หนังสือวันการพิมพ์ไทย 2564

Page 1

3 มิถุนายน 2564






บรรณาธิการแถลง นับจากการเปลี่ยนผ่านจากไม้และดินเหนียวเข้าสู่ยุคโลหะ ของระบบการพิมพ์เมื่อห้าร้อยกว่าปีท่ีผ่านมา การสื่อสารของสังคม มนุษย์ก็เปลี่ยนโฉมหน้าอันเป็นผลเนื่องมาจากความแพร่หลาย ซึ่ง นับเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการด�ำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ในระดับโลก ครัง้ ส�ำคัญโดยฝีมอื ของ “โยฮันเนิส กูเทินแบร์ค (เยอรมัน: Johannes Gensfleisch zur Laden zum Gutenberg)” ผู้ได้รับการขนามนาม ให้เป็นบิดาแห่งวงการพิมพ์ในฐานะผู้ประดิษฐ์และพัฒนาแท่นพิมพ์ โลหะสู่สังคมโลกในยุคแรก

สกุลทิพย์ สันติชัยอนันต์ บรรณาธิการบริหาร

แม้วา่ เขาจะเป็นบุคคลทีท่ วั่ โลกให้การยอมรับ ถึงความยิ่งใหญ่ในภายหลัง แต่ชีวิตในช่วงระหว่าง นั้ น ของต� ำ นานแห่ง วงการพิมพ์ผู้นี้กลับต้อ งล้มลุก คลุกคลานและประสบกับความล้มเหลวในชีวิตหลาย ต่อหลายครั้ง รวมไปถึงการถูกฉ้อโกง ยักยอกผล งาน แม้กระทั่งถูกฟ้องร้องตกเป็นคดีความ และต้อง ตกอยู่ในฐานะของบุคคลล้มละลายอย่างไม่คาดฝัน แต่บุคคลผู้นี้ยังคงมุมานะที่จะต่อสู้อยู่ในกระแสอัน เชี่ยวกรากอย่างไม่ย่อท้อแม้จะล่วงเข้าสู่วัยชรา และ คงจะด้วยความมุ่งมั่นยืนหยัดนี้เองที่ส่งผลให้ในท้าย ที่สุดเขาจึงได้รับการยอมรับและกลับมายืนอย่างสม ศักดิ์ศรีต่อสังคมอย่างมีเกียรติและผ่านวัยเกษียณไป อย่างภาคภูมิ เรื่องราวของบิดาแห่งวงการพิมพ์ผู้นี้ ไม่เพียงแต่แสดงถึงความพยายามในการปรับเปลี่ยน ตัวเองให้ทันต่อความท้าทายแห่งธรรมชาติและกาล เวลาเท่านั้น แต่ยังเป็นดั่งคติสอนใจว่า ไม่เพียงแต่ ปราดเปรื่องและรู้จักเปลี่ยนแปลง แต่ต้องปรุงตน ให้เป็นคนผู้ยืนหยัดต่อสถานการณ์ที่อุบัติขึ้นต่อไป ให้ได้ ก่อนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อันเป็นเสมือน รางวัลของนักสู้จะปรากฏขึ้นในที่สุด เฉกเช่นเดียวกับ อุบัติการณ์ที่เราประสบร่วมกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งนับ

6

บรรณาธิการแถลง

เป็ น อี ก ครั้ ง ที่ โ ลกต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความท้ า ทายอย่ า ง ยิ่ ง ใหญ่ โ ดยทั่ ว กั น เป็ น สั ญ ญาณส� ำ คั ญ ว่ า เราต้ อ ง รู้จักปรับตัวให้เข้ากับความแสนกลของธรรมชาติ สิ่ง ใดที่ ไ ม่ ค าดคิ ด ว่ า จะต้ อ งลงมื อ ก็ ค วรจะต้ อ งเรี ย น รู ้ เ พื่ อ ให้ ส ามารถ และต้ อ งเผชิ ญ หน้ า ต่ อ ความ ท้ า ทายอั น หลากหลายในโลกยุ ค “New Normal” ครั้งนี้ต่อไปให้ได้ หนั ง สื อ ฉบั บ นี้ ไ ด้ ร วบรวมหลากหลาย สรรพความรู ้ จ ากคณาจารย์ แ ละนั ก เขี ย นผู ้ ม าก ประสบการณ์เช่นเคย เพราะนีเ่ ป็นอีกทางหนึง่ ทีจ่ ะ เป็นหนทางก้าวไปสูก่ ารปรับปรุงและพัฒนาผูอ้ ยูใ่ น แวดวงการพิมพ์อย่างส�ำคัญ และอีกสิ่งหนึ่งที่เรามี ต่อกันอยูเ่ สมออย่างไม่ขาดแคลนคือ “ก�ำลังใจ” ขอ ให้ทุกท่านเปี่ยมด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์และ ยืนหยัดต่อสู้กับทุกสถานการณ์ เฉกเช่นเดียวกับที่ บิดาแห่งวงการพิมพ์ผยู้ งิ่ ใหญ่ได้ปฏิบตั เิ ป็นตัวอย่าง แล้ว เราต้องก้าวต่อไป...เราจะสู้ๆไปด้วยกัน:)

วันการพิมพ์ไทย 2564


แนวคิดออกแบบปกหนังสือวันการพิมพ์ไทย 2564 แนวคิดนี้มาจากสถานการณ์เรื่องราวต่างๆ ในปีที่ผ่านมาแล้วปีนี้ที่เหล่านักธุรกิจผู้มีความรู้และ ประสบการณ์มากมายทางด้านการพิมพ์ไทยที่มารวม ตัวกันเพื่อหาหนทางแสวงหาไอเดียใหม่ๆ ที่ต่างคน ต่างทีจ่ ะมาแชร์แนวทางการเอาตัวรอดและแบ่งปันสิง่ ใหม่ๆ ไม่วา่ จะเป็นทางช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ ต่อเติมไอเดียซึ่งกันและกัน เพื่อให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไป ให้ได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะเห็นได้ว่าในหน้าปกของหนังสือวันการ พิมพ์ไทยประจ�ำปี 2564 นี้จะมีรูปคนที่ส่งหลอดไฟ กันไปเพื่อส่งต่อไปยังบอลลูน หลอดไฟที่ก�ำลังลอย อยู่ หมายถึงการทีเ่ หล่านักธุรกิจทีม่ าแชร์ไอเดียกัน ส่ง ต่อในส่วนทีข่ าดท�ำให้ไอเดียทีท่ กุ คนมีอยูส่ มบูรณ์มาก ยิ่งขึ้น ยกระดับธุรกิจให้ดีไปให้ถึงฝันของทุกๆคน ทาง ด้านตรงกลางและด้านซ้ายของปกจะมีรูปนักธุรกิจที่ ก�ำลังต่อสู​ู่กับไวรัส หลายอย่างท�ำให้นักธุรกิจต้องใช้ การออนไลน์ในยุคนีม้ ากขึน้ ส่งผ่านโทรศัพท์มากยิง่ ขึน้ ส่วนตรงกลางทีเ่ ป็นรูปนักธุรกิจขึน้ ไปยืนอยูบ่ นยอดเขา คือพวกเราจะต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไปให้ได้ สุดท้ายนีอ้ ยากให้ทกุ ท่านได้อา่ นบทความต่างๆ ทีห่ ลายๆท่านได้เขียนมา แชร์ไอเดียแนวคิดใหม่ ที่ไม่ควรพลาดเพื่อน�ำไปต่อยอดธุรกิจของแต่ละท่านให้ดีมากยิ่งขึ้นถึงแนวทางในอนาคตและการเอาตัว รอดในยุคปัจจุบันที่หลายๆท่านได้มาแชร์กันในหนังสือวันการพิมพ์ไทยประจ�ำปี 2564 นี้

รายชื่อผู้จัดทำ�หนังสือวันการพิมพ์ไทย 2564 คณะที่ปรึกษา พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประภาพร มโนมัยวิบูลย์ มานิตย์ กมลสุวรรณ ชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล ดร.วิชัย พยัคฆโส ธาตรี ลิขิตวรศาสตร์ ประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม บรรณาธิการบริหาร สกุลทิพย์ สันติชัยอนันต์

กองบรรณาธิการ ภาวิมาส กมลสุวรรณ ปริชญ์พิชัย เตชะวิเชียร วุฒิไกร สมรรถกิจวนิช สุพจน์ รัตนาพันธุ์ ณัฐนันท์ ปูนบัณฑิตย์กุล อุมา อัจจิมารังษี ธีระ กิตติธีรพรชัย วิสุทธิ์ จงพิพัฒน์ยิ่ง อุรวิศ ตั้งกิจวิวัฒน์ วิรัตน์ อ่องจันทร์

ประสานงานโฆษณา / การจัดทำ� วิรัตน์ อ่องจันทร์ ออกแบบปก-จัดหน้า วัฒนชัย ชูทรัพย์ คฑาทอง ทองฟู พิมพ์-เข้าเล่ม บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย)

หนังสือเล่มนี้ใช้ฟอนต์ 9 LUANG และ TF Srivichai สนใจติดต่อ 0-2944-6975

วันการพิมพ์ไทย 2564

รายชื่อผู้จัดทำ� / แนวคิดออกแบบปก

7


สารบัญ

17 กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64 29 หมอบรัดเลย์ 30 ประวัติวันการพิมพ์ไทย 31 สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 36 เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์ 42 be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMMORROW 47 อนาคตของบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทยหลังจาก COVID 19 49 Internet of Packaging (IoP) : บรรจุภัณฑ์เชื่อมต่อกับผู้คนด้วยดิจิทัล 52 ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19 61 อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19 66 การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่ : New Normal Packaging Design 72 บรรจุภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในระบบสายโซ่อุปทาน 77 การบริหารความเสี่ยงขององค์กรหลังโลกยุค Covid 19 85 มองอนาคตการพิมพ์แบบก้าวกระโดด 89 รายชื่อคณะมนตรีสหพันธ์ฯ(ชุดที่ 1-ชุดปัจจุบัน) 96 ข้อบังคับสหพันธ์ฯ 8

วันการพิมพ์ไทย 2564


สารประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท. ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วันการพิมพ์ไทย

2564

อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ถอื เป็น อุตสาหกรรมที่มีความส�ำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ในฐานะทีเ่ ป็นอุตสาหกรรม สนับสนุน (Supporting Industry) ที่สามารถสร้าง มู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ แ ก่ อุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ และเชื่ อ มโยง อุตสาหกรรมอีกหลากหลายสาขา อาทิ อุตสาหกรรม เกษตร อาหาร ยา เครื่องส�ำอางค์ เป็นต้น สหพันธ์ อุตสาหกรรมการพิมพ์ถือเป็นองค์กรที่รวมสมาคมที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้ง Supply Chain รวม 9 องค์กร เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และผลักดัน นโยบายของอุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างต่อเนื่อง จึง ถือได้ว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์และยกระดับให้กับ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย ให้ก้าวไป สูอ่ ตุ สาหกรรมทีเ่ ข้มแข็ง มีความพร้อมอย่างเต็มเปีย่ ม ในการที่จะก้าวไปสู่ความเป็นผู้น�ำและเป็นศูนย์กลาง อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ นภู มิ ภ าค อาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ อ ย ่ า ง ไร ก็ ต า ม ต ล อ ด ป ี ที่ ผ ่ า น ม า นั้ น อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ไ ทยต้ อ งเผชิ ญ กั บ การ เปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง Digital Disruption ภาวะการ แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ที่แพร่กระจายไปใน หลายประเทศทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่ง ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ หรือเรียกได้ว่าเป็นภาวะ วิฤตของหลายๆ อุตสาหกรรมที่อยู่ในสภาพชะงักงัน เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน Lock Down ประเทศเพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในสุขภาพ ชีวติ สูงสุด ทุกคนต้องรักษาระยะห่างทางสังคม Social Distancing ท�ำให้ประชาชนต้องปรับเปลีย่ นพฤติกรรม การใช้ชวี ติ ของตนเองไปสูฐ่ านวิถชี วี ติ รูปแบบใหม่ หรือ วันการพิมพ์ไทย 2564

New Normal เช่นการท�ำงาน Work From Home การ ประชุมผ่านระบบ Online การสัง่ อาหาร Food Delivery ท�ำให้รูปแบบของสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ต้องมีการ ปรับตัวเพื่อรองรับกับพฤติกรรมการใช้สิ่งพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์ของผู้ใช้ในตลาดสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป ในนามประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการ พิ ม พ์ นายกสมาคมการพิ ม พ์ ไ ทย และประธาน กลุ ่ ม อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ขอขอบคุณมนตรีสหพันธ์ทุกๆ ท่านที่ได้ทุ่มเทท�ำงานด้วยกันตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ขอ ขอบคุณคณาจารย์ทกุ ท่านทีเ่ ขียนบทความทางวิชาการ ในหนังสือวันการพิมพ์ไทยเล่มนี้ ขอบคุณพันธมิตร ทางธุรกิจทุกบริษัทฯ ที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรม การพิมพ์ไทยให้เดินหน้าและเติบโตอย่างยัง่ ยืนมาโดย ตลอด และขอส่งความปรารถนาดีมายังผูป้ ระกอบการ ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ทุกท่าน ให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ Covid ประสบผล ส�ำเร็จในธุรกิจ เติบโต ก้าวหน้าอย่างเข้มแข็งและยัง่ ยืน ตลอดไป

(นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช) ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท. ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ สารประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

9


สารนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และ ผู้จำ�หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย วันการพิมพ์ไทย

2564

อุ ต ส า ห ก ร ร ม สิ่ ง พิ ม พ ์ ทั่ ว โ ล ก มี ก า ร เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน จากปัจจัยหลัก อย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า และการดิสรัปท์ ของเทคโนโลยีสง่ ผลใหผูป้ ระกอบการธุรกิจสิง่ พิมพ์นนั้ ต้องปรับตัว โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการ พิมพ์หนังสือตัวของนักเขียนเองโดยไม่ผา่ นส�ำนักพิมพ์ หรือนักเขียนสร้างผลงานของตัวเองผ่านช่องทางอีบคุ๊ (eBook) มากขึ้น ขณะเดียวกันส�ำนักพิมพ์เล็ก ๆ ที่มี กลุม่ ผูอ้ า่ นชัดเจนในเนือ้ หาเฉพาะทาง (Niche) ก็มกี าร เติบโตมากขึน้ ทีส่ ำ� คัญคือ ความท้าทายใหม่ทคี่ แู่ ข่งขัน ไม่ใช่ธุรกิจเดียวกันอีกต่อไปแล้ว แต่คือกิจกรรมความ บันเทิงอื่น ๆ ที่เข้ามาดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย ที่กินเวลาของนักอ่านไปเป็น จานวนมากต่อวัน จึงจ�ำเป็นมากที่ส�ำนักพิมพ์หรือผู้ ผลิตเนื้อหา (Content) ต้องสร้างเนื้อหาน่าสนใจมาก พอที่จะดึงดูดความสนใจจากนักอ่าน ตลอดจนใช้ เครื่องมือใหม่ๆกระตุ้นการขาย อาทิ ช่องทางโซเชีย ลมีเดียทีเ่ ข้าถึงผูค้ นได้ทนั ที พอดแคสท์ ยูทปู หรือคลับ เฮาส์ เป็นต้น มูลค่าตลาดรวมอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทย ปี 2563 มีมูลค่า ประมาณ 12,000 ล้านบาท คาดว่า ปีนี้เมื่อสถานการณ์โควิด-19เริ่มคลี่คลายจากวัคซีน และ new normal ของการใช้ชีวิตผู้คน ปีนี้จะมีมูลค่า รวมประมาณ 15,000 ล้านบาท โดยกลุ่มประเภท หนังสือทีไ่ ด้รบั ความนิยมจากนักอ่านยังคงเป็นการ์ตนู วรรณกรรม รองลงมาคือหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนา ตนเอง ความรู้ รวมถึงกลุม่ ประวัตศิ าสตร์การเมือง โดย การจัดงานหนังสือถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการ ตลาดของผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือ 10

หลายๆ ประเทศในโลก เพราะท�ำให้เกิดการแลก เปลี่ยนซื้อขาย และการหมุนเวียนของเศรษฐกิจใน ประเทศ โดยข้อมูลส�ำรวจเรือ่ งช่องทางการซือ้ หนังสือ ในปี 2563 จากผู้ที่เข้าร่วมงานหนังสือพบว่ามีการซื้อ จากร้านหนังสือ 81% งานหนังสือ 61% ออนไลน์แบบ สั่งเป็นเล่ม 51% และแบบอีบุ๊ค 20% (1 คนตอบได้ หลายช่องทาง) โดย กลุม่ ทีม่ าร่วมงานส่วนใหญ่ยงั เป็น ขาประจ�ำที่มาทุกครั้งที่จัดงาน และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการซือ้ หนังสือต่อคนอยูใ่ นช่วง 500 - 1,000 บาท มีจ�ำนวนมากที่สุด ในฐานะนายกสมาคมผู ้ จั ด พิ ม พ์ แ ละผู ้ จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ที่มีภาระกิจหลัก ในการสร้ า งวั ฒ นธรรมการอ่ า นให้ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คม ไทย เรายังต้องการสร้างความตระหนักรู้ของสังคมถึง ความส�ำคัญของวงการหนังสือที่มีต่อเด็กและเยาวชน ที่จะเติบโตมาเป็นผู้น�ำที่ดีในอนาคต ดังค�ำกล่าวที่ว่า Leader is a reader เนื่องในโอกาส “วันการพิมพ์ไทย” วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ดิฉันและคณะกรรมการสมาคมผู้จัด พิมพ์ฯทุกท่าน ขอส่งความปรารถนาดีมายังผูป้ ระกอบ การที่อยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ทุกท่าน ให้ประสบ ความส�ำเร็จในธุรกิจและเจริญก้าวหน้าอย่างเข้มแข็ง ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการพิมพ์ต่อไป

สารนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำ�หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

(นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ) นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564


สารนายกสมาคมการค้า นวัตกรรมการพิมพ์ไทย วันการพิมพ์ไทย

2564

ปี 2563 หลายคนน่ า จะเห็ น กั น แล้ ว ว่ า Covid-19 อาจจะเปลีย่ นโลกเราไปตลอดกาลจนท�ำให้ เกิด New Normal ใหม่ๆ ได้ ซึ่งท�ำให้สังคมเราเปลี่ยน ไปเป็นยุค Digital Transformation ในองค์กรได้อย่าง รวดเร็ว ในยุคนีก้ ารปรับตัว ถือว่าเป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญมากๆ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยท�ำให้องค์กรอยู่รอดได้ ดังนั้น ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ อยู่ที่ เราจะมองเห็นมันหรือไม่ แต่ทสี่ ำ� คัญทีจ่ ะท�ำให้องค์กร

เดินต่อไปด้วยดี ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้บริโภคต้องการ อะไร และบวกกับจุดแข็งของตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่ท�ำให้ องค์กรนั้นอยู่อย่างยั่งยืน ในโอกาส “วันการพิมพ์ไทย” ได้เวียนมา บรรจบครบรอบอี ก ครั้ ง ในปี นี้ ดิ ฉั น ในนามนายก สมาคมการค้า นวัตกรรมการพิมพ์ไทย (TINPA) ขอให้ ทุกองค์กร และ ทุกท่าน ได้รับโอกาสดีๆ ในยุควิกฤต การแพร่ระบาดของ Covid-19 นี้ และขอให้ทุกท่านมี สุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรง ในปี 2564 และตลอดไป

(นางประภาพร มโนมัยวิบูลย์) นายกสมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564

สารนายกสมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย

11


สารนายกสมาคม การบรรจุภัณฑ์ไทย วันการพิมพ์ไทย

2564

เหตุการณ์โควิด-19 ได้เข้าสูป่ ที สี่ อง ท�ำความ เดื อ ดร้ อ นไปทั่ ว โลกและยั ง ไม่ มี ที ท ่ า ว่ า จะดี ขึ้ น ผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากการ ปิดตัว และผลิตสินค้าลดน้อยลง ในขณะเดียวกัน ทั่วโลกได้ออกกฎคุมเข้มเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมทั้ง ประเทศไทยที่มีการควบคุมขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ จะต้องหมุนเวียนน�ำมาใช้ใหม่ จะต้องย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการและผู้ใช้บรรจุ ภัณฑ์นอกจากจะได้รับผลกระทบจากเรื่องโควิด-19 ยังต้องปรับเปลีย่ นในเรือ่ งบรรจุภณ ั ฑ์เพือ่ ให้สอดคล้อง กับกฎหมายข้อบังคับที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม อนาคตอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภัณฑ์จงึ เป็นเรือ่ งทีค่ อ่ นข้างยากล�ำบากมาก ผูป้ ระกอบ การทีไ่ ม่มคี วามรูค้ วามเข้าใจในเชิงลึก ต้องปรับตัว ต้อง มีการลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักร รวมทั้งเทคโนโลยี ใหม่ๆ ในขณะที่ไทยเราไม่มีบุคลากรที่ช�ำนาญการใน

เรือ่ งบรรจุภณ ั ฑ์โดยรวมอย่างแท้จริง ก็คงได้แต่หวังให้ ผูป้ ระกอบการทุกคนผ่านวิกฤติโควิด-19 และสามารถ ปรับตัวตามกฎเกณฑ์ใหม่ๆได้ เนื่ อ งในวาระครบรอบวั น การพิ ม พ์ ไ ทย 3 มิถุนายนปีนี้ ผมในนามตัวแทนกรรมการและที่ ปรึกษาของสมาคมฯขอเป็นก�ำลังใจให้กับผู้ประกอบ การทุ ก คน ทุ ก บริ ษั ท ทุ ก องค์ ก ร ในการต่ อ สู ้ กั บ เหตุการณ์โควิด-19 พร้อมทั้งมีแรงและก�ำลังในการ ปรับเปลี่ยนธุรกิจการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ให้เดินหน้า ต่อไป ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและทั่วโลก ขอให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จ เจริญรุ่งเรือง ขอให้ สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรงกันทุกคน

(นายมานิตย์ กมลสุวรรณ) นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

12

สารนายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564


สารนายกสมาคมบรรจุภัณฑ์ กระดาษลูกฟูกไทย วันการพิมพ์ไทย

2564

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กระดาษลูกฟูกไทยในปี 2563 ประสบความท้าทาย และการเปลี่ ย นแปลงในปี 2563 อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทั้งเรื่องของราคากระดาษที่สูงขึ้น เนื่องจากราคาเศษ กระดาษและค่าระวางเรือที่สูงขึ้น และความต้องการ ของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงการ ระบาดไวรัสโควิท-19 และหลังการระบาดท�ำให้ผผู้ ลิต ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทยต้องมี การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ราคาวัตถุดบิ ทีส่ งู ขึน้ ตัง้ แต่ ปลายปี 2563 จนถึงปัจจุบันมีนาคม 2564 ท�ำให้ผู้ ประกอบการมีความจ�ำเป็นต้องบริหารต้นทุนการผลิต ให้สอดคล้องกับราคาขาย

ผลของการเปลี่ยนแปลงมักจะท�ำให้เราก้าว ไปสู่การปรับตัวเสมอ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ท�ำให้เกิดวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองการเปลีย่ นแปลงได้เร็วขึน้ เพือ่ อนาคตต่อไป ในโอกาสวั น การพิ ม พ์ ไ ทย 3 มิ ถุ น ายน 2564 ในนามของสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก ไทย พร้อมคณะกรรมการมีความยินดีอย่างยิ่ง ใน การสนับสนุนสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และขอ อ�ำนวยพรให้ทุกท่านประสบความส�ำเร็จ และความ ก้าวหน้าต่อไปในอนาคตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว

(นายชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล) นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564

สารนายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

13


สารนายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์ เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย วันการพิมพ์ไทย

2564

ในปี 2563 ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ นับเป็น ช่ ว งเวลาที่ เรายั ง คงต้ อ งรั บ มื อ กั บ สถานการณ์ ข อง โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่ได้เผชิญ เป็นเรื่องที่ท้าทายส�ำหรับทุกคน ที่ต้องแก้ไข ปรับ เปลี่ยน พลิกวิกฤตหาโอกาสในการด�ำเนินธุรกิจขอ งบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานกา รณ์ตา่ งๆ เพือ่ วัตถุประสงคใ นการด�ำเนินธุรกิจให้สำ� เร็จ และยั่งยืนต่อไป ส�ำหรับผลการด�ำเนินงานของสมาคมแยกสีฯ ที่ผานมา ผมในฐานะนายกสมาคมได้ตระหนักถึง ปัญหาดังกล่าว ไม่วาจะเป็นการถดถอยในธุรกิจของ สมาชิกหลายๆท่าน การมองหาธุรกิจใหม่ๆ  ทีจ่ ะสร้าง รายได้เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่ถดถอยลง ผมได้ช่วย เหลือและให้ค�ำปรึกษาสมาชิกทั้งหลาย ผ่านช่องทาง ต่างๆ ตามความเหมาะสมอันจะส่งผลให้ผลประกอบ การของกลุ่มบริษัทสมาชิกดีขึ้นและคงอยูสืบไป

ทั้ ง นี้ ภ า ย ใ ต ้ เ ค รื อ ข  า ย ข อ ง ส ห พั น ธ ์ อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ซึ่ ง เป็ น พั น ธมิ ต รที่ แข็ ง แกร่ ง พร้ อ มด้ ว ยนโยบายการผลั ก ดั น ต่ า งๆของภาครั ฐ ทีเ่ ป็นโอกาสในการเพิม่ ผลประกอบการและสร้างความ ยัง่ ยืนในธุรกิจของสมาชิกสมาคมแยกสีฯ ทัง้ นีท้ างกลุม่ สมาชิกสมาคมแยกสีฯ พร้อมให้ความร่วมมือกับกลุ่ม บริษัทสมาชิกสหพันธ์ ร่วมเผชิญสถานการณ์ของโลก ในปัจจุบนั ทีก่ อ่ ให้เ กิดความสูญเสียในด้านต่า งๆ เป็น วงกว้ า ง และพร้ อ มให้ ค วามช่  ว ยเหลื อ ในทุ ก ๆ ดานอย่างสุดความสามารถ เพือ่ ผ่านพ้นสถานการณนี้ ไปด้วยกัน ในโอกาสวันการพิมพไ ทย 3 มิถนุ ายน 2564 นี้ ผมขออวยพรให้สมาชิกทุกท่านในอุตสาหกรรมการ พิมพ์จงผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ และประสบผลส�ำเร็จใน ธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดไป

(นายธาตรี ลิขิตวรศาสตร์) นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่อ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

14

สารนายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564


สารประธานชมรมสร้างสรรค์ นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย วันการพิมพ์ไทย

2564

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย และยังคงด�ำรงอยูใ่ นขณะนี้ ซึง่ คาด การณ์วา่ ไม่ตำ�่ กว่า 2 ปี ทีส่ ถานการณ์จะค่อยๆ ปรับตัว เข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งการด�ำเนินชีวิต การด�ำเนินธุรกิจ ท�ำให้ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ขยายตัวไปสูท่ กุ วงการ อาชีพ และอุตสาหกรรม เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมการพิมพ์นั้น เรา ได้รับผลกระทบมาก่อนหน้านี้ ทั้งเรื่องการเข้ามาของ ระบบดิจิทัล ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้าน การผลิต การบริหารจัดการ รวมไปถึงพฤติกรรมของ ผู้บริโภค ท�ำให้ธุรกิจการพิมพ์ต้องรีบเร่งปรับตัว ซึ่งผู้ ประกอบการธุรกิจการพิมพ์กไ็ ด้ทำ� มาก่อนทีจ่ ะเจอกับ สถานการณ์โควิด-19 ในระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ธุรกิจ การพิมพ์มกี ารปรับตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อการด�ำเนิน งานของชมรม และสมาคมวิชาชีพ ซึง่ ก็ตอ้ งมีการปรับ ตัวตามไปด้วย เพื่อให้สามารถท�ำงานสอดคล้องกับ การเปลีย่ นแปลง สอดคล้องกับธุรกิจของสมาชิก หรือ จะเรียกว่า “เปลี่ยนเพื่อไปต่อ” ก็ได้ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย ซึ่งเริ่ม ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เมื่อมาถึงปัจจุบัน จึงถึง เวลาที่ต้องเปลี่ยนเพื่อไปต่อเช่นกัน ส�ำหรับการตั้งชม รมฯ ในอดีต วัตถุประสงค์หนึง่ นัน่ คือ การเป็นต้นน�ำ้ ให้

วันการพิมพ์ไทย 2564

กับอุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยเฉพาะความรู้ด้านการ เตรียมพิมพ์ แต่เมือ่ มาถึงยุคสมัยนี้ จึงจ�ำเป็นต้องมีการ ปรับแนวคิด และวิธีการด�ำเนินงานใหม่ แต่เราก็ยังมุ่ง หวังทีจ่ ะขอเป็นส่วนหนึง่ ในการน�ำชุดความรูท้ เี่ ป็นต้น น�้ำให้กับอุตสาหกรรมการพิมพ์ ร่วมกับสมาคม หรือ หน่วยงานอื่นๆ อย่างเช่นในอดีต เนื่ อ งในวาระครบรอบวั น การพิ ม พ์ ไ ทย 3 มิ ถุ น ายนปี นี้ ผมในนามตั ว แทนกรรมการ และที่ปรึกษาของชมรมฯ ขอฝากคณะกรรมการชุด ใหม่ไว้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ทุก ท่าน ร่วมสนับสนุนและให้ก�ำลังใจกับทีมงานใหม่ของ ชมรมฯ ภายใต้ชื่อ “ชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการ พิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย” และขอถือโอกาสนี้อวยพร ให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุขความเจริญ ชีวิตอยู่ รอดปลอดภัยจากโรคร้าย สามารถฟันฝ่าอุปสรรค ทั้งปวง น�ำพาธุรกิจการพิมพ์ไปสู่ความส�ำเร็จ อย่าง ยั่งยืนตลอดไป

(นายประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม) ประธานชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย

สารประธานชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย

15


สารนายกสมาคมส่งเสริม วิชาการพิมพ์ วันการพิมพ์ไทย

2564

3 มิถนุ ายน ของทุกปี ชาวการพิมพ์ตอ้ งระลึก ถึงคุณหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวสหรัฐฯที่ได้เข้ามา บุกเบิกอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยให้กับประเทศ โดย น�ำเครื่องพิมพ์และจัดพิมพ์ภาษาไทยแผ่นแรกในวันที่ 3 มิถุนายน 2379 บุคคลส�ำคัญอีกท่านหนึง่ คือ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งโรง พิมพ์ขนึ้ ในพระบรมมหาราชวัง นามว่า “โรงพิมพ์อกั ษร พิมพการ” นับเป็นโรงพิมพ์ทใี่ ห้กำ� เนิดของโรงเรียนการ พิมพ์เป็นแห่งแรก และได้ทรงพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา เมือ่ ปี 2401 เป็นข่าวสารราชการแผ่นแรกมาถึงปัจจุบนั นั บ จากวั น นั้ น มาถึ ง วั น นี้ อุ ต สาหกรรม การพิ ม พ์ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ ย นบทบาทและเทคโนโลยี มาเป็ น ล� ำ ดั บ จนถึ ง วั น นี้ จ ากการพิ ม พ์ หิ น มา เป็ น ฉั บ แกระเลตเตอร์ เ พรส และออฟเซท และถูก disruption มาใช้เทคโนโลยี digital เริ่มจาก computer to film มาเป็น computer to plate และ computer to press จนถึง computer to print (non-im-

pact printing) ซึ่งท�ำให้อุตสาหกรรมการพิมพ์หวั่น ไหวระวังภัยจากเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทส�ำคัญ ในปัจจุบัน    พวกเราชาวการพิมพ์คงต้องตระหนักถึงภัย เทคโนโลยีที่พร้อมจะเปลี่ยนบทบาท ท�ำให้โรงพิมพ์ ต่างปิดตัวเองมากขึ้นหันไปประกอบอาชีพอื่น หรือ เปลีย่ นเป็นไปสูร่ ะบบ digital กันมากขึน้ เพราะท�ำงาน ง่าย ลงทุนไม่มากมายเท่าทุกวันนี้ ชาวการพิมพ์คงต้อง ปรับตัวเอง รองรับกับเทคโนโลยีใหม่ให้ทันกับความ เปลี่ยนแปลง อย่ า งไรก็ ต ามการสื่ อ สารด้ ว ย print media คงไม่สูญหายไปจากโลกนี้ แต่เราต้องค�ำนึงถึง media อื่นที่เข้ามาทดแทน print media ให้มาก หวัง ว่ า คงท� ำ ให้ ก ารตื่ น ตั ว ของชาวการพิ ม พ์ ค งต้ อ งรี บ เร่งปรับตัวโดยเร็ว

(ดร.วิชัย พยัคฆโส) นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

16

นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

วันการพิมพ์ไทย 2564


กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64 วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2563 สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 1/2563-64 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 โดยมี วาระการส่งมอบงานให้กับคณะมนตรีสหพันธ์ฯชุดใหม่ รวมถึงหารือวาระต่างๆ ที่ส�ำคัญ

วันการพิมพ์ไทย 2564

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

17


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563 ประธานและตัวแทนสหพันธ์ฯ ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเทคนิคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (กลุ่มสินค้าและบริการประเภทกระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ) ณ อาคารกรมควบคุมมลพิษ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563 ประธานและตัวแทนสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

18

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

วันการพิมพ์ไทย 2564


วันพุธที่ 16 กันยายน 2563 สหพันธ์ฯ จัดสัมมนา Move On 2020 : Driving the Next Printing Industry ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การบริหารจัดการ ธุรกิจการพิมพ์ยุคใหม่” ณ ห้องสัมมนา อาคารสมาคมการพิมพ์ไทย ถนนพระราม 9

วันพุธที่ 16 กันยายน 2563 สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 2/2563-64 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อ หารือวาระต่างๆ ที่ส�ำคัญ

วันการพิมพ์ไทย 2564

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

19


วันพุธที่ 30 กันยายน 2563 ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 25 ณ ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จัดโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 3/2563-64 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อ หารือวาระต่างๆ ที่ส�ำคัญ

20

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

วันการพิมพ์ไทย 2564


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมเปิดงานสัมมนา PACKAGING NEXT ณ ห้องบุษกร-นิลุบล ชั้น 3 โรงแรมสวิส โฮเต็ล ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ จัดโดยสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีประกาศผลรางวัล งานประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติครั้งที่ 14 ณ เดอะคริสตัล บลอค ชั้น 19 เกษรทาวเวอร์ จัดโดยสมาคมการพิมพ์ไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

21


วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 4/2563-64 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อหารือวาระต่างๆ ที่ส�ำคัญ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2564 ประธานและตัวแทนสหพันธ์ฯ ร่วมประชุมออนไลน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินรางวัลผู้ประ กอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ประเภทธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Prime Minister’ Export Award : PM AWARD) สาขา ธุรกิจสิ่งพิมพและบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 1/2564

22

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

วันการพิมพ์ไทย 2564


วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ประธานและตัวแทนสหพันธ์ฯ ร่วมหารือผ่านระบบออนไลน์กับตัวแทนจากองค์กรรับรอง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เกี่ยวกับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ในรูปแบบใหม่

วันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 ประธานและคณะมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมประชุมหารือกับตัวแทนของส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เพือ่ หาแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้อตุ สาหกรรมการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์เติบโตมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 5/2563-64 ทั้งรูปแบบปกติและผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุม สมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อหารือวาระต่างๆ ที่ส�ำคัญ

วันการพิมพ์ไทย 2564

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

23


วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ประธานและตัวแทนสหพันธ์ฯ ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเทคนิคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (กลุ่มสินค้าและบริการประเภทกระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ) ครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบออนไลน์

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2564 สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 6/2563-64 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อหารือวาระต่างๆ ที่ส�ำคัญ

วันที่ 3 มิถุนายน 2564 งดจัดกิจกรรมวันการพิมพ์ไทย ประจ�ำปี 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

24

กิจกรรมสหพันธ์ฯ รอบปี 2563-64

วันการพิมพ์ไทย 2564






หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley M.D.) ผู้นำ�วิชาการพิมพ์มาเผยแพร่ในประเทศไทย พ.ศ.2378 คณะมิ ช ชั น นารี A.B.C.F.M. (American Board of Commissioners for Foreign Mission) ได้ซื้อตัวพิมพ์ไทยจากประเทศสิงคโปร์น�ำ เข้ามาในเมืองไทย โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley M.D.) และคณะเป็นผู้น�ำเข้ามา โดยน�ำเอา ตัวพิมพ์ไทยและแท่นพิมพ์แบบเก่าที่ท�ำด้วยไม้และ หิน ซึ่งเป็นแท่นพิมพ์ที่ท�ำจากเมืองเบงกอลในอินเดีย เข้ามาแท่นหนึง่ คณะมิชชันนารีใช้เวลานานพอสมควร ในการติ ด ตั้ ง และเตรี ย มการพิ ม พ์ จนกระทั่ ง วั น ที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1836 ตรงกับ พ.ศ.2379   หมอบรั ด เลย์ ได้ บั น ทึ ก ว่ า บาทหลวง ชาร์ ล ส์ โรบิ น สั น (Reverend Charles Robinson) ได้พิมพ์หนังสือไทยในเมืองไทยได้ส�ำเร็จเป็น ครั้งแรก ต่อมาตัวพิมพ์ที่ซื้อมาจากประเทศสิงคโปร์ น� ำ มาใช้ พิ ม พ์ ใ นเมื อ งไทยสึ ก หรอไปตามล� ำ ดั บ คณะมิชชันนารีอเมริกันและหมอบรัดเลย์ จึงได้จัด ด� ำ เนิ น การหล่ อ อั ก ษรไทยขึ้ น ใช้ เ อง และหล่ อ ได้ ส�ำเร็จใน พ.ศ.2384 ส�ำหรับคนไทยที่สนใจและริเริ่ม ด�ำเนินงานทางด้านการพิมพ์ คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมา ได้ครองราชย์เป็นพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์ จักรี ในขณะที่พระองค์ทรง ผนวชอยู่ ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ ที่วัดบวรนิเวศ สามารถพิมพ์ ได้ทั้งหนังสือไทย บาลี และ โรมั น มี โรงหล่ อ ที่ ห ล่ อ ตั ว พิมพ์ไทยเอง นับว่าเป็นโรง พิมพ์โรงแรกของไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564

หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley M.D.)

29


“ประวัติวันการพิมพ์ไทย” “วั น การพิ ม พ์ ไ ทย” ได้ ถู ก บั น ทึ ก ไว้ ใ น ประวัติศาสตร์การพิมพ์ไทย ที่ได้เกิดจากความร่วม มือ ร่วมใจ และมีความเห็นพ้องต้องกันของผูเ้ กีย่ วข้อง ในการประกอบอาชีพการพิมพ์ ซึ่งได้จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2531 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เสริ มสร้ า งความสัมพัน ธ์ระหว่างผู้ป ระกอบการใน อุตสาหกรรมการพิมพ์ และแสดงออกถึงความก้าวหน้า และความส�ำคัญของอุตสาหกรรมการพิมพ์ทมี่ บี ทบาท ในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ “วันการพิมพ์ไทย” ได้ถือก�ำเนิดขึ้นเพราะ มีความเห็นพ้องกันว่าอาชีพการพิมพ์เริ่มเข้าสู่ยุคของ อุตสาหกรรมแล้ว น่าจะมีวันใดวันหนึ่งก�ำหนดให้เป็น วันแสดงออกถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ทั้งด้านวิชาการ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ตลอดตลอด จนร่วมกันพบปะสังสรรค์เพือ่ พัฒนาอาชีพของตนเอง ให้ก้าวหน้าเช่นอาชีพอื่นหรืออุตสาหกรรมอื่นที่เขามี วันรวมใจผู้คนในอาชีพเดียวกัน จึงได้ระดมความคิด กันว่าควรหาวันที่มีความหมายต่อวงการพิมพ์อย่าง แท้ จ ริ ง และจากการได้ ค ้ น พบหลั ก ฐานปรากฏใน หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 12 มีข้อความช่วง หนึ่งว่า “วันที่ 3 มิถุนายน 2379 (ค.ศ.1836) วันนี้ รอบินสันได้สง่ หนังสือแผ่นหนึง่ เป็นอักษรไทยมาให้ หมอบรัดเลย์แยกถ้อยค�ำ นับว่าหนังสือฉบับนี้เป็น หนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ในเมืองไทย” แม้ว่า จะมีส่ิงพิมพ์เกิดขึ้นในเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชมาก่อนแต่เป็นอักษรโรมันอ่าน เป็นส�ำเนียงไทยเท่านั้น รวมถึงการก่อตั้งโรงพิมพ์ มหามงกุฎในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่มีหลักฐานปรากฏ ว่าจัดตั้งเมื่อวันใด เดือนใด ผู้ประกอบการด้านการ พิมพ์ต่างเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้ยึดถือเอาวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี เป็น“วันการพิมพ์ไทย”

30

“ประวัติวันการพิมพ์ไทย”

นั่ น คื อ ความเป็ น มาของ “วั น การพิ ม พ์ ไทย” ที่คนรุ่นหลังพึงได้รับทราบและถูกบันทึกไว้เป็น ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของอุตสาหกรรมการ พิมพ์ไทย ซึ่ง “วันการพิมพ์ไทย” คงมิได้จัดเพื่ออยู่ ในวงจ�ำกัดของผู้ประกอบการเท่านั้น พึงต้องแสดง ศักยภาพและการให้ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและ กิจกรรมแก่สงั คมในภาพรวม เพือ่ ให้สงั คมตระหนักถึง “การพิมพ์” ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องอยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวันของ มนุษย์ทุกคน

“งานวันการพิมพ์ไทย” ก�ำเนิดการจัดงาน “วันการพิมพ์ไทย” ครั้ง แรก ถูกจัดขึ้นวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยมีพิธี คารวะหมอบรัดเลย์ที่สุสานโปแตสแตนท์ ยานนาวา ในช่วงเช้า ภาคบ่ายมีนิทรรศการทางการพิมพ์ “อดีตปัจจุบัน-อนาคต” ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ณ ห้าง สรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ควบคู่ไปกับการเสนอผล งานทางวิชาการและการสัมมนาวิชาการ ณ โรงแรม เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว ตลอดระยะเวลา 2 วัน (3-4 มิถุนายน 2531) ช่วงค�่ำวันที่ 3 มิถุนายน 2531 เป็นงานสังสรรค์และรับประทานอาหารร่วมกันระหว่าง ผูเ้ กีย่ วข้องในอุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นทีป่ ระทับใจยิง่ และ “วันการพิมพ์ไทย” ก็ได้มกี ารจัดต่อเนือ่ งจากนัน้ มาทุกปีและมีการปรับเปลีย่ นบางรายการบ้าง เช่น ใน ภาคบ่าย เปลี่ยนจากการจัดเสนอผลงานทางวิชาการ และสัมมนา เป็นการจัดพิธีท�ำบุญทักษิณานุปทานแด่ รัชกาลที่ 4 ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

วันการพิมพ์ไทย 2564


สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ปี 2563-2564 บทความโดย

พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช

ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท. ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

ผลกระทบและภาพรวมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในปี 2563 ในปี 2563 อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ไทยเผชิญกับการเปลีย่ นแปลงของโลกอย่างมากมายทัง้ ในเรื่อง Digital Disruption ปัญหาการไม่ลงรอยระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ถึงแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่เปลี่ยน ประธานาธิบดีจากนายโดนัล ทรัมป์เป็นนายโจ ไบเดน แต่การเผชิญหน้าทางนโยบายต่างประเทศกับภาวะสงคราม การค้าก็ยังมิได้ลดลงเลย และมีแนวโน้มทวีปัญหามากขึ้น ซึ่งแน่นอนย่อมมีผลกระทบต่อการค้าของประเทศไทย ไม่มากก็น้อย

Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030

อี ก ทั้ ง ภาวะการแพร่ ร ะบาดของเชื้ อ Covid-19 ทีแ่ พร่กระจายไปทัว่ โลก ซึง่ ส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการพิมพ์ และเศรษฐกิจการค้าไปทั่วโลก ภาคธุรกิจการค้าต้องพบกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน Lock Down ของประเทศเพื่อให้ประชาชนมีความ ปลอดภัยในสุขภาพชีวิตสูงสุด ต้องรักษาระยะห่าง ทางสังคม Social Distancing ท�ำให้ประชาชนต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเองไปสู่ฐาน วิถชี วี ติ รูปแบบใหม่ หรือ New Normal เช่นการท�ำงาน จากบ้าน Work From Home การประชุมผ่านระบบ Online สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ซึง่ มีทงั้ ส่งผลในแง่ลบและแง่บวก

วันการพิมพ์ไทย 2564

ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ประกอบการว่าเป็นสิ่งพิมพ์ ประเภทไหน ซึ่งสิ่งพิมพ์บางประเภทกลับได้รับอานิ สงค์มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเช่น ฉลาก บรรจุภัณฑ์อาหาร และกล่องลูกฟูก เพือ่ ตอบสนองความต้องการตลาดใน ประเทศทีม่ ยี อดการบริโภคสินค้าและบริการผ่านระบบ ออนไลน์แบบ Delivery เพิม่ ขึน้ อีกทัง้ ประเทศไทยเป็น แหล่งส่งออกอาหารส�ำเร็จรูปที่ส�ำคัญ จึงมีประเทศ ที่สถานการณ์ Covid-19 ยังระบาดรุนแรง สั่งซื้อ อาหารกระป๋อง อาหารส�ำเร็จรูปเข้ามาเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ตลาดการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย เติบโตขึ้นตามไปด้วย

สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ปี 2563-2564

31


Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030

อย่างไรก็ตามยังมีผู้ประกอบการที่ใช้ภาวะนี้ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการปรับตัวไปสู่ platform การสื่อสารออนไลน์ โดยเราจะเห็นการโพสต์ ขายสินค้าบริการสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ผ่าน Social Media เช่น Facebook Instagram มากขึน้ อีกทัง้ มีการ ปรับรูปแบบ Website เพื่อน�ำเสนอการขายไปยังผู้ซื้อ ในรูปแบบใหม่ผ่านระบบ E-Commerce เพิ่มมากขึ้น การพัฒนารูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อ ตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า เช่น บรรจุ ภัณฑ์ส�ำเร็จรูป Food Delivery Single Use ที่มียอดการเติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ กล่องบรรจุภัณฑ์เวชภัณฑ์ ก็มียอดเติบโตตามการใช้งานเช่นกัน เช่นกล่องใส่ Face Mask กล่องใส่ถุงมือยาง แต่อย่างไรก็ตามภาพรวมของ อุตสาหกรรมทั้งระบบ มีผลประกอบการโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ จากภาวะผลกระทบการ แพร่ระบาดของ Covid 19 ดังภาพประกอบ ทิศทางและแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ในปี 2564 เข้าสูไ่ ตรมาสแรกของปี 2564 ผลกระทบการแพร่ระบาด Covid-19 ก็ยงั คงอยูต่ อ่ เนือ่ ง แม้วา่ จะมีการสัง่ ซือ้ วัคซีนทัง้ แอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวคและเริม่ มีการฉีดให้กบั บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สีย่ ง แต่ ก็ยงั ต้องใช้เวลาในการด�ำเนินการขนส่งและบริหารจัดการฉีดให้กบั ประชาชนอยูพ่ อสมควร ท�ำให้มกี ารแพร่ระบาด เพิ่มมากขึ้นตามคลัสเตอร์แหล่งต่างๆ เช่นคลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร และคลัสเตอร์ทองหล่อ ท�ำให้แนว โน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ในปี 2564 ที่ก�ำลังจะดีขึ้น ต้องสะดุดลงอีกครั้งส่งผลให้การจัดงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมการพิมพ์ต้องยกเลิกงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานประชุม การจัดงานสัมมนา หรือแม้กระทั่งการ จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ก็ต้องเลื่อนออกไปจนกว่าภาวการณ์แพร่ระบาดจะทุเลาลง

Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030 32

สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ปี 2563-2564

วันการพิมพ์ไทย 2564


อีกทัง้ ภาวะการแพร่ระบาดของเชือ้ Covid-19 ทีแ่ พร่กระจายไปทัว่ โลก ซึง่ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม การพิมพ์ และเศรษฐกิจการค้าไปทั่วโลก ภาคธุรกิจการค้าต้องพบกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน Lock Down ของ ประเทศเพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในสุขภาพชีวิตสูงสุด ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม Social Distancing ท�ำให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเองไปสู่ฐานวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ หรือ New Normal เช่นการท�ำงานจากบ้าน Work From Home การประชุมผ่านระบบ Online สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีทั้งส่งผลในแง่ลบและแง่บวกขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ประกอบการว่าเป็นสิ่งพิมพ์ ประเภทไหน ซึ่งสิ่งพิมพ์บางประเภทกลับได้รับอานิสงค์มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเช่น ฉลาก บรรจุภัณฑ์อาหาร และ กล่องลูกฟูก เพือ่ ตอบสนองความต้องการตลาดในประเทศทีม่ ยี อดการบริโภคสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ แบบ Delivery เพิ่มขึ้น อีกทั้งประเทศไทยเป็นแหล่งส่งออกอาหารส�ำเร็จรูปที่ส�ำคัญ จึงมีประเทศที่สถานการณ์ Covid-19 ยังระบาดรุนแรง สั่งซื้ออาหารกระป๋อง อาหารส�ำเร็จรูปเข้ามาเป็นจ�ำนวนมากท�ำให้ตลาดการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยเติบโตขึ้นตามไปด้วย

Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030

โดยแนวโน้มประเภทของสิ่งพิมพ์ที่จะมีการ เติบโตต่อไปในอนาคตจะเป็นสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ประเภทกล่องกระดาษลูกฟูก บรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดย เฉพาะบรรจุภณ ั ฑ์อาหารส�ำเร็จรูป Flexible Packaging ฉลากสินค้า Label ต่างๆ ดังกราฟในตาราง ส�ำหรับรูป

แบบระบบการพิมพ์ในประเทศไทย ระบบ Sheetfed Offset และ Web Offset ยังได้รับความนิยมโดยยัง ครองส่วนแบ่งการใช้งานสูงสุด แต่ในขณะเดียวกัน ระบบการพิมพ์ดจิ ติ อลทัง้ Inkjet และ Electrophograhy Toner ก็มีอัตราการเติบโตอย่างสูงเช่นกัน

Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030

วันการพิมพ์ไทย 2564

สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ปี 2563-2564

33


อ ย ่ า ง ไร ก็ ต า ม ท ่ า ม ก ล า ง วิ ก ฤ ต จ า ก สถานการณ์ต่างๆ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุ ภัณฑ์ของประเทศไทยยังคงด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ผ่านสมาคมต่างๆในอุตสาหกรรม ซึ่งรวมตัวกันอย่าง เข้มแข็งเป็นสหพันธ์อุตสาหกรรรมการพิมพ์ ในการ ก�ำหนดยุทธศาสตร์และช่วยเหลือผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมผ่านภาครัฐและเอกชน ให้อุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ยงั คงด�ำเนินอยูไ่ ด้อย่างมัน่ คง และยัง่ ยืน โดยขอสรุปเป็นปัจจัยต่างๆ พอสังเขปดังนี้ ปัจจัยสนับสนุน • ความแข็ ง แกร่ ง และความร่ ว มมื อ ของ ผู ้ ป ระกอบการด้ า นสิ่ ง พิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ ท� ำ ให้ ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ของภูมิภาค (Regional Printing Hub) ด้วย คุณภาพ และศักยภาพในการผลิต • ประเทศไทยมีนคิ มอุตสาหกรรมการพิมพ์สนิ สาคร ซึ่งถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมด้านการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก • ประเทศไทยมี Supply Chain ของ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ครบวงจรตั้งแต่ ต้นน�้ำถึงปลายน�้ำทั้งระบบ • ผู ้ ป ระกอบการสิ่ ง พิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ มี เทคโนโลยีการผลิตและแรงงานทีม่ ฝี มี อื ท�ำให้ผลงานสิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ของประเทศไทยได้รบั การยอมรับ ในระดับนานาชาติ ดังจะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้รับ รางวัลจาการประกวดผลงานด้านสิ่งพิมพ์ระดับเอเซีย เป็นที่ 1 อย่างต่อเนื่องตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยง • ความเปลี่ยนแปลงในเรื่อง Digital Disruption ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งพิมพ์บางประเภทเช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โดยผู้บริโภคหันไปใช้ Digital Media ทดแทน • สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่ เติบโตตามอัตราการบริโภคของประชาชน หาก GDP ของประเทศไทยติดลบจากภาวการณ์เศรษฐกิจของ ตลาดโลก สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ก็ได้ผลกระทบเชิง ปริมาณที่ลดลงด้วยเช่นกัน

34

• การเพิม่ ขึน้ ของค่าขนส่งระหว่างประเทศ จาก

ปัญหาการขาดแคลนตู้ Container และการเดินเรือ ท�ำให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงขึ้น • ภาวการณ์ขึ้นราคาของกระดาษบรรจุภัณฑ์ เนื่องมาจากปริมาณเยื่อกระดาษที่เกิดจากการ Recycle ลดลง เนื่องมาจากคนอ่านหนังสือพิมพ์และ หนังสือมีจ�ำนวนลดลง Demand และ Supply ของผู้ ผลิตกระดาษขาดความสมดุล ข้อเสนอแนะระยะสั้นส�ำหรับ แผนฟื้นฟูหลัง Covid-19 • ขอให้ภาครัฐจัดกองทุนเยียวยาผู้ประกอบ การ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถด�ำเนินธุรกิจไป ได้ตามความต้องการของ แต่ละกลุ่มธุรกิจจนกว่า เหตุการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ • ขอความช่วยเหลือมาตรการลดผลกระทบ ด้านเงินชดเชยแรงงาน กรณีปิดบางส่วนหรือปิดทั้ง กิจการอันเนื่องมาจากผลกระทบโควิด -19 • ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทาง ด้านสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน�้ำประปา ฯลฯ • ลดอัตราเงินสมทบและชะลอเวลาส่งเงินเข้า กองทุนประกันสังคมทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง • โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต�่ำเพื่อเสริมสภาพ คล่องธุรกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 • ส่งเสริมให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิต ภายในประเทศให้มากขึ้นทั้งจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นเศรษฐกิจด้วย Local Economy และสินค้า Made in Thailand

สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ปี 2563-2564

วันการพิมพ์ไทย 2564


ข้อเสนอแผนฟื้นฟูต่อเนื่อง • ลดอัตราค่าส่งสินค้าหนังสือและสิ่งพิมพ์ ผ่านระบบไปรษณีย์ไทย เป็นอัตราพิเศษ เพื่อลดต้น ทุนค่าโลจิสติกส์และกระตุ้นการซื้อสินค้าผ่านระบบ ออนไลน์มากขึ้น • จัดให้มีโครงการมาตรการช๊อบหนังสือช่วย ชาติ โดยน� ำ ใบเสร็ จ ไปหั ก ลดหย่ อ นภาษี ไ ด้ และ เป็นการกระตุ้นสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และรักการอ่าน • มาตรการช่ ว ยเหลื อ ทางด้ า นภาษี น� ำ เข้ า วัตถุดิบและอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องจักรต่างๆ เพื่อ เปลี่ยนเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น เป็นการลดต้นทุน และเพิ่ม Productivity • ให้สทิ ธิประโยชน์กบั ผูส้ ง่ ออกหรือมีมาตรการ ชดเชยอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันและกระตุ้นการ ส่งออกเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายขึ้น • ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อรองรับสถานการณ์ใน อนาคต • ส่งเสริมการปรับปรุงเครื่องจักร และทักษะ แรงงาน เพื่อรองรับการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เชิงเทคนิค • สนับสนุนรูปแบบการจ�ำหน่ายสิ่งพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์แบบออนไลน์

วันการพิมพ์ไทย 2564

• สนั บ สนุ น ในการจั ด ตั้ ง ศู น ย์ พั ฒ นาการ

ออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ตลอดจน R & D ส�ำหรับใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์และบรรจุ ภัณฑ์ เช่น เพื่อสนับสนุนสินค้า SME และ OTOP ให้ เป็น Product Champion ของประเทศไทย • สนับสนุนงบประมาณให้ภาคเอกชน เพื่อ ใช้ส�ำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศ เช่น การดูงาน และการออกงานแสดงสินค้า ในต่างประเทศฯ • สนับสนุนงบประมาณในการจัดงานประกวด สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพสิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่หนึ่งในภูมิภาคอาเซียน • สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การพิมพ์ 3D Printing Technology Center

สถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ปี 2563-2564

35


เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์ 5G Technology: Re-future the Printing Industry บทความโดย

ดร.สุพจน์ รัตนาพันธุ์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำ�หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ที่ทุกคนทั่วโลก ก�ำลังวิตกกังวลกับ โรคระบาด ในขณะที่เทคโนโลยีสื่อสาร ได้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างต่อ เนื่อง นับวันอินเทอร์เน็ตจะยิ่งมีความเร็ว แรง ราคาไม่สูง จึงถูกน�ำมาใช้ในเป็น พื้นฐานในการท�ำงานและชีวิตประจ�ำวัน รวมถึงภาคอุตสาหกรรม การผลิต และ การบริการ สอดคล้อง กับพฤติกรรมและความ ต้องการของผู้บริโภคสิ่ง พิมพ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามเทคโนโลยี ธุรกิจสิ่ง พิมพ์ ได้เรียนรู้ Technology Disruption มา เป็ น ล� ำ ดั บ หลายๆ บริษัทได้น�ำเทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือในการ ปรั บ ตั ว เปลี่ ย นแปลง ธุ ร กิ จ ของตนเองอย่ า ง ต่อเนื่อง โดยที่การปรับ ตั ว ของธุ ร กิ จ (Digital Transformation) คื อ การน� ำ เอาเทคโนโลยี มาใช้ ไ ด้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ปรับกระบวนการท�ำงาน https://pixabay.com/th

กระบวนการผลิต และการให้บริการ ให้ดีขึ้น ท�ำให้องค์กรให้อยู่รอด มีกำ� ไร ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และ นีน่ บั เป็นอีกความท้าทายจากการถูกท�ำลายจากเทคโนโลยี 5G ซึง่ ผูบ้ ริหารธุรกิจสิง่ พิมพ์ยคุ พลิกอนาคต จะต้องมี ทั้งวิสัยทัศน์ “Ecosystem” และ “Mindset” ที่ถูกต้องต่อเทคโนโลยี มีความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ให้ได้มากที่สุด เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร เรามักจะได้ยินค�ำว่ายุค 4G, 5G บ้าง แล้วในแต่ละยุค มีการ แบ่ง “Generation” กันอย่างไร เริ่มจาก 1G เปิดตัวในปี 1980 เป็นโทรศัพท์มือถือใช้งานด้วยเสียงเท่านั้น ต่อมา 2G โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถส่งข้อความและมัลติมีเดียได้ 3G สามารถท่องอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ และในปี 2008 เข้าสู่ยุค 4G ที่รองรับกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมูลจ�ำนวนมาก โดยความแตกต่างในแต่ละ Generation แสดงดังตาราง 1.1 36

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์

วันการพิมพ์ไทย 2564


ตาราง 1 พัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร Generation 1G Analog ปี 1980 2G Digital ปี 1990 20 kbps ถึง 42.2 Mbps 3G Digital ปี 1998,2001 LTE (100 Mbps)

ลักษณะและเทคโนโลยี ใช้สัญญาณวิทยุส่งคลื่นเสียง (Voice) โทรศัพท์มือถือ โทรออก-รับสายได้

ให้บริการข้อมูล ส่งข้อความ SMS ดาวน์โหลด Ringtone, Wallpaper - เทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) ส่ง MMS, เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic และ True tone โทรศัพท์หน้าจอสี -เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) เร็วกว่า GPRS 3 เท่า เล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ แบบไร้สายด้วยความเร็วสูง เชื่อมต่อเครือข่ายได้ตลอดเวลา (Always On) ใช้งานมัลติมีเดียได้ และส่งภาพและเสียง วิดีโอคอล ดูหนัง ฟังเพลงผ่าน อินเทอร์เน็ต บริการ Applications -เทคโนโลยี UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) เป็นระบบเครือข่ายมาตรฐาน พัฒนาจาก GSM ด้วยเทคโนโลยี W-CDMA และ HSPA+ ที่รับส่งข้อมูลเร็วถึง 42 Mbps เชื่อมต่อเครือข่ายตลอดเวลา (Always On) รับส่งข้อมูลรวดเร็ว โปรแกรมมัลติมีเดีย เช่น 4G Wireless Video Conference ความคมชัดแบบ HD, โหลดหนัง ฟังเพลง อัพโหลด ดาวน์โหลดข้อมูล Digital ไฟล์ใหญ่ได้ ปี 2008 - เทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) ส่งข้อมูลมัลติมีเดีย สตรีมมิ่งความเร็ว 100 4G LTE ( 1 5 0 - 1 , 0 0 0 Mbps ถึง 1 Gbps - WiMax (Worldwide Interoperability for Microwave Access) เทคโนโลยี บรอดแบนด์ Mbps) ไร้สายความเร็วสูง ส่งสัญญาณไกลถึง 40 ไมล์ ด้วยความเร็ว 70 Mbps และมีความเร็ว สูงสุด 100 Mbps 5G ปี 2022 ความเร็วในการดาวน์โหลด 10,000 Mbps เชือ่ มต่อไปยังปลายทางได้เร็วกว่า 0.001 วินาที 10,000 Mbps รับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต 1,000 เท่า และ ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อยลง 90% ที่มา: ส�ำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2564 ; ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, 2564.

มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2566 (Huawei, 2021) บริษัทขนาดใหญ่ 97% ของจีน จะใช้งานเทคโนโลยี AI โดยที่ 55% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม จะถูกขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งผู้ให้บริการเทคโนโลยีระดับโลก จะมี รายได้กว่า 60% จากลูกค้าระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นแนวโน้มโลกอนาคต 5G จึงเป็นการสร้าง Ecosystem ของ แต่ละอุตสาหกรรม ให้เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างครบวงจร โดยในการยกระดับอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบดิจิทัลนี้ จะ ต้องสร้างความเท่าเทียม ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Inclusive) เพื่อช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ด้วย ส�ำหรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย (กสทช., 2564) คาดว่า ปี 2578 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท โดยที่ “ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและการเงิน รวมถึงภาค โทรคมนาคม จะได้รับมูลค่าเพิ่มสูงสุด” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและความยั่งยืนของ ประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2021) ได้จัดท�ำ “แผนแม่บทแห่งชาติ เพื่อผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน: การสร้างศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน (National Policy Driving Digital Technology and Sustainable Development : Building Digital Hub of ASEAN)” เพื่อ วางรากฐานสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน เริ่มจากการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม 5G EIC (Ecosystem Innovation Center) ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมด้านดิจิทัลส�ำหรับแอปพลิเคชัน และบริการด้าน 5G ของภาค อุตสาหกรรม รวมถึงสร้างและเปิดพืน้ ทีใ่ ห้กบั ผูป้ ระกอบการ มีโอกาสด�ำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ซึง่ ปี 2563 ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับสูงสุด เป็นล�ำดับที่ 176 จากทุกประเทศทั่วโลก (Speedtest Global Index, 2563) และเป็น วันการพิมพ์ไทย 2564

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์

37


ประเทศแรกในอาเซียนที่ให้บริการเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุค ดิจิทัล เช่น โครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) โครงการเน็ตประชารัฐ บริการอินเทอร์เน็ตฟรี โครงการศูนย์ Digital Community Center ซึ่งท�ำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลจ�ำนวน 2,277 แห่ง ครอบคลุมทุก 77 จังหวัด

อุตสาหกรรมการพิมพ์จะ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ได้อย่างไร? จุดเด่นของเทคโนโลยี 5G เป็นความรวดเร็ว ในการรับส่ง และการรองรับข้อมูลทีม่ จี ำ� นวนมหาศาล โดยมีองค์ประกอบส�ำคัญ 3 ประการ คือ 1.) ความเร็วของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Enhanced Mobile Broadband, eMBB) จะกระตุ้น ให้ เ กิ ด การเติ บ โตของปริ ม าณทราฟฟิ ก อย่ า งก้ า ว กระโดด และจะช่ ว ยสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ ธุ ร กิ จ ภาคอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง การศึกษา ข้อมูล สารสนเทศและการสื่อสาร การผลิต และบริการด้าน วิชาชีพ เช่น การเผยแพร่ Content ที่มีทั้งภาพ เสียง ความคมชัดระดับ High Definition การเข้าถึง บรอด แบรนด์สาธารณะ ราคาถูก การฝึกอบรม การศึกษา การใช้งาน Virtual Reality, Augmented Reality, Mobile Computing, ท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่ Cloud Computing ระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ และ ระบบอัจฉริยะ เช่น Smart Office, Smart Factory, Smart City เป็นต้น 2.) ความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลทีต่ ำ�่ มาก (Ultra-Reliable and Low Latency Communications, uRLLC) ท�ำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบ Real Time มากขึน้ เหมาะกับงานทีต่ อ้ งใช้ความแม่นย�ำ สูง มีความผิดพลาดน้อยหรือเกือบเป็นศูนย์ เช่น ระบบ ควบคุม รถยนต์ไร้คนขับ ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ ระบบการแพทย์ระยะไกล เป็นต้น

38

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์

https://pixabay.com/th

3.) ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ จ�ำนวนมากพร้อมกัน โดยใช้พลังงานต�่ำ (Massive Machine Type Communications, mMTC) เนื่องจาก 5G สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึงสองแสนถึง หนึ่งล้านเครื่องต่อตารางกิโลเมตร และยังลดปริมาณ การใช้พลังงานในการเชื่อมต่อถึงร้อยละ 90 นอกจาก นี้ การเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายชนิดผ่าน NB-IoT ยัง เปรียบเสมือนโปรแกรมเสริมเพือ่ ช่วยให้ผปู้ ระกอบการ โทรศัพท์เคลื่อนที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง (MNO) มีความปลอดภัยสูง สามารถแข่งขันกับเทคโนโลยี IoT ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถี่ประเภทที่ไม่ต้องขอ อนุญาต (Unlicensed Band) ได้ จะเห็นได้ได้ว่าจากจุดเด่น โดยเฉพาะด้าน ความเร็วของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (mMTC) กับ ความสามารถในการเชื่ อ มต่ อ อุ ป กรณ์ จ� ำ นวนมาก พร้อมกัน (uRLLC) จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน IoT ให้กบั อุตสาหกรรม การพิมพ์ได้อย่างมาก

วันการพิมพ์ไทย 2564


https://pixabay.com/th

วิถีชีวิตใหม่ สังคมดิจิทัลไทย ยุค 5G (New Normal) จากข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2559 (ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) พบว่า มีผใู้ ช้โทรศัพท์มอื ถือสมาร์ทโฟน 31.7 ล้านคน (50.5%) ส่วนใหญ่ทำ� กิจกรรมผ่าน สมาร์ทโฟน ทีเ่ ป็น Social Network (91.5%) ดาวน์โหลด หนัง เพลง (88%) อัพโหลดข้อมูล (55.9%) และติดตามข่าวสาร (46.5%) ด้าน E-commerce ของคนไทย พบว่า 90% เคยใช้ค้นหาสินค้าและบริการทางออนไลน์ เคยซื้อสูงถึง 82% (34.8 ล้านคน) โดยซือ้ ผ่านมือถือ 69% รวมมูลค่าสินค้าทีซ่ อื้ ออนไลน์สงู ถึง 4.31 พันล้านดอลลาร์ จากข้อมูลดังกล่าวข้าง ต้น สรุปได้วา่ ดิจทิ ลั ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ในชีวติ ประจ�ำวันของคนไทย จนก้าวเข้าสูส่ งั คมการใช้ดจิ ทิ ลั อย่างเต็มที่ ดังนั้นเราจึงจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนของคนไทยในยุค 5G มากขึ้น โดยในปี 2565 นี้ วิถีชีวิตใหม่ ๆ กับเทคโนโลยี 5G จะกลาย 5G New Normal กันเลยทีเดียว โดยเทคโนโลยี 5G เริ่มจะเห็นได้จาก สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ดังนี้

• เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR & VR) เราจะได้

สัมผัสกับประสบการณ์ VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ทเี่ สริม ความเสมือนจริงมากขึ้น (Depth of field) • เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) จะมี การเชื่อมต่อมือถือกับ Devices อื่น ๆ จ�ำนวนมาก ได้ อย่างง่าย ๆ บนเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Technology) จนท�ำให้เกิดเป็น Smart Home, Smart office, Smart Factory, Smart City โดยที่จะมีระบบเซ็นเซอร์

ควบคุมระบบปฏิบัติการ ซึ่งอุปกรณ์ IoT จ�ำนวนมาก เหล่านี้ จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เช่น การบังคับรถยนต์ขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ (Remote Control Vehicle) ได้ • Telemedicine เทคโนโลยี 5G กับบุคลากร ผูเ้ ชีย่ วชาญทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดทางไกลด้วย เทคโนโลยี 5G กับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล บริการ ให้ค�ำปรึกษาแพทย์ทางไกล โดย Telemedicine นี้จะ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยกับแพทย์แบบเรียลไทม์

แล้ว 5G ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างไร? การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของผู้ใช้ 5G และจ�ำนวนอุปกรณ์ 5G ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ (Huawei, 2021) ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2563 มีจ�ำนวนอุปกรณ์ 5G ที่ออกสู่ท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้นถึง 8 เท่า ผู้ใช้อุปกรณ์มือถือ 5G มีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นถึง 220 ล้านคน โดยที่เครือข่ายการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ มีจ�ำนวนสูงถึง 1.05 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นถึง 17 เท่า และ 21 เท่าตามล�ำดับ โดยสถิติดังกล่าวจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีก 3 เท่าภายใน ปี 2564 ประกอบกับ 5G “เป็นโลกของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไร้รอยต่อ จึงไม่ใช่แค่การสื่อสารผ่านมือถือ เท่านัน้ แต่จะเป็นการท�ำให้อปุ กรณ์ทกุ ชนิดเชือ่ มอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) และใช้งานร่วมกันได้” ดังนั้นอุตสาหกรรมการพิมพ์ยุค 5G จึงแตกต่างจากยุค 4G อย่างพลิกอนาคตกันเลยทีเดียว

วันการพิมพ์ไทย 2564

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์

39


“ อุตสาหกรรมการพิมพ์ จะใช้เทคโนโลยี ที่มีทั้งความ เร็ว รับส่งข้อมูลเร็วกว่าถึง 24 เท่า แรง ตอบสนองได้รวดเร็วเพียง 1-10 มิลลิวนิ าที เสถียร เครือข่าย สามารถ รองรับการใช้งานได้มาก และเชื่อมต่อ อุปกรณ์ IoT ได้มากกว่า 1 ล้านตัว ภายใน พื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ” https://pixabay.com/th

จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคอุตสาหกรรมการพิมพ์ ยุค 5G จ�ำนวนมากกว่า 31.7 ล้านคน จะใช้สมาร์ท โฟนเปิดเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็ว ต่อ เนื่อง และไม่มีสะดุด นั่นหมายความว่าพฤติกรรมการ ซื้อชายสินค้า บริการของผู้บริโภค ต้องสามารถท�ำได้ แบบทุกที่ ทุกเวลา ตามความต้องการ แบบไร้รอย ต่อ (Universal) ดังนั้น ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทั้งกลุ่มส�ำนัก พิมพ์ โรงพิมพ์ กระดาษ และบรรจุภัณฑ์ จึงต้อง พร้อมก้าวกระโดดเข้าสู่ยุค 5G อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรองรับและตอบสนองตามพฤติกรรมการซื้อ สินค้าและบริการที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้น

เชิง ด้วยการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี “Internet of Things” “คลาวด์” “AI” รวมถึงระบบ “Automation” “ERP-Enterprises Resource Planning” เป็นต้น มา ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยการเชื่อม ต่อทุกบริการงานพิมพ์ได้แบบไร้รอยต่อ ตั้งแต่ช่อง ทางการซื้อที่สะดวก ออนไลน์ ออฟไลน์ หลากหลาย ทัง้ E-Commerce, E-marketplace, Social Commerce และ M-Commerce เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี (UX) และเป็นมิตรกับลูกค้า (UI) รูปแบบและวิธีการ ทั้ง บริการรับออกแบบ งานก่อนพิมพ์(Pre-Press) ระหว่าง พิมพ์(Press) และหลังพิมพ์(Post-Press) การผลิตสิ่ง พิมพ์ที่รวดเร็ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพ ได้ มาตรฐาน โดยเฉพาะรายย่อย สินค้ามีหลากหลาย บริการช�ำระเงินทีง่ า่ ยและปลอดภัย ระบบการส่งมอบ สินค้าและบริการให้กับลูกค้าที่เป็นเลิศ การบริการ หลังการขาย และการน�ำเสนอรูปแบบงานพิมพ์แบบ Customized และ Personalized แบบครบ จบที่เดียว บนสมาร์ทดีไวซ์

ทั้งนี้สิ่งส�ำคัญที่จะพลิกอุตสาหกรรมการพิมพ์ ก็คือ การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจในห่วงโซ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะถูกน�ำมาใช้ในการปฏิวัติกระบวนการท�ำงานของคนใน อุตสาหกรรมการพิมพ์จากในอดีตอย่างสิ้นเชิง โดยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายเสมือนตามรูปแบบการ ใช้งาน เช่น เครือข่ายส�ำหรับบริการสร้างคอนเทนต์ เครือข่ายบริการงานพิมพ์, เครือข่ายบริการออกแบบ, เครือ ข่ายบริการวัสดุการพิมพ์ เครือข่ายกระดาษ เครือข่ายบรรจุภณ ั ฑ์ หุน่ ยนต์อตุ สาหกรรม เป็นต้นซึง่ Solution ต่างๆ เหล่านี้ จะมี Operators บริการให้สอดคล้องตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน ส�ำนักงานอัจฉริยะ (Smart Office) รูป แบบของส�ำนักงานยุค 5G จะต้องมีเครื่องมือดิจิทัล มาใช้ในส�ำนักงาน เช่น ระบบบริหารจัดการโครงการ แอปพลิเคชันดูแลช่วยเหลือการท�ำงานของพนักงาน ปั ญ หาการปฏิ บั ติ ง าน และผลการท� ำ งาน การใช้ Chatbot มาช่วยบริหารจัดการลูกค้า 24 ชั่วโมง การ ใช้และจัดหาทรัพยากรในองค์กร การเปิดปิดเครื่อง https://pixabay.com/th มืออุปกรณ์ในส�ำนักงาน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ของ พนักงานกับส�ำนักงานเป็นเครือข่าย IoT การน�ำเอาหุ่นยนต์มาท�ำงานแทนคนในบางต�ำแหน่งงานที่ขาดแคลน หรือมีความเสี่ยงสูง การใช้โดรน รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous vehicles) ส่งสินค้า เป็นต้น 40

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์

วันการพิมพ์ไทย 2564


โรงพิ ม พ์ อั จ ฉริ ย ะ และ บรรจุ ภั ณ ฑ์ อัจฉริยะ (Smart Printing House & Smart Packaging) ระบบการบริการรับงานพิมพ์จะแตกต่างไป จากเดิม ด้วยการเชื่อมต่อระบบและอุปกรณ์ทุกชนิด ทั้งของพนักงาน และอุปกรณ์ของโรงพิมพ์เข้าเป็น โครงข่ายเดียวกัน ทุกคนสามารถท�ำงานบริการลูกค้า ได้แบบ One Stop Service ผ่านดีไวซ์เครื่องเดียว โดย เฉพาะการบริการดิจิทัลแพคเกจจิ้ง ให้กับลูกค้าราย ย่อย ตามแนวโน้มการเติบโตปี 2565 ของ 3 กลุ่ม ธุรกิจ (Smithers Pira, 2020) คือ กลุ่มอาหารและ เครือ่ งดืม่ เวชภัณฑ์และเครือ่ งส�ำอาง และ อีคอมเมิรซ์ โดยเฉพาะตลาดบรรจุภัณฑ์ดิจิตอล ทั้งด้วยการพิมพ์ อิงค์เจ็ทและโทนเนอร์ ที่ลูกค้าสามารถเลือกใช้วัสดุ ทั้ง กระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษ บรรจุภัณฑ์อ่อน ตัว บรรจุภัณฑ์ชนิด Direct-to-Shape และการพิมพ์ โลหะ โดย IoT จะสามารถเลือกวัสดุทเี่ ชือ่ มต่อกับแหล่ง ผลิตหรือเครือข่ายได้ทันที ท�ำให้การสั่งซื้อสินค้าและ บริการงานพิมพ์ การช�ำระเงิน ภายหลังการช�ำระเงิน ยังสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าทีส่ งั่ ท�ำได้แบบ เรียลไทม์ อีกทั้งยังสามารถรอรับงานที่สั่งท�ำได้ที่บ้าน โดยระบบโรงพิมพ์อจั ฉริยะนี้ จะใช้เทคโนโลยี 5G เชือ่ ม ต่อกับอุปกรณ์ IoT ของโรงพิมพ์ ระบบบริหารจัดการ ทรัพยากร (ERP) ระบบอัตโนมัติ (Automation) โดย อุปกรณ์เซนเซอร์ควบคุมจะตรวจสอบการท�ำงานได้ ทุกขั้นตอนแบบเรียลไทม์ ทั้งการเปิดปิดไฟฟ้า ระบบ ควบคุมการผลิต วัตถุดิบ และสินค้าคงคลัง และการ บริการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า รวมถึงการสแกน QR ตรวจสอบและรับสินค้าได้ทันที ส�ำนักพิมพ์อัจฉริยะ (Smart Publishing) ส�ำนักพิมพ์จะเป็นแหล่งรวบรวมและสร้าง Contents ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการน�ำเทคโนโลยี 5G มาใช้ผ่าน แพลตฟอร์ม ให้กับทั้งนักเขียน นักแปล บรรณาธิการ พิสูจน์อักษร ตลอดจนการท�ำจัดรูปเล่ม การออกแบบ ปก และการตีพิมพ์และขายผ่านช่องทางดิจิทัล โดย เฉพาะกลุ่มนักเขียนหน้าใหม่ที่จะมีโอกาสสร้างสรรค์ และตีพิมพ์ผลงานของตนเองได้ ไม่มีขีดจ�ำกัดเหมือน ในอดีต ไม่ตอ้ งรอให้เขียนจนจบเล่ม จึงเป็นเสมือนการ ทดลองตลาดไปในตัว ผู้เขียน ส�ำนักพิมพ์ได้สื่อสาร มี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน ผ่านคอมมูนิตี้ แบบเรียลไทม์ ซึ่ง รูปแบบ “ส�ำนักพิมพ์อัจฉริยะ” นี้ จะพลิกมิติจากการ ลงทุนผลิตหนังสือกระดาษ มาเป็นการสร้าง Digital Content ได้อย่างหลากหลาย และไม่มีขีดจ�ำกัด ใน วันการพิมพ์ไทย 2564

อนาคตเราจะเห็นการเปิดให้จองหนังสือ การเก็บเงิน ล่วงหน้า และการสั่งพิมพ์จาก Content เป็นกระดาษ ตามจ�ำนวนที่ลูกค้าต้องการ ยุค 5G จึงเป็นการสร้าง นวัตกรรมส�ำนักพิมพ์ ที่มีการบริหารความเสี่ยงใน การด�ำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถน�ำ Content ที่ส�ำนักพิมพ์มีอยู่แล้ว ไปผลิตและจ�ำหน่ายในรูปแบบ (Format) อื่น ๆ ได้ เช่น หนังสือเสียง (Audio), หนังสือ ดิจิทัล, หนังสือกระดาษ การน�ำไปต่อยอดสู่การขาย ลิขสิทธิ์ และการผลิตเนือ้ หาในสือ่ สังคมออนไลน์ ละคร ภาพยนตร์ และสื่อใหม่ต่อไปได้โดยง่าย เทคโนโลยี 5G สามารถจั ด การข้ อ มู ล อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ทั้งระบบ ด้วยความรวดเร็ว เพียงไม่กี่วินาที เทคโนโลยี AI, Cloud Computing, IoT จะน�ำมาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมาก ยุค 5G จึงเป็นยุคของผู้บริโภค ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ใด ที่สามารถน�ำเสนอบริการได้อย่างเป็นเลิศ ก็ จะท�ำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ บริโภคยังสามารถน�ำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ แบบเรียลไทม์ ดังนัน้ ธุรกิจสิง่ พิมพ์ยคุ 5G นอกจาก ต้องแข่งขันทั้งเทคโนโลยีและการบริการกันเอง แล้ว ยังต้องสร้างสรรค์ ผลิต สินค้า บริการ และ ส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงการส่ง เสริมการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ การลด ขยะจากวัตถุดบิ และผลผลิตส่วนเกินทีเ่ กิดจากภาค อุตสาหกรรมการพิมพ์ รวมถึงจะต้องน�ำทัง้ Blockchain, IoT และ AI มาใช้วางกรอบ กติกาให้กบั ห่วง โซ่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ จนเกิดเป็น Ecosystem ต่อไปให้ได้. References: ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2564). เทคโนโลยี 5G กับผลประโยชน์ดา้ นเศรษฐกิจ ของประเทศไทย สืบค้นจาก http://www.nbtc.go.th/getattachment/Services/quarter Sarraf S. (2019). 5G Emerging Technology and Affected Industries. American Scientific Research Journal for Engineering, Technology, and Sciences. 55(1),75-82.

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์

41


be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMORROW บทความโดย

หฤษฎ์ หิรัญญาภินันท์

สมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย Thai Innovative Printing Trade Association (TINPA)

“ นวัตกรรมในปัจจุบัน จะกลายเป็น เทคโนโลยีพื้นฐานในอนาคต ” อุตสาหกรรมการพิมพ์เมื่อ 40 ปี ที่แล้ว หาก มีลูกค้าต้องการให้พิมพ์งานที่มีบาร์โค้ดแตกต่างกัน ในทุกแผ่นที่พิมพ์ หรือลูกค้าต้องการพิมพ์เสื้อยืดสี่สี 1 ตัว โดยต้องส่งของภายในพรุ่งนี้ หรือลูกค้าขอให้ พิมพ์กล่องตัวอย่างให้ดูก่อนท�ำแม่พิมพ์ สิ่งเหล่านี้ คงเป็นอะไรที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยส�ำหรับโรงพิมพ์ใน เวลานั้น ในขณะที่ปัจจุบัน เราคงรู้สึกว่าสิ่งที่กล่าวมา ข้างต้นทั้งหมดนั้น เป็นเทคโนโลยีทั่วไป ไม่มีอะไรน่า ตื่นเต้น ใคร ๆ ก็ท�ำได้ แต่หากลองมองย้อนกลับไป เมื่อ 40 ปีที่แล้ว สิ่งเหล่านี้ คือ “นวัตกรรม” แต่ใน ปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ กลายเป็น “เทคโนโลยีพื้นฐาน”

ไปเสียแล้ว คนทีม่ องเห็นความเป็นไปได้ของนวัตกรรม ในวันนั้น ก็กลายมาเป็นเจ้าตลาดของเทคโนโลยีพื้น ฐานในวันนี้ เราจึงควรเริม่ เรียนรูแ้ ละสร้างนวัตกรรมใน วันนี้ เพือ่ หาพืน้ ทีใ่ ห้ตวั เรายืนได้อย่างมัน่ คงในอนาคต “นวัตกรรม” เป็นสิ่งที่ทุกคนพยายามท�ำให้ เกิดขึ้นในทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่ในวงการพิมพ์ ดัง นัน้ สมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย (TINPA) จึง ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยสร้างนวัตกรรมให้ออกมา เป็นรูปธรรม และสามารถขยายเป็นระดับอุตสาหกรรม ให้ได้มากที่สุด

“นวัตกรรมการพิมพ์” สามารถสร้างขึ้นมาได้ในหลายรูปแบบ และหลายมุมมอง โดยไม่มีขอบเขตมา ก�ำหนด แต่ทาง TINPA ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมการพิมพ์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเห็นภาพของ นวัตกรรมการพิมพ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้ การพิมพ์ผสม (Hybrid Printing) การพิมพ์ เพื่อคุณสมบัติในการใช้งาน (Functional Printing) และการพิมพ์พิเศษ (Special Printing)

42

be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMORROW

วันการพิมพ์ไทย 2564


Source: www.absolut.com

การพิมพ์ผสม (Hybrid Printing) เป็น นวัตกรรมขัน้ พืน้ ฐานทีส่ ดุ ส�ำหรับการพิมพ์ ซึง่ การพิมพ์ ผสม หมายถึง การพิมพ์ทใี่ ช้ระบบพิมพ์รว่ มกันมากกว่า 1 ระบบ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้งานพิมพ์ หรือเกิดรูปแบบ ของผลิตภัณฑ์ทตี่ า่ งไปจากเดิม การพิมพ์ผสมสามารถ ท�ำให้เกิดคุณค่าใหม่ขึ้นได้สองรูปแบบ คือ คุณค่าด้าน ความสวยงาม (Appearance Value) และคุณค่าด้าน การใช้งาน (Functional Value) ส�ำหรับคุณค่าด้านการ ใช้งาน จะเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อถัดไป นั่นคือ การ พิมพ์เพื่อคุณสมบัติการใช้งาน (Functional Printing) ซึ่งนวัตกรรมการพิมพ์เพื่อคุณสมบัติการใช้งานก็ต้อง ใช้การพิมพ์ผสมเช่นเดียวกัน แต่ในหัวข้อนี้ เราจะพูด ถึงเฉพาะการพิมพ์ผสมที่ท�ำให้เกิดคุณค่าด้านความ สวยงาม หนึ่ ง ในตั ว อย่ า งของการพิ ม พ์ ผ สมที่ เ พิ่ ม คุ ณ ค่ า ด้ า นความสวยงามที่ ส ามารถเรี ย กว่ า เป็ น นวัตกรรมได้อย่างชัดเจน คือ แคมเปญระดับโลกของ แบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่รู้จักกันดี นั่นคือ ABSOLUT VODKA

ABSOLUT VODKA ได้ จั ด ท� ำ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ พิเศษขึ้น ชื่อว่า ABSOLUT VODKA – Unique Edition แนวคิดของผลิตภัณฑ์ชดุ นีค้ อื ขวดวอดก้าทีไ่ ม่เหมือน กันเลย 4 ล้านขวด ซึง่ สิง่ ทีท่ ำ� ให้ทางแบรนด์ทำ� ขวดวอ ดก้าชุดพิเศษนี้มาได้ คือการน�ำการพิมพ์ผสมมาใช้ใน ผลิตภัณฑ์ชุดนี้ ขั้นตอนการตกแต่งขวดชุดนี้ เริ่มจาก การน�ำขวดไปเคลือบด้วยสีสเปรย์ ซึ่งมีมากถึง 19 สี ซึ่งการหมุนของแต่ละขวดจะเป็นการหมุนที่มีรูปแบบ ต่างกัน ท�ำให้ได้สพี นื้ ผิวของขวดทีแ่ ตกต่างกัน จากนัน้ ขวดจะถูกล�ำเลียงไปยังส่วนของการสะบัดหมึกพิมพ์ใส่ ขวด ซึ่งมีจ�ำนวนสี 5 สี จากนั้นขวดจะถูกล�ำเลียงไป ยังส่วนพิมพ์สกรีน ที่ใช้จ�ำนวนสี 16 สี กับบล็อคพิมพ์ สกรีนที่แตกต่างกันถึง 51 แบบ ในส่วนของฉลาก ใช้ ฉลากสติกเกอร์ทพี่ มิ พ์ดว้ ยระบบเฟล็กโซ ร่วมกับระบบ พิมพ์เทอร์มอลทรานสเฟอร์ ทีจ่ ะรันเลขของขวดนัน้ ๆ ทีเ่ ลขจะไม่ซำ�้ กับขวดอืน่ เลย จึงได้มาเป็นขวดวอดก้าที่ มีเอกลักษณ์ แต่ละขวดมีขวดเดียวในโลก แม้ ว ่ า แคมเปญนี้ จะมี ม าตั้ ง แต่ ป ี 2012 ซึ่งผ่านมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ผลิตภัณฑ์ชุดนี้ ก็ยัง เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมการพิมพ์ผสมได้อย่างดี มาจนถึงปัจจุบัน

วันการพิมพ์ไทย 2564

be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMORROW

43


Source: www.labelsandlabeling.com

การพิ ม พ์ เ พื่ อ คุ ณ สมบั ติ ใ นการใช้ ง าน (Functional Printing) คือการพิมพ์ที่สร้างคุณสมบัติ พิเศษเพื่อการใช้งานให้งานพิมพ์ มิใช่เพียงการพิมพ์ เพือ่ ความสวยงานหรือเพือ่ ให้ขอ้ มูลแก่ผใู้ ช้ ตัวอย่างที่ ชัดเจนของนวัตกรรมการพิมพ์เพือ่ คุณสมบัตใิ นการใช้ งาน อยูใ่ นอุตสาหกรรมการพิมพ์ฉลากและบรรจุภณ ั ฑ์ ซึง่ เป็นตลาดทีโ่ ตขึน้ อย่างต่อเนือ่ งในอุตสาหกรรมการ พิมพ์ 1.ฉลากบ่งชี้เวลาและอุณหภูมิ (Time-Temperature Indicator Labels) หรือ ตัวย่อคือ TTI ซึ่งเป็น ฉลากทีท่ ำ� ให้ผบู้ ริโภค สามารถรูถ้ งึ อายุและสภาพของ สินค้า ได้จากสีที่เปลี่ยนไปของตัวฉลาก องค์ประกอบของฉลาก TTI มีหลายรูปแบบ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตฉลาก TTI แต่ละราย คิดค้นและวิจยั ฉลากประเภทนีภ้ ายใน และจดสิทธิบตั ร เป็นของบริษัทตัวเอง องค์ประกอบของฉลากตัวนี้จึง แตกต่างกันไปทุกบริษัท แต่องค์ประกอบหลักที่มักจะ ร่วมกัน คือ 1.) วัสดุชั้นล่าง (substrate) ซึ่งอาจเป็นก ระดาษ หรือวัสดุประเภทโพลิเมอร์ 2.) หมึ ก ไวต่ อ อุ ณ หภู มิ (temperature sensitive ink) ซึ่ ง เป็ น หมึ ก พิ เ ศษที่ ไวต่ อ อุ ณ หภู มิ และสีสามารถเปลี่ยนไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมแิ ละเวลา ซึง่ หมึกจะเริม่ นับเวลาตัง้ แต่การโดน กระตุ้น (activate) 3.) แผ่นกรองแสงยูวี (UV Filter) เป็นเป็น ฟิล์มที่ใช้กันไม่ให้หมึกไวต่ออุณหภูมิโดนแสงกระตุ้น ใหม่ หลังจากได้รับการกระตุ้นมาจากโรงงานแล้ว

ฉลาก TTI แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ประเภทเริม่ นับเวลาหลังแปะ และ ประเภทเริม่ นับเวลา หลังสินค้าถูกเปิด ส�ำหรับประเภทเริม่ นับเวลาหลังแปะ มักใช้กับสินค้าประเภทอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ และ เนื้อสัตว์ เมื่อฉลากถูกดึกออกจากไลน์เนอร์ (กระดาษ รองหลังสติกเกอร์) ตัวฉลากด้านหลังจะเริ่มสัมผัสกับ แสงหรืออากาศ เป็นการเริ่มนับเวลาของตัวฉลาก ซึ่งสีของฉลากจะเปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป และถ้า อุณหภูมทิ เี่ ก็บสินค้าตัวนี้ ต่างจากอุณภูมทิ ถี่ กู ตัง้ เอาไว้ สีของฉลากก็จะเปลี่ยนไปเร็วขึ้น และส�ำหรับประเภท เริ่มนับเวลาหลังสินค้าถูกเปิด มันใช้กับสินค้าประเภท อาหารแปรรูป ทีม่ ฝี าเปิดปิด ฉลากมักจะมีลกั ษณะยาว แปะตั้งแต่ด้านบนฝาพาดลงไปถึงตัวภาชนะ เมื่อผู้ใช้ เปิดฝาสินค้าออก ฉลากจะฉีกขาด ซึ่งท�ำให้ฉลากเริ่ม สัมผัสกับอากาศหรือแสง ซึ่งเป็นการเริ่มนับเวลาของ ตัวฉลาก สีของฉลากจะเปลี่ยนไป หรือไล่ไปตามแถบ เวลาของฉลาก เพือ่ ให้ผบู้ ริโภครูว้ า่ สินค้าทีเ่ ปิดฝาแล้ว ชิ้นนี้ เหลือเวลาอีกเท่าไหร่ถึงจะถึงวันหมดอายุ ด้วยคุณสมบัตติ า่ ง ๆ นี้ ปัจจุบนั ฉลาก TTI จึง ถูกน�ำไปใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศโดยเฉพาะ ในประเทศแถบยุโรป แต่ยังไม่แพร่หลายในไทย ซึ่ง อาจเป็นโอกาสส�ำหรับผู้ผลิต ที่คิดจะเริ่มเปิดตลาดนี้ ในประเทศไทย

be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMORROW

วันการพิมพ์ไทย 2564

44


Source: www.easitag.com.au

2. ฉลากสือ่ สารสนามใกล้ (Near Field Communication Label) หรือ ฉลาก NFC เป็นฉลากที่เก็บ ข้อมูลดิจิตอลภายในฉลาก โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สื่อสารกับอุปกรณ์ที่ใช้ถอดรหัส ซึ่งคล้ายกับฉลาก RFID ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ฉลาก RFID ต้องใช้เครื่องอ่าน RFID ในการรับค่าจากฉลาก ซึ่งเหมาะกับการใช้งานเฉพาะจุด ที่ผู้ใช้ต้องมีเครื่อง อ่าน RFID โดยเฉพาะ เช่น การเช็คสต็อกของในร้าน ค้า การผ่านเข้าออกหมู่บ้าน หรือการจ่ายค่าทางด่วน เป็นต้น ในทางกลับกัน ฉลาก NFC สามารถอ่านค่า ได้จากโทรศัพท์มือถือ ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนเกือบ ทุกรุ่นรองรับเทคโนโลยี NFC แล้ว ดังนั้น ผู้บริโภค ทั่วไป ก็สามารถใช้โทรศัพท์มือถือของตัวเองอ่านค่า จากฉลาก NFC ได้ ฉลาก NFC จึงถูกน�ำมาใช้แปะลง

บนผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการตลาด เช่น การ ใส่ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ๆ ที่ไม่ซ�้ำกับชิ้นอื่น ซึ่งสามารถเชื่อมเข้าสู่ platform อื่น ๆ ให้มีทั้งภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็น เครื่องมือในการชิงโชคหลังการซื้อผลิตภัณฑ์ หรือใช้ เป็นเครื่องมือตรวจสอบว่าสินค้าชิ้นนี้ เป็นของแท้ ได้อีกด้วย นอกจากนั้นทางเจ้าของสินค้ายังสามารถ เก็บข้อมูลของผู้ซื้อที่ซื้อสินค้านี้ไป ผ่านการเชื่อมต่อ กับ NFC ได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบัน ฉลาก NFC ถูก น�ำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ในสินค้า หลายประเภท ฉลาก NFC จึงเป็นหนึ่งในนวัตกรรม ด้ า นฉลากที่ น ่ า จั บ ตามองที่ สุ ด และก� ำ ลั ง เข้ า มาสู ่ ประเทศไทยเต็มรูปแบบในปีนี้แล้ว

วันการพิมพ์ไทย 2564

be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMORROW

45


Source: www.xaar.com

การพิมพ์พิเศษ (Special Printing) เป็น ประเภทของนวัตกรรมที่เปิดไว้แบบกว้าง ซึ่งอาจเป็น เทคโนโลยีใหม่ หรือวิธีการพิมพ์แบบใหมทีย่ ังไม่เคยมี มาก่อน ตัวอย่างของนวัตกรรมการพิมพ์พิเศษที่ก�ำลัง เป็นที่จับตามองในปัจจุบัน คือ การพิมพ์โดยตรงบน วัตถุ (Direct-to-shape Printing) การพิมพ์โดยตรงบนวัตถุ หรือตัวย่อคือ DTS เป็นระบบพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัตถุที่ไม่ใช่วัตถุ แบบระนาบเดียวได้โดยตรง ส�ำหรับเทคโนโลยีปจั จุบนั เราอาจเคยเห็นการใช่ระบบพิมพ์อิงค์เจ็ทที่พิมพ์ลง

บนวัตถุระนาบเดียว เช่น เคสโทรศัพท์มือถือ หรือ วัตถุผิวโค้งขนาดเล็ก เช่น ปากกา เป็นต้น แต่การพิมพ์ DTS นี้สามารถท�ำได้มากกว่านั้น ปัจจุบันระบบพิมพ์ DTS ยังคงใช้หัวพิมพ์อิงค์เจ็ทในการพิมพ์ แต่หัวพิมพ์ใน DTS สามารถเคลื่อนที่ได้ 3 มิติ คือเคลื่อนที่ไปได้ทั้งแนวกว้าง ยาว และลึก ในบางเครื่อง อาจมีหัวพิมพ์ที่ใช้ร่วมกัน มากกว่า 1 หัว เพื่อให้พิมพ์ได้รอบทิศทางมากขึ้น อีกทั้งตัวจับวัตถุ ก็สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เรา สามารถใช้ระบบพิมพ์นี้ พิมพ์วตั ถุเช่น ขวดน�ำ ้ หรือแจกัน ได้โดยรอบ ซึง่ ความโค้งเว้าของวัตถุนนั้ ไม่ได้เป็นปัญหา ส�ำหรับการพิมพ์ระบบนี้ เนื่องจากสามารถออกแบบได้เฉพาะงานนั้น ๆ เลย ปัจจุบันระบบ DTS มีการน�ำออกมาขายสู่ตลาดบ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย ด้วยปัจจัยของรูปแบบของ งานที่สามารถพิมพ์ได้ และปัจจัยด้านราคา ซึ่งผู้ผลิตระบบพิมพ์ DTS ก�ำลังพัฒนาเครื่องพิมพ์ของตนให้ออกสู่ ตลาดได้ในรูปแบบและราคาทีเ่ หมาะสม ซึง่ มีผผู้ ลิตรายใหญ่ทกี่ ำ� ลังพัฒนาระบบพิมพ์นอี้ ยูไ่ ม่ตำ�่ กว่า 10 ราย และ คาดว่าน่าจะสามารถขายอย่างแพร่หลายสู่ตลาดทั่วไปได้ภายในปี 2030 นวัตกรรมทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึง่ ของนวัตกรรมมากมายทีม่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั นวัตกรรมบาง อย่างอาจไม่ได้รับการพัฒนาต่อ จนหายไปในที่สุด แต่บางนวัตกรรมอาจถูกพัฒนาต่อจนใช้กันอย่างแพร่หลาย ถ้าใครเรียนรูแ้ ละพัฒนานวัตกรรมนัน้ ก่อน ก็จะก้าวไปข้างหน้าเร็วกว่าคนอืน่ และอาจจะเป็นเจ้าตลาดในอนาคต ขณะทีผ่ เู้ ล่นรายอืน่ ก�ำลังแข่งขันด้านราคาในตลาดทะเลสีแดง (Red Ocean) แต่เราได้กา้ วข้ามตลาดนัน้ ไปยังตลาด ทะเลสีน�้ำเงิน (Blue Ocean) ที่เราไม่ต้องไปแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นแล้ว ดังนั้น เราควรเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ก่อนที่จะตามหลังคนอื่น จนเทคโนโลยีนั้นเป็นเทคนิคทั่วไปที่ ใครๆ ก็สามารถท�ำได้ เพราะ

“ นวัตกรรมในปัจจุบนั จะกลายเป็นเทคโนโลยีพนื้ ฐานใน อนาคต คนทั่วไปจะรอให้ “นวัตกรรม” กลายเป็น “เทคโนโลยี พืน้ ฐาน” ก่อน ถึงจะเริม่ เรียนรูแ้ ละน�ำมาใช้ในองค์กรของตัวเอง ซึ่งคุณเป็นผู้เลือกเอง ว่าจะท�ำวันนี้ หรือรอพรุ่งนี้ ”

46

be INNOVATIVE TODAY or be BASIC TOMORROW

วันการพิมพ์ไทย 2564


อนาคตของบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทยหลังจาก COVID 19 (The Future of Thai Corrugated Packaging in Post Covid World) บทความโดย

สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย ในปี 2562 อุตสาหกรรมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ลูกฟูกไทย มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท นับ ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนส�ำคัญในการสนับสนุน การอุ ต สาหกรรมการผลิ ต ภาคต่ า งเช่ น การผลิ ต เพื่อการส่งออกสินค้า, การขนส่ง , การผลิตสินค้า อุปโภคและบริโภค คาดว่าอนาคตของบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูก ไทยหลังจาก COVID 19 (The Future of Thai Corrugated Packaging in Post Covid World) ผู้เขียนมี ความเห็นในมุมของผูป้ ระกอบการบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ลูกฟูกดังนี้ • ยังมีความต้องการบรรจุภณั ฑ์กระดาษลูกฟูก อย่างต่อเนื่องจากภาคธุรกิจ E-COMMERCE ที่ยัง คงมีอัตราการเติบโตต่อปีสูงอย่างต่อเนื่องในอีก 5 ปี ข้างหน้า • จากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยี 5G ท�ำให้ ผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก ปรับปรุง ระบบการผลิตเป็น อัตโนมัติ มากขึน้ ภายในขบวนการ ผลิตของตัวเอง เพือ่ ให้การผลิตสามารถหยืดหยุน่ ตาม ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องของ รูปแบบการพิมพ์ , จ�ำนวนสินค้า , การจัดส่ง , การบริหารคุณภาพ • เครื่องพิมพ์ดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทใน การพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกมากขึ้นเพื่อตอบสนอง ปริมาณงานที่แตกต่างๆกัน

• คาดว่าผู้ประกอบการจะให้ความส�ำคัญใน

การปรับปรุงซอฟแวร์ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างการผลิต , BACK OFFICE และ ลูกค้า ในปี 2564 เพิ่มมากขึ้น เพือ่ การการจัดการต้นทุนการผลิตทีม่ ฐี านข้อมูละเอียด ขึ้น และ มีต้นทุนที่มีประสิทธภาพมากขึ้น จากข้ อ มู ล ของของ สมาคมผู ้ ผ ลิ ต กล่ อ ง กระดาษลูกฟูกนานาชาติ (ICCA – International Corrugated Case Assocition , FastmarketsRISI และ สมาคมผู ้ ผ ลิ ต กล่ องกระดาษลู ก ฟู ก ประเทศ อาร์เจนตินา (CAFCCO- CÁMARA ARGENTINA DE FABRICANTES DE CARTÓN CORRUGADO) พบว่า ในปี 2020 ประเทศจีนและเอเชียมีสดั ส่วนตลาดบรรจุ ภัณฑ์กระดาษลูกฟูกมากที่สุดในโลกถึง 48% , รอง ลงมาได้แก่ ยุโรป 21% , อเมริกาเหนือ 18% และ อเมริกาใต้ 6% ตามล�ำดับ

Reference: https://www.facebook.com/groups/globalcorr/permalink/538650763782937/

สถานการณ์ COVID-19 ทีเ่ กิดขึน้ ท�ำให้ ราคากระดาษทีใ่ ช้ผลิตบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกในต่างประเทศ และประเทศไทย พบว่ามีราคาเพิม่ สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ งตลอดเวลาในปลายปี 2563-2564 โดยผุผ้ ลิตกล่องกระดาษ ลูกฟูกต่างประเทศ และ ภายในประเทศ ต่างต้องรับภาระค่าวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ผลกระทบดัง กล่าว มีสาเหตุเกิดจาก

วันการพิมพ์ไทย 2564

อนาคตของบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทยหลังจาก COVID 19

47


ที่น�ำเข้าจากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 166.30% ราคาเศษกระดาษกล่องเก่าใช้แล้วในประเทศ เพิ่มขึ้น 120.43%

1.ประเทศจีนได้เร่งน�ำเข้าเศษกระดาษกล่อง เก่าใช้แล้ว และรัฐบาลจีนจะห้ามน�ำเข้าเศษกระดาษ กล่องเก่าใช้แล้วตั้งแต่ต้นปี 2564 เป็นต้นไป 2.ประเทศจี น มี ค วามต้ อ งการน� ำเข้ า ม้ ว น กระดาษส� ำ เร็ จ รู ป อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยน� ำ เข้ า จาก ประเทศต่างๆในอาเซียน และ ภูมิภาคต่างๆ 3.การขาดแคลนตูค้ อนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศ ท�ำให้ไม่สามารถขนส่งเศษกระดาษ ได้ทันตามความต้องการลูกค้าปลายทาง ขณะเดียวกันราคากระดาษท�ำลอนลูกฟูก (Corrugated Paper ) ในประเทศจีนเดือนเพิ่มขึ้น 15.91% ต่อปี (Year to Year) และราคากระดาษท�ำผิวกล่อง (Test Liner) เพิ่มขึ้น 14.73% เมือเปรียบเทียบปีต่อ ปี (Year to Year ) ของเดือนมกราคมปี 2563 และปี 2564 ตามล�ำดับ (ข้อมูลอ้างอิง: https://www.facebook.com/groups/globalcorr/permalink/53 8653717115975/)

จากฐานข้ อ มู ล น� ำ เข้ า ของกรมศุ ล กากร ประเทศไทย และ น�ำมาจัดรูปแบบข้อมูล สมาคม บรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทยพบว่า ราคาเศษกระดาษ กล่องเก่าใช้แล้ว (old corrugated container : O.C.C. ) ทีน่ ำ� เข้าจากต่างประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา (American old corrugated container : AOCC ) , ญี่ปุ่น (Japan old corrugated container : JOCC และ ราคาเศษ กระดาษกล่องเก่าใช้แล้วในประเทศไทย ( Thailand old corrugated container : TH OCC) ราคาได้ปรับ ตัวสูงขึน้ เป็นอย่างมาก โดยเปรียบเทียบระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2563 – 2564 ดังนี้ ราคาเศษกระดาษกล่องเก่าใช้แล้ว (old corrugated container : A.O.C.C. ) ที่น�ำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 107.24% ราคาเศษกระดาษกล่องเก่าใช้แล้ว (old corrugated container : J.O.C.C. ) 48

จึ ง ท� ำ ให้ ผู ้ ผ ลิ ต กล่ อ งกระดาษลู ก ฟู ก ใน ประเทศมีต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 22% (อ้ า งอิ ง จากราคาวั ต ถุ ดิ บ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ล่ า สุ ด ในเดื อ น กุมภาพันธ์ 2564 , โดยในเดือนมีนาคม และ เมษายน 2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก) กลั บ ไปที่ ป ระเทศสหรั ฐ อมริ ก า ผู ้ ผ ลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ์ กระดาษลู ก ฟู ก รายใหญ่ ใ นประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ประกาศขึ้นราคาบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก 8-11% เริ่มตั้งแต่ ต้นเดือนพฤษจิกายน 2563 ได้แก่ INTERNATIONAL PAPER CORP ประกาศขึ้นราคา กล่องกระดาษลูกฟูก 9% เริม่ ตัง้ แต่ วันที่ 09/11/2563 PACKAGING CORPORATION OF AMERICA ประกาศขึ้นราคากล่องกระดาษลูกฟูก 10% เริ่มตั้งแต่วันที่ 01/11/2563 รายอื่นประกาศขึ้นราคา ระหว่าง 8-11% Source: https://www.risiinfo.com/industry-news/corrugated-boxes-ip-pcasaid-to-set-9-box-price-increases-ip-rise-is-to-be-effective-nov-9-pcas-nov-1/ ) 09/10/2020

จากสถานการณ์ราคาวัตถุดบิ ทีม่ แี นวโน้ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และ ภายในประเทศ ในสถานการณ์โควิท 19 จึงกล่าว ได้วา่ ปี 2564 เป็นปีแห่งความท้าทายของผูป้ ระกอบ การผลิตบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย ทีม่ สี ว่ นใน การสนับสนุนอุตสาหกรรมอืน่ ๆ เพือ่ ความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจของประเทศ.

อนาคตของบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทยหลังจาก COVID 19

วันการพิมพ์ไทย 2564


Internet of Packaging (IoP) บรรจุภัณฑ์เชื่อมต่อกับผู้คนด้วยดิจิทัล บทความโดย

จิตร์งาม พราหมณีนิล

รองประธานด้านตลาดดิจิทัลและกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย

บรรจุภัณฑ์ท�ำหน้าที่ทางการตลาด ทั้งการ กระตุ ้ น อารมณ์ สร้ า งความสนใจ และท� ำ ให้ มี ความสุข ที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้เราอาจรับรู้ผ่านการมอง เห็น สัมผัส และได้กลิ่นเพียงเท่านั้น แต่ตอนนี้บรรจุ ภัณฑ์ได้เปิดเกมใหม่ในยุคดิจทิ ลั ด้วยการใช้เทคโนโลยี เชื่อมต่อกับผู้คน

Internet of Packaging (IoP) ถือเป็นบรรจุ ภัณฑ์อัจฉริยะ (Intelligent Packaging) ประเภทหนึ่ง ที่เชื่อมต่อสินค้าเข้ากับระบบดิจิทัลผ่านบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเทคโนโลยี เช่น RFID (Radio Frequency Identification), NFC (Near Field Communication) และ AR (Augmented Reality) ท�ำให้บรรจุภณ ั ฑ์สอื่ สารผ่าน Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เก็บข้อมูลอัตโนมัติ และเชื่อมโยงเครือข่าย แบรนด์ต่างหันมาใช้ IoP มอบ ประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคกันมากขึ้น เพราะ สามารถเชื่อมต่อโลกดิจิทัล และโลกทางกายภาพเข้า ด้วยกันได้อย่างลงตัว เป็นตัวช่วยให้แบรนด์ส่งมอบ กิจกรรมที่มีคุณค่าได้หลากหลาย Credit ภาพ : Diageo

วันการพิมพ์ไทย 2564

Internet of Packaging (IoP) บรรจุภัณฑ์เชื่อมต่อกับผู้คนด้วยดิจิทัล

49


วิถีชีวิตใหม่ สังคมดิจิทัลไทย ยุค 5G (New Normal) • IoP กับการสร้างแบรนด์

IoP มีศักยภาพช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย สร้างการซื้อซ�้ำ และเชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคได้มี ความหมายมากขึ้น เช่น การส่งข้อมูลส่งเสริมการขาย สูตรการชงเครื่องดื่ม หรือวิธีท�ำเมนูต่างๆ เมื่อลูกค้า สแกนผ่านบรรจุภัณฑ์ แท้จริงแล้ว IoP เป็นเหมือน ประตู ที่ ท� ำ ให้ แ บรนด์ ใ กล้ ชิ ด ลู ก ค้ า ได้ ม ากขึ้ น และ ท�ำให้การมีส่วนร่วมผ่านบรรจุภัณฑ์มีประสบการณ์ที่ มีคุณค่ามากกว่าเดิม สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถขยาย ประสบการณ์ที่ดีได้มากขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจสอบสินค้า กันการปลอมแปลง ตรวจสอบแหล่ง ที่มาของวัตถุดิบ เพื่อป้องกันอาหารที่เป็นอันตรายได้ รวดเร็วยิ่งขึ้น

50

• IoP กับการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์

IoP สามารถบอกสถานที่ทิ้งและแยกขยะ แถมลูกค้ายังได้รบั Reward ส�ำหรับความพยายามด้าน สิง่ แวดล้อมอีกด้วย ส่วนข้อมูลการทิง้ ขยะทีร่ วมรวมไว้ ในระบบ IoP น�ำมาใช้ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาบรรจุ ภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิล และน�ำกลับ มาใช้ใหม่

Internet of Packaging (IoP) บรรจุภัณฑ์เชื่อมต่อกับผู้คนด้วยดิจิทัล

วันการพิมพ์ไทย 2564


• IoP สร้างความปลอดภัยของอาหาร

IoP เชื่อมต่อกับผู้บริโภคที่ต้องการทราบ แหล่งทีม่ าของอาหารภายในบรรจุภณ ั ฑ์ รวมถึงข้อมูล ทางโภชนาการทีม่ ผี ลกับผูแ้ พ้อาหาร ตัวอย่างเช่น IoP ใช้ระบบ Blockchain ที่ปลอดภัยน่าเชื่อถือตรวจสอบ ห่วงโซ่การผลิต ช่วยให้รวู้ า่ ผลิตภัณฑ์มสี ารปนเปือ้ นได้ อย่างรวดเร็วและแม่นย�ำ เพิม่ ความปลอดภัยส�ำหรับผู้ บริโภค • IoP กับธุรกิจค้าปลีก (Retail) และช่องทางการขาย IoP ก�ำลังเติบโตในทุกแง่มุมรวมถึงธุรกิจ ค้าปลีก และการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งด้วย ตัวอย่างเช่น การสแกนที่บรรจุภัณฑ์แล้วสั่งซื้อสินค้า ทางออนไลน์ผ่าน Smartphone, ซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ Sensor วัดความสดของอาหาร และ Smart Tag ใน การเปลีย่ นแปลงราคาสินค้าตามโปรโมชัน่ รวมถึงแจ้ง ให้พนักงานทราบเพือ่ เติม หรือหมุนเวียนสินค้า, ระบบ ติดตามสินค้าป้องกันการโจรกรรม และระบบจัดการ สินค้าคงคลังได้อย่างอัตโนมัติ

วันการพิมพ์ไทย 2564

ทัง้ หมดนี้ อาจเป็นเพียงนวัตกรรมบางส่วน เท่านัน้ เพราะศักยภาพของ Internet of Packaging (IoP) อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์ว่าจะส่ง มอบคุณค่าไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม การขับ เคลื่อนด้วย Internet of Packaging ในครั้งนี้จะ ท�ำให้เราได้เห็นถึงเครือข่ายข้อมูลทีม่ ปี ระโยชน์ น�ำ มาแก้ไขปัญหาพร้อมกับสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านบรรจุภัณฑ์มากขึ้นอย่างแน่นอน อ้างอิง : https://www.ift.org/news-and-publications/ food-technology-magazine/issues/2020/february/ columns/how-iop-can-connect-the-packaged-foodvalue-chain

Internet of Packaging (IoP) บรรจุภัณฑ์เชื่อมต่อกับผู้คนด้วยดิจิทัล

51


ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19 บทความโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุรวิศ ตั้งกิจวิวัฒน์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

หลายต่อหลายคนเริ่มมีความหวังว่า ในปี 2564 นี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 จะดีขึ้นพร้อมกับการคาดการณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 2-3% แต่อย่างไร ก็ตามในช่วงต้นเดือนเมษายนทีผ่ า่ นมาเกิดการระบาด ระลอกสามด้วยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อังกฤษที่ แพร่กระจายตัวได้เร็วกว่าตัวเดิมถึง 1.7 เท่า ท�ำให้ ความหวังว่าช่วงสงกรานต์จะเป็นช่วงแห่งความสุข สนุกสนานและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นกลับพังทลาย ลง พร้อมกับสร้างความกังวลใจให้เหล่าทีมแพทย์ และสาธารณะสุขว่าจะเกิดการติดเชื้อจนเกินขีดความ สามารถการรองรับของโรงพยาบาล และที่ส�ำคัญเม็ด เงินจ�ำนวนมากที่รัฐบาลเยียวยาผ่านโครงการตระกูล ชนะต่างๆ ทีค่ าดหวังว่าจะช่วยกระตุน้ เศรษฐกิจอาจจะ ไปไม่ถึงฝั่งฝัน แต่อย่างไรก็ตามในวิกฤติย่อมมีโอกาส เสมอ เราจะเห็นว่าในช่วงการแพร่ระบาดนั้นก็มีธุรกิจ หลายธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น การ สั่งซื้อของออนไลน์ การขนส่งสินค้า การประกันภัย การโทรคมนาคมและการสื่อสาร เป็นต้น ที่ส�ำคัญ เราต้องยอมรับให้ได้ว่าเราจะต้องอยู่กับวิถีปกติใหม่มิ อาจปฎิเสธได้ ต้องเข้าใจจุดแข็งและปรับจุดอ่อนของ องค์กร มองหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ และต้องปรับ ตัวให้ก้าวทันต่อสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ เหมือน ดั่งเคล็ดลับวิทยายุทธ์ส�ำนักบู๊ตึ้งตามปรัชญาลัทธิเต๋า คือ “อ่อนสยบแข็ง เคลื่อนไหวดังสายน�้ำผ่าน ลื่นไหล เปลี่ยนแปลงไม่จบสิ้น”

52

ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19

แล้วเราจะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อขับเคลื่อน ธุรกิจของเราอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิง่ หลังจากทีก่ าร ฉีดวัคซีนมากเพียงพอจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่และความ เชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับพลิกฟื้นไปในทิศทางบวก ก่อนอื่นเราต้องมองให้เข้าใจเสียก่อนว่าวิกฤตการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโลนาไม่ใช่วกิ ฤติ ชัว่ คราวแต่ในอนาคตอาจจะมีเหตุการณ์ลกั ษณะนีเ้ กิด ขึน้ ได้อกี อย่างแน่นอน ดังนัน้ การคาดหวังว่าเราจะกลับ ไปเป็นเหมือนเดิมจึงเป็นไปได้ยาก และสถานการณ์ การแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นตัวเร่งให้เทคโนโลยีเขย่าโลก (disruptive technology) เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ตัวอย่างที่ เห็นได้ชัดเจนในประเทศไทย คือ เทคโนโลยีดิจิทัลกับ ผู้สูงอายุและการเก็บฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ดังนั้นองค์กรของเราจ�ำเป็นต้องปรับตัวและแสวงหา โอกาสใหม่ ก้าวข้ามจากวิถีปกติใหม่ (new normal) ไปสู่วิถีปกติหน้า (next normal) ให้ได้ ซึ่งมีแนวโน้มที่ ส�ำคัญดังนี้ ตั้งแต่การแพร่ระบาดเกิดขึ้น นโยบายการ เว้นระยะห่างทางสังคมได้กลายเป็นวิถีปกติใหม่ที่ เกิดขึ้นในองค์กรต่างๆ เช่น การเรียนออนไลน์ การ ประชุมสัมมนา การจัดนิทรรศการต่างๆ การรับงาน ไปท�ำที่บ้าน เป็นต้น ถึงแม้ว่าในตอนต้นจะมีความ ขลุกขลักอยู่บ้างแต่หลายๆ องค์กรก็ต่างเร่งพัฒนาให้ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีการ สื่อสาร การพัฒนาโปรแกรมแอปพลิเคชั่น การคิด รูปแบบการท�ำงานต่างๆ ผ่านโลกไซเบอร์ ดังนั้นการ ท�ำงานต่อไปข้างหน้าเราจะเห็นรูปแบบของไฮบริด (Hybrid working) ทีผ่ สมผสานกันระหว่างการท�ำงานที่ ส�ำนักงานและการท�ำงานข้างนอกมากขึ้น เกิดกระแส

วันการพิมพ์ไทย 2564


การประชุมเชิงปฎิบัติการระหว่างนักศึกษาไทย ญี่ปุ่น และตุรกี ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

การจัดแสงสินค้าและเทคโลยีการพิมพ์ Drupa2021 ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

การท�ำงานทางไกล (Remote work) ขึ้น ค�ำที่เรามักได้ ยินติดหูกนั เป็นประจ�ำในขณะนี้ คือ ท�ำงานจากทีบ่ า้ น (work from home) ซึ่งหลายๆ บริษัทได้น�ำมาเป็นวิถี ปกติใหม่เป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว เนือ่ งจากเป็นกลยุทธ์หนึง่ ในการลดต้นทุนการด�ำเนินธุรกิจ ท�ำให้ขนาดออฟฟิศ และทรัพยากรในการท�ำงานลดลง รูปแบบนี้มีการ จ้างพนักงานทั้งในรูปแบบประจ�ำและรูปแบบชั่วคราว โดยมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปเป็นลูกจ้างชั่วคราวเป็น งานๆ แทบทั้งหมด สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโต ของ gig worker หรือแรงงานอิสระนอกระบบ ในรูป แบบนี้ธุรกิจได้ข้อดีในเรื่องของไม่ต้องมีสวัสดิการให้ กับพนักงานแต่ก็ต้องแลกมาด้วยระบบการควบคุม คุณภาพที่เข้มงวดขึ้น นอกจากนั้นรูปแบบการท�ำงาน นี้เหมาะส�ำหรับแรงงาน Gen Y (เกิดช่วงปี พ.ศ.2523 – 2540) และ Gen Z (เกิดช่วงปี พ.ศ.2541 – 2558) แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐต้องออกกฎหมายรองรับรูป แบบการท�ำงานลักษณะนีท้ งั้ ในด้านการดูแลสวัสดิการ การคุม้ ครองแรงงาน และรูปแบบภาษี ส�ำหรับในธุรกิจ การพิมพ์ ต�ำแหน่งงานที่สามารถท�ำงานจากที่บ้านได้

เช่น นักออกแบบ พนักงานบัญชี พนักงานการตลาด พนักงานดูแลและประสานงานลูกค้า โปรแกรมเมอร์ ผู้สร้างดิจิทัลคอนเทนต์ เป็นต้น นอกจากการท�ำงาน จากที่บ้านแล้วการท�ำงานทางไกลรูปแบบการประชุม สัมมนา และจัดนิทรรศการผ่านแพลตฟอร์มเสมือน จริงก็เกิดมากขึน้ จนกลายเป็นวิถปี กติหน้า การประชุม สัมมนาลักษณะนี้ท�ำให้เราสามารถพูดคุยโดยไม่ต้อง เดินทางมาพบกัน ข้อดีคอื เราสามารถเชิญผูเ้ ชีย่ วชาญ จากต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมสัมมนาโดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ยด้านการเดินทางและไม่เสียเวลาการเดินทางอีก ด้วย จากอดีตผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศอาจจะต้อง เสียเวลาเดินทางมากกว่าเวลาที่ใช้ในการประชุมด้วย ซ�ำ้ ไป รูปแบบนีเ้ องส่งผลดีตอ่ องค์กรเป็นอย่างมากและ เป็นการเชือ่ มต่อโลกได้อย่างง่ายดาย แต่อย่างไรก็ตาม การติดต่อสื่อสารและการท�ำงานแบบ on-site ก็ยังคง มีความจ�ำเป็นในบางต�ำแหน่งงานและด้วยการทีม่ นุษย์ เป็นสัตว์สงั คมจึงมีความต้องการทีจ่ ะพบปะและพูดคุย แบบใกล้ชดิ กันอยู่ ดังนัน้ รูปแบบการท�ำงานลักษณะไฮ บริดจึงจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

หลายปีทผี่ า่ นมานีท้ วั่ โลกและประเทศไทยเองเฝ้าจับตามองการเติบโตของพานิชย์อเิ ล็กทรอนิก (e-Commerce) ทีม่ แี นวโน้มการเติบโตทีส่ งู ขึน้ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชือ้ ไวรัสโคโรนา McKinsey (2021) รายงานว่าในช่วงวิกฤติการณ์โควิด 19 ผู้บริโภคเห็นว่าการใช้งานพานิชย์อิเล็กทรอนิกและ กิจกรรมออนไลน์มคี วามสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้บริการ และยังพบว่าการขยายตัวทางพานิชย์อเิ ล็กทรอนิก ในประเทศต่างๆ สูงขึ้น 2-5 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนการแพร่ระบาด และ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เพิ่งเริ่ม ใช้ชอ่ งทางดิจทิ ลั เป็นครัง้ แรกเห็นว่าจะใช้งานรูปแบบนีต้ อ่ ไปถึงแม้วา่ การแพร่ระบาดจะสิน้ สุดลง ในปัจจุบนั นีธ้ รุ กิจ พานิชย์อเิ ล็กทรอนิกได้ผนวกระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าไว้ในแพลตฟอร์ม เพือ่ ใช้สำ� หรับการวิเคราะห์พฤติกรรม ทางการตลาดของผู้บริโภค เราจะเห็นได้ว่าแค่เราบ่นว่าหิวกับเพื่อนผ่านออนไลน์ สักพักหนึ่งจะมีโฆษณาแอปสั่ง อาหารขึ้นมาโดยทันที เพื่อกระตุ้นการสั่งซื้อของเรา ท�ำให้พานิชย์อิเล็กทรอนิกมีชื่อเรียกใหม่ว่า “ai-Commerce” หรือพานิชย์ปัญญาประดิษฐ์

วันการพิมพ์ไทย 2564

ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19

53


การใช้เทคโนโลยี AR ในการสร้างจุดขายให้กับสินค้า โดยการสร้างความปฎิสัมพันธ์กับลูกค้า การใช้เทคโนโลยี VR ในงานฝึกซ่อมเครื่องยนต์ไอพ่นของบริษัท Rolls-Royce

อัตราการเติบโตของพานิชย์อิเล็กทรอนิกเมื่อเทียบกับก่อนการเกิดสถานการณ์โควิด 19 ที่มา: Lund, S. et.al., 2021

นอกจากการค้ า การขายผ่ า นระบบดิ จิ ทั ล แล้ ว การ รักษาโรคทางไกล (Telemedicine) ก็มีการให้บริการ เพิ่มมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่าช่วงการแพร่ระบาดมี หลายโรงพยาบาลในไทยที่ใ ห้ค นไข้พบแพทย์ผ ่าน ทางโทรศัพท์หรือระบบ Streaming ท�ำให้ไม่ต้องเดิน ทางมาพบแพทย์โดยตรงและสามารถรับยาผ่านทาง ไปรษณีย์ อีกธุรกิจหนึ่งที่มีการเติบโตสูงขึ้นคือ การ เรียนรูอ้ อนไลน์ ทัง้ ในรูปแบบบทเรียนส�ำเร็จรูปและรูป แบบ Live streaming จะเห็นได้วา่ คลาสเรียนออนไลน์ เกิดขึน้ อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในแวดวงการ ศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย MIT มีคลาสเรียนออนไลน์ เกือบ 800 วิชาโดยกว่า 120 วิชาเรียนฟรีไม่เสียค่าใช้ จ่าย แต่สำ� หรับประเทศไทยนัน้ มุมมองผมเห็นว่ายังไม่ พร้อมสักเท่าไหร่ ทัง้ ในแง่ของการเข้าถึงเทคโนโลยีและ ความพร้อมของทัง้ ผูส้ อนและผูเ้ รียน แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาต่างๆ จะต้องปรับตัวและวางกลยุทธ์ อย่างเร่งด่วนเพราะอย่างไรก็ตามวิถีปกติหน้าจะต้อง มีระบบเรียนผสมผสานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านีต้ อกย�ำ้ ว่า “เศรษฐกิจดิจทิ ลั ” (digital economy)

54

ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19

จะกลายเป็นวิถปี กติหน้าอย่างแน่นอน และเทคโนโลยี ด้าน IoT (Internet of things) AR (Augmented reality) และ VR (Virtual reality) จะเป็นเทคโนโลยีที่จ�ำเป็นใน การสร้างประสบการณ์ดจิ ทิ ลั ให้กบั ผูบ้ ริโภค ตัวอย่างที่ มีให้เห็นแล้วคือ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่น�ำเอาระบบ AR มาใช้ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ส�ำหรับธุรกิจการ พิมพ์นั้นผมเห็นว่าหลายบริษัทเริ่มได้ปรับตัวไปทาง พานิชย์อิเล็กทรอนิกนานแล้ว จึงไม่ค่อยน่าเป็นห่วง ในเรื่องนี้ แต่อยากเสริมในเรื่องของการน�ำฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ (big data) มาใช้ในการพัฒนารูปแบบการให้ บริการเพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามาก ยิ่งขึ้น เพราะในวิถีปกติหน้าการวิเคราะห์ฐานข้อมูล ขนาดใหญ่เป็นเรื่องส�ำคัญอย่างมากในการท�ำธุรกิจ นอกจากนี้การพัฒนาบุคลากรในบริษัทก็สามารถใช้ ประโยชน์จากระบบออนไลน์ผ่าน e-Training ได้ เช่น พนักงานเข้าใหม่สามารถเข้าไปเรียนรู้งานผ่านระบบ ออนไลน์ได้ก่อนเริ่มปฎิบัติงาน หรือการ Re-skill และ Up-skill เป็นต้น

วันการพิมพ์ไทย 2564


Amazon go ซุปเปอร์มาเก็ตที่ใช้ระบบ IoT และระบบอัตโนมัติร้อยเปอร์เซ็นต์

ผลพวงจากการกั ก อยู ่ บ ้ า นและธุ ร กิ จ พานิชย์อิเล็กทรอนิกท�ำให้ ธุรกิจขนส่งสินค้า (Logistics) ธุรกิจรับส่งสิ่งของ (Delivery) และธุรกิจออกแบบ และผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีการเติบโตอย่าง ก้าวกระโดด จากบทวิเคราะห์ของธนาคารกรุงเทพ (2564) โดยอ้างอิงข้อมูลจากกรมธุรกิจการค้า คาด การณ์ว่าธุรกิจทั้ง 3 เป็นธุรกิจดาวเด่นและมีแนวโน้ม เติบโตสูงในปี 2564 ด้วยสัญญาณการเติบโตมาตั้งแต่ ปี 2562 โดยธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ มีรายได้สูงขึ้นจาก ปี 2561 ถึงร้อยละ 116 ธุรกิจรับส่งสิ่งของร้อยละ 57 และธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ร้อยละ 102 ตามล�ำดับ ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณการเติบโตของธุรกิจ ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ แต่คู่แข่งทางธุรกิจก็มี เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นการอยู่รอดของธุรกิจจะ ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทั้งด้านวัสดุ และการออกแบบ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบ โจทย์ปัจจุบัน และที่ส�ำคัญต้องค�ำนึงถึงสุขภาพและ อนามัยมากยิ่งขึ้น ในด้านการผลิตและการให้บริการวิกฤติโควิด 19 ส่งผลให้เกิดอัตราเร่งการน�ำเทคโนโลยีอัตโนมัติ และดิจิทัล (automation & digitalization technology) เข้าสูก่ ารผลิตและการให้บริการจ�ำนวนมากและเร็วขึน้ ในอดีตการน�ำหุ่นยนต์หรือแขนกลมาใช้ในการผลิต มักมาจากเหตุผลการควบคุมต้นทุนการผลิตและการ แก้ไขความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากคน แต่ในปัจจุบัน

วันการพิมพ์ไทย 2564

การใช้หุ่นยนต์ในคลังสินค้าของ Amazon

เหตุผลด้านสุขอนามัยและการขาดแคลนแรงงานเมื่อ เกิ ด ภาวะโรคระบาดกลายเป็ น เหตุ ผ ลที่ ผู ้ ประกอบ การตระหนักมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าหลายบริษัทใช้ วิกฤตนี้ในการลดพนักงานลง และน�ำระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เข้ามาใช้ ทดแทนคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน�ำระบบปัญญา ประดิษฐ์ท�ำงานร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (Machine learning) ในอดีตเรามักคิดว่าเครื่องจักร ท�ำงานได้เพียงตามค�ำสั่งที่ป้อนเท่านั้น ไม่สามารถ ท�ำงานทีต่ อ้ งอาศัยความคิดและการตัดสินใจทีย่ ดึ หยุน่ ได้ แต่ปัจจุบันนี้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้และตอบ สนองได้ยดึ หยุน่ มากยิง่ ขึน้ ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้คอื การใช้ chat bot ในการตอบค�ำถามต่างๆ ของลูกค้า เช่น Siri ของ iPhone หรือ Google assistance ของ android เป็นต้น และการใช้ cobot หรือหุ่นยนต์ที่ฝั่งสมองกล ให้สามารถปรับเปลี่ยนการท�ำงานให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมของคนที่ต้องร่วมงานด้วย ตัวอย่างงานที่ ปัจจุบันสามารถใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติและดิจิทัลแทน มนุษย์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น คลังสินค้า และร้านค้า ปลีก เป็นต้น ดังนั้นองค์กรจะต้องเตรียมตัวและให้ บุคลากรในบริษัทเรียนรู้การท�ำงานร่วมกับเทคโนโลยี อัตโนมัติและดิจิทัลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ ท�ำงาน

ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19

55


จากทีเ่ ล่ามาข้างต้นองค์กรจะต้องปรับเปลีย่ นทัง้ ในแง่ขนาดและความยึดหยุ่นในการท�ำงาน เพือ่ ท�ำให้ธรุ กิจฟืน้ ตัวได้เร็วพร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างยัง่ ยืนหลังจากวิกฤตโควิด 19 ผ่านพ้นไป และพร้อมสร้าง ความเข้มแข็งส�ำหรับเผชิญวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นภายภาคหน้า อ้างอิง: ธนาคารกรุงเทพ, (2564), 4 กลุม่ ธุรกิจดาวเด่นสบโอกาสโตได้ตอ่ ในปี 2564, สืบค้น 12 เมษายน 2564 จาก https:// www. bangkokbanksme.com/en/star-business-group-in-2021?fbclid=IwAR0hX2SIQesDSKby EZGEyhmrn WI2Ouncqcuafeq7WU5nDkvwydPIM3NQ7g ส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติ กระทรวงดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม, (2564), สรุปผลส�ำรวจภาวะการท�ำของประชากร เดือนธันวาคม 2563, สืบค้น 12 เมษายน 2564 จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/ สาขาแรงงาน/ภาวะการท�ำงานของประชากร/2563/Report_12_63.pdf Lund, S., Madgavkar, A., Manyika, J., Smit, S., Ellingrud, K., Meaney, M., and Robinson, O. (2021). The future of work after COVID-19, Retrieved 12 April 2021 from https://www.mckinsey.com/featured-insights/ future-of-work/the-future-of-work-after-covid-19

56

ธุรกิจพร้อม...หลัง COVID-19

วันการพิมพ์ไทย 2564






อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19 บทความโดย

ผศ.ดร.นิทัศน์ ทิพยโสตนัยนา ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ย้อนไปตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2563 ถึงก่อนช่วงทีม่ กี ารระบาดของ COVID-19 (ไวรัสโคโรนา 2019) ประเทศไทยได้ มีการเปลีย่ นแปลงทางด้านบรรจุภณ ั ฑ์กนั แบบมุง่ หน้าเข้าสูส่ เี ขียวกันแบบเห็นได้ชดั มีการยกเลิกการใช้ถงุ พลาสติก และกล่องพลาสติกที่มีความไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้วัสดุทดแทน และการปลุกจิตส�ำนึกด้านการรักษ์ โลกกันแทบทุกพื้นที่ ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตและใช้บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ หันหน้าไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนด้าน สิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้

ปลายปี พ.ศ. 2562 ร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ในประเทศไทยรณรงค์งดการใช้บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติก

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ผนวกกับการพิมพ์ที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ�้ำได้และ ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ แต่แล้วการมาของ COVID-19 และเกิดการแพร่ระบาดได้ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรม ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และการพิมพ์ เพราะความกังวลเกี่ยวกับสุขอนามัย และความปลอดภั ย ของบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ น� ำ กลั บ มาใช้ ซ�้ำ ส่งผลท�ำให้ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมบรรจุ ภัณฑ์ และการพิมพ์ทจ่ี ะก้าวไปสูห่ ว่ งโซ่อปุ ทานทีย่ งั่ ยืน หรือวงกลมวัฏจักรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นการปิด วันการพิมพ์ไทย 2564

วงแบบสมบูรณ์ ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากการมา ของไวรัส COVID-19 ที่ไม่จบสิ้นหยุดลงชั่วคราว และ เมื่อคนหันมาใส่ใจความปลอดภัยของตนเองให้อยู่ให้ รอดได้ในวันนี้มากกว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นพรุ่งนี้ ผนวกกับ ความกังวลด้านสุขอนามัยใหม่หรือความต้องการด้าน ความปลอดภัย จึงส่งผลให้มกี ารใช้หนั กลับมาใช้บรรจุ ภัณฑ์แบบประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ท�ำการพิมพ์ด้วย ระบบดิจทิ ลั เพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการ ด้านของ ผู้บริโภคด้านอีคอมเมิร์ซ ที่มาในความต้องการแบบ ปลอดภัย รวดเร็ว และราคาถูก อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19

61


จากวัฏจักรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นการปิดวงแบบสมบูรณ์ ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากการมาของไวรัส COVID-19 ที่มา : http://pkgpackaging.com/life-cycle-assessment/

ในตอนช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 บริษัทที่ผลิตและใช้บรรจุภัณฑ์จึงต้องมีการต้องปรับ เป้าหมายด้านความยัง่ ยืนเอามารวมกับความต้องการ ด้ า นสุ ข อนามั ย เพราะเมื่อ คนเห็น ผลร้ายของเชื้อ COVID-19 “ที่ติดง่ายตายไว” ผู้บริโภคเริ่มกังวลว่าคน ๆ หนึง่ อาจได้รบั เชือ้ ไวรัสโดยการสัมผัสพืน้ ผิวหรือวัตถุ ที่มีไวรัสอยู่แล้วเผลอไปสัมผัสปาก จมูก หรือสัมผัส ผ่านมาจากบุคคลอื่น อีกทั้งยังมีข่าวสารที่แพร่ออก มาบอกว่าไวรัสดูเหมือนจะสามารถอยู่บนกระดาษ แข็งได้ประมาณ 24 ชั่วโมง และบนพลาสติกได้นาน ถึงสามวัน จากเหตุผลต่างๆ นานา ส่งผลให้ประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก าได้ รี บ หยุ ด นโยบายด้ า นบรรจุ ภั ณ ฑ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมชั่วคราว แต่ก็ไปสวนทางกับความ ต้องการผลิตภัณฑ์ เช่น น�้ำดื่มบรรจุขวด และน�้ำยา ฆ่าเชื้อแบบใช้แล้วทิ้งเพิ่มขึ้น ทางสหรัฐอเมริกาจึงได้ ออกกฎห้ามใช้บรรจุภัณฑ์ถุงที่ใช้ซ�้ำได้ชั่วคราว เมื่อ มองมาที่ประเทศไทยได้มีนโยบายห้ามใช้ถุงพลาสติก ในเดือนมกราคม 2563 แต่ในช่วงการระบาดของ ไวรัส COVID-19 ได้มีการประกาศพระราชก�ำหนด ต่าง ๆ การออกค�ำสั่งห้ามเดินทาง ส่งผลให้คนอยู่ บ้าน มีการใช้บริการคนไปซื้อของแทน ผ่านช่องทาง 62

อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19

ออนไลน์ต่าง ๆ ที่แข่งกันออกโปรโมชั่นมาแย่งลูกค้า กันมากมาย จึงท�ำให้การขายแบบอีคอมเมิร์ซโตกระ ฉูด ยกตัวอย่างอาหารบางประเภท ที่เมื่อก่อนการ ระบาดของ COVID-19 ต้องทานที่ร้านเท่านั้น หรือ ร้านที่ขายอาหารแบบบุฟเฟต์ ต้องมีการปรับรูปแบบ การขายแบบใหม่ ซึ่งการขายรูปแบบใหม่จ�ำเป็นที่จะ ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่นอกเหนือจากแค่ถุงใส่ หิ้วกลับ บ้าน มาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องใส่ทุกอย่างได้ตั้งแต่ เครื่องปรุงไปยันถึงอุปกรณ์ในการรับประทานที่ต้อง ท�ำการบรรจุแล้วต้องไปใส่ในพาหนะขนส่งและต้อง ไม่กินพื้นที่ในการขนส่งมากเกินไป และตัวบรรจุภัณฑ์ ต้องส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับเจ้าของกิจการ และบริษัทขนส่งด้วย จึงมีการใช้การพิมพ์และการ ออกแบบใหม่ๆ ให้น่าสนใจเข้ามาช่วยส่งเสริมการ ขาย เช่น การออกแบบให้บรรจุภณ ั ฑ์ให้แปลกตา หรือ ออกแบบรูปทรงให้ใช้พื้นที่แบบคุ้มค่า และมีการพิมพ์ ชือ่ ร้านผูจ้ ำ� หน่ายและบรรจุในแพ็คเกจของบริษทั ขนส่ง ที่มีข้อความสื่อถึงผู้ให้บริการรายนั้น ๆ จึงส่งผลให้ ปริมาณขยะพลาสติกทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทยเพิม่ มาก ขึ้นถึง 15% จากสภาวะสถานการณ์ปกติ

วันการพิมพ์ไทย 2564


กล่องเป็ดย่างของร้านสุกี้ชื่อดังที่ต้องเปลี่ยนมาขายออนไลน์ช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ออกมาเอาใจสายสะสม ที่รวมเอาฟังก์ชั่น เนื้อ น�้ำ ผัก มาใส่ในภาชนะชิ้นเดียวกันในรูปทรงที่แปลกตา ที่มา : www.facebook.com/mkrestaurants

เพราะการที่ค นอยู่บ ้านแล้วไม่ส ามารถเดิ น ทางไป ซื้อสินค้าได้ ก็ใช้ช่องทางออนไลน์ในการหาสินค้าที่ ต้องการก็ผลักดันให้การขายในรูปแบบออนไลน์โต จนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งผลิตกันแทบไม่ทัน ถึง ขนาดต้องมีการน�ำเข้า หรือใช้กล่องที่ใช้ซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ซึ่งถ้าในช่วงการระบาดของเชื้อ COVID-19 คงไม่มี ใครอยากได้กล่องหรือถุงที่สภาพไม่ดีเพราะมักจะคิด ว่าต้องมีเชื้อโรคติดมาด้วยแน่ ๆ ถึงขนาดต้องเอาไป ตากแดดก่อนเปิด หรือเอาแอลกอฮอล์ฉดี ก่อนเปิดก็มี หลังจากการระบาดของ COVID-19 เริ่มลด ลงในช่วงก่อนปลายปี พ.ศ. 2563 และกลับมาระบาด ครั้งใหม่ในต้นปี พ.ศ. 2564 จนประเทศไทยเริ่มมี การน�ำเข้าวัคซีนป้องกัน แต่ก็ยังไม่สามารถคาดเดาได้ ว่าไม่รวู้ า่ เมือ่ ไหร่เราจะฉีดได้ครบทัง้ ประเทศภายในกีป่ ี หรือเมือ่ ไหร่เราจะมีภมู คิ มุ้ กันหมู่ แต่ยงั ดีทเี่ รารูว้ ธิ กี าร รักษาอาการป่วยจนท�ำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง เรา มียารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราเรียนรู้ที่จะ อยู่กันในรูปแบบวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ก็จะส่งผลให้เกิด การผ่อนคลายด้านต่าง ๆ แต่รูปแบบการใช้ชีวิตแบบ ชีวิตวิถีใหม่ (new normal) ก็จะยังคงอยู่คู่กับเราไป เรื่อย ๆ ยากที่จะกลับไปสู่รูปแบบการใช้ชีวิตแบบเดิม เหมือนก่อนการระบาดของโรคดังกล่าว ท�ำให้การใช้ ชีวิตต้องความระมัดระวังมากกว่าเดิม จึงส่งผลให้การ ใช้บรรจุภณ ั ฑ์รปู แบบต้องปลอดภัยไว้กอ่ นยังคงอยูก่ บั สังคมไทยและสังคมโลกต่อไป จึงเป็นแนวโน้มทีว่ งการ การอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ต้องมีการ ปรับตัวเพื่อรองรับรูปความต้องการของผู้บริโภค ทั้ง ในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยสูงในการใช้ งาน มีสขุ อนามัยเพือ่ ลดการแพร่หรือกระจายเชือ้ ผ่าน ตัวบรรจุภัณฑ์ มีต้นทุนในการผลิตที่ต�่ำ ระยะเวลาใน วันการพิมพ์ไทย 2564

การผลิตสั้น น�้ำหนักเบาแต่ต้องแข็งแรง รองรับการ ออกแบบทีแ่ ปลกใหม่ ๆ รวมไปถึงการผนวกการพิมพ์ รูปแบบ Functional Printing ที่มีการใส่เทคนิคและ เทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้าไปท�ำให้งานพิมพ์บนบรรจุ ภัณฑ์สร้างมูลค่าและความแตกต่าง ยกตัวอย่าง จาก อุตสาหกรรมอาหาร ที่ความชอบของผู้บริโภคเปลี่ยน ไปใช้อาหารสดทีบ่ รรจุแยกขายแช่เย็น แทนการไปเดิน ตลาดเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งไม่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ มีการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในร้าน อาหารแทนชุดบรรจุอาหารที่ล้างท�ำความสะอาดได้ เพื่อให้ผู้บริโภคต้องการความมั่นใจว่าอาหารที่ซื้อมา ไม่ได้สัมผัสหรือสัมผัสกับเชื้อไวรัส มีการเปลี่ยนแปลง กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อหยุดการแพร่ระบาด ของเชื้ อ ไวรั ส เกิ ด พฤติ ก รรมการเปลี่ ย นจากเมนู อาหารในห้องครัวไปเป็นครัวแบบ “พร้อมปรุง ไม่ตอ้ ง เตรียม” หรือ “อาหารที่อุ่นได้ใหม่” เกิดความต้องการ กล่องพร้อมฉลากและกล่องแบบซื้อกลับบ้านเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากมีการใช้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านและบรรจุ ภัณฑ์ทรี่ บั รองว่าอาหารได้รบั การปกป้องและปลอดภัย เป็นสิง่ ทีน่ า่ สนใจ และเมือ่ บรรจุภณ ั ฑ์ทสี่ ร้างจากความ ต้องการดังกล่าวใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ประกอบกับ สุดท้ายเมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสลดลงและมี การป้องการการติดโรคได้มากขึ้น เราก็จะเริ่มหันกลับ มามองภาพของกองขยะที่เกิดจากใช้ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวมากยิ่งขึ้นผ่าน สื่อต่างๆ ก็จะกลับไปกระตุ้นอารมณ์ความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อมและอนาคตให้กลับมาอีกครั้ง ส่งผล ให้ต้องกลับมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีก แน่นอน

อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19

63


ภาพแก้วบรรจุเครื่องดื่มและบรรจุภัณฑ์อาหารประเภทใช้ครั้งเดียวถูกทิ้งไว้ในถังขยะจ�ำนวนมาก ซึ่งถูกมองข้าม ความส�ำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงการระบาด COVID-19 ที่มา : www.officialstojothailand.com/single-use-plastic/

ส่ ว นทางด้ า นอุ ต สาหกรรมการผลิ ต งาน พิมพ์บรรจุภัณฑ์ จากเดิมที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าต้องไป สั่งตัวบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตอื่น ก็เริ่มหันมามองการ ผลิตบรรจุภัณฑ์ด้วยตนเอง เพราะในช่วงการระบาด COVID-19 และเกิดการปิดกั้นพื้นที่ การผลิตและ การขนส่งหยุดชะงัก แต่สินค้าที่ผลิตออกมาจ�ำเป็น ต้องหาบรรจุภัณฑ์มาบรรจุ เกิดปัญหาการผลิตขาด ช่วง ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ ก�ำลังพิจารณาที่จะซื้อ เครื่องพิมพ์ดิจิทัลส�ำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ของตนเอง เพราะสามารถผลิตและพิมพ์ได้เองโดยไม่ต้องอาศัย ทักษะของผู้ปฏิบัติงานมากนัก รวมไปถึงการสร้าง งานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของตนเองให้ง่ายต่อ การผลิต เนื่องจากจะท�ำให้เกิดความยืดหยุ่นในการ ควบคุมห่วงโซ่อุปทานของตนเองทั้งในด้านการพิมพ์ และบรรจุภณ ั ฑ์ ไม่ตอ้ งกังวลเกีย่ วกับสินค้าคงคลังส่วน เกินและการจัดหาบรรจุภัณฑ์ทดแทนเมื่อไม่สามารถ บรรจุภัณฑ์แบบเดิมไม่ได้ และก็ไปสอดคล้องกับทาง ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่พบว่า ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะเลื่อนการลงทุนขนาด ใหญ่กับเครื่องจักรมูลค่าสูงออกไปเนื่องจากความไม่ แน่นอนของตลาด แต่จะหันไปจะลงทุนในระบบที่มี ต้นทุนต�่ำกว่า เช่น เครื่องพิมพ์ดิจิทัล แบบระบบอิเล็ก โตโฟโตกราฟี หรือระบบอิงค์เจ็ท ที่เข้ามาช่วยในการ งานทีท่ มี่ คี ณ ุ ภาพสูง มีสงี านพิมพ์ทสี่ วยงาม มีความคม 64

อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19

ชัดทีส่ ะดุดตา และความเร็วในการพิมพ์ทส่ี งู เข้ามาช่วย ในการผลิตงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์มากขึ้น และยิ่งทุกวัน นีเ้ ทคโนโลยีหมึกพิมพ์สำ� หรับการพิมพ์ระบบดิจติ อลก็ มีการหันมาใช้ประเภทตัวท�ำละลายฐานน�ำ้ ทีป่ ราศจาก สารเคมีทเี่ ป็นพิษ หรือหมึกพิมพ์ทไี่ ม่ทำ� ปฏิกริ ยิ ากับสิง่ ที่บรรจุก็จะยิ่งช่วยให้มีการใช้ระบบดิจิตอลเข้ามาผลิต บรรจุภัณฑ์มากยิ่งขึ้น โดยเมื่อมองถึงโอกาสในช่วงแรก 1-3 ปี ส�ำหรับบรรจุภัณฑ์และสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์หลังโลกยุค COVID-19 จากการส�ำรวจโรงพิมพ์บรรจุภัณฑ์และผู้ ใช้งานพบว่าตลาดบางกลุ่มสินค้าก็ส่งสัญญาณการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น กลุ่มบรรจุภัณฑ์ยาที่มีการ ใช้มากขึน้ เพราะการจ่ายยาโดยหมอจะจ่ายยาให้ระยะ เวลานานขึน้ กว่าจะพบกันอีกครัง้ หรือกลุม่ บรรจุภณ ั ฑ์ อาหาร ทีม่ คี วามต้องการใช้บรรจุภณ ั ฑ์ยดื หยุน่ (flexible packaging) เพิ่มขึ้น เพราะบรรจุภัณฑ์รูปแบบนี้จัดว่า ถูกสุขอนามัยมากเพราะบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งไม่ สามารถน�ำกลับมาใช้ซ�้ำได้ หรือกลุ่มสินค้าที่สั่งผ่าน ออนไลน์ อันมีผลมากจากผูบ้ ริโภคถูกบังคับให้แยกตัว อยูท่ บี่ า้ น ส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้าผ่านเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าทุกอย่างจะเริ่มฟื้นตัว แล้วกลับมาท�ำงาน มาใช้ชีวิตตามปกติ แต่นิสัยการสั่ง สินค้าออนไลน์ก็ไม่ได้หายไป เพราะค้นพบว่ามีความ สะดวกสบายมากกว่าที่จะไปหาซื้อสินค้าด้วยตนเอง วันการพิมพ์ไทย 2564


จากสถานที่ผลิตและจ�ำหน่าย ก็ส่งผลให้ความต้องการสินค้าผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซมีแนวโน้มที่จะด�ำเนินต่อไป ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกและกล่องพับได้เพื่อจัดส่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความต้องการเพิ่มมากขี้น หรือ อีกกลุม่ หนึง่ ทีไ่ ด้รบั ความนิยมมากก็เป็นบรรจุภณ ั ฑ์ประเภทฉลาก เพราะฉลากจัดเป็นส่วนหนึง่ ของห่วงโซ่อปุ ทาน เพราะเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญในการถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้านั้น ๆ เป็นผลให้ตลาดมีความต้องการที่เพิ่ม ขึน้ โดยเฉพาะมีการน�ำไปใช้กบั ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สขุ อนามัยและฉลากยา รวมถึงการน�ำฉลากทีส่ ามารถ พิมพ์ข้อมูลได้ไปติดบนตัวสินค้าเพื่อการขายในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ และเมื่อคาดการณ์ไปหลังจากนั้นภายใน 5 ปี บรรจุภัณฑ์ที่จะถูกน�ำมาใช้ทั้งหมดจะต้องผนวกกับ ความยั่งยืนเข้าไปเพิ่ม โดยบรรจุภัณฑ์ที่จะผลิตและ ใช้งานจะถูกก�ำหนดและนิยามใหม่โดยค�ำนึงถึงเรื่อง สุขอนามัยบวกการความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทุกผลิตภัณฑ์ตอ้ งมุง่ มัน่ ทีจ่ ะบรรลุความสามารถ ในการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิลได้ด้วย อีกทั้งตอนนี้ได้ เกิดกระแสใหม่เกี่ยวกับการใช้งานวัสดุบรรจุภัณฑ์ ประเภทพลาสติก เพราะมีความวิตกกังวลเรื่องการใช้ วัสดุพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable plastic) ที่มีการน�ำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ เพราะ ในกระบวนการย่อยสลายจะมีการสร้างก๊าซมีเทน ซึ่ง เป็นต้นเหตุของสภาวะโลกร้อน และกระบวนการย่อย สลายยังต้องมีสภาวะทีเ่ หมาะสมกับการย่อยพลาสติก ดังกล่าวจึงจะเกิดการเปลีย่ นรูปและย่อยสลายได้ และ ยังมีการพบอีกว่าเมือ่ พลาสติกดังกล่าวมีการแตกสลาย ตัวแล้วมีการปล่อยไมโครพลาสติกรัว่ ไหลลงไปในทะเล อีกด้วย ดังนัน้ ในอนาคตการน�ำวัสดุพลาสติกประเภท ทีย่ อ่ ยสลายได้จงึ ควรเป็นพลาสติกประเภทสลายตัวได้ ทางชีวภาพ (compostable bioplastics) ที่เมื่อสิ้นสุด การใช้งานแล้วจะสามารถย่อยสลายเป็นสารชีวมวล น�ำ ้ และคาร์บอนไดออกไซด์ และไม่ทงิ้ สิง่ ทีเ่ ป็นพิษต่อโลก

วันการพิมพ์ไทย 2564

จึงจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการน�ำมาผลิตเป็นบรรจุ ภัณฑ์ ส่วนถ้าเป็นวัสดุประเภทอื่นเช่น กระดาษ โลหะ แก้ว ก็ตอ้ งมีการเลือกใช้วสั ดุให้มคี วามยัง่ ยืน โดยภาพ รวมของบรรจุภัณฑ์หลังจุด COVID-19 ต้องมีก�ำหนด รูปแบบอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย ผนวกกับ ความสามารถในการบรรจุและปกป้องผลิตภัณฑ์ เช่น ช่วยถนอมอาหาร ยืดอายุการเก็บรักษา ลดขยะให้ เหลือน้อยที่สุด ต้องอ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวก ช่วยลดเวลาในการใช้งาน แบ่งส่วนแยกใช้งานได้ พกพาได้งา่ ยและมีขนาดเล็กลง สามารถปิดผนึกและเปิดใช้งานได้ง่าย การก�ำจัดเมื่อ เลิกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังต้องค�ำนึงถึง ความรับผิดชอบในอนาคต ซึง่ ก็จะเข้าไปสูก่ ระบวนการ เลือกใช้วสั ดุทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมอย่างแท้จริงบวก กับการออกแบบใช้งานให้เกิดประโยชน์สงู สุด และต้อง มีความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอีกด้วย

อนาคตของบรรจุภัณฑ์หลังโลกยุคโควิด-19

65


การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design บทความโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสมภาณี ศรีสุวรรณ

ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นเวลาหนึ่งปีแล้วที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) ได้อุบัติขึ้นและระบาดไปทั่วโลกเป็น ระลอกๆอย่างต่อเนือ่ ง ครอบคลุมไปทัว่ ทุกทวีปของโลก การระบาดครัง้ นีไ้ ม่ใช่แค่วกิ ฤตการณ์ดา้ นสาธารณสุขของ โลกเท่านั้น แต่ยังน�ำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมครั้งรุนแรงเป็นประวัติการณ์อีกด้วย หลาย ประเทศด�ำเนินความพยายามควบคุมโรคด้วยมาตรการล็อกดาวน์หรือปิดประเทศ ปิดเมือง ห้ามไม่ให้ผคู้ นเดินทาง เข้า-ออกประเทศ ให้คนท�ำงานที่บ้าน (Work from home) ปิดสถาบันการศึกษาและให้เรียนออนไลน์จากที่บ้าน อันส่งผลให้ผคู้ นต้องปรับเปลีย่ นวิถชี วี ติ ในแง่ มุมต่างๆอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ทเี่ รียกว่า “ชีวติ วิถีใหม่ (New Normal)” ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย เมื่อออกนอกบ้าน ต้องเว้นระยะห่างส�ำหรับบุคคล ล้างมือบ่อยๆ เช็ดมือด้วยแอลกอฮอร์ สั่งอาหารมา ทานที่บ้าน ซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อต้อง ปฏิบัติกันเป็นปกติต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งจนเกิด เป็ น ความเคยชิ น ในที่ สุ ด ทั้ ง หมดนี้ ก็ ไ ด้ ก ลายเป็ น New Normal พฤติกรรมในการด�ำรงชีวิตแบบใหม่ใน สังคมโดยอัตโนมัติ

66

ในส่ ว นของบรรจุ ภั ณ ฑ์ จ ะเกิ ด อะไรขึ้ น หลั ง ยุ ค Covid-19? เป็ น ที่ แ น่ น อนว่ า บรรจุ ภั ณ ฑ์ นั้ น ก็ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก Covid-19 มาไม่ น ้ อ ย โดยขึ้ น อยู ่ กั บ วิ ถี ชี วิ ต ใหม่ แ ละพฤติ ก รรมที่ ป รั บ เปลี่ ย นไปของผู ้ บ ริ โ ภค ซึ่ ง ท� ำ ให้ เ ห็ น แนวทางการ ออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ นอนาคตที่ จ ะมารองรั บ ความต้ อ งการของผู ้ บ ริ โ ภควิ ถี ใ หม่ อ ย่ า งชั ด เจน 3 แนวทางด้วยกัน ดังนี้

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

วันการพิมพ์ไทย 2564


Sustainable packaging design ก่อนการระบาดของ Covid-19 พบว่าทัว่ โลกให้ความส�ำคัญของการออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์อย่างยัง่ ยืนเป็น อันดับต้นๆ โดยค�ำนึงถึงผล กระทบของบรรจุภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น การลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ ใช้ครั้งเดียว (Single use packaging) แต่ปัจจุบันการใช้ชีวิตในยุค Covid-19 แบบ New normal ของผู้คนกลับหัน มาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว เนื่องจากการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน ซึ่งต้องมี บรรจุภณ ั ฑ์หลากหลายลักษณะและรูปแบบ ประกอบกับความต้องการป้องกันตนเองในด้านสุขอนามัยและความ เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายไวรัส ความระแวงที่ไม่ต้องการใช้ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ จึงกลายมาเป็นปัญหาขยะล้นโลกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่จบสิ้น ดังนั้นแนวทางการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ยุค New normal จึงจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้นอีก ได้แก่ • เน้นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น • เลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถรีไซเคิลและน�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ • ก�ำจัดส่วนเกินจ�ำเป็นของบรรจุภัณฑ์ • การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจท�ำให้เกิดบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ หรือปรับบรรจุภัณฑ์เดิมให้ลดการสูญเสียน้อยลง

ภาพที่ 1) innisfree ผลิตภัณฑ์ บ� ำรุ งผิ ว จากเกาหลี เปลี่ ยน โฉมบรรจุ ภั ณ ฑ์ Intensive Hydrating Serum จากขวด พลาสติ ก มาเป็ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ eco-friendly โดยบรรจุภัณฑ์ ชั้นนอกท�ำจากกระดาษ ส่วน บรรจุภณ ั ฑ์ชนั้ ในเป็นพลาสติก รั ก ษ์ โ ลกที่ ส ามารถรี ไซเคิ ล ได้ ซึ่งลดการใช้พลาสติกไป ได้ถึง 51.8% เมื่อเทียบกับ บรรจุภัณฑ์เดิม เมื่อใช้เซรั่ม หมดแล้ ว ก็ ส ามารถแยกชิ้ น ส่ ว นกระดาษและพลาสติ ก ออกจากกันได้โดยง่าย เพื่อ ส่งไปรีไซเคิลต่อไป

วันการพิมพ์ไทย 2564

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

67


(ภาพที่ 2) ในบรรดาอาหาร Delivery นั้น พิซซ่าจัดเป็น เมนู ย อดนิ ย มที่ ผู ้ ค นชอบสั่ ง มารับประทานกัน และพิซซ่า แบรนด์ ดั ง อย่ า งPizza Hut ก็ ลุ ก ขึ้ น มาแปลงโฉมบรรจุ ภัณฑ์ใหม่จากกล่องสี่เหลี่ยม แบบเดิ ม ๆมาเป็ น กล่ อ งรู ป ทรงกลม ท�ำจากเยื่อกระดาษ plant-based meat ที่ เรี ย ก ว่า “Incogmeato” ที่สามารถ ย่อยสลายได้ ข้อดีของกล่อง รูปทรงกลมนี้ คือใช้กระดาษ น้ อ ยลงกว่ า กล่ อ งสี่ เ หลี่ ย ม แบบเดิม สามารถบรรจุพิซซ่า ได้ พ อดี ไม่ ก ลิ้ ง ไปมา และ เวลาจับซ้อนกันหลายๆกล่อง ก็จะซ้อนกันได้พอดีระหว่าง การขนส่ง นอกจากนี้ยังช่วย ให้พิซซ่ามีรสชาติที่อร่อยขึ้น กรอบขึน้ และยังร้อนๆเหมือน ทานที่ร้านอีกด้วย Designers: Pizza Hut and Zume

Hygiene-centric design ในช่วง Covid-19 ผู้คนให้ความสนใจและตระหนักในสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าในอนาคตแม้ Covid จะหายไปจากโลกนี้ คนก็ยังเห็นความส�ำคัญในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบ ว่า 2 ใน 3 ของผู้บริโภคเป็นกังวลว่าจะติดเชื้อไวรัสจากบรรจุภัณฑ์อาหาร และมากกว่า 40% ของผู้บริโภคจะใช้ น�้ำยาท�ำความสะอาดบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ซื้อมาก่อนน�ำมาบริโภค ตลอดจนหลีกเลี่ยงที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ร่วมกับผู้ อื่น จึงเป็นสาเหตุส�ำคัญให้บรรจุภัณฑ์อาหารแบบ Take away และ Delivery มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว (Single use packaging) เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในยุคนี้จึงต้องค�ำนึงถึง • ต้องแน่ใจว่าวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้สามารถปกป้องบรรจุภัณฑ์ให้ ปลอดภัยจากไวรัสได้ (จากการศึกษาพบว่าไวรัสโคโรนานี้สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวบรรจุภัณฑ์ ได้ 24 ถึง 72 ชั่วโมงแล้วแต่วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้) • เน้นความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เช่น การท�ำ temper-proof เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค โดยหลีกเลี่ยงการ ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เกินจ�ำเป็น • พัฒนาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ Delivery ให้เหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งาน • ให้ข้อมูลความปลอดภัยของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ หรือข้อความส�ำคัญที่ต้องการให้ผู้บริโภครับทราบและเชื่อใจ

68

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

วันการพิมพ์ไทย 2564


(ภาพที่ 3) ใหม่ล่าสุดจาก Toppan ได้ออกบรรจุภัณฑ์ Flexible packaging และ Folding carton ที่ใช้ฟิล์ม Virusweeper™ ซึ่ง สามารถป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ ในกรณีที่สัมผัสโดน บรรจุภัณฑ์ โดยฟิล์มดังกล่าวจะ ท� ำ หน้ า ที่ ล ดอนุ ภ าคของไวรั ส และแบคที เรี ย ลง ©Toppan Printing Co., Ltd.

(ภาพที่ 4) San Pellegrino เครือ่ งดืม่ รสส้มทีต่ อบรับความ ต้องการด้านสุขอนามัยได้เป็น อย่างดี ในยุค Covid-19 ที่ ผูค้ นไม่กล้าดืม่ จากตัวกระป๋อง โดยตรง โดยมีแผ่น foil ครอบ ฝากระป๋ อ งไว้ อี ก ชั้ น หนึ่ ง ช่ ว ยป้ อ งกั น ฝุ ่ น และละออง จ า ก ไว รั ส ห รื อ แ บ ค ที เรี ย ได้ระดับหนึ่ง

(ภาพที่ 5) บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป ตรา Wai Wai ของอินเดีย น�ำเสนอข้อมูลของ WHO เรื่องการล้างมือเพื่อช่วยป้องกันไวรัส โคโรนา Covid-19 ไว้ บ นด้ า นหลั ง ของซองบะหมี่ เพื่ อ กระตุ ้ น เตื อ นเด็ ก ๆที่ นิ ย มบริ โ ภคบะหมี่ ทั้ ง ในอิ น เดี ย และประเทศ อื่นๆในเอเชียตะวันออกให้ล้างมือเป็นกิจวัตร

วันการพิมพ์ไทย 2564

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

69


E-Commerce Shipment ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาใช้วิธีซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องส�ำอาง ตลอดจนของใช้ในบ้านหรือส่วนตัว หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านไป ซุบเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ร้านค้า หรือท�ำกิจกรรมอื่นๆนอกบ้านกันมากขึ้น ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้นจนเกิด พฤติกรรมที่เรียกว่า Nesting ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้คาดว่าน่าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอีกนาน เพราะผู้บริโภคได้รับ ความสะดวกสบายมากขึ้น แค่สั่งซื้อสินค้าทางคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือก็จะมีสินค้ามาส่งถึงบ้านแล้วใน ราคาประหยัดกว่า ในส่วนของบรรจุภัณฑ์สินค้าออนไลน์นั้นควรค�ำนึงถึง • การใช้วัสดุและออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละชนิด • ต้องแข็งแรงและปกป้องสินค้าจากความเสียหายต่างๆได้ดี เลือกใช้วัสดุกันกระแทกที่เหมาะสม • เน้นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ�้ำๆได้หลายครั้ง หรือรีไซเคิลได้ • บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ส่งสินค้าคืนได้สะดวก ในกรณีที่ลูกค้าต้องการคืนสินค้า

(ภาพที่ 6) ร้านอาหารจีนหงเปา (Hong Bao) น�ำเสนอนวัตกรรม กล่องอาหาร Hong Bao Heat Box เป็นกล่องท�ำความร้อนด้วย ไอน�้ำในตัวเอง มาพร้อม heat bag ที่เป็นตัวช่วยท�ำความร้อน สามารถอุ่นติ่มซ�ำทานร้อนๆ ได้แบบไม่ต้องใช้เตาหรือไฟฟ้าเลย โดยที่รสชาติและสัมผัสใกล้เคียงเหมือนยกมาเสิร์ฟจากที่ร้านเลย ส�ำหรับรองรับลูกค้าทีต่ อ้ งการสัง่ ไปทานทีอ่ นื่ ๆ ทัง้ แบบ Takeaway และ Delivery โดยสั่งผ่าน Facebook ของร้าน

70

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

วันการพิมพ์ไทย 2564


(ภาพที่ 7) ในกรณีทตี่ อ้ งใช้ซองเอกสารพลาสติกส่งเอกสารหรือ พัสดุสิ่งของ ลองทางเลือกที่เป็นซองย่อยสลายได้ (Compostable mailer) แบบนี้ก็น่าจะดีกว่า

(ภาพที่ 8) RePack ออกแบบถุ ง ใส่ ข องหรื อ สิ น ค้ า ที่ สั่ ง ซื้ อ ทางออนไลน์ เป็นถุง Reusable และ Returnable สามารถน�ำกลับมาใช้ได้ใหม่ และส่งสินค้ากลับ คืนร้านค้า ทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียว (Single-use packaging) (ภาพที่ 9) RePack Cycle

ที่มักจะพบว่าการซื้อสินค้าออนไลน์นั้นสร้างขยะถุง ขยะกล่องอย่างมหาศาล

ดั ง นั้ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ น อนาคตจะกลายเป็นจุดสนใจที่ ผู้บริโภคจะพิจารณาเป็นอันดับ แรก จึงจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนา และปรับเปลี่ยนเพื่อให้รองรับ ความต้องการของผู้บริโภคยุค วิถใี หม่ โดยเริม่ ต้นจากแนวทาง ก า ร อ อ ก แ บ บ ที่ เ น ้ น เรื่ อ ง e-commerce, sustainability, และ hygiene รวมถึ ง ความ สะดวกในการใช้งานหรือบริโภค เป็นส�ำคัญ References: https://www.allure.com/story/innisfree-intensive-hydrating-serum-paper-edition-review https://www.yankodesign.com/2019/10/22/pizza-huts-new-eco-friendly-round-boxes https://www.toppan.com/en/news/2021/02/newsrelease210218e.html https://www.sanpellegrinofruitbeverages.com/intl/beverages/fruit/aranciata https://waiwai.in https://www.facebook.com/hongbaorestaurant/ https://www.repack.com วันการพิมพ์ไทย 2564

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

71


บรรจุภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในระบบสายโซ่อุปทาน บทความโดย

ดร. ณัฐทินี บำ�บัดสรรพโรค

ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทั่วโลกก�ำลังเผชิญกับปัญหาด้านสาธารณสุขที่บีบให้ผู้คนต้องด�ำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่การถ่ายโอน หมุนเวียนของสินค้าทัว่ โลกได้รบั ผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์ทไี่ ม่เคยเกิดมาก่อน ส่งผลให้วถิ กี ารด�ำเนิน งานในระบบสายโซ่อปุ ทานทัว่ โลกต้องถูกประเมินอีกครัง้ อนาคตจะเป็นอย่างไร ก็ขนึ้ อยูก่ บั ผลของการจัดการและ ควบคุมสถานการณ์ในปัจจุบัน บรรจุภณ ั ฑ์ซงึ่ เป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการขนส่งและปกป้องสินค้าให้ถงึ มือผูบ้ ริโภคได้เข้ามามีบทบาท ชัดเจนในยุค New Normal การท�ำให้ผู้รับสินค้าหรือผู้ที่ท�ำงานในโซ่อุปทานปลอดภัยจากการสัมผัสวัสดุ บรรจุ ภัณฑ์ และสินค้าที่ปนเปื้อน เป็นสิ่งท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ ยังคงต้องมีหน้าที่ส�ำคัญในการปกป้องรักษาคุณภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ หรือ สินค้าอาหารที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจท่ามกลางการระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงมีความรุนแรงทั่วโลก นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ที่องค์การ อนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus disease 2019 หรือ COVID-19 หรือ SARS-CoV-2) เป็นภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขที่เป็นประเด็นระหว่างประเทศ เป็น ผลให้ ทุ ก มิ ติ ข องการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของผู ้ ค นทั่ ว โลก เปลีย่ นแปลงไป โดยต้องปรับตัวเข้าสูโ่ หมดการใช้ชวี ติ แบบ “ความปกติรปู แบบใหม่” หรือ “New Normal” ใน ขณะทีห่ น่วยงานด้านสาธารณสุขและนักวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกต้องท�ำงานเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขเพื่อท�ำให้ สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุม ภาคอุตสาหกรรม รวมถึ ง ผู ้ ที่ อ อกแบบพั ฒ นาบรรจุ ภั ณ ฑ์ เ องก็ ต ้ อ ง เตรียมการณ์และปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังกล่าว เนื่องจากมีการส�ำรวจพบว่าจ�ำนวนค�ำสั่งซื้อ อาหารและสินค้าทั่วโลกลดลง เพราะผู้บริโภคกังวล เกี่ยวกับการปนเปื้อนข้ามของเชื้อ SARS-CoV-2 บน พื้นผิวของวัสดุบรรจุภัณฑ์ (Li et al., 2020) และความ กลัวนี้อาจขยายไปถึงการขนส่งทั่วโลกเช่นกัน ถึงแม้ ในปัจจุบันจะยังไม่มีการรายงานกรณีจริงที่เกี่ยวกับ การแพร่เชื้อ COVID-19 ผ่านพื้นผิวของบรรจุภัณฑ์

72

บรรจุภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในระบบสายโซ่อุปทาน

ได้ แต่ประเด็นดังกล่าวก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ใน แวดวงสาธารณสุข โดยองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ [FAO] และองค์การอนามัยโลก [WHO] ได้เสนอว่าการสัมผัสบรรจุภัณฑ์อาหารหรือ ภาชนะที่ปนเปื้อนเชื้อ SARS-CoV-2 มีโอกาสส่งเชื้อ เข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางปาก จมูก หรือตาได้ (FAO & WHO, 2020) เนื่องจากเชื้อดังกล่าวมีโอกาสด�ำรงชีวิต อยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้เป็นระยะเวลานาน เช่น ด�ำรง อยู่บนกล่องกระดาษลูกฟูก เช่น กล่องไปรษณีย์ได้ นาน 24 ชั่วโมง หรือบนพื้นผิวพลาสติกได้นานมาก ถึง 72 ชั่วโมงหรือประมาณ 3 วัน (Van Doremalen et al., 2020) ในขณะที่รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่า ทองแดงเป็นโลหะชนิดเดียวที่เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ได้ สั้นที่สุด คือประมาณ 20 นาที - 4 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับ ปริมาณสารทองแดง) (Corpet, 2021) จากสถานการณ์ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ท�ำให้แวดวงการวิจัยและพัฒนา บรรจุภณ ั ฑ์จำ� เป็นต้องตืน่ ตัวอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ เพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการที่จะลดความเสี่ยงในการ สัมผัสเชื้อของผู้บริโภค

วันการพิมพ์ไทย 2564


ที ม นั ก วิ จั ย จากวิ ท ยาลั ย วิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย West Texas A&M เมืองแคนยอน รัฐ เท็กซัส ได้พัฒนาสติ๊กเกอร์ (sticker) ที่มีส่วนประกอบ ของทองแดง (ภาพที่ 1a) โดยการวิจัยรายงานผลว่า Copper CleanTM สติก๊ เกอร์ทองแดงมีคณ ุ สมบัตยิ บั ยัง้ และท�ำลายเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัสได้ สามารถน�ำไปติดบนพืน้ ผิววัสดุได้หลากหลาย เพื่อช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ถึงแม้ผลการศึกษาจะแสดงผลที่ดีมาก แต่ทีมวิจัยก็ ยังกังวลว่าสติ๊กเกอร์ดังกล่าว อาจจะยังคงไม่สามารถ แก้ปัญหาใรระดับโลกได้ (Marks, 2020) เช่นเดียว กับ COPPERplus แผ่นฟิล์มพลาสติกพอลิเอทธิลีนที่ มีส่วนผสมของทองแดงซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทใน ประเทศเกาหลีใต้ (ภาพที่ 1b) และได้รบั การรับรองจาก องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ว่า มีความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคจากการสัมผัสได้ จึง สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับร้านอาหารเพื่อการห่อ หุ้มโต๊ะ ถาดอาหาร หรือเมนูรายการอาหารที่มีลูกค้า สัมผัสบ่อย รายงานจาก Data Bridge Market Research แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมา ในปี 2020 ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กล่อง กระดาษลู ก ฟู ก ทั่ ว โลกเกิ ด การชะลอตั ว เนื่ อ งจาก ความต้ อ งการสิ น ค้ า อุ ป โภคบริ โ ภคและวั ต ถุ ดิ บ ใน อุตสาหกรรมลดลง ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ กล่องกระดาษลูกฟูกในภาคอุตสาหกรรมลดลงตาม มา แต่ในทางตรงข้าม กลับพบว่าการที่ผู้บริโภคไม่ สามารถออกไปจับจ่ายซื้อของได้ตามปกติ ท�ำให้การ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หรือการซื้อ ของออนไลน์ เติบโตขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญทั่วโลก ส่ง ผลให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกยัง สามารถประคับประคองไว้ได้ (Data Bridge Market Research, 2020; Overstreet, 2021) เพื่อขจัดความ กังวลใจของผู้รับสินค้าผ่านระบบไปรษณีย์ บริษัท DS Smith ผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกที่ มีชื่อเสียงของยุโรป (หลังจากการเข้าซื้อกิจการต่อ จาก Grupo Lantero ผู ้ ผ ลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ์ ก ระดาษ ลูกฟูกที่มีชื่อเสียงในประเทศสเปน) ได้ท�ำการพัฒนา และจดสิทธิ์บัต รเทคโนโลยีที่ชื่อ ว่า Touchguard® ซึ่งเป็นสารเคลือบที่สามารถพ่นหรือทาลงบนบรรจุ

วันการพิมพ์ไทย 2564

ภัณฑ์ส�ำหรับกล่องไปรษณีย์ (ภาพที่ 1c) กล่องสินค้า อุปโภคบริโภค บรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ (secondary pack) หรือแม้กระทั่งบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับการตั้งแสดงสินค้า (shelf-ready pack) ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีรานงานผล ว่า Touchguard® สามารถท�ำลายเชื้อ SARS-CoV-2 ได้อย่างชัดเจน แต่ผลการวิจัยที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่า Touchguard® มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสได้หลายชนิด รวมถึงไวรัสในตระกูลเดียวกับ SARS-CoV-2 (DS Smith, 2020)

ภาพที่1 a) สติ๊กเกอร์ CopperCleanTM b) ฟิลม์ พอ ลิเอทธิลนี COPPERplus c) กล่องกระดาษลูกฟูกทีม่ กี ารเคลือบ สาร Touchguard® (อ้างอิง: https://copperclean.com, https:// copperplusfilm.com, https://www.dssmith.com)

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

73


ภาพที่ 2 EasyTake Box ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Faller Packaging เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถหยิบชุดทดสอบแบบเร่ง ด่วนได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว และสามารถมองเห็นจ�ำนวนคงเหลือในกล่องได้จากด้านนอก (อ้างอิง: https://www.faller-packaging.com)

นอกจากบรรจุภัณฑ์จะเข้ามามีบทบาทใน การลดโอกาสการปนเปื้อนเชื้อของผู้ใช้งานสินค้าและ ผลิตภัณฑ์ผ่านการใช้สารต้านหรือฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ แล้ว การออกแบบทางโครงสร้าง (Structural design) เพื่ออ�ำนวยความสะดวกต่อการใช้งานของบุคลากร ทางการแพทย์ที่ช่วยให้การท�ำงานคล่องขึ้นในสภาวะ เร่งรีบ หรือการออกแบบที่ช่วยลดจ�ำนวนครั้งการ สัมผัสด้วยเทคโนโลยีระบบไร้สัมผัส (touchless) เพื่อ ลดการส่งผ่านเชื้อ ก็ก�ำลังเข้ามามีบทบาทส�ำคัญต่อ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ บริษัท Spindiag GmbH ผู้ ผลิตยาและชุดทดสอบแบบเร่งด่วน และบริษัท Faller Packaging ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ประเทศเยอรมนี ได้ พัฒนาบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษชื่อ EasyTake Box ส�ำหรับชุดตรวจเร่งด่วนทางการแพทย์สำ� หรับผูต้ ดิ เชือ้

74

บรรจุภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในระบบสายโซ่อุปทาน

COVID-19 โดยกล่องดังกล่าวได้รับการออกแบบมา เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสามารถ หยิบอุปกรณ์หลอด cartridges ส�ำหรับการทดสอบได้ อย่างง่ายดายและรวดเร็วด้วยมือเพียงข้างเดียว และ มีการเจาะช่องหน้าต่างเพื่อให้เห็นจ�ำนวนชุดทดสอบ ทีค่ งเหลือด้านใน (ภาพที่ 2) รูปทรงยังช่วยให้ประหยัด พื้นที่ในการจัดเรียงขณะขนส่ง เทียบกับบรรจุภัณฑ์ แบบเดิมทีต่ วั อย่างชุดทดสอบบรรจุอยูใ่ นถาดพลาสติก และหยิบสินค้าจากด้านบนลงไปด้านล่าง ยากต่อการ ตรวจสอบจ�ำนวนชุดทดสอบที่เหลือในกล่อง และการ หยิบชุดทดสอบอาจจ�ำเป็นต้องใช้มอื ทัง้ สองข้าง (Fuller Packaging, 2021)

วันการพิมพ์ไทย 2564


สังคมไร้การสัมผัส กลายเป็นหนึง่ ในโหมดการ ใช้ชีวิตแบบ new normal เนื่องจากผู้บริโภคให้ความ ส�ำคัญกับการสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง มากยิ่งขึ้น โดยเลือกที่จะไม่สัมผัสสินค้า สิ่งของ หรือ จุดสัมผัสต่าง ๆ ทีม่ คี นสัมผัสกันเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์จ�ำเป็นต้องค�ำนึง ถึงพฤติกรรมใหม่ดงั กล่าว การน�ำเทคโนโลยีบรรจุภณ ั ฑ์ อัจฉริยะ (smart packaging) เข้ามาช่วยให้การเลือกซือ้ สินค้าของผูบ้ ริโภค เป็นการส่งเสริมระบบการซือ้ สินค้า แบบไร้สมั ผัสหรือทีเ่ รียกว่า Touchless ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ปกติ ผู้บริโภคมักจะหยิบจับสินค้าจาก ชั้นตั้งวางสินค้าเพื่ออ่านรายละเอียดต่างๆ บนบรรจุ ภัณฑ์ แต่เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้ผลิต สินค้าก็จ�ำเป็นต้องท�ำการปรับเปลี่ยน โดยอาจเพิ่ม การให้ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ผ่านบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ (QR code) โดยออกแบบให้บาร์โค้ดดังกล่าวถูกแสดง อยู่บนด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึง ข้อมูลรายละเอียดสินค้าได้ โดยการสแกนข้อมูลผ่าน มือถือแบบไม่ต้องสัมผัสสินค้า แม้จะมีข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีน COVID-19 ที่ จะสามารถช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของโรคได้ แต่ หนึ่งในประเด็นที่หลายฝ่ายกังวล คือ เรื่องของการ ขนส่งและจัดเก็บวัคซีน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความ ส�ำคัญอย่างมาก ไม่เช่นนั้นวัคซีนก็อาจกลายเป็น เพียงน�้ำธรรมดาเพราะสิ้นประสิทธิภาพ จากกรณีที่มี รายงานว่าพบวัคซีน COVID-19 ของบริษทั โมเดอร์นา (Moderna) กว่า 2,000 โดส ถูกจัดเก็บในอุณหภูมิต�่ำ เกินไประหว่างการขนส่งและจัดเก็บในประเทศสวีเดน ถึงแม้จะยังไม่มรี ายงานว่าวัคซีนมีโอกาสเสือ่ มคุณภาพ จากการจัดเก็บที่อุณหภูมิต�่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ แต่ ก็สง่ ผลให้วคั ซีนล็อตดังกล่าวไม่สามารถถูกกระจายต่อ ไปยังศูนย์ให้บริการได้ (Reuters, 2021) หรือจากกรณี ที่เภสัชกรคนหนึ่งในโรงพยาบาล Aurora Health Care Medican Group รัฐวิสคอนซินของสหรัฐ ถูกจับกุม หลังจากตัง้ ใจท�ำลายวัคซีนต้าน COVID-19 ให้เสียหาย โดยการน�ำวัคซีนออกมาจากตู้แช่ของโรงพยาบาล มา ทิ้งไว้ข้างนอก ท�ำให้วัคซีนใช้การไม่ได้มากกว่า 500 โดส (Steve and Rebecca, 2021) ส่งผลให้การควบคุม ดูแลเฝ้าสังเกตการณ์อุณหภูมิของวัคซีนเป็นเรื่องที่ จ�ำเป็น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และ ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสินค้าระหว่าง การขนส่ง การเก็บรักษา และแสดงสถานะแจ้งเตือนผู้ วันการพิมพ์ไทย 2564

ใช้งาน เช่น บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะจึงได้รับความสนใจ การปกป้องวัคซีนให้มีคุณภาพพร้อมใช้งานเป็นเรื่อง ที่มีความจ�ำเป็นอย่างมาก ยิ่งในสถานการณ์ที่ทั่วโลก ก�ำลังขาดแคลนและมีความต้องการวัคซีนสูง บริษัท Chromatic Technologies Inc. (CTI) ได้ร่วมมือกับ American Thermal Instruments (ATI) ในเมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ บริจาคเทคโนโลยีตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจ สอบการปนเปือ้ นและการปลอมแปลงทีส่ ามารถพิมพ์ ผลตรวจได้ (Printable temperature, Tampering and Authentication technology) (ภาพที่ 3) เพือ่ ป้องกันการ ปลอมแปลงและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ของยาใหม่ทั้งหมดที่ใช้ในการรักษาโรค COVID-19 โดยผู้น�ำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ ไม่จ�ำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย (FREE-OF-CHARGE) ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวมีเป้าหมาย คือ การปกป้องยาที่ก�ำลังถูกแจกจ่ายไปยังบุคลากร ทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อย 100 ล้านหน่วย ส�ำหรับการบริจาคครัง้ นี้ คิดเป็นมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (Eidal, 2020)

ภาพที่ 3 a) BlindSpotz™ Freeze Alert Sensor และ b) BlindSpotz™ High Heat Sensor (อ้างอิง: https://www.ctiinks.com/newsroom)

การออกแบบบรรจุภัณฑ์วิถีใหม่: New Normal for Packaging Design

75


ณ วันนี้ ถึงแม้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัส COVID-19 ทัว่ โลกยังไม่คลีค่ ลาย กิจกรรม หลายๆ อย่างในระบบสายโซ่อปุ ทานยังคงหยุดชะงักหรือชะลอตัว และความยาวนานของสถานการณ์วกิ ฤต นี้ส่งผลให้รูปแบบการด�ำเนินชีวิตรวมถึงพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ภาค อุตสาหกรรมทีม่ แี นวโน้มได้รบั ประโยชน์จงึ ควรต่อยอดพัฒนาศักยภาพของตนให้เพิม่ มากขึน้ อุตสาหกรรม บรรจุภณ ั ฑ์ซงึ่ ได้รบั ผลเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอืน่ ๆ จากการเผชิญกับแรงกดดันในตลาดควรน�ำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมเข้ามาช่วย เพือ่ ตอบสนองความต้องการของตลาดและผูบ้ ริโภคให้ดขี นึ้ ทัง้ ยังเป็นการสร้าง ความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระบบสายโซ่อุปทานหลังสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลง เอกสารอ้างอิง Corpet, D.E., 2021. Why does SARS-CoV-2 survive longer on plastic than on paper? Medical Hypotheses 146, 110429. Data Bridge Market Research, 2020. COVID-19 impact on corrugated packaging in the materials and packaging industry. https://www.databridgemarketresearch.com/covid-19-resources/covid-19-impact-on-corrugated-packaging-in-the-materials-and-packaging-industry. (Accessed April 2021). DS Smith, 2020. DS Smith to launch virus-resistant packaging. https://www.dssmith.com/us/packaging/ about/media/news-press-releases/2020/12/ds-smith-to-launch-virus-resistant-packaging. (Accessed April 2021). Eidal, L., 2020. Chromatic technologies’ scientists join fight against COVID-19 virus. https://www.ctiinks. com/post/chromatic-technologies-scientists-join-fight-against-covid-19-virus?fbclid=IwAR2PNEzWo0Ccbn_ pfkZSu09oi6y3XrUllAHRrk1qvauQSDvBGYwOFqvvIic. (Accessed April 2021). FAO & WHO, 2020. COVID-19 and food fafety: guidance for food businesses: interim guidance, 07 April 2020, Interim Guidance. World Health Organization, Geneva. Fuller Packaging, 2021. Intelligent packaging for rapid COVID-19 testing. https://www.faller-packaging. com/en/current/news/intelligent-packaging-for-rapid-covid-19-testing. (Accessed April 2021). Li, C., Mirosa, M., Bremer, P., 2020. Review of online food delivery platforms and their impacts on sustainability. Sustainability 12(14), 5528. Marks, M., 2020. How copper stickers might reduce COVID-19 risk. https://www.texasstandard.org/ stories/how-copper-stickers-might-reduce-covid-19-risk/. (Accessed April 2021). Overstreet, K., 2021. COVID trickle-down tied to potential corrugated shortage. https://www.packworld.com/ covid-19/article/21232667/covid-trickledown-tied-to-potential-corrugated-shortage. (Accessed April 2021). Reuters, 2021. Sweden gives 1,000 people COVID-19 shots kept at too low temperature. https://www. reuters.com/article/us-health-coronavirus-vaccine-sweden-idUSKBN29R1QL. (Accessed April 2021). Steve, G., Rebecca, S., 2021. Wisconsin pharmacist arrested on charges of sabotaging COVID vaccine doses. https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-usa-pharmacist-idUSKBN2961YF. (Accessed April 2021). Van Doremalen, N., Bushmaker, T., Morris, D.H., Holbrook, M.G., Gamble, A., Williamson, B.N., Tamin, A., Harcourt, J.L., Thornburg, N.J., Gerber, S.I., 2020. Aerosol and surface stability of SARS-CoV-2 as compared with SARS-CoV-1. New England Journal of Medicine 382(16), 1564-1567

76

บรรจุภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในระบบสายโซ่อุปทาน

วันการพิมพ์ไทย 2564


การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ในโลกยุค Covid 19 บทความโดย

ผศ.ดร.พิชิต ขจรเดชะ

ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การระบาดของไวรัส Covid 19 ได้สร้าง วิกฤตต่อระบบเศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขของ โลกและของไทย ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิต ของผู ้ ค นและสร้ า งผลกระทบทางเศรษฐกิ จ ต่ อ ทุ ก กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และ บรรจุ ภั ณ ฑ์ สามารถใช้ วิ ก ฤติ จ ากการระบาดของ ไวรัส Covid 19 ให้เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะ เป็นการปรับตัว ปรับรูปแบบธุรกิจ การพัฒนาทักษะ แรงงาน Upskill & Reskill การท�ำการตลาดในช่อง ทางใหม่ ๆ การปรับเปลี่ยนระบบการผลิต เทคโนโลยี เครื่องจักร การสร้างนวัตกรรม เป็นต้น พัฒนาให้ สอดคล้องกับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ “New normal” แต่

ทั้งนี้การด�ำเนินธุรกิจอยู่รอด การพัฒนาและบริหาร จัดการองค์กรให้มีความยั่งยืน จะต้องค�ำนึงถึงการ บริหารความเสีย่ งขององค์กรทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถ รองรับต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ในบทความนี้จะ อธิบายถึง ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์กับการระบาดของ Covid 19 และแนว โน้มของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์หลังโลก ยุค Covid 19 เพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางการปรับใช้ ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละบริษัท เพื่อพลิกโฉม ธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 และเพื่อการพัฒนาองค์กร ให้มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ กับการระบาดของ Covid 19 การระบาดของ Covid 19 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การ บริการ พฤติกรรมลูกค้า การเงิน การขนส่งต่าง ๆ เป็นต้น หลายธุรกิจถูกผลกระทบอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม การบิน หลายธุรกิจได้รับโอกาสในการเติบโต เช่น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ระบบ ออนไลน์ อุปกรณ์และเครือ่ งมือทางการแพทย์ เป็นต้น moody’s investors service ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมบรรจุ ภัณฑ์วา่ เป็นอุตสาหกรรมทีไ่ ด้รบั ผลกระทบน้อยจากการระบาดของ Covid 19 แต่ทงั้ นีอ้ ตุ สาหกรรมทีม่ คี วามพร้อม มีการบริหารความเสีย่ งและความสามารถในการปรับตัว จะปรับเปลีย่ นวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างรวดเร็วและได้รบั ผลกระทบน้อยกว่าองค์กรที่ไม่ได้เตรียมตัว

วันการพิมพ์ไทย 2564

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

77


รูปที่ 1 ประเภทของธุรกิจและผลกระทบจากการระบาดของ Covid 19

ความเสีย่ ง คือ โอกาสทีจ่ ะเกิดความเสียหาย ความผิดพลาด ความสูญเปล่า หรือการกระท�ำหรือเหตุการณ์ทไี่ ม่พงึ ประสงค์ให้เกิดขึ้น อันเกิดภายใต้ความไม่แน่นอนของสถาณการณ์ต่าง ๆ ส่งผลให้การด�ำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตาม เป้าประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการปฏิบัติงาน การผลิต การเงิน การบริหารงานและบุคคลต่าง ๆ การ ประเมินความเสีย่ งเป็นหนึง่ ในองค์ประกอบทีช่ ว่ ยให้องค์กร สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับวิกฤติหรือสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การประเมินความเสี่ยงจึงเป็นรากฐานส�ำคัญของการบริหารธุรกิจ โดยในการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการระบุความเสี่ยง การประเมิน ควบคุมดูแลและทบทวนความเสี่ยงเป็นประจ�ำ ถือเป็นการบริหาร งานเชิงรุกที่องค์กร บริษัทต่าง ๆ ต้องท�ำและน�ำมาปฏิบัติ เพื่อให้การด�ำเนินงานขององค์กรท�ำได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ ลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงสามารถจ�ำแนกได้หลายลักษณะได้แก่

• ความเสี่ยงทางการเงิน

เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงิน งบประมาณ กระแสเงินสด การลงทุน สภาพคล่อง และความน่าเชื่อถือทางการเงิน เสถียรภาพทางการ เงินความสามารถในการช�ำระหนี้ของลูกค้า เป็นต้น • ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ คือความเสี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ไม่วา่ จะเป็นกระบวนการท�ำงาน การสือ่ สาร เทคโนโลยี อุปกรณ์ ทักษะและความพร้อมของบุคลากร ฯลฯ เป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการขาดขั้นตอน วิธี การ การก�ำกับดูแลที่ดี หรือขาดการปฏิบัติ การตรวจ สอบ การอบรม การแบ่งหน้าที่การท�ำงานที่ชัดเจน ท�ำให้ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจถึงขั้นตอน วิธีการปฏิบัติที่ถูก ต้องและเหมาะสม หรือขาดทรัพยากรที่จ�ำเป็นใน การด�ำเนินงาน และที่ส�ำคัญคือขาดแผนการบริหาร ความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อรองรับต่อภาวะฉุกเฉิน 78

ต่ า ง ๆ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น เช่ น การประสบอุ บั ติ เ หตุ การติดเชื้อไวรัส Covid 19 ในสถานประกอบการ เป็นต้น • ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามระเบียบ และกฎหมาย ความเสี่ ยงที่ สถานประกอบการต้ อง ปฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บ กฎหมายและข้ อ ก� ำ หนดของ รัฐบาล มาตรฐานสากล เช่น ระเบียบ กฎหมาย พระ ราชกฤษฎีกา ระเบียบข้อบังคับ ข้อก�ำหนดของทางการ ข้อก�ำหนดทางการค้า การกีดกันทางการค้า นโยบาย ของรัฐ สัญญาและการผิดสัญญาข้อผูกพัน การขาด การรายงานตามกฎต่าง ๆ หรือการไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบและกฎต่าง ๆ ที่ได้ระบุเอาไว้ เป็นต้น

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

วันการพิมพ์ไทย 2564


• ความเสี่ยงที่เกิดใหม่

เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในปัจจุบันยังไม่ปรากฎชัดเจน สาเหตุอาจจะมา จากสภาวะแวดล้ อ ม การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คม เทคโนโลยี ค่านิยม การพัฒนานวัตกรรม การดิสรัป ชันของอุตสาหกรรม เป็นต้น ความเสี่ยงประเภทนี้จะ ระบุได้ยากแต่สามารถคาดการณ์ได้จากการติดตาม ข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี บริบท ทางสังคม กฎหมายต่าง ๆ ฯลฯ และเมื่อเกิดขึ้นการ เปลี่ยนแปลงจะส่งกระทบอย่างรุนแรงต่อการด�ำเนิน ธุรกิจ สถานประกอบการต้องติดตามและรวบรวม ข้อมูลข่าวสารที่จ�ำเป็น เกี่ยวข้องพร้อมทั้งแสวงหา แนวทางการแก้ไข การปรับเปลี่ยน การหลีกเลี่ยง ผลกระทบที่มีต่อองค์กรอย่างประจ�ำ สม�่ำเสมอ และ ทันต่อเวลาและสถานการณ์ • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงที่เกิดจากการวางแผนและ ก�ำหนดกลยุทธ์ของสถานประกอบการ ที่อาจจะไม่

สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมในปัจจุบนั เช่น เศรษฐกิจ สังคม สถานการณ์โลก กลไกตลาด แผนการ ค้า หรือวิธีการ การก�ำกับดูแลหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตามแผนกลยุทธ์ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม โครงสร้าง องค์กร แผนการค้า ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมไม่ สอดคล้องกับเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ การขาดความ ยืดหยุน่ ในการด�ำเนินงาน การขาดแผนกลยุทธ์ทงั้ ระยะ สั้น ระยะยาว ขาดการทบทวน การก�ำกับดูแล การ ติดตามแผนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทปี่ รับเปลีย่ น • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ด้านความปลอดภัย ชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม การจัดการอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน เช่น ข้อก�ำหนดด้านความปลอดภัยภายในองค์กร การแต่ง กาย อาคารหรือสถานที่ แสงสว่าง เสียง การระบาย อากาศ ฝุ่น ไอระเหย ที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ก�ำหนด เป็นต้น

รูปที่ 2 การบริหารจัดการช่วงวิกฤติและแผนความต่อเนื่องในการด�ำเนินธุรกิจ ที่มา KPMG การประเมินผลกระทบต่อธุรกิจจากโควิท 19

วันการพิมพ์ไทย 2564

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

79


จากข้อมูลความเสี่ยงพื้นฐานที่ได้กล่าวมา มาผสานกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์กับยุค covid 19 จาก บริษัท Simon-Kucher , smithers , printing impressions และ Mckinsey & Company สามารถสรุปเป็นรูปแบบและแนวทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ในโลกยุค Covid 19 ตัวอย่างดังตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 ความเสี่ยงและแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้น บริษัท ความเสี่ยง และแนวโน้ม ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

Packaging Europe

printing impressions

ด้านการเงิน

ระงับการลงทุนด้าน เครื่องจักร / ลงทุน ด้านเครื่องพิมพ์ ดิจิตอลที่พิมพ์งานสั้น, คืนทุนเร็ว

การวิเคราะห์กำ�ไร quick turnaround, จากการเปรียบเทียบ profits, ประสิทธิภาพการ ทำ�งาน,สภาพคล่อง ทางการเงินและงบดุล

ด้านการปฎิบัติการ

- Automated printing process - high-production digital - workflow automated - fully integrated workflow

- Adding Value to Digital Printing - Operational efficiency - experienced employees - พนักงานขายที่มี ความรู้เชิงลึก

80

businesswire

step-and-repeat for label ( เพื่อลดเวลา และต้นทุนการผลิต ฉลาก )

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

Mckinsey & Company

smithers

- Economic downturn - changing consumer behavior

- Manage cost - Rapidly changing consumer preference

- Growth in e-commerce - Increasingly connected world; individuals and industry 4.0 DIGITISATION (Alternatives to physical print & workflow automation ) - ROBOTICS (Physical manufacturing & Software)

- automation - shift to online and e-commerce

วันการพิมพ์ไทย 2564


ความเสี่ยงที่เกิดใหม่ - on-time delivery - e-delivery - Speed and personalization - changes in the global supply chain

- premium products - industry experts center (educational resources)

paper label (wine labels ) new solutions (food products, higher-quality packaging, brand protection, embellishments, and sustainable printing )

- ARTIFICAL INTELLIGENCE (Print machine efficiency & workflow optimization ) - BLOCKCHAIN (Security and Transactions ) - INTERNET OF THINGS (Machine efficiency & supply chain automation ) - SMART TECHNOLOGY (Adding functionality to print and packaging )

- digital, advanced analytics - Digitization of packaging ( Internet of Things ) - Fast-moving consumer goods - single-use packaging

ความเสี่ยงด้าน กลยุทธ์

- Innovations in digital printing technology

- on-demand (short and medium runs ) - print innovative and attractive labels

- SUPPLY CHAIN ( Securing supply & time to market ) - SUSTAINABILITY ( Circular economy & consumer perception ) - RETAIL CHANGES ( Growth in e-commerce) - CONSUMERS (Social media )

- integrate sustainability and hygiene and safety - Update product and technology strategy road map - Scan new markets - supply chain disruptions

n/a

n/a

n/a

- personal protective - clean its buildings - checklists - splitting of teams

- Shorter print runs and faster turnaround - Easy-to-operate systems

ความเสี่ยงด้าน - cleaning products ความปลอดภัยอาชีว อนามัย และสภาพ แวดล้อม

ข้อมูลจากprinting impressions : Guiding Your Printing Company to Profitability Post COVID-19 Packaging Europe : The impact of COVID-19 on the pan-European printing industry businesswise: Global Packaging Printing Market (2021 to 2026) - Growth, Trends, COVID-19 Impact, and Forecasts Smithers: The Future of Print in a post covid word Mckinsey & Company Shaping the next normal of packaging beyond COVID-19

จากตัวอย่างข้อมูลพบว่า การลงทุนต่าง ๆ อาจมีการชะลอตัว แต่ยังมีการลงทุนโดยเลือกเทคโนโลยีที่ จ�ำเป็นและสอดคล้องกับ การผลิต พฤติกรรมและสภาพสังคมที่ปรับเปลี่ยนไป การพัฒนานวัตกรรม การพิมพ์ ตามสั่ง การน�ำระบบอัตโนมัติมาใช้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สาธารณะสุข การตลาดสมัยใหม่ การผลิตทีร่ วดเร็ว เป็นต้น ความเสีย่ งต่าง ๆ ทีค่ าดว่าจะเกิดขึน้ และข้อมูลแนวโน้มของอุตสาหกรรมการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์หลังโลกยุค Covid 19 ผู้ประกอบการต้องท�ำการศึกษาข้อมูล ปรับตัวเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างต่อ เนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น วันการพิมพ์ไทย 2564

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

81


แนวโน้มของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ หลังโลกยุค Covid 19 อุตสาหกรรมการพิมพ์ จากรายงาน Print Media Global Market Report 2021: COVID 19 Impact and Recovery to 2030 ของ reportlinker ได้ รายงานถึงการเติบโตของตลาดสื่อสิ่งพิมพ์ท่ัวโลก ( หนังสือ นิตยสาร วารสาร ไดเร็กเมล์ ฯลฯ ) จะเติบโต จาก 287.87 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 เป็น 313.28 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 8.8% และคาดว่าจะสูงถึง 342.81 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2568 มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 2% , จากแนว โน้มที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มสูงมากขึ้นและ ได้มีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้ ส่งผลให้มีข้อมูล ขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนผสาน จึงมีการน�ำเอา กระบวนการวิเคราะห์ ( Big Data Analytics) มาใช้เพือ่ ช่วยให้ส�ำนักพิมพ์และบริษัทโฆษณาสามารถศึกษา พฤติกรรมของผู้บริโภค น�ำผลมาพัฒนาการท�ำการ ตลาด การวางแผนและการประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่ม เป้าหมาย มีการจัดท�ำโฆษณาสินค้าส่งเสริมการขาย ปลีก อาหาร และเครือ่ งดืม่ ผ่านทางสือ่ สิง่ พิมพ์เพิม่ ขึน้ E-commerce / Retail การวางแผนการผลิต การจัดการ สินค้าคงคลังและความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นต้น ใน ช่วงการระบาดของไวรัส Covid 19 ได้ส่งผลต่อตลาด สือ่ สิง่ พิมพ์บางแห่งเนือ่ งจากธุรกิจต่าง ๆ ได้หยุดชะงัก คาดว่าความต้องการหนังสือแบบกระดาษจะลดลง 2.8 % แต่ยอดขาย eBooks ในสหรัฐอเมริกาและ ยุโรปจะเพิ่มขึ้น 11.7 %

Cloudprinter.com ได้ทำ� การศึกษาผลกระทบ ของการระบาดของไวรัส Covid 19 กับอุตสาหกรรม การพิมพ์และ e-commerce การระบาดดังกล่าวได้ สร้างวิกฤตและโอกาสในหลาย ๆ กลุ่มอุตสาหกรรม พฤติ ก รรมของคนได้ ป รั บ เปลี่ ย นไป มี ก ารซื้ อ ขาย ออนไลน์มากยิง่ ขึน้ ส่งผลดีตอ่ อุตสาหกรรมบรรจุภณ ั ฑ์ การล็อกดาวน์พื้นที่ส่งผลต่อช่องทางการจัดจ�ำหน่าย และห่วงโซการผลิตทัว่ โลกได้หยุดชะงัก ในขณะทีค่ วาม ต้องการสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์มีจ�ำนวนเท่าเดิมหรือ เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มีการกระจายการ ผลิตสูโ่ รงพิมพ์ในพืน้ ทีห่ รือโรงพิมพ์ SMEs ถ้าโรงพิมพ์ ดังกล่าวมีการพัฒนาการผลิตที่ได้มาตรฐาน จะสร้าง โอกาสในการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ได้ หรือ การใช้ระบบอัตโนมัติ ที่ครอบคลุมตั้งแต่การรับค�ำสั่ง ซื้อ การวางแผนการผลิต เครื่องจักร วัตถุดิบ จะช่วย ลดต้นทุนในการผลิตลดความเสีย่ งการติดเชือ้ ไวรัสของ คนงานต่าง ๆ ได้ เป็นต้น บริษัท Jellyfish เจ้าของ magazine.co.uk และ Pocketmags.com ได้น�ำเสนอบทความเรื่อง Magazine subscriptions boom amid the COVID-19 crisis กล่าวถึง การสมัครเป็นสมาชิกนิตยสารประเภท สิ่ ง พิ ม พ์ เ พิ่ ม สู ง มากขึ้ น ตั้ ง แต่ มี ก ารล็ อ กดาวน์ พื้ น ที่ เนื่องจากต้องกักตัวเองอยู่แต่ในที่พักอาศัย ท�ำให้มี เวลาว่างเพิ่มมากขึ้น ความต้องการพัฒนาทักษะและ ความรู้ใหม่ ๆ ความบันเทิง ผ่อนคลาย จ�ำนวนครั้ง ที่ถูกเข้าชมในหมวดด้าน เด็ก บ้านและสวน และสตรี เพิ่มสูงขึ้น 502% 403% และ 325 % ตามล�ำดับ

รูปที่ 3 จ�ำนวนครั้งที่ถูกเข้าชมในช่วงการระบาดของไวรัส Covid 19 82

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

วันการพิมพ์ไทย 2564


รูปที่ 4 แนวโน้มของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของไวรัส Covid 19 ที่มา Shaping the next normal of packaging beyond COVID-19 : Mckinsey & Company

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ บทความเรื่อง COVID-19’s Impact on the Packaging Industry ของ play and plug ได้กล่าวว่าก่อนการระบาดของ ไวรัส Covid 19 เป้าหมายของอุตสาหกรรมคือการ พั ฒนาบรรจุภัณฑ์อ ย่างยั่ง ยืน การเป็ น มิ ต รต่ อสิ่ ง แวดล้อม การใช้ซ�้ำและย่อยสลายได้ได้ชีวภาพ การ เลิกใช้พลาสติกแบบครัง้ เดียวทิง้ ผูบ้ ริโภคยินดีทจี่ ะจ่าย เงินเพิม่ ถ้าสินค้าหรือบรรจุภณ ั ฑ์ได้ปฏิบตั ติ ามแนวทาง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่จากเมื่อมีการระบาด ได้ มีความกังวลใจเกีย่ วกับสุขอนามัยและความปลอดภัย ของบรรจุภัณฑ์ การแพร่กระจายของไวรัสความกังวล เกีย่ วกับบรรจุภณ ั ฑ์ทใี่ ช้ซำ�้ ได้ ส่งผลให้การพัฒนาบรรจุ ภัณฑ์อย่างยัง่ ยืนได้หยุดชะงักลงชัว่ คราว มีการเติบโต ของดิจิตอลพริ้น e-commerce และการเพิ่มขึ้นของ การใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ภายใต้สถานการณ์ดัง กล่าวอุตสาหกรรมบรรจุภณ ั ฑ์จะต้องท�ำการปรับสมดุล เป้าหมายของการพัฒนาทีต่ อ้ งค�ำนึงถึงเรือ่ งสุขอนามัย และความปลอดภัยด้วย สอดคล้องกับบทความเรื่อง Shaping the next normal of packaging beyond COVID-19 ของ Mckinsey & Company ที่ได้กล่าวถึง

วันการพิมพ์ไทย 2564

การให้คำ� นิยามใหม่ของพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์อย่างยัง่ ยืน ทีค่ ำ� นึงถึงข้อกังวลด้านสุขอนามัย ความต้องการทีเ่ พิม่ ขึน้ ของ E-commerce กับ e-channels ทีส่ ง่ ผลต่อบรรจุ ภัณฑ์ทตี่ อ้ งค�ำนึงถึงการขนส่ง มีความแข็งแรงมากกว่า เดิม และต้องรองรับกับระบบคงคลังสินค้าอัตโนมัติ รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจท�ำให้พฤติกรรมของ ผู้บริโภคปรับเปลี่ยน การใช้จ่ายที่รอบคอบ จะซื้อ เท่าที่จ�ำเป็น ผ่านช่องทางที่สะดวกและไม่แพง เป็น สินค้า Fast-moving consumer goods หรือ FMCG ที่จ�ำหน่ายเร็วและมีต้นทุนต�่ำ ใช้แล้วหมดไป เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน�้ำ ยา ของเล่น อาหารส�ำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องมี ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่นในการผลิตที่ เหมาะสมกับสินค้าประเภท FMCG เนื่องจากบริษัทผู้ ผลิตสินค้าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปรับเปลี่ยนง่าย ผลิต ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ต�่ำ เพื่อตอบ สนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค การท�ำงาน วิจยั ร่วมกับบริษทั ผูผ้ ลิตสินค้าในการพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ และการวางแผนการผลิต

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

83


การระบาดของไวรัส Covid 19 ผสานกับการ ประยุกต์การผลิตบรรจุภณ ั ฑ์ ดิจติ อลพริน้ และ e-commerce ได้ส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ เนื่องจากมี “ความต้องการใหม่” ของผู้ บริโภค ทีผ่ ผู้ ลิตจะต้องท�ำการบ้านเพือ่ พัฒนาการผลิต ให้เข้าถึงกลุม่ ลูกค้าและความต้องการใหม่ ๆ ทีเ่ พิม่ สูง ขึ้น การระบาดของไวรัส Covid 19 ท�ำให้บางประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกกฎการห้ามใช้พลาสติก แบบครั้งเดียวทิ้งและห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ซ�้ำ เป็นการชั่วคราว ในขณะที่ประเทศไทย มีการเพิ่มขึ้น ของขยะพลาสติก 15 % เป็นช่วงเวลาสร้างความสมดุล ระหว่างความกังวลใจด้านสุขอนามัยกับความรับผิด ชอบต่อสิง่ แวดล้อมเพือ่ การผลิตบรรจุภณ ั ฑ์ทปี่ ลอดภัย และยั่งยืน. Packaging Digest ได้ออกบทความเรื่อง COVID-19 and the New Future of Packaging เกี่ยว กับการระบาดของไวรัสและอนาคตใหม่ของบรรจุภณ ั ฑ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค การสร้างโอกาสในการพัฒนาวิธกี ารซือ้ สินค้าทีส่ ะดวก ยัง่ ยืนและปลอดภัย โดยได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนา ที่ส�ำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) e-commerce การเพิ่มขึ้นของการซื้อขาย ออนไลน์ ส่งผลให้มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่ม มาก ขึ้น บรรจุภัณฑ์ต้องเปิดง่ายและมีขนาดที่สะดวก ต่อการขนส่ง ปกป้องสินค้าและเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อ มวลชน 2) Rise of touchless ในขณะเกิดการระบาด ผู้บริโภคจะหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับสินค้า มี การซื้อสินค้าไปท�ำที่บ้าน รูปแบบบรรจุภัณฑ์จะต้อง สวยงาม ทนทานต่อการงัดแงะแต่สามารถเปิดได้ง่าย

เพื่อให้การเตรียมอาหาร สะดวก ง่ายและปลอดภัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่รองรับการจ่ายเงินที่ สะดวก ใช้เทคนิคทางการพิมพ์เพื่อเพิ่มให้บรรจุภัณฑ์ มีความโดดเด่นและรองรับการรีไซเคิล 3) Evolution of restaurants. วิวฒ ั นาการของ ร้านอาหาร เนื่องจากผู้คนบางส่วนต้องการบรรเทา ความเหนือ่ ยล้าจากการท�ำอาหารทีบ่ า้ น แต่ไม่สะดวก ที่จะออกมาทานอาหารที่ร้านอาหาร จึงเกิดความ ท้าทายส�ำหรับร้านอาหารทีใ่ ห้บริการแบบการซือ้ กลับ บ้านหรือการจัดส่งอาหารทีต่ อ้ งรวดเร็ว ปลอดภัยและ ถูกสุขอนามัย เป็นอีกหนีง่ โอกาสในการพัฒนาโซลูชนั่ บรรจุภัณฑ์ส�ำหรับร้านอาหารที่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ สะดวก ปลอดภัย เปิดง่าย ป้องกันการเปิด รวมไปถึง ความสามารถในการแช่เย็นและอุ่นด้วยไมโครเวฟ 4) Trading up or down เนื่องจากผลกระทบ ทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยน การใช้สนิ ค้าจาก brand-name products เป็น “Private Label” หรือ “House Brand” เป็นสินค้าเฉพาะ ของร้าน ค้าปลีกนั้นๆ โดยอาจจะผลิตขึ้นโดยห้างเอง หรือมีผู้ ผลิตแบบ OEM เป็นสินค้าทีเ่ น้นความคุม้ ค่าด้านราคา เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคทีล่ กู ค้าใช้อยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวัน เช่นสบู่ ยาสีฟนั แปรงสีฟนั ครีมทาผิว เป็นต้น การผลิต บรรจุภัณฑ์ส�ำหรับ Private Label เป็นอีกหนึ่งโอกาส ในการผลิตบรรจุภณ ั ฑ์/ฉลากทีม่ คี ณ ุ ภาพ ราคาเหมาะ สม หรือเป็นการผลิตแบบ on-demand label เป็นต้น

การระบาดของไวรัส Covid 19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทั้งในระยะ สั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การขนส่ง ห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยี ทักษะและตลาดแรงงาน การตลาด เป็นต้น ท�ำให้ธรุ กิจหลายประเภทไม่สามารถแข่งขันหรืออยูร่ อดได้หากยังยึดติดกับโมเดลธุรกิจ รูปแบบเดิม ผู้ประกอบการต้องมีการทบทวน การวางแผน และเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม (Transformative) ในแผนงานด้านต่าง ๆ การบริหารจัดการ การผลิต การลงทุน การตลาด ประเมินและบริหารความ เสีย่ ง ฯลฯ เพือ่ ให้ธรุ กิจสามารถบริหารจัดการได้อย่างต่อเนือ่ ง พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 โดยการ ก�ำหนดทิศทางใหม่ของธุรกิจ การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ การปรับองค์กร ปรับโครงสร้าง ทัง้ นี้ จะต้องค�ำนึง ถึงทิศทางการพัฒนาและความเสีย่ งต่าง ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ เพือ่ ให้การเปลีย่ นแปลงองค์กรสร้างความยัง่ ยืนใน โลกยุค Covid 19

84

การบริหารความเสี่ยงกับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโลกยุค Covid 19

วันการพิมพ์ไทย 2564


มองธุรกิจการพิมพ์จากโลกก้าวกระโดดสู่อนาคตที่ยั่งยืน บทความโดย

ผศ.บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ Media Arts KMUTT

ภายหลังจากโลกได้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ระบบการท�ำงาน ของคอมพิวเตอร์ เป็นจักรส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลง จะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติ อุตสาหกรรมครัง้ ส�ำคัญเลยทีเดียว ในยุคเริม่ ต้นมนุษย์ดำ� รงค์ชพี ด้วยสองมือ หากจะ มีใครบางคนเติมความคิดเข้าไปในการท�ำงาน ให้เกิดความเร็วขึ้น ง่ายขึ้น ถือได้ว่าเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการท�ำงาน เมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป มนุษย์เริ่มคิดหาเครื่องมือที่จะใช้ในการทุ่นแรง คนในการท�ำงานท�ำให้เร็วขึ้นง่ายขึ้นเหมือนกันนั้นอาจจะเป็นจุดก�ำเนิดของนวัตกรรมก็ว่าได้ จากการเริ่มต้นด้วย กลไกง่าย ทีท่ ำ� ด้วยมือก้าวเข้าสู่ เครือ่ งมือทีเ่ ป็นจักรกล ทีอ่ าศัยการท�ำงานด้วยพลังงานอืน่ เช่น น�ำ้ มัน หรือไฟฟ้า ช่วงกลางนี้จะถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีระยะเวลาค่อนข้างนานพอสมควร อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการก้าวผ่าน จากยุคเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เมื่อมองย้อนมายังอุตสาหกรรมการพิมพ์ จากยุคแรกที่ใช้มือล้วนๆใน การผลิตผลงานด้วยการขูด ขีด เขียน หรือการ ปั๊มการกด เข้ามาสู่การใช้เครื่องจักร ในการท�ำงาน ซึ่งเป็นการ ท�ำงานด้วยก�ำลังแรงคนเป็นส�ำคัญ หลังจากนัน้ ก็เข้าสูค่ วามเปลีย่ นแปลงอีกครัง้ ในยุคระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่มีระบบไฟฟ้า ระบบสายพานเข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมเกิดความคล่องตัวมาก ขึ้นอาจจะเรียกได้ว่าเข้าสู่ยคุแห่งความเจริญรุ่งเรื่องของคนรุ่นนั้น ด้วยการค้าขายเฟื่องฟู แต่ ม นุ ษ ย์ ไ ม่ ไ ด้ ห ยุ ด อยู ่ แ ค่ นั้ น การสร้ า ง นวั ต กรรมคื อ หั ว ใจของการเปลี่ ย นแปลงจนมาถึ ง ทศวรรษ 1960 มีการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ เพราะมี พัฒนาสารกึ่งตัวน�ำ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และใน ทศวรรษ 1970,1980 มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล และในทศวรรษ 1990 มีการพัฒนาระบบ อินเทอร์เน็ต เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3.0 ส�ำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์นั้น ยุคนี้จะเรียก ได้ว่าเป็นยุคแห่งความรุ่งเรื่อง ธุรกิจถูกเชื่อมต่อการ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ดว้ ยระบบการท�ำงานที่ เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สมบูรณ์แบบ ความคุมการท�ำงาน ด้ ว ยระบบคอมพิ ว เตอร์ ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง พร้ อ มกั บ การพัฒนาความเร็วของอินเตอร์เน็ต ที่มีความเร็วสูง ในระดับ 3G

วันการพิมพ์ไทย 2564

ความพร้อมของเทคโนโลยีที่น�ำสมัยได้น�ำ ความเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญอีกครั้งมาสู่การด�ำรงค์ ชีวิตของผู้คนในทุกมุมโลก ซึ่งเรียกการเปลี่ยนแปลง ครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในครั้ง นี้ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วและฉับ พลันเรียกเหตุการณ์นี้ว่า disruptive technology หรือ อาจจะเรียกว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่เพื่อที่ จะจัดการท�ำลายล้างเทคโนโลยีเก่าอย่างสิ้นเชิง การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การเปลี่ยนแปลงที่ฉับ พลันและรุนแรงซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่าง ลึ ก ซึ้ ง ในระบบเศรษฐกิ จ และโครงสร้ า งทางสั ง คม เป็นอย่างมาก หัวใจส�ำคัญในครั้งนี้ ก็มาจากการมี พัฒนาการที่สูงของเทคโนโลยีทั้งสองอย่าง คือการ มีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพด้านการประมวล ผลที่มีระดับความเร็วที่สูงระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (SUPER COMPUTER) สามารถจัดการข้อมูลขนาด ใหญ่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว จะเห็นได้ชดั จาก การคิดค้น วัคซีน ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งในอดีตนั้นการ คิดค้นหาวัคซีนแต่ละชนิดค่อนข้างใช้เวลานานในการ คิดค้นและทดลอง อย่างน้อยไม่ต�่ำกว่า 3-4 ปี แต่ มองธุรกิจการพิมพ์จากโลกก้าวกระโดดสู่อนาคตที่ยั่งยืน

85


ส�ำหรับ วัคซีน ไวรัสโคโรนา (COVID-19) นั้นมีการค้นพบและน�ำมาใช้ภายในหนึ่งปีครึ่งโดยเฉลี่ย หรือเร็วกว่า นัน้ เหตุผลทีท่ ำ� ได้เช่นนีก้ เ็ นือ่ งจาก ศักยภาพของระบบประมวลผลการท�ำงานของคอมพิวเตอร์ทมี่ คี วามเร็วสูงนัน้ เอง ในส่วนนี้ จึงเรียกว่า BIG DATA คือการมีข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถน�ำมาในการวิเคราะผลได้อย่างรวดเร็ว และแม่นย�ำ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนี้อยู่ภายใต้ การท�ำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึง่ เป็นทีม่ าของเทคโนโลยีอนื่ ๆอีกมากมาย เช่นวิทยาการหุน่ ยนตร์ ยานยนต์ขบั เคลือ่ น อัตโนมัติ เครื่องพิมพ์สามมิติ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุศาสตร์ หรือการเกิดอินเตอร์เน็ตของสรรพ สิ่ง (Internet of Things: IoT) เป็นต้น

https://www.spectralengines.com/articles/industry-4-0-and-how-smart-sensors-make-the-difference

อุตสาหกรรมในยุคนี้ซึ่งเรียกว่า Industry 4.0 ประกอบไปด้วยหัวใจหลักๆดังนี้

• หุ่นยนต์อัตโนมัติ ช่วยในการผลิต

(Autonomous Robots) • การสร้างแบบจ�ำลอง 3 มิติ (Simulation) • การบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (System Integration) • การเชือ่ มต่ออินเตอร์เน็ตกับสิง่ ของ จนกลาย เป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ (Internet Of Things) • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Cybersecurity)

• การประมวลผล และการเก็บข้อมูลระบบ

ออนไลน์ (Cloud computer) • การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing) • เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผ่านอุปกรณ์ 3 มิติ (Augmented Reality) AR • ข้อมูลขนาดใหญ่ มีการเก็บบันทึกและจัดเก็บ การค้นหา และการแบ่งปัน (Big data)

ทีเ่ รียบเรียงมาให้เห็นภาพรวมของการเปลีย่ นแปลงการพัฒนาเศรษกิจและสังคมในยุคสมัยต่างๆนัน้ เพือ่ ที่จะให้เราได้มองเห็นว่าแต่ละยุคสมัยนั้นมันขับเคลื่อนกันอย่างไร มีอะไรเป็นจักรส�ำคัญในแต่ละช่วงการเปลี่ยน ผ่าน และวิเคราะดูว่าสิ่งต่างๆเหล่านั้นมันกระทบกับชีวิต กับธุรกิจของเราอย่างไรและเราได้ศึกษาวิเคราะห์และ แก้ไขไปในแนวทางใดบ้าง จะเห็นได้ชัดว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมในครั้งที่ หนึ่ง และสองนั้นไปอย่างช้าๆตามการ 86

มองธุรกิจการพิมพ์จากโลกก้าวกระโดดสู่อนาคตที่ยั่งยืน

วันการพิมพ์ไทย 2564


พัฒนาเทคโนโลยี ขณะเดียวกันเมื่อเข้าสู่การปฏิวัติใน ครั้งที่สามและสี่นี้ย่นระยะเข้ามาใกล้กันมาก ซึ่งถือได้ ว่ามันเกิดขึน้ ทัง้ หมดในช่วงชีวติ ของคนในยุคนีเ้ ลยโดย เฉพาะช่วงที่สามมาสีนี้จะเรียกได้ว่าเป็นช่วงที่เกิดการ ก้าวกระโดดก็ว่าได้ หลายๆอย่างมันเปลี่ยนไปแทบ จะตามไม่ทัน บางสิ่งมันหายไปกับชีวิตของเราไปเลย และมีบางสิ่งเกิดขึ้นมาทดแทนและยังสามารถที่จะใช้ ประโยชน์ได้ในหลายด้าน ปัจจุบันแม้ว่าเราจะได้ประสบกับสิ่งต่างๆ มากมายอยูแ่ ล้ว ซึง่ เป็นคลืน่ ทีเ่ กิดจากการพัฒนาอย่าง ก้าวกระโดดของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ถ้าจะนับ ตั้งแต่การคิดค้นให้มีอุปกรณ์ คิดค�ำนวณ หรือการหา พิกดั แผนที่ ก็จะเริม่ ต้นในช่วงปี คศ.1833 หลังจากนัน้ การพัฒนาก็ไม่เคยหยุด จากเครือ่ งทีใ่ หญ่โตขนาดเท่า ห้องท�ำงาน ก็พัฒนามาจนเหลือเพียงแค่ปลายนิ้วมือ เราหรือเล็กกว่านั้น จากการประมวลผลแบบธรรมดา ก็ก้าวมาสู่การประมวลผลที่เร็ว และเร็วมาขึ้น ที่เรียก ว่าสุดยอดของความเร็วเรียกว่า Supercomputer เป็น คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดท�ำงานได้รวดเร็วและ มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานได้จ�ำนวนหลาย ๆ คน น�ำมาใช้ในการค�ำนวณที่ซับซ้อนเช่นการค�ำนวณ ทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน�้ำมันเป็นต้น รวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฏิบัติการต่างๆ เกิ ด ขึ้ น ในปี ค.ศ. 1960 และในปั จ จุ บั น นี้ มี ร ะบบ Supercomputer ที่ติดตั้งอยู่ที่ Oak Ridge National Lab ของ US Department of Energy ใน Tennessee ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 200 Petaflops หรือท�ำการ ประมวลผลได้ 200,000 ล้านล้านครั้งในเวลาเพียง 1 วินาที ซึ่งถือว่ามีความเร็วสูงกว่า Sunway TaihuLight ถึง 60% และเร็วกว่า Titan กันเลยทีเดียว ความเร็ว ที่ว่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการท�ำงานที่สั้นลงในทุกข บวนการ ท�ำให้มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกิด ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ที่ยกตัวอย่างจากการผลิตวัคซีน ในเบื้องต้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไม่ได้หยุดเพียง เท่านี้ ในอนาคตอันใกล้นี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง ยิ่งใหญ่อีกครั้งด้วยเทคโนโลยี Quantum computer ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในระหว่างทดลองคิดค้นกันอยู่ในห้อง แลป เมื่อสิ่งนี้ส�ำเร็จแล้วจะเปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างง่ายๆจากการคิดค�ำนวนสิ่งต่างๆในห้อง ปฏิบัติการ จากเดิมอาจจะต้องใช้เวลาเป็นพันๆปี จะ รวบเหลือไว้ไม่กี่นาที สิ่งนี้จะเข้ามา disruptive technology digital ได้เลย วันการพิมพ์ไทย 2564

https://pixabay.com/th

จ า ก ที่ ไ ด ้ ก ล ่ า ว ถึ ง ก า ร ก ้ า ว ก ร ะ โ ด ด ของเทคโนโลยี ที่ เข้ า มามี ผ ลกระทบโดยตรงกั บ อุตสาหกรรมหลากหลายไม่เว้นแม่แต่อตุ สาหกรรมการ พิมพ์ เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถแก้ไขหา ทางออกได้ในหลายวิธี ส�ำหรับอุตสาหกรรมใหญ่นั้น เขามีระบบ มีงบประมาณรองรับการปรับเปลี่ยน ซึ่ง ก็ไม่น่าเป็นห่วง ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาด เล็กจ�ำเป็นจะต้องหาทางปรับเปลี่ยนให้ทันกับการ เปลีย่ นแปลง อย่าคิดว่าบางสิง่ บางอย่างมันไม่เกีย่ วกับ เรา แต่สุดท้ายทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นจะกระทบกับธุรกิจ ของเราจนได้ อยากจะฝากแนวคิดในการปรับตัวไว้ที่ ควรค�ำนึงถึงและสามารถท�ำได้เลยดังนี้ • Creative ความคิดสร้างสรรค์ • Innovative นวัตกรรม • Networking เครือข่าย • Cooperation ความร่วมมือ • Digital marketing การตลาดดิจิทัล ขอขยายความเพิ่มเติมพอเป็นสังเขปดังนี้ Creative ความคิดสร้างสรรค์ ในความคิดสร้างสรรค์ นี้ ไ ม่ ไ ด้ ใช้ ส� ำ หรั บ การตกแต่ ง ความสวยความงาม เท่านั้น มันสามารถน�ำมาใช้ในการสร้างสรรค์ระบบ การท�ำงานของเรา ให้มีความใหม่ ความคล่องตัว การปรับระบบการท�ำงานให้กระชับลง หรือแม้กระ ทั้งน�ำมาใช้ในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยตรง ก็ได้ ให้มีความแปลกใหม่ให้ทันยุคสมัยที่กับปัจจุบัน Innovative นวัตกรรม ในทุกกิจการเราสามารถที่จะ สร้างนวัตกรรมขึ้นมาเป็นเฉพาะของเราได้ การมีนวัต กรรมจะท�ำให้เกิดสิง่ ใหม่ๆในการท�ำงาน การคิดระบบ การท�ำงานแบบใหม่ หรือการคิดสิง่ ของใหม่ๆขึน้ มาใช้ เอง เพื่อที่จะท�ำให้งานเขาเรามีความคล่องตัวมากยิ่ง ขึน้ ยิง่ ถ้าเป็นนวัตกรรมทีม่ เี ทคโนโลยีเข้ามาเกีย่ วข้องก็ สามารถที่ จ ะเพิ่ ม มู ล ค่ า ของงานเราให้ สู ง ขึ้ น Networking เครือข่าย ในการท�ำงานปัจจุบันนี้เราไม่ สามารถทีจ่ ะท�ำงานโดยเอกเทศได้แล้วจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง มองธุรกิจการพิมพ์จากโลกก้าวกระโดดสู่อนาคตที่ยั่งยืน

87


มีเครือข่ายในการท�ำงาน เพื่อให้การท�ำงานคล่องตัว และลดรายจ่ายในสิ่งที่ไม่จ�ำเป็นลง ถ้าหากสามารถ พัฒนาเครือข่ายไปสูอ่ กี ระดับหนึง่ ได้กจ็ ะเป็นการดี คือ ยกระดับเป็น Cooperation ความร่วมมือ อันนีก้ ส็ ำ� คัญ มากส�ำหรับธุระกิจขนาดเล็ก เราไม่จ�ำเป็นจะต้องมี หรือสร้าง ของบางสิ่งบางอย่าง หรือระบบงานบาง อย่างทั้งหมดขึ้นมาได้ เมื่อตลาดมันแคบลงสิ่งแรกที่ ต้องท�ำคือปิดระบบงานทีเ่ ราไม่มคี วามเชีย่ วชาญ หรือ ใช้ต้นทุนสูงลง มองหาความร่วมมือเพื่อเป็นการแลก เปลี่ยนกัน จากเดิมที่เคยผลิตงานทั้งระบบ แต่มีงาน หลังพิมพ์ไม่เชี่ยวชาญ แต่มีค่าใช้จ่ายสูง จ�ำเป็นต้อง มองหาคูเ่ พือ่ ท�ำธุรกิจร่วมกัน เพือ่ ให้ทงั้ สองบริษทั หรือ หลายๆบริษัทนั้นอยู่รอดและเติบโตไปด้วยกัน และมี อีกเรื่องหนึ่งที่ส�ำคัญมากในโลกปัจจุบันนี้ คือ Digital marketing การตลาดดิจิทัล ส�ำหรับการอยู่รอดใน ปัจจุบันที่ไม่ได้ยึดการมีหน้าร้านเหมือนในอดีตคนท�ำ ธุรกิจจ�ำเป็นที่จะต้องมีความรู้เข้าใจการตลาดยุคใหม่ ให้ได้ซึ่งเรียกว่าการตลาดดิจิทัล สิ่งที่มากับความเป็น ดิจิทัลคือ ความเร็วและแรง บริบทของการตลาดนั้นมี มากมาย แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการท�ำการตลาดในสอง สามเรื่องดังนี้คือ Branding marketing, Personalized Marketing, Content Marketing พูดไปในภาพรวม ก็คือ การท�ำการตลาดในยุคปัจจุบันจ�ำเป็นจะต้อง มีเอกลักษณ์มีความเป็นตัวตนของเราเพื่อสร้างการ จดจ�ำต่อลูกค้าหรือคนภายนอก และในการตลาดใน ยุคที่มีการแข่งขันกันสูงนี้ มีรูปแบบการท�ำการตลาดที่ เรียกว่าการตลาดแบบรายบุคคลหรือการตลาดรูใ้ จเข้า ถึงความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าเพื่อเป็นการสร้างความ ประทับใจจะน�ำมาซึง่ การจดจ�ำต่อไป ในส่วนนี้ นักการ ตลาดจ�ำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในเชิงจิตวิทยาเป็น

88

มองธุรกิจการพิมพ์จากโลกก้าวกระโดดสู่อนาคตที่ยั่งยืน

อย่างสูง และการเข้าถึงบุคลลนี้ ความส�ำคัญหนึ่งที่จะ มัดใจลูกค้าได้ คือ การให้บริการที่ดี หรือใส่ใจในทุก ปัญหาของลูกค้า และสุดท้ายที่จะพูดถึงคือ Content Marketing การท�ำการตลาดประเภทนีก้ ็ ไม่ได้งา่ ยอย่าง ที่เข้าใจกัน มันมีขั้นตอนขบวนการมากมาย ไม่ใช่สัก แต่ว่าได้ท�ำซึ่งนั่นก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย คอน เทนต์ที่ดีต้องนึกถึงคุณค่าที่ผู้รับหรือลูกค้าจะได้รับ การสร้างจะต้องมีกลยุทธ์ในการสร้างถึงปประสบความ ส�ำเร็จ ในกลยุทธ์ ประกอบไปด้วยสิ่งส�ำคัญที่ต้อง ค�ำนึงถึงคือ Awareness ท�ำให้คนรับรู้ Interest ท�ำให้ คนสนใจ Engagement ท�ำให้คนเริม่ เข้ามามีปฎิสมั พันธ์ Consideration ท�ำให้คนพิจารณาเราให้เข้าไปอยู่ในใจ Conversion ท�ำให้คนตัดสินใจซื้อ Sales Repetition ท�ำให้ซื้อซํ้า Advocacy ท�ำให้บอกต่อ จากทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วในข้างต้นนัน้ เป็นการ ผสมผสานต่อเชือ่ มเรือ่ งราวในอดีตเพือ่ ให้มองเห็น ปัจจุบนั และอนาคต การมีวสิ ยั ทัศน์เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญ และจ�ำเป็นต่อทุกธุรกิจ การมองเห็นอนาคตจะ ท�ำให้เราเดินต่อไปได้ในทุกการเปลี่ยนแปลง

วันการพิมพ์ไทย 2564


รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน วาระที่ 1 ปี 2536-2537 1. คุณมานิตย์ 2. คุณพีระ 3. คุณประสิทธิ์ 4. คุณปฐม 5. คุณเกษม 6. ดร.วิชัย 7. คุณวิริยะ 8. คุณชวาล

กมลสุวรรณ ประยุกต์วงศ์ เทียนประภา สุทธาธิกุลชัย แย้มวาทีทอง พยัคฆโส สิริสิงห โสตถิวันวงศ์

(ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (ตัวแทนสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย)

วาระที่ 2 ปี 2537-2538 1. คุณปรีดา 2. คุณประสิทธิ์ 3. คุณรังษี 4. ดร.วิชัย 5. คุณวิริยะ 6. คุณชวาล 7. คุณมานิตย์ 8. คุณมานิตย์

เพชรพันธ์ เทียนประภา เหลืองวารินกุล พยัคฆโส สิริสิงห โสตถิวันวงศ์ กมลสุวรรณ กมลสุวรรณ

(นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.)

วาระที่ 3 ปี 2538-2539 1. คุณมานิตย์ 2. คุณปฐม 3. ดร.วิชัย 4. คุณวิริยะ 5. คุณชัยบูรณ์ 6. คุณมานิตย์ 7. คุณรังษี 8. คุณศิริวรรณ

พรพิพัฒน์กุล สุทธาธิกุลชัย พยัคฆโส สิริสิงห กุลสิริสวัสดิ์ กมลสุวรรณ เหลืองวารินกุล เตชะรัตนวงศ์

(ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย)

วาระที่ 4 ปี 2539-2540 1. คุณปฐม 2. ดร.วิชัย 3. คุณนิดดา 4. คุณชัยบูรณ์ 5. คุณมานิตย์ 6. คุณรังษี 7. คุณทวีชัย 8. คุณมานิตย์

สุทธาธิกุลชัย พยัคฆโส หงษ์วิวัฒน์ กุลสิริสวัสดิ์ กมลสุวรรณ เหลืองวารินกุล เตชะวิเชียร พรพิพัฒน์กุล

วันการพิมพ์ไทย 2564

(นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย)

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

89


วาระที่ 5 ปี 2540-2541 1. ดร.วิชัย 2. คุณนิดดา 3. คุณชัยบูรณ์ 4. คุณมานิตย์ 5. คุณรังษี 6. คุณทวีชัย 7. คุณมานิตย์ 8. คุณปฐม

พยัคฆโส หงษ์วิวัฒน์ กุลสิริสวัสดิ์ กมลสุวรรณ เหลืองวารินกุล เตชะวิเชียร พรพิพัฒน์กุล สุทธาธิกุลชัย

(นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย)

วาระที่ 6 ปี 2541-2542 1. คุณนิดดา 2. คุณชวาล 3. คุณวิเทียน 4. คุณรังษี 5. คุณทวีชัย 6. คุณมานิตย์ 7. คุณปฐม 8. ดร.วิชัย

หงษ์วิวัฒน์ โสตถิวันวงศ์ นิลด�ำ เหลืองวารินกุล เตชะวิเชียร พรพิพัฒน์กุล สุทธาธิกุลชัย พยัคฆโส

(นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์)

วาระที่ 7 ปี 2542-2543 1. คุณชวาล 2. คุณวิเทียน 3. คุณรังษี 4. คุณทวีชัย 5. คุณมานิตย์ 6. คุณปฐม 7. ดร.วิชัย 8. คุณสุวดี

โสตถิวันวงศ์ นิลด�ำ เหลืองวารินกุล เตชะวิเชียร พรพิพัฒน์กุล สุทธาธิกุลชัย พยัคฆโส จงสถิตย์วัฒนา

(นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)

วาระที่ 8 ปี 2543-2544 1. คุณวิเทียน 2. คุณรังษี 3. คุณทวีชัย 4. คุณประสิทธิ์ 5. คุณปฐม 6. ดร.วิชัย 7. คุณวิสิทธิ์ 8. คุณชัยบูรณ์

90

นิลด�ำ เหลืองวารินกุล เตชะวิเชียร เทียนประภา สุทธาธิกุลชัย พยัคฆโส โรจน์พจนรัตน์ กุลสิริสวัสดิ์

(นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย)

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

วันการพิมพ์ไทย 2564


วาระที่ 9 ปี 2544-2545 1. คุณรังษี 2. คุณทวีชัย 3. คุณมานิตย์ 4. คุณเกรียงไกร 5. ดร.วิชัย 6. คุณสุวดี 7. คุณชัยบูรณ์ 8. คุณวิเทียน 9. คุณเต็กมิ้ง

เหลืองวารินกุล เตชะวิเชียร พรพิพัฒน์กุล เธียรนุกุล พยัคฆโส จงสถิตย์วัฒนา กุลสิริสวัสดิ์ นิลด�ำ แซ่โง้ว

(ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) ` (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมผู้ผลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย)

วาระที่ 10 ปี 2545-2546 1. คุณทวีชัย 2. คุณสันติ 3. คุณเกรียงไกร 4. ดร.วิชัย 5. คุณสุวดี 6. คุณชัยบูรณ์ 7. คุณวิเทียน 8. คุณเต็กมิ้ง 9. คุณปฐม

เตชะวิเชียร ส่งเสริมสวัสดิ์ เธียรนุกุล พยัคฆโส จงสถิตย์วัฒนา กุลสิริสวัสดิ์ นิลด�ำ แซ่โง้ว สุทธาธิกุลชัย

(นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมผู้ผลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.)

วาระที่ 11 ปี 2546-2547 1. คุณสันติ 2. คุณเกรียงไกร 3. ดร.วิชัย 4. คุณธนะชัย 5. คุณชัยบูรณ์ 6. คุณวิเทียน 7. คุณเต็กมิ้ง 8. คุณปฐม 9. คุณทวีชัย

ส่งเสริมสวัสดิ์ เธียรนุกุล พยัคฆโส สันติชัยกูล กุลสิริสวัสดิ์ นิลด�ำ แซ่โง้ว สุทธาธิกุลชัย เตชะวิเชียร

(ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมผู้ผลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย)

วาระที่ 12 ปี 2547-2548 1. คุณเกรียงไกร 2. ดร.วิชัย 3. คุณธนะชัย 4. คุณชัยบูรณ์ 5. คุณวิเทียน 6. คุณเต็กมิ้ง 7. คุณปฐม 8. คุณทวีชัย 9. คุณบุญชัย

เธียรนุกุล พยัคฆโส สันติชัยกูล กุลสิริสวัสดิ์ นิลด�ำ แซ่โง้ว สุทธาธิกุลชัย เตชะวิเชียร วลีธรชีพสวัสดิ์

วันการพิมพ์ไทย 2564

(นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมผู้ผลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย)

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

91


วาระที่ 13 ปี 2548-2549 1. ดร.วิชัย 2. คุณธนะชัย 3. คุณชัยบูรณ์ 4. คุณวิเทียน 5. คุณสุรชัย 6. คุณปฐม 7. คุณสายยนต์ 8. คุณบุญชัย 9. คุณเกรียงไกร

พยัคฆโส สันติชัยกูล กุลสิริสวัสดิ์ นิลด�ำ โสตถีวรกุล สุทธาธิกุลชัย ศรีพิพัฒน์ วลีธรชีพสวัสดิ์ เธียรนุกุล

(นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมผู้ผลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย)

วาระที่ 14 ปี 2549-2550 1. คุณธนะชัย สันติชัยกูล 2. คุณชัยบูรณ์ กุลสิริสวัสดิ์ 3. คุณเอนก วิทยะสิรินันท์ 4. คุณสุรชัย โสตถีวรกุล 5. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล 6. คุณสายยนต์ ศรีพิพัฒน์ 7. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม 8. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส

(นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์)

วาระที่ 15 ปี 2550-2551 1. คุณพิรัช ธัมพิพิธ 2. คุณเอนก วิทยะสิรินันท์ 3. คุณสุรชัย โสตถีวรกุล 4. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล 5. คุณสุรศักดิ์ พรบุญมารุ่ง 6. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม 7. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล 8. ดร.วิชัย พยัคฆโส 9. คุณริสรวล อร่ามเจริญ

(นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)

วาระที่ 16 ปี 2551-2552 1. คุณเกษม แย้มวาทีทอง 2. คุณสุรชัย โสตถีวรกุล 3. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล 4. คุณสุรศักดิ์ พรบุญมารุ่ง 5. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม 6. คุณพรชัย รัตนชัยกานนท์ 7. ดร.วิชัย พยัคฆโส 8. คุณริสรวล อร่ามเจริญ 9. คุณพิรัช ธัมพิพิธ

92

(นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย)

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

วันการพิมพ์ไทย 2564


วาระที่ 17 ปี 2552-2553 1. คุณเต็กมิ้ง แซ่โง้ว 2. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล 3. คุณสุรศักดิ์ พรบุญมารุ่ง 4. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม 5. คุณพรชัย รัตนชัยกานนท์ 6. ดร.วิชัย พยัคฆโส 7. คุณริสรวล อร่ามเจริญ 8. คุณพิรัช ธัมพิพิธ 9. คุณเกษม แย้มวาทีทอง

(นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย)

วาระที่ 18 ปี 2553-2554 1. คุณพรชัย 2. คุณสุรศักดิ์ 3. คุณประสิทธิ์ 4. คุณพรชัย 5. ดร.วิชัย 6. คุณริสรวล 7. คุณพิรัช 8. คุณเกษม 9. คุณเต็กมิ้ง

รัตนชัยกานนท์ พรบุญมารุ่ง คล่องงูเหลือม รัตนชัยกานนท์ พยัคฆโส อร่ามเจริญ ธัมพิพิธ แย้มวาทีทอง แซ่โง้ว

(ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย)

วาระที่ 19 ปี 2554-2555 1. คุณทวีชัย 2. คุณประสิทธิ์ 3. คุณพรชัย 4. ดร.วิชัย 5. คุณวรพันธ์ 6. คุณเรืองศักดิ์ 7. คุณเกษม 8. คุณเต็กมิ้ง 9. คุณพรชัย

เตชะวิเชียร คล่องงูเหลือม รัตนชัยกานนท์ พยัคฆโส โลกิตสถาพร หิรัญญาภินันท์ แย้มวาทีทอง แซ่โง้ว รัตนชัยกานนท์

(นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.)

วาระที่ 20 ปี 2555-2556 1. คุณประสิทธิ์ 2. คุณพรชัย 3. ดร.วิชัย 4. คุณวรพันธ์ 5. คุณเรืองศักดิ์ 6. คุณไชยวุฒิ์ 7. คุณเต็กมิ้ง 8. คุณวิชัย 9. คุณทวีชัย 10. คุณเกษม

คล่องงูเหลือม รัตนชัยกานนท์ พยัคฆโส โลกิตสถาพร หิรัญญาภินันท์ พึ่งทอง แซ่โง้ว สกลวรารุ่งเรือง เตชะวิเชียร แย้มวาทีทอง

วันการพิมพ์ไทย 2564

(ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

93


วาระที่ 21 ปี 2556-2557 1. คุณพรชัย 2. คุณจรัญ 3. คุณพงษ์เดช 4. คุณไชยวุฒิ์ 5. คุณระวิ 6. คุณวิชัย 7. คุณมงคล 8. คุณประสิทธิ์ 9. ดร.วิชัย 10. คุณเกษม

รัตนชัยกานนท์ หอมเทียนทอง สัจจะรัตนะโชติ พึ่งทอง เกษมศานติ์ สกลวรารุ่งเรือง คงสวัสดิ์วรากุล คล่องงูเหลือม พยัคฆโส แย้มวาทีทอง

(นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วาระที่ 22 ปี 2557-2558 1. คุณจรัญ หอมเทียนทอง 2. คุณพงษ์เดช สัจจะรัตนะโชติ 3. คุณไชยวุฒิ์ พึ่งทอง 4. คุณระวิ เกษมศานติ์ 5. คุณวิชัย สกลวรารุ่งเรือง 6. คุณมงคล คงสวัสดิ์วรากุล 7. คุณสุวิชาภรณ์ ไทยสวัสดิ์ 8. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง

(นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วาระที่ 23 ปี 2558-2559 1. คุณพงษ์เดช สัจจะรัตนะโชติ 2. คุณไชยวุฒิ์ พึ่งทอง 3. คุณระวิ เกษมศานติ์ 4. คุณวิชัย สกลวรารุ่งเรือง 5. คุณธนพล บันลือรัตน์ 6. คุณสุวิชาภรณ์ ไทยสวัสดิ์ 7. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 8. คุณจรัญ หอมเทียนทอง 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง

(นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วาระที่ 24 ปี 2559-2560 1. คุณนภดล ไกรฤกษ์ 2. คุณระวิ เกษมศานติ์ 3. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 4. คุณธนพล บันลือรัตน์ 5. คุณสุวิชาภรณ์ ไทยสวัสดิ์ 6. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 7. คุณจรัญ หอมเทียนทอง 8. คุณพงษ์เดช สัจจะรัตนะโชติ 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง

94

(นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

วันการพิมพ์ไทย 2564


วาระที่ 25 ปี 2560-2561 1. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 2. คุณธนพล บันลือรัตน์ 3. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม 4. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 5. คุณสุชาดา สหัสกุล 6. คุณประภาพร ณรงค์ฤทธิ์ 7. คุณนภดล ไกรฤกษ์ 8. คุณระวิ เกษมศานติ์ 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง

(ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วาระที่ 26 ปี 2561-2562 1. คุณธนพล บันลือรัตน์ 2. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม 3. คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช 4. คุณสุชาดา สหัสกุล 5. คุณประภาพร ณรงค์ฤทธิ์ 6. คุณมานิตย์ กมลสุวรรณ 7. คุณระวิ เกษมศานติ์ 8. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส 10. คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช

(นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วาระที่ 27 ปี 2562-2563

1. คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย) 2. คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) 3. คุณโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) 4. คุณประภาพร ณรงค์ฤทธิ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) 5. คุณมานิตย์ กมลสุวรรณ (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) 6. คุณชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) 7. คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) 8. คุณธาตรี ลิขิตวรศาสตร์ (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) 9. ดร.วิชัย พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) 10. คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วาระที่ 28 ปี 2563-2564 1. คุณพงศ์ธีระ 2. คุณโชนรังสี 3. คุณประภาพร 4. คุณมานิตย์ 5. คุณชูศักดิ์ 6. คุณพงศ์ธีระ 7. คุณธาตรี 8. คุณประสิทธิ์ 9. ดร.วิชัย 10. คุณพงศ์ธีระ

พัฒนพีระเดช (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) เฉลิมชัยกิจ (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) มโนมัยวิบูลย์ (นายกสมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย) กมลสุวรรณ (นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย) ดีตระกูลวัฒนผล (นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) พัฒนพีระเดช (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.) ลิขิตวรศาสตร์ (นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) พัฒนพีระเดช (ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์)

วันการพิมพ์ไทย 2564

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่ง

ประธานสหพันธ์ฯ รองประธานท่านที่ 1 รองประธานท่านที่ 2 เลขาธิการ เหรัญญิก มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ มนตรีสหพันธ์ฯ

รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1- วาระปัจจุบัน

95


ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของ สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

The Federation of Thai Printing Industries

ฉบับแก้ไขปรับปรุงครัง้ ที่ 6

ค�ำปรารภ สมาคมผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งของประเทศไทยได้เล็งเห็นถึง ความส�ำคัญของการร่วมมือและการรวมตัวกันทีจ่ ะก่อตัง้ องค์กรอิสระ เพือ่ เป็นศูนย์กลางในการผดุงความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดระหว่างมวลสมาชิก ซึ่งจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกและประเทศชาติโดยส่วนรวม และ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อร่วมมือและประสานความสัมพันธ์กับองค์กรของประเทศต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์ คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้จึงพร้อมใจให้สัตยาบันกันก่อตั้ง “สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์” ขึ้นโดยตราธรรมนูญ และกฎข้อบังคับฉบับนี้ ข้อบังคับที่ 1 ชื่อและวัตถุประสงค์ 1.1 สหพันธ์มีชื่อว่า “สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์” (สอกพ.) เขียนและเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า “The Federation of Thai Printing Industries” (FTPI.) 1.2 สอกพ. ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.2.1 ผดุงไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ร่วมกันในการประกอบอาชีพของมวลสมาชิก เพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมในการด�ำเนินธุรกิจ 1.2.2 เพื่อเป็นองค์กรที่มีอ�ำนาจในการเข้าท�ำความตกลงกับรัฐบาลและองค์กรของประเทศ ในกรณีที่มีส่วนเกี่ยวพันและมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรม เกี่ยวเนื่อง 1.2.3 ประสานงานและปฏิบัติงานโดยพลันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม การพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องทางด้านภาษี บุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอื่นๆ 1.2.4 ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยว เนื่องทั้งในทางปฏิบัติและในทางวิชาการ 1.2.5 ให้การช่วยเหลือมวลสมาชิกที่มีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการพิมพ์ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ข้อบังคับที่ 2 สมาชิกและสมาชิกภาพ 2.1 สมาชิกสหพันธ์ประกอบด้วย 2.1.1 กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Printing and Packaging Industry Club-The Federation of Thai Industries) 2.1.2 สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย (Thai Colour Seperated Association) 2.1.3 ชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย (Thai Creative Innovation Printing and Packaging Club) 2.1.4 สมาคมการพิมพ์ไทย (The Thai Printing Association) 2.1.5 สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์ (Thailand Association for Printing Technology Promotion)

96

ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

วันการพิมพ์ไทย 2564


2.1.6 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (The Publishers and Booksellers Association of Thailand) 2.1.7 สมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย (Thai Innovative Printing Trade Association) 2.1.8 สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย (The Thai Packaging Association) 2.1.9 สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย (Thai Corrugated Packaging Association) 2.2 การรับสมาชิกใหม่ของสหพันธ์ฯ ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากคณะมนตรีของสหพันธ์ฯ 2.3 ให้นายกหรือประธานของสมาชิกตามข้อ 2.1 เป็นมนตรีสหพันธ์ฯ โดยต�ำแหน่ง 2.4 ให้สมาชิกตามข้อ 2.1 แต่งตั้งกรรมการ 2 ท่าน เป็นผู้แทนมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย หากในกรณีที่มนตรี ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้ผู้แทนมนตรีท่านใดท่านหนึ่งมีอ�ำนาจเต็มในฐานะมนตรี ข้อบังคับที่ 3 คณะมนตรี 3.1 องค์กรบริหารสหพันธ์ฯ เป็นคณะมนตรีซึ่งประกอบด้วย 3.1.1 ประธานคณะมนตรี เรียกว่าประธานสหพันธ์ (Chairman) 3.1.2 รองประธานคณะมนตรี 2 ท่าน เรียกว่ารองประธานสหพันธ์ (Vice Chairman) 3.1.3 เลขาธิการ (Secretary General) 3.1.4 เหรัญญิก (Treasurer) 3.1.5 มนตรีอื่นๆ (Committee Director) อีกตามจ�ำนวนผู้แทนสมาชิกที่เหลือของสหพันธ์ฯ 3.1.6 ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ 3.2 คณะมนตรีมีอ�ำนาจที่จะท�ำการใดๆ แทนสหพันธ์ฯ ในนามของสหพันธ์ฯ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุ ไว้ในข้อบังคับ ข้อที่ 1 ของสหพันธ์ฯ ตลอดจนก�ำหนดนโยบายการบริหารงานของสหพันธ์ฯ โดย ผ่านการรับหลักการจากคณะมนตรีเป็นเอกฉันท์ 3.2.1 คณะมนตรีให้อยู่ในต�ำแหน่งตามข้อ 3.1 วาระละ 1 ปี (ตั้งแต่ 3 มิถุนายน-3 มิถุนายน ปีถัดไป) 3.2.2 ประธานสหพันธ์ฯ เป็นต�ำแหน่งซึ่งได้ตกลงกันในบรรดาสมาชิกและ รับรองเป็นเอกฉันท์โดยคณะมนตรี 3.2.3 ล�ำดับของการผลัดกันรับต�ำแหน่งประธานสหพันธ์ฯ แต่ละวาระได้ตกลงกันไว้โดยมติ เป็นเอกฉันท์ นับแต่วันประชุมก่อตั้งสหพันธ์ฯ เรียงล�ำดับตามข้อ 2.1 สมาชิกรายใดจะ สละสิทธิ์ในการรับต�ำแหน่งประธานสหพันธ์ฯ ก็ได้ ในกรณีสมาชิกใหม่ให้เรียงล�ำดับต่อ ท้ายต�ำแหน่งของประธานคณะมนตรีที่เพิ่งพ้นต�ำแหน่งไป 3.2.4 ประธานสหพันธ์ฯ คนเก่าจะต้องส่งมอบงานทั้งหมดให้ประธานสหพันธ์ฯ คนใหม่ภายใน 30 วัน 3.3 ประธานสหพันธ์ฯ ที่พ้นวาระไปแล้วทุกท่านจะเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ (Honorary Advisor) ของสหพันธ์ฯ ตลอดชีพ

วันการพิมพ์ไทย 2564

ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

97


ข้อบังคับที่ 4 หน้าที่ของคณะมนตรี 4.1 ประธานสหพันธ์ฯ เป็นผู้บริหารของสหพันธ์ฯ และเป็นประธานในการประชุมของสหพันธ์ฯ ทุกครั้ง ประธานสหพันธ์ฯ เป็นผูด้ ำ� เนินการให้มกี ารปฏิบตั ติ ามมติของคณะมนตรี และ/หรือด�ำเนินการในเรือ่ งต่างๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสหพันธ์ฯ 4.2 ในกิจการทั้งปวงซึ่งเกี่ยวกับบุคคลภายนอก องค์กร รัฐบาล นิติบุคคล หรือสมาคมอื่นๆ ให้ประธาน สหพันธ์ฯ หรือผู้ที่คณะมนตรีมีมติแต่งตั้ง เป็นผู้แทนของสหพันธ์ฯ 4.3 ให้รองประธานสหพันธ์ฯ คนใดคนหนึ่ง ท�ำหน้าที่แทนประธานในกรณีที่ประธานไม่อยู่ เจ็บป่วย ตลอดจนขาดความสามารถหรือไม่สามารถโดยชั่วคราว อยู่ในต�ำแหน่งได้เพียงเท่าก�ำหนดเวลา ที่เหลือของประธานและจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 และหน้าที่อื่นๆ ซึ่งอาจก�ำหนดโดยคณะมนตรี 4.4 เลขาธิการเป็นผู้ประสานงานระหว่างมวลสมาชิก ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเก็บรักษาบันทึกสิ่งพิมพ์และ เอกสารอื่นๆ ของสหพันธ์ฯ ต้องรับผิดชอบจัดเตรียมวาระการประชุม เตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การประชุม แจ้งนัดหมายการประชุม และรับผิดชอบบันทึกรายงานการประชุม 4.5 ให้เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบการเงิน การบัญชี ทรัพย์สิน รายงานรายรับ-รายจ่ายและสถานะการเงิน ของสหพันธ์ฯ ต่อที่ประชุมทุกครั้ง 4.6 ประธานสหพันธ์ฯ จะแต่งตั้งผู้ใดเป็นที่ปรึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้นแก่ สหพันธ์ฯ 4.7 ให้มนตรีมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ให้มีความคิดเห็น เสนอกิจกรรม จัดท�ำข้อมูลประกอบการ ประชุมและรับผิดชอบกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย 4.8 มนตรีต้องเข้าร่วมประชุมสม�่ำเสมอ หากมนตรีท่านใดขาดหรือลาประชุมเกิน 2 ครั้งติดต่อกัน หรือมาประชุมน้อยกว่า 3 ครั้งในวาระนั้น จะไม่มีสิทธิ์รับต�ำแหน่งมนตรีบริหารในวาระถัดไป คือ ต�ำแหน่งประธานสหพันธ์ฯ, รองประธานท่านที่ 1, รองประธานท่านที่ 2, เลขาธิการ และเหรัญญิก ข้อบังคับที่ 5 การประชุม 5.1 การประชุมประจ�ำปีของสมาชิกจะต้องประชุมในเดือนมิถุนายน ในการประชุมประจ�ำปีจะต้องพิจารณา รับรองและให้รายงานสรุปกิจการดังต่อไปนี้ 5.1.1 ผลงานของคณะมนตรีส�ำหรับรอบปีที่ผ่านมา 5.1.2 แต่งตั้งประธานสหพันธ์ฯ และมนตรีต�ำแหน่งอื่นๆ 5.1.3 เรื่องอื่นๆ ซึ่งจ�ำเป็นและเกี่ยวข้องกับกิจการของสหพันธ์ฯ เช่น บัญชีรายรับ-รายจ่าย ทรัพย์สิน และการส่งมอบงาน เป็นต้น 5.2 จัดให้มีการประชุมคณะมนตรีทุกๆ 2 เดือนต่อครั้ง เป็นอย่างน้อย การประชุมสมัยพิเศษอาจจัดให้มีขึ้น โดยการเรียกประชุมของประธานสหพันธ์ฯ หรือเมื่อมนตรีร้องขอ 5.3 การนัดประชุมทุกครั้ง ให้เลขาธิการส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันท�ำการ ก่อนมีการประชุม ยกเว้นการประชุมสมัยพิเศษ ประธานสหพันธ์ฯ นัดให้มีการประชุมได้ทันทีหรือตามความเหมาะสม 5.4 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยมนตรี หรือผู้แทน 3 ใน 4 ของจ�ำนวนสมาชิกทั้งหมด 5.5 การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมทุกครั้ง ให้มนตรีที่เข้าประชุมหรือผู้แทนมีคะแนนเสียง 1 คะแนน มติที่ประชุมทุกครั้งจะมีผลบังคับและผูกพันสหพันธ์ฯ ต่อเมื่อมนตรีหรือผู้แทนตามข้อ 5.4 เข้าประชุม ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์และมติดังกล่าวได้บันทึกไว้ในรายงานการประชุม ยกเว้นข้อ 2.2, ข้อ 3.2.2 และข้อ 8 ต้องเป็นมติจากคณะมนตรีทุกท่านเป็นเอกฉันท์

98

ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

วันการพิมพ์ไทย 2564


ข้อบังคับที่ 6 การด�ำเนินงาน-การเงินของสหพันธ์ฯ 6.1 ให้บรรดาสมาชิกทั้งหมดร่วมเป็นผู้รับผิดชอบในบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งปวงเพื่อด�ำเนินงานของสหพันธ์ฯ โดยให้สหพันธ์ฯ รับผิดชอบการจัดงานวันการพิมพ์ไทย จัดท�ำหนังสือวันการพิมพ์ไทย (สูจิบัตร) และด�ำเนินกิจกรรมอื่นๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหพันธ์ฯ 6.2 ค่าใช้จ่ายอื่นที่นอกเหนือจากข้อ 6.1 เมื่อสหพันธ์ฯ ด�ำเนินการให้แก่สมาชิกรายใดเป็นการเฉพาะ สมาชิกรายนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด 6.3 ให้สหพันธ์ฯ เปิดบัญชีในนามสหพันธ์ฯ บัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวันกับธนาคารพาณิชย์ตาม มติของที่ประชุมสหพันธ์ฯ 6.4 ให้เหรัญญิกถือเงินสดอยู่ในมือได้ 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ส่วนที่เกิน 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ให้น�ำ เข้าฝากในบัญชีของสหพันธ์ฯ 6.5 ให้ประธานสหพันธ์ฯ เป็นผู้มีอ�ำนาจอนุมัติการจ่ายเงินที่ไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) 6.6 การจ่ายเงินที่เกินกว่า 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสหพันธ์ฯ ก่อน 6.7 ผู้มีอ�ำนาจลงนามสั่งจ่ายเช็คในนามของสหพันธ์ฯ คือประธานลงนามคู่กับเหรัญญิก หรือประธานลง นามคู่กับเลขาธิการ หรือเลขาธิการลงนามคู่กับเหรัญญิก ( 2 ใน 3 คน) ข้อบังคับที่ 7 ภาระหน้าที่และสิทธิของสมาชิก 7.1 สมาชิกทุกรายต้องให้ความร่วมมือตามสมควรในการส่งส�ำเนาสถิติ หรือข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมของสมาชิกแก่สหพันธ์ฯ เมื่อสหพันธ์ฯ ร้องขอ 7.2 สมาชิกรายใด ใช้ชื่อของสหพันธ์ฯ เพื่อกระท�ำการใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสหพันธ์ฯ หรือ มนตรีของสหพันธ์ฯ ทั้งหมด สมาชิกนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งปวงตามมติของ คณะมนตรี ในการออกเสียงลงคะแนนในกรณีดังกล่าวข้างต้น สมาชิกผู้กระท�ำผิดไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลง คะแนน หรือไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในที่ประชุม 7.3 สมาชิกมีสิทธิที่จะขอสถิติหรือข้อมูลใดๆ ซึ่งสหพันธ์ฯ เป็นผู้จัดท�ำ โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจจะมีขึ้นเอง 7.4 สมาชิกมีสิทธิร้องขอให้สหพันธ์ฯ ด�ำเนินการแก้ปัญหาอุปสรรคของสมาชิกที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับที่ 8 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงธรรมนูญ ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของสหพันธ์ฯ แก้ไขเปลีย่ นแปลงในการประชุมคราวใดก็ได้ ทีม่ มี นตรีเข้าประชุม ครบทุกคนและออกเสียงตรงกันทั้งหมดเป็นเอกฉันท์ ในกรณีที่มนตรีเข้าร่วมประชุมไม่ครบ สหพันธ์ฯ จะแจ้งผล การเปลี่ยนแปลงให้ทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงภายในก�ำหนด จะถือว่าเห็นด้วยกับมติของที่ประชุมคราวนั้น ข้อบังคับที่ 9 ตราและเครื่องหมาย เครื่องหมายของสหพันธ์ฯ เป็นดังนี้ เป็นการน�ำวงกลม 4 วงที่สื่อถึงลูกกลิ้งของระบบการพิมพ์มาเรียงกัน และมีสีน�ำเงิน ขาว แดง ของความเป็นไทยอยู่ภายในกรอบตารางสกรีน สี่เหลี่ยมจตุรัส ที่แสดงถึงความมั่นคงของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

วันการพิมพ์ไทย 2564

ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

99


หมายเหตุ

100

แก้ไขปรับปรุงครั้งที่หก ในการประชุมสหพันธ์ฯ ครั้งที่ 5/2563-4 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยข้อบังคับที่ปรับปรุงมีดังนี้ แก้ไขเนื้อหาข้อ 2.1.3 ในข้อบังคับข้อที่ 2 (ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย)

(นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช) นายกสมาคมการพิมพ์ไทย

(นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ) นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย

(นางประภาพร มโนมัยวิบูลย์) นายกสมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย

(นายมานิตย์ กมลสุวรรณ) นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

(นายชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล) นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

(นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช) ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(นายธาตรี ลิขิตวรศาสตร์) นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่อ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

(นายประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม) ประธานชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย

(ดร.วิชัย พยัคฆโส) นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

(นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช) ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

วันการพิมพ์ไทย 2564



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.