Book King Rama 9

Page 1



๑


รวมบทกวีบันทึกความทรงจำ� เทวดารัตนโกสินทร์ ผู้เขียน เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ ISBN เจ้าของ : ศิลปกรรม :

นายวิทยา วชิระอังกูร ปริญญา ชัยสิทธิ์ , เทวินทร์ สังฆมณี

พิมพ์ครั้งแรก : จำ�นวนพิมพ์ : จำ�นวนหน้า : ราคา :

กันยายน 2561 2,000 เล่ม ๘๘ หน้า ๑๕๐ บาท

พิมพ์ที่ :

บริษัท ยืนหยัดชัดเจน จำ�กัด 58-64 ซ.จิตประปา ถ.จอมสุรางค์ยาตร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 e-mail : K_prinnting@hotmail.com

สั่งซื้อได้ที่ :

นายวิทยา วชิระอังกูร 426 หมู่บ้านเทพธานี หมู่ที่ 5 ถ.มิตรภาพ ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30310 โทรศัพท์ 086 8789889 e-mail : withaya.w@gmail.com


๓


ความทรงจำ�ของผู้เขียน ช่วงชีวิตหนึ่งของการรับราชการที่ ผู ้ เ ขี ย นถู ก ส่ ง ไปทำ � งานทางภาคเหนื อ ของ ประเทศหน่ ว ยงานพั ฒ นาชนบทที่ สั ง กั ด มี พื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมถึงจังหวัดเชียงใหม่ ทุกปีท่พ ี ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แปรพระราชฐานไปประทับที่ ภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อพระองค์ท่านเสด็จออก ทรงงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานศูนย์ เร่งรัดพัฒนาชนบทภาคเหนือ ที่ผู้เขียนสังกัด ทำ�งานอยู่ที่จังหวัดลำ�ปาง มีหน้ า ที่ ต ้ องตาม เสด็จเพื่อรับสนองพระราชดำ�ริที่เกี่ยวข้องกับ งานสร้างแหล่งน้ำ�และงานส่งเสริมอาชีพอื่นๆ ตามพระราชกระแสที่ จ ะทรงรั บ สั่ ง มอบหมาย เป็นงานๆ ไป ครัง้ กระโน้น ผูเ้ ขียนยังเป็นข้าราชการ ซีเล็กๆ ที่มักจะได้ร ับมอบหมายให้ ทำ � หน้ า ที่ ประสานงานและประชาสั ม พั น ธ์ โ ครงการ พระราชดำ�ริ ซึ่งจำ�เป็นต้องตามเสด็จโดยใกล้ ชิดเพื่อเก็บบันทึกภาพการทรงงานในพื้นที่ให้ มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ห้วงเวลาการตามเสด็จ ต่อเนือ่ งทุกปีเป็นระยะเวลา 13 ปี (2518-2530) ผู้เขียนจึงมีภาพการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทั้งในแผ่นฟิล์มและทั้งที่ประทับ อ ยู่ ใ น ใ จ แ ล ะ ค ว า ม ท ร ง จำ � ที่ ไ ม่ มี วั น ลื ม ภาพทรงขั บ รถแลนด์ Range Rover บุ ก ป่ า ฝ่ า ดง ลุ ย น้ ำ � ลุ ย ลำ � ธาร ขึ ้ น เขาลงห้ ว ยด้ ว ยพระองค์ เ อง ชนิดที่ผู้ตามเสด็จและหน่วยรักษาความปลอดภัยแทบจะตามไม่ทัน เวลาลงจากรถพระองค์ท่านก็จะพระราชดำ�เนิน เร็วมากไม่ว่าจะขึ้นเนินหรือลงเนิน ทรงต้องเห็นทุกพื้นที่ด้วยพระองค์เองก่อนที่จะมีพระราชดำ�ริโครงการใดๆ การแปรพระราชฐานไปประทับที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ทุกปี ไม่ใช่การพักตากอากาศอย่างที่บางคนอาจจะ เข้าใจกันไปเอง หากแต่เป็นการเปลี่ยนที่ทรงงานจากวังสวนจิตรลดามาที่เชียงใหม่เท่านั้นเอง เคยฟังจากฝ่ายในว่า การทรงงานที่ภูพิงค์ คือการตรวจสอบแผนที่อย่างละเอียดทุกพื้นที่ๆ จะเสด็จไป ถึงตีสามตีสี่เกือบทุกคืน บรรทมตื่น มาก็เกือบเที่ยง เสวยเสร็จก็เสด็จออกเยี่ยมราษฎรและพื้นที่ต่างๆตามที่ทรงทำ�การบ้านมา ทรงงานในพื้นที่จนถึงเย็น ย่ำ�ทุกวัน กว่าจะกลับถึงภูพิงค์ก็ สองสามทุ่ม เสวยและสรงน้ำ�เสร็จก็ทรงงานต่อจนดึกดื่นทุกคืน ครั้งหนึ่ง บนเทือกเขาสูงแถบสันป่าตอง พระองค์ท่านทรงงานจนตะวันลับขอบฟ้าแล้ว ฝ่ายทหารเกรง ว่าการขับรถลงเขาในยามวิกาลจะไม่ปลอดภัย จึงกราบบังคมทูลว่า จะนำ� ฮ.มารับกลับภูพิงค์ แต่พระองค์ท่าน ทรงปฏิเสธ รับสั่งกับฝ่ายทหารว่าจะทรงรอจนกว่าหน่วยแพทย์อาสาจะปฏิบัติหน้าที่รักษาชาวบ้านเสร็จแล้วกลับ พร้อมกันทางรถยนต์ด้วยกัน ผู้เขียนอยู่ในรถตามเสด็จที่จำ�ได้ว่า การขับลงเขาในยามค่ำ�คืน ต้องอาศัยตามไฟท้าย รถคันหน้าอย่างเดียว ถ้าคันหน้าพลาดก็คงต้องพลาดตามกันไปหมด ซึง่ ก็เป็นการเดินทางทีน่ า่ ระทึกใจมากครัง้ หนึง่ ในชีวติ


ผู ้ เ ขี ย นเสี ย ดายที ่ ภ าพบั น ทึ ก การตามเสด็ จ สู ญ หายไปกั บ การย้ า ยที ่ อ ยู ่ ไ ปหลายต่ อ หลายจั ง หวั ด ในเวลาต่ อ มา โดยเฉพาะครั้งหลังสุดที่ประสบภัยน้ำ�ท่วมบ้านที่โคราชจนบรรดาหนังสือ แฟ้มภาพต่างๆ เสียหายไปกับน้ำ�ที่ท่วมบ้าน เกือบครึ่งเดือน แต่ภาพต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ตามเสด็จยาวนานถึง 13 ปียังประทับใจอยู่ในความทรงจำ�ตลอดมา เสียดายที่ในห้วงเวลานั้นผู้เขียนยังไม่มีทักษะที่จะเขียนบันทึกเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองบันทึกเหตุการณ์เหมือนที่ทำ� อยู่ในปัจจุบัน หลังเกษียณอายุราชการ ห้วงเวลาที่ทรงพระประชวร เข้าออกโรงพยาบาล ผู้เขียนเฝ้าติดตามพระอาการด้วยความห่วงใย และเริ่ม เขียนบทกลอนย้อนรำ�ลึกถึงการทรงงาน ในแง่มุมต่างๆ ตลอดมา จวบจนถึ ง วั น พฤหั ส บดี ท ี ่ 13 ตุ ล าคม 2559 เวลา 15.52 น. ที ่ เ หมื อ นถู ก ฟ้ า ผ่ า กลางใจ เมื ่ อ มี การประกาศอย่างเป็นทางการว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตแล้ว ผู้เขียนรู้สึก เศร้าโศกเสียใจอย่างมากที่สุดในชีวิต แต่งชุดดำ�ไว้ทุกข์ เขียนถึงพระองค์ท่านทุกวันด้วยน้ำ�ตาท่วมหัวใจ ผู้เขียน ได้รบั เกียรติจากท่านผูว้ า่ ราชการจังหวัดนครราชสีมา (นายวิเชียร จันทรโณทัย) ให้เป็นผูอ้ า่ นบทกวีคารวาลัยบนเวทีหน้าลาน ย่าโม ท่ามกลางพสกนิกรชาวโคราชที่แต่งชุดดำ�มาพร้อมกันเต็มถนนทุกสายในตัวเมือง เพื่อร่วมรำ�ลึกอาลัยใน พระองค์ท่ามกลางสายฝนที่สาดสาย คล้ายน้ำ�ตาฟ้าร่วมหลั่งชโลมโศกเศร้าไปกับพสกนิกรชาวไทยและในท่ามกลาง สายฝน ผู้เขียนไม่อาจอ่านโพยที่เขียนไว้ได้ เพราะถ้าหมึกเปียกฝนจะเลอะเลือนจนอ่านไม่ออก จึงจำ�เป็นต้องอ่าน กลอนสดๆ ที่บันทึกในใจไว้ด้วยน้ำ�ตาที่ไหลปนไปกับสายฝนที่สาดสายตลอดเวลา ในห้วงเวลาทีม่ พ ี ระราชพิธบี �ำ เพ็ญกุศลพระบรมศพ ครอบครัว “วชิระอังกูร” ได้รว่ มกับครอบครัว “ศรียะพันธ์” โดยนายวิทยา และนางรสสุคนธ์ วชิระอังกูร ได้รว่ มกับนายธีรเทพ และนางชุลี ศรียะพันธ์ อดีตผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุรี ทัง้ สองครอบครัวได้รบั พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้รว่ มเป็นเจ้าภาพบำ�เพ็ญกุศลพระบรมศพ ณ พระทีน่ ง่ ั ดุสติ มหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมือ่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 14.30 น. ผูเ้ ขียนได้มโี อกาสนัง่ ใกล้ชดิ เบือ้ งหน้าพระบรมศพ ด้วยน้�ำ ตาคลอเบ้าทีไ่ ม่อาจสะกดกลัน้ ได้ และรูส้ กึ เสมือนหนึง่ เป็นการเข้าเฝ้าครัง้ สุดท้ายแล้ว ในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่ 26 ตุลาคม 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสแต่งเครื่องแบบเต็มยศประดับ เครื่องราชอิสริยภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน เข้าร่วมวางดอกไม้จันทน์ ณ พระเมรุมาศจำ�ลอง หน้าศาลากลางจังหวัด นครราชสีมาร่วมกับคณะข้าราชการและประชาชนชาวโคราช นั่นคือ งานพระราชพิธีครั้งสุดท้าย หลังจากวันออก พระเมรุแล้ว ผู้เขียนได้ไปกราบเยี่ยมพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆ ด้วยความชื่นชม ระคนกับความเศร้าลึกๆ ในใจอย่างบอกไม่ถกู ผูเ้ ขียนคิดถึงพระองค์ทา่ นทุกวัน และได้แต่คดิ เขียนรำ�ลึกถึงพระองค์ทา่ นแทบทุกวัน หนังสือบทกวี “เทวดา รัตนโกสินทร์” เล่มนี้ คือการรวบรวมบทบันทึกจากความทรงจำ�ของพสกนิกร เล็กๆ คนหนึ่งที่จงรักภักดีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่างหมดหัวใจ พระองค์ท่าน ไม่ต่างจากเทวดาในความคิดคำ�นึงของผู้เขียน เทวดาที่ลงจากสวรรค์มาเดินดิน เดินป่าเดิน เขาช่วยเหลือราษฎรทั้งชาวเขาและชาวเรา อย่างตรากตรำ�เหนื่อยยากแสนสาหัส ยาวนานถึง 70 ปี แห่งการครอง ราชย์และบัดนี้ ถึงเวลาที่ท่านต้องกลับสู่สวรรคาลัย โดยไม่มีวันหวนคืนมาอีก เหลือเพียงภาพแห่งความทรงจำ� ของ เทวดารัตนโกสินทร์ ที่จะจารึกในใจของคนไทยทุกคน ตราบนิจนิรันดร์

ด้วยจิตคารวะยิ่ง ว.แหวนลงยา


๖


อาศิรพาท สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ สรวมชีพน้อมมนหัตถร้อยกวินิพนธ์ เจตเจิดมโนดล ชนินทร์ เอกองค์ขวัญชนชาติสยามวรนรินทร์ ร่มเกล้านิกรศิลป์ สุธี ทรงกอปรด้วยทศพิธธรรมจริยศรี คุ้มเกล้าประชาชี สราญ อาทรทุกข์ขณะราษฎร์พินาศเพราะภยผลาญ เอื้อเฟื้อและเจือจาน ประคอง ทรงบำ�รุงทนุรัฐวิวัฒน์อริยผอง ไทยเทียมผไททอง ทระนง ยามว่างกิจ ธ สฤษดิ์ศิลปทรง สังคีต ธ ธำ�รง ประเลง ทั่วหล้ากิติศัพท์พระองค์ระบุระเบง โลกรื่นเพราะเสียงเพลง ธ ทรง อ้า องค์คีตกะราชมหาภทรวงศ์ ทวยราษฎร์ประกาศบ่ง พระนาม ขอจงทรงพระเจริญจรัสกิรติลาม ทุกเทศและเขตคาม ขจร ขอจงทรงพระเจริญจตุรพิธพร สุขโสตถิ์สถาวร วิมล ขอจงทรงพระเจริญสถิตย์ทฤคชนม์ คู่ราชย์แลปวงชน สยาม นิรันดร์เทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายวิทยา วชิระอังกูร (ว.แหวนลงยา)


๘ ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน เสียงตะโกนจากถนนที่ทรงผ่าน สะเทือนพระหทัยพระภูบาล ทรงอุทาน “ถ้าคนไทยไม่ทิ้งเรา เราจะทิ้งคนไทยอย่างไรได้” นั่นคือความในใจ ที่ก่อเค้า พระองค์ท่านเก็บไว้ในแนบเนา อุทิศพระองค์เป็นร่มเงาไม่ห่างไกล ทรงสร้างวังให้เหมือนบ้านเกษตรกร ทรงร่วมทุกข์เดือดร้อนชาวนาไร่ ขึ้นเขาลงห้วยบุกป่าไพร ไปชิดใกล้ปัญหาประชาชน ดินเปรี้ยวดินเค็มทรงแก้ไข นาไร่ขาดน้ำ�ทรงคิดค้น สร้างแหล่งกักเก็บน้ำ�ทั้งล่างบน เสกสร้างฝนเทียมมาบรรเทา สร้างศูนย์เรียนรู้ทุกภูมิภาค ทำ�เรื่องยากให้ง่ายไปบอกเล่า ทุกศูนย์ศาสตร์พระราชา ช่วยขัดเกลา การเกษตรทุกลำ�เนาให้ถูกทาง ทรงทุ่มเทพระองค์ทรงตรากตรำ� ทรงงานเช้ายันค่ำ�ไม่เว้นว่าง 70 ปี เสียสละไม่ละวาง ไม่เคยทอดทิ้งห่างความยากจน คำ�ตะโกนเสียงก้องของคนไทย ที่ก้องในพระหทัย วันเริ่มต้น ทรงตอบว่าพระองค์ท่านรักทุกคน “ในหลวงไม่ทิ้งประชาชน” ไม่ทิ้งคนไทย


ในหลวงของคนไทย


๑๐

การปิดทององค์พระพ่อก็สอน คนปิดก่อนพากันปิดด้านหน้า หลังองค์พระจึงไร้ทองทาบทา พ่อสอนว่าน่าจะปิดทองหลังพระ ช่วยกันปิดหลังพระให้สะสวย ทองจะล้นมาเอื้ออวยให้สวยสะ ทั้งหน้าพระหลังพระล้วนสรณะ ทองก็จะเต็มองค์พระอร่ามองค์ ทุกคำ�พ่อแหลมคมให้คนคิด ทองที่ปิดหลังพระนั้นชี้บ่ง ทำ�หน้าที่ไม่เอาหน้ามาพะวง ทำ�ทุกสิ่งซื่อตรงตามเนื้องาน พ่อสอนให้ปิดทองหลังพระ ให้ลดละสละตนเป็นพื้นฐาน ทำ�ดีเพื่อความดีที่เจือจาน ดูแบบอย่างยาวนานที่พ่อทำ� ตลอด 70 ปีที่ครองราชย์ ทุกรอยบาทก้าวย่างล้วนตอกย้ำ� ให้ทั้งโลกและคนไทยได้จดจำ� “ครองแผ่นดินโดยธรรม” ที่แท้จริง พ่อจึงเป็น “ภูมิพล มหาราช” กษัตริย์ไทยที่องอาจและใหญ่ยิ่ง ทั่วโลกต่างยกย่องและอ้างอิง เป็น “King of The Kings” แห่งสากล


๑๑

King of The Kings


๑๒


๑๓

พ่อผูค ้ รองแผ่นดินโดยธรรม พ่อไม่คิดอยากมาเป็นกษัตริย์ แต่ขืนขัดไม่ได้ก็ไม่ขืน เมื่อต้องเป็นก็เป็นไปไม่กล้ำ�กลืน พ่อหยัดยืนเป็นกษัตริย์อย่างชัดเจน “ครองแผ่นดินโดยธรรม” คือคำ�มั่น พ่อตรำ�ตรากบากบั่นให้ได้เห็น ที่ใดร้อนดับร้อนผ่อนให้เย็น ที่เหน็บหนาวลำ�เค็ญดับหนาวคลาย

ทรงวิริยะอุตสาหะสอนชาวเขา ปลูกพืชอื่นแทนรากเหง้าเคยขับขาน เลิกปลูกฝิ่นแพร่พิษเสพติดนาน หลายสิบปีพ้นผ่านยากนานนัก

ภาพพ่อถือแผนที่ไปทุกที่ ชี้แนะด้วยวิธีที่เรียบง่าย พออยู่พอกินเพียงพอสบาย พระราชดำ�ริเรียงรายเอื้อผองชน

จนบัดนี้ ไม่มีฝิ่นทุกเทือกเขา ทั้งชาวเขาชาวเราย่อมตระหนัก คือผลงานพระองค์ท่านหว่านความรัก ด้วยน้ำ�พักน้ำ�แรงกษัตริย์ไทย

เจ็ดสิบปีที่ครองราชย์อย่างอาจหาญ หนทางทุรกันดารพ่อดั้นด้น ทุ่มเทอุทิศอย่างอดทน ประโยชน์เพื่อปวงชนของพระองค์

กษัตริย์ที่แทบไม่มีวันหยุดพัก ทรงงานหนักพระเสโทเปียกปอนไหล เจ็ดสิบปีไม่ออกนอกประเทศไทย โครงการหลวงน้อยใหญ่เอื้อปวงชน

ยกตัวอย่างงานเดียวที่เคี่ยวกรำ� คือ “ต้นฝิ่น” พืชทองดำ�ชาวเขาหลง เป็นวิถีชีวิตที่ดำ�รง ทุกเทือกเขาป่าดงดอกฝิ่นบาน

คนไทยจึงรักพ่อผู้เป็นพ่อ รักพ่อผู้เพียงพอเหตุและผล รักพ่อผู้อุทิศผู้ทานทน พ่อคือพ่อของผู้คนทั้งธานินทร์ พ่อไม่คิดอยากมาเป็นกษัตริย์ แต่ต้องเป็นก็ตั้งสัตย์โดยสัตย์สิ้น ลั่นวาจาจากใจให้ได้ยิน “เราจะครองแผ่นดิน โดยธรรม”


๑๔

ขันติธรรมล้ำ�ลึกพ่อฝึกฝน พ่อจึงทานทนต่อทุกสิ่ง อาจมีบางคิดห่วงพ่อท้วงติง แต่โดยรวมคือภาพนิ่งสงบงาม ทศพิธราชธรรม ทุกทุกข้อ คือหลักธรรมที่พ่อไม่เคยข้าม ยึดธรรมนำ�ทางทุกโมงยาม ด้วยความอุเบกขาฝ่าอธรรม

ทรงอุเบกขาเหนือความขัดแย้ง ไม่เคยแบ่งพสกนิกรทั้งสูงต่ำ� ยามร้อนรนทรงเป็นเช่นฝนพรำ� ยามมืดดำ�ทรงเป็นเช่นแสงเทียน มีแต่ความเป็นกลางที่เที่ยงตรง ยุติธรรมดำ�รงไม่แปรเปลี่ยน ทรงมีแต่การให้ไม่เบียดเบียน ทรงลำ�บากพากเพียรเพื่อคนไทย


๑๕

รักพ่อเรียนรู้ธรรม ทรงเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ทรงอยู่อย่างเกื้อกูลตามเงื่อนไข อุเบกขาขันติธรรมเย็นฉ่ำ�ใจ ประคองส่วนรวมไว้ให้กลมกลืน เผด็จการประชาธิปไตยหลากหลายแบบ ล้วนอยู่แทบพระบารมีที่หยิบยื่น ทรงอยู่อย่างแจ่มชัดและหยัดยืน ผ่านวันคืนขัดแย้งแบ่งฝ่ายกัน

สรวงสวรรค์มารับพ่อกลับสวรรค์ หัวใจไทยรับไม่ทันการสูญสิ้น แต่เสียงพ่อที่สั่งยังได้ยิน ให้ลูกลูกรักแผ่นดินทุกถิ่นไทย

ทรงตรากตรำ�ทำ�ให้เห็นเป็นแบบอย่าง วางแนวทางแนวคิดการสร้างสรรค์ โครงการพระราชดำ�รินับร้อยพัน สอนให้รู้เท่าทันการทำ�กิน

ให้เป็นอยู่ “พอประมาณ” การสานสร้าง อยู่กันอย่าง “มีเหตุผล” ทุกฝันใฝ่ ทำ�กินกันอย่างมีเกราะ “คุ้มกันภัย” ฝึกจิตใจให้มี “ความพอเพียง” จำ�หลักคิดสี่ข้อที่พ่อสอน ชีวิตไร้ทุกข์ร้อนไร้ความเสี่ยง อ่านโอวาทราชดำ�ริที่ร้อยเรียง ให้เรียนรู้และอยู่เยี่ยงที่พ่อทำ�


๑๖

ศาสตร์พระราชา


๑๗ พ่อเพียรสร้างเพียรทำ�ทั้งชีวิต พ่ออุทิศตัวตนเพื่อคนทั้งหลาย พระราชาที่ลำ�บากตรากตรำ�กาย ไม่เคยคิดสุขสบายบนบัลลังก์ ถิ่นกันดารบ้านนาป่าเขา ไปเบิกบุกทุกลำ�เนาให้ความหวัง ให้แนวคิดชี้แนวทางสร้างพลัง สร้างมหาราชวังเป็นไร่นา สาธิตทดลองงานการเกษตร ศึกษาสังเกตและค้นคว้า หาข้อมูลทฤษฎีหลักวิชา เพื่องานพัฒนาทั่วถิ่นไทย วางหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่หล่อเลี้ยงผืนนาไร่ ปลูกไร่นาสวนผสมสมุนไพร มีนาข้าวมีสระไว้ใช้เลี้ยงปลา มีพืชผักสวนครัวทุกครัวเรือน หลักพอเพียงขับเคลื่อนอย่างเริงร่า กลับคืนสู่ “นามีข้าว น้ำ�มีปลา” ด้วยศาสตร์พระราชาภูมิพล เสียดายหลักพอเพียงไม่เพียงพอ ทุนนิยมยังถักทออย่างถั่งท้น เกษตรกร กับวงจร โง่-เจ็บ-จน ยากหลุดพ้นกรงเล็บ ทุนเสรี จนกว่าคนไทยจะศรัทธา ศาสตร์พระราชา สง่าศรี ยอมรับหลักพอเพียงและพอดี เดินตามทางที่พ่อชี้ที่พ่อทำ�


๑๘

ภูมิพลมหาราช


๑๙

70 ปีที่ครองราชย์ คำ�ประกาศยังคงคำ� “ครองแผ่นดินโดยธรรม” คือคำ�มั่นที่มั่นคง ธ คือกษัตริย์ไทย ที่ยิ่งใหญ่และสูงส่ง ทั่วโลกต่างโบกธง ให้เป็น “King of The Kings”

70 ปี ที่ทรงงาน รักโปรยหว่านไม่ลำ�เอียง พระราชดำ�ริที่รายเรียง จากวังเวียงสู่ไร่นา

ราชวังใดในโลกหล้า มีท้องนาทำ�นาจริง เกษตรกรได้พึ่งพิง การสาธิตทดลองทำ�

70 ปี ทรงทศพิธ ราชธรรมสถิตย์ทรงคุณค่า “ครองแผ่นดินโดยธรรม” คำ�สัญญา “ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวไทย”

กษัตริย์ใดในโลกหล้า ที่บุกป่า เขา สูงต่ำ� กรำ�แดดฝนทนตรากตรำ� ไปบำ�บัดทุกข์ปวงชน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทุกสรรเสริญทุกการให้ ทุกโรคยาจงห่างไกล ทุกโพยภัย จงมลาย

กษัตริย์ใดในโลกหล้า ห่วงไร่นาเสกสร้างฝน เขื่อนฝายหลายมณฑล ช่วยน้ำ�ท่วมน้ำ�ทำ�กิน

ขอพระองค์ทรงพระเกษม ทรงปรีเปรมดิ์ในบั้นปลาย พระเกียรติขจรขจาย ในนาม “King of the Kings”

กษัตริย์ใดในโลกหล้า ที่เหนื่อยล้าไม่จบสิ้น ฝังรากฝากแผ่นดิน ให้รู้รัก หลัก “พอเพียง”

คือ “ภูมิพลมหาราช” คือ คำ�ประกาศอันใหญ่ยิ่ง คือ กษัตริย์ที่สัจจริง คือ ภูมิพล ภูมิแผ่นดิน


๒๐


๒๑

หลวงปู่​่ฝั้น อาจาโร “แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ย่อลงสั้นสั้น เหลือสองสิ่ง ยึดพระสูตร พระวินัย ให้สัจจริง คุมจิตนิ่งอยู่ในลมหายใจ หายใจเข้า คือพระสูตร พุทธพจน์ หายใจออกกำ�หนดไม่เผลอไผล ลมเข้าพระสูตร ลมออกพระวินัย เพ่งลมไว้ให้สงบพบพระธรรม”

หลวงปู่แนะที่ใดร้อนไปดับร้อน เสด็จไปเอื้ออาทรอย่างหาญกล้า ภูพานราชนิเวศน์กลางภูพนา จึงชูธรรมพระราชาแผ่บารมี

คำ�สอนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เพ่งลมหายใจเพ่งพุทโธ ให้ดื่มด่ำ� ฟังธรรมใช่กำ�หนดแต่จดจำ� ฟังธรรมแล้วต้องทำ�ตามพุทธองค์

ทรงยกหลวงปู่ฝั้นเป็นพระอาจารย์ ใช้หลักธรรมาภิบาลผ่านธรรมวิถี สงครามชิงประชาชนพันไพรี ป้องแผ่นดินด้วยความดี วิถีธรรม

“เข้าวัดต้องหมั่นดัดวัดใจตน ใช่ทำ�บุญทำ�กุศลด้วยโลภหลง บาปบุญเกิดจากเหตุเจตน์จำ�นง วัดที่ใจ ให้ซื่อตรง วัดบาปบุญ”

“ใจสบาย ใจดี ใจมีสุข แสวงทางพ้นทุกข์ ทุกเช้าค่ำ� พุทโธ ล้างกิเลส ที่ครอบงำ�” หลวงปู่ฝั้นสอนให้จำ� ธรรม ธรรมดา

หลวงปู่ฝั้นสอนธรรมตามธรรมดา ในหลวงทรงศรัทธาธรรมนำ�หนุน คอมมิวนิสต์ชูธงแดงขัดแย้งทุน ในหลวงทรงแผ่พระคุณพระเมตตา

ภาพทรงกราบบนเสื่อศพหลวงปู่ ไม่มีพรมลาดปู บนภูป่า ทรงซบหน้าแนบโลง หลั่งน้ำ�ตา ส่งหลวงปู่ลับลากลางป่าไพร คือภาพความเรียบง่าย ธรรมดา พระราชากับหลวงปู่ ผู้ยิ่งใหญ่ ถือภาพแห่งธรรม อันอำ�ไพ หลวงปู่ฝั้นฝากไว้ ให้แผ่นดิน


๒๒

หลักการพัฒนาชุมชน เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา หลักแห่งศาสตร์พระราชา ยึดมั่น ราชการต้องยึดหลักรู้เท่าทัน ไม่ใช่ทำ�กันอย่างเลื่อนลอย เริ่มต้นอาจต้องประคับประคอง ฝึกสอนให้คล่องค่อยค่อยปล่อย ไม่ใช่อุ้มกระเตงตะบอยสปอย เสมือนหนึ่งเลี้ยงต้อยจนเคยตัว ชุมชนต้องพัฒนาตามธรรมชาติ มีเหลือมีขาดคนให้ทั่ว ยึดหลักพอเพียงทุกเรือนครัว ให้พึ่งตัวตนได้พึ่งใจตน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ยึดศาสตร์พระราชาแสวงผล เป็นหลักการพัฒนาชุมชน ให้พอเพียงให้ทุกคน พึ่งตนเอง


๒๓

ดอกไม้จากคุณยาย

“มารอนานไหมยาย” พระสุรเสียงทักทายคุณยายตุ้ม ดอกบัวยายเหี่ยวเฉาแดดเผารุม ทรงก้มกุมมือยายอย่างนุ่มนวล คือหนึ่งในหลายภาพที่ซาบซึ้ง คือหนึ่งในภาพซึ่งทรงแย้มสรวล ดอกบัวเหี่ยวที่ยายมอบทรงประมวล ยายมารอขบวนแดดร้อนอาน “มารอนานไหมยาย” คำ�เอื้อนเอ่ย ให้ผ่อนคลาย ปฏิสันถาร ภาพในหลวงกับยายตุ้มติดตรึงนาน ภาพเล่าขาน ในหลวงกับปวงชน


๒๔

พอเพียงล้างโกง ถักทอความพอเพียง ให้ร้อยเรียงทุกเส้นทาง โลภหลงย่อมละวาง เมื่อรู้พักรู้จักพอ กอบโกยการโกงกิน จักหมดสิ้นทุกต้นตอ พอเพียงพ่อถักทอ คือทางแก้การโกงกิน

เศรษฐกิจทุนนิยม จุดเพาะบ่มโลภสักการ คอรัปชั่นสืบสันดาน จากพื้นฐานทุนนิยม

ใครครองอำ�นาจรัฐ แค่แจงจัดให้ชัดสิ้น เชื่อพ่อแห่งแผ่นดิน และกล้าเดินตามรอยพระองค์

พ่อสร้างวางแนวคิด เศรษฐกิจที่เหมาะสม สวนกระแสสู่สังคม คิด “เศรษฐกิจพอเพียง”

พอเพียงอย่างเพียงพอ วิถีพ่อชักชูธง ทุกหน้าที่จักซื่อตรง ทั้งราชการและการเมือง

เชื่อเถิดที่พ่อคิด แก้ทุจริตได้ตรงเที่ยง รู้พอเพียงย่อมไม่เอียง ไปโอบโลภเอาโกงกิน

แก้โกงกันผิดผิด เบี่ยงเบนคิดกันเนืองเนือง ป้องปรามก็เปล่าเปลือง ยังฉ้อราษฎร์บังหลวงบาน

คอรัปชั่นจักสิ้นเชื้อ ไม่หลงเหลือให้ราคิน “พอเพียง” ทั่วแผ่นดิน จักล้างสิ้นกอบโกยโกง


๒๕


๒๖

อยากเห็นทรงแย้มสรวล เขาใคร่ครวญทุกคืนวัน ปั้นอื่นนับหมื่นพัน รวบรวมฝันปั้นรูปนี้ ให้พระองค์ทรงแย้มสรวล ทรงสำ�รวลทรงเปรมปรีดิ์ เหนื่อยหนักเนิ่นนานปี อยากให้มีรอยยิ้มเยือน นักปั้น “สันติ พิเชฐชัย” ปั้นด้วยใจติดตรึงเตือน สานฝันผ่านปีเดือน รูปปั้นเหมือนจินตนาการ ได้เห็นภาพพ่อเปี่ยมสุข นิรทุกข์ที่แผ้วพาน อยากเห็นภาพนี้เนานาน ยิ้มเบิกบาน พ่อแห่งแผ่นดิน

รอยยิ้มของพ่อ


๒๗

กราบพระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กราบพระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไหว้เทพไทเทวฤทธิ์ทุกทิศา แผ่กุศลผลบุญเคยทำ�มา กราบดินฟ้าอภิบาลพระภูมี ทุกโรคาพยาธิจงถดถอย ระคายเคืองใหญ่น้อยจงหลีกหนี ทรงพระเกษมสำ�ราญทุกนาที กราบพระบารมี องค์ภูมิพล


๒๘

ชมพูเหลือง สีมงคล มาช่วยกันตั้งจิตพิชิตโรค ดับทุกข์โศกโรคภัยให้ห่างหาย แต่งเหลืองแต่งชมพูให้พริ้งพราย รวมพลังเพื่อเคลื่อนคลาย อโรคยา มิ่งขวัญของชาตินิราศทุกข์ ทรงเกษมสำ�ราญสุขพระเจ้าข้า พสกนิกรแผ่กุศลผลบุญญา ชมพูเหลืองสว่างจ้าทั้งแผ่นดิน


๒๙


๓๐

ความพอเพียงของพ่อ


พ่อไม่เคยเอ่ยปากขออะไร เพราะพ่อมีแต่ให้ไม่เคยขอ หลักที่พ่อยึดถือคือเพียงพอ อุทิศทุกถักทอเพื่อผองไทย พ่อไม่เคยเอ่ยอ้างเอาความดี ชีวิตพ่อมีแต่พลีเพื่อการให้ ทดแทนคุณแผ่นดินด้วยหัวใจ พ่ออยู่ใกล้ไม่เคยไกลจากแผ่นดิน แผ่นดินทุกข์พ่อร่วมทุกข์ทุกพื้นที่ ไปร่วมด้วยช่วยชี้ทุกท้องถิ่น สร้างโครงการเสริมการทำ�มาหากิน สร้างสิน ดิน น้ำ� ให้ไร่นา พ่อสอนให้อยู่อย่างประมาณ ด้วยพื้นฐานพออยู่กินสมคุณค่า แล้วค่อยปรับค่อยเปลี่ยนค่อยพัฒนา ทุกก้าวย่างรักษาหลักพอเพียง พ่อวางตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง เดินทางสายกลางอย่างตรงเที่ยง มุทิตา อุเบกขา อยู่คู่เคียง พ่อไม่เคยเอนเอียงจากหลักธรรม หกสิบกว่าปีที่สรรค์สร้าง คือความแตกต่างที่ตอกย้ำ� ระหว่างพ่อกับที่การเมืองทำ� ยิ่งกว่าขาวกับดำ� เห็นเด่นชัด แต่วันที่เหนื่อยล้าชราภาพ กลับรับการจ้วงจาบจากฝูงสัตว์ อ้างตนศิวิไลซ์โลกาภิวัฒน์ รังเกียจระบอบกษัตริย์ประเทศไทย พ่อนิ่ง ไม่มีใคร รู้ใจพ่อ ชีวิตพ่อไม่เคยขอ มีแต่ให้ เมื่อลูกพ่อขลาดเขลา ไม่เข้าใจ แค่ลูกกราบขออภัย...พ่อก็พอ...

๓๑


๓๒

กราบรูปที่แขวนข้างฝาบ้าน ตั้งจิตอธิษฐานทุกเช้าค่ำ� สวดโพชฌังคปริตรน้อมจิตนำ� แผ่พระธรรมปัดป้องทุกข์โรคยา รูปที่แขวนข้างฝาชราภาพ สีที่ฉาบแต่งเติมเริ่มมัวพร่า ทั้งรูปทั้งคนกราบก็แก่ชรา มากโรคาพยาธิไม่ต่างกัน สังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง ตั้งอยู่แล้วก็เอียงสู่อาสัญ แต่ชีวิตธรรมดาสามัญ ย่อมต่างค่าสถาบันศูนย์รวมใจ รำ�ลึกภาพสะพายกล้องถือแผนที่ ไปทรงคลี่คลายทุกข์ถิ่นไกลใกล้ ทุรกันดารป่าเขาลำ�เนาไพร ทรงดั้นด้นไปบรรเทาทุกข์ ภาพนั่งพิงรถบนพื้นสะพาน ภาพลุยลำ�ธารไปเบิกบุก ภาพกรำ�ฟ้าฝนที่ตกชุก คือภาพสละสุขส่วนพระองค์ หกสิบกว่าปีที่ทุ่มอุทิศ ด้วยทศพิธราชธรรมที่สูงส่ง อุเบกขาขันติธรรมที่ดำ�รง ด้วยขัตติยะมั่นคงกษัตริย์ไทย บัดนี้ ทรงพระชราภาพ ก้มกราบรูปข้างฝาน้ำ�ตาไหล กายที่กรำ�งานหนักยาวนานไกล ถูกรุมด้วยโรคภัยจากตรากตรำ� กราบรูปที่แขวนบนฝาบ้าน ตั้งจิตอธิษฐานทุกเช้าค่ำ� สวดโพชฌังคปริตน้อมจิตนำ� แผ่พระธรรมคุ้มครองทั้งสองพระองค์


รูปบนฝาบ้าน

๓๓


๓๔

รักพ่อตามรอยพ่อ


๓๕ ไอ้ทิดเอ๋ยเอ็งก็โศกข้าก็เศร้า หัวอกเราชาวไทยยามสิ้นสูญ ทั่วประเทศทุกข์เทวษอาดูร เมื่อพระทูลกระหม่อมแก้วลาลับไกล ทีวีฉายภาพพระองค์ทรงงาน ในถิ่นทุรกันดารยากไร้ ภาพขึ้นเขาลงห้วยบุกพงไพร น้ำ�ตาข้าก็ไหลทุกครั้งครา 60 ปีไม่เคยออกนอกประเทศ ราชนิเวศน์คือนาไร่ภูเขาป่า ทรงร่วมทุกข์ปลอบปลุกและเยียวยา ด้วยศาสตร์พระราชาปรีชาชาญ ข้าเคยเห็นพระเสโทที่รินหลั่ง หลายครั้งตามเสด็จพระองค์ท่าน ไม่เหมือนพระราชาในนิทาน เป็นพระราชากรำ�งานกร้านแดดลม กรำ�แดดกรำ�ฝนกรำ�ลมหนาว บนหนทางเหยียดยาวล้วนหลุมหล่ม ไม่เคยพักไม่เคยล้าไม่ปรารมภ์ คิดเพียงคลี่คลายปมทุกข์ปวงประชา ไอ้ทิดเอ๋ย 70 ปี ที่ครองราชย์ ทุกรอยบาททรงก้าวย่างอย่างมีค่า ทุกวันเฉลิมทรงเล่าเรื่องที่ทำ�มา ทรงชี้ศาสตร์พระราชาที่ทรงคิด “ทฤษฎีใหม่” สอนนาไร่ให้ปรับเปลี่ยน “ความพอเพียง” คือแสงเทียนส่องเศรษฐกิจ เช็ดน้ำ�ตาหยุดร้องไห้เถอะไอ้ทิด ถ้ารักพ่อจงตั้งจิต..ตามรอยพระองค์


๓๖ วางดอกไม้ สีเหลือง เบื้องพระพักตร์ พระบรมฉายาลักษณ์บนฝาบ้าน น้ำ�ตาคลอ กราบภาพพระภูบาล แปดสิบหกชันษาผ่าน “5 ธันวา” ครองแผ่นดินโดยธรรมทศพิธ พระภารกิจล้วนดำ�รง ทรงคุณค่า ทรงอุทิศทั้งชีวิต เพื่อปวงประชา พระราชดำ�ริ แผ่เมตตาทุกถิ่นไทย

น้ำ�ท่วมน้ำ�แล้งทุกข์นาไร่ เขื่อนฝายบรรเทาให้คลายเดือดร้อน ทรงเสกสร้างฝนหลวงเอื้ออาทร สร้างศูนย์เรียนรู้ป้อนวิชาการ

บ้านนาป่าเขาลำ�เค็ญเข็ญ ทรงดับร้อนผ่อนเย็นทั้งไกลใกล้ “เศรษฐกิจพอเพียง” จากน้ำ�พระทัย ทรงมอบ “ทฤษฎีใหม่” เลี้ยงไร่นา

ทรงคิดทรงทำ�ทุกค่ำ�เช้า ยามประชวรก็ยังเฝ้าคิดขับขาน ทรงห่วงบ้านห่วงเมืองห่วงการงาน แม้อยู่ในโรงพยาบาลไม่ทรงพัก

สอนคนไทย ให้รอบคอบ คิดรอบด้าน ให้เป็นอยู่ “พอประมาณ” อย่างรู้ค่า “รู้เหตุ รู้ผล” พิจารณา มี “ภูมิคุ้มภัย” นานา รักษาตน

ทรงตรากตรำ�โดยตลอด 70 ปี ทุกเพลามีแต่งานที่เหนื่อยหนัก มีเพียงเสียงดนตรีที่ฟูมฟัก ทรงทอถักเป็นเพลงพระราชนิพนธ์

แผ่นดินร้อนทรงเสด็จ ไปดับร้อน พระเสโทเปียกปอนเป็นสายฝน แผ่นดินเหน็บหนาวร้าวทุรน ทรงเสด็จบันดาลดลดับหนาวคลาย

นับแต่นี้มีแต่เพลงแทนเสียงพ่อ ทุกครั้งฟังน้ำ�ตาคลอจนเอ่อล้น สวรรค์รับพ่อกลับสู่เบื้องบน เหลือพระนาม “ภูมิพล” พลังแผ่นดิน

70 ปี ที่พระองค์ทรงครองราชย์ ทุกรอยบาทล้วนเร่งรุดสู่จุดหมาย โครงการพระราชดำ�ริที่เรียงราย ล้วนอุทิศพระวรกายเพื่อปวงชน

ทั่วโลก โศกสลด อาลัยรัก พระเกียรติคุณจำ�หลักทุกฐานถิ่น “King of The Kings” ลือระบิล ทศพิธพระภูมินทร์ ระบือไกล

มีพระราชวังใดในโลกหล้า มีทุ่งนาแปลงสาธิตผลิตพืชผล มีกสิกรรมเกษตรกรรมเครื่องจักรกล เพื่อคิดค้นพัฒนาเพื่อเกษตรกร

วางดอกไม้สีเหลืองเบื้องพระบาท “ภูมิพล มหาราช” ผู้ยิ่งใหญ่ ธ เสด็จ สู่สรวงสวรรคาลัย ทรงสถิต กลางใจไทย ทุกคน


๓๗

ในหลวงของปวงชนชาวไทย


๓๘


๓๙

ส่งเสด็จ ฝนพรำ�ฉ่ำ�น้ำ�ตาฟ้า หลั่งโลมโลกหล้าระรินหลั่ง สรรพสิ่งสงบนิ่งสิ้นพลัง ธ เสด็จ ดุจดับหวังทั้งแผ่นดิน เสียงสวดขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไร้ปาฏิหารย์อิทธิฤทธิ์สูญสิ้น เทพอินทร์พรหมยมพญาไม่ได้ยิน มาพรากพระภูมินทร์ มิ่งดวงใจ กราบพระรูปกราบลงตรงพระบาท ปาดน้ำ�ตายิ่งปาดยิ่งหยาดไหล ธ เสด็จสรวงสวรรคาลัย อย่าเสด็จไปไกลจากปวงชน ทั่วประเทศทุกข์เทวษร่ำ�ไห้ เหมือนสิ้นศูนย์รวมใจหมองหม่น ขอพระจิตวิญญาณจงเวียนวน เป็นพระขวัญมิ่งมงคลคุ้มครองไทย ทุกพระปณิธาน พระผ่านเผ้า จักน้อมเกล้าสร้างสรรค์ไม่หวั่นไหว ทุกรอยบาททุกพระคุณจักอุ่นไอ สถิตกลางหัวใจไทยทั้งแผ่นดิน


๔๐

คิดถึงพ่อฉันคิดฉันเขียน บอกเล่าความพากเพียรของพ่อ พระราชาผู้อยู่อย่างเพียงพอ ขันติธรรมถักทอธรรมราชา พระราชาย่อมอยู่วังอลังการ แต่ที่ทำ�งานของพ่อคือเขาป่า คือถิ่นทุรกันดารคือไร่นา คือถิ่นที่ต้องเยียวยาทุกข์ยากจน พระราชวังพระราชาย่อมโอฬาร แต่วังพ่อเป็นสถานการฝึกฝน เป็นโรงสีเป็นนาข้าวปลูกพืชวน ทดลองปลูกคิดค้นหากรรมวิธี เป็นที่สาธิตผลิตผลการเกษตร ให้รู้แจ้งหลากประเภทหลากพื้นที่ เลี้ยงวัวนมเพาะพันธุ์คัดพันธุ์ดี วังพ่อมีศาสตร์คิดค้นเพื่อคนไทย พระราชาย่อมเสพสุขส่วนพระองค์ แต่พ่อแปรสุขส่งเป็นการให้ พ่อปันสุขให้ทุกคนทุกสายใย ความสุขพ่อคือให้ไป ให้เพียงพอ คิดถึงพ่อฉันคิดฉันเขียน บอกเล่าความพากเพียรของพ่อ ความเสียสละ ความรักพ่อถักทอ มีแต่ให้ไม่เคยขอ สุขส่วนพระองค์ คิดถึงพ่อฉันจดจำ�คำ�ของพ่อ ให้ยึดหลักเพียงพออย่าลุ่มหลง คำ�สอนพ่อคือหลักธรรมที่ธำ�รง พ่อไม่อยู่ ฉันเห็นธง พ่อชี้ทาง


๔๑

คิดถึงพ่อ


๔๒

ฟังเพลงพ่อ ฉันนั่งฟังเพลงพ่อ น้ำ�ตาคลอทุกครั้งครา ทุกเพลงคล้ายเพลงลา บทเพลงพ่อพลิ้วล่องลอย ฉันนั่งฟังเพลงพ่อ คล้ายคอยรอคล้ายรอคอย วันคืนที่เคลื่อนคล้อย ที่ลอยลับไม่กลับคืน ฉันนั่งฟังเพลงพ่อ ฉันร้องคลอเสียงสะอื้น เก็บงำ�ทุกข์กล้ำ�กลืน ฉันเช็ดปาดหยาดน้ำ�ตา ฉันนั่งฟังเพลงพ่อ ในรอยต่อกาลเวลา บทเพลงพ่อเยียวยา หัวใจไทยที่ทุกข์ระทม ฉันนั่งฟังเพลงพ่อ ล่องลอยล้อในสายลม เพลงพ่อพลิ้วพร่างพรม ทุกเพลงพ่อ ไม่เหมือนใคร


๔๓


๔๔


๔๕

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ กล้องถ่ายรูปที่สะพายใช้ถ่ายภาพ เพิ่งซึมซาบภาพถ่ายเพิ่งได้เห็น นิทรรศการฝีพระหัตถ์ชัดผ่านเลนส์ ภาพถ่ายโลดเต้นตามอารมณ์ อีกหนึ่งในอัจฉริยะพระองค์ท่าน ทำ�ด้วยจิตวิญญาณผสานผสม ภาพถ่ายคล้ายภาพฝันอันกล่อมกลม และหลายภาพแหลมคมในความคิด ภาพถ่ายฉายภาพครอบครัวพระองค์ และภาพถ่ายที่ทรงบรรจงวิจิตร บันทึกภาพพระราชินีที่โสภิต ทุกภาพ “สิริกิติ์” สิริโสภา หลายร้อยหลายพันภาพถ่ายบันทึก ล้วนฉายภาพลุ่มลึกหลากคุณค่า ทุกภาพถ่ายล้วนมีชีวิตชีวา ผ่านเลนส์พระราชา อัครศิลปิน เดินชมภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ หอศิลป์ บรรจงจัด เป็นภาพศิลป์ คิดถึงกล้องสะพายบ่าพระภูมินทร์ ตาผ่าวร้อนน้ำ�ตาริน..ไม่รู้ตัว..


๔๖

หนึ่งภาพแทนพันคำ� หนึ่งทรงจำ�ประทับใจ ภาพตามเสด็จอย่างชิดใกล้ ภาพรับใช้สนองงาน ได้เห็นภาพทรงขับรถ ในชนบททุรกันดาร ภาพเดินป่าลุยลำ�ธาร กรำ�แดดกร้านกรำ�ฝนพรำ� ถือแผนที่สะพายกล้อง ไปสอดส่องที่ต้องทำ� ไปชี้ช่องไปชี้นำ� สร้างแหล่งน้ำ�ให้ไร่นา ตามเสด็จสิบสามปี มีคนส่งภาพนี้มา ใส่กรอบแขวนข้างฝา ภาพพระองค์ที่ทรงงาน เห็นหยาดเหงื่อที่หยดไหล เห็นน้ำ�พระทัยพระภูบาล ทุกพระราชดำ�ริที่ประทาน ช่วยชาวบ้านช่วยชาวไทย หนึ่งภาพแทนพันคำ� หนึ่งทรงจำ�ประทับใจ ได้ตามเสด็จอย่างชิดใกล้ เป็นภาพในความทรงจำ�


๔๗

ภาพในความทรงจำ�


๔๘

พ่อสอนเศรษฐกิจพอเพียง ชี้แนวลดเสี่ยงหล่อเลี้ยงวิถี ให้กินอยู่อย่างเพียงพออย่างพอดี เป็นอยู่มีเหตุผล พอประมาณ พ่อเพียรชี้เพียรแนะมานานมาก ทำ�สิ่งยากให้ง่ายให้คิดอ่าน ทำ�ให้เห็นให้จับต้องอย่างพ้องพาน เป็นวิทยาทานศาสตร์พระราชา

ทุนนิยมเสรีจึงเริงร่า ไหลบ่าท่วมประเทศเขมือบขย้ำ� มือใครยาวสาวได้ในมืดดำ� รวยผูกขาดอิ่มหนำ�ไม่นำ�พา

พ่อเล็งเห็นหายนะแห่งทุนนิยม เพียรชี้ปมให้เห็นให้ศึกษา เศรษฐกิจที่เหมาะสมกับฐานา เศรษฐกิจที่พึ่งพาด้วยตนเอง

จน-รวยช่องว่างยิ่งถ่างกว้าง เศรษฐกิจโลกหมุนคว้างจึงรู้ค่า “พอเพียง” ที่พ่อเน้นเป็นปรัชญา กับศาสตร์พระราชาที่ยั่งยืน

ทุกรัฐบาลฟังคำ�พ่อแต่เพิกเฉย นักการเมืองอ้างเอ่ยอย่างโฉงเฉง แต่ยังยึดทุนนิยมถมละเลง ฟังพ่อแต่ไม่เพ่งที่พ่อทำ�

พ่อสอนเศรษฐกิจพอเพียง ให้อยู่เยี่ยงคนไทยที่รู้ตื่น ให้เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมกลืน ไม่ไหลตามกระแสคลื่นทุนนิยม ต่อแต่นี้จะมีเพียงคำ�พ่อสอน ถ้ารักพ่อต้องย้อนไปเพาะบ่ม ศาสตร์พระราชาที่แหลมคม ความพอเพียง ที่เหมาะสมสังคมไทย


๔๙

เศรษฐกิจพอเพียง


๕๐

คำ�พ่อสอน


๕๑

พ่อเตือนพ่อสอนพ่อสั่ง ทุกคนฟังแต่ไม่ทำ�ตามคำ�พ่อ โลภหลง หลบเลี่ยงหลัก “เพียงพอ” โลกาภิวัฒน์ ถักทอทุนสามานย์ วิ่งตาม ตะวันตกอย่างงกเงิ่น บูชาเงินเป็นพระเจ้าในทุกด้าน ฝักใฝ่ ฟุ้งเฟ้อทะเยอทะยาน ทั้งแก่งแย่งเชี่ยวชาญการช่วงชิง

พ่อจึงเตือนให้ไตร่ตรองมองรอบด้าน ให้เป็นอยู่ “พอประมาณ” ไม่ว้าวุ่น ทำ�ทุกสิ่งด้วย “เหตุผล” เป็นต้นทุน และมีหลักค้ำ�จุน “คุ้มกันภัย”

วานิชกิจธนกิจผลิตผล เปลี่ยนมนุษย์เป็นหุ่นยนต์ไม่หยุดนิ่ง โลกแห่งทุนละเลย โลกความจริง จิตวิญญาณจึงดำ�ดิ่งจมอบาย

คือหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เลี้ยงชีวิต คือเข็มทิศชี้ทางสว่างไสว แต่กี่ยุคกี่ผลัดรัฐบาลไทย เหล่าเสนาบดีท่องได้แต่ไม่ทำ�

ทุนทำ�ลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า ภูเขา ทะเล แม่น้ำ� ป่า ถูกทำ�ร้าย ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมวอดวาย โลกร้อนแผ่นดินทลายล้วนโลกทุน

ณ บัดนี้ โลกแห่งทุนเริ่มหมุนคว้าง เศรษฐกิจโลกอับปางลงทางต่ำ� คำ�พ่อสอนจึงปรากฏให้จดจำ� ทุกทิศไทยจะเปล่งคำ�ว่า “พอเพียง” คำ�พ่อสอนจึงปรากฏให้จดจำ� ทุกทิศไทย จงเริ่มทำ� “เศรษฐกิจพอเพียง”


๕๒

ลอยกระทง กระทงที่ทรงลอย ประทีปน้อยธรรมดา ทรงลอยขอขมา แม่คงคาที่อาบกิน วันนี้ ไม่มีพระองค์ ลอยกระทงน้ำ�ตาริน รำ�ลึกภาพพระภูมินทร์ ที่ท่าน้อยทรงลอยกระทง ทรงลอยอย่างเรียบง่าย ตามมุ่งหมายเจตน์จำ�นง พอเพียงส่วนพระองค์ ทุกสิ่งทรง ให้ทรงจำ�


๕๓

บทกวีกลางสายฝน ฉันอ่านบทกวีกลางสายฝน อ่านบนลานอนุสาวรีย์ท่านย่า สายฝนร่วงหล่นปนน้ำ�ตา เสียงฉันแหบพร่าตาพร่าพราย ก่อนอ่านฉันกล่าวกับทุกคน ฉันรักพ่อล้นพ้นจนใจหาย ฉันคิดเขียนถึงพ่อมากมาย บทกวีฉันรินร่ายดุจสายธาร

ฉันอ่านคำ�อาลัยในสายฝน อ่านให้ทุกคนจำ�คำ�สอน จำ�รอยบาทที่พ่อสร้างพ่อสัญจร ฉันขอพรพระมิ่งขวัญคุ้มครองไทย

ฝนแรงระบบเสียงไม่แจ่มใส ถ้าอ่านโพยฝนคงไล้หมึกแตกซ่าน ฉันจึงอ่านโพยในใจที่จดจาร ฉันจึงอ่านเป็นกลอนสดทุกบทตอน

ฉันอ่านบทกวีกลางสายฝน ข่มใจทานทนไม่ร้องไห้ ท่อนจบฉันกู่ร้องให้ก้องไกล “สถิตกลางหัวใจไทย ทั้งแผ่นดิน”


๕๔

น้ำ�ตาไหลเอง รู้ว่าพ่อไม่อยากให้คนไทยเศร้า พ่อไม่อยากให้ผองเราร่ำ�ร้องไห้ ลูกกราบแทบเท้าพ่อขออภัย ห้ามน้ำ�ตาไม่ได้มันไหลเอง


๕๕

ดอกไม้สีเหลือง สิ้นพ่อเหมือนสิ้นศูนย์รวมใจ หัวใจไทยทุกข์เทวษทุกเช้าค่ำ� ทั่วประเทศไว้ทุกข์แต่งสีดำ� น้ำ�ตานองครวญคร่ำ�คิดถึงพระองค์ ช่วยกันทำ�ดอกไม้จันทน์ไว้แทนใจ บรรจงจัดดอกไม้แทนใจส่ง ออกพระเมรุทุกข์รันทดจักปลดปลง คำ�สอนพ่อจักคืนคงความเป็นไท

ดอกไม้สีเหลืองจักบานสะพรั่ง พลังแผ่นดินทรงพลังครั้งยิ่งใหญ่ ร่วมกันปลูกดอกดาวเรืองเหลืองวิไล ชูไสวอร่ามเหลืองเรืองแผ่นดิน ให้สีเหลืองแห่งดอกไม้แทนใจพ่อ ที่ถักทอพระบารมีไม่รู้สิ้น ให้รับรู้หัวใจไทยทั่วธานินทร์ ที่ภักดีพระภูมินทร์ องค์ภูมิพล


๕๖

รำ�ลึกวันฉัตรมงคล ฟ้าร่ำ�ไห้อาลัยฉัตรมงคล อาลัยองค์ภูมิพล พิลาปร่ำ� เมฆดำ�คลุมแผ่นฟ้ามืดดำ� ฟ้าหยาดน้ำ�ฝนพรำ�..คล้ายน้ำ�ตา 5 พฤษภาคมทุกปีเคยปรีติ วันศิริเศวตฉัตรจรัสจ้า พิธีบรมราชาภิเษกกษัตรา ฉัตรมงคลศรีสง่าจักรีวงศ์ พระปฐมบรมราชโองการ เป็นสัจจะปฏิญาณเสริมส่ง “ครองแผ่นดินโดยธรรม” ธำ�รง 70 ปี ทรงมั่นคงพระทรงธรรม ฉัตรมงคลเคยเฉลิมฉลองฉัตร วันนี้ เงียบสงัด ทั้งเช้าค่ำ� เห็นแต่คนต่อแถวสวมชุดดำ� ยินแต่เสียงครวญคร่ำ�คิดถึงพระองค์ แผ่นดินผลัดเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ฉัตรมงคลย่อมเปลี่ยนไปตามพระประสงค์ เหลือเพียงความทรงจำ�ที่ธำ�รง น้ำ�ตาฟ้าหยาดรินส่ง... 5 พฤษภาคม


๕๗


๕๘

ดอกดาวเรืองชูช่อล้อลมหนาว เหลืองอร่ามงามราวบุปผาสวรรค์ แต้มแต่งทุ่งพระเมรุพราวพรรณ ด้วยสีเหลืองแห่งวันพระราชสมภพ สีเหลืองจะเรืองรองทุกท้องถิ่น เหลืองสะพรั่งทั้งแผ่นดินสว่างสงบ เช็ดคราบน้ำ�ตาเปื้อนให้เลือนลบ ให้สีเหลืองเกลื่อนกลบสีขาวดำ�

คิดถึงพ่ออย่าหม่นหมองแค่ร้องไห้ คิดถึงพ่อต้องพร้อมใจพลิกวิถี คิดถึงพ่อต้องพอเพียงต้องพอดี คิดถึงพ่อต้องมี มานะพากเพียร

กางศาสตร์พระราชามาทวนทบ เรียนรู้ให้เจนจบทุกเช้าค่ำ� หลักพอเพียงพรักพร้อมน้อมจิตนำ� ทำ�ดีต้องลงมือทำ� ในทันที

ดอกดาวเรืองชูช่อล้อลมหนาว ปลดทุกข์สีดำ�ขาวถอนหนามเสี้ยน สีเหลืองพ่อมาทดแทนดุจแสงเทียน ส่องสว่าง ทางแปรเปลี่ยน...ประเทศไทย

สีเหลืองเปลื้องทุกข์ ประเทศไทย


๕๙


๖๐ วางแผนไปอินทนนท์แต่ต้นเดือน ถึงวันนัดไม่อาจเลื่อนออกไปได้ วางมัดจำ�ที่พักอาหารไว้ จำ�ต้องไปตามนัดยากผลัดวัน จัดเสื้อผ้าลงกระเป๋ายังเหงาเศร้า เสื้อผ้าดำ�ผสมเทางดสีสัน ชุดไว้ทุกข์ให้พ่อด้วยผูกพัน เมื่อต้องไปก็ไปกันแบบแกนแกน นั่งรอรถพยายามทำ�ใจสงบ คำ�พระเทศน์ช่วยลบที่อัดแน่น พ่อเจ็บหนัก สังขารพ่อคลอนแคลน ยากทานโรคที่แห่แหนมากลุ้มรุม พ่อเหนื่อยหนักมานานสังขารล้า แพทย์ต่างช่วยเยียวยาอย่างเททุ่ม พ่อตัดใจสละร่างที่โรครุม ย่อมเหนือการควบคุมทุกสิ่งอัน พ่อเปรียบโพธิสัตย์ผู้ชัดแจ้ง เพียบพร้อมธรรมสำ�แดงทุกขีดขั้น ทศพิธราชธรรมแห่งราชัน ย่อมส่งพ่อสู่สวรรคาลัย ลูกโศกเศร้าเสียใจอย่าให้มาก รักพ่อต้องถางถากทางพ่อให้ 70 ปีพ่อตรากตรำ�ทำ�เพื่อใคร แค่ไว้ทุกข์แค่เสียใจคงไม่พอ เข้าใจทำ�ใจพอได้บ้าง จึงตัดใจออกเดินทางไม่ย่นย่อ ไปเก็บเกี่ยวความรักพ่อถักทอ โครงการหลวงของพ่อ..บนยอดดอย


๖๑

ขึ้นเหนือขึ้นดอย


๖๒

โครงการหลวง ดอยอินทนนท์


๖๓

อำ�ลาผาช่อก่อนสนธยา เดินทางมุ่งหน้าสู่ดอยสูง ผ่านป่าเขาสองข้างไม้ยางยูง บนฟ้าฝูงนกป่าบินกลับรัง ใกล้ค่ำ�ถึงโครงการหลวง เข้าที่พักใจทวงถึงความหลัง ภาพพ่อผุดพรายในภวังค์ ถนนลูกรังทางเกวียนเวียนวกวน ภาพพ่อขับรถลุยทางกันดาร ภาพพ่อกับชาวบ้านทุกแห่งหน พ่อบอกไม่รบสู้ใครสักคน พ่อสู้กับความยากจนความไม่มี ทำ�สงครามอย่างอดทนไม่เคยท้อ อาวุธพ่อคือกล้องถ่ายกับแผนที่ พระราชดำ�ริหลายหลากและมากมี ด้วยกรรมวิธีพอเพียงประคับประคอง สอนให้ลูกกินอยู่อย่างพอประมาณ ด้วยเหตุผลพ้องพานและสอดคล้อง โครงการหลวงที่สาธิตและทดลอง งานเกษตรที่จับต้องและเป็นจริง มานอนโครงการหลวงอินทนนท์ คิดถึงผลงานพ่ออันใหญ่ยิ่ง ความพากเพียรที่คนไทยได้พึ่งพิง หนาวอากาศอุ่นไออิงพระเมตตา


๖๔


๖๕

โครงการหลวงมีน้ำ�ตกจากภูผา ไหลตกไหลมาไม่ขาดสาย ไหลรวมลำ�น้ำ�มากมาย ตอนปลายไหลลงแม่น้ำ�ปิง แม้วสองพี่น้องมาพบเห็น ตั้งชื่อเป็น ชื่อสองพี่น้องยิ่ง เล่ากับลึ เป็น “เล่าลึ” ไว้อ้างอิง ชุมชนได้พึ่งพิงอิงสายน้ำ� ต่อมาขอพระราชทานนาม ให้เกิดความมงคลความชุ่มฉ่ำ� เป็นน้ำ�ตก “สิริภูมิ” ภูมิใจจำ� รวมลึกล้ำ� “สิริกิติ์” ภูมิพล ทางสู่น้ำ�ตกวกวนเวียน มีพันธุ์ไม้ปรับเปลี่ยนใบและผล ทางเดินธรรมชาติวกเวียนวน เดินเยี่ยมยลพันธุ์ไม้หลากหลายพันธุ์ ถึงน้ำ�ตกเสียงน้ำ�กระหน่ำ�ไหล น้ำ�กระเซ็นเย็นใสไหลลดหลั่น ไหลเซาะซอกหินหน้าผาชัน สะท้อนแสงตะวันระยิบตา “สิริภูมิ” สายน้ำ�นามมงคล ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนไม่เหนื่อยล้า ดุจน้ำ�พระทัยพ่อไหลหลั่งมา หล่อเลี้ยงชีวา ผไทไทย

น้ำ�ตกสิริภูมิ


๖๖


๖๗

น้ำ�ตกวชิรธาร อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สอนคนให้เรียนรู้เรื่องราวป่า มีเส้นทางให้ศึกษาไพรพนา แถบน้ำ�ตกที่ชื่อว่า “ตาดฆ้องโยง” จากต้นน้ำ�ลำ�ห้วยแม่กลาง เกิดน้ำ�ตกใหญ่กว้างกลางที่โล่ง สูงถึง 70 เมตร หินผาโพรง เชื่อมโครง “ผามอแก้ว” ที่สูงชัน

เป็นหนึ่งในน้ำ�ตกขนาดใหญ่ ที่ชมได้ชิดใกล้ไม่ไกลถนน มีลานกว้างรองรับจอดรถยนต์ เส้นทางไม่วกวนสะดวกสบาย

น้ำ�ตกสูงใหญ่ไหลกระเซ็น เกิดเป็นรุ้งกินน้ำ�งามเฉิดฉัน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำ�คัญ “ตาดฆ้องโยง” เปลี่ยนผันเป็น “วชิรธาร”

เห็นน้ำ�รำ�ลึกถึงเขื่อนน้ำ� ที่พ่อสร้างพ่อทำ�ทั้งเขื่อนฝาย เลี้ยงพื้นที่การเกษตรมากมาย ป้องกันน้ำ�ทะลักทลายท่วมไร่นา

พระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมฯ นักท่องเที่ยวมาชื่นชมกันพลุกพล่าน มีเส้นทางเดินป่าให้บริการ โดยอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

พ่อเคยบอกไม่มีน้ำ�คนอยู่ไม่ได้ แต่คนไม่เป็นไรไม่มีไฟฟ้า คิดถึงพ่อคิดถึงคำ�พ่อทุกครา คิดถึงหลักปรัชญา ที่แหลมคม


๖๘

ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ พระมหาธาตุ “นภเมทนีดล” สูงเสียดฟ้า กองทัพอากาศสร้างถวายองค์ราชา ครบ ๕ รอบแห่งมหามงคลชัย มหาเจดีย์ธาตุประจำ�รัชกาล กราบกรานพระเจดีย์น้ำ�ตาไหล เดินรอบพระเจดีย์แสนอาลัย แต่นี้ไปไม่มีพ่อต่อไปแล้ว เหม่อมองพระมหาธาตุเจดีย์ หยาดน้ำ�ตาไหลปรี่หัวใจแป้ว เห็นเพียงตรา ภปร.วะวับแวว สายลมแผ่วพัดผ่านสะท้านใจ เคียงข้างมีพระมหาเจดีย์ “นภพลภูมิสิริ” ศรี คู่เคียงใกล้ สร้างถวายพระราชินีคู่ผไท เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ใหญ่เคียงคู่กัน บนดอยสูงสายหมอกคลุมยอดเขา แสงแดดอ่อนสะท้อนเงาคล้ายภาพฝัน คล้ายภาพสองพระองค์ทรงผูกพัน คล้ายภาพสรวงสวรรค์บนยอดดอย


๖๙

พระมหาธาตุเจดีย์คู่


๗๐

ใกล้วันออกพระเมรุ ยิ่งใกล้วันออกพระเมรุ เย็นยะเยือก คงไม่มีทางเลือก แล้วสิหนอ พระเมรุมาศจำ�ลองงดงามลออ แต่ใจไทยรันทดท้อ คิดถึงพระองค์


๗๑

วางมาลัยดาวเรืองเบื้องพระรูป วางมาลัยดาวเรืองเบื้องพระรูป ก้มกราบหัวใจวูบวังเวงไหว หยาดน้ำ�ตาท่วมทั่วทั้งหัวใจ เอ่อล้นไหลอาบพื้นกำ�แพงวัง


๗๒

อาทิตย์อับแสง “Blue day There’s no sunshine. Why must you go away, Leaving me here alone? My own. How I miss you...” บทเพลงแสนหดหู่.. ล่องลอยมา.. “อาทิตย์อับแสง” เสียดแทงใจ ห้ามน้ำ�ตาไม่ได้... พระพุทธเจ้าข้า ทุกบทเพลงพระราชนิพนธ์เรียกน้ำ�ตา ในอารมณ์เหว่ว้า..คิดถึงพระองค์


๗๓

อุม ้ ท้องกราบพระบรมศพ ลูกเอ๋ย.. ลูกยังไม่เคยได้เห็น คนที่บำ�เพ็ญเพื่อคนทั้งหลาย วันนี้ชีพท่านวางวาย น้ำ�ตาทะลักทลายยะเยือกเย็น แม่เองก็เศร้าเสียใจ น้ำ�ตารินไหลไม่วายเว้น วันนี้ มาส่งท่านวันออกพระเมรุ ให้ลูกเห็น..ความรักพ่อแห่งแผ่นดิน


๗๔

“ดอกดารารัตน์” แทนใจให้คนรัก “ดอกพุดตาน” ทอถักสามสีสัน “ดอกลิลลี่” สีขาวพริ้งพราวพรรณ “ดอกชบาทิพย์” แบ่งปันขวัญอาลัย “ดอกชบาหนู” น้อยนิดจิตจงรัก “ดอกกุหลาบ” แทนใจภักดิ์พระผู้ให้ “ดอกกล้วยไม้” แทนถิ่นเหย้าป่าเขาไพร ดอกไม้จันทน์ แทนใจไทยทั้งปวง ทีละกลีบทีละจีบบรรจงจัด จิตประหวัดทุกคราน้ำ�ตาร่วง ดวงดอกไม้ที่ประดิษฐ์ทุกดอกดวง แทนความห่วงโหยหาอาลัยลา ออกพระเมรุยิ่งใกล้ยิ่งใจหาย ดอกไม้จันทน์จะพร่างพรายสู่ปลายฟ้า ถึงวันจะกลืนกล้ำ�ซับน้ำ�ตา ปลอบหัวใจอ่อนล้าให้แข็งแรง จะทำ�ตามคำ�พ่อสอนพอเพียง ธรรมพ่อทำ�จะหล่อเลี้ยงทุกหนแห่ง ทุกรอยบาทที่ตรากตรำ�จักสำ�แดง ให้โลภหลงเปลี่ยนแปลงเป็นพอเพียง

ดอกไม้จันทน์


๗๕

ทีละกลีบทีละจีบบรรจงจัด ล้านดวงใจร้อยรัดมัดแนบแน่น ดอกไม้นี้หมายมอบสู่เมืองแมน เป็นสื่อแทนความจงรักภักดี สีขาวนวลแทนใจที่ใสซื่อ ดอกไม้ทำ�ด้วยมือไม่มีสี ทำ�เท่าที่ทำ�ได้เท่าที่มี ทำ�ด้วยหัวใจที่ท่วมน้ำ�ตา ดอกไม้จันทน์แทนใจไทยทั้งชาติ หัวใจไทยเจียนจะขาดพระเจ้าข้า ดอกไม้จันทน์หลายล้านดอกทั่วพารา ส่งเสด็จพระราชาสู่สวรรคาลัย

ดอกไม้จันทน์


๗๖

ข้าวรพุทธเจ้า เสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทำ�นองเสียงดนตรี สั่นใจไหว เคยเปล่งร้องดื่มด่ำ�ชื่นฉ่ำ�ใจ แต่ทำ�ไม ฟังซ้ำ�ซ้ำ� น้ำ�ตาริน ข้าวรพุทธเจ้า...พระพุทธเจ้าข้า เพลงสรรเสริญคล้ายเพลงลาว้าเหว่สิ้น เย็นศิระ ไร้พระบริบาล.. ไร้ภูมินทร์ บทเพลงแห่งแผ่นดิน จึงวังเวง...


๗๗

ทีละก้าวทีละก้าวทรงก้าวย่าง ทีละก้าวทีละก้าว ทรงก้าวย่าง ท่ามกลางวิปโยคที่โศกแสน ทุกก้าวย่างยังมั่นคงไม่คลอนแคลน ไม่ทรงท้อ จะก้าวแทน... รอยเท้านั้น


๗๘

รำ�ลึกวันสวรรคต 13 ตุลาคม ครบขวบปี วันที่พ่อลาลับกลับสวรรค์ หัวใจไทยทุกข์เทวษทั้งคืนวัน เสียขวัญสั่นสะท้านทั้งแผ่นดิน

สีดำ�ขาวแห่งทุกข์ทั้งประเทศ ท่ามดินฟ้าอาเพศไม่จบสิ้น น้ำ�ตาฟ้าน้ำ�ตาคนปนไหลริน ทั่วทั้งธรณินทร์ ท่วมน้ำ�ตา ยิ่งใกล้วันออกพระเมรุยิ่งหมองเศร้า ทุกถิ่นเหย้าพระเมรุมาศรอคอยท่า ดอกไม้จันทน์จากใจปวงประชา ในวันพรากจากลา แสนอาลัย ทุก 13 ตุลาคม วันขมขื่น หัวใจไทยจะหยัดยืนให้จงได้ ก้าวตามรอยเท้าพ่อ ก้าวต่อไป เช็ดน้ำ�ตา อย่าร้องไห้ อย่าอ่อนแอ


๗๙

กราบส่งเทวดา งดงามจำ�ลองพระเมรุมาศ พิลาศพิไล มไหสวรรย์ ลอยองค์ลงมารับองค์ราชัน กลับถิ่นเทพเทวัญที่ท่านมา

ภาพเทวดาเดินดินทุกถิ่นที่ ต่อแต่นี้ไม่มีแล้ว ทุกถิ่นท่า ทุ่งพระเมรุจะชุ่มฉ่ำ�ด้วยน้ำ�ตา วันกราบส่งเทวดา สู่ทิพย์พิมาน


๘๐

เหม่อมองพระเมรุมาศ เหม่อมองพระเมรุมาศ ดุจภาพวาดพิมานสถาน ศาลารอบเรียงภาพนิทรรศการ หลากหลายผลงานพระราชา ผู้คนมากมายคล้ายฝูงมด มาเสพสุนทรียรสล้ำ�เลอค่า มาสำ�นึกพระคุณพระกรุณา มาปาดเช็ดหยาดน้ำ�ตา...ว้าเหว่วังเวง..


๘๑

ออกทุกข์ ก้าวต่อไป ทางการประกาศบอกให้ “ออกทุกข์” เพื่อให้คืนความสุขสมัครสมาน แต่หนึ่งปีที่ “ไว้ทุกข์” ทุกข์ทรมาน หาใช่แค่พิธีการ ประการใด แต่งดำ�ไว้ทุกข์ ทุกค่ำ�เช้า ครองโศกเศร้าวิปโยคครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อคนไทยสิ้นสูญศูนย์รวมใจ ไม่มีใครบอกใครให้ “ไว้ทุกข์”

ปลดผ้าขาวดำ�ตามที่ต่างต่าง ปล่อยวางลดละให้รู้ตื่น พอเพียงตามทางพ่อทุกวันคืน ร่วมกันพลิกฟื้นศาสตร์พระราชา

คนไทยต่างแต่งดำ�ตามธรรมชาติ หนึ่งปี น้ำ�ตาหยาดไร้ความสุข เมื่อทางการกำ�หนดวันหมดยุค จะทำ�ใจปลอบปลุกลุกขึ้นยืน

ออกทุกข์ไปสร้างสุขแห่งยุคสมัย ผลัดเปลี่ยนรัชกาลใหม่ในเบื้องหน้า ชีวิตต้องเดินต่อ ตามมรรคา ออกทุกข์ลบคราบน้ำ�ตา.ก้าวต่อไป...


๘๒

สายฝนปนน้ำ�ตา สายฝนเดือนตุลายังรินหลั่ง คล้ายฟ้าสั่งอำ�ลาฟ้าร้องไห้ ยิ่งใกล้วันออกพระเมรุเยือกเย็นใจ หัวใจไทยร้องไห้ไปกับฟ้า


๘๓

คีตการทิพย์ ทรงศักดิ์ทรงศรีสองพระองค์ ทรงธรรมธำ�รงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์กับรัชทายาทแห่งแผ่นดิน ทรงงานศิลปาการเสกสุนทรี

สูญสิ้นพ่อพระทูลกระหม่อมแก้ว สิ้นแล้วศูนย์รวมใจไทยวิถี ถึงคราวเปลี่ยนรัชกาลวงศ์จักรี สดับเสียงทรงดนตรี..ปลอบขวัญไทย


๘๔

ผลัดแผ่นดิน เริ่มรัชสมัยรัชกาลที่ 10 สีเหลืองเรืองระยิบระยับไสว พระชนมวารวันจันทร์สองภูวไนย สีเหลืองเรืองอุไรสองรัชกาล ราชวงศ์จักรีจักเกริกไกร สืบทอดผไทไทยแผ่ไพศาล “ถิ่นกาขาว” สิ้นยุคอันยาวนาน “ชาวศิวิไลซ์” จักคลี่ม่าน ผ่านคำ�พยากรณ์


๘๕


๘๖


๘๗

เทวดารัตนโกสินทร์ ๑.) ยี่สิบหกตุลาคม สองห้าหกศูนย์ สี่ทุ่ม เทวษอาดูรสูญสิ้น ดอกไม้จันทน์จุดส่งองค์ภูมินทร์ วันผลัดเปลี่ยนแผ่นดินสิ้นรัชกาล ๒.) เหลือพระนาม “ภูมิพลมหาราช” เหลือ “ศาสตร์พระราชา” ไว้สืบสาน เหลือความดีที่ทรงทำ�ตรากตรำ�งาน เหลือตำ�นาน “พระราชาผู้ทรงธรรม”

ในป่าเขาท้องถิ่นทุรกันดาร แปรเป็นพระราชฐานทุกแห่งหน สะพายกล้องถือแผนที่ท่องชุมชน หยาดเสโทรินหล่นรดผืนดิน

๓.) กราบส่งเทวดารัตนโกสินทร์ น้ำ�ตาไทยไหลรินทุกเช้าค่ำ� ทุกข์เทวษทับทวีสีขาวดำ� เมฆฝนพรำ�น้ำ�ตาฟ้าร่ำ�อาลัย

เทวดา เหนื่อยล้า แสนสาหัส งานช่วยคนอัตคัดทุกพื้นถิ่น สร้างแหล่งน้ำ�สร้างพื้นฐานการทำ�กิน ไม่เคยจบเคยสิ้นงานเทวดา

๔.) เทวดามาเดินดินทุกถิ่นที่ สร้างแบบอย่างวิถีแห่งการให้ ด้วยทศพิธราชธรรมอันอำ�ไพ จึงยิ่งใหญ่เป็น “King Of The Kings”

แล้ววันหนึ่งถึงกำ�หนด กฎเกณฑ์สวรรค์ เทวดา หมดสิ้นวัน ในโลกหล้า ต้องกลับคืนทิพย์สถานที่ท่านมา ฝากแนวคิดฝากคุณค่าคุณความดี

โครงการพระราชดำ�ริกว่าสี่พัน 70 ปี ทรงบากบั่นไม่หยุดนิ่ง ท่ามกลางสงครามเย็นการแย่งชิง เทวดา ต่อสู้จริง สู้ยากจน

ขอให้ทำ�ตามแบบอย่างทุกย่างก้าว ทำ�ตามให้ยืนยาวทุกวิถี เพียงพอให้พอเพียง เลี้ยงชีวี เทวดา หวังเท่านี้ ไม่หวังใด ทุกคืนวันท่านจะดูอยู่บนฟ้า ใครคิดถึงเทวดาอย่าร้องไห้ ทำ�ดีให้ท่านเห็น ทุกเป็นไป เทวดา อยู่ในใจ คนไทยทุกคน


๘๘




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.