gold

Page 1

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน อนาคต1 รศ. ดร. ถวิล นิลใบ เศรษฐศาสตร รามคําแหง 13 กุมภาพันธ 2552

นับตั้งแตป 2545 เปนตนมา ราคาทองคําในตลาดโลกและราคาทองคําในบานเรา ปรับตัวสูงขึ้นและตอเนื่อง ตนป 2551 ราคาทองคําแทงในตลาดโลกสูงสุดเปนประวัติการณคอื มี ราคามากกวา 1,000 ดอลลารสหรัฐตอออนซ เชนเดียวกับราคาทองคําแทงซื้อขายในบานเรามี ราคามากกวา 15,000 บาทตอทองหนัก 1 บาท ซึ่งเปนราคาที่ไมเคยมีใครคาดคิดมากอน ตลาด ซื้อขายทองคําทั่วโลกมีความคึกคัก เชนเดียวกันตลาดทองคําในประเทศไทย คนไทยเริ่มตื่นตัว ลงทุนในทองคํามากขึ้น สื่อมวลชนมีการนําเสนอรายการที่กลาวถึงการลงทุนในทองคําและมี ขอแนะนําการกระจายการถือครองสินทรัพยในรูปทองคําใหกับประชาชน มีการตั้งกองทุนเพื่อ ลงทุนในทองคํา และลาสุดไดมีการจัดตั้งตลาดซื้อขายทองคําลวงหนา ถึงแมวาจะเกิดวิกฤต การเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแตกลางป 2551 เปนตนมา ทําใหราคาสินทรัพยทุกอยาง ลดลง นับตั้งแต ราคาอสังหาริมทรัพย ราคาหุน ตราสารหนี้ และราคาน้ํามัน ความเชื่อมั่นใน ภาวะเศรษฐกิจและสถาบันการเงินลดลง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศทัว่ โลกเขาสูภาวะถดถอย และกําลังมุงไปสูภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา แตทองคําเปนสินทรัพยประเภทเดียวที่ราคายังคงปรับตัว สูงขึ้น แมจะชะลอตัวลงบางก็ตาม ปรากฏการณเชนนี้ เปนเครื่องยืนยันวา ทองคําเปนแหลงที่ พึ่งพาและเปนแหลงหลบภัยทางการเงิน การสะสมความมั่งคั่งของสินทรัพยทางการเงินใน รูปแบบตางๆ มีความเสี่ยง ทองคําเปนสินทรัพยที่มีความเสี่ยงต่ําสุดในการสะสมความมั่งคั่ง ขณะเดียวกันก็มีสภาพคลองคือเปลี่ยนเปนเงินไดโดยงายและมูลคาไมลดลง ดังนั้น ทองคํา จึง เปนสินทรัพยที่ทุกคนตองการถือครองในภาวะที่มีความไมแนนอนและการผันผวนทางเศรษฐกิจ อยางไรก็ตาม มีขอเท็จจริงที่ยากที่จะปฏิเสธคือ การลงทุนในสินทรัพยทุกประเภท รวมทั้ง ทองคํามีความเสี่ยง ดังนั้น เราจึงควรหาความรูและความเขาใจเกีย่ วกับราคาทองคําใหมากขึ้น วัตถุประสงคหลักของบทความนี้ คือนําเสนอพัฒนาการเกี่ยวกับราคาทองคําในอดีตและปจจุบนั รวมทั้งสรุปถึงปจจัยที่กําหนดการเคลื่อนไหวของราคาทองคํา ทั้งนี้เพื่อใหเราเขาใจการขึ้นลง ของราคาทองคําและเห็นทิศทางของการเปลี่ยนแปลงราคาทองคําในอนาคต โดยแบงเนื้อหาเปน 2 สวน สวนแรก กลาวถึงพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคําในตลาดโลกในชวง 60 ปที่ผานมาคือนับตั้งแตหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงถึงปจจุบัน สวนที่สอง กลาวถึง แนวโนมของราคาทองคําในอนาคต 1

ผูเขียนไมไดเปนผูเ ชี่ยวชาญดานทองคํา บทความนี้เขียนขึน้ จากการคนคาทางเอกสารและใชความคิดเห็นของผูเขียนเพิ่มเติม ประกอบกับมีเวลาคนควานอย บทความนี้จึงยังคงมีขอ บกพรองมาก การนําไปใชจึงควรระมัดระวัง อยางไรก็ตาม หวังวาบทความนี้ คงมีประโยชนบาง และยินดีรับฟงคําติชมและแลกเปลี่ยนความเห็น

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

1


ราคาทองคําในอดีต การกลาวถึงราคาทองคําในอดีตจะแบงเปน 2 ชวง ชวงแรก คือหลังสงครามโลกครั้งที่ สองสิ้นสุดลง คือตั้งแตป 2490 จนถึงป 2514 ซึ่งเปนชวงที่ราคาทองคําในตลาดโลกมีราคาคงที่ ชวงที่สองคือ คือตั้งแตป 2514 จนถึงปจจุบัน เปนชวงที่ราคาทองคําในตลาดโลกเคลื่อนไหว เสรีไปตามสภาพของตลาด รายละเอียดในแตละชวง มีดังนี้ ราคาทองคําในตลาดโลกชวงหลังสงครามโลกครั้งทีส่ อง ถึงป 2514 กอนสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบมาตรฐานทองคํา (Gold standard) ซึ่งเปนระบบ การเงินที่ทั้งโลกไดใชรว มกันไดลมสลายไป หลังจากนั้นไมมีระบบการเงินใชรวมกัน ทําใหอัตรา แลกเปลีย่ นของเงินสกุลตางๆ มีความผันผวน ประเทศตาง ๆ พยายามลดคาเงินแขงกันเพื่อชิง ความไดเปรียบดานการคาระหวางประเทศ จึงสรางปญหาดานการคาและการพัฒนาประเทศ ดังนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส จึงได สรางระบบการเงินของโลกมาใชรวมกันแทนระบบมาตรฐานทองคํา เรียกวา “Bretton Woods System” หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อวา “ระบบปริวรรตทองคํา (Gold Exchange Standard)” พรอม กับไดตั้ง “กองทุนการเงินระหวางประเทศ (International Monetary Fund)” หรือ เรียกยอวา IMF มาดูแล สาระสําคัญของระบบนีม้ ี 3 ขอ ขอแรก ประเทศสมาชิกตองกําหนดอัตรา แลกเปลีย่ นเงินสกุลของประเทศกับดอลลารสหรัฐใหคงที่ หรือ เรียกวา คาเสมอภาค (par value) โดยธนาคารชาติของประเทศสมาชิกตองจัดตัง้ “กองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Stabilization Fund)” เพื่อคอยแทรกแซงไมใหอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนออกจากคา เสมอภาคที่กําหนด ขอสอง ประเทศสมาชิกตองปลอยใหมีการแลกเปลี่ยนระหวางเงินตราของ ตัวเองกับดอลลารสหรัฐอยางเสรี และขอสาม ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศอัตราแลกเปลี่ยน ระหวางดอลลารสหรัฐกับทองคําคงที่ ณ. อัตรา 35 ดอลลารสหรัฐตอทองคําหนัก 1 ออนซ (ounce) และประเทศสหรัฐจะยอมใหประเทศตางๆ นําเงินดอลลารสหรัฐมาแลกกับทองคํา ณ อัตราแลกเปลีย่ นที่กําหนดแบบไมมีเงื่อนไข ซึ่งเทากับวา ประเทศสหรัฐอเมริกาเปนประเทศ เดียวในโลกทีใ่ ชระบบมาตรฐานทองคํา หมายความวา เงินดอลลารสหรัฐที่พิมพออกมาจะตองมี ทองคําหนุนหลัง สวนเงินสกุลอื่นของโลกเปนเพียงแคเงินกระดาษ เงินดอลลารสหรัฐจึงกลาย มาเปนเงินสกุลหลักทีท่ ั่วโลกใชในการชําระหนี้ระหวางกัน ทุกประเทศเชื่อมั่นในคาเงินดอลลาร สหรัฐและสะสมเปนทุนสํารองระหวางประเทศ

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

2


ภายใตระบบการเงินแบบ Bretton Woods มีผลทําใหราคาทองคําในตลาดโลกไม เคลื่อนไหว คือถูกตรึงไวที่ 35 ดอลลารสหรัฐตอออนซเทากับอัตราการแลกเปลี่ยนระหวาง ดอลลารสหรัฐกับทองคําที่ประเทศสหรัฐกําหนด มองอีกแงมุมหนึ่ง เทากับวาประเทศสหรัฐได เขามากําหนดราคาทองคําในตลาดโลกโดยปริยาย ดังจะเห็นไดวา ราคาทองคําในตลาดโลก ในชวงทีใ่ ชระบบ Bretton Woods คือระหวางป 2490 – 2513 เคลื่อนไหวเล็กนอยรอบ ๆ คา 35 ดอลลารตอออนซ (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) ในชวงเวลานี้ การถือครองดอลลารสหรัฐจะดีกวาการ ถือทองคํา เพราะการถือครองหรือการสะสมดอลลารสหรัฐจะไดรับดอกเบี้ย แตการถือครอง ทองคําจะไมไดรับผลตอบแทนในรูปของผลตางของราคาซื้อและราคาขาย (capital gain) ทั้งนี้ เพราะราคาทองคําไมเคลื่อนไหว

ตารางที่ 1: ราคาทองคําแทงในตลาดโลกตั้งแตป 2490 - 2513 ป ราคา ป ราคา ($/ounce) ($/ounce) 2490 34.71 2498 35.03 2491 34.71 2499 34.99 2492 31.69 2500 34.95 2493 34.72 2501 35.10 2494 34.72 2502 35.10 2495 34.60 2503 35.27 2496 34.84 2504 35.25 2497 35.04 2505 35.23 ที่มา: www.kitco.com

ป 2506 2507 2508 2509 2510 2511 2512 2513

ราคา ($/ounce) 35.09 35.10 35.12 35.13 34.95 38.69 41.09 35.94

หมายเหตุ ราคาทองคําที่นําเสนอโดย kitco.com เปน ราคาอางอิงในตลาดลอนดอน ซึ่งรูจักกันในนาม “London fixing price” ซึ่งเปนราคาที่ใชอางอิงของตลาดโลกของทองคํา

ในชวงเวลาเดียวกัน ราคาทองคําในตลาดประเทศไทยก็จะไมเคลื่อนไหว ทั้งนี้เพราะ ประเทศไทยตองนําเขาทองคําแทงจากตางประเทศ ทองคําน้ําหนัก 1 ออนซ เทียบเปนหนัก ทองคําในบานเราจะประมาณ 2 บาท 2 อัตราแลกเปลี่ยนระหวางเงินบาทตอดอลลารสหรัฐ ในชวงนี้เฉลี่ยประมาณ 22 บาทตอดอลลารสหรัฐ ตนทุนการนําเขาทองคําจากตางประเทศที่ 2

ในตลาดโลกทองคําซื้อขายดวยน้ําหนักเปน ออนซ (ounce) แตเมืองไทยซื้อขายทองคําดวยน้ําหนักเปน “บาท” หนวยของน้ําหนักเทียบกันไดดังนี้ ทองคําแทง 1 ออนซเทากับ 31.104 กรัม ทองคําแทง 1 บาท เทากับ 15.244 กรัม ดังนั้น ทองคําแทง 1 ounce เทากับทองคําแทงหนักประมาณ 2.04 บาท รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

3


ราคา 35 ดอลลารสหรัฐคิดเปนเงินบาทจะมีคาประมาณ 770 บาทตอทองคําแทงหนัก 2 บาท ถารวมตนทุนดานอื่นๆ ประมาณ 800 บาทตอทองคําหนัก 2 บาท หรือประมาณ 400 บาทตอ ทองคําหนัก 1 บาท ซึ่งจะเปนราคาทองคําแทงเฉลี่ยในบานเราในชวงป 2490 -2513 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ตารางที่ 2: ราคาทองคําแทงในประเทศไทยเฉลีย่ ตอป ชวงป 2508 - 2551 ป ราคา % ป ราคา % (บาท/บาท) เปลี่ยนแปลง (บาท/บาท) เปลี่ยนแปลง 2508 416 2529 4,708 10.2 2509 414 -0.5 2530 5,614 19.2 2510 416 0.5 2531 5,644 0.5 2511 451 8.4 2532 5,004 -11.3 2512 476 5.5 2533 4,916 -1.8 2513 416 -12.6 2534 4,615 -6.1 2514 451 8.4 2535 4,375 -5.2 2515 576 27.7 2536 4,467 2.1 2516 912 58.3 2537 4,745 6.2 2517 1,497 64.1 2538 4,712 -0.7 2518 1,580 5.5 2539 4,792 1.7 2519 1,379 -12.7 2540 4,869 1.6 2520 1,519 10.2 2541 5,748 18.1 2521 1,982 30.5 2542 5,144 -10.5 2522 3,063 54.5 2543 5,426 5.5 2523 5,660 84.8 2544 5,766 6.3 2524 4,869 -14.0 2545 6,355 10.2 2525 4,229 -13.1 2546 7,167 12.8 2526 4,791 13.3 2547 7,844 9.4 2527 4,233 -11.6 2548 8,555 9.1 2528 4,274 0.9 2549 10,880 27.2 * 2550 12,000 10.3 * 2551 13,600 13.3 ที่มา: ธนาคารแหงประเทศไทย หมายเหตุ ราคาที่แสดงเปนราคาขายทองคําแทง * ตัวเลขประมาณการณเบื้องตน

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

4


ราคาทองคําในตลาดโลกหลังป 2514 – 2551 ระหวางป 2503 - 2513 ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบกับปญหาการขาดดุลการบัญชี เดินสะพัด และการขาดดุลงบประมาณแผนดินอยางเรื้อรังและขยายเพิ่มมากขึ้น เปนผลมาจาก การที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาใชจายอยางมหาศาลในการทําสงครามเกาหลี สงครามเวียตนาม และ ทําสงครามเย็นกับประเทศสหภาพโซเวียตและประเทศจีนในการแยงชิงประเทศเพื่อใหมีการ ปกครองในระบอบที่ตนเองใช สภาพดังกลาวทําใหภาระหนี้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและของ รัฐบาลปรับเพิม่ สูงขึ้น นับตั้งแตป 2510 ทั่วโลกเริ่มขาดความเชื่อมั่นในฐานะของประเทศ สหรัฐอเมริกาและเงินดอลลารสหรัฐทําใหเกิดการเก็งกําไรในคาเงินดอลลารสหรัฐวาจะลดคาลง ประเทศตางๆ จึงนําเงินดอลลารสหรัฐที่สะสมไวมาแลกเปนทองคํา จึงเกิดการไหลออกของ ทองคําไหลออกจากประเทศสหรัฐจํานวนมาก ในเดือนสิงหาคม 2514 ประธานาธิบดี Richard M. Nixon ไดประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจใหม สาระสําคัญสวนหนึ่งของนโยบายใหม คือ ยกเลิกการแลกเปลี่ยนระหวางดอลลารกับทองคํา การประกาศนี้จึงเทากับเปนการสิ้นสุดระบบ การเงินแบบ Bretton Woods หลังจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Bretton Woods ยุตลิ งในป 2514 เทากับวา ราคา ทองคําที่ถูกตรึงไวโดยประเทศสหรัฐยกเลิกไปโดยปริยาย ทําใหราคาทองคําผันผวนไปตาม กลไกตลาด แตสภาพของตลาดในขณะนั้นเกิดการตืน่ ตระหนกและขาดความเชือ่ มั่นในดอลลาร สหรัฐ จึงทําใหเกิดการเปลี่ยนจากถือครองดอลลารสหรัฐมาเปนทองคํา ทําใหราคาทองคําใน ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ในชวง 3 ปแรกหลังจากที่ประเทศสหรัฐประกาศยกเลิกการแลก ดอลลารสหรัฐกับทองคํา ราคาทองปรับตัวสูงขึ้นอยางรวดเร็วและตอเนื่องคือเพิ่มขึ้นรอยละ 45, 67 และ 64 ตอปในป 2515, 2516 และ 2517 ตามลําดับ (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) หลังจากนั้น ราคาทองคํามีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด แตมีบางชวงเวลาที่มี ราคาผันผวนและปรับตัวลดลง มีบางชวงเวลาที่นาสนใจที่ควรกลาวถึง ดังนี้ ในป 2523 เปนปที่ราคาทองคําปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในประวัติศาสตร ในเดือนมกราคม ราคาทองปรับสูงขึ้นอยูที่ 850 ดอลลารสหรัฐตอออนซ (หรือคิดเปนราคา 2,100 ดอลลารสหรัฐ ตามราคาป 2549) สาเหตุที่ทําใหราคาทองสูงขึ้น เปนผลมาจากอัตราเงินเฟอสูงขึ้นที่มสี าเหตุ มาจากราคาน้ํามันที่สูงขึ้น พรอมเกิดปญหาทางการเมืองระหวางประเทศ กลาวคือ ประเทศ สหภาพโซเวียตบุกยึดอาฟกานิสถาน และเกิดการเปลีย่ นแปลงการปกครองในประเทศอิหราน ราคาทองคําเฉลี่ยทั้งป 2523 ปรับตัวสูงขึน้ เกือบเทาตัว ชวงตั้งแตป 2540 - 2544 ราคาทองปรับตัวลดลงทุกป (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) เหตุผล เพราะมีการขายทองจากกลุมประเทศตางๆ กันมาก เริ่มจากกลุมประเทศในเอเซียที่ไดรบั รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

5


ผลกระทบจากกวิกฤตการเงินในป 2540 ประเทศในเอเชียขาดดอลลารสหรัฐ บางประเทศเชน ประเทศเกาหลีใตระดมซื้อทองมาจากประชาชนแลวนํามาขายในตลาดโลกเพื่อหาเงินดอลลาร ประเทศอินโดนีเซียก็ดําเนินการในทํานองเดียวกัน จากนั้นในป 2541 เกิดวิกฤตคาเงินรูเบิลของ ประเทศรัสเซีย ในป 2542 ประเทศในสหภาพยุโรปจํานวน 11 ประเทศไดเริ่มใชเงิน “ยูโร” รวมกันเปนครั้งแรก มีการจัดตั้งธนาคารชาติของกลุมสหภาพยุโรปที่เรียกวา “European Central bank (ECB)” มีการรวมทุนสํารองระหวางประเทศเขาดวยกัน ซึ่งสวนหนึ่งของทุน สํารองระหวางประเทศคือ ทองคํา ทําใหปริมาณทุนสํารองของ ECB ในรูปของทองคํามีจํานวน มาก ECB ตองการขายทองคําบางสวนออกไป ทําใหมีการคาดเดาวาราคาทองคําจะปรับตัว ลดลง จึงมีการชิงขายทองคํากอน เชน ธนาคารชาติของอังกฤษ และธนาคารชาติของประเทศ สวิสเซอรแลนด เปนตน นอกจากนี้ยังมีปจจัยที่กดดันใหราคาทองคําลดลง คือ ผลตอบแทนใน ตลาดทุนไดแก ตลาดหุนและตลาดตราสารหนี้ ปรับตัวดีขึ้น ทําใหมีการขายทองแลวมาลงทุนใน ตลาดทุนแทน ตารางที่ 3: ราคาทองคําในตลาดโลกเฉลีย่ ตอป ชวงป 2510 - 2551 ป ราคา % ป ราคา % ($/ounce) เปลี่ยนแปลง ($/ounce) เปลี่ยนแปลง 2510 35 0 2531 437 -2 2511 39 11 2532 381 -13 2512 41 5 2533 384 0.7 2513 36 -12 2534 362 -6 2514 40 11 2535 344 -5 2515 58 45 2536 360 5 2516 97 67 2537 384 7 2517 159 64 2538 384 0 2518 161 1 2539 388 1 2519 125 -22 2540 331 -2 2520 148 18 2541 294 -11 2521 193 30 2542 279 -5 2522 307 59 2543 279 0 2523 613 99 2544 271 -3 2524 460 -25 2545 310 14 2525 376 -18 2546 363 17 2526 424 13 2547 410 13 2527 360 -15 2548 445 8 รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

6


2528 317 -12 2549 603 36 2529 367 16 2550 695 15 2530 446 22 2551 871 25 ที่มา: www.kitco.com นับตั้งแตป 2545 เปนตนมา ราคาทองคํากลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งและปรับตัวสูงขึ้น อยางตอเนื่องจนถึงปจจุบัน ซึ่งเปนผลมาจากอุปสงคของทองคําสูงขึ้นอยางมาก ปจจัยที่ทําให อุปสงคของทองคําเพิ่มขึ้นมากในชวงนี้ ไดแก ประการแรก เศรษฐกิจของประเทศเอเชีย โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ที่มีอัตราการเติบโตในระดับสูงอยางตอเนื่อง ทําใหมีความตองการ ซื้อทองคําเพิ่มขึ้น ประเทศอินเดียและประเทศจีนเปนประเทศมีการบริโภคทองคําเพื่อนําไปเปน เครื่องประดับมากที่สุดของโลก กลาวคือ ในป 2550 ประเทศอินเดียบริโภคทองคําเพื่อเปน เครื่องประดับ 558 ตัน รองลงมาคือประเทศจีนจํานวน 331 ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาเปน อันดับสามใชทองคําประมาณครึ่งหนึ่งของอินเดีย อันดับสี่คือกลุมประเทศตะวันออกกลาง ประการที่สอง เกิดจากความไมมั่นใจในคาเงินดอลลาร อันเปนผลมาจากการขาดความสมดุล ของโลก (global imbalance) 3 ทําใหมีการลดการถือครองดอลลารสหรัฐมาถือทองคํามากขึ้น ประการที่สาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกอยูในระดับต่ําทําใหมีการเคลื่อนยายเงินจากธนาคาร พาณิชยมาสูตลาดทองคํามากขึ้น โดยผานกองทุนทองคําที่มีการจัดตั้งกันมากในประเทศตาง ๆ ประการที่สี่ เกิดจากการเก็งกําไรของกองทุน hedge funds ประการที่หา เกิดความกังวลเรื่อง ภาวะเงินเฟอ อันเนื่องจากการที่ราคาน้ํามันดิบปรับตัวสูงขึ้นสูงมากที่สุดในประวัติศาสตรอยางที่ ไมเคยมีการคาดเดามากอน การถือทองคําเปนการปองกันผลกระทบของภาวะเงินเฟอไดดี จากสภาพดังกลาวทําให ราคาทองคําในตลาดโลกปรับตัวเกินกวาทีท่ ุกคนจะคาดคิด วันที่ 17 มีนาคม 2551 ราคาทองคําปรับตัวสูงสุดเปนประวัติการณคือ 1,011 ดอลลารสหรัฐตอ ออนซ สถานการณราคาทองหลังวิกฤตซับไพรมคอื นับตั้งแตกลางป 2551 ปรับตัวลดลง เล็กนอย หลังจากนั้นราคาทองก็ปรับตัวสูงขึ้นจนถึงปจจุบัน (ดังแสดงในภาพ)

3

ปรากฏการณที่เรียกวา “ การขาดความสมดุลของโลก” หมายถึงกรณีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาขาดดุลการคากับประเทศในกลุม เอเชียมากขึ้นเรื่อยๆ ทําใหประเทศสหรัฐอเมริกาตองกูยืมมาใชจาย ประเทศในกลุมเอเชียนําเงินที่ไดจากการเกินดุลการคามาปลอยกู ใหกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อมาซื้อสินคาจากเอเชีย สถานการณเชนนี้ดําเนินมาอยางตอเนื่องและวงเงินกูขยายเพิม่ ขึ้น จึงมีคําถาม เกิดขึ้นวา สถานการณเชนนี้จะดําเนินไปเรื่อยๆ อยางไมมีที่สิ้นสุดหรือไม จะมีการปรับตัวอยางไร และจะมีผลกระทบตอเศรษฐกิจ โลกอยางไร รวมทั้งอนาคตของเงินดอลลารสหรัฐจะเปนอยางไร

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

7


สําหรับราคาทองคําแทงในบานเราในชวงตั้งแตป 2545 ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาใน ตลาดโลก ( ดู ตารางที่ 2 ประกอบ) เมื่อตนป 2551 เมื่อราคาทองคําในตลาดโลกปรับตัวสูงขึน้ เกินกวาระดับ 1,000 ดอลลารสหรัฐตออนซ ทําใหราคาทองคําในประเทศไทยปรับตัวสูงขขึ้น เกินกวาระดับบาทละ 15,000 บาทเปนครั้งแรกของประวัติศาสตรราคาทองคําในบานเราคือมี ราคาขายเทากับบาทละ 15,150 ขณะที่เขียนบทความ (วันที่ 12 กุมภาพันธ 2552) ราคา ทองคําแทงซื้อขายในประเทศไทยกลับมามีราคาขายเกินกวาระดับบาทละ 15,000 บาทอีกครั้ง (15,400 บาท) อยางไรก็ตาม ราคาทองคําแทงในตลาดโลกเดือนกุมภาพันธ 2552 อยูที่ 947 ดอลลารสหรัฐตอออนซ ซึ่งต่ํากวาเมื่อตนป 2551 เหตุผลทีท่ าํ ใหราคาทองคําแทงในเดือน กุมภาพันธ 2552 สูงกวาราคาขายในเดือนมีนาคม 2551 เพราะอัตราแลกเปลี่ยนแตกตางกัน กลาวคือ อัตราแลกเปลี่ยนระหวางบาทกับดอลลารสหรัฐในวันที่ 12 กุมภาพันธ 2552 อยูที่ 35.16 ขณะทีว่ ันที่ 17 มีนาคม 2551 อยูท่ี 31.52 บาท 4

ราคาทองคําในอนาคต ราคาทองคําในอนาคตจะสูงมากเพียงใด ขึ้นอยูกับปจจัยที่อยูเบื้องหลังการขับเคลื่อน ของราคาทอง จากการทบทวนการเคลื่อนไหวของราคาทองในอดีต สรุปไดวามี 8 ปจจัย ไดแก อัตราดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ความเชื่อมั่นในคาเงินดอลลารสหรัฐ อัตรา เงินเฟอ ผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดทุน การเก็งกําไรของกลุม hedge funds การ 4

ราคาขายทองคําแทงในประเทศไทยนํามาจากสมาคมคาทองคํา (www.goldtraders.or.th) อัตราแลกเปลีย่ นนํามาจากธนาคารแหง ประเทศไทย (www.bot.or.th) ตนทุนนําเขาทองคําในบานเรากําหนดจากราคาทองคําในตลาดโลก และการปรับตัวของอัตรา แลกเปลีย่ น

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

8


ตัดสินใจซื้อหรือขายของสถาบันที่สะสมทองคํา และความขัดแยงการเมืองระหวางประเทศ ทิศทางของปจจัยทั้ง 8 ประการและผลตอราคาทองคําในอนาคต สรุปไดดังนี้ 5 (1) อัตราดอกเบี้ย ผลของการกอบกูภาวะเศรษฐกิจตกต่ําที่กําลังเกิดขึน้ ทั่วโลก ทําให ธนาคารชาติของประเทศตางๆ ตองลดอัตราดอกเบี้ยใหอยูในระดับต่ําสุดและคงดํารงอยูจนกวา ภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้น ซึ่งคงตองใชเวลาอยางนอยสองถึงสามป ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยูใน ระดับต่ํานี้จะทําใหมีการเคลื่อนยายเงินทุนจากตลาดเงินเขามาลงทุนในสินทรัพยทางการเงินที่ ใหผลตอบแทนสูงกวา เชน อสังหาริมทรัพย หุน ตราสารหนี้ และทองคําเปนตน แตสภาพ เศรษฐกิจในปจจุบันผลตอบแทนในสินทรัพยอื่นๆ คงใหผลตอบแทนต่ําเมื่อเทียบกับทองคํา ประกอบกับไดมีการจัดตั้งกองทุนทองคํามากขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย จึงชวยให ประชาชนเขาถึงการถือครองทองคําไดมากขึ้น และชวยเพิ่มอุปสงคทองคํา ปจจัยเรื่องดอกเบี้ย ต่ําจะผลักดันใหราคาทองคําสูงขึ้น (2) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เปนปจจัยที่สําคัญในการทําใหราคาทองในชวงเจ็ดป ที่ผานมาสูงขึ้น ประเทศอินเดียและประเทศจีนเปนประเทศที่มกี ารเติบโตในระดับสูงและเปน ประเทศที่มีการบริโภคทองคําสูงสุดในโลก ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความตองการซื้อ ทองคําในฐานะเครื่องประดับ ซึ่งอุปสงคของทองคําเพื่อเปนเครื่องประดับมีสัดสวนสูงที่สุดคือ ประมาณรอยละ 70 รองลงมาคืออุปสงคทองคําที่ใชในการภาคอุตสาหกรรม เชน ชิ้นสวน คอมพิวเตอรหรืออิเลกโทรนิกสประมาณรอยละ 12 ซื้อทองเพื่อการลงทุนรอยละ 18 การที่ ภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาและยุโรปตกต่ํา และดึงใหเศรษฐกิจของประเทศเอเชียตกต่ําตามไป ดวย จะทําใหอุปสงคในการซื้อทองคําเพื่อทําเครือ่ งประดับและเพื่อใชในอุตสาหกรรมซึ่งมี สัดสวนที่สูงลดลง จะเปนปจจัยฉุดที่ทําใหราคาทองคําไมสูงขึ้น (สําหรับอุปสงคของทองคําเพื่อ การลงทุนคงไมลด อานเหตุผลในขออื่นประกอบ) (3) การขาดความเชื่อมั่นในเงินดอลลารสหรัฐ เปนอีกปจจัยที่มีบทบาทสําคัญทีท่ ําให ราคาทองคําสูงขึ้น เงินดอลลารสหรัฐมี 2 บทบาทบทบาทแรก เปนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) บทบาททีส่ อง คือใชสะสมความมั่งคั่ง บทบาทที่สองของดอลลารสหรัฐ เริ่มลดบทบาทลง เนื่องจากทิศทางของเงินดอลลารสหรัฐมีแนวโนมจะเสื่อมคาลงเรื่อยๆ ดังนั้น สถาบันหรือประชาชนที่สะสมดอลลารไว จึงลดการถือครองดอลลารสหรัฐใหไปเปนสินทรัพย อยางอื่น เชน เงินสกุลทีม่ ีอนาคตดี เชน เงินสกุลเอเชีย โดยเฉพาะอยางยิ่งธนาคารชาติของ ประเทศตางๆ ที่ปรับพอรตเงินทุนสํารองระหวางประเทศมาถือครองทองคํามากขึ้นลดการถือ 5

การวิเคราะหหรือพยากรณราคาทองคําเหมือนกับการวิเคราะหราคาหุนทําได 2 แนวทางคือ การวิเคราะหปจจัยพื้นฐาน และ การวิเคราะหเชิงเทคนิค ในที่นี้นําเสนอการวิเคราะหแบบปจจัยพื้นฐาน

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต

9


ครองดอลลารสหรัฐ มีการประมาณวา ธนาคารชาติสะสมทุนสํารองในรูปทองคําประมาณรอยละ 10 ทองคําเปนอีกสินทรัพยหนึ่งทีป่ ระชาชนนิยมถือครองเพื่อรักษามูลคาของสินทรัพยที่ สะสม ที่ผานมา บทบาทของทองคําในฐานะเปนสินทรัพยสะสมคาไดพิสูจนใหเห็นวา แมราคา ทองคําจะผันผวนในบางชวงเวลา แตอาํ นาจซื้อที่แทจริง (real purchasing power) ของทอง ไมไดลดลง ในรอบทศวรรษที่ผานมาความเชื่อมั่นในประเทศสหรัฐอเมริกาและคาเงินดอลลาร สหรัฐลดลง และถานําวิกฤตซับไพรมมาพิจารณารวมดวย จะยิ่งตอกย้ําถึงความไมเชื่อมั่นในเงิน ดอลลารสหรัฐมากยิ่งขึ้น ขอเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือ เงินสกุลตาง ๆ ตางเติบโตมาจากการยึด โยงกับทองคํา เงินดอลลารสหรัฐเขามาบทบาทหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็ยังตองอิงกับทองคํา ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คนขาดความเชื่อมั่นในคาเงินก็จะหันมาถือทองคําแทน ปจจัยเรื่องนี้จะเปน ปจจัยที่มีความสําคัญที่จะทําใหราคาทองทรงตัวอยูใ นระดับในระดับสูงและจะปรับตัวเพิ่มขึ้นใน ระยาว 6 (4) อัตราเงินเฟอ เปนภาวะทีท่ ําใหคาเงินเสื่อมคาหรืออํานาจซื้อของเงินเสื่อมคา วิธีการ ปองกันแนวทางหนึ่งคือหันไปซื้อสินทรัพยที่คาของมันไมไดรับผลกระทบจากภาวะเงินเฟอ ทองคําเปนหนึ่งในสินทรัพยประเภทดังกลาวทีส่ ามารถปองกันหรือรักษาคาเงินไมใหเสื่อม 7 ดังนั้น ในอดีต เราจึงเห็นวาทุกครั้งที่ราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลทําใหเกิด ภาวะเงินเฟอ ราคาทองคําก็จะปรับตัวสูงตามไปดวย สถานการณเงินเฟอในปจจุบันและอนาคต ระยะปานกลางคงไมเกิดขึ้น เนื่องจากราคาน้ํามันปรับตัวลดลงมากและภาวะเศรษฐกิจทัว่ โลก ถดถอย (5) ผลตอบแทนระหวางหุน ตราสารหนี้ และทองคํา สินทรัพยทั้งสามใหผลตอบแทนตอ ผูที่สะสมความมั่งคั่งในรูปของสินทรัพยทางการเงินทั้งสาม นักลงทุนสามารถเลือกถือสินทรัพย ทั้งสามและปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามการขึ้นลงของผลตอบแทนของสินทรัพยแตละชนิด ถา ผลตอบแทนของหุนและตราสารหนี้ดี คนก็จะกระจายถือครองในสินทรัพยทางการเงินทั้งสอง มากขึ้น ซึ่งอาจนําไปสูลดการถือครองทองคํา สถานการณปจจุบันและแนวโนมในระยะสองสาม ปตอไป ผลตอบแทนของหุนและตราสารหนี้คงอยูในเกณฑที่ไมคอยดี โอกาสที่คนจะหันมา ลงทุนในทองคําจึงมีสูง ประกอบกับกองทุนบําเหน็จบํานาญ (pension funds) เดิมมีนโยบายการ ลงทุนเฉพาะหุนและตราสารหนี้เปนหลัก แตปจจุบันเริ่มมีแนวโนมจะหันมาลงทุนในทองคํามาก

6

การความความเชื่อมั่นในเงินสกุลดอลลารสหรัฐ ประชาชนหรือสถาบันตางอาจหันไปถือครองเงินสกุลอื่นที่มีความมั่นคง เชน เงินสกุลยูโรหรือเงินสกลุเอเชียบางประเทศ แตเนื่องจากประเทศในกลุมสหภาพยุโรปก็มีปญหาเศรษฐกิจเชนเดียวกับอเมริกา ทําใหคาเงินยุโรปจะตกตามเงินสกลุดอลลารสหรัฐ สําหรับเงินสกุลเอเชีย เชนหยวนหรือเยนก็ยังมีปญหาเรื่องสภาพคลองและ บทบาทเรื่องการชําระหนี้ระหวางประเทศ 7 สนใจประเด็นนี้อานเพิ่มเติมใน Harmston (1998)

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต 10


ขึ้น เพื่อปองกันความเสี่ยงรวมทั้งเพิ่มผลตอบแทน ซึ่งก็จะเปนปจจัยที่จะสงผลใหราคาทองคํา สูงขึ้น 8 (6) การเก็งกําไรของกลุม Hedge Funds เปนอีกปจจัยที่ผลลักดันที่ทําใหราคาทองคํา และน้ํามันปรับตัวสูงขึ้นตลอดชวงเจ็ดปที่ผานมา ซึ่งผลตอบแทนของทองคําอยูในเกณฑสูงมาก (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) แรงเก็งกําไรของกองทุนเหลานี้คงลดลงมาก เนื่องจากที่ผานมาแมวา กองทุนเหลานี้มีจะมีกําไรจากการซื้อขายทองคํา แตขาดทุนอยางมหาศาลจากการลงทุนในตรา สารหนี้ที่เชื่อมโยงกับสินเชือ่ ซับไพรม ดังนั้น แรงกดดันทําใหราคาทองสูงขึ้นจากกลุมนี้จึง นาจะลดลง (7) การตัดสินใจซื้อหรือขายของสถาบันที่สะสมทองคํา ซึ่งไดแกธนาคารชาติของแตละ ประเทศ หรือ IMF เปนตน ตัวอยางเชน ในชวงวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียป 2540 ธนาคารชาติ ของหลายประเทศในเอเชียนําทองมาขายเพื่อเติมดอลลารสหรัฐใหกบั ระบบเศรษฐกิจ หรือกรณี ที่มีขาววา IMF จะนําทองคํามาขาย จะสงผลใหราคาทองลดลง ปจจัยในสวนนี้ยากที่จะ คาดคะเนวา สถาบันเหลานี้จะตัดสินใจอยางไร แตภายใตภาวะวิกฤตทีก่ ําลังเกิดขึ้นและมี แนวโนมวาตองใชเวลา โอกาสที่ธนาคารชาติของประเทศในยุโรปและธนาคารชาติในอเมริกา รวมทั้งองคกรระหวางประเทศ (IMF และ BIS) สถาบันเหลานี้จะขายทองจะมีมาก ขณะที่ ธนาคารชาติของกลุมประเทศเอเชียและตะวันออกกลางมีแนวโนมจะซื้อเก็บก็มีมากเชนกัน 9 (8) สงครามหรือการขัดแยงการเมืองระหวางประเทศ จะมีผลตอราคาทองคํา โดยเฉพาะ อยางยิ่ง ถาคูกรณีเปนเจาของบอน้ํามัน สถานการณการขัดแยงของประเทศในตะวันออกกลาง ยังคงดํารงอยู และพรอมที่จะเกิดขึ้นไดตลอดเวลา ดังนั้น จึงเปนปจจัยหนึ่งที่จะผลักดันใหราคา ทองอยูในระดับสูง สรุปปจจัยทั้ง 8 ประการจะปจจัยที่สงผลทําใหราคาทองสูงขึ้นมี 3 ปจจัยหลัก ไดแก อัตรา ดอกเบี้ย อัตราเชื่อมั่นของคาเงินดอลลารสหรัฐ และผลตอบแทนจากการถือทองคํา ขณะเดียวกันก็มี 3 ปจจัยที่อาจสงผลใหราคาทองคําไมปรับตัวสูงขึน้ ไดแก อัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจอัตราเงินเฟอ และ การเก็งกําไรของ hedge funds สําหรับปจจัยเรื่องพฤติกรรม การซื้อหรือขายทองคําและปจจัยดานการเมืองยังไมสามารถสรุปไดวาจะเปนไปในทิศทางใด การวิเคราะหดังกลาวนี้ไมไดใหน้ําหนักของแตละปจจัยวาจะมีอิทธิผลมากนอยขนาดไหน โดย 8

สนใจในประเด็นนี้ อานเพิ่มเติมใน World Gold Council (www.gold.org) World Gold Council รายงานวาในชวงป 2545-2549 ธนาคารชาติของประเทศตางๆ ขายจํานวน 527 ตัน คิดเปนรอยละ 14 ของปริมาณยอดขายทองทั้งหมด และธนาคารชาติทั่วโลกถือครองทองคําประมาณรอยละ 25 ของสต็อกทองคํา ซึ่งมีจํานวน 28,500 ตัน ถือครองโดยธนาคารชาติในกลุมสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศในเอเชีย รอยละ 38, 27 และ 6 ตามลําดับ 9

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต 11


สรุปในภาพรวม ราคาทองในอนาคต (2-3 ป) คงจะทรงในระดับสูง โดยมีอัตราการเพิ่มทิศทาง เปนบวก แตจะไมสูงเหมือนกับชวงหาหกปที่ผานมา อยางไรก็ตาม มีขอควรตระหนักวา ใน ระยะสั้น ๆ คือในระหวางป จะมีการขึ้นลงของราคาทองคําเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากทองคําเปน สินทรัพยที่มีอนาคตมากกวาสินทรัพยอยางอื่น จึงทําใหมีการเก็งกําไรในตลาดทองคําสูงเมื่อ เปรียบเทียบกับตลาดสินทรัพยอื่น บทสรุป ทองนั้นสําคัญไฉน ในภาวะที่มีปญหากับระบบทุนนิยม โดยเฉพาะอยางยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถือวา เปนศูนยกลางของระบบทุนนิยมโลกและเปนตนตําหรับหรืออาจารยใหญของโลกทุนนิยมตอง ประสบปญหาเศรษฐกิจเสียเอง ทําใหความเชื่อมั่นในระบบทุนนิยม ซึ่งหมายถึงความเชื่อมั่น สถาบันการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ลดลง รวมทั้งความเชื่อมั่นของคาเงินสกุล ดอลลารสหรัฐ สิ่งเดียวที่ประชาชนยังคงเชื่อมั่นคือ ทองคํา ถึงขนาดมีการกลาวกันเลนๆ วา ใน ภาวะวิกฤตมีสิ่งเดียวที่จะไวใจไดคือ ทองคํา ไมใชสินทรัพยอยางอื่น หรือ แมแตพระเจา “In Gold We Trust” ไมใช “In God We Trust” เอกสารอางอิง Hamouda, Omar F., Robin Rowley and Bernard M. Wolf. 1989. (edited) The Future of the International Monetary System: Change, Coordination or Instability ?, Edward Elgar Levich, Richard M. 1998. International Financial Markets: Prices and Policies, McGrawHill, International editions Meier, Gerald M. 1982. Problems of A World Monetary Order, New York: Oxford University Press, second edition Harmston, Stephen. 1998. Gold as A Store of Value, Research Study No. 22, World Gold Council Dempster, Natalie. 2008. “ What does a US recession imply for the gold price?,” World Gold Council, Gold Report, April O’Connel, Rhona. 2007. “ Gold as a Safe Haven,” World Gold Council, Gold Report, December

รศ. ดร. ถวิล นิลใบ

ราคาทองคํา: อดีต ปจจุบัน และอนาคต 12


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.