ความมั่นคงทางอาหาร

Page 65

เกษตรกรเหล่านั้นเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการผลิตอาหารเพื่อรักษา อุปทานอาหารของประเทศต่อไปโดย ปรับเปลี่ยนวิธีการอุดหนุนใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ตามกติการะหว่างประเทศ มาตรการอุดหนุนภาคเกษตรรูปแบบใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นนำมา ใช้คือ มาตรการจ่ายตรง (direct payment) โดยรัฐจะจ่ายเงินอุดหนุน โดยตรงไปที่เกษตรกรตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เช่น จ่ายเงินอุดหนุนตาม ขนาดของแปลงเพาะปลูกให้กับเกษตรกรที่ทำการขยายแปลงเพาะ ปลูกของตนเอง (Direct Payment for Land-extensive Farming) โดยมี เกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรที่จะสามารถรับการอุดหนุนได้ตาม ขนาดของแปลงเพาะปลูก และจะทำการชดเชยรายได้ของเกษตรกร ตามความแตกต่างของราคาสินค้าเกษตรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ อื่นๆ หรือชดเชยรายได้จากการที่มีรายได้ลดลง และยังมีการจ่ายเงิน อุดหนุนตามวัตถุประสงค์อื่นๆ อีก เช่น จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกร ทีท่ ำการเกษตรในเขตเชิงเขาเพือ่ รักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น มาตรการ จ่ายตรงนี้เป็นมาตรการที่รัฐสามารถเจาะจงเป้าหมายที่จะทำการ อุ ด หนุ น ได้ โ ดยไม่ ป ิ ด โอกาสในการเข้ า สู ่ ต ลาดของสิ น ค้ า จากต่ า ง ประเทศ และยังเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตเพื่อตลาดมากขึ้น เงื่อนไขและวิธีการที่รัฐกำหนดจะเป็นการช่วยปฏิรูปภาคเกษตรในด้าน การรวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งสามารถ แข่งขันกับต่าง ประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ระบบการจ่ายตรงนี้ก็ได้รับการวิพากษ์ วิจารณ์จากนักวิชาการว่ายังเป็นระบบที่ขาดความชัดเจน อาจทำให้ เกษตรกรคิดถึงแต่ตนเองมากกว่าชุมชนและอาจจะไม่ได้เป็นการ ปฏิรูปภาคเกษตร23 64


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.