โรคเมลิออยโดสิส3

Page 1

1 โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) เมลิออยโดสิส เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุจาก Burkholderia (Pseudomonas) pseudomallei ระยะฟักตัวไม่แน่นอน อาจสั้นเพียง 2-3 วัน หรือยาวนานเป็นปี เชื้อมีอยู่ในดินน้​้า สัตว์หลายชนิด ซึ่งพบได้ในคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แพะ แกะ หมู โค กระบือ โรคนี้พบได้มากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และ ออสเตรเลียตอนเหนือ โดยเฉพาะในประเทศไทย มีผู้ป่วย 2000 -3000 รายต่อปี อุบัติการณ์ของโรคมากที่สุดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉลี่ย 4.4 ต่อ 100,000 คน พบผู้ป่วยมากในฤดูฝนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งไม่มี อาการจ้าเพาะ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หรือมีอาการรุนแรง เช่น พบเนื้อตาย แผล ฝีหนองที่ปอด ตับ หรือม้าม หรือพบการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรวดเร็ว โรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหา ของ หลายประเทศ โรคนี้ติดต่อโดยการได้รับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือโดยการกิน และการหายใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการและ อาการแสดงอาการที่พบมีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงมาก เช่น มีไข้ ปอดบวม พบมีการติดเชื้อใน กระแสโลหิต และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วมาก อาจมีอาการคล้ายไข้ไทฟอยด์ หรือวัณโรคถุงลมปอดโป่งพอง ฝี เรื้อรังหรือข้อกระดูกอักเสบเป็นต้น โรคนี้พบได้บ่อยในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การ ชันสูตรท้าได้โดยการเพาะเชื้อจากตัวอย่างแล้วตรวจวินิจฉัย และการตรวจปฏิกิริยาน้​้าเหลือง ในรายที่อาการไม่ รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ โรคเมลิออยโดสิสมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคมงคล่อเทียม เป็นโรคที่พบในสัตว์หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ สุกร แพะ แกะ นอกจากนี้ยังพบในโค กระบือ ม้า สุนัข แมว สัตว์ฟันแทะ สัตว์ป่าหลายชนิด โรคนี้สามารถติดต่อ มายังคนได้ พบในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและระบาดมากในช่วงฤดูฝน ใน ประเทศไทยพบผู้ป่วยได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัด ขอนแก่น และอุบลราชธานี อุบัติการณ์ของโรคมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉลี่ย 4.4 ต่อ 100,000 คน ผู้ ป่ว ยส่ วนใหญ่เป็น ชาวไร่ช าวนาหรื อผู้ ที่ท้างานกับดิน และน้​้า พบผู้ ป่ว ยมากในฤดูฝน คาดว่าจะมีผู้ ป่ว ย มากกว่าปีละ 2,500 รายในประเทศไทย แต่ขาดการศึกษายืนยัน และไม่มีการรายงานในผู้ป่วยส่วนมาก จากการ ส้ารวจระดับแอนติบอดีต่อเชื้อของคนปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมีการติดเชื้อประมาณร้อยละ 25 จาก การพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหลายรูปแบบ ที่อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ เช่น มาลาเรีย วัณโรค จึงได้ชื่อว่า “ยอดนักเลียนแบบ” เชื้อโรคชนิดนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองโดยหลบหลีกระบบการตรวจสอบ สิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ท้าให้สามารถหลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้นาน 20-30 ปี แต่ทั้งนี้ระยะฟักตัวอาจ สั้นเพียง 2 วันหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและอาการของโรค


2 เชื้อก่อโรค B. pseudomallei เป็นแบคทีเรีย ชนิด Gram negative bacilli มีลักษณะจ้าเพาะ คือ เซลล์จะติดสีเข้ม หัวท้าย เมื่อย้อมด้วยสี Gram Stain หรือ Wayson Stain ท้าให้มีลักษณะคล้ายเข็มกลัดซ่อนปลาย ไม่สร้างสปอร์ เคลื่อนที่โดยใช้ flagella เชื้อสามารถเจริญได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียทั่วๆไป ลักษณะโคโลนีและสีจะเปลี่ยน เเปลงตามชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเจริญได้ในภาวะเป็นกรด pH 4.5-8 และ อุณหภูมิระหว่าง 15-42 องศาเซลเซียส

โคโลนีบน Blood agar มีสีขาวขุ่น (A)และจะเหี่ยวย่นเมื่อบ่มไว้นานกว่า 2 วัน (B) มี beta hemolysis zone รอบๆ โคโลนี มีกลิ่นเฉพาะ คล้ายกลิ่นดิน สาเหตุ 1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei (Pseudomonas psudomalle) ซึ่งเป็น แบคทีเรียชนิดแกรมลบ มีลักษณะจ้าเพาะคือเซลล์จะติดสีเข้มหัวท้าย เมื่อย้อมด้วยสีแกรมท้าให้มีลักษณะคล้าย เข็มกลัดซ่อนปลาย ไม่สร้างสปอร์ เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา เชื้อสามารถเจริญได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย ทั่วๆไป ลักษณะโคโลนีและสีจะเปลี่ยนเเปลงตามชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถ เจริญได้ในภาวะเป็นกรด pH 4.5-8 และอุณหภูมิระหว่าง 15-42 องศาเซลเซียส โคโลนีบน Blood agar มีสีขาว ขุ่น และจะเหี่ยวย่นเมื่อบ่มไว้นานกว่า 2 วัน พบมี beta hemolysis zoneรอบๆโคโลนีและมีกลิ่นเฉพาะคล้าย กลิ่นดิน 2.

ในประเทศไทยมี ร ายงานแยกเชื้ อ ได้ จ ากดิ น และน้​้ า ของทุ ก ภาค พบมากที่ สุ ด ในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ มี 2 biotypes เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์ Arabinose negative (Ara-) ในขณะที่ แยกได้จากสิ่งแวดล้อมมีทั้ง Arabinose negative และ Arabinose positive (Ara+) ความสามารถในการก่อโรค ของสายพันธุ์ Ara- มากกว่า Ara+ โดยมีค่า LD50 เท่ากับ 102 cfu/mouse และ 109 cfu/mouse ตามล้าดับ ปัจจุบัน Ara+ ถูกจัดให้อยู่ในสปีชีส์ใหม่ ชื่อ Burkholderia thailandnensis


3 3. วิธีการติดต่อโดยทั่วไปสามารถติดต่อจากการสัมผัสกับดินหรือน้​้าผ่านทางแผลที่ผิวหนังหรือหายใจเอา ฝุ่นจากดินที่มีเชื้อหรือดื่มน้​้าที่มีเชื้อเจือปนเชื้อเมลิออยโดสิสสามารถอยู่ได้ในซากสัตว์ที่อยู่ในดินและน้​้า 4. ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 2 วัน หรือเป็นปีขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและระยะเวลาแสดงอาการของโรค กลไกการก่อโรคยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลก่อให้เกิดความรุนแรงของโรค เช่น ความสามารถใน การก่อโรค จ้านวนและวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วย ความรุนแรงของเชื้อที่ส้าคัญได้แก่ endotoxin exotoxin และ เอ็นซัยม์หลายชนิด การสร้าง biofilm ห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีผลท้าให้เชื้อสามารถเจริญได้ ในเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยไม่ถูกจับกินและสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ นอกจากนั้น biofilmยังป้องกัน ไม่ให้ยาต้านจุลชีพซึมเข้าสู่เซลล์ท้าให้เชื้อสามารถทนต่อยาต้านจุลชีพที่ความเข้มข้นสูงขึ้น 5. เมลิออยโดสิสเป็น โรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของหลายประเทศ รายงานว่าประเทศทางแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และทางเหนือของทวีปออสเตรเลียเป็นบริเวณที่มีโรคชุกชุม และสามารถตรวจพบโรคนี้ได้บ้างใน ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆทั่วโลก ในประเทศไทยพบผู้ป่วยได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบ มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60-95)เป็นชาวไร่ชาวนาหรือผู้ที่ท้างานกับดินและน้​้าพบผู้ป่วยมากในฤดู ฝนมีรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรังวัณโรคเบาหวานโรคไตโรคเลือดมะเร็ง และภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกันเป็นต้นเด็กเป็นโรคนี้น้อยกว่าผู้ใหญ่ ระบาดวิทยา ในประเทศไทยมีรายงานแยกเชื้อได้จากดิน และน้​้า ของทุกภาค พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 2 biotypes เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์ Arabinose negative (Ara-) ในขณะที่แยกได้จากสิ่งแวดล้อม มีทั้ง Arabinose negative และ Arabinose positive (Ara+) ความสามารถในการก่อโรคของสายพันธุ์ Araมากกว่า Ara+ โดยมีค่า LD50 เท่ากับ 102 cfu/mouse และ 109 cfu/mouse ตามล้าดับ ปัจจุบัน Ara+ ถูกจัด ให้อยู่ในสปีชีส์ใหม่ ชื่อ Burkholderia thailandnensis อาการ 1. อาการไข้นานไม่ทราบสาเหตุผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการมีไ ข้เป็นเวลานานโดยที่ไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัดพบว่าน้​้าหนักลดลงร่างกายอ่อนเพลียต่อมาจึงเกิดอาการที่รุนแรงขึ้นลักษณะทางคลินิกของโรคนี้ สามารถเลียนแบบโรคอื่นๆได้เกือบทุกโรคขึ้นอยู่กับต้าแหน่งของอวัยวะที่เกิดโรค 2. ผู้ป่วยมาด้วยอาการของการติดเชื้อเฉพาะที่ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อที่ปอดมีอาการเหมือนปอดอักเสบ คือมีไข้ไอมีเสมหะเล็กน้อยน้​้าหนักลดบางรายไอมีเสมหะปนเลือดเจ็บหน้าอกพบว่าการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับ การเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรังผู้ป่วยบางรายมีอาการของฝีในตับฝีในกระดูกหรือเป็นเพียงฝีที่ผิวหนัง เท่านั้นถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องอาจเกิดอาการรุนแรงขึ้น


4 3. การติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน 2-3 วันหลังเข้าโรงพยาบาล เชื้อจะกระจายเข้าสู่ กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว อัตราป่วยสูงมาก ส่วนใหญ่มักเสียชีวิต ภายใน 2 - 3 วันหลังเข้าโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่าร้อยละ 50 ไม่มีประวัติเป็นมาก่อน ร้อยละ 25-30 มี ประวัติเป็นโรคที่ปอดมาก่อน และร้อยละ 20-25มีประวัติเป็นโรคนี้ที่บริเวณผิวหนังและบริเวณอื่นๆ 4. จากการศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานี พบโรคเมลิออยโดสิสเฉพาะที่ปอดร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยโรคนี้ รองลงมาคือ ที่ผิวหนังและชนิดเชื้อแพร่กระจายในเลือดประมาณร้อยละ 20เท่าๆกัน 5. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสชนิดติดเชื้อในกระแสเลือดประมาณร้อยละ 60-70 การก่อโรค กลไกการก่อโรคของ B. pseudomallei ยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลก่อให้เกิดความ รุนแรงของโรค เช่น ความสามารถในการก่อโรค (virulence) จ้านวนและวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภาวะภูมิต้านทาน ของผู้ป่วย virulence factors ของเชื้อที่ส้าคัญได้แก่ endotoxin, exotoxin และ เอ็นซัยม์หลายชนิด การสร้าง biofilm

ห่ อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีผลท้าให้ เชื้อสามารถเจริญได้ในเซลล์ เม็ดเลือดขาวโดยไม่ถูกจับกินและสามารถ

แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ นอกจากนั้น biofilm ยังป้องกันไม่ให้สารต้านจุลชีพซึ่มเข้าสู่เซลล์ ท้าให้เชื้อ สามารถทนต่อสารต้านจุลชีพที่ความเข้มข้นสูงขึ้น การติดต่อของเชื้อมาสู่คน การติดต่อที่พบบ่อยได้แก่การหายใจและการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ปนเปื้อนในดินและน้​้าในขณะที่มี บาดแผล การติดต่อจากคนสู่คนมีรายงานน้อยมาก ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ที่พบบ่อย 2-20 วัน หรืออาจนานเป็นปี การควบคุมป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิส การควบคุมป้องกันโรคท้าได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้​้าขณะท้างาน ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเรื้อรัง

หรือ มีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน โดยสวมรองเท้าบูทขณะท้างานลุยน้​้า ลุยโคลน การวินิจฉัยโรค 1. อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรค เช่น เลปโตสไป โรซิส สครับไทฟัส มาเลเรีย ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความส้าคัญมาก การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะมีผลต่อการรักษา และการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลันมักเสียชีวิต เร็ว หลังการรักษา 1-2 วัน 2. การเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยกเชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ ใช้เวลา ประมาณ 2-5วันตัวอย่างที่ใช้ตรวจได้แก่เลือดเสมหะน้​้าจากปอดหนองจากฝีปัสสาวะเมื่อเชื้อขึ้นจะท้าการพิสูจน์


5 ชนิดของเชื้อด้วยการทดสอบทางชีวเคมีและทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกใช้ยา รักษาได้เหมาะสม 3. การเลือกใช้อาหารเลี้ยงเชื้อชนิด meat nutrient agar หรือการเติม 1-5% glucose ลงไปในอาหาร เลี้ยงเฃื้อ ช่วยให้ผลเพาะเชื้อดีขึ้นร้อยละ 30 4. การตรวจแอนติบอดีจ้าเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยด้วยวิธี IHA เป็นการทดสอบโดยใช้ เม็ดเลือดแดงที่เคลือบแอนติเจนของ B. pseudomalleiท้าปฏิกิริยากับแอนติบอดีจ้าเพาะในซีรัมผู้ป่วยในกรณีที่มี การติดเชื้อจะเกิดการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 5. การตรวจแอนติบอดีจ้าเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยด้วยวิธี IFA เป็นการตรวจแอนติบอดี จ้าเพาะชนิด IgG และ IgM ในซีรัมผู้ป่วย ต่อเชื้อ B. pseudomallei ที่เคลือบไว้บนสไลด์ และติดตามปฏิกิริยา ด้วยการย้อมสารที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง ซึ่งจะเห็นตัวเชื้อ B. pseudomalleiเรืองแสงสีเขียวเมื่อดูด้วยกล้อง จุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง 6. วิธี ELISA เป็นการตรวจแอนติบอดีต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยโดยการท้าปฏิกิริยากับสาร สกัดจาก B.pseudomallei ที่เคลือบไว้บนไมโครเพลตหรือเมมเบรน และติดตามปฏิกิริยาด้วยแอนติบอดีจ้าเพาะ ต่อ IgG หรือ IgM ที่ติดฉลากด้วยเอ็นซัยม์ท้าให้เกิดสีซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือวัดปริมาณด้วยเครื่องวัด 7. การตรวจแอนติเจนของเชื้อในตัวอย่างของผู้ป่วย ซึ่งได้แก่ เลือด ปัสสาวะ หนอง วิธีทีใช้ทดสอบท้าได้ หลายวิธี ช่วยให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้เร็วขึ้น การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี PCRมี การศึกษาวิจัยในหลายสถาบันพบว่ามีความไวและความจ้าเพาะสูงแต่ยังไม่แพร่หลายในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป 8. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ได้พัฒนาชุดทดสอบส้าหรับตรวจแอนติบอดีด้วยวิธี IHA โดยใช้ extracellular protein (EXP) เป็นแอนติเจนเคลือบเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีความไวและความจ้าเพาะเท่ากับร้อยละ 88.6 และ 93.3 ตามล้าดับ ได้ผลิตเพื่อให้การสนับสนุนแก่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการทั่วไป นอกจากนั้นยังให้บริการการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี IFA และ IHA การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรคเช่น เลปโตสไปโรซิส สครับไทฟัส มาเลเรีย ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความส้าคัญมาก การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็วจะ มีผลต่อการรักษาและการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลันมักเสียชีวิตเร็ว หลังการ รักษา 1-2 วัน การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการมีดังนี้ 

การเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยกเชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ เช่น blood agar, Mac Conkey agar ใช้เวลาประมาณ 2-5 วัน ตัวอย่างที่ใช้ตรวจ มักเป็นเลือด (Hemoculture) เสมหะ น้​้าจากปอด หนองจากฝี ปัสสาวะ เมื่อเชื้อขึ้นจะท้าการ Identification ด้วยการทดสอบทาง ชีวเคมี และทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกใช้ยารักษาได้เหมาะสม


6 

การตรวจแอนติบอดีจ้าเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วย  Indirect hemagglutination (IHA) ทดสอบโดยใช้ เ ม็ ด เลื อดแดงที่ เ คลื อบแอนติ เ จนของ B. pseudomallei ท้าปฏิกิริยากับแอนติบอดีจ้าเพาะในซีรัมผู้ป่วย ในกรณีที่มีการติดเชื้อจะเกิดการจับ กลุ่มของเม็ดเลือดแดง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  Immunofluorescent assay (IFA) เป็นการตรวจแอนติบอดีจ้าเพาะชนิด IgG และ IgM ในซีรัม ผู้ป่วย ต่อเชื้อ B. pseudomallei ที่เคลือบไว้บนสไลด์ และติดตามปฏิกิริยาด้วยการย้อมด้วย antihuman IgG/IgM ที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง ซึ่งจะเห็นตัวเชื้อ B. pseudomallei เรืองแสงสีเขียว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง  Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) เป็น การตรวจแอนติ บอดีต่ อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยโดยการท้าปฏิกิริยากับสารสกัดจาก B.pseudomallei ที่เคลือบไว้บน ไมโครเพลตหรือเมมเบรน และติดตามปฏิกิริยาด้วยแอนติบอดีจ้าเพาะต่อ IgG หรือ IgM ที่ติดฉลาก ด้วยเอ็นซัยม์ ท้าให้เกิดสีซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือวัดปริมาณด้วยเครื่องวัด  การตรวจแอนติเจนของเชื้อในตัวอย่างของผู้ป่วยซึ่งได้แก่ เลือด ปัสสาวะ หนอง วิธีทีใช้ทดสอบได้แก่ Latex agglutination (LA), Direct fluorescent assay (DFA) และ ELISA ทดสอบกับ hemoculture ท้าให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแลโลหิตได้เร็วขึ้น  การตรวจหาสารพั น ธุ ก รรมด้ ว ยวิ ธี PCR มีการศึกษาวิจัยในหลายสถาบัน พบว่ามีความไวและ ความจ้าเพาะสูง แต่ยังไม่แพร่หลายในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป

B.pseudomallei เมื่อย้อมด้วยแอนติบอดีจ้าเพาะที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง (1000X)


7 การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย 1. เก็บตัวอย่างได้จากแผลโดยการดูดหนองใส่ภาชนะที่สะอาดหรือป้ายเชื้อลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเพื่อย้อม สีแกรมหรือเพาะแยกเชื้อ 2. เก็บเสมหะโดยให้มีน้าลายปนมาน้อยที่สุดโดยเอาเสมหะที่ออกมาหลังจากการไอการท้าให้ไอหรือดูด จากล้าคอ 3. การเจาะเลือดเพื่อมาเพาะเชื้อหรือน้าซีรั่มมาทดสอบทางซีรั่มวิทยา การรักษา 1. แยกผู้ป่วยไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและโพรงจมูก 2. น้าสารคัดหลั่งสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย เช่น เลือด ปัสสาวะ เสมหะ หรือหนอง มาเพาะเลี้ยง

แล้ว

น้ามาทดสอบดูว่ามีเชื้อนี้อยู่หรือไม่ ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วันจึงจะรู้ผล 3. พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย โดยให้ยาฉีดในระยะแรก 2 สัปดาห์ และให้ยารับประทานต่อจนครบ 20สัปดาห์เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้​้า 4. เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว การใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่จ้าเป็น ยาที่นิยมใช้กันได้แก่ tetracycline, chloramphenicol, kanamycin, cotrimoxazole และ novobiocin ที่ใช้ได้ผลดีคือ ceftazidime 4 กรัม/วัน นาน 1 เดือน ต่อเนื่องด้วย tetracycline นาน 6 เดือน 5. ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาแบบยาชนิดเดียว โดยใช้ ceftazidime 120 มก./กก./วัน โดยฉีดเข้ากล้าม หรือฉีดเข้าเส้นเลือดนาน 14 วัน ในผู้ป่วยอาการหนัก ซึ่งให้ผลอัตราการรอดชีวิต ประมาณร้อยละ 60 แบะการ รักษาแบบยา 2 ชนิด ceftazidimne 100 มก./กก./วัน ร่มกับ cotrimoxazole นาน 7 วัน อัตราการรอดชีวิตใน ผู้ป่วยหนักถึงร้อยละ 70-75จากนั้นผู้ป่วยควรได้ยาชนิดรับประทานต่อไป 6. ในรายที่ฝีจะต้องมีการผ่าตัดเอาฝีออกซึ่งจะให้ผลดีกว่าการใช้เข็มเจาะหรือดูดเอาแต่หนองออกการท้า ผ่าตัดควรท้าเมื่อตรวจไม่พบเชื้อในกระแสโลหิตแล้ว 7. โรคเมลิออยโดสิสนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยเนื่องจากพบมีอัตราป่วยตายสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตและมักพบอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเรื้อรังเช่นโรคเบาหวานโรคไตทั้ง นี้มักมีการ กลับซ้​้าของโรคในกรณีให้การรักษาระยะสั้นและผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง นอกจากนั้นอาการของโรคยัง คล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรคอาจท้าให้วินิจฉัยผิดได้ซึ่งจะมีผลต่อการรักษาเพราะการรักษาโรคเมลิออยโดสิสมี รู ป แบบจ้ า เพาะไม่เ หมื อ นโรคติ ด เชื้อ อื่ น และยามี ร าคาค่ อ นข้ า งแพงจึ งจ้ า เป็ น ต้ อ งพั ฒ นาวิ ธี ต รวจกรองให้ มี ประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถตรวจได้ทุกห้องปฏิบัติการ


8 การป้องกันโรค 1. ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิสการควบคุมป้องกันโรคท้าได้ยากเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้​้าขณะท้างานผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่องผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคเรื้อรังหรือมี บาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินโดยสวมรองเท้าบูทขณะท้างานลุยน้​้าลุยโคลนรวมทั้งบุคคลที่มีอาการ ของโรคเบาหวานและแผลบาดเจ็บรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้​้าเช่นในไร่นา 2. ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลเมื่อต้องสัมผัสดินและน้​้าหรือรีบท้าความสะอาดร่างกายหลังการท้างานใน บุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวานและแผลบาดเจ็บรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้​้าถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องสวมถุงมือรองเท้ายางเพื่อป้องกัน 3. หากมีแผลถลอกหรือไหม้ซึ่งสัมผัสกับดินหรือน้​้าในพื้นที่ที่เกิดโรคควรท้าความสะอาดทันที 4. เมื่อมีบาดแผลและเกิดมีไข้หรือเกิดการอักเสบเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์นอกจากนี้แล้วการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆและการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคต่างๆได้ 5. การป้องกันโรคเป็นไปได้ยากเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาที่ต้องท้างานสัมผัสดินและน้​้าซึ่งใน ถิ่นระบาดพบเชื้อสาเหตุอยู่ทั่วไป


9 เอกสารอ้างอิง Chaowagul W. Recent advances in the treatment of severe melioidosis. Acta Trop 2000;74:133-7. Leelarasamee A. Melioidosis in Southeast Asia. Acta Trop 2000; 74: 129-32. Dance DAB. Melioidosis. Curr Opin Infect Dis2002 ;127-32. Melioidosis-General Information. http://www.cdc.gov/ncidod/dbmd/diseasseinfo/melioidosis_g.htm White NJ. Melioidosis. Lancet 2003; 361(9370):1715-22. ผกากรอง ลุมพิกานนท์, สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ, สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน. โรคเมลิออยในเด็ก ขอนแก่น: โรง พิมพ์คลังนานาวิทยา; 2545 Naigowit P, Kulata T, Wangroonsub P, Petkanchanapong W, Kondo E and Kanai K. Application of direct immunofluorescent microscopy to colony identification of Pseudomonas pseudomallei . Asian Pacific J Allergy Immonol 1993;11: 149-154. Wangroongsarb P, Kumsawat S, Petkanchanapong W, et al. Selection of Burkholderia pseudomallei antigens for antibody detection by indirect hemagglutination method Chula Med J 2000; 44(8): 631-42. Petkanchanapong W, Naigowit P, Kondo E and Kanai K. Use of Endotoxin Antigen in Enzyme-linked Immunosorbent Assay for the Diagnosis of P. pseudomallei

Infection

(Melioidosis). Asian Pacific J Allergy Immunol 1992; 10:145-150. http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/infectious/1 8 8 7 %E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0 %B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B 8%AA-melioidosis.html ฝ่ายภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.