วารสาร สจส ทางสะดวก ก.ย.-ธ.ค.2554

Page 1

ทางสะดวก สจส. สำ�นักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ประจำ�เดือนกันยายน - ธันวาคม 2554

ISSN 1686-2082

สจส. ทางสะดวก


โครงการถวายปณิธาน ล้านหัวใจ รักษ์วินัยจราจร

งานประชุมเตรียมความพร้อม ณ ห้องโมเน่ -พิซาโร่ - เซซาน โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554

กิจกรรมเปิดตัวโครงการ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร (กทม 1) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554


สารบัญ

CONTENTS • โครงการถวายปณิธาน ล้านหัวใจรักษ์วินัยจราจร

4

• โครงการจุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร รถแท็กซี่

12

• หลักการเบื้องต้นของกฎหมาย เกี่ยวกับการจราจร (ตอนที่ 1)

15

• ความปลอดภัยทางถนน : คนเดินเท้า

20 26

• 5 เคล็ดลับ รับมือยามรถติด

บรรณาธิการ ชวนคุย ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เพิ่มมากขึ้น ทุกวันนับเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งแก้ไขอย่างเร่งด่วน และต่อเนือ่ ง ถ้าปล่อยให้เป็นธุระ ของภาครัฐเพียงล�ำพังจะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ จ�ำเป็นต้องได้รบั ความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชน ผูใ้ ช้รถใช้ถนนเป็นส�ำคัญ โดยการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาระเบียบวินยั จราจรอย่างเคร่งครัด กระตุน้ ให้มีจิตส�ำนึกและมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อผู้ร่วมสัญจรบนท้องถนน รวมถึงความมีนำ�้ ใจเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ตอ่ ผูร้ ว่ มทาง เพิม่ ความระมัดระวังป้องกัน ลดอุ บั ติ เ หตุ อั น เป็ น ปั ญ หาส� ำ คั ญ ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงห่วงใยพสกนิกรทีต่ อ้ งประสบปัญหาจราจรอย่างหนัก ทรงให้ความส�ำคัญ กั บ ปั ญ หานี้ และลงมื อ เป็ น ตั ว อย่ า ง ทรงปฏิ บั ติ แก้ ไ ขอย่ า งได้ ผ ล ด้วยพระบารมีและพระอัจฉริยะภาพ ส� ำ นั ก การจราจรและขนส่ ง กรุ ง เทพมหานคร ร่ ว มกั บ เอกชน ทุกภาคส่วน และประชาชนชาวไทย ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมกัน แสดงความจงรั ก ภั ก ดี โดยด� ำ เนิ น โครงการถวายปณิ ธ านล้ า นหั ว ใจ รักษ์วินัยจราจร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

วารสาร “สจส.ทางสะดวก”

มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม การดําเนินงาน และเรื่องราวน่ารู้ด้านการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานคร เจ้าของ : สํานักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

คณะที่ปรึกษา

นายธนา วิชัยสาร นายอรวิทย์ เหมะจุฑา นายนิคม พรธารักษ์เจริญ นายสุธน อาณากุล

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักการจราจรและขนส่ง รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักการจราจร และขนส่ง (ด้านวิชาการและปฏิบัติการ) รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักการจราจร และขนส่ง (ด้านบริหาร) ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานวิศวกรรมจราจร

นายบรรจง

ผู้อํานวยการกองนโยบายและแผนงาน

บรรณาธิการ

เหลืองรัตนมาศ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการและลูกจ้าง ส�ำนักการจราจรและขนส่ง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

นายมนัส นายจํานอง นายประพันธ์

นิ่มนวล ปัญญาวิศิษฎ์กุล คุณาวุฒิ

หัวหน้าศูนย์สารสนเทศจราจร หัวหน้ากลุ่มงานสถิติและข้อมูล หัวหน้ากลุ่มงานแผนงานและประเมินผล

นายไตรภพ นางรัชนี นางเครือฟ้า นายบุญสม นางสาวครองศิริ นางสาวจณิสตา นายธีรวัจน์

ขันตยาภรณ์ พงษ์ธานี บุญดวง สุวรรณปิฎกกุล โอรัญรักษ์ เอมครุฑ หงษ์แสนยาธรรม

หัวหน้าศูนย์ควบคุมระบบจราจร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงานช�ำนาญการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ นักวิจัยจราจรช�ำนาญการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ นักวิชการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ วิศวกรโยธาช�ำนาญการ

นายประวิทย์

มหาครุธ

นายช่างศิลป์ช�ำนาญงาน

กองบรรณาธิการ

ฝ่ายศิลป์

ฝ่ายประสานงานและเลขานุการ

นางสาวอุไรวรรณ เทียมเมือง

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ

ติดต่อกองบรรณาธิการ 44 ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร 0-2354-1215 Fax 0-2354-1210 www.bangkok.go.th/traffic แจ้งสัญญาณไฟขัดข้อง ป้ายจราจรช�ำรุด 24 ชั่วโมง ได้ที่ 0-2354-1234 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ดอกเบี้ย จ�ำกัด 1032/203-208 ซอยร่วมศิริมิตร ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2272 1169-72 โทรสาร 0 2272 1173 e-mail : dokbia1@hotmail.com ออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก : จารุวรรณ ศักดิ์มังกร, วัลลภ โตงาม


จากการด� ำ เนิ น โครงการตลอดระยะเวลา 270 วั น เพื่ อ ให้ บ รรลุ เ ป้ า หมาย ที่ ว างไว้ โดยการรวมพลั ง ประชาชนสอดคล้ อ งกั บ เจตนารมณ์ “รวมกั น เราท� ำ ได้ ” ตั้งปณิธาน “รักษ์วินัยจราจร” พร้อมกันทั่วกรุงเทพฯ อย่างน้อย 1,000,000 รายชื่อ เพื่อ ท�ำความดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เพื่อจุดประกายการสร้างจิตส�ำนึกและปลุกกระแสรักษ์วินัยจราจร ของประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนให้เกิดขึ้นและขยายผลออกไปในวงกว้าง

4 สจส. ทางสะดวก


จากเป้าหมาย คือ การรวบรวมรายชื่อผู้แสดงความจ�ำนงในการถวายปณิธานให้ได้อย่างน้อย 1,000,000 รายชื่อ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2554 จึงได้มีการวางแผนขับเคลื่อนและประชาสัมพันธ์โครงการ อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้โครงการบรรลุผล เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมและทั่วถึง สจส. ทางสะดวก 5


โดยในช่วง 2 เดือนแรก จะมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก คือเป็นการประชาสัมพันธ์ปูพรม เพื่อสร้างกระแส ให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวาง สร้างความเข้าใจ พร้อมเชิญชวนเข้าร่วมถวายค�ำปณิธาน รูปแบบสื่อและกิจกรรมในช่วงนี้ จึงเน้นที่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมชี้ให้เห็นถึงความหมายและ ความส�ำคัญของการมีวินัยจราจร ความจ�ำเป็นที่ต้องมี และความสูญเสียที่เกิดจากการขาดน�้ำใจ ขาดวินัยและประมาท เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น และตระหนักถึงความส�ำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยเลือกใช้ สื่อสาธารณะที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง เช่น อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์

om

หน้า website http://www.club-dd.c

6 สจส. ทางสะดวก

หน้า facebook


ต่อมาจะเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อขยายผล เมื่อกลุ่มเป้าหมายเริ่มรับรู้และจดจ�ำสาระหลักที่ต้องการสื่อได้แล้ว สิ่งที่ท�ำเป็นล�ำดับต่อไปคือ การต่อยอดขยายผล เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสาระที่ต้องการสื่อ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะท�ำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดจิตส�ำนึกและทัศนคติที่ดี อันจะน�ำไปสู่การยอมรับ คล้อยตาม และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการใช้รถใช้ถนนได้ในที่สุด โดยเลือกใช้สื่อที่มีเนื้อที่เพียงพอในการบรรจุเนื้อหาสาระ เพื่อโน้มน้าว ชักจูง และ กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องโดยง่าย สามารถเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายได้ดี เช่น ใบปลิว โปสเตอร์ บอร์ดประชาสัมพันธ์

สจส. ทางสะดวก 7


และช่วงถัดไป จะเป็นการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ซึ่งในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใดๆ นั้ น การสร้ า งความรู ้ ค วามเข้ า ใจเพี ย ง อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ

8 สจส. ทางสะดวก


สิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการ ยอมรับ เกิดทัศนคติที่ดี เกิดแรงจูงใจและคล้อยตาม จนเกิดพฤติกรรมปฎิบัตินั้น ต้องท�ำให้กลุ่มเป้าหมาย รู ้ สึ ก มี ส ่ ว นร่ ว มกั บ โครงการด้ ว ยการจั ด กิ จ กรรม สอดแทรกเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อและเปิดโอกาส ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างความ รู้สึกถึงการเป็นพวกเดียวกันด้วยการ จัดกิจกรรม รณรงค์ ต ามสถานที่ ส� ำ คั ญ ต่ า งๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง สจส. ทางสะดวก 9


ซึ่งสื่อและกิจกรรมที่ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ บุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพยกย่องและน่าเชื่อถือ โดย ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมรณรงค์จะมีการเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ศิลปิน ดารา นักแสดง ผู้น�ำชุมชน คนดังในพื้นที่ ผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ เข้าร่วมถวายปณิธานด้วย

10 สจส. ทางสะดวก


และจากพลั ง แห่ ง ความจงรั ก ภั ก ดี ข องพสกนิ ก รทุ ก หมู ่ เ หล่ า ท�ำ ให้ โ ครงการ ถวายปณิ ธ านล้ า นหั ว ใจรั ก ษ์ วิ นั ย จราจร ได้ ร วบรวมรายชื่ อ ผู ้ ร ่ ว มถวายปณิ ธ าน ครบตามเป้าหมาย 1,000,000 ที่ตั้งไว้แล้ว แต่ก็เป็นที่น่ายินดียิ่งที่ยังมีผู้แสดงความจ�ำนง เข้าร่วมถวายปณิธานเพิ่มอีกจ�ำนวนมาก จากการจั ด งานแถลงข่ า วโครงการเมื่ อ วั น ที่ 23 ธั น วาคม 2554 ได้ ป ระกาศ ความส�ำเร็จโครงการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถวายปณิธาน ล้านหัวใจรักษ์วินัยจราจรถึง 2,140,615 รายชื่อ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา สจส. ทางสะดวก 11


โครงการจุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร

รถแท็กซี่ โดย นายภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์ วิศวกรโยธาปฏิบัติการ กลุ่มงานระบบจราจรอัจฉริยะ กองพัฒนาระบบจราจร ส�ำนักการจราจรและขนส่ง

ปั ญ หาการจราจรในกรุ ง เทพมหานครเป็ น ปั ญ หาส� ำ คั ญ ในพื้ นที่ ที่ เป็ น แหล่ ง ชุ ม ชน และมีความคับคั่งของการจราจร มีปัญหาเกี่ยวกับการรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่ ซึ่งหยุดรับ-ส่ง บนผิวทางจราจรท�ำให้การจราจรติดขัด ประกอบกับปัจจุบันทั่วโลกประสบกับปัญหาน�้ำมันแพง ส� ำ นัก การจราจรและขนส่ ง จึ ง มี แนวคิ ด แก้ ไขปั ญ หาโดยจั ด สร้ า งจุ ด หยุ ด รถแท็ ก ซี่ ที่ ใช้ พื้ นที่ ทางเท้าและผิวจราจรร่วมกัน โดยลดระดับทางเท้าหรือท�ำเป็นทางลาด ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งชุมชน และบริเวณถนนที่การจราจรติดขัดไม่สามารถหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารบนผิวทาง เพื่อแก้ไขปัญหา การจราจรติดขัดอันเนื่องมาจากการหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่ บรรเทาปัญหาการจราจร ติดขัดในภาพรวม และเป็นมาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางด้วย ระบบขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคล

12 สจส. ทางสะดวก


วัตถุประสงค์

1. เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดจากการให้บริการและใช้บริการรถแท็กซี่

2. เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ และผู้ใช้ถนนโดยทั่วไป

3. เพื่อพัฒนาระบบให้การบริการและจัดระเบียบการให้บริการรถแท็กซี่

4. เพื่อประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้รถสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคล

รูปแบบจุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่

- ใช้พื้นที่ทางเท้าและผิวจราจรร่วมกัน

- ปรับเป็นทางลาด หรือลดระดับผิวทางเท้า โดยมีระดับสูงจากผิวถนน ๕ เซนติเมตร - ลึกเข้าไปในทางเท้าประมาณ 0.90-1.50 เมตร พร้อมผายปากจุดหยุดรถแท็กซี่ (รถแท็กซี่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร โดยคร่อมทางเท้าประมาณ 0.90-1.50 เมตร และคร่อม ผิวจราจรบางส่วน)

- ติดตั้งป้ายแสดงต�ำแหน่งจุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่

สจส. ทางสะดวก 13


งานจัดสร้างจุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่ (โครงการน�ำร่อง)

โครงการจั ด สร้ า งจุ ด หยุ ด รั บ -ส่ ง ผู้โดยสารรถแท็กซี่ เป็นการอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการรถแท็กซี่บ นถนน

สายส�ำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 980 จุด โดยส�ำนักการจราจรและขนส่งได้มีจัดท�ำโครงการน�ำร่องการจัดสร้าง จุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่ จ�ำนวนสองแห่ง เพื่อใช้เป็นต้นแบบ ดังนี้

1. จุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่บริเวณหน้าโรงเรียนศรีอยุธยา ถนนศรีอยุธยา

ก่อนด�ำเนินการ

หลังก่อนด�ำเนินการ

2. จุดหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถแท็กซี่บริเวณหน้าตลาดสด อตก. ถนนก�ำแพงเพชร

ก่อนด�ำเนินการ

หลังก่อนด�ำเนินการ

ซึ่งในอนาคตจะขยายโครงการอย่างต่อเนื่องไปยังบนถนนสายส�ำคัญทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขและบรรเทา ปั ญ หาการจราจรติ ด ขั ด อั น เนื่ อ งมาจากการหยุ ด รั บ -ส่ ง ผู ้ โ ดยสารรถแท็ ก ซี่ และสนั บ สนุ น มาตรการประหยั ด พลั ง งาน ซึง่ ส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์สว่ นบุคคลต่อไป

14 สจส. ทางสะดวก


หลักการเบื้องต้น

ของกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร (ตอนที่ 1)

จณิสตา เอมครุฑ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ช�ำนาญการ

บางคนคิดว่ากฎหมายเป็นเรื่องยากที่จะท�ำความเข้าใจ แต่อย่าลืมว่ากฎหมายนีท้ �ำให้ทุกคน อยู่ในระเบียบวินัยที่ดี การที่รู้เรื่องกฎหมายอยู่บ้างนับว่าเป็นก�ำไร เป็นประโยชน์ต่อตนเองที่จะน�ำไปใช้ มีโอกาสได้อ่านกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรใน Internet เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ ซึ่งทุกท่าน อาจมองข้าม เลยถือโอกาสน�ำมาเผยแพร่แก่ทุกคนค่ะ ลั ก ษณะส� ำ คั ญ ประการหนึ่ ง ของกฎหมายก็ คื อ กฎหมายต้ อ งเป็ น ค� ำ สั่ ง หรื อ ข้ อ บั ง คั บ ที่ ใ ช้ ไ ด้ เ สมอไป (Continuity) หมายความว่ากฎหมายเมื่อประกาศมีผลบังคับ ใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิ ก โดยกระบวนการที่ ถู ก ต้ อ งตามขั้ น ตอนในภายหลั ง เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกก็ต้องถือว่ากฎหมายนั้น ยังมีอยู่ จะหยิบยกขึ้นมาใช้เมื่อใดก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้ การกระท� ำ ความผิ ด กฎหมายเกี่ ย วกั บ การจราจร เป็นการกระท�ำผิดที่มีโทษทางอาญาประเภท Mala Prohibita ซึ่ ง หมายถึ ง การกระท� ำ ผิ ด ที่ ก ฎหมายได้ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ว ่ า เป็ น

ความผิด กล่าวคือการกระท� ำนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความชั่วหรือ อาชญากรรมด้วยตัวของมันเองแต่อย่างใด เช่น การที่ผู้ขับขี่ รถยนต์จะเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวาก็ย่อมสามารถกระท�ำได้โดย อิสระหากขับขี่ในบ้านของตนเอง แต่หากขับขี่ไปบนท้องถนน แล้วฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบังคับห้ามเลี้ยวซ้ายเข้า ก็จะเป็น ความผิ ด ทั น ที ทั้ ง ๆ ที่ ก ารเลี้ ย วซ้ า ยหรื อ เลี้ ย วขวาก็ ไ ม่ ไ ด้ เป็นการชั่วหรือเป็นอาชญากรรมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามเมื่อกฎหมายบัญญัติความผิดเกี่ยวกับ การจราจรขึ้นมาแล้ว ผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะต้องบังคับใช้ กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมต่อทุกคน ดังนั้นผู้บังคับ

สจส. ทางสะดวก 15


ใช้กฎหมายทุกฝ่ายจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการจราจรเป็นอย่างดี หลักการเบื้องต้นของกฎหมาย เกี่ยวกับการจราจรที่ควรทราบเป็นพื้นฐานเบื้อ งต้ น และน�ำ ไปใช้ มีดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ปัญหาการจราจร - ที่มาของปัญหาได้จากปัจจัยส�ำคัญ 4 ประการ คือ 1.1 ถนน และผังเมือง 1.2 ปริมาณรถ และทิศทางการเดินรถ 1.3 พฤติกรรมการขับขี่ 1.4 การบริหารงานจราจร - ถนนตามหลั ก วิ ศ วกรรมจราจร แบ่ ง เป็ น 4 ประเภท 1. ทางด่วน (Expressway) 2. ถนนสายหลัก (Arterial Street) 3. ถนนสายรอง (Collector Road) 4. ถนนสายย่อย (Local Road)

16 สจส. ทางสะดวก


- ลักษณะของถนน แบ่งเป็นตามล�ำดับชั้นของถนน ได้แก่ ถนนสายหลัก, ถนนสายรอง, ถนนสายย่อย - การบริหารงานจราจร ประกอบด้วยปัจจัย 3 E คือ 1. E – Education การให้การศึกษา 2. E – Enforcement การบังคับใช้กฎหมาย 3. E – Engineering การด�ำเนินการทางวิศวกรรม - วิ ศ วกรรมจราจร คื อ วิ ศ วกรรมแขนงหนึ่ ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผน การออกแบบ การควบคุมระบบ การจราจรของถนนทางหลวง ตลอดจนการใช้บริเวณที่ดิน ใกล้เคียงและศึกษาความสัมพันธ์กับระบบการขนส่งชนิดอื่น หรือหมายถึง การน�ำเอาหลักการ เครื่องมือ วิธีการ เทคนิค ตลอดจนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อให้ได้มา ซึ่งความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดในการเคลื่อน ย้ายขนถ่ายผู้โดยสาร และสิ่งของ องค์ประกอบของการจราจร มีอยู่ 3 ประการ 1. คนขับรถและคนเดินถนน 2. รถ และ ระบบการขนส่งทางบก 3. ถนนและสัญญาณไฟจราจร - สัญญาณไฟจราจร (Traffic – Signalization) ใช้ใน การควบคุมการจราจร แบ่งเป็น 4 ประเภท 1. ชนิดตั้งเวลาล่วงหน้า (Pre-Timed) 2. ชนิดกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Actuated) 3. ชนิดอัตโนมัติ (Fully- Actuated) 4. ชนิดวัดปริมาณความหนาแน่นของรถ (Volume Density)

สจส. ทางสะดวก 17


ข้อ 2. ระบบควบคุมสั่งการจราจร คือ ระบบที่ใช้ เทคโนโลยีในการควบคุมการจราจร หรือสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ บนท้องถนนในการประสานการท�ำงาน, จัดการจราจร เพื่อให้ เกิดการควบคุมสภาพการจราจร และมีการวางแผนการจราจร อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 2.1 ระบบควบคุมและสั่งการ (Command Control System) - ระบบ CCTV ควบคุมสภาพการจราจรบนท้องถนน (กล้องวงจรปิด) ควบคุมโดยศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร - ระบบ ATC ควบคุมสัญญาณไฟจราจรตามทาง แยก - ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ

- ระบบถ่ายภาพผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ 2.2 ระบบการสั่งการ (Command system) - สร้างข่ายวิทยุสื่อสารของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ให้ ส ามารถท� ำ งานประสานกั น ได้ และ สามารถควบคุมรถยนต์ทุกชนิด ไว้ในระบบเดียวกัน 2.3 ระบบสารสนเทศ (Information System) - ระบบแผนที่กราฟิก (Graphic Mapping) - ระบบสถิติสถานภาพข้อมูลจราจร - ระบบจ�ำลองสถานการณ์จราจร 2.4 ระบบประชาสัมพันธ์ (Public Relation System) - ระบบแผ่นป้ายสลับข้อความ (Variable Message Signboard) - ระบบรายงานข่าวทางวิทยุกระจายเสียง ข้อ 3. ค�ำจ�ำกัดความในกฎหมายเกี่ยวกับการ จราจร การจราจรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องของรถ คน ถนน และ มี ก ฎหมายหลายฉบับซึ่งให้ความหมายหรือค� ำ จ�ำ กัดความ ไว้ต่างกัน จึงจ�ำเป็นต้องศึกษาและท�ำความเข้าใจให้ชัดเจน ในเรื่องดังต่อไปนี้

18 สจส. ทางสะดวก

1.1 เรื่องของ “รถ” กับกฎหมายจราจร ให้ความหมาย ไว้ ดังนี้ ก. ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะ ทางบกทุกชนิดเว้นแต่รถไฟ และ รถราง (ชนิดของรถ ยังแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ อีก เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถฉุกเฉิน รถบรรทุก รถบรรทุกคน โดยสาร รถโรงเรียน รถโดยสารประจ�ำทาง รถแท็กซี่ รถลากจูง รถพ่วง ซึ่งมีหมายความหรือค�ำจ�ำกัดความต่างกันไป) ข. ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 “รถ” หมายความว่า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และ รถอื่นตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง (รถยนต์ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ ก็มีค�ำจ�ำกัดความต่างกันออกไปอีก) ค. ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 “รถ” หมายความว่า ยานพาหนะ ทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งเดินด้วยก�ำลังเครื่องยนต์ ก�ำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และ หมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่ รถไฟ ข้อสังเกต ค�ำว่า “รถ” ตามหมายความของกฎหมาย แต่ละฉบับนั้นมีความหมายไม่เหมือนกัน 1.2 เรื่ อ งของ “คน” กั บ กฎหมายจราจร ให้ ความหมายไว้ ดังนี้ ก. ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 “ผู้ขับขี่” หมายความว่า ผู้ขับรถผู้ประจ�ำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตาม กฎหมายว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ “คนเดินเท้า” หมายความว่า คนเดิน และให้ ร วมตลอดถึ ง ผู ้ ใ ช้ เ ก้ า อี้ ล ้ อ ส� ำ หรั บ คนพิ ก าร หรื อ รถ ส�ำหรับเด็กด้วย “เจ้าของรถ” หมายความรวมถึงผู้มีรถไว้ใน ครอบครองด้วย “ผู้เก็บค่าโดยสาร” หมายความว่า ผู้ซึ่งรับผิด ชอบในการเก็บค่าโดยสาร และดูแลคนโดยสารที่อยู่ประจ�ำรถ บรรทุกคนโดยสาร 1.3 เรื่องของ “ทาง” กับกฎหมายจราจร มีกำ� หนดให้ ความหมายไว้ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ก�ำหนดให้ ความหมายดังนี้ “ทาง”” หมายความว่าทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจ�ำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทาง แยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และ ลานที่ประชาชนใช้ในการ จราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุค คลที่ เ จ้ า ของ ยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจร หรือที่เจ้าพนักงานจราจร ได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมถึง ทางรถไฟ


“ทาง” ถือว่ามีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะสถานที่ เกิ ด เหตุ ใ นคดี จ ราจรจะต้ อ งเกิ ด ขึ้ น ในทางเสี ย ก่ อ นเมื่ อ คดี เกิดขึ้นในทางแล้ว จึงน�ำเอาตัวบทกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจร ทางบกฯ เข้าไปพิจารณามีความเห็นทางคดีได้ แต่ถ้าเมื่อใดสถานที่เกิดเหตุไม่ใช่ทาง ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ นี้ แ ล้ ว พนั ก งานสอบสวนก็ ไ ม่ ส ามารถ จะน�ำเอาตัวบทกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ นี้เข้าปรับ พิจารณามีความเห็นทางคดีได้ เมื่อพิจารณาตามค� ำจ�ำกัด ความของค�ำว่า “ทาง” ตามมาตรา 4 (2) แล้ว สามารถแยก อธิบายได้เป็น 2 ประการ คือ 1) “ทาง” ตามความหมายที่ 1 หมายถึง ถนนหนทาง ต่าง ๆ ตรอก ซอย โดยสภาพมองเห็นชัดเจน และอยู่ในความ ดูแลของทางราชการ หรือของแผ่นดิน ในการพิจารณาใช้เป็น สถานที่ เ กิ ด เหตุ ข องพนั ก งานสอบสวนในทางปฏิ บั ติ นั้ น ไม่ มี ป ั ญ หาสามารถพิ จ ารณาดู ไ ด้ เช่ น ถนนพหลโยธิ น ถนนนารายณ์มหาราช ซอยต่าง ๆ ที่แยกออกจากถนนต่าง ๆ ดังกล่าว และตามถนนดังกล่าวก็จะมีเครื่องหมายการจราจร ก�ำหนดไว้

“ลาน” ที่ประชาชนใช้ในการจราจร ซึ่งลานดังกล่าวนี้ อยู่ในความรับผิดชอบของ ทางราชการโดยสภาพที่มองเห็น ลานไม่ใช่ถนนแต่เป็นลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร เช่น ในกรุงเทพมหานคร คือ ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นต้น 2) “ทาง” ตามความหมายที่ 2 หมายถึง ทางส่วน บุคคล ไม่ว่าจะเป็นของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ก็ได้ แต่ไม่ใช่ของทางราชการไม่ใช่ของแผ่นดิน แต่ที่เป็น “ทาง” เพราะกฎหมายนี้ ก�ำหนดให้เป็นทาง ทางที่เป็นของส่วนบุคคล ที่จะจัดว่าเป็นทาง ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ก็หมายถึง ทางที่ส่วนบุคคลนั้น (เจ้าของทาง) ยินยอมให้ประชาชนใช้ ในการจราจร

ส�ำหรับ “ทาง” ในความหมายที่ 2 นี้พิจารณาแล้วเห็น ว่าจะมีปัญหาต่อพนักงานสอบสวนค่อนข้างมาก เพราะบาง สถานที่ไม่สามารถจะพิจารณาได้ชัดเจนว่าเจ้าของทางนั้น “ยิ น ยอม” ให้ ป ระชาชนใช้ ใ นการจราจรหรื อ ไม่ และค� ำ ว่ า ยินยอมนั้นแค่ไหน เพียงใดถึงจะว่ายินยอม ข้ อ 4. ศึ ก ษาสภาพของ รถ คน ถนน ว่ามี กฎหมายใดก�ำหนดไว้เป็นอย่างใด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสภาพ ของรถจะก� ำ หนดไว้ ต าม พ.ร.บ.รถยนต์ ฯ (ส� ำ หรั บ รถเล็ ก ) พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ (ส�ำหรับรถใหญ่) เมื่อพนักงานเจ้า หน้าที่พบเห็นรถควรพิจารณาเป็นอันดับแรกให้ได้ว่ารถคัน ดังกล่าวนั้น ด�ำเนินการถูกต้องเรื่องสภาพของรถตามกฎหมาย ที่ก�ำหนดไว้หรือไม่ เช่น การจดทะเบียน การเสียภาษีประจ�ำปี และการมีเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบครบถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ หรือเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามข้อกฎหมายหรือไม่ (พ.ร.บ.รถยนต์ฯ ม.8,9) เป็นต้น การสังเกตประเภทของรถที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ สามารถสังเกตได้จากรหัส ตัวเลข 2 ตัว แสดงประเภทการขนส่ง แล้วตามด้วยตัวเลขอีก 4 ตัว ซึ่งเลข รหัส 2 ตัว ข้างหน้านั้นมีการใช้แสดงประเภทของรถขนส่ง ดังนี้ 1. รถโดยสารประจ�ำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 10 ถึง 19 2. รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่ 20 ถึง 29 3. รถโดยสารไม่ประจ�ำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 30 ถึง 39 4. รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ 40 ถึง 49 และ 50 ถึง 59 5. รถบรรทุกประจ�ำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 60 ถึง 69 6. รถบรรทุกไม่ประจ�ำทาง ใช้ ห มายเลขตั้ ง แต่ 70 ถึง 79 7. รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ 80 ถึง 89 และ 90 ถึง 99 สภาพหรือคุณสมบัติของคนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย จราจรควรจะต้องศึกษา ถึง “ผู้ขับขี่” ว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ เป็ น ผู ้ ขั บ ขี่ ร ถนั้ น ตรงตามกฎหมาย ตรงตามประเภทของ ใบอนุญาตหรือไม่ (พ.ร.บ.รถยนต์ ฯ ม.43, ม.43 ทวิ หรือ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ ม.92, ม.94 และ ม.95 ) เป็นต้น สภาพของถนนหรือทางควรจะต้องพิจารณาก่อนว่า ถนนหรื อ ซอยหรื อ ทางนั้ น เป็ น “ทาง” ตามความหมายของ กฎหมายจราจรตามข้อ 1.3 ที่กล่าวมาแล้วนั้นหรือไม่ ที่มา : www.p1.police.go.th/download

สจส. ทางสะดวก 19


ความปลอดภัยทาง ถนน : คนเดินเท้า โดยนางกัลยา นาควัชระ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมความปลอดภัย

สังคมปัจจุบัน เศรษฐกิจจะชี้ชะตาความเป็นอยู่ของ ผู้คน การพัฒนาระบบการขนส่งโครงการใหญ่ช่วยผลักดันการ ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ รวมถึงการด�ำรงชีวิตของประชาชน ไม่ ว่าจะเป็นโครงการทางด่วนยกระดับ โครงการถนนมอเตอร์เวย์ โครงการรถไฟฟ้าฯลฯ ซึ่งรัฐบาลได้ยึดถือเป็นหลักในการแก้ไข ปัญหาจราจรและขนส่งตลอดมา โดยมีเป้าหมายให้เกิดการ เดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว จึงอาจลืมไปว่ารากฐานการเดิน ทางที่ส�ำคัญที่สุด ในการพัฒนาระบบขนส่งก็คือ “คนเดินเท้า” เท่าที่ลองนึกนึกดู ความปลอดภัยและความสะดวกของคนเดิน เท้ามักเป็นส่วนเล็กน้อยที่ฝากอยู่ในโครงการใหญ่ๆ เหล่านั้น และบางที ก็ ล ะเลยในส่ ว นนี้ ด ้ ว ย โดยอ้ า งเป็ น อุ ป สรรคต่ อ โครงการ เช่ น การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด มีการขยายผิว จราจรเพิ่ ม แต่ ไ ปลดความกว้ า งทางเท้ า ท�ำ ให้ ต ้ อ งรื้ อ ถอน สะพานคนเดินข้ามถนน (สะพานลอย) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส�ำหรับคนเดินเท้า และไม่สร้างกลับคืน (เนื่องจาก ทางเท้าแคบลง ไม่เพียงพอต่อการก่อสร้างตอม่อบันไดสะ พานฯ) การสร้ า งทางเดิ น ส� ำ หรั บ คนเดิ น เท้ า ประเภททาง ข้ า ม(ทางม้ า ลาย) ที่ อ าจเสี่ ย งต่ อ อั น ตรายเนื่ อ งจากผิ ว จราจร(ถนน) กว้ า งมากและไม่ อ ยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง ที่ เ หมาะสม เนื่องจากอันตรายและไม่สะดวกต่อการใช้สอย

20 สจส. ทางสะดวก

คนเดินเท้าเป็นผู้ใช้ถนนกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อ อันตรายที่จะได้รับเนื่องจากบาดเจ็บ/เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ มากกว่าผู้ใช้ถนนประเภทอื่นและเป็นกลุ่มเดียวที่ไม่มีอุปกรณ์ ป้องกันอันตรายใดๆ เหมือนผู้ใช้ถนนที่ใช้รถจักรยานยนต์มี หมวกนิรภัย หรือผู้ใช้รถยนต์มีเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย การเดินเท้าไม่จ�ำเป็นต้องมีการทดสอบหรือฝึกหัดใดๆ การเดิน เท้าเป็นธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเกิดมา การเดินเท้าแสดงถึง ความสามารถของมนุ ษ ย์ ใ นการตอบสนอง รั บ รู ้ ตลอดจน ตระหนักถึงความปลอดภัยของตนในระหว่างเดินทาง การเดิน เท้าจึงเป็นรูปแบบของการเดินทางที่ยั่งยืน ไม่ต้องการพลังงาน หรือเชื่อเพลิงใดๆ และไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม


การให้ความส�ำคัญในการเดินเท้าเพื่อความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยแสดงถึงวัฒนธรรม ได้เริ่มมีขึ้นหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ พ.ศ.๒๔๗๕ ตามพระราช บัญญัติจราจรทางบกปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้ตราไว้ในมาตราหลาย มาตรา อาทิ มาตรา ๕๔ มีกล่าวเกี่ยวกับการเดินเท้าไว้ว่า

“ในทางที่มีทางเท้า ให้เดินบนทางเท้า และเมื่อเดิน บนทางเท้าใดให้เดินชิดซ้ายทางเท่านั้น ในกรณีที่ถนนไม่มี ทางเท้า ให้เดินชิดขอบทางด้านขวา เว้นแต่เมื่อมีรถรางเดิน ด้านนั้น จึงให้เดินใกล้ขอบทางด้านซ้าย” จะเห็นว่าการเดิน บนทางเท้าให้เดินชิดซ้าย ส่วนการดินบนถนน (ไม่มีทางเท้า) ให้เดินชิดขอบทางด้านขวา”

ถนนที่ไม่มีทางเท้าหรือไหล่ทาง ถนนที่มีทางเท้า

ในเวลาต่ อ มากฎหมาย(จราจร) ได้ เ พิ่ ม เติ ม ทาง ส�ำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทางโดยก�ำหนดเป็นทางข้าม โดยทาง ข้ามเป็นส่วนของทางที่เจ้าพนักงานจราจรท�ำเครื่องหมายเป็น เส้นหรือแนวแบ่งไว้บนพื้นทางส�ำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทาง ต่อมาได้มีการปรับปรุงกฎหมายจราจร โดย พรบ.จราจรทาง บกปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้ตราบทเกี่ยวกับคนเดินเท้าในมาตรา ๑๐๓ “ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คน เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทาง เดินรถ ให้เดินริมทางด้านขวาของตน” จะเห็นว่าการเดินบน ถนนที่ไม่มีทางเท้าให้เดินชิดขวา แต่การเดินบนทางเท้าไม่ได้ บอกไว้ชัดเจนว่าให้เดินชิดด้านใด ปัจจุบันประเทศต่างๆ ให้ความส�ำคัญอย่างมากแก่ คนเดินเท้า มีการจัดท�ำทางเท้าให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยเฉพาะ แยกออกจากทางเดินรถ รวมถึงประเทศไทยด้วย เช่น การจัด ท�ำเครื่องหมายจราจรทางข้าม (ม้าลาย) การจัดท�ำสะพานคน เดินข้ามถนน (สะพานลอย) การจั ด ท� ำ สะพานคนเดิ น ข้ า มถนน (สะพานลอย) มีการจัดระเบียบการเดินเท้าขึ้นลงบันไดสะพานโดยให้เดิน ชิดขวาหรือชิดซ้าย แตกต่างกันเนื่องจากพฤติกรรมหรือทิศทาง การจราจรบนถนนของแต่ละประเทศและเมือง การเดินเท้าที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการเดินบนทางเท้า ทางข้าม(ทางม้าลาย) และบนถนนที่ไม่มีทางเท้า ที่จัดระเบียบ เพื่ อ ความปลอดภั ย มี ก ฎหมายรองรั บ ส� ำ หรั บ การเดิ น เท้ า อีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ การเดินขึ้น-ลงบันไดชนิดต่างๆ ได้แก่ บนบั น ไดสะพานคนเดิ น ข้ า ม(สะพานลอย) บนบั น ไดเลื่ อ น ในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(รถไฟฟ้า BTS) ระบบรถไฟฟ้า ใต้ดิน ในสนามบิน (รวมถึงทางเดินเลื่อน) ตลอดจนในห้าง สรรพสิ น ค้ า ต่ า งๆ มี ก ารจั ด ระเบี ย บการเดิ น ในระดั บ หนึ่ ง บ้างให้เดินชิดขวา บ้างให้เดินชิดซ้าย โดยที่อาจสัมพันธ์กับ ทิ ศ ทางการจราจรบนถนนของท้ อ งที่ นั้ น หรื อ ไม่ ก็ ไ ด้ (ตารางที่ 1)

สจส. ทางสะดวก 21


ตารางที่ 1 : แสดงพฤติกรรมการเดินเท้าโดยใช้บันไดเลื่อน

การใช้บันได ขึ้น – ลง การเดินรถ

ล�ำดับ ประเทศ เดิน ยืน (Walk) (Stand)

พฤติกรรมการขึ้นบันไดเลื่อนในประเทศญี่ปุ่น

พฤติกรรมการขึ้นบันไดเลื่อนในประเทศจีน

1) 2) 3) 4) 5) 6) 7) 8) 9) 10) 11)

สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย แคนนาดา ยุโรป ส่วนใหญ่ ญี่ปุ่น (โอซากา) ญี่ปุ่น (โตเกียว) ฮ่องกง อังกฤษ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย

ซ้าย ซ้าย ซ้าย ซ้าย ซ้าย ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา ขวา ขวา

ขวา ขวา ขวา ขวา ขวา ขวา ซ้าย ขวา ซ้าย ซ้าย ซ้าย

(ทิศทาง จราจร บนถนน) ขวา ขวา ขวา ขวา ขวา ซ้าย ซ้าย ซ้าย ซ้าย ซ้าย ซ้าย

ที่มา : สื่อออนไลน์ (Social Media)

พฤติกรรมการขึ้นบันไดเลื่อนในประเทศฝั่งยุโรป

ส�ำหรับคนกรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมการเดินเท้า และขึ้นลงบันไดเลื่อนหรือบันไดสะพานลอยส่วนใหญ่ยังไม่ได้ จั ด ระเบี ย บมากนั ก แม้ ว ่ า กรุ ง เทพมหานครได้ จั ด ท� ำ เครื่องหมายจราจรพื้นทาง (ลูกศร) เดินชิดขวาขึ้นลงบนพื้น บันไดสะพานลอย บนทางข้าม (ม้าลาย) บางแห่ง ในระบบ ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รถไฟฟ้า BTS) มีการจัดระเบียบการ ขึ้นลงบันไดเลื่อนให้เดินชิดขวา มีป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ การใช้งานบริเวณจุดขึ้นลง รวมถึงในบัตรโดยสารด้วย และ ในสนามบินสุวรรณภูมิก็มีเช่นเดียวกัน

บันไดเลื่อนในห้างสรรพสินค้า Siam Paragon

22 สจส. ทางสะดวก

การรณรงค์ให้เดินชิดขวาบนสะพานลอย


การรณรงค์ให้ยืนชิดขวา ในสถานีรถไฟฟ้า BTS

เมื่อไม่นานมานี้กลุ่มผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะใน กรุงเทพมหานครและผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้รวมตัวกันในโครงการ “คนไทยขึ้นบันไดยืนชิดขวา” (Stand on the Right) ได้รณรงค์เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ การใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บันได เลื่อนในชั่วโมงเร่งด่วน โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ www.facebook.com และต้องการให้กรุงเทพมหานครผลัก ดันนโยบาย “ยืนชิดขวา” ในระยะยาวเพื่อให้ปรากฏผลในทาง ปฏิ บั ติ เ กิ ด การยอมรั บ ระเบี ย บสั ง คม จึ ง ขอความร่ ว มมื อ กรุงเทพมหานครผลักดันและจัดท�ำมาตรฐานในการปฏิบัติ (Standard Practice) ซึ่งขณะนี้ สจส. อยู่ระหว่างการรวบรวม ข้อมูล ระเบียบ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณา จากข้อมูลเกี่ยวกับการเดินเท้า ข้อกฎหมาย ความคิด ความเห็นต่างๆ เป็นประเด็นชิดซ้ายหรือชิดขวา เท่าที่ตรวจพบ พอสรุปได้ดังนี้

สจส. ทางสะดวก 23


การเดินขึ้นลงบันไดสะพาน - ในทางเท้า - ในทางถนน - บันไดเลื่อน

ชิดซ้าย 1) พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ จ ร า จ ร ท า ง บ ก ปี ๒๔๗๗ เป้นครั้งแรกที่ออกกฎหมายคน เดินเท้ามาตรา ๕๔ คน เดินบนทางเท้าให้ เดินชิดซ้ายทางเท้า ถนนไม่มีทางเท้า ให้เดิน ชิดขวาของทางเดินด้านขวา 2) เป็ น การจั ด ระเบี ย บสั ง คมในเรื่ อ ง การเดิ น เท้ า เกิ ด วิ นั ย ในการใช้ ท าง เกิ ด อุ บั ติ เ หตุ ส ามารถตั ด สิ น ได้ ต ามกติ ก า หรือเกิดอุบัติภัย/สาธารณภัยสามารถช่วย เหลือ/บรรเทาทุกข์ ได้ทันเวลาทันเหตุการณ์ ลดการสูญเสีย

บทสรุป

ชิดขวา 1) พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ จ ร า จ ร ท า ง บ ก ปี ๒๕๒๒ ปรับปรุงแก้ไขใหม่ มาตรา ๑๐๓ ให้คนเดินบนทางเท้า ไหล่ทาง ถนนไม่มี ทางเท้า ให้เดินริมทางเท้าด้านขวาของตน 2) ป ร ะ เ ท ศ อ า ร ย ะ ส ่ ว น ใ ห ญ ่ เ ช ่ น ยุโรป และอเมริกา เดินชิดขวา ซึ่งสัมพันธ์ กั บ กฎการจราจรในการขั บ รถ (ทิ ศ ทาง จราจรบนถนน) 3) คนส่วนใหญ่ถนัดมือขวา จึงสัมพันธ์ กับการเดินชิดขวา

การเดิ น เท้ าเป็ น รากฐานการเดิ น ทางที่ส�ำ คั ญที่ สุ ด จึงไม่ควรละเลยในการพัฒนาทางเดินเท้าเพื่อความปลอดภัย และสะดวกในการสัญจร ควรพัฒนาไปพร้อมๆ กับพัฒนา ระบบขนส่งจราจรดังเช่นประเทศอารยะทั้งหลาย ที่ใช้กฎหมาย ตอบสนองการสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมให้ยอมรับระเบียบ กฎกติ ก า มารยาททางสั ง คม น� ำ สู ่ ม าตรฐานการปฏิ บั ติ (Standard Practice) ต่อไป

24 สจส. ทางสะดวก

ความเห็น 1) สอดคล้องกับกฎหมายเป็นสิ่งที่ต้องถือ ปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายหากละเมิ ด กฎหมาย มีบทลงโทษ (ลงโทษ – ค่าปรับ) 2) การรณรงค์ ป ระชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ เ ข้ า ใจ ยอมรั บ ระเบี ย บ (กฎหมาย) ทางสั ง คม จะเกิ ด ความปลอดภั ย สะดวก และมี มาตรฐานการปฏิบัติ (Standard Practice) 3) การชิดซ้ายหรือชิดขวามีสิ่งส�ำคัญที่ควร ค�ำนึงถึง คือ 3.1) เรื่องความปลอดภัย - การสั ญ จร (เดิ น เท้ า ) ไปในทาง ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว (กรณีบันไดเลื่อน) ต้ อ งใช้ ค วามระมั ด ระวั ง อาจเกิ ด การ พลัดหกล้มบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ผู้สูงวัยที่มีการตอบสนองช้ากว่า การทรงตัว ที่แย่กว่า และก�ำลังที่น้อยกว่า ดังนั้นควรยืน ในทิ ศ ทางที่ ค นส่ ว นใหญ่ ถ นั ด ส� ำ หรั บ ใน ต่างประเทศมีข้อก�ำหนดให้คนชรา คนที่ใช้ ไม้ เ ท้ า คนเดิ น ไม่ ส ะดวก ให้ ใ ช้ ลิ ฟ ต์ ประเทศไทยพยายามให้มีเช่นนี้ แต่ในทาง ปฏิบัติถือว่าสอบตก 3.2) ความเคยชินในระบบการเดินเท้า - ความเคยชิ น เป็ น สิ่ ง ที่ สั่ ง สมมา ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นลงบันไดสะพาน ลอย/บั น ไดสถานที่ ต ่ า งๆ มั ก มี ลู ก ศรก� ำ กั บ ให้เดินชิดขวา เพราะคนส่วนใหญ่ถนัดขวา มือขวาเป็นมือที่มีกำ� ลังมากกว่าในการเหนี่ยว รั้ ง ตั ว หรื อ ในการพยุ ง ตั ว ขณะขึ้ น ลงบั น ได หรือในถนนที่ไม่มีทางเท้า (ถนนตามตรอก ซอยต่างๆ การเดินชิดขวาขอบทางจะท� ำให้ มองเห็นรถที่วิ่งสวนออกมา มีความปลอดภัย สู ง กว่ า เดิ น ชิ ด ซ้ า ย ส� ำ หรั บ บนบั น ไดเลื่ อ น บ้านเรา (ประเทศไทย) ก�ำหนดให้เดินชิดขวา มานานแล้ว โดยมีป้ายประชาสัมพันธ์ติดตั้ง ชัดเจนทุกจุด

ปั จ จุ บั น เราจะพบเสมอ ทางเดิ น เท้ า เป็ น ที่ จ อดรถ เป็ น ทางเดิ น รถ เป็ น ที่ ข ายของหาบเร่ แผงลอย ควรที่ จ ะ แก้ ป ั ญ หาบนทางเท้ า และบริ ห ารจั ด การได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ปัญหาสาธารณูปโภค (ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ไปรษณีย์) กีดขวางบนทางเท้าตลอดจนการสร้างซ่อมที่ขาด การประสานงานอย่างจริงจัง ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว


4. การเพิ่มความสะอาดและร่มรื่น โดยการปลูกต้นไม้ หรือไม้ประดับ ตึกอาคารใกล้เคียง การจัดการเชื้อโรค ทั้งจากสัตว์ (สุนัข, แมว ฯลฯ) คน (คนจรจัด, เร่ร่อน) การจัดการทางด้านการเดินเท้าส�ำหรับคนเดินเท้า ช่วยเสริมสร้างสังคมทั้งทางเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่แล้ว ยังสร้างความสามัคคี ปรองดองทางสังคม ต่อไปได้ แล้วคง ไม่ มี ป ระเด็ น ที่ ต ้ อ งมาถกเถี ย งกั น ว่ า เดิ น ตรงไหนดี หรื อ ขึ้นบันไดสะพานจะเดินชิดซ้ายหรือขวาดีกว่ากัน เนื่องจาก ทางเท้าถูกยึด ทางข้าม (ม้าลาย) ข้ามยากล�ำบาก รถยนต์ ไม่จอดให้ สะพานลอยสูงมาก เดินไกล ขึ้นไม่ไหว โดยเฉพาะ คนชรา ผู้สูงวัย และผู้ถือของหนัก

ทางเท้าปัจจุบันถูกหาบเร่ แผงลอยตั้งกีดขวางคนเดินเท้า การจัดหาและจัดท�ำสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับ คนเดิ น เท้ า (พื้ น ทางเดิ น สะดวกสบายปลอดภั ย ) สวยงาม รักษ์สิ่งแวดล้อม (ต้นไม้) มีจุดพัก (เก้าอี้นั่ง) เป็นเรื่องเร่งด่วน ที่กรุงเทพมหานครควรดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังต่อไป ความปลอดภัยของคนเดินเท้า ถนนคนต้องเดินได้ และคนเดินเท้าต้องปลอดภัย การส่งเสริมการเดินทางด้วยการ เดินเท้ามากขึ้น จะท�ำให้การใช้รถยนต์ลดลง เป็นประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจของสังคมมาสู่คนเดินเท้าในที่สุด ถือว่าแก้ไข ปั ญ หาจราจรได้ ท างหนึ่ ง เกิ ด ความปลอดภั ย ลดมลพิ ษ สุขภาพดีขึ้น สิทธิ์ผู้ใช้ถนนดีขึ้น ในอนาคต ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนการเดิน เท้าอย่างจริงจังแบบบูรณาการ โดยการสร้างสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกเพิ่มให้เพียงพอ สามารถใช้สอยได้อย่างมีประสิทธิผล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางให้สอดคล้องสอดรับการ ความสามารถในการใช้ทางของบุคคล (เด็ก สตรี คนชรา) โดยมีหลักการสังเขปกล่าวคือ 1. การลดโอกาสการเสียชีวิต โดยการชะลอความเร็ว (Speed Calming) 2. การลดระยะทางในการเดิน โดยการพัฒนารูปแบบ ผังเมือง เกิดความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทาง 3. การเพิ่ ม ความปลอดภั ย ยามค�่ ำ คื น โดยการ เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางเดินเท้าเกิดความปลอดภัย ทั้งผู้เดินทาง ผู้ขับขี่ ลดอุบัติเหตุและอาชญากรรม

การฝ่าฝืนจอดรถยนต์บนทางเท้า

ทางเท้าถูกใช้เป็นจุดพักหรือที่รวมของคิวรถจักรยานยนต์ ข้อมูลอ้างอิง 1. การประชุมสัมมนาระดับชาติ เรื่องอุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ ๙ พลังเครือข่ายเพื่อความปลอดภัย ปี ๒๕๕๒ 2. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๔๗๗ (อ้างอิงข้อความ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ โสมประยูร ลงในสื่อออนไลน์) 3. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๐ 4. สื่อออนไลน์ (Social Media)

สจส. ทางสะดวก 25


5 เคล็ดลับ

รับมือยามรถติด

‘โอ๊ยยยย...รถติดอีกแล้ว ไปทางไหนก็ติด เมื่อยก็เมื่อย หงุดหงิด ก็หงุดหงิด’ เชื่อว่าหลายคนคงเคยบ่นดังๆ ทั้งในใจและนอกใจ คล้ายกับวลีด้านบนเป็นแน่ เมื่อต้องท�ำสงครามกับ ‘รถติด’ ที่หลีกเลี่ยงได้ยากบนท้องถนน เพราะอย่างไรก็ต้องออกไป ท�ำงานทุกวัน จะไม่ไปก็ไม่ได้ ‘รถติด’ จึงเรียกได้ว่าเป็นปัญหา ระดั บ ชาติ เ ลยก็ ว ่ า ได้ เพราะไม่ ว ่ า รั ฐ บาลไหนจะแก้ ไ ข โดยการสร้างทางด่วน อุโมงค์ใต้ดิน ตลอดจนรถไฟฟ้าทั้งบน ดินและใต้ดิน แต่ก็ไม่เคยจะแก้ปัญหานี้ได้สักที ความเครียด และความเบื่อหน่ายยามรถติดที่น่าหงุดหงิดและร�ำคาญใจจึง เป็นตัวบั่นทอนสุขภาพทั้งกายและใจของผู้ที่ใช้ท้องถนนเป็น ประจ�ำ Healthy Tips ฉบับนี้เรามีเคล็ดลับการผ่อนคลายง่ายๆ ยามรถติดมาฝาก ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ฟั ง เพลง เป็นตัวเลือกที่หลายคนโปรดปรานเป็น อันดับต้นๆ ยามรถติด เพราะเสียงเพลงที่ตรงกับสไตล์ของตัว เองก็ช่วยลดความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี ยิ่งหากเป็นเพลง เบาๆ สบายหู ก็ ยิ่ ง ช่ ว ยให้ รื่ น หู แ ละผ่ อ นคลายได้ ม ากขึ้ น เพราะหากรถติดแล้วยิ่งฟังเพลงที่ดนตรีค่อนข้างหนักก็อาจยิ่ง 26 สจส. ทางสะดวก

ท�ำให้เครียดและปวดหัวได้มากขึ้น หรือหากเบื่อฟังแค่เพลง ก็ อ าจเปลี่ ย นจากซี ดี ห รื อ เอ็ ม พี 3 มาฟั ง คลื่ น วิ ท ยุ แ ทน เพราะนอกจากจะได้ฟังเพลงเพราะๆ แล้ว ยังมีเพื่อนเป็นดีเจ

มืออาชีพคอยส่งเสียงเจื้อยแจ้วราวกับก�ำลังสนทนาอยู่กับเรา อีกต่างหาก เรียกได้ว่านอกจากคลายเครียดแล้วยังช่วยคลาย เหงาอีกด้วย


อ่ า นหนัง สื อ เล่ ม โปรด หลายคนก็นิยมใช้วิธีนี้ กันมาก เพราะเวลาที่รถติดนานๆ หนังสือก็สามารถฆ่าเวลา และเป็ น เพื่ อ นคลายเหงาได้ แนะน� ำ ให้ คุ ณ หาหนั ง สื อ หรื อ นิตยสารดีๆ สักเล่มติดรถไว้แก้เบื่อยามติดอยู่บนท้องถนน ไม่ ว ่ า จะเป็ น นิ ต ยสารบั น เทิ ง ดารา หนั ง สื อ พิ ม พ์ หรื อ

พ็อกเกตบุ๊ค แต่หากเป็นหนังสือที่ชอบก็จะดีมาก เพราะจะอ่าน ได้นานและไม่เบื่อด้วย อย่างน้อยก็เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปพร้อมกับเพิ่มความเครียด และความหงุดหงิดให้ตนเองเพราะรถติดอีกด้วย

บริหารกล้ามเนื้อ หลายคนที่ขับรถคงเข้าใจดีว่า ความเมื่อยล้าจากการขับรถนานๆ เป็นอย่างไร ถ้ารถติดด้วย แล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง เมื่อยไปทุกส่วนตั้งแต่คอจรดปลายเท้า แต่ช่วงที่ปวดตึงได้ง่ายที่สุดก็คือกล้ามเนื้อช่วงต้นคอ เพราะ เป็นส่วนที่ได้รับผลจากความเครียดมากที่สุด แนะน�ำให้ยืดเส้น ยืดสายง่ายๆ ด้วยการก้มศีรษะจนคางชิดอก แล้วเงยหน้าขึ้น จนสุด จากนั้นหันหน้าไปทางขวาจนสุดขณะที่หลังและไหล่ยัง ตรงอยู่ จากนั้นหันไปทางซ้ายจนสุดเช่นกัน ท�ำทั้ง 4 ท่าค้างไว้ สลับกันช้าๆ จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหายตึงและสบายขึ้น เรียกได้ ว่ า เป็ น อี ก หนทางหนึ่ ง ที่ ไ ด้ ผ ลดี เ กิ น คาดในการช่ ว ยทุ เ ลา ความเมื่อยล้าและความเครียดจากรถติด

สจส. ทางสะดวก 27


ทานขนม ลู ก อม น�้ ำ ผลไม้ อี ก หนึ่ ง วิ ธี ช ่ ว ย ผ่อนคลายยามรถติดคือการทาน ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ แซนด์วิช ลูกอมรสมิ้นต์เย็นสดชื่น หรือเมล็ดฟักทองแก้เพลิน ก็ ไ ด้ ทั้ ง นั้ น เพราะนอกจากจะบรรเทาความหิ ว ไม่ ใ ห้ โ รค กระเพาะถามหาแล้ว ยังช่วยแก้ง่วงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ ก็ไม่ควรท�ำบ่อยนัก เพราะหากเจอรถติดแล้วทานขนมกรุบ กรอบทุกครั้ง อาจเป็นการเพิ่มรอบเอวให้ตัวคุณเอง โดยไม่รู้ตัว ก็ ไ ด้ แต่ ห ากชอบทานของว่ า งยามรถติ ด จริ ง ๆ ก็ อ าจต้ อ ง พิถีพิถันในการเลือกชนิดขนมสักหน่อย เช่น มีส่วนประกอบ ของไขมั น หรื อ แป้ ง ต�่ ำ หรื อ ถ้ า จะให้ ดี ก็ ค วรเปลี่ ย นเป็ น นม หรือน�้ำผลไม้ติดรถไว้แทนก็ได้ ที่ส�ำคัญหากไม่อยากให้ขนม ติดคอก็อย่าลืมเอาน�้ำเปล่าติดรถไว้ด้วย

น�้ ำ มั น หอมระเหยปรั บ อากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ ห ลายบริ ษั ท ผลิ ต และวางจ� ำ หน่ า ยตามท้ อ งตลาดทั่ ว ไป ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ขับรถยนต์ เพราะช่วยสร้างความ สดชื่ น และบรรยากาศที่ ดี ใ ห้ กั บ พาหนะของคุ ณ ทั้ ง ยั ง ช่ ว ย ดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย หรือหากประสบกับรถติด เมื่อได้กลิ่นหอมอ่อนๆ ก็ช่วยผ่อนคลายจิตใจให้หายหงุดหงิด ได้มาก หากใครสนใจจะลองใช้วิธีนี้ก็มีให้เลือกหลากรูปแบบ หลายราคา ไม่ ว ่ า จะเป็ น กลิ่ น ดอกไม้ กลิ่ น ส้ ม หรื อ กลิ่ น เปปเปอร์ มิ้ น ต์ และอื่ น ๆ อี ก มากมาย ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ รูปลักษณ์ของรถและรสนิยมของคุณ ถึงตอนนี้ก็ทราบกันคร่าวๆ แล้วว่าเคล็ดลับในการ ผ่อนคลายระหว่างรถติดมีอะไรบ้าง บางคนอาจเลือกท�ำอย่าง ใดอย่างหนึ่ง แต่บางคนอาจทั้งฟังเพลงและอ่านหนังสือควบคู่ กันไป แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม วิธีเลี่ยง รถติดที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือออกจากบ้านให้เร็วขึ้น หาก เกรงว่าจะปฏิบัติภารกิจยามเช้ าไม่ทันก็อาจน�ำข้าวเช้ามาทาน ที่ท�ำงาน หรือมาแต่งหน้าที่ท�ำงานก็ได้ นอกจากนี้การช่วยกัน ใช้บริการรถประจ�ำทางเพื่อลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัวที่อยู่บน ท้องถนนก็สามารถท�ำให้รถติดน้อยลงได้ด้วย หากใครสนใจจะ ลองท�ำตามวิธีดังกล่าว อย่างน้อยก็ไม่ต้องทนหงุดหงิดกับรถ ติด ทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไม่ว่าจะ ขับรถเองหรือขึ้นรถเมล์ ขอบคุณข้อมูล www.kbt.ac.th

28 สจส. ทางสะดวก


สจส. ทางสะดวก 29


โครงการถวายปณิธาน ล้านหัวใจ รักษ์วินัยจราจร กิจกรรมรณรงค์ใหญ่ครั้งที่ 1

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554 ณ ลานหน้าอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ สีลม

กิจกรรมรณรงค์ใหญ่ครั้งที่ 2

เมื่อวันอังคารที่ 6 กันยายน 2554 เวลา 10.30 น. ณ บริเวณซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (วงเวียน โอเดียน) ถนนเยาวราช

กิจกรรมรณรงค์ใหญ่ครั้งที่ 3

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554 เวลา 10.30 น. ณ บริเวณลาน อเนกประสงค์ ตลาดนัดจตุจักร

กิจกรรมรณรงค์ใหญ่ครั้งที่ 4

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2554 เวลา 19.30 - 21.30 น. ณ บริเวณถนนข้าวสาร

30 สจส. ทางสะดวก

กิจกรรมรณรงค์ใหญ่ครั้งที่ 5

เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2554 เวลา 15.30 - 20.00 น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ


สรุปผลโครงการถวายปณิธาน ล้านหัวใจ รักษ์วินัยจราจร

งานแถลงข่าวสรุปผลโครงการถวายปณิธานล้านหัวใจ รักษ์วินัยจราจร

เมี่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2554 เวลา 14.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู ้ ว ่ า ราชการกรุ ง เทพมหานคร เป็ น ประธานในงานแถลงข่ า วสรุ ป ผล “โครงการถวายปณิ ธ านล้ า นหั ว ใจ รั ก ษ์ วิ นั ย จราจร” ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีวินัยในการใช้รถใช้ถนน และเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกคนได้ตระหนักถึง การปฏิบัติตามกฎจราจร ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2554 โดยมีผู้บริหาร กทม. และผู้แทนเครือข่ายรักษ์วินัยจราจรเข้าร่วมงาน การด�ำเนินงานโครงการ “ถวายปณิธานล้านหัวใจ รักษ์วินัยจราจร” ตลอดระยะเวลากว่า 270 วัน มีจำ� นวน ผู้เข้าร่วมถวาย ปณิธานกว่า 2 ล้านคน ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งเพราะแสดงว่าภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมได้เล็งเห็นถึงความส� ำคัญพร้อมที่จะ ร่วมมือกันแก้ไข และมีจิตส�ำนึกในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ไม่เฉพาะแต่ประชาชนชาวกรุงเทพ ฯ เท่านั้น ยังมี ประชาชนจากทั่วประเทศที่ห่วงใยในการแก้ไขปัญหาจราจรและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าร่วม ถวายค�ำปณิธานอีกด้วย ท�ำให้มียอดผู้ร่วมถวายค�ำปณิธานเพิ่มจากเป้าหมาย 1 ล้านคน กว่า 1 เท่าตัว ซึ่งกรุงเทพมหานคร จะเตรียม ด�ำเนินการน�ำรายชื่อพร้อมค�ำถวายปณิธาน น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสต่อไป


สำเลขที�นั่ 44กถนนวิ การจราจรและขนส่ ง กรุ ง เทพมหานคร ภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2354-1215

: 0-2354-1210 www.bangkok.go.th/trafffiic ทางสะดวก 32 สจส.fax

แจ้งเหตุสัญญาณไฟขัดข้อง ป้ายจราจรชำ�รุด 24 ชั่วโมง ได้ที่ 0-2354-1234


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.