สจส ทางสะดวก ม.ค. - เม.ย.2555

Page 1

ทางสะดวก สจส. สำ�นักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร

ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมกราคม - เมษายน 2555

ISSN 1686-2082


กรุงเทพมหานคร ชวนคนกรุงอุดหนุนของดีขึ้นชื่อในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า “อ่อนนุช-แบริ่ง” เพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนกับ “ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” วั น นี้ (28 มี น าคม 2555) เวลา 10.00 น. ณ ชุ ม ชนเกตุ ไ พเราะ 3-5 เขตพระโขนง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ (ครั้งที่ 1) “ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และให้การสนับสนุนชุมชน ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง พร้อมทั้งเชิญชวนชาวกรุงเทพ ฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวรถไฟฟ้า

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง โดยไม่เก็บค่าโดยสาร มาตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งมีประชาชนให้ ความสนใจเฉลี่ยประมาณวันละ 120,000 คน นอกจากการอ�ำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทาง แล้ว กรุงเทพมหานคร ยังค�ำนึงถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และกระจายรายได้สู่ชุมชน ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ส�ำหรับส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ได้จัดกิจกรรมชุมชน สัมพันธ์ (ครั้งที่ 1) “ครอบครัวรถไฟฟ้า ร่วมใจ (รักษ์) ชุมชน” ขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้ประชาชน ทั่ ว ไปร่ ว มสนั บ สนุ น ของดี ชุ ม ชนและเข้ า เยี่ ย มชมชุ ม ชนตั ว อย่ า งด้ า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย งและอนุ รั ก ษ์ สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการน�ำกลับไปพัฒนาชุมชนของตนเอง กิ จ กรรมชุ ม ชนสั ม พั น ธ์ ค รั้ ง ที่ 1 ครอบครั ว รถไฟฟ้ า ร่ ว มใจ (รั ก ษ์ ) ชุ ม ชน ได้ มี ก ารน� ำ ของดี ขึ้นชื่อจากเขตพระโขนง และเขตบางนามาร่วมกัน ออกร้ า นในบรรยากาศจ� ำ ลองสถานี ร ถไฟฟ้ า ทั้ ง 5 สถานี เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนได้เดินทางมาเยี่ยม ชม และสนั บ สนุ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด ้ ว ยการใช้ บ ริ ก าร รถไฟฟ้าสายอ่อนนุช-แบริ่ง เช่น หากเดินทางมาลงที่ สถานีบางจาก จะได้พบกับ “หมอชาวบ้าน บาล์ม ตรา เจ้าสัว” ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรสูตรต้นต�ำรับจากแผนโบราณหากแวะลงที่สถานี ปุณณวิถีจะได้พบกับ “บ้านเรือนไทยจ�ำลอง” ของที่ระลึกที่ผลิตจากไม้สักเน้นเอกลักษณ์ ความเป็นไทย หากสนใจเดินทางมาลงที่สถานีอุดมสุข จะพบกับ “กระเป๋าผ้าชัยยศ” กระเป๋ า ผ้ า แฮนด์ เ มดลดโลกร้ อ น หากต้ อ งการชิ ม ของอร่ อ ยต้ อ งลงที่ ส ถานี บ างนา จะพบกับ“ขนมเปี๊ยะอั้งกี่” ต้นต�ำรับขนมเปี๊ยะ สูตรพิเศษ ไส้เยอะ เปลือกบาง คงความ อร่อยยาวนานกว่า 30 ปี ปิดท้ายการเดินทางที่สถานีแบริ่ง จะได้พบกับ “ทองม้วน สมุนไพร” สูตรความอร่อยเฉพาะตัว ด้วยรสชาติจากสมุนไพรธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีการเยี่ยมชม “ชุมชนเกตุไพเราะ” ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่ได้รับรางวัลระดับชาติ ทางด้านสิ่งแวดล้อม และนับเป็นชุมชน ต้นแบบของเมืองหลวงที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมให้คงอยู่ภายใต้หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นความเข้มแข็งที่สามารถน� ำเผยแพร่สู่ สาธารณะชนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ชุมชนอื่น ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากสิ่งดี ๆ ที่เกิดต่อชุมชนและน� ำไปสู่การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจาย รายได้สู่ทุกชุมชนตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ภายใต้ความมุ่งมั่นของ กรุงเทพมหานคร ที่ด�ำเนินโครงการเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมเพื่อให้เป็น “วิถีแห่งการเดินทางสู่มหานครที่ยั่งยืน” ต่อไป


สารบัญ

CONTENTS • โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) และโครงการก่อสร้าง ระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (Light Rail Transit : LRT)

4 9

• อาร์เอฟไอดี กับการประยุกต์ใช้งานด้านจราจรและขนส่ง • ความเป็นมาของศูนย์ กทม. 1555

16

• โครงการสวนจราจรเยาวชน

20 25

กับการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ จากประชาชนของส�ำนักการจราจร และขนส่ง • หลักการเบื้องต้นของกฎหมาย เกี่ยวกับจราจร (ตอนที่ 2)

บรรณาธิการ ชวนคุย วารสาร สจส.ทางสะดวก ในมือท่านฉบับนี้อยู่ในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ไทย ปีใหม่ปีนี้ มีวันหยุดยาวหลายวัน บรรยากาศของความสนุกรื่นเริงเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง วันสงกรานต์ เป็นวันที่ลูกหลานไทยถือปฏิบัติเป็นประเพณี ต้องเดินทางกลับบ้านเพื่อไปท�ำบุญที่วัด และรดน�้ำ ขอพรผู้ใหญ่ ท�ำให้การท่องเที่ยวไทยคึกคักเศรษฐกิจไทยครึกครื้น มี ข ้ อ ห่ ว งใยฝากส�ำ หรั บ ผู ้ ใ ช้ ร ถใช้ ถ นนควรเพิ่ ม ความระมั ด ระวั ง เป็ น พิ เ ศษขณะขั บ ขี่ ยวดยานพาหนะ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตนเองและญาติมิตรเพราะเทศกาลสงกรานต์ทุกครั้ง จะมีอุบัติเหตุรุนแรงเกิดขึ้นเสมอๆ และท�ำสถิติสูงขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้ลดอุบัติเหตุ เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาระดับชาติที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้สัมฤทธ์ผลได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก การละเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาการจราจร การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ก่อนและขณะขับขี่รถ ขับขี่รถเร็วเกินก�ำหนด ขับรถโดยประมาท ขับขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อก ท�ำให้เกิด อุบัติเหตุร้ายแรง ถึงขั้นพิการ เสียชีวิต และทรัพย์สิน เทศกาลที่สนุกสนานรื่นเริงกลายเป็นเทศกาล แห่งความเศร้าเสียใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นถ้าทุกคนช่วยกันรักษากฎระเบียบจราจรและขับรถ อย่างมีน�้ำใจ กทม. เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดได้ร่วมสนับสนุนจัดกิจกรรม ป้ อ งกั น อุ บั ติ เ หตุ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งและเพื่ อ เป็ น การเน้ น ย�้ ำ ถึ ง จุ ด ยื น ในการช่ ว ยแก้ ป ั ญ หา วารสารฯ ฉบับนี้จึงขอน�ำเสนอกิจกรรมดีๆ ที่ กทม.ได้จัดฝึกอบรมให้เด็กๆ มีจิตส�ำนึกและวินัย การจราจรเป็นแบบอย่างที่ดีและยั่งยืนเพื่อเด็กดีในวันนี้จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า คือ โครงการ สวนจราจรเยาวชน นอกจากนี้ภายในวารสารฯ ยังมีความคืบหน้าของการพัฒนาส่วนขยายระบบขนส่งมวลชน ให้ครอบคลุม สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ฯ ช่วยแก้ปัญหา จราจรติดขัด ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม , ความเป็นมาของศูนย์ กทม. 1555 กับ การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ�ำวันมากขึ้น คืออะไร และสาระน่ารู้อื่นๆ ชวนให้ติดตามในฉบับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขในเทศกาลปีใหม่ไทยที่จะมาถึง ด้วยความขอบคุณจากใจ คณะผู้จัดท�ำ

วารสาร “สจส.ทางสะดวก”

มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม การดําเนินงาน และเรื่องราวน่ารู้ด้านการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานคร เจ้าของ : สํานักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

คณะที่ปรึกษา

นายธนา วิชัยสาร นายอรวิทย์ เหมะจุฑา นายนิคม พรธารักษ์เจริญ นายสุธน อาณากุล นายสมชาย ตกสิยานันท์ นายไตรภพ ขันตยาภรณ์ นางสาวกาญจนา ฉาบสุวรรณ์

บรรณาธิการ นายบรรจง

เหลืองรัตนมาศ

นายมนัส นายจํานอง นายประพันธ์

นิ่มนวล หัวหน้าศูนย์สารสนเทศจราจร ปัญญาวิศิษฎ์กุล หัวหน้ากลุ่มงานสถิติและข้อมูล คุณาวุฒิ หัวหน้ากลุ่มงานแผนงานและประเมินผล

นางรัชนี นางเครือฟ้า นายบุญสม นางสาวครองศิริ นางสาวจณิสตา นายธีรวัจน์

พงษ์ธานี บุญดวง สุวรรณปิฎกกุล โอรัญรักษ์ เอมครุฑ หงษ์แสนยาธรรม

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงานช�ำนาญการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ นักวิจัยจราจรช�ำนาญการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ นักวิชการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ วิศวกรโยธาช�ำนาญการ

นายประวิทย์

มหาครุธ

นายช่างศิลป์ช�ำนาญงาน

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักการจราจรและขนส่ง รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักการจราจร และขนส่ง (ด้านวิชาการและปฏิบัติการ) รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักการจราจร และขนส่ง (ด้านบริหาร) ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานวิศวกรรมจราจร ผู้อ�ำนวยการกองการขนส่ง ผู้อ�ำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร เลขานุการส�ำนักการจราจรและขนส่ง

ฝ่ายศิลป์

ฝ่ายประสานงาน

นางสาวอุไรวรรณ เทียมเมือง

ผู้อํานวยการกองนโยบายและแผนงาน

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ

ติดต่อกองบรรณาธิการ 44 ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร 0-2354-1215 Fax 0-2354-1210 www.bangkok.go.th/traffic แจ้งสัญญาณไฟขัดข้อง ป้ายจราจรช�ำรุด 24 ชั่วโมง ได้ที่ 0-2354-1234 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ดอกเบี้ย จ�ำกัด 1032/203-208 ซอยร่วมศิริมิตร ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2272 1169-72 โทรสาร 0 2272 1173 e-mail : dokbia1@hotmail.com


โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) และโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (Light Rail Transit : LRT) โครงการรถไฟฟ้า ช่วยแก้ปัญหารถติด ลดการใช้ร™ถยนต์ ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทุกวันนี้ ก�ำลังวิกฤตหนัก และมีแนวโน้ม ที่จะแย่ลงเรื่อยๆ โดยในปี 2554 มีการเดินทางประมาณ 17 ล้านเที่ยวต่อวัน ขณะที่ระบบ ขนส่งมวลชนอย่างรถโดยสารประจ�ำทาง มีเพียงประมาณ 2 หมื่นคัน ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ อีกทั้งยังไม่สะดวกสบายเท่าที่ควร จึงท�ำให้คนส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ รถยนต์ ส่วนตัวมากกว่า ส่งผลให้รถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้การจราจร ติดขัด มากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทั้งจากการเสียเวลาในการเดินทาง และ การน�ำเข้าน�้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ ยิ่งท�ำให้ มลพิษ ในอากาศเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อภาวะโลกร้อน เป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิต ของคนเมืองเป็นอย่างมาก

4 สจส. ทางสะดวก


ดังนั้น การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จึงเป็นแนวทาง การบรรเทาปัญหาจราจรที่ได้ผลอย่างยั่งยืน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ขนส่งผู้โดยสารได้ครั้งละจ�ำนวนมาก ประหยัด ค่าใช้จ่ายและ พลังงานเชื้อเพลิง เหมาะที่จะเป็นระบบการเดินทางหลักของเมือง ร่วมกับระบบเสริมอื่นๆ ทั้งทางถนน และทางน�้ำ กรุงเทพมหานครเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมีนโยบายที่จะด�ำเนินการโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชน รางเดี่ยว (Monorail) และโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (Light Rail Transit : LRT) เพื่อให้ประชาชนสามารถ เดินทาง ในพื้นที่ได้สะดวกรวดเร็ว สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และยังสามารถ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ลดการใช้น�้ำมัน และลดระยะเวลาในการเดินทาง

ปัญหาจราจร กรุงเทพมหานคร วิกฤตขัดขวาง การเดินทางเพื่อกิจธุระและธุรกิจและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชน

เกิดจากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นจ�ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและจ�ำนวน รถยนต์ที่เพิ่มขึ้น จากในปี 2530 จ�ำนวน 7 ล้านคัน เป็น 9 ล้านคันในปี 2550 ซึ่งล้วนเป็น สาเหตุที่ส�ำคัญ จากจ�ำนวนประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เพิ่มสูงขึ้น จาก 9 ล้านคน ในปี 2530 เป็น 11 ล้านคน ในปี 2550 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคนในปี 2570 หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 150,000 คน และมีความ ต้องการในการเดินทางเพิ่มจาก 12 ล้านคน-เที่ยว/วัน ในปี 2530 เป็น 15 ล้านคน-เที่ยว/วัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เป็น 11 ล้านคน ในปี 2570 หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 100,000 คัน

Monorail ทันสมัยไปกับยุคพอเพียง และยั่งยืน

รถไฟฟ้ า รางเดี่ ย ว หรื อ โมโนเรล (Monorail) เป็ น รถไฟฟ้ า ที่ วิ่ ง บนรางแถวเดี ย ว โมโนเรลมี ทั้ ง แบบ วิ่งบนรางและแขวนใต้ราง จุดเด่น • โครงสร้างทางวิ่งที่โปร่ง ท�ำให้แสงลอดผ่านได้ และไม่ท�ำให้ดูแออัดจนไม่สบายตา • ค่าก่อสร้างต�่ำ รวมทั้งใช้พื้นที่เวนคืนน้อย • ใช้ พื้ น ที่ น ้ อ ย สามารถสร้ า งบนถนนแคบๆ ในการตั้ ง เสาได้ เหมาะกั บ ย่ า นชุ ม ชน หนาแน่ น และ ย่านธุรกิจที่มีเขตทางน้อย

สจส. ทางสะดวก 5


โมโนเรล ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าของคนกรุงเทพ

จากข้อได้เปรียบของโมโนเรล คือ ก่อสร้างได้เร็ว ลงทุนไม่มาก และมีผลกระทบต่อประชาชนตามแนวเส้นทาง และการจราจรน้อย เพราะใช้พื้นที่ไม่มาก เหมาะกับย่านชุมชนและย่านธุรกิจที่มีเขตทางน้อย กรุงเทพมหานครจึงได้ ท�ำการศึกษาเส้นทาง เพื่อเสริมประสิทธิภาพการให้บริการของระบบรถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนสายหลัก ผลการศึกษาได้น�ำมาสู่การเร่งรัดพัฒนาเส้นทางสายสยาม-สามย่าน-จุฬาฯ โดยมีพื้นที่ที่พร้อมใช้เป็นศูนย์ซ่อม (Depot) โดยไม่ต้องเวนคืนที่ดินของประชาชน

แนวทางการแก้ไขของกรุงเทพมหานคร

โครงการระบบรางเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาจราจรที่เกิดขึ้นของกรุงเทพมหานครและเพื่อให้เกิด การแก้ไขอย่างรูปธรรม คือ ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และปลอดภัย ในการเดินทาง จะเห็นได้ว่าจากโครงการระบบรางที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร ทุกโครงการสามารถแก้ไขปัญหา ได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายอ่อนนุช-แบริ่ง โครงการรถไฟฟ้าสายแบริ่ง-สมุทรปราการ ล้ ว นแล้ ว แต่ เ กิ ด ประโยชน์ กั บ ประชาชนโดยภาพรวมทั้ ง สิ้ น ทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม และการด�ำ เนิ น ชี วิ ต ในสั ง คม เป็นแนวทางการแก้ไขของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน

กรุงเทพมหานครกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรอง

ตามมติ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ให้หน่วยงานท้องถิ่น ด�ำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางขนาดรองได้ใน 10 ปีแรก กรุงเทพมหานครจึงมุ่งพัฒนา “ระบบขนส่ง มวลชน” ทั้งระบบหลักและระบบเสริมอย่างจริงจัง

6 สจส. ทางสะดวก


ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) และระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (Light Rail Transit : LRT) ก็เป็นอีก รูปแบบหนึ่งที่มีข้อดีหลายด้าน คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นระบบขนส่งมวลชนเสริมรูปแบบใหม่ เพราะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา สามารถก่อสร้างได้สะดวกรวดเร็ว ลงทุนไม่มาก และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อย กรุ ง เทพมหานครจึ ง ได้ พิ จ ารณาให้ เ ป็ น ขนส่ ง มวลชนทางรางสายรองเพื่ อ เสริ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการให้ บ ริ ก าร ของระบบขนส่งมวลชนสายหลัก โดยจะเริ่มด�ำเนินการในแนวเส้นทางสั้นๆ ย่านชุมชนหนาแน่นและย่านธุรกิจที่มีเขตทาง น้อย เช่น สายสยาม-จุฬาฯ ผ่านโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและสยามสแควร์ สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว (Monorail)

ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เส้นทางถนนพญาไท ระยะทาง 1.5 กม. ระยะที่ 2 เส้นทางวงรอบฝั่งถนน บรรทัดทอง ระยะทาง 2.6 กม. ระยะที่ 3 เส้นทางวงรอบฝั่งถนนอังรีดูนังต์ ระยะทาง 2.6 กม.

สายสยาม-สามย่าน-จุฬาฯ (เส้นทางถนนพญาไท)

โครงการนี้ มีระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย 3 สถานี ได้ แ ก่ สถานี ส ามย่ า น สถานี จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย และสถานี ส ยาม โดยรถไฟฟ้ า สายนี้ จ ะ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ที่สถานีสามย่าน และ รถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสยามและสนามกีฬาแห่งชาติ “โมโนเรล” สายนี้จะเป็นรูปแบบลอยฟ้าระยะทาง สั้ น ๆ เหมื อ นรถไฟฟ้ า บี ที เ อส แต่ จ ะช่ ว ยขนผู ้ โ ดยสาร ป้อนให้รถไฟฟ้าสายหลักทั้งสองสายได้เป็นอย่างดี สะดวก ต่อการเดินทางและอยู่ในย่านส� ำคัญที่มีคนเข้าใช้พื้นที่ จ� ำ นวนมากๆ ขณะเดี ย วกั น จะช่ ว ยระบายการจราจร และเสริมการใช้รถไฟฟ้าเพื่อรถปริมาณรถยนต์ที่จะเข้าสู่ พื้ น ที่ บ ริ เ วณสยาม-จุ ฬ าฯ-มาบุ ญ ครอง รวมทั้ ง ช่ ว ยลด ปัญหาจราจรติดขัดบริเวณใกล้เคียงอย่างถนนพระราม 1 ที่ปัจจุบันรถวิ่งได้ด้วยความเร็วเฉลี่ยเพียง 6-8 กิโลเมตร ต่อชั่งโมงเท่านั้นรวมทั้งยังช่วยบรรเทาการจราจรในพื้นที่ ต่อเนื่องเช่นถนนพระราม 4 และถนนพญาไท โดยรถไฟฟ้า โมโนเรลสายแรก สยาม-สามย่ า น-จุ ฬ าฯ จะรองรั บ ผู้โดยสารประมาณ 5,000 คนต่อเที่ยว ต่อวัน และในช่วง ชั่วโมงเร่งด่วน ประมาณ 10,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

สจส. ทางสะดวก 7


โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรอง Light Rail Transit : LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โครงการนี้ มีระยะทาง 18.3 กิโลเมตร ประกอบด้วย 15 สถานี ได้แก่ สถานีสี่แยกบางนา สถานีโรงเรียน ประภามนตรี สถานี บ างนาตราด 21 (เชลี ย ง 7) สถานี วั ด ศรี เ อี่ ย ม สถานี บ างนา-ตราด 37 สถานี ป ลั ด เปรี ย ง สถานี โ รงพยาบาลปิ ย ะมิ น ทร์ สถานี ม.รามค� ำ แหง 2 สถานี บ างนา-ตราด กม.9 สถานี วั ด สลุ ด สถานี กิ่ ง แก้ ว สถานีธนาซิตี้ สถานีบางนา-ตราด กม.14 สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และสถานีสุวรรณภูมิใต้ โดยรถไฟฟ้าสายนี้จะเชื่อมต่อ กับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) “LRT” สายนี้ จะเป็นรูปแบบลอยฟ้าเหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทแต่จะช่วยขนผู้โดยสารให้รถไฟฟ้า สายหลักได้เป็นอย่างดี สะดวกจะรับส่งผู้โดยสารจากสุขุมวิทรอบนอก ตลอดจนผู้โดยสารจากเส้นทางบางนา-ตราด เข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ จะช่วยระบายการจราจรและเสริมการใช้รถไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณรถยนต์ที่จะเข้าสู่ เส้นทางบางนา-ตราด รวมทั้งช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดบริเวณใกล้เคียงอย่างถนนศรีนครินทร์ได้เป็นอย่างดี โดยเมื่อโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งสองสาย จะต่อกันจนเป็นรูปวงแหวนเหมือนกับรถไฟฟ้ามหานครสายสีน�้ำเงิน โครงการระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว และระบบขนส่งมวลชน ระบบรอง จะเป็นเส้นทางที่พลิกโฉมการเดินทางของชาวกรุงเทพฯ ให้ สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางมหานครได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ก�ำหนดเวลาได้ เอื้อโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ น�ำความเจริญ มาสู่พื้นที่ ทั้งยังช่วยลดมลพิษ รักษ์สิ่งแวดล้อม และคืนเวลาแห่งความสุข สู่ครอบครัว น�ำคุณภาพชีวิตที่ดีมาสู่พี่น้องชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณีได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล กรุงเทพมหานครพร้อมจะด�ำเนินการ โครงการก่ อ สร้ า งรถไฟฟ้ า มวลชนรางเดี่ ย ว (Monorail) สายจุ ฬ าฯสี ล ม-สามย่ า น และโครงการก่ อ สร้ า งระบบขนส่ ง มวลชนระบบรอง (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ส�ำเร็จ ลุ ล ่ ว ง เพื่ อ เร่ ง พั ฒ นาโครงข่ า ยการเดิ น ทาง ลดการใช้ ร ถยนต์ ส ่ ว นตั ว อั น จะเป็ น การบรรเทาปั ญ หาการจราจรที่ ไ ด้ ผ ลอย่ า งยั่ ง ยื น ท�ำ ให้ ค น กรุงเทพฯ มีทางเลือกที่หลากหลายในการเดินทาง ถึงที่หมายได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยลดมลพิษ และภาวะโลกร้อน เป็นการแก้ไข ปัญหาระยะยาวคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

8 สจส. ทางสะดวก


อาร์เอฟไอดี

กับการประยุกต์ใช้งานด้านจราจรและขนส่ง ณกร อินทร์พยุง คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา กฤษณ์ เจ็ดวรรณะ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ในทุกวันนี้ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ�ำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ ติดตามและทวนสอบข้อมูลสินค้า บัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟนที่มีชิพ NFC (หรือ Mobile Wallet) และอื่ น ๆอี ก มากมาย ในบทความนี้ จะกล่ า วถึ ง การน� ำ เทคโนโลยี อ าร์ เ อฟไอดี ม าประยุ ก ต์ ใช้งานด้านจราจรและขนส่ง โดยวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆที่น่าสนใจ อาทิเช่น อุปสรรคหรือข้อจ� ำกัดของ เทคโนโลยี โอกาสและแนวโน้มของตลาด กรณีศึกษาที่ประสบความส�ำเร็จทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สจส. ทางสะดวก 9


อาร์เอฟไอดีกับขนส่ง

ความหมายของ อาร์เอฟไอดี คือ การรับส่งข้อมูลแสดงตน (ID) ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ส�ำหรับการประยุกต์ ใช้งานด้านขนส่ง ข้อมูลแสดงตนโดยส่วนมากจะอ้างถึงเลขทะเบียนรถ โดยสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะ ป้ายภาษีรถยนต์ฝังชิพ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดการปลอมแปลงและจัดเก็บภาษีรถยนต์ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

(b) SMART PASS

(a) SMART TAG

10 สจส. ทางสะดวก

รูปที่ 1 แสดง SMART RFID ของกรมการขนส่งทางบก โดยสามารถส่ ง ข้ อ มู ล ทะเบี ย นรถไปยั ง อุ ป กรณ์ อ ่ า น สัญญาณ (RFID reader) ที่อยู่ด้านข้างหรือด้านบนของ ถนน นอกจากตอบสนองความต้องการตามวัตถุประสงค์ หลั ก แล้ ว การบ่ ง ชี้ ห มายเลขทะเบี ย นรถด้ ว ยคลื่ น ความถี่วิทยุ ยังสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในด้านอื่นๆ อาทิเช่น การติดตามด้านการโจรกรรมและ ข้อมูลประกอบคดีอาชญากรรม การควบคุมความเร็วเพื่อ ความปลอดภัย และข้อมูล


สภาพจราจรที่เกิดขึ้นในโครงข่ายถนน ณ เวลานั้นๆ สังเกตด้วยว่า การประยุกต์ใช้อาร์เอฟไอดีกับป้ายภาษีหรือทะเบียน รถยนต์โดยส่วนใหญ่อาศัยคลื่นความถี่ในย่าน 900 MHz หรือ UHF ซึ่งท�ำให้แอบพลิเคชันดังกล่าวนี้มีข้อจ�ำกัด ที่ต้องการ ระยะและทิศทางการมองเห็น รวมทั้งปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างแผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID tag) และอุปกรณ์ อ่านสัญญาณ อาร์เอฟไอดีด้านงานขนส่งที่มีใช้อยู่ในชีวิตประจ�ำวันของคนไทย นั่นคือ Easy Pass หรือระบบเก็บค่าผ่านทาง อัตโนมัติ ระบบฯจะรับส่งข้อมูลระหว่าง Easy Pass (หรือ RFID tag) และอุปกรณ์อ่านสัญญาณโดยอาศัยคลื่นความถี่ ในย่าน 5.8 GHz เนื่องจากต้องการความรวดเร็วและปริมาณการรับส่งข้อมูลที่มากเพียงพอต่อการเข้ารหัสความปลอดภัย ส�ำหรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สาย นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของ Easy Pass ให้มากยิ่งขึ้น ภายในอุปกรณ์ยังจ�ำเป็นต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟฟ้าด้วยแบตเตอร์รี่ขนาดเล็ก ซึ่งท�ำให้ Easy Pass จัดอยู่ใน RFID ประเภท Semi-Passive และมีอายุการใช้งานอยู่ในช่วง 5 - 15 ปี

รู ป ที่ 2 แสดง Easy Pass ของการทางพิ เ ศษ แห่ ง ประเทศไทย โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื่ อ แก้ ป ั ญ หารถติ ด บริ เ วณหน้ า ด่ า นเก็ บ เงิ น รวมทั้ ง ท�ำให้ผู้ใช้มีความสะดวกและรวดเร็ว

สจส. ทางสะดวก 11


การประยุกต์ใช้อาร์เอฟไอดีเพื่อบริหารจัดการรถสาธารณะ โดยทั่วไป การรับส่งข้อมูล แสดงตนของยานพาหนะอาศั ย คลื่ น ความถี่ ใ นย่ า น 433 MHz และ 900 MHz ยกตัวอย่างเช่น ระบบควบคุมและให้บริการข้อมูลระยะเวลามาถึงของรถประจ�ำทาง ที่ประเทศสวีเดน โดยติดตั้งเครื่องอ่านสัญญาณ RFID ที่ด้านข้างของถนน (ดังรูปที่ 3) หรือบริเวณป้ายหยุดรถประจ�ำทาง ระบบฯนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในเงื่อนไขที่รถประจ�ำทางต้องจอดตรงป้าย เนื่องจากให้ความ แม่นย�ำของข้อมูลสูง และมีความสามารถในการขยายขนาดของระบบ (Scalability) ด้วยต้นทุนต�่ำ รวมทั้งอุปสรรคที่เกิดจากสภาวะแวดล้อม อาทิเช่น อาคารสูงล้อมรอบ ทางยกระดับ ฝนตก ท�ำให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการระบุต�ำแหน่งยานพาหนะ ด้วยดาวเทียม หรือจีพีเอส ไม่สามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ [1] ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อาร์เอฟไอดี ที่สามารถก�ำหนดปัจจัยควบคุมในการบริหารงานจราจรและขนส่งได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ เช่น ระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Road Pricing: ERP) ที่ประเทศสิงค์โปร์ [2] อาศัยคลื่นความถี่ในย่าน 2.4 GHz โดยเก็บค่าผ่านทางที่แปรผันตามช่วงเวลา (หรือ Pay-on-demand) โดยมีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อลดปัญหาสภาพจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน แสดงในรูปที่ 4 ด้านล่าง

Source: National Geographic (2011) ERP เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบจราจรและขนส่งในเขตเมือง ในเงื่อนไขที่การขยาย โครงข่ายถนนกระท�ำได้ยาก อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจและการยอมรับเทคโนโลยี รวมทั้งทางเลือกของระบบขนส่งมวลชน ที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้ ERP ประสบความส�ำเร็จ

12 สจส. ทางสะดวก


ข้อมูลสภาพจราจรและการเดินทาง

ระบบจัดการจราจรและให้บริการข้อมูลแก่ผู้เดินทางที่อาศัยข้อมูลอาร์เอฟไอดี เมื่อจ�ำแนกตามลักษณะการเก็บ ข้อมูล จะจัดอยู่ในประเภท AVI (Automated Vehicle Identification) ที่อาศัยคลื่นความถี่วิทยุในการรับส่งข้อมูล มีตัวอย่างกรณีศึกษาในหลายๆประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เมือง San Antonio, Houston และ New York อาศัยข้อมูลจากบัตรจ่ายค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประมาณสภาพจราจรและค�ำนวณหาระเวลาเดินทางจุด 2 จุด ที่ติดตั้ง RFID reader รูปที่ 5 แสดงข้อมูลสภาพ จราจรของเมือง Houston [3]

Source: Live Traffic Map, City of Houston, Texas อุปสรรคและความท้าทายในการประยุกต์ใช้ข้อมูล AVI ส�ำหรับระบบจัดการจราจร และให้บริการข้อมูล ได้แก่ จ�ำนวนยานพาหนะที่ใช้บัตรจ่ายค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มาก พอ ดังนั้น โดยทั่วไป ข้อมูล AVI จึงต้องอาศัยการผสมข้อมูลจราจร (Data fusion) จากแหล่ง อื่นๆ อาทิเช่น กล้อง Autoscope, ไมโครเวฟเซ็นเซอร์ และข้อมูลความเร็วจากรถยนต์ที่ติดตั้ง อุปกรณ์จีพีเอส เพื่อเพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

สจส. ทางสะดวก 13


นอกจากนี้ การใช้ข้อมูล AVI จากป้ายภาษี ป้ายทะเบียน และบัตรจ่ายค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังเป็นประเด็น ข้อโต้แย้งในเรื่องการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว หลายๆประเทศ อาทิเช่น สหรัฐ ยุโรป และฮ่องกง ที่ให้บริการระบบ ข้อมูลจราจร (RTIS) จะต้องมีข้อตกลงในการใช้ข้อมูล AVI ระหว่างผู้ใช้ยานพาหนะและผู้ให้บริการข้อมูลจราจรอย่างเข้ม งวด ดังนั้น ข้อมูล AVI ส่วนใหญ่จะได้มาจากรถสาธารณะ รถบรรทุกขนส่งสินค้า และอาสาสมัครจราจร สังเกตด้วยว่า กรณีการคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายไทยยังไม่มีความชัดเจน โดยอ้างถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 35 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูล เว้นแต่กรณี ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ความพยายามที่จะพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลจราจรและการเดินทางในกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น โครงการ TrafficEyes.Net ดังแสดงในรูปที่ 6 ด้านล่าง

Source: Live Bangkok Traffic, TrafficEyes.Net โดยอาศัยข้อมูล AVI และจีพีเอส จากรถแท็กซี่และรถบรรทุกสินค้า มาประมาณ สภาพจราจรแบบเรียลไทม์ [4] อย่างไรก็ตาม ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของ ข้อมูล เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญที่จะส่งผลให้ระบบให้บริการข้อมูลฯ ได้รับการยอมรับจาก ผู้เดินทาง ซึ่งอาจมีความจ�ำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจราจรจากแหล่งอื่นๆ อาทิเช่น อัตรา การไหลและความหนาแน่นของการจราจร ที่ได้จากอุปกรณ์ไมโครเวฟเซ็นเซอร์ มาช่วยเพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น

14 สจส. ทางสะดวก


บูรณาการระบบโลจิสติกส์

การประยุกต์ใช้อาร์เอฟไอดีในงานด้านโลจิสติกส์ จะเชื่อมโยงข้อมูลกับสินค้ามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ ปิดตู้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Seal) เพื่อช่วยในการขนส่งสินค้าอย่างปลอดภัย ป้องกันไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสินค้า ภายในตู้ตั้งแต่จุดต้นทางจนถึงปลายทาง โดยน�ำ E-Seal ไปล็อคไว้ที่ประตูตู้สินค้า [5] โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าสินค้า ทัณฑ์บนที่มีมูลค่าสูง ที่จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในด้านพิธีการศุลกากรและการขอคืนภาษี

รูปที่ 7 E-Seal อาศัยคลื่นความถี่ในย่าน 433/ 900 MHz หรื อ 2.4 GHz ในการรั บ ส่ ง ข้ อ มู ล นอกจากการรั บ ส่ ง Tag ID ของตู้สินค้าเพื่อใช้อ้างอิงรายละเอียดของสินค้า} ในระบบฐานข้อมูลแล้ว ยังมีความพยายามในการบรรจุ ข้ อ มู ล ใบขนและรายละเอี ย ดสิ น ค้ า ลงใน RFID tag เพื่ อ ประโยชน์ ต ่ อ เจ้ า หน้ า ที่ ใ นการสุ ่ ม ตรวจสิ น ค้ า ใน ระหว่าง}เส้นทาง ซึ่งอาจจะมีการลักลอบขนส่งสินค้าผิด กฎหมายโดยรถบรรทุ ก สั ญ ชาติ อื่ น เมื่ อ ประเทศไทย เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) Source: Institute of Shipping and Economics (2011) อาร์เอฟไอดีเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย ความส� ำเร็จ ของระบบอาร์ เ อฟไอดี จึ ง ขึ้ น อยู ่ กั บ การเลื อ กใช้ ส ่ ว นประกอบของเทคโนโลยี ที่เหมาะสม และแนวคิ ด ในการประยุ ก ต์ ใ ช้ ง าน ที่ ส ามารถสรรค์ ส ร้ า งมหานครและ เมืองขนาดใหญ่ให้มีระบบการจัดการจราจรและขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เอกสารอ้างอิง [1] Sriborrirux, W., Danklang, P., and Indra-Payoong, N. (2008) “The design of RFID sensor network for bus fleet monitoring,” In: Proceedings of the 8th International Conference on Intelligent Transport System Communications, 22-24 October, Phuket, pp. 103 - 107. [2] Yasutsugu, N., Nobuhiko, M., Shinya, K., and Michiyasu, O. (1999) “Electronic road pricing in Singapore,” Traffic Engineering, Vol. 34, No. 4, pp. 37 – 45. [3] Houston TranStar (2012) “Real-time traffic map,” Retrieved from: http://traffic.houstontranstar.org/layers/ [4] Sringiwai, K., Indra-Payoong, N., Sumalee, A., Roathanachonkun, P., and Sriborrirux, W. (2010) “ RFID-based travel time estimation: development case in Bangkok,” in Proceedings of the 15th International Conference of Hong Kong Society for Transportation Studies, Dec 11-14 2010, Hong Kong, pp. 139-146. [5] สภาอุตสาหกรรม (2552) “ระบบปิดตู้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Seal),” แหล่งที่มา: http://www.fti.or.th/2008/thai/ftitechnicalsubdetail.aspx?id=66

สจส. ทางสะดวก 15


1555

ความเป็นมาของ ศูนย์ กทม. กับการแก้ไขปัญหาเรือ่ งร้องทุกข์จากประชาชน ของส�ำนักการจราจรและขนส่ง นางสาวสิริพร ข�ำชูสงฆ์ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ สจส.

กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งทุกข์และภัยเมื่อปี 2539 เพื่อให้บริการประชาชนที่มีปัญหา เดือดร้อนจากภัยต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ 1555 ซึ่งกรุงเทพมหานคร จัดรองรับไว้ 10 คู่สายอัตโนมัติ ต่อมา ในปีงบประมาณ 2543 ได้มีการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์และระบบ รับเรื่องร้องทุกข์ในลักษณะ Call Center โดยกองป้องกันฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงาน ในการ ประสานโดยทางโทรศัพท์ โทรสาร บันทึกในระบบโปรแกรมรับเรื่องร้องทุกข์ และส่ง E-mail ไปยังหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานครที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถให้บริการได้ดีระดับหนึ่ง แต่การให้บริการ ที่ผ่านมายังพบปัญหาและอุปสรรคที่ประชาชนไม่ได้รับความพึงพอใจ ในการให้บริการอยู่บ้าง เช่น ต้องรอสาย เป็นเวลานานหรือแก้ไขปัญหาให้ไม่ทันกับความต้องการของผู้ร้องในปีงบประมาณ 2547 กองป้องกันภัย ฝ่ า ยพลเรื อ นได้ ป รั บ เปลี่ ย นโครงสร้ า งใหม่ โ ดยในส่ ว นของศู น ย์ รั บ แจ้ ง ทุ ก ข์ แ ละภั ย ได้ เ ปลี่ ย นชื่ อ เป็นศูนย์รับแจ้งทุกข์ สังกัดกองกลาง ส�ำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 16 สจส. ทางสะดวก


ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการให้บริการสายด่วนรับแจ้งปัญหา ความเดือดร้อน ของประชาชน จึงมีนโยบายให้ด�ำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของศูนย์ฯ โดยเร่งด่วน รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนรู้จักและจดจ�ำได้ง่ายจึงใช้ชื่อ “ศูนย์ กทม. 1555” ซึ่งได้มีการปรับปรุง มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ นั บ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 ธั น วาคม 2547 เป็ น ต้ น มาได้ ว ่ า จ้ า งภาคเอกชนเป็ น ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารศู น ย์ กทม. 1555 โดยเพิ่มคู่สายโทรศัพท์จาก 10 คู่สาย เป็น 30 คู่สาย และมีเจ้าหน้าที่รับสายจ�ำนวน 15 คน ต่ อ มา ในปี 2549 ได้ เ พิ่ ม คู ่ ส ายโทรศั พ ท์ จ ากเดิ ม ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารเพี ย ง 30 คู ่ ส าย เป็ น 120 คู ่ ส าย รวมทั้ ง เพิ่มเจ้าหน้าที่รับสายเป็น 50 คน หมุนเวียนให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการแก่ประชาชน จัดตั้ง “หน่วยบริการฉุกเฉิน” หรือ หน่วยเบสท์ (Bangkok Emergency Service Team = BEST) เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาเรื่ อ งเร่ ง ด่ ว นฉุ ก เฉิ น เช่ น น�้ ำ มั น หก บนผิ ว จราจร เศษวั ส ดุ ต กหล่ น บนผิ ว การจราจร ฝาท่ อ ระบายน�้ ำ ช� ำ รุ ด ทรุ ด ตั ว ต้ น ไม้ ล ้ ม กี ด ขวางการจราจร ป้ายโฆษณาล้ม น�้ำท่วมขัง โดยด�ำเนินการแก้ไขปัญหา ภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากรับแจ้งเหตุจากศูนย์ กทม.1555 และปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังคงด�ำเนินการรับแจ้งเรื่อง ร้องทุกข์ของประชาชนผ่านศูนย์ กทม. 1555 อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 120 คู่สาย และเจ้าหน้าที่รับสาย 60 คน

สจส. ทางสะดวก 17


ประเภทเรื่องร้องทุกข์ ที่ศูนย์ กทม.1555 จ� ำแนก มีจ�ำนวน 23 ประเภท ได้แก่ 1.อาคาร 2.บาทวิถี 3.ถนน 4.สะพาน 5.เขื่อน คู คลอง 6.ท่อระบายน�้ำ 7.ที่พักผู้โดยสาร 8.ไฟฟ้า 9.ประปา 10.โทรศัพท์ 11.ขยะ และสิ่งปฏิกูล 12.น�้ำท่วม 13.ต้นไม้และสวนสาธารณะ 14.สภาพแวดล้อมเป็นพิษ 15.กระท�ำผิดในที่สาธารณะ 16.ปัญหาจราจร 17.การบริหารงานบุคคล18.คุ้มครองผู้บริโภค 19.ยาเสพติด 20.ความรุนแรงในครอบครัว 21.เหตุเดือดร้อนร� ำคาญ 22.เรื่องร้องทุกข์ประเภทอื่นๆ และ 23.เรื่องฉุกเฉิน (เหตุความมั่นคง) ส� ำ นั ก การจราจรและขนส่ ง กรุ ง เทพมหานคร เป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ศึ ก ษา ส� ำ รวจวิ เ คราะห์ ออกแบบ วางแผน ก�ำหนดมาตรการ ระบบ และด�ำเนิน การด้ า นการจราจรและขนส่ ง ตลอดจนการก� ำ หนด มาตรฐานงานวิ ศ วกรรมจราจร วิ ศ วกรรมขนส่ ง และ วิศวกรรมความปลอดภัย ระบบจราจรอัจฉริยะ การพัฒนา ระบบโครงข่ายถนน ระบบขนส่งมวลชน และการแก้ไข เรื่ อ งร้ อ งทุ ก ข์ ข องประชาชนด้ า นการจราจร ไม่ ว ่ า จะ เป็นการติดตั้งซ่อมแซมสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยก สั ญ ญาณไฟจราจรคนข้ า มถนนอั จ ฉริ ย ะ การติ ด ตั้ ง ซ่อมแซมเครื่องหมายอุปกรณ์จราจร ป้ายบอกทาง และ ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจ�ำทาง ซึ่งผู้บริหารของส�ำนัก การจราจรและขนส่งได้ให้ความส�ำคัญกับการแก้ไขปัญหา เรื่องเดือดร้อนของประชาชน โดยเน้นย�้ำให้แก้ไขอย่าง รวดเร็ว และทันท่วงที

18 สจส. ทางสะดวก


ส�ำนักการจราจรและขนส่ง ได้รวบรวมสถิติ 11 อันดับเรื่องร้องทุกข์ของส�ำนัก ที่ประชาชนแจ้งผ่านศูนย์ กทม. 1555 ประจ�ำปี 2554 ที่ผ่านมา ได้ดังนี้ อันดับ 1 ปัญหาจราจร ได้รับแจ้งจ�ำนวน 1,257 เรื่อง อันดับ 2 ที่พักผู้โดยสาร ได้รับแจ้งจ�ำนวน 288 เรื่อง อันดับ 3 ไฟฟ้า ได้รับแจ้งจ�ำนวน 173 เรื่อง อันดับ 4 เรื่องร้องทุกข์ประเภทอื่นๆ ได้รับแจ้ง จ�ำนวน 172 เรื่อง อันดับ 5 กระท�ำผิดในที่สาธารณะ ได้รับแจ้งจ�ำนวน 11 เรื่อง อันดับ 6 เหตุเดือดร้อนร�ำคาญ ได้รับแจ้ง จ�ำนวน 10 เรื่อง อันดับ 7 สะพาน ได้รับแจ้งจ�ำนวน 9 เรื่อง อันดับ 8 ถนน ได้รับแจ้งจ�ำนวน 8 เรื่อง อันดับ 9 การบริหารงานบุคคล ได้รับแจ้งจ�ำนวน 3 เรื่อง และบาทวิถี ได้รับแจ้งจ�ำนวน 3 เรื่อง เท่ากัน อันดับ 10 เขื่อน คูคลอง ได้รับแจ้งจ�ำนวน 1 เรื่อง ซึ่งปัญหาร้องทุกข์ทุกเรื่องส� ำนักการจราจรและขนส่ง ได้ด�ำเนินการแก้ไขเสร็จแล้วทั้งสิ้น คิดเป็น 100%

พบเห็นปัญหา ต้องการให้กรุงเทพมหานครแก้ไข แจ้งได้ที่

ศูนย์ กทม. 1555

“เต็มที่ เต็มใจ รับใช้คนกรุงเทพฯ”

ข้อมูลอ้างอิง http://www.bangkok.go.th/rongtook ที่มารูปภาพ http://dailyplans.bangkok.go.th http://www.thairath.co.th

สจส. ทางสะดวก 19


โครงการ

สวนจราจรเยาวชน ประภาวดี วชิรพุทธิ์ นักวิชาการสถิติช�ำนาญการ กองนโยบายและแผนงาน ส�ำนักการจราจรและขนส่ง

กทม.รุกสร้างวินัยจราจรให้เยาวชน หวังกระตุ้นจิตส� ำนึกการใช้รถใช้ถนน อย่างปลอดภัย เดินหน้าสานต่อโครงการ “สวนจราจรเยาวชน” ลดอุบัติเหตุ บนท้องถนน หลังพบ ความสุญเสีย ต้นเหตุขาดวินัย-ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร กรุ ง เทพมหานคร เป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ที่ รั บ ผิ ด ชอบในด้ า นการจราจรและขนส่ ง ของกรุ ง เทพมหานคร การศึ ก ษา การก� ำ หนดมาตรการป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หาการจราจรใน กรุงเทพมหานคร รวมถึงการให้ความรู้และการรณรงค์วินัยจราจร จึงนับว่าเป็นหน้าที่ส�ำคัญ โดยส�ำนักการจราจรและขนส่ง มีความตระหนักในปัญหาดังกล่าว และได้ให้ความส�ำคัญกับ ตัวบุคคลผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นหลัก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ควรได้รับ แบบอย่างวัฒนธรรมที่ดีบนพื้นฐานของการปฏิบัติและความเข้าใจที่ถูกต้อง

20 สจส. ทางสะดวก


เพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยให้แก่เด็กและเยาวชน และเสริมสร้างวินัยจราจร ตั้ ง แต่ วั ย เยาว์ จึ ง ได้ มี ก ารจั ด อบรมให้ ค วามรู ้ ภ ายใต้ โ ครงการสวนจราจรเยาวชนมาตั้ ง แต่ ป ี 2542 จนถึ ง ปั จ จุ บั น เพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎและวินัยจราจร รวมทั้งกระตุ้นและปลูกจิตส� ำนึกด้านความปลอดภัย และความมีน�้ำใจในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนุกสนาน โดยอาศัยกระบวนการ เรียนรู้ ที่กระตุ้นให้เด็กๆ ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ทั้งสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติจริง อย่างถูกต้อง อันจะน�ำไปสู่การป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจร และสามารถน�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและ สังคมได้อย่างแท้จริง

สจส. ทางสะดวก 21


“โครงการฯนี้ เป็นการป้องกันและช่วยลดการ สูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุจราจร ได้ดีกว่าที่จะแก้ไขกันที่ ปลายเหตุ ด้วยการปลูกฝังให้ความรู้ตั้งแต่เยาว์วัยอย่าง ต่อเนื่อง สม�่ำเสมอ และย�้ำเตือนตลอดเวลา ตั้งแต่ระดับ ประถมศึ ก ษา มั ธ ยมศึ ก ษา ไปจนถึ ง อุ ด มศึ ก ษา ซึ่ ง จะ สร้างวัฒนธรรมจราจรแบบยั่งยืนในที่สุด อย่างไรก็ตาม เชื่ อ ว่ า เด็ ก และเยาวชนที่ ผ ่ า นการอบรมนี้ จะสามารถ น� ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ ไ ปใช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น จนเกิ ด ความ ปลอดภั ย ในการเดิ น ทาง เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี แ ก่ ผู ้ ใ ช้ ร ถ ใช้ ถ นนในปั จ จุ บั น และเป็ น ผู ้ ใ หญ่ ที่ ดี มี ร ะเบี ย บวิ นั ย ในอนาคต”

22 สจส. ทางสะดวก


ด้านเด็กหญิงชุติกาญจน์ หงษ์กง นักเรียนโรงเรียนบ้านบัวมล เขตบางเขน สังกัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “การเข้าร่วมโครงการสวนจราจรเยาวชนท�ำให้ได้รู้ในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง มีการฝึกทั้งภาคทฤษฎีและภาค ปฏิบัติ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สนุกไปด้วยได้เรียนรู้ไปด้วย และยังน� ำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจ�ำวัน จากนี้ไปหนูจะ คอยเตือนคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองท่านอื่นให้รักษาวินัยจราจร และสวมหมวกกันน็อคให้เด็กเวลานั่งซ้อนท้ายรถ จักรยานยนต์ด้วย หนูต้องขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ที่สร้างโอกาสการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับพวกเรา และจดจ�ำว่า “รู้กฎ มีวินัย มีน�้ำใจ ปลอดภัยแน่นอน”

สจส. ทางสะดวก 23


โครงการสวนจราจรเยาวชนในปี 2554 ได้จัดให้มีการอบรมและจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 431 โรงเรียน รวมจ�ำนวนประมาณ 38,000 คน โดยการฝึกอบรม แบ่งเป็นรุ่น วันละ 3 รุ่นๆ ละประมาณ 250 คน แบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในภาคเช้าเป็นการให้ความรู้ เกี่ยวกับกฎจราจร การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย และวินัยจราจร พร้อมการทดสอบในภาคทฤษฎี ส่วนภาคบ่าย เป็นการฝึกปฎิบัติจริง และการทดสอบภาคปฏิบัติในสวนจราจรจ�ำลอง ทั้งในฐานะของผู้ใช้รถและผู้ใช้ถนน โดยใช้การ ขับขี่รถจักรยานในสวนจราจรที่จ�ำลองสภาพถนนตามเส้นทางที่มีทั้งป้ายเครื่องหมายจราจรและสัญญาณไฟจราจร ซึ่งมี เจ้าหน้าที่ก�ำกับ ควบคุม เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้เรื่องกฎจราจร และความมีน�้ำใจในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน จนสามารถ น�ำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจ�ำวัน

24 สจส. ทางสะดวก


หลักการเบื้องต้นของกฎหมาย เกี่ยวกับการจราจร (ตอนที่ 2) จณิสตา เอมครุฑ

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ ข้อ 5. ศึกษาการใช้ทางเดินรถ ว่าด้วยการขับรถ การเลี้ ย วรถ การกลับรถ การขับรถแซงขึ้นหน้า การใช้ ความเร็วของรถ การหยุดรถ การจอดรถ มีข้อกฎหมาย ก�ำหนดไว้อย่างไร ส่วนใหญ่เป็นการก�ำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 กฎกระทรวง และระเบี ย บ ข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งออกตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ ข้ อ สั ง เกต ในการปฏิ บั ติ ง านเจ้ า หน้ า ที่ ค วร ท�ำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้

1. การหยุด การจอด มีเครื่องหมายจราจร การห้ า มหยุ ด และห้ า มจอดมี รู ป แบบต่ า งกั น ตาม ข้อก�ำหนดฯ ออกตาม ม.21 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ก� ำ หนดทั้ ง การหยุ ด และการจอดเป็ น ความผิ ด ต่ า งกั น ใช้ ก ฎหมายคนละมาตรา (ม.55 และ ม.57) ดั ง นั้ น เจ้ า หน้ า ที่ ต ้ อ งท� ำ ความเข้ า ใจค� ำ ว่ า “หยุ ด ” กั บ “จอด” เพื่อประกอบการแจ้งข้อหาให้ถูกต้อง ดังนี้ สจส. ทางสะดวก 25


“หยุด” น่าจะหมายความถึงพฤติกรรม การไม่เคลื่อนรถไปในทาง ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยผู้ขับขี่ ยังอยู่ในลักษณะที่ควบคุมรถได้ และสามารถจะเคลื่อนรถ ไปได้ทันทีที่ต้องการ “จอด” น่าจะหมายความถึงพฤติ กรรม การไม่เคลื่อนรถไปในทาง เป็นระยะเวลานาน และ ผู้ขับขี่ไม่อยู่ควบคุมรถนั้น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ ความหมายของค�ำว่า “หยุด” และ “จอด” ไว้ดังนี้ “หยุด” เป็นกริยา หมายถึง ชะงัก, นิ่งอยู่กับที่, พัก เช่น หยุดงาน ส่วนค�ำว่า “จอด” เป็นกริยา หมายถึง หยุดอยู่, ท�ำให้ติดกัน 2. ถ้ามีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวรถ จะกลับรถ ได้หรือไม่ หรือมีเครื่องหมายห้ามกลับรถ จะเลี้ยวซ้าย หรือ ขวาได้หรือไม่ และตรงที่ทางร่วมทางแยกไม่มีเครื่องหมาย ห้ามกลับรถ จะกลับได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.53 ก�ำหนดห้ามเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือห้ามกลับรถ ถ้ามี เครื่ อ งหมายจราจรห้ า มเลี้ ย วซ้ า ย เลี้ ย วขวา หรื อ ห้ า ม กลับรถอย่างใด อย่างหนึ่งก�ำหนดห้ามไว้ และตรงทางร่วม

26 สจส. ทางสะดวก

ทางแยกกฎหมายก� ำ หนดห้ า มกลั บ รถ เว้ น แต่ มี เครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้ 3. การขั บ รถเมื่ อ มาถึ ง ทางร่ ว มทางแยก พร้ อ มกั น และไม่ มี เ ครื่ อ งหมายแสดงว่ า ทางใดเป็ น ทางเอกหรือทางโท จะให้สิทธิรถทางด้านใดไปก่อน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.71 ก�ำหนดให้รถทางด้านซ้ายของตนไปก่อน ข้อ 6. เครื่องหมายจราจร และสัญญาณจราจร เป็นเครื่องหมายและสัญญาณที่ท� ำให้ปรากฏในทาง ซึ่ง ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนขี่ จูง ไล่ต้อนสัตว์ต้องปฏิบัติตาม เครื่องหมายจราจร แบ่งเป็น 2 ชนิด (ท�ำด้วย แผ่นป้าย ไม้ โลหะฯ กับเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง) ชนิ ด ที่ ท� ำ ด้ ว ยแผ่ น ป้ า ย ไม้ โลหะแบ่ ง เป็ น 2 ประเภท (บังคับ กับ เตือน) รูปแบบของเครื่องหมายจราจร ก�ำหนดไว้ ตามข้อก�ำหนดของส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2522 แก้ไขตามฉบับที่ 2 พ.ศ.2531 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2536 ส่วนสัญญาณจราจร แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1. ท่า สั ญ ญาณ หรื อ สั ญ ญาณมื อ 2. เสี ย งสั ญ ญาณหรื อ สัญญาณนกหวีด และ 3. ไฟสัญญาณ หรือสัญญาณไฟ การติดตั้งเครื่องหมายจราจรให้ปรากฏในทาง นั้นจะกระท�ำได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงาน (หมายถึ ง เจ้ า หน้ า ที่ ซึ่ ง ได้ รั บ มอบหมาย) ตาม ม.28 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ เท่านั้น บุคคลอื่นจะกระท�ำ หรือติดตั้งไม่ได้


ข้อสังเกต ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ควรแจ้งข้อหา ให้ถูกต้อง ดังนี้ การแจ้งข้อหาแก่ผู้กระท�ำผิดในกรณีการฝ่าฝืน เครื่องหมายจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ นั้นเป็นไป ได้ 2 กรณี ดังนี้ 1. เครื่องหมายจราจรนั้นหากติดตั้งโดยอ�ำนาจ ตาม ม.28 คื อ เครื่ อ งหมายจราจรที่ มี รู ป แบบตาม ข้อก�ำหนดของส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ ก�ำหนดไว้แล้ว มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ต ลอดเวลา (ไม่ ใ ช่ เ ป็ น บางเวลา) เช่ น ห้ามจอดตลอดเวลา ห้ามเลี้ยวรถตลอดเวลา ห้ามกลับรถ ตลอดเวลา เป็นต้น เห็นว่า ผู้ฝ่าฝืนกระท�ำความผิดข้อหา ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรฯ (ม.21) 2. เครื่ อ งหมายจราจรนั้ น ติ ด ตั้ ง โดยการออก ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร ตาม ม.139 คือ เครื่องหมาย จราจรที่ มี รู แ บบตามข้ อ ก� ำ หนดของส� ำ นั ก งานต� ำ รวจ

แห่ ง ชาติ ก� ำ หนดไว้ แต่ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ เ ป็ น ช่ ว งเวลาเป็ น ส่ ว นใหญ่ มี ก ารก� ำ หนดเวลาประกอบอยู ่ ด ้ ว ยกั บ เครื่องหมายจราจร นั้น เพื่อบังคับให้เป็นไปตามข้อบังคับ นั้น ๆ เห็นว่า ผู้ฝ่าฝืนกระท�ำความผิดข้อหาฝ่าฝืนข้อบังคับ เจ้าพนักงานจราจรฯ (ม.139) 3. การติดตั้งเครื่องหมายจราจร จ�ำเป็นจะต้อง ออกข้ อ บั ง คั บ ฯ มารองรั บ ก่ อ นหรื อ ไม่ จึ ง จะติ ด ตั้ ง เครื่องหมายจราจรได้ ควรพิ จ ารณา ม.28 แห่ ง พ.ร.บ.จราจร ทางบกฯ หากผู้ท�ำหรือติดตั้งเครื่องหมายจราจร นั้นกระท�ำ โดยบุคคลซึ่งชอบตามกฎหมายก�ำหนดแล้ว และรูปแบบ เครื่ อ งหมายจราจรนั้ น เป็ น ไปตามข้ อ ก� ำ หนด ฯ หากมี ผู้ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรนั้น ย่อมเป็นความผิดตาม ม.21 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ฐานฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร

สจส. ทางสะดวก 27


4.3 ส�ำหรับนอกเขตกรุงเทพมหานคร (จังหวัด อื่น ๆ) ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร มีผู้บังคับการต�ำรวจ ภูธรจังหวัดเป็นผู้ลงนาม ข้อ 7. อ�ำนาจเจ้าพนักงานจราจร และพนักงาน เจ้ า หน้ า ที่ เจ้ า พนั ก งานจราจร จะต้ อ งเป็ น ผู ้ ไ ด้ รั บ การ แต่งตั้งตามค�ำสั่งกระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบันเป็นค�ำสั่ง ที่ 387/2541 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541) และมีอ�ำนาจ หน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.19, ม.114, ม.133, ม.138, ม.139, ม.142, ม.143, ม.143 ทวิ และ ม.144 ก�ำหนดให้อ�ำนาจไว้

ดั ง นั้ น การติ ด ตั้ ง เครื่ อ งหมายจราจรซึ่ ง มี รู ป แบบตามข้ อ ก� ำ หนดฯ บนทางเดิ น รถเพื่ อ ให้ มี ผ ล บั ง คั บ ใช้ ต ลอดเวลา ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งออกข้ อ บั ง คั บ ฯ มา รองรับแต่อย่างไร 4. ในกรุ ง เทพมหานคร การออกข้ อ บั ง คั บ เจ้าพนักงานจราจร โดยอาศัยอ�ำนาจตาม ม.139 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติและมิให้เกิดการสับสนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ และประชาชน คือ 4.1 ข้ อ บั ง คั บ เจ้ า พนั ก งานจราจร ซึ่ ง มี ผ ล บั ง คั บ ใช้ เ ป็ น ระยะเวลาสั้ น ๆ เรี ย กว่ า “ข้ อ บั ง คั บ กองบั ง คั บ การต� ำ รวจจราจร” มี ผู ้ บั ง คั บ การกองบั ง คั บ การต�ำรวจจราจร เป็นเจ้าพนักงานจราจร (ลงนาม) 4.2 ข้ อ บั ง คั บ เจ้ า พนั ก งานจราจร ซึ่ ง มี ผลบังคับใช้ตลอดการจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เ รี ย ก ว ่ า “ ข ้ อ บั ง คั บ เ จ ้ า พ นั ก ง า น จ ร า จ ร ใ น เ ข ต กรุ ง เทพมหานคร” มี ผู ้ บั ญ ชาการกองบั ญ ชาการ ต�ำรวจนครบาลเป็นเจ้าพนักงานจราจร (ลงนาม)

28 สจส. ทางสะดวก

พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ คื อ ต�ำ รวจซึ่ ง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ควบคุมการจราจรมีอ�ำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด และมีอ�ำนาจว่ากล่าวตักเตือนได้ตาม ม.140 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ โดยยกเว้นห้ามว่ากล่าว ตักเตือนในความผิดดังต่อไปนี้ ขับขี่รถขณะเสพยาเสพติด ให้โทษฯ (ม.43 ทวิ) ผู้ขับขี่ขัดค�ำสั่งเจ้าพนักงานจราจร หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ (ม.59) ผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ไม่หยุดช่วยเหลือ ไม่แจ้งเหตุ หลบหนี (ม.78) ผู้ขับขี่แข่งรถ ในทาง (ม.134) ข้ อ สั ง เกต ในทางปฏิ บั ติ เ จ้ า หน้ า ที่ มั ก ประสบ ปัญหาและไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ 1. เมื่ อ ออกใบสั่ ง จั บ กุ ม ผู ้ ก ระท�ำ ความผิ ด แล้ ว เจ้าหน้าที่มีอ�ำนาจยึดบัตรประจ�ำตัวประชาชน แผ่นป้าย ทะเบียนแสดงการเสียภาษีรถ หรือบัตรอื่น ๆ ได้หรือไม่ และเมื่ อ พบผู ้ ก ระท� ำ ความผิ ด เจ้ า หน้ า ที่ ต� ำ รวจจราจร จ�ำเป็นจะต้องยึดใบอนุญาตขับรถทุกครั้งหรือไม่


ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ม.140 ให้อ�ำนาจ เจ้ า หน้ า ที่ เ รี ย กเก็ บ ใบอนุ ญ าตขั บ ขี่ เ ท่ า นั้ น ไว้ เ ป็ น การ ชั่วคราว และไม่จ�ำเป็นจะต้องเรียกเก็บหรือยึดใบอนุญาต ขับรถไว้ทุกครั้งก็ได้ 2. เมื่อเจ้าหน้าที่ ขอดูใบอนุญาตขับรถ แล้วผู้ ขับขี่ไม่ให้ดู จะท�ำอย่างไร หรือกรณียกชูใบอนุญาตให้ดู แล้วไม่ส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ จะเป็นความผิดอะไร ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ ม.42 ก�ำหนดให้ผู้ขับรถ ต้องมีใบอนุญาตขับรถ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที ดั ง นั้ น การไม่ แ สดงใบอนุ ญ าตขั บ รถเมื่ อ เจ้ า หน้ า ที่ ข อดู (ต้องแสดงในทันที) จึงเป็นความผิดตามมาตรานี้ ปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท ตาม ม.66 และการยกชูให้ดูแต่ไม่ ส่ ง มอบให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ก็ น ่ า จะถื อ ว่ า การกระท� ำ นั้ น ไม่ ไ ด้ เป็นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ให้ดูด้วยเช่นกัน ข้ อ 8. กฎกระทรวง ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ

เจ้าพนักงานจราจร ที่ควรทราบ เนื่องจากสภาพการจราจรได้มีการเปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ ดังนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจราจร ซึ่งได้ ก�ำหนดให้อ�ำนาจผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมาย ท�ำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎ กระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับเจ้าพนักงาน จราจรให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งควรทราบ ดังต่อไปนี้ 8.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2522) ว่าด้วย หลักเกณฑ์การบรรทุกของรถบรรทุก (ความกว้าง ความยาว ความสูง) 8.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2522) ว่าด้วย การก�ำหนดความเร็วของรถ

8.3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2537) ว่าด้วย การทดสอบผู้ขับขี่เมาสุราขณะขับรถ 8.4 ค�ำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 387/2541 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจรตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ฉบับลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541 8.5 ข้อก�ำหนดส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การก�ำหนดประเภท และชนิดของรถยนต์ ลักษณะและ วิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2540 8.6 ข้อก�ำหนดส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การด� ำ เนิ น การบั น ทึ ก คะแนน อบรม ทดสอบ ผู ้ ขั บ ขี่ กระท� ำ ผิ ด และการพั ก ใช้ ใ บอนุ ญ าตขั บ ขี่ ฉ บั บ ลงวั น ที่ 20 เม.ย. 2542 8.7 ระเบี ย บส� ำ นั ก งานต� ำ รวจแห่ ง ชาติ ว่ า ด้ ว ย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่น�ำมาใช้ในการเดินรถ ฉบับ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 8.8 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์บรรทุก 4 ล้อ และ 6 ล้อ เดินในเขต กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 21 ธันวาคม 2532 8.9 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์บรรทุกถังขนส่งก๊าซ ตั้งแต่ 6 ล้อ ขึ้นไป และรถพ่วงเดินในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 7 ธันวาคม 2533 8.10 ข้ อ บั ง คั บ เจ้ า พนั ก งานจราจรทั่ ว ราช อาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อ ขึ้ น ไป และรถบางชนิ ด เดิ น ในถนนบางสายในเขต กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2539 8.11 ข้ อ บั ง คั บ เจ้ า พนั ก งานจราจรทั่ ว ราช อาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์บรรทุกน�้ำมัน ตั้งแต่ 6 ล้ อ ขึ้ น ไป และรถพ่ ว ง เดิ น ในเขตกรุ ง เทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 12 เมษายน 2542 ที่มา : www.p1.police.go.th/download

สจส. ทางสะดวก 29


กิ จกรรม Bangkok Car Free Sunday คณะกรรมการโครงการเรารักกรุงเทพฯ เรารักจักรยาน

ซึ่งมีที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายเจตน์ โศภิษฐ์ พงศธร) เป็นประธาน จัดกิจกรรมร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม อาทิเช่น สมาคมสถาปนิกสยาม มูลนิธิโลกสีเขียว สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย กลุ่ม Bangkok Bicycle Campaign กลุ่ม Bangkok Big Trees ดังนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๕ จัดงาน “จักรยาน ปั่น ๓ ท่า” ในงานกิจกรรมกะดีจีนศิลป์ ๓ ท่าร่วมกับสมาคมสถาปนิก สยาม เพื่ อ รณรงค์ ส ่ ง เสริ ม การใช้ จั ก รยานในเชิ ง อนุ รั ก ษ์ ศิ ล ป วัฒนธรรมในย่านธนบุรี คลองสาน และบางกอกใหญ่

เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๒๕ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๕ จั ด งาน “Saturday Night Bike Fever” ในงาน “ปั่นเมือง” ร่วมกับมูลนิธิโลกสีเขียว เพื่อรณรงค์การใช้ จั ก รยานเป็ น ทางเลื อ กหนึ่ ง ในการเดิ น ทาง และสร้ า งความตระหนั ก ถึ ง ความสัมพันธ์ของวิถีเมืองจักรยานกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมือง โดยเริ่ม ปั่นจักรยาน จากสวนลุมพินีเพื่อเยี่ยมชมความงามยามค�่ำคืนในถนนเยาวราช

เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๒๕ มี น าคม ๒๕๕๕ จั ด งาน “โลกหมุนช้า สองล้อหมุน ที่บางกระเจ้า” เพื่อรณรงค์การใช้ จักรยานเป็นการลดการใช้พลังงาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้วิถีชุมชนในย่านบางกระเจ้า


โครงการปั่นจักรยานเพื่อน้อง ปีที่ ๔

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน และปล่ อ ยขบวนจั ก รยาน โดยมี ร องปลั ด กรุ ง เทพมหานคร (นายทวี ศั ก ดิ์ เดชเดโช) เข้าร่วมงานและเป็นสักขีพยานในการ รับมอบจักรยานจากสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ๑๖๗๗ และบริษัท ดีแทค จ�ำกัด มอบให้นักเรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน ๕๐ คัน


สำเลขที�นั่ 44กการจราจรและขนส่ ง กรุ ง เทพมหานคร ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2354-1215 www.bangkok.go.th/traffic

ทางสะดวก 32 สจส.แจ้ งเหตุสัญญาณไฟขัดข้อง

ป้ายจราจรชำ�รุด 24 ชั่วโมง ได้ที่ 0-2354-1234


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.