Map of Siam and Thailand : Bangkok Period 1785-1908

Page 1

แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452

Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period A.D. 1785-1908


(18) แผนที่ “อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว” โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) Regni d’Aracan del Pegu di Siam di Camboge e di Laos แผนที่ Regni d’Aracan del Pegu di Siam di Camboge e di Laos (ขนาด 397 x 318 มม.) โดย อานโตนิโอ ซาตตา (Antonio Zatta) นักแผนที่ชาวอิตาลี จากสมุดแผนที่ Atlante novissimo ภาคที่ 4 พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงเวนิส ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) ตรงกับต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แผนที่ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) นี่เป็นแผนที่ฝรั่งแผ่นแรกที่พิมพ์ขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับสยามยังคงเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุง ศรีอยุธยา จะว่าไปแล้ว แผนที่สยามที่เขียนโดยชาวยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (กลางพุทธ ศตวรรษที่ 23 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 24) มีการเปลีย่ นแปลงน้อยมาก สาเหตุเพราะหลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แทบไม่มีชาวยุโรปหลงเหลือในสยาม จะมีก็แต่ชาวฮอลันดาที่ได้รับอนุญาตให้คงอยู่ในราชอาณาจักร และมีชาวยุโรปเพียง ไม่กีค่ นทีเ่ ดินทางเข้ามาหลังจากนัน้ ในจำ�นวนนีผ้ ทู้ โี่ ดดเด่นสุดเห็นจะเป็น เอนเจิลเบิรต์ แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันทีเ่ ข้ามาสยามพร้อมกับคณะของบริษทั อินเดียตะวันออกของฮอลันดา (VOC) ในปี พ.ศ. 2233 (ค.ศ. 1690) และเป็นผู้แต่งหนังสือเล่มสำ�คัญ The History of Japan ... Together with a Description of the Kingdom of Siam หรือที่รู้จักกันในนาม “จดหมายเหตุหมอแกมป์เฟอร์” การที่ชาวฮอลันดายังคงมีบทบาทและความสัมพันธ์ที่ดีกับทางราชสำ�นักอยุธยา น่าจะทำ�ให้พวกเขาได้รับทราบ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงภายในราชอาณาจักร มีผลให้ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการจัดทำ�แผนที่สยามขึ้นมาหลายแผ่นโดย ชาวฮอลันดา อาทิ แผนที่โดย ปิแอร์ ฟาน เดอ อา (Pierre van der Aa) พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) ที่ได้เขียนถึงก่อนหน้า แผนที่โดย ไอแซค ไทริออน (Isaak Tirion) พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) แผนที่โดย จาคอบ ไคเซอร์ ( Jacob Keizer) พ.ศ. 2290 (ค.ศ. 1747) และแผนที่โดย สตีเฟน ฟาน เอสเวลต์ (Steven van Esveldt) ราว พ.ศ. 2337 (ราว ค.ศ. 1794) ชาว ยุโรปเริ่มกลับเข้ามาในสยามอีกครั้งในปลายรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เริ่มด้วย จอห์น ครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd) ทูตอังกฤษที่เข้ามาว่าความเจรจากับราชสำ�นักสยามในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) แผนที่ให้ความสำ�คัญกับเมืองกำ�แพงเพชร (Campeng) เกือบเทียบเท่ากรุงศรีอยุธยา (Siam, Juthia) หัวเมืองทาง ใต้ที่แผนที่กำ�หนดสัญลักษณ์บ่งบอกฐานะความสำ�คัญคือ มะริด (Mergui) ตะนาวศรี (Tenasserim) นครศรีธรรมราช (Ligor) เคดะห์ (Queda) และ ปัตตานี (Patane) น่าสังเกตว่า เชียงใหม่ ไม่ปรากฏในแผนที่ เหตุก็คงเพราะผู้เขียนยัง สับสน เมืองเชียงใหม่ กับ “ทะเลสาบเชียงใหม่” (L. Chiamay) ทะเลสาบในตำ�นานที่ถูกวางตำ�แหน่งอยู่บริเวณพรมแดน อาณาจักรอังวะและอัสสัม (Assem) ในแผนที่ ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ ผู้เขียนแผนที่สยามในสมัยนั้นมักเขียนชื่อทางภูมิศาสตร์ตามความเข้าใจของตน เรา จึงพบว่า แทนที่จะเขียนชื่อ แม่น้ำ�เจ้าพระยา กลับเขียนว่า Menan F. โดย F. ย่อจากคำ�ภาษาอิตาลี Fiume หมายถึงแม่น้ำ� บ้างก็เรียกชื่อแม่น้ำ�ตามเมืองสำ�คัญที่ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำ�ตะนาวศรี (Tanasserim F.) แม่น้ำ�อังวะ (Ava F.) ซึ่งก็คือแม่น้ำ� อิระวดี แม่น้ำ�พะโค (Pegu F.) ซึ่งก็คือแม่น้ำ�สะโตง เป็นต้น ชื่อของแหลมที่ยื่นยาวออกไปในอ่าวสยามก็เช่นเดียวกัน ใน แผนที่เขียนว่า C. Liam หรือ แหลม “แหลม” โดย C. ย่อมาจาก Capo ซึ่งหมายถึงแหลมในภาษาอิตาลีนั่นเอง อนึ่ง C. Liam ในแผนที่นี้คือ แหลมแสมสาร ในอำ�เภอสัตหีบปัจจุบัน ชื่อ Liam (หรือชื่อใกล้เคียงกัน) ปรากฏในแผนที่ฝรั่งมาตั้งแต่ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ต้นพุทธศตวรรษที่ 23) ชื่อ แหลมแสมสาร (Cape Liant or Sam-me-san) ปรากฏครั้งแรกใน 116

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


แผนที่โดย จอห์น วอล์คเกอร์ ( John Walker) นักแผนที่ชาวอังกฤษ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) ส่วนชื่อ แม่น้ำ� เจ้าพระยา (Menam Chau-Shya) ปรากฏภายหลังในแผนที่โดย จอห์น ริชาร์ดส์ ( John Richards) นักแผนที่ชาวอังกฤษ เช่นกัน พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) แผนที่ “อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม ฯลฯ” วางและกำ�หนดอาณาเขตของอาณาจักรต่างๆ ด้วยเส้นประและชื่อ ภาษาอิตาลีว่า “Regno di ...” หรือ “อาณาจักรแห่ง...” Aracan-Aua-Pegu-Siam (แบ่งเป็นตอนบนและล่าง คือ Alto Siam และ Basso Siam) -Laos-Camboge-Tonquin-Cochinchina หรือ “อารกัน-อังวะ-พะโค-สยาม-ลาว-กัมพูชา-ตังเกี๋ย-โค ชินจีน” และที่น่าสนใจคือ Ciampa หรือ “จามปา” ได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 117



แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) Regni d’Aracan del Pegu di Siam di Camboge e di Laos (ธวช)


120

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 121


122

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 123


(19) แผนที่ “คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำ�คงคา” โดย จิโอวานนี มาเรีย คาสสินี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) La Penisola delle Indie di là dal Gange

(ขนาด 481 x 350 มม.) โดย จิโอวานนี มาเรีย คาสสินี (Giovanni Maria Cassini) นักแผนที่ชาวอิตาลี แม้ผู้เขียนจะได้ระบุที่ด้านล่างของกรอบจารึกว่า “Roma Presso la Calcografia Camerale 1797” หรือ “พิมพ์ที่กรุงโรมโดย Presso la Calcografia Camerale ค.ศ. 1797 (พ.ศ. 2340)” แต่ แผนที่ปรากฏครั้งแรก 4 ปีหลังจากนั้น โดยรวมอยู่ในสมุดแผนที่ Nuovo atlante geografico universale ภาคที่ 3 พิมพ์ ครั้งแรกที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2344 (ค.ศ. 1801) ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ 1 นีเ่ ป็นแผนทีส่ ยามแผ่นทีส่ องทีพ่ มิ พ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ หรือ 12 ปีหลังจากแผนทีข่ องอานโตนิโอ ซาตตา (หมายเลข 18) และเป็นแผนทีส่ ยามทีง่ ดงามทีส่ ดุ ในยุครัตนโกสินทร์ ขอให้สงั เกต “กรอบจารึก” (cartouche) ตรงมุมซ้ายล่างทีม่ ลี กั ษณะ โรแมนติก แสดงภาพกำ�ปั่นและเรือต่างๆ พร้อมทั้งภาพ “สตรีชาวยุโรป?” กำ�ลังสูบกล้องยาอย่างแสนสำ�ราญ ในขณะที่เด็ก พื้นเมืองต้องทำ�งานขนถ่ายสินค้า ภาพนี้สะท้อนให้เห็นถึงสถานะความสำ�คัญของการค้าทางทะเลของอุษาคเนย์ทั้งภาคพื้น ทวีปและคาบสมุทร ดังที่เราจะเห็นเกาะสุมาตรา ชวา และบอร์เนียว ตลอดจนช่องแคบมะละกา และซุนดา ในแผนที่ อนึ่ง หลังจากยุคนี้ หรือตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 (กลางพุทธศตวรรษที่ 24) เป็นต้นมา การทำ�แผนที่ของชาวยุโรป จะไม่เน้น ความงดงามทางด้านศิลปะอีกต่อไป อาณาเขตสยามในแผนที่ ทิศเหนือจรด Mevangfang (เมืองสวางคบุรี หรือเมืองฝาง) และ Metac (แม่ตาก) ทิศตะวันออกจรด Corazema (โคราชสีมา หรือ นครราชสีมา) และ Bassaye (ประแส ตั้งชื่อตามแม่น้ำ�ประแสที่ไหลผ่าน ปัจจุบันคือ อำ�เภอแกลง ในจังหวัดระยอง) เมือง Periou ใกล้พรมแดนทิศตะวันออกคือ แปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรา ส่วน เมืองท่า Liant บริเวณอ่าวสยามก็คือ แหลมเสม็ด ในจังหวัดระยอง สังเกตว่าอาณาเขตสยามทางทิศตะวันออกไม่รวม จันทบูร (เช่นเดียวกับในแผนที่โดย อานโตนิโอ ซาตตา ที่เขียนขึ้นเมื่อทศวรรษก่อนหน้า) สำ�หรับทางทิศตะวันตก อาณาเขตสยามจรดชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่เมือง Travay (ทวาย) Mergui (มะริด) ตะนาวศรี (Tanasserim) ไล่เลาะลงใต้ไปจนจรด Queda (เคดะห์) และ I. Pinang (เกาะปีนัง) แผนที่ไม่ระบุชื่อ บางกอก สันนิษฐานว่านักแผนที่เรียกราชธานีใหม่ว่า สยาม (SIAM) ดังธรรมเนียมปฏิบัติในแผนที่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วน Amsterdam บริเวณปากอ่าวสยาม คือ สถานีการค้าและคลังสินค้าฮอลันดาที่บางปลากด จังหวัดสมุทรปราการ

124

แผนที่

La Penisola delle Indie di là dal Gange

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 125

แผนที่คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำ�คงคา โดย จิโอวานนี มาเรีย คาสสินี พ.ศ.2340 (ค.ศ.1797) La Penisola delle Indie di là dal Gange (ธวช)


126

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 127


128

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 129


130

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 131


(20) แผนที่ “อินเดียนอกพระแม่คงคา-จักรวรรดิพม่า” พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) India di là dal Gange os sia l’Impero Birmanno

แผนที่

(ขนาด 310 x 224 มม.) โดย บาร์โทโลมิว บอร์กี นักแผนที่ชาวอิตาลี เช่นเดียวกับแผนที่โดย คาสสินี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) แม้แผนที่นี้จะระบุ ปีพิมพ์ในกรอบจารึกว่าคือ ค.ศ. 1818 หรือ พ.ศ. 2361 แต่แผนที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปีต่อมา โดยรวมอยู่ในสมุด แผนที่ Atlante generale พิมพ์ที่กรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จะเห็นว่าตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมา ชาวอิตาลีกลับมามีบทบาทในการทำ�แผนที่สยามและภาคพื้นอุษาคเนย์ เริ่มจากแผนที่โดย ดา ราบาตตา และ เดอ บายู พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779) แผนที่โดย ซาตตา พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) และ แผนที่โดย คาสสินี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) โปรดดูแผนที่หมายเลข 17-18-19 น่าสังเกตว่าแผนที่นี้ใช้คำ�ว่า “จักรวรรดิพม่า” หรือ L’ Impero Birmanno ซึ่งก็ตรงกับที่ชาวอังกฤษเริ่มใช้คำ�ว่า Birman Empire ในแผนทีต ่ งั้ แต่ราว ค.ศ. 1800 (พ.ศ. 2343) หรือสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึง่ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับทีอ่ งั กฤษ กำ�ลังขยายลัทธิอาณานิคมของตนจากอินเดียเข้าพม่า ส่วนบรรดาชื่ออาณาจักรเดิมที่มีศูนย์กลางตามเมืองต่างๆ ก็ถูกวาด ลงโดยเน้นตัวสะกดพิเศษ เช่น ARACAN-AVA-TONGHO-PROME-PEGU ซึ่งก็น่าจะเป็น “อารกัน-อังวะ-ตองอูแปร-พะโค ชื่อแม่​่น้ำ�สายสำ�คัญก็ได้ปรับปรุงใหม่ให้ถูกต้อง เช่น แม่น้ำ�อิระวดี ซึ่งในแผนที่ฝรั่งที่เขียนขึ้นก่อนหน้ามักระบุ ว่า Ava F. หรือแม่น้ำ�อังวะ ในแผนที่นี้เขียนว่า F. Irrawaddi หรือแม่​่น้ำ�อิระวดี ส่วนแม่​่น้ำ�สะโตง ในแผนที่ก่อนหน้ามัก เขียนว่า Pegu F. หรือแม่​่น้ำ�พะโค ในแผนที่นี้เขียนว่า F. Sitong หรือแม่​่น้ำ�สะโตง และโปรดสังเกตคำ�ว่า Tre Pagode ซึ่ง ก็หมายถึง “เจดีย์สามองค์” ซึ่งแผนที่ให้ตำ�แหน่งอยู่ระหว่างเมืองกาญจนบุรี (Cambori) และเมืองทวาย (Tavay) ชื่อและ ตำ�แหน่งของ “เจดีย์สามองค์” ปรากฏครั้งแรกในแผนที่ A Sketch of the Birman Empire โดย อเล็กซานเดอร์ ดาลริม เปิล (Alexander Dalrymple) นักแผนที่ชาวอังกฤษ พิมพ์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) โดย ระบุชื่อว่า Three Pagodas สำ�หรับอาณาจักรสยามในแผนที่แผ่นนี้ ก็ยังคงแบ่งเป็น “ตอนบน” และ “ตอนล่าง” หรือ ALTO SIAM และ BASSO SIAM และก็มีพรมแดนจรดกับพม่าทางด้านตะวันตก กับ SHAN-LAOS-CAMBOSCIA หรือ ฉาน-ลาวกัมพูชา ทางด้านตะวันออก ขอให้สังเกตว่า CIAMPA หรือ จามปา ก็กลับมาปรากฏอีก India di là dal Gange os sia l’Impero Birmanno

(Bartolomeo Borghi)

132

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 133

แผนที่อินเดียนอกพระแม่คงคา-จักรวรรดิพม่า พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) India di là dal Gange os sia l’Impero Birmanno (ธวช)


134

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 135


136

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 137


(21) แผนที่ “ตังเกี๋ย-โคชินจีน-สยาม-พม่า” โดย เอ. ซี. เลมอส พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) Mappa do Tonquin Cochinchina Siam e Birmania

แผนที่

(ขนาด 196 x 161 มม.) โดย เอ. ซี. เลมอส นักแผนที่ชาวโปรตุเกส จากวารสาร Annaes da Propagação da Féé เล่มที่ 12 พิมพ์ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เท่าที่ค้นพบ นี่เป็นแผนที่สยามสมัยโบราณเพียงแผ่นเดียวที่พิมพ์ในประเทศโปรตุเกส แผนที่แสดงอาณาเขตสยาม โดยมีทิศเหนือสิ้นสุดก่อนถึงเมือง Xieng-mai หรือเชียงใหม่ ทิศตะวันตกครอบคลุมเมืองท่าทวาย (Tavai) ทิศตะวันออก สิ้นสุดที่และรวมเมืองจันทบูร (Chan-ta-bon) แผนที่ไม่แสดงเส้นประ (...) กำ�หนดอาณาเขตทางทิศใต้ อนึ่ง แผนที่ให้ราย ชื่อแม่น้ำ�ในพม่าที่ใกล้เคียงกับชื่อเรียกโดยชาวท้องถิ่น เช่น แม่น้ำ�อิระวดี (Irraudi F.) และ แม่น้ำ�สาละวิน (Saluen R.) ทั้ง ยังเป็นแผนที่ “สยาม” แผ่นแรกๆ ที่เขียนชื่อ เกาะถลาง หรือภูเก็ต (I. Salanga) ใกล้เคียงชื่อเรียกท้องถิ่น ไม่ใช่ “จังซีลอน” ( Junkseilon) เหมือนในแผนที่ยุคก่อนหน้า แต่แผนที่แรกสุดที่ระบุชื่อเกาะภูเก็ตว่า (หรือใกล้เคียง) กับ ถลาง คือ แผนที่ แสดงชายฝั่งทะเลอันดามันเขียนโดย โยฮานเนส ฟาน คือเลน ( Johannes van Keulen) นักแผนที่ชาวฮอลันดา พิมพ์ที่กรุง อัมสเตอร์ดัม พ.ศ. 2296 (ค.ศ. 1753) โดยผู้เขียนให้ชื่อเกาะภูเก็ตว่า Ióng Salang (A. C. Lemos)

138

Mappa do Tonquin Cochinchina Siam e Birmania

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


แผนที่ตังเกี๋ย-โคชินจีน-สยาม-พม่า โดย เอ. ซี. เลมอส พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) Mappa do Tonquin Cochinchina Siam กรุงลิสบอน)

e Birmania (ภาพจากหอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 139


140

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 141


142

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 143


(22) แผนที่ “อาณาจักรสยามและโคชินจีน” ฉบับครอว์เฟิร์ด (John Crawfurd) พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) Map of the Kingdoms of Siam and Cochin China

แผนที่ Map of the Kingdoms of Siam and Cochin China (ขนาด 930 x 612 มม.) โดย จอห์น วอล์คเกอร์ นักแผนที่ชาวอังกฤษ และตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ Journal of an Embassy from the Governor-General of India to the Courts of Siam and Cochin China ของ John Crawfurd (พ.ศ. 2326-2411 หรือ ค.ศ. 1783-1868) เอกสารสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า “จดหมายเหตุครอว์เฟิร์ด” ที่พิมพ์ครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) และตรงกับต้นรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แผนที่ ดังกล่าวนี้พิมพ์ซ้ำ�ที่กรุงลอนดอนสองปีถัดมา และพิมพ์เป็นภาษาเยอรมันที่กรุงไวมาร์ ประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) ภายใต้ชื่อ Charte von den Reichen Siam und Cochin China (ขนาด 464 x 305 มม.) หากไม่นับรวมแผนที่ของฝรั่งตะวันตก ที่ทำ�ขึ้นเกี่ยวกับ Siam ในสมัยตั้งแต่กลางกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงธนบุรี ศรีมหาสมุทร และต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว แผนที่ในหนังสือของ John Crawfurd เล่มนี้นับได้ว่าเป็นแผนที่แรก ที่จะ เปิดประเด็นและศักราชของสิ่งที่เรียกว่า “พรมแดน” กับ “เขตแดน” ของสยามในฐานะ “รัฐสมัยใหม่” ความสำ�คัญของแผนทีน่ ี้ อยูท่ เี่ รือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์การเมืองของการแผ่ขยายลัทธิอาณานิคมของอังกฤษ จาก ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของสยาม คือจากทางด้านของมลายูแลพม่า (ตอนล่าง ซึ่งเป็นดินแดนเก่าของชนชาติมอญ) กับอินเดีย กล่าวคือ ภายหลังที่อังกฤษได้ข้ามจากมหาสมุทรจากเมืองขึ้นของตนในอินเดีย เข้ามาขอเช่าเกาะปีนังจากสุลต่าน เคดะห์ ไปในปี พ.ศ. 2329 หรือ ค.ศ. 1786 ซึ่งตรงกับต้นสมัยพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1 กับทั้งยังได้เช่าเกาะสิงคโปร์ จากสุลต่านแห่งยะโฮร์ เมื่อปี พ.ศ. 2362 หรือ ค.ศ. 1819 ซึ่งตรงกับสมัยพระพุทธเลิศหล้าฯ รัชกาลที่ 2 นั้น เขตอิทธิพล ทางการเมืองและดินแดนกับผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษก็เข้ามาประชิดและพัวพันกับสยามในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอินเดีย คือ มาร์คิส แห่งเฮสติงส์ (Marquis of Hastings) จึงได้ส่งจอห์น ครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd) เข้ามาเจรจาเพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับราชสำ�นักของสยาม ทั้งนี้เพื่อขจัดข้อขัดข้องทางด้านการ ค้าของอังกฤษกับสยาม กล่าวคือ ในขณะที่สยามมีระบบการค้าผูกขาดโดยพระคลังสินค้าของราชสำ�นัก หรือ royal trade monopoly ทางฝ่ายอังกฤษกำ�ลังดำ�เนินนโยบายว่าด้วย “การค้าเสรี” หรือ free trade อย่างแข็งขัน ( John Walker)

144

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


จอห์น ครอว์เฟิร์ด

( John Crawfurd)

พ.ศ. 2326-2411 (ค.ศ. 1783-1868)

จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นข้าราชการอาณานิคมของอังกฤษ เคยทำ�งานอยู่ในบริษัท British East India Company มีประสบการณ์สูงจากการได้ทำ�งานอยู่ในอินเดีย พม่า (อังวะ) ชวา และปีนัง-สิงคโปร์ มีความรู้สามารถพูดภาษามลายูได้ (เคยทำ�และจัดพิมพ์พจนานุกรมภาษามลายู) ครอว์เฟิรด์ ถูกส่งเข้ามาเจรจากับราชสำ�นักกรุงเทพฯ ในสมัยพระพุทธเลิศหล้าฯ รัชกาลที่ 2 เมื่อเขามีอายุได้ 38 ปี เมื่อ พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) ครอว์เฟิร์ดพำ�นักเจราจาอยู่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 4 เดือน เขาไม่ประสบความสำ�เร็จในการเจรจาทางการค้า ที่ จะให้สยามเปลี่ยนระบบให้เป็น “เสรี” มากขึ้นนัก แต่ก็ประสบความสำ�เร็จในแง่ที่ทำ�ให้สยามไม่โต้แย้งในเรื่องสิทธิการเช่า เกาะปีนังไปจากเคดะห์ (หรือรัฐไทรบุรี ที่ยังคงอยู่ในอำ�นาจอธิปไตยของสยามครั้งกระนั้น) แต่สิ่งสำ�คัญคือครอว์เฟิร์ดได้ รวบรวมข้อมูลเกีย่ วกับสยามไว้มาก และอีก 7 ปีตอ่ มา เขาได้รวบรวมนำ�มาตีพมิ พ์เป็นหนังสือพร้อมด้วยแผนทีป่ ระเทศและ กรุงเทพฯ (แผนผัง Sketch of the Town of Bang-kok, by a Native ซึ่งเป็นแผนผังบางกอกแผ่นแรกสุดของฝรั่งที่พิมพ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์) หนังสือเล่มนี้ คือ Journal of an Embassy from the Governor-General of India to the Courts of Siam and Cochin China พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แผนที่ในหนังสือของครอว์เฟิร์ดให้รายละเอียดเกี่ยวกับพม่าตอนล่าง ไล่เลาะไปจนถึงแหลมมลายูและสิงคโปร์ ซึ่ง อยู่ในเขตอิทธิพลของอังกฤษ ให้ชื่อเมืองเก่าๆ ที่น่าสนใจ และในกรณีของสยามก็ให้ความสำ�คัญกับภาคกลางและภาคใต้ แต่ในส่วนภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่แผนที่ใช้นามภูมิประเทศว่า Northern Lao และ Lao นั้นชี้ให้เห็นว่าผู้ ทำ�แผนที่ของฝรั่ง ยังขาดความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ไม่น้อย แม่น้ำ�โขงเอง (สะกดว่า Mekon) ก็ไหลตรงลงมาโดยยังไม่ทราบ ตำ�แหน่งของการหักเลี้ยวโค้งที่บริเวณเมืองหลวงพระบาง ในขณะที่บริเวณทะเลสาบเขมร ก็มีขนาดเล็กกว่าปกติ แต่แผนที่นี้ ก็ให้รายละเอียดของเมืองและแม่น้ำ�สายต่างๆ จากด้านตะวันออกของสยาม ไปถึงเมืองพระตะบอง ไปจนถึงปากแม่น้ำ�โขงอันเป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างการแข่งขันช่วงชิงอำ�นาจกันของทั้งเวียดนาม กัมพูชา และสยาม และก็ ไล่เลาะให้รายละเอียดทางภูมิศาสตร์อย่างดีจากเวียดนามใต้-กลาง-เหนือจนถึงเมืองมาเก๊า อาจกล่าวได้วา่ ผลงานของครอว์เฟิรด์ ได้แผ้วถางทางให้กบั อำ�นาจและอิทธิพลของอังกฤษทัง้ ในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้โดยรวม และทั้งในสยามประเทศโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีตัวแทนของอังกฤษอย่างเช่น เฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) และ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring) ติดตามมาตามลำ�ดับในปี พ.ศ. 2368 และ พ.ศ. 2398 (หรือ ค.ศ. 1825 และ ค.ศ. 1855) และที่สำ�คัญคือสร้างกรอบและแนวความคิดว่าด้วย “แผนที่สมัย” ที่ “รัฐสมัยใหม่” จะต้องมี “พรมแดน” และ “เขตแดน” ที่แน่นอนในเวลาต่อมา ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 145



แผนที่อาณาจักรสยามและโคชินจีน ฉบับครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd) พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) Map of the Kingdoms of Siam and Cochin China (ธวช)


148

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 149


150

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 151


152

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 153


(23) แผนที่ “พม่า-สยาม-โคชินจีน” ฉบับแอร์โรวสมิธ (John Arrowsmith) พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) Burma, Siam, and Cochin China แผนที่ Burma, Siam, and Cochin China, by J. Arrowsmith. (ขนาด 603 x 477 มม.) โดย จอห์น แอร์โรว สมิธ ( John Arrowsmith) นักแผนที่ชาวอังกฤษ แม้จะระบุด้านล่างแผนที่ว่า “พิมพ์เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1832” แต่ ปรากฏครั้งแรกในสมุดแผนที่ The London Atlas of Universal Geography พิมพ์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) หรือสองปีถัดมา ตรงกับกลางรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แอร์โรวสมิธได้ปรับปรุงสมุด แผนที่ The London Atlas หลายครั้งจนกระทั่ง พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) จึงโอนให้ เอ็ดวาร์ด สแตนฟอร์ด (Edward Stanford) รับช่วงต่อ “แผนที่สยาม” ในสมุดแผนที่ Stanford’s London Atlas of Universal Geography อยู่ภายใต้ชื่อ “Siam Burma & Anam” หรือ “สยาม พม่า และ อันนัม” พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ชนชัน้ นำ�อังกฤษให้ความสนใจกับพม่าและสยามเป็นอย่างสูง ไม่น่าแปลกใจเพราะอังกฤษเพิ่งรบชนะพม่ามาหมาดๆ พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) ทั้งยังได้ส่งทูต จอห์น ครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd) และ จอร์จ ฟินเลย์สัน (George Finlayson) เข้ามาสยามเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้า ดังนั้นเมื่อ ครอว์เฟิร์ด และ ฟินเลย์สัน ตีพิมพ์จดหมายเหตุการเดินทางออกจำ�หน่ายที่กรุงลอนดอน จึงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากบรรดาพวก “ผู้ดี อังกฤษ” จดหมายเหตุครอว์เฟิร์ดซึ่งมีแผนที่สยามขนาดใหญ่แทรกอยู่ ได้รับความนิยมมากกว่า และได้รับการพิมพ์ซ้ำ�ทั้งที่ กรุงลอนดอน และกรุงไวมาร์ ประเทศเยอรมนี นอกจากแผนทีส่ ยามโดย จอห์น วอล์คเกอร์ ( John Walker) ในจดหมายเหตุ นี้แล้ว ยังมีแผนที่ “สยาม-พม่า-เวียดนาม” โดยชาวอังกฤษอีกหลายแผ่นที่พิมพ์ขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน อาทิ แผนที่ Birman Empire & Countries South East of the Ganges (“จักรวรรดิพม่าและประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระแม่คงคา”) โดย จอห์น ดาวเวอร์ ( John Dower) พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) แผนที่ Map of the Burman Empire Including also Siam, Cochin-China, Ton-king, and Malaya (“แผนที่จักรวรรดิพม่า รวมถึงสยาม โคชินจีน ตังเกี๋ย และมลายา”) โดย เจมส์ ไวล์ด ( James Wyld) พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) และแผนที่โดยแอร์โรวสมิธที่กล่าวถึงนี้ แผนที่ “พม่า สยาม และ โคชินจีน” โดย แอร์โรวสมิธ พิมพ์ขึ้น 4 ปีหลังแผนที่สยามฉบับครอว์เฟิร์ด แผนที่ ฉบับแอร์โรวสมิธครอบคลุมพื้นที่มากกว่า โดยทางทิศตะวันตกสิ้นสุดที่ปากพระแม่คงคา (R. Ganges) ในอินเดีย ขณะที่ แผนที่ฉบับครอว์เฟิร์ดสิ้นสุดแค่ปากแม่น้ำ�สะโตง (Sittang Riv.) ในพม่า ส่วนทางทิศใต้ แผนที่ฉบับครอว์เฟิร์ดครอบคลุม พืน้ ทีม่ ากกว่า โดยรวมแหลมมลายูทงั้ หมดจรดเกาะสิงค์โปร์ (Singapore) ขณะทีแ่ ผนทีฉ่ บับแอร์โรวสมิธสิน้ สุดแค่เปรักและ ตรังกานู (Perak, Tringano) น่าสังเกตว่าแผนที่ฉบับแอร์โรวสมิธให้ความสำ�คัญกับพม่าเป็นพิเศษ โดยระบุชื่อและตำ�แหน่ง ของหัวเมืองชั้นในและนอกอย่างละเอียด แต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐในอินโดจีนค่อนข้างน้อย (ยกเว้นเมืองท่าโคชินจีนตลอด ชายฝั่งทะเลจีนใต้ที่ให้รายละเอียดมากเป็นพิเศษ ทั้งยังเป็นแผนที่ฝรั่งแผ่นแรกๆ ที่แสดง Tanlesap หรือ ทะเลสาบเขมร) การเน้นข้อมูลภูมิศาสตร์ของพม่าในแผนที่ สอดคล้องกับการรับรู้ ความสนใจ และอิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคขณะนั้น ในส่วนของสยาม แผนที่ให้อาณาเขตทิศเหนือสิ้นสุดที่ สังคโลก (Sankuluk) ทิศใต้สิ้นสุดที่ตรังและสงขลา (Trang, Sungora) โดยไม่รวมเคดะห์และปัตตานี (Queda, Patani) ทิศตะวันตกสิ้นสุดที่ “เจดีย์สามองค์” (Phra-song Choo Phrachedee-samong) โดยวางสัญลักษณ์ “เจดีย์สามองค์” คร่อมเส้นแบ่งเขตแดน! ส่วนอาณาเขตชายฝั่งอันดามัน ครอบคลุมตั้งแต่ “ปากจั่น” (Pak-chan) ในจังหวัดระนองปัจจุบัน เรื่อยมาจนประชิดอาณาเขตของเคดะห์ที่ “ละงู” (Lungu) ในจังหวัดสตูลปัจจุบัน ส่วนทิศตะวันออกสิ้นสุดที่ โคราช (Korat) และ กำ�ปงโสม (Pong-som) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกัมพูชา 154

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ขอตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ระบายสีแผนที่ฉบับ original นั้น “สะเพร่า” โดยละเลยเส้นประแสดงเขตแดนระหว่างสยาม และกัมพูชา (เส้นประที่ไล่จากเหนือลงใต้ ระหว่างตัว M ของ SIAM และ ตัว C ของ CAMBOJA) ทำ�ให้อาณาเขตของ สยาม (สีเหลือง) ครอบคลุมดินแดนกัมพูชา (สีเขียว) ไปจนจรดทะเลสาบเขมรและปากแม่น้ำ�โขง! แผนที่ฉบับแอร์โรวสมิธ นอกจากจะกำ�หนดอาณาเขต ระบุชื่อและตำ�แหน่งของเมืองสำ�คัญในการรับรู้ของชาว อังกฤษขณะนั้น ยังได้แทรกข้อมูลการค้า การเดินทาง หรือแม้แต่ข้อมูลการทำ�ศึกสงครามไว้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนได้ เสริมข้อมูลต่อจากชื่อเกาะภูเก็ต (Salang or Junkseylon) ว่า “บนเกาะนี้เต็มไปด้วยเหมืองแร่ดีบุก” และต่อจากชื่อจันทบูร (Chan-ta-bon) ว่า “ใกล้เมืองนี้มีเหมืองอัญมณีล้ำ�ค่า” ทั้งยังวาดเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างชายฝั่งอันดามันและอ่าวสยาม จาก เคดะห์ (Queda) สู่ สงขลา (Sungora) จากพังงา (Ponga) สู่ ไชยา (Chai-ya) และจาก ตรัง (Trang) สู่ ลิกอร์ หรือ นครศรีธรรมราช (Ligor) แอร์โรวสมิธระบุวา่ เส้นทางจากตรังสูน่ ครศรีธรรมราชเป็น “G[rea]t trade route between Bengal & the Siamese Cap[ita]l” ถอดความได้วา่ “เส้นทางการค้าทีส ่ �ำ คัญระหว่างอ่าวเบงกอลและเมืองหลวงของสยาม” ผูเ้ ขียนยัง ได้เขียนข้อความพาดยาวเหนือดินแดนลาวว่า “Composed of petty states tributary to the Chinese, the Siamese, & the Burmans.” ถอดความได้ว่า “ประกอบด้วยรัฐบรรณาการต่างๆ ที่ขึ้นต่อจีน สยาม และพม่า” ท้ายสุด บริเวณพื้นที่ว่างต่อ จากแม่น้ำ�บางปะกง (Bang-pa-kung R.) ผู้เขียนระบุด้วยว่า “said to be a communication for Boats, Crawfurd P.407. | by this River the Siamese invaded Camboja P.444. | conquered by the King of Siam 1809, Crawfurd P.406.”

สรุปได้คร่าวๆ ว่า “กษัตริย์สยามได้เดินทัพทางเรือตามเส้นทางแม่น้ำ�บางปะกงเพื่อเข้าตีกัมพูชา และพิชิตได้สำ�เร็จเมื่อ ค.ศ. 1809 (พ.ศ. 2352)” โดยให้เครดิตข้อมูลในแผนที่ว่ามาจากจดหมายเหตุครอว์เฟิร์ด ตามที่เกริ่นไว้ในย่อหน้าแรก แผนที่ “พม่า สยาม และ โคชินจีน” รวมอยู่ในสมุดแผนที่ The London Atlas จน กระทั่งฉบับพิมพ์ครั้งสุดท้ายภายใต้การกำ�กับดูแลของแอร์โรวสมิธในปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) ต่อมาได้โอนให้ เอ็ดวาร์ด สแตนฟอร์ด รับช่วงต่อ น่าสังเกตว่าแผนที่ในสมุดแผนที่ของสแตนฟอร์ด ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สยาม พม่า และ อันนัม” โดยสลับชื่อสยามขึ้นต้น ทั้งยังเน้นให้น้ำ�หนักแก่ “สยาม” โดยพิมพ์ชื่อแยกไว้แถวบนด้วยตัวอักษรหนาพิเศษแถมด้วยแรเงา ทึบ ส่วนชื่อ “พม่า” และ “อันนัม” พิมพ์ด้วยตัวอักษรบางและรวบไว้ด้วยกันที่แถวล่าง หากมองในบริบทการเมืองระหว่าง ประเทศในสมัยนั้น ก็คงไม่น่าแปลกใจ เพราะแผนที่พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) หรือหนึ่งปีหลังเหตุการณ์ “ร.ศ. 112” ช่วงเวลาที่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างกำ�ลังช่วงชิงบทบาทและดินแดนในภาคพื้นอุษาคเนย์

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 155



แผนที่พม่า-สยาม-โคชินจีน ฉบับแอร์โรวสมิธ ( John Arrowsmith) พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) Burma, Siam, and Cochin กรุงลิสบอน)

China (ภาพจากหอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส


158

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 159


160

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 161


162

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 163


(24) แผนที่ “อาณาจักรสยาม” ฉบับปัลเลอกัวซ์ (Jean-Baptiste Pallegoix) พ.ศ. 2397 (ค.ศ.1854) Carte du Royaume de Siam

แผนที่ Carte du Royaume de Siam (ขนาด 505 x 358 มม.) โดย ฌอง บัปทิสต์ หลุยส์ ชาลล์ ( Jean Baptiste นักแผนที่ชาวฝรั่งเศส จากหนังสือ Description du Royaume Thai ou Siam ของสังฆราชปัลเลอกัวซ์ (Jean-Baptiste Pallegoix พ.ศ. 2348-2405/ค.ศ. 1805-1862) หรือที่รู้จักกันเป็นภาษาไทยว่า “จดหมายเหตุสังฆราชปัลเลอ กัวซ์” นี้ พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) ตรงกับต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ห่างจากแผนที่ฉบับแรกเป็นเวลา 26 ปี สังฆราชปัลเลอกัวซ์ เคยดำ�รงตำ�แหน่งประมุขนิกายโรมันคาทอลิกในสยาม และเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังเกตว่าในยุคต้นรัตนโกสินทร์ นักแผนที่ฝรั่งจากหลากหลายเชื้อชาติหันมาเขียนแผนที่สยาม เริ่ม จากชาวอิตาลี ตามด้วยโปรตุเกส อังกฤษ และ ฝรั่งเศส กล่าวได้ว่าแผนที่แผ่นนี้ให้ความสำ�คัญและเน้นสภาพทางภูมิศาสตร์ เมือง และแม่น้ำ� ที่เป็นแกนกลางของสยาม ประเทศและอาณาบริเวณใกล้เคียงในสมัยนัน้ อย่างชัดเจน หาได้ขยายไปไกลจนครอบคลุมถึงพม่าหรือเวียดนาม อย่างแผนที่ แผ่นอื่นๆ ที่เราได้ศึกษามาไม่ และนี่ก็อาจมาจากสาเหตุที่ว่าสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ผู้กำ�กับการเขียนแผนที่นี้โดยตรง พำ�นัก อยู่ในประเทศสยามเป็นเวลานานรวมแล้วถึง 31 ปี และมีความใกล้ชิดถึงกับแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ภาษาละติน บาลีกับ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 4 ซึง่ ผนวชอยู่ ณ วัดราชาธิวาส (สมอราย) ติดๆ กับโบสถ์คอนเซ็ปชัน่ ของท่านสังฆราช นัน่ เอง ขอให้สังเกตว่า มุมขวาบนของแผนที่คือแผนผังกรุงเทพฯ (Plan de BangkÕk) มุมขวาล่างคือแผนที่แสดง ปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ (Environs de BangkÕk) และเนื่องจากท่านสังฆราชมีความรู้เป็นอย่างดีในบ้านเมืองที่ท่านเข้ามา เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ดังนั้นในการเรียกชื่อประเทศ ท่านจึงใช้คำ�ว่า M’ Thai ou Siam คือ “เมืองไทย หรือสยาม” ในขณะที่ดินแดนทางภาคเหนือ ก็ใช้คำ�ว่า Roy. me de Xieng Mai หรืออาณาจักรเชียงใหม่ เหนือขึ้นไปใช้คำ�ว่า Lao Tributaires des Barmas หรือ “ประเทศราชของพม่า” ในขณะทีเ่ กีย่ วกับ “ลาวและกัมพูชาปัจจุบนั ” แผนทีน่ กี้ ใ็ ช้ค�ำ ทีด่ รู วมๆ เช่น Principautes Khmer et Lao Tributaires de Siam กับ d’ Anam ซึ่งก็น่าจะหมายถึงแว่นแคว้นเขมรและลาว ที่เป็น “รัฐบรรณาการ” หรือ “ประเทศราช” ของ “สยาม” และ “อันนัม” น่าสังเกตเช่นกัน ทีบ่ ริเวณของแม่น�้ำ โขง ทีไ่ หลลงมาจนถึงทะเลสาบเขมรนัน้ ผูเ้ ขียนก็ยงั คงไม่มคี วามชัดเจนทาง สภาพภูมศิ าสตร์นกั แต่บริเวณทีเ่ ป็นชายฝัง่ ทะเลตะวันออกของสยาม ไปจนถึงกัมพูชา และปากแม่น้�ำ โขง ท่านสังฆราชดูจะ คุ้นเคยดี จึงปรากฏเมืองสำ�คัญๆ เช่น Chanthaburi ou Chanthabun คือ “จันทบุรี หรือ จันทบูร” ไล่ไปจนถึง Compong Som (กัมปงโสม) หรือ Kampot ตลอดจน Tuc Kmau (กำ�ปอด และ ท่าเขม่า) และที่น่าทึ่งคือ แผนที่ในจดหมายเหตุของ ท่านเป็นแผนที่ฝรั่งแรกสุดที่ระบุถึง นครวัด (Nokhor Vat Ancienne Capitale) เหนือทะเลสาบเขมร (Thăle Sãb) พิมพ์ ขึ้นสี่ปีก่อนที่ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส จะเดินทางมายังอุษาคเนย์ Louis Charle)

164

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


แผนที่อาณาจักรสยาม ฉบับปัลเลอกัวซ์ ( Jean-Baptiste Pallegoix) พ.ศ. 2397 (ค.ศ.1854) Carte du Royaume de Siam (ธวช)


166

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 167


168

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 169


170

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 171


(25) แผนที่ฉบับร่างแสดง “สยามและรัฐใกล้เคียง” ฉบับจอห์น แอร์โรวสมิธ (John Arrowsmith) พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) Sketch of Siam & the Adjacent States

แผนที่

Sketch of Siam & the Adjacent States to illustrate Geographical Notes on Siam, by Harry

1855. (ขนาด 194 x 163 มม.) โดย จอห์น แอร์โรว สมิธ ( John Arrowsmith) นักแผนที่ชาวอังกฤษ เป็นแผนที่ประกอบบทความ Geographical Notes on Siam (“ข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ของสยาม”) ที่ แฮรี ปาร์กส์ (Harry Parkes) กงสุลอังกฤษประจำ�กรุงเอหมึง ประเทศจีน ได้นำ�เสนอ ต่อสมาชิกของราชสมาคมภูมิศาสตร์ (Royal Geographical Society) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) และตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมฯ ในปีถัดมา ( Journal of the Royal Geographical Society, เล่มที่ 26, พ.ศ. 2399/ค.ศ. 1856, หน้า 71-78) ตรงกับต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แผนที่นี้วางประกบคู่กับแผนที่ Sketch of the Menam & Other Siamese Rivers หรือ “แผนที่ฉบับร่างแสดงแม่น้ำ� (เจ้าพระยา) และแม่น้ำ�สาย อื่นๆ ของสยาม” ที่อาศัยข้อมูลการสำ�รวจโดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน แฮรี ปาร์กส์ (พ.ศ. 2371/ค.ศ. 1828 – พ.ศ. 2428/ค.ศ. 1885) เป็นนักการทูตอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านจีนและญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) ด้วยวัยเพียง 26 ปี เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งกงสุลอังกฤษประจำ�กรุงเอหมึง (Amoy) หรือ เซียะเหมิน ในมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน เขาได้ร่วมเดินทางมาสยามในปีถัดมาในฐานะเลขานุการคณะราชทูตอังกฤษ ที่นำ�โดย เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring) ปาร์กส์คือผู้ดำ�เนินการเจรจาชั้นต้นกับฝ่ายสยามซึ่งนำ�ไปสู่สนธิสัญญา ระหว่างสยามและอังกฤษ ลงนามวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ที่เรารู้จักกันดีว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” เขายัง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำ�สนธิสัญญาดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนสัตยาบันกับทางราชสำ�นักสยามในปีถัดมา ผลพลอยได้ประการหนึง่ ของการเข้ามาของคณะทูตฝรัง่ คือการทำ�แผนทีส่ ยาม ทุกครัง้ ทีค่ ณะทูตกลับคืนสูป่ ระเทศ พวกเขามักแต่งจดหมายเหตุบันทึกการเดินทาง พร้อมเขียนแผนที่ประกอบ จดหมายเหตุและแผนที่เหล่านี้ก่อให้เกิดกระแส ความสนใจในดินแดน ‘exotic’ สยาม นักแผนที่อื่นๆ ก็จะร่วมผสมโรงด้วยการพิมพ์แผนที่สยามออกสู่ท้องตลาด ตัวอย่าง เช่น ภายหลังราชทูต เดอ โชมองต์ และ เดอ ลาลูแบร์ กลับสู่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) และ พ.ศ. 2231 (ค.ศ. 1688) ตามลำ�ดับ ก็ได้อุบัติแผนที่สยามแผ่นสำ�คัญในฝรั่งเศส อาทิ แผนที่โดย ปิแอร์ ดูวัล (พ.ศ. 2229/ค.ศ. 1686) โดย วินเช็นโซ โคโรเนลลี (พ.ศ. 2230/ค.ศ. 1687) และโดย เดอ ลามาร์/เดอ ลาลูแบร์ (พ.ศ. 2234/ค.ศ. 1691) ภายหลังที่ทูต ครอว์เฟิร์ดกลับสู่อังกฤษในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ก็ได้อุบัติแผนที่สยามแผ่นสำ�คัญที่เขียนโดยชาวอังกฤษ อาทิ แผนที่ โดย เจมส์ โลว (พ.ศ. 2367/ค.ศ. 1824) โดย เจมส์ ไวล์ด (พ.ศ. 2368/ค.ศ. 1825 และ พ.ศ. 2375/ค.ศ. 1832) โดย จอห์น วอล์คเกอร์ (พ.ศ. 2371/ค.ศ. 1828) และโดย จอห์น แอร์โรวสมิธ (พ.ศ. 2375/ค.ศ. 1832) การเจรจาการทูตซึ่งนำ�มาสู่สนธิสัญญาเบาว์ริง ทำ�ให้สยามกลับมาเป็นที่สนใจในหมู่ผู้ดีอังกฤษอีกครั้ง เพียงเวลา ไม่กีป่ หี ลังเบาว์รงิ กลับประเทศ ก็ได้อบุ ตั แิ ผนทีส่ ยามแผ่นสำ�คัญโดยชาวอังกฤษถึงสีแ่ ผ่น คือ แผนทีโ่ ดยแอร์โรวสมิธทีก่ �ำ ลัง กล่าวถึงนี้ แผนที่โดย โจเซฟ โลวรี (พ.ศ. 2400/ค.ศ. 1857) ที่จะกล่าวถึงในลำ�ดับต่อไป แผนที่โดย เอ็ดวาร์ด เวลเลอร์ (พ.ศ. 2402/ค.ศ. 1859 และ พ.ศ. 2406/ค.ศ. 1863) หลังจากนั้นการทำ�แผนที่สยามในประเทศอังกฤษก็ซาไป ก่อนจะกลับ มาคึกคักอีกครั้งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 25 โดยเฉพาะช่วงที่เกิด “เหตุการณ์ ร.ศ. 112”) แผนที่โดยแอร์โรวสมิธที่พิมพ์ประกอบบทความของปาร์กส์ ให้รายละเอียดทางภูมิศาสตร์และตำ�แหน่งของเมืองต่างๆ ไม่ มากนัก อาจเป็นเพราะเขาทราบดีว่า “เจ้านาย” คือ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง กำ�ลังซุ่มแต่งหนังสือซึ่งจะมีแผนที่สยามแผ่นสำ�คัญ Parkes Esq.r Her Britannic Majesty’s Consul at Amoy.

172

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ผนวกอยู่ด้วย (จะกล่าวถึงลำ�ดับต่อไป) อย่างไรก็ตาม ความสำ�คัญของแผนที่โดยแอร์โรวสมิธ อยู่ที่การแสดงอาณาเขตของ รัฐต่างๆ ในภาคพื้นอุษาคเนย์สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พม่า (Burmah) พะโค (Pegu) เชียง ตุง (Chiang Tung) เชียงใหม่ (Chiangmai) สยาม (Siam) มลายู (Malay) กัมพูชา (Camboja) ตังเกี๋ย (Tonquin) อัน นัม (Anam) โคชินจีน (Cochin China) และ “รัฐบรรณาการที่ขึ้นต่อจีน สยาม และโคชินจีน” (Petty States tributary to China, Siam & Cochin China) ซึ่งครอบคลุมดินแดนประเทศลาวในปัจจุบัน โดยแผนที่ระบุเสริมอีกว่า เชียงตุงและ เชียงใหม่ เป็นรัฐฉานที่อยู่ใต้อาณัติของพม่าและสยามตามลำ�ดับ น่าแปลกว่า ปาร์กส์และเบาว์ริง เข้ามาสยามพร้อมกันด้วยภารกิจเดียวกัน จึงน่าจะรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามไม่ต่าง กัน แต่หากเปรียบเทียบแผนที่โดยแอร์โรวสมิธในบทความของปาร์กส์ (ขอเรียกโดยย่อว่า “แผนที่ฉบับปาร์กส์”) และแผนที่ โดยโลวรีในจดหมายเหตุเบาว์รงิ (ขอเรียกโดยย่อว่า “แผนทีฉ่ บับเบาว์รงิ ”) จะพบข้อแตกต่างมากมายเกีย่ วกับอาณาเขตสยาม ขณะนั้น เริ่มที่อาณาเขตทางทิศเหนือ “แผนที่ฉบับปาร์กส์” วาง ระแหง (Lahaing) ไว้นอกสยาม แต่ “แผนที่ฉบับเบาว์ริง” ให้อาณาเขตสยามครอบคลุมทั้ง ระแหง และ ตาก (Rahang, Tak) โดยพรมแดนสยามฝั่งตะวันตกยาวไปจนเกือบประชิด แม่น้ำ�สาละวิน (Salwein R.) ส่วนอาณาเขตทางทิศใต้ ดูเหมือนปาร์กส์จะไม่แน่ใจว่าสิ้นสุดที่ใด เพราะเขาได้เขียนเส้นประ กำ�หนดแนวเขตแดนไว้ถึงสองเส้น โดยเส้นแรกเชื่อมโยงระหว่าง ตรัง (Trang) และ นครศรีธรรมราช (Ligos) ส่วนเส้นที่ สองเชื่อมโยงระหว่าง เคดะห์ (Queda) และ ปัตตานี (Pitani) แต่ที่แน่ๆ ปาร์กส์เชื่อว่าอาณาเขตสยามทางทิศใต้สิ้นสุดแค่ ปัตตานีเป็นอย่างมาก ขณะที่ “แผนทีฉ่ บับเบาว์รงิ ” กำ�หนดให้เขตแดนของสยามไล่ยาวไปจนถึงและรวมตรังกานู (Tringanu) ข้อแตกต่างที่น่าสนใจสุดคือ อาณาเขตสยามทางทิศตะวันออก โดย “แผนที่ฉบับปาร์กส์” เขียนเส้นประพาดผ่าน ชื่อของกัมพูชา (Camboja) หรือเพื่อสื่อนัยยะว่าเขาไม่ยอมรับการยึดครองกัมพูชาโดยสยาม? อาณาเขตสยามทางทิศตะวัน ออกในแผนที่จรดทะเลสาบเขมร (Bien-ho or Great L.) และรวมถึง พระตะบอง (Bat-tambang) โดยอาณาเขตฝั่งอ่าว สยามสิ้นสุดที่ เกาะกง (Koh Kong) แสดงว่าปาร์กส์เข้าใจว่าสยามยึดครองดินแดนของกัมพูชาได้เพียงบางส่วน แต่ “แผนที่ ฉบับเบาว์ริง” กลับกำ�หนดให้ดินแดนทั้งหมดอยู่ภายใต้สยาม ทำ�ไมทูตคณะเดียวกันจึงรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามได้แตกต่าง กันถึงเพียงนี้ ข้อมูลชุดไหน และแผนที่ฉบับใด ถูกต้องกว่ากัน เรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นที่นักประวัติศาสตร์ควรต้องขบคิด เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 173



แผนที่ฉบับร่างแสดงสยามและรัฐใกล้เคียง ฉบับจอห์น แอร์โรวสมิธ Sketch of Siam & the Adjacent States (ธวช)

( John Arrowsmith)

พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 175


(26) แผนที่ “สยามและประเทศราช” ฉบับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) Map of Siam and Its Dependencies

แผนที่ Map of Siam and Its Dependencies (ขนาด 500 x 195 มม.) โดย โจเซฟ วิลสัน โลวรี ( Joseph Wilson นักแผนที่ชาวอังกฤษ จากหนังสือ The Kingdom and People of Siam (จดหมายเหตุเบาว์ริง) ภาค 2 พิมพ์ครั้ง แรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) ตรงกับต้นรัชกาลพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ดังที่ทราบกันดีว่า เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นราชทูตอังกฤษที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เพื่อทำ� “หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ประเทศอังกฤษ แล ประเทศสยาม (ทำ� ณ กรุงเทพฯ วันที่ 18 เมษายน) ค.ศ. 1855”Ž (ชื่ออย่างเป็นทางการ) หรือ Treaty of Friendship and Commerce between Siam and Great Britain, signed at Bangkok, April 18, 1855 หรือที่รู้จัก กันทั่วไปว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง”Ž และภายหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) ท่านก็ได้ตีพิมพ์หนังสือสำ�คัญชื่อ The Kingdom and People of Siam ซึ่งได้รับการแปลอย่างสมบูรณ์และตีพิมพ์เป็นภาษาไทยในชื่อ “ราชอาณาจักร และราษฎรสยาม”Ž (พิมพ์ พ.ศ. 2547/ค.ศ. 2004 โดยมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย หรืออีก 147 ปีต่อมา) และเนื่องจากความสำ�คัญของทั้งหนังสือกับแผนที่ และกับบทบาทผลกระทบจากเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ดังนั้น จึงขอถือโอกาสที่จะรายงานเรื่องนี้โดยละเอียดต่อไป คงเกือบไม่มีอาจารย์ หรือนักเรียนนักศึกษาไทยคนใด ที่ไม่เคยได้ยินชื่อหรือไม่รู้จักนามของ “เซอร์ จอห์น เบาว์ ริง”Ž เจ้าตำ�รับของ สนธิสัญญาเบาว์ริงŽ ที่ทำ�ให้สยามประเทศไทยสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต้อง “เสียอำ�นาจ อธิปไตยทางการศาลŽ” และปรากฏมี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต”Ž เกิดขึ้น แต่ก็ทำ�ให้สยามรอดจากการตกเป็น “อาณานิคม”Ž (โดยตรงสมบูรณ์แบบ) ไปได้ และหากจะสนใจมากไปกว่านี้ ก็คงทราบว่าสนธิสัญญาดังกล่าว ทำ�ให้เกิด “การค้าเสรีŽ” ถือ เป็นการสิ้นสุดของ “การผูกขาดการค้าต่างประเทศ”Ž โดย “พระคลังสินค้า”Ž ของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ แต่กค็ งมีนอ้ ยคนทีจ่ ะทราบว่า เซอร์ จอห์น เบาว์รงิ เป็นมนุษย์มหัศจรรย์ของยุคสมัยจักรวรรดินยิ ม ล่าอาณานิคม ที่เป็นทั้งเจ้าเมืองฮ่องกง (ถึง 9 ปีระหว่าง พ.ศ. 2391-2400/ค.ศ. 1848-57) เป็นพ่อค้า เป็นนักการทูต เป็นนักเศรษฐศาสตร์ การเมือง เป็นนักการศาสนา เป็นนักแต่งเพลงสวด เป็นกวี เป็นนักประพันธ์ เป็นบรรณาธิการ เป็นนักภาษาศาสตร์ (รู้ถึง 10 ภาษาหลักๆ ทั้งหมดในยุโรป รวมทั้งภาษาจีน) กล่าวกันว่าเบาว์ริงเชื่อมั่นอย่างรุนแรงทั้ง “การค้าเสรี”Ž ทั้ง “พระเยซูเจ้าŽ” ดังนั้นจึงได้กล่าวคำ�ขวัญŽไว้ว่า “Jesus Christ is free trade, free trade is Jesus Christ” หรือ “พระเยซูคริสต์คือการค้าเสรี และการค้าเสรีก็คือพระเยซูคริสต์Ž” ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำ�ลอนดอนและ ยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำ�คนแรกของไทยŽ” ก็ว่าได้ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศŽ” เบาว์ริงเกิด พ.ศ. 2335 (17 ตุลาคม 1792) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ท่านมีอายุมากกว่าพระจอมเกล้าฯ 12 ปี ท่านสิ้นชีวิต พ.ศ. 2415 (23 พฤศจิกายน 1872) เมื่ออายุ 80 ปี หรือ ภายหลังการสวรรคตของพระจอมเกล้าฯ 4 ปีนั่นเอง Lowry)

176

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


“หนังสือ” สนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริง ว่าด้วย “การค้าเสรี”Ž อันเป็น “ระเบียบใหม่”Ž ของโลกในยุคลัทธิจักรวรรดินิยม อาณานิคม ตะวันตก ลงนามกันระหว่างอังกฤษและสยามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ในสมัยรัฐบาล “ประชาธิปไตย”Ž ของพระบาทสมเด็จฯ พระราชินีนาถวิกตอเรีย และ สยามสมัย “ราชาธิปไตย”Ž ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 สนธิสัญญานี้มีความสำ�คัญอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่เป็นเวลาถึง 70 กว่าปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆ ยกเลิกไปในสมัย รัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) แต่กว่าไทยจะมี “เอกราชสมบูรณ์”Ž ก็ต่อเมื่อในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1938) ในสมัย “รัฐธรรมนูญนิยมŽ” ของรัฐบาลนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (ยศและ บรรดาศักดิ์ในขณะนั้น) ที่มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับโลกตะวันตก (และญี่ปุ่น) ทั้งหมด แม้ว่าในปัจจุบันสนธิสัญญาเบาว์ริง (รวมทั้งแผนที่แผ่นนี้) จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วก็ตาม แต่หลักการ ว่าด้วย “การค้าเสรีŽ” ที่ลงรากในสมัยนั้น ก็ยังคงเป็น “ระเบียบแบบแผน”Ž ของเศรษฐกิจกระแสหลักของโลกในปัจจุบันอยู่ ดังนั้น จึงมีความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�ความเข้าใจสนธิสัญญาเบาว์ริงนี้ตามสมควร พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จขึน้ ครองราชสมบัตใิ นปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) พร้อมด้วยการตัง้ พระทัยอย่างมุง่ มัน่ ว่า หากสยามจะดำ�รงความเป็นเอกราชอยู่ได้และพระองค์จะทรงมีฐานะเป็น “เอกกษัตราธิราชสยามŽ” ได้ ก็จะต้องทั้ง “เรียน รู้”Ž และ “ลอกเลียน”Ž รูปแบบจากชาติตะวันตก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอำ�นาจอังกฤษ) จะต้องประนีประนอมประสานแบ่ง ปันผลประโยชน์กับฝรั่ง ทั้งนี้เพราะ 10 กว่าปีก่อนการขึ้นครองราชย์ของพระองค์นั้น จีนซึ่งเป็นมหาอำ�นาจอันดับหนึ่ง เป็น “อาณาจักรศูนย์กลาง”Ž ของโลกเอเชีย (และจีนก็ยังคิดว่าตนเป็น “ศูนย์กลาง”Ž ของโลกทั้งหมด โปรดสังเกตชื่อประเทศและ ตัวหนังสือจีนที่ใช้สำ�หรับประเทศของตน) และก็ถูกบังคับด้วยแสนยานุภาพทางนาวีให้เปิดประเทศให้กับการค้าของฝรั่ง ดังที่เป็นที่ทราบกันดีว่าจีนพ่ายแพ้อย่างย่อยยับใน “สงครามฝิ่นŽ” ปี พ.ศ. 2383-85 (ค.ศ. 1840-42) ตรงกับสมัยรัชกาล ที่ 3 ต้องยกเลิกระบบบรรณาการ “จิ้มก้องŽ” และเปิดการค้าเสรีกับเมืองท่าชายทะเลให้ฝรั่ง (ขายฝิ่นได้โดยเสรี) แถมยังต้อง เสียเกาะฮ่องกงไปอีกด้วย การล่มสลายของจีนต่อ “ฝรั่งอั้งม้อŽ” (คนป่าคนเถื่อน) ครั้งนี้น่าจะส่งอิทธิพลต่อพระจอมเกล้าฯ อย่างมหาศาล ที่ เห็นได้ชัดคือการส่งบรรณาการ “จิ้มก้องŽ” ที่ไทยไม่ว่าจะสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ก็ได้ส่งไปยังเมืองจีน เพื่อถวายกับจักรพรรดิจีนมาเป็นเวลากว่าครึ่งสหัสวรรษนั้นต้องสิ้นสุดลง ดังนั้น พระจอมเกล้าฯ จึงทรงเป็นกษัตริย์ไทยองค์สุดท้ายที่ส่ง “บรรณาการŽ” หรือ “จิ้มก้อง”Ž ครั้งสุดท้ายไปกรุง ปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) หรือก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงเพียง 2 ปีเท่านั้นเอง ในรัชสมัยของพระองค์ สยามก็หลุดออกจากวงจรแห่งอำ�นาจของจีน และก้าวเข้าสู่วงจรแห่งอำ�นาจของอังกฤษด้วยการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง ดังกล่าวข้างต้น แต่เรื่องของอำ�นาจทางการเมืองของตะวันตก ก็หาใช่เหตุผลสำ�คัญประการเดียวในการที่พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จะทรงผูกมิตรอย่างมากกับฝรั่งไม่ ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงเชื่อว่า สยามใหม่ของพระองค์ น่าจะได้รับประโยชน์ในการ ที่จะมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับชาติตะวันตก พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงเรื่องของรายได้ ภาษีอากรภายในประเทศด้วย พระองค์จึงพอพระทัยที่จะแสวงหาและพัฒนาความสัมพันธ์นั้น ดังนั้น เซอร์ จอห์น เบาว์ริงก็โชคดีมาก ที่การเจรจาสนธิสัญญาใหม่ทำ�ได้โดยง่ายกว่าบรรดาทูต หรือตัวแทนของ อังกฤษที่มาก่อนหน้านั้น ที่ต้องเผชิญกับขุนนางและข้าราชสำ�นักสยามที่ไม่เป็นมิตรนัก ซ้ำ�ยังต้องเผชิญกับกษัตริย์ (พระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) ที่ไม่ทรงเห็นด้วยกับการที่สยามจะต้องทำ�สนธิสัญญาที่เสียเปรียบฝรั่งในลักษณะดังกล่าว และ ที่สำ�คัญคือไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้ฝรั่งเข้ามาค้าขาย “ฝิ่น”Ž ได้อย่างเสรี ดังปรากฏอยู่ใน “ประกาศห้ามซื้อขายและสูบกินฝิ่น”Ž ปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) ที่ออกมาบังคับใช้แบบไม่ค่อยจะเป็นผลนัก ก่อนหน้า “สงครามฝิ่น” Žเพียงปีเดียว แม้วา่ เบาว์รงิ จะมีปญ ั หาในการเจรจากับข้าราชสำ�นักบางท่าน (เช่นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และสมเด็จเจ้าพระยา องค์น้อย หรือเจ้าพระยาพระคลัง) แต่ดูเหมือนพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงอยู่ในปีกความคิดฝ่ายเดียวกับเบาว์ริงมาแต่เริ่มแรก ว่าไปแล้วในประเทศเช่นสยามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีอำ�นาจเกือบจะสมบูรณ์นั้น ก็ถือว่าเป็นความได้เปรียบของเบาว์ริง อย่างยิ่ง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 177


ในสมั ย ก่ อ นหน้ า เบาว์ ริ ง นั้ น ความสั ม พั นธ์ ร ะหว่ า งสยามและอั ง กฤษถู ก กำ� หนดไว้ โดยสนธิ สั ญ ญาเบอร์ นี ปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) และเบาว์ริงก็ใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา ทั้งนี้โดยรักษามาตราเดิมๆ ที่ยังใช้ได้ไว้ บาง มาตราก็เพียงแต่ให้นำ�มาบังคับใช้ให้เป็นผล และมีเพียงไม่กี่มาตราที่จะต้องทำ�การแก้ไขใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เบาว์ริง ต้องการขจัดออกไปให้ได้จากข้อผูกมัดของสนธิสัญญาเบอร์นี คือ 1. ข้อความที่ให้คนในบังคับอังกฤษในสยาม ต้องขึ้นกับกระบวนการของกฎหมายสยาม 2. ข้อความที่ให้อำ�นาจข้าราชสำ�นักสยาม ห้ามพ่อค้าอังกฤษไม่ให้ปลูกสร้าง หรือว่าจ้าง หรือซื้อบ้านพักอาศัย ตลอดจนร้านค้าได้ในแผ่นดินสยาม 3. ข้อความที่ให้อำ�นาจต่อเจ้าเมืองในหัวเมือง ที่จะไม่อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษค้าขายในท้องที่ของตน 4. ข้อความที่กำ�หนดให้ฝิ่นเป็นสินค้า “ต้องห้าม”Ž (แบบที่จักรพรรดิจีนและรัชกาลที่ 3 เคยห้าม หรือให้เฉพาะแต่ เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดไป) 5. ข้อความที่กำ�หนดว่าเรือของอังกฤษที่เข้ามายังเมืองท่าบางกอกนั้น จะต้องเสียค่าระวาง (ค่าธรรมเนียมปาก เรือ) สูง และในมาตราเดียวกันของข้อความนี้ ยังมีการห้ามส่งออกข้าวสารและข้าวเปลือกรวมทัง้ ปลาและเกลือ อีกด้วย กล่าวโดยย่อ เซอร์ จอห์น เบาว์ริงมีวัตถุประสงค์ในการเจรจาสนธิสัญญาใหม่ ที่จะขจัดข้อจำ�กัดกีดขวางเรื่อง ของการค้าทั้งหมด และก็ประสบความสำ�เร็จอย่างน่าอัศจรรย์ใจ แต่ก็กล่าวได้เช่นกันว่า ที่พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรง ยินยอมต่อข้อเรียกร้องทางผลประโยชน์ของฝรั่งตะวันตกทั้งหมดนั้น กลายเป็น win-win situation ทั้งสองฝ่าย แม้ว่าบาง เรื่องจะมาเกิดปัญหาอย่างหนักหน่วง และต้องเจรจาแก้ไขภายหลัง เช่น เรื่อง “คนในบังคับ”Ž ของต่างชาติ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ฯลฯ ข้อตกลงหลักๆ ในสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ลงนามกันในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ก็มีสาระสำ�คัญดังนี้ 1. คนในบังคับอังกฤษ จะขึ้นกับอำ�นาจของศาลกงสุลอังกฤษ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต”Ž ขึ้น ในสยามเป็นครั้งแรก ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาหนักของสยามในสมัยต่อๆ มา 2. คนในบังคับอังกฤษ มีสิทธิที่จะทำ�การค้าโดยเสรีตามเมืองท่าของสยาม (หัวเมืองชายทะเล) ทั้งหมด และ สามารถพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เป็นการถาวร คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหาหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในปริมณฑลของกรุงเทพฯ คือ ในบริเวณ 4 ไมล์ หรือ 200 เส้นจากกำ�แพงพระนคร หรือ “ตั้งแต่กำ�แพง เมืองออกไป เดินด้วยกำ�ลังเรือแจว เรือพายทาง 24 ชั่วโมงŽ” ได้ อนึ่ง คนในบังคับอังกฤษได้รับอนุญาตให้ เดินทางภายในประเทศได้อย่างเสรี โดยให้ถือใบผ่านแดนที่ได้รับจากกงสุลของตน 3. มาตรการต่างๆ ทางภาษีอากรเดิมให้ยกเลิก และกำ�หนดภาษีขาเข้าและขาออก ดังนี้ (ก) ภาษีขาเข้ากำ�หนดแน่นอนไว้ที่ร้อยละ 3 สำ�หรับสินค้าทุกประเภท ยกเว้นฝิ่น ซึ่งจะปลอดภาษี แต่จะ ต้องขายให้แก่เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ส่วนเงินแท่งก็จะปลอดภาษีเช่นกัน (ตรงนี้เบาว์ริงและอังกฤษได้ไปอย่างสม ประสงค์ ไม่ต้องทำ� “สงครามฝิ่น”Ž กับไทย แต่ทางฝ่ายไทย คือ เจ้าภาษีนายอากรก็ได้ผลประโยชน์จากการ ค้าฝิ่น ที่ลักลอบทั้งซื้อ ทั้งสูบ ทั้งกิน ที่ทำ�มาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 3 แล้ว ในเวลาเดียวกันเจ้านายราช สำ�นักไทยในรัชกาลใหม่ ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินจนกระทั่งเจ้านายทรงกรมต่างๆ ก็ได้ผลประโยชน์จากเงินราย ได้ภาษีฝิ่นนี้ เพราะมีการให้สัมปทานฝิ่นกับเจ้าภาษีนายอากรมาแล้วก่อนการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงด้วย ซ้ำ�ไป (ข) สินค้าขาออกจะถูกเก็บภาษีเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาษีภายใน หรือผ่านแดน หรือส่งออกก็ตาม 4. พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อและขายโดยตรงกับคนชาวสยาม ทั้งนี้โดยไม่มีการแทรกแซงจากบุคคลที่ สามแต่อย่างใด 5. รัฐบาลสยามสงวนสิทธิท์ จ่ี ะห้ามการส่งออก ข้าว เกลือ และปลา หากเห็นว่าสินค้าดังกล่าวอาจจะขาดแคลนได้ 6. กำ�หนดให้มีมาตราที่ว่าด้วย a most-favored nation ซึ่งหมายถึง “ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใดๆ แก่ชาติอื่นๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกันŽ” สรุปแล้ว สนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ มีสาระสำ�คัญอยูท่ ีก่ ารกำ�หนดให้มี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขตŽ” ให้มี “การค้าเสรี”Ž และ 178

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ให้มีภาษีขาเข้าและขาออกในอัตราที่แน่นอน (3%) แต่ที่ส�ำ คัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ การที่ข้อกำ�หนดต่างๆ ได้รับการเคารพและ ปฏิบตั ติ ามโดยรัฐบาลสยามเป็นอย่างดี มิได้เป็นเพียงแต่ตวั หนังสือในตัวบทกฎข้อสัญญาเท่านัน้ กล่าวได้วา่ นีก่ เ็ นือ่ งจากความ ตั้งพระทัยแน่วแน่ของรัชกาลที่ 4 และขุนนางรุ่นใหม่ที่มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะกลาโหมเป็นผู้นำ� ที่จะ ทำ�ให้สนธิสัญญาเป็นผลอย่างแท้จริง เป็นผลประโยชน์ของราชสำ�นักและขุนนางร่วมกัน เป็น win-win situation ดังกล่าว ข้างต้น และอาจจะมีเพียงมาตราที่เกี่ยวกับเรื่องการส่งออกข้าวเท่านั้นเอง ที่ดูจะคลุมเครือและขึ้นอยู่กับการตีความของราช สำ�นักเป็นสำ�คัญ แต่ก็หาได้เป็นการเสียผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษไม่ สนธิสัญญาเบาว์ริง ยังมีความหมายถึงการที่สยามต้องยอมเสีย “อำ�นาจอธิปไตย” Žบางประการ ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่อง ของการมี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต”Ž ของคนในบังคับอังกฤษเท่านั้น แต่มีทั้งเรื่องของภาษีขาเข้าร้อยละ 3 กับการกำ�หนด ภาษีขาออก ที่ราชสำ�นักสยามต้องยอมปล่อยให้ภาษีศุลกากรนี้หลุดมือไป มีสินค้า 64 รายการทั้งที่สำ�คัญและไม่สำ�คัญถูก กำ�หนดไว้อย่างแน่นอนและละเอียดยิบไว้ในสนธิสัญญานี้ (เบาว์ริงเป็นนักการบัญชีด้วย พร้อมๆ กับการที่ต้องเผชิญเจรจา กับเจ้าพระยาพระคลัง (รวิวงศ์หรือทิพากรวงศ์) ที่ก็มีความละเอียดถี่ถ้วนเช่นกัน) และในจำ�นวนนี้มีถึง 51 รายการที่จะไม่ ต้องเสียภาษีภายในประเทศเลย ส่วนอีก 13 รายการก็ไม่ต้องเสียภาษีขาออกด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่ารายได้สำ�คัญของสยาม (กษัตริย์ เจ้า และขุนนาง) ก็สูญหายไปเป็นจำ�นวนมากด้วยสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศฉบับนี้ และกล่าวได้ว่ารายได้สำ�คัญที่เข้ามาแทนที่ในตอนแรก คือ “ฝิ่น”Ž การพนัน ตลอดจนภาษีอบายมุขด้านอื่นๆ ฯลฯ และต่อมาจะชดเชยด้วยการผลิต “ข้าว”Ž เพื่อส่งออกขนานใหญ่ ที่จะมาเห็นผลชัดเจนในกลางรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ดังนั้น แม้สนธิสัญญาเบาว์ริง จะทำ�ให้การค้าและการผูกขาดของรัฐ หรือที่รู้จักกันในนามกิจการของ “พระคลัง สินค้าŽ” ต้องสิ้นสุดลงก็ตาม แต่ราชสำ�นัก เจ้านาย ขุนนางสยาม ก็ผันตัวไปสู่รายได้จาก “การค้าเสรีŽ” ในรูปแบบใหม่ และ ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาดของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและ บ่อนเบี้ยการพนัน)

การเจรจาสนธิสัญญาเบาว์ริง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง อยู่ในกรุงสยาม 1 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์เจรจากับผู้สำ�เร็จราชการฝ่ายสยามŽ 5 ท่าน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกุศโลบายทางรัฐประศาสนศาสตร์Ž ของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ (1) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (2) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาปยุรวงศ์ หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้มีอาญาสิทธิ์บังคับบัญชาได้สิทธิขาดทั่ว ทั้งพระราชอาณาจักร (3) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ผู้มีอำ�นาจบังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร (4) เจ้าพระยาศรีสรุ ิยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกระลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่ายตะวันตก (5) เจ้าพระยารวิวงศ์ (ต่อมาเปลีย่ นเป็น ทิพากรวงศ์Ž หรือ ขำ� บุนนาค) พระคลัง และสำ�เร็จราชการกรมท่า บังคับ บัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก น่าสนใจที่ว่าทางฝ่ายสยามมีถึง 5 ท่าน (ตามปกติในแง่ของประเพณีโบราณ หากจะมีการแต่งตั้งทูต เป็นผู้แทน ก็ มักจะมีเพียง 3 เท่านั้น) ซึ่งต่างก็ตระหนักดีว่านี่เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ใน 5 ท่านนี้ บุคคลที่มีอำ�นาจอย่าง มากในยุคนั้น คือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ที่มีผลประโยชน์อยู่กับระบอบเดิมตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3 และมักถูกตั้งข้อสงสัยว่าขัดขวางการเจรจากับตัวแทนของอังกฤษและอเมริกามาก่อนหน้าที่เบาว์ริงจะเข้ามา แต่การที่พระจอมเกล้าฯ ทรงสามารถแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสอง ต้องเข้าร่วมเป็นตัวแทนสยามเจรจา และต้องตกลง กับเบาว์ริงจนได้ ก็หมายถึงการที่ “ทรงเล่นเกมŽ” ได้ถูก (“กุศโลบายทางรัฐประศาสนศาสตร์”Ž) หรือไม่ก็ทรงมีอำ�นาจอย่าง สมบูรณ์ของพระองค์เอง น่าเชือ่ ว่าในด้านหนึง่ จากความแก่ชราและโรคภัยทีเ่ บียดเบียนอยู่ ก็ท�ำ ให้สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ (หัวหน้าตระกูลบุนนาค) ต้องคล้อยตามไปกับการเจรจาสนธิสัญญาครั้งนี้ ท่านสิ้นชีวิตไปในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) หรือเพียง 7 วันหลังจากประทับตราในสนธิสัญญาร่วมกับเบาว์ริง และก็น่าเชื่อว่าการค้าแบบใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้ทำ�ให้ฝ่ายเจ้าและขุนนางเดิมต้องเสียประโยชน์ไปมากมาย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 179


แต่อย่างใด ทีส่ �ำ คัญคือบุตรชายของท่าน คือ เจ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์ สมุหพระกระลาโหมŽ ก็เห็นด้วยอย่างยิง่ กับความสัมพันธ์ แบบใหม่นี้ และเป็นตัวจักรสำ�คัญในการบรรลุซึ่งการเจรจา อนึ่ง สนธิสัญญาเบาว์ริงได้กลายเป็นแม่แบบของการที่ประเทศอื่นๆ ที่สำ�คัญๆ (ยกเว้นจีน ที่หมดอำ�นาจไปแล้วใน ศตวรรษนี้) ติดตามเข้ามาทำ�สัญญาแบบเดียวกันอย่างรวดเร็ว มีทั้งหมด 14 ประเทศที่ทำ�สนธิสัญญากับสยามตามลำ�ดับ 1856 สหรัฐอเมริกา 1856 ฝรั่งเศส 1858 เดนมาร์ก 1859 โปรตุเกส 1860 เนเธอร์แลนด์ 1862 เยอรมนี 1868 สวีเดน 1868 นอร์เวย์ 1868 เบลเยียม 1868 อิตาลี 1869 ออสเตรีย-ฮังการี 1870 สเปน 1898 ญี่ปุ่น 1899 รัสเซีย

แผนที่สยามและประเทศราช ฉบับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง “แผนที่เบาว์ริง”Ž เป็นแผนที่ฉบับพิมพ์หิน เขียนโดย โจเซฟ วิลสัน โลวรี ( Joseph Wilson Lowry) ราชบัณฑิต แห่งราชสมาคมภูมศิ าสตร์ กรุงลอนดอน ด้วยตำ�แหน่งและหน่วยงานทีส่ งั กัด ทำ�ให้เชือ่ ว่าโลวรีเขียนแผนทีโ่ ดยอาศัยข้อมูลที่ ดีที่สุดในยุคนั้น ไม่เพียงข้อมูล “เก่าŽ” จากแผนที่ที่มีมาก่อนหน้านี้ คือ ฉบับของเจมส์ โลว ( James Low) พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) และ เฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) ราว พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) จากจดหมายเหตุครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd) พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) และปัลเลอกัวซ์ ( Jean-Baptiste Pallegoix) พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) ที่กล่าวมาแล้ว แต่ยังน่า จะบันทึกข้อมูล “ใหม่”Ž จากการสำ�รวจลุ่มน้ำ�เจ้าพระยา โดย แฮรี ปาร์กส์ ราชทูตอังกฤษ (พ.ศ. 2398 หรือ ค.ศ. 1855) และการสำ�รวจอ่าวสยาม โดย กัปตันจอห์น ริชาร์ด ( John Richards) แห่งราชนาวีอังกฤษ (พ.ศ. 2399-2410 หรือ ค.ศ. 1856-58) อีกด้วย หากจะพิจารณาตามชื่อภาษาอังกฤษที่ใช้คำ�ว่า Map of Siam and Its Dependencies หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ ว่า “แผนที่สยามและประเทศราชŽ” ก็จะเห็นได้ว่าเป็นการมองดูสยามในฐานะของ “รัฐประเพณีŽ” มากกว่าความเป็น “รัฐชาติ สมัยใหม่”Ž ดังนั้น จึงเป็นการมองจากศูนย์กลางและส่วนที่เป็น “สยามแท้Ž” (Siam Proper) ที่แวดล้อมด้วย “ประเทศราชŽ” หรือ “รัฐบรรณาการ”Ž หรือ Dependencies ในภาษาอังกฤษนั่นเอง หากจะกล่าวโดยย่อแล้ว แผนที่นี้ก็ยังมีลักษณะที่ให้ความสำ�คัญกับเรื่องของ “พรมแดนŽ” หรือ border มากกว่า เรื่องของ “เขตแดน”Ž หรือ boundary ดังนั้น “พรมแดนŽ” ของสยามก็มีส่วนที่รายล้อมด้วย “ประเทศราช”Ž เช่น “เชียงใหม่Ž” ซึ่งใช้ตัวสะกดภาษาอังกฤษว่า CHANG MAI (or Xieng Mai) โดยรวมๆ ไว้กับคำ�ที่สะกดอักษรตัวใหญ่ (capital letters) คือ LAOS ที่ถัดขึ้นไปเป็น CHINA และ BIRMAH เนื่องจากผู้จัดทำ�แผนที่นี้น่าจะมีความรู้ความเข้าใจทางสภาพภูมิศาสตร์ที่เน้นอยู่กับเมืองสำ�คัญๆ ที่เป็นศูนย์กลาง ของอำ�นาจ และที่อยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือทะเล เสียมากกว่าที่จะรู้เรื่องราวทางภูมิศาสตร์หรือผู้คนและวัฒนธรรมที่อยู่ลึก เข้าไปในภาคพื้นทวีป ดังนั้น แม่น้ำ�โขงในแผนที่นี้ จึงยังคงไหลตรงลงจากเหนือสู่ใต้ โดยขาดเส้นหักโค้งข้อศอกที่บริเวณ เมืองหลวงพระบางดังเช่นในกรณีของ “แผนที่อาณาจักรสยามและโคชินจีน ฉบับครอว์เฟิร์ด”Ž และ “แผนที่อาณาจักรสยาม 180

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ฉบับสังฆราชปัลเลอกัวซ์”Ž ที่กล่าวถึงมาแล้ว และส่วนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบัน กับกัมพูชา ก็ได้รับความสนใจน้อยมาก แม้จะปรากฏชื่อเมืองหลวงพระบางและเวียงจัน (M.LUANG PHRA BANG, Vieng Chan) ก็ตาม ในส่วนที่เป็นทะเลสาบเขมร ก็มีขนาดเล็กกว่าที่ควรจะเป็นจริง แม้จะมีเมืองหลายเมืองปรากฏด้วยก็ตาม เช่น M. UDONG-Kampong Suai-Kampangsom-Kampot (อุดง-กัมปงสวาย-กัมปงโสม-กัมปอต) แต่ก็ขาดข้อมูลเกี่ยว กับนครวัด ดังเช่นแผนที่ของปัลเลอกัวซ์ที่พิมพ์ขึ้นก่อนหน้า ที่น่าสนใจคือแผนที่ฉบับนี้ให้ความสำ�คัญกับบรรดาเมือง ต่างๆ ในภาคใต้ และในส่วนที่เป็นประเทศราชของสยามในขณะนั้น โดยไล่เรียงไปตั้งแต่ Ligor-Thalung-SingoraPATANI-QUEDAH-CALANTAN-TRINGANU ซึง่ ก็คอ ื นครศรีธรรมราช-พัทลุง-สงขลา-ปัตตานี-เคดะห์-กลันตันตรังกานู เป็นอันสิ้นสุดพรมแดนของ “ประเทศราชŽ” “แผนที่เบาว์ริง”Ž ฉบับนี้ก็ยังมีข้อมูลที่บกพร่องไม่น้อย เช่น เมืองที่อยู่เหนืออ่างทองขึ้นไป ยังถูกวางผิดที่ผิด ทาง เส้นทางน้ำ�เจ้าพระยาตอนบนและลำ�น้ำ�โขงยังคลาดเคลื่อน และสังเกตได้อีกว่าสยามใน “แผนที่เบาว์ริง”Ž นั้นแคบหรือ ผอมกว่าปกติ โดยเฉพาะทางด้านอีสาน หรือตะวันออกเฉียงเหนือ ลำ�น้ำ�โขงในแผนที่ไม่ได้ไหลโค้งออกไปในบริเวณใต้ หลวงพระบางตามที่เป็นจริง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแผ่นดินส่วนในที่ปรากฏบนแผนที่ ยังรอการสำ�รวจที่จะตามมาในภายหลัง หากจะว่าไปแล้ว ดินแดนลาวภาคกลางตอนบน จนถึงล้านนาที่ปรากฏใน “แผนที่เบาวร์ริง”Ž นี้แทบไม่ต่างไปจาก แผนที่ของชาวฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์เลย น่าสังเกตอีกว่า อาณาเขตหรือพรมแดนของสยามตอนบน สิน้ สุดเพียงตากและสวรรคโลก ทัง้ นี้ เพราะเบาว์รงิ ถือว่า เหนือขึ้นไปจากนั้นรวมทั้งเชียงใหม่เป็น “ลาว”Ž และจัดเป็นประเทศราช แต่อาณาเขตตอนล่างครอบคลุมทั้งไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู หรือ “มลายูเดิม”Ž กล่าวได้ว่า “แผนที่เบาว์ริง”Ž ไม่เพียงแสดงให้เห็น “สยามในการรับรู้ของชาวอังกฤษ”Ž แต่ยัง แสดงให้เห็นถึง “สยามในการรับรู้ของชาวสยาม”Ž สมัยนั้นอีกด้วย ในทางวิชาการแผนที่ เชื่อกันว่าทั้งหนังสือและแผนที่ของเซอร์ จอห์น เบาว์ริง จุดประกายให้ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) ทีจ ่ ะสนใจเดินทางมาสยาม มูโอต์เป็นฝรัง่ คนแรกทีอ่ อกสำ�รวจอีสานตัง้ แต่โคราชจนจรดหลวงพระบาง (พ.ศ. 2404 หรือ ค.ศ. 1861) ตามด้วย ฟรานซิส การ์นิเยร์ (Francis Garnier) นักสำ�รวจผู้ค้นพบ “โค้งใหญ่แม่น้ำ�โขง”Ž ตอนใต้ของ หลวงพระบาง (พ.ศ. 2407 หรือ ค.ศ. 1864) การสำ�รวจภูมิประเทศลุ่มน้ำ�โขงโดยชาวฝรั่งเศสนั้น ส่งผลให้พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 “ผู้ทรงรู้เท่าทันตะวันตกŽ” โปรดให้มีการสำ�รวจล้านนาและลาว เพื่อทำ�แผนที่แบบฝรั่งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยทางการสยาม (พ.ศ. 2410-11 หรือ ค.ศ. 1867-68) และจะพัฒนาไปเป็นทั้งหลักวิชาการและการจัดตั้งสถาบันที่เกี่ยวกับการแผนที่อย่างใหญ่หลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมานั่นเอง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 181


แผนที่สยามและประเทศราช ฉบับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) Map of Siam and Its Dependencies (ธวช)


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 183


184

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 185


(27) แผนที่ “อินโดจีน จากผลการสำ�รวจอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศส” ฉบับการ์นิเยร์ (Marie Joseph Francis Garnier) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1873) Carte Générale de L’Indo-Chine

“แผนที่อินโดจีนจากผลสำ�รวจอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศส” (ขนาด 715 x 444 มม.) โดย มารี โยเซฟ ฟรานซิส การ์นิเยร์ (Marie Joseph Francis Garnier) นายทหารเรือฝรั่งเศส จากสมุดแผนที่ Atlas du voyage d’exploration en Indo-Chine effectué pendant les années 1866, 1867 et 1868 par une Commission Francaise พิมพ์ครั้งแรกที่กรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) ตรงกับต้นรัชกาลพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 การ์นเิ ยร์ (Francis Garnier พ.ศ. 2382-2416 หรือ ค.ศ. 1839-73) ข้าราชการเจ้าอาณานิคมฝรัง่ เศส เป็นผูเ้ สนอให้ รัฐบาลฝรั่งเศสเข้ามาสำ�รวจคาบสมุทรอินโดจีนโดยเขาคาดหวังว่าแม่น้ำ�โขง (ฝรั่งเศสสะกดว่า Nam Khong ในแผนที่) อาจ เป็นช่องทางลัดเข้าสูป่ ระเทศจีน การ์นเิ ยร์ได้รบั แต่งตัง้ เป็นรองหัวหน้าคณะสำ�รวจทีเ่ ดินทางเข้ามาในอินโดจีนและประเทศจีน ตอนใต้ระหว่างปี ค.ศ. 1866-68 หรือ พ.ศ. 2409-11 นำ�โดย แอร์เนสต์ ดูดาร์ท เดอ ลาเกร (Ernest Doudart de Lagree, 31 มีนาคม 1823-12 มีนาคม พ.ศ. 2366-2411 หรือ ค.ศ. 1823-68) โดยได้รับมอบหมายให้สำ�รวจเส้นทางการค้าและการ เขียนแผนที่การสำ�รวจจากอินโดจีน โดยเริ่มต้นการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์นี้จากเมืองไซ่ง่อน ล่องขึ้นไปตามลำ�แม่น้ำ�โขง จนถึงมณฑลยูนนาน ในประเทศจีน ในบริบททางประวัติศาสตร์ การสำ�รวจทางธรรมชาติวิทยา ทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนทางมานุษยวิทยาต่างๆ นานา ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแผ่ขยายลัทธิอาณานิคมและจักรวรรดินิยมของฝรั่งเศส (และทั้งของอังกฤษ กับชาติตะวันตกอื่นๆ ด้วย) ดังนั้น เราก็จะได้รับฟังเรื่องราวของ “ค้นพบนครวัด” (!?) ของ Henri Mouhot ในปี พ.ศ. 2404 หรือ ค.ศ. 1861 และที่สำ�คัญก็คือ มีการสำ�รวจแม่น้ำ�โขงจากเวียดนามใต้ไปจนถึงยูนนานโดยชุดของ Ernest Doudart de Lagrée และ Francis Garnier ใน พ.ศ. 2409-11 หรือ ค.ศ. 1866-68 นั่นเอง การสำ�รวจแม่น้ำ�โขงครั้งสำ�คัญปี พ.ศ. 2409-2511 (Mekong Exploration 1866-68 นั้น จะตรงกับสมัย “ผลัด แผ่นดิน” ของสยามจากรัชกาลที่ 4 มารัชกาลที่ 5) นั้น และเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำ�คัญที่จะทำ�ให้ฝรั่งเศสได้อาณานิคมใน เวียดนาม-กัมพูชา-และลาวไปทั้งหมด ทำ�ให้ฝรั่งเศสมีดินแดนประชิดกับเขตอิทธิพลของอังกฤษ โดยมีสยามประเทศของ เรา “คั่น” หรือกลายเป็น “รัฐกันชน” (buffer state) อยู่ตรงกลางดังที่ได้บรรยายอย่างละเอียดในส่วนของ “ภาค 1” มาแล้ว กล่าวได้วา่ นีเ่ ป็นยุคของการแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมของชาติยโุ รปตะวันตก ทีเ่ ราจะเห็นว่าอังกฤษก็มคี วามปรารถนา เดียวกันในการที่จะใช้แม่น้ำ�อิระวดี ทั้งเข้ายึดครองพม่า และเปิดทางเข้าไปด้านหลังของจีน คือ มณฑลยูนนานเช่นกัน นัก วิชาการจะวิจารณ์กันว่าในขณะที่อังกฤษคลั่งไคล้กับแม่น้ำ�อิระวดี ฝรั่งเศสก็คลั่งไคล้กับแม่น้ำ�โขง หรือ une monomaie du Mekong นั่นเอง (ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่ออังกฤษลงนามกับสยามใน “สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อปี พ.ศ. 2398 หรือ ค.ศ. 1855 ฝรั่งเศสก็แข่งขันในการลงนามในสนธิสัญญากับสยามในลักษณะเดียวกัน ดังที่ปรากฏใน “สนธิสัญญามงตีญี” พ.ศ. 2399 หรือ ค.ศ. 1856 (Montigny Treaty-Louis Charles de Montigny) หรืออีกเพียง 1 ปีถัดมานั่นเอง หากเราจะถือเอาปีของการสำ�รวจดังกล่าวเป็นเกณฑ์กลาง ก็จะเห็นได้ว่าก่อนหน้าปี พ.ศ. 2409-11 (ค.ศ. 186668) นั่น ฝรั่งเศสค่อยๆ คืบคลานเข้ามาในอินโดจีน และ “ได้ดินแดน” ไปตามลำ�ดับดังนี้ คือ ในสมัยแรกได้โคชินจีน (หรือ เวียดนามใต้) ไปในปี พ.ศ. 2405 หรือ ค.ศ. 1862 และในหนึ่งปีถัดมาคือ พ.ศ. 2406 หรือ ค.ศ. 1863 ก็ได้ “เขมรส่วนนอก” หรือกัมพูชาไป ในสมัยหลังการสำ�รวจ ฝรั่งเศสก็จะได้อันนัม (เวียดนามกลาง) ไปในปี พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1893) ได้ตังเกี๋ย 186

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


(เวียดนามเหนือ) ไปในปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) และเมื่อได้เวียดนามไปทั้งหมดเป็นการเรียบร้อยแล้ว อีกเพียง 8 ปี ฝรั่งเศสก็เข้ามาประชิดดินแดนสยามประเทศ และก็ได้ลาวไปในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893 ในเหตุการณ์ที่เรารู้จักกันดีว่า “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112”) และท้ายที่สุดก็จะได้ “เขมรส่วนนอก” (หรือ “มณฑลเขมร” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “มณฑลบูรพา” หรือ “เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ) ไปในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) กล่าวโดยย่อ ลัทธิอาณานิคมของฝรั่งเศส ใช้เวลาทั้งหมด 45 ปี จาก พ.ศ. 2405-50 (ค.ศ. 1862-1907) และขอให้ สังเกตว่าเป็นยุคสมัยที่ตรงกับปลายรัชกาลที่ 4 และกินเวลายาวนานตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 นั่นเอง ดังนั้นการสำ�รวจ แม่น้ำ�โขงในปี พ.ศ. 2409-11 (ค.ศ. 1866-68) แม้ฝรั่งเศสจะไม่สามารถใช้แม่น้ำ�โขงเป็นเส้นทางคมนาคมเข้าสู่ทางตอนใต้ ของจีนได้ และแม้ว่าหัวหน้าคณะสำ�รวจคือ ดูดาร์ท เดอ ลาเกร จะสิ้นชีวิตลงในเมืองจีนในตอนปลายของการสำ�รวจก็ตาม แต่ฝรั่งเศสก็จะประสบความสำ�เร็จในการยึดอาณานิคมไปได้ทั้งหมดในอินโดจีน คณะสำ�รวจฝรั่งเศสเริ่มต้นการเดินทางจากกรุงไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) ผ่านลำ�น้ำ�โขงไปยังกัมพูชาและลาว เรื่อยจนถึงมณฑลยูนนาน เสฉวน ไปสิ้นสุดที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน คณะ สำ�รวจเดินทางกลับถึงกรุงไซ่ง่อนในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) รวมระยะเวลาการเดินทางทั้งสิ้น 2 ปี 24 วัน และรวมระยะทางทั้งสิ้น 9,960 กิโลเมตร โดยคณะสำ�รวจได้เขียนแผนที่ครอบคลุมระยะทาง 6,720 กิโลเมตร เส้นทึบที่ปรากฏในแผนที่ แสดงระยะทางสำ�รวจของคณะ เส้นประแสดงเส้นทางสำ�รวจของสมาชิกรายบุคคล การ์นิเยร์ทยอยตีพิมพ์ผลการสำ�รวจครั้งแรกในวารสาร LeTour du Monde : Nouveau Journal des Vogages, XXII (Deuxieme Semestra) (18 บท) พิมพ์โดย Librairie Hachette et Cie. พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) ต่อมารวมเล่มในหนังสือ Voyage d’ exploration en Indo-Chine จัดพิมพ์ครั้งแรกโดยทางการฝรั่งเศสที่กรุงปารีสในปี พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) พิมพ์ใหม่ (ปรับปรุง) พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) และ พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) เพียงไม่กี่เดือนหลังการตีพิมพ์ครั้งแรก การ์นิเยร์ก็เสียชีวิตที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) กล่าวคือเขาได้นำ�กองทหารฝรั่งเศสบุกเข้ายึดเมืองฮานอย ตามแผนการที่จะเข้าครอบครองเมือง ต่างๆ ในเวียดนามเหนือ และใช้แม่​่น้ำ�แดงและเมืองท่าในแคว้นตังเกี๋ย อันจะเป็นเส้นทางเข้าสู่จีนตอนใต้ ที่ไม่สามารถจะ ใช้แม่น้ำ�โขงได้อีกต่อไป แผนการของเขาได้รับการต่อต้านจากชาวเวียดนามจำ�นวนมาก และนี่ก็นำ�มาสู่จุดจบของนายทหาร ข้าราชการอาณานิคมฝรั่งเศสผู้นี้ ในส่วนของแผนทีแ่ ผ่นนี้ มีความสำ�คัญมาก เพราะเป็นแผนทีแ่ ผ่นแรกทีเ่ ขียนหลังการสำ�รวจแม่น�้ำ โขงอย่างเป็นทางการ ของฝรัง่ เศส และเป็นแผ่นแรกทีแ่ สดงให้เห็น “โค้งใหญ่แม่น�้ำ โขง” บริเวณเมืองเชียงคาน จังหวัดเลยของเราในปัจจุบนั อีกด้วย อนึง่ ผลสรุปทีส่ �ำ คัญของการสำ�รวจคือ แม่น�้ำ โขงไม่ใช่ประตูสปู่ ระเทศจีน เพราะเต็มไปด้วยอุปสรรคทัง้ ทางธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์ ทางการฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนแผนด้วยการสร้างเส้นทางรถไฟจากอินโดจีน คือจากฮานอยสู่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนานในประเทศจีน เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) สร้างเสร็จ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) และยังใช้ขนถ่าย สินค้าอยู่ในปัจจุบัน

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 187



แผนทีอ่ นิ โดจีนจากผลการสำ�รวจอย่างเป็นทางการของฝรัง่ เศส ฉบับการ์นเิ ยร์ (Marie Joseph Francis Garnier) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1873) Carte Générale de L’Indo-Chine (ธวช)


190

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 191


192

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 193


194

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 195


(28) แผนที่ “ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช” ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies

แผนที่ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ. 2443 Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies (ขนาด 1,305 x 749 มม.) โดย เจมส์ ฟิตซรอย แมคคาร์ธี จากหนังสือ Surveying and Exploring in Siam พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ตรงกับปลายสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาล ที่ 5 [ซึ่งต่อนี้จะเรียกว่าแผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับหลัง (2443/1900)]Ž นามของเจมส์ ฟิตซรอย แมคคาร์ธี ( James Fitzroy McCarthy) หรือ พระวิภาคภูวดล ชาวอังกฤษเชื้อสายไอริช เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวงของวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ท่านได้เข้ามาพำ�นักอยู่ในสยามประเทศสมัย รัชกาลที่ 5 อันเป็นช่วงของหัวเลี้ยวหัวต่อของลัทธิอาณานิคมอังกฤษ-ฝรั่งเศส ที่คุกคามต่อ “อธิปไตยŽ” ของสยาม และการ แข่งขันกันเหนือดินแดนของลาวและกัมพูชา ท่านพำ�นักอยู่ในสยามถึง 20 ปี และดำ�รงตำ�แหน่ง “เจ้ากรมแผนที่ทหาร”Ž คน แรกอยู่ถึง 16 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2428-2444 (ค.ศ. 1885-1901) เจมส์ แมคคาร์ธี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) และได้งานเป็นข้าราชการอาณานิคมของอังกฤษในอินเดีย ใน ปี พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) ท่านได้ร่วมเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ กับคณะของกองทำ�แผนที่ประเทศอินเดียของอังกฤษ กอง ทำ�แผนที่ดังกล่าวขอเข้ามาในสยามเพื่อทำ� “โครงข่ายสามเหลี่ยมŽ” อันเป็นวิทยาการสมัยใหม่ของการทำ�แผนที่ของฝรั่ง และ เนื่องจากการทำ�แผนที่เป็นเรื่องสำ�คัญที่จำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับ “รัฐสมัยใหม่Ž” ในการสถาปนาอำ�นาจ “อธิปไตย”Ž ของตน แมค คาร์ธีจึงได้รับการเสนอให้เข้ารับราชการงานแผนที่ของราชสำ�นักรัชกาลที่ 5 โดยเริ่มต้นเข้ารับราชการเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) และภายในเวลา 2 ปีก็ได้บรรดาศักดิ์เป็น “พระวิภาคภูวดล”Ž รับราชการเป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างยิ่ง (ทั้งสองท่านเป็น “สหชาติŽ” เนื่องจากถือกำ�เนิดในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ.1853) ปีเดียวกัน แมคคาร์ธีได้รับ พระราชทานของขวัญวันเกิดทุกปี) แมคคาร์ธี หรือ พระวิภาคภูวดล นอกจากจะเป็น “เจ้ากรมแผนที่”Ž คนแรกแล้ว ยังมีส่วนทั้งเป็นอาจารย์และร่วม ก่อตั้งโรงเรียนแผนที่อีกด้วย ผลงานของท่านมีตั้งแต่การทำ�แผนที่ถนนเจริญกรุง กทม. แผนที่ทางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปเมืองพระตะบอง (ร่วมกับ ม. ปาวี) แผนที่ทางสายโทรเลขจากตากไปมะละแหม่ง แผนที่บริเวณปากอ่าวไทย แผนที่วิวาท ชายแดนระหว่างอำ�เภอรามัน ปัตตานี กับแม่น�้ำ เประในมลายูของอังกฤษ แผนทีว่ วิ าทลำ�น�้ำ แม่ตนิ่ แดนเมืองตากต่อเชียงใหม่ อันเป็นกรณีพิพาทเรื่องเก็บค่าอากรตอ (ไม้) ระหว่างเจ้าเมืองตากและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (สมัยที่ยังคงสถานะเป็น ประเทศราชอยู่) แต่ที่สำ�คัญที่สุดที่ท่านจะได้รับการจดจำ�กันไว้ ก็คือการทำ�แผนที่ 2 แผ่นที่กล่าวข้างต้น คือ “แผนที่สยาม-แมค คาร์ธีฉบับแรก (2431/1888)”Ž และ “แผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับหลัง (2443/1900)Ž” ขอให้สังเกตว่าแผนที่ทั้งสองนั้น อุบัติ ขึ้นในช่วงระยะเวลาที่สำ�คัญของประวัติศาสตร์ว่าด้วยแผนที่แบบฝรั่ง ที่เข้ามามีอิทธิพลในเอเชีย และเป็นช่วงก่อนและหลัง “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112Ž” หรือ พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) อันเป็นผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออำ�นาจอธิปไตยของสยาม ที่เคยมี เหนือดินแดนฝั่งซ้ายด้านตะวันออกของแม่น้ำ�โขงทั้งในส่วนที่เป็นลาวและเป็นกัมพูชา (ในปัจจุบัน) นั่นเอง กล่าวโดยย่อ ความพยายามของรัฐบาลสยามของพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทีเ่ ราสามารถจะเข้าใจผ่านการศึกษา จากแผนที่ของแมคคาร์ธีนี้ ก็คือความพยายามของสยามที่ต้องการยืนยันอำ�นาจอธิปไตยของตนในฐานะ “รัฐสมัยใหม่”Ž ที่ ต้องมี “พรมแดน”Ž และ “เขตแดนŽ” ที่แน่นอน แทนที่ “รัฐสมัยเก่า”Ž หรือ “รัฐประเพณีŽ” ที่หามีความแน่นอนและชัดเจนเหนือ 196

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ดินแดนไม่ และการทำ�แผนทีใ่ นลักษณะนี้ ก็ถือกำ�เนิดขึน้ มาในสยามในช่วงระยะเวลาทีต่ ้องแข่งขันและช่วงชิงกับอำ�นาจลัทธิ อาณานิคมฝรั่งเศส ที่คืบคลานเข้ามาจากเวียดนามสู่กัมพูชาและลาว นั่นเอง สำ�หรับ “แผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับแรก (2431/1888)”Ž นั้นเป็นแผนที่สยามในยุคสมัยนั้น ที่ให้รายละเอียดทาง ภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะนี่เป็นผลจากวิทยาการการสำ�รวจ (survey) และการทำ�แผนที่ที่ก้าวหน้ายิ่งในสมัยนั้น แมคคาร์ธีเองก็มีประสบการณ์โดยตรงในการร่วมไปในกองทัพปราบฮ่อŽ ในตอนต้นของรัชสมัยนั้น ทำ�ให้ท่านมีข้อมูลไม่น้อย เกีย่ วกับดินแดนทีเ่ รียกว่า “สิบสองจุไท”Ž นอกเหนือไปจากข้อมูลทีท่ า่ นได้จากเชียงใหม่ และเลยเหนือขึน้ ไปยัง “สิบสองปันนา” Ž ในแผนที่ฉบับจริงของท่านนั้น จะใช้สีเหลืองอ่อนระบายเส้นที่ถือได้ว่าเป็น “พรมแดน”Ž หรือ border ของสยามที่ กำ�ลังอยูใ่ นระหว่างการช่วงชิงกันของสองมหาอำ�นาจจากยุโรป คือ อังกฤษและฝรัง่ เศส และในบางครัง้ ก็มจี นี เข้ามาเกีย่ วข้อง และอ้างอำ�นาจอธิปไตยของตนด้วย คือในแคว้นสิบสองปันนา ที่มีเมืองเชียงรุ่งเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นอำ�นาจ “อธิปไตย”Ž ของสยามที่ปรากฏในแผนที่แมคคาร์ธีฉบับแรกนี้ จึงกินถึงอาณาบริเวณทั้งสองดังกล่าว นั้น คือ สิบสองจุไทกับสิบสองปันนา แต่ก็น่าสนใจว่าแมคคาร์ธีในฐานะของนักการแผนที่ มากกว่าที่จะเป็นนักการเมืองหรือ นักปกครอง ท่านก็ละเว้นที่จะบ่งชี้ “พรมแดน”Ž และ “เขตแดน”Ž ให้ชัดเจนลงไป ฉะนั้น ในส่วนที่เป็นลาวด้านตะวันออกเฉียง เหนือ คือบริเวณที่อยู่เลยไปจาก “หัวพันทั้งห้าทั้งหก”Ž และ “เชียงขวาง”Ž ท่านก็จะระบุแต่เพียงว่า BOUNDARY NOT DEFINED หรือ “เขตแดนยังไม่กำ�หนดŽ” แต่ทนี่ า่ สนใจยิง่ ก็คอื ทางด้านกัมพูชา ทีแ่ ม้วา่ แผนทีน่ จี้ ะยังกำ�หนดให้ “เขมรส่วนใน”Ž หรือเมืองพระตะบอง-เสียมราฐ รวมทั้งเกาะกง ยังอยู่ภายใต้อธิปไตยของสยามก็ตาม แต่เส้น “เขตแดน”Ž ของอินโดจีนของฝรั่งเศสกับสยาม ก็ทับซ้อนและ ไม่ตรงกัน กล่าวคือ แมคคาร์ธีเน้นข้อแตกต่างด้วยการระบุเส้นเขตแดนเหนือทะเลสาบเขมรว่า Boundary as shown on French maps (เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส) และ Approximate boundary from Siamese maps (เส้นเขตแดนโดย ประมาณในแผนที่สยาม) “แผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับแรก (2431/1888)”Ž นี้ ดูจะมีความชัดเจนมากกว่าเมื่อกำ�หนด “พรมแดน”Ž ของสยาม กับพม่าและมลายูของอังกฤษ ดังนั้น พรมแดนสยามจึงครอบคลุมถึง เคดะห์-ปะลิศ-กลันตัน-ตรังกานู (สะกดเป็นภาษา อังกฤษว่า Kedah-Polit-Kalantan-Tringano) อนึ่ง ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า “แผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับแรก (2431/1888)”Ž แผ่นนี้ ไม่ใช่แผนที่จัดทำ�โดยรัฐบาล สยามเป็นแผ่นแรกสุด เพราะเมื่อสองทศวรรษก่อนหน้านี้ รัฐบาลสยามได้มอบหมายให้ชาวฮอลันดานาม ดัยส์ฮาร์ท (Duyshart) เขียนแผนที่สยามขึ้นแผ่นหนึ่ง โดยแผนที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วน แผนที่ดังกล่าวชื่อ Map of the Kingdom of Siam and her dependencies among the Laosians and Cambodians, constructed from surveys which the Siamese Government had made A.D.1867 and 1868 อ้างถึงใน Bibliography of Siam หรือ “บรรณานุกรมสยาม” เรียบเรียงโดย

เอิร์นเนสต์ ซาโตว (Ernest Satow) กงสุลอังกฤษประจำ�สยามสมัยนั้น และตีพิมพ์ที่สิงคโปร์ พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) แต่ น่าเสียดายว่าแผนทีน่ ี้ได้หายสาบสูญไป ดังนัน้ แผนที่โดย แมคคาร์ธี จึงเป็นแผนทีโ่ ดยคำ�สัง่ รัฐบาลสยามเก่าแก่สดุ ทีป่ รากฏ มีหลักฐานอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการเข้าใจผิดว่าแมคคาร์ธีได้เขียนแผนที่สยามขึ้นอีกแผ่นเมื่อปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) แต่จาก หลักฐานเท่าทีค่ น้ คว้าได้ แมคคาร์ธเี ขียนแผนทีส่ ยามเพียงสองแผ่น อีกแผ่นหนึง่ คือแผนทีซ่ งึ่ แทรกอยูใ่ นหนังสือ Surveying and Exploring in Siam ที่ท่านได้เรียบเรียงและพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) หรือ 12 ปีหลังจาก แผ่นแรกนั่นเอง สำ�หรับแผนที่ฉบับที่สองหรือฉบับสุดท้ายของท่าน คือ “แผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับหลัง (2443/1900)”Ž นั้น ถือ ได้ว่าเป็นแผนที่สยามขนาดใหญ่สุดและละเอียดสุดเท่าที่เคยจัดพิมพ์มา (อัตราส่วน 1:2,000,000 ทั้งยังมีมาตราเทียบเส้นไมล์-กิโลเมตรŽ และมีแผนผังของกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ประกอบด้วย) แผนที่นี้พิมพ์เป็นสองส่วน โดยส่วนแรกครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ กลาง และอีสาน ส่วนหลังครอบคลุมพื้นที่ ภาคใต้และคาบสมุทรมลายู โดยแสดงเขตปกครองของสยามแบ่งเป็นมณฑลต่างๆ โดยเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ และขอให้ ตั้งข้อสังเกตว่าแผนที่แผ่นนี้ จัดทำ�ขึ้นในปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่งก็หมายความว่า ก่อนการเปลี่ยนแปลงในแง่อำ�นาจ อธิปไตยเหนือดินแดนต่างๆ ในลาวและกัมพูชากับมลายู อันเกิดขึน้ จากสนธิสญ ั ญาระหว่างสยามกับฝรัง่ เศส และกับอังกฤษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 197


ตามลำ�ดับในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กับ พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และท้ายที่สุด พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ดังที่กล่าวมา แล้วในภาคแรก ขอให้เรามาดูวา่ “แผนทีส่ ยาม-แมคคาร์ธฉี บับหลัง (2443/1900)”Ž ให้ขอ้ มูลในแง่ของมณฑลการปกครองŽ ซึง่ ก็หมาย รวมถึง ดินแดน-พรมแดน-เขตแดนŽ ต่างๆ ของสยามปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 อย่างไร ตามลำ�ดับ ดังนี้ Munton Tawan Tok Chieng Nua (มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ น่าจะหมายถึงมณฑลพายัพ) Munton Pitsunalok (มณฑลพิษณุโลก) Munton Pechabun (มณฑลเพชรบูรณ์) Munton Nakawn Sawan (มณฑลนครสวรรค์) Munton Krung Kao (มณฑลกรุงเก่า) Munton Nakawn Chaisi (มณฑลนครไชยศรี) Munton Krung Tep (มณฑลกรุงเทพ) Munton Rachaburi (มณฑลราชบุรี) Munton Champawn (มณฑลชุมพร) Munton Nakawn Sitammarat (มณฑลนครศรีธรรมราช) Munton Tawan Tok (มณฑลตะวันตก น่าจะหมายถึงมณฑลภูเก็ต) Munton Maleyu (มณฑลมลายู ที่รวมทั้งปัตตานีและที่สยามยังคงมีอธิปไตยเหนือเคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-ตรัง กานู จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 หรือ ค.ศ. 1909) Munton Nua (มณฑลเหนือ น่าจะหมายถึงมณฑลอุดร) Munton Tawan Ok Chieng Nua (มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ น่าจะหมายถึงมณฑลอีสาน ที่สยามยังคงมี อธิปไตยเหนือเมืองทางฝั่งขวาทิศตะวันตกของแม่น้ำ�โขง เช่น เมืองนครจัมปาศักดิ์ เมืองมโนไพร (Melu - prey) แต่หาได้ รวมเมืองเชียงแตง หรือ Stung Treng ไม่) Munton Rachasima (มณฑลราชสีมา) Munton Kamen (มณฑลเขมร ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลบูรพา หรือที่รู้จักกันในนามของเขมรส่วนในŽ อัน ประกอบด้วยเมืองสำ�คัญ คือ พระตะบอง-เสียมราฐ-ศรีโสภณ ทีส่ ยามยังคงมีอธิปไตยเหนือเมืองเหล่านัน้ อยู่ รวมถึงส่วนหนึง่ ของทะเลสาบเขมร และอาณาบริเวณใต้เทือกเขาพนมดงรัก อยูม่ าจนกระทัง่ ถึงหนังสือสัญญาปี พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) Munton Prachin (มณฑลปราจีน) Munton Chantaburi (มณฑลจันทบุรี ซึ่งยังครอบคลุมถึง เกาะกงŽ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907)

198

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


แผนที่ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) Map of the Kingdom of Siam and (ธวช)

Its Dependencies

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 199


200

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 201


202

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 203


204

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 205


(29) แผนที่ “แสดงการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดนของสยาม” โดย จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) Map Illustrating the Siamese Frontier Changes แผนที่ Map Illustrating the Siamese Frontier Changes, 1893. (ขนาด 313 x 232 มม.) โดย จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว ( John George Bartholomew) นักแผนที่ชาวอังกฤษ เป็นแผนที่ประกอบบทความ The Siamese Frontier (“แนวพรมแดนของสยาม”) โดย คูตส์ ทรอทเตอร์ (Coutts Trotter) ในวารสาร The Scottish Geographical Magazine ปีที่ 9 เล่มที่ 9 หน้า 449-454 พิมพ์ที่กรุงเอดินเบอร์ก สกอตแลนด์ พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ตรงกับกลางรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2433-39 (ค.ศ. 1890-96) หรือช่วงสามปีก่อนและหลัง “เหตุการณ์ ร.ศ. 112” สยามกลับมาเป็นที่ สนใจในหมู่ชาวยุโรปอีกครั้ง ในช่วงหกปีนี้ ได้มีการตีพิมพ์แผนที่สยาม หรือ แผนที่คาบสมุทรอินโดจีน เป็นจำ�นวนมากถึง 21 แผ่น ได้แก่ แผนที่ Farther India หรือ “อินเดียไกลโพ้น” พิมพ์ที่กรุงลอนดอน พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) แผนที่ Map of Southern China and Indo China. Showing Proposed French & English Railways. หรือ “แผนที่จีนตอนใต้และ อินโดจีน แสดงโครงการเส้นทางรถไฟของฝรั่งเศสและอังกฤษ” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แผนที่ Carte de l’IndoChine หรือ “แผนที่อินโดจีน” พิมพ์ที่กรุงปารีส พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) แผนที่ Sketch Map of the Kingdom of Siam, and Its Dependencies. หรือ “แผนที่ฉบับร่างของราชอาณาจักรสยามและประเทศราช” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แผนที่ Siam. Anam, Cambodia, Cochin China, Tong King. หรือ “สยาม อันนัม กัมพูชา โคชินจีน ตังเกี๋ย” พิมพ์ที่ กรุงเอดินเบอร์กและลอนดอน พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) แผนที่ Burma Siam and Anam. หรือ “พม่า สยาม และอันนัม” พิมพ์ที่กรุงลอนดอน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) แผนที่ Carte du Royaume de Siam หรือ “แผนที่ราชอาณาจักรสยาม” พิมพ์ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน แผนที่ Carte du Siam. หรือ “แผนที่สยาม” จากหนังสือพิมพ์ La France illustrée พิมพ์ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน แผนที่ Carte du Siam. หรือ “แผนที่สยาม” จากหนังสือพิมพ์ l’Univers illustréé พิมพ์ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน แผนที่ French Indo-China and Siam หรือ “อินโดจีนฝรั่งเศสและสยาม” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แผนที่ Map Illustrating the Siamese Frontier Changes, 1893. หรือ “แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดนของสยาม ค.ศ. 1893” พิมพ์ที่กรุงเอดินเบอร์ก ในปีเดียวกัน แผนที่ The French in Siam. A Change in the Political Map of Asia. หรือ “พวกฝรั่งเศสในสยาม การ เปลี่ยนแปลงในแผนที่การเมืองของเอเชีย” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แผนที่ Ostindien II: Hinterindien. หรือ “อินเดียตะวันออก II: อินเดียไกลโพ้น” พิมพ์ที่กรุงไลปซิก ประเทศ เยอรมนี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) แผนที่ Indo-Chine หรือ “อินโดจีน” พิมพ์ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน แผนที่ Siam หรือ “สยาม” พิมพ์ที่กรุงชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกัน แผนที่ Siam Burma & Anam หรือ “สยาม พม่า และ อันนัม” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แผนที่ Carte de l’Indo-Chine หรือ “แผนที่อินโดจีน” พิมพ์ที่กรุงปารีส พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) แผนที่ The Problems of Indo-China. หรือ “ปัญหาของอินโดจีน” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แผนที่ Burma and Siam หรือ “พม่าและสยาม” พิมพ์ที่กรุงฟิลลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) แผนที่ Carte de la Mission de Siam หรือ “แผนที่คณะมิสซังในสยาม” พิมพ์ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน และแผนที่ Further India หรือ “อินเดียไกลโพ้น” พิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน 206

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


สังเกตว่าแผนที่ 7 แผ่นจากจำ�นวนแผนที่ทั้งหมด 21 แผ่น หรือหนึ่งในสาม พิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) หรือ ร.ศ. 112 ปีที่เกิด “วิกฤตการณ์ปากน้ำ�” เมื่อเรือรบฝรั่งเศส คือ “แองกองสตังต์” (Inconstant) และ “โคแมต” (Comète) สามารถตีฝา่ แนวป้องกันทีส ่ นั ดอนปากแม่น�้ำ เจ้าพระยา และแล่นเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ โดยจอดทอดสมออยูห่ น้า สถานทูตฝรั่งเศส เล็งปืนไปทางพระบรมมหาราชวัง ส่งผลให้ทางสยามยินยอมเจรจากับฝรั่งเศส นำ�ไปสู่ “หนังสือสัญญากรุง สยามกับกรุงฝรั่งเศส” ลงนามวันที่ 3 ตุลาคม ปีเดียวกัน มีผลให้สยามเสียอำ�นาจอธิปไตยในพื้นที่ฝั่งซ้ายและเกาะทั้งหมด ในแม่น�้ำ โขงให้กบั ฝรัง่ เศส เหตุการณ์และผลของสนธิสญ ั ญานีไ้ ด้น�ำ ไปสูก่ ารสร้าง “วาทกรรมเสียดินแดน” โดยชนชัน้ นำ�สยาม ซึ่งวาทกรรมนี้ได้ถูกนำ�มาใช้อีกครั้งโดยหลวงวิจิตรวาทการในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และอีกหลายต่อหลายครั้งใน ปัจจุบัน แผนทีโ่ ดยบาร์โธโลมิวแผ่นนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลีย่ นแปลงแนวพรมแดนของสยามหลังสนธิสญ ั ญาดังกล่าว เป็น แผนที่โดยนักเขียนแผนที่ผู้เลื่องชื่อที่สุดของอังกฤษ จึงอาจถือได้ว่าเป็นหลักฐานแสดงการรับรู้ของชนชั้นนำ�อังกฤษว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงในคาบสมุทรอินโดจีนขณะนั้น สรุปโดยย่อว่า พื้นที่สีชมพูคือดินแดนภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ (พม่าและ อินเดีย) สีเทาคือดินแดนภายใต้อิทธิพลฝรั่งเศส (ตังเกี๋ย โคชินจีน และกัมพูชา) สีเหลืองคือราชอาณาจักรสยามและดินแดน ภายใต้อิทธิพลของสยาม ส่วนพื้นที่สีเหลืองที่อยู่ภายในเส้นสีเทาทึบ คือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงที่สยามยกให้แก่ฝรั่งเศส

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 207



แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดนของสยาม โดย จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)

Illustrating the Siamese Frontier Changes (ธวช)

Map


210

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 211


212

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 213


214

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 215


(30) แผนที่ “ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช” ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies ดูคำ�อธิบายแผนที่ (28) หน้า 196-198

216

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


แผนที่ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ.2443 (ค.ศ.1900) Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies


218

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 219


220

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 221


222

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 223


224

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 225


(31) แผนที่ “อินโดจีนตะวันออก” ฉบับปาวี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) Indo-Chine Orient.le 1902 Dressée par A. Pavie, Paris

แผนที่อินโดจีนตะวันออกŽ พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) (ขนาด 235 x 171 มม.) โดย ฌ็อง มารี ออกุสต์ ปาวี (Jean 1847-1925) ข้าราชการอาณานิคมฝรัง่ เศส นักสำ�รวจและนักแผนที่ จากสมุดแผนที่ Mission Pavie. Indo-Chine. Atlas. Notices et cartes par Auguste Pavie พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1903 หรือ พ.ศ. 2446 ตรงกับปลายรัชกาลพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชุด Mission Pavie หรือ ภารกิจ ในอินโดจีนของปาวี พ.ศ. 2422-38 (ค.ศ. 1879-1895)Ž หนังสือชุดนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ Etudes diverses (3 เล่ม) Géographie et voyages (7 เล่ม) และ Atlas (1 เล่ม) โดยรวบรวมผลการวิจัยที่ท�ำ แล้วเสร็จในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และสยาม ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ ผลงานชุดนี้ทยอยพิมพ์ที่กรุงปารีส ระหว่างปี พ.ศ. 2441-62 (ค.ศ. 1898-1919) คณะสำ�รวจที่นำ�โดยปาวี ได้สำ�รวจแม่น้ำ�โขงทั้งสองฟาก นับเป็นการสำ�รวจที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดนับจากคณะ สำ�รวจที่นำ�โดย Ernest Doudart de Lagrée และ Francis Garnier ระหว่าง พ.ศ. 2409-11 (ค.ศ. 1866-68) ที่กล่าวถึงมา แล้ว ดังที่กล่าวมาแล้วเช่นกันว่า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่าง “รัชสมัย” ของพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 กับต้นรัชสมัย ของพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 จากการจลาจลในเมืองจีนที่มี “กบฏไต้เผ็งŽ” นั้น ทำ�ให้กองทัพของ “ฮ่อŽ” ที่ถูกปราบปราม หนีถอยร่นลงมาในเขตทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ในดินแดนที่เป็นเวียดนามเหนือ และลาวในปัจจุบัน ดังนั้นรัฐบาลสยามจึงได้ส่งกองทัพขึ้นไป “ปราบฮ่อ”Ž หลายครั้งหลายหนด้วยกันในช่วงปี พ.ศ. 2418, 2420, 2428, 2430 (ค.ศ. 1875, 1877, 1885, 1887) ความปั่นป่วนดังกล่าวก็เปิดโอกาสให้ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงและขยายอาณานิคมของ ตนในเวียดนามเหนือและลาว และนี่ก็เป็นที่มาของบุคคลที่ทำ�ให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนต่างๆ ไปเป็นอาณานิคม และทั้งสยาม และฝรั่งเศสก็ปะทะช่วงชิงอำ�นาจอธิปไตยเหนือดินแดนลาวดังกล่าว บุคคลผู้นี้ คือ ฌ็อง มารี ออกุสต์ ปาวี (Jean Marie Auguste Pavie, 1847-1925) ปาวีเป็นอดีตทหารเรือและข้าราชการอาณานิคม เป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลข ต่อมาได้รับ แต่งตั้งเป็นกงสุลฝรั่งเศสประจำ�สยาม พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ผลงานของเขาก็คือ สนธิสัญญาลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ซึ่งมีผลให้สยามสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขง (หรือลาวเกือบทั้งหมด) ปาวีมีความสามารถและความชำ�นาญอย่างยิ่งในการแต่งหนังสือ ทำ�การค้นคว้าวิจัย และทำ�แผนที่จำ�นวนมากมาย มหาศาล เช่นในฉบับภาษาฝรั่งเศส 11 เล่มดังที่กล่าวมาแล้ว และงานดังกล่าวนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Walter E.J. Tips และตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยสำ�นักพิมพ์ White Lotus ตามลำ�ดับ (ยกตัวอย่างเช่น PAVIE Marie Auguste Pavie,

MISSION EXPLORATION WORK: Vol. 1 of the Pavie Mission Indochina Papers (1879-1895), ATLAS OF

THE PAVIE MISSION:Vol. 2 of the Pavie Mission Indochina Papers (1879-1895), TRAVELS REPORTS OF THE PAVIE MISSION: Vol. 3 of the Pavie Mission Indochina Papers (1879-1895), TRAVELS IN CENTRAL

VIETNAM AND LAOS: Vol. 4 The Pavie Mission Indochina Papers (1879-1895), TRAVELS IN UPPER LAOS AND ON THE BORDERS OF YUNNAN AND BURMA:Vol. 5 The Pavie Mission Indochina Papers

(1879-1895), TRAVELS IN LAOS AND AMONG THE TRIBES OF SOUTHEAST INDOCHINA:Vol. 6 The Pavie Mission Indochina Papers (1879-1895)

226

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


“แผนที่อินโดจีนตะวันออก พ.ศ. 2445Ž” หรือ “Indo-Chine Orient.le 1902 แผ่นนี้ Dressée par A. Pavie, Paris, 1903” แผ่นนี้ ตีพิมพ์ขึ้นภายหลัง “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112”Ž (พ.ศ. 2436 หรือ ค.ศ. 1893) ที่ฝรั่งเศสได้ดินแดน “ลาว”Ž หรือ ฝั่งซ้ายด้านตะวันออกของแม่น้ำ�โขงไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ “เขมรส่วนใน”Ž หรือ เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณŽ ที่จะได้ไปใน ปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ดังนั้น แผนที่นี้จึงแสดงภาพทางภูมิศาสตร์ว่าด้วยแผนที่ของยุคสมัยนั้นเป็นอย่างดี แต่ก็แสดง ให้เห็นถึง “แผนการŽ” การขยายดินแดนเพิ่มที่จะปรากฏเป็นจริงในเวลาอีกเพียง 5 ปีต่อมา น่าสังเกตว่าแผนที่นี้ระบุ “พรมแดนŽ” หรือ “เขตแดน”Ž ของหลายๆ รัฐหรือแว่นแคว้นต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น สยาม กับพม่า (Birmanie) หรือ จีนกับตังเกี๋ย (Chine-Tonkin) หรือ “อันนัม-โคชินจีน”Ž (Annam-Cochin Chine) แต่ในกรณี ของ “สยาม”Ž กับลาวและกัมพูชา (Siam-Laos-Cambodge) กลับไม่ระบุพรมแดนที่แน่นอนระหว่างสยามกับ”อินโดจีน ฝรั่งเศส”Ž ขอให้สังเกต “เส้นทแยง”Ž ที่ปรากฏในบริเวณ “ไซยะบุรีŽ” ที่อยู่ตรงข้ามกับหลวงพระบาง บริเวณ “จำ�ปาศักดิ์-มโน ไพร”Ž เหนือเมืองสตุงเตร็ง (เชียงแตง) บริเวณเขมรส่วนในŽ ซึ่งก็คือ “พระตะบอง-เสียมราฐ-เกาะกงŽ” ตลอดจนอาณาบริเวณ ในจังหวัด 25 กิโลเมตร (625 เส้น) บนฝั่งขวาฟากตะวันตกแม่น้ำ�โขงŽ ซึ่งก็หมายความถึงบริเวณภายในระยะ 25 กิโลเมตร จากริมแม่น้ำ�โขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน (ในปัจจุบัน) ที่ถูกทำ�เส้นทแยงŽ ไว้เช่นกัน ดินแดนต่างๆ เหล่านีแ้ หละ ทีอ่ ยูใ่ นช่วงของการเจรจาต่อรองและ “แลกเปลีย่ น-โอนŽ” กันระหว่างสยามและฝรัง่ เศส ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2445-47-50 (ค.ศ. 1902-04-07) นั่นเอง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 227



แผนที่อินโดจีนตะวันออก ฉบับปาวี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) Indo-Chine Orient.le 1902 Dressée par A. Pavie, Paris (ธวช)


230

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 231


232

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 233


(32) แผนที่ “พม่าและอินเดียไกล” โดย จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว (John George Bartholomew) พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) Burma and Farther India

(ขนาด 313 x 233 มม.) โดย จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว ( John George Bartholomew) นักแผนที่ชาวอังกฤษ จากสมุดแผนที่ Cassell’s Atlas Containing a Complete Series of Maps of the World พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแผนที่ฝรั่งแผ่นแรกที่พิมพ์หลังสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ในต้นฉบับของแผนที่นี้ มีการระบายสีอย่างงดงาม โดยใช้พื้นที่สีเหลืองระบายในส่วนของอาณาเขตสยาม หรือ “ขวานทอง”Ž ส่วนดินแดนภายใต้ การปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายูใช้สีชมพู ในขณะที่สีม่วงคือดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส หากเราจะลองทบทวนเรือ่ งราวของ “แผนที”Ž่ ทีม่ าพร้อมกับลัทธิอาณานิคมของอังกฤษและฝรัง่ เศส ทีเ่ ข้ามายึดครอง ดินแดนในภาคพื้นทวีปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มจากการค่อยๆ เข้าครอบครองเกาะปีนัง (พ.ศ. 2329 หรือ ค.ศ. 1786) เกาะสิงคโปร์ (พ.ศ. 2362 หรือ ค.ศ. 1819) พม่าตอนล่าง-ตอนกลาง-และตอนบนตามลำ�ดับระหว่าง พ.ศ. 2367-2428 หรือ ค.ศ. 1824-85 รวมทัง้ รัฐต่างๆ ในมลายู ทีอ่ งั กฤษจะได้เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-ตรังกานูไปในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) กล่าวโดยย่ออังกฤษใช้เวลาทัง้ สิน้ 123 ปี ทีจ่ ะเข้าครอบครองอาณานิคมทัง้ หมดนี้ (เทียบได้วา่ จากต้นสมัยพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1 จนถึงปลายสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5) และก็มามีพรมแดนประชิดติดกับสยาม ในส่วนของฝรั่งเศส ซึ่งจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศของตนเองในยุโรป คือ “การปฏิวัติฝรั่งเศส”Ž และ “สงครามนโปเลียน”Ž ทำ�ให้ฝรั่งเศสเข้ามาสถาปนาอาณานิคมของตน “ช้ากว่า”Ž แต่นับตั้งแต่ฝรั่งเศสได้ดินแดนเวียดนามใต้ หรือโคชินจีนไปในปี พ.ศ. 2405 หรือ ค.ศ. 1862 ฝรั่งเศสก็ค่อยๆ ขยายเข้ายึดครองกัมพูชา (หรือเขมรส่วนนอก) ไปใน ปี พ.ศ. 2406 หรือ ค.ศ. 1863 จากนั้นก็ได้เวียดนามกลางและเวียดนามเหนือไป และที่สำ�คัญคือได้ลาวหรือดินแดนทาง ฝั่งซ้ายภาคตะวันออกของแม่น้ำ�โขงไปใน “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112Ž” เมื่อปี พ.ศ. 2436 หรือ ค.ศ. 1893 และท้ายที่สุดได้ ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำ�โขงในส่วนที่เป็น “ไซยะบุรี”Ž กับ “นครจัมปาศักดิ์”Ž และ “เขมรส่วนในŽ” (เสียมราฐ-พระตะบองศรีโสภณ-เกาะกง) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2447-50 หรือ ค.ศ. 1904-07 กล่าวโดยย่อฝรั่งเศสใช้เวลาทั้งสิ้น 45 ปี ที่จะเข้า ครอบครองอาณานิคมทั้งหมดนี้ (เทียบได้ว่าจากปลายสมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จนถึงปลายสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5) และก็มามีพรมแดนประชิดติดกับสยามเช่นกัน และนีก่ ท็ �ำ ให้สยามประเทศต้องอยูใ่ นสภาพทีถ่ กู “ประกบ” อŽ ยูต่ รงกลาง ทีท่ �ำ ให้ผนู้ �ำ ของสยามไม่วา่ จะเป็นพระมหา กษัตริย์ดังเช่นพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 กับพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ตลอดจนบรรดาเสนาบดีทั้งหลาย ที่จะต้อง ดำ�เนินวิเทโศบายที่จะรักษาเอกราชของประเทศไว้ให้จงได้ ในขณะเดียวกันจากการแข่งขันของทั้งสองมหาอำ�นาจอังกฤษกับ ฝรั่งเศส ความต้องการที่จะประสานผลประโยชน์กันก็ทำ�ให้สยามกลายเป็น “รัฐกันชนŽ” (buffer state) ดังที่เราได้เห็นมาแล้ว จาก “หนังสือปฏิญญาระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสŽ พ.ศ. 2438/39” (The Anglo-French Declaration of 15 January 1896) สยามประเทศก็ดำ�รงเอกราชŽอยู่ได้เพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการเมืองของลัทธิอาณานิคมนี้แหละ ที่วิทยาการของโลกสมัยใหม่ว่าด้วยการ ทำ� “แผนที”่ Ž ก็ท�ำ ให้สยามประเทศของเรามีพรมแดน-เขตแดน ทีแ่ วดล้อมด้วยมหาอำ�นาจอังกฤษและฝรัง่ เศส สยามประเทศ มีรูปมีร่างกลายเป็น “ขวานทอง”Ž ก็ด้วยการกำ�หนดพรมแดน-เขตแดนลงใน “แผนที่Ž” ที่เป็นมรดกตกทอดมา จาก “สยาม 234

แผนที่

Burma and Farther India

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ประเทศŽ” กลายเป็น “ประเทศไทย”Ž และประเทศรอบๆ เรา ต่างก็มาจากอดีตอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ที่กลาย เป็นพม่า มาเลเซีย กลายเป็นเวียดนาม กัมพูชา และลาว อย่างที่เห็นในปัจจุบัน “แผนที่พม่าและอินเดียไกล พ.ศ. 2452Ž” หรือ “Burma and Farther India ค.ศ. 1909Ž” ที่เขียนขึ้นโดยจอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว ( John George Bartholomew) นักแผนที่ชาวอังกฤษ ดูเหมือนจะสรุปเป็นคำ�พูดให้เราเห็นว่า “นี่ไง ภูมิสถาน และบ้านเมืองของท่าน” นั่นเอง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 235



แผนที่พม่าและอินเดียไกล โดย จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว ( John George Bartholomew) พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) Burma and Farther India (ธวช)


238

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 239


240

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 241


(33) แผนที่ “กองข้าหลวงปักปันเขตร์แดนระหว่างสยาม-อังกฤษ” พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) Anglo-Siamese Boundary Commission

“พรมแดนŽ” และ “เขตแดนŽ” ของ “สยามประเทศไทยŽ” ในฐานะ “รัฐสมัยใหม่” นŽ ัน้ ถูกกำ�หนดขึน้ โดย “การเมืองของ ลัทธิอาณานิคมฝรั่งเศส-อังกฤษ”Ž กับการทำ� “แผนที่Ž” เหนือ “ดินแดน”Ž และ “ชนชาติŽ” ที่อยู่รายรอบและรวมกันเป็นหน่วย ของดินแดนต่างๆ ในรูปแบบของ “รัฐประเพณี”Ž และในอาณาบริเวณทีส่ ยามมีดนิ แดนติดกับอินโดจีนของฝรัง่ เศส ก็มหี นังสือ สัญญาและแผนที่ ที่ทำ�ขึ้นตามเหตุการณ์สำ�คัญๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 (ซึ่งก็คือ ร.ศ. 112 หรือ ค.ศ. 1893) จนกระทั่งหนังสือ สัญญา พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่ทำ�ให้พรมแดนด้านนี้ มีรูปร่างอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน และ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ทางด้านอาณาบริเวณของสยามที่ติดกับพม่าและมลายูของอังกฤษ ก็มีทั้งหนังสือสัญญาและแผนที่ ที่เป็นตัวกำ�หนด “พรมแดน”Ž และ “เขตแดนŽ” ที่จะมีหนังสือสัญญาหลังสุดในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ที่กำ�หนดเขตแดน ของสยามในภาคใต้ กับมลายูภาคเหนือของอังกฤษ คือ เคดะห์ (ไทรบุรี) ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ในปลายรัชสมัยพระ จุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ในสมัยดังกล่าวนี้แหละ ที่เราสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า “สยาม”Ž (ที่ต่อมาเป็น “ประเทศไทย”Ž) ก็มีรูปลักษณ์เป็น เสมือน “ขวานทอง”Ž อย่างที่เห็นและรับรู้กันในปัจจุบัน “แผนที่กองข้าหลวงปักปันเขตร์แดนระหว่างสยาม-อังกฤษ” (Anglo-Siamese Boundary Commission Map) เป็นแผนที่แสดงแนวเขตแดนระหว่างประเทศสยามกับเมืองมลายู ซึ่งอยู่ในความปกครองของประเทศอังกฤษ และได้ใช้เป็น แผนที่แสดงแนวเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แผนที่นี้จัดทำ�ขึ้นโดยกองข้าหลวงปักปันเขตแดน สยาม-อังกฤษในปี พ.ศ. 2453-55 (ค.ศ. 1910-12) คือช่วงเปลี่ยนรัชสมัยจากรัชกาลที่ 5 มาเป็นรัชกาลที่ 6 และก็เกิดขึ้น ภายหลังจากการที่กองข้าหลวงปักปันเขตแดนของสยามและอังกฤษ ได้สำ�รวจและตกลงกันในการจัดทำ�หลักเขตแดนตาม สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ ฉบับวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ที่กล่าวถึงข้างต้นนั่นเอง ทางฝ่ายสยามมีพลตรีพระยาศักดาภิเดช เป็นประธานข้าหลวงปักปันเขตแดน และฝ่ายอังกฤษมีพันเอก แจ็คสัน (H.M. Jackson) เป็นประธาน (โดยไม่มีตัวแทนของรัฐมลายูที่ถูกแบ่งปันกันครั้งนี้ ได้เข้ามาเป็นตัวแทนร่วมแต่อย่างใด) แผนที่ระวางดังกล่าวได้มีการจัดทำ�ไว้จำ�นวน 4 ชุด และได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างประธานข้าหลวงปักปันเขตแดนทั้ง ฝ่ายสยามและฝ่ายอังกฤษไว้ทงั้ 4 ชุด โดยได้มอบให้ฝา่ ยสยามและฝ่ายอังกฤษถือไว้ฝา่ ยละ 2 ชุด แผนทีก่ องข้าหลวงปักปัน เขตร์แดนระหว่างสยาม-อังกฤษ มีมาตราส่วน 1 : 250,000 และมีขนาด 27 x 48 นิ้ว (แผนที่ฉบับที่นำ�มาตีพิมพ์นี้ เป็น แผนที่ที่คำ�ว่า “สยาม”Ž ได้ถูกแก้ให้เป็น “ไทยŽ” ไปแล้ว ดังนั้น จึงเป็นฉบับที่ทำ�จำ�ลองขึ้นใหม่หลังปี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 หรือ ค.ศ. 1939 เมื่อนามของประเทศเปลี่ยนจาก “สยามเป็นไทย”Ž) แผนที่ฉบับนี้แสดงให้เห็นการแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ เป็นไปตาม “สันปันน้ำ�”Ž ในกรณีที่เป็นเขตแดนทางบก และเป็นไปตาม “ร่องน้ำ�ลึก”Ž ของลำ�น้ำ�ในกรณีใช้แม่น้ำ�เป็นแนวเขตแดน ซึ่งแนวเขตแดนเริ่มตั้งแต่ฝั่งเหนือของปากน้ำ�ปะลิส ไปถึงทิวเขาสันกาลาคีรี และใช้สันปันน้ำ�ของทิวเขาสันกาลาคีรี จนถึงยอดเขายะลี ( JELI) และต่อไปจนถึงต้นแม่น้ำ�โก-ลก จากนั้นไปตามร่องน้ำ�ลึกของแมน้ำ�โก-ลก จนออกสู่ทะเลที่เรียกว่า “ปากน้ำ�ตาบาŽ” เขตอำ�เภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวม ถึงการแสดงให้เห็นถึงแนวเขตแดนทางทะเลระหว่างสองประเทศอีกด้วย และจากแผนที่กองข้าหลวงปักปันเขตร์แดนระหว่างสยาม-อังกฤษดังกล่าว ยังผลให้ประเทศไทยในปัจจุบัน มีเขตแดนทางตอนใต้ตดิ กับประเทศมาเลเซีย โดยมีจงั หวัดทีม่ เี ขตแดนติดกับประเทศมาเลเซียอยู่ 4 จังหวัด คือ สตูล สงขลา 242

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ยะลา และนราธิวาส ซึง่ ในส่วนของจังหวัดสตูลนัน้ มีอ�ำ เภอเมืองและอำ�เภอควนโดน ติดกับเขตแดนรัฐปะลิส (Perlis) จังหวัด สงขลา มีอ�ำ เภอสะเดา อำ�เภอนาทวี และอำ�เภอสะบ้าย้อย ติดกับเขตแดนทัง้ รัฐปะลิสและรัฐเคดะห์ (Kedah) จังหวัดยะลา มี อำ�เภอกาบัง อำ�เภอยะหา อำ�เภอบันนังสตา อำ�เภอธารโต และอำ�เภอเบตง ติดกับรัฐเคดะห์และรัฐเปรัก (Perak) และจังหวัด นราธิวาส มีอ�ำ เภอสุไหงโก-ลก อำ�เภอจะแนะ อำ�เภอสุคริ นิ อำ�เภอแว้ง และอำ�เภอตากใบ ติดกับเขตแดนรัฐกลันตัน (Kelantan) และนี่เป็น “พรมแดน” และ “เขตแดน” ที่ประสบความสำ�เร็จในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านมากที่สุด

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 243



แผนที่กองข้าหลวงปักปันเขตร์แดนระหว่างสยาม-อังกฤษ พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) Anglo-Siamese Boundary Commission

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 245


246

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 247


248

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 249


250

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 251


(34) แผนที่ “พระราชอาณาจักร์สยาม” โดย กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) Map of Siam “แผนที่พระราชอาณาจักร์สยาม – Map of Siam” (ขนาด 436 x 252 มม.) พิมพ์จากต้นฉบับของกระทรวง คมนาคมที่เขียนเมื่อ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ “ที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๔๕๙ - Souvenir of the Opening of the Royal Siamese State Railway Southern Line 1917” พิมพ์ที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1917) ตรงกับกลางรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นีเ่ ป็นแผนทีแ่ ผ่นแรกๆ ทีพ่ มิ พ์ขนึ้ โดยรัฐบาลสยามภายหลังการลงนาม “สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ และ สัญญาว่าด้วยเขตรแดน ร.ศ. 127” พ.ศ. 2451/52 (ค.ศ. 1909) อันเป็นข้อตกลงกันว่าสยามยอมสละอำ�นาจอธิปไตย เหนือรัฐกลันตัน-ตรังกานู-เคดะห์-ปะลิส ให้กับอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเงินกู้ เพื่อนำ�มาสร้างทางรถไฟ หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำ�ให้สยามมีเส้นเขตแดนเป็นรูปร่างประหนึ่ง “ขวานทอง” อย่างที่เรารับรู้ใน ปัจจุบัน แผนที่กำ�หนดมาตราส่วน 1 : 6,000,000 โดยเน้นรายละเอียดเส้นทางคมนาคมและการสื่อสาร ทำ�ให้เรารับรู้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 เส้นทางเดินรถไฟทางเหนือสิ้นสุดที่ “เชียงใหม่” ใต้สิ้นสุดที่ “นราธิวาส” (แต่สามารถเดินทางต่อไปถึง สิงคโปร์) ตะวันออกสิ้นสุดที่ “ฉเชิงเทรา” และตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดที่ “นครราชสิมา” ทั้งยังทำ�ให้รับรู้อีกว่า “การ ไปรสนีย์โทรเลข” ยุคนั้นครอบคลุมพื้นที่ใดบ้างในราชอาณาจักร แผนที่ยังเป็นประจักษ์พยานถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุมซ้ายล่างของแผนที่กำ�หนดสัญลักษณ์แสดงแหล่งที่มีแร่ธาตุโลหะและอัญมณีต่างๆ อาทิ เหล็ก ดีบุก ตะกั่ว ทอง ทองแดง ถ่านหิน แร่วอลแฟรม แร่พลวง นิล และทับทิม นอกจากนี้ ผู้เขียนยังระบุตำ�แหน่งแหล่งที่มา ของสินค้าส่งออกสำ�คัญในสมัยนั้น อาทิ ไหม ข้าว ไม้สัก ยาสูบ ฝ้าย และ พริกไทย (หนังสือ “ที่รฦก” ที่แผนที่นี้แทรกอยู่ ระบุว่า ข้าว ไม้สัก หนังโค-กระบือ ปลา และ พริกไทย เป็นสินค้าส่งออกที่สำ�คัญ 5 ลำ�ดับแรก) ท้ายสุด แผนที่ระบุระยะทาง จากกรุงเทพฯ ถึงเมืองท่าสำ�คัญในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ บัตตาเวีย (จาการ์ตา) เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และ ไซ่ง่อน (กรุงโฮจิมินห์) หนังสือ “ที่รฦก” ปัจจุบันเป็นหนังสือเก่าหายาก แม้จะมีความหนาเพียง 62 หน้า แต่เปี่ยมไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ เกีย่ วกับสยามเมือ่ เกือบหนึง่ ศตวรรษมาแล้ว ตัวอย่างเช่น หนังสือให้รายละเอียดว่าสยามในสมัยรัชกาลที่ 6 มีประชากรอยูร่ าว 8,266,400 คน อยู่ในเมืองหลวง 540,000 คน มีพื้นที่ทำ�นาราว 13,215,000 ไร่ ทั้งให้ข้อมูลทางการทหาร โดยระบุว่ามีทหาร เรือประจำ�การขณะนั้น 5,000 นาย และทหารกองหนุนอีก 20,000 นาย มีเรือประจำ�การทั้งสิ้น 10 ลำ� แต่ให้ข้อมูลกำ�ลังพล ทหารบกเพียงคร่าวๆ ว่ามีจำ�นวน 10 กองพล แต่ข้อเด่นที่สุดของหนังสือน่าจะเป็นภาพถ่ายขาว-ดำ� จำ�นวนทั้งสิ้น 68 ภาพ แสดงสถานที่สำ�คัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ วัดวาอาราม โรงเรียน สถานีรถไฟ ถนน สะพาน แม่น้ำ� ลำ�คลองสายต่างๆ และสถานที่ท่องเที่ยวสำ�คัญในภาคใต้ อาทิ เพชรบุรี ภูเก็ต สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ชะอำ� และ หัวหิน ฯลฯ ภาพประกอบจำ�นวน 8 ภาพ ในหนังสือเล่มนี้ ถ่ายด้วยฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

252

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


แผนที่พระราชอาณาจักร์สยาม โดย กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) Map of Siam (ธวช)


254

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 255


256

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 257


(35) แผนที่เส้นทางเสด็จอินโดจีนของฝรั่งเศส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระราชินี 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (ค.ศ.1930) Voyage de L.L. M.M. Les Souverains du Siam en Indochine Francaise แผนทีเ่ ส้นทางเสด็จอินโดจีนของฝรัง่ เศสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนาง เจ้ารำ�ไพพรรณี พระราชินี อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) โดยเสด็จ ทางเรือจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองไซ่ง่อน และต่อไปยังเมืองตูเรน (ดานัง) ขากลับเสด็จโดยทางรถยนต์กลับมาไซ่ง่อน ไป กัมพูชา และไปประพาสชมปราสาทนครวัด-นครธม ณ เมืองเสียมราฐ แล้วเสด็จกลับสยามประเทศโดยเส้นทางปอยเปต -อรัญประเทศ ในการนี้พระองค์ได้พระราชทานรูปช้างหล่อด้วยสำ�ริดขนาดใหญ่ ไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งเมืองไซ่ง่อน อาจกล่าวได้ว่าพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 เป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์เดียวของสมัยรัตนโกสินทร์ ที่เคยเสด็จเยือน “ปราสาทนครวัด-นครธม”

258

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328-2452


แผนที่เส้นทางเสด็จอินโดจีนของฝรั่งเศส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้า รำ�ไพพรรณี พระราชินี 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (ค.ศ.1930) Voyage de L.L. M.M. Les Souverains du Siam en Indochine Francaise

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 259


260

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 261


262

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 263


264

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328-2452


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 265


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.