คณะผู้แทนเยาวชนลูกเสือไทย สรุปรายงานการประชุมสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14

Page 1



สารบัญ งานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14

4

การเตรียมความพร้อม

5-7

ผู้สมัครตัวแทนเยาวชนลูกเสือ

8 - 11

ก่อนเข้าร่วมงานสมัชชา 5 การประชุมคณะผู้แทนเยาวชนลูกเสือไทย 6 - 7

เกาหลีใต้ และไต้หวัน 8 ฮ่องกง 9 โอมาน และอาเซอร์ไบจาน 10 มาเลเซีย 11

ระหว่างการเข้าร่วมงาน

12 - 23

ข้อเสนอแนะคณะผู้แทนถึง สำ�นักงานลูกเสือแห่งชาติ

24 - 27

กิจกรรมในงานสมัชชา 12 - 13 บันทึกกิจกรรม วันที่ 1 14 บันทึกกิจกรรม วันที่ 2 15 - 16 แสดงความยินดีกับผู้แทนเยาวชนลูกเสือ 17 บันทึกกิจกรรม วันที่ 3 18 บันทึกกิจกรรม วันที่ 4 19 - 21 บันทึกกิจกรรม วันที่ 5 22 - 23


14th World Scout Youth Forum งานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14

(14th World Scout Youth Forum) งานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 (14th World Scout Youth Forum) จัดขึ้นโดยมี ประเทศอียิปต์เป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 700 คนจาก 163 ประเทศสมาชิกทั่วโลกซึ่งเป็นการ จั ด งานสมั ช ชาครั้ ง แรกที่ จั ด ขึ้ น ในรู ป แบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 18 ถึง 22 สิงหาคม 2564 โดยเป้าหมาย หลักของการจัดงานสมัชชาในครั้งนี้คือ “Bridging the World” การสร้างสะพานเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ของผู้คนบนโลกนี้ให้เข้าถึงการติดต่อสื่อสารได้ง่ายขึ้น

ผู้แทนคณะลูกเสือไทยเข้าร่วมงาน สมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14

เนื่ อ งด้ ว ยสำ � นั ก งานลู ก เสื อ แห่ ง ชาติ ไ ด้ ประกาศคัดเลือกผู้แทนคณะลูกเสือไทยเข้าร่วมงาน สมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 (14th World Scout Youth Forum)  จากการประกาศผลได้มี ผู้ผ่านคัดเลือกจำ�นวนทั้งหมด 4 คน โดยมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

1. นายวชิรวิชญ์ เพ็ญแสงธนานนท์ หัวหน้าคณะผู้แทน

2. นางสาวกรณษา สังขนิตย์ ผู้แทนคณะ

3. นายวัสสวัสส์ โคกทับทิม ผู้สังเกตการณ์

4. นายปรมะ สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้สังเกตการณ์

3

1 4

14th WSYF Thailand Report

2

4


การเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าร่วมงานสมัชชา

โดยหลังจากได้มีการประกาศรายชื่อและเรียกรายงานตัวผู้ที่ผ่านการคัดเลือกตัวแทนลูกเสือ ไทยในการเข้าร่วมงานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก  ครั้งที่  14  ได้มีการสร้างกลุ่มเพื่อรวบรวมสมาชิก ของคณะและเพื่อการติดต่อประสานงานกันผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) และมีการนัดหมายประชุม เพื่อทำ�ความเข้าใจรวมถึงการเตรียมความพร้อมและรวมถึงกิจกรรมสร้างความสนิทสนมกันมากขึ้น  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อโคโรน่าไวรัส 2019 ในช่วงที่ผ่านมา กิจกรรมทั้งหมด ในภาพรวมจึงถูกจัดขึ้นในรูปแบบของกิจกรรมออนไลน์  รวมถึงกระบวนการทำ�งานทั้งหมดของคณะ ผู้แทนลูกเสือไทยในการเข้าร่วมงานดังกล่าวได้มีการปรับรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ในช่วงเวลาดังกล่าว  รวมถึงเพื่อความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำ�งานร่วมกันของคณะ ผู้แทน  โดยการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมได้มีการจัดขึ้นอย่างสม่ำ�เสมอตลอดช่วงเวลาของการ เตรียมความพร้อมเพื่อให้การติดตามงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

14th WSYF Thailand Report

5


การประชุม

ของคณะผู้แทนเยาวชนลูกเสือไทย

การประชุมเตรียมความพร้อมของคณะผู้แทนเยาวชนลูกเสือ ไทยมีการประชุมทั้งหมด 6 ครั้งโดยในแต่ละครั้งมีรายละเอียด ดังนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ เป็นการแนะนำ�ตัวและทำ�ความรู้จักกันภายในคณะ ผู้แทน รวมถึงกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพและแลก เปลี่ยนเลี่ยนกับแนวคิดทางด้านลูกเสือและประเด็น ที่ต้องการให้มีการแก้ไข และสุดท้ายคือการศึกษา แนวทางการปฏิ บัติของงานสมัชชาเยาวชนลูก เสื อ โลกร่วมกัน และได้มอบหมายให้สมาชิกคณะผู้แทน ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำ� มาอภิปรายร่วมกันในการประชุมครั้งต่อไป

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นการประชุม เพื่อติดตามการศึกษาเอกสารและรายละเอียดของ งานประชุมสมัชชาลูกเสือโลก พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของ การศึกษาผู้สมัคร Youth Adviser Candidate และ วิธีการลงคะแนนเสียง รวมถึงการวางแผนนัดหมาย ผู้แทน Youth Adviser Candidate จากประเทศ ต่าง ๆ และภายในคณะลูกเสือไทยได้มีมติร่วมกันใน การรวบรวมประเด็นเรื่องของลูกเสือไทยจากบุคคล ทั่ ว ไปเพื่ อ ให้ มี ส่ ว นร่ ว มและการนำ � เสนอประเด็ น ต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับลูกเสือภายในประเทศไทย ผ่านกระบวนการสอบแบบสอบ – ถามผ่านแบบฟอร์ม กูเกิล (Google Form)

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้มีโอกาสพบกับที่ปรึกษาคณะ คุณธนเดช อิศรภักดีธรรม โดยได้มีการเสนอให้มีการทำ�วิดิทัศน์แนะนำ�กิจการลูกเสือและวัฒนธรรมของประเทศไทย  เพื่อเป็นการนำ�เสนอ และเผยแพร่ถึงลักษณะกิจกรรมและวัฒนธรรมของไทยต่อนานาประเทศที่เข้าร่วมงานสมัชชาลูกเสือเยาวชนโลก ครั้งที่ 14 และได้มีการสรุปประเด็นเพิ่มเติมร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามาเพิ่มเติมเช่น กฎและระเบียบ ของงานสมัชชา 6

14th WSYF Thailand Report


ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 คณะผู้แทนลูกเสือไทย ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตจึง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำ�งานโดยให้เกิดการ ทำ�งานแบบจับคู่ (Pair – working) เพื่อให้ภาระ หน้าที่หรือสภาพงานไม่หนักจนเกินไปสำ�หรับเพียง แค่บุคคลเดียวและมีการเตรียมการเพิ่มเติมโดยการ ลงรายละเอียดตารางกิจกรรมของงานสมัชชาพร้อม ทั้ ง มอบหมายการประชุ ม ประจำ � ทุ ก วั น หลั ง เสร็ จ กิจกรรมในส่วนหลักหรือ Plenary Session

ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นการประชุมร่วม กันของคณะผู้แทนลูกเสือไทยและที่ปรึกษาคณะ ใน การศึกษาตารางงานเพิ่มเติมร่วมกันรวมถึงการจัด ผู้แลในการนำ�ใจความสำ�คัญจากกิจกรรมต่าง ๆ มา สังเคราะห์ภายในคณะ  รวมถึงติดตามเรื่องของวิดิ ทัศน์แนะนำ�กิจการลูกเสือและวัฒนธรรมของไทย สุดท้ายคือการสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกันถึงประเด็น ต่าง ๆ จากแบบสอบถามเพื่อไว้เป็นข้อมูลเชิงสถิติใน การเข้าร่วมงานสมัชชา

ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นการประชุมเพื่อตรวจสอบความพร้อมของคณะผู้แทน ทั้งการตรวจสอบ เรื่องของประเด็นเรื่องบัญชีผู้ใช้งาน (Account) ในการเข้าร่วมงานผ่านระบบออนไลน์ จัดทำ�รายการสิ่งของที่ต้อง จัดเตรียมและมีการสรุปเรื่องของการลงความเห็นเกี่ยวกับการคัดเลือก Youth Adviser Candidate ทั้ง 6 คน

โดยรวมแล้ ว การเตรี ย มความพร้ อ มของคณะ ลูกเสือไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  มีปัญหา เพียงเล็กน้อยแต่เนื่องจากการทำ�งานร่วมกันเป็น หมู่คณะและอาศัยความร่วมมือกันรวมถึงกระบวน ต่าง ๆ ของลูกเสือจึงก้าวผ่านและแก้ไขปัญหาไป ได้ด้วยดี

14th WSYF Thailand Report

7


ผู้สมัครตัวแทนเยาวชนลูกเสือ (Youth Advisor Candidate) คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้มีการเข้าพบตัวแทนผู้สมัคร ตัวแทนเยาวชนลูกเสือและคณะลูกเสือจากประเทศต่าง ๆ โดยภายในช่วงเวลาเตรียมการเข้าร่วมงานสมัชชาเยาวชนลูก เสือโลก ครั้งที่ 14 คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้พบกับผู้สมัคร ตัวแทนเยาวชนลูกเสือทั้งหมด 6 ประเทศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เกาหลีใต้

คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้พบกับผู้สมัครจากประเทศ เกาหลี ชื่อว่า Yoobinnara Lisa Kim โดยได้มีการแลก เปลี่ยนกันซึ่งประเด็นที่อยู่ในความสนใจของ Lisa โดยได้นำ� เสนอในเรื่องของ การให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม Lisa ได้นำ�ทฤษฎี Ladder of Participation ของ Roger Hart มาอ้างอิงในพูดถึงประเด็นดังกล่าวและ Lisa ยังมุ่งเน้นใน เรื่องของการสนับสนุนเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยในการทำ�งานร่วมกันภายในองค์กรลูกเสือ วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ไต้หวัน

ผู้สมัครจากประเทศไต้หวัน David Lai เป็นผู้ สมัครคนที่สองที่คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้มีโอกาสพบและ พูดคุย ประเด็นตามที่ David ได้นำ�เสนอว่าเป็นประเด็นที่ ต้ อ งการให้ ค วามสำ � คั ญ ด้ ว ยคื อ เรื่ อ งของ  การเติ บ โตของ กิจการลูกเสือทั้งเชิงคุณภาพ  และเชิงปริมาณ  นอกจาก นี้ ยั ง ต้ อ งให้ เ ยาวชนเข้ า ไปมี ส่ ว นร่ ว มกั บ กระบวนการ ตัดสินใจ ให้เยาวชนได้มีสิทธิ โอกาสและพื้นที่ในการ แสดงออกอย่ า งเท่ า เที ย มสำ � หรั บ ทุ ก คน  โดย  David  ต้ อ งการนำ � ความรู้ แ ละความสามารถในเรื่ อ งของความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศของตนมาใช้ในกระบวนการลูกเสือ

8

14th WSYF Thailand Report

Yoobinnara

David


วันที่ 13 สิงหาคม 2564 ฮ่องกง

Addison NG จากประเทศฮ่องกง เป็นผู้สมัคร คนที่สามที่คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้ทำ�การร่วมพูดคุย  โดย  Addison  ได้พูดถึงประเด็นที่ได้เล็งเห็นถึงความ สำ�คัญโดยนำ�เสนอผ่านกลยุทธ์ Recovery (การฟื้นฟู วงการลูกเสือจากวิฤตการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโคโร น่าไวรัส 2019) Individuality (การเพิ่มคุณค่าความเป็น ปัจเจก คือการเพิ่มทักษะชีวิต  การใช้ความรู้และความ สำ � คั ญ เรื่ อ งของความรู้ ใ นการรั ก ษาความเจ็ บ ป่ ว ยทาง จิตใจและการสร้างแรงบันดาลใจ) Synergy (การทำ�ร่วม กันทั้งในองค์กรและนอกองค์กร) และ Equality (ความ เท่าเทียม) โดยนอกจากนี้คณะลูกเสือผู้แทนลูกเสือไทย ได้แลกเปลี่ยนเรื่องของวัฒนธรรม  โดยเฉพาะเรื่องของ อาหาร ความเป็นอยู่ และกิจการลูกเสือภายในประเทศ โดยจากการสนทนาร่วมกันกับคณะลูกเสือฮ่องกงจึงได้ จัดทำ�ภาคี “Sauce Alliance” ขึ้นมา

14th WSYF Thailand Report

9


วันที่ 14 สิงหาคม 2564

โอมานและอาเซอร์ไบจาน

คณะผู้แทนลูกเสือไทยได้พบกับผู้สมัครเป็นจำ�นวน  2  คนคือผู้สมัครและคณะจาก ประเทศโอมานและอีกหนึ่งประเทศคือ  ประเทศอาเซอร์ไบจาน  ผู้แทนจากประเทศโอมาน คือ Ahmed Al – Kamyani และจากประเทศอาเซอร์ไบจานคือ Fatima Aliyeva โดยช่วง ที่พบกับ Ahmed ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเรื่องประเด็นคือ การพัฒนาและรองรับการดูแล สุขภาพทางจิตลูกเสือในชุมชนและการนำ�นวัฒกรรมมาสร้างความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่วน  Fatima  จากประเทศอาเซอร์ไบจานได้พูดถึงประเด็นการแก้ไขปัญหาภายในองค์กรลูกเสือข องแต่ละประเทศ และร่วมกันช่วยหาวิธีการแก้ไขปัญหา

10

14th WSYF Thailand Report


วันที่ 15 สิงหาคม 2564 มาเลเซีย

ลำ � ดั บ สุ ด ท้ า ยที่ ค ณะผู้ แ ทนลู ก เสื อ ไทยได้ พ บกั บ ผู้สมัครจากประเทศมาเลเซีย Ahmad Syauqi โดยได้ อภิปรายร่วมกันเรื่อง  การให้เยาวชนร่วมมือการตัดสินใจ ภายในองค์กร  และสามารถแลกเปลี่ยนเรื่องของปัญหา ภายในองค์กรและวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

จากการพูดคุยและเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดจากผู้สมัครตัวแทนเยาวชนลูกเสือจาก ทั้ง 6 ประเทศจะพบเห็นได้ว่าประเด็นที่ผู้สมัครให้ความสนใจอย่างมาก  คือ  ประเด็นของ เรื่องการมีส่วนร่วมของเยาวชนภายในกระบวนการดำ�เนินงานองค์กรลูกเสือในระดับต่าง  ๆ รวมถึงการส่งเสริมความเท่าเทียมของตัวของลูกเสือ การทำ�งานอย่างมีส่วนร่วมสำ�หรับทุกคน ไม่ว่าเป็นเยาวชนหรือผู้ใหญ่ และความร่วมมือในการพื้นฟูสภาพกิจการลูกเสือในภูมิภาคและ ระดับโลก

14th WSYF Thailand Report

11


ระหว่างการเข้าร่วมงาน

สมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14

กิจกรรมภายในงานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้เข้าร่วมทั้ง กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมการประชุมซึ่งเป็นกิจกรรมหลักและยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาศักยภาพและ องค์ความรู้เกี่ยวกับลูกเสือ โดยแบ่งกิจกรรมเป็นลักษะได้ดังนี้

Plenary Session

เป็นช่วงเวลาในร่วมประชุมหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการ ร่างรัฐธรรมนูญ  วางแผนจึงจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ของกิจการลูกเสือ ในส่วนของเยาวชนและร่วมกันลงมติตามประเด็นการร่างธรรมนูญลูก เสือรวมถึงการเลือกผู้แทนลูกเสือเยาวชน  โดยจะจัดขึ้นประจำ�ทุกวัน

Institutional Breakout Sessions

เป็นช่วงการเสวนาในกลุ่มย่อยตามประเด็นในการ ร่างฉบับร่างรัฐธรรม ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การทำ�งานร่วมกันของ ผู้เข้าร่วมงานสมัชชาทุกคนตามประเด็นที่สนใจและในช่วง แรกเป็นช่วงในการหาเสียงรวมถึงเสวนากับผู้สมัครผู้แทนลูก เสือเยาวชน

Networking Space

เป็นช่วงเวลาที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์กันของผู้เข้าร่วมงานสมัชชา  โดย กิ จ กรรมประเภทนี้ จ ะส่ ง เสริ ม การทำ � งานร่ ว มกั น ภายในหมู่ ลู ก เสื อ นานาชาติ   (เป็ น หมู่ ที่ ร วมลู ก เสื อ จะ ประเทศต่ า ง  ๆ  ที่ เข้ า ร่ ว มงานเข้ า ด้ ว ยกั น ผ่ า นการจั ด ของผู้ จั ด งาน)  ในการเสนอญั ต ติ แ ละร่ า งธรรมนู ญ ลู ก เสื อ   นอกจากนี้ ยั ง มี กิ จ กรรมที่ ใ ห้ เ กิ ด ปฏิ สั ม พั น ธ์ ข องผู้ เข้ า ร่ ว มงานและการสนทนาการหั ว ข้ อ ที่ ส นใจ 12

14th WSYF Thailand Report


Capacity Building Workshop

เป็นกิจกรรมอบรมเพื่อนำ�เสนอองค์ความรู้ในการสร้างเยาวชนลูกเสือให้เป็นประชากรโลกที่มีคุณภาพ โดย จะมุ่งเน้นไปที่การเสวนาและการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและเหตุการณ์ตัวอย่าง โดยจะมีการบรรยายในประเด็นที่แตก ต่างกันออกไป

Exhibitions

เป็นช่วงเวลาในการจัดนิทรรศการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมลูกเสือ รวมถึงนำ�เสนอวัฒนธรรม และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมลูกเสือของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมงานสมัชชา

โดยกิจกรรมทั้งหมดถูกจัดขึ้นภายในช่วงเวลา 7 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นตามเวลา GMT ซึ่งสำ�หรับ ประเทศอยู่ในช่วงของเขตเวลา GMT +7 ดังนั้นกิจกรรมทุกอย่างจะดำ�เนินในช่วงเวลา 14.00 น. ถึงช่วง เวลา 02.00 น. ของเช้าวันใหม่ในทุก ๆ วัน เป็นหนึ่งในความท้าทายของคณะผู้แทนประเทศไทยในการ ปรับตัวให้เข้ากับช่วงเวลาของกิจกรรม

14th WSYF Thailand Report

13


บันทึกกิจกรรม วันที่ 18 สิงหาคม 2564 กิจกรรมในวันแรกเริ่มต้นด้วยการปฐมนิเทศภายในคณะหมู่ลูกเสือนานาชาติ (International Team) ซึ่งเป็นการรวบรวมลูกเสือจากหลากหลายประเทศเข้ามาอยู่ในหมู่เดียวกัน  ผ่านการประชุมแบบออนไลน์ (Video  Conference)  เพื่อหาข้อตกลง  แลกเปลี่ยนมุมมอง  รวมทั้งการร่างหรือแก้ไขธรรมนูญลูกเสือโ ลก (Scout Constitutional Amendments) และการร่างแผนการพัฒนาตัวเองด้านลูกเสือ  (Personal Action Plan) จากความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ กิจกรรมต่อมาเป็นพิธีเปิดของ งานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 โดยมีคุณ Craig Turpie ประธานคณะกรรมการลูกเสือโลกและ คุณ Alhendawi Ahmad เลขาธิการองค์การลูกเสือโลกเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสมัชชา

Craig Turpie

โดยกล่ า วเน้ น ย้ำ � ถึ ง จุ ด ประสงค์ ที่ มุ่ ง เน้ น ในการ ประชุมครั้งนี้ให้ความสำ�คัญคือ นวัตกรรม ภาวะผู้นำ� และการเป็นพลเมืองของโลก  ซึ่งผู้จัดการประชุม มองว่าจะเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ เยาวชนสามารถที่จะได้ร่วม ออกเสียงในการเปลี่ยนแปลง พัฒนาโลกใบนี้ให้ดียิ่ง ขึ้น โดยมี เลขาธิการของสหประชาชาติฝ่ายส่งเสริม พลังเยาวชนเป็นผู้กล่าวเปิดงานในครั้งนี้

Alhendawi Ahmad นอกจากนั้นยังมีการทดลองระบบ e-voting หรือ โดยผู้สมัครแต่ละคนได้ประกาศวิสัยทัศน์และความเห็นต่อ ระบบการนับคะแนนแบบออนไลน์โดย  สิทธิ์การ สถานการณ์ ลู ก เสื อ ทั่ ว โลกและการดำ � เนิ น งานในช่ว งของ ลงคะแนนจะเป็ น ของหั ว หน้ า คณะผู้ แ ทนลู ก เสื อ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 และในช่วงท้ายได้ เป็นผู้ลงคะแนนในการโหวตมติต่าง  ๆ  โดยในวัน มีกิจกรรมนันทนาการรวมทั้งมีการไปเยี่ยมชมนิทรรศการที่ นี้ได้ลงคะแนนเกี่ยวกับการรับรองคณะกรรมการ เป็นการนำ�เสนอวิดิทัศน์เอกลักษณ์ของประเทศต่าง ๆ ที่เข้า ประธานการประชุ ม และกฎระเบี ย บในการ ร่วมงานสมัชชาและวิดิทัศน์แนะนำ�กิจกรรมลูกเสือโลกครั้งที่ ประชุมในครั้งนี้  รวมทั้งได้พบกับผู้สมัครตัวแทน 25 ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2565 โดยมีประเทศเกาหลีใต้เป็น เยาวชนลูกเสือ (Youth Advisor Candidate) เจ้าภาพในการจัดงาน 14

14th WSYF Thailand Report


วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เป็นวันที่สองของงานสมัชชาและกิจกรรมแรกช่วง วันนี้ได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครตัวแทนเยาวชนลูกเสือ ได้แสดงความเห็นและวิสัยทัศน์เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบาย ต่ า ง  ๆ  ที่ ผู้ ส มั ค รแต่ ล ะคนได้ นำ � เสนอเกี่ ย วกั บ ลู ก เสื อ อาทิ การส่งเสริมการให้ความสำ�คัญกับเยาวชน (Youth empowerment)  การเปิดกว้างต่อความแตกต่างและลด การกีดกันและแบ่งแยกของลูกเสือในแต่ละประเทศ  (Diversity and inclusion) รวมถึงการเปิดโอกาสให้ได้เข้าใจ และเข้าถึงลูกเสือต่างประเทศจนสามารถสื่อสารและสร้าง สัมพันธ์อันดีกันได้ (Communications and external relation)  ต่อมาได้มีช่วงเวลาที่มุ่งเน้นการทำ�ความรู้จั กกับลูกเสือจากประเทศอื่น ๆ ในช่วงของการประชุมวัน นี้ (Plenary) เป็นการฟังการบรรยายจาก เยาวชนแห่งปี จากนิตยสาร TIME คนแรกของโลก คุณ Gitanjali Rao ในประเด็นของเรื่อง  ความสำ�คัญของเยาวชนในการ เรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

โดย 3 องค์ประกอบที่สำ�คัญที่คุณ Gitanjali ได้พูดถึงคือ 1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวคือการศึกษาไม่มีที่สิ้นสุดต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อให้เกิดความเท่าทันโลก 2.การนำ�เสนอความคิดสร้างสรรค์ต้องใช้เวลาและต้อง ขัดเกลา ทุกความคิดสำ�คัญและควรได้รับฟังเพื่อการสร้างความ ยั่งยืน 3.การถามคำ�ถามหรือตั้งข้อสงสัยไม่ใช่เรื่องที่ผิด ดังนั้นอย่ากลัวการตั้งคำ�ถามเพื่อการพัฒนาตัวเอง 14th WSYF Thailand Report

15


หลังจากการฟังการบรรยายจากคุณ Gitanjali แล้ว ใน ช่วงต่อมาคุณ Craig Turpie ประธานคณะกรรมการลูก เสือโลกและคุณ Alhendawi Ahmad เลขาธิการองค์การ ลูกเสือโลกได้มาตอบประเด็นข้อซักถามและร่วมแบ่งปัน นำ � เสนอความสำ� เร็ จ และพั ฒ นาการของขบวนการลู ก เสือโลก (World Organization of the Scout Movement) ตามแผนการพัฒนาลูกเสือ (Triennial Plan) โดย มุ่งเน้นการนำ�เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดได้จากพลัง ของคนรุ่นใหม่ที่มีภาวะผู้นำ�และทักษะที่ดีนำ�พาลูกเสือ ก้าวตามทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ รวมทั้ง ให้ความสำ�คัญกับ SDGs ที่เป็นหลักแห่งความยั่งยืนจาก สหประชาชาติ ซึ่ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง องค์ ป ระกอบที่ สำ � คั ญ ใน งานสมัชชาครั้งนี้ โดยมีการนำ�เสนอผลงานที่เกี่ยวเนื่อง กับนวัตกรรมหรือโครงการ SDGs เพื่อให้ผู้แทนในแต่ละ ประเทศได้นำ�ไปปรับใช้กับประเทศของตนเอง รวมถึงการมุ่งเน้นการพัฒนาในเรื่องของความหลาก หลายในการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการป้องกันตัว เองและผู้อื่นจากกการกระทำ�อันไม่พึงประสงค์ของ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Safe from harm policy) จาก การพัฒนาทางจิตวิญญาณและการสื่อสารด้วยการ ดำ�เนินการทางมนุษยธรรม และกิจกรรมการเข้าร่วม ศึกษาและอภิปรายในประเด็นเรื่องของการรับรอง หรือแก้ไขแผนยุทธศาสตร์ลูกเสือในช่วง 4 ปีต่อจากนี้ (2021 – 2024 Triennial Plan) โดยได้มีรูปแบบการ ดำ�เนินงานเป็นการบรรยายและการอภิปรายในห้อง ย่อยเพื่อหาประเด็นที่น่าสนใจร่วมกัน โดยกิจกรรม สุดท้ายเป็นการทำ�ความเข้าใจในระบบการลงคะแนน เลือกตัวแทนเยาวชนลูกเสือและทำ�การเปิดลงคะแนน และแจ้งว่าการประกาศผลจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 ของ งานสมัชชา (20 สิงหาคม) 16

14th WSYF Thailand Report


ขอแสดงความยินดี!

1

2 5

3 6

4

วั น ที่ ส ามของงานสมั ช ชาเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการประกาศ ผลลงคะแนนของผู้ ส มั ค รผู้ แ ทนเยาวชนลู ก เสื อ (Youth Advisor Candidate) โดยเป็นการคัดเลือก ผู้แทน 6 คนจากผู้สมัครทั้ง 18 คนเพื่อทำ�หน้าที่เป็น คณะผู้แทนเยาวชนลูกเสือในคณะกรรมการลูกเสือ โลกระหว่างปี 2021-2024 โดยรายชื่อผู้แทน 6 คน ได้แก่ 1. Yoobinnara Kim เกาหลีใต้ 2. Alhassan Soltan อียิปต์ 3. Melissa Wilm Senna Pinto บราซิล 4. Fatima Aliyeva อาเซอร์ไบจาน 5. Reesa Medina เบลีซ 6. Maman Lamine Soumana Ide Issa ไนเจอร์

14th WSYF Thailand Report

17


วันที่ 20 สิงหาคม 2564 หลังจากการประกาศผลคะแนนผู้แทนเยาวชนลูกเสือแล้วใน การประชุมได้มีการเน้นย้ำ�ถึงประเด็นที่ต้องมุ่งเน้นให้เกิดการ ขับเคลื่อนในกิจการลูกเสือ กล่าวคือ เรื่องความเท่าเทียมกัน ทางเพศ ภาวะโลกร้อน ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ รวมทั้งมีการร่วมกันร่าง Youth Forum Declaration จาก แนวคิดคิด มุมมอง ความเห็น มีการการร่าง Resolution ของ ร่างฉบับแก้ไขของธรรมนูญลูกเสือโลกในหัวข้อของ การ พัฒนาอย่างยั่งยืน ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ความเป็นผู้นำ� เพื่อความสันติสุข ลูกเสือในโลกยุคใหม่ การรักษาสิทธิ์ ระบบ การจัดการการเงินขององค์การลูกเสือ การมีส่วนร่วมของ เยาวชนในงานสมัชชา Youth Forum and Conference และการมีอยู่ของระบบการคัดเลือกของผู้แทนเยาวชนลูกเสือ

โดยข้อกังวลของคณะเยาวชนลูกเสือทั่วโลกคือ การเปลี่ยนแปลงในการจัดรูปแบบงานสมัชชา ซึ่ ง จะเกิ ด การผนวกเข้ า รวมกั น ว่ า เยาวชนจะ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงเท่าผู้ใหญ่ในการออกเสียงหรือ อภิปรายในพื้นที่ เวทีลูกเสือโลก

Mori Cheng

ที่ปรึกษาเยาวชนลูกเสือโลก 2017 - 2020

กำ�ลังชี้แจงการปฏิบัติประจำ�วัน

โดยในการร่างธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาได้มีการมุ่งเน้นให้

1. ให้เยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการลงคะแนนและการตัดสินใจภายในคณะกรรมการลูกเสือโลก 2. มีการหารือเรื่องการกำ�หนดโควต้า (Quota) เพื่อให้เยาวชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานสมัชชา 3. ให้มีการรับรองพื้นที่ปลอดภัยในการพูดหรืออภิปรายถึงลักษณะของปัญหาในประเทศของตนเอง รวมถึง องค์การโลกมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหา 4. กำ�หนดแนวทางการฟื้นฟูกิจการลูกเสือหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 5.มุ่งเน้นให้สภาวะโลกร้อนและปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ต้องเกิดการมุ่งเน้นแก้ไขขึ้นอย่าง รวดเร็ว 6. สนับสนุนนวัตกรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเยาวชน เปิดโอกาสให้เยาวชนลูกเสือได้นำ�เสนอและมุ่งเน้น การต่อยอดและพัฒนา 7. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยการทำ�งานร่วมกับผู้ใหญ่ในองค์กรอย่างกลมเกลียว มีอำ�นาจใน การตัดสินใจและสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารงานเชิงโครงสร้างขององค์กรได้ โดยได้รับการสนับสนุนและ นำ�ไปสู่การให้เยาวชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 18

14th WSYF Thailand Report


วันที่ 21 สิงหาคม 2564

ในวันที่สี่ของงานสมัชชาเป็นวันที่ถือว่าเป็นหนึ่งในสอง วั น ที่ สำ � คั ญ อย่ า งมากสำ � หรั บ คณะผู้ แ ทนเยาวชนลู ก เสื อ จากทั่ ว โลกเนื่ อ งจากเป็ น วั น ที่ จ ะมี ก ารลงมติ เ ห็ น ชอบเกี่ยวกับประกาศ (Declaration) ในการผลักดัน ประเด็ น ปั ญ หารอบโลกที่ ส่ ง ผลต่ อ กิ จ การลู ก เสื อ และ เยาวชน โดยกิจกรรมในช่วงแรกจะเป็นการเรียนรู้เรื่อง ของภาวะผู้นำ�ในสันติภาพ  ซึ่งในหัวข้อการบรรยายนี้ ได้มีวิทยากรจากสหประชาชาติ  (UN)  มาร่วมให้ควา มรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างความสงบ สุขที่ยั่งยืน  ประเด็นหลักที่สำ�คัญของกิจกรรมในครั้งนี้ คือ  การเป็นผู้นำ�ที่นำ�ไปสู่สันติภาพไม่ได้เกิดจากแค่ตัว บุคคลเดียวแต่ต้องได้รับความร่วมมือในการสร้างเครือ ข่ายแห่งการแก้ไขปัญหาหรือข้อขัดแย้งโดยมุ่งเน้นไปที่ ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย นอจากนี้มีการนำ�เสนอเรื่อง ประเด็นของการนำ�กิจกรรมลูกเสือมาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพในการสร้างสันติสุข  การอยู่ร่วมกันแบบ พหุวัฒนธรรมโดยเคารพถึงความแตกต่าง  การเป็นผู้นำ� ต้องมีความเข้าใจในความแตกต่าง

หลังจากกิจกรรมการบรรยายเสร็จสิ้นการดำ�เนิน กิจกรรมต่อมาก่อนเข้าสู่การประชุม  (Plenary)  ก็ เป็นการสร้างความสัมพันธ์โดยผ่านการสนทนากับ เพื่อนลูกเสือจากประเทศต่าง ๆ (Networking Space) เมื่อเข้าสู่กิจกรรมหลักตามที่กล่าวคือ การประชุมเพื่อ พิ จ ารณาร่ า งประกาศโดยมุ่ ง เน้ น ให้ เ ป็ น ปัญหาหรือ ประเด็นฉุกเฉินที่องค์การลูกเสือทั่วโลกต้องมุ่งเน้น และผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงหรื อ แก้ ไขด้ ว ย ความรวดเร็วโดยการพิจารณาร่างประกาศผ่านพ้นไป ด้วยดี คณะลูกเสือประเทศไทยได้ทำ�งานร่วมกันเป็น คณะเพื่อนำ�ไปสู่คะแนนเสียงที่มีคุณภาพ  เช่น  การ เสวนา  การโต้วาทีและการนำ�เสนอจุดสำ�คัญร่วมกัน และคณะลูกเสือไทยยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย  ทุก คะแนนมี ค่ า และมี ก ารรั บ ฟั ง ภายในคณะอย่ า งเป็ น เอกภาพ 14th WSYF Thailand Report

19


โดยหลักจากการลงมติในการประกาศ ประเด็นสำ�คัญได้มีประเด็นสำ�คัญดังนี้ 1.  เยาวชนต้ อ งเป็ น พลั ง หลั ก ในการเปลี่ ย นแปลง โลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายโดยได้รับการสนับสนุน จากผู้ ใ หญ่ ใ นการพั ฒ นา  คิ ด ค้ น และทดลองการสร้ า ง นวัตกรรมหรือความคิดใหม่ ๆ อันเป็นการพัฒนาสังคมโดย การขับเคลื่อนของเยาวชน  โดยการสนับสนุนทรัพยากร การศึกษาเพื่อรับรองกับความสามารถของเยาวชนผ่าน กระบวนการลูกเสือโดยให้เยาวชนลูกเสือได้มีส่วนร่วมใน การพัฒนาองค์กรลูกเสือ 2.  การพั ฒ นาเยาวชนให้ พ ร้ อ มสำ � หรั บ โลกาภิ วั ฒ น์ (Young Global Citizens) การเรียนต้องเกิดการเรียน รู้อย่างเป็นพหุวัฒนธรรม เยาวชนต้องเป็นผู้เข้าใจถึงความ แตกต่างและเปิดกว้างในเรื่องของวัฒนธรรมและสังคมที่ แตกต่างจากตนเอง  เป็นคำ�นึงถึงความหลากหลายทาง สังคม ศาสนา ภาษารวมถึงวิถีชีวิต (Interculture) 3.  การสร้ า งสิ่ ง แวดล้ อ มให้ มี ค วามยั่ ง ยื น   ประเด็ น เรื่ อ งของภาวะโลกร้ อ นซึ่ ง ส่ ง ปั ญ หาอย่ า งมากในหลาก หลายประเทศสมาชิกองค์การลูกเสือโลก  เป็นอีกหนึ่ง ประเด็นที่ต้องเร่งให้เกิดการแก้ไขปัญหาโดยภายใต้กรอบ ของการทำ�งานด้วยความร่วมมือกัน เยาวชนหรือผู้ใหญ่ ในทุกองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ประเด็นสิ่งแวดล้อม 4.  การฟื้ น ฟู กิ จ การลู ก เสื อ หลั ง จากการแพร่ ร ะบาด ของโรคติดต่อโคโรน่าไวรัส 2019 โดยสนับสนุนให้ทุก องค์กรลูกเสือมีการดูแลสมาชิกทั้งทางด้านของการสร้าง ประสบการณ์ใหม่ ๆ อย่างมีคุณภาพในการปฏิบัติกิจกรรม แบบดิจิทัล (Digital) รวมถึงช่วยเหลือเรื่องของการดูแลค่า ใช้จ่ายและการักษาสถานภาพทางด้านลูกเสือให้กับสมาชิก ในประเทศต่าง ๆ ไว้ได้

20

14th WSYF Thailand Report


5.  การจั ด การศึ ก ษาให้ เ กิ ด ผลสำ � เร็ จ คื อ การจั ด การ ศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของเยาวชนลูกเสือ เพื่อให้เกิดพัฒนาการอย่างยั่งยืน  ทั้งการสนับสนุนเรื่อง ของการพัฒนาหลักสูตรแบบออนไลน์ (E – learning) การ ดูแลเรื่องของสภาพจิตใจของลูกเสือและพัฒนาลูกเสือใน หลักสูตรการป้องกันตัวเองและผู้อื่นจากกการกระทำ�อัน ไม่พึงประสงค์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Safe from harm) รวมถึงมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่องการสร้างสันติภาพให้เยาวชน 6.  ความหลากหลายและความแตกต่ า ง  กิ จ การลู ก เสือต้องเป็นพื้นที่ที่สนับสนุนความแตกต่างอย่างเท่าเทียม ในประเด็นเรื่องความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงองค์การลูกเสือในประเทศต่าง ๆ ต้องมีพื้นที่ให้กับ สมาชิกทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมโดยไม่นำ� ปัจจัยเรื่องเพศสภาพ อายุ วัฒนธรรม เผ่าพันธุ์หรือศาสนา มาเป็นปัจจัยในการสร้างบรรทัดฐานภายในองค์กร รวม ถึงให้เยาวชนมีการขับเคลื่อนสังคมและการเรียนรู้ถึงความ หลากหลายและความแตกต่าง 7.  การสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม  องค์การโลก ทั่ ว โลกต้ อ งสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงและผลั ก ดั น กิจการลูกเสือให้เหมาะสมกับบริบทกับประเทศและสังคม ของตน และมีการศึกษาให้เกิดความยั่งยืน 8.  การสื่ อ สาร  การสื่ อ สารทั้ ง ภายในองค์ ก รและ ภายนอกก็เป็นเรื่องสำ�คัญต้องให้เกิดการสร้างภาคีเครือ ข่ า ยและทำ � งานอย่ า งเป็ น เอกภาพร่ ว มกั น ของบุ ค ลากร ภายในองค์กรและภายนอก  และที่สำ�คัญคือองค์การลูก เสือโลก ภูมิภาคและพื้นที่ ทำ�งานร่วมกันพร้อมทั้งคณะ กรรมการในองค์ ก ารลู ก เสื อ โลกก็ ต้ อ งมี ส่ ว นในการขั บ เคลื่อนร่วมกัน 9.  ในการปกครอง  ต้องมีการสร้างความร่วมกันและ ให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการเสนอ ความคิ ด เห็ น ทั้ ง ต่ อ คณะกรรมการลู ก เสื อ โลกยั ง รวมถึ ง ในองค์การลูกเสือในประเทศของตนเอง  เพื่อให้เกิดการ พัฒนาและผลประโยชน์จะมีการกระจายและเข้าถึงกับทุก กลุ่ม ไม่เพียงแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 14th WSYF Thailand Report

21


วันที่ 22 สิงหาคม 2564

พิธป ี ิด

วั น สุ ด ท้ า ยของงานสมั ช ชาเยาวชนลู ก เสื อ ครั้งที่ 14 ถึงแม้กิจกรรมจะจัดในรูปแบบออนไลน์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจนถึงวันสุดท้าย กิจกรรมดำ�เนิน ไปด้วยความสนุกและความตั้งใจจริงของคณะผู้แทน ลูกเสือจากประเทศต่าง ๆ เช่นเดียวกับคณะผู้แทน ลูกเสือไทย ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นวันสุดท้ายแต่ก็ยังมุ่งมั่น ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ แม้ว่าการปรับตาราง ชีวิตโดยเฉพาะการนอนที่เป็นอุปสรรคสำ�คัญของ กิจกรรมแต่ก็ไม่ได้ทำ�ให้เกิดความเหนื่อยล้าทางใจ เนื่องจากการได้พบเพื่อนใหม่ของคณะผู้แทนลูกเสือ ไทยทั้ง 4 คนเป็นประสบการณ์อันล้ำ�ค่าและถือว่า เป็นกิจกรรมที่ได้พัฒนาตนเองอย่างยิ่ง

โดยในวันสุดท้ายหรือวันที่ห้า  เป้าหมายสำ�คัญที่สุดคือการ พิจารณาลงมติร่างธรรมนูญรายญัตติเพื่อนำ�ไปสู่การพิจารณา ในงานสมัชชาลูกโลกครั้งที่ 42 (42nd World Scout Conference)  ต่อไป  โดยกิจกรรมในวันนี้เริ่มต้นด้วยการอบรม การเสวนาเพื่อสันติ (Dialogue  for  peace) โดยได้มีการ ยกประเด็ น บุ ค คลในหลากหลายวงการขึ้ น มาถึ ง การนำ � ผล งานของตนมาสร้างแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาสังคมอย่าง สันติ ทั้ง คุณ Malala Tousafzai คุณ AY Young คุณ Greta Thunberg และคุณ Dalai Lamai โดยต่อมาได้มีการนำ�เสนอ โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนโลกาภิวัฒน์  (Global citizenship education) โดยผลักดันให้เป็นการศึกษาเพื่อ เข้าใจถึงความแตกต่างและให้ความสำ�คัญถึงเรื่องความเท่า เทียม โดยหลังจากนั้นได้มีการนำ�ไปสู่การพัฒนาแผนร่างการ พัฒนาตนเองทางด้านลูกเสือ โดยดำ�เนินการเป็นกลุ่มย่อยเพื่อ เสวนาแลกเปลี่ยนประเด็นหรือจุดมุ่งเน้นในการพัฒนาของ องค์การลูกเสือในแต่ละประเทศรวมถึงการพัฒนาตัวเองตาม หลักการของลูกเสือ 22

14th WSYF Thailand Report


การประชุมหลักครั้งสุดท้ายของงานสมัชชา ครั้งนี้ ในการพิจารณ์และลงมติในร่างธรรมนูญ โดย คณะผู้แทนลูกเสือประเทศไทยได้ดำ�เนินกิจกรรมและ ลงมติตามการตกลง รับฟังเสวนาและการสังเคราะห์ ข้อมูลเพื่อให้เป็นการลงมติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในเรื่ อ งของการพิ จ ารณาแผนยุ ท ธศาสตร์ ลู ก เสื อ ปี 2021 – 2024 (Triennial Plan) หลังจากนั้นจึงได้เข้า สู่พิธีปิดงานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 โดย การนำ�เสนอเรื่องความคืบหน้าและผลของการดำ�เนิน งานตลอดทั้งกิจกรรมโดยคุณ Criag Turpie ประธาน คณะกรรมการองค์การลูกเสือโลก ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้น สุดของการดำ�เนินงานสมัชชาเยาวชนลูกเสือโลก ครั้ง ที่ 14 ระหว่างวันที่ 17 – 22 สิงหาคม 2564 อย่างเป็น ทางการ

คณะผู้ แ ทนลู ก เสื อ ไทยเห็ น หวั ง อย่ า งยิ่ ง ว่ า ประเด็นในการนำ�เสนอและแผนยุทธศาสตร์ ลูกเสือ (Triennial Plan) จะมีการต่อยอด และนำ�มาสู่การพัฒนากิจการลูกเสือให้เกิด ความยั่งยืนรวมถึงการสนับสนุนให้เยาวชน ได้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในกิ จ กรรมหรื อ การ ดำ�เนิน เพื่อการสร้างความพร้อมและพัฒนา ศั ก ยภาพของเยาวชนไทยทางด้ า นลู ก เสื อ ให้ดีเหมาะสมกับช่วงวัย ลักษณะสังคมและ ภูมิภาค ตลอดระยะเวลาของการดำ�เนินงาน คณะผู้แทนลูกเสือไทยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คื อ คุ ณ ภาพของกิ จ การลู ก เสื อ ไทยที่ มี ก าร ต่อยอด ตลอดจนเกิดความยั่งยืนตามกรอบ และยุทธศาสตร์ของลูกเสือ

14th WSYF Thailand Report

23


ข้อเสนอแนะ ื ไทยถึงสำ�นักงานลูกเสื ื แห่ งชาติ คณะผู้ แทนลูกเสื เสอไทยถึ อ เสอแห อ 1. พิจารณาการนำ�เรื่องหลักการการป้องกันตัวเอง และผู้ อื่ น จากกการกระทำ � อั น ไม่ พึ ง ประสงค์ ข อง เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (Safe from harm) เข้ามา ประยุ ก ต์ อ อกแบบเป็ น กิ จ กรรมภาคบั ง คั บ ในการ อบรมบุคลากรทางลูกเสือทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ เพื่อ ให้เกิดบรรทัดฐานและค่านิยมอันเกิดเป็นคุณธรรม จริยธรรมในการดูแลปกป้องบุคลากรและเยาวชนทาง ด้านลูกเสือเกิดความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อต่อยอดในการยกระดับศีลธรรมและตอบสนองค่า นิยมของลูกเสือ

2. สนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจของกิจการงานลูกเสือมากขึ้น ตั้งแต่ระดับ โรงเรียนไปจนถึงระดับประเทศ เช่น จัดตั้งสภา เยาวชนลูกเสือไทย เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการ ลงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารและการ จัดการกิจกรรมลูกเสือ และมีสิทธิ์ในการแสดงความ คิดเห็นนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของกระบวนลูก เสือในด้านที่ให้เยาวชนได้เกิดความกลมเกลียวสามัคคี และส่งผลดีกับบุคลากรทางด้านลูกเสือ ผู้บริหารและ กิจการลูกเสือไทยในรับฟังและปรับปรุงข้อบกพร่อง ทำ�ให้ลูกเสือเป็นกิจกรรมที่เข้าถึงง่ายและเหมาะสม สำ�หรับทุกคนมากยิ่งขึ้น

24

14th WSYF Thailand Report


3. นำ�หลักการความยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) มาบรรจุลงในกิจกรรมและหลักสูตรในการสอนวิชาลูก เสือเนตรนารีภายในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นในประเด็นที่เยาวชนสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำ�วันและ ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมได้ นำ�ไปสู่การต่อยอดและการตระหนักถึงความสำ�คัญ โดยเป็นการยกระดับ การทำ�งานของสำ�นักงานลูกเสือแห่งชาติในการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับเยาวชน  เกิดเป็นเจตคติที่ดีและ เป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนลูกเสือไทย ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศให้ เยาวชนมุ่งเน้นในการทำ�กิจกรรมที่เหมาะสม อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำ�นึงถึงเพศสภาพ หรือด้านสิ่งแวดล้อม ใน การรับมือของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  ภูมิอากาศอันเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ในงานสมัชชาเยาวชนลูกเสือ โลก ครั้งที่ 14 ได้มีการมุ่งเน้นให้เกิดการดูแล โดยเยาวชนลูกเสือ – เนตรนารีสามารถเล็งเห็นถึงความสำ�คัญและ เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันและขยายผลสู่ชุมชนหรือสถานศึกษาของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น 4.  เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และบุคลากร ผู้กำ�กับและลูกเสือ – เนตร นารีเพื่อให้ทัศนคติที่ดีต่อกิจการลูกเสือ ใน การนำ � เสนอกิ จ กรรมที่ มี ค วามสร้ า งสรรค์ มีประโยชน์และเห็นผลได้จริง เช่น จัดทำ� วารสารรายปีประมวลข้อมูลกิจกรรมลูกเสือ ที่เกิดขึ้น  และเพิ่มเกร็ดความรู้การลูกเสือ ที่น่าสนใจ  พร้อมประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่ กำ�ลังจะเกิดขึ้นในปีต่อไป

5.  พัฒนาและปรับเปลี่ยนหลักสูตรลูกเสือให้ เหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง ทางสั ง คม  เช่ น   การจั ด การอบรมหลั ก สู ต ร ออนไลน์ (Online) สำ�หรับผู้ที่มีความสนใจใน วิชาลูกเสือ  เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิต ชาวค่าย  เช่นสอนการก่อไฟและประกอบอาหาร เบื้องต้น,  สอนการใช้แผนที่และเข็มทิศ ควบคู่ไป กับการใช้เทคโนโลยีนำ�ทาง (GPS)

14th WSYF Thailand Report

25


6.  เสนอให้กิจกรรมลูกเสือควรเป็นกิจกรรมที่สามารถรับรอง ความสามารถที่ ห ลากหลายและแตกต่ า งกั น ออกไปของ เยาวชน เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการนำ�เสนอ พัฒนาศักยภาพและ สร้างความเปลี่ยนให้เกิดขึ้น  ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมลูกเสือเป็น กิจกรรมของเยาวชนทุกคนอย่างแท้จริงและรวมถึงเป็นการเพิ่ม บทบาทและความสำ�คัญของกิจการลูกเสือภายในสังคมไทย โดย ให้เยาวชนนำ�ความรู้  ความสามารถนำ�ไปสู่การทำ�จิตอาสาและ พัฒนาสังคม องค์กรและประเทศ

26

14th WSYF Thailand Report


7.  ความคาดหวังทางด้านกิจกรรมที่อยากให้สำ�นักงานลูก เสือให้ชาติได้ส่งเสริมคือ  กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ลูกเสือ ไทยได้มีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับลูกเสือต่างประเทศ โดยเสนอให้สำ�นักงานลูกเสือแห่งชาติจัดโครงการให้ลูกเสือ จากทั่วประเทศทีมละ 5 คนสมัครเข้าโครงการซึ่งจัดขึ้นเป็น ประจำ�ในช่วง 1-2 เดือนเพื่อคัดเลือกตัวแทนให้เกิดการเสวนา แลกเปลี่ยนและเปิดมุมมองทางด้านวัฒนธรรมกับลูกเสือต่าง ประเทศ ผ่านกระบวนจัดกิจกรรมแบบ Online meeting เพื่อ ให้ลูกเสือที่เข้าร่วมได้แรงบันดาลใจในการพูดภาษาอังกฤษ เปิด โลกทัศน์ได้เห็นเข้าใจถึงประเทศอื่น  ๆ  ได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น เป็นแรงบันดาลใจให้เขาไปหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ตัวเขาและโลกในอนาคต  โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่เข้ามา ดูแลเรื่องนี้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ที่เข้าถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการสร้างความ สัมพันธ์และการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของเยาวชนลูกเสือไทย สำ�นักงานลูกเสือไทยและลูกเสือจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 14th WSYF Thailand Report

27


บรรณาธิการ วัสสวัสส์  โคกทับทิม

ทีป ่ รึกษาบรรณาธิการ ธนเดช อิศรภักดีธรรม

รวบรวมข้อมูล กรณษา  สังขนิตย์ ปรมะ สวรรค์ปัญญาเลิศ วชิรวิชญ์  เพ็ญแสงธนานนท์

อ้างอิงข้อมูล Scout Conference World Scouting

อ้างอิงศิลปกรรม Flaticon - Freepik Freepik World Scouting WOSM European Region and WAGGGS Europe Region

28

14th WSYF Thailand Report




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.