Gatsbytastefilm

Page 1

The Reason I Chose This Film เหตุผลที่เลือกทำรายงานเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ The Great Gatsby เป็นวรรณกรรมที่เคยอ่านมาก่อน และเมื่อได้ชมเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ก็รู้สึกชอบวิธี การนำเสนอที่ดูยิ่งใหญ่อลังการของ Baz Luhrmann ซึ่งส่วนตัวก็ชอบสไตล์ของผู้กำกับอยู่แล้ว หลัจากได้ชม ภาพยนตร์เรื่องนี้หลายครั้ง ก็พบว่ามีประเด็นที่สามารถวิเคราะห์ตีความได้หลายประเด็น อีกทั้งยังมองเห็นจุดเด่น จุดด้อยที่น่าสนใจและคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในการศึกษาวิชารสแห่งภาพยนตร์ หรือ Taste of Film ต่อไปอีกด้วย

Film Background ความเป็นมาของภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่อง The Great Gatsby สร้างจากวรรณกรรมคลาสสิกของ F. Scott Fitzgerald นักเขียนชาว อเมริกันผู้โด่งดังในยุค 1920 – 1940 ในชื่อเดียวกัน ผลงานหลายต่อหลายเรื่องของ Fitzgerald ขึ้นแท่นเป็นผล งานคลาสสิกในแวดวงวรรณกรรมของอเมริกา อาทิ This Side of Paradise, Flappers and Philosophers, The Beautiful and Damned, The Curious Case of Benjamin Button ฯลฯ และเรื่อง The Great Gatsby นี้ก็ได้รับ การยกย่องให้เป็น “The Great American Novel” จนกลายหนังสือที่เด็กนักเรียนมัธยมปลายชาวอเมริกันทุกคน จะต้องอ่านในเวลาต่อมา ผลงานของ Fitzgerald ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตชาวอเมริกันในยุครุ่งเรื่องของดนตรีแจ๊ส (Jazz Age) ในช่วงปีค.ศ. 1920 ที่มีชื่อเรียกติดปากชาวอเมริกันว่า “The Roaring Twenties” เนื่องจากหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกาชนะสงคราม เศรษฐกิจเฟื่องฟู ศิลปะ ดนตรี และวัฒนธรรมก็เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ผู้คนใช้ ชีวิตกันอย่างสนุกสุดเหวี่ยง โดยเฉพาะชนชั้นสูงที่มักจะจัดงานเลี้ยงสังสรรค์เต้นรำกันเป็นว่าเล่น แต่ช่วงนั้นเป็น ช่วงทีร่ ัฐบาลเก็บภาษีเครือ่ งดื่มแอลกอฮอล์สูง เพราะมีนโยบายจะให้ประชาชนลดการกินดื่มสังสรรค์ลง ทำให้ ธุรกิจใต้ดนิ อย่างการค้าเหล้าเถื่อนทำกำไรได้อย่างมหาศาล พวกนอกกฎหมายจึงกลายเป็นมหาเศรษฐีข้นึ มาได้ อย่างรวดเร็วในพริบตาเดียว แนวคิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในยุคนั้นคือเรื่องของ “American Dream” ซึ่งกล่าวถึงความเท่าเทียมกันทาง โอกาสและเสรีภาพที่ทำให้พลเมืองอเมริกันสามารถมุ่งไปสู่เป้าหมายสูงสุดในชีวิตได้โดยการมุมานะทำงานอย่าง ตั้งใจด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ไม่ยึดติดกับชนชัน้ ทางสังคม หรือสถานะทางสังคมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แนวคิด นี้มีพื้นฐานมาจากคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาที่ว่า “All men are created equal.” (มนุษย์ทุกคนเกิดมา อย่างเท่าเทียมกัน) และ Fitzgerald ก็ได้นำมาใช้เป็นแก่นของเรื่อง The Great Gatsby ด้วย The Great Gatsby ถูกนำไปดัดแปลงเป็นศิลปะแขนงอื่น ๆ อีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บัลเลต์ โอเปร่า ละครเวที และที่ถูกนำไปดัดแปลงหลายครั้งมากที่สุดก็คือสื่อภาพยนตร์ ซึ่งมีลำดับดังต่อไปนี้ 1. ภาพยนตร์เงียบในปีค.ศ. 1926 กำกับโดย Herbert Brenon ผู้กำกับมีชื่อในยุคนั้น และนำออกฉายโดย สตูดิโอ Paramount Pictures แต่เป็นทีน่ ่าเสียดายที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็น “Lost Film” ซึ่งไม่สามารถหา ภาพยนตร์เรื่องนี้ชมได้ในปัจจุบัน เนื่องจากภาวะตกต่ำของยุคภาพยนตร์เงียบ ทำให้มีการทำลายฟิล์มภาพยนตร์ เหล่านี้ไปเป็นจำนวนมาก The Great Gatsby ยุคนี้จึงเหลือไว้แต่เพียงตัวอย่างภาพยนตร์เท่านั้น 2. ภาพยนตร์เสียงขาวดำ ออกฉายในปีค.ศ. 1949 กำกับโดย Elliot Nugent ภายใต้สตูดิโอ Paramount


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.