Chanthaburi way temple

Page 1

วัดตะปอนน้อย | วัดตะปอนใหญ่ | วัดเกวียนหัก | วัดวันยาวบน | วัดมังกรบุปผาราม | วัดคงคาราม | วัดหิรัญญาราม



เส้นทางที่เราจะไปเยือนในครั้งนี้ขอเรียกแทนว่า

เส้นทางศรัทธา 7 วัด อ.ขลุง จ.จันทบุรี

ตามจำ�นวนวัดที่จะพาไปทั้ง 7 แห่ง ซึ่ง 6 วัดเป็นวัดที่ อยู่ในเส้นทางเดินทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอี ก หนึ่ ง วั ด หางมั ง กรแห่ ง ดิ น แดนตะวั น ออก โดยเส้นทางสายนี้เริ่มตั้งแต่แยกพลิ้ว วัดตะปอนน้อย วัดตะปอนใหญ่ ไปจนถึงวัดเกวียนหัก รวมระยะทาง กว่า 9 กิโลเมตร ตลอดทางมีทั้งร่องรอยของ ความ เจริญ ชุมชน และมีอุโบสถเก่าแก่อายุตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาปรากฏอยู่ด้วย


วัดตะปอนน้อย

(วัดอินทราราม)

ตะปอนน้อย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2125 เป็นวัดที่ มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของวัดในจังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำ�ลองบน ผืนผ้านับ 500 ปีมาแล้ว ซึ่งรอยพระพุทธบาทจำ�ลอง บนผืนผ้านี้เปรียบเหมือนสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาว ตำ�บลตะปอน ที่มีความเชื่อที่ว่าสามารถขจัดโรคภัย สักการะแล้วเป็นสิริมงคลในชีวิต นอกจากนี้ภายในพระ

อุโบสถหลังเก่ามีจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นผสม กาว (Tempera) เก่าแก่ ภาพบนฝาผนังที่เด่นสะดุดตา คือ มีภาพฝรั่งแต่งกายแปลกตา และหาชมได้ยากอยู่ ด้วย

แผนที่


สักการะ “ผ้าพระบาท” อายุ 500 ปี เสริมสิริมงคลขจัดโรคภัย ชมจิตรกรรมฝาผนังภาพฝรั่งแปลกตา

Trick

ศาสนสถานที่สำ�คัญของวัดมีดังนี้ พระเจดีย์ วัดอินทราราม ไม่ปรากฏหลัก ฐานที่แน่ชัดว่าสร้างในพ.ศ.ใดโดยตามตำ�นานได้กล่าว ไว้ว่าหลังจากบูรณะพระอุโบสถหลังเก่าเสร็จเรียบร้อย ได้ มี อุ บ าสกอุ บ าสิ ก าพร้ อ มทั้ ง ชาวบ้ า นผู้ มี ศ รั ท ธาใน พระพุทธศาสนาร่วมกันก่อสร้างองค์พระเจดีย์นี้ เพื่อ เป็นอนุสรณ์ของวัดคู่กับอุโบสถหลังเก่าของวัด พระอุโบสถหลังเก่า ตามหลักฐานที่มี บันทึกไว้ได้กล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2125 โดยตัวพระ อุโบสถเป็นรูปทรงเก๋งจีนผสมทรงไทยมุงด้วยกระเบื้อง ดินเผา ด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยก่อน และการเข้ามาของ พ่อค้าและทหารต่างประเทศ นอกจากนี้พระอุโบสถ หลังนี้ยังมีหน้าหน้าบันโบราณที่แกะสลักจากไม้ทั้งสอง ด้านอีกด้วย

รอยพระพุ ท ธบาทจำ � ลองบนผื น ผ้ า มี ความกว้างของผืนผ้า 5 ศอก ความยาว 20 ศอก บาง ตำ�นานบอกว่า 21 ศอก โดยเจ้าพระยาสาธารดานร สิทธิ์นำ�มาจากภาคใต้ของประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2125 โดยมาทางเรือ เมื่อมาถึงอำ�เภอแหลมสิงห์ได้มีการจัด ทำ�พิธีสมโภชฉลอง 7 วัน หลังจากนั้นได้นำ�มาไว้ที่วัด ตะปอนน้อย รอยพระพุ ท ธบาทจำ � ลองบนผื น ผ้ า นี้ ชาวบ้านมีความเชื่อที่ว่าสามารถขจัดโรคภัยที่ระบาด ในหมู่บ้านได้ เดิมทีจะมีการนำ�ผ้าพระพุทธบาทจำ�ลอง ออกแห่ตามหมู่บ้าน บ้านไหนที่มีคนเจ็บป่วยอยู่ในบ้าน มากก็ จ ะอั ญ เชิญ ผ้าพระพุท ธบาทจำ�ลองนี้ขึ้นไปบน บ้าน และจะมีพระสงฆ์ประพรมน้ำ�มนต์โดยทั่วบริเวณ บ้าน แต่ในปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาที่ดีขึ้น จึง เปลี่ยนจากการแห่มาเป็นการชักเย่อแทน


ศาสนสถานที่สำ�คัญของวัดมีดังนี้ พระอุโบสถหลังเก่า สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2354 ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำ�การบูรณะครั้งใหญ่ในสมัย หลวงพ่อเพชร อินฺทปัญโญ ลักษณะของพระอุโบสถในปัจจุบันเป็นพระอุโบสถก่ออิฐถือปูนทรงโรงหลังคาเครื่อง ไม้มุงกระเบื้องดินเผา ภายในประดิษฐานหลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล(พระประธาน) โดยชาวบ้านมีความเชื่อและศรัทธา ว่าเมื่อมาขอสิ่งใดที่เป็นความตั้งใจดีกับหลวงพ่อ สิ่งที่ขอนั้นก็จะสำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

Trick

ขอพร “หลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล” ดลได้ทุกสิ่ง


วัดตะปอนใหญ่ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 7 ของวัดในจังหวัดจันทบุรี ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2290 เดิมชื่อวัดโพธิธาราม เนื่องจากภายในวัดบริเวณริมคลองตะปอนใหญ่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมเจดีย์เก่าต่อมาได้มีเปลี่ยนชื่อวัดให้ สอดคล้องกับชื่อของหมู่บ้าน พระประธานในอุโบสถเก่ามีนามว่า พระสัมฤทธิ์ผล ซึ่งหลวงพ่อเพชรได้สร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 รอย ต่อรัชสมัย รัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 6 โดยชาวบ้านมีความเชื่อและศรัทธาว่า คนที่มากราบไหว้ท่าน และขอพรในสิ่ง ที่ดีๆ ก็จะสัมฤทธิ์ผลดั่งเช่นนามของท่าน


“พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย” ให้พรเรื่องความเชื่อมั่นและกล้าหาญ

วัดเกวียนหัก (วัดช่องลม) วัดเกวียนหักเดิมชื่อ วัดช่องลม ต่อมาได้ มีเปลี่ยนชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อของหมู่บ้านตั้งอยู่ บ้านเกวียนหัก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2130 เป็นวัดที่มีความ เก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของวัดในจังหวัดจันทบุรีภายใน อุโบสถของวัดมีพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยที่ สวยที่สุด พร้อมสาวก 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ สามารถ เข้าไปกราบไหว้สักการะได้

ศาสนสถานที่สำ�คัญของวัดมีดังนี้ พระอุ โ บสถหลั ง เก่ า ด้ า นในประดิ ษ ฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นปางห้ามญาติ หรือหนังสือบางเล่ม เรียกว่า ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องลงรักปิดทอง เป็น พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความสวยงาม

Trick



Trick

นมัสการรอย “พระพุทธบาทจำ�ลอง และพระพุทธรูปอายุ 200 ปี”

วัดวันยาวบน (วัดมรรคาราม) วัดวันยาวบน เดิมชื่อวัดมรรคาราม ตั้งเมื่อ พ.ศ.2100 ที่วัดนี้มีอุโบสถใหญ่หลังงาม ผนังด้านนอก ทั้ ง ด้ า นหน้ า และหลั ง มี ภ าพพระพุ ท ธขนาดใหญ่ ส อง ปาง นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์เก่าแก่อายุประมาณร้อย กว่าปี รอยพระพุทธบาทจำ�ลอง และพระพุทธรูปอายุ กว่า 200 ปีให้สักการะ


เสริมสิริมงคล แก้ปีชง ณ วัดหางมังกรแห่งดินแดนตะวันออก

Trick

วัดมังกรบุปผาราม วัดมังกรบุปผาราม มีชื่อจีนว่า เล่งฮั่ว ยี่ ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิทเส้นจันทบุรี - ขลุง เป็นวัดจีน ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนศรัทธา คนนิยมมาสักการะเพื่อ ขอความสิริมงคล ขอโชคลาภ แก้ปีชง สถาปัตยกรรม ภายในวัดเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธไทยจีน มี อุโบสถอยู่ตรงกลางที่ด้านในประดิษฐานพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ นอกจากนี้บริเวณภายในวัดยังมีจุดสักการะ พระพุทธเจ้า โพธิสัตว์ อีกหลายจุด


สักการะ “พระอัครสาวก” ผู้เป็นเลิศด้านกำ�ลังและปัญญา

วัดคงคาราม

Trick

(วัดบ่อ)

วัดคงคาราม (วัดบ่อ) ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2215 อยู่หมู่ 4 ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี มีพระประธานประจำ� อุโบสถ พร้อมพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรให้กราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล


ขอพร “พระประธาน” ณ วัดโบราณอายุกว่า 400 ปี

Trick

วัดหิรัญญาราม วัดหิรัญญารามหรือชาวบ้านจะเรียกอีกชื่อว่า วัดหวัก สร้างเมื่อ พ.ศ.2112 เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่รอง มากจากวัดวันยาวบนเลยทีเดียว

ขอพร “พระประธาน” ณ วัดโบราณอายุกว่า 400 ปี


ตำ�นานที่มาของชื่อวัด

ตามตำ�นานกล่าวว่า บริเวณถนนเส้นขลุง – แหลม สิงห์ เป็นเส้นทางที่ใช้ในการคมนาคมในสมัยก่อน ซึ่งในสมัยนั้น พาหนะที่ใช้ในการขนสิ่งของหรือบุคคลก็จะใช้เป็นเกวียน ซึ่งใน ตำ�นานเล่าไว้ว่า มีพ่อค้าเกวียนได้ขับเกวียนมาเพื่อที่จะไปค้าขาย ทางตะวันออก เมื่อผ่านมาถึงป่าคั่น ซึ่งในอดีตนั้นเป็นทางทราย หนาทำ�ให้เกวียนขับเคลื่อนไปได้ด้วยความยากลำ�บาก และทำ�ให้กะ โพรงเกวียนเริ่มชำ�รุดเล็กน้อย จึงมีการเรียกบริเวณนี้ว่า “ หมู่บ้าน ตะปอนน้อย ” พ่อค้ายังคงขับเกวียนที่ชำ�รุดผ่านหมู่บ้านและวัดไป เรื่อยๆ จนมาถึงบริเวณอีกหมู่บ้านหนึ่งกะโพรงเกวียนเกิดการชำ�รุด เสียหายมากขึ้น จึงมีการเรียกบริเวณนี้ว่า “ หมู่บ้านตะปอนใหญ่ ” แต่พ่อค้าก็ยังคงขับเกวียนเดินหน้าต่อไปจนมาถึงอีกหมู่บ้านหนึ่ง เกวียนก็ได้หักพังลงมา จึงมีการเรียกบริเวณนี้ว่า “ หมู่บ้านเกวียน หัก ” และได้มีการเรียกขานจนมาถึงปัจจุบัน (อ้างอิงจากเอกสาร ประวัติวัดจังหวัดจันทบุรี)

ประเพณีฉุดพระบาทของชาวหมู่บ้านตะปอน ในปีพ.ศ.2125 เจ้าพระยาสาธารดานรสิทธิ์นำ�ผ้า พระพุทธบทจำ�ลองมาจากภาคใต้ของประเทศไทย โดยทางเรือ เมื่อ มาถึงอำ�เภอแหลมสิงห์ได้มีการจัดทำ�พิธีสมโภชฉลอง 7 วัน หลัง จากนั้นได้นำ�มาไว้ที่วัดตะปอนน้อย รอยพระพุทธบาทจำ�ลองบนผืน ผ้า มีความกว้างของผืนผ้า 5 ศอก ความยาว 20 ศอก บางตำ�นาน บอก 21 ศอก บนผืนผ้าประกอบด้วยรอยพระบาท 4 รอย รอยที่ หนึ่งเป็นรอยพระบาทของ “ พระกุตสันโธ ” รอยที่สองมีขนาดเล็ก ลงมาเป็นรอยพระบาทของ “ พระโคนาดม ” เล็กรองลงมาเป็นรอย ที่ 3 เป็นรอยพระบาทของ “ พระกัสสปะ ” และรอยที่สี่เป็นรอยที่

เล็กที่สุดเป็นรอยพระบาทของ “ พระพุทธโคดม ” (พระพุทธเจ้า ) ซึ่งรอยทั้งสี่นี้ ซ้อนกันอยู่บนผืนผ้าเดียวกัน โดยคนในสมัยนั้นมีความเชื่อว่า “ รอยพระบาท ” สามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่ระบาดในหมู่บ้านได้ ซึ่งในสมัย นั้นการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าที่ควร มีใดที่มีโรคระบาดทำ�ให้ผู้คน ล้มตายจำ�นวนมาก ปีนั้นชาวบ้านก็จะนำ�พระบาทจำ�ลองออกแห่ โดยนำ�ใส่เกวียนพร้อมประดับเกวียนที่บรรทุกพระบาทจำ�ลองให้ สวยงาม และจะมีคนตีกลองอยู่บนเกวียนนั้นด้วย ซึ่งบ้านไหนที่ มีคนเจ็บป่วยอยู่ในบ้านมากก็จะอัญเชิญพระบาทจำ�ลองนี้ขึ้นไป บนบ้าน และจะมีพระสงฆ์ประพรมน้ำ�มนต์โดยทั่วบริเวณบ้าน แต่ ในปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาที่ดีขึ้น จึงเปลี่ยนจากการแห่มา เป็นการชักเย่อแทน โดยจะถือวันสำ�คัญในช่วงของวันสงกรานต์จัด ประเพณีชักเย่อ ชาย – หญิง อยู่คนละข้างโดยผูกเชือกติดไว้อยู่กับ เกวียนขณะที่สองฝ่ายออกแรงดึงเชือก คนตีกลองทีอยู่บนเกวียน จะตีกลองรัวจนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ โดยหลั ง จากวั น สงกรานต์ ช าวบ้ า นจะนำ � รอย พระบาทไปบำ�เพ็ญตามหมู่บ้านต่างๆแห่งละ 1 – 2 วัน นับระยะ เวลาที่ชาวบ้านนำ�รอยพระบาทไปทำ�พิธีตามสถานที่ต่างๆในตำ�บล ตะปอนใช้เวลาประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นชาวบ้านก็จะแห่รอย พระบาทจำ�ลองมาเก็บไว้ที่วัดตะปอนน้อยตามเดิม

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก :ประวัติวัดทั่ว ราชอาณาจักร (เล่ม 20) ของกรมศาสนา




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.