หนังสือวันการพิมพ์ไทย 2562

Page 1








หรี ด หนั ง สื อ ห ร� ด อ า ลั ย . . .ใ ห ป ญ ญ า เปลีย่ นความรักและอาลัย เป นการมอบโอกาสการอ านให สงั คม ในหนึง่ ป กรุงเทพมหานคร มีภาระต องกำจัดขยะจากพวงหร�ดงานศพอย างน อย ๑๒๘,๓๒o พวง !! จะดีหร�อไม …. ถ าการจากไปของคนทีค่ ณ ุ เคารพรัก นำมาซ�ง่ การสร างป ญญา ลดป ญหาขยะให สงั คมได หร�ดหนังสือ หร�ดอาลัยให ปญ ญา หร�ดทีม่ คี วามสวยงามทัดเทียมกับพวงหร�ดดอกไม สดและหร�ดทางเลือกอืน่ ๆ และส งหนังสือไปบร�จาคต อในพืน้ ทีข่ าดแคลน เพือ่ สร างสังคมไทยให เป นสังคมแห งการเร�ยนรูอ ย างยัง่ ยืน

สมาคมผูจ ด ั พ�มพ และ ผูจ ำหน ายหนังสือแห งประเทศไทย

สนใจสัง่ หร�ดหนังสือได ท่ี

https://bookwreath.com




THE BEST OF LED UV PRINTING IN THE WORLD. พิมพไดทั้งงาน Packaging, สลาก, งานหนังสือ และ commercial printing พิมพลงบนวัสดุไดหลากหลายเชน กระดาษ พลาสติก กระดาษฟอลย

ข้อดีของระบบการพิมพ์ LED UV Power consumption การใชพลังงาน Life span of lamp อายุของหลอด Heat/ ozone Space การใชเนื้อที่ในการติดตั้ง

A3-Size Portrait

Conventional UV 71.1 KWh. (2 lamps type)

approx. 1,000 hrs. YES (need duct works) Peripheral equipment needs almost the same size of machine

A3-Plus

No heat/ No ozone saving 75%

A2-Size

520GX-4

340PCX-2

Max. Sheet Size 13.39 x 17.72 นิ้ว

LED-UV 6.4 KWh. (standard type) saving over 90% approx. 15,000 hrs.

690ST-4

(with coating unit)

Max. Sheet Size 14.76 x 20.47 นิ้ว

A1-Size

B2-Size

Max. Sheet Size 20 x 27 นิ้ว 1,020/1,050mm Format

920PF-8

Max. Sheet Size 25.2 x 36.22 นิ้ว

790ST-5

(with coating unit)

Max. Sheet Size 23.62 x 31.02 นิ้ว 1,130mm Format

1130TP-10

1050LX-6

(with coating unit)

Max. Sheet Size 29.53 x 41.34 นิ้ว

สอบถามข้อมู ลเพิ่มเติมได้ท่ี บริษทั ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) จํากัด

576/68 ถนนสาธุ ประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กทม. 10120 โทรศัพท์

โทรสาร 02-682-3415 email: cybersm751@csloxinfo.com

Max. Sheet Size 32.28 x 44.49 นิ้ว

02-682-3411-4

www.cybersm.co.th


บรรณาธิการแถลง

พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช บรรณาธิการบริหาร

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ถือเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญและศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ของชาติ น�ำมาซึ่งความปลื้มปิติมาสู่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทั้งนี้เพื่อเป็นการ น้อมแสดงความจงรักภักดี ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุด มิได้ สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย จึงได้ขออนุญาตอัญเชิญตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ขึ้นประดับบนหน้าปกหนังสือ วันการพิมพ์ไทย ฉบับประจ�ำปี ๒๕๖๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เป็นสิริมงคลแด่ปวงชนชาวอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยสืบไป ส�ำหรับหนังสือวันการพิมพ์ไทยฉบับนี้นั้นได้รวบรวมเนื้อหาของบทความ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในแนวทางของ “เส้นทางสู่ความ ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย” (The path to the sustainability of Thailand printing and packaging industry) ในนามประธานคณะกรรมการจั ด ท� ำ หนั ง สื อ วั น การพิ ม พ์ ไ ทยประจ� ำ ปี ๒๕๖๒ ขอขอบคุ ณ ท่ า นคณาจารย์ แ ละผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ทุ ก ท่ า นที่ ส ละเวลาเขี ย น บทความอั น มี ส าระประโยชน์ ท างวิ ช าการ เพื่ อ เป็ น การเสริ ม องค์ ค วามรู ้ แ ละ ปรับกระบวนความคิดให้กับผู้อ่านในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ขอขอบคุณบริษัทฯ ห้างร้าน ที่ให้การสนับสนุนลงโฆษณาในหนังสือ ตลอดจนการสนับสนุนการจัดงาน วันการพิมพ์ไทย ขอขอบคุณนายกสมาคม มนตรีสหพันธ์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ ทั้ง ๙ องค์กร ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ จัดท�ำหนังสือวันการพิมพ์ไทยฉบับนี้จนเสร็จ เรียบร้อยสมบูรณ์

รายชื่อผู้จัดท�ำ หนังสือวันการพิมพ์ไทย 2562 คณะที่ปรึกษา

ธนพล บันลือรัตน์ ประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม สุชาดา สหัสกุล ประภาพร ณรงค์ฤทธิ์ มานิตย์ กมลสุวรรณ ระวิ เกษมศานติ์ ดร.วิชัย พยัคฆโส พิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช บรรณาธิการบริหาร

พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช

กองบรรณาธิการ

ภาวิมาส กมลสุวรรณ ปริชญ์พิชัย เตชะวิเชียร สกุลทิพย์ สันติชัยอนันต์ ปัณณธร ไชยบุญเรือง ทัศนีย์ ภานุอนันต์พงษ์ สุรเชษฐ สายเชื้อ อุมา อัจจิมารังษี ชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล ชาธิป ตั้งกุลไพศาล ธีระ กิตติธีรพรชัย กิตติ ยิ้มละมัย อุรวิศ ตั้งกิจวิวัฒน์ วิรัตน์ อ่องจันทร์

ประสานงานโฆษณา / การจัดท�ำ

วิรัตน์ อ่องจันทร์

ออกแบบปก-จัดหน้า

บริษัท วิสคอมเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทร. 0-2734-0773-6 แยกสี-ท�ำเพลท

สมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย พิมพ์-เข้าเล่ม

บริษัท ก.การพิมพ์เทียนกวง จ�ำกัด โทร. 0-2416-7769

12 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารบัญ

21 43

70

52

55 79

63 36 37

38 39 43 52

55 63 70 79 85 96 101 114

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ The Royal Emblem on the Auspicious Occasion of the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019) หมอบรัดเลย์ ประวัติวันการพิมพ์ไทย ๖ ทศวรรษ แห่งการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก 4.0 ของประเทศไทย เทรนด์ในการออกแบบเพื่อความยั่งยืน การปรับตัวของการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในอนาคต การพิมพ์ไทยบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน Sustianable for Thai Printing “Education” Paves the Path to Sustainability for Printing & Packaging Industry Open Innovation: แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการจัดการเพื่อความยั่งยืน รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ขอขอบพระคุณ “หนังสือเล่มนี้ ใช้ฟอนต์ 9 LUANG และ ฟอนต์ TF สามารถดาวน์โหลดฟอนต์ได้ท่ี www.printfederation.or.th”

13 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และนายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านธุรกิจมีสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือเล็ก ก็ล้วนจะต้องหาวิธีปรับตัว ให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตของบริษัทในอนาคต ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนา ช่องทางการจ�ำหน่ายที่เข้าถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะในด้าน Social Network, e-Marketplace, e-Logistics, e-Payment และอื่นๆ ซึ่งหลายๆ องค์กรก็ได้นําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามา เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการนํามา ช่วยในการปรับปรุงรูปแบบการทํางานขององค์กร ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยในการประสานงานระหว่าง หน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ช่วยในการเพิ่มผลผลิตและยอดขาย นํามาใช้ในการช่วยการติดต่อสื่อสาร หรือช่วย ในการสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นต้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้ผลักดันอย่างเต็มที่ในการสนันสนุนให้ธุรกิจต่างๆ น�ำเทคโนโลยี e-commerce มาใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการบริหารค�ำสั่งซื้อสินค้า บริหารคลังสินค้า การจัดส่ง และการช�ำระเงิน ค่าสินค้า ของร้านค้าขนาดเล็กในชุมชนไปยังผู้ผลิต เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบ และยกระดับผู้ประกอบการ ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน นอกจากบริษัทฯ จะต้องปรับตัวรักษายอดขายแล้ว แนวโน้มที่พูดถึงเป็นวงกว้าง ในการรักษาความยั่งยืน นอกเหนือจากการสร้างรายได้แล้ว ความรับผิดชอบต่อสังคม และการดูแลสิ่งแวดล้อม ก็เป็นประเด็นที่หลายๆ องค์กรชั้นน�ำได้ให้ความส�ำคัญ และด�ำเนินการให้เป็นรูปธรรม ในรูปแบบโครงการต่างๆ เป็นการคืนประโยชน์ ให้กลับสู่สังคมและประเทศชาติต่อไป กระผมมี ค วามยิ น ดี เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ไ ด้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสหพั น ธ์ อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ และในวาระ “วันการพิมพ์ไทย” (วันที่ 3 มิถุนายน 2562) ที่ก�ำลังจะมาถึงนี้ ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ให้สมาชิก ทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง รุ่งเรืองในกิจการงาน ประสบความส�ำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง ด้วยเทอญ

(นายธนพล บันลือรัตน์) ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ นายกสมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

14 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย ธุรกิจการพิมพ์ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ผลกระทบเกิดขึ้นทั้งกระบวนการผลิต การบริการ และการตลาด จึงส่งผลต่อธุรกิจการพิมพ์ที่ต้องมีการปรับตัว เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้ เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่ธุรกิจการพิมพ์ไทยได้มีการปรับตัวอีกครั้ง (Chang Again) เป็น การเปลี่ยนแปลงการด�ำเนินงานด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการ การผลิต การบริการ และตลาด โดยท�ำให้ธุรกิจ มีความสมาร์ท และคล่องตัวยิ่งขึ้นขึ้น (Smart Print) บางธุรกิจปรับตัวให้เล็กลง (Small Business) ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมมากขึ้น จนมาถึงวันนี้ ธุรกิจการพิมพ์คงต้องก้าวเดินต่อไป (Move on) เพราะเราได้มีการเปลี่ยนแปลง มามากแล้ว หลายรอบแล้ว ดังนั้น จึงถึงเวลาที่ทุกคนต้องเริ่มขยับ น�ำสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอาวุธในการด�ำเนิน ธุรกิจ ค้นหาเป้าหมายใหม่ เป้าหมายเพิ่ม เดินเข้าหาผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เรียกว่า คนสัญชาติดิจิทัล เพื่อที่จะท�ำให้ ธุรกิจการพิมพ์สามารถก้าวเดินต่อไปได้อย่างยั่งยืน และมีผลลัพท์ที่ดีจากการเปลี่ยนแปลง เนื่องในวาระโอกาสวันการพิมพ์ไทย (3 มิถุนายน 2562) ผมและกรรมการชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิก ไทย ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมทั้งพระสยามเทวาธิราช และพลังแห่งความยึดมั่น ในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จงคุ้มครองดลบันดาลให้ทุกท่าน เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ และพละ ขอให้มีก�ำลังใจกล้าแข็ง ก�ำลังกายสมบูรณ์แข็งแรง จะได้สามารถเผชิญและเอาชนะอุปสรรคทั้งมวล และยังความ สุขให้เกิดแก่ตนเอง ครอบครัว และธุรกิจการพิมพ์สืบไป

(นายประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม) ประธานชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย

15 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารนายกสมาคมการพิมพ์ไทย และประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ในปัจจุบันท่ามกลางกระแสแห่งการพัฒนาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลากหลายอุตสาหกรรม ต่างได้รับผลกระทบจาก digital disruption อุตสาหกรรมการพิมพ์เองก็เช่นกัน ที่ก�ำลังเผชิญหน้าความท้าทาย ของกระแสจากความเปลี่ยนแปลงนี้ ในฐานะที่เราอยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ถ้าเรามองว่า disruption เป็นการ ท�ำลายล้าง เราก็จะตกอยู่ในกระแสแห่งการล้มหายตายจาก แต่ถ้าเรามองว่า disruption คือ opportunities เราจะมองเห็นโอกาสในการปรับตัว เปลี่ยน Mindset ปรับแผนธุรกิจ (Business Plan) ของเราเพื่อที่จะเข้มแข็งและ ก้าวเดินต่อไปสู่อนาคตของ “เส้นทางแห่งความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย” (The path to the sustainability of Thailand printing and packaging industry) ก็ย่อมมีโอกาสที่จะประสบผลส�ำเร็จ มากกว่าการยังคงยืนอยู่ใน Comfort Zone โดยไม่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ดังนั้นผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมการพิมพ์ต้องมีการปรับตัว โดยศึกษาหาความรู้เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป จากการท�ำการตลาดแบบเดิมๆ หรือไม่ได้ท�ำการตลาดเพื่อหาลูกค้าเลย ก็ต้องท�ำการตลาดเชิงรุกทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ การให้ความส�ำคัญในเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรม การออกแบบดีไซน์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม (High Value Added) ด้วยเทคนิคการพิมพ์แบบใหม่ๆ การน�ำระบบการพิมพ์ที่มีความเป็น Automation เข้ามาใช้ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่ม Productivity เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการท�ำงาน การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ในบริษัทฯ ด้วยการเพิ่มทักษะต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันต้องปรับตัวด้วยวิสัยทัศน์ ที่เฉียบคม รวดเร็ว และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เนื่องในโอกาสวันการพิมพ์ไทย เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 3 มิถุนายน 2562 นี้ ผมและ คณะกรรมการสมาคมการพิมพ์ไทยทุกท่าน ขอส่งความปรารถนาดีมายังผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ทุกท่าน ให้ประสบผลส�ำเร็จในธุรกิจ เติบโต ก้าวหน้าอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป

(นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช) นายกสมาคมการพิมพ์ไทย ประธานมูลนิธิสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

16 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำ�หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ในยุ ค สมั ย แห่ ง การเปลี่ ย นแปลง ที่ ทุ ก วงการถู ก แทรกแซงจากระบบดิ จิ ทั ล และเทคโนโลยี อุ ต สาหกรรม การพิมพ์ของไทยก็เช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจหนังสือ ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นรายแรกๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามา ของ e-book, audiobook จนขณะนี้มาถึง podcast แต่ถึงกระนั้น จากผลส�ำรวจความคิดเห็นต่อหนังสือกระดาษ และการอ่านหนังสือที่เป็นเล่ม ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ ๔๗ ที่ผ่านมาก็ยังมีผู้คนมากมายเชื่อมั่นกันว่า ในอีก ๑,๐๐๐ ปีข้างหน้า หนังสือกระดาษก็ยังคงยืนยง และเป็นที่ต้องการของนักอ่านตลอดไป อะไรท� ำให้ ผ ลส�ำ รวจเป็ น เช่ น นี้ เพราะหนั ง สื อ กระดาษยั ง คงมี เ สน่ ห ์ ต ่ อ ประสาทสั ม ผั ส การรั บ รู ้ อ ารมณ์ ในการสัมผัส ได้จับเนื้อกระดาษ ความลื่น มัน หยาบ ด้าน ของระบบการเคลือบ การที่มีตัวพิมพ์ปั้มนูน การรับรู้ ประสาทสัมผัสด้านกลิ่น กลิ่นหอมของกระดาษซึ่งมีกลิ่นที่ต่างกันแต่ละชนิด รวมไปถึงกลิ่นหมึกพิมพ์ที่ระบบดิจิทัล ไม่มีและยังไปไม่ถึง ที่ส�ำคัญ หนังสือกระดาษกลายเป็นของสะสมที่สามารถเอามาอวดกัน อารมณ์ประมาณนักสะสม พระเครื่อง “เล่มนี้มีแล้วหรือยัง” “เล่มนี้รุ่นพิมพ์ครั้งแรก” “นี่เป็นฉบับปกแข็งหุ้มที่เป็น limited edition” เหล่านี้คือ เสน่ห์ที่ยึดโยงนักอ่านและคนรักหนังสือ จนท�ำให้การจัดพิมพ์หนังสือ การซื้อขายหนังสือยังด�ำรงอยู่ถึงทุกวันนี้ ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์หนังสือ จึงยังเปี่ยมด้วยความหวังว่า อุตสาหกรรมการพิมพ์ ที่ถูก วางรากฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ก่อตั้งโรงพิมพ์โรงแรกส�ำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๔ จะยังคงอยู่ต่อไป หลายสิ่ง หลายอย่างอาจแทนที่ได้เพียงรูปแบบ แต่ในด้านของจิตวิญญาน หนังสือกระดาษทุกเล่ม ถูกผลิตขึ้นจากความ ตั้งใจ ตั้งแต่นักเขียนผู้เขียนเรื่อง บรรณาธิการ นักออกแบบภาพประกอบ คอมพิวเตอร์กราฟิก คนพิสูจน์อักษร จนมาถึงคนออกเพลท คนพิมพ์ พับ เก็บเล่ม เข้าเล่ม ทุกกระบวนการขั้นตอนท�ำด้วยมือ ทุ่มหัวใจท�ำทั้งสิ้น ในวาระเวียนมาบรรจบถึงวันร�ำลึกการพิมพ์ในประเทศไทย ๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ ครั้งนี้ ขอให้ก�ำลังใจบุคลากร ในวงการอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ทุ ก ท่ า นที่ ยื น หยั ด ท� ำ งานรั บ ใช้ สั ง คมการอ่ า น การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ยาวนาน ขอให้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ในการผลิ ต ผลงานการพิ ม พ์ อ ย่ า งมี คุ ณ ภาพออกสู ่ ส ายตาชาวไทย เป็ น ที่ เ ลื่ อ งลื อ ต่ อ ชาวโลกตลอดไป

(นางสุชาดา สหัสกุล) นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำ� หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

17 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารนายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ในนามของสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสมาคมฯ ผู้ร่วมสหพันธ์อุตสหากรรมการพิมพ์ มีความรู้สึกยินดีเป็นการยิ่งส�ำหรับการครบรอบ “วันการพิมพ์ไทย” อีกวาระ ซึ่งถือเป็นวันส�ำคัญอีกวันหนึ่งในวงการ พิมพ์ไทย ที่ต้องน้อมระลึกและท�ำพิธีเทิดพระเกียรติ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งถือเป็นพระบิดา แห่งการพิมพ์ไทย พระองค์ได้ให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับการพิมพ์อย่างมาก โดยจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นชื่อว่า “โรงพิมพ์อักษร พิมพ์การ” และพิมพ์ผลงานชิ้นแรกคือ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. 2401 นอกจากนี้ “วันการพิมพ์ไทย” ได้ถือก�ำเนิดขึ้นดังนี้ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2379 หมอบลัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกา ได้ก�ำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกในประเทศไทยคือ หนังสือ บัญญัติสิบประการ ซึ่งเป็นหนังสือสอนคริสต์ ศาสนา จัดพิมพ์จัดทั้งหมด 8 หน้า ทั้งนี้การพิมพ์ในสยาม เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่หมอบลัดเลย์เดินทางมาถึงสยาม เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2478 พร้อมกับตัวพิมพ์อักษรไทยและแท่นพิมพ์ไม้ที่ซื้อมาจากสิงคโปร์ หมอบลัดเลย์ และคณะอเมริกันบอร์ด ได้ตั้งส�ำนักงานและโรงพิมพ์ขึ้นที่ตรอกกัปตันบุช ย่านถนนเจริญกรุงและได้ด�ำเนินการพิมพ์ ใบปลิว ปฏิทิน และหนังสือต่างๆ ออกมาจ�ำนวนมากถือเป็นหมายเหตุส�ำคัญของการเริ่มต้นยุคสมัยแห่งการพิมพ์ ในยามต่อมาหมอบลัดเลย์ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการพิมพ์สยาม” สมาคมการพิ ม พ์ ส กรี น ไทย เป็ น ที่ ร วมของผู ้ ป ระกอบการอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ส กรี น และดิ จิ ต อลของ ประเทศไทย เป็นสมาคมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนและดิจิตอลสู่มาตรฐานสากลให้เจริญ ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน เป็นสื่อกลางระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สมาคมพันธมิตรและสมาชิก เพื่อพัฒนา อุตสาหกรรมการพิมพสู่การเติบโตในอนาคต ร่วมเสร้างเสริมนวตกรรมการพิมพ์ มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความ สามัคคีในกลุ่มสมาชิกและความสัมพันธ์อันดีทั้งในกลุ่ม Cluster ทั้งในประเทศและต่างประเทศอาทิเช่น โครงการ สารสนเทศ โครงการมารตฐานการพิมพ์ (TSS) โครงการเชื่อมโยง เครือข่าย Cluster ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โครงการทายาทธุรกิจ โครงการสนับสนุนสังคมซึ่งเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครือ ข่ายให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

(นางประภาพร ณรงค์ฤทธิ์) นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย

18 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารนายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย การด�ำเนินธุรกิจการพิมพ์ในปัจจุบัน สิ่งส�ำคัญที่โรงพิมพ์ควรใส่ใจ และพัฒนาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการลงทุน ด้านอื่นๆ นั่น คือ การพัฒนาและปรับใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมการพิมพ์มาประยุกต์ใช้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในที่นี้ หมายความรวมถึงสถาบันการศึกษาที่สอนทางด้านการพิมพ์ก็เช่นกัน ควรมีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรด้าน วิ ศ วกรรมการพิ ม พ์ ใ ห้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น เพื่ อ เป็ น แนวทางในการที่ จ ะช่ ว ยแก้ ป ั ญ หาในหลายด้ า นของอุ ต สาหกรรม การพิมพ์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครื่องไม้เครื่องมือใช้เองในโรงงาน การซ่อมบ�ำรุงเครื่องจักร ตลอดจน การคิดค้นเทคนิคหรือวิธีการพิมพ์ที่ช่วยสร้างความแตกต่างทั้งในด้านต้นทุน ด้านประสิทธิภาพ และคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบัน เนื่องในโอกาส วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562 อยากเห็นภาพการพัฒนาของโรงพิมพ์ ที่มีการคิดค้น และพัฒนาการผลิต โดยอาศัยความรู้ทางด้านวิศวกรรมการพิมพ์ให้มากยิ่งขึ้น ในฐานะนายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ ไทย รวมถึงท่านกรรมการ ท่านที่ปรึกษา ของสมาคมฯ ขออวยพรให้กิจการเจริญรุ่งเรือง ค้าขายร�่ำรวย และขอให้ ท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพจิตสุขภาพใจแข็งแรงตลอดไป

(นายมานิตย์ กมลสุวรรณ) นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

19 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารนายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย พ.ศ. 2562 เราได้ใช้สิทธิเลือกตั้งกันอีกครั้งเป็นการคืนอ�ำนาจประชาธิปไตยให้ประชาชนผ่านการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเราจะได้รัฐบาลชุดใหม่เพื่อท�ำหน้าที่บริหารประเทศต่อไป สิ่งหนึ่งที่เป็นนโยบายต่อเนื่องของทุกรัฐบาลคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติของประเทศ “ความยั่งยืน” จึงเป็นแนวคิดเชิงการพัฒนาและการบริหารที่พบได้ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับองค์กร ด้วยเพราะความยั่งยืน (Sustainability) มีความส�ำคัญในฐานะแนวคิดที่จะท�ำให้ทุกองค์กรประสบความส�ำเร็จและคงอยู่ได้อย่างยาวนาน ทุกองค์กรจึงควรวางแผนการด�ำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่กิจการในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการ การพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ภาวะผู้น�ำ การก�ำกับดูแลกิจการ ที่ดี (Corporate Governance : CG) การพัฒนาบุคลากรรวมทั้งการจัดการด้านการเงินที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่การก�ำหนด เป้าหมาย การวางแผนกลยุทธ์ และการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่ควรก�ำหนดความยั่งยืนเป็นวิสัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กร เราจะเติบโตให้อยู่รอดในธุรกิจอย่างไรในสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น ภาวะโลกร้อนที่ท�ำให้ทั่วโลกรณรงค์การใช้พลาสติก นับเป็นโอกาสส�ำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่ได้ใช้พลาสติกแต่เราจะวางแผนและเตรียมความพร้อมจากโอกาสนี้อย่างไรคือค�ำตอบที่ทุกองค์กรต้องศึกษา รวมทั้งมีการจัดการเพื่อปรับองค์กรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับปัจจัยภายนอก เช่น การจัดการด้านพลังงานเพื่อ ลดโลกร้อนและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การบริหารด้านแรงงานตามกฎหมายแรงงานและสิทธิมนุษยชน การจัดการคุณภาพตามาตรฐานคุณภาพต่างๆ หากองค์กรใดวางแผนและปรับตัวได้รวดเร็วย่อมสามารถบรรลุ เป้าหมายความยั่งยืนได้ ผมนึกถึงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวคิดจากพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทย เศรษฐกิจ พอเพียงเป็นแนวทางการบริหารหนึ่งที่จะท�ำให้ทุกองค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน “พอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน” เป็นแนวคิดการจัดการที่เป็นสากลคือใช้ได้ในทุกองค์กรและยุคสมัย ปรับใช้ได้ในทุกแผนงานซึ่งจะท�ำให้องค์กรประสบ ความส�ำเร็จได้ ในโอกาสที่สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์จะครบรอบการก่อตั้งในวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ในนามสมาคม บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงอ�ำนวยพรให้ท่าน สมาชิกสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ประสบความส�ำเร็จและเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป

(นายระวิ เกษมศานติ์) นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย ด�ำรงต�ำแหน่งวาระปี 2557 - 2562 20 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารประธานกลุม ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย เริ่มต้นขึ้น ณ วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1836 (พ.ศ.2379) ซึ่งเป็นวันที่หมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้บันทึกว่า บาทหลวงชาร์ลส์ โรบินสัน พิมพ์หนังสือ ภาษาไทยในประเทศไทยส�าเร็จเป็นครั้งแรก ชาวอุตสาหกรรมการพิมพ์ จึงได้ก�าหนดให้วันที่ 3 มิถุนายนของ ทุกปีเป็น “วันการพิมพ์ไทย” และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา อุตสาหกรรมการพิมพ์ได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้า มาโดยตลอด ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของไทย เป็นที่จับตามองอย่างมากในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะขณะนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาคุณภาพงานพิมพ์จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ซื้อสิ่งพิมพ์จากทั่วโลก จากการ ที่เราได้มีการเตรียมความพร้อมในการรักษาคุณภาพการพิมพ์ และยกระดับของผู้ประกอบการให้ทัดเทียมกับ มาตรฐานสากล โดยผู้ประกอบการเองมีการปรับตัวน�าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาท�างาน ท�าให้ยังคงรักษาคุณภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้จนถึงวันนี้ ในโอกาสที่ วันการพิมพ์ไทย ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งในปีนี้ ในนามของกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอส่งความปรารถนาดีมายังสมาชิก กลุ่มสมาคมผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรม ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงมั่นคงและยั่งยืนกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยต่อไป

(นางสาวพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์) ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

21 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สารนายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์ อุตสาหกรรมการพิมพ์เติบโต ก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่องตลอดระเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เพราะการพิมพ์เป็น เครื่องมือส�ำคัญในการผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เรามีสมาคมแยกตามวิชาชีพมีผู้ประกอบการ เป็นทั้งสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก มีสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรในระดับต่างๆให้ธุรกิจการพิมพ์มากกว่า 14 สถาบัน ณ วันนี้เทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาไปสู่ digital platform มากขึ้น ธุรกิจการพิมพ์คงต้องเปลี่ยนแปลงไป สู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะงานพิมพ์เพื่อการสื่อสารได้ลดบทบาทลง ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจการพิมพ์จะต้องปรับตัว ควบคู่ไปกับการผลิตบุคลากรของสถาบันการศึกษาอีกด้วย ในอดีต 50 ปี ธุรกิจการพิมพ์ได้ปรับเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซต ส่งผลให้ธุรกิจที่เชื่อมโยง กับการพิมพ์เลตเตอร์เพรสต้องปิดกิจการลง หันไปสู่ธุรกิจใหม่ คือธุรกิจการพิมพ์ออฟเซตมากขึ้น จนเทคโนโลยี การพิมพ์เลตเตอร์เพรสต้องปิดฉากลง ถึงวันนี้ ขอเป็นก�ำลังใจให้ผู้ประกอบธุรกิจการพิมพ์ได้มองดูอนาคตของธุรกิจนี้ว่าแนวโน้มไปสู่ทิศทางใด อาจ ต้องปรับเพิ่มการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นเพราะเครื่องมือหลักเหมือนกัน เพียงแต่ต้องมีเครื่องมือ หลังพิมพ์บางประเภทเข้ามาเสริมพร้อมๆ กับเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ ส่วนการพิมพ์สกรีนยังคงมีบทบาทอยู่ แต่บางส่วนอาจต้องปรับตัวเองไปสู่ธุรกิจใหม่ หรือ digital printing มากขึ้น

(ดร.วิชัย พยัคฆโส) นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

22 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


กิจกรรมสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระปี 2561-62 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2561

ประธานและมนตรี ส หพั น ธ์ ฯ ร่ ว มงานแถลงข่ า วการประกวดสิ่ ง พิ ม พ์ แ ห่ ง ชาติ ครั้ ง ที่ 13 ณ โรงแรมอิ น เตอร์ คอนติเนนตัล

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2561

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครัง้ ที่ 1/2561-62 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 โดยมีวาระ การส่งมอบงานให้กบั คณะมนตรีสหพันธ์ฯ ชุดใหม่ รวมถึงหารือวาระต่างๆ ทีส่ ำ� คัญ

23 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2561

สหพั น ธ์ ฯ ร่ ว มเป็ น เจ้ า ภาพพิ ธี ส วดพระอภิ ธ รรมคุ ณ วิ เ ที ย น นิ ล ด� ำ (อดี ต ประธานสหพั น ธ์ ฯ ) ณ วั ด ดอนไก่ ดี อ�ำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2561

ประธานและมนตรี ส หพั น ธ์ ฯ เข้ า ร่ ว มระดมความคิ ด เห็ น กั บ เครื อ ข่ า ยสถาบั น การศึ ก ษาด้ า นการพิ ม พ์ แ ละสื่ อ แห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อปฎิรูปหลักสูตรในการผลิตบุคลากรด้านการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในยุค อุตสาหกรรม 4.0

24 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561

ประธานและตัวแทนสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีทำ�บุญครบรอบ 72 ปี แห่งการก่อตั้งสมาคมการพิมพ์ไทย ณ อาคารสมาคม การพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9

25 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561

ประธานสหพั น ธ์ ฯ ร่ ว มประชุ ม กั บ เครื อ ข่ า ยสถาบั น การศึ ก ษาด้ า นการพิ ม พ์ แ ละสื่ อ แห่ ง ประเทศไทย (TPAF) ณ ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อหารือการปฏิรูปหลักสูตร และความร่วมมือระหว่างกัน

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงาน ASIA PRINT EXPO by FESPA ณ ห้องโซระ ชั้น 3 โรงแรมโอคุระ เพรสทีจ

วันพุธที่ 5 กันยายน 2561

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีเปิดงาน CCE South East Asia-Thailand 2018 ณ ศูนย์นิทรรศการ และ การประชุมไบเทค สนับสนุนการจัดงานโดยสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย และสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย

26 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561

ประธานสหพันธ์ฯ ร่วมงาน SCREEN GO BOWLING ครั้งที่ 11 ณ Blu-O Rhythm & Bow ชั้น 5 สยามพารากอน จัดโดยสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย

วันพุธที่ 12 กันยายน 2561

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 2/2561-62 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อหารือ วาระต่างๆ ที่สำ�คัญ

27 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานประกาศรางวัล Thai Print Awards ครั้งที่ 13 ณ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดยสมาคมการพิมพ์ไทย

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2561

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมอนุกรรมการจัดงานโบว์ลิ่งสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมสมาคม การพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อกำ�หนดวัตถุประสงค์และวางแผนการจัดงาน

28 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 23 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำ�หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2561

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 3/2561-62 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อหารือ วาระต่างๆ ที่สำ�คัญ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมอนุกรรมการจัดงานโบว์ลิ่งสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมสมาคม การพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อติดตามความคืบหน้าของการจัดงาน 29 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2561

สหพันธ์ฯ จัดฝึกอบรมการกู้ชีพฉุกเฉิน (CPR) ให้กับสมาชิกและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ณ ห้อง สัมมนาอาคารสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้และมีทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ประสบเหตุได้ทันท่วงที

วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ของสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ณ โรงแรม Crowne Plaza ถนนพระราม 4

30 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันพุธที่ 16 มกราคม 2562

สหพันธ์ฯ จัดประชุมคณะมนตรีสัญจรและเยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ SCG ณ อำ�เภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พร้อมไหว้พระเป็นสิริมงคลรับปีใหม่ วัดจันทาราม (หลวงพ่ออโณทัย)

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2562

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมอนุกรรมการ ณ ร้านโฮคิทเช่น ถนนพระราม 3 เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดงานโบว์ลิ่ง สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ครั้งที่ 3 และหารือเกี่ยวกับการจัดงานวันการพิมพ์ไทย ปี 2562

31 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

มนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมเปิดงาน Asia Print Expo 2019 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค จัดโดย FESPA และร่วมสนับสนุนโดยสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562

สหพันธ์ฯ จัดกิจกรรมโบว์ลิ่งสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ครั้งที่ 3 ณ Blu-O Rhythm & Bow ชั้น 5 สยามพารากอน โดยรายได้ส่วนหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วนำ�บริจาคให้กับโรงพยาบาลศิริราช

วันพุธที่ 13 มีนาคม 2562

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 5/2561-62 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อหารือ วาระต่างๆ ที่สำ�คัญ

32 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันอังคารที่ 2 เมษายน 2562

มนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีของสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ณ ห้องวิมานทิพย์ โรงแรม มณเฑียรริเวอร์ไซด์ ถนนพระราม 3

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2562

ประธานสหพันธ์ฯ บริจาคเงินจากการจัดกิจกรรมโบว์ลิ่งสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ครั้งที่ 3 ให้กับศิริราชมูลนิธิ เพื่อกองทุนสำ�หรับจัดซื้อเครื่องมือแพทย์โรงพยาบาลศิริราช

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2562

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีของสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ณ ห้องวิมานทิพย์ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ ถนนพระราม 3

33 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันพุธที่ 24 เมษายน 2562

มนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีของสมาคมการค้าวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ไทยและร่วมแสดงความ ยินดีการเลือกนายกสมาคมคนใหม่ ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต

วันอังคารที่ 30 เมษายน 2562

ประธานและมนตรีสหพันธ์ฯ ร่วมงานประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีของสมาคมการพิมพ์ไทย ณ ห้องเดอะวินนิ่งโพสท์ ราชกรีฑาสโมสร ถนนอังรีดูนังต์

34 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562

ประธานและมนตรี ส หพั น ธ์ ฯ ร่ ว มหารื อ กั บ คุ ณ สุ พั น ธุ์ มงคลสุ ธี ประธานสภาอุ ต สาหกรรมแห่ ง ประเทศไทย ณ ห้องประชุม 1013 ชั้น 10 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ)

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2562

สหพันธ์ฯ จัดการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 6/2561-62 ณ ห้องประชุมสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9 เพื่อหารือ วาระต่างๆ ที่สำ�คัญ

วันที่ 3 มิถุนายน 2562

สหพันธ์ฯ ร่วมกิจกรรมวันการพิมพ์ไทย ประจำ�ปี 2562 ดังนี้ - ภาคเช้า วางพวงมาลารำ�ลึกถึงหมอบรัดเลย์ ณ สุสานโปรแตสแต้นท์ ถนนเจริญกรุง - ภาคสาย ทำ�บุญทักษิณานุปทานแด่ รัชกาลที่ 4 ณ วัดราชประดิษฐ์ สถิตมหาสีมาราม 35 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ตราสัญลักษณ พระราชพิธ�บรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ตราสัญลักษณพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบดวย อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยูตรงกลาง พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเปนสีของวันจันทรซึ่งเปนวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับ เพชร ตามความหมายแหงพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร วปร อยูบนพื้นสีขาบ (น้ําเงินเขม) อันเปนสีของ ขัตติยกษัตริย ภายในกรอบพุมขาวบิณฑสีทอง สอดสีเขียว อันเปนสีซึ่งเปนเดชแหงวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรง พุมขาวบิณฑอัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเปนพระราชลัญจกรประจําพระองคพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริยแหงพระบรมราชจักรีวงศ แวดลอมดวยเครื่องเบญจราช กกุธภัณฑ อันเปนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริยและเปนเครื่องหมายแหงความเปน สมเด็จพระบรมราชาธิราช ไดแก พระมหาพิชัยมงกุฎพรอมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจํารัชกาล อยูเบื้องบน พระแสงขรรคชัยศรีกับพระแสจามรี ทอดไขวอยูเบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขวอยูเบื้องซาย และฉลอง พระบาทเชิงงอน อยูเบื้องลาง พระมหาพิชัยมงกุฎหมายถึงทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผนดินเพื่อประโยชน สุขของประชาชน พระแสงขรรคชัยศรีหมายถึงทรงรับพระราชภาระปกปองแผนดินใหพนจากภยันตราย ธารพระกร หมายถึงทรงดํารงราชธรรมเพื่อค้ําจุนบานเมืองใหผาสุกมั่นคง พระแสจามรีกับพัดวาลวิชนีหมายถึงทรงขจัดปดเปา ความทุกขยากเดือดรอนของอาณาประชาราษฎร ฉลองพระบาทเชิงงอนหมายถึงทรงทํานุบํารุงปวงประชาทั่วรัฐสีมา อาณาจักร เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐาน พระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบ รูปพรหมพักตรอันวิเศษสุด ระบายชั้นลางสุดหอยอุบะจําปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปก แผไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องลางกรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียวถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทอง ความวา “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒” ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีหกายมวงออนประคอง ฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงขาราชการฝายทหาร เบื้องซายมีรูปราชสีหกายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงขาราชการ ฝายพลเรือน ผูปฏิบัติราชการสนองงานแผนดินอยูดวยกัน ขางคันฉัตรดานในทั้งสองขางมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึง ปมะโรงนักษัตรอันเปนปพระบรมราชสมภพ สีทองหมายถึงความเจริญรุงเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน

36 | วันการพิมพไทย 3 มิถุนายน 2562


The Royal Emblem on the Auspicious Occasion of the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019) The Royal Emblem, marking the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019), depicts, in the centre, in white trimmed with gold, the Royal Cypher of His Majesty King Maha Vajiralongkorn. Each letter of the Cypher is decorated with diamonds which denote the origin from which the royal name "Maha Vajiralongkorn" is derived, whilst the gold trimming of the Cypher represents the colour of Monday which is the day of birth of His Majesty. The Cypher rests on a background of dark blue, the colour of righteous kingship, contained within a lotus bud frame marked out in gold and green, the mixture of which two colours signifies the power and might of His Majesty's day of birth. The lotus bud frame begets inspiration from the shape of its foremost predecessor - the frame which enclosed the Great Unalome insignia of the Royal Seal of State of His Majesty King Buddha Yodfa Chulalok the Great (Rama I), founder of the Chakri Dynasty. Surrounding the outer parts of the frame are the Five Royal Regalia, deemed to embody the symbol of Kingship itself. Placed on top of the Royal Cypher is the Great Crown of Victory with the Unalome insignia which Unalome includes within it the sequence number of this reign. The Sword of Victory and the Royal Whisk of the Yak's Tail lie to the right of the Emblem while on the left of the Royal Emblem are placed the Royal Sceptre and the Royal Fan, and, lastly, below the Royal Cypher rest the Royal Slippers. The Great Crown of Victory represents the great burden bearing down on the person of His Majesty for the sake of his people's happiness. The Sword of Victory symbolises His Majesty's responsibility to protect the Kingdom from all harm threatening it. The Royal Sceptre signifies His Majesty’s Royal virtues to bring forth peace and stability to the Kingdom. The Royal Whisk and the Royal Fan symbolise His Majesty's righteousness as a ruler in relieving the suffering and hardship of His subjects. The Royal Slippers represent His Majesty’s care in fostering the sustenanceand welfare throughout the Kingdom. Standing tall behind the Great Crown of Victory is the Great Umbrella of State trimmed with bands of gold. At the top of the Umbrella of State is the lotus bud finial showing Brahma Faces while the lowest tier of the Umbrella is decorated with golden Champa bouquets representing the extension in all directions yonder of His writ and authority. On the lowest part of the Emblem run stretches of green-gold ribbon, trimmed in gold, bearing the words "The Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019)". At the right tip of the ribbon stands the purple Kojasi holding up a Seven-tiered Umbrella representing the Armed Forces. On the left tip of the ribbon stands the white Ratchasi holding a second Seven-tiered Umbrella which represents the Civil Service, which left and right together form the two pillars of public service. On the inner side of the shafts of the two Umbrellas, there are golden Nag traceries denoting the year of the dragon, the year of His Majesty's birth. The golden colour of the Naga traceries signifies the prosperity for the nation and her people. 37 | วันการพิมพไทย 3 มิถุนายน 2562


หมอบรัดเลย์

หมอบรัดเลย์

(Dan Beach Bradley M.D.)

ผู้นำ�วิชาการพิมพ์ มาเผยแพร่ในประเทศไทย

พ.ศ. 2378 คณะมิชชันนารี A.B.C.F.M. (American Board of Commissioners for Foreign Mission) ได้ซื้อตัวพิมพ์ไทยจากประเทศ สิงคโปร์น�ำ เข้ามาในเมืองไทย โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley M.D.) และคณะเป็นผู้นำ�เข้ามา โดยนำ�เอาตัวพิมพ์ไทยและแท่น พิมพ์แบบเก่าที่ทำ�ด้วยไม้และหิน ซึ่งเป็นแท่นพิมพ์ที่ทำ�จาก เมืองเบงกอล ในอินเดียเข้ามาแท่นหนึ่ง คณะมิชชันนารีใช้ เวลานานพอสมควรในการติดตั้งและเตรียมการพิมพ์ จนกระทั่งวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ตรงกับ พ.ศ. 2379 หมอบรัดเลย์ ได้บันทึกว่า บาทหลวงชาร์ลส์โรบินสัน (Reverend Charles Robinson) ได้พิมพ์หนังสือไทยในเมืองไทย ได้สำ�เร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาตัวพิมพ์ที่ซื้อมาจากประเทศสิงคโปร์ นำ�มาใช้พิมพ์ในเมืองไทยสึกหรอไปตามลำ�ดับ คณะมิชชันนารีอเมริกัน และหมอบรัดเลย์ จึงได้จัดดำ�เนินการหล่ออักษรไทยขึ้นใช้เอง และหล่อได้ สำ�เร็จใน พ.ศ. 2384 สำ�หรับคนไทยที่สนใจและริเริ่มดำ�เนินงานทางด้านการ พิมพ์คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ในขณะที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ ได้ทรงตั้ง โรงพิมพ์ที่วัดบวรนิเวศ สามารถพิมพ์ได้ทั้งหนังสือไทย บาลี และโรมัน มีโรงหล่อ ที่หล่อตัวพิมพ์ไทยเอง นับว่าเป็นโรงพิมพ์โรงแรกของไทย

38 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ประวัติวันการพิมพ์ไทย

“ประวัติวันการพิมพ์ไทย” “วันการพิมพ์ไทย” ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การพิมพ์ไทย ที่ได้เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจ และ มีความเห็นพ้องต้องกันของผู้เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพการพิมพ์ ซึ่งได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2531 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ และแสดงออก ถึงความก้าวหน้า และความสำ�คัญของอุตสาหกรรมการพิมพ์ที่มีบทบาทในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ “วันการพิมพ์ไทย” ได้ถือกำ�เนิดขึ้นเพราะมีความเห็นพ้องกันว่าอาชีพการพิมพ์เริ่มเข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรม แล้ ว น่ า จะมี วั น ใดวั น หนึ่ ง กำ � หนดให้ เ ป็ น วั น แสดงออกถึ ง ศั ก ยภาพของอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ทั้ ง ด้ า นวิ ช าการ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ตลอดจนร่วมกันพบปะสังสรรค์เพื่อพัฒนาอาชีพของตนเองให้ก้าวหน้าเช่นอาชีพอื่น หรือ อุตสาหกรรมอื่นที่เขามีวันรวมใจผู้คนในอาชีพเดียวกัน จึงได้ระดมความคิดกันว่าควรหาวันที่มีความหมายต่อวงการ พิมพ์อย่างแท้จริง และจากการได้ค้นพบหลักฐานปรากฏในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 12 มีข้อความช่วงหนึ่ง ว่า “วันที่ 3 มิถุนายน 2379 (ค.ศ. 1836) วันนี้รอบินสันได้ส่งหนังสือแผ่นหนึ่งเป็นอักษรไทยมาให้หมอบรัดเลย์ แยกถ้อยคำ� นับว่าหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ในเมืองไทย” แม้ว่าจะมีสิ่งพิมพ์เกิดขึ้นในเมืองไทย มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาก่อนแต่เป็นอักษรโรมันอ่านเป็นสำ�เนียงไทยเท่านั้น รวมถึงการก่อตั้ง โรงพิมพ์มหามงกุฎในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าจัดตั้งเมื่อวันใด เดือนใด ผู้ประกอบการด้านการพิมพ์ ต่างเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้ยึดถือเอาวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันการพิมพ์ไทย” นั่นคือความเป็นมาของ “วันการพิมพ์ไทย” ที่คนรุ่นหลังพึงได้รับทราบและถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ซึ่ง “วันการพิมพ์ไทย” คงมิได้จัดเพื่ออยู่ในวงจำ�กัดของผู้ประกอบการ เท่านั้น พึงต้องแสดงศักยภาพและการให้ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมแก่สังคมในภาพรวม เพื่อให้สังคม ตระหนักถึง “การพิมพ์” ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำ�วันของมนุษย์ทุกคน

“งานวันการพิมพ์ไทย” กำ�เนิดการจัดงาน “วันการพิมพ์ไทย” ครั้งแรก ถูกจัดขึ้นวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยมีพิธีคารวะ หมอบรัดเลย์ที่สุสานโปแตสแตนท์ ยานนาวา ในช่วงเช้า ภาคบ่ายมีนิทรรศการทางการพิมพ์ “อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ควบคู่ไปกับการเสนอผลงานทางวิชาการและการ สัมมนาวิชาการ ณ โรงแรมเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว ตลอดระยะเวลา 2 วัน (3-4 มิถุนายน 2531) ช่วงค่ำ�วันที่ 3 มิถุนายน 2531 เป็นงานสังสรรค์และรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นที่ประทับใจยิ่ง และ “วันการพิมพ์ไทย” ก็ได้มีการจัดต่อเนื่องจากนั้นมาทุกปีและมีการปรับเปลี่ยนบางรายการ บ้าง เช่น ในภาคบ่าย เปลี่ยนจากการจัดเสนอผลงานทางวิชาการและสัมมนา เป็นการจัดพิธีท�ำ บุญทักษิณานุปทาน แด่รัชกาลที่ 4 ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

39 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562



Heidelberg Subscription. โมเดลธุรกิจใหม่ของไฮเดลเบิร์ก ค้นพบการลงทุนรูปแบบใหม่ที่คุ้มค่าสูงสุด รายละเอียดเพิ่มเติม

heidelberg-subscription.com

SUBSCRIBE TO A

SMART

FUTURE

บริษัท ไฮเดลเบิร์ก กราฟฟิคส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 6106100 www.heidelberg.com/th www.facebook.com/HeidelbergTH อีเมล: info.hth@heidelberg.com

20190418_HTH_Subscription_Ads_28.25x11.5 inch.indd 1

22/4/2562 BE 09:43



๖ ทศวรรษ แห่งการเปลี่ยนแปลง เรียบเรียงโดย นิวัต พุทธประสาท

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำ�หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จากความพยายามที่จะรวบรวมสมาชิกสำ�นักพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในเวลานั้น ขึ้นมา ท่ามกลางความยากลำ�บากในการก่อตั้ง ระยะเวลาเริ่มแรกเต็มไปด้วยปัญหา และอุปสรรคมากมาย จนกระทั่งในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ จึงสามารถจดทะเบียน ก่ อ ตั้ ง สมาคมฯ กั บ กองตำ � รวจสั น ติ บ าลได้ สำ � เร็ จ โดยมี สำ � นั ก งานอยู่ ที่ อ าคาร ๙ ถนนราชดำ�เนิน ภายในองค์การค้าคุรุสภามี นายกำ�ธร สถิรกุล ดำ�รงตำ�แหน่งนายกฯ เป็นท่านแรก

43 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


44 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


๖ ทศวรรษ แห่งการเปลี่ยนแปลง

45 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


กำ�เนิดงานสัปดาห์ หนังสือแห่งชาติ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ ๑ ก่อนงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ ๑ จะถือ กำ � เนิ ด ขึ้ น ครั้ ง แรก เวลาผ่ า นพ้ น ไปร่ ว มทศวรรษหลั ง ก่อตั้งสมาคมฯ จากการประกาศของ UNESCO ให้ปี ๒๕๑๕ เป็น “ปีหนังสือระหว่างชาติ” นำ�มาซึ่งความ ร่วมมือ ให้หนังสือมีส่วนสำ�คัญในการสร้างความเข้าใจ อั น ดี ต่ อ ชนชาติ ต่ า งๆ ทางสมาคมฯ จึ ง ถื อ โอกาสนี้ เป็ น วาระสำ � คั ญ จั ด งานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ แห่ ง ชาติ ขึ้ น โดยจั ด ขึ้ น ครั้ ง แรกในบริ เวณโรงละครแห่ ง ชาติ ไ ปจน ถึ ง หอประชุ ม ของมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ใน วันที่ ๑ ถึง ๗ เมษายน ๒๕๑๕

46 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


๖ ทศวรรษ แห่งการเปลี่ยนแปลง

หลั ง เหตุ ก ารณ์ ๖ ตุ ล าคม ๒๕๑๙ เกิ ด การ เปลี่ ย นแปลงครั้ ง ใหญ่ คณะกรรมการพั ฒ นาหนั ง สื อ แห่งชาติมีอันต้องพ้นสภาพไปด้วยเหตุการณ์ทางการ เมือง ขณะเดียวกันงานสัปดาห์หนังสือฯ ในการจัดการ โดยสมาคมฯ ยังดำ�เนินต่อไป แต่ได้เปลี่ยนแปลงสถาน ที่จัดงานจากโรงละครแห่งชาติไปสู่อาคารลุมพินีสถาน ภายในสวนลุมพินี ในเวลานั้นการย้ายสถานที่โดนผู้อ่าน วิพากษ์วิจารณ์ว่าไกล เดินทางไม่สะดวก แต่กระนั้น งานก็ ป ระสบความสำ � เร็ จ เป็ น อย่ า งดี เนื่ อ งจากใกล้ ศูนย์กลางธุรกิจทั้งถนนสีลมและสาทร

47 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


งานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ แห่ ง ชาติ ร่ ว มจั ด กั บ กระทรวงศึกษา เข้ า สู่ ท ศวรรษที่ ๓ ความมั่ น คงในการจั ด งาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติมีมากขึ้น การจัดที่อาคารลุมพินี สถานเป็ น ไปอย่ า งราบรื่ น จนกระทั่ ง เกิ ด เหตุ ก ารณ์ “เมษาฮาวาย” ในปี ๒๕๒๔ พลเอกสัณห์ จิตรปฎิมา ซึ่ ง ดำ � รงตำ � แหน่ ง ผู้ บั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ในเวลา นั้ น ทำ � การรั ฐ ประหารยึ ด อำ � นาจจาก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กลางดึกของวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๔ โดยนำ�กำ�ลังเข้ายึดพื้นที่ในสวนลุมพินี และสั่งปิดงาน สัปดาห์ฯ ซึ่งเป็นเวลาเริ่มงานสัปดาห์หนังสือฯ ทำ�ให้ ม.ล. มานิจ ชุมสาย นายกสมาคมฯ ในเวลานั้น ต้องรีบ ไปเจรจาชี้แจง จนงานสัปดาห์หนังสือฯ ได้เปิดตามปกติ อีกครั้ง

ในปีรุ่งขึ้นทางสมาคมฯ จำ�เป็นต้องย้ายสถานที่ จัดงานอีกครั้ง เนื่องจากทางกรุงเทพมหานครได้แจ้งว่า อาคารลุมพินีสถานต้องปิดปรับปรุงซ่อมแซม ห้วงเวลา ดังกล่าวทำ�ให้งานสัปดาห์หนังสือฯ พเนจรไปจัดตาม สถานที่ต่างๆ หลายแห่ง เช่น หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปี ๒๕๒๖ โรงเรียนหอวังในปี ๒๕๒๗ จากการย้ายสถานที่จัดงานบ่อยๆ และสภาพอากาศ ที่ร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายน ทำ�ให้ผู้มาชมงานน้อย ลง ประกอบกับสถานที่ไม่เป็นที่รู้จักของผู้ชมงาน ทาง สมาคมฯ และผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ผู้มีบทบาทสำ�คัญในการร่วมจัดงาน จึงเล็งเห็นว่าควร เปลี่ ย นแปลงรู ป แบบของงานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ ฯ ใหม่ ทั้งหมด การจัดงาน ครั้งที่ ๑๔ ในปี ๒๕๒๘ จึงจัดขึ้น ครั้งแรก ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ จึ ง นั บ ว่ า เป็ น ทศวรรษใหม่ ข องงานสั ป ดาห์ ฯ ที่ ร่ วมกั บ กระทรวงศึ กษาฯ โดยทางสมาคมฯ ได้ จั ด ตั้ง เต้นท์ผ้าใบรอบหอประชุม และจัดตั้งคูหาให้กับร้านค้า โดยมีการคิดค่าเช่าร้าน อัตราส่วนลดหลั่นกันไปตาม ทำ�เลและขนาด การจัดงานประสบความสำ�เร็จอย่างสูง จนต้ อ งขยายพื้ น ที่ อ อกไปยั ง ถนนลู ก หลวง และทาง คณะกรรมการสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ แห่ ง ชาติ ได้ เ สนอให้ หอประชุ ม คุ รุ ส ภาเป็ น ที่ จั ด งานถาวร โดยในแต่ ล ะปี ทางสมาคมฯ เป็ น ผู้ อ อกสื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ข องงาน จัดการในเรื่องกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ๆ

48 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


๖ ทศวรรษ แห่งการเปลี่ยนแปลง

งานสัปดาห์หนังสือฯ กับก้าวที่กล้า งานสัปดาห์หนังแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นประจำ�หลาย ปีที่หอประชุมคุรุสภา ประสบความสำ�เร็จอย่างมากมาย แต่รูปแบบการจัดงาน จากการพัฒนาการอ่าน พัฒนา ชาติ กลายมาเป็นงานลดราคาหนังสือเป็นสำ�คัญ งาน ประชุม สัมนา นิทรรศการในงานไม่ได้รับความสนใจ ช่วงเวลานี้ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ได้เริ่มจัดงานหนังสือ ของตัวเองขึ้นมาภายในชื่องาน “มหกรรมหนังสือระดับ ชาติ ” โดยครั้ ง แรกในปี ๒๕๓๙ จั ด ขึ้ น ที่ ห้ า งสรรพ สินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ การจัดงานที่ห้างฯ สร้างสีสัน บรรยากาศที่แตกต่างจากงานสัปดาห์หนังสือฯ ดูผ่อน คลายขึ้น ครั้งที่สอง ในปี ๒๕๔๐ ทางสมาคมฯ จัด งานที่ท้องสนามหลวงก็ประสบความสำ�เร็จอย่างสูง แต่ ค่าประกันหญ้านั้นสูงถึงหนึ่งล้านบาท จนกระทั่งในปี ๒๕๔๑ สมาคมฯ ได้เริ่มจัดงานมหกรรมหนังสือฯ ครั้ง แรกที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยการไปจัดงานที่ ศูนย์สิริกิติ์ถือเป็นก้าวที่ส�ำ คัญ และเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ ในเวลานั้น

49 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ขณะเดี ย วกั น งานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ แห่ ง ชาติ พยายามแก้ปัญหาเรื่องความแออัดที่หอประชุมคุรุสภา และสถานที่โดยรอบ จึงย้ายมาจัดที่ศูนย์การประชุมแห่ง ชาติสิริกิติ์ด้วยเช่นกัน เป็นการย้ายจากสถานที่ที่คุ้นเคย มาสู่สถานที่ แห่งใหม่เป็นการตัดสินใจที่กล้าเสี่ยงซึ่งหลัง จากย้ายงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติมาสู่ศูนย์สิริกิติ์ ซึ่ง จัดขึ้นในห้วงเวลาเดิมคือระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึง ต้นเดือนเมษายน ขณะที่งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของปี มีคำ�ถามว่าจัดงานสอง งานใหญ่จะไปรอดหรือไม่นั้น ปัจจุบันได้คำ�ตอบแล้วว่า ทั้งสองงานที่จัดขึ้นที่ศูนย์สิริกิติ์ ประสบความสำ�เร็จด้วย ดี จากพื้นที่โซนซีหนึ่งในปีแรกก็ขยายพื้นที่ครอบคลุมไป จนเต็มทุกพื้นที่ของศูนย์สิริกิติ์จนถึงปัจจุบัน

50 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


๖ ทศวรรษ แห่งการเปลี่ยนแปลง เชื่ อ ว่ า ผู้ อ่ า นหนั ง สื อ คื อ ผู้ แ สวงหาสิ่ ง ใหม่ ๆ และเป็นผู้กล้าที่จะฝ่าฟัน ไม่ยึดติดอยู่กับความ สำ�เร็จของอดีต

Time Line สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ๒๕๑๕ ถึง ๒๕๑๙ : โรงละครแห่งชาติ และหอ ประชุม ธรรมศาสตร์ ๒๕๒๐ ถึ ง ๒๕๒๕ : อาคารลุ ม พิ นี ส ถาน สวนลุมพินี ๒๕๒๖ : หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๗ : โรงเรียนหอวัง ๒๕๒๘ ถึง ๒๕๓๔ : หอประชุมคุรุสภา ถนน ลูกหลวง กระทรวงศึกษาธิการ ๒๔๓๕ : สนามหลวง ๒๕๓๗ ถึง ๒๕๔๓ : หอประชุมคุรุสภา ถนน ลูกหลวง กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๔ ถึง ๒๕๖๒ : ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ความท้าทายบทใหม่ สู่การเปลี่ยนแปลง ในปี ๒๕๖๒ สมาคมผู้ จั ด พิ ม พ์ ฯ ต้ อ ง พบกับความเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจาก ศู น ย์ สิ ริ กิ ติ์ไ ด้ เ วลาปรั บ ปรุ ง รื้ อ สร้ า งใหม่ ตามกำ � หนดการ งานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ แห่ ง ชาติและงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ต้อง ย้ า ยสถานที่ จั ด งานอี ก ครั้ ง หลั ง จากหลาย ทศวรรษที่ ผ่ า นมาทางสมาคมฯ ได้ จั ด งาน ตามสถานที่แตกต่างกันหลายต่อหลายแห่ง และครั้งนี้ถือเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้อง ออกมาจากพื้ น ที่ อั น คุ้ น เคยไปสู่ ส ถานที่ แ ห่ ง ใหม่นั่นคือ อิมแพค เมืองทองธานี และทาง สมาคมฯ คิ ด ว่ า เนื้ อ หาและรู ป แบบงานที่ น่ า ตื่ น ตาตื่ น ใจในพื้ น ที่ ใ หม่ จะทำ � ให้ ง านหนั ง สื อ ทั้งสองงานประสบความสำ�เร็จเช่นเดิม เพราะ

Time Line มหกรรมหนังสือระดับชาติ ๒๕๓๙ : ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ๒๕๔๐ : สนามหลวง ๒๕๔๑ ถึง ๒๕๖๑ : ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บรรณาณุกรม หนังสือครบรอบ 50 ปี สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ

51 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ความก้าวหน้าและนวัตกรรมในอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก 4.0 ของประเทศไทย วรรณา สุทัศ ณ อยุธยา กรรมการสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย ชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล กรรมการสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

ปั จ จุ บั น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ก ระดาษลู ก ฟู ก เป็ น หนึ่ ง ในบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มทั้ ง ใน ประเทศไทยและทั่ ว โลกเนื่ อ งจากกระดาษเป็ น วั ต ถุ ดิ บ ที่ ส ามารถนำ � กลั บ มาหมุ น เวี ย น การผลิตและการใช้ใหม่ได้ การเติบโตของตลาดE Commerce ทำ�ให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ กระดาษลูกฟูกมากขึ้นในปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีน้ำ�หนักเบา บรรจุง่ายและมีความแข็งแรง

กระดาษคราฟท์ (kraft paper) เป็ น วั ต ถุ ดิ บ สำ�หรับการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีความต้องการใช้กระดาษคราฟท์เพื่อผลิต เป็นบรรจุภัณฑ์ ประมาณ 2.8 ล้านตันในปี 2561 และ คาดว่ า ปริ ม าณการใช้ จ ะเพิ่ ม เป็ น 2.9 ล้ า นตั น ในปี 2562 เพิ่ ม ขึ้ น อี ก ประมาณ 3% ตามรายละเอี ย ดที่ ปรากฏในตารางด้านล่าง

52 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ความก้าวหน้าและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก 4.0 ของประเทศไทย

ปี

Kraft Paper Consumption during Y2017-Y2020 (ความต้องการใช้กระดาษ คราฟท์) หน่วย : ตัน

2017 (2560) 2018 (2561) 2019 (2562) 2020 (2563)

2,754,000 2,831,000 2,919,000 3,001,000

เพิ่มขึ้น (%)

Production (การผลิต) หน่วย : ตัน

Capacity (กำ�ลังการผลิต) หน่วย : ตัน

2.80 3.11 2.81

3,233,000 3,324,000 3,427,000 3,522,000

3,620,000 3,680,000 3,680,000 3,680,000

Kraft Paper Consumption during Y2017-Y2020 (ความต้ องการใช้ กระดาษคราฟท์ ) หน่ วย : ตัน 3,050,000

3,001,000

3,000,000 2,919,000

2,950,000 2,900,000

2,831,000

2,850,000

2,800,000

2,754,000

2,750,000

2,700,000 2,650,000 2,600,000 2017 (2560)

2018 (2561)

2019 (2562)

2020 (2563)

ที่มา: สมาคมผู้ผลิตเยื่อและกระดาษไทย

ที่มา: สมาคมผุผ้ ลิตเยือ่ และกระดาษไทย

ขั อ มู ล จากกรมพั ฒ นาธุ ร กิ จ การค้ า กระทรวงพาณิ ช ย์​์ หมวดธุ ร กิ จ 17020 การผลิ ต กระดาษลอนลู ก ฟู ก และกระดาษแข็ ก และการผลิ อ งจากกระดาษและกระดาษแข็ ง พบว่การผลิ า ในปีตกระดาษลอนลู 2560 อุ ต สาหกรรม ขัอมูลจากข้อมูลงลอนลู กรมพักฒฟูนาธุ รกิจการค้ตา กล่ , กระทรวงพานิ ชย์ , หมวดธุ รกิจ 17020 กฟูก ในหมวดธุรกิจดังกล่าวมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 147,190 แสนล้านบาท

และกระดาษแข็งลอนลูกฟูกและการผลิตกล่องจากกระดาษและกระดาษแข็ง พบว่า ในปี 2560 อุตสาหกรรมใน หมวดธุรกิจดังกล่าวมีมูลค่ารวมทั้งสิ้ น 147,190 แสนล้านบาท ความสามารถในการทำ�กำ�ไร ปี

2015 (2558) ปี 2016 (2559) 2015(2560) (2558) 2017 2016 เฉลี(2559) ่ย

2017 (2560) เฉลี่ย

รายได้

กำ�ไร

ต่อรายได้

ความสามารถในการทากาไร ต่อ 3.92 รายได้ 5.04 3.923.70 146,223,000,000 7,364,000,000 5.044.22 147,190,000,000 5,446,000,000 3.70 53 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562 4.22 141,161,000,000 รายได้ 146,223,000,000 141,161,000,000 147,190,000,000

5,533,000,000 กาไร 7,364,000,000 5,533,000,000 5,446,000,000


ความก้าวหน้าและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก 4.0 ของประเทศไทย

บรรจุ ภั ณ ฑ์ ก ระดาษลู ก ฟู ก 4.0 มี ก ารนำ � ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี และนวั ต กรรมมาเพิ่ ม ประสิทธิภาพในขบวนการผลิต ลดต้นทุน และพัฒนา บรรจุ ภั ณ ฑ์ ก ระดาษลู ก ฟู ก ให้ มี ค วามแข็ ง แรงและ สวยงาม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเจ้าของ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Brand owner) และผู้ บ ริ โ ภคมากยิ่ ง ขึ้ น รวมถึงมุ่งเน้นในการรักษาสิ่งแวดล้อม กล่องกระดาษ ลู ก ฟู ก ในยุ ค 4.0 จะมี น้ำ � หนั ก เบามี ค วามแข็ ง แรง ตอบโจทย์ ค วามต้ อ งการของผู้ บ ริ โ ภค และเป็ น การ พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ทำ�ให้ลูกค้าประหยัด ค่าขนส่ง ต้นทุนของสินค้าลดลง และแข่งขันได้ นอก จากนี้การนำ�เครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกมากขึ้น

การพิ ม พ์ แ บบดิ จิ ต อลบนชิ้ น งานที่ มี ก ารผลิ ต จำ�นวนไม่มากและมักใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ยอดขายและการนำ�สินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด อีกทั้งการเติบโตของตลาด E-commerce ก็ ทำ � ให้ มี ก ารใช้ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ก ระดาษลู ก ฟู ก มาก ขึ้ น เนื่ อ งจากน้ำ � หนั ก เบา และแข็ ง แรง ซึ่ ง เป็ น นวั ต กรรมที่ ม าตอบโจทย์ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ใ นยุ ค Corrugated 4.0

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการ ผลิต รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีการพิมพ์ใหม่ๆ เช่น เครื่องพิมพ์แบบดิจิตอล โดยปัจจุบันผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ กระดาษลู ก ฟู ก หลายราย นำ � เอาเครื่ อ งพิ ม พ์ ดิ จิ ต อล มาสนั บ สนุ น การผลิ ต สำ � หรั บ กล่ อ งที่ มี จำ � นวนการสั่ ง น้อยจนถึงปานกลาง จุดเด่นของดิจิตอลพริ้นติ้งมีความ คมชัด แม่นยำ�และมีความรวดเร็วในการพิมพ์โดยไม่ ต้ อ งเสี ย เวลาและค่ า ใช้ จ่ า ยในการเตรี ย มบล็ อ กพิ ม พ์ จึงทำ�ให้ผู้ประกอบการต่างๆ มีความสนใจมากขึ้น 54 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


เทรนด์ในการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสมภาณี ศรีสุวรรณ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันกระแสเรื่องการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable design) หรือ การออกแบบ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Design for the environment) กำ�ลังเป็น กระแสหลักของการออกแบบแนวใหม่ที่นักออกแบบส่วนใหญ่ให้ความสำ�คัญเพิ่มมากขึ้น ในแทบทุกวงการการออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่จำ�เป็นจะต้อง ใช้วธ ิ ก ี ารออกแบบอันชาญฉลาด พยายามสร้างสรรค์ชน ิ้ งานทีไ่ ม่สง่ ผลเสียต่อสิง่ แวดล้อม นำ�เสนอแนวคิดการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการดำ�รงชีวิตที่ยั่งยืน และสามารถคงคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคได้สมบูรณ์เหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม บทบาทของนั ก ออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ นปั จ จุ บั น เริ่มตระหนักว่าผู้ใช้บรรจุภัณฑ์หรือ end user นั้นมิใช่ เพียงผู้บริโภคเท่านั้น แต่ end user ตัวจริงคือโลก ที่จะ ได้ผลกระทบเต็มๆ ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่จะ ผลักดันให้เกิดเทรนด์หรือแนวคิดใหม่ๆ ในการออกแบบ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของแบรนด์สินค้าต่างๆ ดังนี้

เทรนด์ 1: ลดให้น้อยลง แนวคิดในการลด ลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ลด ขนาด ลดปริ ม าณ โดยยั ง คงประสิ ท ธิ ภ าพในการทำ � หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์ ได้แก่ ปกป้อง คุ้ ม ครองสิ น ค้ า และนำ � เสนอข้ อ มู ล สิ น ค้ า ได้ ค รบถ้ ว น ตั ว อย่ า งเช่ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ก ล่ อ งรองเท้ า Allbirds ที่

55 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ออกแบบโดยใช้วัสดุรีไซเคิล 90% จากกล่องรองเท้า เดิม มาทำ�เป็นกล่องใส่รองเท้า 3 ฟังชั่น คือใช้สำ�หรับ ใส่รองเท้า ใช้สำ�หรับซื้อรองเท้าจากร้านโดยตรง และ ใช้ สำ � หรั บ ซื้ อ ออนไลน์ ไ ด้ ด้ ว ยโดยทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น กล่ อ ง สำ � หรั บ ส่ ง สิ น ค้ า ได้ เ ลย ไม่ ต้ อ งใช้ ก ล่ อ งอี ก ชั้ น หนึ่ ง เป็นการลดการใช้กล่องที่เกินจำ�เป็น

เทรนด์ 2: สร้างขยะที่มีคุณค่า นอกจากลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ลงแล้ว ยัง มีอีกเรื่องหนึ่งที่ควรคำ�นึงคือการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่สร้างปริมาณขยะที่ต้องใช้เวลาย่อยสลายนานนับ ร้อยปี หากจำ�เป็นต้องโยนทิ้งขยะก็ทำ�ให้บรรจุภัณฑ์นั้น เป็นขยะที่มีคุณค่า สร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น บรรจุภัณฑ์ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำ�ความสะอาด ผิวหน้าและผิวกาย Pangea Organics ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ จากเยื่อกระดาษขึ้นรูปและฝังเมล็ดพันธุ์โหระพาลงใน เนื้อกล่อง กล่องนี้จะย่อยสลายได้เองภายในเวลาไม่ นาน พร้อมกับต้นอ่อนโหระพาที่งอกงามขึ้นมา เท่ากับ ลูกค้าจะได้ต้นโหระพามาฟรีๆ เมื่อโยนกล่องทิ้งไป

ส่ ว นบรรจุ ภั ณ ฑ์ ข องกล่ อ งรองเท้ า Puma ที่ ออกแบบได้ชาญฉลาดเป็นอย่างยิ่ง ช่วยลดปริมาณการ ใช้กระดาษทำ�กล่องได้ถึง 65% เป็นการผสมผสานกัน ระหว่างถุงที่ทำ�จากถุง PET รีไซเคิลและกระดาษลูกฟูก โดยมาทดแทนกล่องรองเท้าแบบเดิม ซึ่งถุงสีแดงสดใส นี้สามารถใช้เป็นถุงใส่รองเท้าหรือสิ่งของต่างๆ และใช้ เป็นถุงช้อปปิ้งไปในตัว

56 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


เทรนด์ในการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

ผู้ผลิตเบียร์ Saltwater Brewery พบว่าผู้บริโภค ส่วนใหญ่มักชอบโยนบรรจุภัณฑ์เบียร์แพค 6 กระป๋อง ทิ้งลงไปในทะเล โดยเฉพาะปลอกพลาสติกที่รัดรอบ กระป๋องเบียร์ อันเป็นการเพิ่มปริมาณขยะในท้องทะเล และทำ�อันตรายต่อสัตว์น้ำ�ต่างๆ จึงคิดเปลี่ยนการใช้ จากวั ส ดุ พ ลาสติ ก มาเป็ น วั ส ดุ ชี ว ภาพที่ ส ามารถย่ อ ย สลายได้ตามธรรมชาติ (Biodegradable) ที่ทำ�มาจาก เศษเหลือของเมล็ดข้าวบาร์เลย์ และฮอปส์ที่ใช้ในการ หมักเบียร์ ซึ่งบรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้นอกจากจะไม่เป็น อันตรายต่อบรรดาสัตว์น้ำ�ทั้งหลาย เช่น ปลาและเต่า แล้วยังเป็นอาหารอันโอชะของสัตว์เหล่านี้ได้เป็นอย่าง ดีอีกด้วย

เทรนด์ 3: เนรมิตขยะให้เป็นบรรจุภัณฑ์ แนวคิดที่ 3 นี​ี้สืบเนื่องมาจากปริมาณขยะพลาสติก ในท้องทะเลที่นับวันจะทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลาย เป็นปัญหาวิกฤตการณ์ขยะล้นโลก กระบวนการ upcycling จึงเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยการมอบชีวิต ใหม่ให้กับขยะที่นำ�ไปแปรสภาพแล้วนำ�กลับมาใช้ใหม่ อี ก ครั้ ง ผ่ า นการออกแบบและนวั ต กรรมการรี ไซเคิ ล มาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม น่าใช้ และ มีมูลค่าที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ขวดเหล้ารัม Fitzroy ที่ใช้ฝาขวดทำ�จากเศษฉลากโค้กที่ทิ้งแล้ว นำ�มา แปรรูปเป็นฝาขวดทรงสี่เหลี่ยมได้อย่างงดงาม

57 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


หรืออย่างบรรจุภัณฑ์ method ซึ่งเป็นผู้นำ�ทาง ด้าน eco-friendly packaging มาโดยตลอด ได้นำ�เสนอ บรรจุ ภั ณฑ์ น้ำ� ยาล้างจานและล้า งมือ แบบ 2-in-1 ที่ ใช้ เ ศษขยะพลาสติ ก จากท้ อ งทะเลและขวดพลาสติ ก รีไซเคิลจากบรรจุภัณฑ์ method เก่ามาแปรรูปเป็นขวด พลาสติกรักษ์โลกที่เรียกว่าขวด Ocean Plastic เป็น รายแรกในโลก

เทรนด์ 4: นวัตกรรม+วัสดุบรรจุภัณฑ์ อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง ของบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ย่ั ง ยื น คื อ การเลื อ กใช้ วั ส ดุ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ ที่ ไ ม่ ก ระทบต่ อ สิ่งแวดล้อม อาจเป็นวัสดุที่มีอยู่แล้วแต่ยังไม่เคยนำ�มา ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เลย เช่น บรรจุภัณฑ์ของ Biossance ซึ่งเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชั้น นำ � เป็ น ผู้ ริ เริ่ ม ใช้ แ นวคิ ด ใหม่ สำ �หรั บ วั ส ดุ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ โดยผนวกนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์กับแนวคิดเรื่อง ความยั่งยืน นำ�กระดาษรีไซเคิลที่ทำ�จากอ้อยมาเป็น ฉลากและกล่องบรรจุภัณฑ์สินค้า เช่นเดียวกับส่วนผสม หมายเลข 1 ของแบรนด์ โดยพิมพ์ด้วยหมึกที่ทำ�จากพืช ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยในการกำ�จัด แต่ ยังให้ความสวยงามสมเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวระดับ พรีเมี่ยมอีกด้วย

58 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


เทรนด์ในการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

เทรนด์ 5: Reuse + Refill แนวคิ ด ในการนำ � ผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรื อ บรรจุ ภั ณ ฑ์ กลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือใช้ประโยชน์ใหม่นั้น ดูจะ ธรรมดาๆ ไปแล้วเมื่อแบรนด์เครื่องสำ�อางออร์แกนิค ระดั บ แนวหน้ า Kjaer Weis ได้ นำ � กลยุ ท ธ์ ก ารใช้ ใหม่และการเติม (Reuse+Refill) เครื่องสำ�อางมาใช้ เป็ น เจ้ า แรกในโลก ซึ่ ง เน้ น การเก็ บ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ไว้ ใช้ ต่ อ มากกว่ า การรี ไซเคิ ล โดยจะมี บ รรจุ ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ ง สำ�อางหลักและเครื่องสำ�อางรีฟีลเป็นชุดๆ กัน ได้แก่ Cream Blush on, Eye Shadow, Mascara และ Lipstick เป็นต้น ทุกชนิดสามารถเติมใหม่ได้ ไม่ต้อง ทิ้งตัวบรรจุภัณฑ์หลัก อันเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ ส่วนบรรจุภัณฑ์ตัวนอกสุดและบรรจุภัณฑ์เครื่องสำ�อาง รีฟีลนั้นก็ทำ�จากกระดาษรีไซเคิล

References https://beta.thedieline.com https://www.allbirds.com/ https://www.packagingcookbook.com https://www.dezeen.com/ https://methodhome.com/beyond-the-bottle/ ocean-plastic/ https://kjaerweis.com/

59 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562



บริ ษัท ปภาวิน จำกัด 123 ม. 4 ถ.ราชพฤกษ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 แฟกซ : 02 489 4999 Papawin Co., Ltd. 123 Moo 4 Ratchaphruek Road Mahasawad, Bangkruai Nonthaburi 11130 Fax : +66 2489 4999

: 02 489 4949

: info@hi-jet.com

: www.hi-jet.com



การปรับตัวของการพิมพ์บรรจุภณ ั ฑ์ในอนาคต

ดร.นิทัศน์ ทิพยโสตนัยนา ที่ปรึกษาชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย อาจารย์ประจำ�ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จากช่ ว งปี ที่ ผ่ า นมามี ข่ า วการปิ ด ตั ว ของสำ � นั ก พิ ม พ์ ต่า งๆ ทั้ ง ในประเทศไทยและ ในต่างประเทศ มีทั้งการปิดตัวลงของหัวหนังสือนิตยสารรวม แม้กระทั่งการปิดตัวของ หนังสือพิมพ์บางฉบับ ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าวงการการพิมพ์มีปัญหาอย่างชัดเจน คนที่มอง จากภายนอกเข้ามาคงเข้าใจว่าวงการการพิมพ์ในประเทศไทยคงถึงคราวใกล้จุดจบ ยอด จำ�นวนนักเรียนนักศึกษาที่ทำ�การศึกษาด้านการพิมพ์ก็มีแนวโน้มสมัครเข้าเรียนน้อยลง หรือแม้กระทั่งนักวิชาการ กูรูผู้รู้ผู้ชำ�นาญด้านเศรษฐกิจบางท่านก็ต่างที่จะออกมาฟันธง ว่ า ธุ ร กิ จ การพิ ม พ์ เ ป็ น หนึ่ ง ในธุ ร กิ จ ที่ ไ ม่ ไ ด้ ไ ปต่ อ แต่ ใ นความเป็ น จริ ง ธุ ร กิ จ การพิ ม พ์ ในเมื อ งไทยมี ก ารปรั บ ตั ว มาสั ก ระยะหนึ่ ง แล้ ว ดู ไ ด้ จ ากเวลาที่ โ รงพิ ม พ์ ที่ กำ � ลั ง มี แ ผนจะ ลงทุนเครือ ่ งจักรมักจะมองเผือ ่ ว่า วันนึงเค้าจะต้องมาผลิตงานทางด้านการพิมพ์บรรจุภณ ั ฑ์ เพราะมีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำ�ธุรกิจอยู่ในด้านนี้มองออกได้ว่า แม้งานพิมพ์ที่เป็น งานเอกสารหรืองานพิมพ์บนกระดาษจะลดลง แต่ยอดการใช้สินค้ากลับเพิ่มมากขึ้นเป็น ไปตามสัดส่วนประชากรโลกที่มีการขยายตัว ทำ�ให้ต้องมีการใช้ตัวบรรจุภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น และยิ่งมองเข้าไปในตลาดก็จะเห็นว่าบรรจุภัณฑ์แทบไม่มีตัวไหนเลยที่ไม่ผ่านกระบวนการ พิมพ์ สินค้าบางตัวผู้ซื้อไม่ได้ซื้อเพื่อนำ�ไปใช้เอง เช่น บรรจุภัณฑ์บรรจุอาหารสุนัข เพราะ คงไม่มีใครจูงสุนัขตัวโปรดเข้าไปในห้างสรรพสินค้าแล้วให้สุนัขตรงไปที่ชั้นวางสินค้าแล้ว ให้มันเลือกสินค้าเอง กับกลายเป็นเจ้าของที่พร้อมจะควักกระเป๋าจ่ายให้กับบรรจุภัณฑ์ อาหารสุนัขที่พิมพ์หน้าซองหรือหน้ากล่องได้สวยงาม แสดงรูปภาพสุนัขสายพันธุ์ต่าง ประเทศ ที่มีขนสวยมีแววตาสดใส ซึ่งความสวยงามนี้ล้วนมาจากกระบวนการพิมพ์ ทั้งสิ้น 63 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


31 มกราคม 2561 กลุ่มบริษัท Meredith Corp เข้าซื้อกิจการ กลุ่ม Time Inc. (สื่อสิ่งพิมพ์นิตยสารไทม์ปิดกิจการ) : ที่มาภาพ https://www.nytimes.com/interactive/ 2018/05/19/business/media/time-inc-oral-history.html

โดยอี ก เหตุ ผ ลที่ ผู้ ป ระกอบการทางด้ า นวงการ การพิ ม พ์ ม องเห็ น ก็ คื อ ประชากรส่ ว นใหญ่ มี ก ารใช้ อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ค ทรอนิ ก ส์ ท างการสื่ อ สารเข้ า มาแทนที่ สื่อที่เป็นตัวเอกสารหรือกระดาษ ซึ่งเป็นผลทางลบให้ โรงพิมพ์มียอดการผลิตงานพิมพ์ลดลง แต่ในทางกลับ กันก็มีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อเป็นสื่อออกสู่ทางโลก ภายนอกได้ ง่ า ย มี ก ารใช้ ง านเพื่ อ โลกโซเชี ย ล มี ก าร ใช้งานอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ� วัน นับวันยิ่งใช้งานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้รูปแบบการใช้ ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ง่ายขึ้น ผนวกอินเตอร์เน็ต ความเร็ ว สู ง หรื อ ความเร็ ว ในการเชื่ อ มต่ อ สั ญ ญาณ ที่ ร ะดั บ ความเร็ ว 3G 4G 5G ที่ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย น ให้มีความเร็วและความแรงเพิ่มมากขึ้นจากเดิม จาก จุ ด ที่ เ คยเริ่ ม ต้ น ในระดั บ ความเร็ ว ในการเชื่ อ มต่ อ แค่ 56 kbps จนมาถึงปัจจุบันมีความสามารถให้ถึงระดับ กิกะไบต์ (1000 kbps) และคงไปถึงระดับ เทระไบต์ (10 Gbps) แน่ น อน กลั บ ยิ่ ง ทำ � ให้ ค นใช้ ตั ว อุ ป กรณ์ เหล่ า นี้ ไ ด้ ง่ า ยและเพิ่ ม มากขึ้ น อี ก ทั้ ง ในปี ส องปี นี้ เรา จะเห็ น การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ในทุ ก ที่ ห รื อ ที่ เรี ย กกั น ว่ า internet of thing ผ่านยุคการเชื่อมต่อเจนเนอเรชั่นที่

5 หรือเรียกกันติดปากว่ายุค 5G ในการควบคุมระยะ ไกล การใช้ฟังก์ชันอัจฉริยะ ในบ้านเรือนและในยาน พาหนะ ซึ่งในยุค 5G มีความรวดเร็วกว่ายุค 4G ใน ปั จ จุ บั น ถึ ง 10 เท่ า มี จุ ด เด่ น ในเรื่ อ งความหน่ ว งใน การทำ�งานเชื่อมต่อสั่งการลดลงเหลือแค่ 1 ms (5G เสมื อ นทำ � ให้ เชื่ อ มต่ อ ไปปลายทางได้ เร็ ว กว่ า 0.001 วินาที) สามารถรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 1,000 เท่า ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อลดน้อยลง 90% ทำ � ให้ แ บตจะยื ด อายุ ก ารใช้ ง านได้ ย าวนานมากขึ้ น ซึ่ ง อาจจะเป็ น ยุ ค ที่ ผู้ ป ระกอบการสามารถทำ � ความ รู้จักผู้ซื้อผ่านระบบการเชื่อมต่อทำ�ให้ดูเสมือนว่ารู้จัก ผู้ ซื้ อ มากกว่ า ที่ ผู้ ซื้ อ รู้ จั ก ตั ว เอง โดยเป็ น ผลด้ า นบวก ที่ จ ะทำ � ให้ ก ารใช้ ชี วิ ต ของคนในอนาคตเปลี่ ย นแปลง ไป โดยเริ่ ม จากคนส่ ว นใหญ่ เ วลาจะซื้ อ ของก็ มั ก ที่ จะค้ น หาสิ น ค้ า หรื อ สำ � รวจราคาจากช่ อ งทางนี้ เ ป็ น อันดับแรก เวลาจะหาของสักอย่าง จากแทนที่จะเปิด จากแคตตาลอกหรือแผ่นโฆษณาใบปลิว กลับเปลี่ยน ไปทำ�การสืบค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อหาว่าของ ที่ อ ยากได้ อ ยู่ แ ห่ ง หนตำ � บลใด ทำ � การเปรี ย บเที ย บ ราคาร้านที่หนึ่ง ร้านที่สอง ร้านที่สาม ไม่เดินทางไป ดู ว่ า ของจริ ง เป็ น อย่ า งไรขอแค่ ไ ด้ ดู รู ป ประกอบทาง หน้าเว็บหรือหน้าเพจ อารมณ์เสมือนร้านค้าตั้งบนอยู่ หน้าจอเรา และถ้าซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นที่ ไว้ใจได้ พอพบเห็นสินค้าถูกใจ พอใจกับราคาก็ทำ�การ

64 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การปรับตัวของการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในอนาคต

สั่งซื้อแบบที่ไม่ต้องมองเห็นหน้าผู้ขายทันที การซื้อขาย ก็จบลง เพราะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่ในปัจจุบันนี้การ ซื้อของผ่านออนไลน์มีราคาถูกกว่าการไปซื้อของจริงที่ วางโชว์อยู่ที่หน้าร้าน หรือในกรณีที่ราคาอาจสูงกว่าก็ จะมองมุมในเรื่องของการชดเชยความรู้สึกเรื่องของการ ประหยัดเวลาและไม่ต้องเปลืองค่าเดินทางไปซื้อ แต่ ทำ�ไมตัวบรรจุภัณฑ์ยังคงต้องมีอยู่ทั้งที่คนจะตัดสินใจ จากสิ่งที่ซื้อไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ หรือฉลากรูปแบบต่างๆ ที่ ติดอยู่บนตัวสินค้า เพราะในประเทศไทยหรือในต่าง ประเทศก็ล้วนแต่มีกฎหมายที่ระบุไว้ว่าถ้าผู้ซื้อสินค้าไม่ สามารถเห็นวิธีการผลิต ผู้ผลิตสินค้าจำ�เป็นต้องมีฉลาก แสดงให้ ผู้ ซ้ื อ รั บ รู้ ว่ า สิ่ ง ที่ ซ้ื อ คื อ อะไร ถ้ า เป็ น อาหารก็ ต้องบอกว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง มีการใช้งานอย่างไร หรือต้องมีการเก็บรักษาแบบไหน

การซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร ผ่านระบบ การสื่อสารในปัจจุบัน : ที่มาภาพ https://internetmarketingstrategiesblog.net/waysto-better-optimize-your-mobile-marketing-results/

วิธีทางหนึ่งที่ใช้ในการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยน แปลงของผู้ ป ระกอบการด้ า นการพิ ม พ์ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ใ น ทุกวันนี้มักจะเป็นรูปแบบของการลงทุนซื้อเครื่องจักร ที่ แ พงที่ สุ ด เพื่ อ มาผลิ ต งานที่ ถู ก ที่ สุ ด โดยเหตุ ผ ลที่

เป็ น เช่ น นี้ เ นื่ อ งจากมี ก ารแข่ ง ขั น กั น สู ง ประกอบกั บ เวลาในการผลิ ต งานมี จำ � นวนจำ � กั ด ค่ า แรงคนงาน ที่นับวันจะพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ประกอบกับการแข่งขัน ด้านสงครามราคาทำ�ให้ผู้ประกอบการป้องกันการย้าย งานผลิต ซึ่งวิธีการแบบนี้เป็นวิธีการที่เหมาะสำ�หรับ โรงพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่มีประสบการณ์ มีฐานลูกค้าเดิม ที่อยากจะรักษาไว้หลายๆ ราย รวมทั้งมีเงินหรือแหล่ง ลงทุนในความเสี่ยงต่ำ� จึงจะสามารถใช้นโยบายนี้อย่าง ปลอดภั ย เพราะในทุ ก วั น นี้ ลู ก ค้ า เดิ ม ที่ ผ ลิ ต งานกั บ โรงพิมพ์บรรจุภัณฑ์อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ บรรจุ ภั ณ ฑ์ เช่ น มี ก ารเปลี่ ย นจากการใช้ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ที่เป็นโลหะ เช่น กระป๋องไปเป็นพลาสติก หรือเปลี่ยน จากบรรจุ ภั ณ ฑ์ พ ลาสติ ก ไปเป็ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ก ระดาษ บางครั้ ง โรงพิ ม พ์ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ คู่ แข่ ง มี ก ารปรั บ ลดราคา เพื่ อมาแย่ งงานก็ มี การย้ ายงานไปผลิ ตที่ อื่น พอครั้ น เราอยากที่ จ ะดึ ง งานกลั บ มาเราก็ ต้ อ งลดราคาลงไป อี ก เพื่ อ ดึ ง งานกลั บ มาทำ � ที่ เ ดิ ม เหตุ ก ารณ์ เ หล่ า นี้ ก็เป็นความเสี่ยงด้านการแข่งขันอีกรูปแบบหนึ่ง หรือ ที่คนมักจะพูดว่าเป็นการทำ�ธุรกิจในทะเลสีเลือด (red ocean) หรือถึงเหตุเลวร้ายที่สุดคือลูกค้าที่สั่งบรรจุภัณฑ์ จากเรามี ก ารเลิ ก กิ จ การโดยไม่ ท ราบล่ ว งหน้ า หรื อ เลิ ก ผลิ ต สิ น ค้ า ตั ว เดิ ม ๆ แล้ ว หั น ไปผลิ ต สิ น ค้ า ใหม่ ซึ่งเหตุการณ์นี้มักจะเกิดให้เห็นอยู่บ่อยๆ

65 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


เครื่องพิมพ์กราเวียร์ 8 สี สำ�หรับงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว ที่สามารถผลิตงานได้ถึง 600 เมตรต่อนาที : ที่มาภาพ https://www.bobst.com/

แต่เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านการออกแบบและ ด้านการพิมพ์ในทุกวันนี้รุดหน้าไปมากทำ�ให้การพิมพ์ งานบรรจุภัณฑ์สามารถมีลูกเล่นอื่นนอกจากการพิมพ์ งานที่รวดเร็วหรือพิมพ์งานได้ในราคาที่ถูกที่สุด โดยมี การปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการผลิตงานสินค้าบาง อย่ า งให้ เ ป็ น สิ น ค้ า ตั ว ลิ มิ เ ต็ ด ซึ่ ง มี จำ � นวนจำ � กั ด หรื อ การผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อทดลองทางการตลาดก่อนการ ผลิตจริงจำ�นวนมาก หรือแม้กระทั่งการผลิตบรรจุภัณฑ์ เพื่อ ให้ ต รงกั บผู้ บริโ ภคเฉพาะกลุ่มโดยตรง ประกอบ คนในโลกนี้มีจำ�นวนมากขึ้นต้องกินต้องใช้มากขึ้นส่งผล ให้การผลิตสินค้ามียอดการผลิตเพิ่มสูงยอดการใช้ฉลาก และบรรจุ ภั ณ ฑ์ ก็ เ พิ่ ม สู ง ตามขึ้ น ไปด้ ว ย ด้ ว ยเหตุ ผ ล และข้อจำ�กัดแบบเดิม ที่มีเวลาในการผลิตเท่าเดิม มี ทรัพยากรเท่าเดิม แต่ต้องการจำ�นวนสินค้าฉลากและ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ม ากกว่ า เดิ ม ด้ ว ยความเร็ ว ในการผลิ ต ที่ ต้องการขึ้น ผนวกกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ด้านการสื่อสารที่มีความรวดเร็วมากขึ้น ทำ�ให้การพิมพ์ บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนมาใช้การพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอลมาก

ยิ่งขึ้น เพราะจากการสำ�รวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ตลาด การผลิตบรรจุภัณฑ์ดิจิตอลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จะมียอดขายถึง 12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนที่ 3.25% ของบรรจุภัณฑ์ที่พิมพ์ออกมาทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2020) ตลาดการผลิตบรรจุภัณฑ์ดิจิตอลจะมีการขยายตัวเพิ่ม ส่วนแบ่งการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดได้มากถึง 13% หรือมีมูลค่าถึง 22.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเหตุผล ที่ มี ก ารใช้ ก ารพิ ม พ์ ดิ จิ ต อลมาผลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ์ เ พราะ ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และเพื่อแข่งขันใน ตลาดที่ทำ�แล้วต้องอยู่รอดและมีการเจริญเติบโต ซึ่ง เครื่ อ งพิ ม พ์ ดิ จิ ต อลจะตอบโจทย์ ใ นเรื่ อ งของความ รวดเร็ว คือสามารถผลิตได้ไวในเวลาที่ต้องการ ผลิต ให้ ส อดคล้ อ งหรื อ เป็ น ผู้ นำ � ตลาดและต้ อ งตรงกลุ่ ม เป้ า หมาย มี ก ารพิ ม พ์ เ พื่ อ ทดลองด้ า นการตลาดที่ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ มี ก ารพิ ม พ์ ใ นจำ � นวนที่ ต้ อ งการด้ ว ย ต้นทุนที่ต่ำ� ส่วนทางด้านคุณภาพก็มีการปรับปรุงให้มี คุ ณ ภาพเหมื อ นกั บ การผลิ ต จริ ง ด้ ว ยเครื่ อ งจั ก รขนาด

66 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การปรับตัวของการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในอนาคต

ใหญ่สามารถควบคุมเฉดสีได้ตรงกับแบรนด์ของสินค้า อีกทั้งในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดิจิตอลยังสร้างความแปลก ใหม่ น่ า สนใจให้ กั บ ตั ว บรรจุ ภั ณ ฑ์ ทั้ ง ในเรื่ อ งรู ป แบบที่ แปลกตา หรือการนำ�ไปใช้กับงานพิมพ์เพื่อป้องกันการ ปลอมแปลงหรื อ เพื่ อ การตรวจสอบ เพราะสามารถ นำ � ไปผนวกกั บ เทคโนโลยี ห มึ ก พิ ม พ์ ดิ จิ ต อลที่ มี ก าร เปลี่ยนแปลง เช่น สามารถพิมพ์สีขาวได้ พิมพ์สีเงิน หรื อ สี ท องได้ พิ ม พ์ ด้ ว ยหมึ ก พิ ม พ์ ที่ เ ปลี่ ย นสี ไ ด้ เ มื่ อ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง หรือมีความสามารถด้านการนำ� ไฟฟ้ า ด้ ว ยหมึ ก พิ ม พ์ พิ เ ศษ หรื อ หมึ ก พิ ม พ์ ที่ ต้ อ งการ จะมองเห็นภายใต้แสงพิเศษ หรือเรืองแสงภายใต้แสง ที่กำ�หนด ทำ�ให้เกิดการสร้างโปรโมชั่นต่างๆ ที่ทำ�ให้ เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างโปรโมชั่นไปยัง กลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลาย โดยการใช้เครื่องพิมพ์ ดิจิตอลมาผลิตบรรจุภัณฑ์จะมีจุดเด่นในเรื่องของเวลา และต้ น ทุ น ดั ง ที่ ทุ ก คนทราบคื อ จะช่ ว ยลดขั้ น ตอน

ในการสร้ า งแม่ พิ ม พ์ ช่ ว ยประหยั ด เวลา และต้ น ทุ น ในการผลิ ต โดยเฉพาะยิ่ ง เป็ น แม่ พิ ม พ์ สำ � หรั บ พิ ม พ์ บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว เช่น ระบบกราเวียร์แล้วต้นทุนใน การผลิ ต ยิ่ ง สู ง ซึ่ ง การพิ ม พ์ ร ะบบดิ จิ ต อลจะเป็ น การ ลดขั้ น ตอนในการเตรี ย มความพร้ อ มก่ อ นพิ ม พ์ และ อี ก จุ ด เด่ น หนึ่ ง คื อ เมื่ อ เราต้ อ งการผลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ น จำ�นวนไม่มากหรือที่เราจะเรียกกันว่างานยอดผลิตสั้น (short run) เครื่องพิมพ์ดิจิตอลจะทำ�การผลิตงานพิมพ์ ออกมาพร้อมกับปริมาณของเสียที่น้อยมากเมื่อเทียบ กั บ การผลิ ต งานบรรจุ ภั ณ ฑ์ โ ดยเครื่ อ งจั ก รขนาดใหญ่ โดยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลจะถูกนำ�มาใช้สำ�หรับการผลิต บรรจุภัณฑ์ที่ต้องการทำ�แคมเปญตัวสินค้าให้เป็นแบบ ลูกแบบลิมิเต็ด ที่ผู้ประกอบการในหลายเจ้ามักใช้เป็น กลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบัน เพราะการทำ�การตลาด รู ป แบบนี้ มี คู่ แข่ ง น้ อ ยเสมื อ นการทำ � ธุ ร กิ จ ในน่ า นน้ำ � สีคราม (blue ocean)

การพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลบนวัสดุพิมพ์ป้อนม้วน : ที่มาภาพ http://www.blog.podi.org/hp-puts-on-an-amazing-display-at-labelexpo-in-brussels

67 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


แต่นอกจากการนำ�ระบบดิจิตอลเข้ามาใช้ในการ พัฒนาการพิมพ์บรรจุภัณฑ์แล้ว ยังต้องมีเรื่องอื่นเข้า มาประกอบอีก เพราะในเรื่องของสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ยั ง มี เรื่ อ งของการออกแบบและวั ส ดุ ที่ ใช้ พิ ม พ์ เข้ า มา ประกอบด้ ว ย โดยสำ � หรั บ การออกแบบในปั จ จุ บั น นี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การใช้โปรแกรม หรือซอฟแวร์ออกแบบที่มีลูกเล่นทำ�ให้ภาพกราฟิคบน ตั ว บรรจุ ภั ณ ฑ์ มี ก ารเปลี่ ย นตำ � แหน่ ง ไม่ ซ้ำ � กั น เราแค่ ออกแบบภาพต้นฉบับแค่แบบเดียวโปรแกรมก็จะทำ�การ คำ�นวณแล้วย้ายองค์ประกอบเรื่องสีและภาพกราฟิค ให้ไม่ซ้ำ�กันผลิตได้ต้ังแต่ 1 ชิ้นขึ้นไป เราก็สามารถนำ� ลู ก เล่ น นี้ ไ ปออกแบบตั ว บรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ ห้ เ ป็ น สิ น ค้ า ที่ มี ฉลากแบบลิมิเต็ดเป็นที่น่าสนใจ หรือการใช้ซอฟแวร์ ประเภทพิ ม พ์ ข้ อ มู ล ที่ แ ตกต่ า งและเปลี่ ย นแปลงตาม ฐานข้อมูลที่บันทึก Variable data printing (VDP) เพื่อ ทำ�ตัวชิ้นงานบรรจุภัณฑ์เกิดความแตกต่างของข้อมูล บนตัวฉลาก อาจมีการใช้สำ�หรับเพื่อพิมพ์ชื่อลูกค้าหรือ ข้อมูลที่ส่ือไปถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อสร้าง การตลาดแบบเฉพาะเจาะจงไปที่ตัวผู้ใช้ สร้างความน่า ประทับใจและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีเสมือนมีการเอาใจใส่ ในตัวลูกค้าทุกรายละเอียดเกิดเป็นผลด้านบวกทำ�ให้ ผู้ใช้สินค้าเกิดความภักดีในตัวสินค้านั้นๆ เพิ่มมากขึ้น หรือมีการนำ�ไปใช้ในเรื่องของการประหยัดเวลาในการ เปลี่ ย นแปลงข้ อ มู ล บนตั ว ฉลากหรื อ บรรจุ ภั ณ ฑ์ เช่ น พิมพ์ข้อความพิเศษในช่วงเทศกาลสำ�คัญ หรือ ใช้แยก ย่อยตัวสินค้าในกรณีที่สินค้าที่บรรจุอยู่มีความแตกต่าง ไปในเรื่องของกลิ่น สี หรือ สายพันธุ์ แต่ยังอยากให้ คงเอกลักษณ์แบบเดิมของทรงหรือตัวบรรจุภัณฑ์ เพื่อ ป้องกันการจำ�สับสน และยังมีโปรแกรมหรือซอฟแวร์ ต่างๆ ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้ง่าย ราคาถูก ประหยัดเวลา และสร้างความแตกต่าง ให้ตัวบรรจุภัณฑ์

ตัวอย่างงานพิมพ์ซองขนม Kit Kat ที่พิมพ์ภาพถ่ายใบหน้าคน บนซองบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวถึง 55,000 คน ที่เน้นการทำ�ตลาด แบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้โปรแกรมในการออกแบบผสานกับ การพิมพ์ระบบดิจิตอล : ที่มาภาพ https://www.dlpmag.com/news/19263/ultimatedelivers-for-nestle/

ส่วนเรื่องของวัสดุที่น�ำ มาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ แบบเดิม เช่น กระดาษ แก้ว ไม้ พลาสติก โลหะ ที่ปัจจุบันก็ ยังคงมีการใช้กันอยู่ แต่วัสดุบางประเภทก็มีการใช้ลดลง หรือมีการใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งวัสดุทั้งหมดยังมีการเปลี่ยนแปลง และพั ฒ นาโดยใช้ เ ทคโนโลยี เข้ า มาเกี่ ย วข้ อ ง มี ก าร ประยุ ก ต์ ใช้ วั ส ดุ ม ากกว่ า หนึ่ ง ประเภทมาผสมผสาน ประกอบกั น เพื่ อ ผลิ ต เป็ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ เช่ น การนำ � กระดาษไปประกบกับพลาสติก โลหะเคลือบพลาสติก หรือแม้กระทั่งการปรับปรุงคุณสมบัติหรือเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของวัสดุเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ในเรื่ อ งของคุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษสำ � หรั บ ปกป้ อ งตั ว สิ น ค้ า ภายในที่ บ รรจุ อ ยู่ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น สามารถ ปกป้ อ งตั ว สิ น ค้ า ตลอดการขนส่ ง ด้ ว ยวิ ธี ก ารเดิ น ทาง ต่ า งๆ โดยไม่ ทำ � ให้ ตั ว สิ น ค้ า ที่ บ รรจุ เ สี ย หาย หรื อ สามารถเก็ บ รั ก ษาสิ น ค้ า ภายในได้ ย าวนานมากกว่ า เดิมเพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษาและจำ�หน่าย เช่น วัสดุ ประเภทพลาสติก ที่ปิดผนึกแล้วไม่ยอมให้อากาศผ่าน

68 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การปรับตัวของการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในอนาคต

เข้าไปในตัวบรรจุภัณฑ์ได้ 100% หรือพลาสติกที่มีการ โดยสรุปการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เกิด ปรับปรุงโครงสร้างให้มีคุณสมบัติพิเศษยอมให้ก๊าซหรือ ความอยู่รอดแบบยั่งยืนจะต้องประกอบไปด้วย ั ฑ์โดยใช้เทคโนโลยี อากาศบางชนิดถ่ายเทผ่านตัววัสดุได้ หรือการนำ�วัสดุ เรือ่ งของการออกแบบบรรจุภณ ประเภทพิ เ ศษไปทำ � บรรจุ ภั ณ ฑ์ อั จ ฉริ ย ะที่ มี ลู ก เล่ น ที่ และความแปลกใหม่ และสร้างการตลาดที่มีความ แตกต่าง เช่น สามารถตรวจสอบการเสื่อมเสีย หรือหมด แตกต่าง ส่วนการผลิตงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์โดย อายุของสินค้าภายในได้ และในปัจจุบันนี้กระแสการ มี ก ารประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ท างด้ า นการพิ ม พ์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งในรูป ดิจิตอลเข้ามาช่วยในการผลิตงานเพื่อการลอง แบบของการขอความร่วมมือ การออกเป็นกฎระเบียบ ตลาดหรื อ งานที่ มี ค วามแตกต่ า ง และเมื่ อ งาน ข้ อ บั ง คั บ ต่ า งๆ รวมไปถึ ง การออกกฎหมาย ที่ เริ่ ม มี ยอดพิมพ์บรรจุภัณฑ์จำ�นวนมากๆ ก็กลับไปใช้ การบั ง คั บ ใช้ ภ ายในประเทศไทยหรื อ ในต่ า งประเทศ เครื่ อ งจั ก รแบบเดิ ม ที่ ผ ลิ ต งานจำ � นวนมากใน เพื่อป้องกันผลกระทบของตัวบรรจุภัณฑ์ที่จะไปทำ�ลาย ต้นทุนต่อชิ้นที่ต่ำ� อีกทั้งต้องมีการเลือกใช้วัสดุ สิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาเรื่องของขยะ การจัดเก็บและ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ มี ก ารวิ วั ฒ นาการไปในอนาคต การทำ � ลาย จึ ง เริ่ ม เห็ น การใช้ วั ส ดุ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ เ ป็ น สามารถตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดปริมาณของวัตถุดิบ ตั ว สิ น ค้ า และลู ก ค้ า ที่ ม ากขึ้ น และต้ อ งมองถึ ง ในการผลิ ต บรรจุ ให้น้อ ยลง เช่น ขวดพลาสติ กจาก ผลกระทบด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น กั บ ตั ว เดิมที่มีความหนาก็ลดให้บางลง น้ำ�หนักของวัตถุดิบ บรรจุ ภั ณ ฑ์ เพราะการผลิ ต สิ น ค้ า ในทุ ก วั น นี้ ที่ ใช้ ใ นการผลิ ต ต่ อ ขวดลดลง ฝาปิ ด มี ข นาดเล็ ก กว่ า ไม่ ไ ด้ เ พื่ อ จำ � หน่ า ยภายในประเทศเท่ า นั้ น ต้ อ งมี เดิ ม ลดจำ � นวนชั้ น ของบรรจุ ภั ณ ฑ์ หรื อ การใช้ วั ส ดุ การส่ ง ออกไปขายยั ง ภู มิ ภ าคต่ า งๆ ของโลก กระดาษที่ผลิตจากเยื่อกระดาษรีไซเคิลผสมในสัดส่วน ยกตั ว อย่ า งสิ น ค้ า บางตั ว ที่ มี ก ารตั้ ง ฐานการ ที่มากขึ้น มีการใช้วัสดุประเภทพลาสติกจากธรรมชาติ ผลิ ต ในเมื อ งเขตร้ อ นแต่ ก ลั บ ถู ก ส่ ง ไปจำ� หน่ า ย ที่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น หรือมีการ ในบริเวณที่เขตอากาศหนาวจัด มีหิมะตก หรือ ปรับปรุงโครงสร้างของพลาสติก ที่ผลิตจากปิโตรเลียม ถู ก ส่ ง จำ � หน่ า ยไปยั ง บริ เ วณเขตที่ มี ฝ นตกชุ ก ที่ย่อยสลายยากให้สามารถย่อยสลายได้ง่ายในสภาพ ตลอดปีทำ�ให้ต้องคำ�นึงถึงสภาพแวดล้อมในการ แวดล้อมปัจจุบัน โดยเมื่อมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตร ขนส่งและการวางจำ�หน่าย และต้องมีการอนุรักษ์ ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มจะสามารถติ ด สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ บ่ ง บอกว่ า สิ่งแวดล้อมเมื่อมีการทิ้งหรือเลิกใช้งาน รวมทั้ง ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อย อีกทั้งยังนำ�ไปใช้ ต้องมีการวางแผนในเรื่องการใช้ทรัพยากรด้าน ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เป็ น เครื่ อ งมื อ ป้ อ งกั น การกี ด กั น จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านคน ทางการค้าได้อีกทางหนึ่ง แต่การ เทคโนโลยี เครื่องจักร และวัสดุจึงจะทำ�ให้สามารถ จะเลื อ กใช้ วั ส ดุ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ อยู่รอดในวงการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ได้ ประเภทไหนก็ ยั ง ต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง เรื่ อ งในความสามารถนำ � ไปพิมพ์ ด้วยระบบการพิมพ์ ต่างๆ เพราะถึงวัสดุจะดีมาก บรรจุภัณฑ์น�้ำ ส้มอุ่น Heat-retaining PET Bottle ที่ช่วยรักษาอุณหภูมิ ให้คลายความร้อนช้ากว่าปกติ โดยใช้คุณสมบัติของฉลากกันความ แค่ ไ หนก็ ยั ง คงต้ อ งการการ ร้อนซึ่งจากวัสดุประเภทโพลีโพรพีลีน (PP film) ที่มีรูพรุนเป็นช่อง พิมพ์เพื่อความสวยงามเป็น อากาศมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกั้นความร้อนและนำ�ความร้อนต่ำ� องค์ประกอบที่ส�ำ คัญอยู่ : ที่มาภาพ ASAHI SOFT DRINKS CO., LTD. 69 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การพิมพ์ไทยบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน Sustianable for Thai Printing

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุรวิศ ตั้งกิจวิวัฒน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เดินทางไปประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ ประเทศที่ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขและการศึกษาดีที่สุดในโลก และบังเอิญ ได้ เ ห็ น ขบวนรณรงค์ เ พื่ อ อนุ รั ก ษ์ โ ลกมี ค วามยาวหลายกิ โ ลเมตร โดยมี ศู น ย์ ก ลาง การชุมนุม ณ มหาวิหารเฮลซิกิ (Helsinki cathedral) จากการสังเกตผู้ร่วมขบวน ประกอบด้วยผู้คนจากทุกเพศทุกวัย และหลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มรณรงค์ลดการบริโภค เนื้อสัตว์ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล กลุ่มพิทักษ์สัตว์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มนักปั่นจักรยาน เป็นต้น ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่าในฐานะที่เป็นพลเมืองโลก เราควรมีส่วน ร่วมที่ช่วยให้โลกเรามีความน่าอยู่และมีความยั่งยืนอย่างไร ในปี พ.ศ. 2558 ที่ประชุม สมัชชาสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development goals; SDGs) เพื่อใช้เป็นเส้นทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนของเราและคนรุ่น ต่อๆ ไป โดยกำ�หนด 17 เป้าหมาย (goals) 169 เป้าประสงค์ (targets) ครอบคลุม มติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้มีเป้าหมายทำ�ภารกิจให้ส�ำ เร็จลุล่วงภายใน ปี พ.ศ. 2573 ที่จะขจัดความยากจน ปกป้องโลก และทำ�ให้ทุกคนมีความสงบสุข มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน 70 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การพิมพ์ไทยบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน Sustianable for Thai Printing

เป้าหมาย 17 ประการสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสมัชชาสหประชาชาติ จากเป้ า หมายและเป้ า ประสงค์ เ พื่ อ การพั ฒ นา อย่างยั่งยืนของสมัชชาสหประชาชาติ มีหลายข้อที่มี ความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ทั้งในแง่ ของผลกระทบและในแง่ของการนำ�มาใช้เป็นแนวทาง การพัฒนาและปรับตัวเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรม เช่น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้คุณค่า ของทรั พ ยากรโลก การลดของเสี ย และขยะ การให้ ความสำ�คัญกับสภาวะภูมิอากาศโลก เป็นต้น การที่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยจะก้าวสู่เส้นทางแห่งความ ยั่งยืนนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบัน การศึกษา องค์กรวิชาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจ พนักงาน/ ลูกจ้าง และผู้บริโภค จะต้องตระหนักถึงความรับผิด ชอบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวม ถึงมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ให้ก้าวสู่ความยั่งยืนนั้น คงจะต้องเริ่มต้นที่ “คน” ก่อน เนื่องจากเป็นผู้ขับเคลื่อนกลไกอื่นๆ อันจะเกิดขึ้นมา ภายหลัง การปลูกฝังค่านิยมเรื่องความยั่งยืนจะต้องทำ� อย่างจริงจังและสร้างให้เกิดกับคนทุกกลุ่ม เราลองนึก ภาพดูว่าความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ หากนายจ้าง อยากให้ บ ริ ษั ท มี ค วามยั่ ง ยื น แต่ ไ ม่ เ คยให้ พ นั ก งาน มี ส่ ว นร่ ว มและพนั ก งานก็ ไ ม่ รู้ ว่ า ความยั่ ง ยื น คื อ อะไร หรื อ ในฐานะผู้ ผ ลิ ต อยากจะผลิ ต สิ น ค้ า ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิง่ แวดล้อมแต่ผบู้ ริโภคไม่ได้ใส่ใจ และไม่ตอ้ งการจ่าย เงิน เพิ่ม ทั้งสองสถานการณ์ข้างต้นความยั่งยืนคงเกิดได้ยาก ดังนั้นการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกจึงมีส่วนสำ�คัญ ที่จะช่วยให้ “คน” ได้ตระหนักถึงความจำ�เป็นเรื่องความ ยั่งยืน นายจ้างต้องให้ความสำ�คัญกับการมีส่วนร่วมของ

71 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


พนักงาน/ลูกจ้าง และชุมชนรอบโรงงาน ให้เข้ามามีส่วน ร่วมในการสร้างความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึ ง การสร้ า งธรรมาภิ บ าลให้ เ กิ ด ขึ้ น ในบริ ษั ท ใน ฐานะขององค์กรวิชาชีพจะต้องสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ก้าวสู่ความยั่งยืนและสร้างให้สังคมร่วมสนับสนุนสินค้า หรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในฐานะของสถาน ศึกษาต้องสร้างความตระหนักรู้และให้ความรู้แก่เจ้าของ บริษัท พนักงาน ชุมชน และสังคม หลั ง จากพั ฒ นาคนเรี ย บร้ อ ยแล้ ว ก้ า วต่ อ ไป จึ ง พั ฒ นาและเลื อ กใช้ “วั ส ดุ ” ข้ อ ได้ เ ปรี ย บของ อุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุใช้ พิมพ์ได้หลากหลาย ทำ�ให้มีตัวเลือกด้านวัสดุมากมาย แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามสิ่ ง พิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ผ ลิ ต ขึ้ น เมื่ อ สิ้ น สุ ด การใช้ ง านแล้ ว จะกลายเป็ น ขยะในทั น ที ซึ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น อย่ า งมาก ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ประเทศไทยมีขยะพลาสติกเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ขยะ พลาสติ ก ที่ นำ � กลั บ มาใช้ ป ระโยชน์ มี เพียง 0.5 ล้านตันต่อปี ที่เหลืออีก 1.5 ล้านตันถูกนำ�ไปฝังกลบและ เผาทำ�ลาย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ขยะพลาสติกจำ�นวนหนึ่ง ตกค้ า งอยู่ ใ นระบบนิ เวศ ดั ง นั้ น การออกแบบสิ่ ง พิมพ์และบรรจุภัณฑ์ จึ ง ต้ อ ง

ตระหนักถึงการจัดการหลังการใช้งานให้เหมาะสม การ เลือกวัสดุต่างๆ ที่มาใช้ผลิตจะต้องมีลักษณะที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เช่น วัสดุใช้พิมพ์ที่ผลิตจาก สารอิ น ทรี ย์ หมึ ก พิ ม พ์ ฐ านน้ำ � หมึ ก พิ ม พ์ จ ากน้ำ � มั น ถั่วเหลือง พลาสติกชีวภาพ (biodegradable plastic) ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ นอกจากจะใช้วัสดุ ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่งแวดล้อมแล้ว กระบวนการออกแบบ เชิงนิเวศเศรษฐกิจ (economic & ecological design; EcoDesign) ก็ เ ป็ น อี ก หนทางหนึ่ ง ที่ นำ � ไปสู่ ก ารออก แบบที่ ยั่ ง ยื น การออกแบบเชิ ง นิ เ วศเศรษฐกิ จ เป็ น การออกแบบที่ คำ � นึ ง ถึ ง วั ฎ จั ก รชี วิ ต ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ (product life cycle) ตั้ ง แต่ ขั้ น ตอนการวางแผน ผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิต การนำ�ผลิตภัณฑ์ ไปใช้งาน และการทำ�ลายหลังการใช้งาน แนวคิดใน การออกแบบนี้ เ น้ น การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยจะส่งผลดี ต่อธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง หลักออกแบบเชิงนิเวศ เศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย 4R ได้แก่ Reduce หาก หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ก็ต้องลดการใช้ลงและหาวัสดุอื่นทดแทน ไม่ออกแบบ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ใ หญ่ ก ว่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ กิ น ความจำ � เป็ น พยายามหลีกเลี่ยงวัสดุที่ประกอบจากวัสดุหลายชนิด เนื่องจากเป็นการยากในการทำ�ลาย Reuse ออกแบบ สิ่งพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ให้สามารถนำ�กลับมาใช้ซ้ำ�ได้ หรือนำ�ไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ Recycle เลือกใช้ วั ส ดุ ที่ ม าจากการรี ไซเคิ ล หรื อ เลื อ กใช้ วั ส ดุ ที่ ส ามารถ นำ�ไปรีไซเคิลได้ และ Respond ในการออกแบบต้อง ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง ขั้ น ตอนการทิ้ ง และ ทำ�ลาย “กระบวนการผลิ ต ” เป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ อี ก ก้ า ว หนึ่ งเพื่ อนำ � ไปสู่ การพั ฒ นาอย่ างยั่ งยื น การปรั บปรุ ง กระบวนการผลิ ต ด้ ว ยการจั ด การกั บ ของเสี ย (waste management) จะทำ�ให้ลดของเสียในระบบและของ เสียจะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ควรจัดการกับ

72 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การพิมพ์ไทยบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน Sustianable for Thai Printing

ความสูญเสียทางการผลิตด้วยวิธีการเพิ่มผลผลิต เช่น การขจัดความสูญเปล่าแบบลีน (7 wastes of Lean) การออกแบบกระบวนการผลิตที่ไม่ปล่อยสารประกอบ อินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ไม่ปล่อยสารเป็นพิษหรือ โลหะหนักสู่ระบบนิเวศ ไม่สร้างมลพิษทางเสียง ทาง น้ำ� และทางอากาศทั้ง ภายในโรงงานและชุม ชนรอบ ข้าง วางแผนระบบขนส่ง (logistics) ทั้งภายในโรงงาน และเส้นทางขนส่งสินค้า จะช่วยทั้งการประหยัดเวลา พลังงาน และช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุในการขนส่งได้ เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงานหรือ ใช้พลังงานทดแทน (renewable energy) คำ�นึงถึงการ ปลดปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก (carbon footprint) ตลอดวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำ�ไปสู่ความยั่งยืนของบริษัท โรงพิมพ์ต่างๆ ต้องเปลี่ยนวิธีคิด (mindset) จากเดิมที่ท�ำ ธุรกิจเป็นการ ให้บริการ (service providers) ซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้กำ�หนด วัสดุ รูปแบบ ตลอดจนกระบวนการผลิต โรงพิมพ์มีหน้า ที่ผลิตตามคำ�สั่งเท่านั้น จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น ผูส้ ร้างสรรค์และออกแบบนวัตกรรมการพิมพ์ (creative & innovative providers) หมายถึง เปลี่ยนบทบาทเป็น ผู้นำ�เสนอทั้งรูปแบบ วัสดุ และวิธีการผลิตให้กับตรงกับ ความต้องการของลูกค้า เป็นการสร้างมูลค่าให้กับงาน พิมพ์ทำ�ให้ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการแข่งขันด้านราคา กับบริษัทอื่นๆ แต่องค์กรที่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะ นี้ได้ สิ่งที่ต้องให้ความสำ�คัญอันดับหนึ่งคือ การวิจัย

และพัฒนา จะเห็นได้ว่าองค์กรใหญ่ๆ ชั้นนำ�ของโลก ไม่ว่าจะเป็น Google Microsoft Apple เป็นต้น ให้ความ สำ � คั ญ กั บ การวิ จั ย และพั ฒ นาอย่ า งมาก ซึ่ ง การวิ จั ย และพัฒนายังถูกกำ�หนดให้เป็นเป้าหมายในลำ�ดับที่ 9 สู่ ก ารพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ของสมั ช ชาสหประชาชาติ ในการส่ ง เสริ ม การปรั บ ตั ว ให้ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมอย่ า ง ยั่ ง ยื น และสนั บ สนุ น ทุ น นวั ต กรรมเพื่ อ สร้ า งสิ่ ง ใหม่ ๆ หากอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ไ ทยต้ อ งการก้ า วสู่ ค วาม ยั่ ง ยื น ต้ อ งให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ เรื่ อ งนี้ ใ ห้ ม าก การส่ ง เสริมให้มีการทำ�วิจัยและพัฒนาในบริษัท จะช่วยเร่ง ให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยมากขึ้น รู ป แบบหนึ่ ง ที่ โรงพิ ม พ์ ห รื อ บริ ษั ท สามารถนำ � ไปปรั บ ใช้ คือ การบ่มเพาะทางธุรกิจ (Incubator) รูปแบบนี้ จะให้ พ นั ก งานสร้ า งหรื อ คิ ด ไอเดี ย สำ � หรั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใหม่ของบริษัท โดยมีนักวิจัยอาวุโสซึ่งอาจจะเป็นคน ในองค์กรหรือจากนอกองค์กร เช่น นักวิจัยจากสถาบัน การศึกษา เป็นผู้ให้คำ�ปรึกษาและคำ�แนะนำ�ในการสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ พนักงานจะแข่งขันกันสร้างแนวคิดเพื่อ นำ � เสนอต่ อ ผู้ บ ริ ห ารของบริ ษั ท สำ � หรั บ การนำ � ไปต่ อ ยอดสร้ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ริ ง ในอนาคต แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม การที่จะก้าวไปถึงจุดนี้ได้ จะต้องเริ่มต้นที่การเปลี่ยนวิธี คิดของทั้งผู้บริหารและพนักงาน ผู้บริหารต้องให้ความ สำ � คั ญ กั บ หน่ ว ยวิ จั ย และพั ฒ นา ในขณะที่ พ นั ก งาน ต้องมีความกระตื้อรื้อร้นในการคิดและพัฒนาไม่ว่าจะ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการทำ�งาน ใหม่ บริษัทต้องสร้างบรรยายกาศการวิจัยและพัฒนา ขึ้นในบริษัท เช่น การจัดพื้นที่ทำ�งาน (working space) และเวลาให้พนักงานทำ�วิจัยและพัฒนา สร้างเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอก เนื่องจากในพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ มี ค วามจำ � เป็ น ต้ อ งใช้ ค วามรู้ และความร่ ว มมื อ จากพนักงานในแผนกอื่นๆ หรืออาจจะต้องอาศัยความ ร่วมมือจากองค์กรภายนอก ส่งเสริมการทำ�งานเป็นทีม จัดเวทีการนำ�เสนอผลงาน (pitching) เป็นต้น และก้าวท้ายสุดเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรม การพิ ม พ์ ไ ทย คื อ ต้ อ งก้ า วไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เมื่ อ พั ฒ นาคน พั ฒ นางาน และปรั บ วิ ธี คิ ด ขององค์ ก รได้

73 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


การพิมพ์ไทยบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน Sustianable for Thai Printing

แล้ว จะต้องคอยหมั่นทบทวนแนวทางการปฎิบัติ และ หาวิธีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำ�คัญต้อง ตระหนักว่าจะทำ�อย่างไร อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยจึง จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำ � หรั บ อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ นั้น สามารถขอรับประเมินความยั่งยืนในการประกอบ ธุรกิจผ่าน Sustainable Green Printing Partnerships (SGP) โดยมี เ กณฑ์ก ารประเมิน 23 ข้อ ครอบคลุ ม องค์ประกอบด้านระบบการจัดการเพื่อความยั่งยืนและ ด้ า นแนวทางการปฎิ บั ติ เ พื่ อ ความยั่ ง ยื น เมื่ อ ผ่ า น เกณฑ์การประเมินสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ สำ�หรับ ประชาสัมพันธ์บริษัทได้

ตราสัญลักษณ์ Sustainable Green Printing Partnerships อี ก ดั ช นี ห นึ่ ง ที่ ใ ช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ประเมิ น องค์ ก รแห่ ง ความยั่ ง ยื น บนเวที ร ะดั บ โลก คื อ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) คือดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการ ดำ�เนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของบริษัท เน้นการประเมิน 3 มิติ ได้แก่ มิติการ รักษาสิ่งแวดล้อม (environment) มิติการดูแล สังคม (social) และมิติการมีธรรมาภิบาลทาง ธุ ร กิ จ (governance) ในแต่ ล ะปี ด าวน์ โ จนส์ จะประเมินความยั่งยืนในการทำ�ธุรกิจของบริษัท จากทั่วโลก (เฉลี่ยประมาณ 2,500 – 3,000 ราย) จำ � แนกหมวดหมู่ อ อกเป็ น 58 อุ ต สาหกรรม บริษัทที่จะเข้าร่วมประเมินต้องตอบแบบสอบถาม ที่ แ สดงถึ ง เป้ า หมายและการวางแผนระยะยาว ของบริษัทต่อการสร้างความเข้มแข็งในด้านผล ประกอบการทางธุรกิจ การให้ความเป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนช่วยเหลือสังคม และชุมชนอย่างต่อเนื่อง ข้อดีของบริษัทที่ได้รับ จัดอันดับจาก DJSI คือ เป็นข้อมูลให้นักลงทุน ทั่ ว โลกใช้ เ ป็ น เกณฑ์ ใ นการตั ด สิ น ใจเข้ า ลงทุ น ในบริษัท นอกจากนี้ผู้บริ โภคก็มั่นใจได้ว่าสินค้า หรือบริการจากบริษัทที่ได้รับจัดอันดับจะเป็นของ ที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2561 มีบริษัท ไทยถึง 6 บริษัทที่ได้รับการประเมินให้เป็นผู้นำ� ในกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับโลก ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท บ้านปู จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำ�กัด (มหาชน) บริ ษั ท ปิ โ ตเลี ย มไทย จำ � กั ด (มหาชน) บริ ษั ท ทรู คอร์ ป อเรชั่ น จำ � กั ด (มหาชน) และบริ ษั ท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

เอกสารอ้างอิง Tischner, U. and Nickel, R. (2003). Eco-design in the printing industry life cycle thinking: Implementation of Eco-design concepts and tools into the routine procedures of companies. The Journal of Sustainable Product Design, 3(1-2), 19-27. RobecoSAM. (2018). Measuring IntangiblesThe SAM Corporate Sustainability Assessment Methodology. Retrieved April 11, 2019, form RobecoSAM website: https://assessments. robecosam.com/documents/measuring_intangibles_csamethodology.pdf The sustainable green printing. (2016). 2016 SGP certification criteria. Retrieved April 11, 2019, from sustainable green printing website: http:// sgppartnership.org/sgppwordpress/wp-content/ uploads/2016/09/2016-SGP-Certification-Criteria.pdf The United Nation. (2015). Sustainable Development Goals. Retrieved April 11, 2019, from The United Nation website: https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/

74 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


FACEBOOK

YouTube

WEBSITE


WE

PRINT

THE FUTURE

LE T*LEE' *T;@VC@ `M *O;T'7

>[ ;lT `M *

;IS7$EEC

$TE@VC@

$ T IL[ = 9Wg ±° %O*$TELE T *LEE' * T;@V C @ 'Z 5 BT@'E<I*+E `GR@S 4 ;T_9'a;aGDW O D T * cC MDZ6DSh* 6 ID$TE>LT;*T;@VC@ _% T$S<LYgObMC e b;DZ'6V+þ9SG _@YgO7O<a+9D G[$' Tb;9Z$ETDGR_OWD6 _-āgOC7 O$TE_= ;CW_6WD'E<I*+E ¥ìêëæªêâáæÞ¦ @E OCLE T*LEE' =ERL<$TE5 9WgCW'Z5' T 9Z$- I* _IGT%O*-ÿ Iþ 7 _@Yg O 'ITCLZ % `GR'ITCEZ * aE+; %O*LS*'C

ýĆėČĔúĐĄĆėüúĆŋāĆėĨüøėĨèĠĐü÷ŋāĔýĈėëëėħè éĬĕâĔ÷ ĄĎĕëü

ùüüëĔąāćâČŋ ĠãĊèøĈėħèëĔü ğãøøĈėħèëĔü âĆěèğúāĒ ġúĆċĔāúŋ ġúĆčĕĆ 9GDUKVG YYY COCTKP EQO ' OCKN CRTKPV"COCTKP EQ VJ




“Education” Paves the Path to Sustainability for Printing & Packaging Industry

ผศ.ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ ผู้อำ�นวยการสถาบันการเรียนรู้ อาจารย์ประจำ�ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมหนึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ จาก digital disruption เป็นอย่างมาก การที่จะทำ�ให้อุตสาหกรรมการพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์มีความยั่งยืนนั้นมีการพูดถึงอยู่มากมายหลายวิธี เช่น การคิดค้นนวัตกรรม ใหม่ การนำ�เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต การบูรณาการกับศาสตร์ อื่นๆ เพื่อพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์/บรรณจุภัณฑ์ในรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริ โภคที่เปลี่ยนไป การแข่งขันกันที่คุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ราคา การคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของตลาด จะเห็นได้ว่าไม่ว่า จะใช้กระบวนวิธี ใดในการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ สิ่งที่เป็นแกนสำ�คัญของวิธีเหล่านั้นคือ คน หรือที่เราเรียกว่า Human Capital

79 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


SKILL SHIFT “Human Capital” สำ�หรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ จะต้องมี skill set ใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิม โดยที่ทักษะ การทำ�งานใน 10 ปีขา้ งหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจาก ในปัจจุบัน (รูปที่ 1) ซึ่งเป็นการศึกษาของ McKinsey Global Institute ว่ า Artificial intelligence และ automation จะทำ�ให้มีการเปลี่ยนแปลงจำ�นวนชั่วโมง การทำ�งานของงานแต่ละประเภท ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความ สำ�คัญของทักษะในแต่ละด้าน พบว่าในปี ค.ศ.2030 งานประเภทที่ ใช้ basic cognitive skills เช่ น การ อ่ า น และการคำ � นวณพื้ น ฐาน การพิ ม พ์ ดี ด สำ � หรั บ data entry เบื้องต้น จะมีจำ�นวนลดลงมากที่สุด รอง ลงมาเป็นงานประเภท physical and manual skills โดยในกลุ่ ม นี้ ถ้ า เป็ น งานที่ ไ ม่ ต้ อ งการทั ก ษะความ

ชำ�นาญพิเศษ ทำ�ซ้ำ�ไปมา (unskilled labor) มักจะถูก แทนที่ด้วยหุ่นยนต์จึงมีจำ�นวนลดลงมาก อย่างไรก็ตาม งานประเภทนี้ ที่ ยั ง ต้ อ งการผู้ ที่ มี ทั ก ษะความชำ � นาญ พิเศษ หรือบางทีเรียกว่า skilled labor หรือแรงงาน มี ฝี มื อ เช่ น ช่ า งไฟฟ้ า ช่ า งไม้ และพยาบาล จะมี ความต้องการอยู่ค่อนข้างมาก การศึกษาดังกล่าวยังได้พูดถึง 3 ทักษะที่มีความ ต้องการมากขึ้น คือ 1) higher cognitive skills หรืองาน ที่ต้องการทักษะการคิดขั้นสูง เช่น การอ่าน/เขียนในขั้น ที่สูงขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) และการแปรผลข้อมูล 2) Social & emotional skills หรื อ ที่ เราเรี ย กว่ า soft skills เช่ น "การสื่ อ สาร การเจรจาต่ อ รอง การเข้ า ถึ ง ผู้ อื่ น (empathy) การเรี ย นรู้ การจั ด การ และการปรั บ ตั ว

รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของ 5 ทักษะสำ�คัญในการทำ�งาน

80 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


“Education” Paves the Path to Sustainability for Printing & Packaging Industry

และ 3) technological skills ซึ่งเป็นทักษะที่มีความ ต้องการเพิ่มมากขึ้นสูงสุด ทักษะในกลุ่มนี้ได้แก่ ทักษะ IT ขั้นสูง การวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะวิศวกรรม [www. weforum.org/agenda/2018/06/the-3-skillsets-workers-need-to-develop-between-nowand-2030/] Pearson ได้ทำ�การศึกษาทักษะ และการเติบโต ของอาชีพต่างๆ โดยคาดการณ์จาก mega trend และ มุ่งเป้าไปที่ skill ที่ควรจะพัฒนา โดยจะเน้นที่ 2 ประเทศ หลักคืออังกฤษ และอเมริกา [futureskills.pearson. com] ใน website ดังกล่าว มีการคาดการณ์ไว้วา่ อาชีพ ผู้ช่วยช่างพิมพ์ (printing machine assistants) มีโอกาส เติบโต 10-20% ซึ่งแสดงว่าอาชีพนี้ยังไม่ได้หายไป แต่ ที่น่าแปลกใจคือทักษะที่ควรจะต้องเตรียมพัฒนาเอา ไว้สำ�หรับงานที่ทำ�ในปี ค.ศ. 2030 เป็นทักษะเกี่ยวกับ บัญชี เศรษฐศาสตร์ การให้คำ�ปรึกษา การระบุปัญหา ทักษะเกี่ยวกับ telecommunication (หมายความรวม ถึงทั้งการสื่อสาร และระบบสื่อสาร) รวมทั้งภาษาต่าง ประเทศด้วย (รูปที่ 2) หรือเมื่อเราลองเลือกอาชีพที่เป็น ผู้บรรจุสินค้า ทำ�อาหารกระป๋อง หรือเครื่องดื่ม พบว่า

ทักษะที่ต้องการเป็นการเข้าใจผู้อื่น การฟัง และการพูด เป็นต้น EDUCATION FORMAL EDUCATION การจะพัฒนาคนเหล่านี้ให้มีทักษะสำ�หรับอนาคต เพื่ อ ให้ พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ อย่างยั่งยืน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับคำ�ว่า “Education” โดยเมื่อนึกถึงคำ�นี้ในบริบทของพวกเรา หลายท่านน่า จะนึกไปถึงสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ ปวช. ปวส. และอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) เพราะสถาบันการศึกษา เหล่ า นี้ มี ห น้ า ที่ ใ ห้ ก ารศึ ก ษา เพื่ อ ผลิ ต บุ ค ลากรให้ กั บ อุตสาหกรรมฯ หรือเราอาจจะเรียกว่าเป็นการให้การ ศึ ก ษากั บ กลุ่ ม pre-service คื อ การศึ ก ษาก่ อ นที่ จ ะ เข้าไปทำ�งานในอุตสาหกรรม ซึ่งเรานับว่าเป็น “formal education” และเน้นการมี “คุณวุฒิ” เช่น การจบ ปวส. หรือจบปริญญา เป็นต้น การศึกษาแบบนี้ก็เป็นส่วน หนึ่งของพัฒนาอุตสาหกรรมให้ยั่งยืน เพราะทำ�ให้มีคน ที่มีความรู้ และทักษะเบื้องต้นในการทำ�งานป้อนเข้าสู่ อุตสาหกรรม

รูปที่ 2 การคาดการณ์การเติบโต และทักษะที่ต้องการสำ�หรับอาชีพ Printing Machine Assistants โดย Pearson

81 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


NON-FORMAL EDUCATION นอกจาก formal education แล้ว ยังมีการศึกษา ที่เรียกว่า non-formal education อีกด้วย สมัยก่อน เรา อาจจะนึกถึงไปถึงคำ�ว่า “การศึกษานอกระบบ” หรือ กศน. แต่ในปัจจุบัน non-formal education มีช่องทาง ให้เรียนรู้มากมาย มีเรื่องที่ให้เรียนรู้หลากหลาย และ บางครั้งยังสามารถเรียนแบบ “Anywhere Anytime” ได้ อีกด้วย นอกจากนั้นยังไม่มีการจำ�กัดคุณลักษณะของ ผู้เรียน จึงมีผู้เรียนที่หลากหลายช่วงอายุทั้งในวัยเรียน และนอกวั ย เรี ย น การศึ ก ษาแบบนี้ ไ ม่ ไ ด้ มุ่ ง เน้ น ที่ ใ บ ปริญญา แต่เน้นสิ่งที่ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้ สนใจ และ นำ�ไปใช้จริงๆ non-formal education จึงนับเป็นกลไก สำ � คั ญ ในการช่ ว ยพั ฒ นาบุ ค ลากรเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความ ยั่งยืนของอุตสาหกรรม เพราะไม่ได้เพียงแต่เน้นการ เตรียมความพร้อมของ pre-service แต่เป็นการ up-skill หรือ re-skill ให้กับ in-service (บุคลากรที่ทำ�งานอยู่ใน อุสาหกรรมฯ) และ pre-service ที่สนใจ การเรียนรู้ใน non-formal education มีได้หลายรูปแบบ แต่แบ่งให้ เห็นได้ชัดๆ เป็น 2 รูปแบบ คือการเรียนรู้ผ่านการอบรม สัมมนา workshop & course ต่างๆ และการรับรอง สมรรถนะ

Workshop อบรม และสัมมนา การเรียนรู้ ผ่านการอบรมสัมมนา workshop & course ต่างๆ นั้น มีทั้งแบบ face-to-face และ online สำ�หรับการเรียนรู้แบบ face-to-face ในช่วงระยะ 3-4 ปี ม านี้ ได้ มี ผู้ ใ หญ่ ใ นวงการที่ ม ากด้ ว ยประสบการณ์ เกี่ ย วกั บ บรรจุ ภั ณ ฑ์ เช่ น อ.มยุ รี ภาคลำ � เจี ย ก และ อ.อรสา จิระภิญโญ ให้ความกรุณามาช่วยจัด workshop ให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมฯ รวมทั้งนักศึกษาด้วย นั บ เป็ น การให้ ค วามรู้ จ ากประสบการณ์ ที่ สำ � คั ญ มาก นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ยังเปิดให้คนทั่วไปได้มา ลงเรียนในรายวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนได้ตามความ สนใจโดยไม่ต้องเป็นนักศึกษา เมื่อเรียนเสร็จนอกจาก จะได้ความรู้แล้ว ยังสามารถเก็บรายวิชานี้ไว้เทียบโอน เมื่อต้องการจะเรียนในแบบ formal learning ได้ เราเรียก การเรียนในลักษณะนี้ว่า Credit Bank สำ�หรับการเรียนแบบ online นั้นมีหลายช่องทาง แต่ที่เป็นที่แพร่หลายมากคือ MOOC (Massive Open Online Course) เป็นการเรียนบน platform ที่มี content provider นำ�เนื้อหาที่จะสอนซึ่งมีทั้งที่เป็นความรู้ และ ทักษะ มาไว้ และเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าไปเรียนได้ โดย platform ที่เรารู้จักกัน เช่น Khan’s Academy ซึ่งเป็น platform แรกๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมี platform ที่ แพร่หลายอื่นๆ เช่น Udemy และ Coursera รวมทั้ง Thai MOOC ที่ทำ�ขึ้น และมี content เป็นภาษาไทย ถึงแม้ว่าเนื้อหาด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เป็น เนื้อหาที่ค่อนข้างเฉพาะทาง แต่เราก็ยังพบความรู้ที่เรา หาได้จาก MOOC เหล่านี้ เช่นใน Khan’s Academy ซึ่งเน้นวิชาเรียนพื้นฐาน รวมทั้งมีเนื้อหาเรื่องหลักการ พิมพ์แบบ lithography ใน Coursera ซึ่งมี content provider เป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ มีเนื้อวิชาการค่อนข้าง มาก และมีการเรียนที่เคร่งครัดกว่า และถ้าเก็บสะสม รายวิชาได้ครบตามจำ�นวน บางมหาวิทยาลัยสามารถให้ ปริญญาจากการเรียนแบบนี้ได้ด้วย แต่ ณ ปัจจุบันทาง Coursera ยังไม่มีการให้ปริญญาทางด้านการพิมพ์ หรือ บรรจุภัณฑ์ และมีวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์

82 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


“Education” Paves the Path to Sustainability for Printing & Packaging Industry

เพียงวิชาเดียวคือ “Wood Science: Beyond Building” จาก West Virginia University ในขณะที่ Udemy เป็น platform ที่มี course จากคนทั่วไปที่มีทักษะ และอยากจะสอนให้ผู้อื่น จะมี course เกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น “Learn to Create Deliverable Brand Identity Package” หรือ course ที่สอนการใช้โปรแกรมสำ�เร็จรูปในการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น โปรแกรม Adobe Illustrator & Photososhop หรือ Blender สำ�หรับการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ฉลาก และกราฟฟิก มี course การออกแบบ บรรจุภัณฑ์สำ�หรับผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น สบู่ และ เสื้ อ ยื ด รวมทั้ ง มี course ที่ ชื่ อ ว่ า “Foundation of Packaging” ซึ่ ง สอนโดยอาจารย์ จ าก Packaging School ของ Clemson University ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ วัสดุบรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ และกฎหมาย ต่างๆ นอกจากการเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางด้าน วิ ช าการแล้ ว การเรี ย นแบบนี้ ยั ง สามารถเพิ่ ม ทั ก ษะ/ สมรรถนะด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น presentation skills, leadership, teamwork, design thinking, scrum process, visual thinkingเป็ น ต้ น course เหล่ า นี้ อาจจะหาเรี ย นได้จ าก Udemy ซึ่ง เป็นภาษาอั งกฤษ

ในปัจจุบันมีหลาย course ที่ offer ใน Platform ของ บริษัทในประเทศไทย เช่น Your Next U ซึ่งเป็น ช่ องทางการเรี ย นรู้ อีกช่ องทางที่ น่ า สนใจมาก เป็ น ช่ อ งทางที่ ใช้ ร ะบบ membership รายปี เมื่ อ เป็ น membership แล้ว สามารถเรียนอะไรก็ได้ มี content เป็นภาษาไทย และมีช่องทางการเรียนรู้ 4 แบบที่ เรี ย กว่า online, in-line (face-to-face), bee-line (การเรียนรู้ร่วมกัน หรือเรียกว่า social learning) และ front-line (การเรียนรู้จากการทำ�งานจริง) การรับรองสมรรถนะ การรับรองสมรรถนะ เป็นการที่บุคคลคนหนึ่ง สมัครเข้ารับการประเมินสมรรถนะที่กำ�หนดให้ ถ้า ประเมินผ่าน ก็จะได้รับการรับรองในระดับที่เหมาะ สมต่ อ ไป วิ ธี ก ารนี้ ดู แ ล้ ว อาจจะเหมื อ นว่ า เป็ น การ รั บ รองสมรรถนะที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว หรื อ ได้ เรี ย นรู้ ม าก่ อ น แล้ว ไม่ได้ทำ�ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรให้เก่งขึ้น แต่ จริงๆ วิธีนี้ก็เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน เพราะการ ประเมินสมรรถนะต้องทำ�ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และ ทั ศ นคติ ในบางครั้ ง คนที่ ทำ � งานด้ า นนี้ ม าก่ อ นยั ง มี สมรรถนะไม่ครบถ้วนจึงต้องมีการพัฒนาตนเองก่อน การสอบประเมิน ในอีกกลุ่มที่มียังไม่มีความรู้ด้านนี้

83 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


“Education” Paves the Path to Sustainability for Printing & Packaging Industry

หรือยังมีไม่เพียงพอ ก็จะมีแนวทางในการพัฒนาตัวเอง ให้มีสมรรถนะได้ การรับรองสมรรถนะจึงเป็นอีกกลไก ที่ขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม การเรียนรู้จากการรับรองสมรรถนะนี้ มีตัวอย่าง การทำ � ที่ อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ รู้ จั ก ดีคือ คุณวุฒิวิชาชีพ เพราะได้มีการจัด และ/หรือจัด สอบมาตรฐานอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ถึง 20 อาชีพ แต่ละอาชีพมี 3-5 ระดับ คุณวุฒิวิชาชีพของไทยใน ปัจจุบันเน้นที่การประเมินสมรรถนะ ในส่วนของการ เรียนรู้นั้นยังไม่มีการจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ แต่เน้นการใช้มาตรฐานอาชีพเพื่อฝึกฝนตนเอง และทำ� ผลงานให้ได้ตามสมรรถนะที่กำ�หนดในมาตรฐานนั้น นอกจากคุณวุฒิวิชาชีพที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน อย่างเป็นทางการแล้ว การรับรองสมรรถนะยังจัดทำ� โดยเอกชน โดยมากมักจะใช้คำ�ว่า Micro-credential ซึ่ ง หมายความถึ ง สมรรถนะเพี ย ง 1-2 อย่ า งเท่ า นั้ น แต่เป็นสมรรถนะที่มีความหมาย เอาไปใช้งานได้จริง ในปัจจุบันมีทั้งมหาวิทยาลัย และหน่วยงานเอกชนที่ เปิดให้รับการรับรองสมรรถนะอยู่หลายที่ โดยส่วนมาก จะอยู่ในสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เช่น Digital Promise, Bloomboard และ EduBit เป็ น ต้ น โดย

หลักการจะคล้ายกับคุณวุฒิวิชาชีพ ที่เน้นที่การประเมิน สมรรถนะ แต่ มี ข้ อ แตกต่ า งคื อ micro-credential อยู่ใน scale ที่เล็กกว่า และผู้ที่เปิด micro-credential จะมีการหาแหล่งเรียนรู้ ไว้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียน รู้และส่งหลักฐานการเรียนรู้เพื่อการประเมินสมรรถนะ ต่ อ ไป ในส่ ว นของ micro-credential นี้ ยั ง ไม่ เ ห็ น ว่ า มี อ ยู่ ใ นประเทศไทย หรื อ มี สิ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ด้ า น การพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ ซึ่ ง เชื่ อ ว่ า เมื่ อ ช่ อ งทางของ micro-credential แพร่หลายมากขึ้น เราน่าจะได้เห็น micro-credential ของประเทศไทยในเวลาไม่นานนัก รวมถึงเห็นเนื้อหาของทางด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มากขึ้น TAKE HOME MESSAGE จะเห็นได้ว่า Education ในปัจจุบันมีให้ทั้ง pre-service และ in-service ได้เรียนรู้ ในช่อง ทางที่หลากหลาย ตามความสนใจ และเวลาที่มี ไม่ใช่เรื่องยากหรือมีราคาแพง รวมถึงสามารถ เลื อ กเรี ย นในสิ่ ง ที่ ส นใจได้ ง่ า ยขึ้ น ทั้ ง ทั ก ษะทาง เทคนิ ค และทั ก ษะในด้ า นอื่ น ส่ ง เสริ ม ให้ ก าร พั ฒ นาบุ ค ลากรที่ จ ะช่ ว ยส่ ง เสริ ม ความยั่ ง ยื น ของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เป็นไป ได้ง่ายขึ้น ขอเพียงให้พวกเราในอุตสาหกรรมฯ และภาคการศึกษาร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนา เชื่อว่าจะทำ�ให้การศึกษาและอุตสาหกรรมฯ ของ เราพัฒนาไปได้ไกล

Reference: https://futureskills.pearson.com/research/#/ homescreen https://philosophynow.org/issues/47/Education_versus_Training https://www.huffpost.com/entry/teach-aman-to-fish-training-vs-education_b_7553264

84 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


Open Innovation: แนวทางการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนของ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์

ผศ.ดร.พิชิต ขจรเดชะ ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรรมการสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

“Open Innovation หรือการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด เป็นแนวทางในการสร้าง นวั ต กรรมแบบใหม่ ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู้ มี ส่ ว นร่ ว มทุ ก ภาคส่ ว นได้ เ ข้ า มาร่ ว มมื อ กั น ใน การสร้าง พัฒนา การใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างกันและกัน เป็นต้น ในบทความนี้ จะกล่าวถึงนวัตกรรมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความหมายของ Open Innovation, ความแตกต่างของการสร้างนวัตกรรมแบบเดิมและ แบบใหม่ และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางให้อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ได้ประยุกต์ใช้ในการสร้างความ ร่วมมือและสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรให้การเติบโตอย่าง แข็งแกร่งและยั่งยืนได้”

85 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


นวัตกรรมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability คือ การพั ฒ นาโดยเน้ น ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การปรั บ สมดุ ล ทั้ง 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมใน รูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม เป็นวาระสำ�คัญ ที่ ป ระเทศสมาชิ ก สหประชาชาติ ใ ห้ ก ารรั บ รอง และ มี ร ะยะเวลาการบรรลุ เ ป้ า หมายภายใน พ.ศ. 2573 (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเป้า หมายที่ 9 ด้ า นการส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมนวั ต กรรม และการพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานที่ ดี ที่ พ ร้ อ มรั บ การ เปลี่ยนแปลง เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ผู้ประกอบการควร พิจารณาและปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ก้ า วข้ า มอุ ต สาหกรรมแบบเก่ า ไป สู่ อุ ต สาหกรรม และการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ แบบใหม่ ที่ ใช้ นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน “นวัตกรรม” หรือ Innovation มีรากศัพท์มาจาก คำ�ว่า innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำ�สิ่งใหม่ขึ้น มา หรือการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ การปรับปรุงจาก

สิ่ ง เดิ ม ให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น โดยเกิ ด จากการสะสมองค์ ค วามรู้ การนำ � ความรู้ ผนวกกั บ ความคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ มา พั ฒ นาเพื่ อ ให้ เ กิ ด สิ น ค้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ การบริ ก ารที่ มี คุณค่าต่อตนเอง ลูกค้า องค์กร เศรษฐกิจสังคมและ ประเทศชาติ หรืออาจกล่าวได้ว่านวัตกรรมเป็นเครื่อง มือที่สำ�คัญในการสร้างความได้เปรียบ สร้างศักยภาพ ในการแข่งขัน การดำ�เนินธุรกิจให้มีได้ความแตกต่าง และสร้างโอกาสที่จะนําพาไปสู่ความสําเร็จใหม่ๆ รวม ถึงการเติบโตและความยั่งยืนในระยะยาวขององค์กร สอดคล้องกับแนวคิด “ประเทศไทย 4.0” หรือนโยบาย การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศในการปรั บ เปลี่ ย น โครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมีฐาน คิดหลัก คือ เปลี่ยนจาก การผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อน ประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

รูปที่ 1 Innovation and sustainability in the End-to-End innovation process ที่มา Towards a Sustainable Innovation Process: Integrating Lean and Sustainability Principles

86 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


Open Innovation: แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

นวัตกรรมแบบปิดและนวัตกรรมแบบเปิด นวั ต กรรมแบบเปิ ด (Open Innovation) เป็ น แนวคิ ด ของ ศ.ดร.เฮนรี่ เชสโบร์ ว (Dr. Henry Chesbrough) ที่ นำ � เสนอเมื่ อ ปี คศ.2006 มี แ นวคิ ด ในเรื่ อ งของการสร้ า งนวั ต กรรมที่ ไ ม่ จำ � เป็ น ที่ ต้ อ งเริ่ ม จาก "วิ จั ย และพั ฒ นา" ของบริ ษั ท แต่ เ พี ย งผู้ เ ดี ย ว แต่การสร้างนวัตกรรมสามารถ "เปิดรับ" องค์ความรู้ จากภายนอก เปิดรับพันธมิตร สถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามามีส่วนรวม เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดการจ้างบุคลากร การจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และลดเวลาในการ พัฒนา และช่วยให้สามารถสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างและหลากหลาย สามารถสร้าง รู ป แบบการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ใหม่ ๆ การเพิ่ ม รายได้ และ สร้ า งเครื อ ข่ า ยพั น ธมิ ต รเพิ่ ม เติ ม ได้ โดยที่ ผู้ ป ระกอบ การสามารถนำ�เอาความรู้หรือแนวคิดนวัตกรรมที่อยู่ ทั้ ง ภายในและภายนอกองค์ ก ารนำ � มาบู ร ณาการเพื่ อ พัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และนำ�ไปใช้ในการเพิ่ม วางแผนด้ า นการตลาด การนำ � เอาเทคโนโลยี ใ หม่ ๆ มาสร้างเป็นระบบการทำ�งานร่วมกันให้สอดคล้องกับ แนวทางการดำ�เนินงานของธุรกิจนั้นๆ

กรอบแนวคิดนวัตกรรมแบบเปิดสามารถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) Inbound Open Innovation หมายถึงรูปแบบ ของการนำ � นวั ต กรรมจากแหล่ ง ข้ อ มู ล ภายนอก เช่ น คู่แข่ง ลูกค้า หรือ หน่วยงานวิจัยภายนอก เพื่อการ เข้าถึงเทคโนโลยี เทคนิค วิธีการ สำ�หรับการปรับปรุง พัฒนา ส่งเสริมและเสริมสร้างสมรรถนะในการสร้าง นวัตกรรมขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2) Outbound Open Innovation หมายถึงรูปแบบ ของการนำ�นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีขององค์กรที่มีอยู่ ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ร่วมกันกับคู่ค้า พันธมิตร สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น ขายทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) การแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาด การสร้างตลาดในต่างประเทศ เป็นต้น สำ � หรั บ Open Innovation 2.0 เป็ น แนวคิ ด ใหม่สำ�หรับการพัฒนานวัตกรรม ได้รับการพัฒนาโดย สหภาพยุ โรป เป็ น รู ป แบบการพั ฒ นานวั ต กรรมที่ ใช้ หลักการบูรณาการความร่วมมือ ร่วมสร้างคุณค่าร่วม กัน การพัฒนาระบบนิเวศการสร้างนวัตกรรมโดยให้

รูปที่ 2 Open Innovation works ที่มา https://www.eoi.es/blogs/piotradamlubiewa/2012/02/07/innovation-what-is-open-innovation/

87 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ความสำ�คัญกับกระบวนการผสมผสานระหว่างการสร้าง องค์ความรู้จากภายในองค์กร และการรับองค์ความรู้มา จากองค์กรภายนอกเข้ามาเพื่อช่วยให้การสร้างนวัตกรรม เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนที่ลดลง และนำ�ปัจจัย

ที่สำ�คัญอีก 2 ปัจจัยที่สำ�คัญเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริโภคหรือลูกค้า (Customers) และ ระบบ นิเวศของนวัตกรรม (Innovation Eco-System) ซึ่ง มีความแตกต่างจากแนวคิดการพัฒนานวัตกรรรม แบบเดิมๆ ที่ผ่านมา จากรูปที่ 3 ได้เปรียบเทียบรูปแบบการสร้าง นวัตกรรม 3 รูปแบบ ได้แก่ closed innovation, open innovation และ open innovation 2.0 หรือ innovation networks ecosystem ที่มีรูปแบบการ ดำ�เนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การเชื่อมโยงระหว่างกันและกัน และการส่งข้อมูล ระหว่างหน่วยงาน รูปแบบ open innovation 2.0 จะมีการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ และมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบ กับรูปแบบอื่นๆ ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลการพัฒนา นวัตกรรมทั้ง 3 รูปแบบ ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ความเป็นอิสระในการทำ�งาน รูปแบบการทำ�งาน การออกคำ�สั่ง การวางแผน การควบคุม เป็นต้น

รูปที่ 3 วิวัฒนาการของการสร้างนวัตกรรม ที่มา Open Innovation 2.O: A New Paradigm, Open Innovation Strategy and Policy Group

88 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


Open Innovation: แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

ตารางที่ 1 ข้อมูลการพัฒนานวัตกรรมทั้ง 3 รูปแบบ ที่มา หนังสือ “Open Innovation 2.0 The New Mode of Digital Innovation for Prosperity and Sustainability” :Springer International Publishing Switzerland 2018

การสร้างนวัตกรรมแบบ Open Innovation 2.0 นั้น ได้คำ�นึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวของกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เป็นสำ�คัญ เนื่องจากการพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ลูกค้าไม่ได้ทดลองหรือหาความพึง พอใจกับสินค้านั้นๆ ลูกค้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มี ประสบการณ์ ส่วนรวม ความสำ�คัญ อารมณ์และความ รู้ สึ ก เกี่ ย วข้ อ งไปด้ ว ย จะทำ � ให้ ก ารพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรือบริการนั้นๆ ไม่ประสบความสำ�เร็จ ตัวอย่างเช่นการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ถ้าลูกค้าไม่เห็นถึงประโยชน์หรือความสำ�คัญ ก็จะทำ�ให้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่เกิดประโยชน์อย่าง ที่ควรจะเป็นได้ ไม่ตอบโจทย์ทางการตลาด ส่วนปัจจัย ทางด้ า นระบบนิ เ วศทางนวั ต กรรมนั้ น จะเป็ น การ เชื่ อ มโยงและสนั บ สนุ น ให้ ผู้ ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การ สร้ า งนวั ต กรรมได้ เข้ า มา พบปะ แลกเปลี่ ย นความ รู้ การใช้อุปกรณ์ การแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่มาก

กว่ า การเชื่ อ มโยงแบบปกติ การพบปะแลกเปลี่ ย น ความรู้ ร ะหว่ า ง ผู้ ป ระกอบการกั บ นั ก วิ จั ย อาจารย์ มหาวิ ท ยาลั ย หรื อ ผู้ ป ระกอบการกั บ ผู้ ป ระกอบการ อาจจะไม่เพียงพอในบางครั้งการคิดแบบมุมกลับ การ คิดแนวทางใหม่ๆ การพบปะ สื่อสาร พูดคุย และการ สร้างบรรยากาศที่ดี ระหว่างพนักงานกับนักวิจัย ชาว บ้าน/พนักงานกับผู้ประกอบการ ลูกค้ากับผู้ประกอบ การ ฯลฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจจะได้แนวคิด มุมมอง การประยุกต์ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รูปแบบ การทำ�งาน ที่แตกต่างจากความคิดเดิมๆ ที่สามารถนำ� มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมได้ เช่นมุมมองของชาวประมง ที่มีกับบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก อาจจะได้แนวคิดที่แตก ต่างไปจากมุมมองของพนักงานที่ทำ�งานในเมืองเป็นต้น ปัจจัยที่สำ�คัญที่จะทำ�ให้การพัฒนานวัตกรรมประสบ ความสำ�เร็จ คือการมีส่วนร่วมของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เรียกแนวนี้ว่าความคิดแบบปิรามิดหัวกลับ

89 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


รูปที่ 4 Reverse Innovation Pyramid ที่มา Open Innovation 2.O: A New Paradigm, Open Innovation Strategy and Policy Group

ในประเทศไทยได้ เริ่ ม มี ก ารนำ � เอาแนวคิ ด การ สร้ า งนวั ต กรรมแบบเปิ ด มาใช้ ใ นการสร้ า งเครื อ ข่ า ย พันธมิตร การสร้างนวัตกรรม การสนับสนุนโครงการ นวัตกรรม ตัวอย่างได้แก่การเปิด Open Innovation Center ที่อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ของ บริษัท เอสซีจี (SCG) มีแนวคิดการเป็นศูนย์กลางความ ร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับภาครัฐ เอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาจากทั่วโลก หรือ สำ�นักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดพื้นที่สำ�หรับ OPEN INNOVATION SPACE สำ�หรับแสดงนวัตกรรมใหม่ๆ การจั บ มื อ กั บ นั ก วิ จั ย การให้ ก ารสนั บ สนุ น โครงการ นวัตกรรม หรือ สถาบันนวัตกรรม ปตท. กับแนวคิดการ เปิดรับเทคโนโลยีจากภายนอกมาร่วมสร้างนวัตกรรม (Open Innovation) และสร้างความร่วมมือ ระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา เป็นต้น แ น ว ท า ง ก า ร พั ฒ น า อ ย่ า ง ยั่ ง ยื น ข อ ง อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สำ�หรับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืน ของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์นั้น ผู้เขียน ได้ นำ � เสนอ รู ป แบบ และวิ ธี ก ารดำ � เนิ น การพั ฒ นา นวัตกรรม ในรูปที่ 5 แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ

อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ โดยจะมีขั้นตอน รู ป แบบการดำ � เนิ น งานและความสั ม พั น ธ์ ข องตั ว แปร ต่ า งๆ โดยเริ่ ม จากการวิ เ คราะห์ ถึ ง ผลที่ ไ ด้ จ ากการ พัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ สังคม คุณภาพและนวัตกรรมที่เกิดขึ้น โดยมีแรงผลักดัน/กดดันจากทางภาครัฐ กระแสสังคม ผู้ ล งทุ น กฎระเบี ย บต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ที่ ส่ ง ผลต่ อ การ พัฒนาองค์กร เมื่อนำ�ปัจจัยต่างๆ มาพิจารณาแล้ว ทาง ผู้ประกอบการต้องจัดทำ�นโยบาย เป้าหมายแผนการ พั ฒ นา การปรั บ องค์ ก รให้ ส อดคล้ อ งกั บ ทิ ศ ทางที่ ไ ด้ กำ�หนดเอาไว้ โดยอาจมีการแลกเปลี่ยน จับคู่พันธมิตร ทางธุรกิจ การเปิดรับนวัตกรรมจากภายนอก การนำ� องค์ความรู้หรือผลิตภัณฑ์ ทักษะ ความชำ�นาญที่มีไป ดำ�เนินการขาย/แลกเปลี่ยนกับคู่ค้า คู่แข่ง ซัพพลาย เออร์ ฯลฯ การขอรับการสนับสนุนของภาครัฐ การ สำ�รวจทิศทางทางการตลาด ความต้องการของลูกค้า เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต คน เครื่องจักร วัสดุ การบริ ห ารจั ด การ ที่ ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ จาก บุ ค ลากรในองค์ ก รในการดำ � เนิ น งานให้ ส อดคล้ อ ง และรองรับกับเป้าหมาย ความต้องการและนโยบาย การพัฒนาที่ได้สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดการสร้างระบบนิเวศ ในการสร้างนวัตกรรม ที่เป็นปัจจัยที่ส�ำ คัญในการพัฒนา และช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

90 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


Open Innovation: แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

รูปที่ 5 แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่มา พิชิต ขจรเดชะ (2019)

O p e n I n n ovat i o n ห รื อ ก า ร ส ร้ า ง นวัตกรรมแบบเปิด เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการ พัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการ พิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องการอาศัยความร่วม มือจากบุคลากร การกำ�หนดเป้าหมาย การปรับ เปลี่ยนโครงสร้าง การหาและสร้างพันธมิตร และ ที่ สำ � คั ญ คื อ การมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ บ ริ โ ภคหรื อ ลูกค้า (Customers) และ การสร้างระบบนิเวศ ของนวัตกรรม (Innovation Eco-System) เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมอย่างสมบูรณ์ และจะช่วยให้การพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุ ภั ณ ฑ์ ส ามารถเติ บ โตได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ในอนาคตได้

อ้างอิง [1] Myrna Flores, et al. “Towards a Sustainable Innovation Process: Integrating Lean and Sustainability Principles “International Conference, APMS 2018, Seoul, Korea, August 26-30, 2018, [2] Albertina Dias, et al “Modeling Innovation Sustainability and Technologies” Springer Proceedings in Business and Economics [3] Martin Curley, Bror Salmelin, “Open Innovation 2.O: A New Paradigm, Open Innovation Strategy and Policy Group” innovation value institute [4] “Open Innovation 2.0 The New Mode of Digital Innovation for Prosperity and Sustainability” :Springer International Publishing Switzerland 2018

91 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562






กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจัดการเพื่อความยั่งยืน

รศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การจัดการบรรจุภณ ั ฑ์เพือ ่ ความยัง่ ยืน (Packaging Design for Sustainability) ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ทั้งส่วนของผู้ผลิตวัสดุและบรรจุภัณฑ์ โดยตรง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานสำ�หรับสินค้าต่างๆ ในการขนส่ง จำ�หน่าย กระจาย สินค้าหรือรวบรวมวัสดุบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งาน รวมทั้งผู้บริโภคที่มีบทบาทสำ�คัญและ ภาครัฐซึ่งสามารถออกมาตรการ ข้อบังคับ แนวปฎิบัติหรือกฏหมาย ซึ่งการออกแบบ และการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนนั้นยังจำ�เป็นต้องมองผลบวกและผลกระทบ เชิงสิ่งแวดล้อมและเชิงเศรษฐกิจ การให้ความสำ�คัญด้านความปลอดภัยของผู้บริ โภค และการคำ�นึงถึงการอยู่ดีกินดีของสังคม ควบคู่ไปกับฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสมของ บรรจุภัณฑ์และองค์ประกอบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ความยั่ ง ยื น (Sustainability) หมายถึ ง ความ สามารถที่ จ ะดำ � เนิ น กิ จ กรรม หรื อ รั ก ษาไว้ ซึ่ ง สถานะ ใดๆ ต่อเนื่องไปในอนาคต นั่นหมายถึง การบริโภค ต้องเหมาะสมกับปริมาณการผลิตขึ้นมาทดแทน การใช้ วัตถุดิบหรือวัสดุต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ สามารถใช้ได้ทั่วถึงสำ�หรับกลุ่มคนในสังคมส่วนต่างๆ และประชากรรุ่นต่างๆ Bruntland Commission หรือ Commission on Environment and Development ซึ่ง

เริ่มในปี 1980 โดย UN กล่าวว่า Sustainable คือการ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะการดำ�เนินธุรกิจและกิจกรรม สามารถเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องไม่สิ้นสุดในอนาคต อีกทั้ง ได้ให้ความหมายของ sustainable development ว่า “Humanity has the ability to make development sustainable - to ensure that it meets the needs of the present without compromising the ability of future generations to meet their own needs.”

96 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการจัดการเพื่อความยั่งยืน

ในช่ ว ง ค.ศ. 1950-2000 มนุ ษ ย์ ใช้ ป ริ ม าณ ทรั พ ยากรมากที่ สุ ด เปรี ย บเที ย บกั บ ในอดี ต ที่ ผ่ า นมา (Gordon Roberson ในการสัมมนาเรื่อง กฏหมายและ ข้ อ บั ง คั บ สากลเกี่ ย วกั บ บรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ กลยุ ท ธ์ ก ารแข่ ง ขั น สำ � หรั บ ธุ ร กิ จ วั น ที่ 23-24 เมษายน 2562 โรงแรมเซ็ น ทาราแกรนด์ เซ็ น ทรั ล พลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ) ยกตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกาจะเห็นได้ว่าประชากรสหรัฐใช้ทรัพยากร หรื อ วั ส ดุ ต่ า งบนโลก ในปี ค.ศ. 2000 มากกว่ า ปี ค.ศ. 1976 ถึงร้อยละ 57 และถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะมี ประชากรไม่เกินร้อยละ 5 ของโลกแต่กลับใช้ทรัพยากร ถึ ง หนึ่ ง ในสามของโลก ในช่ ว งปี ค.ศ. 1990-1995 และในปี ค.ศ. 1995 วัสดุที่บริโภคนั้นสามารถผลิตใหม่ ทดแทนได้เพียงร้อยละ 6 จากปัญหาการขาดแคลน ทรัพยากรที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาจต ปัญหาการ เพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งต้องการวัสดุและทรัพยากร เพื่ อ การบริ โ ภคมากขึ้ น และผลกระทบจากปั ญ หา สิ่ ง แวดล้ อ มอั น เนื่ อ งจากออกแบบ การใช้ ง าน และ การจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ม่ คุ้ ม ค่ า และไม่ เ หมาะสม เนื่องจากไม่สามารถจะใช้ประโยชน์จากวัสดุนั้นได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดแนวคิดและการรวมตัวของ กลุ่มองค์กรต่างๆ ทั่วโลกที่ให้นโยบาย กรอบแนวทาง ในการออกแบบ และการจัดการบรรจุภัณฑ์ ดังจะยก ตัวอย่างในลำ�ดับถัดไป Sustainable Packaging Coalition Guidelines (2008) ซึ่ ง มี ส มาชิ ก มากกว่ า 250 องค์ ก รทั่ ว โลก ทั้งผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตวัสดุ เจ้าของตราสินค้า ผู้ค้า ปลีก หน่วยงานที่ทำ�ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียน ทำ�ใหม่ หรือการใช้ประโยชน์จากขยะของเสีย (recycle and waste recovery) รวมทั้งองค์กรที่ปรึกษาและองค์กร ของรัฐได้กำ�หนดแนวปฏิบัติ เช่น ให้วิเคราะห์วัฏจักร ชีวิต ของวัสดุ แนะนำ�ให้หาจุดที่เหมาะสมในการใช้วัสดุ ใหม่และวัสดุหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การคำ�นึง ถึงฟังก์ชันและต้นทุนของวัสดุที่เหมาะสม รวมทั้ง การ ใช้พลังงานในการผลิตจากแหล่งที่ผลิตทดแทนได้ หรือ การนำ�วัสดุกลับมาหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพโดย

วิธีการใดๆ ที่มุ่งสู่วงจรชีวิตของวัสดุแบบปิด (closed loop) เป็นต้น องค์กรอื่นๆ เช่น EUROPEN ซึ่งเป็น องค์ ก รที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ บรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มใน ยุโรป หรือ Ameripen องค์กรที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ และสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกาเองก็มีแนวคิดในด้าน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการออกแบบวัสดุ และบรรจุภัณฑ์โดยมีมุมมองว่า บรรจุภัณฑ์ทางเลือก นั้ น ต้ อ งมี ต้ น ทุ น และฟั ง ก์ ชั น การใช้ ง านที่ เ หมาะสม ด้วย จึงจะเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในอนาคต เพราะการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มองทั้งด้านสังคม (society) ที่ ปลอดภัย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและสร้างความปลอดภัย ในการบริโภค ด้านสิ่งแวดล้อม (environment) ที่ไม่มีผล กระทบหรือมีผลกระทบต่�ำ และด้านเศรษฐกิจ (economy) ที่ ส ามารถเติ บ ได้ อ ย่ า งเหมาะสม คื อ องค์ ป ระกอบสู่ ความยั่งยืน อย่ า งไรก็ ต าม ในการออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ โ ดย มองภาพใหญ่ อ าจนำ � สู่ คำ � ตอบที่ ย ากต่ อ การตั ด สิ น ใจ เช่น บรรจุภัณฑ์กระดาษ ผลิตจากวัสดุหมุนเวียนทำ�ใหม่ ได้ หรือย่อยสลายได้แต่อาจจะใช้พลังงานมากในการ ผลิตและขนส่ง เมื่อเปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์บางชนิดอาจจะทำ�ให้ผลิตภัณฑ์มีอายุ การเก็บที่ยาวนานกว่า ลดการสูญเสียของผลิตภัณฑ์ ทั้งก่อนผลิตและแปรรูป (food waste and food loss) ซึ่งในกรณีหลังนี้บรรจุภัณฑ์นั้นอาจจะไม่สามารถย่อย

97 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


สลายได้ โดยที่ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มอั น เนื่ อ งจาก ผลิตภัณฑ์อาจจะสูงมากกว่าบรรจุภัณฑ์หลายเท่า ซึ่ง หากเป็ น เช่ น นี้ บรรจุ ภั ณ ฑ์ จ ะไม่ ใช่ ตั ว ปั ญ หาต่ อ การ ก้าวสู่ความยั่งยืน แต่คือหนทางแก้ปัญหาที่หลายคน ไม่ได้ให้ความสนใจ มีงานวิจัยจำ�นวนหนึ่งที่ได้เปรียบ เที ย บผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม (greenhouse gas emission, GHG) ระหว่างผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Food-to-Packaging Ratio (FTP) (Woranit Muangmala 2017, Environmental Impacts of Packaging in Food Product Systems: Review. MS thesis, Michigan State University) จากงานวิจัยพบว่าในกรณีที่ผลกระทบ ของสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์นั้นมีค่าสูง เรายังจำ�เป็น ต้ อ งใช้ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ เ หมาะสมเพื่ อ ลดการเสื่ อ มเสี ย อย่ า งไรก็ ต ามในกรณี ที่ ผ ลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มอั น เนื่องจากผลิตภัณฑ์นั้นมีค่าน้อยเราอาจจะพิจารณาลด การใช้บรรจุภัณฑ์ได้ จากการเปรียบเทียบบรรจุภัณฑ์ ในรู ป แบบต่ า งๆ ในบางครั้ ง ก็ พ บว่ า การใช้ ห ลั ก การ วิ เ คราะห์ แ บบ Life Cycle Analysis (LCA) (ISO 14044:2006) นั้ น ถึ ง แม้ ว่ า จะมี ป ระโยชน์ ใ นการมอง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มของระบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ ใน ช่ ว งวั ฏ จั ก รชี วิ ต ใดๆ แต่ อ าจจะใช้ ใ นการตั ด สิ น ใจได้ ยาก เปรียบเทียบข้ามชนิดของบรรจุภัณฑ์ หรือข้าม สถานการณ์ ไ ด้ ย าก เป็ น การประมาณการ หรื อ เป็ น การมองภาพที่ไม่ครอบคลุมในทุกสถานการณ์ เพราะ LCA ไม่ได้คำ�นึงถึงประสิทธิภาพหรือฟังก์ชันการใช้งาน ของบรรจุภัณฑ์ การใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ต้องมีความเหมาะสม ไม่ ใช้ วั ส ดุ ม ากไปหรื อ น้ อ ยไป เพราะจะก่ อ ผลเชิ ง ลบ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น การทดสอบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ ที่เหมาะสมจะช่วยให้การตัดสินใจมีเหตุมีผลมากขึ้น มี หลักฐานยืนยันเพื่อความมั่นใจในการออกแบบ สำ�หรับ ผู้ บ ริ โ ภคในปั จ จุ บั บ เอง ก็ ยั ง คงมองว่ า บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ยั่งยืนหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ� คือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มอง เฉพาะช่วงเวลาที่บรรจุภัณฑ์ถูกใช้งานแล้ว การสื่อสาร ให้ความเข้าใจที่ถูกต้องยังต้องดำ�เนินการต่อไป

การใช้วัสดุชีวฐาน (Bio based materials) อาจจะ สามารถนำ�มาใช้ได้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม แต่ไม่จ�ำ เป็นต้องย่อยสลายได้ เช่น การพัฒนา Biopolyethylene หรือ Biopolyethylene หรือพอลิเมอร์ชนิดใหม่ เช่น polytrimethylene furandicarboxylate (PTF) ซึ่ง PTF มี คุ ณ สมบั ติ เชิ ง กล สมบั ติ เชิ ง ความร้ อ น และสมบั ติ การกีดขวางต่อไอน้ำ�ดีกว่า PET (ผลงานนวัตกรรมจาก DuPont) เรายังคงต้องมุ่งให้ความสำ�คัญของการนำ�วัสดุ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นการหมุนเวียน ทำ � ใหม่ (recycle) ที่ ต้ อ งช่ ว ยเพิ่ ม ปริ ม าณให้ ม ากขึ้ น หรือการคืนสภาพ (recovery) เช่น organic/ inorganic recovery หรือ energy recovery ตามหลักคิดของ ISO packaging and the environment (ISO 18601-06) การวิเคราะห์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามหลักคิดนี้ยัง ต้องมองถึงสถานการณ์ความพร้อมของแต่ละประเทศ การจัดการอาจจะแตกต่างกันออกไป ส่งผลให้แนวคิด การออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละการเลื อ กวั ส ดุ ที่ เ หมาะ สมอาจจะแตกต่ า งกั น ตามความพร้ อ มและขี ด ความ สามารถของเทคโนโลยี แนวคิ ด การออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ใช้ วั ส ดุ น้ อ ย ลง น้ำ�หนักเบาลง เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยในการลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระยะยาวและนำ�สู่ความยั่งยืน ได้ เช่น การลดน้ำ�หนักขวด PET ปัจจุบันน้ำ�หนักขวด PET ขนาด 500 ml อาจจะมีค่าเฉลี่ยประมาณ 12 กรัม โดยที่ในอดีต (ค.ศ. 1980) อาจจะมีน้ำ�หนักถึง 28 กรัม

98 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการจัดการเพื่อความยั่งยืน

และปัจจุบัน เทคโนโลยีของบางบริษัท อาจจะสามารถ ผลิตขวดน้ำ�ดื่มที่มีน้ำ�หนักเพียง 7.95 กรัม (Sidel) หรือ สำ�หรับขวดบรรจุน้ำ�อัดลม ขนาด 500 ml อาจจะหนัก เพียง 9.9 กรัม (Krones) นอกจากแนวคิดนี้แล้วยังมี แนวคิดในการลดขนาดบรรจุภัณฑ์ หรือการคำ�นวณพื้น ผิวรวมของบรรจุภัณฑ์ (surface are) เทียบกับปริมาตร บรรจุ (volume) เพื่อหาขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์อีกด้วย โดยพบว่าเราอาจจะบรรจุผลิตภัณฑ์ ได้เท่ากันแต่ปริมาณวัสดุที่ใช้สำ�หรับบรรจุภัณฑ์รูปทรง ต่างๆ อาจจะแตกต่างกันค่อนข้างมาก

Concept of rightweight approach to lightweight bottle design (ที่มา: https://www.sidel.com/en/packaging/sidel-rightweight-sv1-44)

บรรจุ ภั ณ ฑ์ เ ป้ า หมายหลั ง การใช้ ง านที่ ชั ด เจน จาก แนวคิ ด นี้ ที่ ส หภาพยุ โรปได้ ตั้ ง เป้ า หมายการจั ด การ พลาสติ ก ให้ ส ามารถดำ � เนิ น การได้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ในปี ค.ศ 2030 นั้ น หลายบริ ษั ท ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง เช่ น ยู นิ ลี เวอร์ วางแผนจะลดน้ำ� หนั กของบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ใช้ ลงหนึ่ ง ในสามภายในปี ค.ศ. 2020 และเพิ่ ม การใช้ พลาสติกรีไซเคิลใหม่ในบรรจุภัณฑ์ถึงระดับอย่างน้อย ร้อยละ 25 ภายในปี ค.ศ. 2025 แมคโดนัลด์ประกาศ เลิกใช้หลอดพลาสติก และตั้งความหวังที่จะให้บรรจุ ภั ณ ฑ์ ทั้ ง หมดมาจากวั ส ดุ รี ไซเคิ ล วั ส ดุ ท ดแทน หรื อ วัสดุที่ได้รับการรับรองแหล่งที่มาภายในปี 2025 และ อี กตั ว อย่ าง เช่ น โคคา โคล่ า ที่ ป ระกาศจุ ด ยื น ด้ า น สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยบรรจุ ภั ณ ฑ์ ทั้ ง หมดจะต้ อ งสามารถ รีไซเคิลได้ร้อยละ 100 เป็นต้น การก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียน จำ�เป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการสร้าง นวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การวิจัย พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและคุณสมบัติของวัสดุบรรจุ ที่มีจำ�หน่ายเชิงการค้าในปัจจุบัน หรือพัฒนาวัสดุทาง เลื อ กใหม่ ที่ มี น วั ต กรรม และการพั ฒ นาเทคโนโลยี ในการคัดแยกวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำ� หรื อ การพั ฒ นาเทคโนโลยี ใ นการหมุ น เวี ย นทำ � ใหม่ และการคืนสภาพของวัสดุที่มีประสิทธิภาพ

แนวคิ ด สำ � คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง ที่ ห ลายประเทศ ทั่ ว โลก โดยเริ่ ม ในยุ โรปที่ ใ ห้ ค วามสำ � คั ญ คื อ ระบบ เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ซึ่งเป็นแนวคิด หรื อ ระบบเศรษฐกิ จ ที่ ตั้ ง บนฐานของ การรั ก ษาและ เพิ่มประสิทธิภาพทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ ทรั พ ยากรให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ด้ ว ยการหมุ น เวี ย น วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ และการรักษาประสิทธิภาพของ ระบบด้วยการลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบ เชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจ นั่นหมายถึงการใช้แนวคิด ของระบบ closed loop ซึ่งการจะทำ�ให้เราสามารถก้าวสู่ เป้าหมายนี้ได้นั้นไม่ใช่เพียงช่วยกันเก็บบรรจุภัณฑ์หรือ การคัดแยกขยะ แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ เ หมาะสม มี ก ารคำ � นึ ง ถึ ง วิ ธี ก ารจั ด การ

Circular Economy (ที่มา : https://www.anthesisgroup.com/ circular-economy)

99 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


กลยุทธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการจัดการเพื่อความยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ สหภาพยุโรปได้กำ�หนดเป้าหมาย ที่จะเดินหน้าเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องของการ ลดผลกระทบจาก Food Waste ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ได้ เริ่มมานานแล้ว และล่าสุดการประกาศนโยบายลดการ ใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (EU Plastics Initiatives) เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร fast food พลาสติก ห่อแซนวิช พลาสติกห่อผักผลไม้ ขวดพลาสติกบรรจุ น้ำ�ดื่ม เบียร์ น้ำ�ผลไม้ เครื่องดื่มกลุ่ม ready to drink ในขวดพลาสติก เป็นต้น โดยไม่รวมภาชนะพลาสติก สำ�หรับอาหารแห้งหรือภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่ ต้องเก็บรักษายาวนานหรือต้องเข้าสู่กระบวนการเตรียม เช่นการเข้าไมโครเวฟ และไม่รวมภาชนะแบบ single serve ที่บรรจุรวมกันในบรรจุภัณฑ์รวมหน่วย เป้าหมาย คือการลดปริมาณขยะพลาสติกที่ยากต่อการจัดเก็บซึ่ง พบเป็นจำ�นวนมากในทะเล สำ�หรับขวด PET เองยัง มีเป้าหมายจะให้มีปริมาณของพลาสติกรีไซเคิล อย่าง น้อยร้อยละ 30 โดยน้�ำ หนักภายในปี 2030 อีกด้วย โดยสรุ ป แล้ ว การออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ และการจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ์ นั้ น ต้ อ งดำ � เนิ น การ ควบคู่ กั น ไป มี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี เ ป้ า หมาย และการสื่ อ สารที่ ถู ก ต้ อ งกั บ ทุ ก ภาคส่ ว นใน

โซ่ อุ ป ทาน การแก้ ปั ญ หาอาจจะไม่ ไ ด้ ขึ้ น อยู่ กั บ การเลื อ กวั ส ดุ ที่ ผ ลิ ต ใหม่ ท ดแทนได้ หรื อ การ ย่อยสลายได้เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการ วางแผนออกแบบและจั ด การบรรจุ ภัณ ฑ์ ในห่วง โซ่ อุ ป ทานและการจั ด การหลั ง การใช้ ง านตาม เป้ า หมายที่ ส อดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ ใ นแต่ ล ะ ประเทศหรือชุมชน ระดับของเทคโนโลยีที่มี รวม ทั้งการลดปริมาณการบริ โภคเท่าที่จำ� เป็น การ แก้ปัญหาที่ตรงจุด เช่น การให้ความสำ�คัญกับ food loss และ food waste ร่วมด้วย การใช้ ข้อมูลจริงหรือข้อมูลทางการศึกษาที่มีแบบแผน มาเปรียบเทียบหรือการทีไ่ ม่ได้มงุ่ เป้าทีก ่ ระบวนการ recycle เพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นทางออกสู่ การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนได้ในระดับหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง เอกสารประกอบการบรรยาย โดย Dr. Gordon Roberson ในการสัมมนาเรื่อง กฏหมายและข้อบังคับ สากลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม เพื่อกลยุทธ์ การแข่งขันสำ�หรับธุรกิจ วันที่ 23-24 เมษายน 2562 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

New EU-wide rules to target 10 single-use plastic products (ที่มา : https://eeas.europa.eu/)

100 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


รายนามคณะมนตรีสหพันธ์อต ุ สาหกรรมการพิมพ์ วาระที่ 1 ปี 2536-2537 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณมานิตย์ คุณพีระ คุณประสิทธิ ์ คุณปฐม คุณเกษม ดร.วิชยั คุณวิรยิ ะ คุณชวาล

กมลสุวรรณ ประยุกต์วงศ์ เทียนประภา สุทธาธิกลุ ชัย แย้มวาทีทอง พยัคฆโส สิรสิ งิ ห โสตถิวนั วงศ์

(ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (ตัวแทนสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

เพชรพันธ์ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) เทียนประภา (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) เหลืองวารินกุล (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) สิรสิ งิ ห (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) โสตถิวนั วงศ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) กมลสุวรรณ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) กมลสุวรรณ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 2 ปี 2537-2538 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณปรีดา คุณประสิทธิ ์ คุณรังษี ดร.วิชยั คุณวิรยิ ะ คุณชวาล คุณมานิตย์ คุณมานิตย์

วาระที่ 3 ปี 2538-2539 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณมานิตย์ คุณปฐม ดร.วิชยั คุณวิรยิ ะ คุณชัยบูรณ์ คุณมานิตย์ คุณรังษี คุณศิรวิ รรณ

พรพิพฒ ั น์กลุ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) สุทธาธิกลุ ชัย (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) สิรสิ งิ ห (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) กุลสิรสิ วัสดิ ์ (ตัวแทนสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) กมลสุวรรณ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะรัตนวงศ์ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย)

101 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ


วาระที่ 4 ปี 2539-2540 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณปฐม ดร.วิชยั คุณนิดดา คุณชัยบูรณ์ คุณมานิตย์ คุณรังษี คุณทวีชยั คุณมานิตย์

สุทธาธิกลุ ชัย (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) หงษ์ววิ ฒ ั น์ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) กุลสิรสิ วัสดิ ์ (ตัวแทนสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) กมลสุวรรณ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) พรพิพฒ ั น์กลุ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 5 ปี 2540-2541 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

ดร.วิชยั คุณนิดดา คุณชัยบูรณ์ คุณมานิตย์ คุณรังษี คุณทวีชยั คุณมานิตย์ คุณปฐม

พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) หงษ์ววิ ฒ ั น์ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) กุลสิรสิ วัสดิ ์ (ตัวแทนสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) กมลสุวรรณ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) พรพิพฒ ั น์กลุ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) สุทธาธิกลุ ชัย (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 6 ปี 2541-2542 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณนิดดา คุณชวาล คุณวิเทียน คุณรังษี คุณทวีชยั คุณมานิตย์ คุณปฐม ดร.วิชยั

หงษ์ววิ ฒ ั น์ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) โสตถิวนั วงศ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) นิลดำ� (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) พรพิพฒ ั น์กลุ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) สุทธาธิกลุ ชัย (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์)

102 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ


วาระที่ 7 ปี 2542-2543 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณชวาล คุณวิเทียน คุณรังษี คุณทวีชยั คุณมานิตย์ คุณปฐม ดร.วิชยั คุณสุวดี

โสตถิวนั วงศ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) นิลดำ� (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) พรพิพฒ ั น์กลุ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) สุทธาธิกลุ ชัย (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) จงสถิตย์วฒ ั นา (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 8 ปี 2543-2544 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

คุณวิเทียน คุณรังษี คุณทวีชยั คุณประสิทธิ ์ คุณปฐม ดร.วิชยั คุณวิสทิ ธิ ์ คุณชัยบูรณ์

นิลดำ� (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) เทียนประภา (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) สุทธาธิกลุ ชัย (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) โรจน์พจนรัตน์ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) กุลสิรสิ วัสดิ ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 9 ปี 2544-2545 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณรังษี คุณทวีชยั คุณมานิตย์ คุณเกรียงไกร ดร.วิชยั คุณสุวดี คุณชัยบูรณ์ คุณวิเทียน คุณเต็กมิง้

เหลืองวารินกุล (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) พรพิพฒ ั น์กลุ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) เธียรนุกลุ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) จงสถิตย์วฒ ั นา (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) กุลสิรสิ วัสดิ ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) นิลดำ� (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) แซ่โง้ว (นายกสมาคมผูผ้ ลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย)

103 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ


วาระที่ 10 ปี 2545-2546 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณทวีชยั คุณสันติ คุณเกรียงไกร ดร.วิชยั คุณสุวดี คุณชัยบูรณ์ คุณวิเทียน คุณเต็กมิง้ คุณปฐม

เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ส่งเสริมสวัสดิ ์ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) เธียรนุกลุ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) จงสถิตย์วฒ ั นา (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) กุลสิรสิ วัสดิ ์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) นิลดำ� (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) แซ่โง้ว (นายกสมาคมผูผ้ ลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) สุทธาธิกลุ ชัย (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 11 ปี 2546-2547 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณสันติ คุณเกรียงไกร ดร.วิชยั คุณธนะชัย คุณชัยบูรณ์ คุณวิเทียน คุณเต็กมิง้ คุณปฐม คุณทวีชยั

ส่งเสริมสวัสดิ ์ เธียรนุกลุ พยัคฆโส สันติชยั กูล กุลสิรสิ วัสดิ ์ นิลดำ� แซ่โง้ว สุทธาธิกลุ ชัย เตชะวิเชียร

(ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) (นายกสมาคมผูผ้ ลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 12 ปี 2547-2548 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณเกรียงไกร ดร.วิชยั คุณธนะชัย คุณชัยบูรณ์ คุณวิเทียน คุณเต็กมิง้ คุณปฐม คุณทวีชยั คุณบุญชัย

เธียรนุกลุ พยัคฆโส สันติชยั กูล กุลสิรสิ วัสดิ ์ นิลดำ� แซ่โง้ว สุทธาธิกลุ ชัย เตชะวิเชียร วลีธรชีพสวัสดิ ์

(นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก (นายกสมาคมผูผ้ ลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

104 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วาระที่ 13 ปี 2548-2549 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

ดร.วิชยั คุณธนะชัย คุณชัยบูรณ์ คุณวิเทียน คุณสุรชัย คุณปฐม คุณสายยนต์ คุณบุญชัย คุณเกรียงไกร

พยัคฆโส สันติชยั กูล กุลสิรสิ วัสดิ ์ นิลดำ� โสตถีวรกุล สุทธาธิกลุ ชัย ศรีพพิ ฒ ั น์ วลีธรชีพสวัสดิ ์ เธียรนุกลุ

(นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ (นายกสมาคมผูผ้ ลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 14 ปี 2549-2550 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณธนะชัย คุณชัยบูรณ์ คุณเอนก คุณสุรชัย คุณเกรียงไกร คุณสายยนต์ คุณประสิทธิ ์ คุณเกรียงไกร ดร.วิชยั

สันติชยั กูล กุลสิรสิ วัสดิ ์ วิทยะสิรนิ นั ท์ โสตถีวรกุล เธียรนุกลุ ศรีพพิ ฒ ั น์ คล่องงูเหลือม เธียรนุกลุ พยัคฆโส

(นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 15 ปี 2550-2551 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณพิรชั ธัมพิพธิ คุณเอนก วิทยะสิรนิ นั ท์ คุณสุรชัย โสตถีวรกุล คุณเกรียงไกร เธียรนุกลุ คุณสุรศักดิ ์ พรบุญมารุง่ คุณประสิทธิ ์ คล่องงูเหลือม คุณเกรียงไกร เธียรนุกลุ ดร.วิชยั พยัคฆโส คุณริสรวล อร่ามเจริญ

(นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

105 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วาระที่ 16 ปี 2551-2552 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณเกษม คุณสุรชัย คุณเกรียงไกร คุณสุรศักดิ ์ คุณประสิทธิ ์ คุณพรชัย ดร.วิชยั คุณริสรวล คุณพิรชั

แย้มวาทีทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ โสตถีวรกุล (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 เธียรนุกลุ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 พรบุญมารุง่ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก รัตนชัยกานนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ อร่ามเจริญ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ธัมพิพธิ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 17 ปี 2552-2553 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณเต็กมิง้ คุณเกรียงไกร คุณสุรศักดิ ์ คุณประสิทธิ ์ คุณพรชัย ดร.วิชยั คุณริสรวล คุณพิรชั คุณเกษม

แซ่โง้ว (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ เธียรนุกลุ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 พรบุญมารุง่ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ รัตนชัยกานนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ อร่ามเจริญ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ธัมพิพธิ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แย้มวาทีทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 18 ปี 2553-2554 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณพรชัย คุณสุรศักดิ ์ คุณประสิทธิ ์ คุณพรชัย ดร.วิชยั คุณริสรวล คุณพิรชั คุณเกษม คุณเต็กมิง้

รัตนชัยกานนท์ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ พรบุญมารุง่ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 รัตนชัยกานนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก อร่ามเจริญ (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ธัมพิพธิ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แย้มวาทีทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แซ่โง้ว (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

106 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


วาระที่ 19 ปี 2554-2555 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

คุณทวีชยั คุณประสิทธิ ์ คุณพรชัย ดร.วิชยั คุณวรพันธ์ คุณเรืองศักดิ ์ คุณเกษม คุณเต็กมิง้ คุณพรชัย

เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 รัตนชัยกานนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ โลกิตสถาพร (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก หิรญ ั ญาภินนั ท์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แย้มวาทีทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แซ่โง้ว (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ รัตนชัยกานนท์ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 20 ปี 2555-2556 1. คุณประสิทธิ ์ 2. คุณพรชัย 3. ดร.วิชยั 4. คุณวรพันธ์ 5. คุณเรืองศักดิ ์ 6. คุณไชยวุฒ ์ิ 7. คุณเต็กมิง้ 8. คุณวิชยั 9. คุณทวีชยั 10. คุณเกษม

คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ รัตนชัยกานนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 โลกิตสถาพร (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) ตำ�แหน่ง เลขาธิการ หิรญ ั ญาภินนั ท์ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) ตำ�แหน่ง เหรัญญิก พึง่ ทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แซ่โง้ว (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ สกลวรารุง่ เรือง (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ ส.อ.ท.) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ เตชะวิเชียร (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ แย้มวาทีทอง (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์) ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 21 ปี 2556-2557 1. คุณพรชัย 2. คุณจรัญ 3. คุณพงษ์เดช 4. คุณไชยวุฒ ์ิ 5. คุณระวิ 6. คุณวิชยั 7. คุณมงคล 8. คุณประสิทธิ ์ 9. ดร.วิชยั 10. คุณเกษม

รัตนชัยกานนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) หอมเทียนทอง (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) สัจจะรัตนะโชติ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) พึง่ ทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เกษมศานติ ์ (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) สกลวรารุง่ เรือง (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ส.อ.ท.) คงสวัสดิว์ รากุล (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) คล่องงูเหลือม (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) แย้มวาทีทอง (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์)

107 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ


วาระที่ 22 ปี 2557-2558 1. คุณจรัญ หอมเทียนทอง (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) 2. คุณพงษ์เดช สัจจะรัตนะโชติ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) 3. คุณไชยวุฒ ์ิ พึง่ ทอง (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) เกษมศานติ ์ (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) 4. คุณระวิ 5. คุณวิชยั สกลวรารุง่ เรือง (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ส.อ.ท.) 6. คุณมงคล คงสวัสดิว์ รากุล (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) 7. คุณสุวชิ าภรณ์ ไทยสวัสดิ ์ 8. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) 9. ดร.วิชยั 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 23 ปี 2558-2559 1. คุณพงษ์เดช สัจจะรัตนะโชติ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) 2. คุณนภดล ไกรฤกษ์ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) 3. คุณระวิ เกษมศานติ ์ (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) 4. คุณวิชยั สกลวรารุง่ เรือง (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ส.อ.ท.) 5. คุณธนพล บันลือรัตน์ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) 6. คุณสุวชิ าภรณ์ ไทยสวัสดิ ์ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) 7. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) 8. คุณจรัญ หอมเทียนทอง (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) 9. ดร.วิชยั พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 24 ปี 2559-2560 1. คุณนภดล ไกรฤกษ์ (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) 2. คุณระวิ เกษมศานติ ์ (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) 3. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ส.อ.ท.) 4. คุณธนพล บันลือรัตน์ (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) 5. คุณสุวชิ าภรณ์ ไทยสวัสดิ ์ (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) 6. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) 7. คุณจรัญ หอมเทียนทอง (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) 8. คุณพงษ์เดช สัจจะรัตนะโชติ (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) 9. ดร.วิชยั พยัคฆโส (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์)

108 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ


วาระที่ 25 ปี 2560-2561 1. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ 2. คุณธนพล บันลือรัตน์ 3. คุณประสิทธิ ์ คล่องงูเหลือม 4. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ 5. คุณสุชาดา สหัสกุล 6. คุณประภาพร ณรงค์ฤทธิ ์ 7. คุณนภดล ไกรฤกษ์ 8. คุณระวิ เกษมศานติ ์ 9. ดร.วิชยั พยัคฆโส 10. คุณเกษม แย้มวาทีทอง

(ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

(นายกสมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย) (ประธานชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์ไทย) (นายกสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) (นายกสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย) (นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย) (นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย) (ประธานกลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ส.อ.ท.) (นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์) (ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์)

ตำ�แหน่ง ประธานสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 1 ตำ�แหน่ง รองประธานท่านที่ 2 ตำ�แหน่ง เลขาธิการ ตำ�แหน่ง เหรัญญิก ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ ตำ�แหน่ง มนตรีสหพันธ์ฯ

วาระที่ 26 ปี 2561-2562 1. คุณธนพล บันลือรัตน์ 2. คุณประสิทธิ ์ คล่องงูเหลือม 3. คุณพงศ์ธรี ะ พัฒนพีระเดช 4. คุณสุชาดา สหัสกุล 5. คุณประภาพร ณรงค์ฤทธิ ์ 6. คุณมานิตย์ กมลสุวรรณ 7. คุณระวิ เกษมศานติ ์ 8. คุณพิมพ์นารา จิรานิธศิ นนท์ 9. ดร.วิชยั พยัคฆโส 10. คุณพงศ์ธรี ะ พัฒนพีระเดช

109 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ธรรมนูญและกฎข้อบังคับของ สหพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์ The Federation of Thai Printing Industries (ฉบับแก้ไขปรับปรุงครัง้ ที่ 4)

คําปรารภ

สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องของประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของการ ร่วมมือและการรวมตัวกันทีจ่ ะก่อตัง้ องค์กรอิสระ เพือ่ เป็นศูนย์กลางในการผดุงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชดิ ระหว่างมวลสมาชิก ซึง่ จะ เป็นการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกและประเทศชาติโดยส่วนรวม และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อร่วมมือและประสานความ สัมพันธ์กบั องค์กรของประเทศต่างๆ ทีม่ วี ตั ถุประสงค์คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนจ้ี งึ พร้อมใจให้สตั ยาบันกันก่อตัง้ “สหพันธ์อตุ สาหกรรม การพิมพ์” ขึน้ โดยตราธรรมนูญและกฎข้อบังคับฉบับนี้

ข้อบังคับที่ 1 ชือ่ และวัตถุประสงค์

1.1 สหพันธ์มีช่อื ว่า “สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์” (สอกพ.) เขียนและเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “The Federation of Thai Printing Industries” (FTPI.) 1.2 สอกพ. ได้จดั ตัง้ ขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์ดงั นี้ 1.2.1 ผดุงไว้ซง่ึ สิทธิประโยชน์รว่ มกันในการประกอบอาชีพของมวลสมาชิก เพือ่ ให้เกิดความเป็นธรรมในการดำ�เนินธุรกิจ 1.2.2 เพือ่ เป็นองค์กรทีม่ อี �ำ นาจในการเข้าทำ�ความตกลงกับรัฐบาลและองค์กรของประเทศในกรณีทม่ี สี ว่ นเกีย่ วพันและ มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกีย่ วเนือ่ ง 1.2.3 ประสานงานและปฏิบัติงานโดยพลันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรม เกีย่ วเนือ่ งทางด้านภาษี บุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอืน่ ๆ 1.2.4 ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องทั้งในทางปฏิบัติและ ในทางวิชาการ 1.2.5 ให้การช่วยเหลือมวลสมาชิกทีม่ ปี ญ ั หาเกีย่ วกับการประกอบอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกีย่ วเนือ่ ง

ข้อบังคับที่ 2 สมาชิกและสมาชิกภาพ

2.1 สมาชิกสหพันธ์ประกอบด้วย 2.1.1 กลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Printing and Packaging Industry Club-The Federation of Thai Industries) 2.1.2 สมาคมแยกสีแม่พมิ พ์เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย (Thai Colour Seperated Association) 2.1.3 ชมรมการจัดพิมพ์อเิ ล็กทรอนิกไทย (Thai Electronic Publishing Club) 2.1.4 สมาคมการพิมพ์ไทย (The Thai Printing Association) 2.1.5 สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์ (Thailand Association for Printing Technology Promotion) 2.1.6 สมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (The Publishers and Booksellers Association of Thailand) 2.1.7 สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย (Thai Screen Printing and Graphic Image Association) 2.1.8 สมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย (The Thai Packaging Association) 2.1.9 สมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย (Thai Corrugated Packaging Association)

110 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


2.2 การรับสมาชิกใหม่ของสหพันธ์ฯ ต้องได้รบั ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากคณะมนตรีของสหพันธ์ฯ 2.3 ให้นายกหรือประธานของสมาชิกตามข้อ 2.1 เป็นมนตรีสหพันธ์ฯ โดยตำ�แหน่ง 2.4 ให้สมาชิกตามข้อ 2.1 แต่งตั้งกรรมการ 2 ท่าน เป็นผู้แทนมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย หากในกรณีที่มนตรีไม่สามารถ เข้าร่วมประชุมได้ ให้ผแู้ ทนมนตรีทา่ นใดท่านหนึง่ มีอ�ำ นาจเต็มในฐานะมนตรี

ข้อบังคับที่ 3 คณะมนตรี

3.1 องค์กรบริหารสหพันธ์ฯ เป็นคณะมนตรี ซึง่ ประกอบด้วย 3.1.1 ประธานคณะมนตรี เรียกว่าประธานสหพันธ์ (Chairman) 3.1.2 รองประธานคณะมนตรี 2 ท่าน เรียกว่ารองประธานสหพันธ์ (Vice Chairman) 3.1.3 เลขาธิการ (Secretary General) 3.1.4 เหรัญญิก (Treasurer) 3.1.5 มนตรีอน่ื ๆ (Committee Director) อีกตามจำ�นวนผูแ้ ทนสมาชิกทีเ่ หลือของสหพันธ์ฯ 3.1.6 ประธานมูลนิธสิ หพันธ์อตุ สาหกรรมการพิมพ์ 3.2 คณะมนตรีมอี �ำ นาจทีจ่ ะทำ�การใดๆ แทนสหพันธ์ฯ ในนามของสหพันธ์ฯ ตามวัตถุประสงค์ทไ่ี ด้ระบุไว้ในข้อบังคับ ข้อที่ 1 ของสหพันธ์ฯ ตลอดจนกำ�หนดนโยบายการบริหารงานของสหพันธ์ฯ โดยผ่านการรับหลักการจากคณะมนตรีเป็นเอกฉันท์ 3.2.1 คณะมนตรีให้อยูใ่ นตำ�แหน่งตามข้อ 3.1 วาระละ 1 ปี (ตัง้ แต่ 3 มิถนุ ายน-3 มิถนุ ายน ปีถดั ไป) 3.2.2 ประธานสหพันธ์ฯ เป็นตำ�แหน่งซึง่ ได้ตกลงกันในบรรดาสมาชิกและรับรองเป็นเอกฉันท์โดยคณะมนตรี 3.2.3 ลำ�ดับของการผลัดกันรับตำ�แหน่งประธานสหพันธ์ฯ แต่ละวาระได้ตกลงกันไว้โดยมติเป็นเอกฉันท์ นับแต่วนั ประชุม ก่อตั้งสหพันธ์ฯ เรียงลำ�ดับตามข้อ 2.1 สมาชิกรายใดจะสละสิทธิ์ในการรับตำ�แหน่งประธานสหพันธ์ฯ ก็ได้ ในกรณีสมาชิกใหม่ให้เรียงลำ�ดับต่อท้ายตำ�แหน่งของประธานคณะมนตรีทเ่ี พิง่ พ้นตำ�แหน่งไป 3.2.4 ประธานสหพันธ์ฯ คนเก่าจะต้องส่งมอบงานทัง้ หมดให้ประธานสหพันธ์ฯ คนใหม่ภายใน 30 วัน 3.3 ประธานสหพันธ์ฯ ทีพ่ น้ วาระไปแล้วทุกท่านจะเป็นทีป่ รึกษากิตติมศักดิ์ (Honorary Advisor) ของสหพันธ์ฯ ตลอดชีพ

ข้อบังคับที่ 4

หน้าทีข่ องคณะมนตรี

4.1 ประธานสหพันธ์ฯ เป็นผู้บริหารของสหพันธ์ฯ และเป็นประธานในการประชุมของสหพันธ์ฯ ทุกครั้ง ประธานสหพันธ์ฯ เป็นผูด้ �ำ เนินการให้มกี ารปฏิบตั ติ ามมติของคณะมนตรี และ/หรือดำ�เนินการในเรือ่ งต่างๆ ตามความเหมาะสมเพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ ของสหพันธ์ฯ 4.2 ในกิจการทัง้ ปวงซึง่ เกีย่ วกับบุคคลภายนอก องค์กร รัฐบาล นิตบิ คุ คล หรือสมาคมอืน่ ๆ ให้ประธาน สหพันธ์ฯ หรือผูท้ ่ี คณะมนตรีมมี ติแต่งตัง้ เป็นผูแ้ ทนของสหพันธ์ฯ 4.3 ให้รองประธานสหพันธ์ฯ คนใดคนหนึง่ ทำ�หน้าทีแ่ ทนประธานในกรณีทป่ี ระธานไม่อยู่ เจ็บป่วย ตลอดจนขาดความสามารถ หรือไม่สามารถโดยชัว่ คราว อยูใ่ นตำ�แหน่งได้เพียงเท่ากำ�หนดเวลาทีเ่ หลือของประธานและจะต้องปฏิบตั ติ ามหน้าทีท่ ร่ี ะบุไว้ในข้อ 4.1 และหน้าทีอ่ น่ื ๆ ซึง่ อาจกำ�หนดโดยคณะมนตรี 4.4 เลขาธิการเป็นผู้ประสานงานระหว่างมวลสมาชิก ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเก็บรักษาบันทึกสิ่งพิมพ์และเอกสารอื่นๆ ของ สหพันธ์ฯ ต้องรับผิดชอบจัดเตรียมวาระการประชุม เตรียมเอกสารต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับการประชุม แจ้งนัดหมายการประชุม และรับผิดชอบ บันทึกรายงานการประชุม 4.5 ให้เหรัญญิกเป็นผูร้ บั ผิดชอบการเงิน การบัญชี ทรัพย์สนิ รายงานรายรับ-รายจ่ายและสถานะการเงินของสหพันธ์ฯ ต่อ ทีป่ ระชุมทุกครัง้ 4.6 ประธานสหพันธ์ฯ จะแต่งตัง้ ผูใ้ ดเป็นทีป่ รึกษาได้ตามความเหมาะสม ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ได้ผลดียง่ิ ขึน้ แก่สหพันธ์ฯ 4.7 ให้มนตรีมหี น้าทีเ่ ข้าร่วมประชุมทุกครัง้ ให้มคี วามคิดเห็น เสนอกิจกรรม จัดทำ�ข้อมูลประกอบการประชุมและรับผิดชอบ กิจกรรมทีไ่ ด้รบั มอบหมาย 4.8 มนตรีต้องเข้าร่วมประชุมสม่ำ�เสมอ หากมนตรีท่านใดขาดหรือลาประชุมเกิน 2 ครั้งติดต่อกัน หรือมาประชุมน้อยกว่า 3 ครั้งในวาระนั้น จะไม่มีสิทธิ์รับตำ�แหน่งมนตรีบริหารในวาระถัดไป คือ ตำ�แหน่งประธานสหพันธ์ฯ, รองประธานท่านที่ 1, รองประธานท่านที่ 2, เลขาธิการ และเหรัญญิก

111 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ข้อบังคับที่ 5 การประชุม

5.1 การประชุมประจำ�ปีของสมาชิกจะต้องประชุมในเดือนมิถุนายน ในการประชุมประจำ�ปีจะต้องพิจารณารับรองและให้ รายงานสรุปกิจการดังต่อไปนี้ 5.1.1 ผลงานของคณะมนตรีส�ำ หรับรอบปีทผ่ี า่ นมา 5.1.2 แต่งตัง้ ประธานสหพันธ์ฯ และมนตรีต�ำ แหน่งอืน่ ๆ 5.1.3 เรือ่ งอืน่ ๆ ซึง่ จำ�เป็นและเกีย่ วข้องกับกิจการของสหพันธ์ฯ เช่น บัญชีรายรับ-รายจ่าย ทรัพย์สนิ และการส่งมอบงาน เป็นต้น 5.2 จัดให้มกี ารประชุมคณะมนตรีทกุ ๆ 2 เดือนต่อครัง้ เป็นอย่างน้อย การประชุมสมัยพิเศษอาจจัดให้มขี น้ึ โดยการเรียกประชุม ของประธานสหพันธ์ฯ หรือเมือ่ มนตรีรอ้ งขอ 5.3 การนัดประชุมทุกครัง้ ให้เลขาธิการส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำ�การ ก่อนมีการประชุม ยกเว้นการ ประชุมสมัยพิเศษ ประธานสหพันธ์ฯ นัดให้มกี ารประชุมได้ทนั ทีหรือตามความเหมาะสม 5.4 องค์ประชุมต้องประกอบด้วยมนตรี หรือผูแ้ ทน 3 ใน 4 ของจำ�นวนสมาชิกทัง้ หมด 5.5 การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมทุกครั้ง ให้มนตรีท่ีเข้าประชุมหรือผู้แทนมีคะแนนเสียง 1 คะแนน มติท่ีประชุมทุกครั้ง จะมีผลบังคับและผูกพันสหพันธ์ฯ ต่อเมือ่ มนตรีหรือผูแ้ ทนตามข้อ 5.4 เข้าประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์และมติดงั กล่าวได้บนั ทึกไว้ ในรายงานการประชุม ยกเว้นข้อ 2.2, ข้อ 3.2.2 และข้อ 8 ต้องเป็นมติจากคณะมนตรีทกุ ท่านเป็นเอกฉันท์

ข้อบังคับที่ 6

การดําเนินงาน-การเงินของสหพันธ์ฯ

6.1 ให้บรรดาสมาชิกทั้งหมดร่วมเป็นผู้รับผิดชอบในบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งปวงเพื่อดำ�เนินงานของสหพันธ์ฯ โดยให้สหพันธ์ฯ รับผิดชอบการจัดงานวันการพิมพ์ไทย จัดทำ�หนังสือวันการพิมพ์ไทย (สูจบิ ตั ร) และดำ�เนินกิจกรรมอืน่ ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของสหพันธ์ฯ 6.2 ค่าใช้จ่ายอื่นที่นอกเหนือจากข้อ 6.1 เมื่อสหพันธ์ฯ ดำ�เนินการให้แก่สมาชิกรายใดเป็นการเฉพาะสมาชิกรายนั้นต้อง รับผิดชอบค่าใช้จา่ ยเองทัง้ หมด 6.3 ให้สหพันธ์ฯ เปิดบัญชีในนามสหพันธ์ฯ บัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวันกับธนาคารพาณิชย์ตามมติของที่ประชุม สหพันธ์ฯ 6.4 ให้เหรัญญิกถือเงินสดอยูใ่ นมือได้ 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ส่วนทีเ่ กิน 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ให้น�ำ เข้าฝากในบัญชี ของสหพันธ์ฯ 6.5 ให้ประธานสหพันธ์ฯ เป็นผูม้ อี �ำ นาจอนุมตั กิ ารจ่ายเงินทีไ่ ม่เกิน 20,000 บาท (สองหมืน่ บาท) 6.6 การจ่ายเงินทีเ่ กินกว่า 20,000 บาท (สองหมืน่ บาท) ต้องได้รบั การอนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมสหพันธ์ฯ ก่อน 6.7 ผูม้ อี �ำ นาจลงนามสัง่ จ่ายเช็คในนามของสหพันธ์ฯ คือ ประธานลงนามคูก่ บั เหรัญญิก หรือประธานลงนามคูก่ บั เลขาธิการ หรือเลขาธิการลงนามคูก่ บั เหรัญญิก ( 2 ใน 3 คน)

ข้อบังคับที่ 7

ภาระหน้าทีแ่ ละสิทธิของสมาชิก

7.1 สมาชิกทุกรายต้องให้ความร่วมมือตามสมควรในการส่งสำ�เนาสถิติ หรือข้อมูลในส่วนทีเ่ กีย่ วกับอุตสาหกรรมของสมาชิก แก่สหพันธ์ฯ เมือ่ สหพันธ์ฯ ร้องขอ 7.2 สมาชิกรายใดใช้ชอ่ื ของสหพันธ์ฯ เพือ่ กระทำ�การใดโดยไม่ได้รบั ความยินยอมจากสหพันธ์ฯ หรือมนตรีของสหพันธ์ฯ ทัง้ หมด สมาชิกนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งปวงตามมติของคณะมนตรี ในการออกเสียงลงคะแนนในกรณีดังกล่าว ข้างต้น สมาชิกผูก้ ระทำ�ผิดไม่มสี ทิ ธิอ์ อกเสียงลงคะแนน หรือไม่ได้รบั อนุญาตให้อยูใ่ นทีป่ ระชุม 7.3 สมาชิกมีสทิ ธิทจ่ี ะขอสถิตหิ รือข้อมูลใดๆ ซึง่ สหพันธ์ฯ เป็นผูจ้ ดั ทำ� โดยรับผิดชอบค่าใช้จา่ ยทีอ่ าจจะมีขน้ึ เอง 7.4 สมาชิกมีสทิ ธิรอ้ งขอให้สหพันธ์ฯ ดำ�เนินการแก้ปญ ั หาอุปสรรคของสมาชิกทีเ่ กีย่ วข้อง

112 | วันการพิมพ์ไทย 3 มิถุนายน 2562


ขอบังคับที่ 8

การแกไขเปลีย่ นแปลงธรรมนูญ

ธรรมนูญและกฎขอบังคับของสหพันธฯ แกไขเปลี่ยนแปลงในการประชุมคราวใดก็ได ที่มีมนตรีเขาประชุมครบทุกคนและ ออกเสียงตรงกันทั้งหมดเปนเอกฉันท ในกรณีที่มนตรีเขารวมประชุมไมครบ สหพันธฯ จะแจงผลการเปลี่ยนแปลงใหทราบ และ หากไมมขี อ ทักทวงภายในกําหนด จะถือวาเห็นดวยกับมติของทีป่ ระชุมคราวนัน้

ขอบังคับที่ 9

ตราและเครือ่ งหมาย

เครือ่ งหมายของสหพันธฯ เปนดังนี้

เปนการนําวงกลม 4 วงที่สอ่ื ถึงลูกกลิ้งของระบบการพิมพมาเรียงกัน และมีสีนาํ เงิน ขาว แดง ของความเปนไทยอยูภ ายใน กรอบตารางสกรีนสีเ่ หลีย่ มจตุรสั ทีแ่ สดงถึงความมัน่ คงของอุตสาหกรรมการพิมพไทย หมายเหตุ แกไขปรับปรุงครั้งที่สี่ ในการประชุมสหพันธฯ ครั้งที่ 4/2555-56 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และใหมี ผลบังคับใชตง้ั แตวนั ที่ 3 มกราคม 2556 เปนตนไป โดยขอบังคับทีป่ รับปรุงมีดงั นี้ เพิม่ ขอ 3.1.6 ในขอบังคับขอที่ 3

(นายประสิทธิ์ คลองงูเหลือม) ประธานชมรมการจัดพิมพอเิ ล็กทรอนิกไทย

(นายพรชัย รัตนชัยกานนท) นายกสมาคมการพิมพไทย

(นายวรพันธ โลกิตสถาพร) (นายเรืองศักดิ์ หิรญ ั ญาภินนั ท) นายกสมาคมผูจ ดั พิมพและผูจ าํ หนายหนังสือ นายกสมาคมการพิมพสกรีนไทย แหงประเทศไทย

(นายเต็กมิง้ แซโงว) นายกสมาคมบรรจุภณ ั ฑ กระดาษลูกฟูกไทย

(ดร.วิชยั พยัคฆโส) นายกสมาคมสงเสริมวิชาการพิมพ

(นายไชยวุฒ์ิ พึง่ ทอง) นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑไทย

(นายวิชยั สกลวรารุง เรือง) (นายทวีชยั เตชะวิเชียร) ประธานกลุม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภณ ั ฑ นายกสมาคมแยกสีแมพมิ พ กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย เพือ่ อุตสาหกรรมการพิมพไทย

(นายเกษม แยมวาทีทอง) ประธานมูลนิธสิ หพันธอตุ สาหกรรมการพิมพ

113 | วันการพิมพไทย 3 มิถุนายน 2562


ขอขอบพระคุณ สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ขอขอบคุณ 9 องค์กรสมาชิก และบริษัทต่างๆ ที่มีส่วนร่วม สนับสนุนกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันการพิมพ์ไทย ประจำ�ปี 2562 ดังรายชื่อต่อไปนี้ SCG Packaging Messe Dusseldorf Asia บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ซี.อิลเลียส (ไทยแลนด์) จำ�กัด บริษัท ริโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท โคนิก้า มินอลต้า บิสสิเนส โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ซี.เอ.เอส.เปเปอร์ จำ�กัด บริษัท เคิร์ซ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท สีทอง 555 จำ�กัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ไฮเดลเบิร์ก กราฟฟิคส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ซุปเปอร์ริเออร์อิงค์เจ็ท จำ�กัด บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) จำ�กัด บริษัท ปภาวิน จำ�กัด บริษัท อาร์ เอ็น เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย จำ�กัด บริษัท เนชั่นไวด์ จำ�กัด บริษัท อินเตอร์อิงค์ จำ�กัด บริษัท อีเทอนอล ซากาตะ อิ้งซ์ จำ�กัด บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการจัดงาน ผู้เขียนบทความ ผู้ที่มีส่วนร่วมอื่นๆ ทั้งหลาย ที่ไม่ได้เอ่ยนาม ณ โอกาสนี้ รวมถึงแขกผู้มีเกียรติท่ีสละเวลาอันมีค่ามาร่วมงานเลี้ยงวันการพิมพ์ ไทย เพื่อเป็นสักขีพยานในการส่งมอบตำ�แหน่งประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระปีบริหาร 2562-2563 จนส่งผลให้กิจกรรมครั้งนี้ประสบความสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และมีความสำ�คัญ สมกับเป็นวันของพวกเรา “ชาววงการพิมพ์ไทย”




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.