เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

Page 1

เอกสารประกอบการบรรยาย

วิชา สถาปัตยกรรมไทยพืน ้ ถิน ่

สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ฉบับพ.ศ. 2558


คํานํา เอกสารฉบับนี้ เป็นเอกสารประกอบการบรรยายวิชาสถาปัตยกรรม ไทยพื้นถิ่ น สํ าหรับนั กศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบั ณฑิ ต สาขาวิช า สถาปั ต ยกรรม มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลล้ า นนา มี เ นื้ อหาเกี่ ย วกั บ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทบ้านเรือน ชุมชน และวัดพื้นถิ่นในล้านนา และภาค ต่างๆของไทย ด้านรูปแบบ คติการสร้าง วัสดุ โครงสร้าง และเทคนิคการก่อสร้าง

(สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี) มกราคม 2559



สารบัญ หน้า ข้อมูลรายวิชา

-

1 ความรู้พื้นฐานเรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ความหมายและความสําคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ความเป็นมาของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

1 1 4

2 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนา การตั้งถิ่นฐานในล้านนา องค์ประกอบหมู่บ้านล้านนา เรือนล้านนา องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนล้านนา ประเพณีและความเชื่อในการปลูกเรือน ชื่อเรียกองค์ประกอบและขั้นตอนการปลูกเรือน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาเฉพาะถิ่นในจังหวัดต่างๆ

7 7 15 23 36 43 44 52

3 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือตอนล่าง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบภาคกลาง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบผสม

55 56 57

4 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไต ชุมชนและเรือนไตลื้อ ชุมชนและเรือนไตยอง ชุมชนและเรือนไตเขิน ชุมชนและเรือนไตใหญ่ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวเขา

63 63 63 76 87 95 100

5 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคกลาง เรือนไทยภาคกลาง เรือนพื้นถิ่นกลุ่มอื่นๆในภาคกลาง เรือนไทยมอญ เรือนลาวโซ่ง เรือนร้านค้าริมน้ํา เรือนแพ และศาลาท่าน้ํา

133 133 163 163 168 173


เรือนอิทธิพลตะวันตก กุฏิพระ

179 186

6 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมทางศาสนา ชุมชนและเรือนอีสาน

189 189 217

7 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใต้ สถาปัตยกรรมทางศาสนา สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมจีนและตะวันตก สถาปัตยกรรมพักอาศัยแบบพื้นเมือง

235 237 250 254

8 สรุป บทสรุป การประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บรรณานุกรม

263 263 273 281


ข้อมูลรายวิชา รหัสและชื่อวิชา สภาพรายวิชา

ระดับรายวิชา จํานวนหน่วยกิต จุดมุ่งหมายรายวิชา

42012308

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น Thai Vernacular Architecture หมวดวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ หลักสูตรปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา สถาปัตยกรรม ภาคเรียนที่ 2 ชั้นปีที่ 3 3 หน่วยกิต

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในภาค ต่างๆของไทย 2. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกหัดค้นคว้า เรียนรู้ และวิเคราะห์สถาปัตยกรรมพื้น ถิ่น ที่เกิดขึ้นจากค่านิยมทางวัฒนธรรม แบบแผนประเพณี คติความเชื่อ วัสดุก่อสร้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อม 3. เพื่อให้นักศึกษาเกิดความสํานึกในคุณค่าของงานออกแบบระดับพื้นบ้าน ของไทยที่มีคุณค่าต่อการดํารงชีวิต ทั้งในครัวเรือนและในชุมชน 4. เพื่ อ ให้ นั ก ศึ ก ษาฝึ ก หั ด ปฏิ บั ติ ก ารสํ า รวจ เขี ย นแบบ และวิ จั ย งาน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเบื้องต้น คําอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทบ้านเรือน ชุมชน และ วัดพื้นถิ่นในล้านนาและภาคต่างๆของไทย ด้านรูปแบบ คติการสร้าง วัสดุ โครงสร้าง และเทคนิคการก่อสร้าง มีทัศนศึกษา



เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 1

1 ความรู้พน ื้ ฐานสถาปัตยกรรมพืน ้ ถิน ่ ความหมายของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular architecture) หมายถึง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้าง ขึ้นในแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการนั้น ๆ รูปแบบ ของสิ่งก่อสร้างอาจจะพัฒนาไปจากรูปแบบเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการดําเนินชีวิต โดยใช้วัสดุก่อสร้างที่ หามาได้ตามท้องถิ่นนั้น ๆ การก่อสร้างเป็นการช่วยเหลือกันในชุมชน จากบุคคลทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก ผู้หญิ ง คนหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ อาจเป็น ผู้มีประสบการณ์ ทางการก่ อสร้างหรื อไม่มีก็ได้ การทํางาน ร่วมกันในชุมชนเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชนอย่างเป็น ธรรมชาติ (ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นงานศิลปะที่ไม่ใช่ผลผลิตของคนที่ชาญฉลาดหรือผู้ชํานาญเพียงสอง สามคน แต่เป็ นงานคิดค้นและสร้ างสรรค์ ที่เป็ นไปตามธรรมชาติ และกิจกรรมที่ ต่อเนื่องของประชาชน ทั้งหมดในสั งคมของแต่ ละสั งคม อาศัย ประสบการณ์และความชํ านาญของกลุ่ มชนทั้ งหมดสร้ างสรรค์ สถาปัตยกรรมขึ้นมา และถ่ายทอดต่อสมาชิกของสังคมรุ่นหลังๆ เปรียบดังการมอบมรดกทางวัฒนธรรม และสุนทรีย์ของสังคมแต่ละกลุ่ม (วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2544:12 อ้างจาก Bernard Rudofsky) อย่างไรก็ตาม การระบุอาคารใดเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้น มีผู้ให้ความหมายหรือขอบเขต ของอาคารที่จะนับเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ค่อนข้างแตกต่าง หรือครอบคลุมไม่เท่ากัน ทั้งนี้ โดยเฉพาะ เมื่อนําไปพิจารณาร่วมกับสถาปัตยกรรมไทย หรือสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี ในมุมมองของคนใน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


2 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คือ สถาปัตยกรรมของภาคต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรมพื้น ถิ่นภาคเหนือ พื้นถิ่นภาคอีสาน พื้นถิ่นภาคใต้ เป็นต้น โดยท่านเห็นว่าสถาปัตยกรรมไทย คือ สถาปัตยกรรม ในเมืองหลวง ได้แก่ สถาปัตยกรรมสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ นอกเหนือจากนี้คืองานพื้นถิ่นภาค ต่างๆ ในขณะที่อีกกลุ่มมองว่า สถาปัตยกรรมภายในเมือง ทั้งวัดวาอาราม บ้านเรือนที่สร้างถาวรด้วยไม้ และปูน เป็นสถาปัตยกรรมไทย แต่จําแนกออกเป็นไทยภาคต่างๆ และเห็นว่าเฉพาะเรือนพักอาศัยแบบ เครื่องผูก คือ เรือนที่สร้างกึ่งถาวรด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่ส่วนใหญ่จะให้น้ําหนักไปที่สถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่งานในเมืองหลวง และเน้นที่เรือนพักอาศัย และเรื อ นประกอบของชาวบ้ า นในชนบท หรื อ กล่ า วอี ก อย่ า งหนึ่ ง ได้ ว่ า สถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น คื อ สถาปัตยกรรมของสามัญชน หรือชาวบ้าน และหมายรวมถึงสถาปัตยกรรมทุกประเภท ทั้งอาคารพักอาศัย ทั้งชั่วคราวและถาวร อาคารสําหรับอาชี พ เช่น ยุ้งข้าว โรงเก็บ ของ โรงสี โรงปั้นหม้อ ฯลฯ ทั้ งอาคาร สาธารณะ วัดวาอารามในชุมชน ศาลากลางบ้าน ศาลาท่าน้ํา ศาลาริมทาง ฯลฯ ส่วนการจะรวมสถาปัตยกรรมของชนชั้นกลาง หรือผู้ที่พอมีฐานะ แต่ยังเป็นสามัญชน ไม่ได้เป็น เจ้านายหรือผู้มีบรรดาศักดิ์เข้าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่มีทั้งที่รวมและ ไม่รวม ตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมกลุ่มนี้ เช่น เรือนกาแลของภาคเหนือ และวัดต่างๆในตัวเมืองเก่าใน ต่างจังหวัด เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ หรือ สงขลา ที่แม้จะสร้างโดยกษัตริย์หรือเจ้าเมือง แต่ก็เป็นหัวเมือง ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครอง ความสําคัญและประโยชน์ของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มีความสําคัญนอกจากในแง่ที่เป็นเอกลักษณ์ประจําถิ่น หรือประจํากลุ่ม ชาติพันธุ์แล้ว ยังมีคุณค่าด้านวิถีชีวิตการอยู่อาศัย เพราะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มีทั้งที่มีคุณค่าทางศิลปะหรือ มีความงามอยู่ในตัวเอง และที่ไม่มีคุณค่าทางศิลปะดังกล่าวอยู่ ดังนั้น วัตถุประสงค์ ตลอดจนประเด็นของ การศึกษาจึงไม่ได้อยู่ที่ความงามทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่เป็นคุณค่าต่อการดํารงชีวิตและวิถีชีวิตของ มนุษย์ที่พักอาศัยในอาคาร และเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน หรือเป็นหมู่บ้านแล้วสามารถสะท้อน ชีวิตวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมนั้นๆ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของ สถาปัตยกรรมซึ่งมี ความสัมพันธ์กับชาติพันธุ์ หรือกล่าวได้ว่าแต่ ละกลุ่ม แต่ละชาติพันธุ์มักจะมีปัญญา สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน หรือแม้จะอพยพ ย้ายถิ่น ก็จะรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมของตนไว้ไม่มากก็น้อย สืบทอดกันจากรุ่นปู่รุ่นพ่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ต่อไป จนสามารถใช้ชาติพันธุ์มาเป็นหลักเบื้องต้นหรือหัวข้อในการศึกษางานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หลั งปี ค.ศ.1970 เป็น ต้น มา เกิ ดกระแสการปฏิ เสธสถาปัตยกรรมแบบ “สากลนิย ม” หรื อ International style ซึ่งได้รับความนิยมก่อนหน้านั้น เพราะรูปแบบสากลนิยมนั้น มักละเลยความเป็นจริง ของสังคม และค่านิยมทางความงามของคนทั่วไปและผู้ใช้อาคาร มีรูปทรงที่เกลี้ยงเกลาขาดลักษณะเด่น เฉพาะตัว เกิดเป็นแนวทางการออกแบบแนวทางหนึ่ง เรียกว่า “Post Modernism” หรือสถาปัตยกรรม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 3

หลั ง สมั ย ใหม่ แนวทางนี้ คื อ ความพยายามที่ จ ะดั ด แปลงรู ป แบบสถาปั ต ยกรรมแบบสากลนิ ย มมาสู่ สถาปั ตยกรรมพื้นถิ่ น (Vernacular) หรือดัดแปลงให้เข้ากั บรูปแบบประเพณีนิ ยม (Traditional Style) ด้วยเห็นว่า สถาปัตยกรรมแบบสากลนิยมนั้น ปฏิเสธคุณค่ารูปแบบประเพณีนิยม ด้วยเห็นว่าตายไปแล้ว และกักขังความคิดสร้างสรรค์ จึงหนีแบบประเพณีเดิม หาเอกลักษณ์ที่เป็นสากล แต่ขาดแรงยึดเหนี่ยวและ ไม่เห็นคุณค่าของอดีต (วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2544:10) การศึกษาและความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจึง เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ของการนําไปใช้สร้างสรรค์งานใหม่ที่ยึดโยงงานเก่าแบบประเพณี โดยสถาปนิกกลุ่มนี้ ส่วนหนึ่ง และประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอีกส่วนหนึ่ง เป็นการบันทึกมรดกที่เป็นสิ่งแสดง ตัว ตน เป็ นเอกลั กษณ์ ที่เกิดขึ้ นจากสมาชิ กของสั งคมโดยแท้ ผ่ านกาลเวลาที่ พิสู จ น์ความเป็ นของแท้ ที่ สอดคล้องเหมาะสมกับบริบททางสังคม กายภาพสิ่งแวดล้อม และความเชื่อ นอกจากนี้ ประโยชน์ส่วน อื่นๆที่เป็นผลทางตรงและทางอ้อมอาจพิจารณาได้ถึงประโยชน์ทางสุนทรียะ คือ ความสุขจากการได้ชื่นชม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เก่าแก่แต่งดงาม งามอย่างมีคุณค่า ทั้งด้านอายุ ด้านประวัติศาสตร์ และด้านศิลปะ การก่อสร้างผูกพันกับอดีต ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว สําหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะที่นิยมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม หรือของโบราณ หรือวิถีชีวิตชาวบ้าน ซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะเดินทางเอง เพียงลําพัง หรือกลุ่มเล็กๆ โดยไม่ใช้บริษัทท่องเที่ยว ตลอดจนประโยชน์ด้านการถ่ายภาพของนักถ่ายภาพ หรื อผู้ นิ ย มการถ่ ายภาพ ทั้ งมื ออาชี พและมื อสมั ครเล่น ที่ เดิ น ทางแสวงหาสิ่ งเร้ าใจเป็ น วั ตถุ ดิบในการ ถ่ ายภาพ และสถาปั ตยกรรมพื้ น ถิ่ น และสิ่ งแวดล้ อ ม ก็ เป็ น วั ตถุ ดิบ หนึ่ งที่ น่ า สนใจสํ าหรั บ นั ก ถ่ ายภาพ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกับวิถีชีวิตชาวบ้าน

เรือนพื้นถิ่น 4 ภาคของไทย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


4 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ความเป็นมาของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คําว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Vernacular Architecture เป็นคําที่เกิด ขึ้นมาในวงการวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ ก่อนนั้นจะมีแต่คําว่า “สถาปัตยกรรมไทย” หรือ “สถาปัตยกรรมแบบประเพณี” การมีชื่อเรียกว่า Vernacular Architecture ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จึงเป็นผลดี เพื่อให้แยกแยะความแตกต่างของสถาปัตยกรรมแบบประเพณีทั้งสอง ประเภทนี้ ศาสตราจารย์อัน นิมมานเหมินท์ ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ ได้พบเห็นเรือนพักอาศัยแบบไม้บั่วไม้จริง ในเชียงใหม่ในสมัยเด็ก เมื่อสําเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศมารับราชการเป็นอาจารย์ที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความสนใจกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในภาคเหนือ และภาคต่างๆ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า “เรือนไทยแบบดั้งเดิม” หรือ “เรือนไทยเดิม” ท่านได้เดินทางไปใน พื้นที่ต่างๆ ศึกษาและถ่ายภาพเรือนพื้นถิ่นไว้จํานวนหนึ่ง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2495 ถึงพ.ศ.2501 จนเมื่อ ถูกยืมตัวไปรักษาการคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปฏิบัติงานสอนและงาน บริ ห ารหลั กสูตรมาก ไม่ สามารถเดิ น ทางได้อีก แต่ได้ นํ าเอามางานสถาปั ตยกรรมพื้ น ถิ่ นมาสอนเน้ น ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ร่วมกับ รศ.เสนอ นิลเดช เขียนบทความวิชาการเรื่อง “เรือนไทยแบบดั้งเดิม” ลงในวารสารอาษา พ.ศ.2506 รวมทั้งนําเอาบทความนี้ไปนําเสนอในการประชุมวิชาการที่ฮาวาย พ.ศ. 2508 นับเป็นการริเริ่มศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทย หลังจากนั้น ครู อาจารย์ นักวิชาการ หลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์ และรองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์ เป็น กําลังหลักในการศึกษาวิจัยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอย่างจริงจังต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน จนถึงพ.ศ.2545 คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้เปิดทําการหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยตรงในระดับ มหาบัณฑิต และระดับดุษฎีบัณฑิตในพ.ศ.2557 มีนักศึกษาสถาปัตยกรรมให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อใน สาขานี้อย่างต่อเนื่อง แนวทางและวัตถุประสงค์ของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สําหรับแนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้น รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์ได้กล่าวไว้ ในการบรรยาย เรื่ อง แนวทางการศึ กษาค้ นคว้าสถาปัตยกรรมพื้ นถิ่ น เมื่ อ พ.ศ.2529 ที่มหาวิทยาลั ย ศิลปากร ว่า มีสองแนวทางใหญ่ๆ คือ 1. เป็นการศึกษาของสถาปนิกที่มีพลังสร้างสรรค์ในตัวสูงเพื่อแสวงหาแนวทางหรือแรงบันดาลใจ 2. เป็นการศึกษาตามแนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ต้องการค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ด้วยระบบวิธีที่เป็นระบบและเป็นขั้นตอน แนวทางแรก สถาปนิ กแสวงหาแรงบันดาลใจจากความงามหรือความคิ ดสร้างสรรค์หรือภู มิ ปัญญาในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตในถิ่นต่างๆ รับไว้ในความทรงจํา หรื อ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 5

บั น ทึ กไว้ ตามแบบฉบั บ ของตนเอง สร้ า งแรงบั น ดาลใจ พั ฒ นาเป็ น จิ น ตนาการ เป็ น ปั จ จั ยให้ เกิ ด พลั ง สร้างสรรค์ขึ้น แนวทางนี้ เป็นแนวทางของสถาปนิกที่มีประสบการณ์และพลังสร้างสรรค์ในตัวสูงอยู่แล้ว เป็นวิธี ที่ไม่เป็นระบบ ศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยไม่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดถึงขั้นวัดขนาดและเขียนแบบ อาคารอย่างประณีต เขาจะเลือกศึกษาเฉพาะงานที่มีคุณค่าโดยใช้ประสิทธิภาพของประสบการณ์ที่มีอยู่ใน ตัวประเมินคุณค่า ตรวจบันทึกและตรวจสอบงานด้วยการร่างภาพด้วยตนเอง เป็นการเขียนจากความ ประทับใจในสิ่งที่ตนเห็นอยู่เบื้องหน้า การบันทึกอย่างฉับไวเพื่อบันทึกความรู้สึก ความคิดความเข้าใจที่ เกิดขึ้นในเวลานั้นเอาไว้ บางภาพร่างอาจยากสําหรับผู้อื่นจะเข้าใจ แต่สําหรับตัวเขาเองจะเข้าใจอย่าง กระจ่างชัด เขาจะใช้เป็นข้อมูลเพื่อนําไปประยุกต์สร้างสรรค์งานออกแบบของตน เป็นการศึกษาค้นคว้า ส่วนตั ว มิได้มุ่งที่จะเผยแพร่ความรู้ความเข้ าใจจากการศึ กษาของตนให้ บุคคลทั่ว ไปรับ ทราบ หรื อรับ รู้ ร่วมกัน อีกแนวทางของสถาปนิกที่ค้นคว้าด้วยระบบวิธีการศึกษาที่เป็นระบบและขั้นตอน เป็นวิธีการ ศึกษาค้นคว้าให้เห็นคุณค่าด้านต่างๆของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เห็นวิวัฒนาการ รูปทรงที่เกี่ยวข้องกับชาติ พันธุ์วิทยาและความเชื่อที่ผูกพันอยู่ เพื่อเป็นแนวทางสําหรับมาประยุกต์ใช้กับสมัยปัจจุบัน เป็นการศึกษา เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพื่อหาเค้าเงื่อนของปัญหาในการดํารงชีวิตระดับชาวบ้านด้านที่อยู่ อาศัย ทําให้ทราบถึงภูมิปัญญาการแก้ปัญหาของชาวบ้าน อันเป็นปัญญาที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชน ด้วย การศึกษาจากอาคารตัวอย่าง จากข้อมูลที่ค้นคว้าได้ และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ วัตถุประสงค์และประเด็นของการศึกษา การศึ กษาสถาปั ตยกรรมพื้ นถิ่ น ไม่ว่ าจะเป็ นแนวทางแรกของสถาปนิ กเพื่ อการแสวงหาแรง บันดาลใจ หรือแนวทางที่สองเพื่อการอนุรักษ์ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม นั้น พิจารณาได้ว่ามีประเด็นของ การศึกษา 4 ประเด็น ผู้ทําการศึกษาอาจมุ่งเน้นศึกษาเพียงประเด็นใด หรือหลายประเด็น ตามแต่ที่ท่านจะ มองเห็นหรือให้ความสนใจ เป็นคุณค่าด้านต่างๆ ดังนี้ 1. คุณค่าทางศิลปะ 2. คุณค่าต่อการดํารงชีวิต 3. คุณค่าต่อการสะท้อนชีวิตและวัฒนธรรม 4. คุณค่าต่อความรู้ความเข้าใจลักษณะทางกายภาพของสถาปัตยกรรม การศึกษาคุณค่าทางศิลปะ เป็นการมุ่งเน้นที่ความงามความประทับใจของผู้พบเห็น เป็นความ งามที่เป็นเอกลักษณ์ สะท้อนความเป็นตัวตนของพื้นที่ตั้งหรือชาติพันธุ์ของสังคมผู้สร้างสรรค์ผลงาน ด้วย รูปร่างรูปทรง ลวดลายตกแต่ง วัสดุ ที่ว่างภายใน หรือองค์ประกอบอื่นของงาน การศึกษาคุณค่าต่อการดํารงชีวิต เป็นการมุ่งเน้นที่การแก้ปัญหาหรือข้อจํากัดในการอยู่อาศัย ทั้ง ด้านวัสดุ พื้นที่ สภาพแวดล้อม ฯลฯ เพื่อให้สามารถดํารงชีวิตได้ในอาคารนั้นๆ เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจาก สภาพที่ต้องเผชิญ สั่งสมสืบทอดต่อๆกันจากรุ่นสู่รุ่น สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


6 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

การศึกษาคุณค่าต่อการสะท้อนชีวิตและวัฒนธรรม เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นผลจากระบบสังคม ประเพณี ความเป็นอยู่ ตลอดจนคติความเชื่อที่สะท้อนออกมาในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม เช่น การ แบ่งแยกพื้นที่บนเรือน และบันไดทางขึ้นลง ให้เป็นพื้นที่และบันไดผู้ชายและผู้หญิง ที่อาจถูกมองว่าเป็น การกีดกันทางเพศ แต่ถ้าได้พิจารณาให้ลึกถึงระบบสังคมและสภาพแวดล้อม จะเข้าใจว่าเป็นการปกป้อง เพศหญิงที่อ่อนแอกว่า จากคนแปลกหน้า ซึ่งในสังคมนั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เป็นต้น การศึกษาคุณค่าต่อความรู้ความเข้าใจลักษณะกายภาพของสถาปัตยกรรม เป็นการมุ่งศึกษา ลักษณะทางกายภาพเป็นหลัก เข้าใจปัจจัยที่ก่อให้เกิดรูปสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับที่ตั้ง เช่น บ้านของ ชาวเขาเผ่าลีซอที่กําแพงบ้านเป็นดินก่อ หนา เพื่อป้องกันความหนาวเย็น เป็นต้น

ชุมชนท่าขนอน เตรียมการทีส่ ามารถลอยน้ําได้เมื่อน้ําหลาก และตั้งบนพื้นดินในหน้าแล้ง (ที่มา : สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, 2539)

บ้านของเผ่าลีซอ ผนังดินหนาป้องกันความหนาวได้ดี (ที่มา : สมัย สุทธิธรรม, 2541)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 7

2 สถาปัตยกรรมพืน ้ ถิน ่ ล้านนา การตั้งถิ่นฐานในล้านนา ชุมชนในล้านนา และองค์ประกอบชุมชน

แผนที่ประเทศไทย บริเวณภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


8 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ล้านนาในอดีตคืออาณาจักรหนึ่งในภูมิภาคอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีศูนย์กลาง อยู่ที่เมืองเชียงใหม่ มีพื้นที่ครอบคลุมทางตอนเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน บางส่วนของประเทศพม่าและ จีนในบางช่วงเวลา ก่อตั้งขึ้นโดยพญามังราย กษัตริย์เมืองเงินยาง (ตั้งอยู่บริเวณอําเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงรายในปัจจุบัน) ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 เจริญรุ่งเรืองในยุคแรก ประมาณ 260 ปีก่อนจะตกต่ําลง ถูกพม่ายึดครองและปกครองอยู่ประมาณ 200 ปี จนพญากาวิละและน้องๆได้ร่วมกับกองทัพธนบุรีทํา สงคราม “ฟื้นม่าน” ขับไล่พม่าออกไปได้ในสมัยพระเจ้าตากสิน มีสภาพเป็นประเทศราชของสยามในเวลา ต่อมา ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสยามในฐานะมณฑล และกลายเป็นภาคเหนือของประเทศ ไทยในที่สุดเมื่อปี พ.ศ.2476 ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองหลังสงครามฟื้นม่าน พลเมืองเหลือน้อย กองทัพล้านนาภายใต้การนํา ของพญากาวิละและน้องๆ ได้ยกออกไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองที่อยู่รอบๆล้านนา เพื่อรวบรวมเข้ามาเป็น พลเมืองล้านนา ช่วยกันสร้างบ้านเมืองกลับสู่ความเจริญอีกครั้ง เราเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บ ข้าใส่เมือง” ทําให้พลเมืองล้านนาจากเดิมที่เป็นกลุ่มพญามังรายหรือกลุ่มเมืองเงินยาง กลุ่มเม็งหรือมอญ โบราณจากแคว้นหริภุญชัย และกลุ่มลัวะหรือกลุ่มพื้นเมืองเดิมที่อาศัยในบริเวณนี้ กลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ หลากหลายที่กวาดต้อนจากเมืองต่างๆ ได้แก่ ไตใหญ่ ไตลื้อ ไตเขิน ไตยอง สร้างความหลากหลายของ วัฒนธรรมที่ผสมผสานกันขึ้น แม้กลุ่มคนที่กวาดต้อนมานี้ จะแยกกันตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนขึ้นเป็นกลุ่มก้อน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ขนบประเพณีก็หลอมรวมผสมผสานกัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่างๆอพยพเข้ามาสู่พื้นที่อีกเป็นจํานวนมาก ส่วนใหญ่อพยพลงมาจากทางเหนือ ได้แก่ ชาวเขาเผ่า ต่างๆ และกลุ่มคนจีนจากประเทศจีน ปัจจุบันเรานับเอาดินแดนตอนบนของไทย ได้แก่ เขต 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลําพูน ลําปาง แพร่ เป็นภูมิภาคล้านนา เพราะเป็น ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาในอดีต และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เป็นแบบล้านนา มีเมืองเชียงใหม่เป็น เมืองหลวงหรือศูนย์กลางตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 9

สภาพภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐานของชาวล้านนา

ลักษณะทั่วไปของล้านนาเป็นทีร่ าบหุบเขาสลับกับเทือกเขาสูง

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรือล้านนาเป็นเทือกเขาสูง ทอดยาวขนานกันตามแนวเหนือ-ใต้ มีที่ราบหุบเขาอยู่ระหว่างเทือกเขาเหล่านี้ ลักษณะทั่วไปจึงเป็นที่ราบ หุบเขาสลับกับเทือกเขา เทือกเขาในภาคเหนือเป็นแหล่งกําเนิดแม่น้ําสําคัญ 4 สาย คือ แม่น้ําปิง วัง ยม และน่าน ไหลผ่านเขตที่ราบหุบเขา พื้นที่ทั้งสองฝั่งลําน้ําจึงมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะ มีตะกอนโคลนตมที่น้ําพัดพามาและเป็นพื้นที่ชุ่มน้ํา ทําให้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เกิดเป็นชุมชนและ เมืองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ําสายสั้นๆ เป็นแม่น้ําสาขาของสายหลักอีกหลายสาย เช่น แม่น้ํากก และ แม่น้ําอิง ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ําโขง แม่น้ําปาย แม่น้ําเมย และแม่น้ํายวม ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ําสาละวิน และเนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ํามีน้อย ประกอบสภาพพื้นที่ที่ไม่เป็นที่ราบเรียบนัก ชาวล้านนาจึง ไม่ได้เลือกตั้งถิ่นฐานตามริมแม่น้ํา หรือที่ราบลุ่มน้ําเป็นหลัก และไม่ได้อาศัยน้ําจากแม่น้ําลําคลองโดยตรง ในการดํารงชีวิตและทําการเกษตร แต่จะแก้ปัญหาการหาแหล่งน้ํากินน้ําใช้ด้วยการขุดบ่อน้ําในบริเวณบ้าน และการใช้ระบบเหมืองฝายเพื่อชักนําน้ําจากแหล่งน้ําธรรมชาติเข้าสู่บ้านเรือน และเรือกสวนไร่นา ถึงกับมี ความเชื่อที่กล่าวถึงบ้านว่า บ้านจะเป็นบ้านที่สมบูรณ์ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ ครัวไฟ ครก มอง หลองข้าว และบ่อน้ํา (The Siam Society, 1966: 27) กับการมีวัฒนธรรมการจัดการเหมืองฝายที่เข้มแข็งและชัดเจน มีแก่ฝาย แก่เหมือง (ผู้สูงอายุที่ คนเคารพนับถือ) ที่คอยจัดการหรือตัดสินกรณีพิพาทเกี่ยวกับน้ํา (ชัชวาล ทองดีเลิศ, 2542: 56) รวมทั้งมี

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


10 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

กฎระเบียบ กฎหมายเกี่ยวกับเหมืองฝายมาแต่โบราณสมัยพญามังราย (ประเสริฐ ณ นคร, 2514: 83) แสดงว่าชาวล้านนาให้ความสําคัญกับบ่อน้ําและเหมืองฝายมาก และถือเป็นสิ่งสําคัญในบ้าน

คติล้านนา เรื่อง องค์ประกอบที่ทําให้เป็นบ้านสมบูรณ์แบบ

การจัดการน้ําด้วยระบบเหมืองฝายของชุมชนล้านนา ด้วยภูมิประเทศที่ไม่ใช่ที่ราบเหมือนภาคกลาง แต่ประกอบไปด้วยภูเขา เนินและที่ราบสูงต่ํา ไม่เสมอกันของล้านนา การนําน้ําจากแหล่งน้ําธรรมชาติ คือ แม่น้ํา ไปสู่พื้นที่ต่างๆที่ห่างไกล ออกไปเพื่อ การบริ โ ภคและเกษตรกรรมจึ งต้ องอาศั ย การชลประทานที่ ดีและได้ ผ ล ชาวล้ านนารู้ จั กการทํ าระบบ ชลประทานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายหรือก่อนหน้านั้น และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อเท็จจริง เกี่ยวกับระบบเหมืองฝายของล้านนาพอสรุปได้ ดังนี้ - พงศาวดารโยนกตอนหนึ่ ง ว่ า “ข้ าจั ก ลอมน้ํ าอั น หนึ่ ง ฟากน้ํ าปิ ง กล้ํ าวั น ออกให้ เป็ น แม่ น้ํ า ให้ ชาวบ้านชาวเมืองแป๋งฝายเอาน้ําเข้านา” - ชุมชนทําระบบเหมืองฝายเอง ทางการหรือชนชั้นปกครองไม่ได้ทําให้ แต่จะกําหนดนโยบายหรือ ให้คําแนะนําหรือจัดการเหมืองฝายขนาดใหญ่ให้ และส่งน้ําให้ชาวบ้านจัดการระบบเหมืองฝาย ขนาดเล็กในแต่ละชุมชนเอง - ชนชั้นปกครองขุดเหมืองทําฝายเป็นพิธีกรรมแสดงอํานาจ เช่น พญามังรายขุดร่องน้ําประกาศชัย ชนะต่อหริภุญชัย - มังรายศาสตร์กําหนดให้เป็นการร่วมแรงกันสร้างและบํารุงรักษาเหมืองฝาย มีการกําหนดโทษใน การขโมยน้ําและทําเหมืองฝายชํารุดไว้ว่า “มันผู้ใดทําลายฝาย ให้เอาไปตัดหัว” - ชาวล้านนามักเลือกทําเหมืองฝายบริเวณที่มีห้วยไหลมาจากเขา หรือตอนบนสุดของที่ราบ โดยทํา ทํานบกั้นแล้วส่งน้ําไปตามลําเหมืองสู่ที่ราบข้างล่าง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 11

- เหมืองขนาดใหญ่ทําขวางลําน้ํา ยกระดับน้ําขึ้น ไหลสู่ลําเหมืองส่งไปเลี้ยงทุ่งนาได้เป็นบริเวณกว้าง โดยทําลําเหมืองขนาดต่างๆลดหลั่นกันไป - ฝาย ใช้ไม้เป็นหลัก ตอกกั้นลําน้าเป็นแนวหนา โคนเสาเป็นตะแกรงไม้ไผ่สาน บรรจุแขนงไม้ลงไป หินกรวดทรายเททับลงไปเป็นคันกั้นน้ํา - เหมืองเก่าแก่ คือ เหมืองแข็ง สร้างสมัยพญามังราย อ้ายฟ้าเกณฑ์ชาวหริภุญชัย มาขุดเหมือง ขนาดใหญ่เชื่อมน้ํากวงกับน้ําแม่ปิงผ่านบริเวณพันนาเชียงเรือ ต่อมาสมัยพญากือนาเปลี่ยนชื่อเป็น เหมืองแก้ว - แก่ฝาย และแก่เหมือง คือหัวหน้าชาวบ้านที่คอยดูแลการแจกจ่ายน้ํา ยุติข้อพิพาทแย่งน้ํา และ ปัญหาอื่นๆในการบริหารจัดการน้ํา รวมถึงการกําหนดวันเวลาในการเกณฑ์กําลังชาวบ้านมาสร้าง หรือซ่อมแซม ขุดลอก เหมืองฝาย ซึ่งชาวบ้านจะเลือกผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านยอมรับนับถือ มีคุณธรรม ชาวบ้านเชื่อถือ - ปัจจุบันยังมีหลายพื้นที่ที่ชาวบ้านร่วมกันวางกฎระเบียบการใช้น้ําขึ้นใช้เฉพาะถิ่น ต่างๆกันไป แล้วแต่พื้นที่ มีธรรมเนียมการลงโทษผู้ฝ่าฝืน แต่ลดน้อยลงไปมาก ความเจริญ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ เกิดความขัดแย้ง แก่ฝาย แก่เหมืองก็ไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยหรือ ยุติข้อพิพาทได้ เพราะเป็นนายทุนจากนอกพื้นที่ - ฝายชาวบ้าน ทําจากไม้หลัก หินกรวดทราย กั้นน้ําในแม่น้ําได้เมื่อน้ําไหลเอื่อย ยกระดับน้ําขึ้นได้ เพื่อให้ไหลเข้าสู่เหมือง เมื่อฤดูน้ําหลาก กระแสน้ําไหลแรงและเร็ว หินกรวดทรายจะถูกพัดออกไป น้ําจึงไหลผ่านได้สะดวก น้ําจึงไม่ท่วม ฝายปัจจุบันทําจากคอนกรีตเสริม คงทนถาวร แต่ไม่สามารถ ระบายน้ําในฤดูน้ําหลากได้ ประตูน้ําที่ทําไว้เปิดได้ก็ไม่มากพอ น้ําจึงท่วมล้นตลิ่ง อีกทั้งชาวบ้านก็ ไม่ได้ มาร่ว มแรงร่วมใจกันซ่ อมฝายหลั งฤดูน้ํ าหลากซึ่งเคยทํากันเป็นประจําทุ กปีเป็ นการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ที่นัดหมายมาซ่อมฝาย ลอกเหมืองอีกต่อไป

ลักษณะฝายของชาวบ้าน

ชาวบ้านช่วยกันตีฝาย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


12 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

น้ําเหมืองหรือลําเหมืองนําน้ําเข้าสู่สวน บ้านเรือน และไร่นา •

ระบบเหมืองฝายของชาวล้านนา

“หลุก” เครื่องมือชลประทานของชาวล้านนาในอดีต หมุนเองด้วยแรงน้ําไหลพร้อมกับตักน้ํา ขึ้นไปรินใส่รางไม้ไผ่ด้านบนเพื่อนําน้ําจากแม่น้ําขึ้นสู่ฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ําโดยไม่ต้องใช้พลังงานใดๆ อีกทั้งยัง ทํางานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องควบคุม ตราบเท่าที่น้ํายังไหลอยู่ บางแห่งอาจใช้การปักไม้ในลํา น้ําเป็นแนวหน้าหลุก บังคับน้ําให้ไหลเข้าสู่แนวหลุก ทําให้น้ําไหลแรงขึ้น หลุกทําหน้าที่เหมือนระหัดวิดน้ํา ในภาคกลาง แต่ในภาคกลางมีลมแรง โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ทะเล จึงสามารถใช้แรงลมเป็นแหล่งพลังงานโดย ใช้กังหันลมขับเคลื่อนระหัดให้ทํางานได้ นอกจาก หลุกแรงน้ําไหลแล้ว ยังมีหลุกแรงควายที่ใช้ควายฉุดคันลากเดินรอบหลักเพื่อฉุด แกนให้หมุน ส่งกําลังมาหมุนหลุกอีกทอดหนึ่ง ใช้ในกรณีที่แรงน้ําไหลไม่พอจะพัดหลุกให้หมุนได้ หรือใช้กับ แหล่งน้ําที่น้ําไม่ไหล เช่น หนองน้ํา

“หลุก” เครื่องมือนําน้ําขึ้นจากแหล่งน้ํา (ภาพโดยบุญเสริม สาตราภัย)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 13

หลุกแรงน้ํา หลุกแรงควาย •

หลุก เครื่องวิดน้ําของล้านนา

ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน ด้วยลักษณะพื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง มีที่ราบหุบเขาหรือบริเวณที่ราบระหว่างเทือกเขา ดังกล่าว ชาวล้านนาจึงมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานขึ้นใน 2 บริเวณคือ (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2539: 6) 1. บนที่สูงตามทิวเขา บริเวณนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ อาศัยน้ําจากแหล่งน้ําลํา ธาร ทําไร่เลื่อนลอย 2. บนที่ ร าบลุ่ ม บริ เ วณนี้ เ ป็ น ที่ ตั้ง ของชาวล้ า นนาทั่ ว ไป รวมทั้ ง กลุ่ ม ชาติ พั น ธ์ ที่ ป รั บ ตั ว หรื อ ผสมผสานเข้ากับชาวพื้นราบทั่วไปกลาย เป็นส่วนหนึ่งของชาวล้านนา ทํานาดํา โดยใช้ระบบเหมืองฝายนํา น้ําไปเลี้ยงไร่นาและเพื่อบริโภค ลักษณะหมู่บ้าน จากลักษณะการตั้งถิ่นฐานตามลักษณะภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเหนือ และจากการศึกษารวบรวม ของนักวิชาการหลายท่าน (อัน นิมมานเหมินท์, 2532: 186, อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2539: 7, ฤทัย ใจจงรัก, 2543: 5) พอจะสรุปได้ว่าลักษณะหมู่บ้านหรือชุมชนในภาคเหนือพอแบ่งได้หลายลักษณะ คือ 1. หมู่บ้านป่าหรือชนบท คือหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากทางสัญจรหลัก ติดต่อกับโลกภายนอกน้อย พยายามพึ่งตนเอง เรือน พักอาศัยจึงพยายามสร้างจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น 2. หมู่บ้านภูเขา คือหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านตามภูเขาในระดับความสูงต่างๆ ในอดีต ทําไร่เลื่อนลอยย้ายหมู่บ้านบ่อย แต่ปัจจุบันราชการจัดให้ตั้งหลักแหล่งอยู่ประจําไม่ทําไร่เลื่อนลอยและย้าย หมู่บ้านอีกต่อไป 3. หมู่บ้านริมน้ําหรือริมทาง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


14 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

คือหมู่บ้านที่เกิดตามริมแม่น้ํา ลําคลอง หรือเส้นทางสัญจร มีลักษณะยาวไปตามลําน้ําหรือเส้นทาง พื้นที่ด้านหลังหมู่บ้านมักเป็นสวน ถัดจากสวนเป็นทุ่งนา อาศัยลําน้ําในการกินและใช้ และเป็นทางสัญจร หมู่บ้านริมทางในอดีตเกิดจากการเป็นจุดพักของคนเดินทางที่ต้องเดินทางไกล ชาวบ้านชาวป่าจึงมาปลูก เพิงเพื่อขายอาหารหรือของจําเป็นอื่นๆ หรือแลกกับสินค้าบนเกวียน เมื่อผู้เดินทางมากขึ้น เพิงมากขึ้น ที่สุดก็กลายเป็นเรือนพักอาศัยและชุมชนหรือหมู่บ้านขึ้น ส่วนหมู่บ้านริมทางยุคปัจจุบันเกิดขึ้นเพราะอาศัย ถนนเส้นทางสัญจรเป็นปัจจัยในการค้าขาย ขนส่งสินค้าและเดินทาง 4. หมู่บ้านดอน คือหมู่ บ้านที่เกิ ดขึ้นห่ างจากแม่น้ําลํ าคลอง มักตั้งอยู่ร วมกั นบนที่ ดอนหรือพื้นที่ที่สูงกว่านาที่อยู่ โดยรอบ มักขุดสระน้ําหรือบ่อน้ําเพื่อกินใช้ในหมู่บ้าน และใช้น้ําฝนหรือน้ําบ่าในการทําการเกษตร 5. หมู่บ้านภายในหรือรอบเมืองตลาด คือหมู่บ้านที่อยู่ภายในหรือรอบเมืองตลาด ตลาดที่มักเกิดขึ้นติดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น แหล่งตัวกลางแลกเปลี่ยนค้าขายของเมืองใหญ่กับชนบท หรือระหว่างชุมชน มีความเจริญมากกว่าหมู่บ้าน ในชนบทอื่น เพราะได้รับเทคนิค ความนิยมและวัสดุก่อสร้างจากเมืองใหญ่ บ้านเรือนจะดูเป็นหลักเป็นฐาน ฝีมือก่อสร้างดีจากช่างมืออาชีพ ไม่สร้างกันเองแบบลงแขก 6. หมู่บ้านในเขตเมือง คือหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหรือชานเมือง แม้จะไม่มีความสัมพันธ์กันแบบหมู่บ้าน เพราะได้รับ ค่ านิ ย มและระบบสั ง คมแบบใหม่ แต่ รู ป กายภาพยั งแสดงร่ อ งรอยของหมู่ บ้ าน และยั งมี เรื อนที่ แสดง เอกลักษณ์และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้ของชนชั้นกลาง 7. หมู่บ้านกระจาย คือหมู่บ้านที่ตั้งแบบกระจายตัวเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยหรือเป็นหลังๆแยกกันตามพื้นที่นาหรือที่สวน ของตนเอง ความผูกพันกันในหมู่บ้านน้อยกว่าแบบอื่นๆ อาจเป็นเพราะมาจากต่างถิ่น ไม่พึ่งพาอาศัยกัน

หมู่บ้านภูเขา

หมู่บ้านดอน

หมู่บ้านริมทาง

หมู่บ้านริมน้ํา

หมู่บ้านรอบเมืองตลาด

หมู่บ้านกระจาย

ลักษณะหมู่บ้านหรือชุมชนในล้านนา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 15

องค์ประกอบหมู่บ้านล้านนา องค์ประกอบชุมชนหรือหมู่บ้านของชาวล้านนา มักจะประกอบด้วย 1. ที่ว่างสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน หลายหมู่บ้านจะมีที่ว่างสาธารณะของหมู่บ้าน อาจเป็นที่ ว่างบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือที่ว่างหน้า วัดประจําหมู่บ้าน มีไว้สําหรับใช้งานเอนกประสงค์ สระหรือหนองน้ํา หรือบ่อน้ํา สําหรับสาธารณะให้ทุกคน ได้ใช้ 2. ตลาด แหล่งพบปะเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและอาหาร ทั้งระหว่างหมู่บ้านกับภายนอก และภายใน ชุมชนหมู่บ้านเอง ตลาดอาจไม่ได้มีทุกหมู่บ้าน อาจรวมหลายหมู่บ้านใช้ตลาดแห่งเดียว 3. วัด เป็นสถานที่ทางพุทธศาสนา หมู่บ้านหรือชุมชนมักสร้างขึ้นไว้ใช้งาน มักใช้ชื่อเดียวกับชื่อหมู่บ้าน เพราะวิถีชีวิตของชาวชนบทจะผูกพันกับพระสงฆ์และวัดตลอดชีวิต พระสงฆ์มีส่วนในการประกอบพิธีกรรม ต่างๆตั้งแต่เกิดจนตาย และวัดยังเป็นศูนย์กลางทางสังคมที่เป็นที่พบปะพูดคุย ปรึกษาหารือเรื่องต่างๆ มีพระ เป็นประธานหรือที่ปรึกษา ปัจจุบันวัดบางแห่งบางหมู่บ้านยังถูกใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสาธารณะสําหรับ บริการชุมชนด้วย 4. พื้นที่สําหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจําหมู่บ้าน พื้นที่ที่เป็นจุดที่เริ่มสร้างหมู่บ้าน มีชัยภูมิดี เช่นเป็นที่ดอน มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา ฯลฯ จะเป็น พื้นที่สําหรับเสื้อบ้าน หรือหอเสื้อบ้าน เป็นที่สิงสถิตของผีเสื้อบ้าน บางทีเรียก อารักษ์ บางแห่งเรียก หอ เจ้านาย ซึ่งเป็นผีประจําหมู่บ้าน ไว้คอยปกปักรักษาหมู่บ้านและคนในหมู่บ้าน ลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ขนาดเล็ก นอกจากนี้จะมีเสาใจบ้าน หรือเสาหลักบ้าน เหมือนที่เมืองมีเสาหลักเมือง ใจบ้านกับข่วงบ้าน หรือที่ว่างกลางหมู่บ้าน อาจเป็นที่เดียวกันหรือไม่ก็ได้ เสาใจบ้านมักจะตั้งบริเวณที่เป็นจุดตัดกันของแกน เหนือ-ใต้ และแกนออก-ตกของหมู่บ้าน และอาจย้ายที่ตั้งได้เมื่อโครงสร้างของชุมชนเปลี่ยนแปลง 5. สุสานหรือป่าช้า ประเพณีนิยมเกี่ยวกับงานศพในล้านนา เมื่อมีคนตาย ลูกหลานจะตั้งศพทําบุญที่บ้าน เมื่อจะเผา ศพ ก็จะไม่ไปเผาที่วัด แต่จะมีสุสานหรือป่าช้าไว้สําหรับเป็นการเฉพาะ เป็นพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ใช้ เป็นฌาปนสถาน สมัยก่อนใช้การฝัง และเปลี่ยนมาใช้การเผาศพในสมัยนี้ มักตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้าน เลยกลุ่ม บ้านออกไป เราจึงจะไม่ค่อยพบเห็นเมรุเผาศพในวัดล้านนา เหตุผลประการหนึ่งคือ ล้านนาถือเรื่องการเผา ศพในเขตหมู่บ้านหรือเมือง วัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านหรือเมืองจึงไม่เหมาะสําหรับเผาศพ จึงมีป่าช้าเป็นที่เผาศพ ไว้เป็นการเฉพาะ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหรือนอกเมือง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


16 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

6. บ้าน ที่พักอาศัยของคนในหมู่บ้าน เป็นองค์ประกอบหลักของชุมชน ประมาณร้ อยละ 70 -80 ของ ชุมชนจะเป็นบ้าน (ไม่รวมพื้นที่ทํากิน) 7. แหล่งทํากิน พื้นที่สําหรับทํากิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้องและการประกอบอาชีพ บางแห่งหมายถึงเป็นเรือกสวนไร่ นา บางแห่งอาจหมายถึงแหล่งน้ําสําหรับประมง

องค์ประกอบชุมชนในล้านนา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 17

ผังบริเวณและองค์ประกอบบ้านล้านนา องค์ประกอบของบ้าน ในเขตบ้าน ซึ่งหมายถึงทั้งบริเวณที่ประกอบไปด้วย ตัวเรือน หลองข้าว ครัวไฟ ครกมอง น้ําบ่อ คอกสัตว์ บริเวณที่ว่างหรือข่วง และอื่นๆที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นทรัพย์สินของครอบครัวๆหนึ่ง บ้าน ชนบทในวัฒนธรรมล้านนาไม่ว่าขนาดไหนมักจะมีองค์ประกอบต่างๆดังนี้ 1. รั้ว รั้วบ้านนั้นสร้างขึ้นเพียงเพื่อแสดงอาณาเขตเป็นหลัก เพราะป้องกันภัยไม่ได้ เพราะเป็นรั้ว สร้างง่ายๆด้วยไม้ไผ่หรือปลูกต้นไม้เป็นแนวแทนรั้ว รั้วมีหลายชนิด บางชนิดใช้ป้องกันสัตว์ได้ ชนิดของรั้วที่ นิยมสร้างกันคือ - รั้วต๋าแสง ไม้ไผ่ผ่าซีกสานขัดเป็นตารางห่างๆ - รั้วสะลาบ ไม้ไผ่ผ่าซีกขัดแตะถี่ๆ - รั้วค่าวหรือรั้วตั้งป่อง ไม้รวกขนาดเล็กสามถึงสี่ท่อนเรียงกันพาดกับเสาปีกไม้หรือไม้ซางใหญ่เจาะรู - รั้วต้นไม้ ปลูกต้นไม้ประเภทชา ปลูกให้เป็นแนวแทนรั้ว ไม่นิยมปลูกไม้กินได้เป็นรั้ว

รั้วต๋าแสง(บน) รั้วตั้งป่อง(ล่าง) รั้วไม้สะลาบ(บน) รั้วต้นไม้(ล่าง)

รั้วบ้านของชาวล้านนา

นอกจากนี้ ยั ง พบรั้ ว ไม้ จ ริ ง ตี ตั้ ง เว้ น ร่ อ ง ซึ่ งไม่ ไ ด้ เ ป็ น แบบประเพณี ดั้ง เดิ ม ของล้ า นนา เกิดขึ้นในยุคใช้ตะปู แต่ก็ดูกลมกลืน ไม่ทําให้เสียบรรยากาศเรือนพื้นถิ่นล้านนา รั้วแบบนี้ได้รับความนิยม พบเห็นได้ทั่วไปในระยะเวลาที่ผ่านมา ก่อนที่ไม้จะเริ่มจํากัด หายากขึ้น ไม่ได้ตัดจากป่าได้ง่ายเหมือนเดิม และการเกิดขึ้นของคอนกรีตบล็อก กําแพงก่อคอนกรีตบล็อกจึงเริ่มเข้ามาผสมผสานกับรั้วไม้ และแทนที่ไม้ ในที่สุด

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


18 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

2. ข่วง ลานโล่งในบริเวณบ้าน เป็นตัว เชื่อมระหว่างเรือน หลอง น้ํ าบ่อ สวนครัว ฯลฯ เป็ นลาน เอนกประสงค์ เช่น ตากผลผลิตทางการเกษตร เด็กใช้วิ่งเล่น ลักษณะเป็นลานดิน ส่วนใหญ่จะกวาดจนเกลี้ยง สะอาดไม่ปล่อยให้หญ้าหรือวัชพืชขึ้น ไม่นิยมสนามหญ้าตามแบบตะวันตก ข่วงโล่งๆนี้ ยังช่วยป้องกันแมลง และสัตว์ร้ายที่จะเลื้อยเข้าบ้านเพราะสังเกตได้โดยง่าย อีกทั้งมีเป็ดไก่ที่เลี้ยงปล่อยบริเวณบ้านช่วยจิกกินได้ และเมื่อคราวจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ งานบวช งานไหว้ผีปู่ย่า ก็จะใช้พื้นที่นี้สร้างผ๋าม หรือปะรําพิธี หรือตั้งปราสาทศพ หรือสร้างห้างซอให้ช่างซอตั้งวงซอเล่นในงานรื่นเริง และใช้ชุมนุมคนในงานได้ โดยเฉพาะ บ้านเก๊าหรือบ้านของลูกสาวคนโตที่จะต้องมีตูบผีไว้ที่ข่วงบ้าน และมีการไหว้ประจําปี ซึ่งลูกหลานมารวมกัน

ข่วงหรือลานบ้าน ใช้งานเอนกประสงค์

ข่วงหรือลานบ้านใช้จัดงานศพ งานบวช และงานอื่นๆ •

ข่วงบ้านล้านนา

3. น้ําบ่อ หรือบ่อน้ํา แหล่งน้ําสําคัญของบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่ห่างจากแหล่งน้ําอื่นๆ เช่น แม่น้ํา ลําคลอง หรือลําเหมือง ส่วนมากจะมีสวนผักหรือไม้ประดับอยู่ใกล้ เพื่ออาศัยน้ําจากบ่อ ทั้งที่สะดวกต่อการ รดและน้ําที่หกเหลือจากการตักใช้ น้ําบ่อนี้เป็นสิ่งจําเป็นและเป็นส่วนที่ทําให้บ้านสมบูรณ์ตามอุดมคติก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีทุกบ้าน เพราะบางพื้นที่ไม่มีน้ําใต้ดิน หรือใช้ร่วมกันของเพื่อนบ้านหรือเครือญาติ ซึ่งเป็นระบบ สังคมที่เอื้ออาทรกัน แบ่งปันกัน ไม่หวง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 19

4. ต๊อมน้ํา ที่อาบน้ําสําหรับหญิงสาว เป็นกําแพงสูงกั้นเป็นคอก ไม่มีหลังคา ทางเข้าไม่มีประตู แต่ทํา เป็นกําแพงสองชั้นบังสายตา รอบๆนิยมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหรือผักสวนครัว เพราะได้อาศัยน้ําจากการ อาบ และช่วยบังสายตา ส่วน ส้วม สําหรับขับถ่าย นิยมสร้างเป็นเรือนโดดแยกจากเรือนใหญ่ อยู่ด้านหลัง ใกล้กับบันไดลงด้านหลังเรือน 5. สวนครัว พื้นที่ปลูกผักสวนครัวเพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ผักต่างๆ พริก มะเขือ โหระพา มะนาว มะกรูด ฯลฯ โดยที่สวนผักบางชนิดอาจถูกสัตว์เหยียบย่ําหรือกินก็จะล้อมรั้วสะลาบ และเรียกสวน ที่ล้อมรั้วว่า สวนฮี้ และเรียกรั้วที่ล้อมสวนนี้ว่า ฮั้วฮี้

องค์ประกอบบ้านล้านนา : น้ําบ่อ ต้อมน้ํา และสวนครัว

6. ผ๋าม โรงหรือเพิงสําหรับผูกวัว ผูกควาย 7. ก๊างเฟือง ห้างสําหรับเก็บฟางไว้สําหรับเลี้ยงวัวควาย ลักษณะเป็นโรงเรือนอย่างง่าย ยกพื้นสูง หลังคาจั่วหรือเพิงมุงตองตึงหรือแฝก

องค์ประกอบบ้านล้านนา : ก๊างเฟือง และผ๋ามเลี้ยงสัตว์

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


20 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

8. ศาลหรือหอผีหรือตูบผี ที่สถิตของผีปู่ย่า(ผีบรรพบุรุษ) มักสร้างไว้มุมบ้านด้านหัวนอน ลักษณะ เป็นเรือนสี่เสา ขนาดเล็ก ภายในเป็นที่ว่างไม่มีรูปเคารพใด หอผีนี้ไม่ได้มีทุกบ้าน แต่จะมีเฉพาะบ้านเก๊า หรือบ้านฝ่ายชายที่รับฝ่ายหญิงมาเป็นสะใภ้ แต่หญิงนั้นเป็นลูกสาวคนโตของบ้านซึ่งมีหน้าที่รักษาผีปู่ย่า ของฝ่ายตนเอง จึงต้องเชิญผีปู่ย่าฝ่ายตนมาด้วยแต่ไม่สามารถนําขึ้นเรือนได้ เพราะบนเรือนมีผีปู่ย่าของฝ่าย ชาย(บนหิ้งผี)อยู่แล้ว จึงต้องสร้างหอผีไว้ในบริเวณบ้านให้ผีปู่ย่าฝ่ายตนสิงสถิตอยู่ ส่วนศาลเจ้าที่ หรือ ศาล พระภูมิจะเป็นศาลขนาดเล็ก มีเสาเดียว บางบ้านจะมีไว้ด้วย 9. ครัวไฟ หรือ เรือนครัว บ้านบางหลังไม่ทําครัวบนเรือน แต่จะสร้างครัวไฟไว้ต่างหากในบริเวณ บ้าน ซึ่งมักจะเป็นเรือนติดพื้นดิน ไม่ยกพื้นเหมือนเรือน

องค์ประกอบบ้านล้านนา : ตูบผี และครัวไฟ

10. หลองข้าว หรือยุ้งข้าว เรือนเก็บข้าวเปลือก เป็นอาคารยกใต้ถุนสูง สร้างอย่างแข็งแรง ส่วนใหญ่ สร้างเป็นเรือนโดดแยกจากเรือนใหญ่ เพราะความเชื่อเรื่องผี และการป้องกันหนู ใต้ถุนใช้เก็บเครื่องมือทาง การเกษตรและเกวียน(ล้องัว) มีผนังไม้ที่ตีไม้ฝาไว้ด้านในโครงเคร่า ต่างจากเรือนทั่วไป เพราะต้องรับแรง จากน้ําหนักของข้าวเปลือกที่เก็บอยู่ภายใน สําหรับบ้านที่ฐานะไม่ดี มีผลผลิตน้อย ก็ไม่สร้างหลองข้าว แต่ จะใช้ที่เก็บที่สร้างด้วยไม่ไผ่สานเป็นทรงกระบอก เรียกว่า เสวียน (บางพื้นที่เรียก กะพ้อม) ตั้งบนพื้นไม้ที่ ยกพื้นและทําหลังคาจั่วคลุม ตัวเรือนจะมีเสาขนาดใหญ่เพราะต้องรับน้ําหนักมาก แต่มีจํานวนให้น้อยที่สุด เพราะต้องหาทางป้องกันหนูไม่ให้ขึ้นไปกัดกินข้าว นิยมทําเป็นเสาคู่ 3 คู่ 4 คู่ หรือมากกว่าแล้วแต่ขนาด นิยมสร้างหลองข้าวไว้ด้านหน้าบ้าน ติดกับข่วงบ้าน เข้าถึงสะดวก

หลองข้าว


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 21

องค์ประกอบเหล่านี้ จะถูกจัดวางไว้ในผังคล้ายๆกันในบ้านแต่ละหลัง เริ่มตั้งแต่รั้วบ้านด้านหน้า ตรงขอบรั้วใกล้ประตูทางเข้าบ้าน มีเรือนร้านน้ําหลังเล็กๆ วางหม้อน้ําพร้อมกระบวยไว้ให้ผู้คนที่เดินผ่านมา ได้ตักกินแก้กระหายเป็นการให้ทาน เรียกว่า “ตานน้ํา” (ทานน้ํา) เมื่อเข้าสู่บริเวณบ้านจะพบกับข่วงบ้าน มี ตัวเรือน หลองข้าว และต้อมน้ํา ตั้งอยู่ใกล้น้ําบ่อ รอบๆน้ําบ่อจะปลูกไม้ประดับ ไม้กินได้ เช่น ปูลิง(ชะพลู) หอมด่ว น (สะระแหน่ ) ผักกิ นกับลาบ ขิง ข่า ฯลฯ มีส วนครัว ปลูกผั กต่างๆไว้เป็น อาหาร เช่น ผักกาด ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ ต้นหอม ผักชี ฯลฯ มีรั้วไม้ไผ่สาน หรือปัจจุบันเป็นผ้าไนล่อน ล้อมสวนครัวไว้ ไม่ให้ เป็ดไก่เข้าไปในสวนครัว หลังบ้าน จะมีผ๋ามเลี้ยงสัตว์ ก๊างเฟือง ส้วม เลยหลังบ้านออกไป ก่อนถึงท้องทุ่งนา มักจะมีสวนป่า ปลูกไม้ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ไม้ไผ่ หมาก มะพร้าว กล้วย และไม้ผลต่างๆ น้ําเหมืองอาจ ไหลผ่านหลังบ้านบริเวณนี้ หรือไหลผ่านหน้าบ้านริมรั้ว ถ้าอยู่ริมรั้วหน้าบ้าน กั้นระหว่างทางสัญจรกับรั้ว ก็ จะมี “ขัว” (สะพาน)เล็กๆ ทําด้วยไม้ไผ่สาน เรียกว่า “ขัวแตะ” หรือปีกไม้วางพาดแบบง่ายๆ สําหรับข้าม น้ําเหมืองเข้าบ้าน องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ศาลผีปู่ย่า ครัวไฟ ครกมอง (ครกกระเดื่อง) ฯลฯ ก็จัดวางตามที่กล่าว ไปแล้ว นอกจากนี้ ชาวล้านนายังนิยมมีสวนบันได คือ สวนริมบันไดทางขึ้นเรือนด้านหน้า ปลูกไม้ดอกไม้ใบ ที่นิยมเอาไปวัดบูชาพระและเหน็บผม เช่น โกศล ดอกไม้ต่างๆ บางท้องที่ยังใช้ฟืนในการต้มน้ํา นึ่งข้าว หรือ ต้มถั่วเน่า จะมีตูบไฟแยกจากครัวไฟ เป็นเพิงเล็กๆ มีเตาตั้งอยู่ เพราะเตาฟืนมีควันมาก จะทําให้เพดาน และฝาครัวไฟดํา จึงแยกเตาฟืนออกมาไว้ด้านนอกที่ตูบไฟนี้ องค์ประกอบใหม่ที่พบมากในปัจจุบันในบ้านชาวล้านนา คือ “โฮงหอม” (โรงหอม) ทําไว้ใน บริเวณบ้านที่เข้าถึงง่าย เป็นโรงเปิดโล่งไม่มีฝา เอาไว้ตากหัวหอม และผลผลิตเกษตรอื่นๆหมุนเวียนกันไป เกิดขึ้นใหม่ในยุคที่ชาวล้านนาต้องปลูกพืชเศรษฐกิจเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากการปลูกข้าวเพื่อกิน

โฮงหอม

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


22 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• ผังบริเวณบ้านชาวล้านนา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 23

เรือนล้านนา ประเภทของเรือนพื้นถิ่นภาคเหนือ การแบ่งประเภทของเรือนพื้นถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนหรือล้านนานั้น แบ่งได้หลายประเภท ตามลักษณะ ได้แก่ แบ่งตามสภาพการใช้งานได้เป็น 3 ประเภท คือ เรือนชนบท เรือนไม้ และเรือนกาแล (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2539: 9) แบ่งตามชนิดของวัสดุได้เป็น 2 ประเภทคือ เรือนไม้บั่ว(ไม้ไผ่) หรือเรือน เครื่องผูก และเรือนไม้จริงหรือเรือนเครื่องสับ (อัน นิมมานเหมินท์, 2512: 144) และแบ่งตามลักษณะการ ใช้สอยที่ว่างอาคารได้เป็น 2 ประเภทคือ เรือนเดี่ยว และเรือนแฝด (สมคิด จิระทัศนกุล, 2543: 161)

เรือนชนบท หรือเรือนไม้บั่ว เป็นเรือนที่สร้างขึ้นตามความจําเป็นในการใช้งานเป็นหลัก มีลักษณะกึ่งชั่วคราว ไม่มีแบบแผน มากนัก ยกพื้นไม่สูง ใช้ไม้ไผ่และวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูกเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง มุงด้วย ตองตึง ตับแฝก พื้นและฝาฟาก ภาคกลางเรียก “เรือนเครื่องผูก” เพราะใช้การผูกมัดเป็นส่วนใหญ่ในการ ก่อสร้าง เอกสารโบราณของล้านนาเรียก “เฮือนมัดขื่อมัดแป๋” แยกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น เถงนา หรือเถียงนา หรือห้างนา อยู่กลางหรือริมทุ่งนา ใช้งาน ตามฤดูกาล เป็นที่พักเวลาออกไปทํานา เพื่อพักผ่อน หลบร้อน หรือกินข้าว ลักษณะกึ่งถาวร ขนาดเล็ก เปิดโล่ง มักทํา 6 เสา แม้เป็นอาคารขนาดเล็กพอทํา 4 เสาได้ เพราะเชื่อว่าศาลา 4 เสานั้น คล้ายศาลาศพ ไม่ควรทํา อีกประเภทคือ เรือนพักอาศัย ส่วนมากเป็นเรือนพักอาศัยของชาวชนบท หรือผู้มีรายได้น้อย ขนาดเล็ก มี 1 ห้องนอน ยกพื้นไม่สูง ประมาณ 60 -100 เซนติเมตร พอให้พ้นความชื้นจากดิน ช่วงเสา แคบ ใช้เสาไม้จริงทั้งต้นไม่แปรรูป หรือแปรรูปอย่างง่ายๆ ขนาดประมาณ 4 นิ้ว โครงหลังคาไม้ไผ่(ไม้รวก) มุงด้วยตับใบตองตึง หรือตับแฝก หรือใบก้อ หรือวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ส่วนมากเจ้าของจะเป็นผู้ก่อสร้าง หรือชาวบ้านช่วยกัน ที่เรียกว่าเอาแรงหรือลงแขก ผังพื้นเรือนไม้บั่วสํ าหรับพักอาศัย มักจะมีเพียงห้องนอนเดียว มีเติ๋นสําหรั บนั่ง-นอน ทํางาน ยกระดับขึ้นจากชานระเบียง แต่ประตูห้องนอนมักจะไม่เปิดสู่เติ๋นเหมือนเรือนกาแลหรือเรือนไม้บะเก่า แต่ จะเปิดสู่ระเบียงทางเดิน ปลายสุดระเบียงจะเป็นครัวไฟที่อาจกั้นหรือไม่กั้นผนัง มักมีร้านน้ําทั้งหน้าเรือน สําหรับดื่มกินและท้ายเรือนสําหรับทําอาหาร

ห้างนา และเรือนไม้บั่ว

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


24 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไม้ หรือ เฮือนบะเก่า เป็นเรือนของผู้มีฐานะดี ใช้ไม้จริงทั้งหลัง ใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมี มากกว่า 1 ห้องนอน เป็นเรือนที่คลี่คลายแบบแผนการสร้างมาจากเรือนกาแล ใช้รูปแบบและความพิถีพิถัน น้อยลง เพราะเป็นเรือนสําหรับสามัญชนหรือชาวบ้านที่กฎเกณฑ์ด้านฐานานุศักดิ์สถาปัตยกรรมลดลง จาก เดิมที่ชาวบ้านทั่วไปจะสร้างได้แต่เรือนไม้บั่วเท่านั้น เรือนไม้จริงหรือเรือนกาแลนั้นสงวนไว้สําหรับผู้มีศักดิ์ ทางสังคมสูง อาจเป็นผู้นําในสังคมหรือเจ้านาย หลังคาทรงสูงของเรือนกาแลถูกปรับลด ป้านลง ยุคแรกที่ เรียกว่า เฮือนไม้บะเก่า จะไม่มีการประดับตกแต่งมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ไม่มีการประดับกาแล แต่ แบบแผนการใช้พื้นที่หรือผังพื้นยังคงเป็นแบบหรือใกล้เคียงแบบประเพณีเดิม ส่วนใหญ่ทําเป็นเรือนแฝด เหมือนเรือนกาแล เรือนไม้มีการใช้ช่างไม้ออกแบบก่อสร้างแทนการสร้างเองโดยเจ้าของและเพื่อนบ้าน นอกชาน ด้านหน้าบ้านเหลือน้อยลง หรือตัดออกไป หรือเพิ่มหลังคาคลุมส่วนชานนี้เสีย

◌ เรือนไม้บะเก่าที่ป่าซาง

เรือนไม้แบบเรือนแฝดขนาด ใหญ่ที่อําเภอแม่แจ่ม มีเรือนขวางอยู่ ด้านหน้า คลุมส่วนชานหน้าไว้ และมี เรือนขวางด้านหลังเป็นครัวไฟ •

เรือนไม้บะเก่าที่แม่แจ่ม

เรือนไม้บะเก่าที่แม่แจ่ม

เรือนไม้ที่แม่แจ่มหลังนี้ยกใต้ถุนสูงเพื่อใช้ งานเอนกประสงค์ บันไดขึ้นสู่ชานหน้ามีหลังคา คลุม ใต้ชานพักบันไดมีกระเบื้องดินขอที่เก็บไว้ สําหรับซ่อมแซมหลังคา เพราะกระเบื้องดินขอ นั้ น บ อ บ บา ง แ ล ะแ ต ก หั กง่ า ย ยอ ด จั่ ว มี เครื่ องประดั บ แบบแม่ แจ่ ม ซึ่ งเป็ น เอกลั กษณ์ ของเรือนไม้แม่แจ่ม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 25

การกั้นห้องบนเรือนจะกั้นเป็นเรือนแฝดตามแนวหลังคา เป็นแบบแผนเดิมจากเรือนกาแล มี ช่องทางเดินกั้นกลางในตําแหน่งของริน(รางน้ํา) เช่นเดียวฮ่อมรินในเรือนกาแล และเรียกว่าฮ่อมรินเช่นกัน ร้านน้ําก็ยังคงมีและตั้งอยู่ตําแหน่งเดิมของมันเหมือนที่เคยอยู่ที่นอกชานของเรือนกาแล ต่างกันเพียงชานนี้ ไม่ได้เป็นนอกชานแล้ว เพราะทําหลังคาคลุมไว้ ในเรือนบางหลัง พื้นบริเวณนอกชานนี้ยังเหลือร่องรอยของ นอกชานที่ต้องตีพื้นไม้เว้นร่องเพื่อระบายน้ําฝนเหมือนเมื่อครั้งมันยังอยู่นอกชายคา

องค์ประกอบบนเฮือนบะเก่า : ฮ่อมริน ร้านน้ํา พื้นชานตีเว้นร่อง

เรือนไม้แบบเรือนจั่วแฝดสวยๆ (เรือนสองจ๋อง) ที่บ้านสันต้นแหนน้อย

เรือนสมัยกลาง เรือนไม้แบบประเพณีประเภทหนึ่งที่พัฒนาต่อเรือนไม้แบบ “เฮือนบะเก่า” ความซับซ้อนของ รูปแบบเรือนมีมากขึ้น ผังพื้นถูกจัดวางใหม่ ไม่เป็นแบบเฮือนบะเก่าที่ยืมผังพื้นของเรือนกาแลมาใช้ เรือน ไม้ในระยะนี้ เกิดการพัฒนาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเกิดขึ้นของวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ คือ สังกะสี ที่ นํามาใช้กับตะเข้รางได้ดี ทําให้สามารถออกแบบหลังคาที่วิ่งชนกัน ใส่ตะเข้รางได้ บางพื้นที่ ชาวบ้านเรียก เรือนแบบนี้ว่า “เฮือนคู้” เป็นเรือนที่ “แป๋” หรืออะเส วิ่งชนกัน เรือนรูปแบบนี้ เป็นเรือนที่พัฒนาอยู่ระหว่างเฮือนบะเก่ากับเรือนสมัยใหม่ ชาวบ้านจึงเรียก เรือนในยุคนี้ว่า “เฮือนสมัยกลาง”

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


26 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เฮือนสมัยกลาง

เรือนสรไน เมื่ อ ล้ า นนารั บ วั ฒ นธรรมการปลู ก เรื อ นจากภาคกลางในช่ ว งรั ช กาลที่ 5 ลงมา ก็ มี ก าร ปรับเปลี่ยนเพิ่ มความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ประดับประดามากขึ้นตามแบบแผนบ้ านพักอาศัยใน กรุงเทพฯที่ได้รับอิทธิพลจากเรือนพื้นถิ่นอังกฤษในยุควิคตอเรียที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง มีการใช้ลายไม้ ฉลุประดับตกแต่งให้กับเรือนสมัยกลางในยุคนี้มากขึ้น เรือนสรไน (อ่านว่า สะ-ระ-ไน) เป็นเรือนสมัยกลางแบบหนึ่ง พบมากที่หลายอําเภอของจังหวัด ลําพูน จนเรียกได้ว่า เป็นเอกลักษณ์ของเรือนไม้แบบประเพณีของลําพูน ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ทรงปั้นหยา แต่ที่พบมากคือทรงจั่วผสมปั้นหยา (มนิลา) ลักษณะเด่นคือ มีไม้ประดับหลังคา ที่เรียกว่า “สรไน” อันเป็นที่มาของชื่อเรียกเรือนประเภทนี้ ไม้สรไนจะติดประดับอยู่ที่ยอดจั่ว ปลายปั้นลม ของหลังคาจั่ว และมุมชายคาตรงที่เชิงชายมาบรรจบกันของหลังคาปั้นหยาหรือมนิลา บางหลังก็ใช้ไม้ฉลุ ลายแบบล้านนาประกอบเข้าด้วยกันกับไม้สรไนที่ยอดจั่วคล้ายเรือนขนมปังขิง แต่ไม่ได้ประดับไม้จนทั่ว เรือนเหมือนเรือนขนมปังขิง ส่วนใหญ่จะประดับที่ยอดจั่วและตกแต่งด้านหน้าหรือซุ้มบันไดเท่านั้น ไม้สรไน นี้ เ ป็ น ไม้ สั ก ขนาด 4” x 4” ยาวประมาณ 0.60 -0.90 เมตร หรื อ กว่ า นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ ขนาดเรื อ นและ องค์ประกอบหลังคาที่เกี่ยวข้อง นํามากลึงเป็นรูปร่าง อาจารย์บุญมี ไชยยันต์อธิบายว่า รูปร่างของไม้สรไน นี้ เป็นรูปคนโทหรือน้ําต้น มีความหมายว่าเจ้าของหรือผู้อยู่อาศัยในเรือนจะอยู่สุขสบายเหมือนมีน้ําอยู่ ตลอดเวลา แม้เจ้าของเรือนจะดับขันธ์ไปแล้ว ก็จะไปสู่สวรรค์ชั้นฟ้า คําเรียกไม้นี้ว่าสรไนนี้ ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ อธิบายว่า สันนิษฐานได้ 2 นัย นัยแรก สถาปนิกล้านนาบางท่านเห็นว่า น่าจะมาจากคําว่า “เจียระไน” เพราะรูปทรงที่มีเหลี่ยมมีมุมคล้ายการ เจียระไนอัญมณี คํากล่าวนี้สอดคล้องกับอุ๊ยยงค์ บุญสุทธิ์ สล่าบ้านโฮ่งวัย 93 ปี ที่เรียกไม้นี้ไม้จาระใน และ กล่าวถึงเหตุผลที่ติดไม้นี้ที่ยอดจั่วว่า เพราะอยากทําให้สวยแบบวิหารที่มีช่อฟ้า หางหงส์ แต่ติดที่ทําช่อฟ้า หางหงส์ไม่ได้ จึงทําเป็นรูปอื่นที่ต่างจากช่อฟ้าและหางหงส์แทน อีกนัยหนึ่งคือความเห็นจากปราชญ์ล้านนา หลายท่านที่เชื่อว่าคําว่า สรไน นี้ มาจากคําว่า สุระหนี่ ในภาษาชวา หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทปี่สรไน หรือปี่ไฉน เพราะพบคํานี้ในศิลาจารึกวัดพระยืน ที่กล่าวถึงพญากือนาเตรียมสมโภชรับพระสุมนเถระจาก


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 27

สุโขทัย ช่างพื้นบ้านได้นําคําเรียกปี่สรไนไปเรียกองค์ประกอบหลังคาที่มีส่วนปลายถูกกลึงเป็นเม็ดน้ําค้าง คล้ายปากปี่

เฮือนสรไน จังหวัดลําพูน

สรไนแบบมีไม้ฉลุลายประกอบ

คุ้ ม เจ้ า ยอดเรื อ น ชายาเจ้ า จั ก รคํ า ขจรศั กดิ์ เจ้า หลวงองค์ สุดท้า ยของ ลําพูน เรือนสรไนแบบเจ้า เสาปูนรับ ตั ว เรื อ นไม้ แ นวนอกจะมี บั ว หั ว เสา ซึ่งเรือนของสามัญชนจะไม่ทํา •

เรือนสรไน

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


28 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนกาแล เรือนกาแลเป็นเรือนสําหรับผู้มีฐานะทางสังคม หรือผู้นําชุมชน หรือชนชั้นสูงในสังคม ตั้งแต่ ระดับชนบทจนถึงระดับเมือง (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2539: 11) เอกลักษณ์สําคัญของเรือนประเภทนี้ คือ มี กาแล ไม้แกะสลักอย่างสวยงามประดับบนยอดจั่ว และเป็นเหตุให้เรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือนกาแล เรือนกาแลปลูกสร้างด้วยไม้จริง มีความประณีตเรียบร้อยมากกว่าเรือนของสามัญชนทั่วไป มี แบบแผนการสร้างที่ชัดเจน และเป็นระเบียบมากกว่าเรือนทั่วไป เรือนกาแลเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน และที่เหลือเก็บไว้ก็ด้วยเหตุผลด้านอนุรักษ์ ส่วนเรือนกาแลที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยกันจริงแทบจะหาไม่ได้แล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการปลูกสร้างบ้านเรือน โดยเฉพาะในชนชั้นสูงในสังคมที่เคยเป็นกลุ่มที่ปลูก เรือนกาแลอยู่อาศัย ได้เปลี่ยนไปสร้างบ้านเรือนตามแบบกรุงเทพฯหรือตะวันตกเป็นส่วนมาก เป็นบ้านตึก ก่ออิฐ ฉาบปูน ด้ว ยเห็ นว่ าเป็ นการแสดงออกว่ ามี ร สนิ ยมสู ง หรื อเห็ นว่ ามีความสะดวกในการอยู่ อาศั ย มากกว่า สามัญชนที่พอมีฐานะ มีศักยภาพที่จะปลูกสร้างบ้านเรือนมีราคาได้ก็สร้างเรือนไม้ ทั้งเรือนบะเก่า และเรือนสมัยกลางกันมากกว่า โดยดัดแปลงไปจากเรือนกาแลในระยะแรก ก่อนจะเปลี่ยนแปลงไปจาก เรือนกาแลอย่างสิ้นเชิงในระยะต่อมา

เฮือนกาแลที่เชียงใหม่

กาแล ไม้แกะสลักคู่ ติดไขว้บนยอดจั่ว

เรือนกาแล (ที่มา : สมภพและคณะ, 2540: 116)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 29

ลักษณะของเรือนกาแล - ลักษณะเป็นเรือนแฝด หรือเรียกว่าสองหลังร่วมพื้นขนาด 5 ห้องเสา - เรือนแฝดและเรือนครัวเชื่อมกันแบบหลวมๆ เรือนครัวมักทําเป็นเรือนขวาง - เรือนแฝดกาแลไม่นิยมทําให้มีขนาดเท่ากัน แต่ใหญ่กว่ากันเล็กน้อย โดยเรือนนอนพ่อแม่จะมีช่วงเสา ด้านสกัด (Bay) กว้างกว่าเรือนอีกหลัง เชื่อกันว่าถ้าทําเท่ากันแล้วผู้อยู่อาศัยจะแตกความสามัคคี - การวางเรือนของเรือนกาแลและเรือนล้านนาอื่นๆ จะวางเรือนขวางตะวัน คือวางให้หันหน้าจั่วไปใน แนวเหนือ-ใต้

รูปแบบและแปลนพื้นเรือนกาแลแบบต่างๆ (ที่มา : อัน นิมมานเหมินท์, 2532)

รูปแบบและแปลนพื้นเรือนกาแลแบบต่างๆ (ที่มา : อัน นิมมานเหมินท์, 2532)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


30 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เอกลักษณ์ของเรือนกาแล เอกลักษณ์เรือกาแลที่อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ เขียนไว้ในหนังสือ The Siam Society ถึง เอกลักษณ์ของเรือนแบบประเพณีของล้านนา เน้นที่เรือนกาแล และท่านอื่นๆได้เขียนไว้พอสรุปได้ ดังนี้ 1. มักทําเป็นเรือนแฝด หรือสองหลังร่วมพื้น 2. ยกใต้ถุนสูง ใช้งานเอนกประสงค์พื้นที่ใต้ถุนเรือน 3. มีฮ่อมรินแล่นกลาง มีระดับพื้นต่ํากว่าระดับพื้นเรือนนอน มักทําเป็นช่องโล่งหัวท้ายไม่กั้นฝา 4. มีเติ๋น “เติ๋น” คือพื้นที่กึ่งเปิดโล่ง ยกพื้น เอนกประสงค์ เปรียบเหมือน Living room หรือ Living Area ใช้งานสารพัด ตั้งแต่ทํางานต่างๆ นั่งพักผ่อน ต้อนรับแขก ตลอดจนกางมุ้งนอน บริเวณนี้ ฝาเรือนบริเวณเติ๋นนี้ บางครั้งจะทําฝาไหล เปิดรับลมเมื่อนั่งอยู่ที่เติ๋นได้ 5. มีระเบียงและชาน (พื้นที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม เรียกว่า “นอกชาน”) เป็นพื้นที่เชื่อมหน่วย ต่างๆเข้าด้วยกันและมีร้านน้ําสร้างลอยตัวลักษณะคล้ายเรือนหลังเล็กอยู่บริเวณชานหน้า ใกล้บันได หรือชานหลังใกล้ครัว 6. เหนือศีรษะบริเวณเติ๋นไม่มีเธิง (ฝ้าเพดาน) มีที่ว่างใต้โครงหลังคา จึงทําตีโครงโปร่งระหว่าง ขื่อไว้เก็บของ หรือคว่ําน้ําต้น เรียกว่า ควั่น เรือนพื้นถิ่นล้านนาไม่ตีเธิงเพราะต้องปีนขึ้นไป เปลี่ยนกระเบื้องดินขอมุงหลังคา เนื่องจากดินขอแผ่นบาง (ประมาณ 4 มม.) แตกหักง่าย ต้องเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ และไม่สามารถเหยียบขึ้นหลังคาได้ จึงต้องเปลี่ยนจากด้านในเรือน ดึง แผ่นที่แตกออกมาแล้วสอดแผ่นใหม่เข้าไปแทน ใต้ถุนเรือนที่มุงดินขอมักจะมีกระเบื้องดินขอ เก็บสะสมไว้ 7. ในโครงหลังคา มีราวไม้ขนาดเล็กหรือไม้รวกคู่พาดตามแนวยาวหลังคา กระหนาบดั้งทุกตัว ตั้งแต่อุดจั่วหัวเรือนถึงท้ายเรือน เรียกว่า ขัวย่าน ใช้สําหรับปีนซ่อมหลังคาและยึดโยงดั้ง เพิ่มความแข็งแรงไปในตัว 8. ฝาเรือนกาแลด้านสกัดเป็นฝาตรง ฝาเรือนด้านข้างจะผายออก ส่วนที่ผายออกจะมีเต้ายื่น จากเสามารับฝา ส่วนที่ผายออกทําให้เกิดที่ว่างตอนบน ใช้ทําชั้นวางของหรือหิ้งได้ 9. หิ้งพระที่บริเวณเติ๋น และ มีหิ้งผีอยู่ในห้องนอน 10. ครัวไฟในเรือนกาแลจะแยกออกไปอยู่เป็นสัดส่วน ด้านหลังสุดทางเดิน ติดกับชานหลังและ มักมีร้านน้ําอยู่บริเวณนี้ด้วย แม่เตาไฟทําเป็นกระบะไม้ยกลอยขึ้นจากพื้น ภายในอัดดินแน่น และตั้งเตาบนนี้ 11. ประตูห้องนอน นิยมติดหํายนต์ ป้องกันความชั่วร้ายหรืออัปมงคลเข้าไปในเรือนนอน และใช้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์แสดงเขตหวงห้าม หรือที่ส่วนบุคคลให้บุคคลอื่นรู้และไม่ล่วงเข้าไป หํา ยนต์เป็นของเฉพาะบุคคลที่มีขนาดเป็นจํานวนเท่าของความยาวปลายเท้าถึงส้นเท้าของ เจ้าของเรือน กี่เท่าแล้วแต่จะได้ความยาวประมาณช่องประตู ต้องเป็นไม้แผ่นเดียวแกะสลัก


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 31

ลวดลายสวยงาม หากมีการขายเรือน เจ้าของจะแกะหํายนต์ไว้ไม่ขายไปพร้อมกับเรือน เวลา ปลูกเรือนหลังใหม่ ก็จะแกะเอาหํายนต์นี้ไปติดเรือนหลังใหม่ 12. มีการใช้ไม้แผ่นยาวใส่ตามแนวยาวของเรือนนอนระหว่างช่วงพื้นของสองช่วงเสา เรียกว่า แป้นต้อง แยกความต่อเนื่องของไม้พื้น เพื่อไม่ให้พื้นสั่นสะเทือนรบกวนคนนอน และเพื่อไม่ ต้องใช้ไม้พื้นยาวมาก 13. มี “กาแล” ไม้คู่ไขว้ แกะสลักสวยงาม ติดประดับที่ยอดจั่ว เรือนคนไทยวนที่ราชบุรีเรียก แกแล กาแลนิ ย มใช้ เ ฉพาะที่ เชี ย งใหม่ ที่ ลํ า ปาง เชี ย งราย หรื อ ที่ อื่ น ๆ เป็ น เรื อนกาแล เหมือนกัน แต่ไม่นิยมติดกาแล 14. หน้าต่างมีน้อย ขนาดเล็กและเป็นแบบบานเปิดเดี่ยว กาแล ลักษณะเป็นไม้แกะสลัก 2 อันไขว้ประดับยอดจั่ว ความหมายไม่สามารถระบุได้ชัดเจน มีความเชื่อหลายอย่าง เช่น ป้องกันแร้งและกามาเกาะบนหลังคา หรือมาจากคําว่า “กะแล๊ง”ซึ่งแปลว่า ไขว้ ตามลักษณะที่ปรากฏ หรือพม่าบังคับให้ติดเพื่อให้แตกต่างจากบ้านพม่า ข้อเท็จจริง คือ มีเรือนของ ชาติพันธุ์ต่างๆใช้สัญลักษณ์แบบเดียวกัน เช่น ไตลื้อ ไตดํา ลัวะ ลาว เขมร อินโด มาเลย์ ฯลฯ ซึ่งล้วนบูชา ควายประกอบพิธีทั้งสิ้น และบางแห่งใช้เขาควายประดับบนสันหลังคาด้วยประกอบกับการทําฝาเรือน ด้านข้างผายออก และเรียกแผ่นไม้แกะสลักเหนือประตูห้องนอนว่า หํายนต์ จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ชาวล้านนา ต้องการออกแบบเรือนให้มีลักษณะของควาย ใช้กาแลแทนเขา ฝาผายออกคล้ายลําตัวควาย และเรียกหํา ยนต์ซึ่งอยู่ตําแหน่งใกล้เคียงกับหําของควาย ตามลัทธิบูชาควาย

การประดับยอดจั่วของเรือนใน 24 วัฒนธรรมรวมทั้งล้านนา ด้วยไม้แกะสลักคู่ไขว้ (ที่มา : Roxana Waterson, 1991: 11) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


32 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

มักเป็นเรือนแฝด หรือสองหลังร่วมพื้น

มีเติ๋น มีนอกชาน (ชานโล่ง ไม่มีหลังคาคลุม)

ชานหลังเรือน

ติดหํายนต์เหนือประตูห้องนอน

ขัวย่าน หรือไม้แล่นตีนดั้ง

ควั่น ใช้เก็บของ อยู่เหนือเติ๋น


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 33

ตีฝาด้านข้างผายออก เสาตั้งตรง

หน้าต่างมีน้อย บานเปิดเดี่ยว

โครงสร้างเรือนกาแล

หิ้งพระและหิ้งผี

ครัวไฟแยกจากห้องนอน

ยกใต้ถุนสูง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


34 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เฮือนแป เรือนร้านค้า เรือนพักอาศัยริมทาง และเรือนร้านค้า มีรูปแบบคล้ายกัน เป็นรูปแบบเฉพาะ คือ วางอาคาร ให้หันส่วนยาวของอาคารขนานไปตามทางสัญจร จั่วเรือนขนานทางสัญจร หากเป็นเรือนร้านค้า ก็จะใช้ พื้นที่ด้านยาวของเรือนด้านติดกับทางสัญจรเปิดเป็นหน้าร้าน ฝาเรือนด้านนี้ทําเป็นบานเฟี้ยม หรือบาน กระทุ้งขนาดใหญ่เต็มหน้าถัง พื้นที่ภายในใช้เป็นที่วางสินค้า บางหลัง ต่อชายคายื่นยาวออกมาเพื่อคลุม พื้นที่หน้าร้าน บางหลัง ชายคานี้ยื่นยาว จะมีเสารับชายคาส่วนนี้อีกแถวหนึ่ง เรือนพักอาศัยที่สร้างริมทางสัญจร แม้ไม่ได้ค้าขาย ก็จะใช้รูปแบบเรือนร้านค้าในการสร้าง ฝา เรือนด้านหน้าทําให้เปิดได้เต็มหน้าถัง แต่การใช้งานก็จะไม่ได้เปิดทั้งหมด จะเปิดเป็นช่องสําหรับเข้าออก เท่านั้น พื้นที่ภายในใช้เป็นพื้นที่ใช้งานในบ้าน เป็นพื้นที่พักผ่อน หรือการใช้งานอื่นๆอเนกประสงค์

เฮือนแป หรือเรือนร้านค้า


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 35

การแบ่งประเภทเรือนเป็น 2 แบบ ตามรูปเรือนและหลังคา เรือนเดี่ยว เป็นเรือนหลังเดียว ขนาดค่อนข้างเล็ก ทั้งประเภทเรือนไม้บั่วและเรือนไม้จริง ส่วนใหญ่เป็น เรือนของผู้มีรายได้น้อย หรือผู้เริ่มต้นสร้างครอบครัว พื้นที่ใช้สอยมีเติ๋น ห้องนอน ระเบียง มักไม่มีห้องครัว แต่ใช้พื้นที่ส่วนท้ายของระเบียงทางเดินเป็นพื้นที่ครัว วัสดุก่อสร้างเรือนอย่างง่าย เช่น ไม้ไผ่ หรือไม้จริง แปรรูปอย่างง่าย มุงหลังคาด้วยใบตองตึง หรือแป้นเกล็ดไม้

เรือนเดี่ยว

เรือนแฝด เป็นเรือนพักขนาดค่อนข้างใหญ่ ทําเป็นเรือนไม้ 2 หลังขนาบขนานกัน อาจเป็นเรือนนอน กับเรือนครัว หรือเรือนพ่อแม่ กับเรือนนอนลูก วัสดุก่อสร้างที่ดีกว่า คือเป็นไม้จริงทั้งหลัง

เรือนแฝด

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


36 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนล้านนา เรื อ นล้ า นนา ไม่ ว่ า จะเป็ น เรื อ นแบบไหน เรื อ นกาแล เรื อ นไม้ หรื อ เรื อ นไม้ บั่ ว มั ก จะมี องค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ (แต่ไม่ทั้งหมด บางอย่างไม่มีในเรือนบางประเภท) บันไดและเสาแหล่งหมา บันไดของเรือนล้านนามักหลบอยู่ใต้ชายคา อาจจะเป็นลดพื้นที่บ้าน บางส่วนเพื่อทําเป็นบันได หรือยื่นบันไดออกมาแล้วทําหลังคาคลุม เสาที่ตั้งอยู่เชิงบันไดขึ้นบ้าน มักเป็นเสา ลอยตั้งขึ้นไปรับหลังคาโดยตรง เรียกว่า เสาแหล่งหมา เพราะมักผูกหมาไว้กับเสานี้ เพื่อเฝ้าบ้าน ร้านน้ํา หรือฮ้านน้ํา ลักษณะคล้ายเรือนหลังเล็ก สําหรับตั้งหม้อน้ํา ตั้งลอยอยู่นอกชานด้านหน้า สําหรับดื่ม และที่ด้านหลังเรือนใกล้ครัวไฟสําหรับประกอบอาหาร แม้เรือนในยุคต่อมาจะไม่นิยมทํานอก ชาน หรือทําหลังคาคลุมบริเวณทีเป็นนอกชานแล้ว ฮ้านน้ําก็ยังอยู่ในตําแหน่งเดิมของมัน ทําหน้าที่ของมัน จนมีตู้เย็นมาเป็นเครื่องใช้ประจําเรือน ฮ้านน้ําจึงได้เปลี่ยนหน้าที่ไปเป็นชั้นวางของสําหรับวางของใช้อื่นๆ ห้องนอน ห้องนอนในเรือนชนบทมักมีสัดส่วนการใช้พื้นที่มากกว่าเรือนกาแล ประตูห้องนอนใน เรือนชนบทก็มักไม่ได้อยู่ด้านที่ติดกับเติ๋น ซึ่งต่างจากเรือนกาแลที่มีประตูด้านติดกับเติ๋น ดั้งเดิมทางเข้า ห้องนอนนี้จะกั้นด้วยผ้าไม่ทําบานประตู

บันไดและเสาแหล่งหมา •

ฮ้านน้ําสําหรับดื่มกิน

ฮ้านน้ําสําหรับประกอบอาหาร

องค์ประกอบของเรือน

ฝาไหล ฝาไม้ที่ทําให้เลื่อนเปิดได้เพื่อเปิดรับลม โดยใช้ไม้กระดานตีตามตั้งช่องเว้นช่องสองชั้น ชั้นแรกติดตาย ชั้นที่สองเลื่อนซ้ายขวาได้ ปิดเปิดด้วยการเลื่อนฝาชั้นที่สองให้ช่องเปิดตรงหรือสลับกับช่อง เปิดของฝาชั้นที่สอง ระเบียงและชาน ระเบียงในเรือนชนบทซึ่งมักจะมีห้องนอนเดียว จะทําหน้าที่เชื่อมส่วนต่างๆคือ ห้องนอน ครัว ร้านน้ําและชานเข้าด้วยกัน แต่ในเรือนไม้แฝดและเรือนกาแล ระเบียงจะเป็นตัวเชื่อมเรือน สองหลังเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเปิดโล่งทั้งหน้าและหลัง และส่วนของระเบียงทางเดินแคบๆ(ฮ่อม) ระหว่าง เรือนแฝดทั้งสองหลังนี้จะถูกเรียกว่า ฮ่อมริน (รินคือรางน้ําฝน)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 37

องค์ประกอบเรือน : ฝาไหล และ ระเบียงทางเดิน

เติ๋น พื้นที่เอนกประสงค์กึ่งเปิดโล่ง คือมีฝาเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน มีหลังคาคลุม มักอยู่หน้า ห้องนอน และประตู ทางเข้ าห้ องนอนก็มักอยู่ ด้านที่ติดกั บเติ๋ นนี้ เป็ นพื้ นที่ ใช้ส อยที่ถูกใช้ สอยมากที่ สุ ด เปรียบเสมือน Living room ของบ้าน ทั้งใช้นั่ง-นอนพักผ่อน ทํางาน รับแขก ประกอบพิธี และที่นอนของ ลูกชาย ครัวไฟ ครัวไฟในเรือนชนบท มักอยู่สุดทางเดิน ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของทางเดินนี้เป็นครัวไฟ แต่ เรือนไม้และเรือนกาแลจะแยกครัวออกเป็นสัดส่วน มักอยู่ด้านหลังเรือน บริเวณที่ก่อไฟหรือตั้งเตาไฟจะยก กระบะไม้บรรจุดินอัดแน่น เป็นการป้องกันไฟติดพื้นไม้และยกระดับให้นั่งทําครัวได้สะดวกขึ้น ตานน้ํา (ทานน้ํา) คือการตั้งหม้อน้ําไว้หน้าบ้านหรือใกล้ทางสัญจรเพื่อให้คนที่สัญจรผ่านไปมา ได้อาศัยตักกินดับกระหาย เป็นการให้ทาน ที่ล้างเท้า บริเวณตีนบันไดทางขึ้นเรือน มักจะทําที่ล้างเท้า ซึ่งมีทั้งที่วางหม้อโอ่งเล็กๆพร้อม กระบวยตักน้ําสําหรับตักราดล้างเท้า บางบ้านก็เป็นรูปแบบอื่นๆ เช่นสี่เหลี่ยมคางหมู ฯลฯ และหลายบ้าน ที่เลี้ยงวัวควาย เวลาเอาวัวควายกลับเข้าบ้าน ก็จะนําวัวควายมากินน้ําในหม้อน้ําเหล่านี้ก่อนเข้าคอก และที่ ทําเป็นกระบะปูนเล็กๆขังน้ําไว้ ตรงกลางยกแท่นขนาดพอเหยียบ แต่ให้ระดับจมน้ําเล็กน้อยสําหรับเหยียบ ล้างเท้า แล้วก้าวขึ้นบันไดเรือน แบบที่เป็นกระบะปูนสําหรับล้างเท้านี้บางบ้านเรียก ฮางน้ํา หรือ รางน้ํา

องค์ประกอบเรือน : เติ๋น ตานน้ํา และที่ล้างเท้า

ปลายจ๋อง หรือเครื่องประดับยอดจั่ว เรือนล้านนาหลายพื้นที่นิยมประดับยอดจั่วทั้งสองปลาย ด้วยองค์ประกอบพิเศษ เป็นการประดับตามความเชื่อ หรือตามประเพณี หรือเพื่อความสวยงาม ส่วนใหญ่

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


38 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ไม่มีประโยชน์ใช้สอยใด เว้นบางแบบเท่านั้น ที่พิจารณาได้ว่า ติดตั้งเพื่อประโยชน์ใช้สอย มีหลายรูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1 ไม่ประดับตกแต่งใดๆ ปล่อยให้มีเพียงโครงสร้างตามปกติ พบบางหลังที่ใช้แผ่นสังกะสีแผ่นเล็กๆ ปิดทับรอยต่อของไม้หลบข้างหลังคาที่ตีทับแนวกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นสุดท้าย กันน้ําฝนซึมเข้าหน้าตัดไม้ ยืดอายุของไม้

ปลายจ๋องแบบไม่ประดับตกแต่ง

แบบที่ 2 แบบไม้ปกจ๋อง ใช้ไม้กระดานหน้ากว้าง 5” – 6” ไม่ยาวนักตีซ้อนด้านบน 1 – 3 ชั้น ให้ไม้แผ่น บนขนาดสั้นกว่า โดยติดให้เหลื่อมกันออกมาด้านนอกเล็กน้อย แล้วปิดทับด้วยแผ่นสังกะสีเหมือนแบบที่ 1 บ้างก็ปิดแผ่นสังกะสีบิด 45 องศา เห็นปลายแหลมของแผ่นสังกะสียื่นออกมา พบในจังหวัดเชียงใหม่และ จังหวัดลําพูน หลายอําเภอ ปลายจ๋องแบบนี้ น่าจะพัฒนามาจากการป้องกันไม้หลบหลังคาผุจากน้ําที่ซึม เข้าหน้าตัดไม้ก่อนยุคที่ใช้สังกะสีปิดด้านบน โดยใช้ชิ้นเล็กปิดทับอีกชั้นหนึ่งหรือหลายชั้น เพื่อให้น้ําซึมลง ยากขึ้น เมื่อมีสังกะสีใช้ บางหลังจึงใช้แต่แผ่นสังกะสี บางหลังก็ยึดรูปแบบเดิมที่ใช้ไม้กระดานชิ้นเล็กทับ หลัง แล้วทับหลังด้วยแผ่นสังกะสีอีกชั้น

ปลายจ๋องแบบไม้ปกจ๋อง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 39

แบบที่ 3 แบบกาแล หรือ แบบไม้คู่ไขว้ เป็นแบบที่ถูกยกให้เป็นเอกลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่นล้านนา ถูกใช้ กับเรือนกาแล เรือนแบบประเพณีที่สําคัญของเชียงใหม่และล้านนา อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์กล่าวว่า ไตยวนทางภาคเหนือเรียก “ก๋าแล” (นกกาชําเลืองดู) ส่วนชาวไตยวนในราชบุรีเรียก “แก๋แล” (นกพิราบ ชําเลืองดู) ลักษณะเป็นไม้กระดานหน้ากว้างเท่ากับไม้ป้านลม ยาวประมาณ 0.70 – 1.00 ม. หนาประมาณ หนึ่งนิ้ว แกะสลักอย่างงดงาม เป็นลายกนก 3 ตัว หรือลายเมฆไหล (เสนอ นิลเดช, 2540: 117) อ่อนช้อย คล้ายพืชพันธุ์ที่แตกยอดงอกขึ้นไป แบ่งตามรูปทรงได้ 3 ประเภท (นพ.เฉลียว ปิยะชน) คือ ทรงตรง ทําเป็นแนวตรงต่อเนื่องกับปั้นลม ทรงอ่อนโค้งคล้ายเขาควาย ส่วนโคนของกาแลทําโค้งออกเล็กน้อย และวกเข้าในเล็กน้อย ปลาย บนกลับโค้งออกด้านนอกอีก และ ทรงคล้ายกากบาท สั้นกว่า 2 แบบแรก ปลายบนคล้ายเศียรพญานาค 2 เศียรหันหน้าเข้าหากัน ปลายล่างมน ฉลุโปร่ง แบบนี้จะทําเป็นชิ้นมาทาบติดกับปั้นลม ลวดลายที่ใช้กับกาแล พบ ลายกนกสามตัว ลายเถาไม้ หรือ ลายเครือเถา และลายเมฆไหล พบ ทั้งที่ฉลุโปร่ง กับการแกะลายโดยไม่ฉลุให้ทะลุหลัง 1) เรือนนางอําไพ บ้านข่วงเปา อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เรือนพญาวงศ์ จังหวัดลําพูน ย้ายมาอยู่ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) เรือนไตเขิน บ้านเลิน( นอกเมือง เชียงตุง เป็ นกาแลแบบง่ายๆ 4) เรือนนางจํา บ้านแปะเหนือ อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (ทีม( า : เฉลียว ปิยะชน, 149) 5) เรือนไตลือ7 นอกเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปนั นา 6) เรือนชาวแอ่น นอกเมืองเชียง ตุง มีปิดแหลวร่วมด้วย

ปลายจ๋องกาแล

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


40 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

แบบที่ 4 แบบแม่แจ่ม หรือ “จ๋อง” (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2539:15) นิยมใช้แถบอําเภอทางตอนใต้ของ จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งใหญ่ในอดีตคือที่อําเภอจอมทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญของพื้นที่แถบนี้ ก่อนจะแพร่ หลายไปสู่พื้นที่ ข้างเคีย ง ปัจ จุบั นเรือนพื้ นถิ่ นที่ ประดั บปลายจ๋ องแบบนี้ ในอําเภอจอมทอง เหลืออยู่น้อยมาก เพราะความเจริญสมัยใหม่รุกเข้าสู่พื้นที่ แต่ยังหลงเหลืออยู่มากและหนาแน่นในเขต อําเภอแม่แจ่ม จึงถูกเรียกกันว่า แบบแม่แจ่ม บางท่านเรียกว่า กาแลแม่แจ่ม ลักษณะเป็นไม้กระดานกว้าง 4 นิ้ว ยาวประมาณ 0.30 – 0.50 ม. ฉลุลายเป็นรูปร่างต่างๆ ทั้งเรขาคณิตและลายพื้นเมือง ตีตามแนวตั้ง บนไม้ป้านลม แล้วตีไม้กระดานทับหลังอีกที อาจเป็นพัฒนาการต่อจากปลายจ๋องแบบกาแล ที่ไม่ต้องการ ให้เหมือนกาแล ซึ่งใช้กับเรือนเจ้านาย จึงดัดแปลงให้ง่ายลง รูปแบบเปลี่ยนแปลง ให้สมฐานะ หรืออาจ เพราะองศาหลังคาเรือนเหล่านี้ป้าน แบนราบลงจากเรือนกาแลมาก จากเรือนกาแลที่มีความสูงชันมากกว่า สัดส่วนระยะดั้งต่อขื่อ คือ 1: 1.6 ถึง 1: 2 (เฉลียว ปิยะชน, 2532) กลายเป็นการเอาขื่อมาหักสามหรือหักสี่ ใช้ส่วนเดียว หรือ 1: 3 ถึง 1: 4 (สัมภาษณ์ สล่าปัน จันทิมา, 2554) ใช้กาแลแบบดั้งเดิมไม่ได้แล้ว ไม่สวย สง่างาม จึงต้องดัดแปลงไป

ปลายจ๋องแม่แจ่ม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 41

แบบที่ 5 มงกุฎ หรือ ไม้ฉลุลาย แบบนี้คล้ายกับแบบแม่แจ่ม แต่ไม่มีไม้กระดานปิดทับด้านบน และ ลวดลายที่ใช้ พบเฉพาะลวดลายแบบประเพณี ไม่พบแบบเรขาคณิตเหมือนแบบแม่แจ่ม บางอันมองดู คล้ายมงกุฎ และด้วยตําแหน่งที่อยู่สูงสุดเหนือหลังคา บางท่านจึงเรียกว่า แบบมงกุฎ พบในหลายพื้นที่ ของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ที่อําเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด และที่อื่นๆ รวมทั้งอําเภอแม่แจ่ม

ปลายจ๋องมงกุฎ หรือไม้ฉลุลาย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


42 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ปลายจ๋องมงกุฎ หรือไม้ฉลุลาย

แบบที่ 6 สรไน (สะ-ระ-ไน) บางท่านเรียก “สรไนค้ําฟ้า” หรือ “จาระไน” ลักษณะเป็นไม้สักขนาด 4” x 4” ยาวประมาณ 0.60 – 0.90 ม. ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือนและองค์ประกอบเรือนที่เกี่ยวข้อง นํามากลึง เป็นรูปร่าง คล้ายองค์ประกอบของเรือนขนมปังขิง พบทั้งการติดเดี่ยว กับที่ใช้กับลวดลายไม้ฉลุประกอบ สองข้าง ไม้สรไนนี้ นอกจากจะติดที่ปลายจ๋องแล้ว บางหลังยังติดตั้งที่มุมชายคาทั้ง 4 ด้วย พบมากในเขต จั งหวั ดลํ าพู น ชื่ อ เรี ย ก “สรไน” นี้ อาจจะมาจากคํ าว่ า ”เจี ย ระไน” เพราะมี รู ป เหลี่ ย มมุ มคล้ ายการ เจียระไนอัญมณี หรือ คําว่า “สุระหนี่” ในภาษาชวา หมายถึงปี่สรไนหรือปี่ไฉน เพราะพบคํานี้ในจารึกที่วัด พระยืน

ปลายจ๋องแบบสรไน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 43

ประเพณีและความเชื่อในการปลูกเรือน ชาวล้ า นนามี ค วามเชื่ อ และประเพณี ที่ จ ะคํ า นึ ง ถึ ง เมื่ อ จะปลู ก สร้ า งเรื อ น หลายประการ รายละเอียดอาจแตกต่างกันไปบ้างตามพื้นที่ แต่ที่สําคัญ และยึดถือร่วมกันมีบางประการ ดังนี้ 1. ไม่วางแป๋ขวางเมือง หมายถึง ทิศทางของแป๋ (อะเสและอกไก่)ของเรือน ซึ่งก็คือแนวสัน หลังคานั่นเอง จะต้องวางยาวตามแนวยาวของหมู่บ้านหรือเมือง ซึ่งเมืองส่วนใหญ่จะวางตัว ตามแนวเหนื อ-ใต้ หรื อตามแนวน้ําไหล เรือนจึ งวางตั วตามแนวเหนือ-ใต้ เป็น ส่ว นใหญ่ สังเกตได้จากพื้นที่ที่ลําน้ําไม่วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ชุมชนและเรือน จะยึดถือการวางตาม แนวตามแนวลําน้ํา มากกว่ายึดทิศของตะวัน 2. ทิศทางการหันหัวนอน ความเชื่อเรื่องทิศหัวนอนส่งผลต่อการออกแบบและวางผังเรือน เพราะต้องวางผังให้ผู้ที่อาศัยนอนหันหัวนอนไปทางทิศที่ดี หลีกเลี่ยงทิศไม่ดี ดังนี้ - นอนหันหัวไปทางใต้ จะอายุมั่นขวัญยืน - นอนหันหัวไปทางวันตก จักมีความเดือดร้อนใจ - นอนหันหัวนอนไปทางเหนือ จักมีโรคภัยเบียดเบียน เสียข้าวของ ไม่ดีแล ทุกตําราถือเอาทิศวันออกเป็นทิศมงคล วันตกอัปมงคลเหมือนกัน ส่วนเหนือและใต้นั้นไม่ แน่นอนตายตัว ไม่เหมือนกัน 3. ฤกษ์ยามปลูกเรือน ส่วนใหญ่จะเริ่มวางผังปลูกเรือนกันในฤดูแล้ง หลังเก็บเกี่ยวพืชผล เป็น เวลาที่ว่างจากการทํางาน ทั้งตัวเจ้าของเรือนเอง และเพื่อนบ้าน ที่จําเป็นต้องขอแรงเพื่อน บ้านมาลงแรงกันในช่วงขุดหลุม ตั้งเสา ขึ้นโครง ติดขื่อ ติดแป๋ และนิยมใช้เดือนเลขคู่ เช่น เดือนสี่ หรือเดือนหก โดยต้องดูวันเสียห้ามทําการมงคล ซึ่งแต่ละเดือนจะมีวันเสีย 1 วัน

พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ก่อนการปกเสาเรือน (ตั้งเสา) (ที่มา : วิชุลดา นิลม่วง, 2541)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


44 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ชื่อเรียกองค์ประกอบและขั้นตอนการปลูกเรือน เจ้าของเรือนจะเตรียมไม้สําหรับปลูกเรือน อาจใช้เวลานาน บางทีเป็นหลายปี ค่อยสะสมจนครบ จํานวนที่จะปลูกเรือน ระหว่างนี้ไม้จะถูกผึ่งให้แห้ง จ้างคนมาเลื่อย เจาะ ถาก ไส เมื่อถึงเวลาจะปลูกเรือน เจ้าของจะติดต่อสล่า (ช่าง) สล่าอาจมาเพียงคนเดียว หรือมาพร้อมลูกมือ 1-3 คน บางทีเจ้าของเรือนมีฝีมือ เชิงช่าง ก็เป็นลูกมือสล่าไปด้วย

ปกเสา ก่อนการขุดหลุมเสาเรือน 1 วัน จะทําพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ ขุดหลุมเสามงคล (เสาเอก) ทิศหัวนอน และเสานาง (ทิศปลายเท้า) และทําพิธีตั้งขันครู พอถึงวันปกเสา ชาวบ้านในหมู่บ้านจะมาช่วยกันหามเสา มงคล เสานางลงหลุม ปก (ตั้ ง) ขึ้ น มีพิธีกรรมโดยอาจารย์ ผูกต้น มะพร้ าว กล้ว ย อ้อย บางตํ าราใช้ มี มะพร้าวอ่อน 1 ทะลาย กล้วย 1 เครือ และเสื้อเจ้าของเรือนฝ่ายชายร่วมด้วย

ตั้งปวน เมื่อปกเสามงคล เสานางแล้วจึงปกเสาต้นอื่นๆ มีสล่าเก๊า (หัวหน้าช่าง)เป็นผู้กํากับ ใช้ไม้ค้ํายันตี แปะให้เสาตั้งตรง ถมหลุมเสาด้วยทรายแบบหลวมๆ (ถมหล่ม) แล้วตี “ปวน” หรือนั่งร้านไม้ไผ่ เพื่อให้ขึ้น ไปทํางานส่วนบนได้ อาจารย์จะขึ้นไปติดแผ่นทองเหลืองหรือยันต์ที่ปลายเสามงคล เสานาง และเสาบริวาร


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 45

สุบขื่อ สุบแป๋ (อะเส) จากนั้นช่วยกันเอาขื่อขึ้นไป สุบขื่อ สุบแป๋ (สวมขื่อ สวมแป๋) หรือติดขื่อ ติดแป๋ สมัยก่อนเป็นการ สุบ (สวม) โดยทําเดือยไว้ที่หัวเสา เจาะรูที่ปลายขื่อ แป๋ขนาดพอดีกัน นําขึ้นสวมที่เดือย ขื่อและแป๋จะวาง นอน การยึดแบบนี้จะแน่นหนาแข็งแรงมาก ขื่อแป๋เป็นส่วนสําคัญของโครงสร้าง สมัยหลังมีน๊อตเหล็ก ขนาดใหญ่ใช้ จึงใช้การแปะขื่อและแป๋ข้างเสาที่บากไว้รอ ยึดด้วยน๊อตที่ร้อยทะลุเสา

สอดแวง (คาน) แล้วนําแวง (คาน) เข้าสอดรูที่เจาะเสารอไว้แล้ว ขั้นตอนนี้ สล่าจะปรับตีนเสาที่ถมหลวมๆไว้ให้ พอขยับได้ เพื่อให้แนวได้ฉากกับขื่อแป๋ เสาไม้อาจคดไปบ้าง ไม่ตรงเหมือนไม้โรงเลื่อย สล่าจะยึดแนวของ ขื่อแป๋เป็นหลัก ต้องได้ฉากได้แนว เพราะต้องขึ้นโครงและมุงหลังคา แนวเสาช่วงสอดแวงเป็นอันดับถัดมา ในการยึดแนวยึดฉาก ตีนเสาจะหนีออกจากแนวบ้างไม่เป็นไร เพราะไม่ได้ทําอะไรกับใต้ถุนเรือน เสร็จขั้นตอนนี้ ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 วัน เป็นอันเสร็จการขอแรงจากเพื่อนบ้าน จากนี้ไป สล่ากับ ลูกมือจะทํางานไปกันเองจนเสร็จ เพราะไม่ต้องใช้แรงคนจํานวนมากแล้ว สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


46 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เมื่อวางและปรับแวงได้ดีแล้ว จึงติดตั้งตงไม้ โดยตียึดกับแวง แล้วนําไม้พื้นขึ้นวางพาดบนตง เป็น การวางชั่วคราว ยังไม่ตียึดติดตั้ง แต่พาดไว้ให้สล่าขึ้นไปทํางานบนโครงสร้างได้

แล้วจึงติดตั้งดั้ง ความสูงดั้งมาจากสัดส่วนของขื่อ เป็น 1 ใน 4 ส่วน หรือ 1 ใน 3 ส่วน แล้วแต่ ความต้องการและกระเบื้องที่จะใช้มุงหลังคา การตั้งดั้งจะตั้งบนไม้แหนบ คือไม้คู่ ตีตั้งบนขื่อ วางยาวตาม แนวยาวเรือน ตรงตําแหน่งที่ต้องให้เป็นจ๋อง (สันหลังคา) ซึ่งไม่จําเป็นต้องตรงกับกึ่งกลางช่วงเสา ติดตั้งแป๋ จ๋อง (อกไก่) ที่ยอดดั้งตามแนวยาวของเรือน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 47

พาดก๋อน (กลอน) ติดตั้งก๋อน พาดบนแปจ๋องกับ แป๋ที่พาดหัวเสา ระยะห่างประมาณ 0.40 – 0.50 ม. ขั้นตอนนี้ ปวนจะถูกถอดออก สล่าสามารถขึ้นทํางานบนโครงสร้างได้เลย

ติดไม้ก้านฝ้า ติดตั้งไม้ก้านฝ้า (ระแนง) ระยะห่างขึ้นอยู่ขนาดของกระเบื้อง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


48 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ปั้นลม แป้นน้ําย้อย ติดตั้งหน้าจั่ว ไม้ปั้นลม แป้นน้ําย้อย (เชิงชาย)

มุงกระเบื้อง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 49

ติดตั้งไม้พื้น

ติดตั้งเจนฝา เจนฝาจะติดไปพร้อมกับวงกบประตูหน้าต่าง บางหลัง โดยเฉพาะเรือนที่มีฝาสูง สล่าจะตี “เบง” เป็นไม้ตียึดเจนฝาในทแยง ลักษณะเป็น Bracing ให้ฝาเรือนแข็งแรงขึ้น

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


50 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตีไม้ฝา

ติดบาน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 51

ติดองค์ประกอบอื่น ราวระเบียง ซุ้มหน้า ฮ้านน้ํา หิ้งพระ ม้านั่ง ฯลฯ

ขั้นได เป็นธรรมเนียมว่าขั้นได (บันได) จะติดตั้งเป็นขั้นตอนสุดท้ายเสมอ มีพิธีต่างหากแยกจากตัวเรือน มีการตั้งขันครูโดยเฉพาะ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


52 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาเฉพาะถิ่นในจังหวัดต่างๆ นอกจากลักษณะต่างๆของเรือนล้านนาที่ได้ศึกษาไปแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะของเรือนพื้นถิ่น ในแต่ละจังหวัด ที่แตกต่าง หรือมีลักษณะเฉพาะถิ่น เฉพาะพื้นที่ ที่มีความน่าสนใจ ควรค่าแก่การศึกษา เพื่อทําความเข้าใจในภาพใหญ่ภาพรวมของเอกลักษณ์เรือนล้านนา แยกเป็นจังหวัดต่างๆ ดังนี้ เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดน่าน เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดน่าน พบหลายพื้นที่ แต่ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ คือ เรือนพื้นถิ่นที่บ้านตึ๊ด อําเภอเวียงสา ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง มีรูปแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนที่อื่นๆในน่าน และหายากใน ล้านนา จุดเด่นอยู่ที่การใช้เสาก่ออิฐขนาดใหญ่ 50-60 ซม.รองรับตัวเรือนไม้ ใช้ปูนก่อแบบโบราณ เป็นปูน ที่เตรียมขึ้นเองจากหินปูนและยางรัก ซึ่งต่างจากเรือนไม้พื้นถิ่นแหล่งอื่นๆในล้านนา ที่มักใช้เสาไม้ หรือเสา คอนกรีตเสริมเหล็กแบบโบราณ ที่เรียกว่า “เสาสะตาย” หลังคาทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องคอนกรีตแบบ โบราณที่เรียกว่า กระเบื้องวิบูลย์ศรี สร้างหลองข้าวไว้ใกล้เรือน แล้วเชื่อมด้วยชาน ซึ่งต่างจากชาวล้านนา ไตยวนโดยทั่วไปที่มีความเชื่อเรื่องผี และจะสร้างหลองข้าวเป็นเรือนโดดแยกจากเรือน ชานที่เชื่อมเรือนกับหลองข้าวนี้ เดิมเป็นชานโล่งไม่มีหลังคาคลุม หรือที่เรียกว่า “นอกชาน” แต่ปัจจุบันเรือนทุกหลังทําหลังคาคลุมชานนี้หมดแล้ว เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และป้องกันชานเรือน ผุ เพราะไม้หายากขึ้น ราคาแพง และมีไฟฟ้าแสงสว่างใช้แล้ว ไม่กังวลว่าเรือนจะมืดทึบเหมือนในอดีต

เรือนพื้นถิ่นที่บ้านตึ๊ด จังหวัดน่าน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 53

เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดแพร่ เรือนพื้นถิ่นแพร่ เป็นเรือนยกพื้นสูง สองจ๋องจั่วแฝด แบบล้านนาทั่วไป ผังพื้นเป็นแบบเดียวกัน คือมีเติ๋นกับห้องนอนอยู่ด้านตะวันออก ทางเดินผ่านกลางจากด้านหน้าไปด้านหลัง บันไดทางขึ้นเรือนอยู่ ด้านนอก เดินขึ้นสู่ชานเรือน แต่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการตามวัสดุก่อสร้างยุคต่อๆมา โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ที่ทําให้เกิดภาพของความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ วัสดุมุงหลังคา กระเบื้องลอนคู่ทําให้ไม่ต้องยก องศาหลังคาให้ชันเหมือนที่เคยเป็น เมื่อยังมุงกระเบื้องดินขอ หรือกระเบื้องคอนกรีตแบบโบราณ (วิบูลย์ ศรี) ทําให้รูปทรงหลังคาเปลี่ยนเป็นทรงจั่วแบนราบลง

• เรือนไม้ในจังหวัดแพร่ พัฒนาการจากเฮือนไม้บะเก่า

• เรือนสมัยกลางยุคแรกในจังหวัดแพร่ บันไดยังอยู่นอกเรือน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


54 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ส่วนจังหวัดอื่นๆ เช่น จังหวัดลําพูน เรือนพื้นถิ่นที่ชาวลําพูนถือเอาเป็นเรือนเอกลักษณ์ของเมือง ลําพูน คือ เฮือนสรไน ซึ่งได้ศึกษาไปแล้วในหมวดของเรือนไม้ ส่วนเรือนพื้นถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น เป็นแบบเรือนไตใหญ่ เพราะเป็นที่ตั้งของกลุ่มไตใหญ่ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นในแม่ฮ่องสอน ซึ่งจะได้ศึกษา ในบทที่ 4 เรื่อง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาติพันธุ์ เรือนพื้นถิ่นลําปาง แบบประเพณีล้านนา มีลักษณะเหมือน เรือนล้านนาทั่วไป แต่มีเรือนพื้นถิ่นอิทธิพลตะวันตกเป็นจํานวนมากภายในตัวจังหวัด เรือนพื้นถิ่นพะเยา และเชียงราย บางส่วนเป็นเรือนของชาวไตลื้อที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ และมีเรือนชาวล้านนาหรือไตยวน ลักษณะเหมือนเรือนล้านนาทั่วไป


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 55

3 สถาปัตยกรรมพืน ้ ถิน ่ ภาคเหนือตอนล่าง

แผนที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ประเทศไทย

ในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่นอกล้านนา ด้วยเพราะรูปแบบวัฒนธรรมแตกต่าง จากเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่เรานับว่าเป็นล้านนา เราสามารถจําแนกรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้น ถิ่น โดยเฉพาะเรือนพักอาศัยและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบภาคกลาง และ แบบผสมผสานระหว่างแบบภาคกลางและแบบอื่นๆ เช่น ล้านนา อีสาน ดังนี้ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


56 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบภาคกลาง ได้แก่ เขตจังหวัดตอนล่างสุดของภาคเหนือ คือจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ และอุทัยธานี สภาพภูมิ ประเทศ ภูมิอากาศ ผู้คน และวัฒนธรรมเป็นแบบภาคกลาง เรือนพักอาศัย และยุ้งข้าว จึงเป็นแบบภาค กลาง คือ พบทั้งเรือนไทยเดิมภาคกลาง และเรือนไทยพัฒนาการ ลักษณะโดยรวม ดังนี้ 1. เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุน มีทั้งที่ยกพื้นไม่สูงนัก (ประมาณ 0.90 – 1.20 ม.) ไม่มีการใช้งาน กับ แบบยกใต้ถุนสูง (ประมาณ 1.80 – 2.20 ม.) มีการใช้งานอเนกประสงค์ช่วงกลางวัน มีห้องเก็บของ ครัว ห้องน้ําส้วม หรือจอดรถ เดิมเป็นดินบดอัดแน่น เกลี้ยง ปัจจุบันหลายหลังเทคอนกรีต ระดับสูงกว่าระดับดิน ภายนอกเล็กน้อย 2. หลังคาทรงจั่วมุงสังกะสีเป็นส่วนใหญ่ แทนหลังคาเดิมซึ่งมุงกระเบื้องดินเผาหรือจาก หน้า จั่วหันในแนวแกนตะวันออก-ตก มีชายคาปีกนกสอดรับใต้หลังคาจั่วทั้ง 4 ด้าน ด้านที่คลุมระเบียงจะทิ้งยาว ถึงนอกชาน ไม่ตีฝ้าเพดาน 3. พื้นเรือน ทําเป็นพื้นต่างระดับ ระดับสูงสูงสุดคือห้องนอนและโถงข้างห้องนอน รวมทั้ง ระเบียงหน้าห้องนอน ระดับถัดมา ลดลงประมาณ 0.30 เป็นระดับชานร่ม ถัดจากชานร่ม เป็นนอกชาน ระดับจะลดลงประมาณ 0.20-0.30 วัสดุที่ใช้ทําพื้นจะเป็นไม้แผ่นปูชิดวางยาวไปตามความยาวของตัวเรือน ส่วนชานจะตีเว้นร่อง พื้นเรือนมักใช้ไม้หน้ากว้างกว่าพื้นชาน 4. ฝาเรือน ฝาภายนอกมีทั้งฝาไม้ตีนอนบังใบ และฝาไม้ตีตั้ง ลูกฟักสายบัว ฝาภายในเป็นฝา บานเฟี้ยมแบบลูกฟัก สูงถึงท้องขื่อ ตอนบนเปิดโล่งหรือทําเป็นช่องระแนงหรือไม้ฉลุเพื่อระบายลม 5. หน้าต่างบานเปิดคู่เป็นส่วนใหญ่ 6. โครงสร้างเป็นไม้เนื้อแข็ง ส่วนพื้น ฝา ประตูหน้าต่างเป็นไม้สัก แต่เสาตอม่อส่วนใหญ่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็กสําเร็จรูปต่อกับเสาไม้ เสาไม้ฝังดินไม่ค่อยมีแล้วในปัจจุบัน 7. ลักษณะการขยายเรือนเมื่อมีสมาชิกเพิ่ม มีทั้งการสร้างเรือนแยกห่างจากกันในบริเวณที่ดิน เดียวกัน กับการสร้างเรือนแยกแต่ต่อเชื่อมกับเรือนพ่อแม่ 8. พบห้องน้ํา-ส้วมบนเรือนมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่สร้างไว้ชั้นล่าง (ใต้ถุน) 9. ห้องครัวส่วนใหญ่จะย้ายลงมาอยู่ใต้ถุนแทนอยู่บนเรือน แต่ก็ยังมีหลายหลังที่ยังคงทําครัว บนเรือน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 57

เรือนพื้นถิ่นจังหวัดนครสวรรค์

เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดพิจิตร

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบผสม กลุ่มจังหวัดที่ตั้งอยู่ส่วนที่ต่อเชื่อมของวัฒนธรรมล้านนากับวัฒนธรรมภาคกลางจะมีลักษณะ เรือนพื้นถิ่นที่ผสมผสานของสองวัฒนธรรม กลุ่มนี้ได้แก่ จังหวัดตาก กําแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก ส่วนเขตจังหวัดอุตรดิตถ์และเพชรบูรณ์ มีการผสมผสานของวัฒนธรรมอีสานเข้ามาปะปนด้วย จึงมีอิทธิพล ของทั้งสามวัฒนธรรม ดังนี้ เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดตาก มี 2 รูปแบบ คือ แบบอิทธิพลเรือนไทยเดิม และแบบพื้นถิ่นตาก แบบอิทธิพลเรือนไทยเดิม เป็นเรือนไทยเดิมทรงเตี้ย ยกใต้ถุนไม่สูง ใช้งานไม่ได้จนถึงพอใช้งาน ได้ แต่ไม่สูงเหมือนภาคกลาง จนมีผู้เรียกว่า “เรือนไทยตัดขา” หรือ “เรือนไทยขาสั้น” หลังคาจั่วทรงสูง แบบเรือนไทยเดิมภาคกลาง มุงกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ มีชายคาปีกนกโดยรอบ เฉพาะด้านสกัดหน้าหลัง ยื่นยาวคลุมพื้นที่ใช้สอยหน้า-หลัง ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังที่อยู่ริมทางสัญจร จะวางยาวตามทาง ทําเป็นบาน เฟี้ยมเปิดหน้ารับแขกหรือขายของ ทั้งเรือนร้านค้าและเรือนพักอาศัย หลังที่อยู่ด้านในจะวางเรือนแบบ เรือนไทยเดิมภาคกลาง บางหลังมีนอกชานไว้ใช้งาน และมีร้านน้ําแบบล้านนา ฝาเรือน มีฝาไม้ตีตั้งลูกฟัก สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


58 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สายบัวแบบภาคกลางบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นฝาตีชิดแนวนอนและแนวตั้ง แบบนี้พบมากที่ชุมชนตรอกจีน ภายในตัวเมืองตาก นอกจากเรือนพื้นถิ่นแบบเรือนไทยเดิมภาคกลางแล้ว ยังมีเรือนขนมปังขิงให้เห็นหลายหลังที่ จังหวัดตาก โดยเฉพาะย่านตรอกบ้านจีน เป็นย่านอนุรักษ์ที่มีทั้งแบบเรือนไทยเดิมและเรือนขนมปังขิง ผู้คนตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์เรือนเก่า และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่เสมอ

เรือนพื้นถิ่นแบบเรือนไทยเดิมที่จังหวัดตาก

ส่ว นเรือนยุ้ งข้ าวนั้น ทํ าเป็ น เรือนยกพื้ นไม่สู งแบบเดี ยวกั บ จั งหวั ดกําแพงเพชร พิ ษณุโ ลก มี ลักษณะเฉพาะเหมือนเรือนยุ้งข้าวทุกแห่ง คือ ตีฝาเอาไม้เคร่าอยู่ด้านนอก ไม้กระดานอยู่ด้านในเพื่อรับแรง จากน้ําหนักข้าวเปลือกด้านในดันออกมา

เรือนขนมปังขิงและเรือนยุ้งข้าวที่จังหวัดตาก

แบบพื้นถิ่นตาก พบในอําเภอรอบนอก เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ใช้งานใต้ถุนเรือนได้ มีแคร่มีตั่ง ไว้นั่งนอน หลังคามุงกระเบื้องดินขอและกระเบื้องซิเมนต์หางว่าว แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสังกะสี แล้ว พบทั้งหลังคาจั่วและปั้นหยา ฝาไม้ตีชิดตามแนวนอน ยอดฝาทําเป็นช่องลมโดยรอบ หน้าต่างบานเปิด คู่ลูกฟักไม้ทึบตามแบบเรือนล้านนาสมัยกลาง เสาเรือนเป็นเสาไม้ แต่เสาใต้ถุนเป็นเสาตอม่อปูนสําเร็จรูป จุดเด่นคือ การทํากันสาดปีกนกอีกชั้นหนึ่งโดยรอบ ยื่นยาวมาก ประมาณ 1.8-2.0 เมตร มีไม้ค้ํายันตาม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 59

แนวเสา ยันลงมาค่ อนข้างต่ํ า นอกจากตัวเรือนแล้ว จะมีชานเชื่ อมเรือนครัว ซึ่งถู กมุงหลังคาหมดแล้ ว บันไดทางขึ้นเรือนจะขึ้นสู่ชานนี้ มีราวระเบียงกันตกและม้านั่งรอบชาน

เรือนพื้นถิ่นตาก

เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดกําแพงเพชร มี 3 แบบ คือ 1. แบบเรือนไทยเดิมทรงเตี้ยเช่นเดียวกับที่จังหวัดตาก ลักษณะของรูปทรงเรือน หลังคา ผังพื้น และการวางเรือนเหมือนกับเรือนแบบนี้ที่จังหวัดตาก และ 2. เรือน ปั้นหยา เป็นเรือนยกพื้นไม่สูง หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ มีปีกนกชายคากันสาดรอบ ด้าน ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางยาวตามทางสัญจร เปิดบานเฟี้ยมด้านหน้ารับแขกหรือขายของ ส่วนใหญ่เป็น อาคารชั้นเดียว หลังที่เป็นสองชั้นจะมีระเบียงแคบๆยาวตลอดตัวเรือน และ 3. เรือนขนมปังขิง ยังเหลืออยู่ หลายหลังภายในตัวเมือง ตกแต่งหน้าจั่วด้วยไม้ฉลุลายแพรวพราว

เรือนพื้นถิ่นแบบเรือนไทยเดิม และแบบเรือนปั้นหยาที่จังหวัดกําแพงเพชร สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


60 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนพื้นถิ่นแบบเรือนขนมปังขิงที่จังหวัดกําแพงเพชร

เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก พบทั้งเรือนไทยเดิมแบบภาคกลาง และเรือนไทยพัฒนาการ คือมีผังพื้นและตัวเรือนคล้ายเรือนไทยเดิม ฝาสายบัว ช่องหน้าต่างมีกรอบเช็ดหน้าและหย่องตามแบบเรือน ไทยเดิม แต่หลังคาไม่มีปั้นลมปลายบนแหลมสูง ปลายล่างเป็นตัวเหงาตามแบบเรือนไทยเดิม แต่เป็นจั่ว เรียบง่าย ระนาบตรงไม่อ่อนปลาย มีไม้กลึงกลมประดับยอดจั่ว (คล้ายเรือนขนมปังขิง) เรือนยุ้งข้าวนั้น ทํา เป็นเรือนยกพื้นไม่สูงแบบเดียวกับจังหวัดกําแพงเพชร พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆแถบนี้

เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดสุโขทัย

เรือนพื้นถิ่นที่จังหวัดพิษณุโลก


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 61

เรือนพื้นถิ่นที่เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ คนลับแลเป็นชาวล้านนาที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสนเมื่อครั้ง สงครามฟื้นม่านสมัยพญากาวิละ จึงเป็นกลุ่มวัฒนธรรมล้านนา และเป็นคนละกลุ่มกับผู้คนในเมืองอุตรดิตถ์ แต่ระยะเวลาที่มาตั้งถิ่นฐานแถบนี้ยาวนาน จึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียง ทั้งสยามและอีสานล้าน ช้างเข้ามาผสมผสาน ปรากฏอยู่ทั้งบ้านพักอาศัยและวัดวาอาราม

เรือนพื้นถิ่นที่เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

เรือนพื้นถิ่นที่เมืองลับแล มีผังพื้นใกล้เคียงกับเฮือนบะเก่าล้านนา เป็นเฮือนสองจ๋อง หรือ เรือน จั่วแฝด แต่เอาเล้าข้าวมาปลูกชิดจนดูคล้ายเป็นเรือนสามจั่ว เน้นบันไดทางขึ้นมากกว่าเฮือนล้านนา ทําเป็น ส่วนยื่นออกมาจากตัวเรือน หักศอก ทําคอกล้อมประดับด้วยราวระเบียง หลังคาเพิงยื่นออกมาคลุม บาง หลังทําเป็นชานยื่นออกมาพร้อมบันไดด้วย มีอิทธิพลเฮือนอีสานที่หน้าจั่ว ทําเป็นลายตะเว็น (พระอาทิตย์) แบบอีสาน นอกจากนี้ ยังพบเรือนที่ใช้เสาก่ออิฐมอญไม่เสริมเหล็กขนาดใหญ่ ประมาณ 0.50 ม. แบบที่พบ ที่บ้านตึ๊ด อําเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และที่จังหวัดเลย และปั้นลมแบบเรือนไทยเดิมภาคกลางที่ปลายบน แหลมสูง ปลายล่างเป็นตัวเหงา

อิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงในเรือนพื้นถิ่นที่ลับแล สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


62 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

อิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงในเรือนพื้นถิ่นที่ลับแล

อิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงในวัดวาอารามที่ลับแล

วิหารวัดดอนสัก รูปทรงหลังคาเป็นแบบล้านนา คือ ระนาบหลังคาอ่อนโค้ง และไม่สูงใหญ่เกิน สัดส่วนมนุษย์ แต่ใช้เครื่องลํายองคล้ายแบบอีสาน และมีฐานแอ่นโค้งตกท้องช้างแบบอยุธยาตอนปลาย บานประตูไม้มีรูปแบบและลายจําหลักแบบรัตนโกสินทร์ วิหารวัดไชยจุมพล รูปทรงคล้ายวิหารทรงปราสาทแบบที่ปรากฏในล้านนาและสุโขทัย ทั้งยัง รู ป ทรงไม่ สู งใหญ่ แบบอยุ ธ ยาหรื อรั ตนโกสิ น ทร์ แต่ ใ ช้ ฐ านแอ่ น โค้ งตกท้ องช้ างแบบอยุ ธ ยาตอนปลาย เช่นเดียวกับวิหารวัดดอนสัก จึงเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมข้างเคียงเข้ากับวัฒนธรรมล้านนาที่สืบทอดมา กับเผ่าพันธุ์จากแหล่งกําเนิด


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 63

4 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไต ชุมชนและเรือนไตลื้อ กลุ่มคนไทหรือไต ที่มีถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนใต้ของมณฑลยูนนานของจีน พม่าตะวันออก ลาว ตอนเหนือของเวียดนาม และภาคเหนือตอนบนของไทย ล้วนเป็นพวกเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน สื่อสารกัน ได้จนแม้ปัจจุบัน เกิดจากการผสมผสานของไตใหญ่จากลุ่มน้ําสาละวินและไตน้อยลุ่มน้ําโขง แต่อยู่ต่างเมือง ต่างแคว้นจึงเรียกต่างกัน คือ ไตลื้อ ไตเขิน ไตดํา ไตยวน ตามชื่อของแหล่งที่ตั้ง เพื่อให้รู้กันว่าใครเป็นไต จากที่ไหน เช่น ไตเขิน คือ ไตที่อยู่ลุ่มแม่น้ําขืน เรียกไตขืน แล้วกลายเสียงเป็นไตเขิน ไตที่อยู่เมืองยอง เรียก ไตยอง หรือเรียกตามเอกลักษณ์ เช่น ไตดํา คือไตที่นิยมแต่งกายด้วยผ้าสีดํา ไตกลุ่มต่างๆ เมื่อไปตั้งถิ่นฐาน ห่างไกลกันในที่ต่างๆ จึงมีวัฒนธรรมหลายอย่าง รวมทั้งการตั้งหมู่บ้านและปลูกสร้างบ้านเรือน ที่มีบางส่วน คล้ายกัน และมีบางอย่างที่ต่างกันไป เพราะรับวัฒนธรรมข้างเคียงเข้าไปผสมผสาน ไตลื้ออพยพเข้าสู่ไทยเพราะถูกกวาดต้อนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ให้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในล้านนา ทางการสํารวจเมื่อ พ.ศ.2540 พบชาวไตลื้อจํานวน 3,229 คน อยู่ในจังหวัดต่างๆในล้านนา คือ - เชียงราย (อ.แม่สาย, อ.เชียงของ) - เชียงใหม่ (อ.สะเมิง, อ.ดอยสะเก็ด) - น่าน (อ.ท่าวังผา, อ.ปัว, อ.เชียงกลาง, อ.ทุ่งช้าง) - พะเยา (อ.เชียงม่วน, อ.เชียงคํา) - ลําปาง (อ.เมือง, อ.แม่ทะ) - ลําพูน (อ.เมือง, อ.บ้านธิ) ในจํานวนนี้ ที่ อ.เชียงคํา อ.ปัว และ อ.ทุ่งช้างมีจํานวนมากที่สุด ชาวไตลื้อมีฝีมือด้านการทอผ้า ผ้าทอไตลื้อนิยมใช้ผ้าฝ้าย ลวดลายที่เรียกว่าลายน้ําไหล ปัจจุบัน มีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไตลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


64 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ชาวไตลื้อนับถือผี ต่อมาก็นับถือพุทธศาสนา ด้วย พิ ธีกรรมที่ สําคัญ คื อ พิธี เข้ ากรรม ซึ่งเป็ นพิ ธี การไหว้ ผี และเลี้ ย งผี กระทํ ากัน ปี ล ะครั้ ง บางแห่ ง อาจทํา 3 ปีครั้งหนึ่ง พิธีเข้ากรรมมี 2 ระดับคือ พิธี เข้ากรรมเมือง คือ การเลี้ยงผีเจ้าเมืองและพิธีกรรม บ้าน คือการเลี้ยงผีประจําหมู่บ้าน ในพิธีเข้ากรรมจะ มี ก ารฆ่ า วั ว ควาย หรื อ เป็ ด ไก่ สั ง เวยผี แต่ อ าจมี รายละเอียดต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

การแต่งกายชาวไตลื้อ

ชุมชนไตลื้อ หมู่บ้านไตลื้อมักตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ํา หรือบนลาดเขาที่ติดกับที่ราบผืนใหญ่สําหรับทํานา บางแห่ง ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ทําบ่อน้ําของหมู่บ้าน 2-3 แห่งด้านหน้าหมู่บ้าน ลักษณะผังหมู่บ้านจะมีเส้นแบ่งชัดเจน มี ทางเข้าหลายทาง มีทางเชื่ อมต่ อกัน และมุ่ งไปสู่วัดหรือลานใจบ้าน จึ งเป็ นที่ส าธารณะที่ ใช้สํ าหรั บงาน มหรสพรื่นเริงต่างๆ ตัวเรือนจะเรียงรายอยู่สองฟากถนน เกิดภาพที่งดงาม หมู่บ้านไตลื้อมีตั้งแต่ขนาดเล็ก 20 หลังคาเรือนถึงขนาดใหญ่ 100 หลังคาเรือน สภาพภูมิศาสตร์มีส่วนกําหนดผังหมู่บ้านมากที่สุด เส้น แกนและความสมดุลของผังแทบไม่มีความสําคัญเลย (จูเหลี่ยงเหวิน, 2536 : 27) ตัวเรือนมักจะถูกวางให้ สันหลังคาหันไปในทางเดียวกัน ทิศใดทิศหนึ่งหรือทิศเดียวกับโบสถ์วิหาร แต่หากหมู่บ้านอยู่บนไหล่เขา สัน หลังคาอาจหันทิศต่างกันตามธรรมชาติกําหนด

ชุมชนไตลื้อในสิบสองปันนา

ลักษณะของชุมชนไตลื้อ มีองค์ประกอบหมู่บ้าน คือ ข่วงบ้าน เสาใจบ้าน เสื้อบ้าน วัดชุมชน บ่อน้ําประจําหมู่บ้าน ซึ่งมัก ทําหลังคาคลุม ชุมชนจะตั้งรวมตัวกันเป็นกระจุกแน่น และมีพื้นที่ทําการเกษตรอยู่ด้านหน้าหรือหลังชุมชน มีลานบ้าน(ข่วง) เป็นลานดินทุบแน่น กวาดจนเกลี้ยง มีข่วงย่อยที่รวมบ้าน 4-5 หลังเป็นกลุ่มย่อย มีรั้วรอบ ขอบชิดทุกบ้าน ลักษณะรั้วเหมือนรั้วบ้านล้านนา และที่เป็นรั้วก่ออิฐทึบสูงตามแบบบ้านจีน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 65

เสาใจบ้านชุมชนไตลื้อ

ชาวไตลื้อทําพิธีไหว้เทวดาบ้าน

บ่อน้ําสาธารณะ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


66 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

บ่อน้ําสาธารณะในหมู่บ้านมักจะตั้งอยู่ด้านหน้าหมู่บ้านใกล้ต้นไม้ใหญ่ มี 2-3 แห่ง ชาวไตลื้อถือ ว่าบ่อน้ําเป็นสิ่งสําคัญ จึงทําอาคารคลุมไว้ ตกแต่งสวยงามไม่ซ้ําแบบ ทั้งการป้องกันไม่ให้ใบไม้ ฝุ่นผงหรือ สิ่งอื่นๆหล่นลงไป (จูเหลี่ยงเหวิน, 2536 : 25) และทั้งเป็นการให้ความสําคัญกับบ่อน้ํา ชาวบ้านจะใช้ไม้รวก เป็นด้ามยาวติดกับภาชนะสําหรับการตักน้ํา บ่อน้ําสาธารณะนี้มีทั้งของวัดและของชาวบ้าน แต่ทุกคนใช้ได้ และร่วมกันรักษา เป็นเอกลักษณ์สําคัญของชุมชนไตลื้อสิบสองปันนา เพราะแม้ชุมชนไตลื้อในถิ่นอื่นๆก็ไม่ ค่อยจะพบบ่อน้ําสาธารณะแบบนี้

เรือนไตลื้อสิบสองปันนา

ที่มาของรูปทรงเรือนไตลื้อ (ที่มา : จูเหลี่ยงเหวิน, 2536: 79)

ตํานานกล่าวถึงเทวดาแปลงเป็นหงส์บินลงสู่พื้น ร้องบอกให้พญาสมมุ ติสังเกตปีกและหางที่กางออกว่ า ป้องกันลมและฝนได้อย่างไร พญาสมมุติพิจารณาเห็นว่า ปีกและหางที่ลาดลงต่ําด้านข้างนั้น ทําให้น้ําฝนไหลลงสู่ ไม่ รั่ ว ซึ ม จึ งได้ ให้ ช าวบ้ านสร้ างเรื อนตามแบบ เสายก เรือนสูงขึ้น หลังคาลาดต่ําเช่นเดียวกับลักษณะปีก คอ และหางของหงส์ ได้เรือนพักอาศัยที่ป้องกันลมและฝน เรื่อยมา และเรียกเรือนแบบนี้ว่า หงส์เฮือน หรือ เฮือน หงส์ มาจนทุกวันนี้ (จูเหลี่ยงเหวิน, 2536 : 79)

เรือนไตลื้อในสิบสองปันนาเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูงเหมือนกับเรือนล้านนา ใต้ถุนใช้พักผ่อน เลี้ยง สัตว์ เก็บของ เก็บฟืน และใช้งานช่วงกลางวัน เช่น ทอผ้า คล้ายเรือนล้านนา แต่สภาพแวดล้อมที่มีฝนตก ตลอดปีและอากาศหนาวเย็นส่งผลต่อรูปแบบที่แตกต่างไปของเรือนไตลื้อ คือมีลักษณะเด่นอยู่ที่หลังคา หลังคามีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับมวลรวมของเรือน เป็นจั่วผสมปั้นหยา หรือที่เรียกว่าจั่วมนิลา มีองศา ลาดเอีย งชัน มาก หลังคาจึ งมี ความสู ง ช่ วงเปิ ดจั่ว ขนาดเล็กมากอยู่ บนยอด ปิ ดจั่ว เป็ นไม้ นิ ย มตกแต่ ง ลวดลายด้วยรูปนกยูง หลังคาลาดลงทิ้งชายคาคลุมต่ําจนแทบไม่เห็นฝาเรือน บ้างก็ยื่นยาวจนต้องมีแนวเสา อีกแนวหนึ่งเพื่อรับชายคา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอขนาดเล็กมุงซ้อน 2-3 ชั้น เพื่อไม่ให้น้ําฝนรั่ว จึงมี น้ําหนักค่อนข้างมาก องค์รวมของเรือน ได้แก่หลังคา โครงสร้าง และตัวเรือนดูกลมกลืน สวยงาม โครงสร้างเรือนเป็นไม้จริง ฝาไม้จริงพื้นไม้จริง เสาเรือนเป็นไม้ขนาดใหญ่ แปรรูปอย่างง่ายๆ เสา ตั้งบนหินไม่ ฝังดิน เหมือนเรือนของล้านนา โครงหลั งคาไม้ มุงด้ว ยกระเบื้ องดิน ขอ ไม่ตีฝ้าเพดาน ช่อง หน้าต่างและช่องลมขนาดเล็กเพราะอากาศหนาวเย็น


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 67

เรือนไตลื้อในสิบสองปันนา สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


68 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ประเภทและรูปแบบของเรือนไตลื้อ รูปแบบเรือนไตลื้อเกิดจากรูปแบบรูปทรงของหลังคา เพราะมวลรวมของเรือนเกิดจากรูปแบบ หลังคา ที่มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับมวลรวมของเรือนดังที่กล่าวมาแล้ว ความหลากหลายของรูปแบบ เป็นความหลากหลายที่ ล้วนเกิดจากการพลิกแพลงหรือต่อเติมหลังคาหลักที่เป็ นจั่ว มนิล าทรงเดี ยวกั น ดังนั้น แม้จะมีรูปแบบหลากหลาย แต่เป็นเอกภาพของหมู่บ้านได้ รูปแบบหลังคาที่หลากหลายนั้นมีดังนี้ 1. แบบเรื อนเดี่ยว คือหลั งคาทรงจั่ วมนิ ลาเพีย งอั นเดี ยว คลุมผั งพื้ นรูป สี่เหลี่ย ม พื้นที่ ใช้ สอย ทั้งหมดอยู่ภายใต้หลังคาผืนเดียวนั้น ทั้งบันไดทางขึ้นเรือน ห้องโถง ห้องนอน และครัวไฟ ชายคามีทั้งตับ เดียวและ 2 ตับ 2. แบบเรือนเดี่ยว ชักปีกชายคา เพื่อคลุมพื้นที่ใช้สอยด้านข้างเพิ่มเติม ผังพื้นผังหลังคาจะเป็นรูป ตัว L ส่วนที่เหลือของตัว L มักทําเป็นชานโล่งเปิดหลังคา ชายคามีทั้งตับเดียวและ 2 ตับเช่นกัน 3. แบบต่ อมุข แบบนี้มีผังพื้นผั งหลังคาเป็นรูปตัว L เหมือนแบบที่ 2 แต่ ต่อพื้นที่ด้านข้างหรื อ ด้านหน้าออกมา ทําเป็นหลังคามุขเล็กคลุม พื้นที่ที่ต่อออกมานี้มีมากกว่าแบบชักปีกนกคลุม เพราะไม่ถูก จํากัดขนาดตามความลาดเอียงของหลังคา ส่วนที่เหลือของตัว L มักทําเป็นชานโล่งเปิดหลังคาเช่นเดียวกับ แบบที่ 2 ชายคาเรือนแบบนี้มีทั้งตับเดียวและ 2 ตับเช่นกัน 4. แบบเรื อนแฝด แบบนี้ มีผั งพื้น ผังหลั งคาเป็ นรู ปสี่เหลี่ ยมขนาดใหญ่ กว่าแบบที่ 1 เพื่ อไม่ให้ หลังคาสูงใหญ่เกินไป จึงทําหลังคาจั่วเป็นแบบแฝด ชักปีกนกรอบร่วมกัน ส่วนใหญ่เป็นแฝดสอง แต่บาง หลังส่วนน้อยที่เรือนใหญ่มากจนต้องทําเป็นแฝดสาม แบบนี้กลางเรือนต้องรางรินรับน้ําจากหลังคา ชายคา มีทั้งตับเดียวและ 2 ตับเช่นกัน 5. แบบเรือนแฝดไม่เท่ากัน แบบนี้มีผังพื้นผังหลังคาเป็นรูปตัวแอลเหมือนแบบต่อมุข แต่ไม่ทํา หลังคาตั้งฉากกับหลังใหญ่เป็นมุข แต่ทําเป็นแบบเรือนแฝดขนานกัน เชื่อมกันด้วยรางริน แต่หลังคาส่วนนี้มี ขนาดเล็กกว่า ส่วนที่เหลือของตัวแอล มักทําเป็นชานโล่งเปิดหลังคาเช่นเดียวกับแบบที่ 2 ชายคามีทั้งตับ เดียวและ 2 ตับเช่นกัน 6. แบบเรือนขวาง แบบนี้เป็นเรือนขนาดใหญ่ แยกเรือนครัวไฟออกจากเรือนนอน หลังคาเล็ก ของครัวไฟจะทําเป็นเรือนขวาง มีพื้นที่ชานในร่มหรือใต้หลังคาเชื่อมครัวไฟกับเรือนนอน คือเป็นพื้นที่ส่วน ใต้ชายคาของหลังคา หลังคาเชื่อมกันด้วยรางริน และยังมีแบบผสมผสานหลายแบบเข้าด้วยกันอีกมากมาย เช่น ทําเป็นเรือนแฝดแล้วมีเรือนขวาง หรือทําเป็นแบบเรือนแฝดแต่หลังคาแฝดนั้นไม่เท่ากัน หรือทําเป็นแบบเรือนแฝดแล้วต่อมุข หรือทําเป็น แบบต่อมุขแต่มุขนั้นเป็นแบบเรือนแฝด หรือมีหลายมุข ส่วนรูปแบบตัวเรือนนั้น ภาพรวมตัวเรือนมีลักษณะเหมือนกันในทุกรูปแบบหลังคา คือเป็นเรือน ไม้ยกใต้ถุนสูงเหมือนกับเรือนล้านนาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่มีรูปแบบการทําผนังหรือฝาเรือน 2 แบบ คือ แบบฝาตั้งตรง กับแบบฝาผายออก แบบฝาผายออกของเรือนไตลื้อนี้ ต่างจากฝาผายออกของเรือนกาแล


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 69

ของล้านนาตรงที่จะผายออกทุกด้าน ต่างจากเรือนกาแลที่ฝาผายออกเฉพาะด้านข้าง 2 ข้าง ด้านสกัดหน้า หลังฝาตั้งตรง และไม่พบการทําหลังคา 2 ตับในเรือนที่ทําฝาผายออก

เรือนฝาตั้งตรงหลังคาตับเดียว •

เรือนฝาตั้งตรงหลังคา 2 ตับ

เรือนฝาตั้งตรงหลังคาตับเดียว

เรือนไตลื้อแบบต่างๆ (ที่มา : วนิดา พึ่งสุนทร, 2533)

แบบเรือนเดี่ยว

แบบเรือนเดี่ยว ชักปีกชายคา

แบบต่อมุข

แบบเรือนแฝด

แบบเรือนแฝดไม่เท่ากัน

แบบเรือนขวาง

รูปทรงหลังคาและผังพื้นเรือนไตลือ้ (ที่มา : วนิดา พึ่งสุนทร, 2533)

เรือนไตลื้อแบบฝาตั้งตรงและแบบฝาผายออก (ที่มา : วนิดา พึ่งสุนทร, 2533) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


70 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไตลื้อแบบฝาตั้งตรงหลังคา 2 ชั้น

ผังเรือนไตลื้อ บนเรือนไตลื้อประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอย 3 ส่วน คือพื้นที่เปิดโล่ง ได้แก่ชานหรือจาน พื้นที่กึ่ง เปิดโล่ง ได้แก่หัวค่อมหรือเติ๋น และพื้นที่ปิดล้อม ได้แก่ โถงภายในเรือน แต่การประกอบกันเป็นผังเรือน ของพื้นที่ 3 ส่วนนี้ ไม่ได้มีรูปแบบตายตัวหรือค่อนข้างตายตัวเหมือนเรือนกาแลหรือเฮือนบะเก่าของล้านนา แต่ถูกจัดเรียงกันเป็นรูปต่างๆ ตามรูปหลังคา เช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปตัว L หรือสี่เหลี่ยมสองรูป

ผังเรือนไตลื้อแบบต่างๆ (ที่มา: อรศิริ ปาณินท์ , 2543)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 71

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนไตลื้อ ใต้ ถุนเรื อน ใต้ถุนเรือนไตลื้ อสูงประมาณ 2 เมตร พื้น เป็ นพื้ นดิ นปรับ เรี ยบบดอัดแน่ น ใช้ งาน เอนกประสงค์ยามกลางวัน ร่มแดด เปิดโล่งทุกด้าน วางกี่ทอผ้าไว้ใช้ทอผ้ายามว่างจากการทําการเกษตร ใช้ เป็นที่เก็บของ เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ปัจจุบัน หลายหลังได้เทพื้นคอนกรีต และใช้งานหลากหลายมากขึ้น กั้นห้อง เป็นห้องทํางานอาชีพ หรือร้านค้าร้านอาหาร บันไดและเสาแหล่งหมา บันไดทางขึ้นเรือนเป็นบันไดเดี่ยวอยู่ด้านหน้าเรือน ไม่นิยมทําบันไดหลัง บันไดอยู่ใต้หลังคาเช่นเดียวกับเรือนล้านนา ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้หลังคาผืนใหญ่ของตัวเรือน พบบ้างที่ทํา บันไดภายใต้ชายคาปีกนกที่ต่อออกมาจากหลังคาเรือนเพื่อคลุมบันไดโดยเฉพาะ มีและเรียกเสารับชายคา บริเวณบันไดว่า เสาแหล่งหมา หรือ แหล้งหมา เช่นเดียวกับล้านนาเป็นที่ที่จะผูกหมาดุไว้เพื่อเฝ้าบ้านเวลา เจ้าของบ้านไม่อยู่ นอกชาน คือ พื้นที่ล้างหน้าชําระร่างกาย ซักล้าง และตากผ้า ตากพืชผล เช่น พริก เมล็ดพันธุ์ข้าว อยู่ติดกับหัวค่อม มีประตูติดต่อกัน ด้านที่อยู่ใต้ชายคาจะมีโอ่งน้ําตั้งไว้ใส่น้ําไว้ใช้งาน เป็นพื้นที่นอกชายคา ไม่มีหลังคาคลุม ทําเป็นพื้นลดระดับ โครงสร้างไม้จริง ปูทับด้วยฟากไม้ไผ่ เพราะบริเวณนี้ไม้พื้นผุง่ายเพราะ ตากฝนตากแดดและน้ําซักล้างจึงใช้ฟากไม้ไผ่เปลี่ยนง่ายและราคาถูก แต่ปัจจุบันหลายหลังเทคอนกรีตพื้น นอกชานแล้วเพื่อความคงทนถาวร หัวค่อมหรือ ค่อมแหลน คือพื้นที่บริเวณที่ต่อจากบันไดเรือนเป็นพื้นที่ใช้งานเอนกประสงค์คล้าย กับเติ๋นในเรือนล้านนา บริเวณนี้มักจะทําม้านั่งยาวตามแนวขอบ ใช้เป็นที่นั่งรับแขก พักผ่อน และแทนราว ลูกกรงกันตกไปในตัว โถง พื้ น ที่ ภ ายในตั ว เรื อ น ใช้ ง านหลายอย่ า งแทบทั้ ง หมดของวิ ถี ชี วิ ต บนเรื อ น ใช้ พั ก ผ่ อ น รับประทานอาหาร ใช้เป็นครัวไฟ ใช้เก็บข้าวของและข้าวเปลือกแทนยุ้ง ใช้นอน สําหรับบางหลังที่ไม่ได้ กั้นห้องนอนไว้โดยเฉพาะ จะใช้ผ้าม่านกั้นเป็นส่วนนอนในโถงนี้ ครัวไฟ อยู่บนเรือน แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในโถงเรือนตั้งแม่เตาไฟ ซึ่งทําเป็นกระบะไม้สี่เหลี่ยม ดาดดินเหนียวไว้ตั้งเตาไฟ มีทั้งที่ทําเป็นกระบะยกขึ้นจากพื้นเรือน กับแบบที่ลดพื้นเรือนลงไปเป็นกระบะ ในตัวเหนือแม่เตาไฟทําเป็นตะแกรงไม้ไผ่ไว้วางของประเภทจักสานและอาหารแห้ง เพื่อให้ความร้อนและ ควันจากแม่เตาไฟรม เป็ นการถนอมรั กษาเครื่องจั กสานและอาหารแห้งเช่น เดียวกับแม่เตาไฟของชาว ล้านนาและชาติพันธุ์อื่นๆ ในเรือนขนาดใหญ่ ครัวไฟจะแยกออกจากโถง เป็นเรือนเล็กแยกตั้งอยู่ เชื่อมกัน ด้วยชานบันได ชานนี้อยู่ใต้ชายคาของเรือนทั้งสองหลังที่ยื่นออกมาเชื่อมกันด้วยรางริน ห้ อ งนอน ส่ ว นนี้ เ ป็ น ส่ ว นที่ ปิ ด มิ ด ชิ ด บนเรื อนของชาวไตลื้ อ บางหลั งกั้ น ฝาหรื อ ผ้ า ม่ า นเพี ย ง ประมาณ 2 เมตร มีช่องประตูเพียง 1-2 ช่อง และใช้ผ้าม่านแทนบานประตู ภายในห้องนอนไม่มีการกั้น แบ่งส่วน จะปูเสื่อกางมุ้งนอนเรียงกันไป หันหัวนอนไปทางเดียวกันทางทิศตะวันออก กรณีมีแขกมานอนที่ บ้าน จะจัดที่ให้แขกนอนที่โถง ห้องนอนถือเป็นเขตหวงห้ามที่แขกจะได้รับอนุญาตให้เข้ากรณีจําเป็นเท่านั้น

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


72 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

หิ้งผี หิ้งบูชาบรรพบุรุษของทุกครอบครัว จะอยู่ติดกับฝาเรือนในโถงเรือน บางหลังก็จะทําเป็นหิ้ง ยื่นออกจากฝามองเห็นจากภายนอก ส่วนหิ้งพระจะไม่พบในเรือนไตลื้อ เพราะเห็นว่าพระจะอยู่เฉพาะที่วัด เท่านั้น หลองข้าว หรือเรือนยุ้งข้าว พบบางหลัง เพราะไตลื้อเก็บข้าวเปลือกไว้ในหลายลักษณะ ทั้งการ เก็บใส่ภาชนะไว้บนเรือน การเก็บไว้ในภาชนะตั้งไว้ใต้ชายคาที่ยื่นต่อไปคลุม และการสร้างหลองข้าวเป็น อาคารใต้ถุนสูงแยกไว้ต่างหาก เชื่อมต่อกับเรือนใหญ่ด้วยชาน ใต้เรือนยุ้งข้าวและชานที่เชื่อมต่อเรือนใหญ่ ยังใช้เลี้ยงสัตว์ และเก็บฟืน

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนไตลื้อ

ไตลื้อนิยมนกยูง หน้าจั่วบ้านมักมีรูปนกยูงประดับ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 73

ไตลื้อในรัฐฉาน ชุมชนไตลื้ อดิ น แดนไตลื้ อนั้น มี ศูนย์ กลางอยู่ เมื องเชี ย งรุ่ ง ตอนใต้ของประเทศจี น แต่ อาณา บริเวณสิบสองปันนาในอดีตของชาวไตลื้อนั้น ไม่ได้กินพื้นที่อยู่เพียงดินแดนในพรมแดนประเทศจีนปัจจุบัน เท่ านั้น แต่ ได้ กิน พื้ นที่ จ นถึ งพื้ นที่ ที่ปัจ จุ บัน เป็ นดิ น แดนตอนเหนื อติดพรมแดนจี น ของรัฐ ฉาน ประเทศ เมียนม่าร์ด้วย ปัจจุบันเขตนี้เป็นเขตปกครองพิเศษที่รัฐบาลจีนเช่าจากรัฐบาลเมียนม่าร์ ได้แก่ เมืองลา เมืองม้า ฯลฯ ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองลา ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่จีนนําเข้ามา ทําให้ในเมือง เปลี่ยนสภาพเป็นเมืองใหม่เหมือนเมืองจิ่งหงในสิบสองปันนาจนหมดสิ้น มีบ่อนคาสิโนหลายแห่ง ร้านค้า ขายสินค้าจากจีน โรงแรมหรูหราสําหรับนักท่องเที่ยวจีนและอื่นๆที่มาเล่นการพนันและผู้หญิงหากิน ซึ่ง เป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาต ชุมชนไตลื้อแบบดั้งเดิมยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่ชานเมือง และนําสินค้าพื้นบ้าน สิน ค้ าจากป่า ฯลฯ เข้ามาขายที่ ตลาดสดภายในเมืองทุกเช้ า การศึ กษาชุ มชนและเรื อนพักอาศัย แบบ ประเพณีของไตลื้อในเขตนี้ จึงต้องเข้าสู่หมู่บ้านชุมชนชานเมือง

หมู่บ้านไตลื้อนอกเมืองม้า รัฐฉาน (ที่มา : www.flashearth.com)

เรือนไตลื้อในรัฐฉาน เมียนมาร์ ลักษณะการวางผังชุมชนและการสร้างตัวเรือนของชาวไตลื้อในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์นั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับเรือนไตลื้อในประเทศจีน มีลักษณะบางอย่างเท่านั้นที่แตกต่างกัน ตามลักษณะภูมิ ประเทศภูมิอากาศและความนิยม ได้แก่ รูปทรงหลังคาเหมือนกัน คือ เป็นจั่วมนิลา มุงกระเบื้องดินขอ แต่ ไม่ปรากฏว่าเรือนไตลื้อในรัฐฉานทําหลังคา 2 ตับเลย ช่องเปิดของเรือนไตลื้อในรัฐฉานมีมากกว่า เรือนดู โปร่งกว่า เพราะสภาพอากาศไม่หนาวเย็นเท่าพื้นที่สิบสองปันนา และเรือนไตลื้อในรัฐฉานไม่ทําไม้ปิดจั่ว หลั ง คา แต่ จ ะเปิ ด โล่ ง เป็ น ช่ อ งระบายอากาศ ส่ ว นอื่ น ๆล้ ว นใช้ ร ะเบี ย บวิ ธี เดี ย วกั น ทั้ ง รู ป ร่ างรู ป ทรง โครงสร้าง ผังเรือน วัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง โดยเฉพาะกระเบื้องดินขอมุงหลังคาแบบพื้นเมืองที่จะ นํามาจากสิบสองปันนา จนแม้ทุกวันนี้ หากต้องใช้ เขาก็จะสั่งซื้อกระเบื้องดินขอจากสิบสองปันนา สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


74 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไตลื้อนอกเมืองม้า รัฐฉาน เมียนมาร์

รั้วบ้านชาวไตลื้อในรัฐฉาน

รั้วบ้านไตลื้อคล้ายชาวล้านนา แต่มีกําแพงก่ออิฐแบบบ้านจีนเหมือนไตลื้อในสิบสองปันนาเพิ่มเติม

วัดของชาวไตลื้อ

วัดชาวไตลื้อในสิบสองปันนา จะเน้นที่ตัววิหาร มีขนาดใหญ่ ผังสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่ รองรับผู้คน ได้มาก วางตามแนวตะวันออก-ตกหลังคาทรงจั่ว ระนาบหลังคาอ่อนโค้งคล้ายล้านนา ทําทั้งหลังคาหลาย ชั้นและชั้นเดียวยาวตลอดความยาวอาคาร หลังคาจั่วนี้จะต่อเนื่องกับหลังคาตับล่างซึ่งเป็นชายคาปีกนก โดยรอบ ยื่นยาวคลุมพื้นที่อาคารทั้งหลัง มีแถวเสาหลวงหรือเสาร่วมในรับขื่อหลวงของหลังคาจั่ว ทําให้ พื้นที่ถูกแบ่งเป็นส่วนในโถงกลางซึ่งกว้างโอ่โถง เป็นที่นั่งของศรัทธาสาธุชน และพื้นที่ส่วนนอกใต้ปีกนกที่ แคบกว่าและเพดานต่ําเป็นทางเดิน พบทั้งวิหารโถง และวิหารปิด ภายในภายนอกตกแต่งประดับประดา ทาสีอย่างสวยงาม หลายแห่งทําทางเดินใต้หลังคา (Covered way) เชื่อมจากหน้าวัด ส่วนโบสถ์นั้น ขนาด เล็ก ชาว ไตลื้อถือเป็นส่วนหวงห้าม ให้ใช้สําหรับพระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสโดยเฉพาะสตรีไม่เข้า (จูเหลี่ยงเห วิน, 2536: 56) ซึ่งเป็นคติเดียวกับล้านนา คติเกี่ยวกับเจดีย์ของไตลื้อในสิบสองปันนาเป็นเช่นเดียวกับพม่า และไทย ผังสี่เหลี่ยมหรือหกเหลี่ยม ทรงสอบ สูงทีละชั้น ซ้อนกันจนถึงยอด ด้านหน้ามีพระพุทธรูปในซุ้ม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 75

เรือนไตลื้อในไทย ไตลื้ออพยพสู่ประเทศไทยเพราะถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยพระเจ้ากาวิละยกทัพไปกวาดต้อน ผู้คนจากเมืองต่างๆเข้ามาในล้านนาช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไตลื้อถูกนําไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดต่างๆทาง ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง และน่าน โดยมีกลุ่มใหญ่อยู่ที่อําเภอเชียง ม่วน จังหวัดพะเยา อําเภอปัวและทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ปัจจุบันเรือนไตลื้อแบบดั้งเดิมเหลืออยู่เพียงไม่กี่หลัง นอกนั้นได้ปลูกสร้างเรือนแบบคนเมือง หรือแบบสมัยใหม่กันไปหมดแล้ว เรือนที่นับได้ว่าเป็นแบบดั้งเดิม ของไตลื้อในไทยนั้น มีรูปลักษณ์หรือระเบียบวิธีก่อสร้างตามแบบเรือนไตลื้อในสิบสองปันนาหรือรัฐฉาน เพียงบางส่วน ดังนี้ - เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูงเหมือนกัน - หลังคาของเรือนไตลื้อในไทยเป็นทรงจั่ว มีปีกนกกันสาดด้านสกัด ไม่สูงใหญ่มากนัก ชายคาไม่ ยาวและคลุมต่ํา ต่างจากเรือนไตลื้อในสิบสองปันนาที่เป็นจั่วมนิลาสูงใหญ่ - ผังพื้นเรือนไตลื้อในไทย เป็นผังค่อนข้างกระจายตัว แยกเรือนเป็นหลายหลัง ต่างจากผังเรือน ไตลื้อในสิบสองปันนาและรัฐฉานที่เป็นผังต่อเนื่องในหลังคาเดียว - เสาของเรือนไตลื้อในไทยฝังดินเหมือนเรือนล้านนา ไม่ตั้งบนหินเหมือนเรือนไตลื้อในสิบสองปัน นาหรือรัฐฉาน - ไตลื้อในไทยวางเรือนหลองข้าวอยู่ด้านหน้าเรือนใหญ่ แต่ไม่แยกเรือนหลองข้าวจากเรือนใหญ่ เหมือนเรือนล้านนาส่วนใหญ่ แต่เชื่อมกับเรือนใหญ่ด้วยชาน เดินถึงกันได้

เรือนไตลื้อในไทย (ที่มา : อัน นิมมานเหมินท์ , 2532) •

เรือนไตลื้อในไทยที่จังหวัดพะเยา

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


76 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ชุมชนและเรือนไตยอง

ไตลื้อที่เมืองยอง หรือ ไตยอง (ที่มา : วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, 2541)

ไตยอง(ไต-ยอง) คือกลุ่มชาติพันธ์ไตกลุ่มเดียวกับไตลื้อและไตเขิน แต่เป็นไตลื้อกลุ่มที่บรรพบุรุษ ได้อพยพจากเมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนามาตั้งถิ่นฐานในเมืองยอง (มหิยังคนคร) ผสมผสานกับชาวพื้นเมือง เดิม คือ พวกลัวะ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ผสมผสานความเชื่อ พิธีกรรม และรับพุทธศาสนาเข้ามาใน ภายหลั ง มี ก ารติ ด ต่ อ และความสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ เมื อ งเชี ย งรุ่ ง เชี ย งตุ ง และล้ า นนาตอนบน (www.openbase.in.th/, 2557) เมืองยอง ที่ผู้เฒ่าเมืองยองเรียกว่าเมืองเจงจ๊าง (เชียงช้าง) ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกของเมืองเชียงตุง ใกล้แม่น้ําโขงและชายแดนจีนและลาว การเข้าถึงยังไม่สะดวก เพราะเส้นทางที่ แยกจากเมืองพยากเข้าสู่เมืองยอง ระยะทาง 70 กม.ยังเป็นเส้นทางดินลูกรังปูด้วยหิน รถยนต์วิ่งได้ช้า ใช้ เวลาเดิ นทางประมาณ 4 ชั่ว โมง และตั้งแต่ พ.ศ.2545 เป็ นต้ นมา รั ฐบาลเมี ยนม่าร์ได้ ปิดเมื องยอง ไม่ อนุญาตให้ต่างชาติเข้าสู่เมืองได้อีก การศึกษารูปแบบบ้านเรือนในเมืองยองในระยะต่อมา จึงทําได้เพียงการ สังเกตศึกษาจากภาพถ่ายของผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซางและคณะลูกศิษย์ท่านพระมหาเขื่อนคํา นําโดยท่าน พระครูศุภชัย ที่เดินทางไปร่วมฉลองกุฏิที่เมืองยองเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2541 ได้เห็นบรรยากาศภายใน เมื องและชานเมื อง และสภาพสถาปั ตยกรรม บ้านเรื อนและร้ านค้ า และการศึ กษาจากภาพประกอบ หนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง “คนยองย้ายแผ่นดิน” ของ อ.แสวง มาละแซมเท่านั้น จนถึง พ.ศ.2556 รัฐบาลเมียนมาร์ได้อนุญาตให้คนภายนอกเข้าสู่เมืองยองได้ แต่ต้องขออนุญาตเป็นครั้งๆไป โดยนโยบาย เรื่องการเปิดเมืองยองนี้ยังไม่ชัดเจน บางช่วงเวลาสามารถใช้บัตรผ่านแดนชั่วคราวได้ บางช่วงเวลาต้องใช้ พาสปอร์ตและวีซ่าเท่านั้น บางช่วงเวลาไม่อนุญาตให้เข้า ทั้งนี้ เนื่องจากเพราะบางพื้นที่รอบเมืองยองยัง เป็นพื้นที่เสี่ยงที่มีปัญหากับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน (2558) สภาพภูมิศาสตร์เป็นแอ่งที่ราบกว้าง อุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ําหลายสาย ตัวเมืองยองและหมู่บ้าน ต่างๆกระจายตัวอยู่รอบแอ่ง มีพระธาตุจอมยอง เป็นปูชนียสถานสําคัญศูนย์รวมจิตใจของชาวไตยองทั้งที่ เมืองยองและในเมืองไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ยๆทางทิศใต้ของแอ่งใกล้แม่น้ํายอง ซึ่งไหลลงแม่น้ําโขง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 77

บรรยากาศในเมืองยอง

ใจกลางเมืองยอง บนถนนสายหลักหน้าวัดหัวข่วง เห็นรูปแบบอาคารที่มีอิทธิพลสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคม

บรรยากาศของเมืองยอง พ.ศ.2541 (ที่มา : วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, 2541)

สภาพบ้ า นเรื อ นในตั ว เมื อ งยอง รวมทั้ ง หมู่ บ้ า นที่ อ ยู่ ใ กล้ เ มื อ งจะปรากฏอาคารที่ มี อิ ท ธิ พ ล ตะวันตกยุคอาณานิคมเช่นเดียวกับที่เมืองเชียงตุง เป็นเรือนร้านค้า 2 ชั้นตั้งเรียงรายสองข้างถนนและใน ซอย อาคารรุ่นเก่าเป็นอาคารก่ออิฐรับน้ําหนักปนไม้ รุ่นหลังเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุง กระเบื้องดินขอ ซึ่งมีแหล่งผลิตแหล่งเดียวกับอิฐดินเผาที่หมู่บ้านยางม้า ห่างจากกลางเวียงยองไปไม่มากนัก ปัจจุบันเลิกผลิตกระเบื้องดินขอแล้ว คงผลิตแต่อิฐดินเผา วัดสําคัญคือวัดหัวข่วงราชฐานหลวง และวัดพระ ธาตุราชฐานหลวงจอมแจ้ง เมืองยองเป็นเวียงที่มีคูน้ําล้อมรอบ มีประตูเวียง 7 ประตู คือ ประตูเสื้อเมือง ประตูน้อย ประตูดินแดง ประตูม่อนแสน ประตูปางหิ่ง ประตูหูหูด และประตูผาบ่อง มีความเชื่อเรื่องไม้ ค้ําสรีเช่นเดียวกับคนเมืองในล้านนา แต่นับจากสภาพบ้านเมืองและหมู่บ้าน พ.ศ.2541 กับ พ.ศ.2558 ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั่วไปอย่างน่าตกใจ อาคารสมัยใหม่เกิดขึ้นทดแทนอาคารแบบดั้งเดิมจํานวนมาก เกิดขึ้นทั่วไปทั้งในตัวเมืองและตามหมู่บ้านโดยรอบ วิ ห ารแบบไตลื้ อและอาคารอื่ น ๆในวั ดถู ก รื้ อถอนและสร้ างใหม่ ทดแทนเกื อบทุ กแห่ ง สิ น ค้ า การเกษตรและอาหารหลายชนิดที่ชาวเมืองยองสามารถผลิตส่งขายสิบสองปันนาได้มาก ทําให้ผู้คนมีเงิน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


78 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

พอที่จะรื้อถอนบ้านแล้วสร้างใหม่เป็นบ้านตึกตามแบบที่ตนชอบใจ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่สอดคล้องกับอาคาร แบบดั้งเดิมทําให้บรรยากาศของเมืองและหมู่บ้านเปลี่ยนไปอย่างมาก รั้วไม้ไผ่ตามแบบประเพณีหรือข่วง บ้านที่ต่อเนื่องเดินถึงกันได้ในกลุ่มบ้าน ถูกแทนที่ด้วยกําแพงก่อคอนกรีตบล็อกปิดทึบ หลังคากระเบื้องดิน ขอถูกแทนที่ด้วยกระเบื้องลอนหรือกระเบื้องคอนกรีตสีน้ําเงินเข้ม

พระธาตุจอมยอง

กาดหลวงและสภาพทั่วไปของตัวเมืองยอง พ.ศ.2558


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 79

ชุมชนและเรือนไตยอง แม้สภาพทั่วไปในเมืองยองและหมู่บ้านจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ยังมี เรือนไม้แบบประเพณีหลงเหลือให้ทําการศึกษาได้จํานวนมาก เรือนเหล่านี้มีอายุตั้งแต่เกือบร้อยปีจนถึงสิบ กว่ า ปี ที่ ผ่ า นมา หลายหลั ง ยั งอยู่ ใ นสภาพแวดล้ อ มที่ ดี มี อ งค์ ป ระกอบชุ ม ชน องค์ ป ระกอบบ้ า น และ องค์ประกอบเรือนที่สมบูรณ์ ดังนี้ องค์ประกอบชุมชน ชุมชนหรือหมู่บ้านไตยอง มีลักษณะคล้ายไตลื้อและล้านนา ประกอบด้วย วัดชุมชน ข่วงบ้ าน สิ่งศั กดิ์สิทธิ์ของชุมชน บ้ าน ที่ทํา กิน (นา สวน) ป่าชุ มชน ป่า ช้า และแหล่ งน้ํา ลักษณะและการใช้งานองค์ประกอบเหล่านี้ใกล้เคียงกับไตลื้อและล้านนา หลายชุมชนที่อยู่ไกลจากตัวเมือง จะมีตลาดนัดทุกวันพระ ใช้พื้นที่สาธารณะจัดเป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้ากันขึ้น องค์ประกอบชุมชนจะมี แตกต่างจากล้านนาเพียงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจําหมู่บ้าน เรียกว่า เทวดาบ้าน ที่ไตยองได้รวมเสื้อบ้านและเสา ใจบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ทําเป็นเรือนหลังเล็กยกพื้นเหมือนล้านนา แต่ทําเป็นอาคารใหญ่ขึ้น ลักษณะคล้าย ศาลาไม่ยกพื้น ภายในมีเสาใจบ้านตั้งอยู่ ช่วยกันบํารุงรักษาให้มีสภาพดีอยู่เสมอ และทําพิธีไหว้กันเป็น ประจํา นอกจากนี้ หากในหมู่บ้านมีลําน้ําไหลผ่าน ก็จะตั้งเทวดาบ้านขึ้นอีกแห่งหนึ่งคนละฝั่งน้ํา ในหมู่บ้าน หนึ่งจึงอาจมีเทวดาบ้านมากกว่าหนึ่งแห่ง ในป่าชุมชน จะปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ทําฝืน ก่อสร้าง และพืชที่เป็นยา เป็นอาหาร หรือเป็นอาชีพได้ ฯลฯ โดยมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สําคัญของชาวไตลื้อ ไตยอง ที่ชนชาติอื่นไม่ทํา คือ ต้นขี้เหล็ก ที่นิยมปลูกทั้งในป่าชุมชน และในพื้นที่ว่างระหว่างกลุ่มบ้าน ที่จะคอยตัดกิ่งใหญ่อยู่เสมอ ให้ แตกกิ่งใหม่ออกเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้สูงเกินไปแล้วเก็บใบได้ยาก ลักษณะต้นขี้เหล็กแบบนี้จึงบ่งบอกได้ว่า ที่นั่น คือชุมชนไตลื้อ (สัมภาษณ์ จุลพร นันทพานิช, 2558)

กลุ่มต้นขี้เหล็กที่มีแต่ตอและพุ่ม ไม่มียอดใหญ่ยอดสูง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


80 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบชุมชนไตยอง

องค์ประกอบบ้าน ภายในบริเวณบ้านของชาวไตยอง มีองค์ประกอบคล้ายกับบ้านในล้านนา ประกอบด้วย รั้วบ้าน ข่วงบ้าน ตัวเรือน เรือนยุ้งข้าว ก๊างเฟือง น้ําบ่อ สวนครัว คอกสัตว์ และส้วม สิ่ง ที่แตกต่างจากล้านนาชัดเจนที่สุด คือ การทําตัวเรือนเชื่อมกับยุ้งข้าวด้วยนอกชาน ซึ่งต่างจากล้านนาที่จะ แยกเรือนยุ้งข้าวออกเป็นเรือนโดด บนตัวเรือนยุ้งข้าวเองก็จะทําให้มีที่ว่างเหลืออยู่นอกเหนือจากตัวยุ้งที่ เก็บข้าว สําหรับใช้งานเพิ่มเติม ซึ่งล้านนาไม่ทํา แต่ไตลื้อที่อําเภอเชียงคํา จังหวัดพะเยาจะทําแบบนี้เช่นกัน รั้วบ้านของชาวไตยอง นอกจากจะใช้ไม้ไผ่ทําเป็นรั้วโปร่งคล้ายล้านนาแล้ว ยังนิยมปลูกต้นไม้ที่มีหนาม เพื่อป้องกันวัวควายเข้าไปในบริเวณบ้าน ช่องประตูทางเข้าบ้าน ทําเป็นไม้หลักไว้สองด้าน แต่ละหลักจะ เจาะช่อง 4 ช่อง เอาไม้รวก 4 อันสอดผ่านช่องสําหรับปิดเปิด ข่วงบ้าน ทําเป็นลานดินเกลี้ยงบดอัดแน่น แต่ที่เป็นสนามหญ้าก็พบได้ไม่น้อยเช่นกัน น้ําบ่อเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากล้านนา เพราะยังไม่ปรากฏ ท่อสีฟ้าพร้อมเครื่องสูบน้ําไฟฟ้า และบริเวณที่แห้งสนิทรอบๆน้ําบ่อเหมือนล้านนา เพราะยังไม่มีไฟฟ้าหลวง มาใช้ น้ําบ่อที่เมืองยองนี้จึงใช้แรงคนตักน้ําขึ้นมาใช้ มีไม้กระดกพร้อมหินถ่วงอีกปลายสําหรับผ่อนแรง รอบๆน้ําบ่อเปียกชื้นเพราะน้ําหกรดอยู่เสมอ หญ้าและพืชพันธุ์จึงเขียว หลายหมู่บ้านรอบเมืองยองนิยม เลี้ยงวัว (เรียกว่าโง) แต่ไม่ได้ใช้วัวควายไถนาแล้ว ใช้เครื่องไถนาแทน เลี้ยงวัวควายไว้ขาย บริเวณบ้านจึง มีก๊างเฟือง คือ โรงเก็บฟางข้าวสําหรับเลี้ยงวัวควาย ทําเป็นโรงโปร่งยกพื้นสูงเกินกว่าวัวควายจะกินได้ ลักษณะคล้ายเรือนยุ้งข้าว บางหลังมีรางไม้อยู่ด้านล่าง ต้องการให้วัวควายกินแค่ไหนก็เขี่ยฟางลงมา ที่ไม่ ยกพื้นสูงก็ทํารั้วล้อมไว้ สวนครัวปลูกพืชผักสําหรับกินเป็นอาหาร ทํารั้วล้อมไว้กันสัตว์คุ้ยเขี่ยและกัดกิน ส้วม ทําเป็นหลังโดดไว้ในบริเวณ ส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเรือน และไม่ทําส้วมบนเรือน นอกจากนี้ ในบริเวณ บ้านนิยมปลูกไม้ผลไว้กินลูก เช่น มะม่วง แอปเปิ้ลเมือง เป็นต้น คอกสัตว์ ทําเป็นคอก ไม่ยกพื้น หลังคา เพิงไว้เลี้ยงสัตว์ เช่น หมู อยู่ท้ายบ้าน ยุ้งข้าว (เรียกว่าเยข้าว) ทําเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง ส่วนใหญ่ทําเสาเป็น คู่ ขนาดเรือนใหญ่เล็กตามความต้องการ ซึ่งสัมพันธ์กับที่นาและปริมาณข้าวเปลือกที่ต้องการเก็บ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 81

ชาวไตยองทํานาปีละครั้ง อาศัยน้ําฝนในฤดูฝน แทบทุกบ้านจะได้ข้าวเปลือกพอกินและแบ่งขาย ได้ ช่วงที่ไม่ใช่หน้านา ทุ่งนาจะปล่อยร้างให้หญ้าขึ้น นําวัวไปปล่อยให้กินหญ้าช่วงกลางวัน และนํากลับบ้าน ตอนเย็น

องค์ประกอบในบริเวณบ้านของไตยอง

เรื อ นไตยอง เรื อ นไตยองที่ เ มื อ งยองมี ลั ก ษณะใกล้ เ คี ย งกั บ เรื อ นไตลื้ อ สิ บ สองปั น นา แต่ มี พัฒนาการที่สําคัญเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของที่ตั้งบางประการ รูปทรงหลังคา เป็นจั่วผสม (มนิลา) เปิดหน้าจั่วเป็นช่องระบายอากาศขนาดเล็ก ดูรวมๆคล้ายเรือนไตลื้อสิบสองปันนา แต่มีความลาด ชันของหลังคาน้อยกว่ า ชายคาไม่ยื่นยาวคลุมต่ําเท่า ไม่พบเรือนจั่วแฝดเชื่ อมกัน ด้วยรางน้ํ าแบบเรือน ล้านนา แต่เป็นการทําหลังคาคลุมตัวเรือนซึ่งมีทั้งที่เป็นผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือผังขยายข้างเป็นรูปตัว L โดย ใช้จั่วขวางต่อชนโดยไม่ต้องมีรางน้ํากลางเรือน ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับเรือนไตลื้อสิบสองปันนา บันไดทาง ขึ้นเรือนด้านหน้าส่วนใหญ่จะมีหลังคาเล็กอีกชุดหนึ่งคลุม ลักษณะเหมือนหลังคาสตูปครึ่งท่อนของเรือน สรไนลําพูน ลดระดับจากหลังคาเรือนใหญ่ หลังคามุงกระเบื้องดินขอแผ่นบางเหมือนเรือนล้านนา ตกแต่ง หน้าจั่วด้วยลวดลายเล็กๆที่ไม้ปั้นลม ติดปลายบนไม้ปั้นลมตรงแนวรอยต่อด้วยไม้ปิดแหลวรูปร่างต่างๆ และปิดมุมเชิงชายด้วยไม้ปิดเหมยรูปร่างต่างๆอีกชุดหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ประดับหลังคาแบบนี้ทุกหลัง หลายหลัง ไม่ได้ประดับตกแต่งใดๆ หลังคาปั้นหยาเป็นรูปหลังคาอีกแบบหนึ่งที่พบมากในเมืองยอง โดยที่ตัวเรือนนั้น มีรูปแบบเดียวกัน ต่างกันเพียงรูปหลังคา พบร่องรอยการแก้รูปหลังคาจากจั่วผสมให้เป็นปั้นหยาในบาง หลัง และพบร่องรอยความเสียหายจากแรงลมในหลังคาจั่วผสม ทั้งนี้เพราะหลังคาจั่วผสมมีปัญหาที่ลมแรง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


82 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

พัดพาสิ่งต่างๆรวมทั้งน้ําฝนเข้าสู่ภายในเรือนผ่านช่องหน้าจั่ว ลมแรงยังทําให้หลังคาเสียหาย กระเบื้องถูก ลมพัดเปิดบ่อยๆ จึงเปลี่ยนมาใช้หลังคาปั้นหยาซึ่งเสียหายน้อยกว่า จึงเป็นรูปแบบที่แปลกไปจากเรือนไต ลื้อสิบสองปันนา

เรือนไตยอง หลังคาปั้นหยากับหลังคาจั่วผสม

ปิดแหลว ปิดเหมย แบบต่างๆองค์ประกอบตกแต่งหลังคาของไตยอง

ผังพื้นเรือนนอนประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน คือ พื้นที่หัวค่อม หรือนอกเติ๋น พื้นที่กึ่งเปิดโล่ง โปร่ง โล่ง มีราวระเบียงกั้นกันตก ออกแบบลวดลายสวยงามไม่ซ้ําแบบกันแต่ละหลัง อยู่ด้านหน้าเรือน ใช้งาน อเนกประสงค์เหมือนเติ๋นในล้านนา นั่งนอนพักผ่อน ทํางาน จากพื้นที่ส่วนนี้ จะมองผ่านช่องเปิดเห็นหน้า บ้านและทางสัญจร เห็นผู้คนผ่านไปมาและกิจกรรมนอกบ้านได้ บริเวณนี้จะมีหิ้งพระ แต่ไม่มีพระพุทธรูป เช่นเดียวกับไตเขินที่เชียงตุง ประดับฝาเรือนด้วยรูปถ่ายบรรพบุรุษ สมาชิกในครอบครัว พระ และผู้นํา ประเทศ จากพื้นที่ส่วนนี้ จะมีฝาเรือนกั้น จะต้องผ่านช่องประตูเข้าสู่พื้นที่ส่วนที่ 2 คือโถงกลางบ้าน หรือ เติ๋น ส่วนนี้เป็นส่วนใช้งานภายในเรือน มักจะมีเตาไฟอยู่บริเวณนี้ พื้นที่อาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อจากส่วนที่ 1 หรือเป็นพื้นที่รูปตัว L ที่มีพื้นที่ยื่นออกด้านข้างเพื่อเป็นที่ตั้งของแม่เตาไฟ ส่วนนี้จะมีเปิดออกสู่นอกชาน ซึ่งเป็นพื้นที่ซักล้าง พื้นที่ส่วนที่ 3 คือห้องนอน เป็นส่วนที่กั้นจากส่วนที่ 2 ใช้ฝาไม้หรือไม้ไผ่ หรือผ้าม่าน สูงเพียงประมาณ 1.80 – 2.00 ม. มีช่องทางเข้าหนึ่งหรือสองช่อง กั้นด้วยผ้าม่าน ภายในโล่งต่อเนื่องกันไม่


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 83

แบ่งห้อง ใช้มุ้งกางนอนเรียงต่อกันไป ตัวเรือนนอนจะเชื่อมกับเรือนยุ้งข้าวด้วยนอกชาน พื้นที่ซักล้าง เปิด โล่งไม่มีหลังคาคลุม ใช้ผึ่งตากพืชผลได้ นิยมใช้พื้นฟากไม้ไผ่ หรือไม้ไผ่ผ่าซีก เพราะตากฝนตากแดด ผุง่าย ต้องเปลี่ย นบ่อย ที่ นอกชานนี้ จะมี ร้ า นน้ํ า ทําเป็น ชั้ นวางหม้อน้ํ า สู งประมาณ 0.90 – 1.00 ม. แบบ เดียวกับเรือนล้านนา

- แบบหลองข้าวเชื่อมกับเรือนใหญ่ -

- แบบหลองข้าวแยกจากเรือนใหญ่ –

• รูปแบบผังเรือนไตยอง

นอกเติ๋น พื้นที่ส่วนหน้าของเรือน

ภายในโถงกลางบ้าน ห้องนอน และครัวไฟ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


84 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบบนเรือน

ร้านน้ําแบบต่างๆที่นอกชาน

โครงสร้างเรือนไตยอง ทั้งเรือนนอนและเรือนอื่นๆ โครงสร้างเป็นไม้ระบบเสาคาน แต่ไม่เอาเสา ไม้ฝังดิน จะตั้งบนก้อนหินหรือแท่งคอนกรีต เพื่อไม่ให้ไม้เสาผุ โครงสร้างแวง-ตง-พื้นจึงต่างจากเรือนที่เอา เสาฝังดิน ด้วยการเพิ่มคานไม้อีกหนึ่งชุด วิ่งรอดช่องที่เจาะเสาไว้ตามแนวขวางกับแวง (คาน) เพื่อให้เรือน ตั้งอยู่ได้ไม่เซ โครงหลังคาเป็นไม้ระบบขื่อ กลอน ระแนง ไม่ตีฝ้าเพดานเพราะต้องซ่อมเปลี่ยนกระเบื้องดิน ขอ ควันไฟจากเตาไฟที่อยู่ในเรือนจึงรมโครงหลังคาจนดํา การประกอบขื่อเข้ากับเสา ก็เป็นแบบที่เรียกว่า “สุบขื่อสุบแป๋” หรือ สวมขื่อสวมแป(หัวเสา) คือ เจาะขื่อและแปเป็นช่องไว้ ขื่อจะวางนอนให้ช่องที่เจาะไว้ สวมเข้ากับเดือยหัวเสาที่เตรียมไว้ให้ได้ขนาดกัน ยึดให้แน่นด้วยลิ่มไม้ตอกอัดเข้าช่อง ฝาเรือนไตยอง จะตี ตั้งตรงทุกหลัง ไม่พบการตีฝาผายออกแบบเรือนไตลื้อสิบสองปันนาเลย รวมทั้งการทําหลังคา 2 ตับด้วย การตีไม้ฝา พบทั้งตีตามแนวตั้ง และตีตามแนวนอน หรือปนกัน หน้าต่างส่วนใหญ่ เป็นบานเปิดคู่ลูกฟักไม้ มีการใช้หน้าต่างกันมาก ต่างจากเรือนไตลื้อสิบสองปันนาที่แทบไม่ทําหน้าต่างเลย

เสาตั้งบนหินและโครงสร้างพิเศษกันเรือนเซ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 85

เรือนไตยองในไทย ชาวไตยองอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยตั้งแต่สมัยพญาติโลกราช แต่อพยพครั้งใหญ่เพราะถูก กวาดต้อนเข้ามาเมื่อพระเจ้ากาวิละนําชาวยองมาแบบเทครัว คือมาทั้งโครงสร้างสังคม ตั้งแต่เจ้าเมือง บุตร ธิดา ขุนนาง พระสงฆ์ และครัวเรือนราษฎร ประมาณสองหมื่นคน เพื่อมาฟื้นฟูบ้านเมืองที่เสียหายจาก สงคราม นํามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลําพูน (เขตอําเภอเมืองและป่าซางในปัจจุบัน) ในระยะแรกยังมีระบบเจ้า เมืองยองตามโครงสร้างทางสังคมที่ติดมาด้วย ก่อนจะกลืนเข้ากับชาติพันธุ์อื่นๆที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานด้วยกันใน พื้นที่ และระบบสังคมแบบเจ้าเมืองยองจางหายไป แต่สํานึกความเป็นคนยองและสําเนียงภาษาการพูด ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง ไตยองในไทยยังคงรักษาไว้ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน เรือนของชาวไตยองในเมืองไทยนั้น มีพัฒนาการที่สําคัญจากเรือนไตยองในเมืองยอง (วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, 2551) มีสาเหตุจากการอพยพลงสู่ลําพูน ซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น เรือนเครื่องไม้ของชาวไตลื้อ และชาวไตทั่วไปมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในรูปแบบเรือน บันได ร้านน้ํา หลังคา ฯลฯ รูปแบบจะ แยกตามอัตลักษณ์และการปรับเข้ากับสภาพพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน เช่น 1. การออกแบบหลังคาเรือนจั่ว ผสม(มนิล า)ที่ มีความลื่ นไหลต่อเนื่องไม่ตายตัว ด้วยสัดส่ วนจั่ ว จังหวะช่วงเสา เมื่อต้องการเพิ่มขนาดเรือน จะไม่เพิ่มขนาดเรือนด้วยการเพิ่มจั่ว แต่จะทําหลังคาต่อเนื่องไป เกิดเป็นตะเข้ราง ตะเข้สัน 2. ภายในเรือนมีเติ๋นอยู่ด้านหน้าเรือนหรือช่วงกลางเรือน ยกพื้นสูงจากชาน ใช้เป็นพื้นที่รับแขก และใช้ งานเอนกประสงค์ มี ห้ องนอนขนาดใหญ่ ที่ อยู่ ได้ ทั้งครอบครั ว พ่ อแม่ จ ะนอนใกล้ ห น้ าต่ า งด้ า น ตะวันออกหันหัวไปทางเหนือ 3. พบหํายนต์เหนือทางเข้าห้องนอนในบางหลัง แต่มีขนาดเล็กกว่าที่พบในเรือนกาแล 4. มีร้านน้ํา ทําเป็นชั้นยื่นออกจากฝาเรือน อยู่บริเวณทางเดินด้านข้างเรือน 5. เรือนยกใต้ถุนสูง แต่ไม่นิยมเลี้ยงสัตว์ใต้ถุน แยกเป็นโรงเลี้ยงไว้เป็นเรือนแยกต่างหาก 6. ครัวไฟขนาดใหญ่แยกจากห้องนอน เปิดโล่งเข้าถึงง่าย ต่างจากเรือนไตยองในเมืองยองที่มี อากาศหนาวเย็นกว่า ที่ครัวไฟอยู่รวมกับส่วนนอน ครัวไฟขนาดใหญ่เพื่อรองรับผู้คนจํานวนมากที่จะมา ชุมนุมกันขณะทําอาหารเลี้ยงพระ 7. เรือนยุ้งข้าวสร้างไว้ติดตัวเรือน สามารถเข้าถึงได้จากตัวเรือน ไม่แยกเรือนเหมือนชาวล้านนา 8. ชานเรือนอยู่ด้านข้างเรือน ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับเรือนไตลื้อในสิบสองปันนา ไม่เหมือนชาว ล้านนาที่ทําชานเรือนอยู่ด้านหน้า แต่ตีไม้พื้นเว้นร่องเหมือนกัน 9. ไม่มีการทําตูบผีหรือศาลผีปู่ย่าในบริเวณบ้านเก๊าเหมือนชาวล้านนา การกราบไหว้บรรพบุรุษจะ ทําที่วัดและศาลผีประจําหมู่บ้าน 10. รับอิทธิพลตะวันตกและจีนช่วงปลายรัชกาลที่ 4 และสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการตกแต่งเรือน แบบเรือนขนมปังขิง ที่สําคัญคือ “สะระไน” หรือส่วนประดับยอดจั่วทั้ง 2 ด้าน ทําด้วยไม้กลึงเป็นลวดลาย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


86 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไตยองในเมืองไทย (ที่มา : วิยาวรรณ แก้วลังกาและคณะ, 2555)

เรือนไตยองที่บ้านโฮ่ง ลําพูน (ที่มา : วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, 2551) •

เรือนไตยองในจังหวัดลําพูน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 87

ชุมชนและเรือนไตเขิน ไตเขิ น คื อกลุ่มไตที่ มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่ มน้ํ าขื น เมืองเชีย งตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ แม่น้ําสายนี้ไหลย้อนขึ้นเหนือ เป็นการขืนหรือผืนธรรมชาติ จึงเรียกแม่น้ําขืน ไหลผ่านเมืองเชียงตุงลงสู่ แม่น้ําโขง (wikipedia.org, 2557) กลุ่มนี้ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ไตที่มีต้นกําเนิดที่ดินแดนสิบสองปันนาหรือไต ลื้อร่วมกัน คนไทยเรียก ไตเขิน เพราะคนกลุ่มนี้นิยมและเก่งเรื่องการทําเครื่องเขิน และเสียงใกล้เคียงกับที่ เขาเรียกตัวเองว่า ไตขืน ซึ่งหมายถึง ไต หรือคนที่อยู่ลุ่มน้ําขืน แม้จะมีถิ่นกําเนิดจากสิบสองปันนาเหมือน กลุ่มอื่นๆ เมื่ออพยพมาตั้งถิ่นฐานในที่ต่างๆ ได้นําเอาประเพณีระเบียบวิธีสร้างบ้านปลูกเรือนและวัดวา อารามมาด้วย แต่เมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบ ทั้งเรื่องระยะเวลาที่ยาวนาน สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ตลอดจนการได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่นเข้าไปผสมผสาน ทําให้รูปแบบเรือนพักอาศัยแตกต่างกันไป ไตเขินที่เมืองเชียงตุง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ไตเหนอ(เหนือ) ไตหลอย ตั้งหมู่บ้านแยกกันอยู่ ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีวัดประจําหมู่บ้าน ไตเขินอพยพเข้าสู่ประเทศไทยจากการกวาดต้อนและอพยพมาเอง เข้ามาตั้งบ้านเรือนทั้งในตัว เมืองเชียงใหม่ และนอกเมืองทางด้านใต้ มีอาชีพทําเครื่องเงินเครื่องเขิน นอกจากที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ยังมี ชาวไตเขินตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่บ้านสันต้นแหน อําเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนไตเขิน หมู่บ้านหรือชุมชน มีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานคล้ายกับไตลื้อในสิบสองปันนาและรัฐฉาน คือมัก เลือกที่ตั้งเชิงเขาที่ติดกับที่ราบที่เหมาะกับการเพาะปลูก หมู่บ้านมีขนาดไม่ใหญ่นัก มีวัดประจําชุมชน มี องค์ประกอบเป็นแบบเดียวกับชุมชนไตลื้อและไตยวนล้านนา คือมี ข่วงบ้าน เสาใจบ้าน เสื้อบ้าน กลุ่มบ้าน รวมตัวอยู่ด้วยกัน และมีทุ่งนาอยู่โดยรอบ แต่ที่แตกต่างจากไตลื้อสิบสองปันนาคือ จะพบบ่อน้ําสาธารณะที่ มีหลังคาคลุมน้อยมาก ชุมชนส่วนใหญ่จะไม่ทํากัน แต่จะขุดบ่อน้ําในกลุ่มบ้านพี่น้องหรือญาติ หลายแห่งมี หลังคาคลุม แต่เป็นหลังคาจั่ว มุงกระเบื้องแบบธรรมดา ไม่มีพิถีพิถันการออกแบบให้สวยงามเหมือนไตลื้อ

ชุมชนไตเขินรอบเมืองเชียงตุง

องค์ประกอบในบริเวณบ้านไตเขิน คล้ายกับชาวล้านนา คือ จะประกอบไปด้วยสิ่งจําเป็นใน การดํารงชีวิตเป็นส่วนใหญ่ คือประกอบด้วย ข่วงบ้าน(ลานบ้าน) สําหรับใช้งานอเนกประสงค์และตาก พืชผล เป็นลานดินเกลี้ยงไม่ทําเป็นสนามหญ้า มีเรือนยุ้งข้าว สวนผักเพื่อเป็นอาหาร น้ําบ่อ (มักใช้ร่วมกัน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


88 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

หลายบ้านในกลุ่มเครือญาติ) คอกสัตว์ ก๊างเฟือง และส้วม ที่สร้างเป็นหลังโดดแยกจากเรือนพัก ยุ้งข้าวของ ไตเขินต่างจากล้านนาที่ทําเป็นเรือนแยกต่างหากจากตัวเรือนพัก ไตเขินทําทั้งเป็นเรือนแยก การทําติดกับ ตัวเรือน ใต้ชายคาที่ต่อยาวออกจากตัวเรือน หรือทําเป็นส่วนหนึ่งของเรือน สามารถเข้าถึงข้าวที่เก็บไว้จาก ในเรือนโดยตรง พบทั้งการใช้ไม้ไผ่สานฉาบขี้วัว และการใช้ไม้จริง

องค์ประกอบบ้านไตเขิน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 89

เรือนไตเขินที่เชียงตุง เรือนไตเขินในบริเวณชานเมืองเชียงตุงนั้น มีลักษณะหลายอย่างคล้ายกับเรือนไตลื้อในสิบสอง ปันนา แต่ก็มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน ตามลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศและความนิยม ได้แก่ - รูปทรงหลังคาเหมือนกัน คือ เป็นจั่วมนิลาทรงสูง มุงกระเบื้องดินเผา แต่เรือนไตเขินใช้องศา หลังคาไม่สูงชันเท่าเรือนลื้อในสิบสองปันนา และไม่ทําหลังคา 2 ตับ - ช่องเปิดของเรือนไตเขินมีมากกว่าเรือนไตลื้อ ทั้งในสิบสองปันนาและในรัฐฉาน เรือนดูโปร่งกว่า มาก เพราะสภาพอากาศในถิ่นฐานของไตเขินอยู่ตอนใต้ลงมามากอากาศไม่หนาวเย็นเท่าพื้นที่ ดินแดนของไตลื้อ - เรือนไตเขินไม่ทําไม้ปิดจั่วหลังคา เปิดโล่งเป็นช่องระบายอากาศเช่นเดียวกับเรือนไตลื้อในรัฐฉาน - ตั้งเสาเรือนบนก้อนหินเหมือนไตลื้อ ไม่ฝังดินเหมือนล้านนา ส่วนอื่นๆ ทั้งรูปร่างรูปทรง โครงสร้าง ผังเรือน วัสดุและเทคนิคการก่อสร้างมีความใกล้เคียงกัน ถ้าพิจารณารูปแบบเรือน เรือนไตเขินในชุมชนโดยรอบเมืองเชียงตุง แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ 1. แบบเรือนไม้ 2. แบบเรือนไม้บ้านดิน 3. แบบเรือนไม้บั่ว (ไม้ไผ่) แบบเรือนไม้นั้นจะพบมากกว่า และเป็นเรือนแบบประเพณีของไต โดยเฉพาะไตลื้อที่มีต้นกําเนิด ในสิบสองปันนา มีลักษณะดังนี้ “แบบเรือนไม้” เป็นเรือนชั้นเดียว ยกใต้ถุนสูงจนดูคล้ายเรือนสองชั้น ใช้ประโยชน์จากใต้ถุน เรือน โครงสร้างหลักคือไม้ ซึ่งตัดจากป่า หลังคาจั่วผสม (Hip-Gable) มุงกระเบื้องดินขอ (ดินเผา) ปลายตัด แผ่นบางคล้ายกระเบื้องดินขอของล้านนา แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย องศาหลังคาค่อนข้างสูงชัน ทําให้ หลังคาดูสูงใหญ่ เปิดจั่วด้านบนขนาดเล็ก สําหรับระบายควันและความร้อนจากเตาไฟในเรือน ส่วนใหญ่ไม่ มีการตกแต่งยอดจั่ว มีเพียงที่บ้านปางล้อ ที่นิยมประดับยอดจั่วด้วยต้นดอกเอื้อง เสาไม้ซุงหรือบากแปรรูป เป็นสี่เหลี่ยมอย่างง่ายๆ ตั้งบนหิน ไม่ขุดหลุมฝังตีนเสาลงดิน บนเรือนมักแบ่งพื้นที่ 2-3 ส่วน คือ ส่วนโถง ชานบันได ส่วนโถงกลางบ้าน และส่วนนอน ส่วนชานจะอยู่ด้านหน้าเรือน เป็นพื้นที่กึ่งเปิดโล่ง คือไม่ตี ฝาเรือน กั้นเป็นราวระเบียงกันตก หรือตีไม้โปร่งเป็นซี่ หรือตาตาราง หรือเป็นลวดลาย ส่วนโถงเป็นส่วนปิด จากส่วนชานผ่านประตูเรือนเข้าสู่ส่วนโถง ส่วนนี้ปิดล้อมด้วยฝาเรือน มีช่องเปิดหรือหน้าต่างน้อย บางหลัง ไม่ มี เ ลย ส่ ว นนี้ จึ ง มื ด มาก ส่ ว นเตาไฟและทํ า ครั ว จะอยู่ ใ นส่ ว นนี้ บางหลั ง แยกไว้ มุ ม หนึ่ ง ในพื้ น ที่ ที่ ต่อเนื่องกัน บางหลังก็วางแม่เตาไฟไว้กลางโถง ส่วนนอนจะอยู่ด้านในสุด จะทําฝากั้นไว้มีช่องประตูเข้าออก หนึ่งหรือสองนอนแล้วแต่หลัง ส่วนใหญ่ไม่ทําฝ้ าเพดาน เปิดโล่งเห็นโครงหลังคาและกระเบื้องมุง ช่อง หน้าต่างมีน้อย หรือไม่มีเลยเช่นกัน เรือนไม้แบบประเพณีของชุมชนไต สามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้เป็นแบบ ฝาตั้งตรง และ ฝา ผาย ลักษณะที่ต่างกันคือฝาภายนอกของเรือน ระนาบจะตั้งตรงไม่ผายออก กับตีผายออก เป็นการตีผาย สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


90 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ออกรอบด้ าน ทั้งด้านหลังด้านข้าง เว้ นแต่ด้านหน้า ทํ าเป็นชานระเบี ยง ฝาผายทํ าให้เกิ ดพื้ นที่ ภายใน ระหว่างเสากับฝาเรือนที่ผายออก จะทําเป็นหิ้งพระหรือชั้นวางของ เรือนสองกลุ่มนี้มีจํานวนที่ใกล้เคียงกัน

เรือนไม้แบบฝาตั้งตรง กับแบบฝาผาย

“แบบเรือนไม้บ้านดิน” เป็นเรือนที่ใช้โครงสร้างไม้ร่วมกับโครงสร้างผนังดินดิบรับน้ําหนัก เป็น ผนังที่ก่อขึ้นด้วยก้อนดินดิบที่ตากแห้งโดยไม่ได้เผาเป็นอิฐ นํามาก่อขึ้นเป็นผนัง หนาประมาณ 40 – 50 ซม. ใช้เป็นโครงสร้างรับน้ําหนักพื้นไม้และโครงหลังคา ใช้คาน ตง และขื่อวางลงบนผนังดินก่อโดยตรงโดย ไม่มีเสาไม้รับ ตรงช่องเปิดประตูหน้าต่างส่วนใหญ่จะใช้ไม้กระดานพาดรับน้ําหนักผนังเหนือช่องเปิดขึ้นไป กลุ่ มนี้ พ บได้ ม าก อาจเป็ น เพราะพื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ มี ส ภาพพื้ น ดิ น ที่ ส ามารถขุ ดทํ า ใช้ เป็ น วั ส ดุ ก่อ สร้ า งได้ นอกจากเรือนกลุ่มนี้ ยังมีเรือนกลุ่มย่อยที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ “แบบเรือนไม้บ้านดินเสาไม้” คือ เรือนไม้ที่ใช้โครงสร้างไม้รับน้ําหนักทั้งหมด แต่ฝาบางส่วนเป็นการก่อดินดิบแทนฝาไม้ ฝาดินดิบนี้ทําหน้าที่ เป็นเพียงฝากั้น ไม่ได้รับน้ําหนักแบบเรือนกลุ่มแรก ความหนาของผนังดินนี้จึงน้อยกว่า แบบนี้พบน้อยกว่า

เรือนบ้านดิน และ เรือนไม้บ้านดินเสาไม้

“แบบเรือนไม้บั่ว” เป็นเรือนที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลัก อาจมีไม้จริงแปรรูปอย่างง่ายบางส่วน ใช้ การมั ดหรื อผู กในการยึ ดโครงสร้ างและองค์ ป ระกอบต่ างๆของเรื อน มี ทั้ง ห้ างนา หรือเถงนา อาคาร ชั่วคราวก่อสร้างอย่างง่าย มีเพียงเสา หลังคา และแคร่ไว้นั่งนอน สร้างไว้กลางทุ่งนาเพื่อพักหลบร้อน หรือ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 91

กินอาหารกลางวัน และเรือนพักอาศัย ชั้นเดียวยกใต้ถุนไม่สูง มุงหลังคาด้วยตองตึงหรือหญ้าคามัดเป็นตับ เป็นเรือนขนาดเล็ก มีเพียงห้องนอนกับพื้นที่ว่างไว้ใช้งานเอนกประสงค์ บางหลังทํายุ้งข้าวไว้เป็นเรือนแยก เหมือนล้านนา บางหลังทํายุ้งข้าวไว้ใต้ชายคาหรือบนเรือนเหมือนไตลื้อ

เรือนไม้บั่วประเภทห้างนา และเรือนพักอาศัย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


92 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไตเขินในชุมชนต่างๆรอบเมืองเชียงตุง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 93

เรือนไตเขินในชุมชนต่างๆรอบเมืองเชียงตุง

ภายในเรือนไตเขิน มีครัวไฟอยู่ในเรือน ผังเรือนคล้ายไตลื้อสิบสองปันนา

เรือนไตเขินผนังก่อดินดิบ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


94 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ผังพื้นเรือนไตเขิน 3 แบบ

ผังพื้นเรือนไตเขินรอบเมืองเชียงตุง พอสรุปได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆตามภาพ ทั้งแบบเรือนไม้ และเรือนไม้บ้านดินก็เป็นเช่นเดียวกัน อาจมีขนาดและสัดส่วนแตกต่างกันไปบ้าง พื้นที่ในร่มประกอบด้วย พื้นที่ 3 ส่วน คือชาน เติ๋น และนอน พื้นที่กลางแจ้งได้แก่ นอกชาน ซึ่งมีตําแหน่งที่ต่อเนื่องกับส่วนครัว อาจ อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของเรือนก็ได้

เรือนไตเขินในเมืองไทย สันนิษฐานว่าไตเขินอพยพจากเมืองเชียงตุงสู่พื้นที่เมืองเชียงใหม่ตั้งแต่สมัยพญามังราย โดยเมือง เชียงตุงและเชียงใหม่นั้นมีความเกี่ยวพันสัมพันธ์กันในลักษณะต่างๆมาโดยตลอด แต่การอพยพครั้งใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ อพยพจากหมู่บ้านต่างๆของเมืองเชียงตุง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงใหม่ ชาว ไตเขินเหล่านี้ได้รวมกลุ่มเครือญาติจากหมู่บ้านเดียวกันที่ยกมา กระจายออกตั้งถิ่นฐานรอบเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่บริเวณรอบกําแพงเมืองไปจนถึงพื้นที่ห่างไกลหลายสิบกิโลเมตรตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม เช่น บ้านวัวลาย บ้านท่ากระดาษ บ้านสันข้าวแคบ บ้านป่าลาน บ้านต้นแหน และบ้านอื่นๆ ลักษณะเรือนของชาวไตเขินในเมืองไทยนั้น มีลักษณะเป็นเรือนล้านนาแบบคนเมืองมากกว่า แทบไม่เห็นรูปแบบแบบประเพณีแบบเรือนไตเขินในเชียงตุงเลย แม้แต่ความเชื่อเรื่องการสร้างเรือนหลอง ข้าวแยกออกจากเรือนใหญ่


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 95

เรือนนางพรรณี ตันจ้อย ไตเขินบ้านต้นแหนน้อย (ที่มา : ปิยกานต์ พานคําดาว, 2549)

เรือนนายนิคม จันทร์พรหม ไตเขินบ้านต้นแหนน้อย (ที่มา : ปิยกานต์ พานคําดาว, 2549)

ชุมชนและเรือนไตใหญ่ ไตใหญ่ เป็ น ชาติ พั น ธุ์ ต ระกู ล ไตหรื อ ไท (กลุ่ ม ที่ ใ ช้ ภ าษา ไท-กะได) มี ภ าษาพู ด และเขี ย น มี เอกลักษณ์วัฒนธรรมเป็นของตนเองเหมือนชาติพันธุ์อื่นๆในตระกูล ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศ พม่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อันดับ 2 ของพม่า ประมาณ 3-4 ล้านคน และกระจายตัวอยู่ในประเทศต่างๆใน เอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรียกตนเองว่า “ไต” แปลว่าคน ภาษาอังกฤษเรียก “Shan” พม่าก็เรียกเช่นเดียวกัน คนเมืองและคนลาวเรียก “เงี้ยว” เคยมีอาณาจักรของตนเอง ชื่ออาณาจักรเมิงไต รุ่งเรืองมาก มีเจ้าฟ้าปกครอง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ เข้าร่วมเป็นสหภาพพม่าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่เมื่อได้รับเอกราชแล้ว พม่าก็ไม่คืนเอกราชให้ ตามสัญญา ปกครองรัฐไตใหญ่จนทุกวันนี้ รัฐฉาน หรือรัฐไตใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตองจี มีเมืองใหญ่อื่นๆเช่น เมืองเชียงตุง เมืองท่า ขี้เหล็ก ไตใหญ่แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม ชื่อเรียกไตใหญ่มาจากชื่อเรียกกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ที่ฝั่ง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


96 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตะวันตกของแม่น้ําสาละวิน เรียกตนเองว่า “ไตโหลง” ซึ่งตรงกับคําเมืองว่า “หลวง” แปลว่าใหญ่ คนไทย จึงเรียกไตกลุ่มนี้ว่า “ไตใหญ่” ไตใหญ่นับถือพุทธเถรวาทควบคู่กับนับถือผี ชุมชนไตใหญ่ มักตั้งตามที่ราบเชิงเขาและเกาะไปกับลําน้ํา มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับ หมู่บ้านของไตลื้อและไตยวน (อรศิริ ปาณินท์, 2543:33) หมู่บ้านที่เกาะไปตามลําน้ํา ผู้มาก่อนจะได้พื้นที่ ริมน้ํา ผู้มาทีหลังจําเป็นต้องพื้นที่ที่ห่างออกไป กระจุกตัวเกาะกับถนนในหมู่บ้าน บ้านจะเกาะตัวกันเป็น กลุ่ม มีที่นาล้อมรอบ บริเวณชุมชนหรือหมู่บ้านมีข่วงบ้านและเสาใจบ้านเป็นศูนย์กลางของชีวิต มีหอเสื้อ บ้านเป็นศูนย์รวมความเชื่อในการปกป้องคุ้มครองและอยู่ดีกินดี กลุ่มบ้านของไตใหญ่ มีทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยวๆ มีอาณาเขตของตนเอง มีรั้วรอบขอบชิด กับบ้านที่อยู่เป็นกลุ่มไม่มีรั้วกั้น มีข่วงเล็กๆกลางกลุ่ม การทํายุ้ง ข้าว มีทั้งที่แยกเป็นเรือนโดด และที่ไม่แยก วางไว้ใกล้ตัวเรือนแล้ว ต่อชายคาคลุม ขุดบ่อน้ําไว้ใช้ ถนน ภายในชุมชนมักจะมีร่องน้ําสองข้างไว้ระบายน้ําฝนออกจากหมู่บ้านไป มีป่าชุมชนไว้ใช้งาน มีไร่นาเป็น แหล่งทํากิน เป็นนาดําเช่นเดียวกับไตกลุ่มอื่นๆ เรือนไตใหญ่ เป็นเรือนไม้ยกใต้สูงตามแบบเรือนไต ใช้งานใต้ถุนอเนกประสงค์ เช่น พักผ่อน รับแขก เก็บของ เก็บฟืน หรือเลี้ยงสัตว์ หลังคาทั้งจั่วแฝดและจั่วเดี่ยวตามขนาดของเรือน องศาหลังคา ค่อนข้างมาก ชายคายื่นยาว มีปีกนกกันสาดด้านหน้าด้านหลัง มุงหลังคาด้วยใบตองตึงเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี วัสดุอื่นๆด้วย บันไดทางขึ้นเรือนอยู่ใต้ชายคา มีเสาแหล่งหมาขึ้นไปรับชายคาเช่นเดียวกับไตลื้อ พื้นที่บน เรือนประกอบด้วย ชาน เติ๋น และส่วนนอน ชานหน้าบ้าน ส่วนใหญ่เป็นชานในร่มมีหลังคาคลุม นอกชานมี บ้างแต่น้อยกว่ามาก ความจําเป็นเรื่องการป้องกันไม้พื้นนอกชานผุจากแดดและฝนเหมือนกับเรือนพื้นถิ่น กลุ่มอื่นๆที่ไม้หายากขึ้น ราคาแพง จึงไม่นิยมทํากันแล้ว และชานในร่ม ยังใช้ประโยชน์ได้ทั้งวัน ต่อจากชาน เป็นพื้น ที่เติ๋ น ยกระดั บขึ้นจากพื้นชานประมาณ 20 – 30 ซม. ใช้งานอเนกประสงค์เช่นเดียวกั บเรือน ล้านนา ทั้งพักผ่อน รับแขก รวมทั้งใช้นอน ที่เติ๋นนี้จะมี “เข่งพะลา” หรือหิ้งพระ ทําเป็นชั้นลอยยื่นเลย ออกจากแนวฝาออกนอกเรือนไป ทําให้เมื่อมองจากด้านนอก จะเห็นด้านหลังเข่งพะลายื่นออกไป เป็น เอกลักษณ์ของเรือนไตใหญ่ ส่วนนอน เป็นพื้นที่ส่วนตัว อยู่ด้านในสุดของเรือน ผนังปิดทึบช่องเปิดน้อย มี ทั้งที่เป็นหน้าต่างบานเปิดและฝาไหล ภายในจะไม่กั้นแบ่งเป็นห้องย่อยของแต่ละคน จะกางมุ้งของใครของ มันนอนเรียงกันไป ห้องนอนนี้ส่วนจะเป็นที่นอนของฝ่ายหญิง คือ แม่และลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน ฝ่ายชาย คือ พ่อและลูกชายจะนอนที่เติ๋น ในห้องนอนมีหิ้งผีบรรพบุรุษเป็นที่เคารพบูชา เตาไฟจะยกเป็นกระบะไม้ กรุสังกะสีที่ก้น อัดด้วยดินเหนียวใช้ก่อกองไฟหรือตั้งเตาไฟได้ กระบะนี้อาจมีขนาดใหญ่ตั้งเตาได้หลายเตา ตามต้องการ เหนือเตาไฟมีชั้นวางของห้อยจากโครงสร้าง วางเครื่องจักสานหรืออาหารของแห้งให้ควันและ ความร้อนช่วยถนอมรักษา ฝาเรือนบริเวณนี้ก็จะใช้ฝาโปร่ง ประเภทฝาขัดแตะหรือตีระแนงเป็นซี่ๆเพื่อ ระบายควัน เรือนยุ้งข้าว เรียกว่า “เยข้าว” หรือ “เยียข้าว” ที่เป็นเรือนโดดแยกจากเรือนนอน เป็นเรือนไม้ ยกใต้ ถุน สู ง ใช้ ภ าชนะไม้ ไผ่ ส านเป็ น ถั งทรงกระบอกขนาดใหญ่ ยาด้ ว ยขี้ วั ว ตั้ งไว้ ข้างบน ใช้ เป็ น ที่ เก็ บ ข้าวเปลือก บางบ้านไม่ทําเรือนยุ้งข้าว ใช้การต่อชายคาออกมาคลุมภาชนะเก็บข้าวเปลือก รวมทั้งโรงจอด


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 97

รถยนต์ หรือ รถไถนา ที่ใช้ใต้ถุนเรือนหรือต่อชายคายื่นออกมาเป็นที่จอด ด้านหลังบ้าน มักเป็นที่ปลูกผัก สวนครัว และสร้างต๊อมน้ํา อาศัยน้ําจากการอาบน้ําและซักล้าง

เรือนไตใหญ่แบบจั่วแฝดที่แม่ฮ่องสอน (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543 : 39)

เรือนไตใหญ่แบบจั่วเดี่ยวที่แม่ฮ่องสอน (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543 : 35) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


98 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ฝาไหลและเข่งพะลาของเรือนไตใหญ่เมื่อมองจากด้านนอก

เรือนไตใหญ่แบบจั่วแฝดหลังคาสังกะสีที่แม่ฮ่องสอน

เรือนไตใหญ่แบบจั่วแฝดมุงใบตองตึงที่แม่ฮ่องสอน

องค์ประกอบเรือนไตใหญ่ : เตาไฟ เติ๋น เข่งพะลา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 99

เรือนไตใหญ่จั่วเดี่ยวมุงใบตองตึงหลังใหญ่ที่แม่ฮ่องสอน

เถียงนา หรือห้างนาของไตใหญ่ที่แม่ฮ่องสอน หลังคามีมากกว่าจั่ว

วัดไตใหญ่และการประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไตใหญ่กับงานสมัยใหม่

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


100 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวเขา วัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งวัฒนธรรมการสร้างบ้านเรือนที่ สืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นกําลังถูกกลืนโดยวัฒนธรรมอื่นจากความเจริญจากพื้นราบขึ้นสู่ดอยสูง จากตัวเมืองสู่ ชนบท การคมนาคมที่สะดวกขึ้น และการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ทําให้ชนกลุ่มนี้รับวัฒนธรรมของชาวเมือง มากขึ้นเรื่อยๆ เอกลักษณ์ของบ้านเรือนของแต่ละชาติพันธุ์ที่บ่งบอกถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมและถิ่นฐาน เดิมที่อพยพมากําลังหายไป กลายเป็นวัฒนธรรมผสมผสาน วัสดุก่อสร้างใหม่เข้าสู่หมู่บ้านชาวดอย รูปแบบ บ้านเริ่มเปลี่ยนไป พื้นที่ใช้สอยใหม่เพิ่มขึ้นมาเช่น ห้องน้ําห้องส้วม โรงจอดรถ ของใช้ในบ้านเพิ่มขึ้นหรือ เปลี่ยนแปลงไป ถ้ากระแสไฟฟ้าเข้าถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น วิทยุ โทรทัศน์ พัดลม ฯลฯ องค์ประกอบ ของหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป เช่น โรงเรียน ร้านค้า ที่พักเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ฯลฯ วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนไปมีผลทําให้สถาปัตยกรรมเปลี่ยนไปด้วย ชาวเขา (Hill tribe) หมายถึง “ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในเขตบริเวณที่สูงกว่าระดับพื้นดิน โดยปกติ จะมีภาษาพูดและวัฒนธรรมแตกต่างจากคนไทยโดยทั่วไป” และนิยามความหมายของคําว่าชาวเขาไว้ ว่า ชาวเขา หมายถึง “ชนกลุ่มน้อยซึ่งตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในอาณาบริเวณพื้นที่ที่เป็นเทือกเขา สูงไม่เกิน หนึ่งหมื่นฟุตจากระดับน้ําทะเล มีขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาพูด ความเชื่อ อาชีพและอุปนิสัยใจคอ คล้ายคลึงกัน มีการปกครองร่วมกัน แต่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดจากประชากรเจ้าของประเทศในด้าน ชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาพูด และมีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ” (ลิขิต ธีรเวคิน, 2521: 66) ทางราชการจํากัดความคําว่า "ชาวเขา" หมายถึงบุคคลที่อยู่ใน 9 เผ่าหลัก ได้แก่ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น และขมุ และมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่มีลักษณะเดียวกัน มีจํานวนประชากร ทั้งหมด 923,257 คน 164,637 หลังคาเรื อน 186,413 ครอบครัว 3,422 กลุ่ ม เผ่ากะเหรี่ยงมากที่สุ ด 738,131 คน (จากข้อมูลล่าสุด พ.ศ.2545 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)

• การแบ่งกลุ่มชาวเขาในไทยตาม

ลักษณะการอพยพ (ที่มา: Gordon Young, The Hill tribes of Northern Thailand)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 101

ชาวเขาในไทย สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการอพยพย้ายถิ่นได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ - กลุ่มที่อพยพขึ้นเหนือ ได้แก่ กลุ่มไมโครนิเซี่ยน-โพลินิเซี่ยน - กลุ่มที่อพยพลงใต้ ได้แก่ กลุ่มจีน-ธิเบต

การอพยพเข้าสู่ประเทศไทยของชาวเขาจากจีนและธิเบต (ที่มา : ลิขิต ธีรเวคิน: ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย)

กลุ่มที่ 1 กลุ่ม ธิเบต-พม่า กลุ่มที่ 2 กลุ่ม จีน

ได้แก่ กลุ่มอาข่า ลีซู ละหู่ ได้แก่ กลุ่มเย้า แม้ว

ความสูงจากระดับนํา ทะเล (เมตร)

> 1,500

ฮ่ อ ลีซอ, แม้ ว

1,500 1,350 1,200 1,050 900 750 600 < 600

มูเซอดํา/แดง, อีก้อ มูเซอชะเล เย้ า, กะเหรี ยงบเว, ต่ องสู้, ละว้ า มูเซอ, กะฉิ/น ขมุ กะเหรียง(พโว, สกอ)

การตั้งถิ่นฐานของชาวเขาเผ่าต่างๆในไทย (ที่มา :Tatya Saihoo, The Hill Tribes of Northern Thailand)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


102 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนชาวเขากลุ่มธิเบต-พม่า ในบทเรียนนี้ในกลุ่มธิเบต – พม่า จะศึกษาเรือนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อาข่า ลีซอ และละหู่ ดังนี้

ชุมชนและเรือนกะเหรี่ยง Karen เผ่า ชาติพันธ์

ภาษาพูด ถิ่นฐานเดิม การอพยพ เข้าสู่ไทย

การตั้งถิ่น ฐาน อาชีพ

กะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ ธิเบต – พม่า กะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มย่อย หลายภาษา ต่างศาสนา เดิมนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ ป่าใหญ่ ภายหลังนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ เป็นชนเผ่าที่รักสันโดษ อยู่อย่างเงียบๆ ชอบ ใช้ชีวิตอยู่กับป่าไม้ลําเนาไพร ยึดถืออาชีพที่เป็นอิสระ เดิมจะประกอบอาชีพทําไร่ ทํานา อยู่ตามป่าตามเขา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล เลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อเป็นอาหารมากกว่า ขาย ใช้ชีวิตแบบพึ่งป่าพึ่งน้ําอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ (www.hilltribe.org) ธิเบต – พม่า กะเหรี่ ย ง มี ถิ่ น ฐานตั้ ง อยู่ ที่ ป ระเทศพม่ า แต่ ห ลั ง จากถู ก รุ ก รานจากสงคราม จึ ง มี กะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในไทย กะเหรี่ ย งที่อยู่ ในไทยมี 4 กลุ่ มย่ อย ได้ แก่ กะเหรี่ ยงสะกอ หรื อที่ เรี ย กตัว เองว่ า ปา กะญอ หมายถึ งคน หรือมนุษย์ เป็ น กลุ่มที่ มีจํ านวนมากที่ สุ ด มี ภ าษาเขีย นเป็น ของ ตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่าผสมภาษาโรมัน กลุ่ม นี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์ หรือ พโว เป็นกลุ่มที่ค่อนข้าง เคร่งครัดประเพณี พบมากที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และ แถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนปะ โอ หรือต่องสู้ มี แต่พบน้อยมากในไทย กะเหรี่ยงเลือกที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณเชิงเขาหรือเนินไม่สูงนัก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เลือกที่ตั้ง ถิ่นฐานต่ําที่สุด คือไม่เกินระดับ 600 เมตรจากระดับน้ําทะเล อาชี พส่ ว นใหญ่ คือการเกษตร ทั้งปลู กพื ช ปลู กข้ าวไร่ เลี้ ย งสัตว์ และปลูกฝิ่ น เพื่ อหา รายได้ ใช้พื้นที่ทํากินแบบ "ไร่หมุนเวียน" คือ ทําครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-5 ปี จึงกลับไป ทําใหม่ (www.mhsdc.org, 2558) และเก่งการเลี้ยงช้างฝึกช้าง เพราะในอดีตใช้ช้าง เพื่อรับจ้างทํางานป่าไม้ให้บริษัททําไม้ของอังกฤษ จึงเป็นอาชีพอีกอย่างหนึ่ง ปางช้าง ส่วนใหญ่ในภาคเหนือจะจ้างชาวกะเหรี่ยงไว้เลี้ยงช้างฝึกช้าง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 103

ชาวกะเหรี่ยงหญิงสาวยังไม่แต่งงานจะแต่งชุดขาว แต่งงานแล้วจะเปลี่ยนชุดสีแดง-ดํา หรือสีอื่นๆ ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อแดงตลอด

การแต่งกายของกะเหรี่ยง

เรือนกะเหรี่ยง เรือนกะเหรี่ยงยกใต้ถุนโล่ง หลังคาจั่วผสม เก่งเรื่องการประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้มาใช้

เรือนกะเหรี่ยงมีรูปแบบและวัสดุหลากหลายกว่ากลุม่ อื่น สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


104 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรื อ นกะเหรี่ ย งที่ อํ า เภอ กัลยานิวัฒนา หลังคาแป้น เกล็ดไม้ ฝาฟากไม้ไผ่ตีตั้ง ยุ้งข้าวปลูกเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนใช้เลี้ยงสัตว์

เรือนกะเหรี่ยงที่อําเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ภายในเรือน แม่เตาไฟตั้งอยู่กลางห้อง ทําเป็นสี่เสาโดยรอบ มีชั้นวางของ 1 -2 ชั้นอยู่ด้านบน คล้ายกับชาติพันธุ์อื่นๆ วางของใช้พวกจักสานหรืออาหารแห้ง ให้ความร้อนและควันช่วยถนอมได้ มีที่นอน อยู่ทั้งสองข้าง ได้อาศัยไออุ่นจากเตาที่เหลือจากการหุงหาอาหารหรือต้มน้ําชา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 105

รูปแบบเรือนกะเหรีย่ ง (ที่มา: สุพล ปวราจารย์, 2543)

เรือนของชาวกะเหรี่ยง เป็นเรือนยกใต้ถุน ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เข้าเรือนตามแนวยาว แบบเดียวกับ อีก้อ แบ่งพื้นที่บนเรือนออกเป็น 3 ส่วน คือ ชาน เติ๋น และห้องนอน ส่วนชาน (กรุ๊คู) เป็นพื้นที่เปิดโล่งและ ไม่มีหลังคาคลุม มีร้านน้ําแบบเฮือนล้านนา ใช้เป็นที่ซักล้าง ตากพืชผล และการใช้งานอื่นๆ ส่วนเติ๋น (โตคู) เป็นส่วนกึ่งเปิดโล่งเหมือนเติ๋นในเฮือนล้านนา อยู่ในตัวเรือนมีหลังคาคลุม แต่มีฝาปิดล้อมเพียง 1-2 ด้าน บันไดทางขึ้นเรือนมักจะขึ้นมาสู่ส่วนนี้ ส่วนในสุดของตัวเรือนและเป็นส่วนปิดล้อม คือส่วนนอน หรือภายใน ตัวเรือน ส่วนนี้จะมีแม่เตาไฟอยู่กลางห้อง แล้วมีพื้นที่สําหรับนอนอยู่รอบๆ ได้อาศัยความร้อนจากเตาไฟที่ มักจะก่อไฟคุกรุ่นตลอดคืนเพื่อช่วยอบอุ่นร่างกาย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


106 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ชุมชนและเรือนอาข่า Akha

ชาวเขาเผ่าอีก้อ หรือ อาข่า

เผ่า ชาติพันธ์ ภาษาพูด ถิ่นฐานเดิม การอพยพ เข้าสู่ไทย การตั้งถิ่น ฐาน

อาชีพ

อีก้อ หรือ อาข่า ธิเบต - พม่า ธิเบต - พม่า กลุ่มเดียวกับ ละหู่ ลีซอ อีก้อมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณจีนตอนใต้ แถบที่ราบสูงธิเบต จากถิ่นฐานแถบที่ราบสูงธิเบต อีก้ออพยพเข้าสู่มณฑลไกวเจาและยูนนาน จากนั้นจึง อพยพเข้าสู่พม่าและลาว และเข้าสู่ไทยทางเชียงราย และอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ ลําปาง ตาก กําแพงเพชรและแพร่ และยังอพยพจากพม่าเข้ามาอีกเรื่อยๆ อีก้อตั้งถิ่นฐานในระดับความสูงประมาณ 1,000 ม.จากระดับน้ําทะเล มีการย้ายถิ่นฐาน แต่ไม่บ่อยเท่ามูเซอ และย้ายไม่ไกลจากถิ่นเดิมเหมือนแม้วหรือเย้า อยู่ใกล้แหล่งน้ําเพื่อ ไปตั กมาใช้ ไม่ นิ ย มต่ อรางนํ าน้ํ าเข้ าหมู่ บ้ านเพราะกลั ว ผี น้ํ าจะเข้ ามาทํ าอั น ตรายให้ หมู่บ้าน (ปัจจุบันความเชื่อนี้ลดน้อยลง หลายหมู่บ้านก็ต่อน้ําเข้าหมู่บ้านแล้ว) อีก้อจัดตั้งหมู่บ้านตามไหล่เขา ไม่มีรั้วหมู่บ้าน แต่มีผังหมู่บ้านที่มีองค์ประกอบ ชัดเจน ประกอบด้วยสิ่งสําคัญ คือ (สถาบันวิจัยชาวเขา, 2541 : 164) − ประตูหมู่บ้าน (ลกข่อ) เป็นประตูศักดิ์สิทธิ์ อีก้อจะเดินลอดประตูนี้เข้าออกหมู่บ้าน โดยมี สองประตู หั ว และท้ ายหมู่ บ้ าน ส่ ว นมากเป็น ทิ ศตะวั น ออกและตะวั น ตก ประตูจะสร้างเพิ่มทุกปีในวันขึ้นปีใหม่ เรารู้อายุหมู่บ้านได้จากจํานวนประตู − ลานสาวกอด (แด๊ะข่อ) ลานโล่งหน้าหมู่บ้าน มีขอนไม้หรือม้านั่งโดยรอบ เพื่อใช้ทํา กิจ กรรม พิ ธีกรรมต่างๆ และที่ได้ ชื่อว่ าลานสาวกอดเพราะหนุ่มสาวอีก้อจะใช้ สําหรับพบปะพูดคุยกันในเวลากลางคืนเพื่อหาคู่ − ชิงช้า (โละซ่า) อีก้อถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งใช้สําหรับพิธีรําลึกถึงเทพธิดาผู้ ประทานความอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีปีละครั้ง − บ้านของผู้นําหมู่บ้าน หรือหัวหน้าพิธีกรรม (หยื่อมะ)จะอยู่กลางหมู่บ้านและสูง กว่าบ้านอื่น เมื่อเริ่มตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันสร้างบ้านหลังนี้ก่อนจึงจะสร้าง บ้านตัวเอง ผู้นําหมู่บ้านจะเป็นผู้อาวุโส เป็นผู้นําทําพิธีต่างๆ ถือเป็นผู้ติดต่อกับผี ทําไร่เลื่อนลอย เหมือนชาวเขาเผ่าอื่นๆ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 107

ความเชื่อ

ตัวเรือน

บริเวณบ้าน

อีก้อมีความเชื่อเรื่องผีที่เข้มงวดที่สุดกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ นับถืออย่างเคร่งครัด − ชายอีก้อ มีเมียได้หลายคน และสังคมอีก้ อไม่ถือ เรื่องการได้เสี ยกันก่อนแต่งงาน สาวอีก้อจะไปรอให้ชายหนุ่มมาเกี้ยวพาราศีที่ลานสาวกอด หากพอใจก็ไปนอน ด้วยกันได้ ถือเป็นเรื่องปกติ หากท้องโดยไม่มีชายใดรับก็ต้องออกจากหมู่บ้าน แต่ เมื่อคลอดแล้ว ก็สามารถกลับมาได้ − บ้านอีก้อจะยกพื้นไม่สูงนัก (ประมาณ 1 เมตร) มีบันไดหน้าบ้านหลังบ้าน ส่วนมาก ฝาเป็นฟากตั้งหรือนอน พื้นเป็นพื้นฟากวางบนตงไม้ไผ่ − ผังบ้านของอีก้อมี 2 ชานคือชานในร่ม และชานกลางแจ้ง ถัดจากชานเป็นห้องผู้ชาย ต่อไปเป็นห้องผู้หญิงซึ่งติดกับประตูหลัง ผู้หญิงจะใช้ประตูหลังเข้าออกบ้าน และไม่ จํ า เป็ น ก็ จ ะไม่ ใ ช้ ป ระตู ห น้ า พื้ น ที่ ผู้ ห ญิ ง นี้ ถื อ เป็ น ส่ ว นหวงห้ า มของบ้ า นที่ ห้ า ม บุคคลภายนอกเข้า − อีก้อแยกเตาไฟชาย-หญิง อยู่ในเรือนนอน เตาผู้ชายใช้ต้มน้ําชา และให้ความอบอุ่น ซึ่งมักจะมีไฟคลุกกรุ่นอยู่ตลอดเวลาไม่เคยดับ เตาผู้หญิงใช้ทําอาหาร บางบ้านมีเตา สําหรับต้มข้าวเลี้ยงหมูอีกหนึ่งเตา เหนือเตาไฟใช้เก็บของเหมือนกับชาวเขาเผ่า ต่างๆ − หิ้งบรรพบุรุษเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทุกบ้าน ผูกติดกับเสาเอกเหนือส่วนนอนผู้หญิง ใต้ หิ้งบรรพบุรุษเป็นหีบบรรจุของเซ่นไหว้ − บริเวณบ้านอีก้อเดิมไม่มีพืชผักสวนครัว ปัจจุบันมีแล้ว ใต้ถุนหรือใต้ชายคาเป็นครก กระเดื่องสําหรับตําข้าว มีการทํารั้วบ้านด้วยฟาก หรือไม้ไผ่เป็นลําวางพาดขวาง − ยุ้งข้าวและศาลขวัญข้าวอยู่ใกล้ๆยุ้ง คอกสัตว์อยู่โดยรอบบ้านและใต้ถุนยุ้งข้าว −

ปัจจุบันทางการจัดสรรถิ่นที่อยู่ให้อีก้อและเผ่าอื่นๆไม่ให้ทําไร่ เลื่อนลอย ย้ายถิ่นที่อยู่อีกต่อไป •

หมู่บ้านอีก้อตั้งบนพื้นลาดชัน ไม่หาที่ราบหรือปรับพื้นที่ให้ ราบก่อนสร้างบ้านเหมือนม้ง

การตั้งถิ่นฐานของอีก้อ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


108 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ลกข่อ หรือประตูหมู่บ้าน เห็นรอยเท้าทางเดินที่ถูกใช้เป็นประจํา

พิธีโล้ชิงช้าเพื่อบูชาเทพธิดาผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ จัดเป็นประจําทุกปีในวันขึ้นปีใหม่ (ที่มา: สมัย สุทธิธรรม, 2541.)

รูปแบบหมู่บ้านอีก้อ

อีก้อวางรูปแบบหมู่บ้านตามประเพณีมากกว่าเผ่าอื่น หันหน้าหมู่บ้านไปทางหมู่บ้านเดิมที่ย้ายมา มีศาลผี หน้าหมู่ บ้าน มี ประตูห มู่บ้าน ชิงช้ า ลานสาวกอด และทางเดิ นกลางหมู่ บ้าน ผู้ มีฐานะสามารถ รับแขกได้จึงจะได้อยู่ริมทางเดินนี้ บ้านหยื่อมะหรือผู้นําพิธีกรรมจะอยู่บนเนินสูงกลางหมู่บ้าน ชาวบ้าน ช่วยกันสร้างให้ก่อนหลังอื่นๆ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 109

รูปแบบเรือนอีก้อ

ตั ว เรื อ นเป็ น เรื อ นยกพื้ น ไม่ สู ง หลั ง คาทรงจั่ ว ผสม มุ ง ด้ ว ยหญ้ า คามั ด เป็ น ตั บ ผั ง พื้ น เป็ น สี่เหลี่ยมผืนผ้า วางเรือนให้หัวนอนหันไปทางหุบเขาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทิศอะไร

สภาพทั่วไปของหมู่บ้านอีก้อ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


110 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เตาไฟภายในเรือนอีก้อ

บันไดชาย-หญิงด้านหน้าและหลังบ้าน

เตาผู้ชายสําหรับต้มน้ําชา และชั้นวางของเหนือเตาเหมือนกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ

ครกกระเดื่อง

ครกกระเดื่องอยู่ใต้ชายคา มักอยู่ด้านหลังเรือนใกล้บันไดหลัง เพื่อผู้หญิงจะลงบันไดนี้มาตําข้าว ในตอนเช้ามืดสําหรับหุงหาอาหาร ใต้ถุนเรือนยกไม่สูง จึงไม่ใช้ประโยชน์อะไรนอกจากเก็บของ บริเวณ ด้านหลังบ้านเป็นที่ปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ เดิมอีก้อไม่เคยสร้างห้องน้ําส้วม ปัจจุบันลูกหลานอีก้อ หลายคนได้ลงมาเรียนหนังสือร่วมกับชาวพื้นราบ และทางการส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขอนามัย อีก้อหลาย หลังจึงมีการสร้างห้องน้ําส้วมขึ้นภายในบริเวณบ้าน

เรือนอีก้อที่บ้านแสนใจใหม่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 111

ลีซู หรือ ลีซอ Lisu

เผ่า ชาติพันธ์ ภาษาพูด •

ชาวเขาเผ่าลีซอ แต่งกายสีสันสดใส

ลีซอ หรือ ลีซู (ลีซอเรียกตัวเองว่า ลี-ซู) ธิเบต - พม่า ธิเบต - พม่า กลุ่ม เดียวกับ ละหู่ อาข่า

ถิ่นฐานเดิม

ลีซูมีถิ่นฐานเดิมอยู่จีนตอนใต้ แถบต้นน้ําสาละวิน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล ยูนนาน การอพยพเข้า จากถิ่นฐานเดิม ลีซูอพยพหนีการกดดันทางการเมืองการปกครองของจีนลงมาสู่ทาง สู่ไทย เหนือของพม่า และเมื่อประสบปัญหากับพม่าและที่ทํากิน ลีซูจึงอพยพเข้าสู่ไทยทาง จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย กระจายตัวอยู่ใน 10 จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ กําแพงเพชร ลําปาง สุโขทัย พะเยาและแพร่ มีลีซูอยู่ใน ประเทศไทยประมาณ 37,916 คน (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, 2545) การตั้งถิ่นฐาน ลีซูตั้งถิ่นฐานในระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 ม.เหนือระดับน้ําทะเลขึ้นไป ใกล้แหล่งน้ํา เช่นลําธาร หรือแอ่งน้ํา หรือบ่อน้ําซับเพื่อตักใช้ได้ และมักสร้างหมู่บ้านบนเนินเขา มองดูคล้ายป้อมปราการต่างจากเผ่าอื่นๆ ลีซูมักตั้งหมู่บ้านอยู่ไม่ไกลจากอีก้อและละหู่ เพราะภาษาพูดทั้งสามเผ่านี้ใกล้เคียงกัน และสามารถสื่อสารกันได้ อาชีพ ทําไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไว้กิน ข้ าวโพดไว้กินและเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชอื่นๆไว้กินเช่ น ฟักทอง ถั่วต่างๆ ผักกาด ฯลฯ ปลูกฝิ่นและพืชผักบางชนิดเพื่อขายเป็นรายได้ และยัง ค้าขายสินค้าระหว่างชาวเขาต่างๆด้วย บางคนก็มีอาชีพอื่นๆเช่น ตีเหล็ก ทอผ้า ฯลฯ ความเชื่อ ลีซูเป็นสาขาหนึ่งของชาติพันธ์โลโล และ ธิเบต-พม่า สายเดียวกับอาข่าและละหู่ แต่ วัฒนธรรมคล้ายชาวแม้ว เย้า (จีน) มากกว่าเพราะอยู่กับจีนนานกว่าอาข่าและละหู่ (ลิขิต ธีรเวคิน, 2521 : 76) สืบเชื้อสายทางพ่อ ชายเป็นใหญ่และตัดสินใจเรื่องๆใน ครอบครัว และอาจมีเมียมากกว่า 1 คนได้ ในด้านสังคม ลีซอเคารพผู้อาวุโสมาก และมักเป็นที่ปรึกษาหารือเวลาเกิ ด ปัญหา ตายไปแล้วก็เชื่อว่าผีก็ยังคงคุ้มครองรักษาลูกหลานอยู่ จึงมีแท่นบูชาผีบรรพ บุรุษเช่นเดียวกับม้ง ลีซูส่วนใหญ่นับถือผี บางส่วนเป็นคริสต์ บางส่วนเป็นพุทธ แต่ก็ยัง ไหว้ผีอยู่ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


112 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตัวเรือน

บริเวณบ้าน

- เรือนลีซูมีทั้งแบบปลูกติดพื้นดิน ยกพื้น และแบบผสมคือบางส่วนติดพื้น บางส่วน ยกพื้นในเรือนหลังเดียวกัน แต่ส่วนมากเป็นแบบติดดิน - ใช้พื้นดินที่ปรับระดับเรียบบดอัดแน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และตั่งสําหรับนั่งนอน - ฝาเรือนมีทั้งเป็นฟากตั้ง ไม้ไผ่ขัดแตะ ดินก่อ และไม้กระดาน โครงหลังคาไม้ไผ่ และไม้จริง มุงด้วยหญ้าคามัดเป็นฟ่อนแบบเดียวกับละหู่ - ผังพื้นเป็นแบบจีนเช่นเดียวกับม้งและเย้า แบ่งพื้นที่เป็นสามส่วน ทางเข้าตรงกลาง ส่วนตรงกลางตรงทางเข้า จะเป็นบริเวณที่ตั้งหิ้งบูชาบรรพบุรุษ แยกเตาไฟชาย-หญิง เตาผู้ชายอยู่ด้านหน้าบริเวณรับแขก ใช้สําหรับต้มน้ําชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตา ผู้หญิงอยู่ด้านหลังสําหรับทําอาหาร − พื้นที่หน้าเรือนใต้ชายคาเป็นที่ทํางาน หรือเป็นทางเดินเข้าเรือน เก็บของ ด้านข้าง เรือนใช้เก็บฟืน − ลีซูสร้างยุ้งข้าวแบบยกพื้นเหนือพื้นดิน แม้ว่าจะสร้างเรือนแบบติดพื้นดิน เพื่อ ป้องกันสัตว์เข้ากัดกินข้าวและพืชผลที่เก็บไว้ในยุ้ง ใต้ถุนยุ้งได้ใช้ประโยชน์เป็นที่เก็บ ของ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ รวมทั้งเป็นพื้นที่ทํางานด้วยในบางครั้ง

• ผนังเป็นดินก่อหนาของเรือนลีซูช่วยป้องกัน

ความหนาวได้ดี • ฝาฟากขัดแข็งกว่าฟากตั้งทั่วไป • พื้นดินเป็นพื้นเรือน ใช้ม้านั่งหรือแคร่เป็นที่ นั่งนอน

เรือนลีซอ 2 รูปแบบ ผนังก่อดินทึบ และ ฝาฟากไม่มีฟื้นเรือน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 113

ภาพที่ 125 รูปแบบเรือนลีซู ( ที่มา: สุพล ปวราจารย์, 2543)

ภาพที่ 126 หิ้งบรรพบุรุษ

หิ้งบรรพบุรุษจะอยู่ด้านหน้า ตรงกับประตูทางเข้า ปกติจะไหว้ด้วยน้ําชา แต่ในวันสําคัญเครื่อง ไหว้จะมีเพิ่มเติม นอกจากผีบรรพบุรุษแล้ว ลีซูยังนับถือผีประจําหมู่บ้าน ผีเรือน ผีหลวง ผีป่า ผีลําห้วย นอกจากนี้ยังหมอเมือง เป็นผู้นําพิธีกรรม และหมอผี รักษาคนเจ็บป่วย เพราะเชื่อเหตุที่ป่วยเพราะผีกระทํา

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


114 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เตาผู้ชายสําหรับต้มน้ําชา เหนือเตาไฟเป็นชั้นวาง ของ ให้ควันช่วยไล่แมลงกินไม้จากเครื่องใช้ที่เป็นไม้ ได้ดี บริเวณเตาผู้ชายคือที่รับแขก ใช้ม้านั่งตัวเล็กๆ ได้อาศัยความอบอุ่นจากกองไฟ •

เตาไฟภายในเรือน ก่อบนพื้นโดยตรงเพราะใช้พื้นดินเป็นพื้นเรือน

ภายในเรือนลีซู ส่วนนอนจะทําแคร่ยกพื้น ส่วนนอนหญิงสาวจะกั้นห้อง หลั ง คามุ ง ด้ ว ยหญ้ า คา แต่ ไ ม่ ทํ า เป็ น ตั บ คา จะนํ า หญ้าคาเป็นฟ่อนหักงอเกี่ยวขัดไว้กับระแนงไม้ไผ่แล้ว มัด ส่วนปลายของด้านสกัดจะมัดหญ้าคาเปลี่ยนเป็น แนวขวางทําให้หลังคามีชายของหญ้าคาทิ้งตามขอบ ทั้งสี่ด้าน หลังคาของเรือนลีซูจึงแปลกตาไม่เหมือน การมุงแบบตับคา

โครงหลังคาเรือนลีซู เอกลักษณ์ในการมุงหญ้าคา

หลังคาเรือนลีซูมีความประณีตเรียบร้อยในการทํางานมากกว่าเผ่าอื่นๆ และไม้ไผ่ที่มีสีดําเพราะ รมควันจากเตาไฟมานาน ขณะที่หญ้าคาจะดําน้อยกว่าเพราะเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ กลอนที่เรียงถี่ๆเกิดเป็นภาพ แปลกตาไม่ซ้ําใครทั้งภายนอกและภายในเรือน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 115

มูเซอ หรือ ละหู่ Lahu เผ่า

ชาติพันธ์ ภาษาพูด •

ชาวเขาเผ่ามูเซอ หรือละหู่

ล ะ หู่ ( ชื่ อ ที่ ล ะ หู่ เ รี ย ก ตัวเอง) หรือ มูเซอ ซึ่งเป็น ชื่ อ ที่ ค นไทยเรี ย ก เป็ น ภ า ษ า ไ ต ใ ห ญ่ แ ป ล ว่ า นายพราน เพราะชาวเขา เผ่ า นี้ เ ป็ น พรานที่ เ ก่ ง ไต ใหญ่ จึ ง เรี ย กพวกนี้ ว่ า นายพราน ธิเบต - พม่า ธิเบต - พม่า กลุ่มเดียวกับ ลีซอ อีก้อ

ถิ่นฐานเดิม

ละหู่ มี ถิ่ น ฐานเดิ ม อยู่ ต อนเหนื อ ของมณฑลยู น นานติ ด ธิ เ บต เคยมี ค วาม เจริญรุ่งเรืองเป็นอาณาจักรของตนเอง ก่อนถูกพม่าและจีนโจมตีจนเสียเอกราช เป็นของจีนในที่สุด บางส่วนอพยพลงสู่ทางใต้เข้าสู่พม่าและไทย ละหู่จํานวนมาก ยอมรับการปกครองของจีน และอาศัยอยู่ภายใต้การปกครองของจีนจนทุกวันนี้ การอพยพเข้าสู่ไทย ละหู่เป็นกลุ่มธิเบต-พม่ากลุ่มแรกที่อพยพเข้าไทยเมื่อ 150-200 ปีมาแล้ว เข้ามา ทางพม่าและภาคเหนือของไทย กระจายตัวใน 6 จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กําแพงเพชร นครสวรรค์ การตั้งถิ่นฐาน ละหู่ตั้งถิ่นฐานบนที่สูงประมาณ 1,000 เมตร เลือกทําเลไม่พิถีพิถันเหมือนเย้า ย้ายถิ่ นบ่ อย(ทุกๆ 7-8 ปี )เพราะไม่มีร ะบบการหมุน เวี ยนการใช้ ที่ดิน เมื่อดิ น เสื่อมสภาพไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก ก็จะอพยพย้ายถิ่น อาชีพ ทําไร่เลื่อนลอย ข้าว ข้าวโพด และฝิ่นบางส่วนเป็นพืชรายได้ ล่าสัตว์เพื่อเป็ น อาหาร ความเชื่อ ละหู่เชื่อและนับถือพระเจ้าองค์เดียว พระนามว่า “กื่อซา” เป็นผู้สร้างโลก และ มนุษย์และความดีทั้งมวล จะสร้างวัดอุทิศให้พระองค์ในทุกหมู่บ้าน และเชื่อเรื่อง ผี ได้แก่ ผีเรือน ผีหมู่บ้าน ผีป่า ผีดอย ผีลม ผีฟ้า ในแต่ละปีจะมีพิธีฉลองปีใหม่ และพิธีกินข้าวใหม่ ก่อนจะเกี่ยวข้าว ต้องทําพิธีเพื่อขอข้าวมากิน

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


116 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตัวเรือน

- เรือนของละหู่มีทั้งแบบปลูกติดพื้นดิน และยกพื้น แต่ไม่ยกสูงมากนัก(ประมาณ 1 เมตร) มีชานเรือน ทั้งในร่มและกลางแจ้ง - เสาและโครงสร้างหลักเป็นไม้จริง ตงใช้ไม้ไผ่ทั้งเล่ม พื้นฟาก ฝาฟากตั้ง หรือไม้ กระดาน หลังคามุงด้วยหญ้าคา แต่ไม่ทําเป็นตับคา จะนําหญ้าคาเป็นฟ่อนหักงอ เกี่ยวขัดไว้กับระแนงไม้ไผ่แล้วมัด ส่วนปลายของด้านสกัดจะมัดหญ้าคาเปลี่ยนเป็น แนวขวางทําให้หลังคามีชายของหญ้าทิ้งตามขอบทั้งสี่ด้าน - พื้นที่ส่วนแรกของเรือนมีเตาไฟสําหรับหุงหาอาหาร ผิงไฟ รับประทานอาหาร รับแขก รวมทั้งเป็นที่นอนของคนในบ้านและแขก พื้นที่ส่วนในจะกั้นเป็นห้อง มีหิ้ง บรรพบุรุษ เป็นที่ประกอบพิธีกรรมของคนในบ้าน ถือเป็นที่ส่วนตัวสําหรับคนในบ้าน เท่านั้น - ใต้ถุนเรือน เป็นคอกสัตว์ เก็บฟืน และเก็บของ ลานรอบบ้านปรับดินเรียบสําหรับตากพืชผล และใช้งานอื่นๆอเนกประสงค์

บริเวณบ้าน

รูปแบบเรือนละหู่ (ที่มา: สุพล ปวราจารย์, 2543)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 117

เรือนละหู่แบบยกพื้น และการแบ่งปันเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ให้เพื่อนบ้าน

เตาผู้ชายสําหรับต้มน้าํ ชาและรับแขกพูดคุย เตาผู้หญิงสําหรับทําอาหาร

ผู้เฒ่าชาวละหู่กับการทําเครื่องใช้พวกจักสานไว้ใช้งาน

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


118 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนชาวเขากลุ่มจีน ในบทเรียนนี้ ในกลุ่มจีนจะศึกษาเรือนชาวเขาเผ่าม้ง และเย้า

ม้ง หรือ แม้ว Hmong

ชาวเขาเผ่าม้ง

เผ่า ชาติพันธ์ ภาษาพูด ถิ่นฐานเดิม การอพยพ เข้าสู่ไทย

การตั้งถิ่น ฐาน

ม้ง (Hmong) หรือ แม้ว คนไทยเรียกว่าแม้ว แต่ม้งเรียกตัวเองว่าม้ง และไม่ชอบให้ใครเรียกตัวเองว่าแม้ว จีน - ธิเบต กลุ่มเดียวกับเย้า จีน-ธิเบต จีนตอนกลาง บริเวณมณฑลฮูนาน และไกวเจา จากถิ่น เดิ มในจี นตอนกลาง ชาวม้ ง อพยพหนี ภัย การรุ กรานจากจีน สู่จี นตอนใต้ แถบ มณฑลกวางสีและยูนนาน เมื่อยังถูกรุกรานอีกจึงอพยพเข้าสู่เวียดนาม และเข้าสู่ลาว และเข้าสู่ไทย 3 จุด คือ ทางอ.เชียงของ จ.เชียงรายทางหนึ่ง ทางอ.ทุ่งช้าง จ.น่านทาง หนึ่ง และทางอ.นาแห้วและอ.ด่านซ้าย จ.เลยอีกทางหนึ่ง กระจายตัวอยู่ในเชียงราย ตาก เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และอื่นๆรวม 13 จังหวัด ม้งอยู่ในประเทศไทย 151,080 คน (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, 2545) ชาวม้งตั้งหมู่บ้านบนที่สูง ประมาณ 1,000 - 2,000 เมตร ห่างไกลจากชาวเขาเผ่าอื่น เลือกทําเลที่ไม่ชันมากนัก มีสัน เขาขนาบอยู่ โ ดยรอบ ใกล้ ลํ า ธาร สําหรับตักน้ําไปใช้ โดยใช้ ไม้ ไ ผ่ ลํ า ใหญ่ ย าวประมาณ 1 เมตรทะลวงในออก ตั ก น้ํ า สะพายหลัง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 119

อาชีพ ความเชื่อ

ตัวเรือน

ทําไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวเพื่อบริโภค ปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์ ปลูกฝิ่นเพื่อขายเป็น รายได้ ม้งรับวัฒนธรรมความเชื่อจากชาวจีน นับถือผีบรรพบุรุษเช่นเดียวกับจีน ยอมรับการมี เมียหลายคนของชาย หญิงทํางานหนัก ทํางานทุกอย่าง ผู้ชายจะเฝ้าบ้าน สูบฝิ่น หาก เมียทําไม่ไหวก็จะออกไปหาเมียใหม่มาช่วย เมียอยู่ด้วยกันเหมือนญาติ ช่วยกันทํางาน และปรนนิบัติผัวและพ่อผัว ไม่ทะเลาะกัน ใช้แซ่เป็นสกุลเช่นเดียวกับจีน วันปีใหม่ก็เป็น วันเดียวกับจีน และชายเป็นใหญ่ในครอบครัว ม้งเลือกที่ตั้งหมู่บ้านที่ไม่ลาดชันและสันเขาขนาบโดยรอบเพราะมีความเชื่อว่า − คนในหมู่บ้านจะประสบโชคดีและไม่เจ็บป่วย − ไม่มีโจรผู้ร้ายรบกวนหมู่บ้าน − การทํามาหากินได้ผลดี และยังเชื่อว่าถ้าสันเขาด้านขวาทอดยาวกว่าด้านซ้าย คนในหมู่บ้านจะได้ลูกสาวมากกว่า ลูกชาย ถ้าสันเขาด้านซ้ายทอดยาวกว่าด้านขวา คนในหมู่บ้านจะได้ลูกชายมากกว่า และ ในการปลูกเรือน ม้งมีความเชื่อบางอย่าง เช่น − ห้ามปลูกเรือนซ้อนหรือเหลื่อมกันทางสูงหรือต่ํา และห้ามสร้างหันหน้าเรือนเข้า หากัน ประตูตรงกัน จะทําให้ทํามาหากินไม่เจริญ − ห้ามนําไม้ถูกฟ้าผ่ามาสร้างเรือนหรือนําไปใช้อย่างอื่นแม้แต่ทําฟืน เพราะเป็นสิ่ง อัปมงคล − ให้หันยอดไม้ขึ้นทางจั่วเสมอ ห้ามสลับหัวสลับหาง คนในบ้านจะขัดแย้งกัน บ่อยๆ ม้งสร้างเรือนติดพื้นดิน ใช้พื้นดินที่ปรับระดับเรียบบดอัดแน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และ ตั่งสําหรับนั่งนอน ซึ่งเป็นรูปแบบบ้านเรือนของจีน - ม้งจะเลือกทําเลปลูกเรือนให้หันหน้าสู่แหล่งน้ํา หรือ ทางสัญจร หรือ หุบเขา ให้ ด้านหลังติดเนินเขา ถือเป็นมงคล − โครงสร้างเฉพาะเสาหลักเป็นไม้จริง โครงสร้างรองใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคา หรือฟากไม้ไผ่ − ฝาเรือนเป็นไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน หรือ ฟากตั้ง หรือฟากขัด − ผังเป็นแบบบ้านเรือนชาวจีน แบ่งพื้นที่เป็นสามส่วน ทางเข้าตรงกลาง ส่วนตรง กลางตรงทางเข้า จะเป็นบริเวณที่ตั้งหิ้งบรรพบุรุษและบริเวณที่ใช้สําหรับรับแขก หรือนั่งล้อมวงพูดคุยกันในครอบครัว รอบเตาผู้ชาย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


120 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น −

บริเวณบ้าน

− − − −

เตาไฟจะแยกเตาสํ าหรั บ ชาย-หญิ ง เตาผู้ ช ายอยู่ ด้านหน้ าบริเวณรั บ แขก ใช้ สําหรับต้มน้ําชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตาผู้หญิงอยู่ด้านหลังใกล้ประตูหลัง บ้านสําหรับหุงหาอาหาร บางบ้านมีเตาสําหรับสัตว์แยกต่างหากอีก ครกตําข้าวอยู่ในตัวเรือน หน้าบ้านใต้ชายคาเป็นบริเวณทํางาน เช่นเย็บผ้า ทอผ้า และรับแขก ข้างบ้านใช้เก็บฟืน และของอื่นๆ โรงม้า คอกหมู เล้าไก่ สร้างไว้รอบบ้าน ไม่นิยมสร้างรั้วบ้าน ม้งเลือกปลูกบ้านบนพื้นที่ที่ไม่ชันมากนัก เพราะต้องการปรับพื้นที่รอบบ้านให้ เรียบเพื่อใช้งานอเนกประสงค์ เช่น ตากพืช กองผลผลิตเกษตร เลี้ยงสัตว์ ตากผ้า ฯลฯ

ม้งปรับพื้นที่รอบๆบ้านให้เรียบ

ภายในภายนอกเรือนม้ง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 121

รูปแบบเรือนม้ง (ที่มา: สุพล ปวราจารย์, 2543)

ลักษณะของการปลูกเรือนของม้ง คือ ปรับพื้นดินให้ได้ระดับ เรียบกว้างกว่าบริเวณที่จะปลูก เรือนออกไป เพื่อใช้งานอเนกประสงค์รอบๆบ้านด้วย ตัวเรือนเหมือนเป็นโรง ตั้งคร่อมพื้นดิน ไม่ทําพื้น เรือน ใช้พื้นดินเป็นพื้นเรือนแล้ววางแคร่วางตั่งสําหรับนั่งนอน โครงสร้างเรือนเป็นไม้จริง ฝาเป็นไม้กระดาน ตีตั้งหรือฟากไม้ไผ่ โครงหลังคาไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้าคา พื้นที่ใต้ชายคาหน้าบ้านเป็นพื้นที่ทํางาน พักผ่อน ฯลฯ

ม้งฝ่ายหญิงมีหน้าที่ทํางานและเลีย้ งลูก

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


122 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เมี้ยนหรือเย้า Mein

ชาวเขาเผ่าเมี้ยน (ที่มา : www.asianartnespaper.com, 2558)

เผ่า ชาติพันธ์ ภาษาพูด ถิ่นฐานเดิม การอพยพเข้าสู่ ไทย

การตั้งถิ่นฐาน

อาชีพ

ความเชื่อ

เมี้ยน (Mien) หรือ เย้า หรือ แข่เย้า (ชื่อที่ชาวเย้าใช้เรียกตนเอง) จีน - ธิเบต กลุ่มเดียวกับแม้ว จีน - ธิเบต ไม่มีภาษาเขียน ใช้อักษรจีนบันทึกเรื่องราวต่างๆ จีนตอนกลาง บริเวณมณฑลฮูนาน เกียงสี และไกวเจา จากถิ่นฐานเดิม ชาวเย้าอพยพหนีภัยจากชาวจีนสู่จีนตอนใต้ แถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสีและยูนนาน เข้าสู่เวียดนาม เข้าสู่ลาว และเข้าสู่ประเทศไทยทางตอนเหนือ ของน่ านทางหนึ่ ง และทางตอนเหนือของเชีย งราย พะเยา อี กทางหนึ่ง ข้อมู ล ล่าสุดเมื่อพ.ศ.2545 มีชาวเย้าอยู่ในประเทศไทยประมาณ 44,017 คน ชาวเย้ามักจะตั้งถิ่นฐานบนภูเขาสูงประมาณ 1,000 เมตรเหนือระดับน้ําทะเล และ จะเลือกที่ตั้งใกล้ลําธารที่ไหลแรง เพื่อทําระบบประปาภูเขา คือนําเอาไม้ไผ่ปล้อง ใหญ่ผ่ามาต่อกันเป็นรางน้ํานําน้ํามาใช้ในหมู่บ้าน ต่างจากแม้ว มูเซอและอีก้อซึ่ง จะต้องเดินไปตักน้ําในลําธารมาใช้ที่บ้าน ชาวเย้ามักตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งนานกว่าเผ่าอื่นๆจึงอพยพหาถิ่น ฐานใหม่ ปัจ จุบันกระจายตัวอยู่ ตามจั งหวัดต่ างๆทางภาคเหนือ เช่น เชีย งใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลําปาง แพร่ ฯลฯ มีมากที่สุดในจังหวัดเชียงราย ปลูกข้าว ข้าวโพด พืชผักต่างๆ เลี้ยงสัตว์ (ไก่ หมู ม้า ฬ่อ) และค้าขาย ทั้งการค้า ขายระหว่ างเผ่ าต่ า งๆและการค้ าขายกั บ ชาวพื้ น ราบตลอดจนนั ก ท่ องเที่ ย วใน ปัจจุบัน ชาวเย้าค้าขายเก่งจนได้รับการขนานนามว่า “พ่อค้าแห่งขุนเขา” (สมัย สุทธิธรรม, 2541 : 11) เย้ า นั บ ถื อ ผี บ รรพบุ รุ ษ เช่ น เดี ย วกั บ จี น มี ก ารทํ า แท่ น บู ช า และนั บ ถื อ ผี อื่ น ๆ เหมือนกันเช่น ผีเรือน ผีฟ้า ผีดิน ผีลม ผี ป่า ลัทธิความเชื่อและวิธีปฏิ บัติต่างๆ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 123

ตัวเรือน

บริเวณบ้าน

รับมาจากจีน ใช้แซ่เป็นสกุลเช่นเดียวกับจีน วันปีใหม่ก็เป็นวันเดียวกับจีน และชาย เป็นใหญ่ เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆในครอบครัว เมื่อชายแต่งงานแล้วก็จะนํา ภรรยาเข้ า มาอยู่ ใ นบ้ า น กลายเป็ น ครอบครั ว ขยาย คล้ า ยธรรมเนี ย มจี น ทุ ก คนทํางานหนักเท่าๆกันและกินอาหารพร้อมกัน − เย้าปลูก เรือนติด พื้นดินแบบเดียวกับแม้ว ใช้พื้นดิ นที่ปรับ ระดับเรี ยบบดอั ด แน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และตั่งสําหรับนั่งนอน − โครงสร้างเฉพาะเสาหลักเป็นไม้จริง โครงสร้างรองใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคา หรือฟากไม้ไผ่ − ฝาเรือนเป็นไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน หรือ ฟากตั้ง − ผังเป็นแบบบ้านเรือนชาวจีน แบ่งพื้นที่ เรือนเป็นสามส่ว น ทางเข้าตรงกลาง ส่ว นตรงกลางตรงทางเข้า จะเป็น บริเวณที่ ตั้งหิ้ งบรรพบุ รุษและบริเวณที่ ใช้ สําหรับรับแขก หรือนั่งล้อมวงพูดคุยกันในครอบครัว รอบเตาผู้ชาย − เตาไฟจะแยกเตาสํ าหรับ ชาย-หญิง เตาผู้ช ายอยู่ด้ านหน้ าบริเวณรับแขก ใช้ สําหรับต้มน้ําชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตาผู้หญิงอยู่ด้านหลังใกล้ประตูหลัง บ้านสําหรับหุงหาอาหาร − ครกตําข้าวอยู่ภายในตัวเรือน − หน้าบ้านใต้ชายคาเป็นบริเวณทํางาน เช่นเย็บผ้า ทอผ้า และรับแขก − ข้างบ้านใช้เก็บฟืน − ใกล้บ้านสร้างโรงม้า ยุ้งข้าว คอกหมู เล้าไก่ − ทําสวนครัวด้านข้างหรือหลังบ้าน ปลูกมะละกอ สับปะรด อ้อย พืชที่ใช้ ทําอาหาร ซึ่งไม่พบในเผ่าอื่นมากนัก

หมู่บ้านเย้าในจังหวัดเชียงราย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


124 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

รูปแบบเรือนเย้า (ที่มา: สุพล ปวราจารย์, 2543)

เรือนเย้า ลักษณะคล้ายเรือนม้ง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 125

เรือนชาวเขากลุ่มมอญ-เขมร ในบทเรียนนี้ในกลุ่มจีนจะศึกษาเรือนชาวเขาเผ่าขมุ ลัวะ และผีตองเหลือง

ขมุ Khamu เผ่า ชาติพันธุ์ ภาษาพูด

ชาวเขาเผ่าขมุ

การตั้งถิ่น ฐาน อาชีพ

เรือน

ขมุ (ขมุใช้เรียกตนเอง แปลว่า คน) มอญ – เขมร ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่ม มอญ-เขมร ถิ่นฐานเดิม เป็ น ชนพื้ น เมื อ งดั้ ง เดิ ม ของเอเชี ย อาคเนย์ ตอนเหนื อ ของไทย ตอน เ ห นื อ ข อ ง ล า ว ต อ น เ ห นื อ ข อ ง เวียดนาม และตอนใต้ของจีน การอพยพ กระจายตั ว อยู่ ใ นลาวตอนเหนื อ มี เข้าสู่ไทย มากในแขวงหลวงพระบาง ส่ ว นใน ไทย มี ห นาแน่ น ที่ จั ง หวั ด น่ า นและ เชียงราย นอกจากนั้นมีอยู่ใน ลําปาง เชี ย งใหม่ สุ โ ขทั ย และอุ ทั ย ธานี จํ านวนประชากรขมุ คิดเป็ น ร้ อ ยละ 1.15 ของประชากรชาวเขาในไทย

ขมุตั้งถิ่นฐานในระดับความสูงประมาณ 750 ม.จากระดับน้ําทะเล เลือกที่ตั้งบริเวณที่ ราบหุบเขา ตั้งหมู่บ้านให้หน้าหมู่บ้านหรือทางเข้ าหันไปทางตะวันออก เชื่อว่าจะนํ า ความร่มเย็นเป็นสุขมาให้แก่คนในหมู่บ้าน (www.mhsdc.org, 2557) ขมุ เลี้ ย งชี พโดยการทํ าไร่ บ นภู เขา โดยใช้ ร ะบบไร่ ห มุ น เวี ย น พื ช ที่ ป ลู ก ได้ แ ก่ ข้ า ว สําหรับบริโภค และข้าวโพดสําหรับเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชสวนครัว ซึ่งเป็นพืชจําพวก เครื่องเทศ เช่น พริก หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า ขมิ้น เป็นต้น ขมุชํานาญในเรื่องการทําไม้ โดยเฉพาะการเลื่อยไม้ เพราะชาวอังกฤษและ ฝรั่งเศสได้เข้ามาทําอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2429 ได้จ้างพวกขมุเป็น คนงานในการทําป่าไม้ ทําให้พวกขมุได้รับความรู้เรื่องอุตสาหกรรมไม้ และถ่ายทอด ความรู้กันสืบทอดถึงปัจจุบัน (www.mhsdc.org, 2557) ขมุมักเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในบ้านจะมีเพียง 2 คนกับลูกเล็ก เมื่อลูกโตขึ้นจะแยก เรือนออกไป บ้านส่วนใหญ่จึงมีขนาดเล็ก มีห้องนอนเดียว ลักษณะเป็นเรือนยกพื้นไม่สูง และพื้ น เรื อนมี 2 ระดั บ ระดั บ ชานภายนอก กั บ ระดั บ ห้ องภายใน ชานภายนอกนี้

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


126 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ลักษณะเป็นชานในร่ม ขนาดเล็ก ใช้เป็นทางขึ้นเรือน ซักล้าง นั่งเล่น รับแขก และอื่นๆ มีร้านน้ําและชั้นวางของที่ชานนี้ จากชานร่มนี้ จะผ่านประตูเข้าสู่ภายในห้องนอน ซึ่งจะยกระดับขึ้นจากระดับ ชานประมาณ 20 – 30 ซม. และมีเอกลักษณ์อยู่ที่การขยับแนวผนังนี้เข้าไปจากขอบ ประมาณ 30 ซม.หรือมากกว่านั้น บางหลังอาจถึง 50 ซม. เป็นพื้นที่แคบยาวเท่ากับตัว เรื อน ใช้ ไม้ ก ระดาน 1-2 แผ่ น ปู หรื อพื้ น ฟากไม้ ไ ผ่ ลั กษณะไม่ เ ป็ น เหมื อ นเติ๋ น หรื อ ระเบียง เพราะแคบเกินไป แต่เป็นเหมือนที่นั่งหรือวางของ

เรือนขมุขนาดเล็ก เพราะเป็นครอบครัวเดี่ยว

บันไดทางขึ้นและชานเรือนเล็กๆ มีชั้นวางของสูงประมาณ 1 เมตร •

เรือนขมุที่น่าน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 127

ชานเรือนขมุ ต่อเนื่องกับห้องนอน •

เรือนขมุแบบเรือนไม้จริงขนาดใหญ่ มีฐานะดี

ชานเรือนขมุ

เรือนนี้มีพัฒนาการ ยกสูง หลังใหญ่ มีส่วนขยาย เชื่อมกับเรือนเดิมที่ชาน โดยที่ชานและบันไดทางขึ้นอยู่ที่เดิม •

เรือนขมุขนาดใหญ่ มีส่วนขยาย

ขมุในชุดประจําเผ่า (ที่มา : http://www.tpso10.org, 2558)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


128 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ลัวะ Lua ลั ว ะซึ่ ง เป็ น ชาติ พั น ธ์ ดั้ ง เดิ ม ของ ภูมิภ าคนี้ โดยเฉพาะที่ เชี ยงใหม่ เชีย งรายและ จั ง หวั ด อื่ น ๆของล้ า นนานั้ น ปั จ จุ บั น อาศั ย อยู่ หนาแน่ น ที่ บ้ า นบ่ อ หลวง อํ า เภอฮอด จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ แต่ ที่เป็ น ชุ ม ชนลั ว ะที่ ยั ง คงมี รู ป แบบ เอกลั ก ษณ์ ทั้ง ชุ ม ชนและตั ว เรื อน คื อที่ บ้ า นมื ด หลอง ต.บ้ า นทั บ อ.แม่ แ จ่ ม จ.เชี ย งใหม่ จาก การศึกษาของ อ.สุพล ปวราจารย์ และการเก็บ ข้อมูลภาคสนามของไพลิน ทองธรรมชาติ พอจะ สามารถสรุปลักษณะเรือนลัวะแบบประเพณีได้ ดังนี้

ชาวลัวะ

-

เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง มีการใช้งานใต้ถุนเรือน โครงสร้างไม้ไผ่ผสมผสานกับไม้จริงแปรรูปอย่างง่าย ฝาเรือนทั้งไม้จริงและฝาไม้ไผ่ขัดแตะ โครง เคร่าไม้จริง หลังคามุงหญ้าคาทรงจั่วสูงชัน ทิ้งชายคาต่ําจนถึงระดับตีนฝาเรือนจนไม่เห็นฝาเรือน ยอดจั่วมีไม้คู่ไขว้แบบกาแลประดับอยู่ เรียกว่า ล่ะกู แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆตามความเชื่อ ของลัวะ มีชานฝนด้านหน้า เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม ใช้ซักล้าง ตากพืชผล ฯลฯ แผงอุดจั่วหรือหน้าบันที่ลัวะเรียกว่า “แหนบ” ทําจากไม้ไผ่ขัดแตะ สานเป็นลวดลายต่างๆ ชายคาที่ยื่นยาวจะมีเสารับอีกแถวหนึ่ง ลักษณะแบบเสาพาไล บันไดทางขึ้นเรือนจะอยู่ใต้ชายคา ส่วนนี้เอง จะมีการบูชาผีที่เสาต้นแรกของชุดนี้ใกล้บันไดทางขึ้นเรือนเป็นประจําทุกปี บนเรือนบริเวณเติ๋นหรือกระปง มี ฮันระอํา หรือฮ้านน้ําอยู่ข้างบันไดสําหรับดื่มกินแก้กระหาย เติ๋ นนี้ เชื่อมต่อกั บชานฝนและห้องนอน ประตู เชื่อมห้องนอนจะมี ยนต์ เป็นไม้แกะสลั กลงสี สวยงามติดเหนือประตูป้องกันสิ่งชั่วร้ายเข้าไปในเรือน ภายในห้ องนอน มี โต๊ ะจ๊ ะ หรื อแม่ เตาไฟอยู่ ตรงของกลางส่ ว นนอน มี เสาพิ เ ศษรั บ อี ก 1 คู่ ลักษณะเดียวกับเรือนพื้นถิ่นอื่นๆ คือเป็นถาดไม้อัดดินเหนียวแน่น ใช้ก่อฟืนหุงหาอาหาร ต้มน้ํา และให้ความอบอุ่นภายในเรือน เหนือขึ้นไปเป็นชั้นวางของโปร่งแขวนจากโครงหลังคา ใช้วาง ของเครื่องใช้พวกจักสาน มีชั้นวาง ใช้เก็บของเรียกว่า โต๊ะคร็อก ลักษณะเป็นซอกยาวสุดห้อง

-

-

-


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 129

รูปแบบเรือนลัวะ (ที่มา: สุพล ปวราจารย์, 2543)

เรือนลั วะเป็ นเรือนไม้ย กใต้ถุนสู ง ใช้ วัส ดุห ลักเป็ นไม้จ ริงผสมไม้ไผ่ พื้น เรื อนมีทั้งฟากและไม้ กระดาน บนเรือนมีห้องปิดเพียงห้องเดียว ใช้นอนและเป็นที่ตั้งเตาไฟ

เรือนลัวะ (ที่มา: www.duangjan.com, 2556 และ ไพลิน ทองธรรมชาติ, 2553)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


130 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบภายในเรือนลัวะ : แม่เตาไฟ ที่นอนเจ้าของเรือน

องค์ประกอบเรือนลัวะ : บันไดทางขึ้นเรือน •

องค์ประกอบเรือนลัวะบ้านมืดหลอง อ.แม่แจ่ม (ที่มา: ไพลิน ทองธรรมชาติ, 2553)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 131

มลาบรี หรือผีตองเหลือง Mlabri

เผ่า ชาติพันธ์ ภาษาพูด ถิ่นฐานเดิม การอพยพ เข้าสู่ไทย

การตั้งถิ่น ฐาน

อาชีพ

ชาวเขาเผ่ามลาบรี (ที่มา: บุญเสริม สาตราภัย, 2505)

มลาบรี (มลาบรีใช้เรียกตัวเอง) แปลว่า คนป่า (“มรา” แปลว่า คน “บรี” แปลว่า ป่า) มอญ – เขมร ธิเบต – พม่า แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว DT.H Barnatzik ชาวออสเตรียสํารวจพบผีตองเหลือง เมื่อ พ.ศ. 2479 ในป่าจังหวัด น่าน คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ยําบรี” สันนิษฐานว่าเป็นพวกเดียวกับผีตองเหลืองที่ คณะสํารวจของสยามสมาคมฯซึ่งมี อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นหัวหน้าค้นพบ เมื่อพ.ศ. 2505 ท่านรายงานว่าชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “มระบรี” ทําเพิงอาศัยอยู่ที่ริม ห้ว ยน้ํ าท่ า ทางตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ของจั งหวั ดน่ าน ก่ อนนี้ Mr.Oliver Gordon Young รายงานว่าชาวแม้วและมูเซอที่ดอยเวียงผา อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ได้พบผีตองเหลืองใน เขตของตนและว่าพวกนี้พูดภาษาว้า กับเรียกตนเองว่า “โพล” มลาบรีมักตั้งถิ่นฐานเขตชุ่มชื้น ตามความลาดของไหล่เขาอยู่สูงจากระดับน้ําทะเลราวๆ 1,000 เมตรขึ้นไป และตั้งที่พักใกล้แหล่งน้ําเพื่อหาปลาและสัตว์น้ําต่างๆ มาเป็นอาหาร ได้ ย้ายที่อยู่ทุก 5 – 10 วัน เพราะความเชื่อว่าผีร้ายจะมาทําร้าย แต่ถ้าพิจารณาว่า ด้วย เหตุที่มลาบรีไม่เพาะปลูก ไม่เลี้ยงสัตว์ หากินจากธรรมชาติ ไม่มีอาชีพ ดํารงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บลูกไม้กิน ไม่เพาะปลูก ไม่เลี้ยงสัตว์ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


132 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

มลาบรีเปลือยกายไม่นุ่งผ้า จะนุ่งผ้าเวลาเข้าหมู่บ้านไปแลกอาหาร ยา หรือของใช้จําเป็น ทั้งชาย และหญิงจะเจาะหูทั้งสองข้างตั้งแต่เด็ก ใช้ไม้ไผ่เหลาให้แหลมเจาะ ใช้ดอกไม้มาเสียบประดับ ตั้งเพิงพักเป็น กลุ่มรอบๆกัน จะขับถ่ายตามสุ่มทุมพุ่มไม้รอบๆที่พักไม่ซ้ําจุดกันในแต่ละวัน เมื่อย้ายที่อยู่บ่อยจึงไม่มีปัญหา เรื่องพื้นที่ขับถ่าย เวลาจะย้ายที่อยู่ จะออกเดินตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อให้ไปถึงที่หมายและสร้างเพิงพักให้เสร็จ ก่อนตะวันตกดิน ชาวเขาหลายเผ่าคิดว่ามลาบรีเป็นผี เพราะนิสัยที่ย้ายที่อยู่บ่อย ไม่ชอบพบผู้คนต่างเผ่า และสามารถอยู่บริเวณใกล้กันหมู่บ้านโดยที่คนในหมู่บ้านไม่รู้ และติดต่อคนภายนอกเผ่าเฉพาะกับแม้วและ มูเซอเท่านั้น (www.m-culture.in.th, 2556) มลาบรีไม่ใช้หม้อไม่ใช้จานชาม ปรุงอาหารด้วยการ “หลาม” คือ ใส่อาหารในกระบอกไม้ไผ่หรือ ใบตองม้วนๆ แล้วเผาให้สุก ไม่ทํานาไม่กินข้าว

การเตรียมและปรุงอาหารของมลาบรี

ที่พักของมลาบรีน่าจะเรียกว่า “เพิง” มากกว่า “เรือน” เพราะลักษณะเป็นเพียงแผงที่ทําขึ้นจาก โครงไม้ไผ่มุงใบตอง ตั้งไว้แบบเพิงหมาแหงน มีด้านเดียว ปูพื้นด้วยใบตอง เวลานอน จะนอนเรียงกันหันหัว ออกด้านนอก ผู้ใหญ่จะนอนตะแคงเอาหูแนบพื้น เพื่อคอยฟังแรงสั่นสะเทือนจากดินที่อาจมีคนหรือสัตว์ป่า เดินใกล้เข้ามา เป็นการระวังภัย

ทีพักของมลาบรี (ที่มา: www.thailandshistoria.se/artiklar/1/6/forntid, 2556)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 133

5 สถาปัตยกรรมพืน ้ ถิน ่ ภาคกลาง เรือนไทยภาคกลาง หลักฐานเกี่ยวกับรูปแบบเรื อนไทยที่เป็นรู ปถ่ายที่เก่าที่ สุดน่าจะเป็น รูปถ่ายเรือนไทยของ John Thomson ซึ่งถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ. 2408 ในรัชกาลที่ 4 ลักษณะเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง ฝาสําหรวด หลังคาทรงจั่วสูง มีปีกนก ด้านหน้าชักเพิงคลุมระเบียง ระนาบหลังคาอ่อนโค้งมุงจาก โครงหลังคาไม้ไผ่ ซึ่งน่ าจะจั ดอยู่ ในประเภทเรื อนเครื่ องผู ก แต่ มีสั ดส่ ว นคล้ ายกั บ เรื อนเครื่ องสั บ หรื อเรื อนไทยเดิ มใน ปัจจุบัน และน่าสังเกตว่าทางเข้าเรือนน่าจะอยู่ด้านสกัดของเรือนแบบเดียวกับอุโบสถวิหาร ซึ่งต่างจาก ทางเข้าเรือนในปัจจุบัน ทั้งเรือนเครื่องผูกหรือเครื่องสับ หลักฐานที่เก่ ากว่านั้ นก็จ ะเป็ นรู ปปั้น รูป สลั กหรื อภาพเขี ยน ทั้งจิตรกรรมฝาผนั งหรื อบน เครื่องสังคโลก ซึ่งแสดงให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า เรือนไทยเป็นเรือนเสาสูง คือยกใต้ถุน หลังคาทรงจั่วสูง ระนาบอ่อนโค้งแบบจอมแหเพื่อช่วยให้น้ําฝนที่ตกหนักปริมาณน้ํามากได้ไหลลงอย่างรวดเร็ว ความชัน ช่วยผ่อนแรงปะทะ ไม่ปะทะจังๆ ซึ่งก็คือแบบแผนของเรือนไทยปัจจุบัน

เครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัย จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา และสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนฯ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


134 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ภาพถ่ายเรือนไทยในรัชกาลที่ 4 โดย John Thomson (ที่มา : เสนอ นิลเดช, 2541)

ภาพวาดเรือนของชาวอยุธยาแสดงให้เห็นว่า เป็นทรงจั่ว ยกใต้ถุนสูง มีน้ําท่วมใต้ถุนเรือน ใช้เรือ พาย ฝาเรือนเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ แต่มีเครื่องยอดคล้าย วัดนั้น มีผู้วิจารณ์ว่าภาพนี้อาจเขียนขึ้นเมื่อลาลูแบร์ กลับไปประเทศของตนแล้ว และจําสับสนกับเครื่อง ยอดของวัด (ช่อฟ้าและหางหงส์) • เรือนเครื่องผูกสมัยสมเด็จพระนารายณ์จากภาพวาดของลาลูแบร์

(ที่มา : เสนอ นิลเดช, 2541)

การตั้งถิ่นฐาน คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ การดํารงชีวิตจึงไม่เพียงต้องการ น้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือดื่มกิน ซักผ้า ล้างภาชนะเท่านั้น แต่ต้องการน้ําเป็นจํานวนมากเพื่อใช้ใน การเกษตร การตั้งหมู่บ้านส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นริมแหล่งน้ํา คือ แม่น้ําลําคลอง หนองบึง ฯลฯ นอกจากนี้ แม่น้ําลําคลองยังใช้เป็นทางสัญจรไปมาหาสู่ระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างเมืองได้อีกด้วย โดยมีองค์ประกอบ หมู่บ้านตามความจําเป็นในการใช้งานเกิดขึ้นตามบ้านเรือน ได้แก่ วัดและตลาด (ฤทัย ใจจงรัก, 2543 : 5) นอกจากนี้ ยังเกิดหมู่บ้านในลักษณะอื่นๆอีก หมู่บ้านจึงมีรูปแบบลักษณะของผังแตกต่างกัน พอสรุป ได้ ดังนี้


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 135

1. หมู่ บ้ า นริ ม น้ํ า คื อ หมู่ บ้ า นที่ เ กิ ด ตามริ ม แม่ น้ํ า ลํ า คลอง มี ลั ก ษณะยาวไปตามลํ า น้ํ า พื้ น ที่

ด้านหลังหมู่บ้านมักเป็นสวน ถัดจากสวนเป็นทุ่งนา มีวัดเป็นศูนย์กลาง และมีตลาดเป็นสถานที่ แลกเปลี่ยนสินค้า อาศัยลําน้ําในการกิน การใช้ และเป็นเส้นทางสัญจร ชื่อหมู่บ้านมักมีคําว่า บาง นําหน้าชื่อ เช่น บางกอก บางปลาม้า 2. หมู่ บ้ า นริ ม ทาง คื อ หมู่ บ้ า นที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการเป็ น จุ ด พั ก ของคนเดิ น ทางที่ ต้ องเดิ น ทางไกล ชาวบ้านชาวป่าจึงมาปลูกเพิงเพื่อขายอาหารหรือของจําเป็นอื่นๆ หรือแลกกับสินค้าบนเกวียน เมื่อผู้เดินทางมากขึ้น เพิ งมากขึ้น ที่สุ ดก็กลายเป็น เรือนพักอาศั ยและชุมชนหรือหมู่บ้านขึ้ น ด้ านหลั งหมู่ บ้ านก็ มัก เป็ น สวนและไร่ น าเช่ น เดี ย วกั บ หมู่ บ้ า นริ มน้ํ า ลั กษณะการรวมตั ว กั น ศูนย์กลางและโครงสร้างหมู่บ้านคล้ายกับแบบแรก 3. หมู่บ้านดอน คือ หมู่บ้านที่เกิดขึ้นห่างจากแม่น้ําลําคลอง มักตั้งอยู่รวมกันบนที่ดอนหรือพื้นที่ที่ สูงกว่านาที่อยู่โดยรอบ มักขุดสระน้ําเพื่อกินใช้ในหมู่บ้าน และใช้น้ําฝนหรือน้ําบ่าในการทํา การเกษตร ชื่อหมู่บ้านมักมีคําว่า ดอน นําหน้าชื่อ เช่น ดอนยายหอม ดอนกระเบื้อง 4. หมู่ บ้ า นกระจาย คื อ หมู่ บ้ า นที่ บ้ านแต่ ล ะหลัง จะตั้ ง อยู่แ ยกกั น ตามพื้ น ที่ น าหรือที่ ส วนของ ตนเอง ความผูกพันกันในหมู่บ้านน้อยกว่าแบบอื่นๆ

- หมู่บา้ นริมน้ํา -

- หมู่บา้ นริมทาง –

- หมู่บา้ นดอน -

- หมู่บา้ นกระจาย –

การตั้งถิ่นฐาน (ที่มา : www.map.google.co.th, 2556) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


136 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไทยภาคกลาง ประเภทของเรือน เรือนพักอาศัยของไทยแบ่งตามเทคนิคการก่อสร้างได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เรือนเครื่องผูก คือ เรือนที่ส่วนใหญ่ใช้การผูกการมัดในการก่อสร้าง วัสดุหลักที่ใช้คือไม้ไผ่ และวัสดุธรรมชาติ 2. เรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่ใช้ไม้จริงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง โดยการแปรรูปไม้ให้เป็น ไม้กระดานหรือไม้ท่อนเพื่อนํามาใช้ก่อสร้างนั้น ในสมัยก่อนใช้การสับ จึงเรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือน เครื่องสับ 3. เรือนเครื่องก่อ คือ เรือนที่ใช้การก่ออิฐฉาบปูนเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง จึงเรียกว่า เรือนเครื่องก่อ ซึ่งอดีตเป็นวัสดุที่สงวนไว้ใช้สําหรับวัดและวังเท่านั้น ภายหลังจารีตพวกนี้ได้ถูกยกเลิกไป และราษฎรผู้มีฐานะดีเริ่มใช้เรือนเครื่องก่อเป็นเรือนพักอาศัย และกระจายออกไปสู่ราษฎรทั่วไปในระยะ ต่อมา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 137

เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องผูก หรือบางท่านเรียกว่า เรือนชนบท เพราะส่วนใหญ่จะพบในชนบท หรือผู้มี รายได้น้อย ค่าใช้จ่ายในการสร้างเรือนต่ํา ใช้วัสดุพื้นถิ่น หรือที่หาได้ง่าย ราคาถูก เป็นเรือนพักอาศัย โครงสร้างหลักเป็นไม้ไผ่ หรือไม้จริงไม่แปรรูป หรือแปรรูปอย่างง่ายๆ โครงหลังคาไม้ไผ่ วัสดุมุงเป็นใบไม้ ชนิดต่างๆ เช่น หญ้าคา ใบจาก ใบแฝก ฯลฯ พื้นเป็นฟากไม้ไผ่ หรือไม้กระดาน หรือไม้ไผ่เป็นลํา การผูก จะผูกด้วยตอก สําหรับจุดที่ต้องการความแข็งแรงจะใช้ตอกหวายซึ่งเหนียว ทนทาน และใช้ตอกไม้ไผ่ สําหรับส่วนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะยกพื้นไม่สูงนัก พอให้พ้นความชื้นจากดิน แต่บางหลังก็ยกพื้นสูงท่วมหัว เพื่อใช้งานใต้ถุนเรือนได้

ชื่อเรียกองค์ประกอบของเรือนเครือ่ งผูก (ที่มา : เสนอ นิลเดช, 2541)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


138 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนเครื่องผูกภาคกลาง (ที่มา : เสนอ นิลเดช, 2541)

ผังพื้นเรือนเครื่องผูก ชนิด 2 ช่วงเสาและ 3 ช่วงเสา (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2547)

ผังพื้นเรือนมักมีเพียงห้องเดียว ขนาด 2 – 3 ช่วงเสา ใช้เป็นส่วนพักผ่อนและนอน ส่วนหน้า ห้องนอนเป็นพื้นที่ระเบียง ลดระดับพื้นลงจากส่วนนอน บันไดขึ้นสู่ส่วนระเบียงนี้ ด้านในของระเบียง เป็นส่วนครัว อาจกั้นเป็นห้องหรือไม่กั้น โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ บางหลังใช้ไม้จริงผสม ฝาเรือนขัด แตะกรุด้วยตับจาก หน้าต่างหรือช่องเปิดมีน้อย บานหน้าต่างมักจะทําอย่างง่ายๆด้วยวัสดุพื้นถิ่นเหมือน ฝาเรือนทําเป็นบานกระทุ้ง มีไม้ค้ํายันเมื่อเปิด พื้นเรือนส่วนมากจะใช้ฟากสับ การยึดโครงสร้างทั้งหมด


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 139

ของเรือนนั้น สมัยโบราณจะใช้เพียงหวาย ตอก เถาวัลย์ ลูกสลัก และเดือยเท่านั้น หวายใช้กับโครงสร้าง สําคัญที่ต้องการความแข็งแรง นอกนั้นใช้ตอกไม่ไผ่ ใช้การเจาะโครงสร้างเพื่อใส่ลูกสลัก ปัจจุบันเทคนิค การก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไป วัสดุอุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น ลวด ตะปู ฯลฯ เข้ามามีบทบาทในการก่อสร้าง เรือนเครื่องผูกหรือเรือนชนบทมากขึ้น

รูปตัดแสดงโครงสร้างและเทคนิคการก่อสร้างของเรือนเครื่องผูก (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2536)

ฝาขัดแตะ •

ฝาฟาก

ฝาทางจาก ทางมะพร้าว

ฝาเรือนแบบต่างๆ (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2536)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


140 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เทคนิคการมุงหลังคา (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2536)

การยึดปั้นลม / การเย็บตับจากและคา (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2536)

การเย็บตองตึง / การผูกโครงสร้าง (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2536)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 141

เรือนเครื่องสับ เครื่องก่อ เรือนพักอาศัยที่สร้างจากไม้จริง ลักษณะเป็นเรือนถาวร ใช้งานได้ยาวนานหลายสิบปี การ ก่อสร้างมีความประณีตเรียบร้อยมากกว่าเรือนเครื่องผูก เรือนประเภทนี้มักถูกเรียกว่า “เรือนไทยเดิม” และเป็นภาพจําของเรือนไทยแบบประเพณีโดยรวม ประเภทของเรือนเครื่องสับ เรือนไทยประเภทเรือนเครื่องสับ แบ่งออกเป็นเรือนประเภทต่างๆตามการใช้งานและลักษณะ ที่ปรากฏได้ดังนี้ 1. เรื อนเดี่ ยว เรื อนสํ าหรับ ครอบครัว เดี่ ย วหรือครอบครั ว เล็ ก มีผั ว เมี ย หรื อมี ลู กเล็ กที่ ยั งไม่ แต่งงาน โดยทั่วไปจะมีเรือนนอน 1 หลัง กับเรือนครัว เชื่อมกันด้วยชาน 2. เรือนหมู่ เรือนหลายหลัง เชื่อมกันด้วยชาน - เรือนสําหรับครอบครัวขยาย มีเรือนของลูกสาวที่แต่งงานแล้ว (ลูกชายแต่งงานแล้ว จะไปเรือนฝ่ายหญิง) จะปลูกเรือนนอนของลูกสาวและเขยเพิ่ม อาจอยู่ด้านหน้าเรือน พ่อแม่ วางจั่วขนานกัน หรือวางขวางด้านข้าง หรือวางเรียงตามยาวต่อจากเรือนพ่อแม่ เชื่อมกันด้วยชาน เหมือนล้อมชานอยู่ หรืออาจสร้างเป็นเรือนแยกในบริเวณใกล้ๆ ไม่มี ชานเชื่อม - เรื อ นคหบดี เรื อ นหมู่ ที่ ส ร้ า งใหญ่ โ ตหรู ห รา ชานกว้ า ง มี เ รื อ นประกอบอื่ น ๆ นอกเหนื อจากเรื อนนอนและเรื อนครัว เช่ น หอนั่ งหรื อหอกลาง อยู่ กลางชาน ไว้ นั่งเล่น รับแขก กินอาหาร และจัดงานพิธีต่างๆ หอนก สําหรับงานอดิเรก เช่น เลี้ยงนก เลี้ยงปลาสวยงาม หอพระ สําหรับประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ เป็นเรือนของผู้มีอัน จะกิน หรือสูงศักดิ์ อาจปลูกขึ้นพร้อมกันทั้งหมู่ ไม่ได้ทยอยปลูกขึ้นตามความจําเป็น เหมือนครอบครัวขยาย - เรือนหลวง เรือนหมู่ที่สร้างขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ ใช้เป็นที่ประทับ หรือสร้างเพื่อใช้ รับราชทูต หรือสร้างพระราชทานให้ผู้ใด มีระบบศักดินากํากับองค์ประกอบต่างๆของ เรือนเพื่อแสดงฐานะของผู้อยู่อาศัย 3. กุฏิ อาคารพักอาศัยของพระภิกษุ อยู่ในวัด มีทั้งที่ผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวาย หรือ เรือนชาวบ้านที่ รื้อมาสร้างถวาย เพราะผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วไม่ปกติสุข หรือเสียชีวิต ลูกหลานอยู่แล้วไม่ปกติสุข จึงรื้อมาถวาย - หลังเดี่ยว ตามพระวินัย กําหนดให้กุฏิสําหรับภิกษุอยู่เพียงรูปเดียว ขนาด 7 x 12 คืบ พระสุคต (ประมาณ 1.75 x 3.0 ม.) แต่ละหลังตั้งอยู่ห่างกันตามสมควร - หมู่กุฏิ กุฏิหลังเดี่ยวที่มาตั้งรวมกันเป็นหมู่หรือเป็นแถวแล้วเชื่อมด้วยชานถึงกัน ตรง กลางชานอาจมีหอฉันหรือหอสวดมนต์ (บางแห่งหอฉันก็ตั้งอยู่ริม ตรงกลางเป็นชาน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


142 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

โล่ง) บางแห่ง โดยเฉพาะวัดในเมืองที่มีพื้นที่จํากัด หรือมีภิกษุจํานวนมาก กุฏิแต่ละ หลังจะมีห้องนอนหลายห้อง ตั้งแต่ 3 ถึง 7 ห้อง (วัดขนอน ราชบุรี ยาวถึง 9 ห้อง) กุฏิ ที่ยาวต่อเนื่องกันหลายห้องแบบนี้ เรียกว่า กุฏิทิมแถว พบทั้งที่เป็นเรือนเครื่องสับ (เรือนไม้) และเรือนเครื่องก่อ หมู่กุฏิแต่ละหมู่นี้เรียกว่า “คณะ” แต่ละวัดอาจมีหลาย คณะ เรียกว่า คณะหนึ่ง คณะสอง ฯลฯ - กุฏิทิมแถวแบบเขื่อนเพชร (เครื่องก่อ) คือกุฏิทิมแถวที่ใช้เป็นที่กั้นแดนไปในตัว ใช้ ผนังด้านนอกเป็นกําแพงรั้ว อาจกั้นเขตวัด หรือกั้นเขตสังฆาวาส มักเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่พักสามเณรหรือเด็กวัด ใช้บนเป็นที่พักพระภิกษุ 4. เรือนร้านค้า - เรือนร้านค้าริมน้ํา สร้างขึ้นริมน้ําเพื่อค้าขายเป็นหลัก ร่วมกับการพักอาศัย ยกพื้นให้ สูงกว่าระดับน้ําที่ ขึ้นสูงสุด ตัวเรือนมี 2 ส่วน คือ ส่วนร้านค้า และส่วนพักอาศัย มี ทางเดินเท้าด้านหน้าร้าน กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวต่อเนื่องถึงกันตลอดทุกร้านค้า ให้คนเดินสัญจร มีบันไดทางลงไปท่าน้ํา หรือลงสู่น้ําเลยโดยไม่มีท่าน้ํา - เรือนร้านค้าริมทาง คล้ายกับเรือนร้านค้าริมน้ํา แต่อยู่ริมทางสัญจรทางบก เป็นเรือน ยกพื้ นไม่ สู งนั ก หรื อยกพื้ น สู งเฉพาะส่ ว นพั กอาศั ย เพื่ อให้ ค นเข้ าถึ งส่ ว นร้ านค้ าได้ สะดวก 5. เรือนแพ คือเรือนที่สร้างบนแพลูกบวบ (ไม้ไผ่มัดติดกัน) หรือโป๊ะ ทําให้ลอยน้ําได้ มีทั้งเรือโป๊ะ โป๊ะคอนกรีต และโป๊ะเหล็ก - เรือนร้านค้า คือเรือนแพที่ทําเป็นเรือนร้านค้า ลักษณะทั่วไปเหมือนเรือนร้านค้าริมน้ํา แต่วางบนโป๊ะลอยน้ํา ขึ้นลงตามระดับน้ํา ทําให้สะดวกสําหรับค้าขายกับผู้ที่สัญจรทาง เรือ โดยเฉพาะบริเวณที่ระดับน้ําขึ้นลงต่างระดับกันมากในช่วงเวลาต่างๆของปี - เรือนพักอาศัย คือเรือนพักอาศัยที่เป็นเรือนแพ โดยไม่ได้เป็นร้านค้า หรือมีกิจกรรมใด กับการสัญจรทางเรือ มีอาชีพต่างๆกันไป รวมทั้งประมงน้ําจืด ปัจจุบันเหลืออยู่น้อย แล้ว เพราะทางการจํากัดจํานวนและบางแห่งก็ถูกผลักดันออกจากพื้นที่ - ใช้งานอื่นๆ คือเรือนแพที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานอื่นๆนอกเหนือจากเป็นร้านค้าหรือ พักอาศัย หรือใช้งานอเนกประสงค์ 6. ศาลาท่าน้ํา ศาลาที่ทําขึ้นบริเวณท่าน้ํา แม่น้ําลําคลอง ใช้เป็นที่นั่งพักรอเรือเมล์ อาบน้ํา หรือ แม้แต่นั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจ เพราะอยู่ริมน้ํา โปร่ง โล่ง สบาย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 143

เรือนเดี่ยว เรือนสําหรับครอบครัวเดี่ยว คือมีพ่อ แม่ และลูกที่ยังไม่แต่งงาน มักจะประกอบด้วย - เรือนใหญ่หรือเรือนนอน 1 หลัง - เรือนครัว 1 หลัง - ชานหน้า-ข้าง เชื่อมเรือนนอนกับเรือนครัว เรือนนอนมักจะมีห้องนอน 1 ห้อง โถง 1 ห้อง ระเบียงด้านหน้ายาวตลอดตัวเรือน เป็นตัวเชื่อม ห้องนอนกับชาน ชานเรือนด้านหน้าใช้พักผ่อนและกิจกรรมอื่นๆเอนกประสงค์ ส่วนชานข้างหรือชาน หลังใช้อาบน้ํา ล้างจาน ซักผ้าและงานบ้านอื่นๆ เรือนครัวอาจอยู่ด้านหน้าเรือนนอนจั่วขนานกัน หรือ วางขวาง

เรือนเดี่ยวแบบเรือนครัวอยู่หน้า

เรือนเดี่ยวแบบเรือนครัวขวาง •

เรือนไทยเดิมแบบเรือนเดี่ยว (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


144 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนหมู่ เรือนหมู่สําหรับครอบครัวขยาย เป็นการก่อสร้างเรือนเพิ่มเติมสําหรับลูกสาวที่เมื่อแต่งงาน แล้วต้องการห้องนอนแยกเป็นเอกเทศ ไม่นิยมต่อเติมหรือขยายเรือนพ่อแม่เพื่อเพิ่มห้องนอน แต่จะสร้าง เรือนนอนใหม่อีกหลังหนึ่ง มักจะสร้างอยู่ตรงข้ามกับเรือนพ่อแม่ จั่วขนานกัน ด้านหลังหรือด้านข้างเป็น ครัว ซึ่งเป็นเรือนขวาง ด้านตรงข้ามกับเรือนครัวอาจสร้างเป็นหอนั่ง เป็นเรือนโถง มีฝา 3 ด้าน ด้านที่ ติดกับชานเปิดโล่ง ใช้พักผ่อน รับแขก เพราะเมื่อครอบครัวขยายขึ้น โถงข้างห้องนอนหรือระเบียงอาจมี พื้นที่ไม่เพียงพอ หรือไม่สะดวก เพราะอยู่ในเรือนพ่อแม่ เมื่อสร้างหอนั่งขึ้นใหม่สําหรับพักผ่อนแล้ว ส่วนห้องโถงเดิมในเรือนใหญ่อาจใช้เป็นที่ตั้งหมู่ บูชา ทําเป็นห้องพระ หรือขยายห้องนอนออกจนเต็มเรือน ซึ่งการขยายเรือนนี้อาจทําได้ทั้งการสร้าง เรียงตามยาวต่อจากเรือนพ่อแม่ หรือสร้างตรงข้าม หรือสร้างเป็นกลุ่มเชื่อมด้วยชานโล่งไม่มีหลังคาคลุม หรือสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณเดียวกันโดยไม่มีชานเชื่อม

เรือนไทยเดิมแบบเรือนหมู่ (ที่มา : อัน นิมมานเหมินท์, 2532)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 145

เรือนขยายทีข่ ยายจากเรือนเดี่ยวแบบเรือนครัวขวาง โดยเพิ่มเรือนนอนอีกสองหลัง •

เรือนไทยเดิมแบบเรือนหมูส่ ําหรับครอบครัวขยาย (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


146 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนคหบดี เรือนคหบดี คือ เรือนหมู่ที่สร้างขึ้นอย่างใหญ่โตหรูหรา สําหรับผู้มีฐานะดีหรือผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือตําแหน่งสูง มักจะมีเรือนสําหรับกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือจากเรือนนอนพ่อแม่ เรือนลูก และเรือน ครัว เช่น - หอนั่งหรือหอกลาง ซึ่งมีลักษณะและตําแหน่งเดียวกันกับหอฉันของหมู่กุฏิ เป็นเรือนโปร่ง ไม่มีฝา ตั้งอยู่กลางชาน ในเรือนบางหลัง หอนั่งนี้จะตั้งอยู่ริมชาน ไม่อยู่กลางชาน มีฝา 3 ด้าน ด้านที่ติดกับชานเปิดโล่งเหมือนหอนั่งในเรือนสามัญชน - หอนก คหบดีผู้มีอันจะกินมักมีงานอดิเรก เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น เลี้ยงนกชนิดต่างๆ เลี้ยงปลากัด ปลูกไม้กระถางประเภทบอนไซ ฯลฯ จึงปลูกเรือนหลังเล็กขนาด 2 ช่วงเสาเพื่อ งานอดิเรกนี้ ส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงนกจึงเรียกว่า หอนก - หอหน้า คือเรือนโถงที่สร้างบริเวณทางขึ้นเรือน เป็นเรือนแบบมีพะไลทางด้านนอก คลุม ทางขึ้นเรือน หอหน้านี้มีเฉพาะบางหลัง โดยเฉพาะเรือนหมู่แบบที่เรียกว่า คุ้มขุนแผน ใน อยุธยา โดยทั่วไปทางขึ้นเรือนจะเป็นบันไดทอดขึ้นสู่ชานโดยตรงไม่มีเรือนหรือหลังคา ชานของเรือนคหบดีมักมีขนาดกว้างใหญ่ รองรับผู้คนจํานวนมากเวลามีการชุมนุมคนในวาระ ต่างๆ จึงมักมีการเว้นช่องพื้นชานเพื่อปลูกไม้ยืนต้นประเภท จําปี จําปา มะม่วง หรือขนุน เพื่อให้ร่มเงา แก่ชาน พื้นที่บางส่วนอาจจัดเป็นที่ตั้งไม้กระถางต่างๆเพื่อความสวยงามและเป็นงานอดิเรก เรียกว่า สวนกระถาง

ชานเรือน สวนกระถาง และการเปิดช่องปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงาแก่ชานที่เรือนนายแพทย์เล็ก ทีพ่ ุทธมณฑล • เรือนไทยประเภทเรือนคหบดี


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 147

เรือนคหบดี (เรือนทับขวัญ นครปฐม) •

เรือนไทยแบบเรือนคหบดี (ที่มา : อัน นิมมานเหมินท์, 2539)

คุ้มขุนแผน (ที่มา : อัน นิมมานเหมินท์, 2539)

คุ้มขุนแผน เป็นเรือนไทยที่ศึกษาเป็นแบบอย่างของเรือนไทยได้ไม่ทั้งหมด เพราะสร้างขึ้นโดย ให้ความสําคัญกับหอกลางมากกว่าชาน มีขนาดใหญ่กว่าชานและเรือนอื่นๆ จนกลายเป็นเรือนประธาน ไป ไม่ตรงตามแบบแผนตามประเพณี ที่ว่างโดยรอบเหลือน้อยไม่สามารถไหลเทไปมาได้ ทําให้รู้สึกอึดอัด ซึ่งแบบแผนดั้งเดิมตามประเพณีนั้น หอกลางเป็นเพียงเรือนประกอบ ลักษณะเฉพาะของหมู่เรือนไทยซึ่ง เป็นเรือนหมู่ล้อมที่ว่างเปิดโล่งจึงหายไป (ฤทัย ใจจงรัก, 2543 : 14) คุ้มขุนแผนสร้างขึ้นในพระราชวังโบราณกรุงศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 8 และมีหลังจําลองอยู่ ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


148 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

คุ้มขุนแผนจําลองที่เมืองโบราณ •

หอกลางของคุ้มขุนแผนที่ใหญ่เกินไป

คุ้มขุนแผนที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ

เรือนหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเรือนต้นขึ้นในพระราชวังดุสิต เพื่อใช้ ประทับแบบสามัญชน ให้เพื่อนต้น คือราษฎรของพระองค์เข้าเฝ้าได้อย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง

พระตําหนักเรือนต้น พระราชวังดุสิต (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 149

ลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง 1. เป็นเรือนชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง เรื อนไทยภาคกลางจะยกใต้ ถุน สู ง เพื่ อหนี น้ําในฤดู น้ําหลาก และการยกสู งจนพ้ น หั ว ก็ ได้ ประโยชน์จากการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนเรือนนอกฤดูน้ําหลากไปด้วย นอกจากนี้ การยกระดับพื้นเรือน ก็ยก ไม่เท่ากัน พื้นระเบียงจะยกสูงกว่าพื้นชาน 30-40 ซม. พื้นห้องนอนยกสูงกว่าพื้นระเบียงอีก 30-40 ซม. การยกเช่นนี้ทําให้ลมพัดผ่านได้สะดวก และสามารถมองลอดช่องลงมายังใต้ถุน จากใต้ถุนมองลอดช่อง ขึ้นไปบนเรือนเกิดการไหลถ่ายเทของที่ว่าง (Flow of Space) และการยกใต้ถุนยังมีประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัวและการป้องกันภัยจากคนและสัตว์ ใช้เก็บของ เก็บเครื่องมือ และทํางานนอกฤดู น้ําหลาก เป็นที่พักผ่อนเวลากลางวัน เพราะเย็นสบายกว่าบนเรือน ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

เรือนไทยยกพื้นสูง และลดระดับพืน้ ส่วนต่างๆ (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


150 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

2. หลังคาจั่วทรงสูง หลังคาเรือนไทยทรงสูง ระนาบหลังคาอ่อนโค้ง ป้านลมไม้ยอดแหลมสูง ปลายทั้งสองข้างทํา เป็นตัวเหงาหรือหางปลา โครงเป็นไม้ ใช้จาก แฝก หรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุง หลังคาทรงสูงช่วยให้ ระบายน้ําฝนเร็ว น้ําไม่รั่วซึม และยังช่วยบรรเทาความร้อนจากหลังคาที่จะแผ่รังสีลงมาด้วย

รูปทรงหลังคาของเรือนไทย (ที่มา : สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

3. โครงสร้างไม้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้สัก เว้นแต่โครงสร้างที่ต้องรับน้ําหนักมาก จะใช้ไม้เต็ง รัง แดง หรื อมะค่ า ซึ่ งแข็ งแรงกว่ า ใช้ ก ารยึ ดด้ ว ยสลั กไม้ เป็ น ส่ ว นใหญ่ ใช้ ส ลั กเหล็ กและตะปู เ ป็ น ส่ ว นน้ อ ย ลักษณะคล้ายเรือนสําเร็จรูป ที่ปรุงไว้เป็นส่วนๆแล้วนําขึ้นประกอบกันเป็นตัวเรือน โครงสร้างเสาล้ม สอบ เพื่อความแข็งแรง ยึดฝาได้แน่น เพราะฝาที่ปรุงเสร็จ ยกขึ้นวางบนพรึง ฝาจะล้มเข้าหาเสา ยึดด้วย ตะปูจีนเพียง 4 ตัวก็อยู่ โครงสร้างของชานแยกเป็นอิสระจากตัวเรือน ตั้งเสาต่างหาก

เรือนไทยปรุงเสร็จ (ที่มา www.barefootlivinginternational.com, www.oldwoodhouse.net, 2556)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 151

4. ไม่ทําฝ้าเพดาน เรือนไทยไม่ทําเพดาน อาจด้วยเหตุต่างๆ เช่น เป็นการเพิ่มน้ําหนักแก่โครงหลังคา หากยึดไม่ แน่นพออาจเป็นอันตราย การทําแบบสําเร็จรูปคงยกติดตั้งยาก และเปลืองแรงงานซึ่งต้องสร้างเสร็จใน วันเดียว (สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538: 65)

เรือนไทยไม่ทําฝ้าเพดาน (ที่มา : สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

5. ชานกว้าง มีพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 40 % ของพื้นที่เรือน และถ้ารวมพื้นที่ระเบียง จะมีพื้นที่เฉลี่ย ประมาณ 60%

ชานเรือน (ที่มา : www.reurnthai.com, 2558)

6. บันไดอยู่ภายนอกเรือน ขึ้นสู่ชาน ไม่ทําหลังคาคลุมบันได บางหลังมีซุ้มประตูแต่จะไม่คลุมตัว บันได

บันไดทางขึ้นเรือน (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


152 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

7. ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3 ห้องหรือ 5 ห้อง ไม่นิยม 7 หรือ 9 ห้อง

- เรือน 2 ห้องใช้ครัวไฟ หอนก หอนั่ง ศาลาโถง - เรือน 3 ห้องและเรือน 3 ห้องมีพะไลหัวท้าย ใช้ทําห้องนอน เรือนโถงใหญ่ กุฏิ - เรือน 4 ห้องไม่นิยม พบน้อยมาก - เรือน 5 ห้องและเรือน 5 ห้องมีพะไลหัวท้าย ใช้เป็นกุฏิ ตําหนัก เรือนสามัญชนไม่ค่อยทํา

8. การวางทิศทางของเรือนไม่ได้คํานึงทิศทางแดด ลม ฝนหรือด้านหน้าเรือนมากนัก พบการ วางเรือนหันหน้าไปทุกทิศทาง ส่วนใหญ่จะคํานึงถึงเส้นทางสัญจรเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นเพราะตัว เรือนสามารถรับลมได้ดีในทุกทิศทาง และนิยมปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงารอบบ้าน หลักในการ พิจารณาวางผังเรือนคือ หันหน้าเรือนสู่เส้นทางสัญจร ถ้าอยู่ริมน้ํา ก็หันสู่แม่น้ําลําคลอง หรือถ้า เป็นบ้านดอนก็หันหน้าเรือนสู่ทางเดินหรือทางเกวียน และส่วนใหญ่ในกลุ่มบ้านเดียวกันก็มักจะ วางเรือนตามทิศทางเดียวกันตามหลังที่สร้างก่อน ถือกันว่าถ้าวางขวางแล้ว เจ้าของเรือนจะ ขัดแย้งทะเลาะวิวาทกับเพื่อนบ้าน 9. ไม่มีห้องน้ําห้องส้วม เรือนไทยแบบประเพณีไม่มีการทําห้องน้ําหรือห้องส้วมไว้บนเรือน ใช้ชาน หลังเป็นที่ตั้งโอ่งน้ําสําหรับตักอาบ หรืออาบที่ท่าน้ํา ส่วนการขับถ่ายใช้การไปถ่ายในทุ่ง ต่อมามี การสร้างส้วมไว้ในสวนหลังบ้านและเรียกการไปส้วมว่า ไปเว็จ

(ที่มา: www.jarucha2015.com/the-thai-house-1777/, 2555)

ชานหลัง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 153

หน้าจั่ว แผงไม้รูปสามเหลี่ยมสําหรับปิดช่องของหลังคาด้านสกัด ใช้ไม้ชิ้นประกอบกันขึ้น มี หลายรูปแบบ บางแบบมีช่องระบายอากาศด้วย แบบที่นิยมกันมากมี ดังนี้ 1. จั่วลูกฟัก หรือ จั่วพรหมพักตร์ ลักษณะคล้ายฝาปะกน แต่ช่องใหญ่กว่า และเรียงตัวตาม แนวนอน ไม่เป็นแนวตั้งเหมือนฝาปะกน 2. จั่วพระอาทิตย์ ตอนบนทําเป็นรูปพระอาทิตย์ครึ่งดวง เส้นรัศมีของแสงอาทิตย์จะเว้นร่อง ให้ระบายอากาศได้ ตอนล่างเป็นแบบลูกฟัก 3. จั่วใบปรือ เป็นไม้แผ่นเล็กตีซ้อนกันตามแนวนอน ถ้าเป็นเรือนครัวจะตีช่องเว้นช่องให้ อากาศถ่ายเทได้

หน้าจั่วแบบต่างๆที่นิยมใช้ (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

ปั้นลมแบบหางปลา ปั้นลมแบบตัวเหงา (ที่มา : สมใจ นิ่มเล็ก, 2539)

ปั้น ลม ไม้แผ่น บาง 2.5 – 3 ซ.ม. ติดอยู่ปับ ปลายแปหัวเสา แปลาน และอกไก่ เอาไว้ปิ ด ชายคาด้านสกัด กันลมตีจากมุงหลังคา ปลายล่างแต่งเป็นตัวเหงา เรียกว่า “เหงาปั้นลม” หรือ เป็นรูป หางปลา เวลาติดตั้ง ใช้ตะปูตอกจากใต้แปทะลุถึงไม้ปั้นลม

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


154 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ลักษณะการสร้างพื้นที่ระเบียงไว้ใช้งาน พื้นที่บนเรือน ที่ต่อยื่นออกมาจากตัวเรือน แคบยาวตามตัวเรือน เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ เปรีย บเสมือน Living room ในเรือนสมัยใหม่ ใช้พักผ่อน นั่งเล่น และกิจกรรมอื่นๆบนเรื อน แต่ถูก บังคับด้วยความลาดเอียงของหลังคาปีกนกที่ต่อยื่นออกมาจากตัวเรือน ทําให้ไม่สามารถสร้างพื้นที่กว้าง ได้ จึงมีเทคนิควิธีที่จะออกแบบสร้างหลังคาและพื้นบริเวณนี้ เพื่อขยายพื้นที่ในหลายลักษณะ ดังนี้ แบบที่ 1 แบ บใ ช้ ห ลั ง คา ปี ก นก คลุ ม ซึ่ ง ระเบี ย งจะกว้ า งมากไม่ ไ ด้ เพราะ ความลาดหลั ง คาจะต่ํ า จนชนหั ว การลดระดั บ พื้ น ระเบี ย งลงจาก ห้องนอน ช่วยให้หลังคาไม่ต่ําเกินไป และยังทําให้มีช่องให้ลมพัดผ่านด้วย

แบบที่ 2 แบบใช้ การลดระดับ ระเบีย งลงอี ก ระดับหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาหลังคาลาด ต่ํ า จนชนหั ว โดยทํ า หลั ง คาปี ก นก คลุ ม อี ก ชั้ น หนึ่ ง ระเบี ย งก็ ไ ด้ พื้ น ที่ กว้ า งขึ้ น กว่ า แบบแรกแต่ พื้ น ต่ า ง ระดับ

แบบที่ 3 แบบเรือนแฝดชนิดใช้ขื่อคัดแทน เสา เรื อนหลังใหญ่ เ ป็น ห้ องนอน เรือนหลังเล็กเป็นโถงพักผ่อนแทน ระเบียง คล้ายเรือนแฝดของอีสาน ได้พื้นที่กว้างขึ้นกว่าแบบแรก

แบบที่ 4 แบบเรือนแฝดชนิดเป็นเรือน 2 หลัง ปลู ก ชิ ด กั น ได้ พื้ น ที่ ห้ อ งโถงขนาด ใหญ่ เ ท่ า เรื อ นนอน และหากต่ อ ปี กนกเรื อ นโถงออกไปอี ก ก็ จ ะได้ พื้นที่โถงขนาดใหญ่


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 155

สัดส่วนของเรือนไทย เรือนไทยเป็นเรือนที่เชื่อว่ามีการใช้ระบบสัดส่วน (Proportion) ควบคุมตําแหน่งและระยะ ขององค์ประกอบตัวเรือน รศ.ฤทัย ใจจงรักได้วิเคราะห์สัดส่วนไว้ในหนังสือ “เรือนไทยเดิม” ดังนี้

ระบบสัดส่วนของเรือนไทย (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


156 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ฝาเรือนไทยแบบต่างๆ

ฝาสําหรวด ทําด้วยไม้ไผ่และแฝก หรือ ไม้ไผ่ขัดแตะ

ฝาขัดแตะ

โถงพักผ่อนใช้ฝาสําหรวดเพือ่ ระบายอากาศและรับแสง

ฝาไม้ปะกน •

ฝาเรือนไทยแบบต่างๆ (ที่มา: น.ณ ปากน้ํา, 2548)

องค์ประกอบของหน้าต่าง คือ กรอบเช็ดหน้า และหย่อง ไม้แกะสลัก หรือฉลุลาย หรือซี่ ลูกกรงสั้นๆ ติดด้านล่างของช่องหน้าต่าง สูงประมาณ 8 ถึง 10 นิ้ว ลวดลายต่างๆกันไป เป็นเครื่องแสดง ฐานะของผู้อยู่อาศัยด้วย เรือนชาวบ้านมักจะทําหย่องเรียบๆไม่มีลวดลาย หรือไม่มีเลย


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 157

วัสดุมุงหลังคา มีหลายชนิด แล้วแต่ความชอบหรือกําลังที่จะซื้อหาของเจ้าของเรือน ได้แก่ จาก นํามาแผ่และจัดเข้าเป็นตับ ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นแกน หญ้า แฝก และกระเบื้องดินเผาหลายแบบ และ มีชื่อเรียกตามรูปร่าง เช่น กระเบื้องหางมน กระเบื้องหางตัด กระเบื้องขอ กระเบื้องมุงหลังคานี้ ในอดีต เรือนชาวบ้านจะใช้แบบไม่เคลือบ เพื่อไม่ให้เหมือนโบสถ์วิหารและเรือนเจ้านาย ปัจจุบันมีกระเบื้องลอน เล็ก หรือสังกะสี มาใช้กันแพร่หลาย

กระเบื้องเคลือบของเรือนเจ้านาย •

กระเบื้องมุงหลังคา (ที่มา: ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

เท้าแขนหรือค้ํายันรับชายคายันทีพ่ รึง •

กระเบื้องไม่เคลือบของเรือนชาวบ้าน

เท้าแขนเหล็กดัด

เท้าแขนของเรือนไทย (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


158 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบและโครงสร้างของเรือนไทยภาคกลาง กงพัด คือไม้สี่เหลี่ยม ประมาณหน้า หก สอดทะลุช่องที่เจาะโคนเสา หรือ ใช้กงพัดคู่ประกบสองข้างเสาที่บากไว้ รับ แล้ววางกงพัดลงบนงัว ซึ่งเป็นไม้ ท่ อ นกลมขนาดเส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง ประมาณ 6 - 10 นิ้ว เพื่อถ่ายน้ําหนัก แระ คือเป็นแผ่นไม้กลมหรือสี่เหลี่ยม หนาประมาณ 5 - 7 ซม. วางก้น หลุมที่ กระทุ้งดินแน่ นดีแล้ว ใช้กับพื้นที่ที่ดินแน่ นพอรั บ น้ําหนักเรือนได้ รอด คือไม้สี่เหลี่ยมหน้าหกหรือแปด หนาประมาณ 2 นิ้ว ที่สอดทะลุช่องที่ เจาะเสา สําหรับรับไม้พื้น พรึง คือไม้สี่เหลี่ยมหน้าหก หนา 1.5 - 2 นิ้ ว ตี รั ด รอบตั ว เรื อ นโดยวางบน รอด

กรณีที่ใช้ไม้พื้นบาง หรือช่วงเสาห่าง ไม้ พื้ น จะแอ่ น ตกท้ อ งช้ า ง ต้ อ งใช้ “รา”ช่วยพยุงในช่วงกลางเสา ขนาด เท่ากับรอดหรือเล็กกว่า แต่เนื่องจาก ไม่มีเสารับเหมือนรอด จึงต้องใช้การ แขวนจากพรึง โดยใช้เหล็กเส้นงอเป็น รูปขอ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 159

ฝักมะขาม คือไม้ชิ้นเล็กๆยึดติดกับเสาเพื่อ รับไม้พื้นช่วงที่ตรงกับแนวเสา ไม่สามารถ พาดบนรอดได้เหมือนไม้แผ่นอื่น เนื่องจาก มี รู ป ร่ า งงอให้ รั บ กั บ เสากลมคล้ า ยฝั ก มะขาม จึงเรียกฝักมะขาม เต้า คือไม้ท่อนยาวประมาณ 70 - 80 ซม. สอดทะลุ ช่ อ งที่ เ จาะเสา ยื่ น ออกจาก ประมาณ 50 - 60 ซม. เพื่อรับเชิงชายและ ชายคา ตอนปลายมักทําเป็นสลักสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 1 x 1 นิ้ว เอาไว้สอดรับกับ ไม้เชิงชายที่เจาะช่องไว้พอดีกัน เต้าทั่วไป ช่วงกลางเรือนมีตัวเดียวสําหรับแต่ละเสา จะเรียก เต้าราย เต้าที่อยู่เสาต้นมุม ต้องมี 2 ตัวเพื่อรับเชิง ช า ย ทั้ ง ด้ า น ข้ า ง แ ล ะ ด้ า น ส กั ด จ ะ เรียกว่า เต้ารุม

การยึ ด ไม้ ปี ก นกเข้ า กั บ ตั ว เรื อนจะยึ ดกั บ เต้าในลักษณะแขวน แบบนี้ใช้ไม้ขนาดบาง กว่าเต้าและ ปีกนก เรียก สลักเดือย สอด ทะลุผ่านเต้าและปีกนกผ่านช่องที่เจาะไว้

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


160 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

หัวเทียน คือส่วนปลายยอดเสาที่ควั่นเป็น รู ป ทรงกระบอกขนาด 3 - 4 ซม. ยาว ประมาณ 4 นิ้ว เอาไว้ยึดขื่อให้ติดกับเสา เพราะโครงสร้างแบบนี้จันทันจะนั่งบนหัว เสา น้ําหนักหลังคาซึ่งถ่ายลงจันทันจะถีบ หัวเสาให้ถ่างออก ขื่อจึงมีหน้าที่ยึดหัวเสา ไว้ไม่ให้เสาล้มถ่างออก ขื่ อ คื อ ไม้ ก ระดานใช้ สํ า หรั บ ยึ ด หั ว เสา ไม่ให้ถ่างออกเพราะจันทันถีบออก ขื่อใน โครงสร้างแบบนี้จึงวางนอน เพราะไม่ได้ รั บ น้ํ า หนั ก หลั ง คาเหมื อ นโครงสร้ า ง สมั ยใหม่ ที่ ป ลายขื่ อ นอกจากจะเจาะรู สําหรับสวมหัวเทียนแล้ว ยังบากร่องเอาไว้ สําหรับยึดจันทันและอะเสด้วย จันทัน คือไม้กระดานขนาดใหญ่ หนา 2 5 นิ้ว หน้ากว้างประมาณ 25 ซม.ตั้งบนขื่อ ตรงหัวเสา ล้มสอบเข้าพิงกันที่อกไก่หรือ ยอดจั่ ว จั น ทั น เป็ น องค์ ป ระกอบที่ ใ ช้ กําหนดทรงหลั งคา องศาหลั งและความ อ่ อ นโค้ ง หรื อตรงของหลั งคาจะมี จั น ทั น เ ป็ น ตั ว กํ า ห น ด เ ส า line แ ร ก และ line สุ ด ท้ า ยที่ มี ห น้ า จั่ ว อยู่ จ ะไม่ มี จั น ทั น แต่ จ ะใช้ แ ผงหน้ า จั่ ว เป็ น ตั ว รั บ น้ําหนักหลังคาแทน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 161

อะเส มีหน้าที่ยึดหัวเสาคล้ายขื่อ แต่วางตาม ด้านยาวของเรือน ซึ่งไม่มีแรงถีบหัวเสา มักมี ขนาดเล็ ก กว่ า ขื่ อ เพราะรั บ แรงน้ อ ยกว่ า นอกจากนี้ อะเสยังทําหน้าที่เป็นแปไปในตัว ใช้รั บกลอนร่ว มกับ แปตัวอื่ นๆ ในโครงสร้าง โบสถ์วิห าร องค์ประกอบนี้จ ะเรียก “แปหั ว เสา” ดั้ง หรือ ใบดั้ง ไม้องค์ประกอบใช้ยึดจันทัน มี ทั้งที่เป็นไม้แผ่น และไม้กลมคล้ายเสา ส่วนจันทันนั้น จะบากเป็นร่องไว้สําหรับรับแป

อกไก่ ไม้สี่ เหลี่ย มคางหมูติดบนยอดจั่ว ยาว ตลอดเรือนและยื่นหัวท้ายอีกข้างละประมาณ 60 -80 ซม.ใช้ยึดดั้ง จันทันและหน้าจั่ว

กลอน คื อ ไม้ แ บนๆวางพาดอยู่ บ นแปตาม แนวนอน ทํ า ให้ ดั ด โค้ ง ให้ อ่ อ นได้ กลอนใช้ สํ า หรั บ รั บ ระแนง ซึ่ ง มั ก บากทํ า เป็ น บ่ า รั บ ระแนง หรือใช้สลักไม้กลมเล็กเสียบกับกลอน เพื่ อ รั บ ระแนง และมั ก บากกลอนทํ า บ่ า รั บ ระแนงอันเว้นอัน แล้ววางสลับกัน กลอนนี้จะ วางเว้ น ระยะห่ า งกั น ประมาณ 40 - 50 ซม. ปลายบนทํ าเป็น สลั กเสีย บยึ ดกั บอกไก่ ด้าน ปลายล่างวางบนตะพานหนูและเชิงชาย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


162 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตะพานหนู ไม้สี่เหลี่ยมแบนขนาด เล็ก กว้างประมาณ 3 นิ้ว วางบน เชิงชายรับปลายกลอน เชิงชาย ไม้สี่เหลี่ยมแบน หน้า 8 10 นิ้ ว ติ ด อยู่ ป ลายเต้ า ยาวรอบ ชายคา ทํ า หน้ า ที่ รั บ ตะพานหนู และกลอน ระแนง คื อ ไม้ สี่ เ หลี่ ย มขนาดเล็ ก ประมาณ 1 x 1 นิ้ ว วางพาดบน กลอนตามแนวยาวของเรื อ น ใช้ สําหรับวางกระเบื้องมุงหลังคา ถ้า เป็นกระเบื้องดินเผา ระยะห่างของ ระแนงก็จะประมาณ 10 - 12 ซม. ขื่อตัวริมจะปาดขอบเฉียง เรียกว่า “ขื่อเผล่” จะบากช่องไว้สําหรับยึด กลอนปีกนกกันสาด กลอนปีกนกกันสาดด้านหน้า จั่วเป็นไม้ขนาดเล็กยึดระหว่างขื่อ กับตะพานหนู ป้า นลม หรื อ ปั้ น ลม เป็ นไม้ แผ่ น หนาประมาณ 2 - 3 นิ้ ว วางบน ปลายแปและอกไก่ ข องด้ า นสกั ด หัวท้ ายหลังคา ทําหน้ าที่กันไม่ให้ ลมตี วัส ดุ มุงจากด้านข้าง นิย มทํ า ปลายแหลมสู ง ขึ้ น ด้ า นบน ส่ ว น ปลายด้านล่างทําเป็นตัวเหงาหรือ หางปลา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 163

เรือนพื้นถิ่นกลุ่มอื่นๆภาคกลาง ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เรือนไทยหรือเรือนไทยเดิม เป็นเรือนพื้นถิ่นที่สําคัญที่สุด เป็นแบบประเพณีที่สืบทอดมากับชนชาติไทยเป็นเวลายาวนาน พัฒนาจนลงตัวเป็นรูปแบบที่เป็นแบบ ประเพณี เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สําคัญ บ่งบอกความเป็นเอกราชการวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษช่างไทย ได้สร้างสรรค์และสืบทอดภูมิปัญญาต่อกันมาจนเป็นความภาคภูมิใจของชาติ อย่างไรก็ตาม นอกจากเรือน ไทยเดิมแล้ว ยังมีเรือนพื้นถิ่นกลุ่มอื่นๆที่น่าสนใจ รวมทั้งเรือนของชนชาติไทยเอง ที่มีพัฒนาการจากการ รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น จนกลายเป็นเรือนแบบประเพณีให้ศึกษาทําความเข้าใจได้อีก ในบทเรียนนี้ ได้แยกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

เรือนไทยมอญ

• ชาวมอญ (ที่มา: www.wikipedia.org, 2558)

ชนชาติ มอญคื อชนกลุ่ ม น้ อ ยในภาคใต้ ของประเทศพม่ า เป็ น ชนชาติ เก่ าแก่ เดิ มเคยเป็ น ประเทศเอกราช ชื่ อ ประเทศรามัญ มี กษัตริย์ป กครองสืบ ทอดกั นหลายพระองค์ และเป็ นชนชาติ ที่ เจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นชนชาติแรกๆของภูมิภาคนี้ มอญมีภาษาพูดและเขียนเป็นของตัวเอง ภาษาเขียนของมอญได้อิทธิพลจากอักษรอินเดียใต้ ภาษามอญที่ใช้พูดกันในประเทศไทย ได้อิทธิพลจากภาษาไทยมาก ศาสนาของชาวมอญคือ พุทธศาสนา นิกายหินยาน นอกจากนั้นชาวมอญยังเชื่อและนับถือผีด้วย อาชีพของชาวมอญคือ การทํานา การทํา สวนผลไม้ ชาวมอญมีความชํานาญในการทําอุตสาหกรรมในครัว เรือน เช่น ตุ่ม หม้อ ไห โอ่ง และการ ทําอิฐ มอญถูกพม่ารุกรานและยึดครองดินแดน บางช่วงเวลาพม่าอ่อนแอลง มอญก็เป็นอิสระ เมื่อ พม่าเข้มแข็งขึ้นก็กลับมารุกรานมอญอีก มอญเสียเอกราชครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2297 และไม่ได้รับเอก ราชอีกเลยจนปัจจุบัน แต่ชนชาติมอญก็ยังคงความเป็นชนชาติไว้ได้ โดยมีดินแดนที่เรียกว่า เขตอิทธิพล สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


164 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

มอญที่ยังคงปกครองกันเอง โดยพม่าส่งกําลังลงมาปราบปรามเป็นครั้งคราว แต่ก็ไม่สามารถปราบปราม ได้อย่างสิ้นเชิง แต่ชาติมอญก็ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและไม่ปรากฏในแผนที่โลกแต่อย่างใด มอญอพยพเข้าสู่ไทยหลายครั้ง ส่วนใหญ่เพราะหนีภัยสงคราม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นหลังสมเด็จ พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อพม่า และอพยพชาวมอญซึ่งเป็นมิตรกับอยุธยาเข้ามาตั้งถิ่น ฐานในกรุงศรีอยุธยา และอพยพอีกหลายครั้ง การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายคือในสมัยรัชกาลที่ 2 ของ กรุงรัตนโกสินทร์ เส้นทางที่ชาวมอญใช้ในการอพยพมี 3 ทาง คือ ทางเหนือเข้ามาทางเมืองตาก หรือ ระแหง ทางด่านแม่ละเมา ทางใต้เข้ ามาทางเมืองกาญจนบุรี ทางด่านเจดี ย์สามองค์ และเข้ามาทาง อุทัยธานี

• การอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย

• พิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวของมอญที่คลองลัดโพธิ์

บริเวณที่เป็นถิ่นฐานของชาวมอญในประเทศไทย หรือไทย-มอญส่วนใหญ่จะอยู่ริมแม่น้ํา เช่น แม่ น้ํ าแม่ กลอง บริ เวณอํ าเภอบ้ านโป่ง โพธาราม ราชบุ รี และกาญจนบุรี แม่ น้ํ าท่าจี น บริเวณพระ ประแดง (ปากลัด) แม่น้ําเจ้าพระยา บริเวณนนทบุรี ปทุมธานี แม่น้ํามหาชัย สมุทรสาคร นอกจากนั้น ยังพบชาวมอญอยู่ กระจั ดกระจายอยู่ ในจั งหวั ดต่ าง ๆ เช่ น นครปฐม เพชรบุ รี อยุ ธ ยา ฉะเชิ งเทรา สุพรรณบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ และปราจีนบุรี การสํารวจประชากรมอญครั้งสุดท้ายทําเมื่อ พ.ศ. 2515 มีชาวมอญตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยรวม 94,228 คนใน 17 จังหวัด มากที่สุดที่จังหวัดปทุมธานีคือ 22,230 คน ปัจจุบันไม่สามารถสํารวจได้ชัดเจนแล้ว เพราะไม่สามารถแยกแยะชาวมอญหรือชาวไทย เรือนของชาวไทยมอญ นิยมสร้างแบบเรือนไทยภาคกลาง ทั้งรูปทรงและวัสดุก่อสร้าง มียอด จั่วแหลมสูง มีเหงา เหมือนกัน ฝาสําหรวดหรือฝาปะกนเหมือนกัน นิยมปลูกแบบเรือนแฝด ทั้งแฝดสอง แฝดสาม และแฝดสี่ มองภายนอกจะแยกไม่ออกระหว่างเรือนไทย กับเรือนมอญ แต่ภายในแล้วแตกต่าง กันชัดเจน เพราะภายในเรือนมอญที่ปลูกติดต่อกันหลายๆหลังนี้จะเปิดโล่งถึงกันหมด กั้นห้องเฉพาะห้อง ผีมอญ หรือผีบรรพบุรุษของครอบครัวเท่านั้น นอกนั้นจะเปิดโล่งถึงกันหมด รวมทั้งเรือนครัวก็เปิดโล่งถึง กันหมด โถงจะมีขนาดใหญ่โตมากแม้จะมีผู้อาศัยไม่กี่คน เพราะโถงกลางนี้เป็นจัดกิจกรรมตามประเพณี


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 165

เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ จะจัดกันที่โถงกลางนี้ ซึ่งต้องรองรับคนจํานวนมากในหมู่บ้านที่มา ร่วมงาน การนอนของชาวมอญ ไม่นิยมนอนในห้อง แต่จะนิยมนอนในพื้นที่โล่งในห้องโถง โดยจะแบ่ง พื้นที่เป็นส่วนๆของใครของมัน กางมุ้งนอนตามพื้นที่ตนเองตามมุมต่างๆ ห้องผีนั้นใช้เก็บของมีค่า

เรือนไทยมอญที่อ.พยุหคีรี (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543)

เรือนไทยมอญที่อ.บ้านโป่ง (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


166 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไทยมอญที่อ.สามโคก (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543)

เรือนไทยมอญที่อ.สามโคก (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 167

เรือนไทยมอญแม้ภาพรวมจะคล้ายเรือนไทยภาคกลาง คือเป็นเรือนไม้จริง ยกใต้ถุนสูง ใช้ พื้น ที่ใต้ถุน อเนกประสงค์ หลังคาทรงสู ง มีปั้ น ลมยอดแหลม ปลายล่างมีตัวเหงา มุ งจาก แฝก และ กระเบื้องดินเผา ฝาเรือนก็ทําแบบเดียวกัน เป็นฝาปะกน ฝาสําหรวด ทําให้เหมือนกันจนแยกไม่ออก แต่ ด้วยชาวมอญมีความเชื่อเกี่ยวกับการอยู่อาศัยที่ต่างจากชาวไทย และค่อนข้างเคร่งครัดกับความเชื่อนั้น เป็นระเบียบวิธีการสร้างเรือนที่สืบเนื่องจากประเพณีและความเชื่อที่ต่างกัน ดังนี้ 1. ชาวไทยมอญจะวางเรือนหันหน้าเรือนขึ้นเหนือเท่านั้น เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยนอนหันหัวไปทาง ใต้ ไม่วางตามทางสัญจรหรือตามเพื่อนบ้านแบบชาวไทย ทําให้บางครั้ง จั่วเรือนของไทยมอญจะขวาง แนวจั่วของเพื่อนบ้าน หรือขวางแม่น้ํา เพราะแม่น้ําส่วนใหญ่ไหลจากเหนือลงใต้ ชาวไทยจะวางจั่วขนาน แม่น้ํา เพื่อหันหน้าเข้าสู่แม่น้ํา ซึ่งใช้เป็นทางสัญจรด้วย เรือนไทยมอญจึงดูขวาง จนถึงกับมีคําล้อชาวไทย มอญว่า “มอญขวาง” (http://library.stou.ac.th/ODI/mawn-qarng/, 2558) 2. การขยายเรือนเพื่อรองรับครอบครัวขยาย จะต่างจากชาวไทย เพราะเรือนใหม่ที่จะปลูก จะปลูกทางด้านข้างเรือนพ่อแม่ เพื่อให้ทุกหลังที่สร้างขึ้น หันหน้าเรือนไปทางเหนือเท่านั้น ไม่ให้ขัด ประเพณีเรือนหมู่ของชาวไทยมอญจึงมีแนวจั่วเรือนไปทางเดียวกันหมด 3. ครัว และครกตําข้าวจะวางไว้ ทิศเหนื อของตั วเรื อนเท่านั้น ไม่ ว่าจะส่ งผลต่อการใช้ งาน อย่างไร เพราะจะได้ไม่ขัดประเพณี

เรือนไทยมอญแบบเรือนเครื่องผูกที่คลองมอญ (ที่มา: วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2555)

เรื อนเครื่องผู กชั้ นเดีย วแบบโรงนา สร้ างบนพื้น ดิน อัดแน่ น ฝาและหลังคาทําด้ว ยจาก ผั ง สี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรูปแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษสร้างอยู่อาศัยเมื่อแรกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ก่อนจะ สร้างตามแบบชาวไทยในระยะต่อมา (วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2555: 211)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


168 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนลาวโซ่ง

ชาวลาวโซ่งหรือไททรงดํา (ที่มา : www.isangate.com/, 2558)

ลาวโซ่งหรือไทดําหรือไททรงดํา คือชนชาติที่เป็นกลุ่มย่อยของชาติพันธุ์ไต มีถิ่นฐานเดิมอยู่ ทางตอนเหนื อของประเทศเวีย ดนามและตอนใต้ของจีน เดิมเป็น แคว้น อิส ระ ปกครองตนเองชื่ อว่ า แคว้นสิบสองจุไท มีกษัตริย์ปกครองสืบทอดกันหลายพระองค์ ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองแถง (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็นภาษาเวียดนามว่า เมืองเดียนเบียนฟู) ลาวโซ่งมีชื่อเรียกหลายอย่าง คือ ไตดํา ไททรงดํา ผู้ไตซงดํา ลาวทรงดํา ไตลํา ผู้ไทดํา โซ่ง ซ่ วง ไตมวย ไตคัง ไตทัน ที่เรียกว่าลาวซ่งดํา เพราะไทดําเหล่านี้นิยมนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดํา แต่ไทดํามีผิว ขาวคล้ายคนจีน คําว่า ซ่ง หรือส้วง แปลว่า กางเกง จึงเรียกคนเหล่านี้ตามเครื่องนุ่งห่มว่า ลาวซ่งดําหรือ ทรงดํา และเรียกให้สั้นลงว่า ลาวโซ่ง สังคมลาวโซ่งมีชนชั้นวรรณะ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. เจ้า หรือ ผู้ท้าว เป็นผู้ปกครองระดับเจ้าเมือง 2. ขุนนาง 3. หมอช่าง หน้าที่ประกอบพิธีกรรม 4. สามัญชน แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 4.1 ปาย หรือ ไพร่ คือพลเมืองส่วนใหญ่ มีสิทธิใช้ที่นา 4.2 กวงยก หรือ ทาส เป็นผู้รับใช้ของผู้ท้าว 4.3 ปั่วปาย หรือ ส่า ชนชั้นต่ํา ไม่มีสิทธิใช้ที่นา ความเป็นอยู่ยากแค้นที่สุด แต่เมื่อแพ้สงครามถูกจับเป็นเชลย และถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย ระบบชนชั้นก็ถูก ยกเลิก ทุกคนมีฐานะเป็นเชลยหรือเป็นทาสผู้ใช้แรงงานเหมือนกันหมด ลาวโซ่งอพยพเข้าสู่ไทยหลายครั้งหลายกลุ่มตั้งแต่เมื่อครั้งดินแดนของลาวโซ่งอยู่ใต้อํานาจ ปกครองของสยาม กลุ่ มนี้ อพยพมาในฐานะเป็ น แคว้ นเดี ย วกั น ตั้ งอยู่ กระจายอยู่ ในแถบภาคอี ส าน ตอนบน แต่การอพยพครั้ งใหญ่เกิดขึ้ นในสมั ยธนบุรี และต้นรั ตนโกสิ นทร์ จากการถู กกวาดต้อนโดย กองทัพสยาม ซึ่งกลุ่มนี้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี และกระจายตัวออกไปหลายจังหวัดในเวลา ต่อมา ปัจจุบันพบในหลายจังหวัด คือ ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลก


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 169

ลาวโซ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาวั ฒนธรรมของตนอย่างเหนียวแน่น ทั้งการแต่งกาย ความเชื่ อ พิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งการปลูกเรือน ที่ยังสืบทอดรูปแบบประเพณีมาหลายรุ่น แต่ปัจจุบันไม่มีเรือนลาว โซ่งแบบประเพณีที่มีผู้อาศัยอยู่จริงอีกแล้ว

เครื่องใช้และการแต่งกายของลาวโซ่ง

ลาวโซ่งเชื่อว่าผีผู้ท้าวมีศักดิ์สูงกว่าผีผู้น้อย ผู้น้อยจะต้องให้ความเคารพผู้ท้าว ในพิธีกรรม เช่นพิธีเสนเรือนซึ่งผู้น้อยจะเข้าร่วมในพิธีเสนเรือนของผู้ท้าวไม่ได้ ลาวโซ่งนับถือผี มีการบวงสรวงผีเป็น ประจํา เช่น ผีเรือน หรือ ผีบรรพบุรุษ ที่มุมหนึ่งภายในเรือนจะใช้เป็นที่บูชาผีบรรพบุรุษ เรียกว่า “กะล่อ หอง” อาจกั้นเป็นห้องเล็กๆ ผู้น้อยจะเซ่นไหว้หรือเลี้ยงผีทุกๆ 10 วัน ส่วนผู้ท้าวจะเลี้ยงผีทุกๆ 5 วัน และในหนึ่งปีลาวโซ่งจะมีพิธีเลี้ยงผีครั้งใหญ่ เรียกว่า พิธีเสนเรือน เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ ได้ล่วงลับไปแล้ว ทําให้อยู่ดีมีสุข มีความเจริญรุ่งเรือง หมู่บ้านโซ่งที่ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเพชรบุรีและสุพรรณบุรี เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นราบใกล้ แหล่งน้ําในการทําการเกษตร สภาพหมู่บ้านไม่แน่นหนา บ้านไม่เกาะกลุ่มใกล้ชิดนัก แต่ละบ้านมีบริเวณ บ้านของตนเอง มีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภค มียุ้งข้าวในบริเวณบ้าน มีทั้งยุ้งที่แยกออกจาก ตัวเรือน ยุ้งที่แยกแต่มีชานโล่งเชื่อมกับเรือน และยุ้งที่สร้างไว้เป็นส่วนหนึ่งของเรือน

เรือนลาวโซ่งที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง

เรือนโซ่งมีเอกลักษณ์ที่รูปทรงหลังคาคล้ายกระดองเต่า ชายคาปีกนกด้านหน้าและหลังเรือน ทรงกลม โครงสร้างคล้ายร่ม เปิดจั่วขนาดเล็ก ยอดจั่วมีไม้คู่ไขว้คล้ายกาแล แต่โค้งงอ ชายคาด้านข้างชัน และทิ้งต่ําจนคลุมส่วนที่เป็นใต้ถุนเรือนไปด้วย มองไม่เห็นฝาเรือน รูปทรงนี้ใช้ทั้งเรือนและยุ้งข้าว

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


170 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

โซ่งนับถือแม่โพสพซึ่งสิงสถิตในกะล่อมข้าว มีอํานาจมากกว่าผีเรือน จะไม่ปลูกกะล่อมข้าวให้ เงาทับเรือนเพราะจะทําให้ผีเรือนอยู่ไม่ได้ รวมทั้งไม่นําเอาวัสดุที่ใช้สร้างกะล่อมข้าวไปสร้างเรือน โซ่งแยกทางขึ้นเรือนชายหญิงเหมือนอีก้อ เรือนโซ่งจะมีบันไดหลังสําหรับผู้หญิง ทั้งเจ้าของ บ้านและผู้มาเยือน ผู้ชายจะขึ้นบันไดหน้า

ผังพื้นเรือนลาวโซ่ง (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543)

เรือนโซ่งโบราณมี 2 ระดับ คือระดับชานหน้าและระดับเรือน สมัยใหม่ เรือนบางหลังมี 3 ระดับ คือ ยกระดับภายในห้องขึ้นอีกระดับจากระดับโถงหน้า-หลัง พื้นที่ใช้สอยของเรือนโซ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ - ชานหน้า เป็นชานโล่งไม่มีหลังคาคลุม เป็นทางขึ้นเรือน การใช้สอยพื้นที่เหมือนชานเรือนของ เรือนไทย บางหลังมีส่วนที่กั้นไว้สําหรับเก็บน้ํา บรรจุในภาชนะ - ส่วนพักผ่อน เป็นพื้นที่โล่งใต้ชายคาทรงกลม ยกระดับขึ้นจากส่วนชาน การใช้สอยพื้นที่เป็น ส่วนพักผ่อนและอื่นๆเอนกประสงค์ - ส่วนภายในเรือน เป็นพื้นที่ปิดที่อยู่ส่วนกลางของเรือน ทําผนังปิดล้อมรอบด้าน พื้นที่ส่วนนี้จะ แบ่งการใช้สอยออกเป็น 3 ส่วน คือ - แม่เตาไฟ จะอยู่ทางตะวันตก ใกล้แม่เตาไฟคือเสาเอกหรือเสาแฮก พื้นที่บริเวณนี้จะ เป็นที่พักผ่อน ทานอาหาร - ห้องหรือพื้นที่ของผีเรือน หรือ กะล่อหองจะอยู่ทางตะวันออก มีเสาผีเรือนหรือเสา เจ้าเสื้อซึ่งเป็นที่สิงสถิตของผีเรือน และใช้เป็นที่เซ่นไหว้ด้วย - ส่วนนอน จะอยู่ทางตะวันออก เป็นที่นอนของพ่อแม่และลูกสาว - ชานหลัง เป็นพื้นที่โล่งใต้ชายคาทรงกลมด้านหลัง จะมีบันไดหลัง และทางเชื่อมกับยุ้ง ข้าว การใช้สอยพื้นที่เป็นส่วนนอนของลูกชายและที่ทํางานบ้าน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 171

องค์ประกอบภายในเรือนลาวโซ่ง : ห้องผี ส่วนนอน และเตาไฟ

แม่เตาไฟอยู่กลางเรือน ใช้ทั้งการอบอุ่นในหน้าหนาวและการหุงหาอาหาร ทําเป็นกระบะไม้ ยกขอบ ภายในอัดดิ นเหนีย วใช้ เป็น ที่ก่อไฟหรือวางเตา ด้านบนทํ าเป็น ชั้ นวางของหลายชั้ น ใช้ว าง เครื่องครัวและอาหารแห้ง สมัยก่อนแม่เตาไฟมีเพียงแห่งเดียวนี้ ต่อมาแยกเตาไฟสําหรับหุงหาอาหาร ออกไป เพิ่มเตาไฟที่ชานหลังหรือทั้งชานหน้าและชานหลัง เตาไฟที่ชานหลังเป็นพื้นที่ผู้หญิงใช้หุงหา อาหาร เตาไฟที่ชานหน้าสําหรับผู้ชายใช้ต้มน้ําและผิงไฟในหน้าหนาว

โซ่งจะเลือกตัดไม้ที่มีง่ามมาทําเสาเรือน เพื่อให้ง่ามรับ คานไม้ซึ่งใช้ไม้ท่อนกลมอย่างมั่นคงไม่เลื่อนหลุด ส่วนเสานั้น จะขุดหลุมฝังดินเพื่อให้ตั้งตรงมั่นคง ความสูงใต้ถุนประมาณ 1.6 – 1.8 ม. ใช้งานใต้ถุนได้ ทั้งเก็บของ เก็บเกวียน ฯลฯ •

เสาเรือนลาวโซ่ง

กะล่อมข้าว (ยุ้งข้าว) เป็นเรือนยกพื้น สร้างเป็นเรือน แยกจากเรือนนอน แต่มีรูปร่างเหมือนกัน เป็นทรงกระดอง เต่ า และทํ า ทางเชื่ อ มจากด้ า นหลั ง เรื อ นสู่ ก ะล่ อ มข้ า วได้ โดยตรง มีความเชื่อเรื่องผีเรือนและแม่โพสพ แต่ไม่ถือเรื่อง ต้องแยกเรือนนอนกับยุ้งข้าว •

กะล่อมข้าว

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


172 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ช่างกําลังมุงหลังคากระดองเต่าเรือนลาวโซ่ง และ รูปตัดตามยาว (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2543)

เอกลักษณ์หลังคาเรือนลาวโซ่ง : กระดองเต่ากับไม้คู่ไขว้คล้ายกาแล

เรือนลาวโซ่งในปัจจุบันที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม เหมือนเรือนไทย


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 173

เรือนร้านค้าริมน้ํา เรือนแพ และศาลาท่าน้ํา พื้นที่ภาคกลางเป็นที่ลุ่มน้ํา มีแม่น้ําลําคลองมากมาย เป็นทั้งทางสัญจร เป็นทั้งแหล่งทํามาหา กินและเป็นทั้งแหล่งน้ําใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค วิถีชีวิตการอยู่อาศัยริมน้ําเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความ เฉพาะ มี รู ป แบบที่ น่ า สนใจศึ ก ษา เป็ น แบบประเพณี ที่ สื บ ทอดมาแต่ โ บราณ ในบทเรี ย นนี้ จะ ทําการศึกษาอาคารริมน้ํา 3 ประเภท ได้แก่ ศาลาท่าน้ํา เรือนร้านค้าริมน้ํา และเรือนแพ เรือนร้านค้าริมน้ํา คือ เรือนร้านค้าที่สร้างขึ้นริมน้ํา ส่วนเรือนแพ คือ เรือนที่ลอยน้ําอยู่ เรือน ทั้งสองประเภทนี้ เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าและที่พักอาศัยด้วย ลักษณะและประโยชน์ใช้สอยจึงแตกต่างจากเรือนพักอาศัยทั่วไป เป็นสินค้าที่ขายให้กับผู้คนที่สัญจรไป มาด้วยเรือ สาเหตุที่ทําเป็นเรือนแพเพราะพื้นที่ชายน้ําเป็นที่ลุ่ม หน้าน้ําหลากน้ําจะท่วมสูง ร้านค้าริมน้ํา ต้องยกพื้นระดับสูงจึงจะพ้นน้ํา ซึ่งไม่สะดวกในการค้าขายยามน้ําลดในหน้าแล้ง เรือนแพลอยขึ้นลงตาม ระดับน้ํา ยืดหยุ่นกว่าเรือนทั่วไป อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งการค้าตามฤดูกาลได้ด้วย เรือนทั้งสองประเภทเกิดขึ้นตามลักษณะสังคมที่อาศัยลําน้ํา สินค้าที่จําหน่ายตามเรือนแพ มีทั้งของชํา อาหารสด อาหารแห้ง น้ํามันเชื้อเพลิง อุปกรณ์การเกษตร ฯลฯ ต่างกันที่พื้นที่ตั้ง พื้นที่ที่ระดับน้ําขึ้นลง ต่างกันไม่มากก็ใช้เรือนร้านค้าริมน้ํา พื้นที่ที่ระดับน้ําขึ้นลงต่างกันมากก็ใช้เรือนแพ เรือนร้านค้าริมน้ําและเรือนแพส่วนใหญ่จะแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าเปิดเป็นร้านค้า มี พื้นที่สําหรับวางสินค้าเพื่อค้าขาย พื้นที่ส่วนหลังเป็นที่พักอาศัย มีห้องโถง ห้องนอน ครัว และพื้นที่กิน อาหาร พื้นที่ค้าขายด้านหน้า เรือนร้านค้าริมน้ําจะมีสะพานทางเดินเท้า ทําด้วยไม้ (ภายหลังหลายแห่ง ปรับเปลี่ย นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก) กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวตลอดเชื่อมติดต่อกันทุ กหลัง จาก สะพานมีท่าน้ําสําหรับขึ้นลงขนสินค้า ซึ่งมีทั้งท่าน้ําที่ระดับเท่ากับสะพานทางเดินแล้วมีบันไดลงน้ําไป และ ท่าน้ําที่ลดระดับลงจากสะพานทางเดิน แล้วมีบันไดลงไป เรือนร้านค้าริมน้ํามักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างติดๆกันไป เว้นช่องแต่ละหลังพอประมาณ เพื่อให้เจ้าของเรือนนําเรือลอดใต้สะพานทางเดินเข้ามา

เรือนร้านค้าริมน้ํา (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


174 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนร้านค้าริมน้ํา (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

รูปแบบอาคารที่ใช้กับเรือนร้านค้าริมน้ําจะเป็นแบบเรือนไทยพักอาศัย หลังคาจั่วยอดแหลม ไม้ปั้นลมตัวเหงา ฯลฯ ใช้เหมือนกัน ต่างกันที่ฝาเรือนด้านหน้า ที่จะเปิดเต็มหน้าถังเพื่อค้าขายด้วยฝา บานกระทุ้ง ใช้ วัสดุน้ํ าหนั กเบาเพื่อยกได้ ง่าย เช่น ฝาจาก ฝาขัดแตะ หรือฝาสั งกะสี การค้าขายมั ก เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเช้า ถึงเที่ยงเรือสินค้าก็กลับกันหมด แต่กิจกรรมในเรือนยังคึกคักต่อเนื่อง ชีวิตและ กิจกรรมในเรือนจะอยู่ที่พื้นที่ค้าขายเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีนอกชานซึ่งเป็นเอกลักษณ์เรือนไทยในเรือน ร้านค้าริมน้ํา

เรือนแพสมัยอยุธยา (ซ้าย) และเรือนแพที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2408 (ขวา) (ที่มา : ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา / www.teakdoor.com/ famous-threads/, 2558)

เรือนแพส่วนใหญ่เป็นเรือนแฝด วางบนทุ่นลอยน้ํา ซึ่งมี 3 ชนิดคือ 1. ทุ่นแบบเรือโป๊ะ เป็นเรือไม้ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู มีโครงกระดูกเรือ วางด้านแคบลงน้ํา ด้าน กว้างหงายขึ้นข้างบน ขนาดของเรือโป๊ะแล้วแต่จะสร้าง แต่นิยมขนาดกว้างประมาณ 1.201.50 เมตร ยาว 3.50-4.00 เมตร ลึกประมาณ 1.00-1.20 เมตร เรือนแพแต่ละหลังจะใช้ เรือโป๊ะ 4-6 ลํา ใช้ไม้คานใหญ่ยึดกันไว้และใช้รับตัวเรือน เว้นช่องระหว่างลําเรือเล็กน้อย 2. ทุ่นแบบลูกบวบไม้ไผ่ เป็นการใช้ไม้ไผ่มัดเป็นฟ่อนๆ เรือนแพแต่ละหลังอาจจะใช้ลูกบวบ ถึง 10 มัด มัดติดกันด้วยลวด ด้านบนเป็นตีคานไม้เป็นช่วงๆเพื่อรับน้ําหนักตัวเรือน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 175

3. ทุ่นแบบเท้งคอนกรีต ลักษณะคล้ายกับทุ่นเรือโป๊ะ แต่ทําด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็น

กล่องขนาดใหญ่ภายในกลวงขังอากาศไว้ทําให้ลอยน้ําได้ เป็นทุ่นสมัยใหม่ทนทานที่สุด ราคาแพง เรือนหลังในเป็นที่นอน เรือนหลังนอกเป็นร้านค้า มีฝาเปิดแบบบานกระทุ้ง ใช้เป็นหลังคากัน แดดกันฝนไปด้วย ด้านหน้าเป็นระเบียงติดน้ํา หรือบางหลังก็มีระเบียงรอบ บางหลังมีเรือนครัวอีกหลัง หนึ่งแต่มีขนาดเล็กกว่า บางหลังก็ใช้การต่อปีกหลังคาของเรือนหลังในออกไปคลุมส่วนครัว

เรือนแพแบบจั่วเดี่ยวทุ่นลูกบวบไม้ไผ่ (ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2546)

เรือนแพแบบจั่วแฝดทุ่นแบบเท้งคอนกรีต (ที่มา : น.ณ ปากน้ํา, 2548)

เรือนแพรูปแบบเรือนไทยแบบประเพณี (ที่มา : น.ณ ปากน้ํา, 2548)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


176 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนแพแบบทุ่นเท้งเหล็ก

รูปแบบเรือนของเรือนแพมี 2 แบบ คือแบบเรือนไทยแบบประเพณีของภาคกลาง คือจั่วยอด แหลม แอ่นปลาย ป้านลมมีเหงาหรือหางปลา มีทั้งจั่วเดี่ยว จั่วแฝด เรือนแพแบบนี้พบมากที่อยุธยา โดยเฉพาะบริเวณรอบเกาะเมืองด้านตะวันออก ใกล้วัดช่องลมและวัดมณฑปซึ่งเป็นบริเวณที่คลื่นน้ําและ ลมไม่แรง และพบที่สมุ ทรสาคร ปากคลองมหาชัย แต่เรือนแพที่สมุทรสาครแออัดเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่ สวยงามเหมือนที่อยุธยา เรือนแพอีกแบบคือแบบเรือนทั่วไป ทั้งทรงจั่ว ปั้นหยา มนิลา และอื่นๆ มุงด้วยสังกะสีเป็น ส่วนใหญ่ พบที่แม่น้ําสะแกกรัง ในตัวเมืองอุทัยธานี และที่แม่น้ําน่านในตัวเมืองพิษณุโลก ทั้งสองแห่งมี เรือนแพอยู่ชิดและแออัดเพราะมีจํานวนเรือนมาก ปริมาณของเสียที่ถ่ายเทลงแม่น้ําไม่สามารถบําบัด ตามธรรมชาติ เรือนแพกลุ่มนี้ต่างจากเรือนแพที่อยุธยา เพราะไม่ได้มีจุดประสงค์หลักในการค้าขายกับผู้ สัญจรทางเรือ แต่เป็นเรือนแพเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลัก ผู้ที่อาศัยอยู่มีอาชีพต่างๆนานา ไม่ได้ค้าขาย

เรือนแพที่อุทัยธานี


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 177

ศาลาท่าน้ํา คือ อาคารขนาดเล็ก สร้างไว้ริมแม่น้ํา ลําคลอง ใช้งานหลักคือการขึ้นลงเรือ เพราะชีวิตคน ไทยภาคกลางผูกพันกับแม่น้ําลําคลองมาก ทั้งการสัญจร การอุปโภค บริโภค และการเกษตร นอกจาก จะใช้สําหรับขึ้นลงเรือแล้ว ศาลาท่าน้ํายังถูกใช้งานอื่นๆหลายอย่างเช่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เพราะ เย็นสบายอยู่ริมคลอง เห็นผู้คนสัญจรผ่านไปมาได้ทักทายกัน เป็นที่อาบน้ํา เป็นที่นั่งรอพระบิณฑบาต ทางน้ํา ฯลฯ ศาลาท่าน้ํามีรูปแบบหรือระเบียบวิธีที่คล้ายคลึงกันจนเรียกได้ว่าเป็นประเพณีของการสร้าง ศาลาท่าน้ําของภาคกลาง มีลักษณะพอสรุปได้ดังนี้ 1. เป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาจั่ว หันหน้าจั่วสู่ทางน้ํา ส่วนใหญ่จะทําหลังคาปีกนก 2 ข้างยื่นคลุม พื้นที่ม้านั่งทั้ง 2 ด้าน หลังคาจั่วใช้รูปแบบจากเรือนไทยแบบประเพณี 2. ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือจัตุรัส มีม้านั่ง 2 ข้าง ยาวตลอดตัวเรือน มีทางเดินผ่านกลาง เป็นทางจาก ฝั่งลงท่าน้ําซึ่งทําเป็นบันไดทอดยาวลงสู่ทางน้ํา 3. ศาลาท่ า น้ํ า ของวั ด มั ก ทํ า หลั ง คาแบบโบสถ์ วิ ห าร มี ช่ อฟ้ า ใบระกา หางหงส์ ต่ า งจากศาลา ชาวบ้านที่มักทําเรียบง่ายแบบเรือนพักอาศัย วัดมักทําศาลาท่าน้ําไว้ 2 – 3 แห่งแล้วแต่ขนาดของวัด 4. ศาลาท่าน้ําของชาวบ้าน รูปหลังคาจะไม่พิถีพิถันตามแบบเรือนไทยประเพณี โดยเฉพาะยุค หลังๆจนปัจจุบัน แต่แม้หลังคาจะต่างไปเป็นแบบเรียบง่าย แต่ผังพื้นยังคงเป็นแบบประเพณีเช่นเดิม

ศาลาท่าน้ํา (ที่มา: ฤทัย ใจจงรัก, 2545.)

ศาลาท่าน้ําที่เมืองโบราณ และที่วัดละมุดใน นนทบุรี สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


178 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ศาลาท่าน้ําที่วัดปราสาท และที่วัดสิงห์ นนทบุรี

การใช้งานศาลาท่าน้ํารูปแบบต่างๆ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 179

เรือนอิทธิพลตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามติดต่อกับชาติต่างๆทางตะวันตกมากขึ้น ได้เริ่มรับเอาวัฒนธรรมการ สร้างบ้านสร้างเรือนแบบตะวันตกเข้ามามากขึ้น เริ่มสร้างบ้านตึกแบบฝรั่ง เรือนแบบยุโรปหลายรูปแบบ ได้ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้านาย ขุนนาง และผู้ดีมีเงิน ได้แก่ เรือนปั้นหยา เรือนไม้แบบยุโรป หลังคาทุกด้าน ชนกันแบบพีรามิดไม่มีส่วนใดเปิดเป็นหน้าจั่ว หลังคาแบบปั้นหยานี้พบว่า เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 4 ใน เขตพระราชฐาน พระราชวังต่างๆ (น.ณ ปากน้ํา : 2548, 26) ก่อนจะแพร่หลายตามวังเจ้านายและ บ้านเรือนราษฎร จากนั้นเริ่มนิยมสร้าง เรือนมะนิลา หลังคาเรือนมะนิลาคือหลังคาปั้นหยาที่มีบางส่วน เปิดให้มีหน้าจั่ว หรือที่เรียกกันว่า หลังคาจั่วผสม เริ่มมีขึ้นในรัชกาลที่ 5 (น.ณ ปากน้ํา : 2548, 29) จากนั้นเป็นสมัยของสถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิงแพร่เข้ามาสู่สยาม คือเป็นรูปแบบเรือนแบบ วิคตอเรียที่ประดับตกแต่งหรูหราฟู่ฟ่าด้วยครีบ ระบาย ไม้ฉลุลาย ฯลฯ จนถูกเรียกว่า Gingerbread house แพร่หลายเข้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ความนิยมก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองหลวง ก่อนจะกระจาย ออกไปในภูมิภาคหลายแห่ง คหบดี ขุนนางและชนชั้นกลางทั่วไปต่างก็นิยมสร้างเรือนแบบนี้ควบคู่กับ เรือนมนิลาหรือเรือนแบบปั้นหยา

ขนมปังขิงที่มาของชื่อรูปแบบเรือน และ เรือนแบบวิคตอเรีย

ในสมัยรัชกาลที่ 5 คนทั่วไปยังคงปลูกสร้างบ้านเรือนแบบเรือนไทย ประกอบด้วยเรือนหลาย รูปแบบ ตั้งแต่เรือนแพ เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับ มีองค์ประกอบบ้านแบบไทย มีการเปลี่ยนแปลง เพียงด้านวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง เช่น การใช้ไม้โรงเลื่อย ใช้เหล็กแทนไม้ในบางส่วน เช่น ค้ํายันและ ซี่ลูกกรง ใช้ตะปูแทนลิ่มไม้ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องซิเมนต์และสังกะสีแทนกระเบื้องดินเผา ฯลฯ แต่ บรรดาเจ้านายและข้าราชการผู้มีฐานะดี เริ่มนิยมปลูกบ้านในรูปแบบที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคือ บ้านแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงมีพระราช นิยมในอาคารแบบฝรั่งอย่างมาก อาคารของทางราชการและพระราชวังสร้างแบบฝรั่งเป็นจํานวนมาก ในส่วนของบ้านเรือนที่ผู้มีฐานะดี ผู้สูงศักดิ์และข้าราชการผู้ใหญ่นิยมสร้างกัน ลักษณะโดยรวมของเรือน ที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกใน คือ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


180 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

- เป็นตึก หรือ ครึ่งตึกครึ่งไม้ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มี 2 ชั้นขึ้นไป รูปทรงสี่เหลี่ยม ชั้นบนชั้นล่าง ตรงกัน บางหลังมีห้องรูปหลายเหลี่ยมหรือหอคอยเป็นองค์ประกอบบ้าน - การใช้พื้นที่เป็นลักษณะที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับบ้านแบบไทยคือประกอบด้วยห้องหลาย ห้องในหนึ่งอาคาร กําหนดหน้าที่ใช้สอยชัดเจน ซึ่งไม่พบในบ้านแบบเรือนไทย - หลังคาส่วนมากเป็นทรงจั่ว ทรงจั่วตัดมุม ทรงปั้นหยา หรือทรงผสม และทรงหลายเหลี่ยม คลุมห้องหลายเหลี่ยม มีการประดับตกแต่งตามหน้าจั่ว สันหลังคา และเชิงชาย เป็นไม้ฉลุหรือ ปูนปั้น วัสดุมุงหลังคามักเป็นกระเบื้อง มีทั้งกระเบื้องดินเผาหางมนและหางเหยี่ยว กระเบื้อง จีน กระเบื้องว่าวหรือกระเบื้องซิเมนต์ สังกะสี - ประตูหน้าต่าง มักเป็นบานเปิดลูกฟักไม้ บานเกล็ดไม้ติดตาย และแบบผสมเกล็ดไม้และลูกฟัก ไม้ ลักษณะการเปิดมีทั้งเปิดคู่ บานเฟี้ยม บานกระทุ้ง ช่องแสงและช่องระบายอากาศเหนือ ประตูหน้าต่างมักเป็นไม้ฉลุลายหรือเกล็ดไม้ติดตายหรือกระจกสี - บันไดมักเป็นแบบติดตั้งภายในอาคาร ทําด้วยไม้ เป็นบันไดทึบ มีไม้ลูกตั้งระหว่างขั้น ราว บันไดและลูกกรงเป็นไม้ที่ทําอย่างประณีตสวยงาม ส่วนบันไดใหญ่หน้าบ้านมักเป็นบันไดก่อ อิฐฉาบปูน - การประดับตกแต่งมีการใช้ลวดบัว ปูนปั้น ไม้ฉลุลายประดับช่องแสงระบายอากาศ หน้าจั่ว และมุข ลูกกรงระเบียง ค้ํายัน และรอบชายคา

บ้านเรือนอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: ผุสดี ทิพทัส, 2525)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 181

องค์ประกอบเรือนอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: ผุสดี ทิพทัส, 2525)

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดําเนินนโยบายต่างประเทศ ต่อจากพระราชบิดา มีการติดต่อค้าขายอย่างกว้างขวาง มีการจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการด้าน ต่างๆรวมทั้งด้านการก่อสร้างมากขึ้น มีการส่งนักศึกษาไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้น ประกอบกับ ความเจริญของการคมนาคม ทําให้ ประเทศรับ อารยธรรมตะวั นตกเข้ามามาก อิ ทธิ พลด้านรู ปแบบ บ้านเรือนจึงมีมากขึ้ น โดยเฉพาะในเขตพระนคร โดยลั กษณะบ้ านเรือนที่ได้รั บอิ ทธิพลตะวัน ตกใน รัชกาลที่ 6 มีดังนี้ - ส่วนใหญ่เป็นบ้านตึก 2 ชั้น ชั้นล่างยกพื้น 0.50-1.00 เมตร ก่อผนังปิด มีช่องระบายอากาศ ความสูงระหว่างชั้นสูงมาก ไม่ต่ํากว่า 3 เมตร ชั้นล่างชั้นบนมักมีผังตรงกัน และมักมีห้องรูป หลายเหลี่ยมต่อเนื่องกันทั้ง 2 ชั้น - หลั งคาส่ ว นมากเป็ น ทรงปั้ น หยา หรื อทรงจั่ ว ผสมปั้ น หยา ตั ดมุ มจั่ ว เฉี ย งลงและมั กมี ความ ซับซ้อนไม่เป็นผืนเดียว โครงหลังคาไม้มุงกระเบื้องซิเมนต์(กระเบื้องว่าว) - ประตู หน้าต่าง มักทําให้มีความสูงมาก เกิน 2.00 เมตร บานเปิดคู่ ลูกฟักไม้กระดาน กระจก หรือเกล็ดไม้ติดตาย ช่องแสงเหนือประตูหน้าต่างมักเป็นไม้ฉลุลาย หรือกระจก หรือเกล็ดไม้ติด ตาย - บันไดภายนอกเป็นบันไดก่ออิฐฉาบปูน หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวบันไดปูน ลูกกรงบันไดลูก มะหวดปู น ปั้ น หรื อดิ น เผาเคลื อบ และบางหลังทํ าเป็ น บั นไดโค้ งหรื อบั นไดบานสอบ บั นได ภายในเป็นไม้ทึบลูกตั้งลูกนอน ราวบันไดและลูกกรงไม้สวยงามพิถีพิถัน และหลายหลังจะเน้น เป็นส่วนประดับ เป็นจุดเด่นภายในบ้าน บ้านหลายหลังมีบันไดขนาดเล็กเป็นบันไดบริการไว้ ด้านหลังด้วย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


182 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบเรือนอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 6 (ที่มา : ผุสดี ทิพทัส, 2525)

- พื้นชั้นล่างมักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูด้วยหินอ่อนหรือกระเบื้องหินขัด หรือพื้นไม้เข้าลิ้น หรือ ปาร์เก้ พื้นชั้นบนเป็นพื้นไม้เข้าลิ้น - การประดับตกแต่ง มักใช้ไม้ฉลุลาย เช่นที่ขอบเชิงชาย ช่องแสง ใช้ปูนปั้นเหนือหรือใต้หน้าต่าง มีการเสาหลอกประกอบผนังอาคาร บัวหัวเสา ตกแต่งหน้าจั่วเป็นรูปหลายเหลี่ยม - โครงสร้างบ้านในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นแบบเสาคาน โดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก และมักใช้เฉพาะ ชั้นล่างและใช้คานช่วงสั้น ผนังก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นพื้นไม้และโครงสร้างไม้ บ้านที่ออกแบบ โดยช่างไทยมักใช้ฐานรากเป็นแบบฐานแผ่ตามแบบเดิมจึงมีการทรุดบ้าง แต่บ้านที่ออกแบบโดย ช่างฝรั่งมักใช้ฐานรากแบบมีเสาเข็ม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 183

เรือนอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 6 (ที่มา : www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000109810)

ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกรุนแรงและยาวนาน คนทั่วไปไม่มีกําลังจะสร้าง บ้านเรือนใหญ่โตหรูหราได้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น ระบอบประชาธิปไตย เกิดการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา นักเรียนไทยที่ไปศึกษาใน ต่างประเทศเริ่มกลับมารับราชการในหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งด้านสถาปัตยกรรม และเริ่มมีการสอน สถาปัตยกรรมในประเทศไทย บ้านเรือนที่สร้างขึ้นในยุคนี้ของผู้มีฐานะดีมีลักษณะ ดังนี้ - มั ก เป็ น บ้ า น 2 ชั้ น ผั ง ชั้ น ล่ า งชั้ น บนตรงกั น ผนั ง ล้ อ มรอบ และมั ก มี จั่ ว หรื อ มุ ข ออกสู่ ด้านหน้าอาคาร และมักมีห้องรูปหลายเหลี่ยมต่อเนื่องกันทั้ง 2 ชั้น เหมือนบ้านในสมั ย รัชกาลที่ 6 - บ้านยุคนี้ให้ความสําคัญกับหลังคา ด้วยหลังคามุมชัน ส่วนใหญ่เป็นทรงจั่ว กับทรงปั้นหยา หรือผสม หรือจั่วปาดมุมเฉียงลง โครงหลังคาไม้มุงกระเบื้องซิเมนต์ - ประตู ห น้ าต่ า ง เป็ น บานเปิ ดคู่ วงกบวงกรอบไม้ ลู กฟั ก ต่ างชนิ ด ทั้ ง ลู กฟั กไม้ กระดาน กระจก และเกล็ดไม้ติดตาย และลูกฟักหน้าต่างบานเกล็ดไม้กระทุ้ง ประตูมักมีขนาดกว้าง ใหญ่กว่าประตูในปัจจุบัน ช่องแสงเหนือประตูหน้าต่างมักเป็นกระจกฝ้า บานเกล็ดไม้ติด

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


184 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตายหรือไม้ฉลุลายเพื่อระบายอากาศ ช่องระบายอากาศไม้ระแนงตีทแยงถี่ๆทั้งผนังภายใน และภายนอก - บันไดทั้งภายนอกภายในอาคารยังคงมีลักษณะและการก่อสร้างเช่นเดียวกับรัชกาลก่อน โดยทั่วไปเป็นบันไดมีชานพัก ผังบันไดเป็นตัว L หรือตัว U บางบ้านมีสองบันได - พื้นภายนอกเช่นเฉลียง หน้ามุขมักยกพื้น เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูกระเบื้องซิเมนต์หรือ กระเบื้องหินขัด หรือเซรามิค - การประดับตกแต่งยังคงมีรูปแบบคล้ายกับบ้านในรัชกาลก่อน และตกแต่งหน้าจั่วรูปหลาย เหลี่ยม

- มีการจัดผังพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วน กําหนดหน้าที่ชัดเจนเหมือนกับบ้านในรัชกาลก่อน

เรือนอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 6 (ที่มา: ผุสดี ทิพทัส, 2525)

เรือนอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 6 (ที่มา: ผุสดี ทิพทัส, 2525)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 185

เรือนขนมปังขิง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


186 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

กุฏิพระ คื อ เรื อ นพั ก อาศั ย ของพระภิ ก ษุ สามเณร ตั้ ง อยู่ ใ นเขตสั ง ฆาวาสของวั ด มี มาตั้ งแต่ ส มั ย พุทธกาล หลังจากทรงอนุญาตให้พระภิกษุสร้างหรือรับกุฏิจากผู้มีศรัทธาสร้างถวาย แต่ทรงมีข้อกําหนด บางประการไว้ และกลายเป็นพระวินัยปฏิบัติสืบทอดกันจนปัจจุบัน ดังนี้ 1. เมื่อเมื่อผู้ศรัทธาสร้างถวาย ให้รับไว้ แล้วอุทิศถวายต่อเป็นจาตุททิสสงฆ์ หมายถึง ให้เอื้อ ต่อภิกษุอื่นที่มาจากทั้งสี่ทิศ หรือไม่ให้ยึดถือเป็นของตน หรือของผู้ใดผู้หนึ่งเฉพาะเจาะจง 2. ให้มีขนาดยาว 12 คืบ กว้าง 7 คืบ ด้วยคืบสุคตร่วมใน (ประมาณ 3.0 X 1.75 ม.) เพื่อให้ พระภิ กษุ เข้ าอาศั ย เพี ย งรู ป เดี ย ว มี ที่น อนและที่ ว่ างสํ าหรั บ วางเครื่ องอั ฐ บริ ขารทั้ ง 8 เท่านั้น 3. ภิกษุที่สร้างกุฏิขึ้นเอง ต้องสร้างในที่ว่าง และมีชานรอบ คือ ต้องประกาศก่อนว่า จะทํา กุฏิขึ้น หากมีผู้ใดคัดค้าน แสดงความเป็นที่จับจอง ก็ให้ถือเป็นโมฆะ ไม่อาจสร้างได้ ต้อง หาที่ใหม่ เพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่าสร้างในที่ดินผู้อื่น และให้มีชานรอบ หมายถึงให้มีที่ว่าง รอบกุฏิพอประมาณ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกันในการพักผ่อนหรือเจริญสมาธิ รูปแบบกุฏิพระ แม้พระวินัยจะกําหนดลักษณะของกุฏิพระเอาไว้ แต่รูปแบบทางสถาปัตยกรรมนั้น เป็นเรื่อง ของประเพณีของท้องถิ่นที่จะสร้างสรรค์ขึ้น และมีพัฒนาการตามยุคตามสมัยเช่นเดียวกับเรือนพักอาศัย ของคฤหัสถ์ ในภาคกลางของไทย กุฏิพระได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเรือนหลังเล็ก พักอาศัยได้รูปเดียว ต่อมาจึง มีพัฒนาการตามความจําเป็นของพื้นที่ และจํานวนพระภิกษุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะวัดในเมือง พื้นที่ จํากัด จึงมีการสร้างกุฏิพระแบบหลังใหญ่มีหลายห้องหลายชั้นขึ้น แต่ละห้องจะพักเพียงรูปเดียวและมี ขนาดไม่เกินจากที่พระวินัยกําหนดไว้ นอกจากนี้ คนไทยยังประเพณีการรื้อเรือนมาถวายวัด เป็นเรือน ของตนเคยอยู่อาศัย แต่มีเหตุให้รื้อถวายวัด เช่น อยู่แล้วเจ็บป่วยไม่สบาย หรือไม่ปกติสุข เจ้าของเรือน เสียชีวิตไป ลูกหลานก็รื้อมาถวายวัด หรือบางหลังสร้างตามดวงชะตาเจ้าของเรือน ลูกหลานจะมาอยู่ แทน ตรวจสอบแล้วขัดกับดวงชะตาของตนก็ไม่อยากอยู่ กุฏิพระบางหลังจึงมีรูปแบบหรือขนาดที่ไม่ เป็นไปตามพระวินัย จนถึงสมัยปัจจุบัน กุฏิพระได้มีการสร้างขึ้นในหลายรูปแบบ ดังนี้ 1. แบบเรือนเดี่ยว รูปแบบทรงคล้ายเรือนไทยภาคกลาง แต่มีขนาดเล็ก หลังคามีรูปทรง และปั้นลมแบบเรือนไทย มีห้องเดียว ขนาดประมาณที่พระวินัยกําหนด มีชานหน้าอีกเล็กน้อย มีบันได ขึ้นลงที่ชานนี้ 2. แบบทิมแถว สร้างเป็นเรือนยาว หรือโรงแถว กั้นเป็นห้องๆเรียงต่อกันไปเป็นแถวยาว มีขนาดตั้งแต่ 4 – 9 ห้อง และถ้ากุฏิทิมแถวนี้สร้างแล้วใช้เป็นที่กั้นแดน ใช้ผนังด้านหลังที่ต่อกันเป็นแถว ยาวนี้แทนกําแพง จะเรียกว่า กุฏิทิมแถวแบบเขื่อนเพชร เช่น หมู่กุฏิด้านใต้ของวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ สร้างเป็นตึก 2 ชั้น ยาวประมาณ 200 เมตร กั้นเขตวัดกับถนนซอยด้านนอก โดยไม่ต้องมีกําแพงวัดอีก


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 187

3. แบบอาคารพักอาศัยรวม กุฏิยุคใหม่ที่สร้างเป็นแบบอาคารพักอาศัย เป็นตึก มีหลาย ชั้น หลายห้อง มีบันไดขึ้นลง ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารในวัดมาตกแต่งให้แตกต่างจากอาคาร พักอาศัยรวมของคฤหัสถ์

• กุฏิแบบเรือนเดี่ยว ขนาดตามพระวินัย (ที่มา : ฤทัย ใจจงรัก, 2545)

• กุฏิแบบเรือนเดี่ยว ขนาดตามพระวินัย

• กุฏิแบบทิมแถว

• กุฏิแบบทิมแถวเขื่อนเพชร

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


188 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• กุฏิแบบอาคารพักอาศัยรวม

วัดที่มีกุฏิจํานวนมาก การวางผังจัดหมู่กุฏิมีหลายรูปแบบที่เลือกใช้ หรือพื้นที่จะอํานวย ดังนี้ 1. แบบกระจาย เป็นการวางกุฏิเป็นหลังโดด กระจายตามทาง หรือภูมิประเทศ 2. แบบแถว เป็นการวางกุฏิเป็นแนวยาวเรียงกันไป 3. แบบหมู่ เป็นการวางกุฏิเป็นกลุ่ม อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือเป็นสองแถวขนานกันไป มีชานเชื่อมต่อถึงกันตลอด ตรงกลางชาน อาจมีอาคารอื่นตั้งอยู่เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น หอฉัน หอสวดมนต์ หรือศาลาโล่งสําหรับใช้งานอเนกประสงค์

• การวางผังกุฏิแบบแถว และแบบหมู่กุฏิ

• หอฉันกลางหมู่กุฏิ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 189

6 สถาปัตยกรรมพืน ้ ถิน ่ อีสาน สถาปัตยกรรมทางศาสนา ภาคอีสานของไทยเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ อยู่บน ที่ ร าบสู ง โคราช มี แ ม่ น้ํ าโขงกั้ น เขตทางตอนเหนื อ และ ตะวันออก ทางใต้จรดชายแดนเขมร ตะวันตกมีเทือกเขา เพชรบู ร ณ์ เ ป็ น แนวกั้ น จากภาคเหนื อ และภาคกลาง อาชีพหลักของชาวอีสานคือเกษตรกรรม สภาพอากาศ ร้ อนและแห้ งแล้ ง อุ ณหภู มิ สู งถึ ง 41 - 42 องศา และ เนื่องจากพื้นดินไม่อุ้มน้ํา แม้อีสานจะมีปริมาณฝนเฉลี่ย มากกว่ าภาคเหนื อและภาคกลาง แต่ ซึมและระเหยไป อย่างรวดเร็ว และยังเป็นฝนที่มากับพายุดีเปรสชั่นจาก ทะเลจีนใต้มากกว่าฝนตามฤดูกาล ดังนั้น หากปีใดพายุ มาน้ อ ย ปี นั้ น ก็ จ ะแห้ ง แล้ ง จั ด ภาษาที่ ใ ช้ กั น คื อ ภาษา อีสาน ภาษาไทยกลาง ภาษาเขมร ภาษาผู้ไท ฯลฯ • พื้นที่ภาคอีสาน (ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ภาคอีสาน_(ประเทศไทย), 2558)

จากหลักฐานทางโบราณคดี ทําให้ทราบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในอีสานมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ ต่อมาเกิดชุมชนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11 เกิดชุมชนเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 12สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


190 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

18 ต่อมาคือการเคลื่อนย้ายอพยพลงมาของคนไทลาว ซึ่ งเป็นบรรพบุรุษของชาวอีสานปัจ จุบันจาก อาณาจักรล้านช้างหลายครั้ง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 – 22 เกิดชุมชนไทอีสาน แม้ตั้งถิ่นฐานแล้ว ก็ยังมี การเคลื่อนย้ายตั้งถิ่นฐานใหม่หลายครั้งเพราะความแห้งแล้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 หลังสิ้นสุด วั ฒ นธรรมเขมร เป็ น การขาดช่ ว งของศิ ล ปะสถาปั ต ยกรรม หยุ ด ชะงั ก ไปเฉยๆ จนถึ ง สมั ย อยุ ธ ยา ตอนกลาง จึงได้มีการสร้างงานถาวรวัตถุขึ้นอีกครั้ง (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. หน้าจั่ว 2530: 26) เพราะ เมืองต่างๆในอีสานอยู่ในฐานะหัวเมืองของอยุธยาและล้านช้าง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกิดขึ้นในพื้นที่อีสานจากหลากหลายวัฒนธรรม ทั้งที่สร้างสรรค์โดยช่าง พื้นเมื องจากปัจ จัยแวดล้อมของพื้นที่ และที่ ได้รั บอิทธิ พลจากวัฒ นธรรมอื่นหลายสายที่ ส่งผลต่อรู ป สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน เป็นความหลากหลายในพื้นที่ สามารถจําแนกตามประโยชน์ใช้สอยได้เป็น 2 ประเภท คือ สถาปัตยกรรมทางศาสนา กับ สถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัย ดังนี้

สถาปัตยกรรมแบบทวารวดี สถาปัตยกรรมแบบทวารวดีที่พบกระจายอยู่จํานวนมากในอีสาน มีตั้งแต่เมืองซึ่งมีแผนผังเป็น วงรูปไข่ล้อมรอบด้วยคูและเชิงเทินดิน ตลอดจนไปจนถึงพระพุทธรูปและพระพิมพ์ (สุภัทรดิศ ดิศกุล ม.จ., โบราณคดี 2517 : 303) แต่ด้วยความเก่าแก่ยาวนานของอารยธรรมทวารดี (พุทธศตวรรษที่ 11) ตัวอาคารที่สมบูรณ์หรือยังปรากฏรูปร่างรูปทรงชัดจึงไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว พบเพียงแนวฐานอาคาร 2 แห่งที่เมืองฟ้าแดด กาฬสินธุ์ และที่อุ้มญาคู เมืองคันธารวิสัย มหาสารคาม อาคารทั้งสองหันหน้าทาง ทิศใต้ ผังยกเก็จ คล้ายมีมุขหน้าหลังแบบเดียวกับวิหารล้านนา ใช้อิฐขนาดใหญ่ เผาอย่างดีไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็ง ความยาวจะเท่ากับสองเท่าของความกว้าง ความกว้างเป็นสองเท่าของความหนา ขนาด 32 x 16 x 8 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นแบบแผนหรือหลักการก่อสร้างทั่วไปของอิฐของสกุลช่างนี้

• เมืองฟ้าแดด กาฬสินธุ์ (ที่มา : http://student.nu.ac.th/, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 191

• เมืองคันธารวิสยั มหาสารคาม (ที่มา : สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ., 2517: 309)

ส่วนที่พบมากและคงอยู่ในสภาพดี คือ ใบเสมา พบทั่วไปในอีสาน เช่น ที่บ้านกุดโง้ง จังหวัด ชัยภูมิ ที่เมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร ที่วัดพุทธมงคล อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น พบทั้งการปักรอบเจดีย์ และหลายแห่งไม่พบซากอาคาร ซึ่งอาจเป็นอาคารไม้และผุพังไปแล้ว พบการปักใบเสมาตั้งแต่ 3 ใบถึง 15 ใบ และพบการปักรอบเพิงหิน ธรรมชาติ เช่น ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี อาจจะเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก่อน เมื่อผู้คนหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนําคติการปักใบเสมาเพื่อกําหนดเขตแดนศักดิ์สิทธิ์มาใช้ ใบเสมาสมัยทวารวดีพบหลายแบบทั้งเป็นแผ่นคล้ายเสมาปัจจุบัน เป็นเสากลมหรือแปดเหลี่ยมหรือรูป สี่เหลี่ยม โดยทั่วไปสลักจากหินทราย มีขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 0.80 - 3.00 เมตร มีภาพสลักโดยทั่วไปเป็น ภาพสถูปยอดแหลม หรือสลักภาพเล่าเรื่องชาดก ภาพพุทธประวัติ และลายผักกูดก้านขด

• ใบเสมาสมัยทวารวดีสูงถึง 3 เมตร (ที่มา : www.sarakadee.com, 2558)

กลุ่มใบเสมาบนเนินใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบาน (ที่มา : วิโรฒ ศรีสุโร 2536: 78)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


192 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• ใบเสมาสมัยทวารวดี

• กลุ่มใบเสมาปักรอบเพิงหินธรรมชาติที่อุทยานฯภูพระบาท อุดรธานี (- หอนางอุษา / กู่นางอุษา / คอกม้าน้อย / ถ้ําฤๅษี -) (ที่มา : www.bloggang.com/viewdiary.php?id=shiryu&month=01-2014&date=22&group=7&gblog=39, 2557)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 193

• แผ่นหินจําหลักวัดโพธิชัยเสมาราม กาฬสินธุ์ (ที่มา : ฐานข้อมูลภาพศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


194 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมแบบเขมร สถาปัตยกรรมแบบเขมรที่ปรากฏในพื้นที่ภาคอีสาน ได้แก่ ปราสาทหิน ซึ่งพบหลายแห่ง เป็น สถาปัตยกรรมประเภทเทวสถานในศาสนาฮินดูในระยะแรก เมื่อขอมยังนับถือศาสนาฮินดู และเป็นศา สนสถานในระยะหลั ง เมื่ อ ขอมหั น มานั บ ถื อ พุ ท ธศาสนา เป็ น พุ ท ธมหายาน นั บ ถื อ พระโพธิ สั ต ว์ สถาปัตยกรรมแบบปราสาทหินเหล่านี้มีแนวความคิดหลักในการออกแบบและวางผังอยู่ที่คติจักรวาล ซึ่ง ฮิน ดูกับพุ ทธใช้ คติ เดี ยวกัน ใช้อิฐ หิน และศิ ลาแลงเป็ นวั สดุ ก่อสร้ างหลั ก เป็ นสถาปัตยกรรมที่ ได้ รั บ อิทธิพลจากเขมร ในบทเรียนนี้จะศึกษา ดังนี้ 1. ปราสาทเมืองต่ํา (ชื่อใหม่ที่ชาวบ้านเรียก) ตั้งอยู่ที่ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ บริเวณใกล้เคียง กับปราสาทเขาพนมรุ้ง ลักษณะเป็นศาสนสถานประจําชุมชน เป็นปรางค์ก่ออิฐ 5 องค์ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลาง ผัง วิหารก่อด้วยหิน งานแกะสลักหินประณีตสวยงาม สร้างราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นศิลปะบาปวน ตอนต้น เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ผังจัตุรัสขนาดใหญ่ คด 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นกําแพงหิน ชั้นในเป็น ระเบียงคด ลักษณะพิ เศษของปราสาทแห่ งนี้ ที่ไม่ เหมื อนที่อื่น ๆ คื อ การใช้ บ าราย (สระน้ํ า) รู ป ตั ว L ประกอบผัง แทรกอยู่ ระหว่างคดชั้ นนอกกั บชั้ นใน โอบล้ อมระเบีย งคด ทําให้คติจักรวาลเรื่องทะเล สี ทั น ดรชั ด เจนและใกล้ เ คี ย งกั บ รู ป แบบในคติ ม ากกว่ า ที่ อื่ น ๆ คํ า จารึ ก ที่ พ บที่ โ คปุ ร ะนอกหลั ง ทิ ศ ตะวันออกบอกแนวความคิดการสร้างปราสาทหลังนี้ว่าประสงค์จะสร้างเทวาลัยลอยน้ํา สระน้ําตัว L ที่ โอบล้อมกลุ่มปราสาทในความหมายของห้วงสมุทร อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง แล้วจึงล้อมด้วย กําแพงหินเขตจักรวาลอีกชั้นหนึ่ง (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. หน้าจั่ว, 2547: 9)

• ปราสาทเมืองต่ําและสระน้ํา (ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/ปราสาทเมืองต่ํา, 2557)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 195

• ปราสาทเมืองต่ํามุมสูง (ที่มา: 7 ปราสาทหินมหัศจรรย์แห่งอีสาน. เมืองโบราณ, 2542)

• ปราสาทเมืองต่ําในมุมมองต่างๆ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


196 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

2. ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในไทย สร้างราว พ.ศ. 1625-1650 หรือต้นสมัยสถาปัตยกรรมแบบนครวัด เป็นพุทธสถานมหายาน ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า(เกือบจัตุรัส) คด 2 ชั้นแบบปราสาทเมืองต่ํา ชั้นนอกเป็นกําแพงหิน มีโคปุระทิศ หรือ ซุ้มวิหารทางเข้าขนาดใหญ่ทั้ง 4 ทิศ ชั้นในเป็นระเบียงคด ปรางค์ประธานมีมณฑปต่อเชื่อมอยู่ด้านหน้า งานจัดองค์ประกอบและแกะสลักหินสวยงาม และเป็นจุดเริ่มตัวแบบที่พัฒนาต่อเป็นปราสาทนครวัดที่ ใหญ่และสวยงามที่สุดในอารยธรรมเขมร (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2530) ลักษณะพิเศษของปราสาทแห่งนี้ คือ หันหน้าสู่ทิศใต้แทนที่จะหันหน้าทางตะวันออกเหมือน ปราสาทแห่งอื่นๆ เพราะใช้แกนดาวเหนือแทนแกนดวงอาทิตย์ที่ปราสาทแห่งอื่นๆใช้

• ปราสาทหินพิมาย (ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Phimai_Historical_Park, 2558)

• หน้าบันและทับหลังของปราสาทหินพิมาย (ที่มา : blogs.yahoo.co.jp/thairuins2557/56335603.html, 2558)

แม้ปราสาทหินพิมายจะเป็นพุทธสถานมหายาน แต่ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบันเป็น เรื่องเล่าเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ยกเว้นภาพที่ประดับรอบห้องครรภคฤหะ ซึ่งเป็นส่วนสําคัญของ ปราสาท เป็นเรื่องของพุทธประวัติในนิกายมหายาน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 197

• ชานชลานาคและทางเข้าหลัก (ที่มา: en.wikipedia.org/wiki/Phimai_Historical_Park, 2558)

• ผังปราสาทหินพิมาย (ที่มา : www.sac.or.th/databases/archaeology/terminology/ปราสาทขอมในประเทศไทย-0, 2558)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


198 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• ปราสาทหินพิมายมุมสูง (ที่มา : 7 ปราสาทหินมหัศจรรย์แห่งอีสาน. เมืองโบราณ, 2542)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 199

3. ปราสาทหินพนมรุ้ง หรือปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ์ จ.บุรีรัมย์ บน ยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีปากปล่องภูเขาไฟเป็นสระน้ําธรรมชาติให้ปราสาทด้วย เป็นโบสถ์พราหมณ์ ลัทธิไศวะในศาสนาฮินดู จากศิลาจารึกที่พบที่ปราสาท สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าราเชนทรวร มันที่ 3 กษัตริย์เมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 แรกสร้างมีขนาดไม่ใหญ่นัก ถูกต่อเติมและ ขยายขึ้น ปราสาทประธานองค์กลางถูกสร้างเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 17 โดย “นเรนทราทิตย์” เจ้านายผู้ เป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด ลักษณะเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ประจําเมือง ศิลปะบาปวนต่อนครวัด หรือนครวัดตอนต้น สร้างหลังปราสาทหินพิมายเล็กน้อย มีแผนผังแบบตรงเข้าสู่จุดศูนย์กลาง มีทางเดินขึ้นจากด้านล่างขึ้นสู่ เบื้องบน มีตัวปราสาทประธานเพียงหลังเดียว ล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่มีโคปุระทั้ง 4 ด้าน ปราสาทประธาน มีระเบียบแผนผังเดียวกับปราสาทหินพิมาย ตัวปราสาทอยู่ในผังสี่เหลี่ยม จัตุรัสเพิ่มมุม มีมุขยื่นออกมา 3 ด้าน ด้านหน้าเป็นมณฑป เชื่อมต่อด้วยฉนวนหรืออันตราละ ซึ่งเป็น ลักษณะผังของปราสาทในสมัยบาปวนต่อนครวัด ส่วนฐานของตัวปราสาทตั้งอยู่บนฐาน บัวเตี้ยๆ สลัก ลวดลายกลีบบัวและลายดอกสี่เหลี่ยม ส่วนเรือนธาตุอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีห้องเข้าไปภายใน ได้ เรียกว่า ห้องครรภคฤหะ สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงตั้งรูปเคารพคือ ศิวลึงค์ ส่วนยอดเป็นทรงปราสาท เรื อ นซ้ อ นชั้ น 5 ชั้ น แต่ ล ะชั้ น ประดั บ ด้ ว ยบั น แถลง และนาคปั ก ลั ก ษณะของนาคปั ก ที่ อ ยู่ ใ นรู ป สามเหลี่ยมนี้ทําให้ยอดปราสาทเป็นทรงพุ่ม เหมือนปราสาทหินพิมาย

• ปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา: 7 ปราสาทหินมหัศจรรย์แห่งอีสาน. เมืองโบราณ, 2542)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


200 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ลวดลายบนทับหลังและหน้าบัน มีลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งเสาประดับกรอบประตู สลักลายสิงห์คายก้านต่อดอก เป็นลักษณะของศิลปะแบบนครวัด เรื่องราวบนทับหลังและหน้าบัน ได้แก่ ทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ (เคยถูกลักลอบนําไปยังสหรัฐอเมริกา ไทยได้ติดตามทวงคืนกลับมาได้ และนํากลับมาติดตั้งตามเดิม) รูปเล่าเรื่องในลัทธิไศวนิกาย เช่น พระศิวนาฏราช พระอุมามเหศวร พระ ศิวะมหาเทพ รูปเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับลัทธิไวษณพนิกาย เช่น พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และอวตารปาง ต่างๆ เช่น วิษณุตรีวิกรม (พราหมณ์เตี้ย) พระกฤษณะและมหาภารตะ รูปเล่าเรื่องเทพชั้นรอง เทพ ประจําทิศ รูปเล่าเรื่องเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นประวัติของนเรนทราทิตย์ และ รูปพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ และชีวิตความเป็นอยู่ ภาพบนทั บหลั งที่ สํ าคั ญที่ สุ ด คือ ทั บ หลังหน้ าห้ องครรภคฤหะ เป็ น รูป ฤๅษี 5 ตน ซึ่ งเป็ น หลักฐานว่า ศาสนสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย

• หน้าบันและทับหลังของปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา : blogs.yahoo.co.jp/mahasarakahm/11666729.html, 2558)

• ทางขึ้นปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา : blogs.yahoo.co.jp/mahasarakahm/11666729.html, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 201

ความพิเศษไม่เหมือนที่อื่นใดของปราสาทพนมรุ้ง อยู่ที่การทําอาคารทั้งหมดตั้งแต่ซุ้มประตู ทางเข้า ปราสาททั้งหมดจนถึงซุ้มประตูทางด้านหลังอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด ประกอบกับที่ตั้งที่อยู่ บนยอดเนินไม่มีสิ่งใดอยู่ในระดับเดียวกันมาบดบัง ทําให้เกิดปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ส่องลอดช่องประตู ทั้ง 15 ในวันวิษุวัต (Equinox) ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรตั้งฉากกับพื้นโลก และเป็นวันขึ้นปีใหม่ของ ฮิ น ดู ขอมเลื อกเอาวั น นั้ น เป็ น วั น วางผั ง ก่ อสร้ างปราสาท ทํ าให้ แนวแกนของปราสาทวางตามแกน ตะวันออก-ตะวันตกพอดีกับแนวโคจรของดวงอาทิตย์ จึงเกิดปรากฏการณ์ขึ้นในวันดังกล่าว

• ช่องประตูตรงกันทั้ง 15 ช่องของปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา : blogs.yahoo.co.jp/mahasarakahm/11666729.html, 2558)

• ปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Phanom_Rung_Historical_Park , 2558) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


202 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• ผังปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Phanom_Rung_Historical_Park , 2558)

- ปราสาทประธาน / ซุ้มประตูด้านทิศใต้ / ยอดปราสาท / ชานชลานาค -

• องค์ประกอบและมุมมองต่างๆของปราสาทหินพนมรุ้ง (ที่มา: blogs.yahoo.co.jp/mahasarakahm/11666729.html, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 203

สถาปัตยกรรมแบบไทยอีสาน สถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบไทยอีสาน หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบแบบประเพณี สร้างขึ้นโดยช่างพื้นเมืองชาวอีสาน ตามปัจจัยแวดล้อมที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่สภาพภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อ และประเพณีนิยม ตลอดจนอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่นข้างเคียงที่เข้ามาด้วยเหตุทาง การเมือง การปกครอง และเหตุอื่นๆ ส่งผลต่อรูปสถาปัตยกรรมในพื้นที่ภาคอีสาน แบ่งเป็นกลุ่มรั บ อิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น ได้แก่ อยุธยา ล้านช้าง รัตนโกสินทร์ ฯลฯ และกลุ่มที่เป็นแบบพื้นเมือง อีสาน กลุ่มได้รับอิทธิพลอื่นปรากฏอยู่ในอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร หอไตร กลุ่มที่เป็นแบบพื้นเมือง ได้แก่ สิม (โบสถ์) หอแจก (ศาลาการเปรียญ) และธาตุ (เจดีย์) ดังนี้ กลุ่ มรั บอิ ทธิ พลอยุ ธ ยา ตั ว อย่ างอาคารที่ ได้ รั บ อิ ทธิ พลอยุ ธ ยาที่ ดีที่สุ ดคื อ โบสถ์ วั ดบึ ง จ. นครราชสีมา (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล 2530 : 26) รูปแบบอาคารและองค์ประกอบเป็นแบบอยุธยา หลังคา 4 ตั บ ช่ อฟ้ า ใบระกา หางหงส์ หน้ าบั น ฐานแอ่ น โค้ ง ตกท้ องสํ า เภา ส่ ว นใบเสมายั งมี อิท ธิ พลของ วัฒนธรรมเขมร แสดงความคงอยู่ของวัฒนธรรมเขมรในขณะนั้น

วัดบึง นครราชสีมา (ที่มา : คลังภาพ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา, 2558)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


204 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

พระประธาน (หลวงพ่อโตอู่ทอง) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 6 ศอก ขัดสมาธิ ราบ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปกรรมเป็นแบบอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ ภายนอกมี กําแพงแก้วก่ออิฐถือปูน เสมานั่งแท่น เป็นแท่นฐานสิงห์บัวเกษร หน้าบันด้านตะวันออกแกะสลักไม้รูป พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณกลางลายก้านขดหางโต ทิศตะวันตกเป็นรูปพระวิษณุทรงครุฑกลางลายก้าน ขดหางโตเหมือนกัน กลุ่มรับอิทธิพลล้านช้าง ปรากฏในการซ้อนชั้นหลังคาแบบล้านช้าง การวางจังหวะเสาคู่หน้า ของอาคาร และการทําองค์ประกอบอาคารที่เป็นแบบเฉพาะของล้านช้าง เช่น เครื่องลํายอง โก่งคิ้ว คัน ทวย ช่อฟ้า ซึ่งแตกต่างจากอยุธยา รัตนโกสินทร์ ตัวอย่างอาคารที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรม ได้แก่ หอ ไตรวัดทุ่งศรีเมือง อุโบสถวัดมโนภิรมย์ มุกดาหาร สิมหลวงเมืองอุบล

• สิมวัดหลวง อุบลราชธานี • (ที่มา : pantip.com/topic/32447592, 2558)

สิมวัดมโนภิรมย์ มุกดาหาร (ที่มา : woodychannel.com/manopirom-temple.html, 2558)

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง (ที่มา : www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1065400, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 205

กลุ่มรับอิทธิพลรัตนโกสินทร์ ปรากฏในรูปทรงหลังคา การซ้อนชั้นหลังคา เครื่องลํายอง คือ ช่อฟ้ า ใบระกา หางหงส์ มี งวงไอยรา นาคสะดุ้ ง ฯลฯ แบบรั ตนโกสิ นทร์ การยกพื้ นสู ง การใช้ เสา สี่เหลี่ยมย่อมุม แต่ใช้โก่งคิ้ว ทวยเป็นแบบอีสานยกฐานสูงตามแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตัวอย่างที่ ชั ด เจน ได้ แ ก่ วิ ห ารวั ด ทุ่ ง ศรี เ มื อ ง อุ บ ลราชธานี รู ป ทรงอาคารโดยรวมเป็ น รู ป แบบรั ต นโกสิ น ทร์ องค์ประกอบอาคารมีทั้งแบบรัตนโกสินทร์และแบบอีสานล้านช้าง

วิหารวัดทุ่งศรีเมือง (ที่มา : www.gerryganttphotography.com/Wat_ThungSriMueang, 2558)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


206 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

อุโบสถวัดสุปัฎนาราม

อุโบสถวัดสุปัฎนาราม อุบลราชธานี สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2479 เป็นอาคารที่รับอิทธิพลจาก หลายวัฒนธรรมแวดล้อมเมืองอุบล ภาพรวมคล้ายอุโบสถวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแบบขอม หน้า บันคล้ายแบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 คือ ก่อเป็นปูนปิดทึบ ไม่มีไขราหน้าจั่ว เครื่องลํายองเป็นปูนปั้น ช่ อฟ้ าและหางหงส์ ใช้ น าคแบบญวน สิ งห์ ห มอบที่ ร าวบั นไดหน้ าอาคารเป็ น แบบญวน ตั ว อาคารใช้ ลวดลายและองค์ประกอบอาคารแบบฝรั่ง เช่น รูปแบบหัวเสา ซุ้มเรือนแก้วช่องเสา และการใช้ช่อง ประตูแทนหน้าต่าง นอกจากนี้ ยังมีอุโบสถหลังอื่นๆหลายหลังที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเมืองหลวง ต้องการ สร้ างอุ โ บสถให้ เป็ นแบบเมื องหลวง ทั้ งที่ เป็ น รู ป แบบรวมจากอุ โ บสถวัดต่ างๆในเมื องหลวง หรื อใช้ รูปแบบมาเพิ่มความสูงอาคารเพื่อเพิ่มความสูงเด่น สง่างามตามความคิดตน แต่ทําให้เสียสัดส่วน เพราะ ชะลูดสูงผิดส่วนไป ซึ่งปรากฏมีหลายหลังในอีสานในช่วงเวลาที่ผ่านมา

วัดศรีอุบลรัตนาราม อุบลราชธานี และวัดพระใส หนองคาย รูปแบบวิหารเป็นแบบอุโบสถวัดเบญจมบพิตร

สิมแบบกรุงเทพฯ สูงชะลูดเสียสัดส่วน (ที่มา : วิโรฒ ศรีสุโร, 2536)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 207

กลุ่มรับอิทธิพลตะวันตก อุโบสถและหอแจก (ศาลาการเปรียญ) อีสานส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพล จากตะวั น ตกผ่ านอาณานิ ค มของชาติ ตะวั น ตกในอิ นโดจี น โดยเฉพาะเวี ย ดนาม เพราะมี พ รมแดน ติดต่อกัน ช่างชาวเวียดนามส่วนหนึ่งนํารูปแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับรูปแบบท้องถิ่น และได้รับ ความนิยม เกิดรูปแบบอาคารอุโบสถแบบฟื้นเมืองที่ใช้องค์ประกอบอาคารบางส่วนเป็นแบบตะวันตก ผสมผสาน

สิมรับอิทธิพลตะวันตก (ที่มา : วิโรฒ ศรีสุโร, 2536)

กลุ่มที่เป็นแบบพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดย ช่างพื้นเมืองชาวอีสาน ตามปัจจัยแวดล้อมที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อ และประเพณีนิยม โดยไม่ได้แสดงอิทธิพลของวัฒนธรรมอื่น ในกลุ่มอาคารทางศาสนา ปรากฏ ในอาคารประเภท “สิม” หรืออุโบสถ และ “ธาตุ” หรือ เจดีย์ สิม มาจากคําว่า “สีมา” เป็นคําเรียกโบสถ์ในภาษาอีสาน มาจากคําว่า สีมา ที่หมายถึงเขตที่ ใช้ทําสังฆกรรมที่กําหนดไว้ในพระวินัย สิมในอีสานทํากันอยู่ 2 ชนิดคือ สิมน้ํา และ สิมบก สิมน้ํา คือ สิมที่สร้างอยู่กลางสระเพื่อใช้น้ําเป็นเขตสีมา เรียกว่า อุทกเขปปสีมา ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก ส่วนสิ มบก คือ สิมที่สร้างบนบกแบบอุโบสถทั่วไป ต้องมีการกําหนดเขตสีมารอบอาคารเพื่อให้สิมสามารถทํา สังฆกรรมได้ ตามพระวินัย เรียกว่า เขตพัทธสีมา

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


208 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

คติการวางผังชุมชนกับตําแหน่งของวัดชุมชน 1. ตั้งวัดทางทิศเหนือหรือตะวันออกของชุมชน 2. ไม่ตั้งวัดในแนวเดียวกับตัวบ้าน คือจะวางเยื้องขึ้นเหนือหรือเยื้องตะวันออก ดังนั้น เมื่อแรกตั้งหมู่บ้าน วัดมักจะถูกวางในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของชุมชน ภายหลังตัว บ้านขยายตัวออกไปมากจนโอบล้อมตัววัดก็ไม่เป็นไร แต่แรกสร้างมักจะเป็นไปตามคตินิยมนี้ คติการวางตําแหน่งสิมในผังวัด 1. วางสิมทางทิศตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงเหนือของวัด 2. ไม่วางอาคารอื่นแนวเดียวกับสิม 3. ไม่สร้างกุฏิอยู่เบื้องหน้าสิม 4. ไม่ให้เงาสิมทับอาคารอื่น ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมแบบพื้นเมืองอีสาน 1. มีทั้งชนิด สิมโปร่ง และ สิมทึบ 2. เรียบง่าย ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเล็ก สนองเพียงประโยชน์ใช้สอยไม่ใหญ่โตหรูหราเกิน ฐานะ 3. สิมโปร่งนิยมทําผนังเตี้ยรอบ ยกเว้นด้านหลังพระประธานก่อทึบ 4. ฐานสูง มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า แอวขัน (เอวขันธ์) 5. หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวหรือสองชั้น มุงแป้นเกล็ด มักทําปีกนกรอบ ถ้ายื่นยาวจะทําเสารับปี กนก 6. บางหลังไม่มีเครื่องประดับหลังคา ถ้ามีจะมีโหง๋ (ช่อฟ้า) ลํายอง หางหงส์ สีหน้า(หน้าบัน) นิยมลายตาเว็น คันทวยมีเฉพาะบางหลังเป็นทวยขนาดค่อนข้างใหญ่ มีทั้งทวยแผงและ ทวยนาค เป็นแผงไม้ขนาดใหญ่แกะสลักทั้ง 2 ด้าน ด้านล่างของทวยจะมีเต้าไม้ยื่นออกจาก ผนังมารับตัวทวย ด้านบนยึดกับขื่อปีกนก

สิมโปร่งวัดโพธิ์พิพัฒนาราม กาฬสินธุ์ (ที่มา : สมคิด จิระทัศนกุล, 2545)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 209

(ซ้าย) สิมทึบวัดป่าเลไลย์ มหาสารคาม (ที่มา : isan.tiewrussia.com/wat_palalai/, 2558) (ขวา) สิมโปร่งวัดวัดบ้านคูซอด ศรีสะเกษ (ที่มา : www.oknation.net, 2558)

(ซ้าย) สิมทึบวัดราษีไศล ร้อยเอ็ด (ที่มา : นิธิ สถาปิตานนท์, 2555) (ขวา) สิมทึบวัดศรีชมชื่น ขอนแก่น (ที่มา : cd.m-culture.go.th/vdn/image/pic/40_23_6_1.jpg, 2558) •

สิมแบบต่างๆ

- รูปแบบสิมโถง ทรงจั่วชั้นเดียวไม่มีปีกนก มีปีกนก ไม่มีเสารับปีกนกและมีเสารับปีกนก – •

รูปแบบสิม (ที่มา : สุวิทย์ จิระมณี, 2530) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


210 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน (ที่มา : สุวิทย์ จิระมณี, 2545)

ขนาดโดยเฉลีย่ ของสิมอีสาน (ที่มา : สุวิทย์ จิระมณี 2530)

ฐานสิมแบบ เอวขันธ์ (ที่มา : สุวิทย์ จิระมณี 2530)

สิมส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก เพราะประเพณีการใช้สิมของอีสานคล้ายกับล้านนา คือ เป็นอาคาร สําหรับพระสงฆ์ทําสังฆกรรมเท่านั้น พิธีต่างๆที่ทําร่วมกับฆราวาส เช่น สวดมนต์ ฟังธรรม เลี้ยงพระ จะ ไม่ใช้สิม จะใช้วิหาร หรือ หอแจก สิมจึงมีความกว้างเฉลี่ย 4.45 ม. ยาว 7.24 ม. สูง 5.14 ม. พื้นที่สังฆ กรรม กว้าง 4.00 ม. ยาว 6.80 ม.


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 211

สิมวัดประตูชัย เขียนฮูปแต้ม (จิตรกรรม) ไว้ภายนอก เพราะข้างในแคบและมืด •

สิมแบบต่างๆ (บน) (ที่มา: วิโรฒ ศรีสุโร, 2543: 37 / Nithi Sthapitanonda, 2005) และ สิมวัดประตูชัย ร้อยเอ็ด (ล่าง) (ที่มา : bl.msu.ac.th/bailan/explore/030849/DSC03203.JPG, 2556)

สิมวัดเสมาท่าค้อ (ที่มา: isan.tiewrussia.com/wat_semathakhor/ 2558) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


212 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ธาตุ มาจากคําเต็มว่า “พระธาตุเจดีย์” เป็นความนิยมของชาวอีสานที่ไม่เรียกว่าเจดีย์ แต่จะ เรียกว่าธาตุเหมือนชาวล้านนา ธาตุอีสานแบ่งตามรูปแบบที่ปรากฏได้เป็น 6 กลุ่ม (วิโรฒ ศรีสุโร, 2539 : 9) ประกอบด้วย 1. กลุ่มฐานต่ํา เช่น พระธาตุศรีสองรัก พระธาตุขามแก่น 2. กลุ่มฐานสูง เช่น พระธาตุพนม พระธาตุเรณู 3. กลุ่มเรือนธาตุทําซุ้มจรนํา ยอดธาตุมีปลี 4 ทิศ เช่น ธาตุอานนท์ ธาตุถาดทองก่องข้าวน้อย 4. กลุ่มเรือนธาตุทําซุ้มจรนํา ยอดธาตุบัวเหลี่ยม เช่น พระธาตุบังพวน พระธาตุญาคู 5. กลุ่มยอดธาตุ 8 เหลี่ยม เช่น ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ธาตุหันเทา 6. กลุ่มย่อมุมสิบสองยอดธาตุทรงระฆังคว่ํา เช่น ธาตุเก่าวัดพระธาตุบังพวน 1. ธาตุกลุ่มฐานต่ํา เป็นรูปแบบศิลปกรรมของล้านช้างที่ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบธาตุอีสาน พบ ทั่วไปตลอดฝั่งซ้ายแม่น้ําโขง โดยเฉพาะเขตเมืองหลวงพระบาง ธาตุใช้ผังสี่เหลี่ยมตลอดองค์ ไม่เน้นให้ ส่วนฐานและเรือนธาตุสูงเด่น มวลส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นส่วนเน้นคือส่วนบัวเหลี่ยม ต่อด้วยยอดธาตุ องค์ สําคัญในกลุ่มนี้ คือ พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย ซึ่งพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง กับ พระมหา จักรพรรดิแห่งอโยธยา ได้ร่วมกันสร้างขึ้น เสร็จเมื่อ พ.ศ.2106

ธาตุอีสานแบบฐานต่ํา พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุขามแก่น จังหวัดขอนแก่น (ที่มา: painaidii.com, 2558 / www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1617207, 2558)

ธาตุอีสานแบบฐานต่ํา พระธาตุวัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด (ที่มา : www.manager.co.th, 2557)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 213

2. ธาตุกลุ่มฐานสูง เป็นรูปแบบที่มีพระธาตุพนมเป็นต้นแบบ ส่งอิทธิพลต่อธาตุจํานวนมาก หลายองค์ในอีสาน รูปแบบนี้ลักษณะโดยรวมเหมือนกลุ่มฐานต่ํา คือ ใช้ผังสี่เหลี่ยมตลอดองค์ ส่วนฐาน ส่วนเรือนธาตุ และส่วนยอดธาตุใช้ระเบียบวิธีก่อสร้างเดียวกัน ต่างกันที่สัดส่วน เพราะกลุ่มนี้จะยืดฐาน สูง ซ้อน 2 ชั้น หลายองค์ทําซุ้มประตูหลอกทั้ง 4 ด้าน เน้นส่วนเรือนธาตุให้เห็นชัด ส่วนยอดธาตุทําเป็น บัวเหลี่ยมยืดสูง มวลส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นส่วนเน้นคือส่วนฐานชั้นบน รูปทรงเพรียวสูงกว่ากลุ่มแรกมาก องค์สําคัญในกลุ่มนี้ คือ พระธาตุพนม พระธาตุวัดมหาธาตุ และพระธาตุเรณู จังหวัดนครพนม พระธาตุ เชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี สันนิษฐานว่ารูปแบบนี้เกิดจากการบูรณะพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ.2233 – 2234 ใช้ช่างจาก เวียงจันท์ ซึ่งรับอิทธิพลจากพระธาตุหลวง แต่ช่างนํามาใช้เฉพาะส่วนยอดธาตุ จึงเกิดรูปแบบใหม่ของ พระธาตุทางฝั่งขวาแม่น้ําโขง ส่งอิทธิพลไปทั่วพื้นที่อีสานตอนบนและตอนกลาง (วิโรฒ ศรีสุโร, 2539)

- พระธาตุพนม / พระมหาธาตุ / พระธาตุท่าอุเทน -

- พระธาตุเรณูนคร / พระธาตุเชิงชุม / พระพุทธบาทบัวบก / พระธาตุวัดสีแก้ว •

ธาตุอีสานกลุ่มฐานสูง (ที่มา : ภาพจากอินเตอร์เน็ต, 2558) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


214 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

3. ธาตุกลุ่มเรือนธาตุทําซุ้มจรนํา ยอดธาตุมีปลี 4 ทิศ เป็นกลุ่มธาตุที่เอารูปแบบพระธาตุ อานนท์ วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธรเป็นต้นแบบ รูปทรงยอดธาตุเป็นบัวเหลี่ยมคล้ายธาตุ 2 กลุ่มแรก แต่ เสริมปลียอดเข้าไปอีก 4 ด้าน ทําให้ดูมีมิติมากขึ้น ซับซ้อนอลังการแปลกตากว่ายอดเดี่ยว เรือนธาตุ 4 เหลี่ยม บางองค์ทําย่อมุม มีซุ้มจรนําทั้ง 4 ทิศ ฐานธาตุเป็นฐานเอวขันธ์ยกสูง ได้แก่ พระธาตุอานนท์ ยโสธร พระธาตุถาดทอง (ก่องข้าวน้อย) ยโสธร หอพระพุทธรูป วัดทุ่งสว่างชัยภูมิ พระธาตุหนองสาม หมื่น ชัยภูมิ

- พระธาตุหนองสามหมื่น / พระธาตุอานนท์ / พระธาตุถาดทอง / หอพระพุทธรูป วัดทุ่งสว่างชัยภูมิ •

ธาตุอีสานกลุ่มเรือนธาตุทําซุ้มจรนํา ยอดธาตุมีปลี 4 ทิศ (ที่มา : ภาพจากอินเตอร์เน็ต, 2558)

4. ธาตุกลุ่มเรือนธาตุทําซุ้มจรนํา ยอดธาตุบัวเหลี่ยม เป็นธาตุที่มีฐานธาตุ 4 เหลี่ยมย่อมุม เรือนธาตุ 4 เหลี่ยมทรงสูง มีซุ้มจรนํา 4 ทิศ ถัดขึ้นไปเป็นฐานเอวขันปากพาน 4 ชั้น รับชั้นบัวเหลี่ยม 2 ชั้น ปลียอดคล้ายกลุ่มที่ 3 แต่ทําเป็นอันยอดเดี่ยว พระธาตุกลุ่มนี้ในหนองคายได้แก่ พระธาตุบังพวน ใน ยโสธร ได้แก่ ธาตุบ้านทุ่งแต้ ธาตุวัดบ้านน้ําคําน้อย และธาตุญาคู วัดศรีธาตุ


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 215

- พระธาตุบังพวน / ธาตุวัดบ้านน้าํ คําน้อย / ธาตุวัดศรีธาตุ / ธาตุวัดบ้านทุ่งแต้ •

ธาตุอีสานกลุม่ เรือนธาตุทําซุ้มจรนํา ยอดธาตุบัวเหลี่ยม (ที่มา: วิโรฒ ศรีสุโร, 2539)

5. กลุ่มยอดธาตุ 8 เหลี่ยม รูปแบบโดยรวมคือ มีผังและทรงรูป 8 เหลี่ยม เรือนธาตุนิยมทํา ทรงเอวขันธ์ปากพานคอดกิ่ว โดยทําท้องไม้มีกระดูกงูรัดไว้ให้รู้สึกมั่นคง สวยงาม หน้ากระดานรูป 8 เหลี่ยมวางหงายขึ้นไปรับยอดธาตุทรง 8 เหลี่ยม มักทํากลีบบัวรองรับ ยอดธาตุมักทําเป็น 2 ชั้น ขั้นด้วย เอวขันธ์ขนาดเล็ก ปลายยอดบนสุดมีทั้งแปดเหลี่ยมและทรงกลม ธาตุกลุ่มนี้ในหนองคาย ได้แก่ พระธาตุ เก่าในวัดพระธาตุบังพวน ธาตุองค์เล็กวัดศรีชมพูองค์ตื้อ และธาตุดํา ในอุดรธานี ได้แก่ พระธาตุหันเทา

- ธาตุเก่าในวัดพระธาตุบังพวน / ธาตุองค์เล็ก วัดศรีชมพูองค์ตื้อ / ธาตุหันเทา •

ธาตุอีสานกลุม่ ยอดธาตุ 8 เหลี่ยม (ที่มา: วิโรฒ ศรีสุโร, 2539)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


216 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

6. กลุ่มย่อมุมสิบสองยอดธาตุทรงระฆังคว่ํา เป็นธาตุอีสานกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากล้านนาใน สมัยพระไชยเชษฐาธิราช ลักษณะคือ ทําเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีซุ้มจรนํา 4 ทิศ บัลลังก์เอว ขันธ์ 8 เหลี่ยม ยอดธาตุทรงระฆัง มีปล้องไฉน พระธาตุกลุ่มนี้ ได้แก่ พระธาตุเก่าในวัดพระธาตุบังพวน

ธาตุอีสานกลุม่ ย่อมุมไม้สิบสอง ยอดธาตุทรงระฆัง

ธาตุไม้ (ที่มา: วิโรฒ ศรีสโุ ร, 2539)

ธาตุไม้ สร้างขึ้นสําหรับบรรจุอัฐิหรือกระดูกของบุคคลทั่วไปหรือพระสงฆ์ ตั้งไว้ในวัด หลักการ จึงเป็นเช่นเดียวกับพระธาตุ แต่พระธาตุใช้กับพระสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ ปัจจุบันธาตุไม้ เหล่านี้ไม่ค่อยมีใครทํากันแล้ว เปลี่ยนเป็นธาตุปูนเป็นส่วนใหญ่


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 217

ชุมชนและเรือนอีสาน องค์ประกอบชุมชนและบริเวณบ้าน การตั้งถิ่นฐานในอีสานเกิดจากการรวมตัวกันในบริเวณ ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสําหรับการอยู่อาศัยและทํากิน โดยเฉพาะแหล่งน้ํา ต้องมีน้ําใช้ตลอดทั้งปี เช่น แม่น้ํา ลําคลอง หนอง บึง กุด(ลําน้ําด้วน) หรือ เลิง (มีน้ําเฉพาะหน้าฝน) ทําให้มีหมู่บ้านที่มีชื่อตาม แหล่ ง น้ํ า เช่ น หนองสอ ท่ า ขอนยาง กุ ด สิ ม เป็ น ต้ น องค์ ป ระกอบอื่ น ๆ ที่ เ อื้ อ ต่ อ การอยู่ อ าศั ย ประกอบด้วย บริเวณที่ดอน ที่สูงน้ําท่วมไม่ถึงหรือโคก สามารถทําไร่ เลี้ยงสัตว์ บริเวณป่าดง เป็นทําเล ที่ใช้ปลูกพืชไร่และหาของป่าได้สะดวก บริเวณที่ราบลุ่ม เหมาะสําหรับทํานา และเลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง ตัวหมู่บ้านจะตั้งอยู่ตามขอบ หรือแนวชายป่า บริเวณป่าละเมาะ เป็นที่โล่งกว้างใหญ่ สามารถเลี้ยงสัตว์ และหาของป่าได้ รวมทั้งล่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยมาเป็นอาหาร ในบริเวณภาคอีสานตอนกลาง เกิดเป็น ชุมชนขึ้นใน 2 ลักษณะ (สุวิทย์ จิระมณี, 2545) ได้แก่ 1. ชุ ม ชนระดั บ เมื อ ง เกิ ด ขึ้ น จากการอพยพเป็ น กลุ่ ม ใหญ่ มี ผู้ นํ า พาครั ว เรื อ นมาตั้ ง บ้านเมืองเป็นเวลาหลายชั่วคนต่อเนื่องมา มีสถานะเป็นเมือง มีเจ้าเมืองปกครอง เช่น เมืองสุวรรณภูมิ เมืองร้อยเอ็ด 2. ชุมชนในชนบท เป็นชุมชนขนาดเล็ก เกิดขึ้นใหม่หรือระยะไม่นาน แต่ห่างไกลจาก ชุมชนเมือง โดดเดี่ยวและพึ่งพาตนเอง เพาะปลูกแบบยังชีพและหาของป่า ต่อมาเมื่อมีคนมากขึ้นเกิด เป็นชุมชนใหญ่ พบทั่วไปในอีสาน การตั้งบ้านเรือนของชาวอีสานเป็นระบบเครือญาติของสังคมชาวนา ตั้งเป็นกลุ่มๆกระจาย ตามแนวแม่น้ํา ลําคลอง ถนน หรือริมหนองน้ํา มีถนนเชื่อมกันระหว่างหมู่บ้าน รอบๆหมู่บ้านล้อมด้วย ป่าไม้และทุ่งนา จากการศึกษาของสุวิทย์ จิระมณี (2545) พบว่าหมู่บ้านเริ่มจากครัวเรือนของคนใน ท้องถิ่นรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน เมื่อเวลาผ่านไปคนหนาแน่นขึ้น บางแห่งจะแยกออกไปเลือกทําเลตั้ง หมู่บ้านขึ้นใหม่ ไม่ไกลจากหมู่บ้านเดิม ไปมาหาสู่กันได้สะดวก และเรียกหมู่บ้านเดิมว่า “บ้านใหญ่” หมู่บ้านที่ตั้งมานานหลายชั่วอายุคน หนาแน่นมากจนทําให้การสัญจรภายในไม่สะดวก จึงมี การพัฒนาหมู่บ้านโดยการตัดถนนตามแนวกว้างยาวเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม เรียกว่า “คุ้ม” ตั้งชื่อให้เรียก เช่น คุ้มเหนือ คุ้มใต้ เป็นต้น มีถนนที่ตัดขึ้นใหม่เป็นตัวเชื่อมระหว่างคุ้ม ลักษณะหมู่บ้านในอีสาน คือ ตัวบ้านตั้งเกาะกลุ่มกัน มีไร่นาอยู่รอบๆหมู่บ้าน องค์ประกอบ หมู่บ้านคือ กลุ่มบ้าน ที่พักอาศัยของคนในหมู่บ้าน วัด สําหรับกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน ศาลปู่ตา สร้างเป็นตูบขนาดเล็กไว้เป็นที่สถิตของผีบรรพบุรุษ ช่วยคุ้มครองภัยพิบัติ เลือกที่ตั้งที่เป็นโคก น้ําท่วมไม่ ถึง มีต้นไม้ใหญ่เป็นดง เรียกว่า “ดงปู่ตา” ทําพิธีเลี้ยงผีปู่ตาในเดือนเจ็ด ศาลากลางบ้าน เป็นศาลาโถง ตั้งอยู่ริมทางที่เป็นศูนย์กลางหมู่บ้าน เป็นที่จัดกิจกรรมอเนกประสงค์ของชุมชน หลักบ้าน หรือ บือบ้าน เป็นเสาหลักของหมู่บ้าน เช่นเดียวกับเสาหลักเมือง ทําจากไม้มงคล เช่น ไม้คูณ ไม้ยอ รูปแบบง่ายๆ ไม่ ตายตัว อาจมีหลักประธานและหลักบริวารรอบๆ ทําพิธีไหว้เป็นประจํา ร้านค้า สําหรับขายสินค้า ตั้งอยู่ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


218 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ริมทางภายในหมู่บ้าน รูปแบบอาจเป็นเพิง เปิดโล่ง มีที่วางสินค้าสําหรับขาย หรือเป็นแบบเรือน วางตัว เรื อ นตามยาวขนานกั บ ทางสั ญจร เพื่ อเปิ ด หน้ า ถั ง ตลอดความยาวเรื อ นเพื่ อ การค้ า ขาย โรงเรี ย น องค์ประกอบใหม่ที่เกิดขึ้นสําหรับการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นแบ่งพื้นที่ออกจากวัด หรือใช้ที่วัด เขตราชการ สถานที่ตั้งของส่วนราชการ เช่น อนามัย เกษตร หรือที่ทําการปกครอง เขตอุตสาหกรรม หลายแห่งมี โรงงานหรือสถานประกอบการอื่นๆเข้าไปตั้ง อาศัยแรงงานจากในหมู่บ้าน และพื้นที่สาธารณะ สําหรับ ทุกคนในชุมชนได้ใช้ และจัดกิจกรรมของหมู่บ้าน

หลักบ้าน หรือ บือบ้าน (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

ศาลปู่ตา (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

ศาลากลางบ้านกับพิธีไหว้หลักบ้าน (ที่มา: www.phibun.com/thai_tradition/, 2558) •


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 219

ร้านค้า (ที่มา: วิโรฒ ศรีสุโร, 2543)

ส่วนภายในบริเวณบ้านจะประกอบด้วย เรือน(เฮือน) ที่พักอาศัย อาจมีหลังเดียวหรือหลาย หลัง ที่เป็นญาติกันในบริเวณเดียวกัน วางกระจายไม่มีระเบียบหรือแนวแกน ระยะห่างระหว่างหลังไม่ แน่นอน แล้วแต่พื้นที่จะอํานวย แต่ทุกหลังจะวางแนวสันหลังคาไปทางทิศตะวันออก – ตกเสมอตาม ความเชื่อ และไม่มีรั้วกั้นระหว่างหลัง เล้าข้าว (ยุ้งข้าว) อาคารสําหรับเก็บข้างเปลือก จะมีทุกหลัง ของ ใครของมัน ส่วนใหญ่วางขนานกับตัวเรือนด้านเหนือหรือใต้ ลานบ้าน ใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างอาคารแต่ ละหลัง แต่บางช่วงจะปล่อยเป็นลานกว้างเพื่อใช้งานต่างๆ เช่น ตากพืชผล พบปะสังสรรค์ พิธีกรรม ต่ างๆ ตากฟื น ตลอดจนเป็ น ที่ วิ่ งเล่ น ของเด็ ก และสวนครั ว สํ าหรั บ ปลู กพลู และผั กใช้ เ ป็ น อาหาร ตําแหน่งของสวนครัวในผังบริเวณบ้านไม่แน่นอน แล้วแต่พื้นที่จะอํานวย

รั้วบ้าน และลานบ้าน (ที่มา: วิโรฒ ศรีสุโร, 2543)

เล้าข้าว (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


220 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ประเภทของเฮือนอีสาน รูปแบบเฮือนอีสานแบ่งตามลักษณะการใช้ การก่อสร้างและวัสดุ ได้ 3 ประเภท (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538) ดังนี้ 1. ประเภทเฮือนชั่วคราว อาคารที่ใช้เฉพาะบางฤดูกาล บางช่วงเวลา ได้แก่ เถียงนา หรือเถียงไร่ ยกพื้นสูง เสาไม้จริงโครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาหรือแป้นมุงเก่าที่รื้อมาจากเรือน พื้นฟาก สับ ถ้าไม่ค้างจะไม่ตีฝา แต่ถ้านาอยู่ไกลบ้านไปกลับไม่ไหว ต้ องค้างคืนก็จ ะกั้นฝาด้วยแถบตอง เป็ น ใบตองซาด(ต้นเหียง) หรือใบกุง (ใบพลวง) ขนาบด้วยไม้ไผ่สาน ใช้ได้ 1-2 ปีก็ต้องเปลี่ยน เรียก ตูบเฝ้า นา ช่วงดํานาหรือเกี่ยวข้าว ซึ่งต้องไปอยู่หลายวัน มักจะกั้นพื้นที่ทําเป็นครัวไฟ อาจมีคอกเลี้ยงสัตว์จน คล้ายเป็นเรือนพัก 2. ประเภทเฮือนกึ่งถาวร (เฮือนเหย้า หรือ เฮือนย้าว หรือ เย่าเรือน) เป็นเรือนประเภท เรือนเครื่องผูก หมายถึงกระท่อมหรือเรือนขนาดเล็ก ไม่มั่นคงและไม่พิถีพิถันการก่อสร้างนัก สําหรับผู้มี ฐานะยากจนหรือผู้ที่กําลังสร้างตัวสร้างฐานะได้อาศัยก่อนจะมีเงินมีกําลังพอที่จะปลูกเรือนแบบถาวรอยู่ ต่อไป ได้แก่ ตูบต่อเล้า คือ ตูบที่อาศัยโครงสร้างของเล้าข้าว ต่อหลังคาออกไปด้านข้าง ใช้เสาไม้จริงรับ 2-3 ต้น มุงหลังคาสังกะสีหรือหญ้าคา ทํายกพื้น กั้นฝาง่ายๆด้วยแถบตอง หรือสังกะสี หรือไม้แป้น สําหรับคู่ แต่งงาน ยังไม่มีที่ดิน มีเรือนของตัว อาศัยเล้าข้าวของพ่อแม่อาศัยไปก่อน เมื่อตั้งตัวได้มีฐานะค่อยย้าย ออกไปปลูกเรือนใหม่ ส่วนนี้พ่อแม่ก็จะใช้นั่งเล่นนอนเล่นยามกลางวันร้อนๆได้ต่อ ดั้งต่อดิน เป็นอาคารเรือนพักสร้างง่ายๆขนาดเล็กสําหรับครอบครัวใหม่แบบเดียวกับตูบต่อเล้า แต่เป็นสัดเป็นส่วนดีกว่า ใช้ไม้จริงง่ายๆทําเสา ฝาแถบตอง พื้นฟาก เสากลางด้านสกัดจะวิ่งยาวขึ้นไปรับ อกไก่จึงเรียกว่าดั้งต่อดิน “ดั้งต่อดิน” หมายถึง เสาที่ตั้งดินต่อยาวเลยขื่อขึ้นไปรับอกไก่ท่อนเดียว ดั้งต่อขื่อ (ดั้งต่อคาน) หรือ ดั้งตั้งขื่อ คล้ายเรือนประเภทดั้งต่อดิน แต่ขนาดใหญ่กว่า ต่างกันที่ ดั้งไม่ต่อยาวลงมาจนถึงดิน แต่จะพักอยู่ที่คานด้านสกัดหรือขื่อ 3. ประเภทเฮือนถาวร คือเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานอย่างถาวร ใช้วัสดุจําพวกไม้จริง ให้ ความสําคัญกับรูปแบบ พื้นที่ใช้สอยและการก่อสร้างมากกว่าสองแบบแรก โครงสร้างไม้เนื้อแข็ง ฝาไม้ กระดาน(แอ้มแป้น) หลังคาจั่วมุงแป้นเกล็ดแล้วเปลี่ยนเป็นสังกะสีในภายหลัง พื้นไม้กระดาน ได้แก่ เล้าข้าว เรือนยุ้งข้าวสําหรับเก็บข้าวเปลือก ทําเป็นเรือนยกพื้นสูง ใช้ไม้จริง แข็งแรง เพราะ รับน้ําหนักมาก หลังคาจั่วมุงแป้นมุง กระเบื้องดินขอ จนถึงสังกะสี ฝาเรือนส่วนใหญ่เป็นแป้นไม้ (ไม้ กระดาน) เพราะต้องการความแข็งแรง ตีไม้เคร่าฝาไว้ด้านนอกเพื่อรับน้ําหนักข้าวเปลือกจากด้านในเช่น เดียวยุ้งข้าวของล้านนา เฮือนเกย คือ เรือนจั่วเดี่ยว แล้วต่อปีกนกหลังคาด้านหน้าเรือนให้ยาวออกไปคลุมพื้นที่ใช้สอย ด้านหน้าเรือน เรียกพื้นที่ส่วนนี้ว่า เกย (เกย=พาด) ลักษณะเดียวกับระเบียงในเรือนไทยภาคกลาง


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 221

เฮือนแฝด คือ เรือนจั่วแฝดชนิดวางชิดกัน เรือนแฝดจะฝากขื่อและคานไว้กับเรือนใหญ่ ทํา พื้นเสมอกัน ไม่สามารถแยกเรือนแฝดออกไปตั้งเองได้เพราะโครงสร้างเสาไม่สมบูรณ์ อาศัยเรือนใหญ่อยู่ เฮือนแฝดนี้ ส่วนใหญ่จะมีหน้าตาเหมือนหรือใกล้เคียงกับเรือนใหญ่ ขนาดก็มักจะใกล้เคียงกัน เฮือนโข่ ง คือ เรือนจั่วแฝดคล้ายเฮือนแฝด แต่แยกโครงสร้างออกจากกัน พื้นอาจมีระดับ เดียวกันหรือต่างระดับ สามารถรื้อย้ายเรือนโข่งไปสร้างที่อื่นได้ องค์ประกอบของตัวเรือนทั้ง 3 แบบ เหมือนกับ ดังนี้ - เฮือนใหญ่ มักทํา 3 ห้อง (ช่วงเสา) ภายในมักแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วนคือ ห้องพ่อแม่ อาจกั้น เป็นห้องหรือเปิดโล่ง ห้องเปิง เป็นห้องพระและส่วนนอนของลูกชาย มักเปิดโล่งไม่กั้นฝา และห้องนอนลูกสาว หรือ ส่วม ถ้าลูกสาวแต่งงานก็ให้ลูกเขยนอนในห้องนี้ - เฮือนแฝด รูปร่างหน้าตาเหมือนเฮือนใหญ่ จั่วแฝดที่วางชิดกันมี ฮังริน หรือรางน้ําวิ่งกลาง - เกย หรือชานโล่ง ลักษณะเหมือนระเบียง พื้นลดระดับจากเฮือนใหญ่ ใช้นั่งพักผ่อน ทํางาน บ้าน ทานอาหารและให้แขกนอน - ชานแดด ชานโล่งไม่มีหลังคาคลุม ต่อจากเกยออกไป ลดระดับพื้นลงขนาดนั่งแล้ววางขา ได้พอดี ใช้นั่งเล่นหรือทานอาหารยามเย็นได้ และใช้งานเอนกประสงค์ บ้างก็ทําราวกันตก บ้างก็ไม่ บันไดเรือนจะพาดขึ้นมาส่วนนี้ก่อน - เฮือนไฟ เรือนครัวที่มักทําเป็นเรือนเล็กสองช่วงเสา มักเปิดจั่วให้ระบายควัน ฝาขัดแตะ โปร่งระบายอากาศ - ฮ้านน้ํา หรือ ฮ้านแอ่งน้ํา ทําเป็นเพิงยกระดับสําหรับคนตักได้พอดี คล้ายของเรือนล้านนา

เถียงนา (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

เฮือนเหย้าแบบตูบต่อเล้า (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538 / http://piyaphontobsee.blogspot.com, 2558) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


222 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• เฮือนเหย้าแบบดั้งตั้งขื่อและดั้งตั้งดิน (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

• รูปแบบเฮือนเหย้าแบบดั้งตั้งขื่อ

• รูปแบบเฮือนเกย

• เฮือนเกย (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 223

• รูปแบบเฮือนแฝด

• เฮือนแฝด (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

• รูปแบบเฮือนโข่ง (ที่มา: อรศิริ ปาณินท์, 2543)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


224 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• เฮือนโข่ง (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

• เฮือนโข่ง (ที่มา: http://piyaphontobsee.blogspot.com, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 225

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างเรือน

1. บันได 2. ชาน ชานแดด ชานร่ม 3. ฮ้านแอ่งน้ํา 4. เกย

5. ฮางริน 6. เรือนโข่ง 7. เรือนใหญ่ 8. ห้องเปิง (ห้องพระ)

9. ห้องนอนพ่อแม่ 10. ห้องส่วม 11. ครัวไฟ

• องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนอีสาน (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)

บันได ทางขึ้นเรือน เรือนพื้นถิ่นอีสานทําบันไดอยู่ภายนอกเรือน ขึ้นสู่ชานแดดหรือชานร่มก่อน เข้าภายในเรือน เช่นเดียวกับเรือนพื้นถิ่นไทยทั่วไป ทําเป็นบันไดโปร่ง เบา แม่บันได ลูกขั้นเป็นไม้ไผ่ หรือ ไม้เนื้อแข็ง กว้างประมาณ 0.60 – 0.70 ม. เอกลักษณ์บันไดเรือนพื้นถิ่นอีสานคือ ไม่ติดตาย น้ําหนักเบา ทําให้ยกออกหรือชักขึ้นบนเรือนได้ เพื่อกันหมาขึ้นบนเรือน เวลาจะออกจากเรือน ลงมาแล้วจะยกออกพิง ไว้ที่รั้วหรือต้นไม้ เพื่อกันหมาแต่กลายเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่บอกคนที่มาเยือนว่าไม่มีใครอยู่บน เรือน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


224 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• บันไดเฮือนอีสาน (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

ชาน ชานแดด ชานร่ม เป็นพื้นที่ส่วนเปิดโล่งไม่ตีฝาของเรือน ยกพื้นใต้ถุนโล่ง แต่น้อยกว่า ระดับพื้นเรือน ต่ํากว่าพื้นเรือนประมาณ 0.20 – 0.25 ม. ชานที่มีหลังคาคลุมเรียกชานร่ม ชานที่ไม่มี หลังคาคลุมเรียกชานแดด ทั้งชานร่ม ชานแดด จะตีพื้นเว้นร่อง เป็นพื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์ ทั้งนั่ง พักผ่อนยามเย็นหรือกลางคืน เพราะโปร่งโล่งไม่อุดอู้เหมือนในเรือน ใช้ซักล้าง เพราะเป็นส่วนเชื่อมกับ เฮือนไฟ ใช้ตากผ้า ตากพืชผล วางกระบะสวนครัวหรือไม้ดอกไม้ประดับ และเป็นที่ตั้งของฮ้านแอ่งน้ํา

• ชานแดดเชื่อมเกยของเฮือนใหญ่กบั เฮือนไฟ (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 225

ฮ้านแอ่งน้ํา ที่ตั้งหม้อน้ํา สําหรับดื่มกินอยู่ด้านหน้าเรือน และสําหรับทําครัวอยู่ใกล้เฮือนไฟ ฮ้านแอ่งน้ําสําหรับดื่มกินมักทําเป็นชั้นวาง สูงจากพื้นพอประมาณ ให้ตักได้สะดวก มีโครงสร้างขึ้นมารับ มีหลังคาคลุม

• ฮ้านแอ่งน้ํา (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538 / วิโรฒ ศรีสโุ ร, 2543)

เกย พื้นที่แคบยาวที่ต่อยื่นออกมาจากห้อง หรือพื้นที่ “ระเบียง” ในเรือนไทยภาคกลาง ความ กว้าง 2 – 3 เมตร ยาวเท่ากับตัวเรือน เป็นพื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์เช่นเดียวกับ “เติ๋น” ในเรือนล้านนา ได้แก่ พักผ่อน รับแขก นอนเล่น และกิจกรรมต่างๆ ในเรือนบางหลัง ไม่มีเฮือนไฟ จะใช้ตอนปลายสุดทํา ครัว และกินอาหาร เรือนโข่ง เป็นเรือนระเบียง ตั้งคู่กับเรือนใหญ่ (เรือนนอน) เป็นโถงโล่งไม่กั้นห้อง มีโครงสร้าง แยกต่างหากจากเรือนใหญ่ ย้ายไปตั้งที่อื่นได้ ใช้งานอเนกประสงค์เช่นเดียวกับเกย แต่มีพื้นที่มากกว่า เกย เรือนใหญ่ (เรือนนอน) ส่วนเดียวของเรือนที่ตีฝาปิดล้อมทุกด้าน ทําช่องประตู หน้าต่าง ส่วน ใหญ่ประตูจะมี 2 ช่อง ขนาดเล็ก เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเจ้าของ ภายในส่วนใหญ่จะกั้นห้องภายในเป็น 3 ห้องเรียงกัน คือห้องเปิง ห้องนอนพ่อแม่ และห้องส่วม ฝากั้นทําด้วยไม้ไผ่สานหรือไม้กระดาน สูงแค่หัว หรือประมาณ 1.70 – 1.80 ม. พื้นเรือนส่วนใหญ่เป็นไม้กระดาน ปูตามขวาง เรือนใหญ่จะหันด้านสกัด ทางทิ ศตะวั น ออก ตะวั น ตก ทํ าให้คนจะนอนหั น หัว ไปทางเหนื อหรื อใต้ เสมอ และนอนตามแนวไม้ กระดานปูพื้น ห้องเปิง (ห้องพระ) ห้องนี้จะอยู่ทางด้านตะวันออกของเรือนใหญ่ เป็นหนึ่งในห้องนอนซึ่งวาง เรียงกันอยู่บนเรือน มีหิ้งพระสําหรับตั้งพระพุทธรูปและสิ่งเคารพบูชา เป็นส่วนหวงห้ามของบ้านที่คน นอกไม่เข้าไป แม้แต่ลูกเขยลูกสะใภ้ ใครล่วงล้ําเข้าไปถือเป็น “ผู้ล่วงเปิง” (สุวิทย์ จิระมณี, 2545: 64) นอกจากนี้ ห้องเปิงยังใช้เป็นห้องนอนของลูกชายอีกด้วย สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


226 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ห้องนอนพ่อแม่ ห้องนี้อยู่กลางเรือนของกลุ่มห้องนอนที่วางเรียงกันในเรือนใหญ่ พ่อแม่นอน ห้องนี้ และใช้เก็บของมีค่า ห้องส่วม ห้องนอนลูกสาวและเก็บของใช้ในครัวเรือน เป็นห้องด้านตะวันตกของเรือน เมื่อลูก สาวแต่งงาน ห้องนี้จะใช้เป็นห้องนอนลูกสาวลูกเขยที่แต่งงานใหม่ ที่จะอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่ง ก่อนแยกออกไปมีเรือนใหม่ของตัวเอง ครัวไฟ มีทั้งลักษณะที่ทําเป็นเรือนแยกจากเรือนใหญ่ เชื่อมกันด้วยชานแดด และการใช้พื้นที่ บางส่วนบนเรือนใหญ่ กรณีเป็นเรือนแยก มักเป็นเรือน 2-3 ห้อง หลังคาจั่ว หน้าจั่วทําให้โปร่งด้วยการตี ไม้เว้นช่องให้ควันระบายออกไปได้ นิยมใช้ฝาฟากขัดแตะโปร่งเพื่อระบายลมและควัน ใกล้ๆมักมีชาน วางโอ่งน้ําไว้ล้างจานชามหม้อ และวางกระบะปลูกผักสําหรับประกอบอาหาร กรณีใช้พื้นที่บนเรือนใหญ่ ที่เป็นเรือนเกย จะใช้ส่วนท้ายสุดของเกย ติดกับชานแดดและฮ้านแอ่งน้ํา ต่อหลังคาและพื้นออกไป มีฝา ปิดล้อม พื้นที่เกยส่วนที่ติดกับครัวไฟจะใช้เป็นที่นั่งกินอาหาร กรณีที่เป็นเรือนโข่ง จะต่อพื้นและหลังคา จากเรือนโข่งหรือเรือนใหญ่ด้านหน้าหรือหลังใช้เป็นครัว

• ลักษณะการวางครัวไฟแบบใช้พื้นที่บนเรือน (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)

• องค์ประกอบเฮือนอีสาน : เกย (ระเบียง) และห้องนอนบนเฮือนใหญ่ (ที่มา: วิโรฒ ศรีสุโร, 2543)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 227

• เฮือนไฟ (ครัว) แบบเรือนแยก (ที่มา: ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, 2543)

โครงสร้างเรือน เฮือนอีสานใช้รูปแบบโครงสร้างคล้ายกับเรือนไม้ทั่วไป คือ เป็นระบบเสา คาน ตง พื้น แต่มีชื่อเรียกองค์ประกอบต่างๆที่ต่างไป รวมทั้งเทคนิคบางประการที่เป็นแบบเฉพาะตัว ดังนี้ เสา เป็นเสาไม้ ขุดหลุมฝังลงดินประมาณ 0.60 – 0.80 ม. ส่วนใหญ่เป็นเสา 8 เหลี่ยมที่แปร รูปง่ายๆด้วยเครื่องมือช่างชาวบ้าน มีประเพณีการตั้งเสาแฮก เสาขวัญ (เสาเอก เสาโท) เป็นเสาแรก และเสาที่สองที่ยกขึ้นเสาต้นอื่นๆ โดยทําพิธีผูกเสาด้วยสิ่งมงคลหลายอย่าง เช่น ใบยอ ใบคูณ ยอดอ้อย ต้นกล้วย ฯลฯ ตําแหน่งของเสาแฮก เสาขวัญจะอยู่ด้านตะวันออกของเรือนใหญ่ เสาแฮกอยู่ด้านใน เสา ขวัญอยู่ด้านนอก เสาค้ํา คือเสาสั้น ตั้งรับช่วงกลางของขาง (รอด) กรณีช่วงเสากว้างและขางจะรับน้ําหนักไม่ได้ ตกท้องช้าง ขาง (รอด) ทําจากไม้เนื้อแข็งขนาดประมาณ 2” x 6” สอดในรูเสาที่เจาะรอไว้ หัวขางจะยื่น เลยเสาแนวนอกออกไปเล็กน้อย ขางทําหน้าที่รับตงเพื่อรับพื้นเรือนอีกทอดหนึ่ง ตง ทําจากไม้เนื้อแข็ง ขนาด 2” x 4” ถึง 4” x 4” วางบนขาง ระยะห่างประมาณ 0.40 – 0.50 ม. ทําหน้าที่รับพื้น แป้นเฮือน (พื้นเรือน) ไม้เนื้อแข็ง หน้ากว้างประมาณ 6” หนา 1”- 2” ไม้กระดานปูบนตงทํา หน้าที่เป็นพื้นเรือน แม่แข่ ทําจากไม้เนื้อแข็ง หน้ากว้างประมาณ 6” หนา 2.5” วางขวางไม้พื้นสําหรับต่อไม้พื้น ทําหน้าที่เป็นไม้บังคับและเก็บหัวไม้กระดานพื้น กะทอด ทําจากไม้เนื้อแข็ง ทําหน้าที่เหมือนพรึงในเรือนไทยภาคกลาง คือ รัดเสาโดยรอบทั้ง 4 ด้าน ปิดหัวตงและพื้น และตั้ง/ยึดไม้เซ็น (เคร่าฝา) เซ็น (เคร่าฝา) ไม้สําหรับตียึดฝาเรือน มีทั้งเซ็นตั้ง เซ็นนอน ฝาเรือน ปิดล้อมพื้นที่ มีหลายประเภทจากวัสดุที่ใช้ทํา คือ ฝาแอ้มแป้น ฝาแถบตอง ฝาแอ้ม ฟาก ฝาลายคุบ ลายขัด (ไม้ไผ่สาน) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


228 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• โครงสร้างพื้น (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)

• เสาแบบต่างๆ (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)

• โครงสร้างหลังคา (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 229

โครงสร้างหลังคา เรือนอีสานส่วนใหญ่ทําด้วยไม้ มุงด้วยหญ้า แป้นมุง (ไม้) และสังกะสี เป็น ทรงจั่ว องศาไม่ สูงชันแบบภาคกลาง โดยเฉพาะเมื่อมีสังกะสีใช้ได้ ในราคาถูกกว่าแป้นมุงแล้ว องศา หลังคายิ่งแบนราบลงกว่าเดิม ใช้ไม้ทําโครงหลังคาน้อยลง โดยเฉพาะแปหรือระแนงสําหรับมุงกระเบื้อง ลดลงมากเพราะสังกะสีช่วงยาวกว่ามาก น้ําหนักเบา ประหยัดทั้งวัสดุมุงราคาถูกและไม้ทําโครงหลังคา จึงนิยมใช้กันมากตามสภาพเศรษฐกิจ ฝาเรือน ฝาของเรือนอีสานมีหลายชนิด ตามวัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ และตามกําลังของเจ้าของ เรือน ประกอบด้วย ฝาแอ้มแป้น ฝาแอ้มฟาก ฝาแถบตอง ฝาลายคุบ ดังนี้ - ฝาแอ้มแป้น คือ ฝาไม้กระดาน หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้ว มี 2 แบบ คือ ฝาไม้ลายตั้ง เริ่มใช้เมื่อมีตะปูใช้แล้ว ใช้เซ็นตั้ง (ไม้เคร่าตั้ง) ตียึดกับกะทอด ตีเซ็นนอน (เคร่านอน) ยึดกับเซ็นตั้ง แล้ว ใช้ไม้กระดานตีตามตั้งยึดกับเซ็นนอน และ ฝาไม้ลายนอน คือ ฝาไม้กระดานสมัยใหม่ หรือใช้กันใน ปัจจุบัน ใช้ไม้กระดานตีนอนซ้อนเกล็ด กันฝนได้ - ฝาแถบตอง คือ ฝาที่ทําจากใบกุง (พลวง) หรือใบชาด มาวางเรียงกันขนาบประกบสอง ข้างด้วยไม้ไผ่สานตาตารางโปร่ง เรียกว่า แถบตอง - ฝาแอ้มฟาก คือ ฝาฟากไม้ไผ่ ถ้าตีเอาผิวไม้ออกข้างนอก จะได้ความทนทานใช้ได้นาน แต่ขี้มอดกินไม้จะตกอยู่ภายในเรือน แต่ถ้าตีเอาผิวเข้าข้างใน ขี้มอดที่กินไม้จะตกออกนอกเรือน แต่ไม่ ทน - ฝาลายคุบ คือ ฝาไม้ไผ่สานลายสอง ใช้เซ็นตั้ง (ไม้เคร่าตั้ง) ปะกบแล้วสอดเคร่าเข้าในกะ ทอด โดยไม่ใช้ตะปูเลย

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


230 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

- ฝาแอ้มฟาก -

- ฝาแถบตอง -

• ฝาเรือนแบบต่างๆ (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545 / สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

• ลวดลายสีหน้า (หน้าจั่ว) แบบต่างๆ (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 231

• ยอดป้านลมแบบต่างๆ (ที่มา: สุวิทย์ จิระมณี, 2545)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


232 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 233

7 สถาปัตยกรรมพืน ้ ถิน ่ ใต้ ดิน แดนภาคใต้ของประเทศไทย พื้น ที่แคบยาวตามแนวเหนื อใต้ มี ทะเลขนาบทั้ งสองข้ าง ในทางภูมิศาสตร์โลก พื้นที่แหลมมลายูคือดินแดนที่อยู่กึ่งกลางของเส้นทางระหว่างอินเดียกับจีน จึง กลายเป็นจุดแวะพักกลางทาง ทําให้มีหลากหลายวัฒนธรรมไหลเข้ามา แต่เป็นการเข้ามาแบบตามยุค ตามสมัย แล้วผสมผสานกันอยู่ในพื้นที่แบบที่ต่างวัฒนธรรมต่างอยู่ในกลุ่มของตน มีความชัดเจนในแบบ ของตน ไม่ ได้ ผ สมผสานแบบกลื น กั น มากนั ก กลายเป็ น ความหลากหลายทางวั ฒ นธรรมของพื้ น ที่ วัฒนธรรมที่เข้าตามระยะเวลา ดังนี้ วัฒนธรรมฟูนัน วัฒนธรรมแรกที่เข้ามาสู่ภาคใต้ เก่าแก่จนไม่มีซากอาคารเหลืออยู่ อาณาจักรฟูนันหรือฟูนานเป็นอาณาจักรหรือรัฐแรกของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 6 เจริญสูงสุดแล้วตกต่ําลงจนล่มสลายราวศตวรรษที่ 11 ที่ตั้งของอาณาจักรฟูนันกว้าง ใหญ่มาก เป็นบริเวณลุ่มแม่น้ําโขงตอนล่าง ตั้งแต่พื้นที่เวียดนามตอนใต้ กัมพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาบางส่วน ภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ศูนย์กลางของอาณาจักรไม่ ทราบชัดแต่น่าจะไม่ได้อยู่ในภาคใต้ แต่พบร่องรอยอารยธรรมในภาคใต้เป็นพวกเหรียญโลหะ ไม่พบซาก อาคาร ในช่วงเวลานั้น ความเจริญในภาคใต้อยู่ที่เมืองปัตตานี เพราะเป็นเมืองท่า จุดพักแลกเปลี่ยนหรือ ซื้อขายสินค้าของพ่อค้าจีน อินเดีย และหมู่เกาะใกล้เคียง วัฒนธรรมอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 10 – 12) – รับพุทธและพราหมณ์ ชาวอินเดียเรียกแหลมมลายูว่าแหลมทอง หรือสุวรรณภูมิ ดินแดนที่ไปถึงยาก ท้าทาย แต่ไป แล้วจะประสบความสําเร็จ มั่งคั่งร่ํารวย เหมือนมีค่าดั่งทอง จึงเดินทางมากันมากเพื่อเสี่ยงโชค ติดต่อ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


234 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ค้าขาย รวมทั้งเป็นจุดพักก่อนเดินทางต่อไปค้าขายในดินแดนอื่นต่อไป มีการนําวัฒนธรรมอินเดียหลาย อย่างเข้ามาเผยแพร่ในภาคใต้ เช่น ตัวอักษร วรรณคดี ความเชื่อ ประเพณี ศิลปะ และศาสนา คือ ศาสนา พุทธ และศาสนาพราหมณ์ วัฒนธรรมศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-16) - รับวัฒนธรรมพุทธมหายานและมอญ อาณาจักรศรีวิชัยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมทั้งแหลมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่อง แคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และภาคใต้ของไทย เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทางการค้าทางทะเล กองทัพ เรือ ที่เข้ม แข็ง ศูน ย์ก ลางของอาณาจักรอาจจะอยู่ที่เมือ งปาเล็ม บัง บนเกาะสุม าตรา หรือ เมือ งไชยา จัง หวัด สุร าษฎร์ธ านี เพราะพบหลัก ฐานเป็น ซากอาคาร ศิล าจารึก และพระพุท ธรูป โบราณจํานวนมาก จนนักประวัติศาสตร์ไทยว่า เมืองไชยาน่าจะเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย แต่ จากความในจารึกกาลาสัน พ.ศ.1322 ทําให้เชื่อได้ว่า เมืองไชยาเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย มีฐานะเป็นเมืองท่าสําคัญของอาณาจักร เช่นเดียวกับเมืองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช ) ที่มีฐานะ เป็นเมืองประเทศราชในอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาในอาณาจักรศรีวิชัย เจริญรุ่งเรืองมาก ปรากฏหลักฐานในการสร้างพระบรม ธาตุสําคัญที่เมืองตามพรลิงค์และเมืองไชยา พบพระพุทธรูปอวโลกิเตศวรที่เมืองไชยา และพระธรรม คัมภีร์ในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่เข้ามาในช่วงนี้ อาณาจัก รศรีวิชัย เสื่อมอํานาจลงในต้น พุทธศตวรรษที่ 19 โดยอาณาจัก รมัช ปาหิต ซึ่ง มี อํานาจอยู่ในเกาะชวาขยายอาณาเขตเข้ามาครอบครองดินแดนของอาณาจักรศรีวิชัย วัฒนธรรมลังกา - รับพุทธเถรวาท พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามายังแหลมมลายู ราวศตวรรษที่ 17 กษัตริย์ลังกาโปรดให้ พระอานัน ทะเดิน ทางมาเผยแพร่ศาสนาที่เมืองตามพรลิง ค์ ซึ่งเป็น พุทธมหายานมาก่อ น และหลัง การทําสังคายนาครั้งที่ 4 ในลังกา (ราวพ.ศ.1696) พระสงฆ์ลังกาหลายรูปได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่ ศาสนาในดินแดนแหลมทอง เป็นการเปลี่ยนแปลงพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทครั้งสําคัญ เมืองตาม พรลิงค์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางศาสนาพราหมณ์ กลายมาเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาลังกาวงศ์ ชื่อเมือง จึงเปลี่ย นเป็น “นครศรีธ รรมราช” (ประทุม ชุ่มเพ็งพัน ธ์, 2549: 115) พระชาวลังกาใช้เป็นฐานใน การเผยแพร่ศาสนาร่วมกับเมืองสะเทิม หงสาวดี และเมาะตะมะ มีเรือสําเภาเดินทางติดต่อกับเมือง ลังกาอยู่เสมอ ติดต่อเปอร์เซีย - รับศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอาหรับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ชาวเปอร์เซียนําศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ที่เกาะสุมาตรา แหลม มลายูและประเทศอินโดนีเซีย และเผยแพร่เข้าสู่ภาคใต้ของไทยในศตวรรษที่ 20 ชาวพื้นเมืองภาคใต้ หันมานับถือศาสนาอิสลามกันเป็นจํานวนมาก


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 235

วัฒนธรรมขอม – ผ่านอยุธยา ช่ว งที่อยุธยามีอิทธิพลเหนือภาคใต้ วัฒนธรรมขอมที่มีอิทธิพลต่ออยุธ ยาได้ถูกส่งต่อลงใน ภาคใต้ ปรากฏเป็นหลักฐานหลายประการในพื้นที่ วัฒนธรรมจีน ตั ้ง แต่ส มัย อยุธ ยาตอนปลายจนถึง สมัย รัช กาลที ่ 5 ชาวจีน จํ า นวนมากอพยพจากจีน แผ่น ดินใหญ่ล งมาตั้งถิ่นฐานในส่ว นต่า งๆของไทยรวมทั้งภาคใต้ ส่ว นใหญ่ที่ม าตั้งรกรากในภาคใต้ เป็น ชาวจีน ฮกเกี้ย น ซึ่งเก่งการค้าขายทางเรือ ตั้งถิ่นฐาน ทําการค้าขายในจังหวัดภูเก็ต (กลายเป็น ประชากรส่วนใหญ่ของภูเก็ต) จังหวัดชุมพร, นครศรีธรรมราช, สงขลา และจังหวัดทั่วๆไป คนกลุ่ม นี้ ส่วนใหญ่นับ ถือศาสนาพุทธมหายานและประเพณีความเชื่อของจีน เมื่ออพยพมาอาศัยในไทย ส่ว น ใหญ่เปลี่ยนเป็นพุทธเถรวาทควบคู่กับประเพณีความเชื่อของจีน เช่น ศาลเจ้า ตรุษจีน ไหว้พระจันทร์ นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในภาคใต้เช่นเดียวกับภาคอื่นๆผ่านทาง ประเทศเพื่อนบ้าน หรือเข้ามาโดยตรง เกิดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะ ผู้คนในภาคใต้ดั้งเดิม ผู้อพยพมาใหม่ รวมถึงคนพื้นเมืองที่อาศัย ตามริมฝั่งทะเลและในป่า ทําให้กลุ่มผู้คนหลักๆที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ในปัจจุบันจึงประกอบด้วย ชาวไทยพุทธ ชาวไทยพุทธเชื้อ สายจีน ชาวไทยมุสลิม ชาวพื้นเมือง 2 กลุ่ม คือ ชาวเล และซาไก ซึ่งล้วนมีรูปแบบสถาปัตยกรรมของ กลุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ แบ่งประเภทของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แบ่งออกได้ ดังนี้ - สถาปัตยกรรมทางศาสนา - สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมจีนและตะวันตก - สถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัยแบบพื้นเมือง

สถาปัตยกรรมทางศาสนา สถาปัตยกรรมแบบพุทธมหายาน สถาปัตยกรรมแบบพุทธมหายานเกิดขึ้นในสมัยศรีวิชัย ด้วยระยะเวลาเนิ่นนานแล้ว เหลืออาคารอยู่ไม่มาก อาคารสมัยศรีวิชัยที่หลงเหลืออยู่ให้ศึกษาได้ที่ชัดเจน ที่สุดอยู่เขตอําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะพระบรมธาตุไชยา ที่มีการบํารุงรักษาต่อเนื่องมา จนปัจจุบัน นอกจากนี้ มีที่วัดหลง และวัดแก้ว อําเภอไชยา สร้างในสมัยเดียวกัน ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน อาคาร ลั ก ษณะของเจดี ย์ วั ด แก้ ว และวั ด หลงคล้ า ยกั น เป็ น อาคารก่ อ อิ ฐ แบบไม่ ส อปู น ซึ่ ง เป็ น สถาปัตยกรรมแบบเก่า โบราณสถานวัดหลงมีผังเป็นรูปกากบาทยกเก็จ มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน ฐาน ชั้นล่างแผ่ออกกว้างให้เดินประทักษิณได้ ที่โบราณสถานวัดแก้วเหลือซากอาคารอยู่มากกว่า มีลักษณะ เหมือนปราสาทจามในเวียดนามในพุทธศตวรรษที่ 15 ฐานชั้นล่างแผ่ออกกว้างใหญ่มาก บันไดทางขึ้นสู่ ชั้นฐานนี้มีทางด้านตะวันออก ตะวันตก ตัวปราสาทมีผังสี่เหลี่ยมยกเก็จออกมาทั้งสี่ทิศเป็นมุขรับซุ้มจร นํา เป็นซุ้มโค้งม้วนปลายเข้า มีส่วนปลายของยอดแหลม หลังคาซุ้มซ้อน 2 ชั้ น ภายในประดิ ษฐาน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


236 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

พระพุทธรูป ฐานปราสาททําเป็นบัววลัย ส่วนยอด น่าจะมีลักษณะเป็นชั้นซ้อนอย่างปราสาทของจาม (เสนอ นิ ล เดช, 2544) นอกจากนี้ ยั งมี เจดี ย์ แบบศรี วิ ชั ย ที่ วั ดใน บ้ านใต้ อํ าเภอเกาะพงั น จั งหวั ด สุราษฏร์ธานี

• โบราณสถานวัดแก้ว ลักษณะคล้ายมณฑป (ที่มา : www.archae.su.ac.th/, 2558)

• โบราณสถานวัดหลง (ที่มา : www.archae.su.ac.th/, 2558)

พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ อาคารรูป 4 เหลี่ยมซ้อน 3 ชั้น ฐานยก เก็จแบบมีเสาอิงประดับ อาคารชั้นล่างสุดมีมุขยื่นรับซุ้มจรนําทั้ง 4 ด้าน ด้านตะวันออกมีบันไดเข้าสู่โถง กลาง ความสูงจากฐานถึงเรือนยอดประมาณ 24 เมตร มีเจดีย์มุมองค์เล็กประดับทั้ง 4 มุม องค์ระฆัง คอดกลาง หรือ เอวคอด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ศรีวิชัย แต่ยอดของเจดีย์องค์ใหญ่ได้ถูกดัดแปลงไป จากรูปแบบเดิมตอนที่ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 237

• พระบรมธาตุไชยา • เจดีย์ระฆังคอดกลาง วัดพระบรมธาตุไชยา (ที่มา: http://thaiculture.50webs.com/Southern.html) (ที่มา: เสนอ นิลเดช, 2544)

ส่วนฐานเป็นฐานเขียงซ้อนกัน 2 ชั้น ต่อด้วยฐานบัวลูกแก้วผังจัตุรัสตกแต่งด้วยเสาติดผนังลด เหลี่ยม 1 ชั้น ส่วนบนของฐานบัวลูกแก้วเป็นลานประทักษิณ มีสถูปจําลองประดับที่มุมทั้ง 4 ด้าน เรือนธาตุมีฐานบัวลูกแก้วรองรับ 1 ชั้น มุมเรือนธาตุทําเป็นเสาหลอกติดผนังตรงกลางเซาะ ร่อง มุ ขทางด้านตะวัน ออกมีบั นไดทางขึ้นให้เข้าไปภายในเจดีย์ เป็น ห้องขนาดกว้ างยาว 2 เมตร มี พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ผนังเรือนธาตุก่ออิฐไม่สอปูนลดหลั่นกันไปถึงยอด มุขอีกสามด้านทึบ มุมของ มุขแต่ละด้านทําเป็นเสาติดผนัง เหนือมุขมีซุ้มหน้าบันประดับปูนปั้นรูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า ด้านในซุ้มมี ลายปูนปั้น รูปตราแผ่นสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดจากการซ่อมแซมในสมัยหลัง ส่วนยอด เป็นหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ประดับด้วยสถูปจําลองชั้นละ 8 องค์ ส่วนบนทําเป็นบัว ปากระฆังรองรับองค์ระฆังรูป 8 เหลี่ยม บัลลังก์ 8 เหลี่ยม ปล้องไฉน 8 เหลี่ยมจํานวน 5 ชั้น บัวกลุ่ม และปลียอด ซึ่งเป็นการซ่อมแซมในสมัยรัชกาลที่ รูปแบบของพระบรมธาตุไชยาในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากการบูรณะหลายครั้ง สันนิษฐานว่า เดิ มมี รูป แบบเดี ย วกั บโบราณสถานวั ดเวี ย ง วั ดแก้ ว และวั ดหลง ราวพุ ทธศตวรรษที่ 14 -15 ซึ่ งเป็ น โบราณสถานสมัยศรีวิชัย โดยเฉพาะองค์ระฆังดังกล่าว อีกส่วนหนึ่งที่สําคัญ คือ โบราณวัตถุรูปพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวรสําริด มีอายุอยู่ในสมัยศรี วิชัย เป็นเอกลักษณ์ที่สําคัญของศิลปะสมัยศรีวิชัย พบจํานวนหลายชิ้นในพื้นที่อําเภอไชยา

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


238 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร (ที่มา: ฐานข้อมูลภาพ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล)

สถาปัตยกรรมแบบพุทธเถรวาท ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักในประเทศศรี ลังกา และอุษาคเนย์ (ไทย เมียนมาร์ ลาว เขมร) เกิดขึ้นหลังการปรินิพพานแล้ว 3 เดือน พระเถระ 500 รูป มาประชุมกันเพื่อสอบทาน จดบันทึกคําสอนของพระพุทธเจ้า ใช้เวลา 7 เดือน เป็นการสังคยานา ครั้งแรก หรือ ปฐมสังคยานา ณ ถ้ําสัตตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ได้คัมภีร์คําสอนของ พระพุทธเจ้า เรียกว่า เถรวาท และเผยแพร่สู่แหลมมลายูในนามพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เผยแพร่จาก เมืองลั งกาเข้ ามาตั้ งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ที่เมืองตามพรลิ งค์ แต่ มาเจริญรุ่งเรืองและเผยแพร่อย่าง กว้างขวางในสมัยที่คนไทยตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายู ตั้งแต่เหนือ คือ สิบสองปันนา ล้านนา สุโขทัย ไล่มา จนถึงนครศรีธรรมราช ในพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นยุคทองของพุทธเถรวาทในดินแดนนี้ และเจริญพร้อม กับเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นชุมทางการเดินเรือนานาชาติ ผู้คนมากมายหลายชาติเข้ามา ค้าขาย เมืองตามพรลิงค์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ กลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ พระสงฆ์ชาวลังกาใช้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนา เจ้าผู้ครอง เมืองทรงศรัทธาพุทธศาสนาอย่างมาก ส่งเสริมให้ราษฎรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทรงสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุมากมาย เมืองนครศรีธรรมราชเปรียบเหมือนตักศิลาของคาบสมุทรสยาม เป็นศูนย์กลางของ สํานักศึกษาพระธรรมคัมภีร์และเผยแพร่พระธรรมคําสอน พระสงฆ์ชาวลังกาได้รับตําแหน่งเป็นพระมหา สวามีและพระราชครู มีผู้เคารพนับถือมากมาย ชื่อเมืองตามพรลิงค์จึงถูกเปลี่ยนเป็น “นครศรีธรรมราช” และเรียกเจ้าผู้ครองเมืองว่า “ศรีธรรมโศกราช” สืบต่อมา (ประทุม ชุ่มเพ็งพันธ์, 2549: 115) พุทธ ศาสนาในนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองมากจนถึงกับทําให้พระร่วงกษัตริย์เมืองสุโขทัยเสด็จมาขอพระ พุทธสิหิงค์และขอพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชไปบูชาและเผยแพร่ศาสนาที่เมืองสุโขทัย


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 239

• พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช (ที่มา: www.the-world-heritage-sites.com/, 2558)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


240 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

วัดเขียนบางแก้ว วัดจะทิ้งพระ วัดพะโค๊ะ วัดเจดีย์งาม

• เจดีย์ทรงระฆังในจังหวัดภาคใต้

เอกลักษณ์ของพุทธเถรวาทในภาคใต้ปรากฏเป็นพระเจดีย์ทรงระฆังที่มีองค์ระฆังเอวคอด เช่นเดียวกับพุทธมหายาน เป็นเจดีย์แบบศรีวิชัยอีกแบบหนึ่ง แต่การบูรณะทําให้รูปทรงเอวคอดของ เจดีย์หลายองค์เปลี่ยนไปจนเห็นได้ไม่ชัด เช่น พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ถูกซ่อมแปลงเป็นทรงลังกา ในพุทธศตวรรษที่ 17 (เสนอ นิลเดช, 2544: 48) แต่องค์อื่นๆหลายองค์ยังมองเห็นได้ เช่น เจดีย์วัดจะทิ้ง พระ วัดเจดีย์งาม วัดเขียนบางแก้ว และวัดอื่นๆ เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ระฆังของพื้นที่ นอกจากนี้ สัดส่วนชั้นฐานของเจดีย์ใต้องค์ระฆัง จะมีความสูงไม่มากนัก ทําให้องค์ระฆังดูเหมือนอยู่ต่ําใกล้พื้นดิน เมื่อเทียบกับเจดีย์ทรงระฆังในภาคอื่นๆ และเสาหารเหนือบัลลังก์ นิยมประดับด้วยปูนปั้นรูปพระอีกด้วย


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 241

สถาปั ตยกรรมทางศาสนาแบบพุ ทธเถรวาทที่ เ ป็ น เอกลั กษณ์ ของภาคใต้ อีกประเภทหนึ่ ง นอกจากเจดีย์แบบศรีวิชัยแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบพื้นเมือง ได้แก่ โบสถ์ ศาลาโรงธรรม ศาลา ฉัน กุฏิ เช่น โบสถ์เก่านครจัมปา ไชยา วัดพังกก วัดน้ําขาวใน วัดสุวรรณคีรี วัดโลการาม สงขลา ศาลา โรงธรรมวัดพังเถียะ วัดบ่อป่า ศาลาฉันวัดโคกเปี้ยว กุฏิวัดแหลมพ้อ วัดแหลมทราย วัดท้ายยอ วัดบ่อป่า สงขลา แบบรั บอิ ทธิ พลอยุ ธ ยา ได้ แก่ โบสถ์ เช่ น วั ดโคกมะเฟื อง นราธิ ว าส และแบบรั บอิ ทธิ พ ล รัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ โบสถ์ เช่น โบสถ์วัดกลาง วัดศาลาหัวยาง วัดท่านางหอม วัดโลการาม วัด บ่อทรัพย์ วัดโพธิ์ สงขลา

1|2 3|4 5 1 โบสถ์วัดพังกก 2 โบสถ์ที่นครจัมปา ไชยา (ที่มา: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์, 2558) 3 โบสถ์วัดสุวรรณคีรี 4 โบสถ์วัดน้ําขาวใน (ที่มา: วนิดา พึ่งสุนทร, 2543) 5 โบสถ์วัดโลการาม

• โบสถ์พื้นถิ่นภาคใต้

โบสถ์พื้นถิ่นภาคใต้เป็นโบสถ์โถงขนาดเล็ก ไม่ตีฝา หลังคาจั่ว หรือจั่วแบบมีปีกนกกันสาด รอบ รูปแบบคล้ายสิมอีสาน โครงสร้างฐานเป็นปูนก่ออิฐ เสาและโครงหลังคาเป็นไม้ หรือเสาปูนในยุค หลั ง ยกระดั บ พื้ น ประมาณ 0.70 ม. บางหลั งทํ าฐานบั ว สู งกว่ าระดั บ พื้ น ภายใน กลายเป็ น คอกกั้ น โดยรอบ

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


242 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• ศาลาโรงธรรมวัดบ่อป่า วัดพังเถียะ (บน) วัดสีหยัง (ล่าง) และศาลาฉันวัดโคกเปี้ยว

กุฏิพระวัดแหลมพ้อ / วัดแหลมทราย / วัดท้ายยอ / วัดบ่อป่า / วัดธรรมโฆษ / วัดประตูไชย

• กุฏิพระพื้นถิ่นภาคใต้

ลักษณะของกุ ฏิ พระภาคใต้ เป็ น เรื อนไม้ ขนาดเล็ ก ยกใต้ ถุน สู งประมาณ 1.6 – 2.0 เมตร หลังคาจั่ว หรือจั่วแล้ วยื่นปีกนกกันสาดซ้อนอีกชั้นหนึ่ง กับมีกันสาดที่ด้านสกั ด มีปีกนกกันสาดยาว ตลอดความยาวของเรือน ยื่นลาดลงมาคลุมพื้นที่ใช้สอยด้านหน้าเรือน บางหลังทําเป็นหลังคาจั่วขนาด เล็กอี กจั่ว หนึ่ง ให้ได้พื้น ที่มากขึ้น ส่วนใหญ่ฝ าเป็ นฝาไม้ตีน อนซ้อนเกล็ด แต่บางหลั งทําเป็นแบบฝา สายบัวของเรือนไทยภาคกลาง มีค้ํายันไม้ยาวค้ําปีกนกกันสาดโดยรอบ ยันลงมาถึงระดับพื้นชั้นบน หรือ พรึง หรือหัวรอด (คาน)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 243

โบสถ์วัดโคกมะเฟือง / วัดกลาง / วัดสระเกษ / วัดศาลาหัวยาง / วัดบ่อทรัพย์ / วัดโพธิ์ / วัดอุทัย

• โบสถ์อิทธิพลอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบสถ์แบบรัตน์โกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลตะวันตกอยู่ด้วย มีพื้นที่พาไลรอบๆ จะ ทําซุ้มโค้งแบบตะวันตกระหว่างเสาพาไล หน้าบันก่ออิฐฉาบปูนทึบ ไม่นิยมทําไขราหน้าจั่วและเครื่อง ลํายองไม้แบบประเพณี โดยทําเป็นปูนปั้นแบบเรียบๆ หรือมีปูนปั้นเป็นลวดลายเพียงเล็กน้อย สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


244 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ศาสนาอิสลามเข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ของไทย ด้วยการติดต่อค้าขายกับชาวเปอร์เซีย ปรากฏเป็นศาสนสถาน ได้แก่ มัสยิด หรือสุเหร่า หรือสถานที่ ปฏิ บัติและประกอบพิ ธีกรรมทางศาสนาอิ ส ลาม ได้แก่ การนมาซ และการวิ งวอน การปลี กตนเพื่ อ บําเพ็ญตบะ เพื่อหาความสันโดษ นอกจากนี้ มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอานและศาสนา สถานที่ ชุมนุม ประชุม เฉลิมฉลอง ทําบุญ พิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พํานัก โดยที่จะต้อง รักษามารยาทของมัสยิด เช่น การไม่ปะปนกันของชายและหญิง หรือการกระทําที่ขัดกับบทบัญญัติของ อิสลาม รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้กับมัสยิดนั้น มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบพื้นเมือง 2) แบบมลายู และ 3) แบบเปอร์เซีย

• มัสยิดวาดิลฮูเซ็น จ.นราธิวาส (ที่มา: www.panoramio.com/photo/76784764, 2558)

ตัวอย่างของมัสยิดแบบพื้นเมือง ได้แก่ มัสยิดวาดิลฮูเซ็น เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุ 200 ปี (บ้าง ว่า 300 ปี) โดยท่านหะยีซายฮูซึ่งเป็นครูสอนศาสนาเป็นผู้สร้าง สร้างจากไม้ตะเคียนทั้งหลัง ใช้สลักไม้ แทนตะปูหรือสกรู การก่อสร้างในสมัยนั้นไม่มีเลื่อย ขวาน สิ่ว ใช้บือจือตา (รูปร่างคล้ายขวาน) ตัดไม้ ใช้ บันลีโยง (ลิ่ม) ผ่าไม้ ใช้บายิ (รูปร่างคล้ายจอบ) ถากไม้ให้เรียบ เสาไม้มีจํานวน 26 ต้น (สี่เหลี่ยมขนาด 10X10 นิ้ว) พื้นหนา 2 นิ้ว ฝาประกบหน้าต่างทําด้วยไม้ทั้งแผง แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ตัวมัสยิด สร้างเป็นอาคาร 2 หลังติดกัน มีขนาด 14.20 X 6.30 เมตร เฉพาะหลังที่เป็นมิห์รอบ มีขนาด 4.60 X 5.60 เมตร รูปแบบสถาปัตยกรรมของมัสยิดวาดิลฮูเซ็น เป็นศิลปะไทยพื้นเมือง ผสมผสานประยุกต์เข้า กับศิลปะจีนและศิลปะมลายู (www.cicot.or.th/, 2558) จุดเด่นอยู่ที่รูปทรงหลังคา อาคารหลังแรกคือ ส่วนที่เป็นมิห์รอบ หลังคา 3 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 3 มีโดมคล้ายเก๋งจีนอยู่บนหลังคา เป็น ศิลปะจีน เสาจะแกะสลักเป็นรูปดอกพิกุล เดิมเก๋งจีนเป็นหออะซาน ส่วนหลังที่ 2 หลังคา 2 ชั้น มุง กระเบื้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 2 จะมีจั่วอยู่บนหลังคา มีรูปแบบทรงไทยแบบหลังคาโบสถ์วัดทั่วๆไป อาคารมัสยิดนี้มีความสําคัญต่อชุมชนมาก ได้รับการอนุรักษ์สืบทอดต่อกันมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 245

• สุเหร่าอาโห อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี (ที่มา: www.panoramio.com/photo/88523907, 2558)

สุเหร่าอาโหมีประวัติมานานกว่า 400 ปี ย้ายมาจากริมน้ํามาตั้งไว้ที่ริมทางเพื่อความสะดวกแก่ ผู้คนที่เปลี่ยนจากการสัญจรทางน้ําเป็นทางบก ศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบชวาดั้งเดิม โดยช่างที่นํามา จากชวา ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลังโดยไม่มีการใช้ตะปู ยกพื้นวางเรือนบนตอม่อ หลังคาทรง จั่ว แบ่งเป็น 3 ตับ ตอนบน 2 ตับ แล้วมีชายคากันสาดซ้อนอีก 1 ตับ กันสาดด้านสกัดทําเป็น 2 ชั้นตาม ตับหลังคา มุงกระเบื้องดินเผา ตัวอย่างของมัสยิดแบบมลายู ได้แก่ มัสยิดยาบัลโรดเราะห์มะห์ ที่บ้านหัวเขาเขียว อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งเป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในสิงหนคร ตกแต่งสวยงามตามแบบสถาปัตยกรรมมลายู สิงฆูรา นูซันตารา (Singora Nusantara) รูปทรงหลังคาเป็นปั้นหยาแบบปิรามิด เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากใน มาเลเซีย มัสยิดยาบัลโรดเราะห์มะห์หลังนี้ทําเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ไม่เป็นแบบอาคารในยุคเก่าที่ เรือนไม้ยกใต้ถุน หลังคามุขหน้าตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายแพรวพราวแบบเรือนขนมปังขิง บันไดทางขึ้น ด้านหน้าเป็นบันไดคอนกรีต มีซุ้มคอนกรีตยื่นออกมาจากมุขหน้ามารับ มัสยิดแห่งนี้ยังคงใช้งานอยู่จน ปัจจุบัน แต่ถูกดัดแปลงต่อเติมไปบ้าง โดยเฉพาะส่วนหลังคาที่ถูกต่อเติมหลังคาโดมรูปหัวหอมตามแบบ มัสยิดเปอร์เซียและหลังคาสังกะสีคลุมบริเวณพื้นที่โดยรอบอาคารมัสยิด

• (ซ้าย) มัสยิดยาบัลโรดเราะห์มะห์ สิงหนคร สงขลา และ(ขวา) มัสยิดกําปงลาจท์ โกตาบาห์รู มาเลเซีย (ที่มา: www.facebook.com/PataniPeaceful, 2558) สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


246 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ตัวอย่างของมัสยิดแบบเปอร์เซีย ที่ถูกนับให้เป็นมัสยิดขนาดใหญ่และมีความสําคัญมากที่สุด ได้แก่ มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี ใช้เป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีของชาวมุสลิม ใช้ละหมาดวันละ 5 ครั้ง และละหมาดใหญ่ทุกวันศุกร์ ใช้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาในวันเสาร์ อาทิตย์ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ มีเอกลักษณ์สําคัญคือหลังคาโดมรูปหัวหอม มีโดมใหญ่ตรงกลาง โดมเล็กเป็นบริวาร 4 ทิศ มีหออะซาน 4 ด้านโดยรอบ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้สร้างขั้นเมื่อ พ.ศ.2497 สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2506 เป็น รูปแบบมัสยิดที่คุ้นตาและใช้กันแพร่หลายในทุกภาคของไทยจนเป็นภาพจําของมัสยิด แต่แม้รูปแบบสถาปัตยกรรมมัสยิดจะมีหลายแบบ หลายรูปทรง แต่องค์ประกอบการใช้งานเป็น บทบัญญัติทางศาสนาจนตลอดประเพณีที่สืบทอดกันมา จึงมีองค์ประกอบหลักที่เหมือนกัน โดยเฉพาะหอ อะซาน หรือหอกระจายเสียง หอสูงใช้เป็นที่ให้ผู้ประกาศขึ้นไปประกาศเวลาละหมาดให้ได้ยินให้ไกลที่สุด เป็นองค์ประกอบภายนอกที่ทําให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ร่วมของมัสยิดทุกรูปแบบทั่วโลกที่สังเกตได้ชัดเจน ที่สุดจากภายนอก ปัจจุบันแม้การประกาศเวลาละหมาดจะใช้อุปกรณ์ช่วย ทั้งเครื่องกระจายเสียง ระบบ เสียงตามสาย และอื่นๆ แต่การสร้างหออะซานก็ยังคงสืบทอดกันต่อเนื่องมาเป็นเอกลักษณ์

• มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี (ที่มา: www2.pattani.go.th/, 2558)

องค์ประกอบของมัสยิด องค์ประกอบหลักของมัสยิดจะเหมือนกันไม่ว่าจะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใด ดังนี้ โถงละหมาด ส่วนประกอบสําคัญ ใช้สําหรับแสดงความภักดีต่อพระเจ้าร่วมกัน ตามแนวทิศทางกิบละฮ์ มิห์รอบ มิห์รอบเป็นองค์ประกอบที่ใช้ระบุทิศทางกิบละฮ์ หรือทิศที่มุสลิมทั่วโลกหันไปเวลาละหมาด มิมบัร องค์ประกอบที่ให้อิหม่ามหรือคอเต็บขึ้นกล่าวคุตบะฮ์ แจ้งข่าวสาร หรือปราศรัย ในการละหมาด ร่วมกันในวันศุกร์


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 247

มักซุรัท ฉากไม้ หรือโลหะ ทําเป็นลวดลาย สําหรับใช้กั้นพื้นที่หน้าซุ้มมิห์รอบ เพื่อป้องกันอิหม่ามให้ ปลอดภัยจากการถูกลอบทําร้าย พื้นที่บริเวณมักซุรัทจึงมักจะมีช่องทางพิเศษ ให้อิหม่ามสามารถเข้าสู่ มัสยิดได้เป็นการส่วนตัว แท่นสําหรับผู้ขานสัญญาณ เป็นที่ให้ “มุบัลลิก” หรือผู้ขานสัญญาณส่งเสียงให้สัญญาณต่อจากอิหม่าม เพื่อให้คนที่อยู่ไกลได้ยินสัญญาณ และละหมาดพร้อมเพรียงกัน ลานอเนกประสงค์ ทําหน้าที่รองรับคนที่เข้าออกจากโถงละหมาด และใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่อาบน้ําละหมาด ข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามกําหนดให้มีการอาบน้ําละหมาดก่อนการละหมาด เป็น การทําความสะอาดส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มือ ใบหน้า แขน เท้า อาจอาบน้ําละหมาดมาจากที่อื่น หรือจะมาทําที่มัสยิดก็ได้ หออะซาน ที่สําหรับให้ผู้ประกาศเวลาละหมาด ( มุอัซซิน ) ขึ้นไปอะซานให้ได้ยินไปไกลที่สุด การอะ ซานเป็นการเรียกให้มาละหมาดเมื่อถึงเวลาละหมาดประจําวัน วันละ 5 เวลา ซุ้มประตู มัสยิดมักมีการกําหนดขอบเขต เพื่อแยกพื้นที่ภายในที่สงบ ออกจากสิ่งรบกวนภายนอก อาจ สร้างกําแพง หรือคูน้ํา ล้อมรอบ เพื่อแยกเป็นสัดส่วน และมีซุ้มประตูเป็นตัวเชื่อมต่อที่บ่งบอกถึงการเข้า มาภายในมัสยิด

• องค์ประกอบของมัสยิด (ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/, 2558)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


248 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมจีนและตะวันตก สถาปัตยกรรมอิทธิพลจีน ด้วยพื้นที่ภาคใต้มีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจํานวนมากตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา โดยเฉพาะบางจังหวัดที่มีประชากรเป็นผู้มีเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ภายในตัวเมืองเป็นจํานวนมาก เช่น สงขลา กระบี่ ภูเก็ต ชุมพร และนครศรีธรรมราช ชาวไทยเชื้อสายจีนเหล่านี้รักษาวัฒนธรรมของตน อย่างเหนียวแน่น แต่ก็รับวัฒนธรรมอื่นเข้าผสมผสาน อาคารรูปแบบวัฒนธรรมจีนจึงปรากฏอยู่เป็น จํานวนมากในจังหวัดต่างๆ เช่น ร้านค้า บ้านพักอาศัย ตลอดจนอาคารสาธารณะ เช่น ประตูเมือง สงขลา จวนเจ้าเมืองสงขลา ศาลเจ้า แม้แต่องค์ประกอบต่างๆในวัด เช่น อุโบสถวัดดอนแย้ ทําเป็น แบบเก๋งจีน ซุ้มประตูวัดอุทัย วัดแจ้ง ทําเป็นแบบประตูจีน

• สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมจีนใน ภาคใต้


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 249

สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส พื้นที่การค้าใจกลางเมืองเก่าในบางจังหวัดในภาคใต้ เช่น ระนอง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา ตรัง โดยเฉพาะที่ จั งหวั ดภู เก็ ต มี อาคารร้ านค้ า-พั กอาศั ย ที่ มีรู ป แบบสถาปั ตยกรรมที่ ผ สมผสานระหว่ าง ตะวันออกและตะวันตก เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส (Sino-Portuguese) หรือแบบจีนโปรตุเกส ส่วนใหญ่เป็นอาคารแถวปูน 2 ชั้น ใช้ค้าขายและพักอาศัย แต่ก็มีอาคารบ้านพักเป็นหลังๆและ อาคารสํ านั กงานด้ ว ย แต่ น้ อยกว่ า รู ป ร่ างหน้ าตาและองค์ ป ระกอบทางสถาปั ต ยกรรม โดยเฉพาะ Façade อาคาร เป็นแบบตะวันตก เช่น เสา ซุ้มประตู หน้าต่าง ส่วนตกแต่งหลังคา ฯลฯ ส่วนที่เป็นแบบ จีน ได้แก่ ประตู หน้าต่าง ลวดลายตกแต่งบางส่วน และผังอาคาร แต่เอกลักษณ์สําคัญของอาคารร้านค้า แบบชิ โนโปรตุกีสนี้ คือมีส่ วนของทางเดิ นในร่ มด้านหน้ าอาคารยาวต่อเนื่องกัน เกิดจากการร่ นผนั ง ด้านหน้าของชั้นล่างเข้าไปจากแนวอาคาร ขณะที่ผนังชั้นบนอยู่ในแนวเดิม ส่วนใหญ่ตกแต่งเป็นช่องโค้ง หรือ arch เรียกช่องทางเดินนี้ทับศัพท์ว่า อาเขต (Arcade) ที่มาของรูปแบบสถาปัตยกรรมนี้ คือ ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อทําการค้าขายที่ เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย นําเอาวัฒนธรรมหลายอย่างรวมทั้งการสร้างบ้านเรือนมาใช้ในพื้นที่ ช่างชาวจีนได้นําเอารูปแบบอาคารไปใช้ แต่ได้เพิ่มเติมหรือดัดแปลงรายละเอียดบางอย่างไปเป็นแบบจีน เกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานจีนกับโปรตุเกส เป็นเอกลักษณ์ใหม่ เรียกรูปแบบใหม่นี้ว่า ชิโนโปร ตุกีส ต่อมาเมื่อชาวอังกฤษและฮอลลันดาเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่แหลมมลายู ได้ผสมผสานรูปแบบจาก สถาปัตยกรรมของตนเข้าไปอีก แต่ชื่อเรียกรูปแบบยังคงเหมือนเดิม คือ ชิโนโปรตุกีส และแพร่หลาย ออกไปยังเมืองอื่นๆ เช่น ที่เกาะปีนัง ส่วนเอกลักษณ์สําคัญของอาคารแบบชิโนโปรตุกีสที่มีการเว้นพื้นที่ ด้านหน้าอาคารชั้นล่างให้เป็นช่องทางเดินในร่มใต้พื้นชั้น 2 นั้น เกิดจากผู้ปกครองชาวอังกฤษที่เห็นว่า พื้นที่นี้มีฝนตกชุก จึงมีคําสั่งให้กําหนดให้มีการร่นผนังชั้นล่างเข้าไปให้เกิดช่องทางเดิน เพื่อให้ผู้คนได้เดิน ได้โดยไม่เปียกฝน ทั้งร้านค้าหรืออาคารพักอาศัยที่ไม่ได้เปิดหน้าร้านค้าขาย หากตั้งริมทางสาธารณะแล้ว ต้องเว้นพื้นที่เหมือนกัน ในพื้นที่ภาคใต้อาคารแบบชิโนโปรตุกีสนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงพ.ศ.24442456 สมัยที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)เป็นสมุหเทศภิบาล สําเร็จราชการ มณฑลภู เก็ต (th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส, 2558) ซึ่งเป็นช่ว งที่มีการติดต่ อ ค้าขายกับปีนัง โดยอาคารส่วนใหญ่นักธุรกิจชาวจีนที่ร่ํารวยจากธุรกิจเหมืองดีบุกเป็นผู้สร้าง ปัจจุบัน อาคารแบบชิโนโปรตุกีสนี้ ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภูเก็ต ที่มี การริเริ่ มการอนุ รักษ์ ฟื้นฟู มาตั้ งแต่ พ.ศ.2537จากความร่วมมือกั นของหลายฝ่ ายหลายหน่ว ยงานทั้ ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ และมีประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯให้ความคุ้มครองย่านเมือง เก่าภูเก็ตนี้ไว้แล้ว

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


250 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• ตึกแถวร้านค้าแบบชิโนโปรตุกีสเมืองเก่าภูเก็ต (ที่มา: pantip.com/topic/30352927, 2558)

• อาคารพักอาศัยแบบชิโนโปรตุกีสเมืองเก่าภูเก็ต (ถ่ายภาพ: Willy Thuan)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 251

• ประตูหน้าต่างแบบจีนของอาคารชิโนโปรตุกีส (ที่มา: www.paiduaykan.com, 2557)

อาคารแบบชิโนโปรตุกีสในมะละกาและปีนัง

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


252 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมพักอาศัยแบบพื้นเมือง ในภาคใต้ บ้านพักอาศัยแบบพื้นเมืองมีปรากฏให้ศึกษาได้ในเรือนพื้นถิ่นของชาวไทยพุทธและ ชาวไทยมุสลิม ซึ่งเป็นประชากรของภาคใต้ มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และ ภาษาที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากศาสนา เพราะหลักศาสนาอิสลามมีข้อห้ามหลายประการที่เคร่งครัด และยังได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากตอนเหนือของมาเลเซีย ซึ่งใกล้ชิดมากกว่า เพราะเป็นมุสลิม เหมือนกัน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคใต้ที่น่าสนใจศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ได้แก่ ชาวเล กลุ่มมอแกน เรือนไทยพุทธ ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง หลังคาส่วนใหญ่เป็นหลังคาปั้นหยาและจั่ว หลังคาบลานอ (มนิลา) มีพบบ้าง แต่น้อยกว่ามาก หลังคาจะถูกแบ่งออกเป็นตอนๆต่อกัน เชื่อมด้วยราง น้ํา ส่วนใหญ่เป็นส่วนของห้องนอน 2 ห้อง ตรงกลางเป็นโถง ด้านหลังเป็นห้องครัว มีบันไดทางขึ้นเรือน ด้านหน้าพร้อมทําหลังคาเพิงคลุมแบบง่ายๆ ฝาไม้ตีนอนซ้อนเกล็ด แต่หลายหลังใช้สังกะสีตีฝา เพราะ ภาคใต้ฝนตกชุกและลมแรง ฝนจะตกเฉียงเข้าปะทะฝาเรือน ไม้ฝาผุง่าย จึงใช้สังกะสีแทนไม้

• ลักษณะเรือนชาวไทยพุทธ (ที่มา: อรศิริ ปาณินท์, 2543)

พื้นที่ภายในเรือนจะประกอบไปด้วยห้องนอน โถง ครัว และชานหรือระเบียง โดยจะกั้นฝา เป็นห้องต่างๆอย่างมิดชิด ไม่เปิดโล่งเหมือนเรือนไทยมุสลิม โถงกลางบ้านทําหน้าที่ทั้งเป็นส่วนต่อเชื่อม องค์ประกอบต่างๆ และเป็นพื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์ เช่น รับแขก พักผ่อน ทํางาน หรือเก็บข้าวของ เครื่องใช้ ส่วนเรือนพื้นถิ่นประเภทเรือนเครื่องผูก เป็นเรือนพักอาศัยของชาวนา ชาวไร่ ส่วนใหญ่เป็น เรือนขนาดเล็ก ยกใต้ถุน หลังคาจั่วเดี่ยว ทิ้งชายคาคลุมบันไดทางขึ้น มุงด้วยใบหวาย ใบจาก ใบสาคู หรือกระเบื้องดินเผา หรือสังกะสี ใช้ฝาขัดแตะที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งเหมือนกันทั้งพื้นที่ในไทยและมาเลเซีย คือ การสานเป็นสีและลวดลายต่างๆสวยงาม เช่น ลาย 2 ลาย 3 ลายลูกแก้วสีดอก ลายไทย และที่นิยม คือ ลายลูกแก้ว และลายปีกเหยี่ยว เพราะแข็งแรงและสวยงาม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 253

เรือนไทยพุทธ สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


254 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนไทยพุทธแบบเรือนเครื่องผูก ที่มา : ภาพถ่ายของ อรศิริ ปาณินท์

เรือนไทยมุสลิม ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง แต่ไม่ค่อยใช้ประโยชน์ใต้ถุนมากนัก เสา เรือนไม่ฝังดิน ตั้งบนหินหรือแท่งคอนกรีต เรียกว่า “บาทเสา” เพื่อไม่ให้เสาผุ กันปลวกขึ้นเรือน และ นิยมยกย้ายเรือนหนีเวลาเจ็บป่วยหนัก โดยขอแรงชาวบ้านช่วยยก เรียกว่า “ออกปากหามเริน” ฝาเรือน เป็นไม้ตีนอนหรือไม้ผสมไม้ไผ่ หลังคามี 3 แบบ ลีมะ บลานอ และ แมและ ส่วนใหญ่เป็นหลังคา บลานอ (มนิลา) แฝด วางยาว จากหน้าไปหลัง มีรางน้ําเชื่อมตรงแนวกลางบ้าน ด้านหน้าต่อชายคาปีกนกยื่น ออกมาคลุมพื้นที่ด้านหน้าบ้าน และทํามุขลดขนาดเล็กคลุมทางเข้าเป็นแบบ บลานอ เช่นกัน ด้านหลัง เป็นครัว หลังคาบลานอวางขวาง มักทําหลังคาซ้อน 2 ชั้น เพื่อระบายความร้อนออก ไม้ป้านลมและยอด จั่วนิยมตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย เรือนของโต๊ะครูหรือผู้มีอันจะกิน จะมีหน้าจั่วมาก หลังคาปั้นหยา (ลีมะ)

หลังคามนิลา (บลานอ)

หลังคาจั่ว (แมและ) • รูปแบบหลังคาของเรือนไทยมุสลิม (ที่มา: เขต รัตนจรณะ, 2544)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 255

ความหมายของชื่อเรียกรูปแบบหลังคาแต่ละแบบนั้น อาจารย์เขต รัตนจรณะ ได้นําเสนอใน การประชุมวิชาการ พ.ศ.2543 เรื่อง “ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย” ว่า คําว่า ลีมะ แปลว่า ห้า หมายถึงหลังคาแบบนี้จะมีสันหลังคา 5 สัน เป็นรูปทรงจากอิทธิพลตะวันตกในอาณานิคม (Colonial) พบที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดอื่นๆ ส่วนคําว่า บลานอ แปลว่าชาวฮอลันดา น่าจะเกิดจากการรับ รูปทรงหลั งคาแบบนี้ จากเรือนของชาวฮอลัน ดา และแบบจั่ว ที่ ชาวบ้ านเรีย กว่ า แมและ เชื่ อว่ ารั บ อิทธิพลจากเรือนไทยภาคกลาง พบในชุมชนดั้งเดิม หลังคาของเรือนไทยมุสลิมยังมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ นอกจากการตกแต่งปั้นลมและยอดจั่วด้วยลวดลายไม้แกะสลักแล้ว ยังมีการตกแต่งบริเวณช่องลม ด้วยลวดลายไม้แกะสลักด้วย เอกลั กษณ์ อื่นๆประกอบด้ วย วางเรือนตามแนวตะวันออก ตะวัน ตก ให้ห น้าจั่ว หันเข้าหา ตะวัน จํานวนช่วงเสานิยม 6, 9 และ 12 ช่วง ความกว้างตัวเรือนนิยม 7, 9 หรือ 10 ศอก และ ขั้นบันได เป็นเลขคี่

• ลักษณะเรือนชาวไทยมุสลิม (ที่มา: อรศิริ ปาณินท์, 2544) พื้นที่ภายในเรือนจะเปิดโล่งต่อเนื่องกันหมดตั้งแต่หน้าเรือนถึงหลังเรือน รวมทั้งส่วนของครัว กั้นห้องเพียงห้องนอนหรือห้องละหมาดขนาดไม่ใหญ่มาก เป็นเอกลักษณ์สําคัญที่เห็นความแตกต่างจาก เรือนไทยพุทธในภาคใต้ การใช้พื้นที่ที่เปิดโล่งนั้น แบ่งเป็น 4 ส่วน โดยใช้การเปลี่ยนระดับพื้นเพื่อแยก พื้นที่กิจกรรมต่างๆออกจากกัน ดังนี้ ส่วนรับแขก เป็นส่วนแรกด้านหน้าเรือนใต้ชายคาปีกนกที่ยื่นออกจากหลังคาใหญ่ ใช้รับแขก เป็นพื้นที่ที่ยอมรับการมาเยือนของอาคันตุกะเพียงเท่านี้ ผู้มาเยือนที่ไม่ใช่ญาติมิตรหรือคนสนิทจะไม่ล่วง เข้าไปเกินกว่าพื้นที่นี้ เว้นแต่เจ้าของบ้านจะเชื้อเชิญเข้าไป ส่วนโถง อยู่ ถัดเข้ าไปจากส่ วนแรก เป็ นพื้ น ที่อเนกประสงค์ เปรี ยบได้ กับ Living room ใช้ พักผ่อน รับแขก ทําการงานอาชีพที่ทําบนเรือน ตลอดจนเป็นที่นอนของญาติมิตรหรือแขกสนิทที่มาค้าง ที่บ้าน พื้นที่ทําละหมาด ส่วนตรงกลางของเรือนจะมีห้องนอน หรือพื้นที่ทําละหมาด สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


256 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ส่ ว นครั ว พื้ น ที่ ด้า นหลั ง ท้ า ยเรื อ น เป็ น ส่ ว นสํ าหรั บ ครั ว และพั ก ผ่ อ น เป็ น สํ า หรั บ ผู้ ห ญิ ง โดยเฉพาะ มีบันไดขึ้นลงแยกจากบันไดหน้า เป็นพื้นที่เฉพาะที่คนภายนอกจะไม่เข้าไป โดยเฉพาะผู้ชาย เรือนไทยมุสลิมมีการแบ่งพื้นที่ชายหญิง ส่วนหน้าสุดเป็นพื้นที่สําหรับอาคันตุกะและผู้ชาย ส่วนท้ายเรือนเป็นพื้นที่ของผู้หญิง พื้นที่กลางเรือนซึ่งใช้สําหรับนอนและทําละหมาดเป็นพื้นที่ร่วม

• การแบ่งพื้นที่บนเรือนไทยมุสลิม

(ที่มา : อรศิริ ปาณินท์, 2544)

ลักษณะเฉพาะของเรือนไทยมุสลิมในแต่ละจังหวัด ปัตตานี ศูนย์กลางวัฒนธรรมอิสลาม เรือนไทยมุสลิมที่ปัตตานีมีทั้ง 3 แบบ แต่ที่พบมากที่สุด คือ แบบบลานอ จนชาวบ้านเรียกหลังคาแบบ บลานอ หรือแบบมนิลานี้ว่า “แบบปัตตานี” การประดับ ตกแต่งหลังคาด้วยลวดลายไม้ประดับก็มีมาก และพิถีพิถันประณีตสวยงามกว่าจังหวัดอื่นๆ ยะลา มีรูป แบบเดียวกับที่ปั ตตานี และพบเรือนทั้ง 3 แบบ แต่ สัดส่ วนของเรื อนบลานอมี มากกว่าที่ปัตตานี นราธิ ว าส ลั ก ษณะโดยรวมทั้ งรู ป แบบเรื อนและการใช้ พื้น ที่ เ หมื อ นกั บ เรื อนที่ ย ะลาและ ปัตตานี แต่หลังคามนิลาแตกต่างไปตรงที่จั่วจะทรงสูงเล็ก และมีหลังคาทอดกว้างออกไปในลักษณะจั่ว เดียวหรือซ้อนเรียงกัน 2 จั่ว แล้วแต่ขนาดเรือน สตูล หลังคาเรือนที่สตูลเป็นทรงจั่วทรงสูง แล้วต่อปีกนกทั้งสองข้างออกไป ยกใต้ถุน ทรงตัว เรือนไม่สูงเท่าเรือนที่ปัตตานี บันไดทางขึ้นเรือนจะพาดเข้าสู่เรือนโดยตรง ฝาเรือนเป็นไม้เล่นลาย หรือ ไม้ไผ่สานขัดแตะ ไม่ทําชานเรือน เพราะจะขัดกับประเพณีที่ยึดถือว่าเรือนที่มีชานใช้เฉพาะเรือนเจ้านาย

• เรือนไทยมุสลิมที่สตูล (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 257

เรือนไทยมุสลิมภาคใต้ (ที่มา: สมภพ ภิรมย์และคณะ, 2538)

สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


258 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

เรือนชาวเล ชาวเล หรือชาวทะเล คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน อาศัย อยู่ ต ามชายฝั่ ง หรื อ เดิ น ทางเร่ ร่ อ นตามเกาะต่ า งๆของทะเลอั น ดามั น ในภาคใต้ ข องประเทศไทย ประกอบด้ ว ยสามกลุ่ ม ได้ แก่ กลุ่ มมอแกน กลุ่ มมอแกลน และกลุ่ ม อู รั กลาโว้ ย (www.sueb.or.th, 2558) แต่ละกลุ่มมีรายละเอียด ดังนี้ มอแกน (Moken) หรือ สิงทะเล มี ถิ่นฐานอยู่บนเกาะในหมู่เกาะสุรินทร์ ในเขตอําเภอ คุระบุรี จังหวัดพังงา เขตจังหวัดระนอง ภูเก็ต และเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ปัจจุบันมีประมาณ 200 คน มอแกลน (Moklen) หรือ สิงบก มีถิ่นฐานอยู่บนเกาะในเขตอําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และเขตอําเภอตะกั่วป่า ท้ายเหมือง และถลาง อูรักละโว้ย (Urak Lawol) เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่มีถิ่นฐานบนเกาะในเขตจังหวัดภูเก็ต และที่ เกาะพีพี เกาะลันตาใหญ่ เกาะอาตัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี และที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ชาวเลไม่มีภาษาเขียน ภาษาพูดของมอแกน มอแกลนใกล้เคียงกันและสื่อสารกันได้ แต่ภาษา พูดของอูรักลาโว้ยแตกต่างไปมาก แม้จะอยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกัน ในบทเรียนนี้จะศึกษาเรือนพักอาศัย ของกลุ่ม มอแกน ซึ่งยังรักษารูปแบบเรือนตามประเพณีของตนไว้ได้ แม้บางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว มอแกน ได้ฉายาว่ายิปซีทะเล ชาติพันธุ์ โปรโตมาเลย์ กลุ่มภาษาตระกูลออสโตรเซียติก (กลุ่ม มอญ-เขมร) ศาสนาพุทธ อิสลามและยังนับถือผี เร่ร่อนในทะเลมาหลายร้อยปี มีพิธีกรรมที่สําคัญคือการ ฉลองวิญญาณบรรพบุรุษ มีสัญลักษณ์คือ “เสาหล่อโบง” เสาไม้แกะสลัก ตั้งไว้บนเกาะ ส่วนชาวมอแกน ทั้งครอบครัว จะอาศัยใช้ชีวิตอยู่ในเรือเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 6-8 เดือนต่อปี) เรือชาวมอแกนเรียกว่า “ก่าบาง” ลักษณะเฉพาะคือมีง่ามที่หัวเรือ ใช้สําหรับเหยียบขึ้นเรือ ดํารงชีวิตด้วยการจับปลา ดําน้ําหา หอย ปลิงทะเล และของทะเลอื่นๆ นําไปเป็นอาหาร และขายให้พ่อค้า ทั้งคนไทย จีน และพม่า แต่ใน ฤดูมรสุม คลื่นลมแรง ชาวมอแกนจะหลบพายุมาอยู่บนเกาะ เลือกพื้นที่บริเวณชายหาดที่น้ําขึ้นถึง และ เป็นอ่าวที่หลบหรือกําบังคลื่นลมได้ ไม่เลือกพื้นที่ที่ลึกกว่าชายหาด เพราะกลัวป่า อาคารเรือนพักของชาวมอแกนเป็นอาคารง่ายๆสร้างขึ้นเพื่อใช้พัก 3 เดือน ตัวเรือนยกพื้น ค่อนข้างสูง เพราะต้องให้พ้นน้ําเวลาน้ําขึ้น ทําจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย โครงสร้างเป็นกิ่งไม้ หรือไม้ ไผ่ หลังคาและฝาเรือนใช้ใบจากหรือใบอื่นๆ ไม่มีหน้าต่าง ส่วนใหญ่เรือนจะมีขนาดเล็ก ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเกือบจัตุรัส ส่วนใหญ่ไม่มีชาน บันไดขึ้นลงเรือจะพาดสู่ประตูเข้าสู่เรือนโดยตรง หรือมีขนาดเล็กๆ หน้าประตู หน้าบ้านคือด้านที่หันเข้าสู่ฝั่ง ด้านทะเลคือหลังบ้าน มีช่องประตู 2 ช่อง หน้า-หลัง อยู่ตรงกัน ด้านหน้าและหลังบ้าน ไม่มีการแบ่งห้องภายใน มีห้องเดียวใช้งานทุกอย่าง ไม่มีห้องน้ํา เวลานอน จะหัน หัวนอนไปทางป่า ปลายเท้าสู่ทะเล ใต้ถุนเรือนเป็นพื้นที่สําหรับเก็บของและใช้งานในเวลากลางวัน ไม่ทํา พื้น ปล่อยเป็นพื้นทราย มอแกนจะใช้เวลาที่หลบพายุในการซ่อมแซมหรือเตรียมเครื่องมือหากิน และ การประกอบพิธีกรรม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 259

• วิถีชีวิตของชาวมอแกน (ที่มา: http://kabarmakyay.blogspot.com/, 2558)

• หมู่บ้านและเรือนของชาวมอแกน สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น


260 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

• วิถีชีวิตของชาวมอแกนในหมู่บ้าน ระหว่างหลบพายุบนเกาะ (ที่มา: http://library.hu.ac.th/BackUp_library/bkgeneral/morgan.pdf, 2558)

• (ซ้าย) หล่อโบง หรือเสาวิญญาณบรรพบุรุษ สร้างไว้บนเกาะที่ใช้สําหรับฝังศพ ซึ่งเป็นเกาะที่จะไม่ใช้สร้างที่พัก (ขวา) หมู่บ้านที่ทางราชการจัดสรรพื้นที่และสร้างเรือนใช้มอแกนอยู่ ลึกจากทะเล ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเดิม (ที่มา : www.realitynet.org/index.php?p=thailand_moken, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 263

8 สรุป บทสรุป การศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในทุกภาคของประเทศไทยที่ผ่านมา ประกอบด้วยรูปแบบ ลั ก ษณะทางสถาปั ต ยกรรม วั ส ดุ แ ละเทคนิ ค การก่ อ สร้ า ง การใช้ พื้ น ที่ ความเชื่ อ ประเพณี และ พัฒนาการ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือสถาปัตยกรรมประเภทอื่นๆ จะเห็นได้ว่า ปัจจัย ที่เป็นเครื่องกําหนดลักษณะทางสถาปัตยกรรมนั้น ประกอบด้วย (ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ :คําบรรยายใน ชั้นเรียน, 2544) 1. ดินฟ้าอากาศ สภาพดิน ความชื้น สภาพอากาศ อุณหภูมิ กระแสลม ภาวะฝน ฯลฯ 2. เทคนิควิทยา วิชาช่าง เครื่องมือ เทคโนโลยีการก่อสร้างต่างๆ 3. วัสดุ รูปแบบ ข้อจํากัด และวิธีการใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ 4. คมนาคม การสื่อสารที่ทําให้เห็นรูปแบบและการขนส่งวัสดุก่อสร้างจากที่อื่น 5. การปกครอง รูปแบบการปกครอง เช่น ระบอบกษัตริย์ เผด็จการ หรือเสรี 6. เศรษฐกิจ มีความเป็นอยู่ดี มีอันจะกิน มีฐานะดี หรือไม่ดี 7. ระบบสังคม ส่ ง ผลต่ อ การตั้ ง ถิ่ น ฐาน การร่ ว มแรงร่ ว มใจ และการทํ า เพื่ อ สาธารณะ


264 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

8. วัฒนธรรมและความเชื่อ สิ่งที่ทําสื บทอดกัน ตามประเพณีและความเชื่ อ ทั้งศาสนา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ 9. รสนิยม ความนิยมชมชอบจากที่ได้พบเห็นหรือตัวอย่างจากที่อื่นๆ ปัจจัยด้านรสนิยม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด แต่เปลี่ยนแปลงง่ายและบ่อย เปลี่ยนไป เรื่อยๆ ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงยากหรือช้า คือ ปัจจัยด้านดินฟ้าอากาศ และด้านวัฒนธรรมและความ เชื่อ ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงยากหรือช้านี้ เป็นส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดเอกลักษณ์หรือรูปแบบเฉพาะขึ้น ดังนั้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไหน จะมีรูปแบบโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย ด้านดินฟ้าอากาศ วัฒนธรรมและความเชื่อของท้องถิ่นนั้น มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรม หรือถูกนําไปใช้ ในการกําหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมมากน้อยแค่ไหน เอกลักษณ์เรือนพื้นถิ่น : หลังคา เรือนพื้นถิ่นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ที่ปรากฏชัดเจนที่สุด และเป็นสิ่งแรกที่เรารับรู้ คือ รูปทรง หลังคาเรือน เพราะหลังคาเป็นส่วนประกอบที่รับรู้ด้วยสายตา มีขนาดใหญ่ และมีรูปแบบที่แตกต่างกัน จนสามารถบอกได้ ว่า เราจดจํ าเอกลักษณ์ของเรื อนพื้น ถิ่นที่รูป ทรงหลังคาเป็นส่ว นใหญ่ และเราจะ แยกแยะเรือนพื้นถิ่นได้ยาก ถ้าเรายกเอาหลังคาออก รูปทรงหลังคาของเรือนพื้นถิ่นต่างๆพอสรุปได้คือ 1. เรือนกาแล หลังคาจั่วแฝดไม่เท่ากัน มีกาแลประดับยอดจั่ว เอียงลาด 40-50 องศา 2. เรือนบะเก่า หลังคาจั่วมนิลาแฝดหรือเดี่ยว เอียงลาด 27-35 องศา 3. เรือนไทยภาคกลาง หลังคาจั่วทรงสูง เอียงลาดประมาณ 50-55 องศา แอ่นปลาย ป้านลมยอดแหลมสูง ปลายสองข้างมีเหงาหรือหางปลา 4. เรือนอีสาน หลังคาจั่วทรงต่ํา เอียงลาดน้อย มีไม้แกะสลักสั้นๆประดับยอดจั่ว 5. เรือนไทยมุสลิมใต้ หลังคามนิลาแฝด มีมุขลดขนาดเล็กตรงทางเข้าตรงกลาง 6. เรือนไทยพุทธใต้ หลังคาปั้นหยาหลายตอน ทิ้งชายคาจรดกัน เชื่อมด้วยรางน้ํา 7. เรือนไตลื้อสิบสองปันนา หลังคามนิลาทรงสูงเปิดจั่วขนาดเล็ก ปีกหลังคาชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น ทิ้งชายคาต่ํา 8. เรือนไตเขิน ไตยอง คล้ายเรือนไตลื้อ แต่ไม่ปิดหน้าจั่ว ปล่อยโล่งระบายอากาศ 9. เรือนไตใหญ่ หลั งคาจั่ ว เอี ย งลาดมาก ทิ้ งชายคายาวรอบด้ านและหลายระดั บ ระนาบหลังคาไหลต่อเชื่อมกันถ้าอยู่ต่อเนื่องกัน


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 265

10. เรือนอีก้อ หลังคามนิลา เปิดจั่วขนาดเล็กเปิดโล่ง ใช้ระบายอากาศ ทางเข้าเรือนด้าน สกัด มีไม้คู่ไขว้ประดับยอดจั่วคล้ายกาแล 11. เรือนลาวโซ่ง หลังคาทรงกระดองเต่า เปิดหน้าจั่วขนาดเล็กประดับยอดจั่วด้วยไม้คู่ ไขว้คล้ายกาแล ทิ้งชายคาต่ํามองไม่เห็นผนัง ข้อสังเกตคือ เรือนพื้นถิ่นนิยมใช้หลังคาแฝด มีหลายแห่งหลายวัฒนธรรมที่ใช้หลังคาแฝด คือ 1. เรือนกาแล 4. เรือนอีสาน 2. เรือนไตลื้อ (บางแบบ) 5. เรือนไทยมุสลิมใต้ 3. เรือนไตใหญ่ (บางแบบ) 6. เรือนไทยนอกระบบภาคกลาง เหตุของการใช้หลังคาแฝด เกิดจากความต้องการผังเรือนที่มีความกว้างมากเกินกว่าจะทํา หลังคาจั่วเดี่ยว ด้วยวัสดุมุงหลังคาในสมัยก่อนมีข้อจํากัด องศาหลังคาต้องชัน ลาดเอียงมากไม่ให้ฝนรั่ว หลังคาจะต้องสูงมาก เปลืองไม้ และต้านลม จึงทําเป็นหลังคาแฝด แล้วใช้รางน้ําเชื่อม ต่อมา เบื่อรางน้ํา เพราะมักจะรั่ว ต้องซ่อมแซมอยู่เรื่อยๆ จึงดัดแปลงผังเป็นแบบที่ทําเป็นแบบหลังคาจั่วเดี่ยววางฉากแทน วางแฝดใช้ตะเฆ่รางเชื่อม ตะเฆ่รางจัดการให้ป้องกันรั่วได้ง่ายกว่ารางน้ํา ถึงยุคกระเบื้องลอน หลังคาลาด เอี ย งน้ อ ยได้ โ ดยไม่ ก ลั ว รั่ ว หลั ง คาจั่ ว เดี่ ย วคลุ ม ผั ง ที่ มี ค วามกว้ า งได้ ม ากขึ้ น รู ป แบบผั ง เรื อ นจึ ง เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เป็นผังกว้างได้ตามความต้องการ ชักหลังคาคลุมได้ทั้งผังโดยไม่ต้องสูงใหญ่

หลังคาของเรือนพื้นถิ่นในไทย

ความลาดเอียงหรือองศาหลังคาส่วนใหญ่ เป็นการสะท้อนหรือความรุนแรงของฝน แต่เรือน บางประเภทก็อธิบายด้วยเหตุผลเดียวกันไม่ได้ เช่น


266 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

-

เรือนไทยภาคกลาง ต้องใช้หลังคาชัน เพื่อไม่ให้ปะทะฝนตรงๆและระบายน้ําฝนอย่างเร็ว แต่เรือนเครื่องผูกในท้องถิ่นเดียวกันกลับไม่ได้ทําหลังคาชันแต่อย่างใด

-

ภาคใต้มีฝนตกมากและหนักกว่าภาคกลาง แต่เรือนไทยภาคใต้ทั้งมุสลิมและพุทธกลับมี หลังคาที่ลาดชันน้อยกว่าเรือนไทยภาคกลาง

-

ภาคอีสานฝนตกน้อย หลังคาเรือนอีสานจึงลาดเอียงน้อยที่สุดในบรรดาเรือนพื้นถิ่นไทย

แต่คํากล่าวที่ว่าภาคอีสานฝนตกน้อยนั้น เป็นคํากล่าวที่ผิด ผู้กล่าวเช่นนี้เพราะเห็นว่าภาค อีสานแห้งแล้ง จึงคิดว่าฝนตกน้อย แต่ข้อเท็จจริงคือ ภาคอีสานรับฝนจากพายุที่พัดจากเวียดนาม จึงมี ปริมาณฝนมากกว่าภาคอื่นๆในแผ่นดินใหญ่ แต่เพราะพื้นเป็นดินปนทราย น้ําจึงซึมหายไปไม่ชุ่มน้ํา ทํา ให้แห้งแล้ง ฉะนั้น คํากล่าวที่ว่าภาคอีสานฝนน้อย หลังคาเลยไม่ต้องลาดชันจึงไม่สมเหตุสมผล


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 267

ผังพื้น ผังบริเวณ และการขยาย นอกจากรูปทรงหลังคาที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์แล้ว ประเด็นอื่นๆที่จะสามารถพิจารณา ความเหมือนความต่างของเรือนพื้นถิ่นต่างๆได้ คือ ผังพื้น ผังบริเวณ การขยายตัวเพื่อรองรับครอบครัว ขยาย ฯลฯ ได้ดังนี้ 1. เรือนพื้นถิ่นไทย มีการใช้สอยพื้นฐานเหมือนกัน คือ ชานโล่ง ระเบียง ห้องนอน ห้องครัว ใต้ถุนเรือน 2. เรือนชาวเขา รวมการใช้สอยพื้นฐานไว้ภายใน ภายใต้หลังคาและห้องเดียวกัน คือ ส่วนโถง ส่วนนอน และครัวไฟ 3. การใช้สอยพื้นที่ เรือนไทยภาคกลาง มีการใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่งภายในเรือนหลัง หนึ่งเท่านั้น หลายการใช้สอย ก็หลายหลังคา เช่น ห้องนอน ครัว หอนก หอนั่ง แต่ เรือนไทยภาคกลางแบบ เรือนไทยนอกระบบ มีการรวมพื้นที่ใช้สอยหลายๆอย่างเข้าไว้ ภายในเรือนหลังหนึ่ง เช่นเดียวกับเรือนพื้นถิ่นไต ในล้านนาและข้างเคียง

การใช้สอยพื้นที่ของเรือนไทยภาคกลาง (ที่มา: ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

4. การวางทิศทางของเรือนต่างๆกัน คือ - เรือนกาแล วางเรือนขวางตะวัน คือหันจั่วไปทางทิศเหนือใต้ (ส่วนใหญ่ ทิศเหนือ) - อีก้อ วางเรือนให้หันหัวนอนไปทางหุบเขา - ม้ง วางเรือนหันหลังให้ภูเขา - คนไทยภาคกลาง วางเรือนหันหน้า(ด้านยาวของเรือน) สู่ทางสัญจร ทิศใดก็ได้ แต่ห้ามหันหัวนอนไปทิศตะวันตก - คนไทยมอญ วางเรือนหันหน้าไปทางเหนือ ให้หัวนอนหันไปทิศใต้ - ไทยมุสลิม หันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก (แนวจั่วออก-ตก) - เรือนอีสาน วางจั่วเรือนรับตะวัน (แนวจั่วออก-ตก) - เรือนลาวโซ่ง หันหน้าเรือนทางทิศเหนือ (แนวจั่วเหนือ-ใต้) - เรือนชาวเล(มอแกน) นอนหันปลายเท้าไปทางทะเล


268 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

การวางทิศทางของเรือนไทยภาคกลาง (ที่มา: ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

5. การขยายตัวของเรือน สําหรับครอบครัวขยายในรูปแบบต่างๆกัน คือ - เรือนไทยภาคเหนือและอีสาน ขยายตัวด้วยการปลูกเรือนหลังใหม่ในบริเวณ ใกล้เคียง - เรือนไทยภาคกลาง ขยายตัวด้วยการปลูกเรือนหลังใหม่ เชื่อมด้วยชานกับเรือน พ่อแม่ โดยไม่คํานึงถึงทิศทางของเรือนลูก - เรือนไทยมอญ ขยายตัวด้วยการต่อเรือนหรือปลูกเรือนใหม่ด้านข้างเชื่อมด้วย ชาน ให้เรือนทุกหลังหันหัวนอนไปทางทิศใต้ทุกคน

การขยายตัวของเรือนไทยภาคกลาง (ที่มา: ฤทัย ใจจงรัก, 2543)

6. แม่เตาไฟภายในเรือน จะใช้การทํากระบะไม้ยกขอบภายในอัดดินแน่นสําหรับวางเตาหรือ ก่ อ ไฟ ส่ ว นใหญ่ จ ะทํ า ชั้ น วางของโปร่ ง ชั้ น เดี ย วหรื อ หลายชั้ น เหนื อ แม่ เ ตาไฟ ใช้ ว าง อาหารแห้งและเครื่องใช้จักสานเพื่อไล่แมลงกินไม้


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 269

ครัวและเตาไฟบนเรือนพื้นถิ่น

ตําแหน่งที่วางแม่เตาไฟ ในเรือนพื้นถิ่นของไทย คงมีแต่เรือนชาวเขาทุกเผ่าเท่านั้นที่วางแม่ เตาไฟไว้ในเรือนนอน อาจเป็นเพราะความหนาวเย็นของอากาศ เช่นเดียวกับไตลื้อ ไตเขิน ไตยองใน เมียนมาร์ นอกเหนือจากนี้ แม่เตาไฟถูกวางไว้นอกเรือนนอน หรือในเรือนครัว แม้แต่ชาติพันธุ์ที่อพยพ ย้ายถิ่นลงมา เช่น ไตลื้อ ลาวโซ่ง ที่เคยวางแม่เตาไฟไว้ในเรือนนอนก็ปรับเปลี่ยนย้ายแม่เตาไฟออกนอก เรือนนอน 7. การยกพื้นหรือยกใต้ถุนสูงของเรือนพื้นถิ่น มี 3 รูปแบบ - ไม่ยกพื้น ได้แก่เรือนชาวเขากลุ่มที่ใกล้ชิดจีน รับวัฒนธรรมการปลูกเรือนมาจากจีน เช่น ม้ง เย้า - ยกพื้นไม่สูง พอพ้นความชื้นจากดิน ได้แก่ เรือนชาวเขากลุ่มธิเบต-พม่า เช่น อีก้อ เรือนเครื่องผูกภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสานบางส่วน - ยกพื้นสูงพ้นศีรษะ ใช้งานใต้ถุนเรือนได้ ได้แก่ เรือนพื้นถิ่นไทยทั่วไป เรือนไตลื้อ ไตเขิน และไตยอง ในเมียนมาร์

การยกพื้นของเรือนพื้นถิ่น


270 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

8. การยกหรือเปลี่ยนระดับพื้นเรือน เรือนพื้นถิ่นไทยทุกแห่งมีการยกเปลี่ยนระดับพื้นเรือน ทั้งสิ้น จุดประสงค์การยกระดับพื้นนี้ เป็นทั้งการกําหนดหรือแบ่งพื้นที่ใช้สอยแทนการใช้ ผนัง การแสดงเขตหวงห้าม (เรือนไทยมุสลิม) การรับลม (เรือนไทยภาคกลาง)

การเปลี่ยนระดับพื้นเรือน

9. การแยกพื้นที่ชายหญิง พื้นที่และทางขึ้นเรือนฝ่ายชายด้านหน้า พื้นที่และทางขึ้นเรือน ฝ่ายหญิงด้านหลัง ซึ่งใช้กับทั้งผู้มาเยือนและเจ้าของบ้าน ได้แก่ เรือนอีก้อ เรือนลาวโซ่ง เรือนไทยมุสลิมใต้ การประดับหลังคา เรือนพื้นถิ่นส่วนใหญ่มีการประดับหลังคา โดยเฉพาะป้านลม เพราะป้านลมเป็นส่วนที่เด่น ที่สุดของเรือน มีการตกแต่งด้วยรูปแบบและความเชื่อต่างๆกันคือ 1. ไม้คู่ไขว้ประดับยอดจั่ว เช่น เรือนกาแล เรือนอีก้อ เรือนลาวโซ่ง นอกจากเรือนพื้นถิ่นที่ กล่าวมา ยังมีเรือนพื้นถิ่นอื่นๆในอุษาคเนย์อีกมากที่ประดับยอดจั่วในลักษณะคล้ายกันนี้ รวมทั้งการนําเขาควายจริงขึ้นไปติดประดับ เช่น เรือนพื้นถิ่นบนเกาะกาลิมันตัน เกาะสุ ลาเวสี เกาะสิงค์โปร์ เกาะชวา เกาะสุมาตรา กัมพูชา ฯลฯ

ไม้คไู่ ขว้ประดับยอดจั่ว


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 271

2. ไม้ท่อนสั้นแกะสลัก ติดเดี่ยว หรือควบคู่กับลวดลายไม้แกะสลัก เช่น เรือนสรไน เรือน ขนมปังขิง เรือนอีสาน เรือนไทยมุสลิมใต้

การประดับยอดจั่วเรือนสรไน เรือนภาคใต้ และเรือนอีสาน

3. ไม้ท่อนสั้นติดซ้อนชั้นของไม้ทับแนวกระเบื้อง คั้นด้วยไม้ฉลุลายแบบต่างๆ หรือเจาะเป็น ช่องแบบต่างๆพบที่อําเภอแม่แจ่ม จอมทอง และฮอด จังหวัดเชียงใหม่

การประดับยอดจั่วที่แม่แจ่ม


272 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

4. ยึดไม้ป้านลมขึ้นเป็นยอดแหลม เช่น เรือนไทยภาคกลาง และประดับปลายสองข้างด้วย เหงาหรือหางปลา เรือนอีสานบางส่วนยืดยอดป้านลมเป็นยอดแหลมสั้นๆ แต่ไม่มีส่วน ประดับปลายสองข้าง

ยอดจั่วของเรือนไทยภาคกลาง

5. ต่อแนวครอบสันหลังคาออกมาเป็นแผ่นบางๆแล้วงอนปลายเรียวแหลมขึ้น เช่น เรือนไต ลื้อที่สิบสองปันนา เรือนอะโตนิ ติมอร์ตะวันตก

การประดับยอดจั่วเรือนไตลื้อสิบสองปันนา

การใช้วัสดุก่อสร้าง เรือนพื้นถิ่นทุกแห่งใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นวัสดุก่อสร้าง ในสมัยโบราณของไทยการ ใช้วัสดุแตกต่างกันที่ฐานะทางสังคม ชนชั้นกษัตริย์ใช้วัสดุถาวรประเภทเครื่องก่อและเครื่องไม้อย่างดี เป็นวัสดุก่อสร้างที่อยู่อาศัย ชนชั้นสูงหรือผู้นําในสังคมหรือผู้มีบรรดาศักดิ์จะใช้ไม้จริงอย่างดีก่อสร้าง บ้านเรือน ส่วนสามัญชนทั่วไป ให้ใช้วัสดุกึ่งถาวรจําพวกไม้ไผ่ หญ้าคาเป็นวัสดุสร้างบ้านเรือน (เรือน เครื่องผูก) ในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน การใช้วัสดุแตกต่างกันที่ฐานะทางเศรษฐกิจ ผู้มีฐานะยากจน สามารถสร้างได้แต่เรือนเครื่องผูกซึ่งมีราคาถูก ผู้มีฐานะดีสามารถสร้างเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้อย่าง ดีซึ่งมีราคาแพงกว่า การเกิ ด ขึ้ น ของวั ส ดุ ก่ อ สร้ า งแบบใหม่ ที่ ค งทนถาวรกว่ า ทํ า ให้ เ รื อ นพื้ น ถิ่ น เปลี่ ย นแปลง ชาวบ้านต้องการวัสดุที่คงทนไม่ต้องซ่อมต้องเปลี่ยนบ่อยๆเหมือนวัสดุเดิมๆประเภทไม้ไผ่ หญ้าคา จาก หรือตองตึง แม้ว่าจะอยู่ไม่สบายเหมือนเดิม ตลอดจนรูปแบบที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเพราะลักษณะการ ก่อสร้างด้วยวัสดุใหม่ๆต่างจากลักษณะการก่อสร้างด้วยวัสดุเดิม


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 273

การประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การประยุ ก ต์ ใ ช้ ส ถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น กั บ การออกแบบสถาปั ต ยกรรม สามารถทํ า ได้ หลากหลายรูป แบบมาก หลายวิธีการ หลายระดั บของการใช้ แต่ผู้ใช้ หรือผู้พบเห็นสถาปัตยกรรมที่ ประยุ ก ต์ ใช้ ง านพื้ น ถิ่ น จะรั บ รู้ ก ารสื่ อ สารนั้ น มากน้ อยเพี ย งใด ขึ้ น อยู่ กับ รู ป แบบหรื อวิ ธี การที่ นํ ามา ประยุกต์ใช้ ประสบการณ์ และพื้นฐานความรู้ของผู้พบ ตลอดจนระดับของการนําเอางานพื้นถิ่นมา ประยุกต์ใช้ของผู้ออกแบบ รูปแบบ วิธีการของการนํางานพื้นถิ่นมาใช้ เช่น 1. 2. 3. 4. 5. 6.

ใช้รูปร่าง รูปทรง ใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ใช้วัสดุ และหรือวิธีใช้วัสดุ ใช้ลวดลาย สีสัน ใช้พื้นที่ว่าง (Space) ที่สะท้อนมาจากพื้นที่ใช้สอย การใช้ภูมิปัญญาการแก้ปัญหา

ซึ่งอาจใช้ ข้อใดข้ อหนึ่ง หรื อหลายข้ อร่ว มกั น แต่ กรณี ที่จ ะสื่ อสารถึ งระดั บที่ จะระบุ ได้ การ ประยุกต์งานพื้นถิ่นนั้น มาจากงานพื้นถิ่นแหล่งใด กลุ่มไหน จําเป็นต้องใช้รูปแบบวิธีการมากกว่า 1 ข้อ เว้นแต่เป็นการใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (ข้อ 2 ) อาจทําให้รับรู้ได้ว่าต้องการสื่อสารถึงงานพื้น ถิ่นแหล่งใด เช่น การใช้กาแล (ไม้คู่ไขว้) ประดับยอดจั่วหลังคา หรือ การใช้ป้านลมยอดแหลมกับปลาย แบบตัวเหงา ประดับหลังคา บางกรณี การประยุกต์ใช้ไม่ได้ต้องการสื่อสาร แต่เป็นการใช้ภูมิปัญญาใน การแก้ปัญหา หรือสร้างสภาวะสบายให้อาคารเท่านั้น ส่วนต่อไปนี้เป็น ตัว อย่ างงานที่ นําเอางานพื้น ถิ่นไปประยุกต์ ทั้งเพื่ อการสื่อสาร การใช้ภู มิ ปัญญา และการอนุรักษ์สืบสาน


274 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

โรงเรียนปัญญาเด่น

โรงแรม สวนทิพย์วนารีสอร์ต

โรงแรม เฟิร์นรีสอร์ต

โรงแรม ภูใจใส รีสอร์ตแอนด์สปา

ค่ายผู้อพยพบ้านท่าสองยาง •

การนํางานพื้นถิ่นประเภทเรือนเครื่องผูกไปประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้งานพื้นถิ่นส่วนใหญ่ เป็นการนําเอาวัสดุมาใช้ เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย หรือใช้แล้วสื่อสารถึงงานพื้นถิ่นได้ เช่น ดิน ไม้ไผ่ ใบตองตึง ใบจาก ฯลฯ การนํารูปแบบมาประยุกต์ใช้


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 275

นั้น พบบ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากวิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากอดีต การใช้รูปแบบ ตลอดจนการใช้พื้นที่ว่าง (Space) อาจไม่สอดคล้องกับชีวิตปัจจุบัน

การนํายอดจั่วปลายจ๋องของงานพื้นถิ่นไปประยุกต์ใช้

การประดับยอดจั่วอาคารด้วยปลายจ๋องแบบดั้งเดิมของงานพื้นถิ่นบนอาคารทั้งพักอาศัยและ อาคารประเภทอื่นๆ เป็นการง่ายในการสื่อสารถึงงานพื้นถิ่น เป็นการใช้สัญลักษณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ การประดับยอดจั่วปลายจ๋องในงานพื้นถิ่นมีเอกลักษณ์โดดเด่น เช่น กาแลในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้สรไนใน พื้นที่ลําพูน ใช้ยอดจั่วแหลมสูงกับปลายตัวเหงาในพื้นที่ภาคกลาง

เรือนแถวของชาวจีนเปิดช่องโล่งช่วงกลาง ช่วยระบายอากาศและรับแสงธรรมชาติ

เรือนร้านค้าประเภทตึกแถวของชาวจีนในภาคใต้ ต่อเนื่องถึงเกาะปีนัง จะเว้นเป็นช่องโล่งช่วง กลางอาคารตั้งแต่พื้นถึงหลังคา ปล่อยให้แสงและน้ําฝนตกลงมาภายในบ้านตามความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ย แต่เกิดผลดีต่อบ้าน เพราะช่วยระบายอากาศ ระบายควันจากครัว และรับแสงธรรมชาติมาใช้ในบ้านที่ ลึกและจะมืดมากถ้าไม่มีช่องนี้ การเจาะช่องกลางอาคารลักษณะนี้ ถูกนําไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ อาคาร


276 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

ช่องลมที่ยอดฝา

การทําช่องลมที่ยอดฝาของเรือนพื้นถิ่นหลายแหล่ง ช่วยระบายความร้อนออกจากเรือน อีกทั้ง เป็นการเปิดรับแสงเข้าสู่ภายในแบบ indirect ไม่ให้ห้องมืดเกินไป ตลอดจนเรือนพื้นถิ่นภาคใต้ที่ลมแรง สายฝนตกเฉียงสาดเข้าหน้าต่าง ช่องลมแบบนี้ รับลมได้แต่ฝนไม่สาด

ฝาไหล ทั้งประโยชน์ใช้สอยและเอกลักษณ์เรือนล้านนา

ฝาไหลของล้านนา เปิดปิดรับลมรับแสง หน้าร้อนก็เปิดรับลม หน้าหนาวก็จะปิดกันลม เป็น ช่องลมที่ ปิ ดเปิ ดได้ ที่ร าคาถู กกว่ าหน้ าต่าง ไม่ต้องมีอุป กรณ์ใดๆ และเป็น เอกลั กษณ์ ของงานพื้ น ถิ่ น ล้านนา จึงมักถูกนําไปประยุกต์ใช้ หรือดัดแปลงเป็นฉากบังสายตา เพื่อสื่อสารถึงงานพื้นถิ่น

สนามบินสุโขทัย (ที่มา: http://saturnzero.blogspot.com/2010/08/3_15, 2558)

สนามบินสุโขทัย เป็นสนามบินเอกชน ผู้ออกแบบใช้รูปแบบของวิหารแบบสุโขทัยมาออกแบบ ส่ว นอาคารผู้ โ ดยสาร และอาคารประกอบอื่น ๆ เพื่ อสื่อสารถึ งสถาปั ตยกรรมแบบสุ โ ขทั ย และเป็ น ตัวอย่างของการนําสถาปัตยกรรมประเภทศาสนสถานมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เพราะผู้ใช้และผู้พบ เห็นรับรู้ถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสุโขทัย แต่ไม่ได้รับรู้ถึงความเป็นวัด หรือสถาปัตยกรรมสูงศักดิ์ของวิหาร สุโขทัย ซึ่งเป็นปัญหาที่สถาปนิกพึงระมัดระวัง และได้ถูกวิพากวิจารณ์อย่างมากในช่วงเวล่ที่ผ่านมา


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 277

สนามบินสมุย (ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย, 2558)

ลักษณะเด่น ของสนามบิน สมุ ย คือ ความเป็ นสถาปัตยกรรมสีเขีย วในอาคารแห่งนี้ ความ กลมกลืนกับบริบททางวัฒนธรรม (Cultural Context) ดึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เขตร้อนชื้น (Tropical Vernacular Design) มานําเสนออย่างเด่นชัด งดงาม ตั้งแต่การระบายอากาศ ธรรมชาติ คุณภาพของแสงสว่างธรรมชาติ การใช้วัสดุและการออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม แม้อาคารหลังนี้จะไม่มี “ของเล่นสีเขียว” (Green Gadgets) ใด ๆ มาประกอบใช้ เช่น เปลือกอาคาร ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง หรื อ ระบบวิ ศ วกรรมนํ า สมั ย แต่ ผู้ อ อกแบบเลื อ กให้ ค วามสํ า คั ญ ต่ อ ความเป็ น “สถาปัตยกรรมสีเขียว” ที่ลุ่มลึกกว่าการเป็นเพียง “อาคารเขียว” ตามมาตรฐานของตะวันตกที่กําลัง เป็นที่นิยมเช่น LEED หรือ BREEAM (www.asa.or.th/th/node/99809, 2558)

โรงแรมยางคํา

โรงแรมยางคําใช้รูปแบบภายนอกของหมู่บ้านและเรือนไตลื้อสิบสองปันนา ออกแบบภายใน ใหม่เป็นโรงแรมที่พัก วางเรือนเป็นกลุ่มเว้นที่ว่างตรงกลางไว้ตามแบบหมู่บ้านลื้อ แต่เปลี่ยนข่วงบ้านเป็น สระว่ายน้ําแทน อาคารล๊อบบี้ของโรงแรมด้านหน้านํามาจากวัดไตลื้อ ประยุกต์ให้ใช้เป็นอาคารโรงแรม ภายในห้องพัก ใช้การตกแต่งให้สื่อสารถึงงานพื้นถิ่นไตลื้อ


278 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

โรงแรมอโยธารา (ที่มา: http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2008/12/E7340844/E7340844, 2558)

รูปแบบเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลาง หรือเรือนไทยเดิม ถูกนําไปประยุกต์ใช้มากที่สุด ทั้งในภาค กลาง หรือภาคอื่นๆ ด้วยความเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไทย อาคารที่นํา รูปแบบเรือนไทยเดิมไปใช้มีทั้งบ้านพักอาศัย ร้านค้า โรงแรม พิพิธภัณฑ์ ที่ทําการ ฯลฯ ส่วนใหญ่ เป็น การใช้รูปแบบภายนอก ทั้งหลังหรือเฉพาะส่วนของหลังคา

โรงแรมเรือนไทย สุโขทัย (ที่มา: www.ruenthaihotel.com, 2558)

โรงแรมบันยันทรี ภูเก็ต (ที่มา: http://dev.lagunaphuket.com/hotels/banyantree/, 2558)


เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี 279

โรงแรม Phulay Bay, A Ritz-Carlton Reserve ผลงานการออกแบบของสถาปนิกเมธา บุนนาค


280 สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น

โรงแรมลิตเติ้ลยอนย่า ภูเก็ต ผลงานการออกแบบของสถาปนิกธวัช ศิวภักดิ์วัจนเลิศ


บรรณานุกรม เขต รัตนจรณะ. “เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้”. ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ "ความหลากหลายของเรื อ นพื้ น ถิ่ น ไทย". หน้ า 179-197. คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: 2544. จูเหลียงเหวิน. ชนชาติไต สถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ไตในสิบสองปันนา. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2536. น.ณ ปากน้ํา. แบบแผนบ้านเรือนในสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. บุรีรัตน์ สามัตถะ. ภาคใต้ หนังสือชุด"รู้เรื่องเมืองไทย". กรุงเทพฯ: 2545. ฤทัย ใจจงรัก. เรือนไทยเดิม. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, 2543. ผุ ส ดี ทิ พ ทั ส และ มานพ พงศทั ต . บ้ า นในกรุ ง เทพฯ : รู ป แบบและการเปลี่ ย นแปลงในรอบ 200 ปี (พ.ศ.2325-2525). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525. ลิขิต ธีรเวคิน. ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2521. ลักขณา ดาวรัตนพงษ์. สารานุกรมชาติพันธ์ ลีซอ. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จํากัด, 2539. วนิ ด า พึ่ งสุ น ทร. “สถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น ภาคใต้ ”. ใน เอกสารประกอบการประชุ ม ทางวิ ช าการ "ความ หลากหลายของเรื อนพื้ น ถิ่ น ไทย". หน้ า 25-44. คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร. กรุงเทพฯ: 2544. วนิดา พึ่งสุนทร. “เรือนไตลื้อในสิบสองปันนา”. ใน วารสารหน้าจั่ว. ฉบับที่ 10 ประจําปีการศึกษา 2533. กรุงเทพฯ : 2533. วนิดา พึ่งสุนทร. “การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณทะเลสาบสงขลา”. ใน วารสารหน้าจั่ว. ฉบับที่ 16 ประจําปีการศึกษา 2542-43. กรุงเทพฯ : 2543. วิวัฒน์ เตมียพันธ์. “แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” ใน เอกสารการอบรม “แนวทางการศึกษา และวิจัยทางศิลปกรรมไทย”. คณะมัณฑนศิลป์ร่วมกับคณะอนุกรรมการการวิชาการโครงการ จัดตั้งหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: 2529. วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. กรุงเทพฯ: 2536. วิโรฒ ศรีสุโร. ธาตุอีสาน. กรุงเทพฯ: 2539. วิโรฒ ศรีสุโร. บันทึกอีสานผ่านเลนส์. กรุงเทพฯ: 2543. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. เรือนไทย บ้านไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2543. สมใจ นิ่มเล็ก. เรือนเครื่องผูก. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2536. สมภพ ภิรมย์และคณะ. บ้านไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมจํากัด(มหาชน), 2538. เสนอ นิลเดช. ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: 2537. เสนอ นิลเดช. เรือนเครื่องผูก. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2541.


สมคิด จิระทัศนกุล. “เรือนล้านนา”. ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ "ความหลากหลายของ เรือนพื้นถิ่นไทย". หน้า 160-178. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: 2544. สมัย สุทธิธรรม. เย้า. กรุงเทพฯ: บริษัทเลิฟแอนด์ลิพเพรส จํากัด, 2541. สมัย สุทธิธรรม. ลีซอ. กรุงเทพฯ: บริษัทเลิฟแอนด์ลิพเพรส จํากัด, 2541. สมัย สุทธิธรรม. อีก้อ. กรุงเทพฯ: บริษัทเลิฟแอนด์ลิพเพรส จํากัด, 2541. สุวิทย์ จิระมณี. “ประเพณี คติความเชื่อ มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมอีสาน” ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องสถาปัตยกรรมอีสาน. ขอนแก่น: 2530. สุวิทย์ จิระมณี . ศิลปะสถาปัตยกรรมพื้ นถิ่นอีสานในวัฒนธรรมไทย-ลาว. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2545. สุพล ปวราจารย์. “เรือนชาวเขา” ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ "ความหลากหลายของเรือน พื้ น ถิ่ น ไทย". หน้ า 118-128. คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ยศิ ล ปากร. กรุงเทพฯ: 2544. เสาวลั ก ษณ์ พงษธา โปษยนั น ท์ . “เรื อ นชาวเล”. ใน เอกสารประกอบการประชุ ม ทางวิ ช าการ "ความ หลากหลายของเรือนพื้ นถิ่น ไทย". หน้ า 198-210. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. กรุงเทพฯ: 2544. อนุวิทย์ เจริญศุภกุล และ วิวัฒน์ เตมียพันธ์. เรือนล้านนาไทยและประเพณีการปลูกเรือน. กรุงเทพฯ: สมาคม สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, 2539. อนุ วิ ท ย์ เจริ ญ ศุ ภ กุ ล . “จุ ด เด่ น ในงานสถาปั ต ยกรรมอี ส าน” ใน เอกสารประกอบการสั ม มนาเรื่ อ ง สถาปัตยกรรมอีสาน. ขอนแก่น: 2530. อรศิริ ปาณินท์. “หมู่บ้านลอยน้ําของไทย” ใน วารสารประกอบการประชุมวิชาการ สถาปัตยปาฐะ 45. หน้า 119-130. กรุงเทพฯ: 2545. อรศิริ ปาณินท์. ปัญญาสร้างสรรค์ในเรือนพื้นถิ่นอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: 2543. อรศิริ ปาณิ น ท์ , “เรือนพื้ น บ้ านไทย-มอญ” ใน วารสารหน้ าจั่ ว. ฉบั บ ที่ 16 ประจําปี การศึ กษา 2541-42. กรุงเทพฯ: 2543. อรศิริ ปาณินท์. บ้านและหมู่บ้านพื้นถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2539. เอกวิทย์ ณ ถลาง. ภูมิปัญญาล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2544. อัน นิมมานเหมินท์. “เรือนไทยแบบดั้งเดิม” ใน วาระครบหกรอบของ ศ.อัน นิมมานเหมินท์. หน้า 79-100. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2532. Jacques Dumarcay. The House in South-East Asia. Singapore: 1987. Roxana Waterson. The Living House. Singapore: 1991.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.