กรณีศึกษา ธุรกิจเขียว #2: แปลนทอยส์

Page 21

ค่าแรงก็ 1/3 บวกค่าโสหุ้ยต่างๆ อีกก็แทบไม่เหลือกำ�ไร ตอนนี้หาก ตั้งราคาขายไว้ 100 บาท ต้องมานั่งรีดกันว่าทำ�อย่างไรจึงจะได้กำ�ไร รีดให้ได้หนึ่งบาทก็ต้องทำ�” วิฑูรย์สรุปผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น

แปลนวูด นวัตกรรมสีเขียว เพื่อลดต้นทุน? เมื่อถูกบีบบังคับทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน แปลนทอยส์จึงต้องหา วิธีการลดต้นทุนสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ โดยไม่ใช้วิธีการ จ่ายค่าแรงตํ่ากว่าที่กฏหมายกำ�หนด หรือลดขนาดไม้ที่ใช้ แต่ต้องแก้วิกฤต ต้นทุนครั้งนี้ด้วยทางออกใหม่ๆ “ก็อาจจะโชคดีทส ่ี มัยก่อนเราเลือ่ ยไม้เอง แล้วเราก็สนใจว่าจะเอาขี้ เลือ่ ยทีเ่ หลือเยอะแยะจากการเลือ่ ยไม้หรือการขึน ้ รูปของเล่นไปทำ�อะไร ดี ตอนนัน ้ เราก็มก ี ารลองเอาไปผสมคอนกรีตบ้าง ผสมปูนบ้าง แต่ ไม่ได้จริงจัง จนเกิดวิกฤตครั้งนี้ เราจึงกลับมาคิดว่าน่าจะเอาขี้เลื่อย พวกนี้มาใส่ในแม่พิมพ์แล้วอัดด้วยความร้อนเพื่อทำ�เป็นของเล่น ดีกว่า ต้นทุนจะได้ลดลง เพราะตอนนั้นเราขายขี้เลื่อยทิ้งในราคา กิโลกรัมละ 70 สตางค์เอง เราจึงลงทุนไปหาเครื่องอัดมาทดลอง ใส่กาวเข้าไป ใส่สีเข้าไป คือตอนนั้นยังไม่รู้ว่าต้องอัดนานแค่ไหน ก็ ตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาขึ้นมาทดลอง จนกระทั่งสามารถอัดขี้เลื่อย ออกมาเป็นชิ้นงานได้สำ�เร็จในปี 2553” วิฑูรย์เล่าถึงที่มาของแปลนวูด

(PlanWood) ซึ่งเขาตั้งความหวังว่าจะเป็นฮีโร่ที่มาช่วยกอบกู้วิกฤตของ แปลนทอยส์

ปี 2554 แปลนทอยส์นำ�เสนอแปลนวูดเข้าสู่ตลาดในฐานะที่เป็นสินค้าไลน์ ใหม่ ด้วยความมั่นใจว่าของเล่นที่เกิดจากการอัดขี้เลื่อยในแม่พิมพ์ ซึ่งมีรูป ทรงแปลกตาจะสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด พร้อมกับฝันว่าจะเปลี่ยน ของเล่นที่ผลิตจากไม้จริงทั้งหมดให้เป็นแปลนวูด ต้นทุนจะได้ถูกลง เพราะ ทำ�จากขี้เลื่อย

021


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.
กรณีศึกษา ธุรกิจเขียว #2: แปลนทอยส์ by Sal Forest - Issuu