การใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน

Page 1

การใชสิทธิเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน : บทเรียนจากอดีต สู “สิทธิ” ที่เปนจริงไดในทางปฏิบัติ โดย นางสาวปทมา สูบกําปง1 หลักการกับบทเรียนการใชสิทธิเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเปนสถาบันที่มีบทบาทอํานาจหนาที่พิจารณา และให ค วามเห็ น ชอบร า งกฎหมาย เพื่ อ บั ง คั บ ใช ใ นสั ง คม หรื อ เป น องค ก รนิ ติ บั ญ ญั ติ ตามทฤษฎี แบงแยกอํานาจอธิปไตยที่นานาอารยะประเทศยอมรับ อยางไรก็ตาม การแสดงบทบาทอํานาจหนาที่ของรัฐสภามีขอจํากัดและอาจไมสอดคลองหรือไม สนองตอบตอความตองการของประชาชนไดครบทุกกลุม ทุกคน ดังนั้น การกําหนดใหประชาชนมีสิทธิ เขาชื่อเสนอรางกฎหมายที่เห็นวาจําเปนและเกี่ยวของกับกลุมตนไดนั้น จึงเปนการใหสิทธิประชาชนมี สวนรวมทางการเมืองตามหลักการของ “ประชาธิปไตยแบบมีสวนรวม” (Participatory Democracy) อันจะชวยในการอุดชองหรือเปนสวนเสริมให “ประชาธิปไตยทางผูแทน” (Representative Democracy) นั้นสมบูรณยิ่งขึ้น สิ ท ธิ ใ นการเข า ชื่ อ เสนอร า งกฎหมายของประชาชน ได รั บ การรั บ รองเป น ครั้ ง แรก โดย รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติวาดวยการเขาชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 และเมื่อประกาศใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ยังคงรับรอง ยืนยันสิทธิในการมีสวนรวมเขาชื่อเสนอกฎหมายไว ในมาตรา 163 จากปพ.ศ.2540 ถึงปจจุบัน พบวาประชาชนตื่นตัวและรวมตัวกันเขาชื่อเสนอรางกฎหมายจํานวน มากถึง 16 ฉบับ โดยที่เปนการเสนอจากผูมีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน ตอประธานสภาผูแทนราษฎร โดยตรง 10 ฉบับ และผูริเริ่มเขาชื่อยื่นคํารองตอประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อดําเนินการจัดใหมีการ เขาชื่อเสนอกฎหมาย อีก 6 ฉบับ แตการเขาชื่อเสนอรางกฎหมายสวนใหญมีปญหาทางเทคนิค และปญหาจากความผิดพลาด บกพรองในทางปฏิบัติจํานวนมาก คือ รายชื่อไมครบตามจํานวนที่กําหนด หรือเอกสารหลักฐานไมครบถวน สมบูรณ ทําใหตองจําหนายเรื่อง และบางสวนชื่อไมครบก็ขอถอนเรื่องออกไป รวมทั้งตองตกไปเพราะอายุ สภาผูแทนราษฎรสิ้นสุด มีการยุบสภา หรือเปนรางกฎหมายที่ไมเขาหลักเกณฑตามหมวด 3 และหมวด 5 โดยสรุป มีรางกฎหมายเพียง 2 ฉบับ คือ รางพระราชบัญญัติสุขภาพแหงชาติ พ.ศ. .... และ รางพระราชบัญญัติปาชุมชน พ.ศ. .... ที่ไดรับความเห็นชอบจากรัฐสภา แตมีผลบังคับใชเพียงฉบับ เดียว คือพระราชบัญญัติสุขภาพแหงชาติ พ.ศ. 2550 สวนรางพระราชบัญญัตปิ าชุมชน พ.ศ. .... นั้น แมไดรบั ความเห็นชอบจากสภานิตบิ ัญญัติแหงชาติ แตไมมผี ลบังคับใช เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ขาดวาตราขึ้นโดยมิชอบดวยรัฐธรรมนูญ

1

นักวิชาการ สํานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกลา

1


กลาวโดยสรุป แมวารางพระราชบัญญัติของภาคประชาชนทั้งสองฉบับดังกลาวจะไดรับความเห็น ชอบจากสภานิติบัญญัติแหงชาติ ซึ่งเปนสภาที่มิไดมาจากการเลือกตั้งเชนเดียวกัน และรางกฎหมาย ทั้งสองฉบับตางดําเนินการโดยเครือขายภาคประชาชนที่เขมแข็ง มีการศึกษาวิจัยรองรับและมีการรับฟง ความคิดเห็นประชาชนอยางกวางขวาง แตมีความแตกตางกันในสวนของแรงสนับสนุนจากฝายการเมือง ผูแทนการเข าชื่อเสนอร า งพระราชบัญญัติ สุขภาพแหงชาติ พ.ศ. .... คือ นายแพทยพลเดช ปนประทีป ซึ่งเปนรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย เปนแกนนํา หลักในการผลักดันรางพระราชบัญญัตินี้ ในขณะที่ ร า งพระราชบั ญ ญั ติ ป า ชุ ม ชน พ.ศ. .... ใช เ วลากว า 8 ป นั บ จากวั น เสนอร า ง พระราชบัญญัติฯ ถึงวันที่สภานิติบัญญัติใหความเห็นชอบ ใชระยะเวลาสําหรับการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานกอนรับเขาสูการพิจารณาของรัฐสภานานเปนปกวา ยิ่งไปกวานั้น การใหความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแหงชาติก็เกิดเปนประเด็นโตแยงจากกลุม แกนนําและเครือขายปาชุมชนวาบิดเบือนเจตนารมณของประชาชนผูเขาชื่อเสนอกฎหมาย ดังนั้น จึงมีการ เสนอใหตรวจสอบความชอบดวยรัฐธรรมนูญของรางพระราชบัญญัติดังกลาว และในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญ มี คํ า วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดว า กระบวนการตราร า งพระราชบั ญ ญั ติ ป า ชุ ม ชน พ.ศ. .... เป น ไปโดยมิ ช อบด ว ย รัฐธรรมนูญ จึงไมสามารถบังคับใชได กรณีการเสนอรางกฎหมายของประชาชนสอดคลองกับนโยบายหรือความตองการของรัฐบาล แมรางกฎหมายของประชาชนจะไมไดรับการพิจารณาใหความเห็นชอบจากรัฐสภา แตจะเปนแรงกระตุน หรือผลักดันใหรัฐบาลเรงเสนอรางกฎหมายใหรัฐสภาพิจารณาใหความเห็นชอบเปนเรื่องดวน โดยให เหตุผลวาตองเรงดําเนินการใหเปนไปตามนโยบายของรัฐบาล ไมอาจรอเรื่องไวจนกวากระบวนการเขาชื่อ เสนอกฎหมายของประชาชนเสร็จสิ้นได เชนที่เกิดขึ้นกับกรณีรางพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ แหงชาติ พ.ศ. .... จากกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณีดังกลาวขางตน จึงอาจกลาวโดยสรุปไดวาปจจัยความสําเร็จในการ เขาชื่อเสนอรางกฎหมายของประชาชนนั้น คือการมีสวนรวมของเครือขายภาคประชาชนที่เขมแข็ง และที่ สําคัญอีกสวนคือการยอมรับและการสนับสนุนจากภาครัฐหรือฝายการเมือง การผนึกกําลังของทั้งสองภาคสวนนี้ นอกจากชวยทําใหเกิดการเสนอ การพิจารณาและการอนุมัติ รางกฎหมายแลว ยังมีผลดีในดานที่กฎหมายที่ออกมาบังคับใชนั้นจะเปนประโยชนตอประชาชนและ สวนรวม เพราะผานการพิจารณาจากฝายตางๆ ทั้งภาครัฐและประชาชน อันเปนผลดีตอเนื่องไปถึงการ บังคับใชกฎหมายดังกลาวก็จะเปนไปอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดวย ในทางกลับกันแมวารางกฎหมายที่ประชาชนเสนอนั้น จะผานกระบวนการตางๆ เขาสูการพิจารณา และไดรับความเห็นชอบจากรัฐสภาก็ตาม แตหากเนื้อหาสาระของรางกฎหมายถูกปรับเปลี่ยน แกไข เพิ่มเติมหรือตัดออกจนไมเหลือความตองการของประชาชน เชนนี้คงไมอาจเรียกกฎหมายที่ออกมา บังคับใชไดวาเปนกฎหมายของประชาชน ดังเชนกรณีรางพระราชบัญญัติปาชุมชน ซึ่งหากยังคงประกาศใช บังคับ เป น กฎหมาย นอกจากประชาชนจะไม ใ ห ค วามยอมรับ และปฏิบั ติต ามแล ว อาจถึ งขั้ น ต อตา น กฎหมายดังกลาวเลยก็เปนได

2


จากการศึกษาพบวาในการเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนนั้น มีปญหาอุปสรรคซึ่งเปนบทเรียน ที่จําตองนํามาเปนขอมูลเพื่อพัฒนาแนวทาง และกําหนดกฎเกณฑตางๆ ไมวาจะเปนการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือขอบังคับ รองรับ เพื่อใหการใชสิทธิมีสวนรวมเขาชื่อเสนอกฎหมายเปนไปไดจริงในทาง ปฏิบัติ โดยสอดคลองกับเจตนารมณของรัฐธรรมนูญ มากที่สุด ดังนี้ 1. ตองรวบรวมรายชื่อจํานวนมาก และตองผานกระบวนการตรวจสอบรายชื่อ ซึ่งหากผิดพลาด เล็กนอย เชน พิมพชื่อผิด เลขที่บัตรประชาชนผิด หรือเอกสารไมถูกตองจะถูกตัดชื่อออก 2. หลักเกณฑและวิธีการเขาชื่อคอนขางยุงยาก ซับซอน และมีกระบวนการที่ยาวนาน ปราศจาก กรอบเวลาดําเนินการ แมรฐั ธรรมนูญกําหนดเพียงหลักเกณฑสําคัญไว แตกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑที่ ออกมารองรับ รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติของเจาหนาที่ไมเอื้อตอการมีสวนรวมในการเขาชื่อเสนอราง กฎหมายของประชาชนอยางแทจริง 3. ความถูกตองสมบูรณของเนื้อหาสาระและวิธีการรางกฎหมาย เนื่องจากการเขาชื่อเสนอราง กฎหมายต อ งแนบร า งพระราชบั ญ ญั ติ ซึ่ ง ดํ า เนิ น การโดยถู ก ต อ งตามรู ป แบบของร า งพระราชบั ญ ญั ติ กลาวคือ มีหลักการเหตุผลประกอบ และมีการแบงหมวดหมูและรายมาตราเพียงพอที่จะเขาใจได การรางพระราชบัญญัตินั้นจําเปนตองดําเนินการโดยผูที่มีความรูความเชี่ยวชาญเฉพาะดาน อีกทั้ง ตองมีประสบการณในดานนี้ดวย ทําใหเปนขอจํากัดอันเปนอุปสรรคหรือปญหาตอการใชสิทธิเขาชื่อเสนอ กฎหมายของประชาชน 4. ตองใชงบประมาณจํานวนมากในแตละขั้นตอน อาทิเชน คาใชจายในดานการรวบรวมเอกสาร หลักฐาน การเดินทาง และการศึกษารวบรวมขอมูลประกอบการจัดทํารางพระราชบัญญัติ ซึ่งคาใชจาย ทั้งหมดตกอยูในภาระความรับผิดชอบของประชาชนผูเขาชื่อเสนอกฎหมาย 5. ขาดกลไกการสนับสนุนและการประสานเชื่อมโยงกับภาครัฐ โดยเฉพาะอยางยิ่งสมาชิกรัฐสภา และรัฐบาล ทําใหฝายภาครัฐไมไดใหความสําคัญและไมไดเขามารวมผลักดันรางกฎหมายดวย ในทาง ตรงกันขามกลับใหความสําคัญกับรางกฎหมายของรัฐบาลมากกวา การพิจารณาอภิปรายรางกฎหมายที่ เสนอโดยประชาชนมักมีการแปรญัตติแกไขเพิ่มเติมอยางมาก โดยมิไดรับฟงหรือเปดโอกาสใหผูแทนการ เสนอกฎหมายเขาชี้แจงหลักการและเหตุผลของรางกฎหมาย และมิไดคํานึงถึงเจตนารมณดั้งเดิมแทจริง ของประชาชนผูเขาชื่อเสนอกฎหมายแตอยางใด แตเมื่อผานกฎหมายออกมาบังคับใชก็จะถูกเรียกวาเปน กฎหมายที่เสนอโดยประชาชน การพัฒนา “สิทธิในการเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน” ใหเปนจริงในทางปฏิบัติ รัฐธรรมนูญกําหนดหลักเกณฑในการใชสทิ ธิเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนไว ดังนี้ (1) ผูมีสิทธิเลือกตั้งไมนอยกวา 10,000 คน มีสิทธิเขาชื่อรองขอตอประธานรัฐสภา เพื่อให รัฐสภาพิจารณารางพระราชบัญญัติตามที่กําหนดในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ (2) ในการเสนอคํารองขอดังกลาว ใหจดั ทํารางพระราชบัญญัติเสนอไปดวย (3) ในการพิจารณารางพระราชบัญญัติ สภาผูแ ทนราษฎรและวุฒิสภาตองใหผแู ทนของประชาชน ผูมีสิทธิเลือกตั้งที่เขาชื่อเสนอรางพระราชบัญญัตินนั้ ชี้แจงหลักการของรางพระราชบัญญัติ และใหมีผูแทน 3


รวมเปนกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณารางพระราชบัญญัตดิ ังกลาว จํานวนไมนอยกวา 1 ใน 3 ของ จํานวนกรรมาธิการทั้งหมดดวย (4) หลักเกณฑและวิธีการเขาชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อใหเปนไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จะเห็นไดวาหลักการตามขอ (1) ขอ (2) และ ขอ (4) เปนหลักการเดียวกับที่กําหนดไวใน มาตรา 170 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แตกตางกันก็แตเพียงวาลด จํานวนผูมีสิทธิเลือกตั้งในการเขาชื่อจาก 50,000 คน เหลือ 10,000 คน และรัฐธรรมนูญ หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐนั้น มีการจัดแบงหมวดหมูใหชัดเจนยิ่งขึ้น สวนขอ (3) นั้น เปนหลักการใหม ซึ่งกําหนดขึ้นเพื่อเปนมาตรการสงเสริมใหการมีสวนรวมในการ เขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงคมากที่สุด ซึ่งเปนพัฒนาการที่ตอยอด และเรียนรูบทเรียนจากการเขาชื่อเสนอกฎหมายในอดีตที่ผานมา สถาบันพระปกเกลา ภายใตการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิเอเชีย ไดจัดทํา “โครงการ การมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการรางกฎหมาย” โดยมีวัตถุประสงคเพื่อรับฟงความคิดเห็น ของประชาชนเพื่อจัดทํารางพระราชบัญญัติวาดวยการเขาชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... การดําเนินโครงการ เนนการมีสวนรวมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นทั้งในสวนของ ปญหาอุปสรรคในการใชสิทธิเขาชื่อเสนอกฎหมาย และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเพื่อใหสิทธิเขาชื่อเสนอ กฎหมายเปนจริงไดในทาง จากการสรุปขอมูลการรับฟงความคิดเห็นและพิจารณารางพระราชบัญญัติวาดวยการเขาชื่อ เสนอกฎหมาย พ.ศ. .... ซึ่งมีเนื้อหาสาระสําคัญ 10 ประการ คือ2 1. กําหนดใหองคกรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ใหความชวยเหลือผูเขาชื่อเสนอกฎหมายในการ จัดทํารางกฎหมายและเอกสารประกอบ หรือใหความเห็นรางกฎหมายและเอกสารประกอบ ตาม หลักเกณฑและวิธีการที่องคกรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายกําหนด โดยที่หลักเกณฑและวิธีการดังกลาวตองไม เปนอุปสรรคตอการสนับสนุนการเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน และใหดําเนินการใหเสร็จภายใน 90 วันนับแตไดรับการรองขอ (ม. 8) 2. ผูมีสิทธิเลือกตั้งที่เขาชื่อเสนอกฎหมายขอรับการสนับสนุนคาใชจายในการเขาชื่อเสนอ กฎหมายไดจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ตามหลักเกณฑ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ บริหารกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองกําหนด (ม.9) 3. ประธานรัฐสภามีอํานาจออกระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษาและการจัดการเอกสารที่เกี่ยวของกับ การเขาชื่อเสนอกฎหมาย (ม.10) 4. ผูมีสิทธิเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อผูเขาชื่อเสนอกฎหมายครบ 10,000 คน ใหเสนอราง พระราชบัญญัติ และบันทึกประกอบ พรอมรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู ลายมือชื่อ แ ละสําเนาบัตร ประจําตัวประชาชน หรือสําเนาเอกสารอื่นที่ทางราชการออกใหที่มีรูปถายและเลขประจําตัวประชาชน ของผูเขาชื่อเสนอกฎหมายและผูแทนการเสนอกฎหมายตอประธานรัฐสภา ตามแบบที่ประธานรัฐสภา กําหนด (ม.11 และ ม.12)

2

รายละเอียดโครงการและรางพระราชบัญญัติวาดวยการเขาชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... รวมทั้งสรุปผลการรับ ฟงความคิดเห็นในภูมิภาคตางๆ ไดที่ www.kpi.ac.th

4


5. ประธานรัฐสภาตรวจสอบใหเสร็จภายใน 45 วัน กรณีรายชื่อไมครบถวน ถูกตอง ใหแจง ผูแทนการเสนอกฎหมายเพื่อดําเนินการใหครบถวน ถูกตองภายใน 90 วัน หากไมสามารถดําเนินการได ภายในเวลาที่กําหนดใหประธานรัฐสภาสั่งจําหนายเรื่อง (ม.13) 6. กรณีการเขาชื่อเสนอกฎหมายถูกตองครบถวน ใหประธานรัฐสภาจัดใหมีการประกาศรายชื่อผู เขาชื่อเสนอกฎหมาย โดยปดประกาศไว ณ ศาลากลางจังหวัด ที่วาการอําเภอ สํานักงานเทศบาล ที่ทําการ องค ก ารบริ ห ารส ว นตํ า บล ที่ว า การผู ใ หญ บา น และเขตชุ ม ชนหนาแน น ในเขตท อ งที่ ที่ผู เ ขา ชื่ อ เสนอ กฎหมายมีชื่ออยูในทะเบียนบาน และเปดโอกาสใหผูที่มิไดรวมเขาชื่อเสนอกฎหมายแตมีชื่อในประกาศ ดังกลาว ยื่นคํารองคัดคานการเขาชื่อเสนอกฎหมายตอประธานรัฐสภาหรือบุคคลที่ประธานรัฐสภา มอบหมายเพื่อ ขีดชื่อของตนออกจากบัญชีรายชื่อ ภายใน 20 วันนับแตวันประกาศ ทั้งนี้ โดย ประธานรัฐสภามีอํานาจกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับเขตชุมชนหนาแนน (ม.14 และ ม.15) 7. ผูมีสิทธิเลือกตั้ง 100 คน ริเริ่มเขาชื่อโดยรองขอใหคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดใหมีการ เขา ชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งอาจยื่นคํา ขอตอประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยตรง หรือยื่นตอประธาน กรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดที่ผูเขาชื่อเสนอกฎหมายหรือผูแทนการเขาชื่อเสนอกฎหมายมีภูมิลําเนา อยูก็ได ทั้งนี้โดยยื่นคําขอพรอมทั้งรางพระราชบัญญัติและบันทึกประกอบ (ม.16) 8. ประธานสภาผูแทนราษฎรจัดระเบียบวาระการประชุมพิจารณารางพระราชบัญญัติโดยคํานึงถึง ความรวดเร็วและตอเนื่องในการพิจารณารางพระราชบัญญัติ รวมทั้งการมีสวนรวมของผูที่อาจไดรับ ผลกระทบจากรางกฎหมายดังกลาวและประชาชนทั่วไป (ม. 22 วรรค 1) 9. ใหประธานสภาผูแทนราษฎรจัดใหมีการรับฟงความคิดเห็นของผูที่อาจไดรับผลกระทบจากราง กฎหมายและประชาชนทั่วไปอยางกวางขวาง โดยอยางนอยตองเผยแพรรางกฎหมายดังกลาวและรับฟง ความคิดเห็นผานระบบเครือขายสารสนเทศของสภาผูแทนราษฎร (ม.22 วรรค 2) 10. ประธานสภาผูแทนราษฎรจัดสงสรุปผลการรับฟงความคิดเห็นของผูที่อาจไดรับผลกระทบ จากรางพระราชบัญญัติดังกลาวและประชาชนทั่วไปไปประกอบการพิจารณาของสมาชิกสภาผูแทนราษฎร ในวาระที่สอง (ม.22 วรรค 3) กลาวโดยสรุป รางพระราชบัญญัติวาดวยการเขาชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... ดังกลาวมุงสงเสริม และสนับสนุนใหประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้งใชสิทธิเขาชื่อเสนอกฎหมายไดงายขึ้น โดยกําหนดมาตรการ สงเสริมและสนับสนุนหลักๆ ไว 3 ประการ ดังนี้ การสนับสนุนทางดานวิชาการ โดยกําหนดใหองคกรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายชวยเหลือประชาชน ในการยกรางพระราชบัญญัติและบันทึกประกอบรางพระราชบัญญัติ รวมทั้งใหคําแนะนําและสนับสนุน การดําเนินการรางกฎหมายของประชาชนดวย ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกําหนดหลักประกันไววาใหจัดทํากฎหมาย ว า ด วยองค กรเพื่อ การปฏิ รู ป กฎหมายใหแ ล ว เสร็ จ ภายใน 1 ป นับ แต วั น ประกาศใชรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายดังกลาวอยางนอยตองมีบทบัญญัติใหมีหนาที่สนับสนุนการดําเนินการรางกฎหมายของประชาชน ผูมีสิทธิเลือกตั้งดวย นอกจากนี้ กําหนดใหประธานสภาผูแทนราษฎรจัดใหมีการรับฟงความคิดเห็นของผูที่อาจไดรับ ผลกระทบจากรางกฎหมายและประชาชนทั่วไปอยางกวางขวาง และใหนําสรุปผลการรับฟงความคิดเห็น ดังกลาวใชประกอบการพิจารณาของสภาผูแทนราษฎรกอนการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองดวย ซึ่งจะทําใหมีขอมูลประกอบการพิจารณารางพระราชบัญญัติของสภาผูแทนราษฎรในอีกดานหนึ่งนั่นเอง 5


การสนับสนุนดานงบประมาณ โดยกําหนดใหผูเขาชื่อเสนอรางกฎหมายขอรับการสนับสนุน คาใชจายในการเขาชื่อเสนอรางกฎหมายไดจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ซึ่งเปนกองทุนฯ สําหรับการสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมของภาคพลเมืองเปนหลัก ภายใตพระราชบัญญัติสภาพัฒนา การเมือง พ.ศ. 2551 การสนับสนุนในกระบวนการเขาชื่อเสนอรางกฎหมาย โดยการกําหนดกรอบเวลาดําเนินการใน ขั้นตอนตางๆ เพื่อใหดําเนินการไปดวยความรวดเร็ว และลดขั้นตอนที่ไมจําเปน รวมทั้งกําหนดมาตรการ เสริมอื่นๆ อาทิเชน กรอบเวลาการดําเนินการขององคกรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ประธานรัฐสภา ผูที่จะ ร อ งคั ด ค า นการเข า ชื่ อ และมาตรการเสริ ม เพื่ อ ให มี ก ารพิ จ ารณาร า งกฎหมายของประชาชนในเวลา อันรวดเร็ว การลดภาระและคาใชจายดานเอกสารหลักฐานสําหรับการเชาชื่อ อีกทั้งเปดชองทางการริเริ่ม เสนอเรื่องเพื่อจัดใหมีการเขาชื่อเสนอรางกฎหมายตอคณะกรรมการการเลือกตั้งใหมากขึ้น กลาวคือยื่นคํา รองตอประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยตรง หรือยื่นตอประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดก็ได ทั้งนี้ การที่จะทําให “สิทธิในการเขาชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน” เปนจริงไดในทางปฏิบัติ นั้น จําเปนอยางยิ่งที่ประชาชนในฐานะพลเมืองตองเขามามีสวนรวม โดยที่ขั้นแรกตองรวมรับรูขอมูล ขาวสาร โดยเฉพาะขอมูลที่ไดนําเสนอในเบื้องตน เพื่อการมีสวนรวมในขั้นตอไป คือมีสวนรวมใน การแสดงความคิ ด เห็ น และเสนอแนะ มี ส ว นร ว มในการดํ า เนิ น การ ร ว มตั ด สิ น ใจและร ว มติ ด ตาม ประเมินผล ในการนี้ เพื่อใหรางพระราชบัญญัติวาดวยการเขาชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... มีความสมบูรณ ครบถวน และผานการพิจารณาอยางรอบดานจากประชาชนผูเปนเจาของสิทธิเสรีภาพ และเจาหนาที่รัฐซึ่ง ตองรับผิดชอบในกระบวนการเขาชื่อเสนอกฎหมายและการพิจารณารางกฎหมาย สถาบันฯ จึงได เปดให มีชองทางการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะได ดังนี้ 1. โทรศัพท หมายเลข 02-527-7830-9 ตอ 2404 2. โทรสารหมายเลข 02-527-7824 3. เว็ปไซด (www.kpi2.org) 3. Email: pattama@kpi.ac.th, patt.s@hotmail.com

6


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.