ปฏิวัติ 2475 และรัฐธรรรมนูญ

Page 1


ปฏิวัติ 2475 และรัฐธรรมนูญ ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

เอกสารประกอบการเสวนา 100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 13080 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 SIAMESE-THAI POLITICS: FROM the 1912 COUP TO the 1932 REVOLUTION 24 มิถุนายน 2555

พิมพ์ครั้งที่ 1 :

มิถุนายน 2555

ออกแบบปกและรูปเล่ม : DREAM CATCHER GRAPHIC CO., LTD. Tel. 0 2455 3932, 0 2455 3995

จัดพิมพ์โดย

มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ The Foundation for The Promotion fo Social Science and Humanities Textbooks Project 413/38 ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร./โทรสาร 0 2433 8713 413/38 Arun-amarin Road, Bangkoknoi, Bangkok, Siam 10700 Tel./Fax. 0 2433 8713 http://www.textbooksproject.com | http://www.textbooksproject.org http://www.facebook.com/textbooksproject

การปฏิวัติ 2475 คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำ�คัญอันเป็น ส่วนหนึง่ ของบริบทโลกในกระแสประชาธิปไตย และกระแสพลังลัทธิชาตินยิ ม ที่บังเกิดขึ้นทั้งในประเทศที่เกิดใหม่หรือเพิ่งได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิง่ หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 (พ.ศ. 2457-2461 กลาง สมัยรัชกาลที่ 6) และในประเทศที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างยาวนาน ซึ่งขณะนั้น สยามยังเป็นประเทศเอกราชประเทศเดียวในโลก ที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ รั ฐ ธรรมนู ญ ในช่ ว งเวลานั้ น มี ค วามหมายที่ ซ้ อ นทั บ กั บ คำ � ว่ า “ประชาธิปไตย” นัน่ คือ “อำ�นาจสูงสุดของประเทศนัน้ เป็นของราษฎรทัง้ หลาย” ทีก่ อ่ เกิดกระบวนการทางการเมืองเพือ่ แสดงถึงอำ�นาจของประชาชน เช่น การ เลือกตัง้ และสภาผูแ้ ทนราษฎร นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความเจริญ “ศิวิไลซ์” ของประเทศเท่านั้น ทว่ายังเป็นหลักหมายของการ ประกันสิทธิเสมอภาค และเสรีภาพของประชาชนอีกด้วย โดยทั่ ว ไป ระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ทั่ ว โลกได้ ค่ อ ยๆ ถู ก เปลี่ยนเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในรูปใดรูปหนึ่ง คือแบบ ประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและจีน หรือแบบจักรพรรดิ/สุลต่าน/ พระราชาธิบดี/กษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ เช่น อังกฤษและญี่ปุ่น ขณะที่ ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 1


ประเทศอีกส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนการปกครองไปเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งทั้งหมด ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึง่ ของสหภาพโซเวียต ด้วยเหตุนี้ สยามก่อนการปฏิวตั ิ 2475 จึงเป็นสยามที่อยู่บนทางสองแพร่งของระบอบการเมือง คือ การรักษา ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่งถูกสร้างในสยามอันเป็นประดิษฐกรรม ทางการเมืองของโลกตะวันตก กับการเปลี่ยนเป็นระบอบรัฐธรรมนูญหรือ ประชาธิปไตยในรูปแบบใดแบบหนึ่งนั่นเอง ขณะที่กระแสลัทธิคอมมิวนิสต์ มีอิทธิพลน้อยมากยิ่งในสยามประเทศ คณะเจ้า นับแต่ยคุ สมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา กล่าวได้ อย่างหนักแน่นว่า ผู้ปกครองสยามรับรู้ดีถึงระบอบประชาธิปไตยและกระแส ประชาธิปไตยของโลกในขณะนัน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาล ที่ 6 และพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ซึง่ ต่างก็เป็นนักเรียนนอกทีอ่ งั กฤษเป็นเวลา ราวทศวรรษนัน้ ย่อมได้เรียนรูอ้ ย่างดีถงึ ความผันผวนปรวนแปรของสถาบัน กษัตริย์อังกฤษในการรักษาสถานภาพของตนเองภายใต้รัฐธรรมนูญ ด้วย บริบทโลกนี้ ในแต่ละรัชสมัยจึงมีการกล่าวถึงรัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติ แล้ว ก็จะเป็นเพียงแนวคิดในลักษณะ “ร่างเค้าโครงเบื้องต้น” ซึ่งในยุคสมัย รัชกาลที่ 7 สิ่งเหล่านี้ต่างเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ได้ประสงค์ จะสื่อสารกับประชาชนคนไทยภายในประเทศสยามขณะนั้นอย่างแน่นอน แต่เกมประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ เป็นเกมที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต้องเล่น ต้องปรับตัว แต่จะเล่นและปรับตัวอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่ คณะเจ้าต้องวิพากษ์ถกเถียงขัดแย้งกันเองอย่างมากมาย เพราะเมื่อกล่าวถึง รัฐธรรมนูญ ก็ตอ้ งสัมพันธ์กบั ประเด็นการเลือกตัง้ และการมีสภาผูแ้ ทนราษฎร ซึ่งหากมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ก็หมายความว่ายอมให้ประชาชนเป็น เจ้าของประเทศชาติร่วมด้วย ซึ่งในข้อเท็จจริงทางทฤษฎีอำ�นาจทางการเมือง เรื่องการเลือกตั้งและสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องยากที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะสามารถคิดและพัฒนาไปถึงได้ ทว่าในอีกด้านหนึ่งของพัฒนาการทางการเมืองการปกครองสยาม คณะเจ้ า สามารถนำ� รู ป แบบและการดำ� เนิ นงานของสถาบั นทางการเมื อ ง ตะวันตก เช่น Council of State หรือสภาแห่งรัฐ (ชื่อไทยคือ “ที่ปรึกษา ราชการแผ่นดิน”) มาช่วยทำ�หน้าทีร่ า่ งกฎหมายบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัตใิ น สมัยรัชกาลที่ 5 เพือ่ กระชับและรวมอำ�นาจทีศ่ นู ย์กลางทีอ่ งค์พระมหากษัตริย์ 2 ปฏิวัติ 2475 และรัฐธรรมนูญ

กำ�จัดอำ�นาจของขุนนางในกรุงและท้องถิ่นออกไป แล้วสร้างระเบียบราชการ จากศูนย์กลางแผ่ออกไปทั่วประเทศ อันเรียกความสำ�เร็จนี้ว่า การปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดิน ปี 2435 อันเป็นจุดเริ่มของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ Council of State หรือ “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” นี้ ก็หมดบทบาท เมื่อรัชกาลที่ 5 บรรลุความสำ�เร็จในการรวมศูนย์อำ�นาจทางการเมือง และไม่ ต่างจากดุสิตธานี “เมืองตุ๊กตา” บนเนื้อที่ 2 ไร่ครึ่งของรัชกาลที่ 6 ที่มุ่งเน้น สื่อสาระต่อข้าราชการว่า ถ้าหากอยากได้ประชาธิปไตยก็ต้องอบรมบ่มเพาะ ศึกษาเล่าเรียนเสียก่อน ประชาธิปไตยจึงถูกทำ�ให้กลายเป็นเพียงแบบฝึกหัด ทางการศึกษาของประชาราษฎร แทนการเข้าร่วมของประชาชนที่สามารถมี อำ�นาจจัดสรรสิ่งที่มีค่าของสังคม ว่าใคร ได้อะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร ส่วนกระแสประชาธิปไตยในภาคประชาราษฎร คือการเกิดแนวคิด ว่าประชาราษฎรทุกคนเป็นเจ้าของประเทศชาติเจ้าของแผ่นดินนี้ร่วมกัน การมีรัฐธรรมนูญ มีสภา มีการเลือกตั้งผู้แทน และรวมถึงการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลนั้น เป็นสิ่งสำ�คัญของระบอบการเมืองใหม่ที่ประเทศ ชาติต้องมี แทนการปกครองที่ไม่ศิวิไลซ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นการปกครองโดยคนคนเดียวและเครือข่าย กรณีของ “เทียนวรรณ” ใน สมัยรัชกาลที่ 5 ที่เสนอเรื่องการมีสภาผู้แทน ให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร และให้เลือกตั้งฝ่ายบริหาร และกรณีคณะทหารหนุ่ม “กบฏ ร.ศ. 130” (ปี 2454) ที่พร้อมต่อการปฏิวัติเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย เมือ่ ต้นสมัยรัชกาลที่ 6 หรือก่อนหน้าการปฏิวตั ิ 2475 ถึง 21 ปี เป็นสองกรณี สำ�คัญที่แสดงให้เห็นว่า การปฏิวัติ 2475 โดยคณะราษฎรนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ ปรากฏขึ้นอย่างทันทีทันใด แต่เป็นการเกิดขึ้นบนพลังกระแสประชาธิปไตย และพลังลัทธิชาตินิยมที่เพิ่มพูนมากขึ้นในภาคประชาราษฎร และย่อมเป็น เครื่องแสดงให้เห็นด้วยว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ซึ่งเป็นระบอบ นำ�เข้ามาจากตะวันตกด้วยเช่นกันอันเพิ่งมีระยะเวลาในสยามเพียง 40 ปีนั้น ก็ไม่อาจทีจ่ ะปรับเปลีย่ นเชิงสถาบันเพือ่ ตอบรับกระแสประชาธิปไตยและความ เป็นสมัยใหม่ได้นั่นเอง แม้ว่าจะได้มีความพยายามในบางส่วนบ้างแล้วก็ตาม การปฏิวัติ 2475 ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเป็นการเปลี่ยนระบอบทางการ เมืองที่ “ไร้การนองเลือด” แต่ในข้อเท็จจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะ การต่อสู้ช่วงชิงเพื่อพิทักษ์อำ�นาจทางการเมืองของกลุ่มผู้ปกครอง “ระบอบ ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 3


เก่า” ภายใต้ “ระบอบใหม่” มีขึ้นตลอดเวลา ทั้งในรูปแบบการต่อสู้ในเกม การจัดทำ�รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ตามมาด้วยการ รัฐประหารครัง้ แรกโดยพระราชกฤษฎีกาของพระยามโนปกรณ์นติ ธิ าดา นายก รัฐมนตรี เมื่อ 1 เมษายน 2476 กลายเป็นรัฐบาลพระยามโนฯ ที่มีอำ�นาจ เผด็จการ 81 วัน และเริ่มใช้ “คอมมิวนิสต์” มาเป็นเครื่องมือทางการเมืองใน การกำ�จัดผูน้ �ำ ฝ่ายตรงกันข้ามคือผูน้ ำ�สายพลเรือนในคณะราษฎร แต่กย็ ตุ ลิ ง ด้วยการรัฐประหารกลับของฝ่ายคณะราษฎร “กลุ่มหนุ่ม” เมื่อ 20 มิถุนายน 2476 เพื่อฟื้นรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยที่เพิ่งเกิดบนแผ่นดินนี้ยังไม่ ถึงหนึ่งปี แต่ในอีก 3 เดือนต่อมาก็ถูกตีโต้ด้วยการใช้กำ�ลังทหารของฝ่าย ระบอบเก่าในนาม “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เมื่อเดือนตุลาคม 2476 เพื่อพิทักษ์ เพิ่มพูนอำ�นาจและบทบาทของ “พระมหากษัตริย์” ในระบอบใหม่ ทว่าจบ ลงด้วยการปะทะกันด้วยกำ�ลังทหารของสองฝ่าย ในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “กบฏบวรเดช” และตามด้วยการต่อรองทางการเมืองเรือ่ งการสละราชสมบัตทิ ี่ สิ้นสุดลงเมื่อเดือนมีนาคม 2477 ซึ่งสาระสำ�คัญของการต่อสู้จากฝ่ายระบอบ เก่าทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ คือเรือ่ งการแต่งตัง้ สมาชิกสภาประเภทที่ 2 ทีม่ สี มาชิกจำ�นวน ครึง่ หนึง่ ของสภาผูแ้ ทนราษฎร (อีกครึง่ มาจากการเลือกตัง้ ) นัน้ ให้เป็นพระราช อำ�นาจของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่อ�ำ นาจของคณะราษฎร อันหมายถึงการต่อสู้ ของฝ่ายระบอบเก่าเพื่อเปลี่ยนรูปทางการเมืองจากระบอบ “พระมหากษัตริย์ ‘ใต้’ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” ของการปฏิวัติ 2475 ให้กลายเป็นระบอบ “ราชาธิปไตย ‘ตาม’ รัฐธรรมนูญ” หรือ “ราชาธิปไตย ‘ที่มี’ รัฐธรรมนูญ” นั่นเอง1 การต่อสู้ระหว่างระบอบใหม่กับระบอบเก่า หรือระหว่างระบอบ “พระมหากษัตริย์ ‘ใต้’ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” กับระบอบ “ราชาธิปไตย ‘ตาม’ รัฐธรรมนูญ” หรือ “ราชาธิปไตย ‘ที่มี’ รัฐธรรมนูญ” นั่นยังคงดำ�เนิน ต่อเนื่องเรื่อยมาในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยมีคณะทหารและการ รัฐประหารในอีกหลายครั้งนับแต่การรัฐประหารปี 2490 เป็นต้นมา เป็นตัว กระทำ�ที่สำ�คัญที่ทำ�ให้สาระเดิมของการปฏิวัติ 2475 แปรเปลี่ยนไป2 เรื่อง ที่สัมพันธ์กับการปฏิวัติ 2475 และคณะราษฎรนั้นเลือนรางและสาบสูญ ดังตัวอย่างจากวันชาติและวันรัฐธรรมนูญ กรณีวันชาติ 24 มิถนุ ายน แม้คณะราษฎรจะประกาศชัยชนะของการ 4 ปฏิวัติ 2475 และรัฐธรรมนูญ

ปฏิวัติ 2475 โดยการสร้างรัฐธรรมนูญที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อปี 2482 และประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันชาติ” และมีวันหยุด ราชการ 3 วัน คือวันที่ 23-24-25 มิถุนายน และมีกิจกรรมต่างๆ โดยภาครัฐ แต่ในปี 2497 วันชาตินี้ก็ถูกลดให้เหลือเพียง 1 วัน และวันชาติ 24 มิถุนายน นี้ก็ถกู ยกเลิกในปี 2503 สมัยรัฐบาลเผด็จการทหารจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และปีเดียวกันนี้ก็สถาปนาวันที่ 5 ธันวาคม “วันเฉลิมพระชนมพรรษา” ให้เป็น “วันสำ�คัญของชาติ”3 กรณีวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม4 (จากปี 2475 เรียกว่า “วันฉลอง รัฐธรรมนูญ” ปี 2480 รัฐบาลประกาศให้เป็น “วันรัฐธรรมนูญ”) ซึ่งเป็นวัน หยุดแห่งชาติ 3 วัน คือวันที่ 10-11-12 ธันวาคมของทุกปี ก็ถูกลดทอน ให้เหลือวันหยุดแห่งชาติเพียง 1 วันในปี 2491 แต่ในวาระโอกาสนี้ นายก รัฐมนตรีต้องออกมาปราศรัยต่อประชาชนในวันสำ�คัญนี้ทุกปี กระทั่งเมื่อ จอมพล ถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 9 ธันวาคม 2506 ใน บริบทการอสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ จอมพล ถนอมจึงข้ามบทบาทผู้นำ� ประเทศที่ต้องกล่าวปราศรัยในวันรัฐธรรมนูญในปี 2506 และตั้งแต่นั้นมา วันรัฐธรรมนูญก็ไม่มีกิจกรรมใดๆ จากภาครัฐบาลอีกเลย กลายเป็นวันหยุด สำ�คัญของชาติที่ไม่สำ�คัญของรัฐบาลไทย และพัฒนาต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ที่วันสำ�คัญของชาตินี้ ยังถูกจดจำ�เรียกชื่อที่แตกต่างกันไปอีก ดังปรากฏใน ปฏิทนิ ประจำ�ปีทมี่ ที งั้ ระบุวา่ 10 ธันวาคม คือ “วันรัฐธรรมนูญ” และ “วันพระ ราชทานรัฐธรรมนูญ” กรณีวันชาติและวันรัฐธรรมนูญ เป็นตัวอย่างรูปธรรมที่สะท้อนให้ เห็นถึงการต่อสู้ผันแปรทางการเมืองของระบอบใหม่กับระบอบเก่านับแต่การ ปฏิวัติ 2475 มาถึงปัจจุบันได้อย่างชัดเจนที่สุด

ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 5


เชิงอรรถ รายละเอียดของการต่อสู้ใน 1 ปีแรกหลังการปฏิวัติ 2475 นี้ ดูได้ในงาน ของผู้เขียน ซึ่งเป็นบทที่ 3-4-5 ต่อจากบทที่ 1-2 ในที่นี้ ในหนังสือ 2475 และ 1 ปี หลังการปฏิวัติ (กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิ โครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544). หรือใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. ปฏิวตั ิ 2475 (กรุงเทพฯ : มูลนิธโิ ครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2547), (พิมพ์ครั้งที่ 2, 2552). 2 ธำ � รงศั ก ดิ์ เพชรเลิ ศ อนั นต์ , “ข้ อ อ้ า ง” การปฏิ วั ติ - รั ฐ ประหาร-กบฏ ในการเมืองไทยปัจจุบัน : บทวิเคราะห์และเอกสาร (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำ�รา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550), ดูบทวิเคราะห์ หน้า 12-44. 3 ดูการแปรเปลี่ยนสาระของเรื่อง 24 มิถุนายน และการปฏิวัติ 2475 นี้ ในงานของ ประจักษ์ ก้องกีรติ, “24 มิถุนาในขบวนการ 14 ตุลา : การเมืองและ อำ�นาจของประวัติศาสตร์,” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บ.ก., สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475 / สถาปนา มธก. 2477 : ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548), หน้า 115-178. 4 ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ หรือ วันรัฐธรรมนูญ?” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บ.ก., สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475/ สถาปนา มธก. 2477 : ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่, เพิ่งอ้าง, หน้า 89-113. 1

6 ปฏิวัติ 2475 และรัฐธรรมนูญ


รายนามคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

เลขอนุญาต ที่ ต. ๖/๒๕๑๙ เลขที่คำ�ขอ ที่

(ก่อตั้งปี พ.ศ. 2509 โดยนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ) นางเพ็ชรี สุมิตร นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ นายวิทยา สุจริตธนารักษ์ นางสาวศรีประภา เพชรมีศรี นายวีระ สมบูรณ์ นายประจักษ์ ก้องกีรติ นายพิภพ อุดร นางสาวอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นายพนัส ทัศนียานนท์ นายบดินทร์ อัศวาณิชย์ นางสาวศุภลักษณ์ เลิศแก้วศรี นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ นายธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นายทรงยศ แววหงษ์

ประธานและผู้จัดการ รองประธาน รองประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป

๖/๒๕๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การ

ตามที่ นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ขออนุญาตจัดตั้ง มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ส่งเสริมการจัดทำ�ตำ�ราภาษาไทยในแขนงสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ทั้งระดับมหาวิ​ิทยาลัย และก่อนมหาวิทยาลัย ๒. เผยแพร่ตำ�ราของมูลนิธิในหมู่ผู้สอนวิชาสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ทั่วราชอาณาจักร ๓. ส่งเสริมการเรียบเรียงงานวิจัย และตำ�ราชั้นสูง และรวบรวมเอกสาร ทางวิชาการออกตีพิมพ์ ๔. ส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๕. ไม่ทำ�การค้ากำ�ไร และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และมีที่ตั้งสำ�นักงานแห่งใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นั้น กรมการศาสนาได้พิจารณาแล้ว อนุญาตให้ดำ�เนินการจัดตั้งได้ และขอให้ปฏิบัติตาม คำ�สั่งและข้อบังคับของกรมการศาสนา โดยเคร่งครัด

อนุญาต ณ วันที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙

8 ปฏิวัติ 2475 และรัฐธรรมนูญ

(นายวัชระ เอี่ยมโชติ) อธิบดีกรมการศาสนา

ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 9


100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 SIAMESE-THAI POLITICS: FROM the 1912 COUP TO the 1932 REVOLUTION อาทิตย์ 24 มิถุนายน 2555 Sunday 24 June 2012 9.00 - 18.00 ณ หอประชุมศรีบูรพา ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร Sriburapha Auditorium, Thammasat University, Bangkok 09.00-09.30 09.30-10.00 10.00-10.30 10.30-12.00 12.00-13.00 13.00-15.30 15.30-16.30 16.30-17.00

ลงทะเบียน (ชมวีซีดี เพลง 24 มิถุนา) กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. ปาฐกถานำ� โดย เกษียร เตชะพีระ อภิปราย “100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130” ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ณัฐพล ใจจริง เพ็ญพิสุทธิ์ อินทรภิรมย์ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ดำ�เนินรายการ ลำ�นำ�กวีกบฏ-ปฏิวัติอาหารกลางวันตามอัธยาศัย (ชมวีซีดี) อภิปราย “80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ. 2475” ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สุดสงวน สุธีสร ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อภิชาต สถิตนิรามัย มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ ดำ�เนินรายการ ถาม-ตอบ ปัญหาข้ามศตวรรษ ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ (ถาม) เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (ถาม) นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ตอบ) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (ตอบ) อัครพงษ์ ค่ำ�คูณ ดำ�เนินรายการ ปัจฉิมกถา โดย วีระ ธีรภัทรานนท์

พิธีกร - สมฤทธิ์ ลือชัย หมายเหตุ จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ฯ, วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.