Imagined Thai Historiography and Historical Maps from 1930s to the Present

Page 1

จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย กับแผนที่ “เสียดินแดน” จากทศวรรษ 2470 ถึง พ.ศ. 2554 Imagined Thai Historiography and Historical Maps from 1930s to the Present ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

(1)

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) มีแผนที่ชุดหนึ่งจำ�นวน 8 แผ่น แผ่นหนึ่งมีขนาดกว้างยาวประมาณหน้า นสพ. รายวัน แผนที่ชุดนี้ พิมพ์จำ�หน่ายโดยบริษัทไทยวัฒนาพานิช และแพร่หลายมากในหมู่โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ ตลอดจนมหาวิทยาลัยทั่วไป ที่มีการเรียนการสอนด้านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ผู้ทำ�แผนที่ “บันไดประวัติศาสตร์ไทย แต่โบราณ” ชุดนี้ คือ ศ. พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนจินดา (พ.ศ. 2462-2533 / ค.ศ. 1919-90) อดีตเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ ทหาร และอดีตอาจารย์ประจำ�ภาควิชาภูมิศาสตร์ (มช.) พันเอก พูนพล เป็นหนึ่งในคณะทีมทนายของไทยชุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ไปสู้คดีปราสาทเขาพระวิหารกับกัมพูชา ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) กล่าวกันว่าภริยา ของท่านเป็นหนึ่งในบรรดา “ร่างทรง” ในการอัญเชิญดวงวิญญาณของพระเจ้าตากสินในช่วงที่ทีมไทยต่อสู้คดีครั้งนั้น แผนที่ 8 แผ่นนี้ คือ 1. บันไดประวัติศาสตร์ไทยแต่โบราณ 2. การเคลื่อนที่ของไทย 3. อาณาจักรหนองแส 4. อาณาจักรสุโขทัย 5. อาณาจักรอยุธยา 6. อาณาจักรธนบุรี 7. อาณาจักรรัตนโกสินทร์ 8. การเสียดินแดนของไทย กล่าวโดยย่อ นี่คือแผนที่ “ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์” ที่มีพล็อตเรื่อง (plot) แบบ “ลัทธิชาตินิยมทางการ” (official nationalism คำ�ของ ศ. เบเนดิก แอนเดอร์สัน) ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของรัฐ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นนำ�ของรัฐ และ (top down) เผยแพร่ปลูกฝังลงมาในหมู่ของประชาชนระดับกลางและล่าง ลัทธิชาตินิยมโดยชนชั้นนำ�ของรัฐนี้ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล มักจะกล่าวถึงในนามของ “ราชาชาตินิยม” (royal nationalism) แต่ในกรณีศึกษาแผนที่ชุดนี้ ผู้เขียน สมัครใจที่จะเรียกว่า “อำ�มาตยาชาตินิยม” (military-bureaucratic) มากกว่า กล่าวคือดำ�เนินเรื่องโดยมีแกนกลาง หรือ ประเด็นหลัก (themes) อยู่ที่ ก. ชนชาติไทย ข. การอพยพโยกย้าย ค. การเสียดินแดน ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ แพร่หลายยิ่ง ทั้งในรูปของแบบเรียนของกระทรวงศึกษาฯ สื่อ (วิทยุ ทีวี นสพ.) ละคร เพลง นวนิยาย ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนและหลัง “การปฏิวัติ 24 มิถนุ ายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)” เมื่อ “คณะราษฎร” ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 333


(ทางปีกขวา ซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำ�) เข้ามามีอำ�นาจแทน “คณะเจ้า” อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง กล่าวโดยย่อ ลัทธิชาตินิยมดังกล่าว จะลงหลักปักฐานในช่วงประมาณทศวรรษ 2470-80 (1930s-40s) และก็ยังทรงอิทธิพลสืบทอดมา ถึงปัจจุบัน

(2) ในบริบทสากล ย้อนกลับไปประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2411-53 (ค.ศ. 1868-1910) นั้น มีความเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญทางวิชาการและภูมิปัญญาใน “สยามประเทศ (ไทย)” ของเรา นั่นคือ การ ปรากฏตัวของ “ลัทธิอาณานิคม” ของอังกฤษและฝรั่งเศส พร้อมๆ กับการก่อตัวของวิชาประวัติศาสตร์ (ที่ต้องเขียนตำ�รา กันใหม่ เปลี่ยนจากรูปแบบของ “พงศาวดาร” และ “ตำ�นาน” เดิมๆ) กับวิชาภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำ� “แผนที่ สมัยใหม่” (modern map) แทน “แผนที่จักรวาล” แบบ “ไตรภูมิ” หรือ “แผนที่เดินทัพ” (ที่ได้รับอิทธิพลจากจีน) วิชา “ประวัติศาสตร์” สมัยใหม่นี้ ให้ความสำ�คัญต่อเรื่องราวของ “ชนชาติไทย” (ในความหมายของชาติพันธุ์และ ภาษา ตามแนววิชาการของฝรั่ง) ควบคู่ไปกับเรื่องราวทางภูมิศาสตร์และแผนที่ ซึ่งก็เป็นอิทธิพลของฝรั่ง (วิชา cartography โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอังกฤษ ที่ปกครองอินเดีย พม่า และมลายู/สิงคโปร์) ที่ไทยสยามต้อง “นำ�เข้า” (import) เช่นกัน และนี่ ก็เป็นที่มาของ “ผลงาน” การสืบค้นหาต้นตอ (original homeland) หรือ “เมืองไทยเดิม” ที่บรรดานัก ปราชญ์ราชบัณฑิตไทย ส่วนใหญ่คือเจ้านายและอำ�มาตย์ นับแต่รุ่นของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงฯ พระยาประชากิจกรจักร หลวงวิจิตรวาทการ ขุนวิจิตรมาตรา นายกี (ธนิต) อยู่โพธิ์ เรื่อยมาจนถึง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งถือได้ว่าเป็น “วิชาการกระแสหลัก” (mainstream academics) ก่อนที่จะตกมาถึง (นักวิชาการ และนักคิดนักเขียน) รุ่น หลังที่กลายเป็น “วิชาการกระแสโต้” (against the grain academics) ปฏิเสธ และคัดค้าน ดังที่จะเห็นได้หลากหลายและ เด่นชัดในปัจจุบัน

(3) สรุป แผนที่ชุด “บันไดประวัติศาสตร์ไทยแต่โบราณ” ของ ศ. พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนจินดา มีรายละเอียด แต่ละแผ่น ดังต่อไปนี้ แผ่นที่ 1 “บันไดประวัติศาสตร์ไทยแต่โบราณ” นี่เป็นการสรุปรวบยอดในแนวลัทธิชาตินิยมของทั้ง 2 สำ�นัก คือ “ราชาชาตินิยม” กับ “อำ�มาตยาชาตินิยม” ซึ่ง ลงมติว่า เมื่อ 1,200 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 1291 (ค.ศ. 748) นั้น “เมืองไทยเดิม” ตั้งอยู่ที่ “อาณาจักรน่านเจ้า” (ในยูน นาน) อยู่มานานถึง 500 ปี ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) หรือเมื่อ 700 ปีที่แล้ว จำ�ต้อง “อพยพลงมาทางใต้ คนจีนเข้าไปอยู่แทนที่” และถูกรุกรานโดยจักรพรรดิเจงกีสข่าน เมื่อ พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) และจักรพรรดิกุบไลข่าน พ.ศ. 1823 (ค.ศ. 1280) “ไทย” จึง “ฝ่าลงใต้” มาสถาปนาอาณาจักรใหม่ของตนตามลำ�ดับ คือ “อาณาจักรสุโขทัย” ที่มี “3 บันไดใหญ่” ที่ราชวงศ์ “พระร่วง-เชียงราย-สุพรรณภูมิ” ต่อด้วยอีก “3 บันไดใหญ่” ของ “อาณาจักรศรีอยุธยา” เมื่อ พ.ศ. 2100 (ค.ศ.1557) ของราชวงศ์ “สุโขทัย-ปราสาททอง-บ้านพลูหลวง” ก่อนที่จะถึง “บันไดเล็กๆ” ของ “สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี” (โปรดสังเกตตรงนี้ว่า “อำ�มาตยาชาตินิยม” จะมี 4 กรุง โดยเพิ่ม “กรุงธนบุรี” เข้าไปใน “ราชาชาตินิยม” จะมี เพียง 3 กรุง คือ “สุโขทัย-อยุธยา-รัตนโกสินทร์” บันไดสูงสุดของแผนที่นี้ ก็คือ “ปัจจุบัน ประเทศไทย บรมจักรีวงศ์ กรุง รัตนโกสินทร์ (ประเทศสยาม) พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1872)” แผ่นที่ 2 “การเคลื่อนที่ของไทย” นี่เป็นหนึ่งจินตกรรมทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ที่สำ�คัญสุด ที่สมมุติว่ามี “มหาอพยพ” หรือ great exodus ของ ชนชาติไทยจาก “แหล่งกำ�เนิดของไทย” คือ “คุปติ” (ภูเขาอัลไต?) ในมองโกเลียทีเ่ หนือสุดและหนาวสุด เดินทางไกลเป็นระยะ ทางกว่า 3,000 กิโลเมตร (แบบเดียวกับที่ชาวยิวอิสราเอล อพยพออกจากอียิปต์ ข้ามทะเลทรายทะเลแดง เป็น Exodus) ลงมายัง “นครลุง” (ที่อยู่เหนือ “เชียงอาน” หรือ ซีอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถัง) แล้วลงมายัง “นครปา” (จุงกิง) แล้วก็ 334

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


แผ่นที่ 1 “บันไดประวัติศาสตร์ไทยแต่โบราณ” นี่เป็นการสรุปรวบยอดในแนวลัทธิชาตินิยมของทั้ง 2 สำ�นัก คือ “ราชาชาตินิยม” กับ “อำ�มาตยาชาตินิยม” ซึ่ง ลงมติว่า เมื่อ 1,200 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 1291 (ค.ศ. 748) นั้น “เมืองไทยเดิม” ตั้งอยู่ที่ “อาณาจักรน่านเจ้า” (ในยูน นาน) อยู่มานานถึง 500 ปี ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) หรือเมื่อ 700 ปีที่แล้ว จำ �ต้อง “อพยพลงมาทาง ใต้ คนจีนเข้าไปอยู่แทนที่” และถูกรุกรานโดยจักรพรรดิเจงกีสข่าน เมื่อ พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) และจักรพรรดิกุบไลข่าน พ.ศ. 1823 (ค.ศ. 1280) “ไทย” จึง “ฝ่าลงใต้” มาสถาปนาอาณาจักรใหม่ของตนตามลำ�ดับ คือ “อาณาจักรสุโขทัย” ที่มี “3 บันได ใหญ่” ที่ราชวงศ์ “พระร่วง-เชียงราย-สุพรรณภูมิ” ต่อด้วยอีก “3 บันไดใหญ่” ของ “อาณาจักรศรีอยุธยา” เมื่อ พ.ศ. 2100 (ค.ศ.1557) ของราชวงศ์ “สุโขทัย-ปราสาททอง-บ้านพลูหลวง” ก่อนที่จะถึง “บันไดเล็กๆ” ของ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” (โปรดสังเกตตรงนี้ว่า “อำ�มาตยาชาตินยิ ม” จะมี 4 กรุง โดยเพิม่ “กรุงธนบุร”ี เข้าไปใน “ราชาชาตินยิ ม” จะมีเพียง 3 กรุง คือ “สุโขทัย-อยุธยา-รัตนโกสินทร์” บันไดสูงสุดของแผนที่นี้ ก็คือ “ปัจจุบัน ประเทศไทย บรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ (ประเทศสยาม) พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1872)”

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 335


แผ่นที่ 2 “การเคลื่อนที่ของไทย” นี่เป็นหนึ่งจินตกรรมทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ที่สำ�คัญสุด ที่สมมุติว่ามี “มหาอพยพ” หรือ great exodus ของชนชาติ ไทยจาก “แหล่งกำ�เนิดของไทย” คือ “คุปติ” (ภูเขาอัลไต?) ในมองโกเลียที่เหนือสุดและหนาวสุด เดินทางไกลเป็นระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตร (แบบเดียวกับที่ชาวยิวอิสราเอล อพยพออกจากอียิปต์ ข้ามทะเลทรายทะเลแดง เป็น Exodus) ลงมายัง “นครลุง” (ที่อยู่ เหนือ “เชียงอาน” หรือ ซีอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถัง) แล้วลงมายัง “นครปา” (จุงกิง) แล้วก็ลงใต้ลงมาอีกจนสามารถตั้งอาณาจักร น่านเจ้าได้ มีเมืองหลวงอยู่ที่ “หนองแส” (หรือตาลีฟู) ณ จุดนี้ “มหาอพยพ” หรือ Exodus ของชนชาติไทย ก็แตกแยกสาขา กระจาย ไปทั่วจีนภาคใต้ ทั้งในมณฑลยูนนาน กวางตุ้ง เวียดนามเหนือ และรัฐฉาน 336

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ลงใต้ลงมาอีกจนสามารถตั้งอาณาจักรน่านเจ้าได้ มีเมืองหลวงอยู่ที่ “หนองแส” (หรือตาลีฟู) ณ จุดนี้ “มหาอพยพ” หรือ Exodus ของชนชาติไทย ก็แตกแยกสาขา กระจายไปทัว ่ จีนภาคใต้ ทัง้ ในมณฑลยูนนาน กวางตุง้ เวียดนามเหนือ และรัฐฉาน แผ่นที่ 3 “อาณาจักรหนองแส” หรือ “น่านเจ้า” นี่เป็นอีกหนึ่งจินตกรรมทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ที่สำ�คัญสุด ที่สมมุติว่าชนชาติไทย ได้สถาปนาตนขึ้นมาได้ กลายเป็นมหาอำ�นาจหนึ่งก่อนที่จีนจะรุกรานลงมาทางใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 1291 (ค.ศ. 748) “เมืองไทยเดิม” ก็ตั้งอยู่ ณ ที่ นี้นานถึง 500 ปี ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) หรือเมื่อ 700 ปีที่แล้ว ก็จำ�ต้อง “อพยพลงมาทางใต้ คนจีนเข้าไป อยู่แทนที่” และถูกรุกรานโดยราชวงศ์หยวน (หรือมองโกล) ทฤษฎี “น่านเจ้า” หรือ “หนองแส” นี้ได้รับการปฏิเสธ จากนัก วิชาการรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือเทศ ที่สรุปจากหลักฐานของจีนว่า “น่านเจ้า” นั้น หาใช่อาณาจักรของชนชาติไทยไม่ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของน่านเจ้าเมื่อหนึ่งพันกว่าปีมาแล้ว นามว่า “พีล่อโก๊ะ-โก๊ะล่อฝง, ฝงเจียอี้, อี้มูซุน (Pi-lo-ko, Ko-lofeng, Feng-chia-i, I-mou-hsun) นั้นเป็นชนเผ่า “โลโล่” (Lo-lo) ซึ่งเป็นเครือญาติกับตระกูลธิเบต/พม่า หาใช่ตระกูลไท/ ไต/ลาวไม่ การขนานนามกษัตริย์ ด้วยการนำ�คำ�สุดท้ายของบิดา มาตั้งเป็นคำ�ต้นของบุตร ดังที่เห็นนี้ ก็เป็นธรรมเนียมของ “โลโล่” ไม่ใช่ธรรมเนียมไท/ไต/ลาว แต่อย่างใด ความน่าสนใจของแผนที่แผ่นนี้ คือ การวาดภาพให้อาณาจักรของชนชาติ ไทย นอกจากจะมีศูนย์กลางที่ “หนองแส” แล้วก็ยังมี “ไทยใหญ่” และ “โยนก” ที่ใต้ลงมาคือ “ขอม” ซึ่งมีอาณาจักรใหญ่โต มโหฬาร ครอบคลุมพม่าตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง ลาวทั้งหมด กัมพูชา ตลอดจนภาคใต้ถึงนครศรีธรรมราช แน่นอนใน ทัศนะของนักประวัติศาสตร์ สกุล “อำ�มาตยาชาตินิยม” ไม่ถือว่า “ขอม” คือ “เขมร” และจินตกรรม (โดยปราศจากหลักฐาน) อีกว่า “ขอม” เป็นชนชาติที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แผ่นที่ 4 “อาณาจักรสุโขทัย” นี่คืออาณาจักรที่ประวัติศาสตร์ฉบับทางการ ถือว่าเป็น “ยุคทอง” ของไทยที่สามารถสถาปนาขึ้นได้ใน “แหลมทอง” และเป็นจุดเริ่มต้นและที่รวมหรือ “อู่อารยธรรม” ของไทย ที่เพียบพร้อมไปด้วยพุทธศาสนา สถาบันกษัตริย์แบบ “พ่อ ปกครองลูก” ถึงขนาดกล่าวว่ามี “ประชาธิปไตย” มี “การค้าเสรี” และมี “สิทธิเสรีภาพ” ของประชาชน (ไพร่ฟ้า หน้าใส) เป็นประหนึ่ง “โลกพระศรีอาริย์” หรือไม่ก็ “ยูโธเปีย” ภาพที่ “จินตกรรม” ดังกล่าวนี้ น่าจะเอามาจากศิลาจารึกของพ่อขุน รามคำ�แหง ซึ่งในแง่ของวิชาการปัจจุบัน มีกระแสโต้แย้งว่า จารึกขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ หรือมาจารึกในตอนต้นรัตนโกสินทร์ (ประมาณรัชกาลที่ 3) นีเ่ อง การวาดแผนทีท่ างประวัตศิ าสตร์ให้สโุ ขทัย มีดนิ แดนกว้างขวางใหญ่โต ตัง้ แต่ลาว (หลวงพระบาง) ไปจนสุดแหลมมลายู มีสิงคโปร์เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรด้วยนั้น ก็ดูจะเกินความเป็นไปได้ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาทาง ประวัติศาสตร์ ที่หากจะมองเปรียบเทียบกับแผ่นที่ 3 ที่ “ขอม” กว้างขวางใหญ่โต แต่จู่ๆ ก็เกือบจะมลายหายไป แต่ก็ยัง เหลือส่วนที่เป็น “พิมาย” และชายทะเลฝั่งตะวันออกด้านชลบุรี ถึงจันทบุรี จนจรดปากแม่น้ำ�โขง แผ่นที่ 5 “อาณาจักรศรีอยุธยา” จากยุคทองและความยิ่งใหญ่สมัย “สุโขทัย” แผนที่ประวัติศาสตร์ชุดนี้ กระโดนมายัง “อยุธยา” ซึ่งก็น่าเชื่อว่าที่มี ดินแดนกว้างขวางใหญ่โต ครอบคลุมพม่าตอนล่างทั้งหมด ถึงเมืองหงสาวดี แผ่ขยายขึ้นไปทางเหนือ รวมทั้งเชียงใหม่ ไป จนกระทั่งถึงแสนหวีในรัฐฉาน และรวมลาวทั้งหมด กัมพูชาทั้งหมด แต่ทางใต้กลับไม่รวมปัตตานี ดินแดนอันกว้างขวางนี้ คงถูกเขียนขึ้นมาเพื่อจำ�ลองภาพความยิ่งใหญ่ในสมัยของพระนเรศวร นั่นเอง และนี่ก็คือปัญหาของการวาดภาพ “แผนที่ ประวัตศิ าสตร์” ทีใ่ นอดีตนัน้ อาณาจักรมีทงั้ “ยืด” และมีทัง้ “หด” กล่าวคือ หากกษัตริยม์ เี ดชานุภาพสูง อาณาจักรก็จะกว้าง ขวางใหญ่โต มีเมืองขึ้น มี “ประเทศราช” มากมายได้ และดินแดนของอาณาจักรไหนๆ ก็ตาม ก็ไม่เคย “หยุดนิ่ง” แน่นอน และ/หรือคงทีไ่ ด้ ในยุคทีต่ กต�่ำ ก็จะเหลือเพียงนิดเดียว ในขณะทีอ่ าณาจักรเพือ่ นบ้าน ก็อาจขยายใหญ่โตได้ ดังนัน้ ในการทำ� แผนที่ประวัติศาสตร์แบบนี้ ก็ขึ้นอยู่ว่าประเทศไหนทำ� และ “เลือก” ที่จะทำ�ยุคสมัยไหน ตามปกติก็มักไม่มีประเทศไหน จะ ทำ�แผนที่ตอนที่ตนเองตกต่ำ�นัก ข้อที่น่าสังเกตและน่าตั้งคำ�ถามสำ�หรับแผนที่แผ่นที่ 5 นี้ ก็คือ ทำ�ไมยุคสมัยของศรีอยุธยา เริ่มต้นที่ “พ.ศ. 2100 (ค.ศ. 1557) เริ่มอาณาจักรศรีอยุธยา” แทนที่จะเริ่มที่ พ.ศ. 1893 (ค.ศ. 1350) ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทำ�ไม “อยุธยา” หดหายไปตั้ง 200 ปี (โปรดกลับไปดูแผ่นที่ 1) แผ่นที่ 6 “อาณาจักรธนบุรี” แผนที่ชุดนี้ ให้ “บันได” ของยุคสมัยนี้ไว้สั้นและเล็ก เพียงแค่เรื่องการ “จลาจล 3 ปี” จาก พ.ศ. 2310-13 และ วาดเส้นเขตแดนไว้อย่างสับสนทั้งส่วนที่เป็น “ก๊ก” ต่างๆ และส่วนที่ห่างไกลออกไปอย่างล้านนา ลาว กัมพูชา และมลายู นี่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 337


แผ่นที่ 3 “อาณาจักรหนองแส” หรือ “น่านเจ้า” นี่เป็นอีกหนึ่งจินตกรรมทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ที่สำ�คัญสุด ที่สมมุติว่าชนชาติไทย ได้สถาปนาตนขึ้นมาได้กลายเป็น มหาอำ�นาจหนึ่งก่อนที่จีนจะรุกรานลงมาทางใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 1291 (ค.ศ. 748) “เมืองไทยเดิม” ก็ตั้งอยู่ ณ ที่นี้นานถึง 500 ปี ต่อ มาเมื่อราว พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) หรือเมื่อ 700 ปีที่แล้ว ก็จำ�ต้อง “อพยพลงมาทางใต้ คนจีนเข้าไปอยู่แทนที่” และถูกรุกรานโดย ราชวงศ์หยวน (หรือมองโกล) ทฤษฎี “น่านเจ้า” หรือ “หนองแส” นี้ได้รับการปฏิเสธ จากนักวิชาการรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือเทศ ที่สรุปจากหลักฐานของจีนว่า “น่านเจ้า” นั้น หาใช่อาณาจักรของชนชาติไทยไม่ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของน่านเจ้าเมื่อหนึ่งพันกว่าปีมาแล้ว นามว่า “พีล่อโก๊ะ-โก๊ะล่อฝง, ฝงเจียอี้, อี้มูซุน (Pi-lo-ko, Ko-lo-feng, Feng-chia-i, I-mou-hsun) นั้นเป็นชนเผ่า “โลโล่” (Lo-lo) ซึ่งเป็นเครือญาติกับตระกูลธิเบต/พม่า หาใช่ตระกูลไท/ไต/ลาวไม่ การขนานนามกษัตริย์ ด้วยการนำ�คำ�สุดท้ายของบิดา มาตั้งเป็นคำ� ต้นของบุตร ดังที่เห็นนี้ ก็เป็นธรรมเนียมของ “โลโล่” ไม่ใช่ธรรมเนียมไท/ไต/ลาว แต่อย่างใด ความน่าสนใจของแผนที่แผ่นนี้ คือ การ วาดภาพให้อาณาจักรของชนชาติไทย นอกจากจะมีศูนย์กลางที่ “หนองแส” แล้วก็ยังมี “ไทยใหญ่” และ “โยนก” ที่ใต้ลงมาคือ “ขอม” ซึ่งมีอาณาจักรใหญ่โตมโหฬาร ครอบคลุมพม่าตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง ลาวทั้งหมด กัมพูชา ตลอดจนภาคใต้ถึงนครศรีธรรมราช แน่นอนในทัศนะของนักประวัตศิ าสตร์ สกุล “อำ�มาตยาชาตินยิ ม” ไม่ถอื ว่า “ขอม” คือ “เขมร” และจินตกรรม (โดยปราศจากหลักฐาน) อีกว่า “ขอม” เป็นชนชาติที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 338

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


แผ่นที่ 4 “อาณาจักรสุโขทัย” นี่คืออาณาจักรที่ประวัติศาสตร์ฉบับทางการ ถือว่าเป็น “ยุคทอง” ของไทยที่สามารถสถาปนาขึ้นได้ใน “แหลมทอง” และเป็นจุดเริ่มต้นและที่รวมหรือ “อู่อารยธรรม” ของไทย ที่เพียบพร้อมไปด้วยพุทธศาสนา สถาบันกษัตริย์แบบ “พ่อปกครอง ลูก” ถึงขนาดกล่าวว่ามี “ประชาธิปไตย” มี “การค้าเสรี” และมี “สิทธิเสรีภาพ” ของประชาชน (ไพร่ฟ้า หน้าใส) เป็นประหนึ่ง “โลกพระศรีอาริย์” หรือไม่ก็ “ยูโธเปีย” ภาพที่ “จินตกรรม” ดังกล่าวนี้ น่าจะเอามาจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำ�แหง ซึ่ง ในแง่ ข องวิ ช าการปั จ จุ บั น มี ก ระแสโต้ แ ย้ ง ว่ า จารึ ก ขึ้ น ในสมั ย นั้ นจริ ง ๆ หรื อ มาจารึ ก ในตอนต้ น รั ต นโกสิ นทร์ (ประมาณ รั ช กาลที่ 3) นี่ เ อง การวาดแผนที่ ท างประวั ติ ศ าสตร์ ให้ สุ โขทั ย มี ดิ น แดนกว้ า งขวางใหญ่ โต ตั้ ง แต่ ล าว (หลวงพระบาง) ไปจนสุดแหลมมลายู มีสงิ คโปร์เป็นส่วนหนึง่ ของอาณาจักรด้วยนัน้ ก็ดจู ะเกินความเป็นไปได้ ทัง้ นีย้ งั ไม่รวมถึงปัญหาทางประวัตศิ าสตร์ ที่หากจะมองเปรียบเทียบกับแผ่นที่ 3 ที่ “ขอม” กว้างขวางใหญ่โต แต่จู่ๆ ก็เกือบจะมลายหายไป แต่ก็ยังเหลือส่วนที่เป็น “พิมาย” และชายทะเลฝั่งตะวันออกด้านชลบุรี ถึงจันทบุรี จนจรดปากแม่น้ำ�โขง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 339


แผ่นที่ 5 “อาณาจักรศรีอยุธยา” จากยุคทองและความยิ่งใหญ่สมัย “สุโขทัย” แผนที่ประวัติศาสตร์ชุดนี้ กระโดนมายัง “อยุธยา” ซึ่งก็น่าเชื่อว่าที่มีดินแดน กว้างขวางใหญ่โต ครอบคลุมพม่าตอนล่างทั้งหมด ถึงเมืองหงสาวดี แผ่ขยายขึ้นไปทางเหนือ รวมทั้งเชียงใหม่ ไปจนกระทั่งถึงแสน หวีในรัฐฉาน และรวมลาวทั้งหมด กัมพูชาทั้งหมด แต่ทางใต้กลับไม่รวมปัตตานี ดินแดนอันกว้างขวางนี้ คงถูกเขียนขึ้นมาเพื่อจำ �ลอง ภาพความยิง่ ใหญ่ในสมัยของพระนเรศวร นัน่ เอง และนีก่ ค็ อื ปัญหาของการวาดภาพ “แผนทีป่ ระวัตศิ าสตร์” ทีใ่ นอดีตนัน้ อาณาจักรมี ทั้ง “ยืด” และมีทั้ง “หด” กล่าวคือ หากกษัตริย์มีเดชานุภาพสูง อาณาจักรก็จะกว้างขวางใหญ่โต มีเมืองขึ้น มี “ประเทศราช” มากมาย ได้ และดินแดนของอาณาจักรไหนๆ ก็ตาม ก็ไม่เคย “หยุดนิ่ง” แน่นอน และ/หรือคงที่ได้ ในยุคที่ตกต่ำ�ก็จะเหลือเพียงนิดเดียว ใน ขณะที่อาณาจักรเพื่อนบ้าน ก็อาจขยายใหญ่โตได้ ดังนั้น ในการทำ�แผนที่ประวัติศาสตร์แบบนี้ ก็ขึ้นอยู่ว่าประเทศไหนทำ� และ “เลือก” ที่จะทำ�ยุคสมัยไหน ตามปกติก็มักไม่มีประเทศไหน จะทำ�แผนที่ตอนที่ตนเองตกต่ำ�นัก ข้อที่น่าสังเกตและน่าตั้งคำ�ถามสำ�หรับแผนที่ แผ่นที่ 5 นี้ ก็คือ ทำ�ไมยุคสมัยของศรีอยุธยา เริ่มต้นที่ “พ.ศ. 2100 (ค.ศ. 1557) เริ่มอาณาจักรศรีอยุธยา” แทนที่จะเริ่มที่ พ.ศ. 1893 (ค.ศ. 1350) ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทำ�ไม “อยุธยา” หดหายไปตั้ง 200 ปี (โปรดกลับไปดูแผ่นที่ 1) 340

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


แผ่นที่ 6 “อาณาจักรธนบุรี” แผนที่ชุดนี้ ให้ “บันได” ของยุคสมัยนี้ไว้สั้นและเล็ก เพียงแค่เรื่องการ “จลาจล 3 ปี” จาก พ.ศ. 2310-13 และวาดเส้น เขตแดนไว้อย่างสับสนทั้งส่วนที่เป็น “ก๊ก” ต่างๆ และส่วนที่ห่างไกลออกไปอย่างล้านนา ลาว กัมพูชา และมลายู นี่น่าจะมาจากทัศนะ และมุมมองของทั้ง “ราชาชาตินิยม” กับ “อำ�มาตยาชาตินิยม” ที่ทั้งจะโดย “ตั้งใจ” กับ “ไม่ตั้งใจ” ก็ตาม ที่ทำ�ให้รัชสมัย 15 ปีของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรตี ากสินมหาราช มีและไม่มพี นื้ ทีใ่ นประวัตศิ าสตร์ และภูมศิ าสตร์ อย่างทีเ่ ราจะเห็นได้ในรูปของแบบเรียนของ กระทรวงศึกษาฯ จากสื่อ (วิทยุ ทีวี นสพ.) ตลอดจนละคร เพลง นวนิยาย ฯลฯ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 341


น่าจะมาจากทัศนะและมุมมองของทั้ง “ราชาชาตินิยม” กับ “อำ�มาตยาชาตินิยม” ที่ทั้งจะโดย “ตั้งใจ” กับ “ไม่ตั้งใจ” ก็ตาม ที่ทำ�ให้รัชสมัย 15 ปีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตากสินมหาราช มีและไม่มีพื้นที่ในประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ อย่างที่ เราจะเห็นได้ในรูปของแบบเรียนของกระทรวงศึกษาฯ จากสื่อ (วิทยุ ทีวี นสพ.) ตลอดจนละคร เพลง นวนิยาย ฯลฯ แผ่นที่ 7 “อาณาจักรรัตนโกสินทร์” แผนทีช่ ดุ นี้ นำ�นักเรียน นักศึกษา และผูด้ อู ย่างเราๆ ท่านๆ ทัว่ ไป เข้าสูย่ คุ สมัยใกล้เคียงกับปัจจุบนั ด้วยการนำ�เสนอ “บันไดขั้นสุดท้าย” ที่ “ปัจจุบัน ประเทศไทย บรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ (ประเทศสยาม) พ.ศ. 2325” หรือ ค.ศ. 1782 อันเป็นปีที่ “ย้ายวังหลวง” จากฝั่งขวาของแม่น้ำ�เจ้าพระยา ข้ามมาฝั่งซ้าย แต่จะมาเรียกแยกกันภายหลังว่าเป็น “กรุงธนบุรี” กับ “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง ในวิธีคิดของคนสมัยโน้นจนกระทั่งรัชกาลที่ 3 ยังคงเรียกเมืองหลวงว่า “อยุธยา” ไม่ว่าจะ อยู่ทางฝั่งไหนของแม่น้ำ�ก็ตาม แผนที่แผ่นนี้ ให้ความยิ่งใหญ่ และชัดเจนของอาณาเขตและดินแดนของ “รัตนโกสินทร์” ที่ ครอบคลุมจากเหนือสุดที่ “แสนหวี” กระจายลงใต้ระบายเป็นสีเหลือง ทั้งพม่าตอนล่าง ทั้งลาวทั้งประเทศ และทั้งกัมพูชา ทั้งประเทศ ไปจนจรดรัฐมลายู ที่ “ไทรบุรี” (มี 2 ไทรบุรี ?) และกะลันตัน แผนที่แผ่นนี้สำ�คัญมาก เพราะ ก. เป็นผลพวง ของการสร้าง “วาทกรรม” ด้วยความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย กับการมี “ดินแดน” อันกว้างขวาง กับ ข. เป็นการปูพื้นเพื่อ ความเข้าใจใน “วาทกรรม” ของ “การเสียดินแดน” ที่จะปลูกฝังไว้ใน “จินตกรรมไทย” นับตั้งแต่ทศวรรษ 2470 และ 2480 เป็นต้นมา แผ่นที่ 8 “การเสียดินแดนของไทย” นี่เป็นแผนที่สุดท้าย และเป็นจุดสุดยอดของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ กับภูมิศาสตร์ทั้งหมดของประเทศไทย ขอให้สังเกตข้อความตรงกลางที่ว่า “เขตไทย ที่เหลืออยู่” และเป็นรูปสีเหลือง ขวานทอง วนตามเข็มนาฬิกา ก็คือ “การเสีย ดินแดน” ของไทย ตามลำ�ดับ ดังนี้ คือ - ทางด้านซ้ายสุด “ไทยสละตะนาวศรีให้อังกฤษ พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825)” ซึ่งก็คือ ตรงกับสมัยต้นรัชกาลที่ 3 พระนั่งเกล้าฯ (แทนที่จะเป็นสมัยรัชกาลที่ 1 ดังที่เรารับรู้กันทั่วไป และทั้งยังไม่กล่าวรวมถึงเมืองทวาย กับเมือง มะริดอีกด้วย) - ทางด้านเหนือสุด คือ “สิบสองจุไทย ฝรั่งเศสยึดครอง พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ขอ ให้สังเกตว่า หาได้ใช้คำ�ว่า “สละ” หรือ “เสียดินแดน” ไม่ - ถัดมาคือส่วนที่เป็นลาว (ปัจจุบัน) เกือบทั้งประเทศที่ “ฝรั่งเศสได้ ลาวตามสัญญา พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)” ซึ่ง ก็หมายถึงหนังสือสัญญาภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ. 112 นั่นเอง - ต่อจากนั้น “ฝั่งขวาแม่น้ำ�โขง ฝรั่งเศสได้ตามสัญญา พ.ศ. 2446 (แต่เนื่องด้วยวิธีการนับวันขึ้นปีใหม่ ยังเป็นแบบ เก่าอยู่ ดังนั้นถ้าเทียบ ค.ศ. ก็จะตก 1904 ไม่ใช่ 1903) ดินแดนนี้ คือ ส่วนที่เป็น “ไซยะบูลี” และ “จัมปาสัก” ของลาว และบางส่วนที่อยู่ใต้ “พนมดงรัก” - ล่างลงมา คือ กัมพูชาที่ “ฝรั่งเศสได้ เขมรตามสัญญา พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867)” ในปลายสมัยของรัชกาลที่ 4 ในส่วนที่ไทยสยามเคยเรียกว่า “เขมรส่วนนอก” ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ “กรุงอุดงมีชัย-กรุงพนมเปญ” - ถัดมาคือ “ฝรั่งเศส ได้มณฑลบูรพาตามสัญญา พ.ศ. 2449 (และก็เนื่องด้วยวิธีการนับวันขึ้นปีใหม่ ที่ยังเป็นแบบ เก่าอยู่ ดังนั้นถ้าเทียบ ค.ศ. ก็ตก ค.ศ. 1907 หาใช่ 1906 ไม่) ซึ่งก็คือสมัยปลายรัชกาลที่ 5 และหมายถึงดิน แดน “เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ” หรือที่ไทยสยามเคยเรียกว่า “เขมรส่วนใน” - ใต้สุดเลย ก็คือ “อังกฤษได้ปะลิส และไทรบุรี กะลันตัน และตรังกานู ตามสัญญา พ.ศ. 2451 (เช่นกัน เนื่อง ด้วยวิธีการนับวันขึ้นปีใหม่ ยังเป็นแบบเก่าอยู่ ดังนั้นถ้าเทียบ ค.ศ. จึงตกที่ ค.ศ. 1909 ไม่ใช่ 1908)

(4) กล่าวโดยย่อ ในทัศนะของพลเอก พูนพล (ซึ่งเราต้องไม่ลืมว่า ท่านเป็นนายทหารชำ�นาญการเรื่องแผนที่ภมู ิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ที่เด่นที่สุดคนหนึ่งของประเทศ และท่านก็อยู่ในทีมของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช) และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) (ก่อนคดีปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2505/ค.ศ. 1962) ที่ท่านได้ทำ� “แผนที่ประวัติศาสตร์” ชุด 8 แผ่น 342

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


แผ่นที่ 7 “อาณาจักรรัตนโกสินทร์” แผนทีช่ ดุ นี้ นำ�นักเรียน นักศึกษา และผูด้ อู ย่างเราๆ ท่านๆ ทัว่ ไป เข้าสูย่ คุ สมัยใกล้เคียงกับปัจจุบนั ด้วยการนำ�เสนอ “บันได ขั้นสุดท้าย” ที่ “ปัจจุบัน ประเทศไทย บรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ (ประเทศสยาม) พ.ศ. 2325” หรือ ค.ศ. 1782 อันเป็นปีที่ “ย้าย วังหลวง” จากฝั่งขวาของแม่น้ำ�เจ้าพระยา ข้ามมาฝั่งซ้าย แต่จะมาเรียกแยกกันภายหลังว่าเป็น “กรุงธนบุรี” กับ “กรุงรัตนโกสินทร์” นัน่ เอง ในวิธคี ดิ ของคนสมัยโน้นจนกระทัง่ รัชกาลที่ 3 ยังคงเรียกเมืองหลวงว่า “อยุธยา” ไม่วา่ จะอยูท่ างฝัง่ ไหนของแม่น�้ำ ก็ตาม แผนที่ แผ่นนี้ ให้ความยิ่งใหญ่ และชัดเจนของอาณาเขตและดินแดนของ “รัตนโกสินทร์” ที่ครอบคลุมจากเหนือสุดที่ “แสนหวี” กระจายลง ใต้ระบายเป็นสีเหลือง ทั้งพม่าตอนล่าง ทั้งลาวทั้งประเทศ และทั้งกัมพูชาทั้งประเทศ ไปจนจรดรัฐมลายู ที่ “ไทรบุรี” (มี 2 ไทรบุรี ?) และกะลันตัน แผนที่แผ่นนี้สำ�คัญมาก เพราะ ก. เป็นผลพวงของการสร้าง “วาทกรรม” ด้วยความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย กับการมี “ดินแดน” อันกว้างขวาง กับ ข. เป็นการปูพื้นเพื่อความเข้าใจใน “วาทกรรม” ของ “การเสียดินแดน” ที่จะปลูกฝังไว้ใน “จินตกรรม ไทย” นับตั้งแต่ทศวรรษ 2470 และ 2480 เป็นต้นมา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 343


แผ่นที่ 8 “การเสียดินแดนของ ไทย” นี่ เป็ น แ ผ นที่ สุ ด ท้ า ย แ ล ะ เป็ น จุ ด สุ ด ยอดของเรื่ อ งราวทาง ประวัติศาสตร์ กับภูมิศาสตร์ทั้งหมด ของประเทศไทย ขอให้สงั เกตข้อความ ตรงกลางที่ว่า “เขตไทย ที่เหลืออยู่” และเป็นรูปสีเหลือง ขวานทอง วน ตามเข็ ม นาฬิ ก า ก็ คื อ “การเสี ย ดินแดน” ของไทย ตามลำ�ดับ ดังนี้ คือ - ทางด้ า นซ้ า ยสุ ด “ไทยสละ ตะนาวศรี ใ ห้ อั ง กฤษ พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825)” ซึ่งก็คือ ตรงกับสมัยต้น รัชกาลที่ 3 พระนั่งเกล้าฯ (แทนที่จะ เป็นสมัยรัชกาลที่ 1 ดังที่เรารับรู้กัน ทั่วไป และทั้งยังไม่กล่าวรวมถึงเมือง ทวาย กับเมืองมะริดอีกด้วย) - ทางด้านเหนือสุด คือ “สิบสอง จุไทย ฝรั่งเศสยึดครอง พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ขอให้สังเกตว่า หาได้ใช้คำ�ว่า “สละ” หรือ “เสียดินแดน” ไม่ - ถัดมาคือส่วนที่เป็นลาว (ปัจจุบัน) เกือบทั้งประเทศที่ “ฝรั่งเศสได้ ลาวตามสัญญา พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)” ซึ่งก็หมาย ถึงหนังสือสัญญาภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ. 112 นั่นเอง - ต่อจากนั้น “ฝั่งขวาแม่น้ำ�โขง ฝรั่งเศสได้ตามสัญญา พ.ศ. 2446 (แต่เนื่องด้วยวิธีการนับวันขึ้นปีใหม่ ยังเป็นแบบเก่าอยู่ ดังนั้นถ้าเทียบ ค.ศ. ก็จะตก 1904 ไม่ใช่ 1903) ดินแดนนี้ คือ ส่วนที่เป็น “ไซยะบูลี” และ “จัมปาสัก” ของลาว และบางส่วนที่อยู่ใต้ “พนมดงรัก” - ล่างลงมา คือ กัมพูชาที่ “ฝรั่งเศสได้ เขมรตามสัญญา พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867)” ในปลายสมัยของรัชกาลที่ 4 ในส่วน ที่ไทยสยามเคยเรียกว่า “เขมรส่วนนอก” ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ “กรุงอุดงมีชัย-กรุงพนมเปญ” - ถัดมาคือ “ฝรั่งเศส ได้มณฑลบูรพาตามสัญญา พ.ศ. 2449 (และก็เนื่องด้วยวิธีการนับวันขึ้นปีใหม่ ที่ยังเป็นแบบเก่าอยู่ ดังนั้นถ้าเทียบ ค.ศ. ก็ตก ค.ศ. 1907 หาใช่ 1906 ไม่) ซึ่งก็คือสมัยปลายรัชกาลที่ 5 และหมายถึงดินแดน “เสียมราฐ-พระตะบองศรีโสภณ” หรือที่ไทยสยามเคยเรียกว่า “เขมรส่วนใน” - ใต้สุดเลย ก็คือ “อังกฤษได้ปะลิส และไทรบุรี กะลันตัน และตรังกานู ตามสัญญา พ.ศ. 2451 (เช่นกัน เนื่องด้วยวิธี การนับวันขึ้นปีใหม่ ยังเป็นแบบเก่าอยู่ ดังนั้นถ้าเทียบ ค.ศ. จึงตกที่ ค.ศ. 1909 ไม่ใช่ 1908) 344

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


นี้ให้กับ ทวพ. นั้น ไทยเรา “เสียดินแดน” ทั้งหมด 7 ครั้ง และถ้าเราจะลองนำ�เอาแผนที่ชุด ทวพ. ของท่าน ไปเปรียบเทียบ กับแผนที่ ที่มีมาก่อน (2500) หรือกับแผนที่ที่ตามมาทีหลัง (2500) เราก็อาจจะเห็นเรื่องราวของการสร้าง “จินตกรรม” และ “วาทกรรม” ว่าด้วย “ชาตินิยม” กับ “การเสียดินแดน” ได้เป็นอย่างดี และในที่นี้ ผู้เขียนขอให้เรามาศึกษาแผนที่รุ่นแรกๆ ที่มีส่วนสร้าง “วาทกรรม” ทั้งสอง ดังนี้ ในช่วงของการค้นคว้าข้อมูล เพื่อเขียนบทความนี้ ผู้เขียนได้รับความช่วยเหลือจาก ผศ. ธนศักดิ์ สายจำ�ปา อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก ที่ได้ช่วยค้นคว้าหาข้อมูล และพบว่า ในแผนที่ ที่กรมแผนที่ ทหาร พิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “แผนที่แสดงที่อยู่ของประชาชาติไทยปัจจุบัน” นั้นเป็น แผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000,000 น่าจะเป็นหลักฐานสำ�คัญแห่งยุคสมัยนั้น นี่เป็นแผนที่จำ�นวน 1 ใน 3 ระวาง ของ “แผนที่ ประวัติศาสตร์” มาตรา 1 : 5,000,000 ที่กรมแผนที่พิมพ์เผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น (รายงานกิจการทั่วไปในราชการ ของกรมแผนที่ สำ�หรับปีพุทธศักราช 2478-79) ทางด้านล่างด้านขวามี “หมายเหตุ” ชี้แจงไว้ว่า “แผนที่ฉบับนี้ ได้รวบรวม ขึ้นจากจดหมายเหตุต่างๆ ในพระราชพงศาวดาร ฯลฯ กับอาศัยแผนที่ยุทธศาสตร์ของพระบาทสมเด็จรามาธิบดีที่ 1 และ พงศาวดารสังเขปประกอบกันไป” กล่าวได้ว่าแผนที่ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “วาทกรรม” และ “จินตกรรม” ลัทธิชาตินิยม ที่แสดงให้เห็นความ ยิ่งใหญ่โดยจำ�นวนที่กระจัดกระจายกันอยู่ของ “เผ่าไทย” หรือ Thai Race ที่หากรวมกันเป็น Pan-Thai-ism หรือ “มหาอาณาจักรไทย” ก็จะ “สร้างชาติ” ให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ นี่คือกระแสของลัทธิชาตินิยม ในรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ลัทธินาซีและฟาสซีสม์ ที่กำ�ลังเฟื่องฟูอยู่ในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แผนที่นี้ ต้องการแสดง ให้เห็นว่าพื้นที่โดยรอบของประเทศสยาม (ยังไม่ได้เปลี่ยนนามเป็นประเทศไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) หรือ อีก 4 ปีต่อมา) นั้น มี “คนไทย” หรือ “เผ่าไทย” อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ จำ�นวนมาก โดยใช้สีเหลือง แสดงให้เห็นถึง กระจายตัวของกลุ่มคนเชื้อชาติไทย และได้ให้รายละเอียดว่า “ไทยอิสระในประเทศสยามมีจำ�นวน 12,000,000 คนเศษ” (แผนที่เช่นนี้ จะสอดคล้องไปกับการสร้างบทละคร อย่างเช่นเรื่อง “น่านเจ้า” หรือเพลงและระบำ� “เผ่าไทย” (ต่างๆ) ของ หลวงวิจิตรวาทการ และกรมศิลปากรในยุคนั้น) ทางด้านขวาของแผนที่ มีคำ�อธิบาย ที่ “ไทย” เผ่าต่างๆ (โดยใช้ตัวสะกด มี ย ยักษ์ ทั้งหมด ไม่แยกแยะเป็น “ไต” หรือ “ไท” อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน) ดังต่อไปนี้ “ไทยในปกครองฝรั่งเศส ได้แก่ ไทยโท้, ไทยนุง, ไทยทรงดำ�, ไทยลาย, ไทยขาว, ลื้อ, ผู้ไทย, พวน, ไทยย่อ, ไทยเวียง (ลาวเวียง), ไทยหลวง, ซึ่งอยู่ในแคว้นตังเกี๋ย (ญวนเหนือ) และฝั่งตะวันออกแม่น้ำ�ของแคว้นหลวงพระบางถึง นครจำ�ปาศักดิ์ มีจำ�นวน 2,000,000 คน” “ไทยในปกครองอังกฤษ ได้แก่ ไทยอาโหม, ไทยคำ�ตี่ฯ ในแคว้นอัสสัมมีจำ�นวน 250,000 คน ไทยคำ�ตี่ในแคว้น ยะไข่ 10,000 คน ไทยเขิน, ไทยลื้อ, ไทยยอง, ไทยใหญ่ (เงี้ยว) รวมตั้งแต่ภาคเหนือเมือง, มาวหลวง, แสนหวี, สีป้อ, เชียงตุง, ภาคกลางเมือง ลอกจอก, คัง, หนอง, ไลขะ, นาย, มอกใหม่มีจำ�นวน 1,500,000 คน ไทยยวน (ไทยเหนือ), ไทยน้อย, ไทยใต้ ถูกพม่ากวาดต้อนเอาไปแต่ครั้งเสียพระนครศรีอยุธยา ยังตั้งภูมิลำ�เนาอยู่ในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่บ้านผาปูน, เมยวะดี, เชียงตราน, ตลอดถึงภาคใต้ ทะวาย ตะนาวศรีมีจำ�นวน 60,000 คน” “ไทยในปกครองจีน ได้แก่ ไทยโท้, ไทยนุง, ไทยชองฯ ในมณฑลกวางซี 2,000,000 คน ไทยชุง, ย้อย, ฯ ในมณฑล ไกวเจา (กุยจิว) 2,000,000 คน ไทยเหนือ, ลื้อ, ไทยน้ำ�, ไทยลาย, ไทยหลวง, ไทยน้อย, ในมณฑลยูนนาน 2,000,000 คน ไทยโท้, ไทยหลวง, ไทยจีน, ในมณฑลเสฉวน 300,000 คน ไทยหลวง, ไทยย้อย, ไทยลุง, ในมณฑลกวางตุ้ง 500,000 คน ไทยย้อย, ไทยชองฯ ในเกาะใหหลำ�มีจำ�นวน 250,000 คน” กล่าวโดยย่อ ในทัศนะของนักชาตินิยม สายสกุล “อำ�มาตยาชาตินิยม” และแนวความคิดว่าด้วย “มหาอาณาจักร ไทย” หรือ Pan-Thai-ism ยุคนั้น หากสามารถรวมจำ�นวนประชากรของไทยสยาม ซึ่งมีอยู่ขณะนั้นมีเพียง 12 ล้านคน ให้ เข้ากับ “ไทยในปกครองของฝรั่งเศส” ที่มีอยู่ 2 ล้านคน กับ “ไทยในปกครองของอังกฤษ” อีก 1,820,000 คน และ “ไทย ในปกครองของจีน” 2,010,000 คน ทั้งสิ้น ก็จะเป็นจำ�นวนเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 18 ล้านคน คือมีจำ�นวนมากพอเกือบๆ ครึ่งหนึ่ง ของประชากรของมหาอำ�นาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส [เมื่อปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935 ฝรั่งเศสมีประชากร 42 ล้าน อังกฤษ มี 46 ล้าน] และเราต้องไม่ลืมว่าในยุคสมัยนั้น และเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยใกล้ๆ ตัวเรา อย่างยุคจอมพล สฤษดิ์-ถนอมชาญวิทย์ เกษตรศิริ 345


“แผนที่แสดงที่อยู่ของประชาชาติไทยปัจจุบัน” นั้นเป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000,000 น่าจะเป็นหลักฐานสำ�คัญแห่งยุค สมัยนั้น นี่เป็นแผนที่จำ�นวน 1 ใน 3 ระวาง ของ “แผนที่ประวัติศาสตร์” มาตรา 1 : 5,000,000 ที่กรมแผนที่พิมพ์เผยแพร่ในช่วงเวลา ดังกล่าวข้างต้น (รายงานกิจการทั่วไปในราชการของกรมแผนที่ สำ�หรับปีพุทธศักราช 2478-79) ทางด้านล่างด้านขวามี “หมายเหตุ” ชี้แจงไว้ว่า “แผนที่ฉบับนี้ ได้รวบรวมขึ้นจากจดหมายเหตุต่างๆ ในพระราชพงศาวดาร ฯลฯ กับอาศัยแผนที่ยุทธศาสตร์ของพระบาท สมเด็จรามาธิบดีที่ 1 และพงศาวดารสังเขปประกอบกันไป” กล่าวได้ว่าแผนที่ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “วาทกรรม” และ “จินตกรรม” ลัทธิชาตินิยม ที่แสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่โดย จำ�นวนที่กระจัดกระจายกันอยู่ของ “เผ่าไทย” หรือ Thai Race ที่หากรวมกันเป็น Pan-Thai-ism หรือ “มหาอาณาจักรไทย” ก็จะ “สร้างชาติ” ให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ นี่คือกระแสของลัทธิชาตินิยม ในรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธินาซีและฟาสซีสม์ ที่กำ�ลังเฟื่องฟู อยู่ในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 346

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ประภาส หรือทศวรรษ 2500-2510 (1960s-1970s) นั้น แนวความคิดว่าด้วยความเจริญและอำ�นาจของประเทศ คือ การ มีประชากรจำ�นวนมาก มากเสียกว่าจะมีความเชื่อเรื่อง “การคุมกำ�เนิด”

(5)

นอกเหนือจากแผนที่ ที่แสดง “ถิ่นที่อยู่” ของชนชาติไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีว่าด้วย “อพยพโยกย้าย” หรือ Exodus แล้ว ผศ. ธนศักดิ์ สายจำ�ปา ยังได้นำ�แผนที่อีกแผ่นหนึ่ง ที่เกี่ยวเนื่องกันมาช่วยประกอบการศึกษา กล่าวคือ “แผนที่แสดงอาณาจักร์กรุงเทพ ฯลฯ รัตนโกสินทร์มหินทรายุธยา ยุคสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า (พ.ศ. 2325-52)” นี่เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000,000 พิมพ์ที่กรมแผนที่ในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) เช่นเดียวกับแผนที่ที่เพิ่งกล่าวถึง และก็เป็นแผนที่จำ�นวน 1 ใน 3 ระวาง ของแผนที่ประวัติศาสตร์ มาตรา 1 : 5,000,000 ที่กรมแผนที่พิมพ์ในปี พ.ศ. 2478 เช่นกัน (รายงานกิจการทัว่ ไปในราชการของกรมแผนที่ สำ�หรับปีพทุ ธศักราช 2478-2479) ข้อมูลทีก่ รมแผนทีท่ หารกล่าวอ้าง ก็คือ ในการจัดทำ�แผนที่ฉบับนี้ ได้รวบรวมหลักฐานจาก “จดหมายเหตุต่างๆ ในพระราชพงศาวดาร ฯลฯ กับอาศัยแผนที่ ยุทธศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จรามาธิบดีที่ 1 และพงศาวดารสังเขปประกอบกันไป” แผนที่ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า “เส้น แนวพรมแดน” ของอาณาจักร์กรุงเทพ ฯลฯ (ในแผนที่ใช้คำ�ว่า “ไทย”) มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง โดยมีแนว พรหมแดนกินเนื้อที่ ติดกับจีน กินเข้าไปในพม่า ในลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนทางใต้ก็ข้ามแดนเข้าไปในมลายู ข้อมูลดังกล่าวของ ผศ. ธนศักดิ์ ทำ�ให้ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมกับผู้เขียนว่า แผนที่ปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) แผ่นนี้ อาจจะเป็น “ต้นตอ” ของการสร้างวาทกรรม “การเสียดินแดน” ให้ “เป็นรูปเป็นร่าง” กล่าวคือ “จับต้อง” และ/หรือ “มองเห็นได้” เป็น “รูปธรรม” มากกว่าเป็น “นามธรรม” อย่างเช่นในกรณีที่เขียนเป็นตัวหนังสือ หรือ กล่าวถึงโดยคำ�พูด ซึ่งในประเด็นหลังนี้ ดร. ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ได้กล่าวสรุปไว้ในหนังสือ “สยามประเทศไทยกับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว” (พิมพ์ พ.ศ. 2552 หน้า 147-169) ว่างานเขียนหรือ “หนังสือ” สำ�คัญๆ ที่สร้าง “วาทกรรม” ดังกล่าวนี้ ปรากฏเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษ 2470 ในสมัย “รัฐธรรมนูญ” หรือหลัง “ปฏิวัติ พ.ศ. 2475” นั่นเอง และทวี ความเข้มข้นรุนแรงขึ้นในช่วงทศวรรษ 2480 อันเป็นช่วงของ “การเรียกร้องดินแดน” และ “สงครามอินโดจีน” กับ “สงคราม มหาเอเชียบูรพา” (หรือสงครามโลกครั้งที่ 2) นั่นเอง ใน “แผนที่แสดงอาณาจักร์กรุงเทพ ฯลฯ รัตนโกสินทร์มหินทรายุธยา ยุคสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า (พ.ศ. 23252352)” แผ่นที่พิมพ์ปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) นี้ จะแสดงให้เห็นว่า “ดินแดน” ของ “ไทย” นั้น ทางด้านตะวันตกเหนือสุด คือ “เมืองแสนหวี” (ในรัฐฉานของพม่า) ในขณะที่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือสุด ก็คือ “หลวงพระบาง” ส่วนทางด้านตะวันตก คือ “ทวาย-มะริด-ตะนาวศรี” และด้านตะวันออกก็รวมถึง “เมืองจัมปาสัก” ในลาว ตลอดจนประเทศกัมพูชาทัง้ ประเทศ แถม ยังกินอาณาเขตไปถึง “เมืองบันทายมาศ” (ฮาเตียน) ในเวียดนามใต้ ส่วนใต้สุดก็รวมทั้ง “ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู” นั่นเอง

(6)

และนี่ ก็นำ�เรามาสู่แผนที่ส�ำ คัญของยุคสมัยว่าด้วย “การเสียดินแดน” อันเป็นแผ่นที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) อันเป็นยุคสมัยของ “การเรียกร้องดินแดน” และ “สงครามอินโดจีน” กับ “สงครามมหาเอเชียบูรพา” (หรือ สงครามโลกครั้งที่ 2) สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

“แผนทีป่ ระวัตอิ าณาเขตต์ไทย” ฉบับนี้ เป็นแผนทีม่ าตราส่วน 1 : 5,000,000 พิมพ์แยกสีอย่างงดงาม (11 สี) พิมพ์โดย “กรมแผนที่ทหาร” ในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ซึ่งเป็นปีของการเดินขบวน “เรียกร้องดินแดน” โดยนิสิตนักศึกษา (จากจุฬาฯ และ มธก.) และเป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000,000 เพียงระวางเดียวที่กรมแผนที่ฯ พิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) หรือหนึ่งปีภายหลังการเปลี่ยนชื่อจาก “สยาม” มาเป็น “ไทย” (Siam to Thailand) ในสมัยที่ นรม. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (ก่อนที่จะได้เลื่อนยศเป็น จอมพล และใช้ชื่อย่อกับนามสกุลว่า ป. พิบูลสงคราม) การพิมพ์แผนที่ฉบับนี้ จึงมีลักษณะของการทำ�แผนที่ เพื่อตอบสนองแนวนโยบายลัทธิชาตินิยม และกระบวนการ “สร้างชาติ” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นสำ�คัญ เป็นเรื่องราวหลักฐานของความยิ่งใหญ่ของ “เผ่าไทย” (Thai Race)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 347


“แผนที่แสดงอาณาจักร์กรุงเทพ ฯลฯ รัตนโกสินทร์มหินทรายุธยา ยุคสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า (พ.ศ. 2325-52)” นี่เป็น แผนที่มาตราส่วน 1 : 5,000,000 พิมพ์ที่กรมแผนที่ในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) เช่นเดียวกับแผนที่ที่เพิ่งกล่าวถึง และก็เป็นแผนที่ จำ�นวน 1 ใน 3 ระวาง ของแผนที่ประวัติศาสตร์ มาตรา 1 : 5,000,000 ที่กรมแผนที่พิมพ์ในปี พ.ศ. 2478 เช่นกัน (รายงานกิจการ ทั่วไปในราชการของกรมแผนที่ สำ�หรับปีพุทธศักราช 2478-2479) ข้อมูลที่กรมแผนที่ทหารกล่าวอ้าง ก็คือ ในการจัดทำ�แผนที่ฉบับนี้ ได้รวบรวมหลักฐานจาก “จดหมายเหตุต่างๆ ในพระราชพงศาวดาร ฯลฯ กับอาศัยแผนที่ยุทธศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จรามาธิบดีที่ 1 และพงศาวดารสังเขปประกอบกันไป” แผนที่ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า “เส้นแนวพรมแดน” ของอาณาจักร์กรุงเทพ ฯลฯ (ในแผนที่ ใช้คำ�ว่า “ไทย”) มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง โดยมีแนวพรหมแดนกินเนื้อที่ ติดกับจีน กินเข้าไปในพม่า ในลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนทางใต้ก็ข้ามแดนเข้าไปในมลายู

348

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 349


350

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 351


352

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง “มหาอาณาจักรไทย” (Pan Thai-ism) ดังนั้น แผนที่ฉบับนี้ จึงแสดงให้เห็นถึง “การเสียดินแดน” ของไทยทั้งหมด 8 ครั้ง ตามลำ�ดับ (โปรดสังเกตว่าระบุเป็น พ.ศ. และ ร.ศ. แต่มิได้ระบุรัชกาล) ดังนี้ ครั้งที่ 1 อังกฤษได้จากไทรบุรีเมื่อ ร.ศ. 5-19 (พ.ศ. 2329-2343/ค.ศ. 1786-1,800) ครั้งที่ 2 ตกไปเป็นของพะม่าเมื่อ ร.ศ. 12 (พ.ศ. 2336/ค.ศ. 1883) ครั้งที่ 3 ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 107 (พ.ศ. 2431/ค.ศ. 1888) ครั้งที่ 4 ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 107 (พ.ศ. 2431/ค.ศ. 1888) ครั้งที่ 5 ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436/ค.ศ. 1893) ครั้งที่ 6 ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447/ค.ศ. 1904) ครั้งที่ 7 ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450/ค.ศ. 1907) และครั้งที่ 8 ตกไปเป็นของอังกฤษเมื่อ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452/ค.ศ. 1909) “การเสียดินแดน” ทั้งหมด 8 ครั้งตาม “แผนที่ประวัติศาสตร์” ฉบับปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ของ “กรมแผนที่ ทหาร” นี้ น่าจะถือได้วา่ เป็น “แม่แบบ” ของภูมศิ าสตร์ประวัตศิ าสตร์ฉบับทางการ ทีจ่ ะใช้ยดึ ถือกันมาจนกระทัง่ รุน่ ของพันเอก พูนพล อาสนจินดาในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) หรือก่อนคำ�ตัดสินกรณีปราสาทเขาพระวิหารในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) แต่ก็น่าแปลกใจอีกเช่นกัน ที่ฉบับของพันเอก พูนพลนั้น มีการ “เสียดินแดน” เพียง 7 ครั้ง ครั้งที่หายไปคือ “เกาะหมาก” หรือ “เกาะปีนัง” เราไม่ทราบได้ว่า ทำ�ไมพันเอก พูนพล จึงตัด “เกาะหมาก/ปีนัง” นี้ทิ้งไปเมื่อท่านทำ�แผนที่ชุด นี้ให้ ทวพ.

(7) ทีนี้ ปัญหาสุดท้ายของเรา เกี่ยวกับวาทกรรม “การเสียดินแดน” ก็คือ มีการ “เสียดินแดน” เพิ่มขึ้นๆ มาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็น 13 และ 14 ครั้ง (ล่าสุดคือปราสาทเขาพระวิหาร) นั้นมีการ “ผลิตซ้ำ�” และเราจะพบเห็นอยู่เป็นประจำ� ไม่ ว่าในตำ�ราเรียนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาฯ หรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ทั้งมีจำ�หน่าย และแจกจ่ายกันเรื่อยมา เช่น “แผนที่แสดงการเสียดินแดนของสยาม” ที่จัดพิมพ์ขึ้นโดย “กองเขตแดนระหว่างประเทศ” (กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) เมื่อไม่นานมานี้เอง และเป็นช่วงที่ไทยกับกัมพูชา เริ่มมีปัญหาระหว่างกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกรณีเผาสถานทูตไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) กรณีดังกล่าว แม้จะสงบลงในเวลาอันสั้นใน ช่วงของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร แต่ก็จะระเบิดและประทุขึ้นใหม่ เมื่อการเมืองภายในของไทยเอง เกิดความขัดแย้งกันอย่าง รุนแรงในช่วงต่อมา ขอให้สังเกตว่า “แผนที่แสดงการเสียดินแดนของสยาม” ของ “กองเขตแดนระหว่างประเทศ” นี้ ระบุว่า “เสียดินแดน” 13 ครั้ง (ที่หายไปจากแผนที่แผ่นนี้ คือ บันทายมาศ หรือ ฮาเตียน ในเวียดนาม) ในแง่ของการเมืองร่วมสมัย ณ ปัจจุบันนี้ ที่น่าสนใจก็คือ “ลัทธิชาตินิยม” ว่าด้วยวาทกรรม “การเสียดินแดน” ได้ถูกขยายวงให้กว้างขวาง มากกว่าที่จะจำ�กัดอยู่ในกลุ่มของ “ข้าราชการ” ของรัฐบาลทหาร และ/หรือ “อำ�มาตยาเสนา ชาตินิยม” กลับกระจายลงสู่กลุ่มเอกชน ชนชั้นกลาง (ชาวกรุง) กลายเป็น “การเมืองมวลชน” ในระดับท้องถนน (ของการ ยึดทำ�เนียบรัฐบาล และยึดสนามบิน) อย่างที่เราเห็นกันระหว่าง พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) จนถึงปัจจุบัน อันเป็นที่มาของการ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย “คนเสื้อ..............” เราจะเห็นได้ว่าวาทกรรม “การเสียดินแดน” ก็พัฒนาเทคนิค กลายเป็น “แผนที่อินเทอร์เน็ต” ที่เผยแพร่ ส่งทาง อีเมล์และ “เว็บ” กันอย่างกว้างขวางในช่วงของวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทย จาก พ.ศ. 2548 (ที่มีการก่อตัวของ “คน เสื้อเหลือง”) จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2554 (ยุคของ “คนเสื้อแดง”) ผ่านรัฐบาลก็หลายรัฐบาล จากรัฐบาล (นรม. ชายล้วน) ทักษิณ-สุรยุทธ-สมัคร-สมชาย-อภิสิทธิ์ จนกระทั่งถึง นรม. หญิง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นปีที่จัดทำ�หนังสือเล่มนี้ เราก็จะ พบข้อมูลที่ว่าไทย “เสียดินแดน 14 ครั้ง” และก็มีโอกาสจะเสียอีกเป็นครั้งที่ 15 หรือ 16 เรื่อยไปโดยไม่รู้จบ (ถ้าไม่ทำ�อะไร เป็นการหยุดยั้ง) โปรดดูวาทกรรม “การเสียดินแดน” หรือ “แผนที่อินเทอร์เน็ต” ที่ได้รับการ “ผลิตซ้ำ�” ในช่วงวิกฤตปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เมื่อกัมพูชานำ� “ปราสาทเขาพระวิหาร” ขึ้นจดทะเบียนมรดกโลกกับองค์การยูเนสโก (และแม้จะถูกรัฐบาลไทย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 353


แผนที่การเสียดินแดนของสยาม 354

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


แผนที่ประวัติอาณาเขตต์ไทย พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 355


356

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 357


358

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 359


คัดค้าน ก็ได้คะแนนไป 21:0 ) แผนที่นี้ ทำ�ขึ้นอย่างประณีต ใช้เทคนิคสูง ระบายสีสดใส มีการบรรยาย และเพลงประกอบ เร้าใจ มีรายละเอียด ข้อมูล ทั้งปี พ.ศ. ชื่อดินแดน (ที่เสียไป) พระนามและฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ เช่นรัชกาลที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และรัชกาลปัจจุบัน คือ ที่ 9 (แต่ไม่มีรัชกาลที่ 6-7-8) นี่เป็น “การเสียดินแดน” ตามแนวลัทธิชาตินิยม “พันทาง” ผสมและปลุกระดมจากทั้งทาง “ราชาชาตินิยม” และ “อำ�มาตยาชาตินิยม” ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น “แผนที่อินเทอร์เน็ต” นี้เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์/อีเมล์ กว้างขวางมาก และระบุว่า “เสียดินแดน” ทั้งหมด 14 ครั้ง ผูเ้ ขียนใคร่เสนอว่า ที่ “ดินแดน” ที่ “เสีย” นัน้ เพิม่ พูนขึน้ มาจาก “ฉบับแม่แบบ พ.ศ. 2483” จาก 8 ครัง้ กลายมาเป็น “ฉบับอินเทอร์เน็ต พ.ศ. 2551” รวมเป็น 14 ครั้งนั้น น่าจะเป็น “ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างขึ้น” ในช่วงก่อนและหลังคดี “ปราสาทเขาพระวิหาร” ที่ศาลโลก เมื่อ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ที่คำ�พิพากษา 9:3 ของศาลโลก ทำ�ให้นักประวัติศาสตร์ (กระแสหลัก) นักภูมิศาสตร์แผนที่ ภายใต้ลัทธิชาตินิยม ทั้งเวอร์ชันของ “ราชา” และ “อำ�มาตยา” ต่างต้องค้นคว้า ขุดคุ้ย และ “สร้างประวัติศาสตร์” ว่าด้วย “การเสียดินแดน” เพิ่มเติมรายการขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น (1) “บันทายมาศ” (ฮาเตียน ในเวียดนามใต้ปัจจุบัน) หรือ (2) “แสนหวี-เมืองพง-เชียงตุง” หรือ (3) “สิบสองปันนา” หรือ (4) “ฝั่งซ้ายแม่น้ำ�สาละวิน” หรือ (5) ตลอดจนกระทั่งรัฐมลายูที่ไกลออกไปอย่าง “เปรัค” รวมแล้วได้เพิม่ “การเสียดินแดน” ขึน้ มาอีก 5 ครัง้ รวมเป็น 13 และเมือ่ นับรวมครัง้ ล่าสุด คือ ปราสาทเขาพระวิหาร ก็กลายเป็น 14 ครั้งพอดี เป็นจำ�นวนมากพอที่จะใช้ “ปลุก” ลัทธิชาตินิยม ทั้งนี้เพื่อที่จะทั้งรักษาอำ�นาจเอาไว้ หรือไม่ก็เพื่อ ให้ได้มาซึ่งอำ�นาจ ทั้งในเวอร์ชันของ “ราชาชาตินิยม” และ “อำ�มาตยาชาตินิยม” แต่แน่นอนที่สุด จากวิกฤตการเมืองอันยาวนาน จนกระทั่งถึงการ “ปลุกระดม” ครั้งล่าสุดของ พธม. (พันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ในปลายปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ที่บานปลายไปจนกระทั่ง นายวีระ สมความคิด (แนว ร่วมของ พธม.) และนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ สส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ ที่ถูกกัมพูชาจับกุมไปฐานละเมิดดินแดน และตลอดจนการ “ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย” ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ พรรคกิจสังคม ซึ่งเป็น รมต. ทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในเรื่องกรณี เขาพระวิหาร และได้ walked out ออกจากที่ประชุมกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ณ กรุงปารีสนั้น แม้จะเล่นเกม “ลัทธิ ชาตินิยม” ตามแบบที่เล่นได้ผลกันมานานแสนนาน กลับไม่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนแต่อย่างใด น่าสนใจอย่างยิ่งว่า “สยามประเทศไทย” ของเรา กำ�ลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำ�คัญ ที่ “ประชาชาตินิยม” จะเป็น ลัทธิความเชื่อใหม่ ที่ทั้งกำ�ลังเกิด และทั้งกำ�ลังแพร่หลาย ลงไปในระดับล่าง ไปสู่ผู้คนที่กว้างขวางและใหญ่โตในระดับของ ประเทศชาติอย่างแท้จริง นอกเหนือจากที่เคยจำ�กัดอยู่แต่เพียงระดับบนๆ หรือกลางๆ เป็น “ชาวกรุง” และ “ชาวเมือง” เสีย เป็นส่วนใหญ่กระนั้นแหละ

(8) การผลิตซ้ำ�วาทกรรม “เสียดินแดน” จากเว็บไซต์ที่เผยแพร่ช่วง พ.ศ. 2551-52 โปรดดูวาทกรรม “การเสียดินแดน” หรือ “แผนที่อินเทอร์เน็ต” ที่ได้รับการ “ผลิตซ้ำ�” ในช่วงวิกฤตปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เมื่อกัมพูชานำ� “ปราสาทเขาพระวิหาร” ขึ้นจดทะเบียนมรดกโลกกับองค์การยูเนสโก (และแม้จะถูกรัฐบาลไทย คัดค้าน ก็ได้คะแนนไป 21:0 ) แผนที่นี้ ทำ�ขึ้นอย่างประณีต ใช้เทคนิคสูง ระบายสีสดใส มีการบรรยาย และเพลงประกอบ เร้าใจ มีรายละเอียด ข้อมูล ทั้งปี พ.ศ. ชื่อดินแดน (ที่เสียไป) พระนามและฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ เช่นรัชกาลที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และรัชกาลปัจจุบัน คือ ที่ 9 (แต่ไม่มีรัชกาลที่ 6-7-8) นี่เป็น “การเสียดินแดน” ตามแนวลัทธิชาตินิยม “พันทาง” ผสมและปลุกระดมจากทั้งทาง “ราชาชาตินิยม” และ “อำ�มาตยาชาตินิยม” ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น “แผนที่อินเทอร์เน็ต” นี้เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์/อีเมล์ กว้างขวางมาก และระบุว่า “เสียดินแดน” ทั้งหมด 14 ครั้ง 360

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 361


362

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 363


364

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 365


366

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 367


368

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 369


370

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 371


372

ภาค 2: จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่ “เสียดินแดน”ฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 373


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.