พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน

Page 13

คันทวยจะมีขนาดเล็กส่วนโคนใหญ่ปลายเรียว มีลักษณะที่บอบบาง  มากกว่าในสมัยอยุธยา จนดูแล้วเหมือนงานประดับมากกว่าจะเป็นส่วน  ที่รองรับนํ้าหนักชายคาอย่างแท้จริง  ในขณะที่สมัยอยุธยาคันทวยจะ มีขนาดใหญ่ส่วนโคนและปลายมีขนาดที่ไล่เลี่ยกัน แสดงให้เห็นถึงการ รับนํ้าหนักอย่างแท้จริง  ตัวอย่างสำ�คัญที่เหลือหลักฐานอยู่ เช่น ที่พระ อุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น บั ว หั ว เสาที่ เ รี ย กว่ า  บั ว แวง : เอกลั ก ษณ์ ข องงานช่ า งสมั ย รัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๓)  บัวแวง ถือเป็นกลีบบัวหัวเสาที่มีลักษณะเฉพาะในศิลปะสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ กลีบบัวเรียวยาวและมีส่วนปลายที่สะบัดเล็ก น้อย  ลักษณะของบัวแวงที่ทำ�เป็นกลีบบัวยาวแบบนี้เรียกว่า บัวแบบ คล้ายใบดาบ  มีวิวัฒนาการมาจากบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศลงมา  ถ้าเป็นสมัย ก่อนหน้านั้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระ นารายณ์ กลีบบัวจะเป็นแบบใบสามเหลี่ยมคล้ายใบหอก  แต่ถ้าเป็น สมัยอยุธยาตอนต้นไปจนถึงสมัยสุโขทัยจะเป็นกลีบบัวแบบธรรมชาติ เรียกว่า บัวทรงคลุ่ม หรือบัวโถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแม้ว่าจะสืบทอดรูปแบบมาจาก สมัยอยุธยาตอนปลายแต่มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ  สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนปลายของกลีบบัวจะสะบัดพริ้ว  ตัวอย่างที่ สำ�คัญคือ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในขณะที่กลีบบัว สมัยอยุธยาจะไม่สะบัดปลาย การประดับบัวหัวเสาและคันทวยนี้พบเฉพาะงานสถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาเท่านั้น   ส่วนในงาน สถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที ่ ๓ ที่เป็นแบบพระราชนิยม หรือกลุ่มที่มี การผสมผสานรูปแบบไทยประเพณีแต่ใช้โครงสร้างหลังคาแบบรัชกาล ที่ ๓ เช่น การใช้เสาที่เป็นแท่งสี่เหลี่ยมกลุ่มนี้จะไม่ประดับบัวหัวเสา และคันทวยแล้ว

129 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

สถาปัตยกรรม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.
พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน by SARAKADEE-MUANG BORAN - Issuu