กรุงเทพฯแต่กี้แต่ก่อน

Page 1

กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ

เรื่องราวแต่กี้แต่ก่อนของ ๒๒ ย่านเก่าในกรุงเทพฯ ความเป็นมาของแต่ละย่านที่เราคุ้นเคย แต่อาจไม่เคยรู้ประวัติหรือ ที่มาของชื่อย่านนั้นๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ สังคมเมืองกรุงเทพฯ

ย้อนความทรงจำ� ๒๒ ย่านเก่า เมื่อครั้งกรุงเทพฯ ยังเยาว์วัย

ปราณี กลํ่าส้ม

สั่งซื้อออนไลน์ที่ หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๕๙๙ บาท ISBN 978-616-465-052-7 @sarakadeemag

ปราณี กลํ่าส้ม


พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูป ที่อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ สุโขทัย

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

2


เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ศาสนสถานคู่เสาชิงช้า สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

3


ภูเขาทอง วัดสระเกศ ศาสนสถานในย่านบ้านบาตร เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

4


พระต�ำหนักใหญ่วังบางขุนพรหม หนึ่งในวังย่านบางขุนพรหม ตกแต่งอย่างวิจิตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกและโรโกโก ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

5


ISBN 978-616-465-052-7 หนังสือ กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน ผู้เขียน ปราณี กล่ำ�ส้ม พิมพ์ครั้งที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๕ จำ�นวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๕๙๙ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ สำ�นักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำ�นักพิมพ์สารคดี สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ประเวช ตันตราภิรมย์ สุทธิชัย ฤทธิ์จตุพรชัย ภาพวาดแผนที่ ออกแบบปก/รูปเล่ม ณิลณา หุตะเศรณี วัลลภา สะบู่ม่วง คอมพิวเตอร์ ธนา วาสิกศิริ ควบคุมการผลิต เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ แยกสี/เพลต โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐ ๒๔๓๓ ๗๗๐๔ พิมพ์ที่ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดพิมพ์โดย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด จัดจำ�หน่าย ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้�ำ ) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ปราณี กล่ำ�ส้ม. กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน. - - นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕. ๔๖๔ หน้า. ๑. โบราณสถาน - - กรุงเทพฯ. ๒. กรุงเทพฯ - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. ๓. กรุงเทพฯ - - ประวัติศาสตร์. I. ชื่อเรื่อง ๙๕๙.๓๑๑ ISBN 978-616-465-052-7 สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้�ำ ) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐   โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช  ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล   ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ   บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

26


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นปีที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ ๒๔๐ ปี สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ อยากจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักอดีตของเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านเรื่องราวความเป็นมา ของ ๒๒ ย่านเก่า  ถึงแม้ว่าแต่ละย่านจะมีประวัติการตั้งชุมชนแตกต่างกัน แต่มี ลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นย่านชุมชนเมืองแบบดั้งเดิมที่มีองค์ประกอบหลักคือ มีพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัย มีวัดหรือพื้นที่สาธารณะที่คนในชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีตลาดเป็นแหล่งซื้อขายของกินของใช้ และบางย่านมีวังเจ้านายอันเป็นปัจจัย หนึ่งที่เป็นการขยายตัวของพื้นที่เมือง  หลายย่านท่านอาจจะเคยผ่าน เคยไป เที่ยวหรือเคยได้ยินชื่อ แต่หากได้ทราบที่มาหรือเรื่องราวแต่หนหลัง น่าจะช่วย ให้ท่านเห็นอดีตของสังคมเมืองกรุงเทพฯ ผ่านภาพปัจจุบันของย่านเหล่านี้ สำ�หรับ กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน เล่มนี้เป็นการนำ�หนังสือ “ย่านเก่า ในกรุงเทพฯ เล่ม ๑-๒” ผลงานของคุณปราณี กล่ำ�ส้ม อดีตนักเขียนในกอง บรรณาธิการ วารสารเมืองโบราณ มาปรับปรุงออกแบบและจัดพิมพ์ ใหม่ ในชื่อ ใหม่ เพื่อเชิญชวนให้ท่านมารู้จักกับอดีตกาลแต่กี้แต่ก่อนของกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานับแต่อดีตถึงปัจจุบัน สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๕

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

27


คำ�นิยม

ในฐานะทีเ่ ป็นคนกรุงเทพฯ เพราะเกิดในกรุงเทพฯ และทำ�งานอยู่ในกรุงเทพฯ จนเกษียณราชการ มีความรู้สึกว่าพระนครนั้นเริ่มต้นดูดีเป็น “มหานครอมร รัตนโกสินทร์”  แต่มาบัดนี้ ความเป็นนครแห่งเทพหรืออมรอย่างข้างต้นนั้น ดูมลายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะปัจจุบันอย่าว่าแต่เป็นนครแห่งเทพเลย เพียงนคร ของมนุษย์หรือคนก็แทบจะเป็นไปไม่ได้แล้ว ทั้งแออัดสกปรกเต็มไปด้วยมลภาวะ นานาชนิด รวมทั้งมีโครงสร้างหนักไป ไม่ว่าเส้นทางรถลอยฟ้า ทางยกระดับ และ อาคารระฟ้า สร้างกันแบบทับถมลงมาอย่างมากมาย ทำ�ให้กรุงเทพฯ คือกรุงนรก ที่เต็มไปด้วยป่าคอนกรีตที่ฝูงชนเข้ามาอาศัยอยู่เยี่ยงอมนุษย์กันตามคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ อะไรต่างๆ ทำ�นองนั้น ที่ว่าเป็นเสมือนอมนุษย์นั้นเพราะ ต่างไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าของกันและกัน ต่างคนต่างซุกหัวนอนกันไปวันๆ แทบไม่มีความสัมพันธ์ของการเป็นชุมชนแบบมนุษย์ที่ควรเป็น ดูคล้ายๆ กับว่า กรุงเทพฯ ขณะนี้เหมือนกับแหล่งขุดทองที่ต่างคนต่างมุ่งแต่หารายได้อย่างเดียว เท่านั้น กรุงเทพฯ เติบโตขยายตัวอย่างไม่สิ้นสุด จนกล่าวได้ว่ายากจะแลเห็นว่า กรุงเทพฯ แต่เดิมอยู่ตรงไหน และเกิดมาได้อย่างไร นักวิชาการด้านผังเมืองและ พวกสถาปนิกสถาปนึกแห่งสยาม มองการอนุรักษ์กรุงเทพมหานครกันอย่างง่าย และไร้วิญญาณ เพียงแค่คำ�ว่า “เกาะรัตนโกสินทร์” โดยเอาส่วนโค้งของลำ�น้ำ� เจ้าพระยาบวกเข้ากับคูเมืองกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เรียกว่า คลองโอ่งอ่าง หรือคลองบางลำ�พูเป็นพื้นบริเวณ  พร้อมกันนั้นก็ก�ำ หนดบริเวณอนุรักษ์กันหลาย ที่หลายทางในลักษณะภาพนิ่ง เช่นเปลี่ยนสถานที่ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมให้กลับไปอยู่ ในสภาพแต่เดิม หรือที่ ไหนที่มีการเติบโตเปลี่ยนแปลง เป็นชุมชนแล้วก็ ให้ ไล่คนออก ตกแต่งบริเวณให้เป็นสวนหย่อมแทน เป็นต้น ซึ่งถ้าเสร็จตามแบบแผนที่คิดไว้ เมืองกรุงเทพฯ ก็เป็นแค่เพียงเมืองเก่าหรือ

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

28


บริ เ วณเก่ า ที่ เ ขาบอนไซไว้ ใ ห้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วไปเดิ น ชมแล้ ว กลั บ ไปเท่ า นั้ น เอง ความเป็นเมืองประวัติศาสตร์กลายเป็นเมืองร้าง เมืองตุ๊กตาที่แลไม่เห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพและจิตวิญญาณแต่อย่างใดเลย สิ่งที่ขาดสุดๆ สำ�หรับเมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ตามแนวคิดและ แผนการเกาะรัตนโกสินทร์ก็คือ การไม่แลเห็นคนกรุงเทพฯ นั่นเอง เพราะมุ่งแต่ อนุรักษ์ โครงสร้างทางกายภาพ  แต่ถ้าหากมองลึกเข้าไปถึงโครงสร้างทางสังคม ก็จะแลเห็นผู้คนและความเคลื่อนไหวที่ควบคู่ ไปกับพัฒนาการของโครงสร้าง ทางกายภาพ ซึ่งถ้ามองในทำ�นองนี้ก็จำ�เป็นที่จะต้องไม่จำ�กัดอยู่เฉพาะเกาะ รัตนโกสินทร์ ต้องมองทั้งสองฝั่งน้ำ�เจ้าพระยาในสภาพที่กรุงเทพฯ แยกไม่ออก จากเมืองธนบุรี ในลักษณะที่เป็นเมืองอกแตกที่เป็นเมืองเดียวกัน กรุงเทพฯ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ นั้น ทั้งเจ้านายและ ผู้คนธรรมดาทั่วไปส่วนใหญ่มีนิวาสสถานอยู่ริมแม่น้ำ�ลำ�คลองทางฝั่งธนบุรีทั้งสิ้น ความหนาแน่นของบ้านเรือนอยู่แถบคลองบางหลวงและริมฝั่งน้�ำ เจ้าพระยา รวม ไปถึงคลองบางกอกน้อยและคลองเล็กคลองน้อยในย่านสวนผลไม้ที่เรียกว่า “สวนใน”  จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมือ่ มีถนนหนทางและการเติบโตของย่านการค้า ตึกรามห้องแถว ผู้คนจึงขยายมาตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยทางฝั่งกรุงเทพฯ  คน กรุงเทพฯ มีร้อยพ่อพันแม่ เพราะมากหลายด้วยชาติพันธุ์เข้ามาตั้งหลักแหล่งกัน ในย่านต่างๆ ที่สัมพันธ์กับอาชีพและการงาน  แต่ละย่านก็คือแต่ละท้องถิ่น ที่ ผู้คนแม้จะมาจากที่ต่างๆ ต่างก็อยู่ร่วมกันโดยมีอาชีพและวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน มีการสังสรรค์กนั ทางสังคมและเศรษฐกิจจนเป็นพวกเดียวกัน มีวฒั นธรรมท้องถิน่ ร่วมกัน  ปัจจุบนั ย่านเหล่านีค้ นเก่าๆ แทบไม่มเี หลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยคนรุน่ ใหม่ ที่ไม่สนใจที่จะรู้จักกัน ดังนั้นงานค้นคว้าของปราณี กล่ำ�ส้ม เรื่องย่านเก่าๆ ในกรุงเทพฯ นี้ คือ ความพยายามอย่างเท่าที่จะทำ�ได้ในการสืบค้นเอกสาร และสัมภาษณ์คนเก่าคนแก่ ที่กำ�ลังล้มหายตายจากไป แล้วประมวลมาเสนอในที่นี้  แม้จะไม่ครอบคลุมแทบ ทุกย่านและถิ่นฐานของกรุงเทพมหานคร แต่ก็พอทำ�ให้ผู้อ่านได้แลเห็นโครงสร้าง และความเป็นมาทางสังคมของผู้คนทั้งฝั่งกรุงเทพฯ และธนบุรีไม่ ใช่น้อย ศรีศักร วัลลิโภดม พ.ศ. ๒๕๔๕

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

29


คำ�นำ�ผู้เขียน

กรุงเทพมหานครมีประวัตคิ วามเป็นมาอันยาวนาน แต่เรือ่ งราวย่านชุมชนเก่า ในกรุงเทพฯ กลับไม่ค่อยแพร่หลายเท่าใดนัก  ผู้เขียนมีความสนใจใคร่รู้ จึงได้ ศึกษาจากข้อมูลเอกสารเท่าที่มีอยู่ และได้เดินทางลงพื้นที่สำ�รวจสถานที่จริง  ได้ รับรู้ข้อมูลเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ ในความทรงจำ�ของผู้คนในท้องถิ่น  ทำ�ให้เห็น ความเคลื่อนไหว ชีวิต วัฒนธรรม ของผู้คนในสังคมกรุงเทพฯ สมัยก่อน การดำ�เนินชีวติ ของผูค้ นทีอ่ ยู่ใกล้ชดิ ธรรมชาติ มีขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ดีงาม แม้ความเจริญทางด้านวัตถุอาจมีไม่มากนัก  แต่ชีวิตความเป็นอยู่สงบสุข ผู้คนมีน้ำ�ใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  คนที่อยู่ ในท้องถิ่นมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ คนที่อยู่ ในย่านเดียวกันมักจะรู้จักกันดี แม้ ไม่ใช่ญาติกันก็ตาม ย่านเก่าในกรุงเทพฯ เท่าที่ได้ศึกษาไว้ในหนังสือ กรุงเทพฯ แต่ก้แี ต่ก่อน เล่มนี้ อาจพอจะแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ย่านตลาดชุมชนและย่านแหล่งผลิตงาน ฝีมือ ย่านตลาดชุมชน ในสังคมไทยนัน้ มีผคู้ นหลากหลายเชือ้ ชาติทเ่ี ข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภาร ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ในช่วงนั้นสภาพพื้นที่กรุงเทพฯ ยังเป็นที่รกร้าง มีผู้คนอาศัยอยู่ ไม่มากนัก บรรพบุรุษในย่านชุมชนหลายแห่ง อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา มาตั้งหลักแหล่งจับจองที่ดินทำ�มาหากินกระจายอยู่ ตามริมแม่น้ำ�ลำ�คลอง  และมักตั้งบ้านเรือนใกล้กับคลอง วัด วัง หรือตลาด เพื่อ สะดวกในการคมนาคมและค้าขาย ในสมัยก่อนผู้คนใช้เรือไปมาหาสู   ่ เรือบรรทุกสินค้าจากต่างจังหวัด เช่น อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี เป็นต้น นำ�สินค้าเข้ามาค้าขาย  ชาวสวนก็นำ�พืชผล ใส่เรือลำ�เลียงมาขาย  นอกจากนี้ยังมีเรือพ่อค้าแม่ค้านำ�สิ่งของเครื่องใช้ ขนม

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

30


นม เนย ก๋วยเตี๋ยว ชา และกาแฟ พายเรือเข้ามาขายตามลำ�คลองต่างๆ เช่น คลองบางลำ�พู คลองผดุงกรุงเกษม คลองสามเสน เป็นต้น ต่อมาได้มีการตัดถนนขึ้นหลายสาย  การค้าขายทางเรือจึงค่อยๆ หมด ความสำ�คัญลง และได้มีการสร้างตลาด สร้างอาคารพาณิชย์ ให้เช่า  เกิดเป็นย่าน ตลาดชุมชนขึ้นหลายแห่ง เช่น ตลาดบางซื่อ ตลาดเทเวศร์ ตลาดนางเลิ้ง และย่านตลาดอื่นๆ เช่น บางกระบือ ศรียา่ น ราชวัตร เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นย่าน ตลาดสำ�คัญที่เป็นแหล่งชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น ย่านตลาดชุมชนในสมัยก่อนนั้น ถ้าเป็นตลาดใหญ่มักจะมีสถานบันเทิง ควบคู่ ไปกับการจำ�หน่ายสินค้า เช่น ตลาดนางเลิ้งมีโรงภาพยนตร์เฉลิมธานี  ย่าน บางลำ�พูมที ง้ั โรงลิเกคณะหอมหวล โรงละครแม่บนุ นาค โรงภาพยนตร์ปนี งั เธียร์เตอร์ บุษยพันธ์ ช่วงต้นเดือนจะมีภาพยนตร์ใหม่เข้าฉาย เล่ากันว่าแทบไม่มที น่ี ง่ั เลยทีเดียว ย่านแหล่งผลิตงานฝีมือ ลั ก ษณะหนึ่ ง ของชุ ม ชนในอดี ต มั ก จะตั้ ง บ้ า นเรื อ นอยู่ ร วมกั น อย่ า ง เหนียวแน่น แต่ละชุมชนยังคงรักษาสืบทอดความรู้ดั้งเดิม จากรุ่นบรรพบุรุษสู่รุ่น ลูกหลาน ทีบ่ า้ นบาตร แหล่งหัตถกรรมในเมืองหลวงผลิตบาตรพระ หนึง่ ในเครือ่ ง อัฐบริขารของพระภิกษุ ซึ่งเคยมีความรุ่งเรือง  แต่ ในช่วงหลังๆ หันมาผลิตสินค้า หัตถกรรมสำ�หรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ย่านเสาชิงช้า เป็นย่านจำ�หน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์กลางใจเมือง หรือที่ คนทั่วไปเรียกว่า เครื่องบวช จำ�พวกผ้าไตร จีวร นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งหล่อ พระพุทธรูป ย่านนี้จึงเป็นทั้งแหล่งผลิตงานฝีมือและย่านตลาดค้าขายที่คึกคัก โดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าพรรษา บ้านครัว แหล่งไหมไทยในเมืองหลวง ผู้คนมีฝีมือในการทอผ้ามาแต่ ดั้งเดิม เมื่อเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ริมคลองแสนแสบแถบเจริญผล  จึงยึดอาชีพ ทอผ้าไหมเรื่อยมา  คนทั่วไปรู้จักในนาม “ไหมไทยบ้านครัว” โดยในช่วงนั้นได้ จัดจำ�หน่ายผ่านบริษัทของ มร. จิม ทอมป์สัน จนมีชื่อเสียง ย่านบางโพ เป็นแหล่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม้แกะสลักที่สืบทอดกันมานาน สมัยก่อนช่างแกะสลักไม้ที่มีฝีมืออยู่รอบพระนคร  ต่อมามีการประกอบอาชีพนี้ มากขึ้น จึงขยายไปอยู่รอบนอก หนึ่งในนั้นคือถนนสายไม้ที่บางโพ มีไม้แกะสลัก

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

31


ฝีมือประณีตจำ�หน่ายมากมาย บ้านปูน เป็นชุมชนที่อพยพมาจากอยุธยา มาตั้งหลักแหล่งทำ�มาหากิน บริเวณริมแม่น้ำ�เจ้าพระยาแถวบางยี่ขันตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ด้วยการประกอบ อาชีพทำ�ปูนแดงกินกับหมากพลู ซึง่ เป็นอาชีพดัง้ เดิม และทำ�สวนผลไม้  ชาวบ้าน ในย่านนีม้ ธี รรมเนียมแบ่งปันข้าวปลาอาหาร มีการช่วยเหลือเกือ้ กูลด้วยการลงแขก ทำ�งานต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีอาหารพื้นบ้าน เช่น ดอกทุเรียนชุบไข่ทอด ปัจจุบัน เหลือเพียงความทรงจำ�ให้ ได้ระลึกถึงเท่านั้น แม้วา่ งานเขียนนีจ้ ะล่วงเลยมานานหลายปี  สภาพแวดล้อมของย่านชุมชน ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บ้านเรือนที่เป็นเรือนไม้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างอาคาร พาณิชย์อย่างไม่เหลือร่องรอยของเดิมอยูเ่ ลย  แม้วา่ บางแห่งจะอนุรกั ษ์ ไว้บา้ ง แต่ก็ เหลือน้อยเต็มที หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวในอดีตของย่านเก่าที่นำ�เสนอในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งถือเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร  จะทำ�ให้ผู้สนใจใคร่รู้ ได้หวนกลับมาเห็นความสำ�คัญอีกครั้งหนึ่ง ปราณี กล่ำ�ส้ม ๖ มิถุนายน ๒๕๖๓

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

32


สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�เสนอ คำ�นำ�ผู้เขียน

๒๗ ๒๘ ๓๐

เสาชิงช้า : ย่านเครื่องสังฆภัณฑ์กลางใจเมือง เมื่อวันวานที่ย่านถนนดินสอ บ้านบาตร แหล่งหัตถกรรมในเมืองหลวง สี่แยกคอกวัว วันวานที่ย่านบางลำ�พู บ้านลาน ย่านบางขุนพรหม ถิ่นนี้คือบ้านปูน สี่เสา วัดเทวราชฯ ตลาดเทเวศร์ : สองฟากปากคลองผดุงกรุงเกษม สืบศรัทธาแม่พระที่วัดคอนเซ็ปชัญ บ้านโปรตุเกส บ้านญวน สามเสน ลัดเลาะคลองสามเสน ศรีย่าน...บ้านพายัพ รำ�ลึกราชวัตร บางกระบือ ถิ่นนี้มีอดีต ถนนสายนี้ที่บางโพ เรื่องเล่าของชาวบางซื่อ ปากคลองตลาดเมื่อกาลก่อน จากพาหุรัดถึงตลาดมิ่งเมือง ชุมชนป้อมมหากาฬ “อดีต” ที่กำ�ลังจะไร้อนาคต ย้อนรอยอดีตที่นางเลิ้ง บ้านครัว แหล่งไหมไทยในเมืองหลวง แลหลังย่าน (สระ) ปทุมวัน

๓๔ ๔๖ ๗๔ ๘๘ ๑๐๔ ๑๒๖ ๑๔๔ ๑๗๐ ๑๙๔ ๒๐๖ ๒๑๖ ๒๔๒ ๒๖๐ ๒๘๒ ๓๐๖ ๓๒๖ ๓๕๐ ๓๗๒ ๓๙๒ ๔๑๐ ๔๒๖ ๔๔๒

หนังสือและเอกสารอ้างอิง

๔๕๔

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

33


แผนที่ย่านบ้านบาตร

ทิศเหนือ

สะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชด�ำเนินกลาง

ถนนดำ� ร ป้อม งรักษ์ มหากาฬ สะพาน คลองม หานาค มหาดไทยอุทิศ (สะพานร้องไห้) ภูเขาทอง

ทพธิดารา

ดิพงษ ถนนบำ� รุงเมือง

ซอยบ้าน

อ่าง

บาตร

้านบา ซอยบ

บ้านด

อกไม

ย่านบ้านดอกไม้

ถนนหล

วง

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

74

รจักร

ซอย

ตร

ถนนบริพ

ย่าน บ้านบาตร

ถนนว

ัตร

คลองโอ่ง

ไชย

สน. ส�ำราญราษฎร์

ถนนมหา

สะพาน นริศด�ำรัส

ักรพรร

แยกเมรุปูน

ถนนมหา

วัดเทพธิดาราม

ไชย

ถนนจ

คลองวัดเ

ถนนหลานหลวง ย่านขายเฟอร์นิเจอร์ ไม้

ถนนจักรพรรดิพงษ์

พิพิธภัณฑ์ พระปกเกล้าฯ


บ้านบาตร แหล่งหัตถกรรมในเมืองหลวง

หลายคนคงจะรู้จักบาตรอันเป็นหนึ่งในเครื่องอัฐบริขารแปดอย่างที่

จะขาดเสียมิ ได้สำ�หรับพระภิกษุ แต่จะมีสักกี่คนที่ร้จู ักแหล่งผลิตบาตรที่บ้านบาตร ซึ่งเป็นเสมือนเมืองลับแล ที่น้อยคนนักจะมีโอกาสได้เข้าไปเยือน อาณาเขตของบ้านบาตรนั้น ทางทิศเหนือติดถนนบำ�รุงเมือง ทิศใต้ติด ถนนหลวง ทิศตะวันออกติดถนนวรจักร ทิศตะวันตกติดถนนบริพัตร  ที่ดิน ในบริเวณบ้านบาตรเป็นทีด่ นิ ทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ ซือ้ ขายไม่ได้ ผูอ้ ยูอ่ าศัย จะต้องเช่าเป็นรายปี

วันวานที่บ้านบาตร

ชาวบ้านบาตรอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม เรียกว่า ชุมชนบ้านบาตร ซึ่งมีอยู่ ประมาณสองร้อยหลังคาเรือน ขึ้นอยู่กับแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร บ้านบาตรเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นเอกสารแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่มีผ้ศู ึกษาไว้ และจากปากคำ�ของชาวบ้านเข้าใจว่า ชาวบ้านบาตรเดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว ชาวบ้านบาตร ก็ต้องอพยพหลบหนี  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ชาวบ้านบาตร จึงมาสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณที่เป็นชุมชนในปัจจุบันนี้ ส่วนอีกกระแสหนึ่งว่า เดิมนั้นชาวบ้านบาตรเป็นชาวเขมรที่ถูกกวาด ต้อนมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาอยู่อาศัยบริเวณเกาะเขมร ซึ่งเป็นบริเวณกักกันชาวเขมร รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่าชาวเขมรมีฝีมือในการทำ�

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

75


บาตร จึงให้การสนับสนุน เรื่องนี้ชาวบ้านบาตรในปัจจุบันไม่สามารถยืนยันได้ สอบถามได้ความ ว่าในหมู่บ้านไม่มีคนเชื้อสายเขมร แต่มีตรอกถัดไปทางถนนวรจักรชื่อ “ตรอก เขมร” ไม่แน่ ใจว่าจะเป็นสถานที่ที่ชาวเขมรเคยอาศัยอยู่หรือไม่ ในสมัยก่อน การทำ�บาตรที่นี่ถือว่าเป็นการทำ�บาตรด้วยมือแห่งเดียว ในประเทศไทยก็ว่าได้ เพราะชาวบ้านเกือบทั้งหมู่บ้านยึดอาชีพการทำ�บาตรเป็น อาชีพหลัก  ชาวบ้านจะนำ�บาตรที่ผลิตได้ ไปส่งขายที่สำ�เพ็งและย่านเสาชิงช้า ขายได้ใบละไม่ถึงบาท  ส่วนมากจะขายกันเป็นราคาต่อ ๑๐ ใบ มีตั้งแต่ ๑๐ ใบ ๘ บาท ๑๐ ใบ ๑๒ บาท (สมัยที่ทองคำ�ราคาบาทละ ๒๐ บาท)  การทำ�บาตร ของชาวบ้านมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ จนกระทั่งสามารถส่งไปขายยังจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น กัมพูชา อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น จากลักษณะที่ชาวบ้านบาตรตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มชุมชน  ดังนั้น สังคมของชาวบ้านบาตรจึงเป็นสังคมที่ทุกคนในหมู่บ้านรู้จักกันเป็นอย่างดีและ รวมตัวกันอยูอ่ ย่างเหนียวแน่น ทัง้ ในด้านการทำ�มาหากินและความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่ อ นบ้ า น ถ้ า จะมองอย่ า งลึ ก ซึ้ ง อาจพบว่ า การรวมกลุ่ ม ของชาวบ้ า นบาตร นอกจากความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นญาติพี่น้องกัน  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ก็เป็นตัวกำ�หนดให้ชาวบ้านต้องอยู่ ในกลุ่มของตน ด้วยมีพื้นที่จำ�กัดไม่สามารถ ขยายพื้นที่ออกไปได้อีก บรรพบุรุษจึงมักจะถ่ายทอดวิชาความรู้ ในการทำ�บาตร ให้แก่ลูกหลาน คนในครอบครัว หรือในหมู่เครือญาติ คุณสุเทพ สุทดิศ ช่างทำ�บาตรฝีมือเยี่ยมท่านหนึ่ง เล่าให้เราฟังว่า “บรรพบุรุษทำ�บาตรมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ชื่อปู่สุด สิงหเสนี เป็น ปู่ทวด จากปู่ทวดก็ถ่ายทอดวิชาความรู้มาจนกระทั่งถึงผม” การถ่ายทอดวิชาความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งให้ ได้วิชาความรู้ นั้นในการประกอบอาชีพกันต่อๆ ไป ถือเป็นขนบธรรมเนียมไทยอย่างหนึ่งที่มี มาช้านานแล้ว

บ้านใกล้เรือนเคียง

บริเวณใกล้เคียงกับบ้านบาตรยังมี ชุมชนบ้านดอกไม้ ซึ่งอยู่ตรงข้าม กับบ้านบาตร เป็นแหล่งทำ�ดอกไม้ ไฟ ใครที่จัดงานสำ�คัญต้องใช้ดอกไม้ ไฟก็ต้อง มาสั่งทำ�ที่นี่  ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีมานี้ได้เกิดเพลิงไหม้

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

76


เนื่องจากแรงระเบิดในการทำ�ดอกไม้ ไฟ ทำ�ให้ที่อยู่อาศัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ มอดไหม้ ไปกับเปลวเพลิง ผู้คนล้มตายประมาณ ๗-๘ คน  หลังจากเหตุการณ์ นั้นแล้วจึงไม่ค่อยมีการทำ�ดอกไม้ ไฟอีก ประกอบกับมีดอกไม้ ไฟจากต่างประเทศ เข้ามาจำ�หน่าย เช่น ดอกไม้ ไฟจากญี่ปุ่น จีน ซึ่งสะดวกไม่ต้องเสี่ยงอันตราย ปัจจุบันมีชาวบ้านที่ยังคงยึดอาชีพขายดอกไม้ ไฟอยู่บ้าง แต่ก็มีเพียงไม่กี่ราย ชุมชนบ้านสาย อยู่ทางทิศเหนือของบ้านบาตรตรงข้ามวัดเทพธิดาราม เป็นแหล่งทำ�สายรัดประคด (ผ้าคาดเอวสำ�หรับพระภิกษุ) ชาวบ้านมักเรียกว่า สายรัดเอว  สายรัดประคดที่นี่ทำ�ด้วยไหมฝีมือประณีตมาก  นอกจากสายรัด ประคดยังทำ�ถุงตะเคียวสำ�หรับหุ้มบาตรพระ เพื่อส่งตามร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ ย่านเสาชิงช้า แต่ ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ เหลือเพียงตำ�นานบ้านสายที่ไม่มีบรรยากาศการทำ� สายรัดประคดให้เห็นอีกต่อไป การทำ�สายรัดประคดที่บ้านสายต้องลดน้อยลงและค่อยๆ หมดไป เนื่อง มาจากมีการผลิตสายรัดประคดจากโรงงานออกมาจำ�หน่ายด้วยราคาที่ถูกกว่า เพราะผลิตได้ครั้งละมากๆ ต่างจากที่บ้านสายซึ่งต้องนั่งทำ�หลังขดหลังแข็ง กว่าจะได้สายรัดประคดแต่ละเส้น นอกจากบ้านสาย บ้านดอกไม้ ในบริเวณใกล้กับวัดสระเกศ ภูเขาทอง ยังเป็นแหล่งที่ทำ�เฟอร์นิเจอร์จำ�พวกวงกบประตูหน้าต่าง ชาวบ้านบาตรได้อาศัย เศษไม้สักจากร้านเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นมาเผาถ่าน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทำ� บาตร  ชาวบ้านจะใช้เฉพาะถ่านจากไม้สักเท่านั้น ด้วยเป็นถ่านที่ให้ความร้อนสูง ไม้ชนิดอื่นใช้ ไม่ได้เลยเพราะให้ความร้อนน้อยกว่า ดั ง นั้ น การมี ร้ า นเฟอร์ นิ เ จอร์ อ ยู่ ใ นบริ เ วณใกล้ เ คี ย ง จึ ง เป็ น การเอื้ อ ประโยชน์ต่อการทำ�บาตรทางหนึ่งด้วย

บาตร : หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร

บาตรเป็นภาชนะสำ�หรับใส่อาหารของพระภิกษุในพุทธศาสนา ถือเป็น เครื่องอัฐบริขารชิ้นเอกในจำ�นวน ๘ ชิ้น ซึ่งประกอบด้วย ๑. บาตร ๒. ผ้าสบง (ผ้ า นุ่ ง ) ๓. ผ้ า จี ว ร (ผ้ า ห่ ม ) ๔. ผ้ า สั ง ฆาฏิ (ผ้ า พาดบ่ า ) ๕. ประคดเอว ๖. ที่กรองน้ำ� (ธรรมกรก) ๗. กล่องเข็มพร้อมด้ายและเข็ม ๘. มีดโกน ตามพุทธบัญญัติซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในพระวินัยปิฎกมหาวรรค

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

77


ได้กล่าวถึงที่มาของบาตรว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ขณะ ประทับเสวยวิมุตติสุขภายใต้ต้นเกด มีพ่อค้าพาณิชย์สองคน คือ ตะปุสสะกับ ภัลลิกะ นำ�ข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผงเข้าไปถวาย แต่กาลครั้งนั้นบาตรทรงประจำ� ยังไม่มี ครั้นจะรับด้วยพระหัตถ์ก็จะเป็นการผิดประเพณี  ท้าวมหาราชสี่องค์ จึงนำ�บาตรศิลามาถวาย พระองค์ทรงรับบาตรไว้ทั้งสี่ ใบ และอธิษฐานเข้าเป็น ใบเดียวกัน ก่อนที่จะทรงรับข้าวด้วยบาตรนั้น ต่อมาจึงได้ทรงอนุญาตให้ ใช้บาตรได้ ๒ ชนิด คือ บาตรดินเผาและ บาตรเหล็ก ซึ่งเดิมในครั้งพุทธกาลภิกษุใช้บาตรดินเผาเป็นส่วนใหญ่ สำ�หรับ บาตรเหล็กมีจำ�นวนน้อย  นอกจากนี้ยังทรงมีพุทธบัญญัติห้ามมิ ให้ ใช้ของอื่น แทนบาตร เช่น กระทะดิน กะโหลกน้ำ�เต้า กะโหลกหัวผี มาทำ�เป็นบาตร  ส่วน บาตรที่ห้ามใช้ ในบาลียังระบุไว้ถึง ๑๑ ชนิด ได้แก่ บาตรทอง เงิน แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก แก้วหุง ทองแดง ทองเหลือง ดีบุก สังกะสี และบาตรไม้ ส่วนบาตรดินเผามักจะไม่คงทนเหมือนบาตรเหล็กจึงไม่ค่อยมีให้เห็นนัก สำ�หรับที่บ้านบาตรผลิตบาตรเหล็กโดยทำ�เฉพาะตัวบาตรเท่านั้น  ส่วน ฝาบาตร ตีนบาตร (ส่วนฐานที่รองบาตร) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำ�คัญ มีแหล่ง ผลิตอยู่ที่บริเวณหัวเม็ดใกล้กับสะพานหัน  บาตรที่ผลิตจากบ้านบาตรแต่ละใบ จะประกอบด้วยเหล็ก ๘ ชิ้น จึงมีรอยตะเข็บ รอยเชื่อมต่อให้เห็นก่อนที่จะทำ�ให้ เรียบร้อย  เมื่อทำ�เสร็จเป็นบาตรแล้วจะมองไม่เห็นรอยเชื่อมต่อ แลเห็นเป็น เนื้อเดียวกันหมด บาตรที่ ใช้อยู่ท่ัวไปมีหลายทรง เช่น ทรงมะนาวตัด ทรงตะโกกลาย ทรงตะโกแคระ ทรงลูกจันทน์ ทรงลูกอิน ขนาดของบาตรที่นิยมใช้ท่ัวไปคือ ปากบาตรกว้างประมาณ ๗-๘ นิ้ว ถ้าบาตรขนาดปากกว้าง ๙ นิ้วเป็นบาตร ขนาดใหญ่เหมาะสำ�หรับพระที่ฉันอาหารมื้อเดียว

วิธีทำ�บาตร

ในการทำ�บาตรกว่าจะได้บาตรแต่ละใบจำ�เป็นต้องอาศัยแรงงานคนหลาย คน เนื่องจากการทำ�บาตรมีมากมายหลายขั้นตอน ต้องมีคนตัดเหล็ก คนเชื่อม คนตี คนเคาะ คนขัด คนทาน้ำ�มัน แม้ว่าช่างบางคนจะทำ�ได้ทุกขั้นตอน แต่การ ทำ�ด้วยแรงงานเพียงคนเดียวหรือสองคนก็คงจะหนักเกินกำ�ลัง วิธีทำ�บาตรอย่างคร่าวๆ คือ ขั้นตอนแรกต้องมีเหล็กที่ ใช้ทำ�ปากบาตร

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

78


(ขอบบาตร) ส่วนตัวบาตรใช้เหล็กแผ่นตัดออกมาเป็นชิ้นตามความต้องการ  นำ� เหล็กมาโค้งตามรูปบาตรแล้วจึงประกอบเข้ากับขอบบาตร โดยใช้เครือ่ งมือแม่แบบ เรียกว่า ลูกกะล่อน (ลักษณะเป็นแท่งเหล็กตันสวมเข้ากับแป๊ปเหล็ก) แล้วใช้ ค้อนตีย้ำ�ตะเข็บ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ติดกง  หลังจากนั้นจึงนำ�แผ่นเหล็กที่ตัดไว้ มาติดให้ครบโครงบาตร นำ�มาประสานให้สนิทด้วยการใช้ทองแดงป่นผสมกับ น้ำ�ประสานทองทาบริเวณที่มีรอยตะเข็บ แต่ก่อนทาต้องนำ�บาตรไปชุบน้ำ�ให้เปียก เสียก่อนเพื่อให้น้ำ�ประสานติดสนิท แล้วจึงนำ�บาตรไปเป่าแล่นเพื่อให้ทองแดง กับน้ำ�ประสานซึมซาบบริเวณที่เชื่อมให้เป็นเนื้อเดียวกัน  จากนั้นจึงนำ�มาตียุบมุม ที่ เ กิ น เพื่ อ ให้ ไ ด้ รู ป ทรงตามต้ อ งการ  การตี ไ ม่ ต้ อ งใช้ แ รงมาก แต่ ต้ อ งอาศั ย ความชำ�นาญตีให้สม่ำ�เสมอ จะตีซำ�้ ทีเ่ ดียวกันไม่ได้ เพราะจะทำ�ให้บาตรเสียรูปทรง จากนั้นนำ�มาตะไบแต่งบาตรให้เรียบร้อย แล้วนำ�มาเผาเพื่อไม่ ให้เกิดสนิม ซึ่งมี กรรมวิธี ๒ แบบ แบบที่ ๑ เป็นแบบดั้งเดิมเรียกว่า ระบมบาตร ด้วยการนำ�บาตรมาเผา ให้ความร้อนข้างนอก โดยเอาบาตรวาง ใช้ขันหรือหม้อคะนนใบใหญ่ครอบ ใช้ ไฟ สุมล้อมข้างนอกจนเหล็กสุก  พอสุกดีแล้วเหล็กจะขับคาร์บอนออกมา ทิ้งให้เย็น จะได้บาตรที่สวยงามเนื้อละเอียด แบบที่ ๒ แบบรมดำ� โดยใช้น้ำ�มะพร้าว ใบขี้เหล็ก ในปัจจุบันใช้นำ�้ มัน กอฮอลล์ทา แล้วนำ�ไปวางข้างไฟจะทำ�ให้เป็นสีดำ� เป็นอันเสร็จขัน้ ตอนการทำ�บาตร

พ่อปู่ครูบาตร

จะเห็นได้ว่าการทำ�บาตรมิใช่ทำ�กันอย่างง่ายๆ ช่างที่ทำ�บาตรในบ้านบาตร เชื่อว่ามีครูประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ที่เรียกกันว่า “พ่อปู่” หรือ “ปู่ครู”  ความ เชื่อเรื่องพ่อปู่มีมาช้านาน ชาวบ้านเชื่อกันว่าพ่อปู่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีความรู้ เรื่องการทำ�บาตรเป็นอย่างดีตั้งแต่ครั้งโบราณ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือ สืบทอดกันมา และได้ตั้งศาลพ่อปู่ ไว้กลางหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านได้ มาสักการบูชา สมัยก่อนศาลนี้สร้างด้วยไม้ ต่อมาชำ�รุดทรุดโทรมจึงเปลี่ยนมา เป็นปูน  ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ชาวบ้านบาตรได้ร่วมใจกันปั้นรูปพ่อปู่ ตามจินตนาการไว้เคารพบูชา เพื่อให้อาชีพการทำ�บาตรดำ�เนินไปด้วยดี มีความ ก้าวหน้า เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่คนทำ�บาตร และยังเชื่อกันว่าศาลนี้ สามารถปกปักรักษาให้ทุกคนในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

79


แผนที่ย่านบ้านปูน

จรัญ

ถนน

จรัญ

สนิท

วัดคฤหบดี

้าพร

ชุมชนบ้านปูน

ํ้ า เ จ

์ ๔๐

ยี่ขัน

งบาง

คลอ

วงศ

อนุสาวรีย์ ร. ๘ และ สวนสาธารณะ สะพาน พระรามแปด

ตลาดเทวราช

คลอ

งผด

ุงกร

ุงเก

วัดบางขุนพรหม ษม ธนาคารแห่ง สะพาน ประเทศไทย เทเวศรนฤมิตร เสน

สนิท

วัดบางยี่ขัน

ถนน สาม

จรัญ

์ ๔๔

แ ม่ น

ซอย

วงศ

ะยา

ซอย

สนิท

วงศ

ทิศเหนือ

วัดสามพระยา

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

144

ถนน

วิสุท

ธิกษ

ัตริย ์


ถิ่นนี้คือบ้านปูน

ก่อนหน้าที่สะพานพระรามแปดจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการ หากเดิน

จากท่าน้ำ�วิสุทธิกษัตริย์ บางขุนพรหม นั่งเรือข้ามแม่นำ�้ เจ้าพระยาไปยังฝั่งตรงข้าม เพียงแค่ประเดี๋ยวเดียวก็จะถึงท่าน้ำ�บ้านปูน ซึ่งเป็นที่ต้งั ของ “บ้านปูน” บางยี่ขัน อันเป็นแหล่งผลิตปูนแดงกินกับหมากพลู แหล่งสำ�คัญในอดีต ซึ่งบางคนอาจจะ ลืมเลือนไปแล้วด้วยไม่ค่อยมี ใครได้กล่าวถึง  ดังนั้น ผู้เขียนจึงอยากจะรื้อฟื้น เรื่องราวของชาวบ้านปูนที่น่าสนใจให้เป็นที่รับรู้กันอีกครั้ง

ความเป็นมาของบ้านปูน

ก่อนอืน่ ขอกล่าวถึงความหมายของคำ�ว่า “บ้านปูน” ให้เป็นทีเ่ ข้าใจเสียก่อน “บ้าน” หมายถึง สิ่งปลูกสร้างสำ�หรับเป็นที่อยู่อาศัย “ปูน” ตามความหมายหนึ่งใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ “หมายถึง ของซึ่งทำ�จากหินหรือเปลือกหอย เผาให้ ไหม้เป็นผง, ถ้าทำ�จากหินเรียกว่า ปูนหิน, ถ้าเป็นสีขาวเรียกว่า ปูนขาว  นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ไว้ดว้ ยว่า ถ้าประสมกับขมิน้ เป็นสีแดงสำ�หรับกินกับหมากเรียกว่า ปูนแดง”  และ ถึงแม้ว่าใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ จะให้รายละเอียด ของคำ�ว่าปูนเพิ่มขึ้นอีกมาก แต่ก็ยังกล่าวถึงปูนแดงไว้ว่า “หมายถึง ปูนสุกที่เมื่อ ผสมกับผงขมิ้นและน้�ำ จะเป็นสีแดง สำ�หรับป้ายพลูกินกับหมาก” ดังนั้น บ้านปูน ตามความหมายของชื่อก็คือ บริเวณที่อยู่อาศัยที่ชาวบ้าน ประกอบอาชีพทำ�ปูน ซึ่งในที่นี้ก็คือปูนแดงที่กินกับหมากพลู ซึ่งคนในสมัยก่อน นิยมกินกันมาก แต่เดิมบ้านปูนเป็นชื่อตำ�บลหนึ่งในเขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็น หมูบ่ า้ นเล็กๆ ริมแม่นำ�้ เจ้าพระยา จากคลองบางกอกน้อยขึน้ ไปทางเหนือประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร  ปัจจุบันได้มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ บ้านปูนจึงขึ้นอยู่กับ

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

145


แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร อาณาเขตของบ้านปูน คือ ทิศเหนือจรดวัดคฤหบดี  ทิศใต้จรดคลอง บางยี่ขัน  ทิศตะวันออกจรดแม่นำ�้ เจ้าพระยา  และทิศตะวันตกเดิมเป็นสวน ผลไม้ ปัจจุบันเป็นบ้านจัดสรรและตลาดที่ชาวบ้านเรียกว่า ตลาดใหม่ จะเห็นได้ว่าที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านปูนเป็นทำ�เลที่เหมาะสม ด้าน หนึ่งติดกับแม่น้ำ�เจ้าพระยา เรือกสวนจะได้รับน้ำ�อย่างอุดมสมบูรณ์  รวมทั้ง การติดต่อคมนาคมค้าขายก็สะดวก ด้วยมีคลองบางยี่ขันเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ� เจ้าพระยาเข้าไปถึงสวนผลไม้ ตามประวัติ ชาวบ้านปูนหลายท่านเล่าให้ฟังว่า บรรพบุรุษอพยพกันมา จากพระนครศรีอยุธยา มาตัง้ หลักแหล่งทำ�มาหากินอยูบ่ ริเวณนีต้ ง้ั แต่สมัยกรุงธนบุรี คราวเดียวกันกับที่พระเจ้าตากสินพร้อมไพร่พลอพยพลงมา หลังจากพม่าเข้าตี กรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ผู้คนที่ติดตามพระเจ้าตากสินลงมาจากอยุธยา ครั้งนั้นคงจับจองที่ดินสร้างบ้านเรือนอยู่ตามริมฝั่งแม่นำ�้ เจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณ บ้านขมิน้ ขึน้ ไปทางเหนือจนถึงบางยีข่ นั บ้านปูน และบางพลัด  ซึง่ เรือ่ งนีต้ รงกับ ทีจ่ อมพลประภาส จารุเสถียร เล่าไว้ใน ฝากเรือ่ งราวไว้ให้ลกู หลาน ว่ามีคำ�บอกเล่า สืบต่อกันมาว่า “...ต้นตระกูลของเราเป็นข้าราชการ แต่เดิมทีนั้นอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้อพยพลงมาเมือ่ กรุงใกล้แตก โดยหนีลงมาตามลำ�แม่น�ำ้ เจ้าพระยา แล้วมาขึ้นที่บางพลัดในปัจจุบันนี้ เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะ เนื่องจากทาง เหนือขึ้นไปพม่าได้ตั้งค่ายยึดไว้จนใกล้กับบริเวณพระนครศรีอยุธยา ขณะที่ทางต่�ำ ลงมาใกล้ปากน้ำ�คือบางกอกและธนบุรีไม่มีค่ายพม่า จึงได้พากันขึ้นอาศัยอยู่และ ตั้งชื่อพื้นที่บริเวณนั้นว่า บางพลัด คือบางพลัดถิ่น” เมื่ อ ครั้ ง ที่ ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเป็ น ราชธานี มี บ ริ เ วณที่ ช าวบ้ า นทำ�ปู น เป็ น อาชีพหลัก เรียกว่า “ย่านตำ�บลศาลาปูน”  ทำ�ปูนขาวปูนแดงกินกับหมากพลู ส่วน “ย่านบ้านเกาะขาด” ทำ�เครื่องทองเหลืองเป็นอุปกรณ์สำ�หรับใส่ปูนแดง เรียกว่า เต้าปูน ทำ�ไม้ควักปูน ลักษณะคล้ายไม้พายแต่ขนาดเล็ก เพือ่ ให้เหมาะสม กับขนาดของเต้าปูน  นอกจากนี้ยังผลิตผอบยาสำ�หรับใส่ยาเส้นยาฉุนที่ ใช้กิน กับหมาก ดังนั้นการมาตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านปูนจึงยังคงรักษาอาชีพดั้งเดิมไว้ เรียกชื่อตำ�บลที่อยู่ว่า “ตำ�บลบ้านปูน” ซึ่งตามหลักฐานระบุว่า

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

146


“...จากริมคลองบางกอกน้อยลงมาเหนือวัดระฆัง แต่เดิมเรียกว่า ตำ�บล สวนลิ้นจี่ ตำ�บลสวนมังคุด และตำ�บลบ้านปูน...”

วังต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้มีการสร้างวังโดยใช้ชื่อเดียวกับชื่อตำ�บล ตั้งแต่บริเวณใกล้อู่เรือกำ�ปั่นริมวัดระฆังโฆษิตาราม ต่อเนื่องขึ้นไปทางเหนือ วังบ้านปูน ระบุว่าอยู่ถัดจวนเดิมและวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆัง) ขึ้นมา ทางเหนือ  เดิมเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าขุนเณร พระอนุชาต่างพระชนนีกับ กรมพระราชวังหลัง  คงจะเป็นวังเล็กๆ ที่ร่วงโรยไปเมื่อเจ้าของวังสิ้นพระชนม์ วังสวนมังคุด หรือทีช่ าวบ้านเรียกว่า “วังเจ้าคุด” อยู่ใกล้กบั วัดดุสดิ าราม เป็นพระนิวาสสถานเดิมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยาเทพสุดาวดี พระพี่นาง พระองค์ ใ หญ่ แ ห่ ง รั ช กาลที่ ๑  สมเด็ จ พระพี่ น างพระองค์ นี้ มี พ ระราชโอรส ๓ พระองค์  พระองค์ ใหญ่ ได้เป็นพระยาสุริยอภัย วังสวนมังคุดต่อมาเรียกว่า วังกรมเทวา วังสวนลิ้นจี่ เป็นพระนิวาสสถานเดิมของพระยาสุริยอภัย ผู้สำ�เร็จ ราชการเมืองนครราชสีมา  ต่อมาเป็นกรมพระราชวังหลัง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พื้นที่ทั้งสามตำ�บลมีปรากฏชื่ออยู่ ในพระราชพงศาวดาร ความว่า เมื่อ เกิดจลาจลในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งพระยาสรรค์เข้ามาตีพระนคร  พระยาสุริยอภัย ผู้สำ�เร็จราชการเมืองนครราชสีมาได้ยกกองทัพมาจากเมืองนครราชสีมา รุดมา ปราบจลาจลและตั้งค่ายมั่นอยู่ที่พระนิวาสสถานเดิมสวนลิ้นจี่ และชักแนวค่าย มาถึงสวนมังคุด  พระยาสรรค์ ได้ยุให้เจ้ารามลักษณ์ โอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี ออกรบกับพระยาสุริยอภัย โดยตั้งค่ายอยู่ที่บ้านปูน  วางคนรายโอบขึ้นไปจนถึง วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทราราม)  เจ้ารามลักษณ์เอาไฟเผาบ้านเรือนราษฎร ขึ้นไปทางทิศเหนือ (สวนลิ้นจี่) แต่เคราะห์ร้าย กระแสลมกลับพัดลงมาทางใต้ กองทัพพระยาสุริยอภัยจึงตีทัพเจ้ารามลักษณ์แตกพ่ายไป ปัจจุบันในตลาดบ้านปูนยังมีกำ�แพงที่แสดงให้เห็นความมั่นคงแข็งแรง เหลืออยู่บ้างเป็นบางช่วง ชาวบ้านบอกว่าเป็นกำ�แพงวังบ้านปูนที่กั้นระหว่างที่ดิน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับที่ดินของชาวบ้านปูน

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

147


การทำ�บุญที่ศาลาโรงธรรม

ศาลาโรงธรรม บางแห่งเรียกว่า “ศาลากลางบ้าน” หรือ “ศาลากลางย่าน” ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมของคนไทยในสมัยโบราณ มักจะสร้างศาลาโรงธรรมไว้ หลายแห่ง  เพราะในสมัยนั้นยังไม่ค่อยมีวัดวาอารามมากนัก ถ้ามีก็อาจจะอยู่ ไกล จากหมู่บ้าน  ผู้มีฐานะในหมู่บ้านจึงมักจะสละทรัพย์ หรือบอกบุญเรี่ยไรจาก คนในหมู่บ้านสร้างศาลาโรงธรรม เพื่อใช้เป็นสถานที่สำ�หรับทำ�บุญเลี้ยงพระและ ประกอบศาสนพิธีต่างๆ  ศาลาโรงธรรมจึงมีลักษณะคล้ายวัด ผิดกันแต่เพียงไม่มี พระสงฆ์อยู่ประจำ� มีแต่พระพุทธรูปประธานในศาลาทางด้านหนึ่งของศาลาจะ ยกพื้นสูงขึ้นทำ�เป็นอาสนะสำ�หรับพระสงฆ์สวดมนต์และฉันภัตตาหาร  ใต้ถุน ศาลาเป็นที่โล่งสามารถเก็บของได้ มี เ รื่ อ งเล่ า ว่ า แต่ ก่อ นที่ ใ ต้ ถุน ศาลาเคยมี เ รื อ ชะล่ า (เป็ น เรื อ ขุ ด จาก ลำ�ต้นไม้แต่ว่ามีเก๋ง) เป็นเรือเก๋งสี่แจวที่บรรพบุรุษของชาวบ้านปูนใช้หลบหนี มาจากกรุงศรีอยุธยา  ปัจจุบันไม่ทราบว่าสูญหายไปไหน ในสมัยก่อนชาวบ้านจะนิมนต์พระจากวัดใกล้ๆ หมู่บ้านมาเทศน์ที่ศาลา โรงธรรม  พลเอกพร ธนะภูมิ ซึ่งเคยอยู่ที่บ้านปูนตั้งแต่สมัยเมื่อหลายสิบปีก่อน เล่าให้ฟงั ว่า สมัยเด็กๆ ท่านจะต้องมีหน้าทีต่ รี ะฆัง แล้วเดินร้องบอกไปทัว่ หมูบ่ า้ น ว่า “ฟังเทศน์เจ้าข้าๆ” ให้ชาวบ้านรู้ว่าพระมาแล้ว จะได้เตรียมตัวไปฟังเทศน์ พอพระมาถึง ท่านก็ต้องแบกคัมภีร์เดินตามหลังพระขึ้นมาบนศาลา โรงธรรม  บนศาลามีธรรมาสน์สำ�หรับพระเทศน์ คนที่มาทำ�บุญก็นั่งพับเพียบ เรียบร้อยคอยฟังเทศน์ ในช่วงเข้าพรรษาจะมีพระมาเทศน์ทุกวันจนครบ ๗ วัน ต่อมาจัดให้เทศน์เฉพาะวันพระและทุก ๑๕ วันตามลำ�ดับ  มาถึงเดีย๋ วนีม้ กี ารทำ�บุญ และนิมนต์พระมาเทศน์เพียงเดือนละครั้งเท่านั้น ช่วงทีศ่ าลาทรุดโทรม ชาวบ้านจะร่วมมือกันบูรณะทำ�ให้ศาลาอยู่ในสภาพดี ในสมัยก่อนเคยมีศาลาโรงธรรมอยู่ตามหมู่บ้านในกรุงเทพฯ ประมาณ ๗ แห่ง แต่ปัจจุบันชาวบ้านปูนกล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า เหลือศาลาโรงธรรมที่บ้านปูนเพียง แห่งเดียวเท่านั้น

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

148


(บน) ภาพอดีตของส่วนค้าขายอันเป็นบริเวณส�ำคัญ ในการสื่อสารของคนบ้านปูน  มีการติดประกาศ ข่าวคราวเกี่ยวกับบ้านปูนอยู่เสมอ (ล่าง) บ้านทรงไทยในบ้านปูน ชาวบ้านเล่าว่าเคยเป็น บ้านพระพี่เลี้ยงของกรมพระนครสวรรค์วรพินิต

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

149


(ซ้าย) เดิมเส้นทางสัญจรในบ้านปูนใกล้ริมน�้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่ร้านค้าต่างๆ และมีอาหารอร่อย ปัจจุบันนี้ เหลือเพียงความทรงจ�ำ (ขวา) ศาลาโรงธรรม ศูนย์รวมของชาวบ้านปูน ในงานบุญ

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

150


(บน) ภายในศาลาโรงธรรม  จัดให้เป็นสถานที่ท�ำบุญ เลี้ยงพระ มีพระประธานในศาลาเป็นที่เคารพของ ชาวบ้านปูน (ล่าง) ศาลเจ้าจีนในบ้านปูน บริเวณหน้าศาลเจ้าเป็น ลานอเนกประสงค์

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

151


แผนที่ย่านปากคลองตลาด

ทิศเหนือ

นน ร

ฐกา ยเศรษ

ซอ สน. พระราชวัง

องค์การตลาด แม ่ นํ้ า เ จ้ ตลาดยอดพิมาน าพ ระ ยา

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

350

ถนนจักร

เพชร

ถนนพ

าหุรัด

วัดเลียบ

พระบรมรูป ร. ๑

สะพ สะพานพุท ธฯ านพ ระป กเกล ้าฯ

่ากลา ซอยท

งตล

าด

ถนนตร

ถ สะพาน เจริญรัช ๓๑ โรงเรียน ตลาดสะพานพุทธ สวนกุหลาบ (ตลาดเอ็มไพร์)

คลอ

โรงเรียนราชินี

ถนนพระพิทักษ ์ วิทยาลัย เพาะช่าง

ถน ถนน นจักรเพ คลอ จักรวร ชร งโอ่ง รดิ์ อ่าง

าชินี ถนนอัษฎางค์ ถนนบ้านห ม้อ

ถนนพระพิพิธ

ีเพชร

ถนนสนามไชย

ราช

มหา

ถนน วังจักรพงษ์

วัดโพธิ์ ุพน นนเชต


ปากคลองตลาดเมื่อกาลก่อน ท่ามกลางอากาศร้อนระอุของแดดบ่ายและความสับสนวุ่นวายของ

ผู้คนจำ�นวนมากที่มาซื้อขายสินค้า จุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่ร้าน “ช่อเพชร” ซึง่ เป็นร้านขายส่งสินค้าพืน้ เมืองจำ�พวกไม้แกะสลัก อันเป็นทีน่ ยิ มของชาวต่างชาติ เจ้าของร้านอาสาเป็นมัคคุเทศก์พาชมความมีชีวิตชีวาของย่านการค้าแห่งนี้ ซึ่ง ถือเป็นย่านเก่าที่มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครมาเนิ่นนาน เราขอเชิญชวนท่านผู้อ่านให้ร่วมเดินทางย้อนอดีต ไปชมย่านเก่าแห่งนี้ว่ามีอะไร ที่น่าสนใจบ้าง

ถิ่นนี้มีอดีต

ถ้าเอ่ยนาม ปากคลองตลาด น้อยคนนักที่จะปฏิเสธว่าไม่รู้จัก ด้วยเป็น ย่านการค้าขายที่เลื่องชื่อมาแต่ครั้งอดีต ปากคลองตลาดตั้งอยู่บริเวณปากคลองคูเมืองเดิม  คลองนี้เริ่มขุดจาก แม่น้ำ�เจ้าพระยาที่ท่าช้างวังหน้า วกไปออกแม่น้ำ�เจ้าพระยาอีกครั้งที่บริเวณปากคลองตลาดในปัจจุบัน คลองคูเมืองเดิมนี้ขุดในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อเป็นคูพระนครฝั่ง ตะวันออก  ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยา้ ยพระราชวังมาอยูท่ างฝัง่ ตะวันออก  คลองคูเมืองเดิม จึงกลายเป็นคลองในเมืองไปโดยปริยาย บ่อยครัง้ ทีเ่ กิดความสับสนในการเรียกชือ่ คลอง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมี ประกาศให้เรียกชื่อคลองคูเมืองเดิมเป็นสามตอนคือ ระยะระหว่างปากคลองที่ท่าช้างวังหน้าถึงปากคลองหลอดวัดราชนัดดา เรียกว่า คลองโรงไหมวังหน้า ระยะจากปากคลองหลอดวัดราชนัดดาฯ ถึงปากคลองหลอดวัดราชบพิธ เรียกว่า คลองหลอด

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

351


และระยะจากปากคลองหลอดวัดราชบพิธถึงแม่นำ�้ เจ้าพระยาเรียกว่า คลองตลาด แต่ โดยทั่วไปการเรียกชื่อคลองก็ยังปะปนกันอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นเมื่อ มีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้มีการกำ�หนดให้ เรียกชื่อ “คลองคูเมืองเดิม” อีกครั้ง เพื่อระลึกถึงว่าครั้งหนึ่งคลองนี้เคยเป็น คูเมืองมาก่อน

ทำ�ไมจึงชื่อ “ปากคลองตลาด”

หลายคนอาจมีคำ�ถามในใจว่าทำ�ไมเรียกชื่อปากคลองตลาด ไม่เรียก ตลาดปากคลองแล้วเติมชื่อคลองนั้นๆ ลงไป เช่น ตลาดปากคลองบางกอกน้อย ตลาดปากคลองบางหลวง ซึง่ ข้อสงสัยนีอ้ าจสันนิษฐานตามเหตุทว่ี า่ เดิมทีการเรียก ชือ่ คลองหรือชือ่ สถานที่ใดมักจะเกีย่ วพันกับอาชีพและสิง่ แวดล้อมของคนในชุมชน นั้นๆ ย่านปากคลองตลาดก็เช่นกัน ใน จดหมายเหตุโหร กล่าวไว้ว่า คลองตลาดในสมัยกรุงธนบุรี เรียกว่า “คลองใน” ขุดเมือ่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๑๕ เพือ่ เป็นคูเมืองของกรุงธนบุร  ี สภาพเดิม เป็นที่สวน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ บริเวณนี้เป็นตลาดปลาแหล่งใหญ่ จึงเรียก กันว่า “คลองตลาด”  ครั้นสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกบริเวณนี้ว่า “ตะพานปลา” ตำ�บลคลองหลอดตลาดใหม่ กาญจนาคพันธุ์ (ขุนวิจิตรมาตรา) ได้เล่าถึงตลาดแห่งนี้ ไว้ ใน เด็ก คลองบางหลวง ว่า “...คลองตลาด ที่เรียกคลองตลาดก็เพราะที่ปากคลองด้านใต้เป็นตลาด ใหญ่ ซึ่งเป็นท่าปลาด้วย คือปลาที่มาจากท่าจีน แม่กลอง เข้าคลองบางหลวง ผ่านหน้าบ้านข้าพเจ้า...มาขึ้นที่ท่าปลาปากคลองตลาด...” ในสมัยก่อนการขนส่งสินค้าใช้เรือเป็นพาหนะ ซึ่งแม้จะไม่รวดเร็วนักแต่ ใช่ว่าจะชักช้าจนเกินไป  ในเรื่องนี้กาญจนาคพันธุ์ ได้เล่าไว้อีกว่า “...เรือบรรทุกปลานั้นเป็นเรือยาว ๔-๕ วา เกลี้ยงๆ ไม่มีประทุนหรือ อะไรกั้น ใส่ปลาเต็มลำ�เรือ บางลำ�มีปลาใหญ่ยาวเกือบตลอดลำ�เรือ ในเรือมี คนแจวหัวคนหนึ่ง แจวท้ายคนหนึ่ง แจวเร็วอย่างยิ่ง ออกจากท่าจีนย่ำ�รุ่งมาถึง ปากคลองตลาดราวสองโมงเช้าเท่านั้น ข้าพเจ้าได้เห็นเรือแจวบรรทุกปลานี้แทบ

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

352


ทุกวัน พอเห็นปราดเดียวก็ผ่านหน้าบ้านไปไกลแล้ว...” ใน นิราศปากลัด ของคุณหญิงเขื่อนเพชรเสนา (ส้มจีน อุณหะนันท์) ซึง่ แต่งไว้เมือ่ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) กลางสมัยรัชกาลที่ ๕ มีขอ้ ความตอนหนึง่ กล่าวถึงตลาดปลาที่คลองตลาดว่า “มาถึงคลองตลาดตามราษฎร์เรียก กลิ่นปลาเปียกฉุนล้นทนไม่ไหว” แม้จะขึ้นชื่อว่าตลาดปลา แต่ก็มีสินค้าประเภทอื่นจำ�หน่ายด้วย เช่น พริก กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น  แต่ ไม่ทราบด้วยสาเหตุใด ในช่วงต่อมาได้มี การประกาศยกเลิกตลาดปลาแห่งนี้ให้ ไปรวมขึ้นที่ตำ�บลวัวลำ�พอง (หัวลำ�โพงใน ปัจจุบัน)

ปากคลองตลาดย่านชุมชน

จะสังเกตเห็นว่า ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชุมชนกระจายตัวอยู่ตาม ริมแม่นำ�้ ลำ�คลอง และมักจะหนาแน่นบริเวณใกล้ๆ กับศูนย์กลางของชุมชน ได้แก่ วัด วัง ตลาด และบริเวณปากคลองต่างๆ ในย่านใกล้เคียงกับปากคลองตลาดนี้ก็มี วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) และ วัดเลียบ (วัดราชบุรณะราชวรวิหาร) เป็นศูนย์รวมจิตใจ ของชุมชน  ส่วนวังเจ้านายในย่านนี้คือตั้งแต่บริเวณท่าเตียนถึงปากคลองตลาด เคยมีการสร้างวังให้เป็นทีป่ ระทับของพระบรมวงศานุวงศ์หลายวังด้วยกัน เนือ่ งจาก เป็นพื้นที่ ใกล้พระบรมมหาราชวัง เช่น วังท่าเตียน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ ของพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ ตั้งอยู่ริมแม่นำ�้ เจ้าพระยาตรงข้าม วัดพระเชตุพนฯ, วังริมแม่นำ�้ ใต้วัดพระเชตุพนฯ, บริเวณใกล้ปากคลองตลาดมี วังบ้านหม้อ วังเหนือป้อมมหาฤกษ์ และวังใต้ป้อมมหาฤกษ์ วังคลองตลาดวังที่ ๑ และวังคลองตลาดวังที่ ๒ สำ�หรับที่ดินบริเวณริมแม่นำ�้ เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกนอกกำ�แพงพระนคร นั้ น มี ห นั งสื อ แสดงกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น ซึ่ ง คั ด จากสมุ ด สำ�เนาพระราชหั ต ถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ความตอนหนึ่งว่า “...ขอประกาศแก่ผู้ซึ่งจะเปนที่พึ่งแก่ชนทั้งปวงในแผ่นดินในอนาคต แลอาไศรย์ความยุตธิ รรม แลความเมตตากรุณาแก่ชนทัง้ ปวงทัว่ ไป แลท่านทัง้ หลาย

กรุงเทพฯ แต่กี้แต่ก่อน

353


กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ

เรื่องราวแต่กี้แต่ก่อนของ ๒๒ ย่านเก่าในกรุงเทพฯ ความเป็นมาของแต่ละย่านที่เราคุ้นเคย แต่อาจไม่เคยรู้ประวัติหรือ ที่มาของชื่อย่านนั้นๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ สังคมเมืองกรุงเทพฯ

ย้อนความทรงจำ� ๒๒ ย่านเก่า เมื่อครั้งกรุงเทพฯ ยังเยาว์วัย

ปราณี กลํ่าส้ม

สั่งซื้อออนไลน์ที่ หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๕๙๙ บาท ISBN 978-616-465-052-7 @sarakadeemag

ปราณี กลํ่าส้ม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.