โรคเมลิออยโดสิส3

Page 4

4 3. การติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน 2-3 วันหลังเข้าโรงพยาบาล เชื้อจะกระจายเข้าสู่ กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว อัตราป่วยสูงมาก ส่วนใหญ่มักเสียชีวิต ภายใน 2 - 3 วันหลังเข้าโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่าร้อยละ 50 ไม่มีประวัติเป็นมาก่อน ร้อยละ 25-30 มี ประวัติเป็นโรคที่ปอดมาก่อน และร้อยละ 20-25มีประวัติเป็นโรคนี้ที่บริเวณผิวหนังและบริเวณอื่นๆ 4. จากการศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานี พบโรคเมลิออยโดสิสเฉพาะที่ปอดร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยโรคนี้ รองลงมาคือ ที่ผิวหนังและชนิดเชื้อแพร่กระจายในเลือดประมาณร้อยละ 20เท่าๆกัน 5. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสชนิดติดเชื้อในกระแสเลือดประมาณร้อยละ 60-70 การก่อโรค กลไกการก่อโรคของ B. pseudomallei ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลก่อให้เกิดความ รุนแรงของโรค เช่น ความสามารถในการก่อโรค (virulence) จ้านวนและวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภาวะภูมิต้านทาน ของผู้ป่วย virulence factors ของเชื้อที่ส้าคัญได้แก่ endotoxin, exotoxin และ เอ็นซัยม์หลายชนิด การสร้าง biofilm

ห่ อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีผลท้าให้ เชื้อสามารถเจริญได้ในเซลล์ เม็ดเลือดขาวโดยไม่ถูกจับกินและสามารถ

แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ นอกจากนั้น biofilm ยังป้องกันไม่ให้สารต้านจุลชีพซึ่มเข้าสู่เซลล์ ท้าให้เชื้อ สามารถทนต่อสารต้านจุลชีพที่ความเข้มข้นสูงขึ้น การติดต่อของเชื้อมาสู่คน การติดต่อที่พบบ่อยได้แก่การหายใจและการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ปนเปื้อนในดินและน้​้าในขณะที่มี บาดแผล การติดต่อจากคนสู่คนมีรายงานน้อยมาก ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ที่พบบ่อย 2-20 วัน หรืออาจนานเป็นปี การควบคุมป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิส การควบคุมป้องกันโรคท้าได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้​้าขณะท้างาน ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเรื้อรัง

หรือ มีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน โดยสวมรองเท้าบูทขณะท้างานลุยน้​้า ลุยโคลน การวินิจฉัยโรค 1. อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรค เช่น เลปโตสไป โรซิส สครับไทฟัส มาเลเรีย ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความส้าคัญมาก การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะมีผลต่อการรักษา และการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลันมักเสียชีวิต เร็ว หลังการรักษา 1-2 วัน 2. การเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยกเชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ ใช้เวลา ประมาณ 2-5วันตัวอย่างที่ใช้ตรวจได้แก่เลือดเสมหะน้​้าจากปอดหนองจากฝีปัสสาวะเมื่อเชื้อขึ้นจะท้าการพิสูจน์


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.