ทงั้ หลายควรมี “ความยุตธิ รรมและความ เมตตา” ต่อกัน ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวระมะณี พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้มีใจความเหตุที่ ต้องบัญญัติศีลไว้ก็เพราะว่า “ตนเองนัน้ ยังรักชีวติ ของตน สะดุง้ กลัวตาย ฉันใด สัตว์อื่นก็รักชีวิตของตนเองและสะดุ้ง กลัวตายฉันนัน้ ฉะนัน้ จึงไม่ควรไปฆ่าไปเบียดเบียน เขาให้ทกุ ข์ทงั้ สิน้ ไม่วา่ จะด้วยวิธกี ารไปฆ่าเขาเอง ใช้ให้คนอื่นไปฆ่า หรืออย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม


23

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เมื่อเราเป็นผู้ที่รักสุขและเกลียดความทุกข์ สัตว์ชนิดอืน่ ก็เช่นเดียวกัน เหตุทเี่ ราต้องรักษาศีล ข้อนี้ก็เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเมตตา ต่อกัน” คำ�ว่า “ยุตธิ รรม” นัน้ หมายความว่าต้องให้ ความคุ้มครองปลอดภัยในชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย แบบเท่าเทียมกันหมด ไม่ใช่วา่ บัญญัตศิ ลี ข้อนีม้ า เพื่อมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช่ว่ามนุษย์ควรจะฆ่าสัตว์ เดรัจฉานกินได้ แต่สตั ว์เดรัจฉานไม่มสี ทิ ธิท์ จี่ ะฆ่า มนุษย์หรือทำ�ร้ายคน การให้ความคุม้ ครองชีวติ นี้ ควรจะเป็นไปโดยเสมอภาคถ้วนหน้ากันทั้งหมด ศีลข้อที่ ๒ อะทินนาทานา เวระมะณี การที่พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลข้อนี้เอาไว้ ต่อจากข้อที่ ๑ ก็เพราะหลักแห่งความเสมอภาค ความยุติธรรมและเมตตาเช่นเดียวกัน


24

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพราะทุกๆ คนต่างต้องมีทรัพย์เอาไว้ใช้ สำ�หรับการอุปโภคบริโภคและไม่อยากให้ใคร มาแย่งชิงไป บางคนถึงขนาดต่อสู้เพื่อป้องกัน ทรัพย์สนิ ของตนเองจนตัวตาย เมือ่ เราไม่ตอ้ งการ ให้ใครมาลักทรัพย์ของตน เราก็ไม่ควรจะไป ลักทรัพย์ของคนอื่นเช่นเดียวกัน การไม่ลักทรัพย์ของกันและกันจึงเป็นการ สร้างความยุติธรรมในทรัพย์ด้วย เพราะเป็นการ นึ ก เห็ น อกเห็ นใจคนที่ มี ค วามหวงแหนทรั พ ย์ เช่นเดียวกันตนเอง แต่ก็อาจมีบางท่านที่สงสัย หรืออ้างว่า พระพุทธศาสนานั้นสอนไม่ให้ยึดถือ ทรัพย์ ถ้ามีกต็ อ้ งรวมไว้เป็นกองกลางหรือเป็นของ “สงฆ์” ซึง่ กล่าวได้วา่ คำ�อ้างหรือความเข้าใจนีเ้ ป็น ความเข้ าใจที่ ค ลาดเคลื่ อ นผิ ดไปจากหลั ก ศี ล และหลักแห่งสัมมาอาชีวะ


25

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

การที่พระพุทธองค์บัญญัติศีลข้อนี้ไว้ เพื่อ เป็นการรับรองความมีทรัพย์ของทุกคนทีม่ สี งิ่ ของ ถือครองอยู่ จึงห้ามไม่ให้ลักทรัพย์ซึ่งกันและกัน และสอนให้ ป ระกอบอาชี พ แสวงหาทรั พ ย์ ม า ในทางที่ดีที่ชอบ เมื่อได้มาก็ต้องรักษาเอาไว้ให้ดี และใช้จ่ายให้เหมาะสมตามกำ�ลัง ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี การที่เราต้องรักษาศีลในข้อนี้เพราะเรา ต้องการความสงบสุขในครอบครัวด้วยหลักแห่ง ความยุติธรรมและความเมตตาเช่นเดียวกับศีล ทัง้ ๒ ข้อทีไ่ ด้กล่าวมา เมือ่ ตนเองมีความรักหวงแหน ในครอบครัวฉันใด ผู้อื่นก็หวงแหนเช่นเดียวกัน นี่คือหลักแห่งความยุติธรรมในครอบครัวของ ตนเองและผู้อื่น


26

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ส่วนหากจะว่ากันด้วยหลักแห่งความเมตตา คื อ เมื่ อ มี จิ ตใจที่ เ มตตากรุ ณ าต่ อ กั น แล้ ว ก็ ไ ม่ ประพฤติผิดต่อกันเลย เพราะการปฏิบัติเช่นนั้น จะเป็นการทำ�ลายผู้อื่นด้วยอำ�นาจแห่งความใคร่ และความปรารถนา ไม่ใช่วิสัยของคนที่มีความ เมตตากรุณาต่อกัน ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวระมะณี การที่เราจะต้องรักษาศีลข้อนี้ไว้ก็อาศัย หลักความยุติธรรมและความเมตตาเช่นเดียว กับศีลข้ออื่นๆ เพราะทุกคนย่อมปรารถนาจะได้ ความจริงไม่ต้องการถูกหลอกลวงด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่าเราหลอกคนอื่นได้แต่คนอื่นหลอกเรา ไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่เป็นการยุติธรรม


27

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

นอกจากการละเว้นในการพูดโกหกแล้ว พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไม่ให้พูดโกหกโดย อ้อมด้วย เช่น การพูดประชดเสียดสี ด่าทอ พูด สับปลับเหลวไหล เมื่อทำ�สัญญาใดต่อกันแล้วก็ ต้องรักษาสัญญา ไม่บดิ พลิ้ว ไม่กลับคำ� พูดตรง ไปตามเรื่องเท่านั้น และทำ�ให้จริงตามที่พูดจึง จะได้ชื่อว่ารักษาศีลข้อนี้ หากจะพิ จ ารณาให้ เ ห็ น ผลประโยชน์ ที่ ชัดขึ้นก็คือ การพูดความจริงนั้นไม่ต้องคิดมาก พูดตรงไปตามเรื่องราวที่เกิด ไม่ต้องไปคิดค้น เปลี่ยนแปลง ตรงกันข้ามกับการพูดไม่จริงต้อง คิดค้นคำ�พูดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


28

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หากจำ�คำ�พูดโกหกที่ตนเองพูดไม่ได้ก็ต้อง เปลี่ยนเรื่องเสียเรื่อยไปจนคนฟังเกิดความสับสน และไม่แน่ใจได้ว่าจะเชื่อถือได้หรือไม่ และคง สามารถจับพิรุธโกหกได้ไม่ช้าก็เร็ว ศีลข้อที่ ๕ สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี การที่ เ ราต้ อ งรั ก ษาศี ล ข้ อ นี้ ใ ห้ ดี ใ ห้ ไ ด้ ก็ เพราะโดยปกติธรรมชาติจิตของคนเราก็มีความ ประมาทที่หลงใหลกับสิ่งต่างๆ กันง่ายอยู่แล้ว จิตมักจะขาดสติไปได้มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ กำ�ลังความอ่อนแอของจิตของคนผู้นั้น เมื่อความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาของ มนุษย์และไม่มีมนุษย์คนใดที่ไม่เคยทำ�ความผิด คนที่ ไ ม่ ทำ � ผิ ด ย่ อ มเป็ น คนที่ ไ ม่ ไ ด้ ทำ � อะไรเลย


29

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หากเรายิ่งไปดื่มของมึนเมาเข้าแล้วก็ยิ่ง ทำ�ให้ขาดสติมีความประมาทมากขึ้น และเพิ่ม โอกาสให้ทำ�ผิดมากขึ้นไปอีก การปฏิ บั ติ ส ร้ า งบุ ญ ด้ ว ยศี ล จึ ง เป็ น การ ปฏิบัติที่สูงมากขึ้นกว่าทาน เพราะเพียงแค่หยุด กระทำ�ความชั่วก็ดีแล้ว ดังที่หลวงพ่อชา สุภทั โท กล่าวสอนไว้ว่า “คนเราบางคน บางทีก็อยากจะเอาบุญ เช่น ผ้ายังสกปรกอยู่ ยังไม่ได้ทำ�ความสะอาด แต่อยากจะย้อมสีเสียแล้ว ลองเอาผ้าเช็ดเท้าที่ ยังไม่ได้ฟอกไปย้อมสีดูสิ... มันจะสวยไหม การไม่กระทำ�บาปนัน้ มันเลิศทีส่ ดุ บางคน บางคราวโจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้ แต่ว่าจะ พยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั่นนะมันยาก ที่สุด


30

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

การจะละความชั่ว ไม่กระทำ�ผิดมันยาก การทำ�บุญโจรมันก็ทำ�ได้ มันเป็นปลายเหตุ แต่ การไม่ ก ระทำ� บาปทั้ ง หลายทั้ ง ปวงนั้ น นะเป็ น ต้นเหตุ” อย่างไรก็ตาม เรื่องของการรักษาศีลนั้น ดูเหมือนจะสร้างความอึดอัดใจกับชาวพุทธกัน อยู่ไม่น้อย เพราะอาจไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าสิ่งใดที่ เผลอทำ�ลงไปด้วยการขาดสติ ความไม่ตั้งใจหรือ มีเหตุจำ�เป็นที่จะต้องละเมิดศีลข้อต่างๆ เพราะ อาชีพ หน้าที่การงานหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ ไม่แน่ใจเรื่องการถือรักษาศีลอย่างถูกต้อง เช่น อาจจะต้องเผลอดืม่ สุราเข้าสังคมและ เพื่อรักษาหน้าที่การงานจนกลัวว่าจะกลายเป็น บาป ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายคนประสบอยู่นั้น


31

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ครูบาอาจารย์อย่างหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ เมตตาตอบเอาไว้ว่า “...การรับศีลไปแล้วเผลอทำ�ผิดบ้างถูกบ้าง แต่ว่าไม่ได้เจตนา เป็นแต่เพียงขาดการสำ�รวม ขาดสติ ก็ทำ�ให้ศีลเศร้าหมองนิดหน่อย ที นี้ ก ารที่ ม ารั บ ศี ล แล้ ว รั ก ษาให้ บ ริ สุ ท ธิ์ บริบูรณ์ไม่ได้ มีขาดตกบกพร่องบ้าง ถ้าข้อ เปรียบเทียบก็เหมือนกันกับว่า ผูท้ มี่ เี สือ้ ใส่แต่เป็น เสื้อขาด ก็ยังดีกว่าผู้ที่ไม่มีเสื้อจะใส่เสียเลย การสมาทานศี ล นี้ ถึ ง แม้ ว่ า จะขาดตก บกพร่องบ้างก็ยังดี อันนั้นเป็นเรื่องวิสัยธรรมดา ของปุถุชนก็ย่อมมีการบกพร่องบ้าง ในเมื่อฝึกไป จนคล่องตัวแล้วมันก็สมบูรณ์ไปเอง ดีกว่าไม่ทำ� เลย...


32

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ถ้าหากเรามุ่งรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เราก็หาทางหลีกเลี่ยงสังคมที่ไม่ดี อย่างสังคม ขี้เหล้าทั้งหลาย เพราะว่าในสังคมพวกขี้เหล้า มันไม่เกิดผลดี มีแต่ทำ�ความเสียหาย แต่ในสังคมทีเ่ ป็นกิจจะลักษณะ เช่น งานเลีย้ ง ที่เกี่ยวกับการงานซึ่งเราจำ�เป็นต้องอนุโลมตาม เพื่อไม่ให้ขัดสังคม เราก็นึกขอขมาพระรัตนตรัย แล้วก็ขอปลงศีล ๕ เอาไว้กอ่ น เมือ่ เสร็จธุระแล้ว ปกติถ้าไม่มีงานสังคมเราก็งดเว้นเด็ดขาด เรา ก็ตั้งใจสมาทานศีลใหม่ แล้วก็เริ่มรักษาศีลต่อไป ถ้าหากว่าเราจำ�เป็นต้องดืม่ ก็ให้มสี ติ จิบๆ พอเป็นกิริยาอย่าให้มันมากเกินไปถึงกับหัวราน้ำ� เพราะเราเป็นผู้น้อยมีความเกรงอกเกรงใจผู้ใหญ่ เมือ่ ผูใ้ หญ่ทา่ นทำ� เราไม่เดินตามหลังท่าน ท่านก็ ตำ�หนิ


33

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

แต่ถา้ เราเป็นผูห้ ลักผูใ้ หญ่ เราจะไม่ดมื่ เลย ถ้าหากว่าในบรรดาเพื่อนฝูงที่รู้จักเขาเคารพต่อ พระธรรมวินยั พอเขารูว้ า่ เราไม่ดมื่ เขาก็ไม่รบกวน หรอก อย่างดีเขาก็พูดประชดประชันนิดหน่อย เท่านั้น” การถื อ รั ก ษาศี ล จะให้ ไ ด้ ผ ลดี แ ละเป็ น บาทฐานอันนำ�ไปสู่การปฏิบัติภาวนาได้ผลเพื่อ ความหลุดพ้น ยิ่งต้องมีการสะสมปฏิบัติ คือ ฝึ ก ปฏิ บั ติ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งเหมื อ นการพยายาม เก็บเงินออมไว้ เพราะที่ผ่านมาในชีวิตได้ทำ� ผิดพลาดไว้เยอะ ก็ต้องหมั่นรักษาศีลให้ครบ อย่าได้ขาด ถ้าขาดเมื่อไรก็ต้องขาดทุนอีก ครูบาอาจารย์อย่าง พระราชพรหมญาณ หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ� ท่านได้สอนเอาไว้เรื่อง การพยายามรักษาศีลให้ต่อเนื่องยาวนาน


34

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เป็นเหตุให้มงั่ มีร�่ำ รวยขึน้ ได้ คนทีร่ กั ษาไม่ได้ แล้วตัดพ้อว่ารักษาศีลไม่ได้ผลอะไรนั้นไม่เป็น ความจริงแต่อย่างใด “...โธ่เอ๋ย ซวยมาแล้วกี่ปี ศีลขาดมากี่ปี มันคุม้ กันหรือ คือว่ารักษาศีลจริงๆ แค่ศลี ๕ น่ะ ค่าเหล้าไม่เสีย ค่าเจ้าชู้ไม่เสีย ค่าม่านรูดไม่เสีย มี คำ � ถามต่ อ ว่ า พระท่ า นอยู่ วั ดไม่ น่ า จะรู้ อ ะไร เรือ่ งนี้ จริงๆ แล้วพระน่ะท่านไม่รู้ แต่ฉนั รู้ มีคน ไปพูดให้ฟงั เลยไม่ขรี้ อ้ นไม่ตอ้ งไปอาบน้�ำ ตามห้อง เรื่องที่ไม่เสียมีเยอะแยะ ทรัพย์ก็ดีขึ้น ไอ้ ใจร้ายไปฆ่าเขาไปตีเขาทะเลาะกับเขาก็ไม่มี แม้แต่ ติดคุกติดตะราง ไม่ต้องเสียสตางค์ นี่ถ้ารักษา มาตั้งแต่เกิดนะ ป่านนี้รวยนานแล้ว แกรักษามา กี่วันนี่ แล้วขาดทุนมากี่ปี”


35

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือพระธรรมวิสุทธิมงคล ได้เคยเทศนาถึงเรื่องการรักษาศีล ที่มีคนถามกันมากเรื่องการจะรักษาศีลกี่ข้อดี โดยท่านได้ยกตัวอย่างคำ�ตอบของครูบาอาจารย์ ของท่านคือ หลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต มาให้พจิ ารณา มีใจความว่า ถาม “ได้ทราบว่าท่านรักษาศีลองค์เดียว มิได้รกั ษาถึง ๒๒๗ องค์เหมือนพระทัง้ หลายทีร่ กั ษา กันใช่ไหม” หลวงปู่มั่นตอบ “ใช่ อาตมารักษาเพียง อันเดียว” ถาม “ทีท่ า่ นรักษาเพียงอันเดียวนัน้ คืออะไร” หลวงปู่มั่นตอบ “คือใจ” ถาม “ส่วน ๒๒๗ ข้อนัน้ ท่านไม่ได้รกั ษาหรือ”


36

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หลวงปูม่ นั่ ตอบว่า “อาตมารักษาใจไม่ให้คดิ พูด ทำ�ในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่ พระองค์ทรงบัญญัตไิ ว้ จะเป็น ๒๒๗ หรือมากกว่า นัน้ ก็ตาม บรรดาทีเ่ ป็นข้อทรงบัญญัตหิ า้ ม อาตมา ก็เย็นใจว่าตนมิได้ทำ�ผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตาม ความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รกั ษาใจอันเป็น ประธานของกาย วาจา อย่างเข้มงวดกวดขัน ตลอดมานับแต่เริ่มอุปสมบท” ถามว่า “การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วย หรือ” หลวงปูม่ นั่ ตอบว่า “ถ้าไม่รกั ษาใจ จะรักษา อะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจาก คนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษา


37

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

แม้กาย วาจาก็ไม่จ�ำ เป็นต้องรักษาแต่ความ เป็นเช่นนั้นของคนตาย นักปราชญ์ท่านไม่ได้ เรียกว่าเขามีศีล เพราะไม่ได้มีเจตนาเป็นเครื่อง ส่อแสดงออก ถ้าเป็นศีลได้ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย ซึ่งไม่สำ�เร็จประโยชน์ตามคำ�เรียกแต่อย่างใด ส่วนอาตมามิใช่คนตาย จะรักษาศีลแบบคนตาย นัน้ ไม่ได้ ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรม สมกับ ใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว” ทีส่ �ำ คัญก็คอื การรักษาศีลให้ดนี นั้ มีอานิสงส์ ใหญ่มากดังพระบาลีที่ว่า “....สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา สีเลนะ นิพพุตงิ ยันติ ตัสมา สีลงั วิโสธะเยฯ...” ซึ่งแปลความได้ว่า


38

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๑. ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ) ๒. ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา) ๓. ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ) ซึ่งอานิสงส์สองอย่างแรกเรียกได้ว่าเป็น อานิสงส์ระดับ “สวรรค์สมบัติ” และอานิสงส์ อย่างที่สุดท้ายคือเป็น “นิพพานสมบัติ” ซึ่งเป็น อานิสงส์สูงสุดในพระพุทธศาสนา แต่ ผ ลแห่ ง การถื อ ศี ล นั้ น จะให้ ผ ลไปได้ อานิ ส งส์ แ ค่ ไ หนก็ ขึ้ น อยู่ กั บ ระดั บ ของศี ล ที่ ถื อ รักษาและเป็นไปตามกฎแห่งการสะสมคือ ถือให้ สม่ำ�เสมอ ถือให้มากพอ และถือให้นานพอ จึงจะ เป็นพื้นฐานกำ�ลังอานิสงส์ให้เราได้รับตามความ มุ่งหมายแห่งศีลนั้น


39

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อานิสงส์ของการรักษาศีลที่จะกล่าวถึงนั้น ขอน้อมนำ�คำ�สอนที่ถ่ายทอดมาจากเหล่าครูบา อาจารย์ทา่ นต่างๆ ทีไ่ ด้โปรดเมตตาแสดงอานิสงส์ แห่งศีลเอาไว้ดังต่อไปนี้ หลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต กล่าวถึงอานิสงส์แห่ง การรักษาศีล ๕ เอาไว้ว่า “๑. ทำ�ให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ๒. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครองมี ความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวีเบียดเบียน ทำ�ลาย ๓. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยูด่ ว้ ยกัน เป็นผาสุก ไม่มผี คู้ อยล่วงล้�ำ กล้�ำ กราย ต่างครองกัน อยู่ด้วยความเป็นสุข


40

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๔. พูดอะไรมีผเู้ คารพเชือ่ ถือ คำ�พูดมีเสน่ห์ เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ ด้วยศีล ๕. เป็นผูม้ สี ติปญั ญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่ หลงหน้าหลงหลังจับโน่นชนนี่เหมือนคนตาบอด หาสติไม่ได้” หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านได้กล่าวถึง อานิสงส์แห่งการถือศีลแม้เพียงศีล ๕ หากทำ�ได้ อย่างไม่ขาดตกบกพร่องจะได้เกียรติยศที่ชื่อว่า “โสดาบันบุคคล เมื่อเราเชื่อกรรม เชื่อผลของ กรรมแล้วการที่จะไม่รักษาศีล ๕ นั้นไม่มี และ การรักษาศีล ๕ นั้นย่อมทำ�ได้ง่าย และศีลย่อม รักษาตัวเรา คุ้มครองตัวเราให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากอุปัทวันตรายทั้งปวง ๑. ผูร้ กั ษาศีลมีปกติกาย วาจา ใจ ไม่ก�ำ เริบ คือไม่ทำ�กาย วาจา ใจให้ผิดปกติธรรมดา


41

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๒. ผู้รักษาศีลเป็นผู้ปกติ ไม่หวั่นไหว มี จิตใจเข้มแข็งกล้าหาญ ไม่ยอมทำ�ตามอำ�นาจ ของความชั่ว ๓. ผูร้ กั ษาศีลให้บริสทุ ธิแ์ ล้วย่อมได้รบั ความ เยือกเย็นไม่เดือดร้อนใจภายหลัง ๔. ผู้ รั ก ษาศี ล ได้ แ ล้ ว เป็ น ผู้ สู ง ส่ ง ด้ ว ย คุณธรรม เพราะศีลเป็นของเลิศประเสริฐในโลก ๕. ศีลเป็นของวิเศษอยูใ่ นตัว ผูม้ ารักษาศีล ก็มีของวิเศษอยู่ในตัวสามารถกระทำ�ให้พ้นจาก ความชั่ว นอกจากศีลแล้วไม่มีสิ่งใดที่จะขจัด ความชั่วในตัวคนเราได้ ศีลอยู่ที่เจตนา เจตนา งดเว้นนั้นแหละเป็นศีลที่แท้จริง” พระธรรมโกศาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการรักษาศีลเอา ไว้ว่า


42

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

“...การรักษาศีลก็เหมือนกัน ผลที่เกิดจาก ศีลก็คือความเย็นใจสบายใจ ความไม่มีเวรกับ ใครๆ เพราะเราไม่คดิ จะฆ่าใคร ไม่คดิ จะลักทรัพย์ ของใคร ไม่คิดจะไปล่วงเกินของรักของหวง ของชอบใจของใครๆ ไม่คิดจะหลอกลวงใคร ให้เสียหาย เราไม่เสพของมึนเมายาเสพติดทุก ประเภท อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมสุขภาพ ทางกายสุขภาพทางจิต ผลก็เกิดขึน้ ในปัจจุบนั คือความเย็นใจสงบใจ นัง่ ก็เป็นสุขนอนก็เป็นสุข จะไปในทีใ่ ดก็มคี วามสุข ทางกายทางใจ เพราะไม่มีภัยไม่มีเวรกับใครๆ อันนี้เป็นผลที่เราเห็นได้ด้วยตาของตนเอง...” พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต) ได้กล่าวถึง อานิสงส์แห่งการรักษาศีลทุกระดับเอาไว้อย่าง ละเอียดว่า


43

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕ ๑. การไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนกัน มีอานิสงส์ ทำ�ให้เป็นผู้ไม่มีภัย จิตใจสบายนึกถึงแต่สิ่งที่ ดีงาม ทำ�ให้มีอายุยืนและมีสุขภาพดี ไว้ใจได้ ซึ่งกันและกัน ไม่ต้องหวาดระแวง ทำ�ให้ไม่ต้อง มีความกังวล มุ่งหน้าศึกษาเล่าเรียนประกอบ อาชีพการงาน พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ๒. การไม่ ลั ก ไม่ เ อารั ด เอาเปรี ย บกั น มี อานิสงส์ทำ�ให้ไว้ใจกันอยู่กันได้อย่างสงบ นอน ตาหลับไม่ต้องคอยระวังโจรผู้ร้าย ทรัพย์สิน ไม่สูญหายมีแต่จะเจริญเพิ่มพูนยิ่งขึ้น งานที่ สร้างสรรค์ ขึ้ นได้ ผลอย่างสมบูร ณ์ มีคุ ณภาพดี ทำ�ให้การพัฒนาเจริญก้าวหน้าได้เร็วขึ้น


44

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๓. การไม่ละเมิดสิง่ ทีผ่ อู้ น่ื หวงแหน มีอานิสงส์ ทำ�ให้ตนเองก็ไม่มีศัตรู ผู้อื่นก็ไม่หวาดระแวง มี ความไว้ใจกัน อยู่กันอย่างสงบ ทำ�ให้ครอบครัว มีความสุข มีความอบอุ่น ผูกพันและเคารพ เชือ่ ฟังกัน ทำ�ให้เกิดความภาคภูมใิ จในเกียรติยศ แห่งวงศ์ตระกูลของตน เกิดความสามัคคี ไม่มี ความสับสนในทางประเพณีที่ดีงามต่างๆ ๔. การไม่พดู เท็จจะมีผลทำ�ให้เป็นทีเ่ ชือ่ ถือ รักใคร่ของคนทัว่ ไป มีความไว้วางใจซึง่ กันและกัน ทำ�ให้กจิ การงานต่างๆ ดำ�เนินไปด้วยความเรียบร้อย และสำ�เร็จด้วยดี นอกจากนั้นผู้ที่รักษาศีลข้อนี้ ได้ดีแล้วจิตใจจะกล้าหาญเข้มแข็งและเชื่อมั่นใน ตัวเอง


45

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๕. ผลแห่งการไม่เสพของมึนเมาและสิ่ง เสพติดให้โทษ ก็จะมีผลดีคือไม่เป็นการบั่นทอน สุขภาพและปัญญา ไม่สนิ้ เปลืองทรัพย์สนิ ไม่กอ่ ให้เกิดการทะเลาะวิวาท ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ ชั่วร้าย ไม่มีภาระกังวลจุกจิกกวนใจโดยใช่เหตุ ไม่มีความประมาท และเป็นที่เคารพนับถือของ คนทั่วไป อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๘ ๑. เป็นเครือ่ งเหนีย่ วรัง้ ไม่ให้ลมุ่ หลงในกามสุข ๒. เป็นเครื่องเตือนสติไม่ให้ลืมตัว รู้จัก นึกถึงความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ ๓. เป็นเครือ่ งตัดกังวลจากสิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติธรรม ๔. เป็นการฝึกหัดเอาชนะตนเอง


46

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๕. เป็ น การฝึ ก ให้ มี ค วามอดทนและ แกล้วกล้าในการปฏิบัติธรรม ๖. เป็ น พื้ น ฐานในการปฏิ บั ติ ธ รรมใน เบื้องสูงขึ้นไป อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๑๐ ศีล ๑๐ มีอานิสงส์เช่นเดียวกับศีล ๘ แต่มี ความยิ่งยวดกว่าและยังมีอานิสงส์เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ ๑. ทำ�ให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ ไม่สะสม ทรัพย์สมบัติ ๒. ทำ�ให้สำ�นึกว่าการเป็นอยู่ของตนเอง ต้องอาศัยผูอ้ นื่ (ศีลข้อ ๑๐ นัน้ ให้งดเว้นจากการ รับเงินทอง)


47

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๓. ทำ �ให้ ค ลายมานะความถื อ ตั ว เองลง ได้มาก ๔. เป็ น การฝึ ก ฝนอบรมตนเพื่ อ รั บ การ อุปสมบทต่อไป อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๒๒๗ ๑. ทำ�ให้เกิดสังคมตัวอย่างในทางที่ดี ๒. ทำ�ให้พระภิกษุมีความประพฤติดีงาม สมฐานะ ๓. ทำ�ให้เป็นบุคคลเลีย้ งง่าย มีความมักน้อย สันโดษ สมฐานะของภิกษุที่เลี้ยงชีพด้วยการ อาศัยผูอ้ นื่ และมีหน้าทีเ่ ป็นผูน้ �ำ ทางจิตใจ โดยใช้ ความเป็นผู้ประพฤติเป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ๔. ทำ�ให้เกิดความสะดวกในการบำ�เพ็ญ ธรรมของสมณะ


48

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๕. ทำ�ให้เป็นอยู่ง่ายไร้กังวล จะได้บำ�เพ็ญ ประโยชน์ได้เต็มที่ ๖. ทำ�ให้เกิดความเสมอภาค เสรีภาพ และ ภราดรภาพอันเป็นรากฐานแห่งประชาธิปไตย ๗. ทำ�ให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ร่วมกันโดยความ ผาสุก ๘. เป็ น การป้ อ งกั น ความเสื่ อ มเสี ย มิ ใ ห้ เกิดขึ้น ๙. เป็นการสร้างเสริมศรัทธาของประชาชน ๑๐. ทำ�ให้พระพุทธศาสนามีความเจริญ มั่นคง จากคำ�กล่าวถึงอานิสงส์แห่งศีลของเหล่า ครูบาอาจารย์ทงั้ หลายแสดงให้เห็นว่าแม้เพียงศีล ๕ ก็ยังมีผลอานิสงส์มากมาย


49

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

และยิ่งได้ถือศีลในระดับที่สูงขึ้นไปก็จะ ยิ่ ง เกิ ด ผลดี แ ละเป็ น บาทฐานแห่ ง ความสุ ข อันถาวรคือพระนิพพานได้ ศีลเป็นเรื่องที่ต้อง ปฏิบัติรักษาทุกวัน และไม่ได้ยากเกินไปในการ ถือรักษา ขอให้ถอื เจตนาในการรักษาศีลให้มนั่ คง แน่วแน่เป็นสำ�คัญ


ปัญหาธรรม Ç‹า´้ÇยเรืèองของการเจริญภาÇนา

การเจริญÀาวนาถือเป็นการทำาบุญสร้างกุศล

ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะถือเป็นการชำาระจิตอันเป็น บ่อเกิดของทุกสรรพสิง่ ดังทีห่ ลวงปูห่ ลุย จันทสาโร ท่านเมตตากล่าวไว้ว่า

“¨Ôµà»š¹ÁËÒà˵ط§Ñé ¹Ñ¹é ¨Ôµ»˜¨¨Øº¹Ñ ໚¹ ·Õè»ÃЪØÁãËÞ‹ á¡Œ´Ç§¨Ôµ¡ç໚¹¾Í àÁ×èÍäÁ‹¶×Í Êѧ¢ÒÃËÑÇã¨Ç‹Ò§ ¹Ñè¹áËÅÐ໚¹µÑǹԾ¾Ò¹”


51

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

นิพพานนั้นเป็นภาวะหมดกิเลส ซึ่งเป็น เป้าหมายสูงสุดของการบรรลุธรรม ไม่ต้องเกิด อีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องทุกข์ เป็นสิ่งที่ จริงแท้ ซึง่ มีผทู้ พี่ ยายามฝึกฝนปฏิบตั ใิ นการเจริญ ภาวนากันมากมาย แต่การเจริญภาวนาให้ถูกต้องนั้นจำ�เป็น ต้องมีเข็มทิศหรือครูบาอาจารย์คอยแนะนำ� เพราะ จิตสามารถเตลิดไปไกลได้หากไม่มีหลักในการ ควบคุม หรือที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” อันเป็นวิธคี ดิ ให้ถกู ต้อง แยบคายเป็นอันดับแรก การใช้ความคิดถูกวิธีรู้จักมองสิ่งทั้งหลาย ด้วยความคิด ได้มีการพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย


52

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

แยกแยะออก พิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิด เป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธใี ห้เห็นสิง่ นัน้ ๆ หรือ ปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์ แห่งเหตุปัจจัย คือรู้จักพิจารณาคิดจากเหตุไปหาผล คิด จากผลไปหาเหตุ คิดแบบเห็นความสัมพันธ์ตอ่ เนือ่ งเป็นลูกโซ่ คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำ�ให้เกิด คิดเห็นองค์ประกอบที่มาส่งเสริมให้เจริญ คิดเห็นองค์ประกอบที่มาทำ�ให้เสื่อม คิดเห็นสิ่งที่มาตัดขาดให้ดับ คิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ คิดแบบมองเป็นองค์รวม และคิดแบบอะไร เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้


53

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

“โยนิโสมนสิการ” จึงเป็นเหมือนไม้เท้า ควบคุมจิตไม่ให้หลุดกรอบออกไปไกล ไม่หลงทาง ซึ่งครูบาอาจารย์หลายท่านก็ได้เมตตาสอนเอาไว้ หลากหลายวิธี หลวงปูเ่ หรียญ วรลาโภ สอนเรือ่ งการปฏิบตั ิ สมาธิภาวนาแบบองค์รวมสำ�หรับผู้ปฏิบัติธรรม ใหม่ มักมีข้อสงสัยและปัญหาในการทำ�สมาธิใน หลายๆ เรือ่ ง ทัง้ จิตทีส่ า่ ย การกำ�หนดลมหายใจ การบริกรรมจะใช้ค�ำ ไหนดี หรือแม้แต่สงสัยในผล ของการทำ�สมาธิว่าดีจริงหรือไม่ “...การนัง่ สมาธิพงึ พากันตัง้ สติให้แน่วแน่ อยู่ภายใน พยายามควบคุมจิตอย่าให้มันหลงคิด นึกไปในอารมณ์ที่มันเคยคิด เคยนึก เคยเกาะ เคยข้องมาแต่ก่อน ให้กำ�หนดลงเอาปัจจุบันนี้ เป็นที่ตั้งเลยทีเดียว


54

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ชีวติ นีจ้ ะอยูเ่ ฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก อยู่ที่ปัจจุบันปัจจุบันนี้เท่านั้น ให้กำ�หนดจำ�กัด ลงเลยเพราะว่าที่ล่วงมาแล้ว มันก็ล่วงมาแล้วนะ แล้วอนาคตก็ยังไม่ได้ไปถึง มันก็ยังไปไม่ถึง ไม่ต้องไปคำ�นึงหามัน การงานอะไรที่ทำ�ล่วงมา มาแล้วผิดหรือถูกมันก็ได้ล่วงมาแล้ว ไม่ต้องไป คำ�นึงหามัน เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ขอให้ เตือนตนอย่างนี้ เวลานีเ้ ป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ในขณะนี้ เบื้องต้นนี้ ก็อยากคิด อยากรู้นั่น รู้นี่ เห็นนั่น เห็นนี่ก่อน คือพยายามตั้งสติ กำ�หนด ลมหายใจเข้า หายใจออก อธิษฐานจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นทีพ่ งึ่ ทีร่ ะลึกของตนแล้ว ก็พยายามประกอบจิตนี้ให้หยุดคิด หยุดนึก ให้ กำ�หนดรู้เฉพาะแต่ลมหายใจเข้า หายใจออก เท่านี้ก่อน


55

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพราะเวลานี้ให้เข้าใจว่าเราพักผ่อนจิตใจ คำ�ว่าพักผ่อนคือหยุดคิด หยุดนึกในการงานต่างๆ เลย วางจิตลงให้สบาย สบาย ไม่ตอ้ งกังวลข้างหน้า ข้างหลังอะไรเลย กำ�หนดรูอ้ ยูแ่ ต่ปจั จุบนั นีเ้ ท่านัน้ เอาปัจจุบนั นีเ้ ป็นหลักเลย ชีวติ นีก้ ใ็ ห้ก�ำ หนดว่ามี อยู่แค่ปัจจุบันนี้ เท่านั้นแหละ ในเบื้ อ งต้ น เราก็ รู้ ไ ม่ ไ ด้ ว่ า จะไปถึ งไหน เบือ้ งหลังมันก็ลว่ งมาแล้ว ดังนัน้ เราต้องกำ�หนดรู้ เฉพาะปัจจุบนั เท่านัน้ เอง คือการทำ�สมาธินสี่ �ำ คัญ อยู่ที่สตินั่นแหละ ขอให้ได้พากันจำ�เอาไว้ให้ดี สติแปลว่าความระลึกได้ คือระลึกเข้าไปใน จิตเลยทีเดียว ระลึกให้หยั่งเข้าไปให้มันถึงจิต อย่าให้มันระลึกเฉไปทางอื่น


56

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

จิตนีท้ มี่ นั ตัง้ มัน่ อยูไ่ ม่ได้กเ็ พราะมันขาดสติ สติไม่ได้เข้าไปควบคุมอยู่ใกล้ชิด สตินั้นจะระลึก ออกไปทางอื่ น ห่ า งออกไปจากจิ ต เมื่ อ จิ ต นี้ ปราศจากสติแล้วมันก็ว้าเหว่ เร่ร่อนหาอารมณ์ อย่างอื่น คิดส่ายไปตามความชอบใจ มันเป็น อย่างนัน้ แต่จติ นีน้ ะ่ ถ้าสติเป็นเครือ่ งสอนอยูแ่ ล้ว ไม่ไปไหนเลย ไม่ไปไหนแล้ว ทีม่ นั อยากคิดอะไร มาแต่ก่อนนั้น สติห้ามไว้แล้วทันก็หยุด ขอให้สติมนั เข้มแข็งเสียอย่างเดียว หายใจ เข้ า ก็ กำ � หนดรู้ หายใจออกก็ กำ � หนดรู้ อ ยู่ ใ น ปัจจุบนั นัน้ เลย อย่างนัน้ ไม่ได้รสู้ งิ่ อืน่ ๆ ใดทัง้ หมด ถ้าหากใครสามารถที่จะเพ่งเข้าไปภายในให้เกิด แสงสว่างเหมือนอย่างเราฉายไฟเข้าไปในถ้ำ�มืดๆ อย่างนี้ แสงไฟฉายนั้นมันจะเป็นลำ�สว่างเข้าไป ภายใน จะมีอะไรอยู่ในนั้นก็มองเห็นได้เลย


57

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อันนีก้ เ็ หมือนกันแหละ ถ้าเราสามารถทีจ่ ะ กำ � หนดตั้ ง สติ แ ล้ ว เพ่ ง ตามลมหายใจเข้ า ออก เข้าไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจ และก็ มองเห็นอัตภาพร่างกาย อวัยวะน้อยใหญ่ภายใน ร่างกายได้ยงิ่ ดีเลย ถ้าทำ�ได้อย่างนี้ ตามลมหายใจ เข้าออกไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจและ ก็มองเห็น ถ้าหากว่าไม่สามารถจะทำ�ได้อย่างนี้ ก็ ตั้งสติเพ่งเข้าไปหาความรู้อย่างเดียวเท่านั้นรู้อยู่ ตรงไหน สติกใ็ ห้หยัง่ เข้าไปถึงนัน่ ก็ใช้ได้เหมือนกัน เมือ่ จิตมันสงบ มันคลายจากอารมณ์ตา่ งๆ ออกไป แล้ว มันปลอดโปร่ง ถึงแม้วา่ จะไม่สว่างไสวเต็มที่ แต่มันก็มีเงาแห่งความสว่างปรากฏอยู่ในจิตนั้น เองแหละ


58

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

จิตไม่เศร้าหมอง หมายความว่าอย่างนั้น แหละเบิกบาน ถ้าหากมันคลายอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้วนะ ลักษณะอาการของจิตนีจ้ ะเบิกบาน ผ่องแผ้วไม่มกี งั วลใดๆ อิม่ อยูภ่ ายใน ไม่ปรารถนา อยากจะคิดไปไหนมาไหนแล้ว ทีนถี้ า้ จิตมันคลาย อารมณ์เก่าออกไปได้ก็ต้องอาศัยสตินั่นแหละ เข้าไปควบคุมจิตไม่ให้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ อั น เมื่ อ จิ ต นี้ ไ ม่ มี โ อกาสจะได้ คิ ด ไปใน อารมณ์ตา่ งๆ แล้วมันก็คลายทิง้ ไปหมด อารมณ์ ที่เราเก็บเอาไว้มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามันไม่มี ที่ต่อ มันก็คลายออกไปเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าไป เข้าใจวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนให้กำ�หนด ลมหายใจเข้าออกนี่ เพ่งกำ�หนดรู้แต่ลมหายใจ เข้าออกนีแ่ หละ ความคิดฟุง้ ซ่านต่างๆ มันจะค่อย เบาไปๆ หมดไปโดยลำ�ดับ


59

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพราะว่าจิตเราไม่สง่ เสริมมันแล้วนี่ จิตเรา มาจ้องอยูเ่ ฉพาะแต่ลมนี้ จิตนีไ้ ม่สง่ เสริมความคิด เสียแล้ว ทีนี้จะคิดดีคิดชั่วอย่างไรไม่เอา ในขณะนี้ปล่อยทิ้งไม่ใช่เวลาคิด เวลานี้ เวลาสงบ เวลาเพ่ง เวลากำ�หนดรู้ ไม่ใช่เวลาคิด ให้มีสติเตือนจิตอย่างนี้เสมอไป จิตนี้เมื่อถูกสติ เตือนเข้าบ่อยๆ มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุง ไปอีก มันสำ�คัญ เรื่องสมาธินี่สำ�คัญมากทีเดียว เรือ่ งปัญหานัน้ มันเกิดจากสมาธิ ดังนัน้ เมือ่ เราไม่สามารถจะทำ� สมาธิให้บงั เกิดได้ ปัญญามัน ก็เกิดไม่ได้


60

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดจาก สมาธิ ปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้เป็นปัญญา ที่รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ในนามในรูปไม่ ปรารถนารู้อย่างอื่น

ในการปฏิบัติสมาธิแรกๆ อย่าไปสงสัย คลางแคลงใจว่า เอ๊ะ ทำ�ไมเราจึงปฏิบัติไปไม่ได้ ทำ�ไมใจจึงไม่สงบ? กำ�หนดลมหายใจก็กำ�หนด แล้ว มันก็ยังไม่สงบ อย่างนี้อย่าไปสงสัย

ให้นึกว่าเราทำ�ยังไม่พอก็แล้วกันแหละ เราทำ � ยั งไม่ ม ากพอ คื อ ว่ า เรายั ง กำ � หนด ลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ยังไม่พอ เราจะ ต้องทำ�อีก...”


หากป¯ิบัµิธรรมไม‹ก้าÇหน้า จะแก้อย‹างไร ปั ญ หาเรื่ อ งการป¯ิ ºั ติ นั้ น มี ค วามละเอี ย ด อย่ า งÁาก เนื่ อ งจากสภาวะจิ ต ของคนเรานั้ น

แตกต่างกัน แม้จะพยายามนั่งปฏิบัติภาวนาแล้ว จิตไม่สงบ ไม่สามารถรวมจิตหรือทำาให้จิตนิ่งได้ ทำาให้ไม่เกิดความก้าวหน้าในการปฏิบัติ หลวงปูด่ ู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ท่านเคยเมตตาให้คำาสอน แก้ไขในเรื่องจิตไม่รวม ไม่สงบนี้กับลูกศิษย์ว่า


62

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

“...การปฏิบัติถ้าอยากให้เป็นเร็วๆ มันก็ ไม่เป็นหรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสีย ไม่ เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่วา่ ไม่อยากเป็นก็ไม่วา่ ทำ�ใจ ให้เป็นกลางๆ ตัง้ ใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานทีเ่ รา ยึดมั่นอยู่นั้นแล้วภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรา กินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กินไปมันก็ อิม่ เอง การภาวนาก็เช่นกัน ไม่ตอ้ งไปคาดหวังให้ มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไปก็จะถึงของดี ของวิเศษในตัวเรา แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็น อะไร ให้หมั่นทำ�เรื่อยไป” หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้กล่าวถึงในเรือ่ ง การปฏิบัติหากผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้ใจอย่าง ละเอียดเป็นขั้นๆ ว่า “หากปฏิบตั แิ ล้วไม่กา้ วหน้า ท้อแท้ ปฏิบตั ิ ไม่ถึงขั้นสละชีวิตเพื่อข้อวัตรปฏิบัติ


63

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

พอปฏิบตั ไิ ปนิดหน่อย เมือ่ ยก็ร�ำ คาญ หยุด เสียขาดความอดทน ถ้าจะให้ก้าวหน้าต้องให้จับ หลักการปฏิบตั ใิ ห้มนั่ คง อย่าเหลาะแหละเปลีย่ น โน่นเปลี่ยนนี่ ถ้าจะบริกรรมภาวนาพุทโธ เอ้า! ฉันจะภาวนา พุทโธอยูอ่ ย่างนีจ้ นจิตมันจะสงบ ตัง้ นาฬิกาเอาไว้ วันนีจ้ ะนัง่ สมาธิ ๑ ชัว่ โมง ๒ ชัว่ โมง แล้วปฏิบตั ิ ให้มันได้ วันหนึ่งจะนั่งสมาธิวันละกี่เวลาก็ปฏิบัติให้ ได้ จะเดินจงกรมวันละกี่เวลา เวลาออกจากที่ นั่งสมาธิมาแล้ว ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ� พูด คิด เป็นอารมณ์จติ ให้มสี ติอยูต่ ลอดเวลา แม้วา่ นอนหลับลงไปแล้วจิตมันคิดอะไรก็ปล่อยให้ มันคิดไป ให้มีสติกำ�หนดตามรู้ไป ในเมื่อมันไป สุดช่วงมัน แล้วมันจะเกิดความสงบเอง แล้วจะ ก้าวหน้าเอง


64

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อันนี้ที่เราปฏิบัติไม่ได้ผลเพราะว่าเราขาด ความอดทน ทำ�ไม่ถงึ แล้วก็ท�ำ ไม่ถกู ต้อง พอปฏิบตั ิ พุทโธๆ ก็ไปข่มจิตจะให้มนั สงบ ทีนพี้ อไปข่มมัน ก็ปวดหัวปวดเกล้า ปวดต้นคอขึน้ มา ก็ทนไม่ไหว วิธีการที่จะท่องพุทโธ ก็ท่องพุทโธๆๆ อยู่ เฉยๆ ยืน เดิน นัง่ นอน กิน ดืม่ ทำ� ท่องมันไว้ ตลอดเวลา เวลาออกจากทีน่ งั่ สมาธิแล้ว เราไม่มี การสำ�รวม ไม่มีการฝึกสติ วันหนึง่ เรานัง่ สมาธิไม่ได้ถงึ ๔ ชม. แต่เวลา ทีเ่ ราปล่อยให้มนั ไปตามอำ�เภอใจ ๒๐ ชม. มันไป สกัดกัน้ กันได้อย่างไร เพราะฉะนัน้ ต้องทำ�ให้มากๆ อบรมให้มากๆ มันถึงจะก้าวหน้า” การสังเกตว่าผู้ปฏิบัติปฏิบัติได้ก้าวหน้า หรือไม่ได้ผลอย่างไร หลวงพ่อพุธ ฐานิโยได้ เมตตาตอบเสริมว่า


65

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

“การปฏิบัติเพื่อก้าวหน้าก็ดังที่กล่าวแล้ว สังเกตว่าเราปฏิบตั แิ ล้วได้อะไร ให้เอาศีล ๕ เป็น ข้อวัด เมือ่ เรามีเจตนาละเว้นโทษตามศีล ๕ ถ้าเรา ละได้โดยเด็ดขาด นั่นแหละเป็นผลได้ของเรา ถ้ายิ่งจิตใจไม่ต้องอดต้องทนต่อการที่จะ ทำ�บาปความชั่ว เจตนาที่คิดจะทำ�ความชั่วผิด บาป ๕ ข้อนั้นไม่มีเลย แม้ว่าจิตยังไม่เป็นสมาธิ ก็ตามก็ได้ชื่อว่าเราปฏิบัติได้ผล การปฏิบัติที่ได้ชื่อว่าถูกต้อง มีศีล ๕ ข้อ เป็นเครื่องวัด ปฏิบัติอันใดไม่ผิดศีล ๕ ข้อใด ข้อหนึ่ง นั่นแหละเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทีนี้สำ�หรับความรู้ความเห็น ความรู้อันใด เกิดขึน้ ยึดมัน่ ถือมัน่ มีอปุ าทานทำ�ให้เกิดปัญหาว่า นี่คืออะไร นี่คือตัวนิวรณ์ เป็นมิจฉาทิฐิ ความรู้ ที่เกิดขึ้นแล้วจิตไม่ยึดไว้ สร้างปัญหาให้ตัวเอง เดือดร้อน เพราะรูแ้ จ้งเห็นจริงแต่ปล่อยวางความรู้ อันนี้เป็นสัมมาทิฐิ”


66

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็น “ผลแห่งการ ปฏิบัติ” ที่นับว่าเลิศและเป็นของสูงสุด ไม่ว่าจะ ปฏิบัติด้วยวิธีไหนหรือคำ�บริกรรมใดก็ตาม ดัง คำ�สอนของพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ดูลย์ อตุโลว่า “...เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้ อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึดความรู้ที่เราเรียน กับตำ�รับตำ �ราหรือจากครูบาอาจารย์อย่าเอา มายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมดแล้วก็เวลา ภาวนาไป ให้มนั รู้ รูจ้ ากจิตของเรานัน้ แหละ จิต ของเราสงบ เราจะรูเ้ องต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรูอ้ ะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรูท้ อ่ี อกจากจิตทีส่ งบนัน้ แหละเป็นความรู้ ทีล่ กึ ซึง้ ถึงทีส่ ดุ ให้มนั รูอ้ อกจากจิตเองนัน่ แหละดี คือจิตมันสงบ ทำ�จิตใจให้เกิดอารมณ์อันเดียว


67

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อย่าส่งจิตออกนอก ให้จติ อยูใ่ นจิต แล้วให้ จิตภาวนาเอาเอง ให้จติ เป็นผูบ้ ริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั้นแหละแล้วพุทโธนั่นแหละ จะพูดขึ้นในจิต ของเรา เราจะได้รู้จักคำ�ว่าพุทโธนั้นเป็นอย่างไร แล้วรูเ้ องเท่านัน้ แหละ ไม่มอี ะไรมากมายเป็นสิง่ ที่ อยู่เหนือคำ�พูด ทุกอย่างจะเห็นได้ชัดว่า ผูป้ ฏิบตั ถิ งึ ขัน้ หรือได้บรรลุมรรคผลนิพพาน แล้วจะไม่คอ่ ยแสดงตนให้ปรากฏ เขาจะไม่พดู ว่า เขารู้แล้วซึ่งอะไร เพราะสิ่งนั้นมันอยู่เหนือคำ�พูด ทัง้ หมด การภาวนาจึงเป็นสิง่ สำ�คัญมาก เป็นหัวใจ ทีเดียวที่จะทำ�ให้หลุดพ้น อย่าบอกว่าไม่มีเวลา ถ้าเรามีเวลาสำ�หรับหายใจ เราก็ตอ้ งมีเวลาสำ�หรับ ภาวนา” หลวงปูส่ มิ พุทธจาโร ครูบาอาจารย์อกี ท่านหนึง่ ก็ ไ ด้ เ น้ น ย้ำ � เรื่ อ งการปฏิ บั ติ ว่ า ไม่ ใ ช่ ข องยาก ไม่ใช่แค่งานของพระหรือนักบวชให้ทำ�อยู่เสมอ ก็จะได้ผลแห่งการปฏิบัติเอง ปัญญาก็จะเกิดเอง โดยท่านเมตตากล่าวไว้ว่า


68

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

“...การภาวนานัน้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของยาก ไม่วา่ กิจกรรม การงานอะไรอย่างหยาบๆ ก็ดี ถ้า เราไม่ท� ำ ไม่ประกอบ ก็ยงิ่ เป็นอุปสรรค แต่ถา้ เรา ตัง้ ใจทำ�จริงๆ แล้วมันมีทางออก ภาวนาไป รวม จิตใจลงไป จนกระทัง่ จิตใจเชือ่ ตามความเป็นจริง เชือ่ ต่อคุณพระพุทธเจ้าจริงๆ เชือ่ ต่อคุณพระธรรม จริงๆ เชื่อต่อคุณพระอริยสงฆ์สาวก จริงๆ แล้ว บุคคลผู้นั้นก็มีทางที่จะได้บรรลุมรรคผลเห็นแจ้ง ในธรรมในปัจจุบันชาตินี้ การทีเ่ รากราบไหว้บชู าสักการะพระพุทธเจ้า ด้วยความศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสนี้ ท่านว่าเป็นบุญกุศลอันมหาศาล เป็นนิสัยปัจจัย ต่อเนื่องถึงนิพพาน ฉะนัน้ เราต้องฝึกหัดจิตใจของเราให้เลือ่ มใส ในคุณพระพุทธเจ้า จิตใจของเรา ถ้าเลื่อมใสใน คุณพระพุทธเจ้าแล้ว


69

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

นึกน้อมใจให้ดี เจริญให้ดีเอามามัดจิตใจ ของเราให้อยู่ ใจของเราจะสงบ ระงับ เยือกเย็น สบาย ไม่ทุกข์ร้อนประการใด ผู้บำ�เพ็ญภาวนาจงดูแผ่นดิน ทำ�จิตใจของ ตนให้เหมือนแผ่นดิน ใครจะว่าร้ายก็ไม่หวั่นไหว ใครจะว่าดี ยกย่องสรรเสริญเทิดทูนให้ ก็อย่าไปเชือ่ ไปหลงอะไรๆ ทุกอย่างพระพุทธเจ้าท่านรวม เข้ามาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง นามและรูป กายใจนีไ้ ม่เทีย่ งแท้แน่นอน เปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ มีอยูอ่ ย่างเดียว จิตภาวนาไม่ตอ้ งเปลีย่ นแปลง นึกเจริญสิง่ ใดก็ให้เจริญสิง่ นัน้ ๆ จนรูจ้ กั รูแ้ จ้ง รูจ้ ริง ภายในจิตใจของผูป้ ฏิบตั ิ เมือ่ รูแ้ จ้งรูจ้ ริงแล้วก็ยอ่ ม จะไม่หวัน่ ไหว แต่สว่ นใหญ่เราจะไม่เอาจริง ไม่ท�ำ จริง จิตมันยังหาความสุขภายนอก ทั้งๆ ที่มันเป็น ความสุขไม่แน่นอน อันความสุขทีแ่ น่นอนเกิดจาก จิตภาวนา สงบจิตสงบใจลงไปจริงๆ อันนีจ้ งึ จะเป็น ที่พึ่งพาอาศัยได้”


การภาÇนาµ้องมÕเÇลาป¯ิบัµิ อย‹ามÕข้ออ้าง

หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ําผาบิ้ง จังหวัดเลย กล่าวสอนว่า เหตุทไี่ ม่มเี วลาภาวนาเพราะภายในจิตยังมี ตัณหาอยู ่ จิตยังมีขนึ้ มีลงอยู ่ ไม่เห็นความบริสทุ ธิ ์ และความปกติของจิต กิเลส ตัณหาดูดเอาไปหมด


71

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ให้ เ ห็ น อวั ย วะของร่ า งกาย แปรปรวน อยูเ่ สมอ ด้วยไตรลักษณะ จิตจึงไม่ทะเยอทะยาน จิตมีความมัธยัสถ์เป็นกลางเสมอ ไม่ติดในอามิส ใดๆ ไม่ยึดติดในรักและชัง ดังนั้นต้องใช้ปัญญา พิจารณาใจหนึง่ พิจารณาอนุสยั ของจิตหนึง่ เมือ่ รู้เท่าทันใจ และรู้เท่าทันกัน ในอนุสัยแล้วก็สิ้น อาสวะเท่านั้น ธรรมะอยู่กับปัจจุบัน ไม่อยู่กับผู้ที่ตาย ไปแล้วไม่อยูก่ บั ผูท้ ยี่ งั ไม่เกิด ไม่อยูก่ บั อดีต ไม่อยูใ่ น อนาคตรวมอยูใ่ นปัจจุบนั นัน้ ดีมาก ให้แก้จติ ภาวนา ในปัจจุบัน ภาวนาทำ�จิตให้เด็ดเดี่ยว ร่างกาย ประกอบไตรลักษณะเร่งความเพียรให้ลึกเข้าไป เพื่อประโยชน์ในการดับอนุสัย


72

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ชำ�ระกิเลสที่นอนกองอยู่ในใจ ให้อวิชชา ออกไป เพื่อวิชชาเข้าแทน การทำ�สมถะวิธี ทำ�วิปสั สนาวิธตี อ้ งทำ�เรือ่ ยๆ กว่าจะสิ้นกิเลส โดยไม่สำ�คัญตนว่า สำ�เร็จ อย่างนัน้ อย่างนี้ ปฏิบตั ถิ งึ ผลทีส่ ดุ รูเ้ อง เห็นเองว่า เราสิน้ กิเลสแล้ว หรือยังแก้กเิ ลสอย่างละเอียดนัน้ แก้ยาก แก้ความดีตดิ ความดีนนั้ แก้ยาก แก้กเิ ลส อย่างหยาบนั้นแก้ง่าย เพราะแสดงเห็นตัวกิเลส แก้ความดี ติดความดีนั้นแก้ยาก เพราะมี ความสุขสงบเป็นประจำ� มีความยินดี สำ�คัญตน เป็นต่างๆ เป็นกิเลส อย่างละเอียด เป็นนามธรรม รูปธรรมเห็นได้งา่ ย นามธรรมเห็นได้ยาก เห็นด้วย ใจอย่างเดียว จะประหารได้ด้วยไตรลักษณ์อย่าง เดียว เพื่อไม่ให้ติดต่อรูปธรรม กระทำ�ด้วยอุคห นิมิต และปฏิภาคนิมิต


73

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

รวมทั้งสองประเภทประหารด้วยวิปัสสนา ตัวปัญญาให้รู้แจ้ง รู้จริง เห็นจริง ตามสภาพ ธรรมทั้งปวง จึงจะสิ้นกิเลสได้ ให้ใช้กรรมฐาน ดวงเดียว อย่ากังวลในกรรมฐานแบบต่างๆ จะเป็น ความลังเลสงสัย จิตจะไม่แน่นอนจิตไม่สงบจะ เป็นอุปสรรคของจิตตลอดกาล เมื่ อ จิ ต ที่ ฝึ ก มาดี แ ล้ ว จนมี ค วามชำ � นาญ จะบังคับจิตให้สงบอยู่ได้ตามต้องการทุกเวลา ที่ต้องการ สังขารทั้งหลายประกอบไปด้วยไตร ลักษณะ ไม่เทีย่ งเป็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ในโลกนี้ จะเอาความเทีย่ งมาจากไหน เรือ่ งของโลกเป็นไป ตามเรื่องของเขา ปั่นป่วน แปรปรวนอยู่เช่นนั้น แต่ไหนแต่ไรมา เพราะโลกไม่เทีย่ ง ไม่ควรเอาเรือ่ ง เอาราวกับโลก รูเ้ รือ่ งแล้วก็วางไว้ตามสภาพของเรา


74

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ไม่ ค วรยึ ด ถื อ ว่ า เป็ น ของดี เป็ น ของใช้ ชั่วคราว พระอริยเจ้าละกรรมอดีต ละกรรม อนาคต ทำ�ความรู้แจ้งในปัจจุบันไปนิพพานใน ปัจจุบัน ปฏิปทาความรู้แจ้งแทงตลอด เป็นตัว วิปัสสนาโดยตรง ที่จะกระทำ�ให้ถึงวิโมกข์วิมุตติ ให้รู้เห็นร่างกายภายในให้ทั่ว จากนั้นให้ละวาง ความรู้ทั่วนั้น ประหารกิเลสโดยการไม่ยึดถือ อะไรทั้งหมด เพราะสังขารแปรปรวนให้เห็นอยูเ่ สมอ และ อยูโ่ ดยอาศัยกรรมทรงชีพ เปลีย่ นสุข เปลีย่ นทุกข์ เรื่อยไปไม่หยุดเห็นสังขาร แปรปรวนอยู่เช่นนั้น เห็นทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่ประมาท ธรรมะบอกเหตุผลอยูเ่ รือ่ ยๆ สว่างโล่ ทัง้ ภาย ในภายนอกไม่เผลอ ไม่ประมาท มีสติเต็มที่


75

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ใคร่ครวญในกาม ให้เห็นกามเป็นของไม่เทีย่ ง ให้เห็นเป็นปฏิกูล ให้เห็นเป็นภัยอันใหญ่ให้เห็น เป็นไตรลักษณะ เกิดความเบือ่ หน่าย ให้ภาวนาเห็น ความเกิดดับของจิต ความเกิดดับของกายภาวนาให้เห็นสังขาร เห็นเรือ่ งสังขารเป็นความแปรปรวน ประกอบด้วย ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ใคร่ครวญอยู่ในอริยสัจ ของจริง และพร้อมกับละวางสังขารว่าเป็นเรื่อง ของสังขาร การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรือ่ งของโลก บังคับบัญชาไม่ได้ ให้เอาไปแต่ความบริสุทธิ์ของ จิต เมื่อจิตเจริญพอแล้ว จะละวางสังขารทั้งปวง เพราะมันเป็นเรือ่ งหนัก เมือ่ รูแ้ ล้วปลงได้วา่ มันเป็น ไปตามอริยสัจ ถ้าไม่รเู้ ป็นอันปลงไม่ได้ พระอริยเจ้า ท่านจะรู้เรื่องของขันธ์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็น ของเขา ท่านไม่ทุกข์ด้วย


76

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

จิตพระอรหันต์จงึ ไม่แปรปรวนเป็นอืน่ เห็น โลกเป็นเรื่องกลับกลอก เพราะถือว่าสังขารนั้น ไม่เที่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นควรหมั่นพิจารณากายให้ มาก ไม่หลงว่างามกิเลสทัง้ หมดเกิดทีก่ าย ภาวนา ให้ได้หลักของจิตเสียก่อน ค่อยๆ พยายามไป เรื่อยๆ อย่าทิง้ อิทธิบาท ๔ และไตรลักษณ์ ค้นกาย กับจิต เดินวิปัสสนาตรวจกายด้วยกำ�ลัง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เหนือ่ ยแล้วต้องพักสมาธิ จึงจะเป็น การปฏิบัติชอบ แต่อย่าหลงในสมาธิอย่างเดียว ติ ด สมาธิ อ ย่ า เชื่ อ ปั ญ ญาอย่ า งเดี ย วทำ �ให้ จิ ต ฟุ้งซ่าน เชื่อวิโมกข์ วิมุตตา ความหลุดพ้น ให้ละอดีตหนึ่ง อนาคตหนึ่ง อย่าให้วิ่งไป อดีต อนาคตปัจจุบัน ผสมผเสกัน จิตฟุ้งซ่าน จิตไม่ขลัง


77

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพิกอดีต อนาคตแล้วนัน้ ธรรมทัง้ หลายจะ ได้มาประชุมกันในปัจจุบนั จิตสว่าง การเจ็บป่วย เหมือนกัน เป็นเรือ่ งของสังขาร ชาติทกุ ข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ มันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป ไม่หายมัน ก็ตายเท่านั้นเอง การป่วยมันเป็นทุกข์ ก็ภาวนาให้รทู้ กุ ข์ ให้ วางทุกข์ ให้เอาสุขนิพพานนั่นแหละเป็นเอกของ ธรรมทัง้ หลาย อย่าไปกังวลทีต่ วั สังขาร มันปรุงแต่ง อยูร่ �่ำ ไป ไม่มเี วลาหยุด เมือ่ เราพออริยสัจ เราไม่รบั เอามาพิจารณา ก็เป็นอันที่แล้วไป ไม่มีสุขทุกข์ ฝังอยู่ในสันดาน ให้วางสุข วางทุกข์นั้น มีบุญ ก็ไม่เอา มีบาปก็ไม่เอา เอารู้สุข รู้ทุกข์ รู้บุญ รู้บาปเข้าสายกลางเป็นยอดแห่งความสุขเสมอไป


78

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

สังขารเป็นของปลอม หลอกลวงให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครไม่รู้เท่าทัน ก็เวียนว่าย ตาย แก่ เจ็บอยูร่ �่ำ ไปเพราะมันวางทุกข์สขุ ไม่ได้ มันติดโลก สังขารอยู่ ให้รักษาจิตอย่างเดียว อะไรมันเกิดที่จิต ทัง้ หมด ดี-ชัว่ ไปสวรรค์-นิพพาน ไปประกอบทุกข์ ก็จิตเป็นเหตุให้รู้เท่าเหตุ จิตเป็นมหาเหตุทั้งนั้น จิตปัจจุบนั เป็นทีป่ ระชุมใหญ่ แก้ดวงจิตก็เป็นพอ เมือ่ ไม่ถอื สังขาร หัวใจว่างนัน้ แหละเป็นตัวนิพพาน วิธีปฏิบัติภาวนาโดย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) ท่านกล่าวสอนว่า “จงเริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำ�ความรู้ตัวเต็มที่และ รู้อยู่กับที่


79

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

โดยไม่ตอ้ งรูอ้ ะไรคือรูต้ วั อย่างเดียว รักษาจิต เช่นนีไ้ ว้เรือ่ ยๆ ให้ ‘รูอ้ ยูเ่ ฉยๆ’ ไม่ตอ้ งไปจำ�แนก แยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอย ตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่จิตจะคิดแส่ไป ในอารมณ์ตา่ งๆ โดยไม่มที างรูท้ นั ก่อนเป็นธรรมดา สำ�หรับผูฝ้ กึ ใหม่ตอ่ เมือ่ จิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์ นั้นๆ จนอิ่มแล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบ สภาวะของตนเองระหว่างทีม่ คี วามรูอ้ ยูก่ บั ที่ และ ระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร เพีอ่ เป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ� จากนัน้ ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอจิตก็จะแล่นไปเสวย


80

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อารมณ์ข้างนอกอีกจนอิ่มแล้วก็จะกลับรู้ตัวแล้วก็ พิจารณาและรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ไม่นานนักก็จะสามารถ ควบคุมจิตได้และบรรลุสมาธิในทีส่ ดุ และจะเป็น ผู้ฉลาดใน “พฤติแห่งจิต” โดยไม่ต้องไปปรึกษา หารือใคร ข้อห้ามการปฏิบัตินั้นก็คือในเวลาจิตฟุ้ง เต็มที่ จงอย่าทำ�เพราะไม่มีประโยชน์และยังทำ� ให้บั่นทอนพลังความเพียรทำ�ให้ไม่มีกำ�ลังใจใน การเจริญจิตครัง้ ต่อๆ ไป ในกรณีทไี่ ม่สามารถทำ� เช่นนี้ ให้ลองนึกคำ�ว่า ‘พุทโธ’ หรือคำ�อะไรก็ได้ ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวนหรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรือ่ ยๆ แล้วสังเกตดูวา่ คำ�ทีน่ กึ นัน้ ชัด ที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต จงพึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล


81

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐาน แห่งจิตที่คำ�นึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ย่อมไม่อยู่ ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าฐานนี้ จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะ ว่ า อยู่ ก ายนอกก็ ไ ม่ ใ ช่ จ ะว่ า อยู่ ภ ายในก็ ไ ม่ เ ชิ ง เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าได้กำ�หนดถูกฐานแห่งจิต แล้วเมื่อกำ�หนดถูกและพุทโธปรากฏในมโนนึก ชัดเจนดีก็ให้กำ�หนดไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมือ่ ใด จิตก็จะแล่นไปสูอ่ ารมณ์ ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้วจึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไปด้วยอุบายวิธีในทำ�นอง เดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำ�นาจได้เอง


82

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ข้ อ ควรจำ � ในการกำ � หนดจิ ต นั้ น ต้ อ งมี เจตจำ � นงแน่ ว แน่ ใ นอั น ที่ จ ะเจริ ญ จิ ตให้ อ ยู่ ใ น สภาวะที่ต้องการเจตจำ�นงนี้ คือตัว “ศีล” การ บริกรรม “พุทโธ” เปล่าๆ โดยไร้เจตจำ�นง ไม่เกิด ประโยชน์ อ ะไรเลย กลั บ เป็ น เครื่ อ งบั่ น ทอน ความเพี ย รทำ � ลายกำ � ลั งใจในการเจริ ญ จิ ตใน คราวต่อๆ ไป แต่ ถ้ า เจตจำ � นงมั่ น คงการเจริ ญ จิ ต จะ ปรากฏผลทุ ก ครั้ งไม่ ม ากก็ น้ อ ยอย่ า งแน่ น อน ดังนั้นในการนึกพุทโธ การเพ่งเล็ง สอดส่องถึง ความชัดเจนและความไม่ขาดสายของพุทโธ จะ ต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำ�นงที่มีอยู่ อย่างไม่ลดละนี้หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า


83

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

มีลกั ษณะประหนึง่ บุรษุ ผูห้ นึง่ จดจ้องสายตา อยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟัน ลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าถ้าคมดาบนั้น ฟาดฟันลงมาตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้น อันตราย เจตจำ�นงต้องแน่วแน่ เห็นปานนี้จึง จะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำ�ให้เสีย เวลาและบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมือ่ จิตค่อยๆ หยัง่ ลงสูค่ วามสงบทีละน้อยๆ อาการทีจ่ ติ แล่นไปสูอ่ ารมณ์ภายนอกก็คอ่ ยๆ ลด ความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดีย๋ วประด๋าวก็รสู้ กึ ตัว ได้เร็ว ถึงตอนนี้คำ�บริกรรมพุทโธก็จะขาดไปเอง เพราะคำ�บริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ


84

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เมือ่ จิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบและคำ�บริกรรม ขาดไปแล้ ว ไม่ ต้ อ งย้ อ นถอยมาบริ ก รรมอี ก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำ�หนดเดิมไปเรื่อยๆ และสั ง เกตดู ค วามรู้ สึ ก และพฤติ แ ห่ ง จิ ต ทีฐ่ านนัน้ ๆ บริกรรมเพือ่ รวมจิตให้เป็นหนึง่ สังเกต ดูวา่ ใครเป็นผูบ้ ริกรรมพุทโธ และดูจติ เมือ่ อารมณ์ สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อ มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นก็ให้ละอารมณ์ทิ้งไปอย่า ส่งจิตออกนอก เพราะโดยรวมแล้ว อันธรรมะทั้งหมดก็คือ การทำ�ให้จิตหยุดคิดเท่านั้นเอง จงทำ�ให้จิตหยุด คิดให้ได้ สิ่งอื่นๆ ก็หยุดหมด เมื่อหยุดคิดจิตก็ สงบ “นั่นแหละคือธรรมที่แท้จริง”


ไขปัญหากรรม ãนแนÇ·างพระพุ·ธÈาสนา

ในทัศนะของพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้นิยามว่า “¡ÃÃม

หมายถึ ง การกระทํ า อั น ประกอบด้ ว ยเจตนา” ส่วนการกระทำาที่ไม่ประกอบด้วยเจตนาไม่เรียก ว่ากรรม แต่จะเรียกว่า “กิริยา”


86

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

กรรมเท่ากับเจตนา เพราะการกระทำ�นั้น เป็นเครือ่ งมือของเจตนาหรือจิตอีกทีหนึง่ ตัวกรรม ที่แท้จึงอยู่ที่จิตหรือเจตนา ทุกคนที่มีเจตนาใน การกระทำ�ในทุกประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ เรือ่ งของกรรมจึงไม่เกีย่ วข้องกับความเชือ่ ไม่ใช่เรื่องของเทพเจ้าบันดาลให้หรือโชคอำ�นวย เพราะไม่วา่ เราจะเชือ่ หรือไม่เชือ่ เรือ่ งกฎแห่งกรรม ก็ตาม เมื่อเราได้กระทำ�สิ่งใดลงไปแล้วเราก็ต้อง อยูใ่ นวงจรของการให้ผลแห่งกรรมนัน้ และต้องได้ รับผลของกรรมโดยอัตโนมัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบอกว่า “ในบรรดาหนทางทำ � กรรมทั้ ง สามคื อ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม กรรมทีส่ �ำ คัญ ที่สุดก็คือมโนกรรม”


87

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ท่านเคยเทศนาเรือ่ งกรรม ไว้ว่า “คนส่วนมากยังมีความเชือ่ ว่ามีผดู้ ลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิด โชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้ แสดงว่าคนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกข์ เพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล เมื่อ คิดถึงก็คดิ เห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มดื ๆ อะไร อย่างหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผูเ้ คราะห์รา้ ยทีถ่ กู เข้าใจในทางร้าย อยูเ่ สมอ เมือ่ ได้ดมี สี ขุ ก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของ คนทั่วไป


88

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

นอกจากนี้คนจะทำ�อะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้ นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรมไม่เกี่ยว กรรมจึง กลายเป็นอดีตที่น่ากลัวที่คอยจะให้ทุกข์เมื่อไร ก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูเป็น เคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไป เช่นนี้ อันที่จริงพระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้คน เข้าใจในกรรมเช่นนี้ ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยูใ่ ต้อ�ำ นาจกรรม แต่สอน ให้รู้จักกรรม ให้มีอำ�นาจเหนือกรรม ให้ควบคุม กรรมของตนในปัจจุบัน กรรม คือกาลอะไรทุกอย่างที่คนทำ�อยู่ ทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือความจงใจ ทุกคนจะทำ�อะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไรย่อมมี เจตนา คือความจงใจนำ�อยู่ก่อนเสมอ


89

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

และในวันหนึง่ ก็ตอ้ งทำ�อย่างนัน้ อย่างนี้ ต้อง พูดอย่างนั้นอย่างนี้ไปตามที่ตนเองจงใจจะพูด จะทำ� จะคิด นีแ่ หละคือกรรม วันหนึง่ ๆ จึงทำ�กรรม มากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม หลักใหญ่ ก็มุ่งให้พิจารณา ให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตน นีแ้ หละว่า อะไรดีอะไรชัว่ อะไรควรไม่ควร เพือ่ ที่ จะได้เว้นกรรมทีช่ วั่ ทีไ่ ม่ควร เพือ่ ทีจ่ ะทำ�กรรมทีด่ ี ที่ควร และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า ‘บุคคล สามารถจะละกรรมทีช่ วั่ ทำ�กรรมทีด่ ไี ด้’ จึงได้ตรัส สอนไว้ให้ละกรรมทีช่ วั่ ทำ�กรรมทีด่ ี ถ้าไม่เช่นนัน้ ก็ไม่ตรัสสอนไว้ และการละกรรมชั่วทำ�กรรมดี ถ้ าให้ เ กิ ดโทษทุ ก ข์ ก็ จ ะไม่ ต รั สไว้ อ ย่ า งนี้ แต่ เพราะให้เกิดประโยชน์สุข จึงตรัสสอนไว้อย่างนี้


90

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

พระพุทธโอวาทนีแ้ สดงว่า คนมีอ�ำ นาจเหนือ กรรมอาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้อง ไม่ลมื ว่าต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ดว้ ย โดย ตัง้ มัน่ แน่วแน่อยูใ่ นธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีล อันหมายถึงตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำ�การที่ ควรทำ�ในขอบเขตอันควร ทีว่ า่ คนมีอ�ำ นาจเหนือกรรมปัจจุบนั ด้วยการ ควบคุมจิตเจตนาให้เว้นหรือทำ�กรรมอะไรก็ได้นนั้ ถ้าพูดเพียงเท่านี้ก็ดูไม่มีปัญหา แต่ถ้าพูดถึง กรรมอดีตทีจ่ ะส่งผลในปัจจุบนั ก็เกิดปัญหาขึน้ อีก สำ � หรั บ ผู้ ที่ เ ชื่ อในอดี ต ชาติ ว่ า กรรมที่ ทำ �ใน อดีตชาติจะส่งผลในชาตินี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงกลัวอำ�นาจของกรรมอดีต เหมือนอย่างกลัว อำ�นาจมืดที่จะมาทำ�ร้ายเอาแน่


91

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ในเรื่องนี้พระพุทธศาสนาแสดงไว้อย่างไร สมควรจะพิจารณา” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวสอนเรื่องกรรม ว่า “เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนามีบุญ พอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิ ดังทีท่ ราบอยูแ่ ก่ใจ อย่าลืมตัว ลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดี เสริมต่อ ภพชาติของเราที่เคยเป็นมนุษ ย์จะ เปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไป เป็นชาติที่ ต่ำ�ทราม ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์หรือกำ�ลังจนจนน่าทุเรศ เรา อาจมีเวลาเป็นเช่นนั้นหรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริงๆ ไม่มีใครมีอำ�นาจ หลีกเลี่ยงได้เพราะกรรมดีกรรมชั่วเรามีทางสร้าง ได้เช่นเดียวกับผู้อื่น


92

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ผู้สงสัยกรรมหรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือ ลืมตนจนกลายเป็นผูม้ ดื บอดอย่างช่วยไม่ได้ กรรม คือการกระทำ�ดีชั่วทางกาย วาจา ใจต่างหาก ผลจริงคือความสุขทุกข์ มนุษย์กม็ กี รรมชนิดหนึง่ ที่พาให้มาเป็นเช่นนี้ ซึ่งล้วนผ่านกำ�เนิดต่างๆ มาจนนับไม่ถ้วน ให้ตระหนักในกรรมของสัตว์วา่ มีตา่ งๆ กัน เพราะฉะนัน้ ไม่ให้ดถู กู เหยียดหยามในชาติกำ�เนิด ความเป็นอยู่ของกันและกัน และสอนให้รู้ว่าสัตว์ ทั้งหลายมีกรรมดีกรรมชั่วเป็นของของตน” หลวงปู่ชา สุภัทโท ให้นิยามเรื่องกรรมใน แนวทางเดียวกันว่า “กรรมคือการกระทำ� กรรมคือการยึดมั่น ถือมั่น กาย วาจา และใจ ล้วนสร้างกรรม เมื่อ มีการยึดมั่นถือมั่น


93

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เราทำ � กั น จนเกิ ด ความเคยชิ น เป็ น นิ สั ย ซึ่งจะทำ�ให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า นี่ เป็ น ผลของการยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น และของกิ เ ลส เครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ความยึดมัน่ ทัง้ หลายจะทำ�ให้เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ ท่านขโมยเขาทำ�ให้เขาไม่เป็นสุข ทำ�ให้พ่อแม่ หมดสุ ข ตอนนี้ ท่ า นเป็ น พระแต่ เ วลาที่ ท่ า น นึกถึงเรื่องที่ท่านทำ�ให้ผู้อื่นหมดสุขแล้วท่านก็ไม่ สบายใจและเป็นทุกข์แม้จนทุกวันนี้ จงจำ�ไว้วา่ ทัง้ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุ ปัจจัยให้เกิดผลในอนาคตได้ ท่านก็เป็นสุข ความสุขใจเป็นผลจากกรรมในอดีต สิ่ง ทั้งปวงมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งในระยะยาว และถ้า ใคร่ครวญดูแล้วทั้งในทุกๆ ขณะด้วย


94

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

แต่ท่านอย่าไปนึกถึงอดีตหรือปัจจุบันหรือ อนาคต เพียงแต่เฝ้าดูกายและจิต ท่านจะต้อง พิจารณาจนเห็นจริงในเรื่องกรรมด้ว ยตั ว ของ ท่านเอง จงเฝ้าดูจิตปฏิบัติ แล้วท่านจะรู้อย่าง แจ่มแจ้ง อย่าลืมว่ากรรมของใครก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่นและอย่าจับตาดูผู้อื่น ถ้าผมดื่มยาพิษ ผมก็ได้ทุกข์ ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะมาเป็นทุกข์ด้วย จงรับเอาแต่สงิ่ ดีทอี่ าจารย์สอน แล้วท่านจะเข้าถึง ความสงบ จิตของท่านจะเป็นเช่นเดียวกับจิตของ อาจารย์ ถ้าท่านพิจารณาดูทา่ นก็จะรูไ้ ด้ แม้วา่ ขณะ นี้ท่านจะยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านปฏิบัติต่อไปมันก็ จะแจ่มแจ้งขึ้น ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรม”


95

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

กรรมเมื่ อ ทำ � แล้ ว ก็ ต้ อ งรั บ ผลแห่ ง การ กระทำ�นั้นอย่างแน่นอน โดยหลวงพ่อพุธ ฐานิโย กล่าวสอนว่า “...พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำ�กรรมใด ไว้ ได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ การไปทำ�พิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำ�สอน ของพระพุทธเจ้า กรรมใดใครก่อลงไปแล้วใจเป็น ผู้จงใจ คือเจตนาที่ทำ�ลงไป พอทำ�ลงไปแล้ว กรรมอันเป็นบาปต่อเมื่อภายหลัง เรามานึกว่าเราไม่ต้องการผลของบาปมัน ก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้ เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจาทำ�ลงไป พูดลงไป ใจตัวนี้ต้องรับผิดชอบ โดยความเป็นธรรมโดยหลักของธรรมชาติ


96

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพราะฉะนั้นการที่เราจะไปทำ�พิธีตัดกรรม นี่หมายถึงตัดผลของบาป มันตัดไม่ได้ อย่าไป เข้าใจผิด ถ้าหากพระรูปใดแนะนำ�ว่าทำ�บาปแล้ว ตัดกรรมได้ อย่าไปเชื่อ ขอให้พทุ ธบริษทั ทัง้ หลายจงปลูกฝังนิสยั ให้ เด็กของเรา ในข้อนี้เป็นเรื่องจำ�เป็นและสำ�คัญ ทีส่ ดุ ถ้าเด็กๆ ของเราไปเข้าใจว่าทำ�บาปทำ�กรรม แล้วไปทำ�พิธตี ดั กรรมแล้วมันหมดบาป ประเดีย๋ ว เด็กๆ มันทำ�บาปแล้วไปหาหลวงพ่อ หลวงพี่ ตัด บาปตัดกรรมได้มันก็ไม่เกิดความกลัวต่อบาป เพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าทำ�กรรม อันเป็นบาป แล้วตัดกรรมให้มนั หมดไป มันเป็นไป ไม่ได้ แต่ตัดเวรนี่มีทาง เพราะเวรหมายถึงการ ผูกพยาบาทอาฆาต คอยแก้แค้นกันอยูต่ ลอดเวลา


97

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อย่างเราฆ่าเขาตาย บางทีนกึ ถึงบาปกรรม กลัวว่าเขาจะอาฆาตจองเวร เราทำ�บุญอุทิศ ส่วนกุศลไปให้เขา ถ้าหากว่าเขาได้รับส่วนกุศล จากเรา เขาได้รบั ความสุข เขาเลือ่ นฐานะจากภาวะ ที่ทุกข์ทรมานไปสู่ฐานะที่มีความสุข เขานึกถึง คุณงามความดี ถึงบุญถึงคุณของเรา เขาก็ อโหสิกรรมให้แก่เรา ไม่ตามล้างตามผลาญกัน อีกต่อไป หรืออย่างเช่นเราอยู่ด้วยกัน ทำ�ผิดต่อกัน เมื่อปรับความเข้าใจกันได้แล้วเราขอโทษซึ่งกัน และกัน ต่างฝ่ายต่างยกโทษให้กัน เวรที่จะตาม มาคอยจองล้างจองผลาญกันมันก็หมดสิ้ นไป แต่ผลกรรมที่ทำ�ผิดต่อกันนั้นมันไม่หายไปไหน หรอก”


98

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หากเราย้อนกลับมาดู “วิธีชนะกรรมหรือ การแก้กรรม” ที่เห็นกันอยู่มากในทุกวันนี้ เช่น การไปให้พระสวดบังสุกุลเป็น บังสุกุลตาย การ ไปสร้างพระพุทธรูปจำ�นวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ หรือการกราบไหว้บชู าเพือ่ มุง่ หมายให้สงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ช่วยตัดกรรมได้นนั้ อาจเป็นความเชือ่ หรือวิธกี าร ปฏิบัติของศาสนาอื่น ไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา ทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น วิธีการ เอาชนะกรรมหรือการแก้กรรมมีเพียง ๑ วิธี ๘ ขัน้ ตอน นัน่ ก็คอื “การปฏิบตั ติ ามอริยมรรคมี องค์แปดหรือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำ� คุณภาพจิตจะถูกเปลี่ยนจากมิจฉาทิฐิกลายเป็น สัมมาทิฐิ คือเห็นชอบตามทำ�นองคลองธรรม จิตจะ เปลี่ยนจากที่เห็นผิดเป็นชอบ กลายเป็นเห็นชอบ ทำ�ชอบ


99

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เมื่อการกระทำ�เปลี่ยน ผลของการกระทำ� ก็เปลี่ยนไป ทำ�ให้ชีวิตเปลี่ยนเป็นคนใหม่ได้ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ท่านได้เคยตอบ ในเรื่ อ งการแก้ ก รรมโดยเป็ น การถามตอบกั บ ลูกศิษย์ว่า ถาม : “การสร้างพระพุทธรูป แล้วอุทศิ แก่ เจ้ากรรมนายเวร แก้กรรมหนักให้เป็นเบาหรือหมด เลยได้จริงไหมครับ คนทีร่ บั ทำ�พิธนี เี้ ขาให้ขอ้ คิดว่า มีการทำ�บุญอะไรล่ะทีจ่ ะดีกว่าการสร้างพระพุทธรู ปให้ ค นกราบไหว้ บู ช า หลวงปู่ มี ค วามเห็ น อย่างไรครับที่เขาพูดจริงเท็จประการใด” ตอบ : “การสร้างพระพุทธรูป อุทิศแก่ เจ้ากรรมนายเวร แก้กรรมหนักให้เป็นเบาหรือ หมดเลยนั้น ส่วนแก้กรรมหนักให้เป็นกรรมเบาก็ เป็นการยากอยู่


100

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เพราะไม่ได้ทำ�วัตรขอขมาโทษกัน ตอนที่ ต่างคนต่างมีชีวิตอยู่ ส่วนกุศลผลบุญนั้นได้อยู่ แต่ก็ไม่พอที่จะลบล้างได้ การที่จะลบล้างได้บ้าง ก็เพราะต่างคนต่างมีชีวิตให้อภัยกันในระหว่าง คู่เวรกันยังไม่ตาย

กรรมจะหมดการให้ ผ ลได้ จึ ง ต้ อ ง อโหสิกรรมอย่างเดียวเท่านัน้ เป็นการเอาชนะ ผลของกรรมได้อย่างแท้จริง”


ไขปัญหา ÇิธÕสร้างบุญบารมÕ

วิธีสร้างºุญºารมีในพระพุทธศาสนากล่าว สอนเรื่องการทำาºุญถึง ñð วิธี ซึ่งปัญหาการ

สร้างบุญบารมีเหล่านี้เป็นข้อที่แทรกอยู่ในวิธีการ ทำาบุญทัง้ ๑๐ วิธ ี โดยขอน้อมนำาปัญหาและคำาตอบ จากครูบาอาจารย์มาแถลงไขให้ทราบในที่นี้ด้วย


102

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

• การกล่าวคำ�ถวายของกับพระจำ�เป็น

หรือไม่ หลายท่านมีความสงสัยว่าทำ�บุญแล้วต้อง กล่าวคำ�ถวายหรือไม่ หลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต ได้เคย เมตตากล่าวไว้ว่า “บุญนั้นผู้ถวายได้ถวายได้แล้วสำ�เร็จแล้ว ตัง้ แต่ตงั้ ใจหรือเจตนาในครัง้ แรก ตลอดจนนำ�มา ถวายสำ�เร็จ ไม่จ�ำ เป็นต้องกล่าวอะไรอีก เพียงแต่ ตั้งเจตนาดีเป็นกุศลหวังผลคือความสุข การพ้น จากทุกข์ทงั้ ปวงเท่านีก้ พ็ อแล้ว นัน่ มันเป็นพิธกี าร หรือกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของเขา ไม่ต้องเอาอะไร ทุกขั้นทุกตอนดอก”


103

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ครั้งนั้นมีศรัทธาญาติโยมจากสกลนครเขา เป็นคนเชื้อสายจีน มีชื่อว่า ‘เจ๊กไฮ’ แซ่อะไรนั้น เขาไม่ได้บอกไว้ เขามีความเลื่อมใสศรัทธาใน องค์ท่านพระอาจารย์มั่นมากขอเป็นเจ้าภาพกฐิน ในปีนั้น เมื่อถึงเวลากำ�หนดกรานกฐินแล้ว จึงได้ ตระเตรี ย มเดิ น ทางมาพั ก นอนค้ า งคื น ที่ บ้ า น หนองผือหนึ่งคืน โดยพักบ้านของทายกวัดคน หนึ่งเพื่อจะได้จัดเตรียมอาหารคาวหวานสำ�หรับ ไปจังหันตอนเช้าด้วย พอเช้าขึ้นพวกเขาจึงพากันนำ�เครื่องกฐิน พร้อมกับเครื่องไทยทานอาหารต่างๆ เหล่านั้น ไปที่วัด


104

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เมื่อถึงวัดล้างเท้าที่หัวบันไดแล้วพากันขึ้น บนศาลาวางเครือ่ งของ คุกเข่ากราบพระประธาน แล้วจึงรวบรวมสิง่ ของ เครือ่ งผ้ากฐิน พร้อมทัง้ ของ อันเป็นบริวารต่างๆ วางไว้ที่หน้าพระประธานใน ศาลา ส่วนเจ๊กไฮผู้เป็นหัวหน้านำ�ผ้ากฐินมานั้น เมื่อวางจัดผ้ากฐินพร้อมทั้งของอันเป็นบริวาร ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว นัง่ สักครู่ เห็นว่ายังไม่มอี ะไร จึงพากันกราบพระประธาน (เจ๊กไฮก็กราบเหมือน กัน ท่าทางเหมือนคนจีนทัว่ ไปเขากราบนัน่ แหละ) แล้วเขาก็ลงจากศาลาไป เดินเลาะเลียบ ชมวัดวาอารามเฉยอย่างสบายอารมณ์ จนกระทัง่ พระเณรกลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นบนศาลา เตรี ย มจั ด แจงอาหารลงบาตรจนเสร็ จ สรรพ เรียบร้อยทุกองค์


105

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ท่านพระอาจารย์มนั่ จึงให้เรียกเจ๊กไฮมาเพือ่ จะได้อนุโมทนารับพรต่อไป แต่เจ๊กไฮก็ไม่มารับพรด้วยก็มคี นถามเขาว่า “ทำ�ไมไม่รบั พรด้วย” เขาบอกว่า “อัว๊ ได้บญุ แล้ว ไม่ต้องรับพรก็ได้ การกล่าวคำ�ถวายก็ไม่ ต้องว่า เพราะอั๊วได้บุญตั้งแต่อั๊วตั้งใจจะทำ�บุญ ทีแรกแล้ว ฉะนั้นอั๊วจึงไม่ต้องรับพรและกล่าวคำ� ถวายใดๆ เลย” ภายหลั ง ฉั น เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ท่ า น พระอาจารย์มั่นได้พลิกวิธีคำ�ว่าผ้ากฐินมาเป็น ผ้าบังสุกุลแทน ท่านจึงพิจารณากองผ้ากฐิน เป็ น ผ้าบั ง สุ กุ ล เสร็ จแล้ ว ท่านได้ เทศน์ ฉ ลอง ยกย่องผ้าบังสุกุลของเจ๊กไฮเป็นการใหญ่เลย


106

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ท่านกล่าวถึงผ้ากฐินนั้นได้รับอานิสงส์น้อย เพียงแค่ ๔ เดือนเท่านั้นไม่เหมือนกับผ้าบังสุกุล ซึ่งได้อานิสงส์ตลอดไป คือผู้ใช้สามารถใช้ได้ ตลอดไม่มีกำ�หนดเขต ใช้จนขาดหรือใช้ไม่ได้จึง จะทำ�อย่างอื่นต่อไป สุดท้ายท่านกล่าวอีกว่า “ใครทำ�บุญก็ไม่เหมือนเจ๊กไฮทำ�บุญ เจ๊กไฮ ทำ�บุญได้บญุ มากทีส่ ดุ พรเขาก็ไม่ตอ้ งรับ คำ�ถวาย ก็ไม่ต้องว่า เขาได้บุญตั้งแต่เขาออกจากบ้านมา บุญเขาเต็มอยูแ่ ล้วไม่ตกหล่นสูญหายไปไหน บุญ เป็นนามธรรมอยูท่ ใี่ จ อย่างนีจ้ งึ เรียกว่าทำ�บุญได้ บุญแท้”


107

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

• วิธีการชวนคนไปทำ�บุญ เรื่องการชวนคนไปทำ�บุญสร้างบุญหรือแม้ กระทัง่ ไปวัดถือศีล หรือการสอนเขาให้งดเว้นหรือ ตักเตือนด้วยความหวังดีก็ตาม ขอให้พิจารณา ในเรือ่ งของ “อุเบกขาธรรม” เป็นทีต่ งั้ เพือ่ ไม่ให้ ร่วมตกนรกไปด้วย ในเรื่องนี้หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เคยได้เมตตาสอน ศิษยานุศิษย์ไว้ว่า “การอยากชวนคนมาวัดมาปฏิบตั ใิ ห้มากๆ โดยลืมดูพนื้ ฐานจิตใจของบุคคลทีก่ �ำ ลังจะชวนว่า เขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด หลวงปู่ท่าน บอกว่าให้ระวังให้ดีจะเป็นบาป เปรียบเสมือนกับ การจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคน ๒ คน


108

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ เท่ากับเราเป็นคนก่อแล้วเขาเป็นคนจุดไฟ บาป ทั้งคู่ เรียกว่าเมตตาพาตกเหว...” หลวงปู่ได้ยกอุทาหรณ์สอนต่อว่า “...เหมือนกับมีชายคนหนึง่ ตกอยูใ่ นเหวลึก มีผู้จะมาช่วย คนที่หนึ่งมีเมตตาจะมาช่วย เอา เชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหว เหมือนกัน คนที่สองมีกรุณามาช่วยดึงอีก ก็ตกลงเหว อีก คนทีส่ ามมีมทุ ติ ามาช่วยดึงอีกก็พลาดตกเหว อีกเช่นกัน คนที่สี่สุดท้ายเป็นผู้มีอุเบกขาธรรม เห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำ�ลังของตนที่จะช่วย ก็มิได้ทำ�ประการใดทั้งๆ ที่จิตใจก็มีเมตตาธรรม ที่จะช่วยเหลืออยู่ คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจาก การตกเหวตาม เพราะอุเบกขาธรรมนี้แล...”


109

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

การชวนใครเข้าสูก่ ระแสบุญหรือชวนทำ�บุญ นั้นก็ต้องสำ�รวจจิตใจ ความคิด ทัศนคติของ คนคนนั้นก่อน หากใจของเขายังไม่พร้อม ไม่ น้ อ มนำ � ไปสู่ ท างบุ ญ ก็ ยั ง ไม่ ต้ อ งรี บ ชวนหรื อ รีบดึงเข้ามา เพราะจะทำ�ให้เสียเวลาทั้งสองฝ่าย • ไหว้พระทำ�บุญแล้วแต่ยังแอบทำ�ชั่ว จะ หนีนรกได้หรือไม่ การทำ�บุญนั้น “ศีล” ถือเป็นข้อใหญ่ที่จะ ช่วยกักบุญเอาไว้แล้วป้องกันไม่ให้บาปเข้ามา เจือปนกับบุญที่ทำ� หากทำ�บุญไปด้วยทำ�บาปไป ด้วยก็นับว่าขาดทุนกันไป


110

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หลวงปูเ่ หรียญ วรลาโภ ท่านเคยเทศนาใน เรื่องนี้ไว้ว่า “...เพียงแต่เคารพกราบไหว้บชู าด้วยดอกไม้ ธูปเทียนเฉยๆ เท่านั้นน่ะ แล้วไม่ละชั่วทำ�ดีตาม ที่พระองค์เจ้าแนะนำ�สั่งสอนนั้นมันก็พ้นทุกข์ไป ไม่ได้ เพียงแค่กราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้นั้นมัน จะพ้นจากนรกจากอบายภูมิไม่ได้เลย ขอให้ พากันคิดให้ดี ก็เป็นเพียงอุปนิสัย ปัจจัยติดตัว ไปนิดหน่อยเท่านั้นเองแหละ แต่ว่าไม่พ้นนรก เพราะบุคคลยังไปทำ�บาปอยู่ ยังลุอำ�นาจแก่ ตัณหาอยู่ เช่นนี้แล้วมันจะพ้นจากนรกไม่ได้เลย ผู้นับถือพระพุทธศาสนานี้ควรพยายาม น้อมเอาคำ�สอนของพระพุทธเจ้าเข้ามาตริตรอง พิจารณาอยู่ภายในใจนี้ให้มันเห็นแจ้งด้วยใจของ ตนเองแท้ๆ นั่นแหละมันถึงจะปฏิบัติตามได้


111

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ถ้าไม่เห็นแจ้งด้วยใจของตนในเรื่องบาป เรื่องบุญ เรื่องคุณ เรื่องโทษก็ดีอย่างนี้แล้วจะ ไม่ยอมปฏิบัติตาม คนเราน่ะเป็นอย่างนั้น ถ้า เห็นแจ้งแก่ใจแล้วว่าสิง่ ทีพ่ ระองค์เจ้าทรงแสดงว่า เป็นบาปมันก็เป็นบาปจริงๆ ให้มันเห็นแจ้งเลย มันเป็นบาป เพราะเหตุว่าเป็นการไปก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น นั่นแหละว่าเป็นบาป เมื่อทำ�อะไรลงไปแล้วมัน ต่อทุกข์ให้แก่ตนบ้าง ให้แก่ผู้อื่นบ้าง อย่างนี้มัน เป็นบาปทั้งนั้นแหละ...”


Á§¤ÅªÕÇÔµ ¤×ÍÍÐäÃ

ปัญหาเรื่องความเป็นมงคลที่แท้จริงนั้นคือ อะไร มีการตั้งคำาถามมานานตั้งแต่สมัยโบราณ

แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นมงคลที่สุดของชีวิต หาก ถามปุ ถุ ช นด้ ว ยกั น ก็ จ ะได้ รั บ คำ า ตอบแตกต่ า ง กันไป


113

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

บ้างก็ว่าการมีเงินทองมากเป็นมงคล การ ได้กินอาหารดีเป็นมงคล หรือการได้คู่ครองที่ดี รูปร่างหน้าตาสวยงามที่สุดนับเป็นมงคล แต่เคล็ดมงคลทั้งหลายถูกไขปริศนาด้วย ผู้รอบรู้ที่สุดในโลกอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมือ่ เทวดาองค์หนึง่ ได้ไต่ถามพระพุทธองค์จึงทรงมีวิสัชนาว่า “การไม่คบคนพาล การคบแต่บณั ฑิต และ การบูชาผู้ที่ควรบูชานี้ก็เป็นมงคล การอยู่ใน ประเทศอันสมควร ความเป็นผู้ทำ�บุญไว้แต่ก่อน การตัง้ ตนไว้ชอบ นีก่ เ็ ป็นมงคล ความเป็นพหูสตู ความเป็นผู้มีศิลปะ มีวินัยที่ศึกษามาดี มีวาจา เป็นสุภาษิต นี่ก็เป็นมงคล การบำ�รุงมารดาบิดา การสงเคราะห์บุตรภริยา การทำ�งานอันไม่อากูล นี่ก็เป็นมงคล


114

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

การให้ ท าน รั ก ษาธรรมจริ ย า การ สงเคราะห์ญาติ ทำ�การงานอันไม่มีโทษ นี่ก็เป็น มงคล การงดเว้นจากบาป การงดเว้นการดื่ม น้�ำ เมา ความไม่ประมาทในธรรมทัง้ หลาย นีก่ เ็ ป็น มงคล ความเคารพ ความถ่อมตน ความสันโดษ ความกตัญญู การฟังธรรมตามกาล นีก่ เ็ ป็นมงคล ความอดทน ความเป็นผู้ว่าง่าย การเห็น สมณะ การสนทนาธรรมตามกาล นี่ก็เป็นมงคล ความมีตบะ การรักษาพรหมจรรย์ การเห็น อริยสัจ ๔ การทำ�พระนิพพานให้แจ้ง นี่ก็เป็น มงคล จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่ หวั่นไหว จิตไม่เศร้าโศก จิตไม่เศร้าหมองด้วย ละอองกิเลส มีความเกษมปลอดโปร่ง นี่ก็เป็น มงคลอันอุดม


115

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

หากเทวดาและมนุษย์ทงั้ หลายได้ ‘กระทำ�’ มงคลดังนี้แล้ว ย่อมไม่พ่ายแพ้ในข้าศึกทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี่แลมงคลอัน อุดมของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น” สรุปใจความสำ�คัญของสิง่ ทีเ่ ป็น “มงคลแท้” ก็คือ “การปฏิบัติตามมงคลสูตร ๓๘ ประการ” ย่อมทำ�ให้เกิดความสุขความสวัสดีและเป็นมงคล อันชอบธรรมโดยแท้ ถือเป็นหลักใหญ่ใจความ ที่แท้จริงของคำ�ว่าเคล็ดมงคลที่จะนำ�พาชีวิตของ เราให้เกิดความสุขถ้วนหน้า ส่ ว นเรื่ อ งปาฏิ ห าริ ย์ แ ละสิ่ ง มหั ศ จรรย์ ที่ เกิ ด จากสิ่ ง ที่ เ ป็ น วั ต ถุ ข องขลั ง ที่ เ ชื่ อ ว่ า มี พ ลั ง อำ�นาจศักดิส์ ทิ ธิใ์ ดๆ ทีจ่ ะทำ�ให้ผคู้ รอบครองบูชา ได้รับผลดีจากการบูชาให้เกิดสวัสดีมงคล


116

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อันเป็นเรือ่ งราวทีอ่ ยูเ่ หนือวิชาวิทยาศาสตร์ ที่อ้างอิงเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง ๕ หยิบจับ มอง เห็นได้กลิ่น ลิ้มรส หรือสัมผัสได้นั้น ขอให้ พยายามทำ�ความเข้าใจว่าศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ให้ เห็นจริงอย่างวิทยาศาสตร์ถือเป็นศาสตร์แขนง หนึ่งที่มนุษย์เพิ่งค้นพบได้ไม่กี่ร้อยปี ส่วนศาสตร์ทางพลังจิตและสิง่ ทีม่ องไม่เห็น นั้นถูกค้นพบกันมานานแล้ว เราไม่อาจจะกล่าว ได้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง เหมือน กับอารมณ์ภายในจิตใจของเรา พวกความโกรธ ความเกลียด ความโลภ ความหลง ก็เป็นสิ่งที่ มองไม่เห็น ไม่สามารถนำ�เข้าห้องทดลองทาง วิทยาศาสตร์ได้ แต่เราก็รู้กันว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่ และเกิดขึ้นได้จริง


117

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

อย่างไรก็ตามแม้เราจะรับรู้ได้ว่าสิ่งที่มอง ไม่เห็นมีอยูจ่ ริงก็ตาม แต่สงิ่ ทีเ่ ป็นมงคลจะเกิดขึน้ กับตัวของเราได้ ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ความ ช่วยเหลือใดๆ จากทัง้ เทพยดา วัตถุมงคลทัง้ หลาย อาจช่วยได้เพียงส่วนหนึ่ง เราต้องประพฤติตน ให้อยู่ในศีลธรรมละเว้นจากบาปและอบายมุข ทั้งปวง และหาโอกาสสร้างบุญบารมีให้ถูกต้อง อยู่เป็นประจำ� สิ่งมงคลสำ�หรับชีวิตพระอริยสงฆ์อย่าง หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ท่านได้เมตตาตอบไว้ เป็นลำ�ดับเริ่มจากใจก่อนว่า “เรื อ ที่ น ายช่ า งต่ อ ดี แ ล้ ว อย่ า งแข็ ง แรง เมื่อถูกคลื่นทะเลแล้วไม่เสียหายฉันใด จิตของ บุ ค คลใดเมื่ อ ฝึ ก ฝนให้ ดี แ ล้ ว คลื่ น ของกิ เ ลส กระทบเข้าย่อมไม่หวั่นไหวก็ฉันนั้น”


118

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ซึง่ อธิบายได้วา่ เมือ่ บุคคลใดฝึกจิตนีใ้ ห้มนั่ อยู่ในศีล อยู่ในสมาธิ อยู่ในปัญญาเต็มที่แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแปดประการฉันนั้น คือเมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ และมีความ สุขกายสบายใจ ก็ไม่เพลิดเพลินมัวเมาในลาภ เป็นต้น และเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ถูก ทุกข์ครอบงำ�กายและจิตก็ไม่หวั่นไหว คือไม่ เศร้าโศกเสียใจ ทั้งนี้ก็เพราะมีปัญญาแจ้งตามเป็นจริงว่า สิ่ ง เหล่ า นี้ ล้ ว นแต่ เ ป็ น ของไม่ เ ที่ ย งแท้ แ น่ น อน อะไรเลย มีเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกดับไปเป็น ธรรมดาเหมือนกับเรือที่นายช่างต่อดีแล้ว ย่อม ไม่หวั่นไหวต่อคลื่นฉันนั้น


119

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๑. ใจมงคล ทุกอย่างในชีวติ ของคนเรานัน้ “ใจ” นับเป็น สิง่ สำ�คัญทีจ่ ะนำ�พาเราไปสูจ่ ดุ มุง่ หมายปลายทาง ทัง้ ทีด่ แี ละไม่ดไี ด้ ดังนัน้ การเริม่ มงคลใดๆ จึงควร เริ่มที่ “ใจ” ก่อนเป็นอันดับแรก นั่นคือ การทำ� จิตใจดีให้มีขึ้นทุกๆ วัน วิธีง่ายๆ คือ ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาก็ไม่คิด เรื่องร้ายๆ ไปล่วงหน้า เช่น ไม่คิดว่าเราจะถูก นายด่าไปก่อนเพราะเมื่อวานทำ�ผิด การคิดล่วง หน้าเช่นนั้นจะทำ�ให้จิตใจเราขุ่นมัว ไม่แจ่มใส ถึงทำ � ผิดจริงก็ต้องคิดว่าแก้ไขได้ ไม่บ ริ โ ภค ความโกรธเป็นอาหารเช้า คือไม่คิดจับผิดหรือ โมโหโทโสนับแต่ลกุ จากเตียง เช่น เช้ามาก็ไม่โมโห ลูกที่ตื่นสาย ไม่ยัวะภรรยาที่ทำ�ไข่ลวกเป็นไข่ต้ม ไม่ฉุนรถเมล์ที่ไม่จอดรับ ฯลฯ


120

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

แต่ให้เริ่มต้นทุกเช้าด้วยการ “คิดแต่เรื่อง ดีๆ” จะทำ�ให้หน้าตายิม้ แย้มแจ่มใสเป็นพลังบวก ที่จะดึงดูดให้คนอยากเข้าใกล้ กลายเป็นคนมี เสน่ห์ เป็นมงคลข้อแรก ๒. วาจามงคล คือการพูดจาดี ซึง่ คำ�ว่า “ดี” ในทีน่ หี้ มายรวม ถึงเนื้อหา ถ้อยคำ� น้ำ�เสียงที่ใช้เจรจาพาทีกับ ผู้อื่น ทั้งคนใกล้ชิดที่เป็นญาติสนิทมิตรสหาย ผูร้ ว่ มงาน รวมถึงคนไม่รจู้ กั ทีเ่ ราต้องโอภาปราศรัย ด้วย พูดง่ายๆ ว่าให้ใช้ “วาจาภาษาดอกไม้” กับทุกๆ คน ทุกๆ ระดับ และควรเป็นดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอมชวนดมด้วย เช่น ชมเขาว่า “วันนี้ คุณแต่งตัวสวยจังค่ะเหมือนสมัยคุณแม่ฉันยัง สาว” เช่ น นี้ ค งเป็ น ดอกอุ ต พิ ด ที่ ก ลิ่ น เหมื อ น อุจจาระทำ�ให้คนฟังคิดแช่งชักหักกระดูกด่าว่า เราในใจ อย่าพูดเสียเลยดีกว่า


121

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

ดังนัน้ วาจามงคลจึงควรเป็นคำ�พูดทีส่ ภุ าพ ไพเราะ และถ้อยคำ�เป็นประโยชน์ ไม่เพ้อเจ้อ เหลวไหล หรือส่อเสียด แดกดัน คนพูดดี ไปไหน ก็มีแต่คนต้อนรับ เป็นมงคลข้อสองที่เราควร ปฏิบัติ ๓. กายมงคล คือการแต่งกายให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ จะทำ�ให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ถูก ตำ�หนิติเตียนทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นมงคล ข้อที่สาม เพราะการไม่ถูกใครว่าย่อมเป็นสิ่งดีที่ เป็นมงคลแก่เราตลอดวัน และหากจะใส่เสื้อผ้าตามหลักโหราศาสตร์ เพื่อเสริมความมั่นใจหรือสร้างกำ�ลังใจให้ตัวเอง เพิ่มขึ้นก็ย่อมได้ แต่ก็ต้องดูให้เหมาะด้วย


122

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

เช่น ไม่ใส่สมี ว่ งไปในงานแต่งงานทีเ่ จ้าภาพ เขาถือว่าเป็นสีแม่มา่ ย แม้วา่ จะเป็นสีทเี่ ขาบอกว่า เป็นสีแห่งโชคลาภของเราในวันนั้นก็ตาม ๔. ครอบครัวมงคล คื อ การสร้ า งความรั ก ความอบอุ่ น ใน ครอบครัวของเรา เพราะครอบครัวเป็นพืน้ ฐานแรก ที่จะช่วยสร้าง “สมาชิกมงคล” ให้แก่ชุมชนและ ประเทศชาติ นั่นก็คือผู้ที่เป็นพ่อแม่ก็ต้องปฏิบัติ หน้าทีข่ องตัวให้ถกู ต้องเหมาะสม ไม่เป็นตัวอย่างที่ ไม่ดแี ก่ลกู ๆ ไม่เมามัวเรือ่ งเพศ มีผวั น้อยเมียน้อย ให้ลูกทุกข์ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันก็สอนลูกในทางที่ถูกที่ควร ฯลฯ อันจะนำ�มาซึ่งความสุขในบ้าน และเป็น มงคลที่ จ ะเป็ น พลั ง สำ � คั ญในการต่ อ สู้ กั บ ชี วิ ต ภายนอก


123

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๕. บ้านมงคล หมายถึงการจัดบ้านเรือนของเราให้สะอาด สะอ้าน ไม่รกเป็นรังหนู ถ้าหากในรอบปีทผี่ า่ นมา เราอาจวางสิง่ ของ เสือ้ ผ้า ฯลฯ สุมจนเป็นกองขยะ ตามจุดต่างๆ ในห้องนอน ห้องทำ�งาน ห้องครัว หรือห้องรับแขก ก่อนปีใหม่หรือวันใดวันหนึง่ ควร หาทางสะสางและจัดเก็บบ้านให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย เพราะบ้านเรือนที่โล่งสะอาดเรียบร้อยก็ เป็นการจัดฮวงจุ้ยที่ช่วยเสริมให้ผู้อยู่อาศัยเกิด ความปลอดโปร่ง สบายใจ ไม่อึดอัด หงุดหงิด เพราะหาของไม่เจอ หรือเดินไปไหนในบ้านก็เตะ โน่นชนนี่ เหมือนมีอุปสรรคขัดขวางตลอดเวลา บ้านที่สะอาดมีระเบียบเรียบร้อยจึงเป็นมงคล ข้อที่ห้า


124

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๖. เพื่อนมงคล คือการคบหาเพื่อนที่ดีไว้เป็นสหาย เพราะ เพือ่ นทีด่ ยี อ่ มมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของชีวติ ส่วนเพื่อนที่ไม่ดีมีแต่พาเราไปสู่หนทางแห่งความ หายนะ เช่น เพือ่ นปอกลอก คิดเอาแต่ได้ฝา่ ยเดียว คบเราเพราะมีผลประโยชน์มาเกีย่ วข้อง เพือ่ นหัว ประจบ ก็จะเออออไปกับเราทุกอย่างไม่วา่ จะทำ�ดี ทำ�ชั่ว แต่ลับหลังกลับนินทา และที่ร้ายที่สุดคือ เพื่อนชวนฉิบหาย คือ ชวนให้เราดืม่ เหล้าเมายามัว่ กามและเล่นการพนัน เหล่านี้คบแล้วก็พาเราไปสู่ทางเสื่อมเสีย ทั้งสิ้น ส่วนเพื่อนแท้คือมิตรที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข แนะนำ�แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เมื่อเราทุกข์ก็ทุกข์ ด้วยและหาทางช่วยเหลือ เมือ่ สุขก็พลอยยินดี ไม่ ริษยาเรา เป็นต้น การมีมติ รดีจงึ เป็นมงคลอีกข้อ


125

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๗. ที่ทำ�งานมงคล ก็ใช้หลักเช่นเดียวกับบ้านมงคล นั่นคือ ต้องให้สถานที่ทำ�งานของเราสะอาดสะอ้าน เป็น ระเบียบเรียบร้อย ถ้าทำ�ทั้งหมดไม่ได้ อย่างน้อย ทีส่ ดุ โต๊ะทำ�งานของเราก็ให้สะอาด สวยงาม ไม่รก หรือมีของกองสุมจนหาทีว่ า่ งไม่ได้ และแม้แต่เรา เองก็ไม่อยากนั่ง ไม่ว่าโต๊ะทำ�งานหรือที่ทำ�งานของเราก็เป็น ดังกระจกสะท้อนถึงลักษณะของผู้ที่ทำ�งานอยู่ ในสถานทีน่ นั้ ๆ ดังนัน้ ทีท่ �ำ งานหรือโต๊ะทำ�งานจึง เป็นอีกมงคลหนึ่งที่จะก่ให้เกิดความประทับใจ ต่อหน่วยงานหรือตัวเราเองได้


126

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

๘. อาหารมงคล คืออาหารที่กินแล้วมีประโยชน์ต่อตัวเรา และไม่ทำ�ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด แม้จะชื่อดีแต่อาจจะทำ�ให้เราเป็น เบาหวานหรือเป็นโรคอ้วนได้ ดังนั้นเราจึงควรงด หรือกินแต่น้อยพอประมาณ แล้วไปกินผลไม้ชื่อ มงคลอื่นแทน เช่น ส้มเช้ง ทับทิม กล้วยหอม เป็นต้น ๙. กรรมมงคล กรรม ก็คือการกระทำ�ที่กอปรด้วยเจตนา ทีด่ ที เี่ กิดประโยชน์ตอ่ ทัง้ ตนเองและผูอ้ นื่ หมายถึง ให้เราพยายามทำ�สิ่งที่ดีๆ ให้ได้ทุกวัน หรือ วันละเล็กละน้อย ถือว่าเป็นการสะสมบุญกุศล ที่เป็นอีกมงคลซึ่งจะส่งผลให้เรามีความสุขกาย สบายใจ


127

ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า

กล่าวโดยสรุปแล้วมงคลชีวิตที่แท้จริงก็คือ หลักการ “ปฏิบตั ติ น” ตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ทีถ่ กู ขยายความออกมาให้ละเอียดยิง่ ขึน้ เริม่ ตัง้ แต่ การคิดถูก คบถูกคน ให้ทาน รักษาศีลหลีกเลีย่ ง ความชั่ ว ทั้ง หลาย ทำ � ความดีในแง่มุม ต่ า งๆ สงเคราะห์คนที่สมควรจนไปถึงการชำ�ระจิตให้ สะอาด จนถึง “จิตเกษม” หมดกิเลสอย่างสิน้ เชิง ขออำ�นาจแห่งคุณพระรัตนตรัย สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ อานิสงส์ผลบุญของข้าพเจ้าที่ได้บำ�เพ็ญมาตั้งแต่ ในอดีตชาติจนถึงชาติปัจจุบัน โมทนาอุ ทิ ศให้ ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นได้ พ บกั บ ความสุข ความเจริญ ครอบครัวร่มเย็นเป็นสุข ไม่มี โรคภัยมาเบียดเบียน ร่ำ�รวยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง สมดังที่ท่านปรารถนาทุกประการเทอญ ขอบุญรักษาทุกท่าน... ตลอดไปทุกภพชาติ


ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า โดย ธ.ธรรมรักษ์

 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียน ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต หรือสือ่ ชนิดอืน่ ๆ ไม่วา่ ในรูปแบบใด นอกจากจะได้รบั อนุญาตเป็นลาย ลักษณ์อกั ษรเท่านัน้ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ธ.ธรรมรักษ์ ไขปัญหาธรรมและกรรมจากพระอริยเจ้า.--กรุงเทพฯ : เสบียงบุญ, ๒๕๕๘. ๑๒๘ หน้า ๑. พุทธศาสนา--คำ�ถามและคำ�ตอบ. ๒. ธรรมะ. ๓. กรรม. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๗๖ ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๒๙๒-๓๕๓-๑ พิมพ์ที่

บริษัท โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำ�กัด

๕๒๐-๕๓๐ ซอยเพชรเกษม ๔ ถนนเพชรเกษม แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐

จัดทำ�โดย

สำ�นักพิมพ์เสบียงบุญ ในโครงการบุญธ.ธรรมรักษ์ ๑/๑๔๒ หมู่ ๙ ถ.วงแหวนรอบนอก ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐ โทรศัพท์ ๐-๕๓๐๒-๑๓๒๐ โทรสาร ๐-๕๓๐๒-๑๓๒๑

จัดทำ�รูปเล่มโดย

แฮปปี้กราฟิก ท่ า นที่ ต้ อ งการหนั ง สื อ สร้ า งบุ ญ นี้ เ ป็ น จำ � นวนมากเพื่ อใช้ ใ นการสร้ า งบุ ญ ต่ า งๆ ใช้แจกเป็นธรรมทานหรือเป็นหนังสือที่ระลึกในวาระโอกาสสำ�คัญ ติดต่อได้ที่ ๐๙-๕๖๙๐-๐๔๔๔

ราคา ๔๙ บาท


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.