Factors influencing consumers’ dining manner during COVID-19 period in Bangkok and Vicinity
(1) Department of Geography, Faculty of Arts, Chulalongkorn University; E-mail: samitanun.min@gmail.com
จำนวนครั้งที่รับประทานอาหารที่ร้านต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนการระบาดและช่วงที่ กลับมาเปิดให้รับประทานที่ร้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
1 ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของผู้บริโภคอาหารในแต่ละช่วงเวลา ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สมิตานัน ควรศิริ1* และ กุลขนิษฐ์ ธนภัทรศิริโชติ1
บทคัดย่อ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทั้งการดำเนินชีวิต การเดินทาง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งภาคบริการและร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึงผู้บริโภคที่ต้อง ปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ จึงนำไปสู่วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของผู้บริโภคช่วง ก่อน ช่วงระหว่างการระบาดของโควิด-19 และช่วงที่กลับมาเปิดให้รับประทานที่ร้าน และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่กลับมาเปิดให้บริการ โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ เคยใช้บริการร้านอาหารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 257 คน จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสถิติเชิงพรรณนาและ ANOVA
ภูมิศาสตร์
และ จำนวนคนที่รับประทานต่อโต๊ะ ไม่มีความแตกต่างกันในสองช่วงเวลานี้ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไป รับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่กลับมาเปิดให้บริการมากที่สุด คือ ด้านรสชาติและคุณภาพอาหาร ทั้งนี้ ผลวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางศึกษาข้อมูลผู้บริโภคในพื้นที่อื่นๆ ร่วมกับข้อมูลผู้ประกอบการร้านอาหารในมิติต่างๆ ได้ในอนาคต เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ: โควิด-19, ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภค, ช่วงคลายล็อกดาวน์, ผู้ประกอบการร้านอาหาร, กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศ
ผลการวิจัยพบว่า 1)
ส่วนระยะการเดินทางไปร้านอาหาร
Abstract
The outbreak of COVID-19 is affecting all sectors including lifestyle, traveling, and especially service and restaurant sectors which were broadly affected during the government's enforced lockdown. Additionally, the consumers have to change their lifestyles to the New Normal. This leads to two objectives of the research: 1) to study the characteristics of consumers in 3 phases: Before, During the COVID-19 outbreak, and Relaxing lockdown period which allows to eat at the restaurants and 2) to analyze the factors affecting consumers' return to eat at the restaurant during the reopening period. The data were collected from consumers who have been to restaurants in Bangkok and its vicinity by using online questionnaires of 257 people. Afterward, the data were analyzed by using descriptive statistics and ANOVA methods as well as the spatial analysis with Geographic Information System. The results found that: 1) the number of restaurant visiting per week between Before COVOD-19 and Reopening periods which allows to eat at restaurants was statistically significant while the travel distance to restaurant and the number of people per table between these two periods were not statistically significant. 2) the main factors affecting the consumers to return to eat at restaurants during the Reopening period is the taste and food quality factor. Overall, the research results can be used as a guideline to study food consumer data in other areas and restaurant sectors' information in various dimensions in the future to obtain more complete research results.
Keywords: COVID-19, Factors influencing consumers, Relaxing Lockdown, Restaurant Sector, Bangkok and Vicinity
2
ประกอบการซึ่งจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มดำเนินกิจการเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น ห้าม รับประทานที่ร้านโดยเด็ดขาด ในส่วนของห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าสามารถเปิดได้ถึง
3 1. ที่มาและความสำคัญ โรคโควิด-19 (COVID-19) หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคที่เริ่มระบาดใน ช่วงเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2562 โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งมีการพบเชื้อครั้งแรกที่ ตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดสู่ประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีการพบ ผู้ติดเชื้อเกือบทุกประเทศทั่วโลก ปัจจุบันประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 จำนวน 1,986,136 ราย และจัดเป็นอันดับที่ 24 ของโลก (Our World in Data, 2565) ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล ไทยได้บังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในแต่ละสถานการณ์แตกต่างกันไป เช่น ข้อปฏิบัติใน การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่ออยู่นอก เคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะยังคงเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อ การเว้นระยะห่าง ทางสังคมอย่างน้อย 1 เมตรรอบตัว เป็นต้น ทั้งนี้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลการทบต่อทุกภาคส่วน ทั้ง ในเรื่องของการดำเนินชีวิตของผู้คน การเดินทาง และผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการ และอุตสาหกรรมอาหาร ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้นำมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 29 เมษายน 2564 ซึ่งลงนาม โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อมุ่งชะลอและสกัดกั้นการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างเร่งด่วน และหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของ จำนวนผู้ป่วย ซึ่งมีข้อกำหนดควบคุมโรคโควิด-19 ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง สาระสำคัญคือบังคับใช้ให้สถาน
21.00 น. ห้ามมีการ จัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 20 คน มีการปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมตาม ประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 22 โดยมาตรการนี้มีผลบังคับใช้กับพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม ทั้งสิ้น 6 จังหวัด ประกอบไปด้วย 1. กรุงเทพมหานคร 2. นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4. สมุทรปราการ 5.ชลบุรี และ 6. เชียงใหม่ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2548, 2564) ด้วยเหตุนี้เอง ส่งผลให้ภาคส่วนธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างในช่วงล็อกดาวน์ ไม่เพียงแต่ ผู้ประกอบการเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดและมาตรการควบคุมดังกล่าว ผู้บริโภคอาหารเองก็เกิด การปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตใหม่ (New normal) เช่น เปลี่ยนจากการไปทานที่ร้านมาเป็นการส่งอาหารจากช่องทาง ออนไลน์ รวมถึงการทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ผ่อนปรนนโยบายคลายล็อกดาวน์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2564 เป็นต้นมา ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง โดยยังคง ต้องดำเนินการภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เช่น มีการ วัดอุณภูมิ ลงชื่อเข้าร้าน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามมาตราการของรัฐบาลที่สามารถให้นั่งทานใน ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มได้ไม่เกินเวลา 20.00 น. ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
ทั้งนี้ ปัจจุบันในต่างประเทศได้มีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกมารับประทานอาหารนอกบ้านของ ผู้บริโภคอาหารในแต่ละช่วงเวลาภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เช่น การศึกษาของ
ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับมาเปิด
เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับ
4 และจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน
ของที่นั่งทั้งหมดในร้าน
(พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2548, 2564)
Wei et al. (2021) ได้ศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการออกมารับประทานอาหารนอกบ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่รัฐได้ผ่อนปรนให้ร้านอาหาร กลับมาเปิดอีกครั้ง โดยศึกษาผู้บริโภคในร้านอาหารจีนในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้ ผู้คนออกมารับประทานอาหารอีกครั้ง ได้แก่ มาตรการป้องกันโรคของร้าน การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นระหว่างการ รับประทานอาหาร ความไว้วางใจในชื่อเสียงของร้านอาหาร และความตั้งใจของลูกค้าที่จะรับประทานอาหาร เป็น ต้น (Wei, Chen, & Lee, 2021) ดังนั้น ในงานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาลักษณะของผู้บริโภคอาหารในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ระหว่าง การระบาด และภายหลังที่มีนโยบายให้สามารถกลับมารับประทานอาหารที่ร้านได้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจกลับมารับประทานอาหารที่ร้านอีกครั้งภายหลังจากการ ผ่อนปรนนโยบายของรัฐ ซึ่งการศึกษาในประเด็นดังกล่าวยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทยมาก่อน 1.1 คำถามงานวิจัย 1.1.1 สถานการณ์โควิด-19 มีผลกระทบต่อลักษณะผู้บริโภคอาหารในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร 1.1.2
ให้บริการ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1
ระหว่างการระบาดของโควิด-19 และ ช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน 1.2.2
มาเปิดให้บริการ
โดยที่ผู้บริโภคสามารถนั่งภายในร้านที่มีเครื่องปรับอากาศได้ไม่เกินร้อยละ 50
เป็นต้น
เพื่อศึกษาลักษณะของผู้บริโภคช่วงก่อนการระบาด
5 2. การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือที่มีชื่อเรียกว่า โควิด-19 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วย ตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ( MERSCoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อไวรัสนี้พบ ครั้งแรกในการระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับตลาดอาหารทะเล ที่เมืองอู่ฮั่น โดยสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดในการติดต่อสู่คน คือการสัมผัสกับเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ ที่วางขายใน ตลาด และเนื่องจากเมืองอู่ฮั่นเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชาชนอยู่หนาแน่น จึงทำให้การระบาดแพร่กระจายไปอย่าง รวดเร็ว มีผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก (กรมควบคุมโรค, 2565) สำหรับในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยคนไทยรายแรก ซึ่งมีประวัติขับรถแท็กซี่ ให้บริการกับผู้ป่วยชาวจีน ในระยะต่อมาจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างช้า ๆ ทั้งผู้ป่วยที่เดินทางมาจาก ต่างประเทศ และผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เป็น โรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยอาการทั่วไปของโรค ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไตวาย หรือ อาจเสียชีวิต ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย (กรมควบคุมโรค, 2565) ซึ่งในขณะนี้ (27 เมษายน พ.ศ.2565) ประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสม 4.19 ล้านคน และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 28,019 คน (JHU CSSE COVID-19 Data, 2022) จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผลทำให้รัฐบาลไทยดำเนินการนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในแต่ละ ช่วงของการระบาดของโควิด-19 ในการควบคุมการแพร่ระบาด ตั้งแต่การปิดเมืองและการรักษาระยะห่างทาง สังคม มาตรการที่นำมาใช้โดยสรุปก็คือ ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค ห้ามเดินทางเข้า - ออกประเทศ การตั้ง จุดตรวจ จุดสกัด ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ปิดสถานที่ท่องเที่ยว สนามกีฬา ปิดสถานบริการ อาทิ เช่น ร้านนวดแผนไทย สถานบันเทิง ห้ามเดินทางข้ามเขตจังหวัด มาตรการกักตัว 14 วัน ห้ามชุมนุม มั่วสุม หรือ จัดกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศในช่วงเวลา 22.00 - 04.00 น. หรือที่เรียกว่ามาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” และยังมีการประกาศห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เพื่อเป็น การลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากการรับประทานอาหารในร้านอาหาร (กรมควบคุมโรค,
นอกจากนี้จากลักษณะของผู้บริโภคยังแสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่ร้านเป็นอีก หนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าสังคมกับเพื่อน
ทำให้ยอดขายอาหารหายไปกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากตามปกติแล้ว ยอดขายอาหารส่วนใหญ่จะมาจากการนั่งรับประทานที่ร้านเป็นหลัก ซึ่งแม้ในขณะนี้จะสามารถซื้ออาหารกลับบ้าน ได้ แต่ผู้ประกอบการบางรายโดยเฉพาะร้านอาหารขนาดเล็กยังไม่สามารถเข้าถึงช่องทางออนไลน์ได้มากนัก ทำให้ ร้านอาหารจำนวนมากได้รับผลกระทบรุนแรง จากการที่ต้องแบกรับต้นทุนต่าง
6 2565) และจากมาตรการล็อกดาวน์นี้เอง ทำให้ค่าการขยายตัวของเชื้อที่วัดจากความสามารถในการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ลดลงไปถึงร้อยละ 25 (BBC News, 2564) แต่ในขณะเดียวกัน นโยบายดังกล่าวนี้ได้ส่งผล กระทบเป็นวงกว้างทั้งกับผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะการบริโภค อาหารเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งในช่วงก่อนการระบาด ระหว่างการระบาดของโควิด-19 และช่วงที่มี การกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน 2.2 ลักษณะมาตรการป้องกันต่อการระบาดของโควิด-19 ของร้านอาหาร ในด้านการตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการป้องกัน การรับประทานอาหารในร้านอาหารมีแนวโน้มที่ จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าเมื่อเทียบกับบริการจัดส่งถึงบ้าน เนื่องจากโคโรนาไวรัส สามารถแพร่กระจายผ่านละอองทางเดินหายใจ (กรมควบคุมโรค, 2565) อย่างไรก็ตาม การเปิดใช้บริการ รับประทานอาหารในร้านเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากร้านอาหารและพนักงานจำนวนมากได้รับผลกระทบ จากมาตรการล็อกดาวน์
ๆ รวมถึงเป็นการ เปลี่ยนบรรยากาศในการรับประทานอาหารในโอกาสสำคัญต่าง ๆ จากมาตรการล็อกดาวน์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้มีผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมากได้รับผลกระทบ จากมาตราการนี้ นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า จากมาตรการล็อกดาวน์ 13 จังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 5 จังหวัด ที่มีมาตรการห้ามไม่ให้นั่งรับประทานอาหารภายในร้าน รวมถึงสั่งปิดร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า
ๆ ในสถานการณ์การระบาดของ โรคโควิด-19 โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่ และค่าจ้างพนักงาน ซึ่งประเมินว่าจากนโยบายห้ามนั่งรับประทานอาหารใน ร้านและสั่งปิดร้านอาหารของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและลูกจ้างรวมกว่า 1 แสนคน (มติชน ออนไลน์, 2564) หลังจากวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา ทางรัฐบาลได้มีประกาศยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ และ อนุญาตให้ผู้บริโภคสามารถกลับมานั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้อีกครั้ง เป็นผลทำให้ร้านอาหารจึงต้องมีการ จัดเตรียมมาตรการป้องกันต่าง ๆ มากมายในการกลับมาเปิดขายอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และการฉีดวัคซีนให้กับพนักงาน การจัดเตรียมเครื่องวัดอุณหภูมิและเจลแอลกอฮอล์ การจัดโต๊ะอาหารแบบเว้น ระยะห่างและมีฉากกั้น ความสะอาดของวัตถุดิบและการปรุงอาหาร และภาพลักษณ์ของร้านอาหารในด้านการ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคตัดสินใจที่จะเข้ามารับประทาน
ของอาหาร (Wei, Chen, & Lee, 2021)
จากการศึกษางานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาตรการป้องกันต่อการระบาดของโควิด-19
เนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารและความเสี่ยงในการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงมี การเปลี่ยนมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรีแทนการออกไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร
รวมถึงการต้องพบเจอลูกค้าจำนวนมากในการรับประทาน
7 อาหารที่ร้านอีกครั้ง ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละร้านของผู้บริโภคย่อมคำนึงถึงแต่ละปัจจัยแตกต่างกัน ออกไป
ทั้งด้านความปลอดภัย ความรัดกุมของมาตราการป้องกัน ความเชื่อมั่นในแบรนด์ร้านอาหาร และรสชาติ
ของร้านอาหารใน ต่างประเทศ ในประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน และเกาหลีใต้ พบว่าประเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มี มาตราการป้องกันต่อการระบาดของโควิด-19 ของร้านอาหารที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน และมาตราการดังกล่าวยัง ส่งผลต่อลักษณะการรับประทานอาหารของผู้บริโภคที่ทำให้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในด้านการ กลับมารับประทานอาหารที่ร้านอีกครั้งหลังมีการคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคจะ มีความรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจที่จะเลือกรับประทานอาหารในร้านอาหารหนึ่ง ๆ จากมาตรการป้องกันต่อการ ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความสะอาดและถูกสุขอนามัยของร้านอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ทำให้ร้านอาหาร ส่วนใหญ่มีการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภค ในการเพิ่มมาตรการด้วยความปลอดภัย เพื่อเพิ่มความ เชื่อมั่นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคที่กลับมาใช้บริการรับประทานอาหารที่ร้านอีกครั้ง (Jeong, Kim, Ma, & DiPietro, 2021) 2.3 ลักษณะการรับประทานอาหารของผู้บริโภคในช่วงสถานการณ์โควิด-19 การบริโภคอาหารเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน ซึ่งในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทาง ระบบเศรษฐกิจและสังคมได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและค่านิยมในบริโภคของคนไทย
อาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก จากการประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้าน เป็นการซื้ออาหาร มารับประทาน ทำให้มีอาหารปรุงสำเร็จและอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น พฤติกรรมการบริโภคอาหารของ ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยม วิถีชีวิต รวมถึงกระแสของการโฆษณา โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยหรือทำงาน อยู่ในตัวเมือง โดยเฉพาะในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งมีการแข่งขันและเร่งรีบในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ ผู้คนนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือสั่งอาหารมารับประทานมากขึ้น แทนการประกอบอาหารเอง เพื่อความ สะดวกและรวดเร็วในการดำเนินชีวิตประจำวัน (รังสินี พูลเพิ่ม, 2559) จะเห็นได้ว่าลักษณะในการรับประทาน อาหารของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค ซึ่งจะเปลี่ยนไป เรื่อย ๆ ในทุกยุคสมัย ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากหันมาประกอบอาหารเองมาก ขึ้น
เพื่อลดความเสี่ยงในการพบปะผู้คนจากการเดินทาง
อาหารที่ร้าน บริษัทคันทาร์ เวิร์ลพาแนล (Kantar Worldpanel) บริษัทให้คำปรึกษาด้านการตลาดและข้อมูลเชิง
ทำให้วัฒนธรรมการบริโภค
จะเห็นได้ว่าร้านอาหารส่วนใหญ่จะมาตรการความปลอดภัยในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อช่วย ป้องกันการแพร่เชื้อและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการที่จะกลับมารับประทานที่ร้านอาหารอีกครั้ง
8 ลึก เปิดเผยพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า เนื่องจากสถานการณ์ ในขณะนี้ทำให้คนไทยจำนวนมากจำเป็นต้องอยู่ในบ้าน และทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การประกอบ อาหารรับประทานเองภายในบ้านจึงเป็นสิ่งที่คนนิยมทำ รวมถึงการสั่งอาหารผ่านบริการเดลิเวอรีก็ได้รับความนิยม เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยผลสำรวจจากคนไทยที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจำนวน 1,638 คน อายุระหว่าง 15-49 ปี ซึ่งมี การเก็บผลสำรวจตั้งแต่วันที่ 10-16 เมษายน พ.ศ.2563 พบว่าคนไทยกว่าร้อยละ 38 สั่งอาหารผ่านบริการ เดลิเวอรีมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ในขณะเดียวกัน คนไทยกว่าร้อยละ 79 ต้องการที่จะ กลับไปทานอาหารในร้าน และจะใช้บริการเดลิเวอรีน้อยลง หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลดลงและมีความ ปลอดภัยมากเพียงพอ (Suwannatat, 2563) นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคแล้ว ร้านอาหารก็มีการปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 ในหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป
อาทิเช่น Grab LINE MAN และ foodpanda เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ร้านอาหารส่วนใหญ่เลือกใช้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคโควิด-19 มากที่สุด ซึ่งในบางแอปพลิเคชันจะมีการ จัดโปรโมชันร่วมกับร้านอาหาร อาทิเช่น ส่วนลดค่าอาหาร ส่วนลดค่าจัดส่งสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียง กับร้านอาหาร หรือการจัดชุดเมนูในราคาพิเศษ และเมื่อประเทศไทยมีมาตรการคลายล็อกดาวน์ที่อนุญาตให้ ร้านอาหารสามารถเปิดให้ลูกค้ามานั่งรับประทานในร้านได้ หลายร้านจึงได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการตาม แนวทางการเว้นระยะห่างทางกายภาพ เช่น การจำกัดจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการในร้านในช่วงเวลาเดียวกัน การ ตรวจวัดอุณหภูมิลูกค้าก่อนใช้บริการ และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณโต๊ะอาหารหลังลูกค้าเข้าใช้บริการ ซึ่ง
(ธนาคาร แห่งประเทศไทย, 2564) 2.4 ลักษณะการบริโภคอาหารในประเทศไทย จากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล จากปัจจัยในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะของครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง การออกไปทำงานนอกบ้าน หรือ การใช้เวลาในการเดินทางระหว่างที่พักและที่ทำงาน ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่ ประกอบอาหารรับประทานเองในครัวเรือน ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นการซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้าน หรือออกไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารแทน (ตวงทอง ลาภเจริญทรัพย์ และคณะ, 2560) จากข้อมูลของ ศูนย์วิจัยกสิกรพบว่า และจากการสำรวจพบว่าคนไทยมีการรับประทานอาหารนอกบ้านสูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ย 13 มื้อต่อสัปดาห์ โดยค่าใช้จ่ายของครอบครัวคนไทยที่ออกไปรับประทานอาหาร นอกบ้านเฉลี่ย 927 บาทต่อเดือน (MGR Online, 2551)
ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการส่งถึงบ้านหรือเดลิเวอรีผ่านแอปพลิเคชันผู้ให้บริการ
ทั้งในด้านการเติบโตของบริการการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ที่มีความนิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ และการซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านแทนการออกไปรับประทานอาหารที่ร้านเพื่อลดความ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งลักษณะของผู้บริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจออกมาจะรับประทาน อาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคหลังจากมีการคลายมาตราการล็อกดาวน์ของทางรัฐบาลลง
หรืออาจมีแนวโน้มที่ความต้องการจะรับประทานอาหารที่ร้านอาหารลดน้อยลง
จากในช่วงก่อนโควิด-19 เนื่องจากความเคยชินในความสะดวกสบายจากการใช้บริการการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่
โดยเฉพาะในด้านมาตราการป้องกันโรคของร้านอาหาร เพราะการรับประทานอาหารในร้านอาหารทำให้ ต้องถอดหน้ากากอนามัย ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ จากผลการวิจัยว่าไวรัสโควิด19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้จากละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย
9
การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางลักษณะของผู้บริโภคอาหารไปจากในอดีต เป็นอย่างมาก
โดยปัจจัยในการ ตัดสินใจออกมาจะรับประทานอาหารที่ร้านนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของผู้บริโภค ทั้งการมีแนวโน้มที่ ต้องการจะรับประทานอาหารที่ร้านอาหารมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้ออกมารับประทานอาหารนอกบ้านมาเป็น เวลานานจากมาตราการล็อกดาวน์
แทนการออกไปรับประทานอาหารที่ร้าน และนอกจากปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการออกมารับประทานอาหารที่ร้าน เช่น ความสะดวกสบายที่สามารถรับประทาน อาหารปรุงสุกใหม่โดยไม่ต้องทำเอง รสชาติอาหาร การโฆษณาชวนเชื่อของร้าน การเข้าสังคม การใช้เวลาร่วมกับ ครอบครัวและคนที่รัก เป็นต้น (Tuzovic, Kabadayi, & Paluch, 2021) 2.5 ปัจจัยในการตัดสินใจออกมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภค จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เนื่องจากความกังวลในด้านความ ปลอดภัย
จากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามีหลายงานวิจัยในต่างประเทศที่ศึกษาในลักษณะนี้ อาทิเช่น งานวิจัยของ Jeong et al. (2021) ได้ศึกษาพฤติกรรมการออกมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ และนำมาวิเคราะห์ด้วย สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling :SEM) ได้ผลสรุปว่า 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการออกมารับประทาน อาหารที่ร้านอาหารในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด ได้แก่ บรรยากาศการรับประทานอาหารใน ร้านอาหาร สุขอนามัยและความปลอดภัยของร้านอาหาร และมาตรการความปลอดภัยในการป้องกันการระบาด ของโรคโควิด-19 ของร้านอาหาร (Jeong, Kim, Ma, & DiPietro, 2021) เช่นเดียวกับงานวิจัยของ Zhong et al. (2021) ที่ทำการศึกษาปัจจัยที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านของผู้บริโภคในประเทศจีนและ เกาหลีใต้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ และนำมาวิเคราะห์ ด้วยสมการโครงสร้างเช่นเดียวกัน ได้ผลสรุปว่าปัจจัยสำคัญที่พบ ได้แก่ มาตรการความปลอดภัยในการป้องกันการ
(กรมควบคุมโรค, 2565) ทำให้ ผู้บริโภคจำนวนมากไม่กล้าที่จะออกมารับประทานอาหารนอกบ้านดังเดิม
ตารางที่ 2-1 สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออกมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคและแหล่งที่มา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออกมา
Wei, Chen, & Lee (2021)
Jeong, Kim, Ma, & DiPietro (2021)
Tuzovic, Kabadayi, & Paluch (2021)
Wen, Han, and Bingjie L. (2022)
Zhong, Oh, & Moon (2021)
Wei, Chen, & Lee (2021)
Jeong, Kim, Ma, & DiPietro (2021)
Tuzovic, Kabadayi, & Paluch (2021)
Wei, Chen, & Lee (2021)
Jeong, Kim, Ma, & DiPietro (2021)
Wei, Chen, & Lee (2021)
Tuzovic, Kabadayi, & Paluch (2021)
Zhong, Oh, & Moon (2021)
Wei, Chen, & Lee (2021)
Jeong, Kim, Ma, & DiPietro (2021)
Tuzovic, Kabadayi, & Paluch (2021)
10 ระบาดของโรคโควิด-19 ของร้านอาหาร และบรรยากาศและความรู้สึกในการรับประทานอาหารในร้านอาหาร เช่นเดียวกัน (Zhong, Oh, & Moon, 2021) จากการศึกษางานวิจัยในต่างประเทศพบว่าปัจจัยหลัก ๆ ที่มีผลต่อ การตัดสินใจออกมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 สามารถสรุป ได้เป็นตารางดังนี้
รับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภค แหล่งที่มา 1. มาตรการความปลอดภัยในการป้องกันการระบาด ของโรคโควิด-19 ของร้านอาหาร
2. สุขอนามัยและความปลอดภัยของร้านอาหาร
3. รสชาติและคุณภาพของอาหาร
บรรยากาศและความรู้สึกในการรับประทานอาหาร ในร้านอาหาร
4.
5. ความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของร้านอาหาร
จากผลการศึกษาจากงานวิจัยที่กล่าวมาในตารางที่ 2-1 ข้างต้น พบว่าปัจจัยในด้านมาตรการความ ปลอดภัยในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ของร้านอาหาร มีผลมากที่สุดในการตัดสินใจออกมา รับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภค และรองลงมาคือ สุขอนามัยและความปลอดภัยของร้านอาหาร บรรยากาศและความรู้สึกในการรับประทานอาหารในร้านอาหาร ความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของร้านอาหาร และ
จากการศึกษางานวิจัยในด้านปัจจัยที่มีผลต่อการออกมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคของ
11 รสชาติและคุณภาพของอาหาร ตามลำดับ ทั้งนี้ จะนำปัจจัยดังกล่าวที่ได้จากการศึกษาในต่างประเทศมาเป็น
ต่างประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน และเกาหลีใต้ พบว่างานวิจัยในด้านนี้มีความน่าสนใจเป็น อย่างยิ่งและยังไม่เคยมีการทำการวิจัยในประเทศไทยมาก่อน ดังนั้นงานวิจัยนี้จะนำแนวทางการศึกษาดังกล่าว ข้างต้น มาใช้เป็นกรอบในการศึกษาและออกแบบรูปแบบคำถามในแบบสอบถามในงานวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ ส่งผลต่อการกลับมาบริโภคอาหารที่ร้านในช่วงคลายล็อกดาวน์ของผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป 3. ระเบียบวิธีวิจัย ภาพที่ 3-1 ภาพแสดงขั้นตอนการวิจัย จากแผนผังขั้นตอนการวิจัยที่กล่าวมาในภาพที่ 3-1 ข้างต้น ผู้วิจัยเริ่มต้นรวบรวมข้อมูลนโยบายและ มาตรการในแต่ละช่วงของการระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่ช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์การระบาดของโควิด-19 และมาตรการหลังคลายล็อกดาวน์การระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะผู้บริโภคอาหารจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นออกแบบแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลลักษณะผู้บริโภคและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย แล้วทำการเก็บข้อมูลตามกลุ่มตัวอย่างประชากรด้วย
แนวทางเพื่อศึกษาผู้บริโภคอาหารในประเทศไทย
นำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคใน การกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการ
ต้องการความสะดวกรวดเร็วทำให้มีการใช้บริการร้านอาหารเป็นจำนวน
มาก ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นที่รับประทานอาหารแล้วยังใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อนอีกด้วย
คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารในพื้นที่
เนื่องจากไม่สามารถเก็บตัวอย่างประชากรได้ทั้งหมดในเขตพื้นที่ศึกษา
12 แบบสอบถามข้างต้นผ่านทางออนไลน์ (Google forms) โดยมีคำถามเบื้องต้น เพื่อคัดกรองผู้ตอบแบบสอบถามที่มี ที่พักอาศัยปัจจุบัน ทำงานหรือกำลังศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 คน จากนั้นนำผลตอบรับที่ได้มาศึกษาลักษณะของผู้บริโภคทั้งช่วงก่อนการระบาด ระหว่างการระบาดของโค วิด-19 และช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านอาหาร
หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลร่วมกัน ในแต่ละช่วงเวลาที่ศึกษาด้วยวิธีการทางสถิติและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ นำผลที่ได้มาอภิปรายสรุปผลภาพรวม ข้อเสนอแนะ และจัดทำเป็นบทความวิจัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย 3.1 กำหนดพื้นที่ศึกษา และกลุ่มตัวอย่างประชากรในงานวิจัย 3.1.1 พื้นที่ศึกษา พื้นที่ศึกษา คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งประกอบไปด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยพิจารณาจากจังหวัดที่ประกอบ ธุรกิจร้านอาหารสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานีและเชียงใหม่ ตามลำดับ ในส่วนพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นั้นที่ตั้งของนิติบุคคลมากที่สุด ซึ่งประมาณร้อยละ 41.87 จากทุกจังหวัดในประเทศไทย นอกจากนี้กรุงเทพยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวนมาก โดยมีการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ
(กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า, 2562) ประกอบกับข้อมูลที่ว่ากรุงเทพฯ
"มหานคร" ที่เป็น ศูนย์กลางความเจริญทุกด้าน โดยแนวนโยบายการพัฒนาระดับประเทศของภาครัฐ มุ่งเน้นขยายการพัฒนาด้าน ต่างๆ ไปในเขตจังหวัดปริมณฑลใกล้เคียง 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ นครปฐม เนื่องจากพื้นที่ของความเป็นเมืองหลวงและกิจกรรมต่างๆ มีความต่อเนื่องกันจนเรียกได้ว่าเป็นเมือง เดียวกันในทุกด้าน (กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556) ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงเลือก ได้พื้นที่ศึกษาคือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งประกอบไปด้วย 6 จังหวัด ด้วยความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารสูงสุดในประเทศไทย 3.1.2 กลุ่มตัวอย่างประชากรในงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จึงได้ ทำการสุ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรรวมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 10,831,988 คน (สถิติกรุงเทพมหานครด้านสังคม หมวดประชากร, 2565)
เป็นเมืองหลวงของประเทศและเป็น
โดยมีคำถามเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการรับประทานที่อาจเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การ
(Take-away) หรือสั่งอาหารเดลิเวอรี่จากร้านอาหาร รวม
จำนวน 5 คำถาม
4 แบบสอบถามเกี่ยวกับช่วงตั้งแต่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์ ซึ่งประชาชนกลับมาใช้บริการนั่ง
13 ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้คำนวณหากลุ่มตัวอย่างประชากร (Sample Size) จากตาราง Sample Size ของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หรือความคลาดเคลื่อน 0.05 (Glenn D. Isael, 2003) จากตาราง Sample Size ของ Yamane พบว่าเมื่อมีกลุ่มตัวอย่างประชากรมากกว่า 100,000 คน จะต้องเก็บข้อมูลให้ได้จำนวน 400 คนด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) และ การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) โดยทำการโพสต์และแจกแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง Facebook Line และ Twitter อีกทั้งอาศัยการแนะนำของหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลไปแล้ว 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของผู้บริโภคอาหารที่ร้านอาหารในแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์ การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน รวมทั้งสิ้น 42 คำถามดังนี้ มี รายละเอียดดังภาคผนวก ก ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการสอบถามเกี่ยวกับเพศ อายุ รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา อาชีพ รวมถึงที่ตั้งที่พักอาศัยและที่ทำงานหรือสถานศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยสังเขป รวมจำนวน 13 คำถาม ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 ทั่วไป โดยมีคำถามเกี่ยวกับ ร้านอาหารที่เลือกใช้บริการเป็นประจำ ความถี่ในการรับประทานต่อสัปดาห์ ที่ตั้งและลักษณะทั่วไปของร้านอาหาร
วิธีที่เดินทางไปยังร้านอาหาร เหตุผลที่ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ผู้ รับประทานอาหารร่วมกันจำนวน วันในสัปดาห์ที่มักไปใช้บริการร้านอาหาร รวมจำนวน 16 คำถาม ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับคำถามเกี่ยวกับช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ ร้านอาหาร
ระบาดของโควิด-19 เช่น สั่งอาหารแบบกลับบ้าน
และอาหารที่เลือกรับประทาน
ส่วนที่
รับประทานอาหารภายในร้านได้ ทั่วไป โดยมีคำถามเกี่ยวกับร้านอาหารที่เลือกใช้บริการเป็นประจำ ความถี่ในการ รับประทานต่อสัปดาห์ ที่ตั้งและลักษณะทั่วไปของร้านอาหารและอาหารที่เลือกรับประทาน วิธีที่เดินทางไปยัง ร้านอาหาร เหตุผลที่ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ผู้รับประทานอาหารร่วมกันจำนวน วันในสัปดาห์ที่มักไป ใช้บริการร้านอาหาร บริการอื่น ๆของร้านที่สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 รวมถึงสาเหตุการ กลับไปรับประทานที่ร้านอาหารนอกบ้านอีกครั้ง หลังคลายล็อกดาวน์ซึ่งลักษณะคำถามเป็นการถามความคิดเห็น
(Rating Scale)
(Five point scale)
scale)
นำข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน
Inferential Statistics Analysis)
ก่อนที่จะนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาใช้ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเชิงอนุมาน
14 แบบมาตราส่วนประมาณค่า
ของการตัดสินใจ รวมจำนวน 18 คำถาม จะมีคำตอบให้เลือก 5 ระดับ
คือ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปาน กลาง เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยน้อยที่สุด ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละระดับ คือ 5 คะแนน - เห็นด้วยมากที่สุด 4 คะแนน - เห็นด้วยมาก 3 คะแนน - เห็นด้วยปานกลาง 2 คะแนน - เห็นด้วยน้อย และ 1 คะแนน - เห็นด้วย น้อยที่สุด ตามลำดับ 3.3. การวิเคราะห์ข้อมูล 3.3.1 วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ที่ 1: ลักษณะผู้บริโภคช่วงก่อนการระบาด ระหว่างการ ระบาดของโควิด-19 และช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน ในการวิเคราะห์ส่วนนี้ เป็นการศึกษาลักษณะของลักษณะผู้บริโภคใน 3 ช่วงเวลาด้วย แบบสอบถาม จากนั้นจะทำข้อมูลที่ได้ โดยจะวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามโดยใช้ตารางแสดงค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของข้อมูลทางประชากรศาสตร์ และข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการบริโภคอาหารของผู้บริโภค ใน 3 ช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะอาหารที่รับประทานในแต่ละช่วงเวลา วิธีการเดินทางไปร้านอาหาร รูปแบบการรับประทานอาหาร ประเภทร้านอาหาร ประเภทของอาหารที่สั่งเป็นประจำ และจำนวนคนที่ รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น
ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert
เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยได้เลือกใช้ การวิเคราะห์ความ แปรปรวนสองทาง (Two–Way ANOVA) คือมีตัวแปรอิสระ 2 ตัว เป็นปัจจัย (Factor) ที่ต้องการศึกษา กับตัวแปร ตามเพียง 1 ตัวเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ นอกจากนี้ตัวแปรที่เกิดจากตัวแปรอิสระสองตัวนี้ เรียกว่า ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ซึ่งโดยทั่วไปการศึกษา Two Way ANOVA มักให้ความสำคัญกับตัวแปรนี้ เนื่องจาก เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความสัมพันธ์ที่มีผลต่อความแปรปรวนของตัวแปรตามร่วมกันของตัวแปรอิสระทั้ง
โดยกำหนด นัยสำคัญทาง
ข้อมูล ส่วนนี้จำเป็นที่ต้องได้รับการจัดการข้อมูล ตัดส่วนของข้อมูลที่โดดเด่น หรือต่างจากกลุ่ม หรือมีจำนวนน้อยกว่า กลุ่มอื่น ๆ มากออกไป ในกรณีงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนข้อมูลเชิงประชากรที่ต้องตัดออกด้วยเหตุผลดังกล่าว คือ ช่วง ของเพศอื่น ๆ ในปัจจัยเพศของประชากรผู้บริโภค และช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปในปัจจัยช่วงอายุของประชากร ผู้บริโภค นอกจากนี้เลือกใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two–Way ANOVA) ให้ความสำคัญกับจำนวน
(
สอง ทำให้สามารถนำมาสรุปผลโดยอ้างอิงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในแต่ละการทดสอบสมมุติฐาน
สถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
Paired t-test หรือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายหลังในแต่ละคู่ของทั้งสองช่วงเวลาเฉพาะคู่ที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับของสอง
โควิด-19 และช่วงที่มีการคลายล็อกดาวน์ สามารถกลับมานั่งรับประทานอาหารที่ร้านอาหารได้ตามปกติแม้ว่าจะ
3.3.2 วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ที่
การเปรียบเทียบทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีการจัดอันดับปัจจัยมีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้าน
15 ที่นำมาทดสอบในแต่ละครั้งต้องมีจำนวนเท่ากันทั้งตัวแปรอิสระที่1 และตัวแปรอิสระที่2 ทางผู้วิจัย จึงได้ทำการ จัดการขนาดประชากรกลุ่มตัวอย่าง (Resampling) เป็นแบบเพิ่มจำนวนส่วนข้อมูลที่น้อยกว่าในช่วงชั้นข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น ๆ ให้เท่ากับจำนวนชุดของมูลที่มากที่สุดในการทดสอบสมมุติฐานแต่ละรอบ (Denise Chen, 2020) เพื่อไม่ให้เป็นการละทิ้งข้อมูลดิบที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม และเพื่อผลลัพธ์ที่ครบถ้วน แม่นยำและสมบูรณ์ ทางผู้วิจัยนำผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางไปวิเคราะห์ด้วยวิธี
นอกจากนี้จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม ArcGIS Pro โดยใช้เครื่องมือ Standard Deviational Ellipse เพื่อหาขอบเขตและทิศทางการกระจายของจุด Mean center ซึ่งเป็นตัวแทนข้อมูลของที่ตั้งของผู้บริโภคอาหารที่ร้านอาหารและที่ตั้งของร้านอาหารที่ใช้บริการเป็นประจำ จะใช้ ข้อมูลซอย ถนน จุดสังเกตหรือสถานที่สำคัญใกล้เคียงกับที่พักอาศัยของผู้ตอบแบบสอบถามแทนจุด Mean center ที่ใช้ในการคำนวณ และจะนำจุดดังกล่าวมาใช้เครื่องมือ Network Analysis OD Cost Matrix ในการ คำนวณระยะทางเฉลี่ยที่ผู้บริโภคมักเดินทางจากที่พักอาศัยหรือที่ทำงานไปยังร้านอาหารในช่วงก่อนสถานการณ์
2: การแปลผลเป็นข้อมูลเชิงปริมาณจากคะแนนที่มีในแต่ละ ตัวเลือกที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับ (Five point scale) ตามหลักการของลิเคิร์ท (Likert scale) คือ เห็นด้วยมาก ที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย
ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละระดับ ตามลำดับจาก 5 ไป 1 คะแนน (ดังเคยกล่าวไปข้างต้นในหัวข้อ 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ส่วนที่ 4) เพื่อศึกษา ปัจจัยมีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการ จากนั้นนำคะแนน ที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และแปลความหมายของคะแนน โดยผู้วิจัยมีการกำหนดเกณฑ์ดังนี้ ระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 4.21 – 5.00 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด ระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.41 – 4.20 หมายถึง เห็นด้วยมาก ระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.61 – 3.40 หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง ระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.81 – 2.60 หมายถึง เห็นด้วยน้อย ระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.80 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด ส่วนหลักการ Top 2 Box ประกอบกับ Bottom 2 box ในการพิจารณาข้อมูลที่ได้เชิงคุณภาพที่มี
ในช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการออกมาได้ 5 ลำดับอย่างเจนกว่าวิธีการใช้หลักการของลิเคิร์ท (Likert scale)
ปัจจัยที่นำมาจับคู่เพื่อทดสอบสมมติฐาน
ยังมีการระบาดโควิด-19
เห็นด้วยน้อยที่สุด
ในส่วนของหลักการ Top 2 Box จะนำสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ให้คะแนนเห็นด้วยมากที่สุดและเห็นด้วยมาก
4 คะแนน ในทางเดียวกัน
หลักการ Bottom 2 box คือการนำสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของของผู้ที่ให้คะแนนเห็นด้วยน้อยที่สุดและเห็นด้วยน้อย
16
รองลงมารวมกัน หรือคือ นำสัดส่วนผู้ที่เลือกให้เห็นด้วย 5 คะแนนรวมกับผู้ที่เลือกให้
หรือคือ นำสัดส่วนผู้ที่เลือกให้เห็นด้วย 1 คะแนนรวมกับผู้ที่เลือกให้ 2 คะแนน 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 ศึกษาลักษณะของผู้บริโภคช่วงก่อนการระบาด ระหว่างการระบาดของโควิด-19 และช่วงที่มีการ กลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน 4.1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะของผู้บริโภคด้วยสถิติเบื้องต้น: จากการเก็บข้อมูลผู้บริโภค โดยการแจกแบบสอบถามทางออนไลน์ มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 257 คน แบ่งออกเป็นสัดส่วน ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 4-1 ประเภทของข้อมูลเบื้องต้นและสัดส่วนในแต่ละประเภทของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเบื้องต้น ประเภท จำนวน (คน) คิดเป็นร้อยละ อายุ ต่ำกว่า 20 ปี 35 13.6 20 - 39 ปี 198 77 40 - 60 ปี 21 8.2 60 ปีขึ้นไป 3 1.2 เพศ ชาย 35 13.6 หญิง 218 84.8 อื่นๆ 4 1.6 รายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท 73 28.4 10,000 – 30,000 บาท 130 50.6 30,001 – 50,000 บาท 37 14.4 มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป 17 6.6 จังหวัดที่อยู่อาศัย กรุงเทพมหานคร 190 73.9 นนทบุรี 26 10.1 ปทุมธานี 10 3.9 สมุทรปราการ 16 6.2 สมุทรสาคร 4 1.6 นครปฐม 11 4.3
รองลงมารวมกัน
2.
17 ตารางที่ 4-2 เปรียบเทียบลักษณะของผู้บริโภคช่วงก่อนการระบาด และช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน ข้อ ที่ คำถาม ก่อนที่จะเกิดการระบาด ของโควิด-19 หลังคลายล็อกดาวน์ สามารถ กลับมาใช้บริการรับประทาน อาหารภายในร้านได้ 1. ท่านมีความถี่ในการรับประทานอาหารที่ ร้านอาหารมากเท่าไร (ครั้งต่อสัปดาห์) ค่าเฉลี่ย: 3.57 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าเฉลี่ย: 2.93 ครั้งต่อสัปดาห์
ที่ตั้งของร้านอาหารที่ไปรับประทานเป็นประจำอยู่ ในจังหวัดอะไร กรุงเทพมหานคร 78.6% กรุงเทพมหานคร 79.8% 3. ท่านมักเดินทางจากที่ใดก่อนไปร้านอาหาร ที่อยู่อาศัย 62.3% ที่อยู่อาศัย 66.9% 4. ท่านเดินทางไปร้านอาหารด้วยวิธีอะไรบ่อยที่สุด รถส่วนตัว 43.6% รถส่วนตัว 43.6% 5. ประเภทร้านอาหารที่ไปเป็นประจำ ร้านอาหารจานเดียว 43.2% ร้านอาหารจานเดียว 45.5% 6. สัญชาติร้านอาหาร อาหารไทย 66.9% อาหารไทย 69.6% 7. รูปแบบการรับประทานอาหาร ไม่แบ่งกันรับประทาน 54.5% ไม่แบ่งกันรับประทาน 57.2% 8. ประเภทของอาหารที่ท่านสั่งเป็นประจำ อาหารปรุงสุกผ่านความร้อน 68.6% อาหารปรุงสุกผ่านความร้อน 72.4% 9. บริการอื่นๆของร้าน มีเครื่องปรับอากาศ 56.4% สามารถชำระแบบไม่ใช้เงินสด ได้ 64.2% 10. โดยส่วนใหญ่ออกไปรับประทานที่ร้านอาหารวัน อะไร วันธรรมดา 61.5% วันธรรมดา 61.9% 11. มื้ออาหารที่ออกไปรับประทานที่ร้านอาหาร มื้อเย็น 64.6% มื้อเย็น 64.2% 12. จุดประสงค์ที่ออกไปทานอาหารนอกบ้าน ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป 70.8% ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป 71.6% 13. ท่านมักจะไปรับประทานอาหารที่ร้านกับใคร เพื่อน 44% เพื่อน 47.1% 14. จำนวนคนที่รับประทานอาหารร่วมกันต่อหนึ่งโต๊ะ ค่าเฉลี่ย: 2.95 คนต่อหนึ่งโต๊ะ ค่าเฉลี่ย: 2.85 คนต่อหนึ่งโต๊ะ
เปลี่ยนแปลงลักษณะการบริโภคอาหารนอกบ้านไปด้วย ซึ่งการวิเคราะห์นี้เป็นการวิเคราะห์จากการคำนวณ
18 เมื่อนำข้อมูลลักษณะของผู้บริโภคจากทั้ง 3 ช่วงเวลา มาทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเบื้องต้น พบว่าลักษณะของผู้บริโภคช่วงก่อนการระบาด และช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน ข้อมูล ส่วนใหญ่มีความใกล้เคียงกันมาก ดังตารางที่ 4-2 ซึ่งข้อมูลที่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ ความถี่ใน การรับประทานอาหาร ที่ก่อนการระบาดมีค่าเฉลี่ย 3.57 ครั้งต่อสัปดาห์ และหลังคลายล็อกดาวน์ลดลงเหลือ 2.93 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น และในส่วนของ จำนวนคนที่รับประทานอาหารร่วมกันต่อหนึ่งโต๊ะ ที่ก่อนการ ระบาดมีค่าเฉลี่ย 2.95 คนต่อหนึ่งโต๊ะ และหลังคลายล็อกดาวน์ลดลงเหลือ 2.85 คนต่อหนึ่งโต๊ะ แสดงให้เห็น ว่า หลังเกิดการระบาดของโควิด-19 แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์ให้ผู้บริโภคสามารถกลับมาใช้บริการนั่ง รับประทานอาหารภายในร้านได้ดังเดิมแล้ว แต่ผู้บริโภคมีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านลดน้อยลง รวมถึงเมื่อมีการออกไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารแล้ว ก็ยังมีจำนวนที่นั่งรับประทานอาหารร่วมกันต่อ หนึ่งโต๊ะลดน้อยลงด้วย แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจส่งผลให้ผู้บริโภคมีการ
โดยสถิติเบื้องต้นเท่านั้น ผู้วิจัยจึงจะนำข้อมูลนี้ไปคำนวณทางสถิติเชิงลึกในขั้นตอนต่อไปก่อน จึงจะทำการ สรุปผลว่า แท้จริงแล้วสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อลักษณะการบริโภคอาหารของ ผู้บริโภคหรือไม่ 4.1.2 คำนวณระยะทางในการเดินทางของผู้บริโภค ไปยังร้านอาหาร เมื่อได้รับข้อมูลที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำงานของผู้บริโภค และร้านอาหารที่ ผู้บริโภคเลือกเดินทางไปรับประทาน มาจากการแจกแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้นำสถานที่ดังกล่าวมาจัดทำ เป็นพิกัด และนำเข้าสู่โปรแกรม ArcGIS Pro เพื่อแสดงจุดที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำงาน และ ร้านอาหาร ภาพที่ 4-1 ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา ของผู้บริโภค ก่อนการระบาดของโควิด-19 ภาพที่ 4-2 ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา ของผู้บริโภค หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์
ภาพที่
19 หลังจากนั้นจึงนำมาทำ Network Analysis และเลือกใช้วิธี OD Cost Matrix เพื่อคำนวณ ระยะทางในการเดินทางของผู้บริโภคจากที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำงาน ไปยังร้านอาหาร ทั้งในช่วง ก่อนการระบาด และช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง ตารางที่ 4-3 เปรียบเทียบระยะทางในการเดินทางของผู้บริโภคไปยังร้านอาหาร ก่อน Covid-19 หลังคลายล็อกดาวน์ ระยะทางเฉลี่ยในการเดินทางจากที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาไปยังร้านอาหาร 5406.748 เมตร หรือ 5.407 กิโลเมตร 5368.815 เมตร หรือ 5.367 กิโลเมตร ภาพที่ 4-5 ระยะทางในการเดินทางไปร้านอาหาร ของผู้บริโภค ก่อนการระบาดของโควิด-19 ภาพที่ 4-6 ระยะทางในการเดินทางไปร้านอาหาร ของผู้บริโภค
หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ 4-3 ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา ของผู้บริโภค ก่อนการระบาดของโควิด-19 ภาพที่ 4-4 ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา ของผู้บริโภค หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์
และนอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงการเลือกร้านอาหารในช่วงหลัง คลายล็อกดาวน์ยังเกิดจากการที่ผู้บริโภคมีการสั่งเดลิเวอรีในช่วงล็อกดาวน์ แล้วทำให้พบร้านอาหารใหม่ๆ ที่ ชื่นชอบ จึงทำให้ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนจากการรับประทานอาหารที่ร้านประจำร้านเดิมในช่วงก่อนเกิดการแพร่ ระบาด แล้วออกไปรับประทานร้านอาหารร้านใหม่แทนหลังจากการคลายล็อกดาวน์ 4.1.3 ศึกษาทิศทางการกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคเลือกเดินทางไปใช้บริการ
ทางผู้วิจัยจะนำจุดพิกัดของร้านอาหารที่ผู้บริโภคเลือกเดินทางไปใช้บริการ
20 จากตารางและภาพด้านบน แสดงให้เห็นว่า หลังคลายล็อกดาวน์ ผู้บริโภคเลือกใช้บริการ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของตนเองมากขึ้น ทำให้ระยะทางเฉลี่ยในการเดินทาง ไปยังร้านอาหารของผู้บริโภคลดลง จาก 5.407 กิโลเมตร เหลือ 5.367 กิโลเมตร เนื่องด้วยสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโควิด-19
เช่น การเดินทางด้วยบริการ สาธารณะเพื่อไปยังร้านอาหาร
ร้านอาหารที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัยมากขึ้น
ทำให้ต้องระมัดระวังในด้านการเดินทางไปยังร้านอาหาร
ทำให้อาจต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก ผู้บริโภคจึงเลือกรับประทานอาหารที่
ทั้งในก่อนการ ระบาดของโควิด-19 และหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ArcGIS Pro โดยใช้ เครื่องมือ โดยใช้เครื่องมือ Standard Deviational Ellipse เพื่อหาขอบเขตและทิศทางการกระจายของ ร้านอาหาร
ดาวน์ และนำมาแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ภาพที่ 4-7 เปรียบเทียบระยะทางในการเดินทางไปร้านอาหารของผู้บริโภค ก่อนการระบาดของโควิด-19 และหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์
ซึ่งจะทำการวิเคราะห์ภาพรวมการกระจายตัวของร้านอาหารก่อนการระบาดและหลังคลายล็อก
เดินทางออกไปรับประทานอาหารในร้านที่ไกลขึ้นกว่าในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ทำให้วงรีมีความ กว้างเพิ่มขึ้นออกไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล
21 จากภาพด้านซ้าย จะเห็นได้ว่า ทั้งจุดพิกัดและวงแสดงทิศทางการกระจายตัวใกล้เคียงกันมา จนเกือบจะซ้อนทับกันทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ทั้งช่วงก่อนการระบาด ของโควิด-19 และหลังคลายมาตรการ ล็อกดาวน์ ผู้บริโภคส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่เดิม แต่เมื่อวิเคราะห์ภาพด้านขวา
จะเห็นว่าวงแสดงทิศทางการ
ภาพที่
ของที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ก่อนการระบาด ของโควิด-19 และหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ ภาพที่ 4-9 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคใช้บริการ ก่อนการ ระบาดของโควิด-19 และหลังคลายมาตรการล็อก ดาวน์ ของผู้บริโภค ก่อนการระบาดของโควิด-19 ของผู้บริโภค หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ ภาพที่ 4-10 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคเพศชายใช้บริการ ภาพที่ 4-11 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคเพศหญิงใช้บริการ ของผู้บริโภค หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์
กระจายตัวมีความกว้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่า หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ ผู้บริโภคบางส่วนมีการ
4-8 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว
22 จากการเปรียบเทียบภาพทิศทางการกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคแต่ละเพศ เดินทาง ไปใช้บริการ พบว่า หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่ละเพศมีลักษณะการใช้บริการร้านอาหารแตกต่างกัน ออกไป โดยการกระจายตัวของร้านอาหารที่เพศชายเลือก วงรีมีความแคบลง แสดงให้เห็นว่า เพศชายบางส่วน มีการเดินทางไปรับประทานอาหารในร้านอาหารที่ตั้งอยู่ใกล้ขึ้นกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในส่วน ของเพศหญิง การกระจายตัวของร้านอาหารที่เพศหญิงเลือก วงรีมีความกว้างเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า เพศหญิง บางส่วนมีการเดินทางไปรับประทานอาหารในร้านอาหารที่ตั้งอยู่ไกลขึ้นกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และในส่วนของเพศอื่นๆ ลักษณะการกระจายตัวของร้านอาหารเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่า หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์เพศอื่น ๆ เปลี่ยนร้านอาหารที่ไปรับประทานไปจากเดิม ภาพที่ 4-12 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคเพศอื่นๆ ใช้บริการ ของผู้บริโภค หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ ภาพที่ 4-13 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัวของ ร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ใช้บริการ ภาพที่ 4-14 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัวของ ร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีอายุ 20 - 39 ปี ใช้บริการ
ภาพที่ 4-15 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว
ร้านเดิมที่เคยรับประทานเป็นประจำในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19
23 จากการเปรียบเทียบภาพทิศทางการกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุ เดินทางไปใช้บริการ พบว่า กลุ่มผู้บริโภคในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี และ 20 - 39 ปี หลังคลายมาตรการล็อก ดาวน์มีลักษณะการเดินทางไปใช้บริการร้านอาหารใกล้เคียงกัน คือ การกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภค กลุ่มนี้เลือก วงรีมีความกว้างเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคบางส่วนมีการเดินทางไปรับประทานอาหารใน ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ไกลขึ้นกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ส่วนกลุ่มผู้บริโภคในช่วงอายุ 40 - 60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ก็มีลักษณะการเดินทางไปใช้บริการร้านอาหารใกล้เคียงกัน คือ การกระจายตัวของร้านอาหารที่
ผู้บริโภคกลุ่มนี้เลือก วงรีมีขนาดเท่าเดิม แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เลือกรับประทานอาหารที่
ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีอายุ 40 - 60 ปี ใช้ บริการ ภาพที่ 4-16 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ใช้ บริการ ภาพที่ 4-17 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท เดินทางไปใช้ใช้บริการ ภาพที่ 4-18 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีรายได้ 10,000 ถึง 30,000 บาท เดินทางไปใช้ใช้บริการ
ผู้บริโภคบางส่วนมีการเดินทางไปรับประทานอาหารในร้านอาหารที่ตั้งอยู่ไกลขึ้นกว่าช่วงก่อน
จากการวิเคราะห์ขอบเขตและทิศทางการกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม เลือกเดินทางไปใช้บริการ เปรียบเทียบช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์
24 จากการเปรียบเทียบภาพทิศทางการกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคแต่ละช่วงรายได้ เดินทางไปใช้บริการ พบว่า กลุ่มผู้บริโภคในช่วงรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท รายได้ 10,000 - 30,000 บาท และรายได้มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์มีลักษณะการเดินทางไปใช้บริการ ร้านอาหารใกล้เคียงกัน คือ การกระจายตัวของร้านอาหารที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้เลือก
การระบาดของโควิด-19 ส่วนการกระจายตัวของร้านอาหารที่กลุ่มผู้บริโภคในช่วงรายได้ 30,001 - 50,000 บาท เลือกใช้บริการ วงรีมีความแคบลง แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคในช่วงรายได้นี้บางส่วนมีการเดินทางไป รับประทานอาหารในร้านอาหารที่ตั้งอยู่ใกล้ขึ้นกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19
เป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการกระจายตัวคร่าวๆ ของร้านอาหารไปในทิศทางต่างๆ ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น ซึ่งผู้วิจัยจะนำข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ทางสถิติเชิงลึกในลำดับต่อไป เพื่อ ศึกษาว่าปัจจัยเพศ อายุ และรายได้ มีผลต่อระยะทางการเดินทางไปยังร้านอาหารของผู้บริโภคอย่างมี นัยสำคัญหรือไม่ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาพที่ 4-19 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีรายได้ 30,001 ถึง 50,000 บาท เดินทางไปใช้ใช้บริการ ภาพที่ 4-20 เปรียบเทียบทิศทางการกระจายตัว ของร้านอาหารที่ผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป เดินทางไปใช้ใช้บริการ
วงรีมีความกว้างเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า
4.1.4 วิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันในระหว่างช่วง ก่อนการระบาด และช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้าน
ตารางที่ 4-4 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของรายได้ต่อเดือน
พบว่า ปัจจัยรายได้ต่อเดือนกับ ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารของผู้บริโภคในระหว่างทั้งสองช่วงไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
(P-value = 0.223) นอกจากนี้ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารไม่แตกต่างกันในระหว่างสองช่วงเวลา
(P-value = 0 871) และระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารไม่แตกต่างกันในแต่ละช่วงรายได้ต่อเดือน (P-value = 2.614) ตารางที่ 4-5 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของรายได้ต่อเดือน และจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว
25
และระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value รายได้ต่อเดือน 3162916582 3 1054305527 34.77112 2.614 สองช่วงเวลา 793984.072 1 793984.072 0.026186 0.871 Interaction 133092948.6 3 44364316.19 1.46314 0.223 Within 30563869943 1008 30321299.55 รวม 33860673458 1015 จากตารางที่ 4-4 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของรายได้ต่อเดือนและ ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารของผู้บริโภคในระหว่างทั้งสองช่วง คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้
Source of Variation SS df Mean Square F P-value รายได้ต่อเดือน 808.458 3 269.486 70.71742908 0.000 สองช่วงเวลา 61.123 1 61.123 16.03954451 0.000 Interaction 13.408 3 4.470 1.17281363 0.319 Within 3841.231 1008 3.810 รวม 4724.220 1015 จากตารางที่ 4-5 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของรายได้ต่อเดือนและจำนวน ครั้งในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อน การระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า
ปัจจัยรายได้ต่อเดือนกับจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคต่อสัปดาห์ในระหว่าง สองช่วงเวลา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = 0 319) แม้ว่าจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารที่ ร้านอาหารของผู้บริโภคต่อสัปดาห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างสองช่วงเวลา (P-value = 0.000) และจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของผู้บริโภคต่อสัปดาห์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละช่วงรายได้ต่อเดือน (P-value = 0.000)
ตารางที่ 4-6 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของรายได้ต่อเดือน
สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของรายได้ต่อเดือนและจำนวน คนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลัง
คลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า
รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา
(P-value = 0.004) แม้ว่า จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะไม่แตกต่างกันในระหว่างสองช่วงเวลา
26
และจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value รายได้ต่อเดือน 9.245 3 3.082 3.652 0.012 สองช่วงเวลา 0.927 1 0.927 1.098 0.295 Interaction 5.574 3 1.858 2.202 0.086 Within 850.624 1008 0.844 รวม 866.370 1015 จากตารางที่ 4-6 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ
ปัจจัยรายได้ต่อเดือนกับจำนวนคนที่
มีไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
(P-value = 0.295) และ จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะไม่แตกต่างกันในแต่ละช่วงรายได้ต่อเดือน (P-value = 0.012)
(P-value = 0.884) ตารางที่ 4-8 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของเพศและ
27 ตารางที่ 4-7 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของเพศและ ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value เพศ 195343981.6 1 195343981.6 5.166 0.023 สองช่วงเวลา 800612.2089 1 800612.209 0.021 0.884 Interaction 344582.597 1 344582.597 0.009 0.924 Within 31005624616 820 37811737.34 รวม 31202113792 823 จากตารางที่ 4-7 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของเพศและระยะทางที่เดินทาง ไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลาย ล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยเพศของประชากรและระยะทางที่ เดินทางไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = 0.924) แม้ว่าระยะทาง ที่เดินทางไปยังร้านอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างสองช่วงเวลา (P-value = 0.023) แต่ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารไม่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มของเพศ
จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value เพศ 19.706 1 19.706 4.691 0.031 สองช่วงเวลา 66.496 1 66.496 15.829 0.000075 Interaction 0.496 1 0.496 0.118 0.731 Within 3646.403 868 4.201 รวม 3733.101 871 จากตารางที่ 4-8 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของเพศและจำนวนครั้งในการ รับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลาย ล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยเพศของประชากรและจำนวนครั้งใน การรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = 0.731) แม้ว่า จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่าง
สองช่วงเวลา (P-value = 0.000075) และจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละกลุ่มของเพศ (P-value = 0.031)
ตารางที่ 4-9 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของเพศและ
0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของเพศและจำนวนคนที่ รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลัง คลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้
(P-value = 0.748) แม้ว่า จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละกลุ่มของเพศ (P-value = 0.033) แต่จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P-value = 0 273) ตารางที่ 4-10 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของ
28
จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value เพศ 12.128 1 12.128 4.574 0.033 สองช่วงเวลา 3.188 1 3.188 1.202 0.273 Interaction 0.273 1 0.273 0.103 0.748 Within 2290.678 864 2.651 รวม 2306.267 867 จากตารางที่ 4-9 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ
พบว่า ปัจจัยเพศของประชากรและจำนวน คนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
อาชีพและระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value อาชีพ 458725070.9 3 152908357 4.269 0.005 สองช่วงเวลา 60611.583 1 60611.583 0.002 0.967 Interaction 10221881.15 3 3407293.715 0.095 0.963 Within 30946785135.4 864 35818038.35 รวม 31415792699 871 จากตารางที่ 4-10 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของอาชีพและระยะทางที่เดินทางไปยัง
ในระหว่างสองช่วงเวลา
ระหว่างสองช่วงเวลา มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = 0.963)
(P-value = 0.005) แต่ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างสองช่วงเวลา
F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของอาชีพและจำนวนคนที่ รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลัง คลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้
อาชีพและจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละอาชีพ (P-value = 0.000) และจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติในระหว่างสองช่วงเวลา (P-value = 0.000)
29 ร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการ กลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยอาชีพและระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารใน
(P-value = 0 967) ตารางที่ 4-11 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของอาชีพและ จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value อาชีพ 118.895 3 39.632 8.358 0.000 สองช่วงเวลา 96.524 1 96.524 20.355 0.000 Interaction 18.771 3 6.257 1.320 0.267 Within 4210.902 888 4.742 รวม 4445.092 895 จากตารางที่ 4-11 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ
พบว่า ปัจจัยอาชีพและจำนวนคนที่ รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
.267) แม้ว่า
แม้ว่าอาชีพและระยะทางที่เดินทางไปยัง ร้านอาหารมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละอาชีพที่แตกต่างกัน
(P-value = 0
(P-value = 0 031) แต่จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างสอง
ช่วงเวลา (P-value = 0.211)
ตารางที่ 4-13 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของแต่
30 ตารางที่ 4-12 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของอาชีพและ จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value อาชีพ 10.034 3 3.345 2.974 0.031 สองช่วงเวลา 1.759 1 1.759 1.564 0.211 Interaction 0.849 3 0.283 0.252 0.860 Within 998.608 888 1.125 รวม 1011.250 895 จากตารางที่ 4-12 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของอาชีพและจำนวนครั้งในการ รับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลัง คลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยอาชีพและจำนวนครั้งในการ รับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลา ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = .860) แม้ว่าอาชีพ และจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละอาชีพ
ละช่วงอายุและระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value อายุ 1929716975 2 964858487.4 34.654 0.000 สองช่วงเวลา 34160429.26 1 34160429.26 1.227 0.268 Interaction 295739629.1 2 147869814.6 5.311 0.005 Within 30738045011 1104 27842432.08 รวม 32997662044 1109 จากตารางที่ 4-13 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของแต่ละช่วงอายุและระยะทาง ที่เดินทางไปยังร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลา คือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็ อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยช่วงอายุและระยะทางที่เดินทางไปยัง ร้านอาหารในระหว่างสองช่วงเวลา มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = 0 005) นอกจากนี้ระยะทางที่เดินทางไป
ยังร้านอาหารมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละช่วงอายุ (P-value = 0.000) แต่ระยะทางที่
เดินทางไปยังร้านอาหารกลับไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างสองช่วงเวลา (P-value = 0.268)
ผลการเปรียบเทียบข้อมูลปัจจัยเกี่ยวกับระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารและปัจจัยช่วง อายุที่แตกต่างกันของช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิด
31
ให้บริการรับประทานที่ร้านได้ (ดังภาพที่ 4-21) แสดงให้เห็นมีภาพรวมของค่าเฉลี่ย (Mean) ของระยะทางที่ เดินทางไปยังร้านอาหาร (หรือทั้งสองช่วงเวลา) อยู่ในระดับที่แตกต่างกันมากในทั้งสองช่วงเวลา โดยเฉพาะ ในช่วงอายุ 20 - 39 ปีที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าช่วงอายุอื่นๆอย่างมาก นอกจากนี้ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหาร มีทิศทางของค่าเฉลี่ย (Mean) ที่ลดลงในช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ในช่วงอายุ 40 - 60 ปี ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีกลับมีแนวโน้มของค่าเฉลี่ย (Mean) ของระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลังคลายล็อก ดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ ตามที่ได้วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางตาม ตารางที่ 4-13 ข้างต้น ทั้งนี้เมื่อทดสอบด้วยวิธี Paired t-test พบว่ามี 2 คู่ในช่วงอายุที่ต่างกันอย่างมีความ แตกต่างนัยสำคัญในระหว่างสองช่วงเวลา คือ ช่วงอายุที่ต่ำกว่า 20 ปี (T-value = 0.000) และช่วงอายุ 40 – 60 ปี (T-value = 0.000) ภาพที่ 4-21 แผนภูมิบ็อกซ์และวิสเกอร์เปรียบเทียบช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ ในระหว่าง ปัจจัยเกี่ยวกับระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหารและปัจจัยรายได้ในแต่ละช่วงอายุ
(P-value = 0.000) และจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในระหว่างสองช่วงเวลา
32 ตารางที่ 4-14 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของแต่ละช่วง อายุและจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value อายุ 281.755 2 140.877 48.131 0.000 สองช่วงเวลา 13.476 1 13.476 4.604 0.032 Interaction 85.377 2 42.689 14.585 0.000 Within 3389.436 1158 2.927 รวม 3770.044 1163 จากตารางที่ 4-14 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของแต่ละช่วงอายุและจำนวน ครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลาคือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วง หลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยช่วงอายุและจำนวนครั้งใน การรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ในระหว่างสองช่วงเวลา มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (P-value = 0.000) นอกจากนี้ จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละช่วงอายุ
(P-value = 0 032) ภาพที่ 4-22 แผนภูมิบ็อกซ์และวิสเกอร์เปรียบเทียบช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ ในระหว่าง ปัจจัยจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์และปัจจัยในแต่ละช่วงอายุ ผลการเปรียบเทียบข้อมูลปัจจัยจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์กับปัจจัยช่วง อายุที่แตกต่างกันของช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิด
(Mean)ที่ไล่เลี่ยกันของจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลังคลายล็อก ดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านเพียงคู่เดียว ซึ่งแต่ละคู่ของช่วงเวลาในปัจจัยแต่ละช่วงอายุ
มีล้วนมีความแตกต่างอย่างมีนัยทางสถิติอย่างน้อย
0.05 เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของแต่ละช่วงอายุและจำนวน
คนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลาคือช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19
(P-value = 0.009)
(P-value = 0.000) แต่จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะกลับไม่มีมีความแตกต่างกันในระหว่างสองช่วงเวลาเลย (P-value = 0 384)
33 ให้บริการรับประทานที่ร้านได้ (ดังภาพที่ 4-22) แสดงให้เห็นมีภาพรวมของค่าเฉลี่ย (Mean) ของจำนวนครั้งใน การรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ (หรือทั้งสองช่วงเวลา) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วง จำนวน 1 ถึง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ในทุกช่วงอายุของทั้งสองช่วงเวลา นอกจากนี้จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์มีทิศทางของค่าเฉลี่ย (Mean) ที่ลดลงในช่วงหลัง คลายล็อกดาวน์ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีและช่วงอายุ 40 – 60 ปี แต่ช่วงอายุ 20 – 39 ปี กลับมีแนวโน้มของ
ค่าเฉลี่ย
1 คู่ตามที่ได้วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางตาม ตารางที่ 4-14 ข้างต้น ทั้งนี้เมื่อทดสอบด้วยวิธี Paired t-test พบว่าทั้งสามคู่ในช่วงอายุที่ต่างกันอย่างมีความ แตกต่างนัยสำคัญในระหว่างสองช่วงเวลา คือ ช่วงอายุ 20 - 39 ปี (T-value = 0.000) ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี (T-value = 0.000) และช่วงอายุ 40 – 60 ปี (T-value = 0.000) ตารางที่ 4-15 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลร่วมกันของแต่ละช่วง อายุและจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลาดังกล่าว Source of Variation SS df Mean Square F P-value อายุ 262.831 2 131.416 121.567 0.000 สองช่วงเวลา 0.820 1 0.820 0.758 0.384 Interaction 10.137 2 5.068 4.689 0.009 Within 1277.754 1182 1.081 รวม 1551.541 1187
0.05 จากตารางที่ 4-15 ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ F-test ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ สองทางที่ระดับนัยสำคัญ
*P <
และช่วงหลัง คลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ พบว่า ปัจจัยช่วงอายุและจำนวนคนที่ รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างสองช่วงเวลา มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
แม้ว่าจำนวน คนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละช่วงอายุ
ผลการเปรียบเทียบข้อมูลปัจจัยจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะกับปัจจัยช่วงอายุ ที่แตกต่างกันของช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการ
34 ภาพที่ 4-23 แผนภูมิบ็อกซ์และวิสเกอร์เปรียบเทียบช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ ในระหว่างปัจจัยจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะและปัจจัยในแต่ละช่วงอายุ
รับประทานที่ร้านได้ (ดังภาพที่ 4-23) แสดงให้เห็นมีภาพรวมของค่าเฉลี่ย (Mean) ของจำนวนคนที่ รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะ (หรือทั้งสองช่วงเวลา) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วง จำนวน 1 ถึง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ในทุกช่วงอายุของทั้งสองช่วงเวลา นอกจากนี้จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะมีทิศทางของค่าเฉลี่ย (Mean) ที่ลดลงในช่วงหลังคลายล็ อกดาวน์ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีและช่วงอายุ 20 - 39 ปี แต่ช่วงอายุ 40 – 60 ปี กลับมีแนวโน้มของค่าเฉลี่ย (Mean) จำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิด ให้บริการรับประทานที่ร้านเพียงช่วงอายุเดียว ทั้งนี้เมื่อทดสอบด้วยวิธี Paired t-test พบว่าทั้ง 2 คู่ในช่วงอายุ ที่ต่างกันอย่างมีความแตกต่างนัยสำคัญในระหว่างสองช่วงเวลา คือ ช่วงอายุ 20 - 39 ปี (T-value = 0.000) และช่วงอายุ 40 – 60 ปี (T-value = 0.000)
4.2 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับ
ตารางที่ 4-16 แสดงผลค่าเฉลี่ยที่ด้วยหลักการของลิเคิร์ท (Likert scale)
จากตารางที่ 4-16 พบว่า ผู้บริโภคเห็นด้วยมากที่สุดว่าปัจจัยด้านรสชาติอาหารและคุณภาพเป็นปัจจัย
และปัจจัยด้าน
ความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเชฟหรือร้านอาหารที่มักไปประจำ สุดท้ายนี้ผู้บริโภคมีความเห็นด้วยปานกลางกับ
35
มาเปิดให้บริการ
ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไป รับประทานอาหารที่ร้านในช่วง ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการ จำนวนคนที่ให้ค่าคะแนนที่เห็นด้วย 5 ระดับ (มากไปน้อย) ค่าเฉลี่ย คะแนน 5 4 3 2 1 รสชาติอาหารและคุณภาพ 95 104 47 5 6 4.08 บรรยากาศและความรู้สึกในระหว่างการ รับประทานอาหารที่ร้านอาหาร 75 101 66 11 4 3.90 มั่นใจในมาตรการความปลอดภัยของร้านใน การป้องกันโรคระบาดโควิด-19 29 84 96 36 12 3.68 ความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเชฟหรือ ร้านอาหารที่ไปเป็นประจำ 49 94 72 32 10 3.54 สุขอนามัยของร้านอาหาร 53 103 73 22 6 3.00
ที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการ และผู้บริโภคเห็น ด้วยมากใน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศและความรู้สึกในระหว่างการรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ปัจจัยด้านความมั่นใจในมาตรการความปลอดภัยของร้านในการป้องกันโรคระบาดโควิด-19
ปัจจัยสุขอนามัยของร้านอาหาร ภาพที่ 4-24 แสดงแผนภูมิแท่งที่มีการคำนวณสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ ตามหลักการ Top2 box และ Bottom 2 box จากภาพที่ 4-24 ดังที่แสดงข้างต้นเห็น เมื่อพิจารณาด้วยหลักการ Top2 box และ Bottom 2 box เห็นได้ว่าปัจจัยด้านรสชาติอาหารและคุณภาพเป็นปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่
การรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเป็นอันดับที่ 2 ปัจจัยด้านสุขอนามัยของร้านอาหารเป็นอันดับที่ 3
ด้านความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเชฟหรือร้านอาหารที่มักไปประจำเป็นอันดับที่ 4 และอันดับสุดท้ายคือปัจจัย
ด้านความมั่นใจในมาตรการความปลอดภัยของร้านในการป้องกันโรคระบาดโควิด-19
คุณภาพ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านในช่วงที่มีการกลับมาเปิด
20 ปีนี้อาจจะต้องเดินทางไปรับประทานอาหารใกล้ที่
ด้วยเหตุทางสุขภาพที่โรคนี้มักส่งผลกับผู้สูงอายุ มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน
อาจมีสาเหตุจากความ
ต้องการส่วนตัวที่อยากกลับลิ้มลองรสชาติอาหารพร้อมสัมผัสบรรยากาศการรับประทานในร้านอาหารมากกว่า
36
ร้านในช่วงที่มีการกลับมาเปิดให้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ปัจจัยด้านบรรยากาศและความรู้สึกในระหว่าง
ปัจจัย
5. สรุปและอภิปรายผลงานวิจัย จากการใช้วิธีการทางสถิติเชิงอนุมาน หรือ วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง พบว่า ปัจจัยที่ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยเชิงประชากรช่วงอายุที่แตกต่างในผู้บริโภคมีผลร่วมกับ ทั้ง 3 ปัจจัยต้องการศึกษา คือ ระยะทางที่เดินทางไปยังร้านอาหาร จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อ สัปดาห์ และจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะในระหว่างช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และช่วง หลังคลายล็อกดาวน์ที่มีการกลับมาเปิดให้บริการรับประทานที่ร้านได้ นอกจากนี้ปัจจัยด้านรสชาติอาหารและ
ให้บริการมากที่สุดไม่ว่าจะทดสอบด้วยวิธีใดก็ตาม ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากการที่ศึกษางานวิจัย อื่น ๆ ผ่านการทบทวนวรรณกรรมสามารถตั้งข้อสังเกตได้จากผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้ ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีเดิน ทางไกลขึ้นเพื่อไปยังร้านอาหาร
ออนไลน์ในช่วงการระบาดโควิด-19 มาตลอด เมื่อสถานการณ์กรระบาดโควิด-19 คลี่คลายลง มีการออก มาตรการคลายล็อกดาวน์ขึ้น ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสามารถเปิดให้นักเรียน กลับไปเรียนที่โรงเรียนได้ ผู้บริโภคช่วงอายุต่ำกว่า
สถาบันกวดวิชาที่ไกลออกไป หรือสังสรรค์กับเพื่อนในร้านอาหารที่มีรสชาติและคุณภาพอาหารที่ดี แม้ระยะ ทางไกลกว่าเดิม แตกต่างจากกลุ่มช่วงวัย 40 ถึง 60 ปี ที่เดินทางในระยะสั้นลงหลังช่วงคลายล็อกดาวน์
สาเหตุเนื่องมาจากยังความกังวลและกลัวการติดเชื้อโควิด-19
ในส่วนของจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ที่ลดลงหลัง คลายล็อกดาวน์ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี และช่วงอายุ 20 ถึง 39 ปี อาจมีเหตุผลเนื่องมาจากในช่วงล็อกดาวน์ มีการใช้แอพพลิเคชั่นสั่งอาหารเดลิเวอลี่เพิ่มมากขึ้นและยังคงใช้วิธีนี้ในการสั่งอาหารอยู่แม้ว่าจะคลายล็อก ดาวน์แล้วก็ตาม ช่วงอายุดังกล่าวจึงมีจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์ที่ลดลง ซึ่งแตกต่างจาก ช่วงอายุ 40 ถึง 60 ปี ที่จำนวนครั้งในการรับประทานอาหารต่อสัปดาห์กลับเพิ่มขึ้น
อาจมีเหตุผลเบื้องหลังสืบเนื่องมาจากเดิมที่นักเรียนเรียนที่บ้านผ่านทาง
อาจมี
ช่วงอายุอื่น ๆ และในส่วนของจำนวนคนที่รับประทานอาหารต่อหนึ่งโต๊ะช่วงอายุ 40 ถึง 60 ปี มีแนวโน้มที่ เพิ่มขึ้นอาจมีสาเหตุเช่นเดียวกับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเช่นกัน
รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกำลังใจในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้จนประสบความสำเร็จ
ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในทุก ๆ ขั้นตอน และสุดท้ายนี้ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
37 6. ข้อจำกัดของงานและข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้มีข้อจำกัดเนื่องด้วยระยะเวลาในการวิจัยมีจำกัด ทำให้ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลผ่าน แบบสอบถามเพียง 3 เดือน จึงทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนได้ตามเป้าหมาย จึงนำ กลุ่มตัวอย่างที่ได้เพียง 257 คน มาใช้ในการศึกษาวิจัย รวมถึงมีการแจกแบบสอบถามให้บุคคลที่รู้จักในบริเวณ ที่ใกล้เคียงกัน ทำให้กลุ่มตัวอย่างที่ได้ในแต่ละกลุ่ม เช่น เพศ อายุ และสถานที่อยู่อาศัย มีจำนวนที่ไม่เท่ากัน และยังมีความกระจุกตัวของกลุ่มตัวอย่าง เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านเวลาดังกล่าว ดังนั้นหากศึกษาโดยมี ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้กลุ่มตัวอย่างที่ได้มีความกระจายตัวมากขึ้น และได้ผลการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้
ข้อมูลผ่านแบบสอบถามเท่านั้น ในอนาคตหากมีการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมด้วยและนำมาใช้ในการศึกษาวิจัย เพิ่มเติม อาจทำให้สามารถสรุปผลการวิจัยได้มีความชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น 7. กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องด้วยได้รับความอนุเคราะห์และสนับสนุนเป็นอย่าง ยิ่งจาก อ.ดร.อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์ อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ที่ได้กรุณาให้ความรู้ คำปรึกษา คำแนะนำ รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ มาโดยตลอดจนกระทั่งงานวิจัยนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณ คณาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกท่าน ผู้คอยให้ข้อคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ จนทำให้สามารถแก้ไขและปรับปรุงงานวิจัยได้สำเร็จ ขอขอบพระคุณครอบครัว เพื่อน ๆ ของผู้วิจัย นากาโมโตะ ยูตะ NCT127 สมาชิกวง Super Junior และแฟนคลับ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการ เก็บข้อมูลวิจัย
เพื่อนที่ สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาตร์และการบัญชี ที่คอยให้คำปรึกษาในวิธีที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม
และผู้ ที่สนใจศึกษาต่อไป
งานวิจัยนี้เป็นเพียงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของผู้บริโภคอาหารจากการเก็บ
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf
https://www.facebook.com/470988516420706/photos/
28-มิย-2564/1704359156416963/?_rdc=2&_rdr
(2562
จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
https://apps.bangkok.go.th/info/m.info/nowbma/
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_EatGuide.aspx
38 รายการอ้างอิง ภาษาไทย กรมควบคุมโรค. (2562). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สืบค้นจาก
กรมควบคุมโรค. (2564). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลก และ ในประเทศไทย. สืบค้นจาก
กรมควบคุมโรค. (2564). ราชกิจจานุเบกษา ควบคุมโควิดพื้นที่เสี่ยง สืบค้นจาก
ราชกิจจานุเบกษา-ควบคุมโควิดพื้นที่ เสี่ยงเริ่มวันจันทร์ที่-
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
). ธุรกิจร้านอาหาร บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 25652 สืบค้น
กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการ สาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นจาก
กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2556). กรุงเทพฯปัจจุบัน สืบค้นจาก
ข้อกำหนดออกความตามในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ ศ 2564. (29 เมษายน 2564).ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
ตอนพิเศษ 91 ง หน้า 1-6 ข้อกำหนดออกความตามในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 32) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ ศ 2564. (28 สิงหาคม 2564).ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 200 ง หน้า 1-5 ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (2565). การวัดความสัมพันธ์ Pearson’s Sample Correlation Coefficient สืบค้น จาก http://www.watpon.in.th/Elearning/pearson.pdf ฉัตรี กันพ้นภัย. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้านของประชากรในอำเภอบ้านตาก ก่อนเกิดวิกฤติ โควิด-19กับหลังการเกิดวิกฤติโควิด-19 (รายงานผลการวิจัย). ตวงทอง ลาภเจริญทรัพย์, วรินทร กังวานทิพย์, และศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ. (2560). การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคกับ พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน. KASEM BUNDIT JOURNAL, 18(2), 37-50. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). New Normal ของธุรกิจร้านอาหารในยุคโควิด 19 สืบค้นจาก
138
Journal of The Royal Thai Army Nurses, 17(2), 78-88.
BBC News. (2564). โควิด-19:
https://www.bbc.com/thai/thailand-58395860
MGR Online. (2551). ทำไม??
https://mgronline.com/live/detail/9510,000026382
Pran Suwannatat. (2564).
https://brandinside.asia/customer-behavior-covid-19/
Israel, G. D. (1992). Determining sample size.
Jeong, M., Kim, K., Ma, F., & DiPietro, R. (2021). Key factors driving customers’ restaurant dining behavior during the covid-19 pandemic. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 34(2), 836–858. https://doi.org/10.1108/ijchm-07-2021-0831
Jia, S. S. (2021). Analyzing restaurant customers’ evolution of dining patterns and satisfaction during COVID-19 for sustainable business insights. Sustainability, 13(9), 4981. Johns Hopkins University. (2022). COVID-19 Dashboard Retrieved from https://coronavirus.jhu.edu/map.html
39 พรมิตร กุลกาลยืนยง. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทย และปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของ ผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารไทยในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคกลุ่ม Gen-X และ Gen-Y (รายงานผลการวิจัย). พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 24). (2564,19 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 133ง. หน้า 1-9. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์, และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2559). พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านของ ผู้บริโภคชาวนครศรีธรรมราช. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร, 22(2), 85-114. มติชนออนไลน์. (2564). ‘ธุรกิจร้านอาหาร’ อ่วม สั่งปิดร้านอาหารในห้าง-ห้ามนั่งกินที่ร้าน กระทบแรงงาน กว่าแสนคน ฉุดยอดขายวูบ 90% สืบค้นจาก
มนัสชนก ไชยรัตน์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. รังสินี พูลเพิ่ม.
พฤติกรรมการบริโภคอาหารของครอบครัวในชุมชนบ้านพักข้าราชการ โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า.
https://www.matichon.co.th/economy/news_2851673
(2559).
1 ก.ย.. สืบค้นจาก
ทำความเข้าใจมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์รอบ
คนไทยต้อง “กินข้าวนอกบ้าน” สืบค้นจาก
โควิดเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค อาหารสำเร็จรูปขายดี นิยมสั่งเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น กว่า38% สืบค้นจาก
ภาษาอังกฤษ
Park, B. W. (2020). The effects of eating-out customers' customer citizenship behavior and customer badness behavior on service employees' emotional dissonance and job burnout. Journal of the Korea Academia-Industrial cooperation Society, 21(3), 342-352.
Radic, A., Lück, M., Al-Ansi, A., Chua, B. L., Seeler, S., & Han, H. (2021). Cruise ship dining experiencescape: The perspective of female cruise travelers in the midst of the COVID19 pandemic. International Journal of Hospitality Management, 95, 102923.
Tuzovic, S., Kabadayi, S., & Paluch, S. (2021). To dine or not to dine? collective wellbeing in hospitality in the COVID-19 ERA. International Journal of Hospitality Management, 95, 102892.
https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2021.102892
Wei, C. (V., Chen, H., & Lee, Y. M. (2021). Factors influencing customers’ dine out intention during COVID-19 reopening period: The moderating role of country-of-origin effect. International Journal of Hospitality Management, 95, 102894.
https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2021.102894
Wen, Han, and Bingjie Liu-Lastres. “Consumers' Dining Behaviors during the COVID-19 Pandemic: An Application of the Protection Motivation Theory and the Safety Signal Framework.” Journal of Hospitality and Tourism Management, vol. 51, 2022, pp. 187–195., https://doi.org/10.1016/j.jhtm.2022.03.009.
Wiatrowski, M., Czarniecka-Skubina, E., & Trafiałek, J. (2021). Consumer eating behavior and opinions about the food safety of street food in Poland. Nutrients, 13(2), 594.
Zhong, Y., Oh, S., & Moon, H. C. (2021). What can drive consumers’ dining-out behavior in China and Korea during the COVID-19 pandemic?. Sustainability, 13(4), 1724.
40
41
ภาคผนวก
หมายเหตุ ผู้วิจัยจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้เป็นความลับโดยจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไป
42 ภาคผนวก ก แบบสอบถาม แบบสอบถามที่ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของผู้บริโภคอาหารที่ร้านอาหารในแต่ละช่วงเวลาของ สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คำชี้แจง แบบสอบถามชุดนี้จัดทำโดยนิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ในเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำโครงงานระดับปริญญาตรีที่ต้องการ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของผู้บริโภคอาหารที่ร้านอาหารในแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์การระบาด โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1. ท่านให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวไป เบื้องต้นหรือไม่ o ยินยอม o ไม่ยินยอม ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้น โปรดใส่เครื่องหมาย (/) ใน o และเขียนคำตอบสั้น ๆ บนเส้นประ 1) อายุของท่าน o ต่ำกว่า 20 ปี o 21 - 40 ปี o 41 - 60 ปี o มากกว่า 60 ปีขึ้นไป 2) เพศ o ชาย o หญิง o อื่นๆ โปรดระบุ ..................... 3) รายได้ต่อเดือน o ต่ำกว่า 10,000 บาท o 10,001 - 30,000 บาท o 30,001 - 50,000 บาท o มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป 4) จังหวัด ที่ท่านอาศัยอยู่ในปัจจุบัน 7 จังหวัด
ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการศึกษาดังที่ได้กล่าวข้างต้น
43 o กรุงเทพมหานคร o นนทบุรี o ปทุมธานี o สมุทรปราการ o สมุทรสาคร o นครปฐม 5) เขต/อำเภอ ที่ท่านอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ......................................... (ตัวอย่างคำตอบ พญาไท) 6) แขวง/ตำบล ที่ท่านอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ......................................... (ตัวอย่างคำตอบ สามเสนใน) 7) ซอย ถนน จุดสังเกตหรือสถานที่สำคัญใกล้เคียงกับที่พักอาศัยของท่าน (ตัวอย่างคำตอบ อารีย์ซอย4 ฝั่งเหนือ ใกล้ GUMP's ARI) 8) วุฒิการศึกษา o ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น o
o
o สูงกว่าปริญญาตรี
o ลูกจ้างชั่วคราว/รับจ้างทั่วไป o ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ o
o เกษตรกร o อื่นๆ โปรดระบุ .............................. 10) จังหวัด ของที่ทำงานหรือสถานศึกษา o กรุงเทพมหานคร o นนทบุรี o ปทุมธานี o สมุทรปราการ o สมุทรสาคร o นครปฐม 11) เขต/อำเภอ ของที่ทำงานหรือสถานศึกษา ......................................... (ตัวอย่างคำตอบ สามเสนใน)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. o อนุปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ปวส.) o ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
9) อาชีพ o นักเรียน/นักศึกษา
ค้าขาย/เจ้าของธุรกิจส่วนตัว
2563 (ตรงกับ ค.ศ. 2020)
1. ท่านมีความถี่ในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารมากเท่าไร (ครั้ง/สัปดาห์) (กรุณากรอกคำตอบเป็นตัวเลข)
2. ชื่อของร้านอาหารที่ไปรับประทานเป็นประจำ .........................................
3. ที่ตั้งของร้านอาหารที่ไปรับประทานเป็นประจำอยู่ในจังหวัดอะไร
44 12) แขวงหรือตำบล ของที่ทำงานหรือสถานศึกษา ......................................... (ตัวอย่างคำตอบ พญาไท) 13) ระบุชื่อที่ทำงาน/สถานศึกษา ซอย ถนน จุดสังเกตหรือสถานที่สำคัญใกล้เคียง (ตัวอย่างคำตอบ กระทรวงการคลัง ใกล้สถานีรถไฟสามเสน) ส่วนที่ 2 : คำถามเกี่ยวกับช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 หมายเหตุ การระบาดโควิด-19 เกิดขึ้นประมาณวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.
o กรุงเทพมหานคร o นนทบุรี o ปทุมธานี o สมุทรปราการ o สมุทรสาคร o นครปฐม 4. คำอธิบายที่ตั้ง/สาขาของร้านอาหาร (กรุณาระบุชื่อห้าง/ย่าน/ถนน หรือตำแหน่งอ้างอิงโดยสังเขป)
ท่านมักเดินทางจากที่ใดก่อนไปร้านอาหาร o ที่อยู่อาศัย o ที่ทำงาน/สถานศึกษา
ท่านเดินทางไปร้านอาหารด้วยวิธีอะไรบ่อยที่สุด o เดินทางเท้า o มอเตอร์ไซด์รับจ้าง o รถส่วนตัว o การขนส่งระบบราง เช่น BTS, MRT o รถโดยสารสาธารณะ เช่น รถประจำทาง รถตู้
5.
6.
o เรือ
o อื่นๆ โปรดระบุ
7. ประเภทร้านอาหารที่ไปเป็นประจำ
o ภัตตาคาร
o ร้านอาหารจานเดียว/ตามสั่ง
o ร้านบุฟเฟ่ต์
o ร้านฟาสต์ฟู้ด
o ร้านอาหารข้างทาง (Street food)
o ร้านข้าวแกง
o อื่นๆ โปรดระบุ
8. สัญชาติร้านอาหาร
o ไทย
o จีน
o ญี่ปุ่น
o เกาหลี
o อิตาเลียน
o เวียดนาม
o อินเดีย
o อื่นๆ โปรดระบุ
9. รูปแบบการรับประทานอาหาร
o ทานร่วมกัน (เช่น ใช้จานเดียวกัน หรือช้อนร่วมกัน)
o แบ่งกันรับประทาน (เช่น ใช้ช้อนกลางแบ่งอาหารที่กลางโต๊ะอาหาร))
45
...................
...................
...................
โปรดระบุ ................... 10. ประเภทของอาหารที่ท่านสั่งเป็นประจำ o อาหารปรุงสุกผ่านความร้อน เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด o อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เช่น ยำ ส้มตำ สลัด ซาชิมิ o สั่งคละกันทั้งอาหารปรุงสุกผ่านความร้อนและไม่ผ่านความร้อน o อื่นๆ โปรดระบุ ................... 11. บริการอื่นๆของร้าน o มีที่จอดรถ o มีห้องจัดเลี้ยงแบบส่วนตัว o มีห้องน้ำสะอาด
o ไม่แบ่งกันรับประทาน (เช่น คนละจาน) o อื่นๆ
o มีเครื่องปรับอากาศ
o มีการแสดงดนตรี
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
12. โดยส่วนใหญ่ออกไปรับประทานที่ร้านอาหารวันอะไร
o วันธรรมดา (วันจันทร์ถึงวันศุกร์)
o วันเสาร์และวันอาทิตย์
o วันหยุดนักขัตฤกษ์
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
13. มื้ออาหารที่ออกไปรับประทานที่ร้านอาหาร
o มื้อเช้า
o มื้อเที่ยง
o มื้อเย็น
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
14. เหตุผลที่ออกไปทานอาหารนอกบ้าน
o ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป
o พบปะเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพิเศษ
o ร้านอาหารอยู่ใกล้บ้าน
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
15. ท่านมักจะไปรับประทานอาหารที่ร้านกับใคร
o รับประทานคนเดียว
o ครอบครัว
o เพื่อน o คนรัก o เพื่อนร่วมงาน
16. จำนวนคนที่รับประทานอาหารร่วมกันต่อหนึ่งโต๊ะ
วันวาเลนไทน์)
46
(เช่น วันครบรอบต่างๆ) o พบปะเฉลิมฉลองตามเทศกาล (เช่น วันขึ้นปีใหม่
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
....................... (กรอกคำตอบเป็นตัวเลข หากรับประทานคนเดียวให้ตอบ 0) ส่วนที่ 3 : คำถามเกี่ยวกับช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ช่วงเวลาโดยประมาณ : 28 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564 (ตรงกับปี ค.ศ. 2021) เป็นช่วงที่ รัฐบาลบังคับใช้ข้อกำหนดในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
2. ท่านสั่งอาหารเดลิเวอรี่จากร้านเดิมในช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 ใช่หรือไม่
o ใช่ ฉันสั่งอาหารจากร้านเดิมที่รับประทานเป็นประจำ
o ไม่ ฉันได้ลองทานอาหารจากร้านใหม่
4. ท่านมีความถี่ในการสั่งอาหารเดลิเวอรี่จากร้านอาหารที่รับประทานประจำเท่าไร (ครั้ง/สัปดาห์)
5. ประเภทของอาหารที่ท่านสั่งเป็นประจำ
47 2548 (ฉบับที่ 25) ที่ห้ามประชาชนรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร แต่สามารถสั่งกลับบ้านได้ ในเขตพื้นที่ จังหวัดสีแดงเข้มที่มีจำนวนของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูง 1. ท่านมีการรับประทานอาหารด้วยวิธีใด o ทำอาหารที่บ้าน (หากเลือกข้อเพียงข้อเดียวนี้ กรุณาข้ามไปส่วนถัดไป) o สั่งอาหารเดลิเวอรี่ o สั่งกลับบ้าน o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
ๆ 3. โปรดระบุเหตุผลอย่างน้อย 2 ข้อที่เลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่จากร้านเดิม/ร้านใหม่ o ร้านอาหารตั้งอยู่ใกล้บ้าน (ได้รับสินค้ารวดเร็ว)
รสชาติอาหารและคุณภาพ
มีโปรโมชั่นของร้านบนแอพพลิเคชั่นส่งอาหาร o สุขอนามัยและความปลอดภัยของร้านอาหาร o ชื่อเสียงของร้านอาหาร/เชฟ o ความคุ้มค่าของราคา
o
o
(กรุณากรอกคำตอบเป็นตัวเลข)
o อาหารปรุงสุกผ่านความร้อน เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด o อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เช่น ยำ ส้มตำ สลัด ซาชิมิ o สั่งคละกันทั้งอาหารปรุงสุกผ่านความร้อนและไม่ผ่านความร้อน o อื่นๆ โปรดระบุ ................... ส่วนที่ 4 : คำถามเกี่ยวกับช่วงแ แต่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์ มีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 กันยายน 2564 (ตรงกับ ค.ศ.2021) ประชาชนกลับมาใช้บริการนั่งรับประทานอาหารภายใน ร้านได้ แม้ว่าจะยังมีการระบาดโควิด-19 แต่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์ มีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 กันยายน 2564 (ตรงกับ ค.ศ.2021) ประชาชนกลับมาใช้บริการนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้
1. ท่านมีความถี่ในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารมากเท่าไร (ครั้ง/สัปดาห์) ...................... (กรุณากรอกคำตอบเป็นตัวเลข) ชื่อของร้านอาหารที่ไปรับประทานเป็นประจำ .........................................
2. ที่ตั้งของร้านอาหารที่ไปรับประทานเป็นประจำอยู่ในจังหวัดอะไร
o กรุงเทพมหานคร
o นนทบุรี
o ปทุมธานี
o สมุทรปราการ
o สมุทรสาคร
o นครปฐม
3. คำอธิบายที่ตั้ง/สาขาของร้านอาหาร (กรุณาระบุชื่อห้าง/ย่าน/ถนน หรือตำแหน่งอ้างอิงโดยสังเขป)
4. ท่านมักเดินทางจากที่ใดก่อนไปร้านอาหาร (ที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงาน/สถานศึกษา)
5. ท่านเดินทางไปร้านอาหารด้วยวิธีอะไรบ่อยที่สุด
o เดินทางเท้า
o มอเตอร์ไซด์รับจ้าง
o รถส่วนตัว
o การขนส่งระบบราง เช่น BTS, MRT
o รถโดยสารสาธารณะ เช่น
o เรือ
o อื่นๆ
6. ประเภทร้านอาหารที่ไปเป็นประจำ
48
รถประจำทาง รถตู้
โปรดระบุ ...................
o ภัตตาคาร o ร้านอาหารจานเดียว/ตามสั่ง o ร้านบุฟเฟ่ต์ o ร้านฟาสต์ฟู้ด o ร้านอาหารข้างทาง (Street food) o ร้านข้าวแกง o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
สัญชาติร้านอาหาร o ไทย o จีน
7.
o ญี่ปุ่น
o เกาหลี
o อิตาเลียน
o เวียดนาม
o อินเดีย
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
8. รูปแบบการรับประทานอาหาร
o ทานร่วมกัน (เช่น ใช้จานเดียวกัน หรือช้อนร่วมกัน)
o แบ่งกันรับประทาน (เช่น ใช้ช้อนกลางแบ่งอาหารที่กลางโต๊ะอาหาร)
o ไม่แบ่งกันรับประทาน (เช่น คนละจาน)
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
9. ประเภทของอาหารที่ท่านสั่งเป็นประจำ
o อาหารปรุงสุกผ่านความร้อน
o มีเครื่องปรับอากาศ
o มีโซนรับประทานกลางแจ้ง
o มีการแสดงดนตรี
o เจลแอลกอฮอล์
o เครื่องวัดอุณภูมิ
o ผ้าเช็ดมือ
o ที่กั้นบนโต้ะอาหาร
o การจัดวางโต๊ะที่ไม่แออัด
o สามารถชำระแบบไม่ใช้เงินสดได้
49
เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด o อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เช่น ยำ ส้มตำ สลัด ซาชิมิ o สั่งคละกันทั้งอาหารปรุงสุกผ่านความร้อนและไม่ผ่านความร้อน o อื่นๆ โปรดระบุ ................... 10. บริการอื่นๆของร้าน o มีที่จอดรถ
มีห้องจัดเลี้ยงแบบส่วนตัว
o
o มีห้องน้ำสะอาด
o สถานประกอบการมีใบรับรองฉีดวัคซีนครบถ้วน o อื่นๆ โปรดระบุ ................... 11. โดยส่วนใหญ่ออกไปรับประทานที่ร้านอาหารวันอะไร o วันธรรมดา (วันจันทร์ถึงวันศุกร์)
วันครบรอบต่างๆ เลื่อนตำแหน่งใน หน้าที่การงาน)
o พบปะเฉลิมฉลองตามเทศกาล (เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์)
o ร้านอาหารอยู่ใกล้บ้าน
o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
15. ท่านมักจะไปรับประทานอาหารที่ร้านกับใคร
o รับประทานคนเดียว
o ครอบครัว
o เพื่อน
o คนรัก
o อื่นๆ
16. จำนวนคนที่รับประทานอาหารร่วมกันต่อหนึ่งโต๊ะ
.......... มั่นใจในมาตรการความปลอดภัยของร้านในการป้องกันโรคระบาดโควิด-19
50 o วันเสาร์และวันอาทิตย์ o วันหยุดนักขัตฤกษ์
มื้ออาหารที่ออกไปรับประทานที่ร้านอาหาร o มื้อเช้า o มื้อเที่ยง o มื้อเย็น o อื่นๆ โปรดระบุ ...................
จุดประสงค์ที่ออกไปทานอาหารนอกบ้าน o ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป o พบปะเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพิเศษ (เช่น
12.
13.
(กรุณากรอกคำตอบเป็นตัวเลข)
17. สาเหตุการกลับไปรับประทานที่ร้านอาหารนอกบ้านอีกครั้ง หลังคลายล็อกดาวน์ (เห็นด้วยน้อยที่สุด = 1, เห็นด้วยมากที่สุด = 5)
.......... สุขอนามัยของร้านอาหาร ..........
.......... รสชาติอาหารและคุณภาพ .......... บรรยากาศและความรู้สึกในระหว่างการรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร อื่น ๆ โปรดระบุ
ความเชื่อมั่นในชื่อเสียงร้านอาหาร/เชฟที่มักไปประจำ