Director survey 2015

Page 1

ผลส�ำรวจความคิดเห็นของ

กรรมการไทย

ต่อประเด็นกรรมการ การก�ำกับดูแลกิจการ (CG) แนวโน้มเศรษฐกิจ และกฎระเบียบภาครัฐ ปี 2558

ฝ่ายวิจัย และนโยบาย มีนาคม 2558

สนับสนุนโดย


ค�ำน�ำ ปัจจุบนั การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องกรรมการจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งของการด�ำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยัง่ ยืน และการด�ำเนินงาน ทีถ่ กู ต้องตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี ซึง่ ในการปฏิบตั งิ านของกรรมการให้มปี ระสิทธิภาพ และประสิทธิผลนัน้ กรรมการต้องให้ความ ส�ำคัญกับปัจจัยอืน่ ๆ อีกทีอ่ าจมีผลกระทบต่อธุรกิจ และการตัดสินใจของคณะกรรมการ อาทิ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ นโยบายการก�ำกับ ดูแลของภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในฐานะศูนย์กลางการระดมและรวบรวมความคิดเห็นของกรรมการในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับการก�ำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ จึงเห็นควรจัดท�ำแบบส�ำรวจความคิดเห็นของกรรมการไทยต่อประเด็นกรรมการ การก�ำกับดูแลกิจการ (CG) แนวโน้มเศรษฐกิจ และกฎระเบียบภาครัฐขึ้นเป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของ กรรมการที่มีต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ และการก�ำกับดูแลกิจการ ประเด็นทางด้านสภาพแวดล้อมในการด�ำเนินธุรกิจและสภาพ เศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายการก�ำกับดูแลของภาครัฐ และสรุปเป็นรายงานผลส�ำรวจความคิดเห็น เพือ่ สะท้อนมุมมองความคิดเห็นทีก่ รรมการ มีต่อประเด็นดังกล่าว ทางสถาบั น IOD ต้ อ งขอขอบคุ ณ PricewaterhouseCoopers ที่ ส นั บ สนุ น การจั ด ท� ำ รายงานฉบั บ นี้ และ ขอขอบคุ ณ กรรมการบริ ษั ท ทุ ก ท่ า นที่ ใ ห้ ค วามอนุ เ คราะห์ ใ นการตอบแบบสอบถามครั้ ง นี้ และหวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า ผลส� ำ รวจ ความคิ ด เห็ น ในครั้ ง นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ กั บ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งในการใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ประกอบการก� ำ หนดนโยบาย และการท� ำ หน้ า ที่ ข อง คณะกรรมการในภาพรวมต่อไป

สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) มีนาคม 2558

© 2015 Thai Institute of Directors Association All rights reserved This publication is copyright. Any distribution or reproduction of any part of this publication without the prior written permission of the Thai Institute of Directors is prohibited. Disclaimer The material contained in this publication is for general information only and is not intended as advice on any of the matters discussed herein. Readers and others should perform their own independent analysis as to the accuracy or completeness or legality of such information. The Thai Institute of Directors, its officers, the authors and editor make no representation or warranty as to the accuracy, completeness or legality of any of the information contained herein. By accepting this document, each recipient agrees that the Thai Institute of Directors, its officers, the authors and editor shall not have any liability for any information contained in, or for any omission from, this publication.


บทสรุปกรรมการ รายงานการส� ำ รวจความคิ ด เห็ น ของกรรมการไทย ต่อประเด็นกรรมการ การก�ำกับดูแลกิจการ (CG) แนวโน้มเศรษฐกิจ และกฎระเบียบภาครัฐฉบับนี้ เป็นปีแรกที่สถาบัน IOD ได้ริเริ่ม จัดท�ำขึน้ เพือ่ ประเมินมุมมองของกรรมการทัง้ ในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้อง กั บ กรรมการ การก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การ เศรษฐกิ จ และนโยบาย การก�ำกับดูแลของภาครัฐ โดยท�ำการส�ำรวจความคิดเห็นระหว่าง วันที่ 12 มกราคม 2558 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2558 และมีกรรมการ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น 436 คน

กรรมการไทยต้องพร้อมก้าวไปสู่่

บ ท บ า ท ผู้ นำ� เ ชิ ง รุ ก เพื่ อ สร้ า งความยั่ ง ยื น ให้ อ งค์ ก ร

- จากที่ ภ าวะแวดล้ อ มทางธุ ร กิ จ มี ค วามสลั บ ซั บ ซ้ อ นขึ้ น กรรมการไทยเห็นว่าในอนาคต คณะกรรมการบริษัทควรใช้เวลา ประชุ ม หารื อ มากขึ้ น ในประเด็ น ที่ เ กี่ ย วกั บ การวิ เ คราะห์ ส ภาพ แวดล้อมทางธุรกิจ กลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจ การบริหารความเสีย่ ง ด้ า น IT และ Cyber Security การจัด การวิกฤติ (Crisis Management) และการวางแผนสืบทอดต�ำแหน่ง CEO - กรรมการไทยเห็นว่า ความรับผิดตามกฎหมายมีผลอย่าง ส�ำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการในแง่ของการตัดสินใจทาง ธุรกิจ ความรวดเร็วในการด�ำเนินการเรื่องต่าง ๆ และความกล้าใน การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ - ความรู้และทักษะในการท�ำหน้าที่กรรมการเป็นเรื่องส�ำคัญ และกรรมการมองว่า ประเด็นที่กรรมการไทยควรให้ความส�ำคัญ มากขึ้นใน 1-3 ปี ข้างหน้า ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง ความรู้ใน ธุรกิจที่รับผิดชอบ และ กลยุทธ์การด�ำเนินธุรกิจ

- กรรมการไทยมองว่าในการท�ำหน้าที่ก�ำกับดูแลกิจการใน ฐานะคณะกรรมการบริษัทใน 1-3 ปีข้างหน้านั้น มีประเด็นท้าทายที่ ส�ำคัญสามเรื่อง คือ การสร้างยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อการเติบโต อย่างยั่งยืน (ร้อยละ 88) ความยั่งยืนทางธุรกิจ (ร้อยละ 63) และ ความเสี่ยง (ร้อยละ 53)

มุมมองเศรษฐกิจในภาพรวมดีข้ึน

การทุจริตคอร์รปั ชัน

แต่มองปัญหา

ยังเป็นอุปสรรคใหญ่

- ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในมุมมองของกรรมการไทยมี แนวโน้มดีขนึ้ เล็กน้อย ซึง่ รวมถึงแนวโน้มของธุรกิจรายอุตสาหกรรม และทิศทางของตลาดทุนไทยในระยะต่อไป - กรรมการไทยร้อยละ 46 มองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน ปีนจี้ ะดีขนึ้ เล็กน้อยเมือ่ เทียบกับปี 2557 ในขณะทีร่ อ้ ยละ 31 มองว่า เศรษฐกิจจะทรงตัว และอีกร้อยละ 18 มองว่าจะแย่ลงเล็กน้อย - กรรมการไทยร้อยละ 42 เห็นว่าสถานการณ์ทางการเมือง มีแนวโน้มจะดีขึ้นเล็กน้อย และร้อยละ 11 มองว่า มีแนวโน้มจะ ดีขึ้นมาก ในขณะที่ ร้อยละ 29 คิดว่าจะทรงตัว - เรื่องที่กรรมการมองว่าเป็นประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญที่สุด ก็คือ การทุจริตคอร์รปั ชัน (ร้อยละ 54) การขาดแคลนแรงงานทีม่ คี ณ ุ ภาพ หรือมีทักษะที่จ�ำเป็น (ร้อยละ 48) และการมีกฎระเบียบมากเกินไป รวมถึงมีขั้นตอนการติดต่อกับทางการที่ยุ่งยาก (ร้อยละ 36)

3


การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน ธรรมาภิบาลของภาครัฐ

สามประเด็นทีร่ ฐั บาลต้องให้ความสำ�คัญ สำ�หรับการพัฒนาประเทศ - กรรมการไทย ร้อยละ 58 เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลใน ปัจจุบนั มีสว่ นสนับสนุนการด�ำเนินธุรกิจอยูใ่ นระดับปานกลางเท่านัน้ ในขณะที่ร้อยละ 29 มองว่า นโยบายของรัฐบาลยังมีส่วนสนับสนุน การด�ำเนินธุรกิจน้อย

4

- กรรมการไทยร้อยละ 49 มองว่า ภาครัฐมีการออกกฎระเบียบ มากเกินไปท�ำให้ไม่เอื้อต่อการด�ำเนินธุรกิจ ในขณะที่ร้อยละ 42 มองว่าความเข้มข้นของกฎระเบียบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอยู่ในระดับ ที่เหมาะสมแล้ว - อุปสรรคส�ำคัญของการเติบโตทางธุรกิจในปัจจุบนั ในมุมมอง ของกรรมการไทย ก็คอื ภาวะเศรษฐกิจ ความล่าช้าของภาครัฐในการ ตอบสนองภาคเอกชน และการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทีม่ ที กั ษะ - ปัญหาส�ำคัญที่รัฐบาลควรให้ความส�ำคัญในปี 2558 ได้แก่ การทุจริตคอร์รปั ชัน การลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐาน และ การพัฒนา ความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับ AEC - ปัญหาส�ำคัญที่รัฐบาลควรให้ความส�ำคัญในระยะยาว (1-3 ปี ข้างหน้า) ได้แก่ การปฏิรูปการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน และปัญหา ธรรมาภิบาลในภาครัฐ


กรรมการไทยต้องพร้อมก้าวไปสู่

บทบาทผู้น�ำเชิงรุก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้องค์กร

5


ผลส�ำรวจความคิดเห็นของกรรมการไทย ต่อประเด็นกรรมการ การก�ำกับดูแลกิจการ (CG) แนวโน้มเศรษฐกิจ และกฎระเบียบภาครัฐ ปี 2558 การส�ำรวจความคิดเห็นของกรรมการไทยต่อประเด็น กรรมการ การก�ำกับดูแลกิจการ (CG) แนวโน้มเศรษฐกิจ และ กฎระเบียบภาครัฐนี้ เป็นปีแรกที่สถาบัน IOD ริเริ่มจัดท�ำขึ้นเพื่อ ประเมิ น มุ ม มองของกรรมการทั้ ง ในเรื่ อ งของการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ของกรรมการ การก�ำกับดูแลกิจการ เศรษฐกิจ และนโยบายการ ก�ำกับดูแลของภาครัฐ การส�ำรวจความคิดเห็นครั้งนี้จัดท�ำขึ้น ระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2558 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2558 โดย มีกรรมการที่ร่วมแสดงความคิดเห็น 436 คน ซึ่งกรรมการที่ร่วม แสดงความคิดเห็นมีความหลากหลาย ทั้งด้านประสบการณ์ของ กรรมการ ขนาดของกิจการและประเภทของอุตสาหกรรม โดย ผู ้ ต อบแบบสอบถามประกอบด้ ว ยกรรมการของทั้ ง บริ ษั ท ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทจ�ำกัดทั่วไป ท�ำให้ข้อมูล ที่ประเมินสามารถสะท้อนมุมมอง และความคิดเห็นในประเด็น ข้างต้นของกรรมการไทยได้เป็นอย่างดี

6

กรรมการไทยต้องพร้อมก้า วไปสู่

บ ท บ า ท ผู้ นำ� เ ชิ ง รุ ก

เพื่อสร้างความยัง่ ยืนให้องค์กร คณะกรรมการถือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทส�ำคัญใน การน�ำพาองค์กรไปสูค่ วามส�ำเร็จทางธุรกิจ ก่อนทีก่ รรมการจะตัดสินใจ เข้ารับต�ำแหน่งกรรมการจึงควรไตร่ตรองเป็นอย่างดี ถึงความ พร้อมที่กรรมการจะสามารถท�ำหน้าที่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท รวมถึงประเด็นที่อาจจะกระทบต่อกรรมการในการท�ำหน้าที่ ซึ่งจาก ผลการส�ำรวจพบว่า กรรมการไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่จะค�ำนึงถึง สามปัจจัยก่อนการตัดสินใจรับเป็นกรรมการ ได้แก่

1. ความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ บริษัท (ร้อยละ 67) 2. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ และการก�ำกับดูแลกิจการ (ร้อยละ 56) 3. ความรับผิดทางกฎหมาย (ร้อยละ 54)

นอกจากนี้ กรรมการไทยก็มิได้มองข้ามอีกกลุ่มบุคคลที่ ต้องปฏิบัติงานร่วมกัน กล่าวคือ ฝ่ายบริหาร ซึ่งกรรมการไทยบาง ส่วนได้พิจารณาถึงความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่และชื่อเสียงของ


ฝ่ายบริหารก่อนการตัดสินใจรับต�ำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่า การมี ฝ่ายบริหารที่มีคุณภาพ จะช่วยลดภาระงานและสร้างความมั่นใจให้ กับกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ นอกเหนือจากปัจจัยภายนอกแล้ว ก่อนการตัดสินใจรับ ต�ำแหน่ง กรรมการไทยบางส่วนยังให้ความส�ำคัญกับการประเมิน ความพร้อมของตนเองทั้งทางด้านความรู้และความสามารถในการ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในธุรกิจของบริษัทด้วย ซึ่งสะท้อนให้ เห็นถึงความมุ่งมั่นของกรรมการไทยในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อ ผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากในการปฏิบตั งิ านของกรรมการนัน้ จะไม่สามารถหลีกเลีย่ งค�ำว่า “ความรับผิดชอบ” และ “ความรับผิด” ได้ ซึ่งในส่วนของความรับผิดชอบนั้น กรรมการทุกคนมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดูแลการบริหารจัดการให้เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ทดี่ ที สี่ ดุ ของผูถ้ อื หุน้ (Fiduciary Duty) ซึง่ ในการปฏิบตั ติ าม Fiduciary Duty นั้น กรรมการมีหน้าที่ส�ำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. Duty of Care การปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง 2. Duty of Loyalty การปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความซือ่ สัตย์ สุจริตเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น 3. Duty of Obedience การปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติคณะกรรมการและมติ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น 4. Duty of Disclosure การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น อย่างถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใสและทันเวลา เมื่อมีความรับผิดชอบเกิดขึ้นในฐานะที่เป็นกรรมการ ความรับผิดจึงเป็นเรื่องที่กรรมการไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่ง ประเด็นเรื่องความรับผิดทางกฎหมายนี้ กรรมการไทยเห็นว่า มี ผลต่อการปฏิบตั งิ านของกรรมการในแง่ของการตัดสินใจทางธุรกิจ (ร้อยละ 65) ความรวดเร็วในการด�ำเนินการเรือ่ งต่าง ๆ (ร้อยละ 46) และความกล้าในการปฏิบัติหน้าที่ (ร้อยละ 36) เนื่องจากต้องเพิ่ม ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อรักษาและสร้างประโยชน์ให้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อให้สอดคล้องกับหลัก Fiduciary Duty จากการติดตามพัฒนาการด้านการก�ำกับดูแลกิจการ ของบริษัทจดทะเบียนไทยผ่านโครงการ Corporate Governance

Report of Thai Listed Companies หรือ CGR ที่สถาบัน IOD ได้ดำ� เนินการมาแล้วเป็นระยะเวลา 14 ปี พบว่า กรรมการบริษทั ไทย สามารถท�ำหน้าที่ในการก�ำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยได้ เป็นอย่างดี โดยบริษัทจดทะเบียนไทยได้รับคะแนนเฉลี่ยทางด้าน การก�ำกับดูแลกิจการในภาพรวมเพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งทุกปี นับจากปีแรก ที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ และล่าสุดในปี 2557 ได้รับ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 72 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่า โครงการ CGR จะมีการปรับหลักเกณฑ์การ ประเมินเพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะล่าสุดทีม่ กี ารปรับหลักเกณฑ์ตามโครงการ ASEAN CG Scorecard คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนก็ให้ความสนใจ ที่จะพยายามปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง การให้ความส�ำคัญของกรรมการไทยทีม่ ตี อ่ การก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี อย่างไรก็ตามสถาบัน IOD มีข้อสังเกตจากโครงการ CGR เกี่ยวกับ การท�ำหน้าที่ของกรรมการว่า 1. กรรมการไทยให้ความส�ำคัญกับนโยบาย (Form) เป็น หลัก ดังนั้นต้องส่งเสริมให้เกิดการน�ำนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดผล อย่างเป็นรูปธรรม (Substance) และเปิดเผยการปฏิบัติดังกล่าว ต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ทัว่ ไปเกีย่ วกับการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการก�ำกับดูแลกิจการของกรรมการ 2. มีบริษัทจดทะเบียนไทยจ�ำนวนไม่มากที่ได้พยายาม สร้างแนวปฏิบัติที่ดีทางด้านการก�ำกับดูแลกิจการนอกเหนือจากที่ เกณฑ์ CGR ก�ำหนดไว้ เช่น การจัดท�ำรายงานการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการชุดย่อยทุกชุด ไม่ใช่เฉพาะรายงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในความคิดริเริ่มและความ พยายามของคณะกรรมการในบริษทั ดังกล่าวทีจ่ ะผลักดันให้เกิดการ พัฒนาการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีในประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับใน ระดับสากลต่อไป 7


ความรู/้ ทักษะทีก่ รรมการไทยควรให้ความส�ำคัญในอีก 1-3 ปีขา้ งหน้า

นอกเหนือจากข้อสังเกตจากโครงการ CGR แล้วสถาบัน IOD มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการไทยใน ปัจจุบันว่า ให้ความส�ำคัญกับเรื่องตัวเลขทางการเงิน และการก�ำกับ ดูแลในระยะสั้นมากกว่าประเด็นระยะยาว ซึ่งจากการสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการบริษัทในปัจจุบัน กรรมการไทยยังคงให้ความส�ำคัญกับการพิจารณาฐานะทางการเงิน เป็นหลัก โดยจะมีการหารือกันเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการ ทุกครัง้ แต่ให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับผูบ้ ริหารน้อย ทัง้ ใน เรื่องการวางแผนสืบทอดต�ำแหน่ง CEO และค่าตอบแทนผู้บริหาร ด้วยเหตุที่กรรมการไทยให้ความส�ำคัญกับการพิจารณา ฐานะทางการเงินเป็นหลัก จึงท�ำให้การเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ส่วนใหญ่ ให้ความส�ำคัญเฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงิน และ มองข้ามข้อมูลที่มิใช่การเงินอื่น ๆ ทั้งที่ตามหลักการก�ำกับดูแล กิจการที่ดีส�ำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยในหมวดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสได้ ระบุไว้ว่า คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลส�ำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูล ทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทาง ที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ ดังนั้น กรรมการไทยควรพิจารณาพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่การเงิน มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันจาก ทัว่ โลกได้ให้การส่งเสริมให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลในส่วนนีม้ ากขึน้ และ น�ำไปพิจารณาเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจลงทุน

8

อย่างไรก็ตาม กรรมการไทยส่วนใหญ่เห็นว่า ในอนาคต ทีป่ ระชุมคณะกรรมการควรจะใช้เวลาประชุมกันมากขึน้ ในเรือ่ งการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (ร้อยละ 57) การบริหารความเสีย่ ง (ร้อยละ 54) กลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจ (ร้อยละ 53) การจัดการวิกฤติ (ร้อยละ 46) ความเสีย่ งทางด้าน IT และ Cyber Security (ร้อยละ 45) การวางแผนสืบทอดต�ำแหน่ง CEO (ร้อยละ 45) และกลยุทธ์ ทางด้าน IT (ร้อยละ 44) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นในเรื่องของ ความรู้และทักษะที่กรรมการไทยควรให้ความส�ำคัญมากขึ้นใน อีก 1-3 ปี ข้างหน้า ซึ่งได้แก่ ด้านการบริหารความเสี่ยง (ร้อยละ 56) ความรู้ในธุรกิจที่รับผิดชอบ (ร้อยละ 54) และกลยุทธ์การ ด�ำเนินธุรกิจ (ร้อยละ 47) โดยปัจจัยที่ส่งผลให้กรรมการไทยมี มุมมองที่เปลี่ยนไปนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทาง ธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ต่อเนื่อง และบางครั้งก็ยากที่จะ คาดการณ์ล่วงหน้า รวมถึงมีการน�ำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการด�ำเนิน ธุรกิจมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบอย่างส�ำคัญต่อการด�ำเนิน ธุรกิจทั่วโลก ท�ำให้แนวโน้มของการปรับบทบาทของกรรมการไทย และทั่วโลกมีความสอดคล้องกันคือ ปรับบทบาทของกรรมการ ไปสู่ความเป็นผู้น�ำในเชิงรุกมากขึ้นคือ สามารถก�ำกับดูแล และให้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลยุทธ์ขององค์กรแก่ฝ่ายบริหารได้ เพื่อให้ เกิดการด�ำเนินธุรกิจ และกลยุทธ์ที่เหมาะสม โดยไม่ต้องรอให้ฝ่าย บริหารเป็นผู้เสนอหรือด�ำเนินการฝ่ายเดียว รวมถึงดูแลให้มีระบบ บริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการป้องกัน และ ดีกว่ารอแก้ไขในภายหลัง นอกจากนี้กรรมการยังต้องใฝ่หาและ ติดตามข้อมูล ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ เช่น IT Governance และ Cyber Security ซึ่งก�ำลังเป็นประเด็น ที่กรรมการทั่วโลกให้ความสนใจในปัจจุบัน ในประเด็นนี้กรรมการไทยมองว่าการท�ำหน้าที่ในการ ก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ขี องคณะกรรมการใน 1-3 ปีขา้ งหน้า มีประเด็น ท้าทายที่ส�ำคัญสามเรื่อง คือ การสร้างยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อ การเติบโตอย่างยั่งยืน (ร้อยละ 88) ความยั่งยืนทางธุรกิจ (ร้อยละ 63) และความเสีย่ ง (ร้อยละ 53) ซึง่ เป็นทิศทางทีด่ ที คี่ ณะกรรมการ บริษัทไทยให้ความส�ำคัญกับภาพระยะยาวของธุรกิจมากขึ้น โดย ทางสถาบัน IOD จะให้การสนับสนุนกรรมการ เพื่อเสริมศักยภาพ ในบทบาทเชิงรุกทีม่ ปี ระสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักการก�ำกับดูแล กิจการที่ดี


“กรรมการยุ ค ใหม่ ไม่ ไ ด้ ม ี บทบาทแค่ ก ารพิ จ ารณา เรื ่ อ งต่ า งๆ ที ่ ฝ ่ า ยจั ด การ เสนอขึ ้ นมาเท่านั้น

แต่ ต้ อ งสามารถ ใ ห้ ข้ อ เ ส น อ แ น ะ แ ก่ ฝ่ า ย จั ด ก า ร ใ น ก า ร ดำ� เ นิ น กา ร เ รื ่ อ งต่ า งๆ เ พื ่ อ ขั บ เคลื่ อ นองค์ ก รให้ ก้าวไปข้างหน้าตามกลยุทธ์ที่ กำ�หนดไว้ด้วย”

ประเด็นที่คณะกรรมการให้ความส�ำคัญในการประชุมคณะกรรมการในปัจจุบัน

ประเด็นที่คณะกรรมการควรให้ความส�ำคัญในการประชุมคณะกรรมการในอนาคต

9


มุ ม มองเศรษฐกิ จ ในภาพรวมดี ขึ้ น

แต่ ป ั ญ หาการทุ จ ริ ต คอร์ รั ป ชั น ยั ง เป็ น อุ ป สรรคใหญ่

10


ภาพรวมของเศรษฐกิ จ ไทยปี นี้ ใ นมุ ม มองของ กรรมการไทยมี แ นวโน้ ม ดี ขึ้ น เล็ ก น้ อ ย ซึ่ ง รวมถึ ง แนวโน้ ม ของธุ ร กิ จ รายอุ ต สาหกรรม และทิ ศ ทางของตลาดทุ น ไทยใน ระยะต่ อ ไป โดยกรรมการไทยร้ อ ยละ 46 มองว่ า แนวโน้ ม เศรษฐกิ จ ไทยปี นี้ จ ะดี ขึ้ น เล็ ก น้ อ ยเที ย บกั บ ปี 2557 ขณะที่ ร้อยละ 31 มองว่าเศรษฐกิจจะทรงตัว และอีกร้อยละ 18 มองว่า จะแย่ลงเล็กน้อย ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ สถาบัน IOD พบว่า การที่ ก รรมการส่ ว นใหญ่ ม องว่ า เศรษฐกิ จ ไทยมี แ นวโน้ ม ดี ขึ้ น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย เริ่ ม มี เ สถี ย รภาพ ท� ำ ให้ กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ รวมถึ ง ธุ ร กิ จ การท่องเที่ยวมีแนวโน้มสดใสขึ้น ขณะที่ราคาน�้ำมันในตลาดโลก ที่ปรับลดลง ก็ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในฐานะที่ประเทศไทย เป็ น ประเทศผู ้ น� ำ เข้าน�้ำมัน สุทธิ ช่วยให้ต้น ทุน การผลิต สิ น ค้ า และการคมนาคมขนส่งลดลง ฉุดให้ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับต�่ำ นอกจากนี้ การเร่งใช้จา่ ยงบประมาณของรัฐบาล และความคาดหวัง ต่อการด�ำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงการ ด� ำ เนิ น นโยบายการเงิ น แบบผ่ อ นคลาย จะช่ ว ยให้ ป ั จ จั ย ด้ า น มหภาคเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้การเตรียม พร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เสรีทางการค้า อาเซียนปลายปีนี้ ก็เป็นปัจจัยบวกอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้ กรรมการมีมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยดีขึ้น ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งเป็นอีก ประเด็นทีก่ รรมการไทยให้ความส�ำคัญและติดตาม เพราะเป็นภาวะ แวดล้อมส�ำคัญที่กระทบธุรกิจ จากการส�ำรวจพบว่า ร้อยละ 42 ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า สถานการณ์ปีนี้มีแนวโน้มจะดีขึ้น เล็กน้อยจากปีกอ่ น ร้อยละ 11 มองแนวโน้มจะดีขนึ้ มาก ขณะทีร่ อ้ ยละ 29 คิดว่าจะทรงตัว โดยเป็นผลมาจากการทีส่ ถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองคลายความรุนแรงลงหลังมีการตัง้ รัฐบาลใหม่ในปีทแ่ี ล้ว รวมทัง้ การชุมนุมทางการเมืองยุตลิ งไป พร้อมกับความพยายามทีจ่ ะ ปฏิรปู ในทุกภาคส่วนทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ควบคูไ่ ป กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อเตรียมการเลือกตั้งในปีหน้า ส�ำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกนัน้ กรรมการยังมีความเห็น ที่ใกล้เคียงกันระหว่างทรงตัว (ร้อยละ 33) และน่าจะดีขึ้นเล็กน้อย (ร้อยละ 34) ซึ่งทางสถาบัน IOD วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะแนวโน้ม

มุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ปี 2558

เศรษฐกิจโลกปีนมี้ คี วามไม่แน่นอนมากขึน้ จากผลกระทบของหลาย ปัจจัย ทัง้ ด้านบวกและลบ เช่น ความคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะ ฟืน้ ตัวได้ตอ่ เนือ่ ง ความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะเริม่ ปรับ อัตราดอกเบี้ยขึ้นหลังจากที่ด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี ขณะที่เศรษฐกิจยุโรป และญี่ปุ่นก็ ยังคงประสบปัญหาและต้องด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการ QE ซึง่ การทีเ่ ศรษฐกิจหลัก ของโลกมีทศิ ทางนโยบายการเงินทีแ่ ตกต่างกันจะก่อให้เกิดความไม่ แน่นอนมากขึ้นในตลาดการเงินโลกที่จะกระทบกิจกรรมและการ ขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่า กรรมการไทยจะมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ที่จะเติบโตได้ดีขึ้นจากปีก่อน แต่กรรมการก็ยังมีความกังวลกับ ปัญหาทีเ่ ป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการด�ำเนินธุรกิจ โดยเรือ่ งทีก่ รรมการ มองว่าเป็นประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องของการทุจริต คอร์รัปชัน (ร้อยละ 54) การขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพหรือ มีทกั ษะทีจ่ ำ� เป็น (ร้อยละ 48) และการมีกฎระเบียบมากเกินไป รวมถึง มีขั้นตอนการติดต่อกับทางการที่ยุ่งยาก (ร้อยละ 36) เห็นได้ว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่กรรมการให้ความส�ำคัญเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง กับการด�ำเนินการของภาครัฐค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรได้ รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อรักษาและพัฒนาขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น

11


“คอร์รัปชันและ ความไม่โปร่งใสใน ภาครัฐ

ปัญหาเศรษฐกิจส�ำคัญที่กระทบต่อการท�ำธุรกิจ

เป็ น อุ ป สรรคสำ�คั ญ ต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจไทย ให้ เ ติ บ โตอย่ า งยั่ ง ยื น ”

มุมมองต่อสถานการณ์การเมืองในระยะต่อไป

12


การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน ธรรมาภิบาลของภาครัฐ

สามประเด็นที่รัฐบาลต้องให้ความส�ำคัญ ส�ำหรับการพัฒนาประเทศ

13


กฎระเบียบต่างๆ ในการก�ำกับดูแลของภาคทางการ และ การให้ความสนับสนุนของภาครัฐมีผลอย่างมากต่อการด�ำเนินธุรกิจ ของภาคเอกชน ซึ่งกรรมการไทย ร้อยละ 58 เห็นว่า นโยบายของ รัฐบาลในปัจจุบันมีส่วนสนับสนุนการด�ำเนินธุรกิจอยู่ในระดับ ปานกลางเท่านัน้ ขณะทีร่ อ้ ยละ 29 มองว่านโยบายรัฐบาลปัจจุบนั มี ส่วนสนับสนุนการด�ำเนินธุรกิจน้อย ส�ำหรับประเด็นเรือ่ งความเข้มงวด ของกฎเกณฑ์ของภาครัฐนั้น ร้อยละ 49 มองว่าภาครัฐมีการออก กฎระเบียบมากเกินไป ท�ำให้ไม่เอื้อต่อการด�ำเนินธุรกิจ ขณะที่ ร้อยละ 42 มองว่าความเข้มข้นของกฎระเบียบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว

สิ่งที่รัฐบาลควรให้ความส�ำคัญในปี 2558

ปัญหาที่รัฐบาลควรให้ความส�ำคัญในการแก้ไขในระยะ 1-3 ปีข้างหน้า

สิ่งที่กรรมการไทยเห็นว่าเป็นอุปสรรคส�ำคัญของการ เติบโตทางธุรกิจขณะนี้ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ ความล่าช้าของภาครัฐ ในการตอบสนองภาคเอกชน และการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทีม่ ี ทักษะ และมีความเห็นว่า ในปี 2558 รัฐบาลควรให้ความส�ำคัญกับ การด�ำเนินนโยบาย เพื่อบริหารจัดการกับประเด็นหลักสามประเด็น ที่กระทบการด�ำเนินธุรกิจของภาคเอกชน คือ 1. การทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งต้องแก้ไขโดยสร้างระบบ ธรรมาภิบาลของภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง 2. การลงทุ น ในโครงสร้ า งพื้ น ฐาน โดยจัดให้มี โครงสร้างพืน้ ฐานทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะสนับสนุนการลงทุนและการขยาย ธุรกิจของภาคเอกชน 3. การพั ฒ นาความสามารถในการแข่ ง ขั น เพื่ อ รองรับ AEC โดยผ่านการปฏิรูประบบการศึกษา เพื่อเตรียม ความพร้อมทางด้านทรัพยากรมนุษย์ส�ำหรับรองรับการเปิดเสรีทาง ภาคธุรกิจที่มากขึ้นระหว่างประเทศในภูมิภาค

14

สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ


“ภาครัฐต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ

การทำ�งานให้สามารถตอบสนอง ภาคเอกชนได้เร็วขึ้น

เพื่อที่เศรษฐกิจของประเทศจะได้สามารถก้าวไป ข้างหน้าได้ทันกับภาวะการแข่งขันและความเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วของโลกยุคปัจจุบัน”

15


ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบ ประเภทของกรรมการ

ประสบการณ์การด�ำรงต�ำแหน่งเป็นกรรมการ

เฉลี่ย กลุ่มอุตสาหกรรม

การด�ำรงต�ำแหน่ง

ต�ำแหน่งในคณะกรรมการชุดย่อย

16

รายได้รวม

8.15 ปี


ข้อสังเกต/ข้อแนะนำ�อื่นๆ จากผลการสำ�รวจ yy กรรมการบริษทั ควรพัฒนาทักษะ และความรูค้ วามสามารถ ในธุรกิจทีร่ บั ผิดชอบอยู่ รวมถึงความสามารถในการก�ำหนดกลยุทธ์ การด�ำเนินธุรกิจ การบริหารความเสีย่ ง และการปฏิบตั ติ ามหลักการ ก�ำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้สามารถท�ำหน้าที่กรรมการในบทบาท ที่มีลักษณะเชิงรุกมากขึ้น yy คณะกรรมการบริ ษั ท ควรให้ ค วามส� ำ คั ญ เพิ่ ม ขึ้ น ใน ประเด็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และ การควบคุมความเสี่ยง ทางด้าน IT เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วใน ปัจจุบัน yy ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นอุปสรรคส�ำคัญที่สุดใน การด�ำเนินธุรกิจ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรด�ำเนินการให้การแก้ไขปัญหา การทุจริตเกิดผลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้ กับภาคเอกชนว่า ภาครัฐจะเอาจริงกับการแก้ไขปัญหาการเรียกรับ สินบนในระบบราชการ

yy ขั้ น ตอนการติ ด ต่ อ ราชการที่ ยุ ่ ง ยากซั บ ซ้ อ น และ กฎระเบียบทีม่ ากเกินไป รวมถึงความล่าช้าในการตอบสนองต่อภาค เอกชนเป็นอุปสรรคส�ำคัญในการท�ำธุรกิจของภาคเอกชน ดังนั้น รัฐบาลจึงควรเร่งปฏิรูประบบราชการ สร้างความเข้มแข็งให้ระบบ ธรรมาภิบาลภาครัฐ และปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของ หน่วยงานรัฐบาลเพื่อให้สอดรับกับ พ.ร.บ. อ�ำนวยความสะดวกที่ จะมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีนี้ yy การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรือ่ งส�ำคัญที่รฐั บาลต้อง ผลักดันให้เดินหน้าไปได้ เพราะนอกจากจะมีผลต่อการกระตุน้ อัตรา การเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังมีผลต่อเนื่องไปถึงการ สนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน และการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

17



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.